SlideShare a Scribd company logo
1 of 3
Download to read offline
1/3 
 
ผศ.ดร.ศิลปพร ศรีจั่นเพชร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หลักการพื้นฐานของธรรมาภิบาล
ธรรมาภิบาล หรือ Good Corporate Governance (เรียกสั้นๆ ว่า CG) เกี่ยวข้องกับทุกระดับ ตั้งเเต่
ตัวบุคคล สังคม กิจการ จนถึงระดับประเทศชาติ ในระดับของกิจการ อาจเรียกว่า“บรรษัทบาล”
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแปล CG อย่างเป็นทางการว่า “การกํากับดูเเลกิจการที่ดี”
ระดับภาครัฐ อาจใช้คําว่า “ธรรมรัฐ” หรือ “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” ไม่ว่าจะนํา CG ไปใช้ที่ใด หรือ
ในระดับใด แนวทางและหลักการพื้นฐานของธรรมาภิบาลดูเหมือนจะคล้ายคลึงกัน คือ การตั้งอยู่ในความถูกต้องเเละ
เป็นธรรม สังคมชุมชนก็จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข หน่วยงานหลายแห่งทั้งในระดับสากลและภายในประเทศได้
กําหนดหลักการพื้นฐานของธรรมาภิบาลไว้ เช่น ธนาคารโลก องค์การสหประชาชาติ องค์กรเพื่อความร่วมมือเเละ
พัฒนาทางเศรษฐกิจ (หรือ OECD : Organization for Economic Co-operation and Development Centre)
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
สําหรับหลักการพื้นฐานของธรรมาภิบาลที่จะกล่าวถึงนี้เป็นหลักการของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย
การสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมที่ดี พ.ศ.2542 ตามด้วยหลักการที่นําเสนอโดยคณะอนุกรรมการ
เพื่อพัฒนาระบบการกํากับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองเเละสังคมที่ดี พ.ศ.2542
อธิบายหลักการเบื้องต้นของการสร้างธรรมาภิบาลไว้ ดังนี้
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law) คือ การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ
ซึ่งรวมถึงการไม่เลือกปฏิบัติ การไม่ทําตามอําเภอใจ การไม่ละเมิดกฎหมาย และการ
ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น 
2. หลักคุณธรรม (Morality) คือ การยึดมั่น ถือมั่นในคุณธรรมความดีงาม ความถูกต้องตามทํานองคลองธรรม
รวมถึงมีความซื่อสัตย์จริงใจ และยึดมั่นในความสุจริตคุณธรรมเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการดําเนินชีวิตทั้งความ
ประพฤติและจิตใจซึ่งแต่ละสังคมกําหนดและยอมรับปฏิบัติกัน เช่น ซื่อสัตย์ อดทน เมตตากรุณา เสียสละ เป็นต้น
ในระดับกิจการ หลักคุณธรรมคือ การทําธุรกิจด้วยความมีจริยธรรมทางธุรกิจ ซึ่งหมายถึง มาตรฐานทางศีลธรรม
คุณธรรมที่ใช้กับองค์กรทางธุรกิจ ปัญหาจริยธรรมธุรกิจที่เกิดขึ้นกับกิจการ เช่น การปกปิดข้อเท็จจริง หรือ
ตกแต่งตัวเลขทางบัญชี เพื่อหวังประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง การฟอกเงิน การหลบเลี่ยงหนีภาษี การละเลยไม่
ดูแลด้านความปลอดภัยในสถานที่ทํางาน การเลือกปฏิบัติหรือมีสองมาตรฐานในการบริหารงานบุคคล
2/3 
 
3. หลักความโปร่งใส (Accountability) คือ ความถูกต้อง ชัดเจน ปฏิบัติตามหลักการที่ควรจะเป็น รวมถึงการ
สร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน มีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องได้ รวมทั้งการให้และรับข้อมูลที่เป็นจริง
ตรงไปตรงมา ทันเวลาในระดับกิจการ อาจแปลความหมายของ “Accountability” ว่าเป็น “ความรับผิดชอบที่
อธิบายได้”ซึ่งเป็นภาระบทบาทของผู้บริหารในแง่ข้อผูกพันหรือความเต็มใจที่จะยอมรับความรับผิดชอบ รวมทั้ง
ความสามารถในการรายงานชี้แจงให้เหตุผลเพื่ออธิบายการกระทําของตนเองและสามารถตอบคําถามของทุกฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องได้ในทุกที่ทุกโอกาส เพื่อแจกแจงอธิบายการกระทําทั้งหมดที่ตนรับผิดชอบ
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ การให้โอกาสบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่อง 
ต่างๆ ที่สําคัญรวมทั้งการเปิดรับฟังความคิดเห็น เพื่อรับคําแนะนํา
มาร่วมวางแผน และปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ในระดับสังคม ซึ่ง
ประกอบด้วยบุคคลหลากหลายและมีความคิดเห็นที่แตกต่างหลักการมี
ส่วนร่วมจะช่วยประสานความคิดเห็นหรือความต้องการที่แตกต่าง เพื่อ
อยู่บนพื้นฐานโดยคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมในระดับกิจการ บริษัทจะ
กําหนดให้มีคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่มีประสบการณ์
หลากหลายช่วยบริหารงานขององค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) คือ ความรับผิดชอบในงานของตน ความรับผิดชอบต่อการกระทําของ
ตนเอง รวมถึงการตระหนัก และสํานึกในสิทธิ และหน้าที่ 
6. หลักความคุ้มค่า (Cost –Effectiveness or Economy) คือ การบริหารจัดการ 
ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในระดับบุคคล ความคุ้มค่าเทียบเคียงได้กับ ความประหยัดไม่
ฟุ่มเฟือย และใช้ทรัพยากรทีมีอยู่อย่างจํากัดให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าในระดับ
กิจการ คือ การบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดหรือเกิดมูลค่ามากที่สุด เช่น
การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน สําหรับระดับของ
กิจการคณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนาระบบการกํากับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้กําหนดหลักสําคัญของการกํากับดูแลกิจการที่ดีเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2543 โดย
ยึดถือภาวะผู้นําพื้นฐาน 4 ประการดังนี้
(1) ความโปร่งใส (Transparency หรือ Openness) ความโปร่งใส คือ ฐานที่สร้างความไว้วางใจ
ระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท (เช่น นักลงทุนเจ้าหนี้ คู่ค้า เป็นต้น) ภายในกรอบข้อจํากัดของ
ภาวะการแข่งขันของบริษัทความโปร่งใสมีส่วนช่วยเสริมประสิทธิผลของบริษัท และช่วยให้คณะกรรมการของ
บริษัทสามารถแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิผลและเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นและผู้เกี่ยวข้องพินิจพิเคราะห์บริษัทได้
อย่างถี่ถ้วนขึ้น
3/3 
 
(2) ความซื่อสัตย์ (Integrity) ความซื่อสัตย์ หมายถึง การทําธุรกิจอย่างตรงไปตรงมาภายในกรอบ
จริยธรรมที่ดี รายงานทางการเงินและสารสนเทศอื่นๆ ที่เผยแพร่โดยบริษัทต้องแสดงภาพที่ถูกต้อง และครบถ้วน
เกี่ยวกับฐานะการเงิน เเละผลการดําเนินงานของบริษัท ความน่าเชื่อถือได้ของรายงานขึ้นอยู่กับความซื่อสัตย์
สุจริตของผู้ที่จัดทําและนําเสนอ
(3) ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ (Accountability) ความรับผิดชอบต่อ
ผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ มีส่วนสําคัญกับคณะกรรมการและผู้ถือหุ้น คณะกรรมการแสดงความรับผิดชอบ
ดังกล่าวโดยมีบทบาทสําคัญในการเสนอรายงานต่อผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของบริษัท
(4) ความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ความสามารถในการแข่งขันมีเป้าหมายเพื่อช่วย
สร้างความเจริญและเพิ่มมูลค่าแก่ผู้ถือหุ้น บรรษัทบาลจะช่วยเสริมสร้างให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน อันจะ
นําไปสู่ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันที่ยั่นยืนให้กับบริษัทโดยสรุป หลักธรรมาภิบาลไม่ว่าจะเป็นระดับรัฐหรือ
ระดับกิจการล้วนเป็นกลไกควบคุมติดตามตรวจสอบ และสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามสํานึกที่ดีอย่างมี
ประสิทธิภาพประสิทธิผล โดยคํานึงถึงผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
วารสารปีที่ 33 ฉบับที่ 125 มกราคม - มีนาคม 2553
เรียบเรียง 14 กันยายน 2555
โดย งานสารสนเทศ วิทยาลัยนวัตกรรม มธ.
ธรรมาภิบาลหลัก
นิติธรรม
หลัก
คุณธรรม
หลักความ
โปร่งใส
หลักการมี
ส่วนร่วม
หลักความ
รับผิดชอบ
หลักความ
คุ้มค่า

More Related Content

What's hot

การค้นพบโปรตอน
การค้นพบโปรตอนการค้นพบโปรตอน
การค้นพบโปรตอน
krupatcharee
 
แบบทดสอบสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
แบบทดสอบสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวแบบทดสอบสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
แบบทดสอบสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
sontayath
 
ข้อสอบ O-net วิชาภาษาไทย ปี 2550
ข้อสอบ O-net วิชาภาษาไทย ปี 2550ข้อสอบ O-net วิชาภาษาไทย ปี 2550
ข้อสอบ O-net วิชาภาษาไทย ปี 2550
Nutthamon Panyaperm
 
ใบงาน วิชาการพัฒนาตนเอง-ชุมชน-สังคม
ใบงาน วิชาการพัฒนาตนเอง-ชุมชน-สังคมใบงาน วิชาการพัฒนาตนเอง-ชุมชน-สังคม
ใบงาน วิชาการพัฒนาตนเอง-ชุมชน-สังคม
Intrayut Konsongchang
 
ข้อสอบ Pat 2 (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ)
ข้อสอบ Pat 2 (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ)ข้อสอบ Pat 2 (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ)
ข้อสอบ Pat 2 (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ)
Lupin F'n
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เล่มที่ 13 การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เล่มที่ 13 การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วนชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เล่มที่ 13 การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เล่มที่ 13 การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน
KanlayaratKotaboot
 
โครงการชุมนุมดนตรีไทย
โครงการชุมนุมดนตรีไทยโครงการชุมนุมดนตรีไทย
โครงการชุมนุมดนตรีไทย
พรรณภา ดาวตก
 
59 ภาคตัดกรวย-พาราโบลา-วงรี-ไฮเพอร์โบลา
59 ภาคตัดกรวย-พาราโบลา-วงรี-ไฮเพอร์โบลา59 ภาคตัดกรวย-พาราโบลา-วงรี-ไฮเพอร์โบลา
59 ภาคตัดกรวย-พาราโบลา-วงรี-ไฮเพอร์โบลา
Sutthi Kunwatananon
 

What's hot (20)

การค้นพบโปรตอน
การค้นพบโปรตอนการค้นพบโปรตอน
การค้นพบโปรตอน
 
แบบทดสอบสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
แบบทดสอบสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวแบบทดสอบสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
แบบทดสอบสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
 
บทละครพูด เรื่อง เห็นแก่ลูก
บทละครพูด เรื่อง เห็นแก่ลูกบทละครพูด เรื่อง เห็นแก่ลูก
บทละครพูด เรื่อง เห็นแก่ลูก
 
แผนภาพต้นไม้11
แผนภาพต้นไม้11แผนภาพต้นไม้11
แผนภาพต้นไม้11
 
Najapen
NajapenNajapen
Najapen
 
ไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วงไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วง
 
ข้อสอบ O-net วิชาภาษาไทย ปี 2550
ข้อสอบ O-net วิชาภาษาไทย ปี 2550ข้อสอบ O-net วิชาภาษาไทย ปี 2550
ข้อสอบ O-net วิชาภาษาไทย ปี 2550
 
ใบงาน วิชาการพัฒนาตนเอง-ชุมชน-สังคม
ใบงาน วิชาการพัฒนาตนเอง-ชุมชน-สังคมใบงาน วิชาการพัฒนาตนเอง-ชุมชน-สังคม
ใบงาน วิชาการพัฒนาตนเอง-ชุมชน-สังคม
 
ข้อสอบ Pat 2 (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ)
ข้อสอบ Pat 2 (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ)ข้อสอบ Pat 2 (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ)
ข้อสอบ Pat 2 (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ)
 
สื่อการสอนเกี่ยวกับทัศนธาตุในงานศิลปะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
สื่อการสอนเกี่ยวกับทัศนธาตุในงานศิลปะชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2สื่อการสอนเกี่ยวกับทัศนธาตุในงานศิลปะชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2
สื่อการสอนเกี่ยวกับทัศนธาตุในงานศิลปะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เล่มที่ 13 การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เล่มที่ 13 การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วนชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เล่มที่ 13 การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เล่มที่ 13 การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน
 
ทฤษฏีบทพีทาโกรัส2
ทฤษฏีบทพีทาโกรัส2ทฤษฏีบทพีทาโกรัส2
ทฤษฏีบทพีทาโกรัส2
 
โครงงานพวงกุญแจผ้าสักหลาด
โครงงานพวงกุญแจผ้าสักหลาดโครงงานพวงกุญแจผ้าสักหลาด
โครงงานพวงกุญแจผ้าสักหลาด
 
Evolution Plan : การคัดเลือกตามธรรมชาติ
Evolution Plan : การคัดเลือกตามธรรมชาติEvolution Plan : การคัดเลือกตามธรรมชาติ
Evolution Plan : การคัดเลือกตามธรรมชาติ
 
ใบงานวิทย์ ม.1
ใบงานวิทย์ ม.1ใบงานวิทย์ ม.1
ใบงานวิทย์ ม.1
 
ปฏิบัติการทดลอง
ปฏิบัติการทดลอง ปฏิบัติการทดลอง
ปฏิบัติการทดลอง
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงาน(คู่)
แบบเสนอโครงร่างโครงงาน(คู่)แบบเสนอโครงร่างโครงงาน(คู่)
แบบเสนอโครงร่างโครงงาน(คู่)
 
โครงการชุมนุมดนตรีไทย
โครงการชุมนุมดนตรีไทยโครงการชุมนุมดนตรีไทย
โครงการชุมนุมดนตรีไทย
 
59 ภาคตัดกรวย-พาราโบลา-วงรี-ไฮเพอร์โบลา
59 ภาคตัดกรวย-พาราโบลา-วงรี-ไฮเพอร์โบลา59 ภาคตัดกรวย-พาราโบลา-วงรี-ไฮเพอร์โบลา
59 ภาคตัดกรวย-พาราโบลา-วงรี-ไฮเพอร์โบลา
 

More from Thanai Punyakalamba

คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุคู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
Thanai Punyakalamba
 
การ เสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น
การ เสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นการ เสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น
การ เสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น
Thanai Punyakalamba
 
Labour protection 2551_release_3
Labour protection 2551_release_3Labour protection 2551_release_3
Labour protection 2551_release_3
Thanai Punyakalamba
 
Labour protection 2551_release_2
Labour protection 2551_release_2Labour protection 2551_release_2
Labour protection 2551_release_2
Thanai Punyakalamba
 
เกี่ยวกับ มทร
เกี่ยวกับ มทรเกี่ยวกับ มทร
เกี่ยวกับ มทร
Thanai Punyakalamba
 

More from Thanai Punyakalamba (18)

คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุคู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
 
Punyakalamba
PunyakalambaPunyakalamba
Punyakalamba
 
การ เสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น
การ เสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นการ เสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น
การ เสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น
 
หลักธรรมาภิบาล
หลักธรรมาภิบาลหลักธรรมาภิบาล
หลักธรรมาภิบาล
 
Eep time issue_8
Eep time issue_8Eep time issue_8
Eep time issue_8
 
Eep time issue_7
Eep time issue_7Eep time issue_7
Eep time issue_7
 
Eep time issue_6
Eep time issue_6Eep time issue_6
Eep time issue_6
 
Eep time issue_5
Eep time issue_5Eep time issue_5
Eep time issue_5
 
Eep time issue_4
Eep time issue_4Eep time issue_4
Eep time issue_4
 
Eep time issue_3
Eep time issue_3Eep time issue_3
Eep time issue_3
 
Eep time issue_2
Eep time issue_2Eep time issue_2
Eep time issue_2
 
Labour protection 2541_new
Labour protection 2541_newLabour protection 2541_new
Labour protection 2541_new
 
Eep time issue_1
Eep time issue_1Eep time issue_1
Eep time issue_1
 
Photo nextor v14
Photo nextor v14Photo nextor v14
Photo nextor v14
 
Labour protection 2551_release_3
Labour protection 2551_release_3Labour protection 2551_release_3
Labour protection 2551_release_3
 
Labour protection 2551_release_2
Labour protection 2551_release_2Labour protection 2551_release_2
Labour protection 2551_release_2
 
Labour protection 2541
Labour protection 2541Labour protection 2541
Labour protection 2541
 
เกี่ยวกับ มทร
เกี่ยวกับ มทรเกี่ยวกับ มทร
เกี่ยวกับ มทร
 

หลักพื้นฐานธรรมาภิบาล มธ.

  • 1. 1/3    ผศ.ดร.ศิลปพร ศรีจั่นเพชร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักการพื้นฐานของธรรมาภิบาล ธรรมาภิบาล หรือ Good Corporate Governance (เรียกสั้นๆ ว่า CG) เกี่ยวข้องกับทุกระดับ ตั้งเเต่ ตัวบุคคล สังคม กิจการ จนถึงระดับประเทศชาติ ในระดับของกิจการ อาจเรียกว่า“บรรษัทบาล” ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแปล CG อย่างเป็นทางการว่า “การกํากับดูเเลกิจการที่ดี” ระดับภาครัฐ อาจใช้คําว่า “ธรรมรัฐ” หรือ “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” ไม่ว่าจะนํา CG ไปใช้ที่ใด หรือ ในระดับใด แนวทางและหลักการพื้นฐานของธรรมาภิบาลดูเหมือนจะคล้ายคลึงกัน คือ การตั้งอยู่ในความถูกต้องเเละ เป็นธรรม สังคมชุมชนก็จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข หน่วยงานหลายแห่งทั้งในระดับสากลและภายในประเทศได้ กําหนดหลักการพื้นฐานของธรรมาภิบาลไว้ เช่น ธนาคารโลก องค์การสหประชาชาติ องค์กรเพื่อความร่วมมือเเละ พัฒนาทางเศรษฐกิจ (หรือ OECD : Organization for Economic Co-operation and Development Centre) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น สําหรับหลักการพื้นฐานของธรรมาภิบาลที่จะกล่าวถึงนี้เป็นหลักการของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมที่ดี พ.ศ.2542 ตามด้วยหลักการที่นําเสนอโดยคณะอนุกรรมการ เพื่อพัฒนาระบบการกํากับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองเเละสังคมที่ดี พ.ศ.2542 อธิบายหลักการเบื้องต้นของการสร้างธรรมาภิบาลไว้ ดังนี้ 1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law) คือ การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ซึ่งรวมถึงการไม่เลือกปฏิบัติ การไม่ทําตามอําเภอใจ การไม่ละเมิดกฎหมาย และการ ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น  2. หลักคุณธรรม (Morality) คือ การยึดมั่น ถือมั่นในคุณธรรมความดีงาม ความถูกต้องตามทํานองคลองธรรม รวมถึงมีความซื่อสัตย์จริงใจ และยึดมั่นในความสุจริตคุณธรรมเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการดําเนินชีวิตทั้งความ ประพฤติและจิตใจซึ่งแต่ละสังคมกําหนดและยอมรับปฏิบัติกัน เช่น ซื่อสัตย์ อดทน เมตตากรุณา เสียสละ เป็นต้น ในระดับกิจการ หลักคุณธรรมคือ การทําธุรกิจด้วยความมีจริยธรรมทางธุรกิจ ซึ่งหมายถึง มาตรฐานทางศีลธรรม คุณธรรมที่ใช้กับองค์กรทางธุรกิจ ปัญหาจริยธรรมธุรกิจที่เกิดขึ้นกับกิจการ เช่น การปกปิดข้อเท็จจริง หรือ ตกแต่งตัวเลขทางบัญชี เพื่อหวังประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง การฟอกเงิน การหลบเลี่ยงหนีภาษี การละเลยไม่ ดูแลด้านความปลอดภัยในสถานที่ทํางาน การเลือกปฏิบัติหรือมีสองมาตรฐานในการบริหารงานบุคคล
  • 2. 2/3    3. หลักความโปร่งใส (Accountability) คือ ความถูกต้อง ชัดเจน ปฏิบัติตามหลักการที่ควรจะเป็น รวมถึงการ สร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน มีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องได้ รวมทั้งการให้และรับข้อมูลที่เป็นจริง ตรงไปตรงมา ทันเวลาในระดับกิจการ อาจแปลความหมายของ “Accountability” ว่าเป็น “ความรับผิดชอบที่ อธิบายได้”ซึ่งเป็นภาระบทบาทของผู้บริหารในแง่ข้อผูกพันหรือความเต็มใจที่จะยอมรับความรับผิดชอบ รวมทั้ง ความสามารถในการรายงานชี้แจงให้เหตุผลเพื่ออธิบายการกระทําของตนเองและสามารถตอบคําถามของทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องได้ในทุกที่ทุกโอกาส เพื่อแจกแจงอธิบายการกระทําทั้งหมดที่ตนรับผิดชอบ 4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ การให้โอกาสบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่อง  ต่างๆ ที่สําคัญรวมทั้งการเปิดรับฟังความคิดเห็น เพื่อรับคําแนะนํา มาร่วมวางแผน และปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ในระดับสังคม ซึ่ง ประกอบด้วยบุคคลหลากหลายและมีความคิดเห็นที่แตกต่างหลักการมี ส่วนร่วมจะช่วยประสานความคิดเห็นหรือความต้องการที่แตกต่าง เพื่อ อยู่บนพื้นฐานโดยคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมในระดับกิจการ บริษัทจะ กําหนดให้มีคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่มีประสบการณ์ หลากหลายช่วยบริหารงานขององค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์ 5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) คือ ความรับผิดชอบในงานของตน ความรับผิดชอบต่อการกระทําของ ตนเอง รวมถึงการตระหนัก และสํานึกในสิทธิ และหน้าที่  6. หลักความคุ้มค่า (Cost –Effectiveness or Economy) คือ การบริหารจัดการ  ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในระดับบุคคล ความคุ้มค่าเทียบเคียงได้กับ ความประหยัดไม่ ฟุ่มเฟือย และใช้ทรัพยากรทีมีอยู่อย่างจํากัดให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าในระดับ กิจการ คือ การบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดหรือเกิดมูลค่ามากที่สุด เช่น การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน สําหรับระดับของ กิจการคณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนาระบบการกํากับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้กําหนดหลักสําคัญของการกํากับดูแลกิจการที่ดีเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2543 โดย ยึดถือภาวะผู้นําพื้นฐาน 4 ประการดังนี้ (1) ความโปร่งใส (Transparency หรือ Openness) ความโปร่งใส คือ ฐานที่สร้างความไว้วางใจ ระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท (เช่น นักลงทุนเจ้าหนี้ คู่ค้า เป็นต้น) ภายในกรอบข้อจํากัดของ ภาวะการแข่งขันของบริษัทความโปร่งใสมีส่วนช่วยเสริมประสิทธิผลของบริษัท และช่วยให้คณะกรรมการของ บริษัทสามารถแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิผลและเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นและผู้เกี่ยวข้องพินิจพิเคราะห์บริษัทได้ อย่างถี่ถ้วนขึ้น
  • 3. 3/3    (2) ความซื่อสัตย์ (Integrity) ความซื่อสัตย์ หมายถึง การทําธุรกิจอย่างตรงไปตรงมาภายในกรอบ จริยธรรมที่ดี รายงานทางการเงินและสารสนเทศอื่นๆ ที่เผยแพร่โดยบริษัทต้องแสดงภาพที่ถูกต้อง และครบถ้วน เกี่ยวกับฐานะการเงิน เเละผลการดําเนินงานของบริษัท ความน่าเชื่อถือได้ของรายงานขึ้นอยู่กับความซื่อสัตย์ สุจริตของผู้ที่จัดทําและนําเสนอ (3) ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ (Accountability) ความรับผิดชอบต่อ ผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ มีส่วนสําคัญกับคณะกรรมการและผู้ถือหุ้น คณะกรรมการแสดงความรับผิดชอบ ดังกล่าวโดยมีบทบาทสําคัญในการเสนอรายงานต่อผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของบริษัท (4) ความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ความสามารถในการแข่งขันมีเป้าหมายเพื่อช่วย สร้างความเจริญและเพิ่มมูลค่าแก่ผู้ถือหุ้น บรรษัทบาลจะช่วยเสริมสร้างให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน อันจะ นําไปสู่ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันที่ยั่นยืนให้กับบริษัทโดยสรุป หลักธรรมาภิบาลไม่ว่าจะเป็นระดับรัฐหรือ ระดับกิจการล้วนเป็นกลไกควบคุมติดตามตรวจสอบ และสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามสํานึกที่ดีอย่างมี ประสิทธิภาพประสิทธิผล โดยคํานึงถึงผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย วารสารปีที่ 33 ฉบับที่ 125 มกราคม - มีนาคม 2553 เรียบเรียง 14 กันยายน 2555 โดย งานสารสนเทศ วิทยาลัยนวัตกรรม มธ. ธรรมาภิบาลหลัก นิติธรรม หลัก คุณธรรม หลักความ โปร่งใส หลักการมี ส่วนร่วม หลักความ รับผิดชอบ หลักความ คุ้มค่า