SlideShare a Scribd company logo
1 of 61
Download to read offline
ISSUE 14 : May 2013 ปีที่ 2 ฉบับที่ 14 : พฤษภาคม 2556
www.photonextor.com
ค�ำถามที่ผมมักจะได้รับกลับมาเสมอเมื่อ
บอกไปว่า e-Mag ที่ผมท�ำเนี่ยเปิดให้โหลด
ฟรี ไม่คิดตังค์ แล้วที่ท�ำไปทั้งหมดเนี่ยได้
อะไร? รายได้มาจากไหน ฯลฯ อะไรท�ำนองนั้น
	 ดูๆ ไปแล้วก็น่าสงสัยนะครับว่าเปิดให้โหลดฟรี
ท�ำไม? มีวัตถุประสงค์อะไรแอบแฝงหรือเปล่า? ใน e-Mag
มีสคริปต์พวกโทรจันอะไรที่จะแอบไปฝังตัวอยู่ในเครื่อง
ปลายทางหรือไม่? ซึ่งถ้าเป็นผมก็คงจะสงสัยแล้วก็คง
อยากจะถามอยู่เหมือนกัน ดังนั้นมันก็ไม่แปลกหรอกครับ
ที่ท่านจะสงสัย เพราะสังคมและโลกเราทุกวันนี้มันเต็มไป
ด้วยสิ่งที่ต้องระมัดระวังอยู่รอบด้าน โดยเฉพาะอะไรที่มา
กับคอมพิวเตอร์นี่แหละ
	 ผมยังคงเชื่ออยู่อย่างหนึ่งครับว่า การให้ความรู้เป็น
อะไรที่ให้แล้วมันไม่หมดไป ตรงกันข้ามมันกลับได้อะไร
เข้ามาเพิ่มอีกต่างหาก ได้ความสบายใจ ได้มิตรภาพทั้ง
ใหม่ทั้งเก่า และที่ส�ำคัญซึ่งผมเชื่อเหลือเกินก็คือ มัน
เป็นการกระท�ำที่เป็นกุศล โดยเฉพาะการให้ความรู้เป็น
อะไรที่เราควรจะท�ำหากว่าเราอยู่ในจุดที่จะสามารถ
	 ครั้งนึงผมก็เคยเป็นคนที่ไม่รู้เรื่องถ่ายภาพเหมือน
กัน และก็รู้สึกดีทุกครั้งที่มีคนมาบอกมาสอน แต่ก็ดู
เหมือนบรรยากาศตรงนั้นมันจะน้อยลงไปทุกที ผมเชื่อว่า
คนที่สนใจเรื่องการถ่ายภาพและต้องการใครสักคนมาชี้
ประตูให้เห็นยังคงมีเกิดขึ้นทุกวัน แต่คนที่จะแบ่งปันความ
รู้สู่กันท�ำไมเหมือนจะน้อยลงไปทุกทีก็ไม่รู้...
	 ถึงยังไงการให้โดยไม่หวังผลตอบแทนก็ยังคงมีอยู่
จริงนะครับ อย่างน้อยก็ e-Mag ที่คุณก�ำลังอ่านอยู่นี่ไง!
+Editor’sTalk
eMagazine รายเดือนเพื่อเรียนรู้เรื่องกล้องและ
การถ่ายภาพ ดาวน์โหลดฟรีทุกวันที่ 9 ของเดือนที่
photonextor.com
Original eBook Script : PageFlip v2.25 by
Macc/IpariGrafika
FONT CREDIT :
ฟ : CmPrasanmit
ฟ : Supermarket
ฟ : Book_Akhanake
ขอบคุณ f0nt.com สำ�หรับ
การเป็นแหล่งรวบรวมฟอนท์
เพื่อสังคม
PhotoNextoR Connection :
ติดต่อประสานงานทางการตลาด
marketing@photonextor.com
ติดต่อลงข่าวประชาสัมพันธ์
news@photonextor.com
แนะนำ�ติชม/สอบถามเพิ่มเติม
info@photonextor.com www.photonextor.com
ปิยะฉัตร แกหลง
Nextopia
8 44
8070
54
84
6 7Issue# 13 April 2012
ถึงแม้ว่าอากาศจะร้อนอบอ้าวแทบทั้งปี แต่เราก็ยังมี
ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการอยู่ในช่วงนี้ และแน่นอนว่าใคร
ต่อใครต่างก็พากันนึกถึงฟ้าครามน�้ำใสของท้องทะเลกัน
ทั้งนั้น ไม่เว้นแม้แต่คนมีกล้องที่จ้องคอยโอกาสจะเดิน
ทางไปถ่ายภาพทะเลแบบสดใสสุดๆ
	 แต่จะว่าไปแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าทะเลจะมีแต่
ฟ้าครามน�้ำใสให้ถ่ายรูปกันเท่านั้น ยังมีเทคนิคและวิธี
คิดอีกหลายแบบแถมมันยังสามารถประยุกต์ไอเดียอัน
หลากหลายนั้นเข้าด้วยกันได้อีกต่างหาก ซึ่งก็จะได้ภาพ
ที่แปลกตาน่าดูมาไม่น้อยเหมือนกัน
	 ที่ทะเล...เราจะถ่ายภาพแบบไหนด้วยกล้อง
DSLR ให้ต่างออกไปกันได้บ้าง? มาลองดูกันเลย...
เรื่อง/ภาพ : ปิยะฉัตร แกหลง
8 9Issue# 13 April 2012
พระอาทิตย์ขึ้น/พระอาทิตย์ตก แทบจะเป็นภาพในฝัน
ของตากล้องทุกคน แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะถ่ายภาพแบบนี้
ได้ทุกครั้งต่อให้มือชั้นเซียนขนาดไหนก็ตาม เพราะมัน
ต้องขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละวันด้วย ซึ่งก็บ่อยครั้ง
ที่มักจะมีเมฆกลุ่มใหญ่ๆ มาบังเอาไว้ไม่ให้เราได้เห็น
พระอาทิตย์ชนเส้นขอบฟ้าได้ง่ายเกินไป
	 เลนส์มุมกว้างสามารถเก็บบรรยากาศแบบนี้ได้ดี
แต่มันจะได้ผลเป็นพิเศษเมื่อท้องฟ้าเป็นใจ คุณอาจจะ
ใช้วิธีการปรับอุณหภูมิสีขึ้นไปสูงๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เช่น
เดียวกับในภาพนี้ หรือจะอาศัยขั้นตอนการปรับปรุงภาพ
ภายหลังด้วยคอมพิวเตอร์ก็ได้ วัดแสงไปยังจุดที่ใกล้กับ
พระอาทิตย์ ซึ่งหากคุณวางจุดวัดแสงได้ดี ภาพของคุณ
ก็จะอยู่ในระดับแสงที่พอเหมาะในการเกิดภาพอันน่า
ประทับใจ แต่มันอาจจะมืดเกินไปหรือสว่างเกินไปหาก
วัดแสงในจุดที่ไม่เหมาะสม เรื่องนี้ต้องสังเกตดูให้ดีด้วย
Nikon D7000 • Tamron SP AF 10-24mm F3.5-4.5 Di II LD Aspherical (IF) • F/13 • 1/40 sec. • ISO 100
10 11Issue# 13 April 2012
พระอาทิตย์ดวงโต คุณจ�ำเป็นต้องใช้เลนส์ระยะเท
เลโฟโต้ ยิ่งระยะสูงมากก็ยิ่งได้พระอาทิตย์ขนาด
ใหญ่ แต่ที่ส�ำคัญไม่แพ้กันก็คือองค์ประกอบอย่างอื่น
ที่ควรจะปรากฏอยู่ในภาพด้วยเพราะมันจะช่วยเสริม
เรื่องราวในภาพให้น่าดูมากยิ่งขึ้น
	 เมื่อใช้ระยะเทเลโฟโต้ คุณจ�ำเป็นต้องอยู่ห่าง
จากตัวแบบมากๆ เช่น หากคุณอยากจะให้ใครสัก
คนเข้าไปอยู่ข้างๆ พระอาทิตย์ ตัวคุณพร้อมกล้องก็
Nikon D7000 • Tamron SP70-300mm F/4-5.6 Di VC USD • @300mm • F/4.5 • 1/250 sec. • ISO 100
ต้องออกไปอยู่ห่างๆ (บางทีอาจจะเป็นร้อยเมตร)
เพื่อให้สิ่งนั้นปรากฏอยู่ในภาพด้วย อย่างในภาพ
นี้ผมต้องยืนอยู่ในระยะห่างจากตัวแบบประมาณ
80 เมตร และหามุมที่เทเลโฟโต้จะหลบหลีกสิ่ง
กีดขวางด้านหน้าไปให้หมด ภาพแบบนี้คงไม่ใช่
เรื่องยากถ้าจะให้มีแต่พระอาทิตย์อย่างเดียว แต่
ถ้าจะให้มีอย่างอื่นเข้ามาด้วย นั่นละสิ่งที่ยากใน
เรื่องของมุมมองจริงๆ
12 13Issue# 13 April 2012
Nikon D7000 • Nikon 18-55mm f/3.5-5.6G AF-S VR DX • @24mm • F/22 • 25 sec. • ISO 100 • ND 8X
14 15Issue# 13 April 2012
Nikon D7000 • Nikon 18-55mm f/3.5-5.6G AF-S VR DX • @18mm • F/22 • 25 sec. • ISO 100 • ND 8X
ไม่ได้มีหมอกบนผิวทะเล แต่มันคืออิทธิฤทธิ์ของละอองน�้ำบนผิว
คลื่นกับสปีดชัตเตอร์ช้าๆ ต่างหาก ท�ำยังไงก็ได้ให้คุณสามารถใช้
สปีดชัตเตอร์ระดับต�่ำๆ ในวันที่คลื่นมีก�ำลังในการถาโถมเข้าใส่โขด
หิน ละอองน�้ำที่ฟุ้งกระจายนั้นจะปรากฏเป็นสีขาวๆ ฟุ้งๆ ลงไปบน
เซนเซอร์รับภาพ ท�ำให้คลื่นที่รุนแรงนั้นกลายเป็นละอองหมอกที่อ่อน
นุ่มไปทันทีที่ม่านชัตเตอร์ปิดตัวลง
	 ภาพนี้ใช้ฟิลเตอร์ ND บังหน้าเลนส์ท�ำให้แสงที่ผ่านเข้ามามี
ปริมาณลดลง เมื่อบีบรูรับแสงแคบมากๆ แล้วมันจะสามารถเปิดรับ
แสงได้นานถึง 25 วินาที!
16 17Issue# 13 April 2012
Nikon D7000 • Tamron SP AF10-24mm F/3.5-4.5 Di II LD Aspherical [IF] • F/22 • 10 sec. • ISO 100 • ND8X
ถ้าวันไหนมีพระอาทิตย์ขึ้นให้เห็น ลองหาทางผนวก
มันเข้ามาในภาพดู แม้ว่าแรกๆ มันอาจจะยากและ
ต้องใช้เวลาในการทดลองอยู่สักหน่อย แต่ถ้าคุณ
สามารถท�ำได้ รับรองว่าภาพทะเลของคุณจะไม่เห
มือนใครๆ แน่นอน
18 19Issue# 13 April 2012
Nikon D7000 • Tamron SP AF10-24mm F/3.5-4.5 Di II LD Aspherical [IF] • F/25 • 15 sec. • ISO 100 • ND8X
20 21Issue# 13 April 2012
Nikon D7000 • Tamron SP AF10-24mm F/3.5-4.5 Di II LD Aspherical [IF] • F/22 • 5 sec. • ISO 100
ทะเลที่เต็มไปด้วยโขดหินไม่ใช่สิ่งที่คนเล่นน�้ำ
ต้องการ แต่เป็นสวรรค์ของคนถ่ายภาพจริงๆ
เพราะมันจะช่วยให้ภาพถ่ายดูมีเรื่องราวที่แตกต่าง
ออกไปจากทะเลใสๆ ฟ้าสวยๆ เพียงอย่างเดียวที่เห็น
กันดาษดื่น ลองมองหาโขดหินที่มีลักษณะและสีสัน
ทางกายภาพอันน่าสนใจ จัดมุมรอจังหวะแสงสวยๆ
ประยุกต์เทคนิคต่างๆ ที่พอเป็นไปได้เข้าไป
	 ครั้งต่อไปที่นึกถึงทะเล คุณอาจจะมองหาแต่
ทะเลที่เต็มไปด้วยโขดหินก็เป็นได้
22 23Issue# 13 April 2012
Pentax K-30 • SMC-DA 18-135mm f/3.5-5.6 ED AL [IF] WR • F/22 • 5 sec. • ISO 100
ถึงแม้ว่าคุณจะมีเลนส์มุมกว้างอยู่ในมือ แต่ก็อย่าใช้
แต่มุมกว้างเพียงอย่างเดียว การน�ำเสนอบางสิ่งแบบ
เน้นๆ จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจลงในชุดภาพทะเล
ของคุณได้ บางสิ่งที่ว่านั้นอาจจะถูกละเลยมองข้าม
ไปในสายตาคนทั่วไปเนื่องด้วยเป็นสิ่งที่เห็นกันจนชา
ชิน แต่เมื่อถูกน�ำเสนอแบบเน้นๆ ภายในพื้นที่กรอบ
สี่เหลี่ยมของภาพถ่าย มันอาจจะกลายเป็นสิ่งที่ดึงดูด
ความสนใจมากเป็นพิเศษก็เป็นได้
24 25Issue# 13 April 2012
Nikon D7000 • Tamron SP AF10-24mm F/3.5-4.5 Di II LD Aspherical [IF] • F/8 • 1/320 sec. • ISO 200
คุณอาจจะเพิ่มความเคลื่อนไหวลงไปในภาพเพื่อให้มันดูมีชีวิตชีวามากขึ้น
ได้ถึงแม้ว่าตัวแบบหลักในภาพของคุณจะดูน่าสนใจอยู่แล้ว ตัวประกอบบาง
อย่างจะช่วยเสริมให้ภาพมีเรื่องราวมากยิ่งขึ้น ลีลาของชั้นหินในภาพนี้ก็ดู
น่าสนใจ แต่คลื่นที่แตกกระทบโขดหินเบื้องหลังนั้นก็ท�ำให้ภาพดูมีความ
เคลื่อนไหวและมีเรื่องราวมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งที่คุณควรท�ำเพิ่มเติมก็คือการรอ
จังหวะที่เหมาะสมในการลั่นชัตเตอร์นั่นเอง
26 27Issue# 13 April 2012
Nikon D7000 • Tamron SP AF10-24mm F/3.5-4.5 Di II LD Aspherical [IF] • F/13 • 1/100 sec. • ISO 100
ถึงแม้ว่าคลื่นนุ่มๆ ฟุ้งๆ จะเป็นภาพที่น่าดู แต่ภาพคลื่นที่
แสดงความรุนแรงก็น่าดูไม่แพ้กัน ท�ำยังไงเราถึงจะน�ำเสนอ
อารมณ์ภาพแบบนั้นได้?
	 ค�ำตอบก็คือการใช้สปีดชัตเตอร์ที่ช้ากว่าการ “หยุด”
การเคลื่อนไหวลงมาอีกเล็กน้อย ผมไม่สามารถบอกได้ครับ
ว่าต้องใช้เท่าไหร่ เพราะมันขึ้นอยู่กับความเร็ว+แรงของคลื่น,
ปริมาณแสงในขณะนั้น คุณต้องลองดูตามความเหมาะสม แต่
ที่ส�ำคัญก็คือต้องหาจุดที่คลื่นจะกระแทกโขดหินอย่างรุนแรง
เพราะมันจะดูน่าตื่นตาและน่าสนใจเป็นอย่างมาก
28 29Issue# 13 April 2012
Nikon D7000 • Tamron SP70-300mm F/4-5.6 Di VC USD • @300mm • F/5.6 • 1/320 sec. • ISO 100
สัตว์ทะเลก็ควรมีอยู่ในชุดภาพของคุณ เพราะมันเป็นอีกสิ่งที่ช่วยให้
บรรยากาศโดยรวมดูมีชีวิตชีวามากกว่าแค่เฉพาะเรื่องสถานที่ และโดยมาก
แล้วมันก็จะมีสีสันสวยงาม ท�ำให้ภาพยิ่งดูน่าสนใจมากเข้าไปใหญ่
	 ปูทะเลตัวนี้เกาะอยู่บนโขดหินหากินกันเป็นฝูง ผมต้องนอนราบไปกับ
พื้นหินเพราะต้องการทิ้งฉากหลังให้ไกลออกไป ซึ่งมีทั้งสีของน�้ำทะเลและฟอง
คลื่นที่กระเซ็นตัวขึ้นมา (อันนี้ต้องรอจังหวะให้ดี) อีกทั้งแสงสีบนตัวปูก็จะดูมี
มิติมากขึ้นด้วย และที่ส�ำคัญก็คือระดับสายตาของปูและคนดูภาพอยู่ในระดับ
เดียวกันแล้ว
	 อืมมม...มันดูดีกว่าก้มถ่ายในมุมกดลงไปเป็นไหนๆ นะ...ว่ามั๊ย?
30 31Issue# 13 April 2012
Nikon D7000 • Tamron SP AF60mm F/2 Di II • F/18 • 1/200 sec. • ISO 100
เลนส์มาโครก็แผลงฤทธิ์ได้เมื่อไปทะเล โจทย์ก็คือท�ำยังไง
ถึงจะรู้ได้ว่านี่คือภาพที่ถ่ายเมื่อไปทะเลนะ เพราะภาพ
มาโครก็คือโลกใบจิ๋วๆ ที่แทบจะไม่ได้ทิวทัศน์สภาพแวดล้อม
ติดเข้ามาในภาพ นอกจากอะไรที่อยู่ใกล้ๆ ตัวมัน
	 ก็คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการมองหาสภาพแวดล้อม
เล็กๆ ที่บอกได้ว่ามันคือสิ่งที่อยู่ในทะเลนั่นแหละ ตัวแบบ
ในภาพนี้คือแมลงตัวจิ๋วที่ชื่ออะไรก็ไม่รู้ ด้วยความที่ผมคิด
อย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้น ผมก็เลยต้องมองไปที่ “เวที” ซะ
ก่อน ซึ่งผมก็คิดว่าตรงนี้น่าจะเหมาะ ก็บังเอิญสอดสายตา
ไปพบเจ้าตัวจิ๋วหนวดสีส้มนี้เข้าพอดี...เสร็จโจร
	 ทั้งตัวแบบและเวทีของผมก็เลยช่วยเล่าเรื่องราวกัน
ใหญ่ แถมยังทิ้งปริศนาประเภทมันคือตัวอะไรว้า? เอาไว้
ให้คนดูภาพได้อีกด้วยสิ...
32 33Issue# 13 April 2012
Nikon D7000 • Tamron SP AF10-24mm F/3.5-4.5 Di II LD Aspherical [IF] • F/4.5 • 10 mins. • ISO 200
ถึงจะหมดแสงตะวันแล้วก็ยังไม่ต้องเก็บกล้อง ขอแค่มีขาตั้งกล้องและสายลั่น
ชัตเตอร์ เราก็ยังสนุกสนานกับการเก็บภาพได้อีกพักใหญ่ๆ (ใหญ่มากเลยเชียว
แหละ)
	 เชื่อไหมว่าภาพนี้ถ่ายในเวลาเกือบๆ เที่ยงคืน ก็ด้วยการเปิดรับแสงที่
นานราวๆ สิบนาทีท�ำให้สิ่งต่างๆ สว่างขึ้นมาได้จนน่าอัศจรรย์ และด้วยการเปิด
รับแสงที่ยาวนานขนาดนี้ ผืนทะเลก็กลายเป็นแผ่นเรียบเพราะการเคลื่อนไหว
ทั้งหลายถูกท�ำให้กลายเป็นความต่อเนื่องที่ราบเรียบไปหมดแล้ว
	 แสงจากเรือไดหมึกที่อยู่ไกลออกไปตรงขอบฟ้าก็ยังส่งอิทธิพลมาถึงที่นี่
ทั้งๆ ที่ตอนลั่นชัตเตอร์น่ะตรงนี้มันมืดมากเลยทีเดียว!
34 35Issue# 13 April 2012
ถ้าเป็นคืนที่ฟ้าเปิด ก็ต้องนับว่าเป็นวันที่โชคเข้าข้างซึ่งจะได้เห็นดาวมากมาย
แต่ถ้าแบตเตอรี่มีน้อยก็ต้องบอกว่าบุญมีแต่กรรมบัง!
	 การถ่ายภาพดาวนั้นต้องอาศัยการเปิดรับแสงที่นานมาก ซึ่งมันก็จะใช้
พลังของแบตเตอรี่มากเหมือนกัน อันที่จริงภาพนี้ควรจะมีเส้นแสดงการเดินทาง
ของดวงดาวที่ยาวออกไปมากกว่านี้ แต่ภาพนี้เปิดรับแสงได้เพียง 45 นาที
แบตเตอรี่ที่ผ่านการใช้งานอย่างหนักหน่วงมาทั้งวันก็ค่อยๆ มอดดับลง ดังนั้น
ถ้าคุณตั้งใจจะไปถ่ายภาพเส้นแสงของดวงดาวอย่างจริงจังแล้วละก็ อย่าลืมชาร์จ
แบตไปให้เต็ม มีส�ำรองได้ยิ่งดี
	 อ้อ แล้วก็อย่าลืมยากันยุงประเภทต่างๆ ด้วยล่ะ เพราะมันก็จัดเป็น
อุปสรรคขัดขวางในอันดับต้นๆ ของคนถ่ายภาพดาวด้วยเหมือนกัน
Nikon D7000 • Tamron SP AF10-24mm F/3.5-4.5 Di II LD Aspherical [IF] • F/6.3 • 45 mins. • ISO 100
36 37Issue# 13 April 2012
ทะเลนั้นทรงอิทธิพลมากมายมหาศาลต่อการถ่ายภาพ เป็น
ทั้งแรงบรรดาลใจและเวทีในการวาดลวดลายทางความคิด
สร้างสรรค์ได้อย่างไม่รู้จบ เพียงแค่คุณรู้จักที่จะคิดและมองใน
มุมที่ต่างออกไปจากคนอื่นๆ เพราะจะว่าไปแล้วกล้องถ่ายภาพ
สามารถท�ำอะไรแปลกๆ ออกมาให้พวกเราดูได้อีกร้อยแปดพัน
ประการ คุณอาจจะต้องลองตั้งโจทย์ให้กับตัวเองดูว่าอยากจะ
ถ่ายภาพให้ออกมาแบบนี้แบบนั้น แล้วลองสรรหาวิธีที่จะท�ำให้
มันเกิดขึ้นจริงให้ได้ ซึ่งบางทีมันอาจจะเป็นภาพแบบที่ยังไม่เคย
มีใครถ่ายมาก่อนเลยก็เป็นได้
	 แต่ถ้าคุณยังคงเป็นมือใหม่ที่ไม่เชี่ยวชาญเพลงยุทธ์แห่ง
หุบเขาหลังเลนส์มากมายนัก ผมก็ขอแนะน�ำให้ลองฝึกฝนตาม
แบบที่เค้าบอกสอนกันมาให้เข้าใจเสียก่อน เพราะบางสิ่ง
บางอย่างไม่สามารถ
ท�ำความเข้าใจได้แค่
การอ่านหรือการฟัง
จ�ำเป็นต้องอาศัยการ
ลงมือท�ำจริงด้วยจึงจะ
เข้าใจ หลังจากนั้นจึงค่อยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของความคิด
สร้างสรรค์ที่จะ “ลองของ” กันดู
	 เชื่อเถอะว่า นับจากนี้ “ทะเล” ในมุมมองของคุณจะ
ค่อยๆ เปลี่ยนไป ซึ่งบางทีคุณอาจจะอยากสะพายกล้องไป
ทะเลในวันที่ท้องฟ้าเต็มไปด้วยพายุโหมกระหน�่ำจนผืนทะเล
โยนตัวไปด้วยเกลียวคลื่นที่บ้าคลั่ง เพื่อถ่ายภาพที่ไม่เหมือน
ชาวบ้านให้มันสะใจไปเลยก็ได้!
ปิยะฉัตร แกหลง
38 39Issue# 13 April 2012
ในการถ่ายภาพท�ำนองนี้ ผมแนะน�ำว่าคุณควรมีอุปกรณ์
เสริมดังนี้ครับ :
	 • ขาตั้งกล้อง
	 ควรเป็นขาตั้งกล้องชนิดที่แข็งแรงและกางแต่ละขาออก
ไปได้อย่างอิสระ ยิ่งมีความยืดหยุ่นมากเท่าไหร่ก็ยิ่งสะดวกต่อ
การใช้งานมากเท่านั้น
	 ไม่แนะน�ำแบบราคาถูกที่มีขายึดกับแกนกลาง เพราะ
นอกจากจะไม่สะดวกต่อพื้นที่โขดหินแล้ว มันยังไม่ค่อยแข็งแรง
และมีความเสี่ยงต่อการล้มคว�่ำสร้างความเสียหายได้
	 • C-PL Filter
	 ฟิลเตอร์ส�ำหรับตัดแสงสะท้อน เหมาะกับการตัดแสง
สะท้อนจากผิวน�้ำท�ำให้น�้ำดูใสมากยิ่งขึ้น ท�ำให้สีสันสดใสอิ่ม
ตัว และมันยังช่วยลดปริมาณแสงได้ 1-2 สตอปอีกด้วย
	 • ND Filter
	 ส�ำหรับช่วยลดแสงที่จะเข้าสู่กล้อง มีทั้งแบบ 2X 4X 8X
10X ซึ่งยิ่งเข้มมากก็จะยิ่งหาซื้อยาก แต่ก็พอหาได้ตามร้านที่
ขายอุปกรณ์เสริมทั้งหลาย
	 ส�ำหรับพวกฟิลเตอร์นี้ควรจะเป็นชนิด “ขอบบาง” เพราะ
เมื่อน�ำไปใช้กับเลนส์มุมกว้างพิเศษแล้วจะได้ไม่มีปัญหาขอบฟิล
เตอร์ติดเข้ามาในมุมภาพทั้งสี่ด้านด้วย
	 ส่วนวิธีการถ่ายภาพลักษณะนี้ คลิกเข้าไปคุยกับผมที่
ลิ้งค์ด้านล่างนี้ได้เลยครับ
PhotoTechnique
40 41Issue# 13 April 2012
ภาพในชุดนี้ทั้งหมดผมได้มาจาก “อุทยานแห่งชาติ
เขาแหลมหญ้า - หมู่เกาะเสม็ด” ซึ่งไม่ได้หมายความ
ว่าอยู่บนเกาะเสม็ดนะ แต่อยู่บนฝั่งทะเลระยอง วิ่งไป
จนสุดหาดแม่ร�ำพึง เลี้ยวซ้ายไปอีกนิดก็มีป้ายใหญ่โต
เลี้ยวขวาเข้าไป สามารถขับรถข้ามภูเขาลงไปจนถึง
ชายหาดที่ปรากฏในภาพได้
	 ส่วนปลายแหลมเขาหญ้าอันมีลักษณะทาง
ธรณีวิทยาที่น่าสนใจนั้นก็เดินเลาะเลียบริมทะเลไปอีก
ประมาณหนึ่งกิโลเมตร ทางเดินไม่ถึงกับล�ำบากล�ำบน
อะไรมากมายนัก บางช่วงมีสะพานไม้ให้เดินสะดวก
สบาย ผจญภัยเล็กๆ พอได้บรรยากาศกันนิดนึง...
	 มีบ้านพักเอาไว้ให้บริการหลายหลัง หรือถ้าใคร
จะกางเต๊นท์ก็สามารถ แต่ต้องน�ำเต๊นท์มาเองเพราะ
เต๊นท์ของทางอุทยานฯ ไม่มีให้บริการ ห้องน�้ำห้อง
ท่าสะดวกสบายหายห่วง โดยเฉพาะคุณผู้หญิงนั้น
มีให้ใช้งานหลายห้องเลยทีเดียว
	 ที่เห็นจะล�ำบากสักหน่อยก็คือเรื่องของ
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องชาร์จแบตเตอรี่ ร้านค้าร้าน
อาหารเพียงร้านเดียวนั้นเปิดให้บริการไปจนถึงราว
สามทุ่ม คิดค่าบริการเสียบปลั๊กชิ้นละ 20 บาท แต่
ถ้าร้านปิดแล้วก็ไม่มีปลั๊กให้เสียบ ที่ท�ำการก็ไม่ได้
อยู่แถวนี้ ดังนั้นหากคิดจะมากางเต๊นท์นอนก็เตรียม
ตัวในเรื่องนี้ให้ดีๆ ด้วยล่ะ
	 หรือจะไปพักที่ “ระยองรีสอร์ท” ซึ่งอยู่ติด
กันแล้วเดินมาก็สามารถท�ำได้ ขาลุยสไตล์หรูก็
เห็นมีอยู่ไม่น้อยเหมือนกันนี่นา...
• Click for map from Google Maps
42 43Issue# 13 April 2012
หลังจากที่กล้อง DSLR ซึ่งมีคุณสมบัติในการ
บันทึกภาพวีดีโอตัวแรกจาก Nikon ได้เผยตัวออกมา
พร้อมค�ำถามจากสังคมว่า DSLR จะถ่ายวีดีโอได้ไปเพื่อ
อะไร? ค�ำตอบก็ดูเหมือนจะชัดเจนแล้วส�ำหรับในปัจจุบัน
เมื่อภาพวีดีโอที่มีคุณภาพระดับสูงจาก DSLR นั้นได้แสดง
ศักยภาพออกมาในหลายๆ ด้าน ซึ่งท�ำให้ DSLR ทุกรุ่นที่
จะออกสู่ท้องตลาดในปัจจุบันนี้ต้องมีคุณสมบัติในการ
บันทึกภาพวีดีโอติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิด
	 ...และแน่นอนว่าต้องเป็นระบบ “Full HD” ระดับ
ความละเอียด 1080x1920px ด้วย
	 จะสังเกตหรือไม่ก็ตาม ในสเปคบอกระดับความ
ละเอียดนั้นจะมีตัวอักษรเล็กๆ อีกหนึ่งตัวห้อยติดมาด้วย นั่น
ก็คือ “i” และ “p” ซึ่งก็ไม่เฉพาะกับกล้อง DSLR เท่านั้น
แต่อุปกรณ์ A/V ทั้งหลายในปัจจุบันต้องมีติดมาด้วยทั้งสิ้น
	 ...มันคืออะไร?
44 45Issue# 13 April 2012
ท้าวความไปถึงเรื่องพื้นฐานของการแสดง
ภาพวีดีโอกันสักนิด ว่าภาพวีดีโอหรือภาพเคลื่อนไหว
ที่กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาส�ำหรับชีวิตประจ�ำวัน
ของเรานั้น มันก็คือการเล่นภาพนิ่งหลายๆ ภาพต่อ
เนื่องกัน ซึ่งก็ขึ้นกับระบบของการเล่นภาพในแต่ละ
แบบว่าจะแสดงภาพจ�ำนวนกี่ภาพต่อหนึ่งวินาทีเพื่อ
ให้เห็นเป็นการเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่อง
	 โดยระบบปกติแล้วก็จะมีแบบ 24, 25 และ
30 ภาพต่อวินาที หรือ เฟรม/วินาที (Frame per
second : FPS) ซึ่งความเร็วในการแสดงภาพต่อเนื่อง
ในระดับนี้ สายตาของเราจะมองไม่เห็นภาพทีละภาพ
แต่จะมองเห็นเป็นการเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันไปเลย
	 ทั้งอุปกรณ์การบันทึกและอุปกรณ์แสดงภาพ
ต่างก็อยู่ในวิธีการเดียวกันนี้ กล้องวีดีโอก็จะบันทึก
มาด้วยความเร็ว 30 ภาพต่อวินาที ในขณะที่ทีวีก็จะ
แสดงภาพในอัตราความเร็ว 30 ภาพต่อวินาทีเช่น
กัน...นี่คือตัวอย่างของระบบ NTSC หรือในระบ DVD
ที่เราคุ้นเคยนั่นเอง
	 แต่ถ้าเป็นระบบโทรทัศน์ที่ออกอากาศในบ้าน
เรานั้น จะเป็นระบบ “PAL” ซึ่งแสดงภาพเคลื่อนไหว
ที่อัตรา 25 ภาพต่อวินาที ส่วนระบบฟิล์มภาพยนตร์
นั้นจะใช้อัตรา 24 ภาพต่อวินาที
	 ในการเล่นภาพต่อเนื่องนั้น อุปกรณ์จะมีขั้น
ตอนหนึ่งที่เรียกว่า “Scan” คือการกวาดสร้าง
สัญญาณภาพขึ้นบนอุปกรณ์โดยใช้ระบบ “เส้น”
คือการสร้างภาพจากเส้นในแนวนอนเรียงลงมาจาก
ด้านบน ซึ่งความเร็วในการ Scan นี้จะเร็วมากเสียจน
สายตาของเราจับไม่ทัน จึงมองไม่เห็นขั้นตอนการเรียง
ตัวเป็นเส้นของอุปกรณ์เหล่านี้
	 แต่กล้องถ่ายภาพมีความเร็วในการหยุดภาพ
มากกว่าสายตาของเรา ดังนั้นเมื่อเราถ่ายภาพจอทีวี
ที่ก�ำลังแสดงภาพอยู่ จึงปรากฏขั้นตอนการกวาดภาพ
หรือการสร้างเส้นของจอทีวีให้เห็น (ที่เห็นเป็นภาพ
ไม่เต็มจอเพราะอยู่ในระหว่างการ Scan เส้นลงมา
จากด้านบนนั่นเอง)
	 เส้นเหล่านี้บอกความละเอียดของความคมชัด
ในภาพแต่ละระบบด้วย ยกตัวอย่างเช่นความละเอียด
1080x1920px ก็จะมีจ�ำนวนเส้นในแนวนอนเท่ากับ
1080 เส้น
	 อย่างที่บอกไปแล้วว่าภาพวีดีโอคือการแสดง
ภาพนิ่งหลายภาพต่อเนื่องกัน และการแสดงภาพ
บนอุปกรณ์นั้นก็จะมีขั้นตอนการ “Scan” เพื่อสร้าง
ภาพขึ้นมาโดยการเรียงเป็นเส้นแนวนอนจากบนลง
ล่าง ซึ่งขั้นตอนการ “Scan” นี่เองคือต�ำแหน่งของ
“i” และ “p” ที่อยู่ในความสงสัยของเรา
46 47Issue# 13 April 2012
“i” หมายถึง Interlaced ในขณะที่ “p” หมาย
ถึง Progressive พูดโดยคร่าวๆ แปลว่า มันคือระบบ
การ Scan หรือสร้างภาพที่แตกต่างกันนั่นเอง
• Interlaced Scan
ระบบการสแกนภาพแบบดั้งเดิมที่จะสร้างภาพต่อเนื่อง
แบบสลับเส้น โดยจะแบ่งเป็นเส้นคู่และเส้นคี่ เส้นคู่จะ
เป็นเฟรมแรกส่วนเส้นคี่จะเป็นเฟรมถัดไป การสร้าง
ภาพก็คือสร้างจากเส้นที่ 1,3,5...จนถึงด้านล่าง แล้วก็
กลับขึ้นมาสร้างเฟรมถัดไปที่ 2,4,6... ซึ่งเป็นเทคนิคที่
ดูคล้ายกับการซ้อนภาพแต่ละเฟรมอย่างรวดเร็วเพื่อ
ความต่อเนื่องในการแสดงภาพเคลื่อนไหวนั่นเอง
	 ระบบการสแกนภาพแบบ Interlaced นี้เป็น
ระบบที่ใช้กันมานานมากตั้งแต่ระบบ Analog แม้
กระทั่งในปัจจุบันอเมริกาจะมีการแพร่ภาพสัญญาณทีวี
ในแบบ High Definition (HD) แต่ก็ยังใช้ระบบสแกน
ภาพแบบ Interlaced นี้อยู่
	 รวมไปถึงจอคอมพิวเตอร์แบบ “จอหลอด” หรือ
ที่ใช้หลอดภาพ (ไม่ใช่แบบ LCD หรือ LED ในปัจจุบัน)
ก็ใช้ระบบ Interlaced ในการสร้างภาพแช่นกัน
• Progressive Scan
ส�ำหรับผู้ทีเกิดมาในยุคที่คอมพิวเตอร์ยังเป็นจอภาพ
แบบเดิมอยู่นั้น คงจะจ�ำกันได้ว่าการแสดงผลของมัน
นั้นไม่เหมาะกับการดูในระยะใกล้เลย โดยเฉพาะกับ
งานตัวอักษร ยิ่งเมื่อต้องนั่งท�ำงานนานๆ นั้นจะก่อให้
เกิดอาการเมื่อยล้าสายตาได้ง่าย และที่หนักหน่อยก็คือ
ท�ำให้สายตาสั้นได้
	 ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะระบบการสแกนหรือ
“กวาด” สร้างภาพแบบ Interlaced ที่ถึงแม้ว่าสายตา
จะจับการเปลี่ยนแปลงไม่ทัน แต่มันก็มีการกระพริบถี่ๆ
ด้วยความเร็วสูงที่ระบบประสาทตาสามารถรู้สึกได้ และ
ส่งผลเสียต่อระบบการมองเห็นได้อยู่ดี
	 ด้วยเหตุนี้ จึงมีการคิดค้นระบบที่จะเข้ามาแก้
ปัญหานี้ให้หมดไป ซึ่งก็เป็นที่มาของ Progressive Scan
นั่นเอง
	 Progressive จะสแกนภาพโดยการสร้างเรียงเส้น
จากบนลงล่างให้จบทีละภาพคือ 1,2,3...จนถึงด้านล่าง
แล้วจึงสร้างภาพถัดไป
ภาพประกอบจาก tvjuneau.com
48 49Issue# 13 April 2012
• Interlaced vs. Progressive
เนื่องจาก Interlaced เป็นระบบดั้งเดิมตั้งแต่ยุค Analog แต่ Progressive
นั้นเกิดมาในยุค Digital ดังนั้นความสามารถในการแสดงภาพจึงค่อนข้างแตก
ต่างกัน
	 เพราะ Progressive จะแสดงภาพให้จบแต่ละภาพในครั้งเดียว ดังนั้นภาพ
ที่ได้จึงมีความคมชัดและแสดงรายละเอียดได้ดีกว่า และไม่มีปัญหาการกระพริบ
ของภาพ และจะเห็นได้ชัดเจนเมื่อมีการหยุดภาพในระหว่างการเล่นภาพ
เคลื่อนไหว ซึ่งระบบ Progressive จะหยุดได้นิ่งสนิท แต่ Interlaced จะเกิด
การกระพริบขึ้น
	 ปัญหาส�ำคัญของ Interlaced ก็คือลักษณะของอาการแสดงภาพแตก
เป็นเส้นๆ ในวัตถุที่ก�ำลังเคลื่อนไหว นั่นก็เพราะ Interlaced ต้องซ้อนภาพ
ระหว่างเฟรมลงในเส้นคู่/คี่ จึงเห็นปัญหานี้ได้บ่อยครั้ง แต่ Progressive แสดง
ภาพแต่ละภาพให้เสร็จในครั้งเดียว ปัญหานี้จึงไม่มีให้เห็น
	 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า Progressive สามารถแสดงภาพได้ดีกว่า Interlaced
มาก แต่มันก็ต้องใช้ระบบการประมวลผลและความเร็วของอุปกรณ์ในระดับสูง
กว่าเช่นกัน แม้กระทั่งหากจะออกอากาศสัญญาณโทรทัศน์แบบ Progressive
นั้นก็ต้องใช้ระดับความกว้างหรือ Bandwidth ที่สูงกว่าเช่นเดียวกันด้วย
	 ...จะว่าไปแล้วก็คล้ายกับโทรศัพท์ 2G, 3G และ 4G ยังไงยังงั้นเลย
ปัญหาการแตกเป็นเส้นของภาพเคลื่อนไหวในภาพแบบ Interlaced อันเนื่องมา
จากการซ้อนกันของแต่ละเฟรมในเส้นคู่และเส้นคี่ของขั้นตอนการสแกนภาพ ซึ่ง
ในบางกรณีนั้นเห็นชัดเจนและรบกวนการรับชมเป็นอย่างมาก
ดูความแตกต่างของการสแกน
ภาพทั้งสองระบบได้โดยคลิกที่นี่
50 51Issue# 13 April 2012
• แก้ปัญหาภาพแตกเป็นเส้น
ปัญหาภาพแตกเป็นเส้นของ Interlaced ดูจะเป็นปัญหาที่
เห็นได้ชัดเจนที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถแก้ไขได้โดย
ใช้ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการตัดต่อวีดีโอ ให้ลองมองหาค�ำ
สั่งที่เกี่ยวกับ “De-Interlaced”, “None Interlaced” หรืออะไร
ท�ำนองนี้ มันก็จะช่วยท�ำให้ภาพที่ได้ออกมาเป็นลักษณะ
เหมือนกับภาพแบบ Progressive
	 อย่างไรก็ตาม ส�ำหรับเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ตาม
บ้านในปัจจุบันนี้ก็ดูเหมือนว่าจะพร้อมรองรับระบบการสแกน
ภาพแบบ Progressive กันหมดแล้ว HDTV รุ่นใหม่ๆ ในท้อง
ตลาดต่างก็รองรับระบบนี้กันทั่วหน้าเพื่อการแสดงภาพที่ดีกว่า
เนื่องจากเครื่องเล่นและระบบของ DVD ไปจนถึง Blu-ray นั้น
ต่างก็เป็นแบบ Progressive นั่นเอง หาก HDTV ของค่ายไหน
ยังไม่รองรับ Progressive ก็มีหวังจะขายไม่ดี
	 แต่ในบางกรณี ระบบภาพของ Interlaced ก็เล่น
ภาพเคลื่อนไหวได้นุ่มนวลกว่าแบบ Progressive ทั้งนี้ทั้ง
นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับลักษณะการเคลื่อนไหวของวัตถุด้วย
เช่นถ้าเป็นการเคลื่อนไหวแบบรวดเร็ว-รุนแรงอย่างเช่น
กีฬา ระบบ Progressive ก็อาจจะให้ภาพที่ดีกว่า แต่ถ้า
เป็นการเคลื่อนไหวที่เชื่องช้า ไม่มีความเร็วมากนัก Inter-
laced ก็อาจจะแสดงภาพต่อเนื่องได้นุ่มนวลกว่า เป็นต้น
	 ก็เป็นอันรู้กันละว่า “i” และ “p” ที่ต่อท้ายความ
ละเอียดของภาพวีดีโอในสเปคของ DSLR แต่ละรุ่นนั้นมี
ที่มาที่ไปและหมายความว่าอย่างไร ค�ำถามนี้ก็เป็นอันสิ้น
สุดและใช้ประกอบการตัดสินใจได้แล้ว ที่เหลือก็อยู่ที่ว่า
คุณจะให้ความส�ำคัญกับเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน? ซึ่งถ้า
มันไม่จ�ำเป็นก็อาจจะไม่ต้องเอามาใส่ใจเลยก็ยังได้
“i” และ “p” มีผลต่อเรื่องของวีดีโอ แต่ไม่มีผลต่อการ
ถ่ายภาพนิ่งซึ่งเป็นหน้าที่หลักของ DSLR แต่อย่างใด.
52 53Issue# 13 April 2012
บริษัท Nikon Corporation หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ “Nikon”
นั้นเป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่่นที่มีขนาดใหญ่ระดับ Multinational
Corporation (ซึ่งหมายถึงบริษัทข้ามชาติที่มีการจดทะเบียน
อย่างเป็นทางการในหลายๆ ประเทศ) โดยมีส�ำนักงานใหญ่อยู่
ที่เมืองโตเกียว ธุรกิจหลักคือสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ทาง
Optic และงานที่เกี่ยวข้องกับ “ภาพ”
	 สินค้าหลักได้แก่ กล้อง เลนส์ กล้อง
ส่องทางไกล กล้องจุลทรรศน์ อุปกรณ์ตรวจ
วัดระยะ รวมไปถึงเครื่องมือในการผลิตชิป
ประมวลผลและแผงวงจร แต่สินค้าที่สร้าง
ชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปก็คือกล้องและ
เลนส์ส�ำหรับการถ่ายภาพ
...นั่นคือเรื่องที่เรารู้กันดี และจากนี้เราจะมาดู
ประวัติแต่หนหลังของ Nikon กันบ้าง
www.nicovandijk.net/rangefinder.htm
54 55Issue# 13 April 2012
25 กรกฏาคม 1917 คือวันจัดตั้งบริษัทอย่างเป็น
ทางการในชื่อ Nippon Kōgaku Kōgyō Kabushikigaisha
(แปลว่า Japan Optical Industries Co., Ltd.) ซึ่งเป็นการ
ควบรวมกิจการจากบริษัทที่ท�ำกิจการเกี่ยวกับ Optic 3 แห่ง
เข้าด้วยกัน โดยมีการส่งเทียบเชิญวิศวกรจากเยอรมัน 8
คนมาเข้าร่วมในการด�ำเนินกิจการ ในช่วงต้นนั้นเริ่มการ
ผลิตโดยใช้พนักงานจ�ำนวน 200 คน ซึ่งกิจการของบริษัท
ในยุคแรกนั้นคือการผลิตชิ้นส่วนทางด้าน Optic ประเภท
พวกชิ้นเลนส์ ไม่ใช่กล้องถ่ายภาพทั้งตัว
	 อุปกรณ์เหล่านั้นได้แก่กล้องจุลทรรศน์, กล้องส่อง
ทางไกล, เครื่องมือส�ำรวจ และอุปกรณ์ตรวจวัด ซึ่งเป็น
อุปกรณ์และเครื่องมือส�ำหรับงานอุตสาหกรรมและงานทาง
วิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น ดังนั้นบริษัทนี้จึงมีชื่อเสียงในกลุ่ม
อุตสาหกรรมและนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก
	 ...แต่ไม่เป็นที่รู้จักส�ำหรับผู้คนทั่วไป
	 ชื่อ “Nikkor” ถูกใช้เป็นครั้งแรกในการผลิตเลนส์
ส�ำหรับกล้องถ่ายภาพ ซึ่งเป็นชื่ออันมีที่มาจาก “Nikko”
ซึ่งเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าในกล้องจุลทรรศน์ของบริษัท
ต่อมาก็มีการพัฒนาเลนส์ 50mm F/4.5, 3.5 และ 2.0
ซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานส�ำหรับกล้อง “Hansa Canon” ซึ่ง
เป็นกล้องรุ่นแรกจาก Canon นั่นเอง
	 หลังจากนั้นมา Nikkor ก็เป็นเลนส์คู่ใจส�ำหรับกล้อง
Canon มาโดยตลอด จนกระทั่งในกลางปี 1947 หลังจากที่
สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงและ Canon สามารถผลิต
เลนส์ของตัวเองได้เป็นผลส�ำเร็จ Nikkor ก็ถอนตัวออกจาก
การเป็นผู้ผลิตเลนส์ให้กับ Canon
	 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนั้น บริษัทฯ เป็นหนึ่งใน
อีกหลายๆ บริษัทของญี่ปุ่นที่ผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทาง
ทหารเพื่อสนับสนุนกิจการของกองทัพ โดยได้รับการ
สนับสนุนเงินทุนจากทางรัฐบาลด้วย (ซึ่งจัดเป็นผู้ผลิตเลนส์
ส�ำหรับกล้องของทหารที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นในขณะนั้น) ส่ง
ผลให้บริษัทฯ มี 19 โรงงานและพนักงานถึง 23,000 คน
	 หลังจากสงครามสิ้นสุดลง บริษัทฯ มีการปรับสภาพ
โครงสร้างองค์กรใหม่ โรงงานลดเหลือเพียงแห่งเดียว และ
จ�ำนวนพนักงานก็ลดลงมาอยู่ที่ 1,400 คน ซึ่งเป็นผลกระทบ
มาจากทั้งเงินทุนสนุบสนุนจากรัฐบาลที่สิ้นสุดลง และสภาวะ
เศรษฐกิจหยุดชะงักหลังสงคราม
อาคารสำ�นักงานแห่งแรกในโตเกียว
“MIKRON 4x” กล้องส่องทางไกลตัว
แรกที่ออกแบบและผลิตโดย Nikon ใน
ปี 1921
“JOICO” กล้องจุลทรรศน์ตัวแรกที่ออก
แบบและผลิตโดย Nikon (1925)
56 57Issue# 13 April 2012
ช่วงเวลานั้นบริษัทฯ ก็มีความคิดว่าควรจะผลิต
กล้องถ่ายภาพเป็นของตัวเองออกสู่ตลาด และเพื่อจะ
ท�ำให้ชื่อเสียงของบริษัทฯ เป็นที่รู้จักในหมู่คนทั่วไปด้วย
	 เริ่มต้นจากการวิจัยความต้องการของตลาด ซึ่งเริ่ม
ที่กล้องชนิด TLR 6x6 และกล้อง 35mm ซึ่งผลของการ
วิจัยก็ตอบกลับมาว่ากล้อง TLR นั้นเริ่มเสื่อมความนิยม
แต่กล้อง 35mm นั้นมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมใน
อนาคต ดังนั้นโจทย์จึงเหลือเพียงกล้อง
ระบบ 35mm เพียงอย่างเดียว
	ในปี 1948 ก็เป็นครั้งแรกที่
โลกได้รู้จักกับชื่อ “Nikon” โดย
การประกาศเปิดตัวกล้องรุ่น
“Nikon I” ซึ่งเป็นกล้องตัวแรก
ของบริษัท กล้องตัวนี้ถูก
ออกแบบมาตั้งแต่ปี 1946 โดย
เป็นการรวมคุณสมบัติจาก
กล้องของ Leica
และ Contax ซึ่ง
เป็นกล้องที่
วิศวกรของ Nikon เห็นว่าเป็นกล้องถ่ายภาพที่สมบรูณ์
แบบที่สุดในขณะนั้น
	 ...จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ Nikon I จะมีหน้าตา
คล้ายคลึงกับกล้อง Contax เป็นอย่างมาก
	 Nikon I ชุดแรกนั้นใช้เวลาในการผลิตถึงหนึ่งปี
กล้องตัวนี้ใช้เลนส์ 50mm F.3.5 (หรือ 2.0) แน่นอน
ว่าต้องเป็นเลนส์ Nikkor แต่อย่างไรก็ตามมันกลับไม่ได้
รับความนิยมมากนัก สาเหตุหนึ่งนั้นก็เป็นเพราะกล้อง
ตัวนี้ไม่สามารถใช้งานร่วมกับฟิล์มขนาดมาตรฐานของ
Kodachrome ได้ (กล้องตัวนี้ใช้ฟิล์มขนาด 24x32) ซึ่ง
ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ท�ำให้ไม่สามารถส่งกล้องไป
จ�ำหน่ายยังอเมริกาได้ด้วย ดังนั้น Nikon I จึงถูกผลิต
ออกส่งมอบให้กับลูกค้าเพียง 400 ตัวเท่านั้น (ปัจจุบัน
นี้ก็กลายเป็นหนึ่งในกล้องหายากอีกตัวหนึ่ง)
	 Nikon จึงต้องแก้ปัญหานั้นด้วยการออกแบบ
กล้องรุ่นใหม่ในชื่อว่า “Nikon M” ในปี 1949
“Nikon I” ซึ่งในปัจจุบันติดอันดับกล้องหายาก
ตัวที่อยู่ในภาพนี้ถูกประมูลด้วยราคาประมาณ
22,000 ยูโร (ประมาณเกือบเก้าแสนบาท)
“HANSA CANON” กับเลนส์ Nikkor
50mm F/3.5
58 59Issue# 13 April 2012
Nikon M ออกแบบมาให้ใช้ฟิล์มขนาด 24x34mm (ซึ่ง
เป็นปัญหาเดิมอันเป็นที่มาของกล้องรุ่นนี้) และก็ได้รับความสนใจ
เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับช่างภาพข่าวสงครามเพราะในขณะ
นั้นอยู่ในช่วงที่สงครามเกาหลีก�ำลังปะทุอย่างรุนแรง นักข่าวจึง
นิยมซื้อกล้องและเลนส์ไปใช้ในการรายงานข่าวเป็นอย่างมาก
	 แต่กล้องที่ท�ำให้ชื่อ Nikon รู้จักแพร่หลายในระดับนานาชาติ
คือ “Nikon S” ซึ่งออกท�ำตลาดในช่วง 1951-1955 โดยที่มันถูก
จ�ำหน่ายไปมากกว่า 37,000 ตัว
	 ปัจจัยที่ท�ำให้กล้องรุ่นนี้ประสบความส�ำเร็จก็คือ มันได้รับ
การแนะน�ำจากช่างภาพผู้มีชื่อเสียง “Mr. David Douglas Dun-
can” (DDD) ซึ่งถ่ายภาพให้กับนิตยสาร Time-Life เกี่ยวกับ
เรื่องราวต่างๆ ในญี่ปุ่่น และได้ต่อยอดไปเป็นการแนะน�ำให้รู้จัก
กับ Mr. Joe Ehrenreich ซึ่งเป็นผู้น�ำเข้ากล้องและเลนส์จาก
Nikon ไปจ�ำหน่ายยังอเมริกา
	 อีกปัจจัยหนึ่งก็คือสงครามเกาหลีซึ่งส่งผลให้มีช่างภาพ
เดินทางไปยังญี่ปุ่นเป็นจ�ำนวนมาก ซึ่งช่างภาพเหล่านั้นต่างก็
ต้องการกล้องและอุปกรณ์ภาคสนามเพื่อใช้ในการรายงานข่าว ดัง
นั้นในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นเสมือนช่วงเวลาทองของกล้องถ่าย
ภาพจากแดนซามูไรเลยทีเดียว
“Nikon M” ซึ่งถูกปรับปรุงต่อจาก Nikon I ในเรื่องขนาดของ
ฟิล์ม จนสามารถส่งออกไปจำ�หน่ายยังต่างประเทศได้สำ�เร็จ
“Nikon S” ภาพประกอบจาก mir.com
60 61Issue# 13 April 2012
ในกล้องรุ่นถัดมาก็เป็นการกลั่นความคิดออกจาก
ประสบการณ์ในอดีตของ Nikon ซึ่งก็ได้รับความส�ำเร็จที่
เหนือกว่าในชื่อรุ่น “Nikon S2” เปิดตัวในปี 1953 ซึ่ง
หลายสิ่งถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก ในช่วง
ระหว่าง 1953-1958 นั้น สามารถท�ำยอดขายได้มากกว่า
56,000 ตัวเลยทีเดียว
	 ปี 1957 เป็นปีที่ Lieca เปิดตัวกล้องรุ่น M3 ซึ่ง
Nikon ก็ส่งกล้องรุ่น “SP” ลงสู่ตลาดด้วยเหมือนกัน ซึ่ง
มันเป็นกล้องที่เข้าใกล้ระดับมืออาชีพเข้าไปอีก คุณสมบัติ
โดดเด่นหลากหลายถูกเพิ่มเติมเข้ามา มีความไวชัตเตอร์
ให้ใช้งานตั้งแต่ช่วง 1 sec. ไปจนถึง 1/1000 sec. ถ่าย
ภาพได้เร็ว 3-4 เฟรมต่อวินาที และมีระบบชัตเตอร์แบบ
วัสดุไททาเนียมเพื่อความแข็งแกร่งให้เลือกใช้งาน
	 ที่ส�ำคัญ มันยังมีเลนส์ให้เลือกใช้งานหลายรุ่นคือ
25, 28, 35, 50, 85, 105 และ 135mm รวมทั้งมี
อุปกรณ์เสริมอย่างเฮ้าส์ซิ่งกันน�้ำให้ใช้งานด้วย
	 ...Nikon SP ท�ำยอดขายได้กว่า 22,000 ตัว
“Nikon SP”
“Nikon S2”
ภาพประกอบจาก mir.com
62 63Issue# 13 April 2012
• เริ่มเข้าสู่ยุค SLR
	 ต่อมาในเดือนเมษายนปี 1959 Nikon ก็ได้เปิดตัว
กล้อง SLR รุ่น “Nikon F” ซึ่งเป็น SLR ตัวแรกของ
Nikon พร้อมคุณสมบัติที่โดดเด่นหลายประการ โดยที่ “F”
ประสบความส�ำเร็จเป็นอย่างมาก มันเป็นกล้อง SLR ที่
สามารถเปลี่ยนปริซึมสะท้อนภาพและโฟกัสซิ่งสกรีนได้ มี
ปุ่มเช็คชัดลึกให้ใช้งาน สามารถล็อคกระจกสะท้อนภาพได้
ที่ส�ำคัญคือมันมีความแข็งแกร่งทนทานและสมบุกสมบัน
ดังจะเห็นได้จากการที่มันเป็นที่นิยมของช่างภาพข่าวในช่วง
สงครามเวียตนามเป็นอย่างมาก นอกจากนี้มันยังได้รับการ
บรรจุเข้าเป็นเครื่องมือบันทึกภาพมาตรฐานในโครงการ
อวกาศของอเมริกาอีกด้วย
	 สาเหตุที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในงานทั้งสอง
ก็คือ Nikon F สามารถเปลี่ยนอุปกรณ์เสริมบางส่วนซึ่ง
ท�ำให้มันสามารถบรรจุฟิล์มที่ถ่ายภาพได้มากถึง 250
ภาพ รวมทั้งมีระบบ Motor Drive ที่ช่วยขับเคลื่อนฟิล์ม
เพื่อให้สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็วขึ้นด้วย
ภาพประกอบโดย Richard de Stoutz
(ภาพประกอบจาก collectiblend.com)
อุปกรณ์เสริมที่ทำ�ให้ Nikon F สามารถใส่ฟิลม์ล์มที่ถ่ายภาพได้ถึง
250 ภาพ พร้อม Motor Drive ช่วยขับเคลื่อนฟิล์ม
64 65Issue# 13 April 2012
Nikon F ท�ำตลาดอยู่นานถึง 12 ปี หลังจากนั้นจึงเปิดตัว
“Nikon F2” มาในปี 1971 ซึ่งมีการเพิ่มระบบอิเล็คทรอนิกส์เข้า
มาในกล้องมากขึ้น ปรับปรุงให้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้ตั้งแต่ 10 sec.
ไปจนถึง 1/2000 sec. ซึ่ง F2 นี้สามารถจ�ำน่ายได้มากถึง 862,600
ตัว จากนั้นกล้องในตระกูล F ของ Nikon ก็พัฒนาความสามารถ
ออกมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถึง SLR ในระบบฟิล์มรุ่นสุดท้าย
ของ Nikon ในรุ่น F6 เมื่อปี 2004
• สู่ยุคดิจิตอล
	 Nikon ได้ท�ำการผลิตกล้องระบบดิจิตอลมาตั้งแต่ปี 1991 ซึ่ง
ตัวแรกนั้นเป็นกล้อง SLR ในระบบดิจิตอลเพื่อใช้ในภาระกิจด้าน
อวกาศของอเมริกาในรุ่น Nikon NASA F4 และยังได้ร่วมมือกับ
Kodak ในการพัฒนาระบบดิจิตอลเพื่อใช้งานร่วมกับกล้อง SLR
ของ Nikon ด้วย อย่างไรก็ดี กล้อง DSLR ตัวแรกส�ำหรับตลาด
ทั่วไปของ Nikon ก็คือ Nikon D1 ในปี 1999 ซึ่งใช้เซนเซอร์รับ
ภาพขนาด APS-C ส่วนกล้องส�ำหรับผู้ใช้ทั่วไปนั้นจะอยู่ในตระกูล
Coolpix ซึ่งเริ่มท�ำตลาดในปี 2000
	 ส�ำหรับกล้อง DSLR ของ Nikon นั้นจะใช้เซนเซอร์รับภาพ
ขนาด APS-C มาตลอด จนกระทั่งในปี 2005 Nikon จึงเริ่มใช้
เซนเซอร์รับภาพขนาด Fullframe ในกล้องรุ่น D3 ตามมาด้วย
Nikon NASA F4
66 67Issue# 13 April 2012
D700 ในปี 2007 และ Nikon กลับขึ้นมาเป็นผู้น�ำอีกครั้งใน
ปี 2008 กับกล้องรุ่น D90 ซึ่งมันเป็นกล้อง DSLR ตัวแรก
ของโลกที่สามารถบันทึกวีดีโอได้
	 กระแสของกล้อง DSLR นั้นมาแรงมาก ท�ำให้ยอดขาย
กล้องฟิล์มของค่ายฯ ตกอย่างรวดเร็ว ซึ่งขณะนั้นก็เหลือเพียง
Nikon เท่านั้นที่ยังคงผลิตกล้องฟิล์มออกมาท�ำตลาด แต่ใน
ที่สุด Nikon ก็ประกาศยุติสายพานการผลิตกล้องฟิล์มในเดือน
มกราคม 2006 ซึ่งกล้องฟิล์มรุ่นสุดท้ายก่อนยุติก็คือ F6 และ
FM10
	 ประวัติของ Nikon โดยละเอียดนั้นยังมีกล้องและ
อุปกรณ์อีกมากมายที่แสดงถึงนวัตกรรมและความก้าวหน้า
ในโลกของการถ่ายภาพจาก Nikon เพราะสินค้าของค่ายนี้
มีความหลากหลายและต่อเนื่องเป็นอย่างมาก ซึ่งบนเส้น
ทางนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทขึ้นมานั้นต้องผ่านทั้งอุปสรรคและ
ประสบการณ์อันมากมายกว่าจะมาเป็น Nikon ในวันนี้
บอกได้เลยว่าถ้าไม่แน่จริง ก็คงไม่สามารถครองใจมหาชน
ได้อย่างยั่งยืนยาวนานขนาดนี้ได้แน่ๆ
“D90” กล้อง DSLR
ตัวแรกของโลกที่สามารถ
บันทึกวีดีโอได้
“D3” กล้อง DSLR ตัวแรกของ Nikon ที่
ใช้เซนเซอร์รับภาพขนาด “Full Frame”
68 69Issue# 13 April 2012
คุณว่า “คนไทย” ถ่ายภาพ
ด้อยกว่าต่างชาติหรือไม่?
เราคิดว่า “ไม่”
70 71Issue# 13 April 2012
See this pic at 500px.com
copyright2013©Anan Charoenkal
72 73Issue# 13 April 2012
See this pic at 500px.com
copyright2013©Suradej Chuepphanich
74 75Issue# 13 April 2012
See this pic at 500px.com
copyright2013©Chakrit Chanpen
76 77Issue# 13 April 2012
See this pic at 500px.com
copyright2013©Nuang Sangkhsri
78 79Issue# 13 April 2012
with Adobe Photoshop
อาการ“ขอบมืด” นั้นจะว่าไปแล้วก็ท�ำให้ภาพหลายๆ
ภาพดูดีขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะภาพแนวเรโทรเก่าๆ
อันเป็นเอฟเฟกต์ชนิดที่ก�ำลังนิยมกันอยู่ในขณะนี้
	 มีเครื่องมืออยู่ตัวหนึ่งใน Photoshop ที่มีเอาไว้เพื่อแก้
อาหารขอบมืดที่ว่าในภาพถ่าย ซึ่งจริงๆ แล้วมันเป็นอาการที่
เกิดจากจุดอ่อนของเลนส์ ซึ่งต้องแก้ไขให้อาการดังกล่าวหาย
ไป แต่เราจะมาท�ำให้อาการดังกล่าวเกิดขึ้นมาแม้แต่ในภาพที่
ผ่านเลนส์ระดับเทพก็ตาม เพราะข้อดีของมันก็คืออารมณ์แบบ
คลาสสิคบวกกับการช่วยขับเน้นตัวแบบให้โดดเด่นขึ้น และที่
ส�ำคัญคือเป็นวิธีการที่ง่ายและรวดเร็วปานสายฟ้าแลบ
	 ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่ามันใช้พื้นที่แค่สองหน้าต่อจากนี้
เท่านั้นเอง...
	 ...ไปดูกันเลย!
80 81Issue# 13 April 2012
เปิดภาพขึ้นมาใน Photoshop จากนั้นไปที่ค�ำสั่ง
Filter > Lens Correction...
	 เมื่อปรากฏหน้าต่าง Lens Correction ขึ้นมาแล้ว
ให้คลิกเลือกที่แถบ Custom ซึ่งจะปรากฏตัวเลื่อนมา
ให้เราปรับหลายตัว
	 ดูที่ส่วนของ “Vignette” จะมีตัวเลื่อนสองตัว
คือ “Amount” คือระดับความมืดของขอบภาพ ส่วน
“Midpoint” คือระดับความสว่างของส่วนกลางภาพ
	 ลองเลื่อนค่า Amount ดูก่อน โดยเลื่อนไปทาง
ซ้ายจนถึงระดับความเข้มที่พอใจ จากนั้นลองปรับค่า
Midpoint ดูว่ามันจะท�ำให้ภาพดีขึ้นได้หรือไม่?
	 อย่าลืมคลิกที่ “Preview” ด้วยเพื่อแสดงค่า
ความเปลี่ยนแปลงให้ดู หรือจะปิด/เปิดมันเพื่อดูความ
แตกต่างก็ได้ จากนั้นก็คลิกที่ OK
	 ...แค่นี้ก็ได้ภาพที่มี “ขอบมืด” สมใจแล้ว!
82 83Issue# 13 April 2012
+Camerateria
วิวัฒนาการบทต่อมาของกล้องเล็กไม่ยอมตาย
(ซึ่งอันที่จริงก็คงจะไม่มีวันตายเพราะมีคนใช้เยอะ) คือการ
ขยับชั้นขึ้นมาใช้เซนเซอร์รับภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นระดับ
APS-C ซึ่งเป็นขนาดเดียวกับ DSLR หลายๆ รุ่น แน่นอน
ว่าคุณภาพของภาพยังด้อยกว่า DSLR แต่มันก็ย่อมจะ
ดีกว่าคอมแพคทั่วไปแน่นอน เพราะขนาดเซนเซอร์
ที่ใหญ่ขึ้นนั้นมันหมายถึงคุณภาพและมิติสีสันโดย
รวมของภาพถ่ายจะดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา
	 กล้องคอมแพคที่ใช้เซนเซอร์ APS-C นั้น
เริ่มท�ำตลาดกันอย่างจริงจังแล้ว และถึงจะได้
ชื่อว่าคอมแพค แต่ส่วนมากแล้วก็มีราคาแซงหน้า DSLR
รุ่นเล็กไปไกล และบางรุ่นนั้นก็มีค่าตัวเทียบชั้นกับ DSLR รุ่น
บนๆ ได้เลยทีเดียว
	 ลองมาดูกันว่าตอนนี้มีกล้องคอมแพครุ่นไหนที่เป็น
APS-C แล้วบ้าง? และมันน่าสนใจขนาดไหนกันเชียว?
84 85Issue# 13 April 2012
+Camerateria
FujiFilm
X100S
สืบทอดสไตล์เรโทรมาจากรุ่นพี่อย่าง “X100” ซึ่งตอบ
กระแสเรียกร้องรสนิยมวันวานได้เป็นอย่างดี แต่รอบนี้ถูก
ปรับปรุงเรื่องราวภายในหลายๆ อย่าง ที่ส�ำคัญที่สุดก็คือ
เซนเซอร์รับภาพ APS-C “X-Trans” ความละเอียด 16.3MP
พร้อมระบบ Phase Detection ในตัว (ระบบนี้เปิดตัวขึ้นใน
กล้องของ Fujifilm เป็นเจ้าแรก)
	 ลูกเล่นส�ำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยเสริมบรรยากาศของ
ความเป็นกล้องเก่าก็คือ ถึงแม้จะมีระบบ Live view แต่มัน
ก็มีช่องมองภาพแบบ Optical มาให้ส่องกันเท่ไปเลย อันนี้จะ
ว่าเท่อย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะในยามที่ต้องสงวนแบตเตอรี่ การ
ปิดระบบ Live view ก็สามารถช่วยได้เยอะเหมือนกัน
	 ที่อาจจะสืบทอดอารมณ์กล้องเก่ามาอีกอย่างหนึ่ง (แต่
คงไม่ค่อยจะดีนัก) ก็คือ X100S มีน�้ำหนักถึง 445 กรัม หรือ
เกือบครึ่งกิโล! ชึ่งก็นับว่าหนักเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน...
86 87Issue# 13 April 2012
+Camerateria
	 โปรเซสเซอร์ประมวลผลตัวใหม่ “EXR II” ที่ท�ำงาน
ได้ฉับไวไฉไลกว่าเดิม ซึ่งเมื่อมาท�ำงานประสานกับระบบออโต
โฟกัสบนเซนเซอร์รับภาพด้วยแล้ว ท�ำให้ Fujifilm กล้าที่จะ
ประกาศอย่างอหังการว่านี่คือระบบออโตโฟกัสที่เร็วที่สุดใน
โลก! อันนี้คงต้องรอฟังเสียงสะท้อนจากผู้ใช้งานดูอีกที แต่ก็
น่าจะเร็วปรู๊ดปราดจริงๆ ยิ่งท�ำงานร่วมกับเลนส์ไวแสงอีกอย่าง
หนึ่งด้วย มันจะช้าก็ให้รู้กันไปสิ...
	 กล้องแนวนี้ต้องใช้ฝีมือและมุมมองสะท้อนความเก๋ากัน
สักหน่อย เพราะมันมีเลนส์ฟิกซ์ระยะ 23mm รูรับแสงกว้าง
สุด F/2 ติดมากับตัว ซึ่งอันนี้แหละที่คนทั่วไปคงจะอึดอัดน่า
ดูเพราะมันไม่ใช่เลนส์ซูมอันแสนสะดวกสบาย แต่เสน่ห์ของ
เลนส์ฟิกซ์ก็มีอยู่ในตัวของมัน เพราะนอกจากคุณภาพจะเหนือ
กว่าเลนส์ซูมแล้ว ความท้าทายก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คนใช้กล้อง
แนวนี้เค้ามีกันอยู่เยอะ
	 ระบบแป้นและปุ่มควบคุมต่างๆ ก็ต้องถือว่า Fujifilm
ออกแบบมาได้ยอดเยี่ยมมาก มันยังคงอารมณ์กล้องในยุค
ดั้งเดิมเอาไว้ได้ทุกกระเบียดนิ้ว คนทั่วไปมองผ่านๆ อาจจะคิด
ว่าหลงยุค สมัยนี้ยังมีฟิล์มให้ซื้อมาใช้ด้วยเหรอ?
	 ข้อด้อยที่น่าเสียดายอย่างหนึ่งของ X100S ก็คือ
จอภาพด้านหลังขนาด 2.8 นิ้วนั้นกลับมีความละเอียดเพียง
แค่ 460,000px เท่านั้น
	 ...ดูจะ “เรโทร” ไปหน่อยรึเปล่า?
Fujifilm X100S Online
88 89Issue# 13 April 2012
+Camerateria
Fujifilm X100S • Programmed Auto • F/5 • 1/75 sec. • ISO 400
90 91Issue# 13 April 2012
+Camerateria
Leica
X2
ถ้าบอกชื่อ “Leica” ก็คงไม่มีใครกล้าเถียงว่าเป็นกล้อง
ชั้นดีที่ได้อานิสงส์มาจากสมัยสงคราม เพราะกล้องรุ่น
พ่อรุ่นปู่นั้นฝากฝีมือระดับต�ำนานเอาไว้เยอะแยะ
มากมาย
	 เมื่อมาถึงรุ่นของหลานในยุคดิจิตอล Leica ก็ยัง
ไม่ยอมตายไปจากวงการด้วยการพัฒนากล้องรุ่นใหม่ๆ
ออกมาอีกหลายรุ่น อาจจะไม่บ่อยครั้งมากเท่ากล้องจาก
แดนซามูไร แต่ออกมาครั้งไหนเป็นต้องได้ฮือฮากันเสมอ
	 ...แน่นอนว่าหนึ่งในความฮือฮาก็เป็นเรื่องของ
“ราคา” ที่ไม่เคยจมลงมาได้สักที
	 ต่อให้เป็นกล้องคอมแพค Leica ก็ยังมีราคาน่า
หวาดหวั่น และเมื่อถึงคิวของคอมแพค APS-C อย่าง
“X2” มันก็มีราคาไม่ใช่เบาเช่นกัน
	 ความละเอียดของเซนเซอร์ APS-C ตัวนี้อยู่ที่
16.2MP บันทึกแสงที่ได้จากเลนส์ฟิกซ์ ELMARIT
36mm F/2.8 หรือเทียบเท่ากับเลนส์ 50mm ในระบบ
ฟิล์มนั่นเอง
92 93Issue# 13 April 2012
+Camerateria
	 จากการปรับปรุงมาจาก “X1” รุ่นก่อนหน้า ท�ำให้
มันมีคุณสมบัติที่ดีขึ้นหลายประการ รวมไปถึงอุปกรณ์
เสริมที่ท�ำให้ดูหน้าตาดีขึ้นไปอีกอย่างช่องมองภาพอิเล็ค
ทรอนิกส์ “Viso-Flex” ซึ่งเป็นงานการผลิตจาก Epson
	 อีกสิ่งหนึ่งที่ Leica ยืนยันอย่างหนักแน่นก็คือ
ระบบออโตโฟกัสที่ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งเรื่องนี้เคยเป็น
จุดอ่อนใน X1 ที่ถูกวิจารณ์อย่างหนัก
	 ความไวแสงวิ่งอยู่ระหว่าง 100 - 12500 ถ่ายภาพ
ต่อเนื่องได้เร็วสุด 5 ภาพต่อวินาที
	 ที่น่าประหลาดใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ จอภาพ LCD
ด้านหลังขนาด 2.7 นิ้วนั้นกลับมีความละเอียดเพียง
230,000px เท่านั้น
	 เมื่อเทียบสเปคกับราคาค่าตัวแล้ว คุณต้องเป็น
แฟน Leica อย่างแท้จริง ไม่งั้นไม่กล้าควักกระเป๋าจ่าย
เพื่อครอบครองมันแน่ๆ
Leica X2 Online
94 95Issue# 13 April 2012
+Camerateria
Leica X2
96 97Issue# 13 April 2012
+Camerateria
Nikon
Coolpix A
ปะโลโก้ “DX” หราอยู่บนตัวกล้อง ก็เป็นอันแน่นอน
ว่าคอมแพคตัวนี้ใช้เซนเซอร์ขนาด APS-C แน่ๆ ซึ่ง
ก็อาจจะสร้างความงุนงงได้นิดๆ เพราะมันก็หน้าตาเกือบ
จะเหมือนกล้อง Mirrorless รุ่น “Nikon 1” อยู่หน่อยๆ
เหมือนกัน
	 เลนส์ฟิกซ์บนตัวกล้องนั้นระบุเอาไว้ว่าเป็นระยะ
18.5mm ซึ่งก็จะเปรียบได้กับเลนส์ระยะ 28mm ส�ำหรับ
ระบบ 35mm นั่นเอง
	 รหัส “A” ของกล้องรุ่นนี้คือการดึงเอาคุณสมบัติ
เด่นของกล้องคอมแพคระดับสูงของค่ายอย่าง P7700 มา
รวมกับ DSLR ระดับกลางของค่าย ท�ำให้มันมีความ
สามารถในการควบคุมการถ่ายภาพแบบ Manual ได้
หลายประการ
	 และหนึ่งในเทรนด์ของกล้องยุคนี้ นั่นก็คือ Coolpix
A ไม่มี AA Filter อยู่หน้าเซนเซอร์ ซึ่งก็คงจะชูประเด็น
เรื่องความคมชัดกินขาดให้เป็นหมัดตายกันเลยทีเดียว!
98 99Issue# 13 April 2012
+Camerateria
	 เซนเซอร์รับภาพ APS-C แบบ CMOS ตัวนี้มีความ
ละเอียด 16.2MP ระดับค่า ISO วิ่งอยู่ระหว่าง 100 -
25600 ถ่ายภาพต่อเนื่องได้ 4 ภาพต่อวินาที
	 เลนส์ 28mm นั้นมาพร้อมรูรับแสงกว้างสุด F/2.8
ซึ่งมากพอที่จะถ่ายภาพแบบ “ชัดตื้น” ได้สบายๆ
	 จอภาพด้านหลังขนาด 3 นิ้ว ความละเอียด
921,000px ดูภาพถ่ายหรือภาพวีดีโอได้คมชัด
	 Coolpix A สามารถส่งภาพถ่ายหรือวีดีโอไปทาง
ระบบ Wi-fi ได้ด้วย แต่น่าเสียดายว่าไม่ใช่คุณสมบัติ
ที่มีพร้อมใช้ในตัว เพราะคุณต้องซื้ออุปกรณ์เสริม WU-
1a มาติดตั้งเข้าไปเสียก่อน...ถ้าจะติดตั้งมาในตัวเลยก็
คงจะดีนะ
Nikon Coolpix A Online
100 101Issue# 13 April 2012
+Camerateria
Nikon Coolpix A • Program Auto • F/5.6 • 1/15 sec. • ISO 100
102 103Issue# 13 April 2012
+Camerateria
Ricoh
New GR
เดินทางมาถึงรุ่นที่ 5 แล้ว ส�ำหรับกล้อง
คอมแพคเลนส์ฟิกซ์สุดแนวที่มีแฟนๆ เหนียว
แน่นทั่วโลก (รวมทั้งในบ้านเราด้วย) คุณอาจ
จะไม่เคยรู้ แต่กล้องตระกูล GR มีประวัติมาตั้งแต่
ยุคกล้องฟิล์มนู่นเลยทีเดียว
	 รุ่นที่ 5 นี้ใส่ความพิเศษเข้ามาเพิ่ม นั่นก็
คือเรื่องของเซนเซอร์รับภาพแบบ CMOS ขนาด
APS-C ความละเอียด 16.2MP พร้อมเลนส์
28mm F/2.8 ซึ่งออกแบบมาได้เล็กจนน่า
อัศจรรย์ใจ
	 จอภาพด้านหลังขนาด 3 นิ้ว ความละเอียด
1,230,000px ค่าความไวแสงระหว่าง 100 -
25600 ความไวชัตเตอร์ 300 sec. ถึง 1/4000
sec. ถ่ายภาพต่อเนื่องได้ 4 ภาพต่อวินาที บันทึก
วีดีโอได้ถึงระดับ Full HD
104 105Issue# 13 April 2012
+Camerateria
	 สิ่งที่น่าประทับใจก็คือ คอนเซปต์ของ GR นั้นเป็นกล้อง
ที่เน้นเรื่องการ “Snap” เป็นหลัก ประเภทว่าเห็นอะไรเจ๋งๆ
ก็ยกกล้องขึ้นกด ซึ่งใน GR รุ่นใหม่นี้มีระบบช่วยเหลือหลายๆ
อย่างที่จะท�ำให้คุณข้ามขั้นตอนหลายๆ อย่างที่เคยท�ำให้พลาด
โอกาสมาแล้วในอดีต เป็นต้นว่าสามารถตั้งระบบโฟกัสแบบ
Infinity เอาไว้ล่วงหน้าได้เลย ไม่ว่ากล้องจะถูกปรับตั้งเอาไว้แบบ
ไหนในขณะนั้น เมื่อคุณยกกล้องขึ้นแล้วกดชัตเตอร์แบบ Full
press มันจะบันทึกภาพที่ Infinity ให้ทันที เป็นต้น
	 อีกอย่างหนึ่งก็คือ ปุ่มควบคุมต่างๆ ด้านหลังและด้านบน
นั้นถูกออกแบบมาให้สามารถจัดการได้โดยใช้แค่มือเดียว ซึ่งจะ
สังเกตได้ว่าไม่มีปุ่มอะไรอยู่อีกฝั่งของกล้องเลย เพราะฉะนั้นต่อ
ให้อีกมือหนึ่งไม่ว่าง คุณก็ยังสามารถควบคุมกล้องได้สบายๆ
	 สิ่งที่น่าเสียดายก็คือ กล้องตัวนี้ไม่มีระบบป้องกันภาพสั่น
ไหวติดมาให้ ก็เลยต้องใช้ฝีมือกันหน่อย แต่ถ้ามีก็น่าจะดีได้
มากกว่านี้
	
	 โดยรวมแล้ว GR ตัวนี้กลับมีสเปคน่าสนใจที่สุดในขณะ
ที่มีราคาต�่ำที่สุดในบรรดากล้องคอมแพค APS-C ในกลุ่ม
เดียวกัน แถมด้วยดีกรีกล้องคอมแพคเลนส์ฟิกซ์ที่มีคนการัน
ตีในเรื่องของคุณภาพเป็นอย่างมากอีกด้วย
Ricoh GR Online
106 107Issue# 13 April 2012
Photo nextor v14
Photo nextor v14
Photo nextor v14
Photo nextor v14
Photo nextor v14
Photo nextor v14
Photo nextor v14

More Related Content

Similar to Photo nextor v14 (12)

Eep time issue_4
Eep time issue_4Eep time issue_4
Eep time issue_4
 
Eep time issue_3
Eep time issue_3Eep time issue_3
Eep time issue_3
 
Eep time issue_5
Eep time issue_5Eep time issue_5
Eep time issue_5
 
Eep time issue_2
Eep time issue_2Eep time issue_2
Eep time issue_2
 
การถ่ายภาพเบื้องต้น
การถ่ายภาพเบื้องต้นการถ่ายภาพเบื้องต้น
การถ่ายภาพเบื้องต้น
 
กล้องสองตา2
กล้องสองตา2กล้องสองตา2
กล้องสองตา2
 
การถ่ายภาพเบื้องต้น
การถ่ายภาพเบื้องต้นการถ่ายภาพเบื้องต้น
การถ่ายภาพเบื้องต้น
 
55540089
5554008955540089
55540089
 
Janti55540089
Janti55540089Janti55540089
Janti55540089
 
Janti55540089
Janti55540089Janti55540089
Janti55540089
 
Eep time issue_6
Eep time issue_6Eep time issue_6
Eep time issue_6
 
งานอาจารภูเบศ22610 มุก (1)
งานอาจารภูเบศ22610 มุก (1)งานอาจารภูเบศ22610 มุก (1)
งานอาจารภูเบศ22610 มุก (1)
 

More from Thanai Punyakalamba

การ เสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น
การ เสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นการ เสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น
การ เสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นThanai Punyakalamba
 
หลักพื้นฐานธรรมาภิบาล มธ.
หลักพื้นฐานธรรมาภิบาล มธ.หลักพื้นฐานธรรมาภิบาล มธ.
หลักพื้นฐานธรรมาภิบาล มธ.Thanai Punyakalamba
 
หลักธรรมาภิบาล
หลักธรรมาภิบาลหลักธรรมาภิบาล
หลักธรรมาภิบาลThanai Punyakalamba
 
Labour protection 2551_release_3
Labour protection 2551_release_3Labour protection 2551_release_3
Labour protection 2551_release_3Thanai Punyakalamba
 
Labour protection 2551_release_2
Labour protection 2551_release_2Labour protection 2551_release_2
Labour protection 2551_release_2Thanai Punyakalamba
 
เกี่ยวกับ มทร
เกี่ยวกับ มทรเกี่ยวกับ มทร
เกี่ยวกับ มทรThanai Punyakalamba
 

More from Thanai Punyakalamba (11)

Punyakalamba
PunyakalambaPunyakalamba
Punyakalamba
 
การ เสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น
การ เสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นการ เสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น
การ เสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น
 
หลักพื้นฐานธรรมาภิบาล มธ.
หลักพื้นฐานธรรมาภิบาล มธ.หลักพื้นฐานธรรมาภิบาล มธ.
หลักพื้นฐานธรรมาภิบาล มธ.
 
หลักธรรมาภิบาล
หลักธรรมาภิบาลหลักธรรมาภิบาล
หลักธรรมาภิบาล
 
Eep time issue_8
Eep time issue_8Eep time issue_8
Eep time issue_8
 
Labour protection 2541_new
Labour protection 2541_newLabour protection 2541_new
Labour protection 2541_new
 
Eep time issue_1
Eep time issue_1Eep time issue_1
Eep time issue_1
 
Labour protection 2551_release_3
Labour protection 2551_release_3Labour protection 2551_release_3
Labour protection 2551_release_3
 
Labour protection 2551_release_2
Labour protection 2551_release_2Labour protection 2551_release_2
Labour protection 2551_release_2
 
Labour protection 2541
Labour protection 2541Labour protection 2541
Labour protection 2541
 
เกี่ยวกับ มทร
เกี่ยวกับ มทรเกี่ยวกับ มทร
เกี่ยวกับ มทร
 

Photo nextor v14

  • 1. ISSUE 14 : May 2013 ปีที่ 2 ฉบับที่ 14 : พฤษภาคม 2556 www.photonextor.com
  • 2.
  • 3. ค�ำถามที่ผมมักจะได้รับกลับมาเสมอเมื่อ บอกไปว่า e-Mag ที่ผมท�ำเนี่ยเปิดให้โหลด ฟรี ไม่คิดตังค์ แล้วที่ท�ำไปทั้งหมดเนี่ยได้ อะไร? รายได้มาจากไหน ฯลฯ อะไรท�ำนองนั้น ดูๆ ไปแล้วก็น่าสงสัยนะครับว่าเปิดให้โหลดฟรี ท�ำไม? มีวัตถุประสงค์อะไรแอบแฝงหรือเปล่า? ใน e-Mag มีสคริปต์พวกโทรจันอะไรที่จะแอบไปฝังตัวอยู่ในเครื่อง ปลายทางหรือไม่? ซึ่งถ้าเป็นผมก็คงจะสงสัยแล้วก็คง อยากจะถามอยู่เหมือนกัน ดังนั้นมันก็ไม่แปลกหรอกครับ ที่ท่านจะสงสัย เพราะสังคมและโลกเราทุกวันนี้มันเต็มไป ด้วยสิ่งที่ต้องระมัดระวังอยู่รอบด้าน โดยเฉพาะอะไรที่มา กับคอมพิวเตอร์นี่แหละ ผมยังคงเชื่ออยู่อย่างหนึ่งครับว่า การให้ความรู้เป็น อะไรที่ให้แล้วมันไม่หมดไป ตรงกันข้ามมันกลับได้อะไร เข้ามาเพิ่มอีกต่างหาก ได้ความสบายใจ ได้มิตรภาพทั้ง ใหม่ทั้งเก่า และที่ส�ำคัญซึ่งผมเชื่อเหลือเกินก็คือ มัน เป็นการกระท�ำที่เป็นกุศล โดยเฉพาะการให้ความรู้เป็น อะไรที่เราควรจะท�ำหากว่าเราอยู่ในจุดที่จะสามารถ ครั้งนึงผมก็เคยเป็นคนที่ไม่รู้เรื่องถ่ายภาพเหมือน กัน และก็รู้สึกดีทุกครั้งที่มีคนมาบอกมาสอน แต่ก็ดู เหมือนบรรยากาศตรงนั้นมันจะน้อยลงไปทุกที ผมเชื่อว่า คนที่สนใจเรื่องการถ่ายภาพและต้องการใครสักคนมาชี้ ประตูให้เห็นยังคงมีเกิดขึ้นทุกวัน แต่คนที่จะแบ่งปันความ รู้สู่กันท�ำไมเหมือนจะน้อยลงไปทุกทีก็ไม่รู้... ถึงยังไงการให้โดยไม่หวังผลตอบแทนก็ยังคงมีอยู่ จริงนะครับ อย่างน้อยก็ e-Mag ที่คุณก�ำลังอ่านอยู่นี่ไง! +Editor’sTalk eMagazine รายเดือนเพื่อเรียนรู้เรื่องกล้องและ การถ่ายภาพ ดาวน์โหลดฟรีทุกวันที่ 9 ของเดือนที่ photonextor.com Original eBook Script : PageFlip v2.25 by Macc/IpariGrafika FONT CREDIT : ฟ : CmPrasanmit ฟ : Supermarket ฟ : Book_Akhanake ขอบคุณ f0nt.com สำ�หรับ การเป็นแหล่งรวบรวมฟอนท์ เพื่อสังคม PhotoNextoR Connection : ติดต่อประสานงานทางการตลาด marketing@photonextor.com ติดต่อลงข่าวประชาสัมพันธ์ news@photonextor.com แนะนำ�ติชม/สอบถามเพิ่มเติม info@photonextor.com www.photonextor.com ปิยะฉัตร แกหลง Nextopia
  • 5. ถึงแม้ว่าอากาศจะร้อนอบอ้าวแทบทั้งปี แต่เราก็ยังมี ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการอยู่ในช่วงนี้ และแน่นอนว่าใคร ต่อใครต่างก็พากันนึกถึงฟ้าครามน�้ำใสของท้องทะเลกัน ทั้งนั้น ไม่เว้นแม้แต่คนมีกล้องที่จ้องคอยโอกาสจะเดิน ทางไปถ่ายภาพทะเลแบบสดใสสุดๆ แต่จะว่าไปแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าทะเลจะมีแต่ ฟ้าครามน�้ำใสให้ถ่ายรูปกันเท่านั้น ยังมีเทคนิคและวิธี คิดอีกหลายแบบแถมมันยังสามารถประยุกต์ไอเดียอัน หลากหลายนั้นเข้าด้วยกันได้อีกต่างหาก ซึ่งก็จะได้ภาพ ที่แปลกตาน่าดูมาไม่น้อยเหมือนกัน ที่ทะเล...เราจะถ่ายภาพแบบไหนด้วยกล้อง DSLR ให้ต่างออกไปกันได้บ้าง? มาลองดูกันเลย... เรื่อง/ภาพ : ปิยะฉัตร แกหลง 8 9Issue# 13 April 2012
  • 6. พระอาทิตย์ขึ้น/พระอาทิตย์ตก แทบจะเป็นภาพในฝัน ของตากล้องทุกคน แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะถ่ายภาพแบบนี้ ได้ทุกครั้งต่อให้มือชั้นเซียนขนาดไหนก็ตาม เพราะมัน ต้องขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละวันด้วย ซึ่งก็บ่อยครั้ง ที่มักจะมีเมฆกลุ่มใหญ่ๆ มาบังเอาไว้ไม่ให้เราได้เห็น พระอาทิตย์ชนเส้นขอบฟ้าได้ง่ายเกินไป เลนส์มุมกว้างสามารถเก็บบรรยากาศแบบนี้ได้ดี แต่มันจะได้ผลเป็นพิเศษเมื่อท้องฟ้าเป็นใจ คุณอาจจะ ใช้วิธีการปรับอุณหภูมิสีขึ้นไปสูงๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เช่น เดียวกับในภาพนี้ หรือจะอาศัยขั้นตอนการปรับปรุงภาพ ภายหลังด้วยคอมพิวเตอร์ก็ได้ วัดแสงไปยังจุดที่ใกล้กับ พระอาทิตย์ ซึ่งหากคุณวางจุดวัดแสงได้ดี ภาพของคุณ ก็จะอยู่ในระดับแสงที่พอเหมาะในการเกิดภาพอันน่า ประทับใจ แต่มันอาจจะมืดเกินไปหรือสว่างเกินไปหาก วัดแสงในจุดที่ไม่เหมาะสม เรื่องนี้ต้องสังเกตดูให้ดีด้วย Nikon D7000 • Tamron SP AF 10-24mm F3.5-4.5 Di II LD Aspherical (IF) • F/13 • 1/40 sec. • ISO 100 10 11Issue# 13 April 2012
  • 7. พระอาทิตย์ดวงโต คุณจ�ำเป็นต้องใช้เลนส์ระยะเท เลโฟโต้ ยิ่งระยะสูงมากก็ยิ่งได้พระอาทิตย์ขนาด ใหญ่ แต่ที่ส�ำคัญไม่แพ้กันก็คือองค์ประกอบอย่างอื่น ที่ควรจะปรากฏอยู่ในภาพด้วยเพราะมันจะช่วยเสริม เรื่องราวในภาพให้น่าดูมากยิ่งขึ้น เมื่อใช้ระยะเทเลโฟโต้ คุณจ�ำเป็นต้องอยู่ห่าง จากตัวแบบมากๆ เช่น หากคุณอยากจะให้ใครสัก คนเข้าไปอยู่ข้างๆ พระอาทิตย์ ตัวคุณพร้อมกล้องก็ Nikon D7000 • Tamron SP70-300mm F/4-5.6 Di VC USD • @300mm • F/4.5 • 1/250 sec. • ISO 100 ต้องออกไปอยู่ห่างๆ (บางทีอาจจะเป็นร้อยเมตร) เพื่อให้สิ่งนั้นปรากฏอยู่ในภาพด้วย อย่างในภาพ นี้ผมต้องยืนอยู่ในระยะห่างจากตัวแบบประมาณ 80 เมตร และหามุมที่เทเลโฟโต้จะหลบหลีกสิ่ง กีดขวางด้านหน้าไปให้หมด ภาพแบบนี้คงไม่ใช่ เรื่องยากถ้าจะให้มีแต่พระอาทิตย์อย่างเดียว แต่ ถ้าจะให้มีอย่างอื่นเข้ามาด้วย นั่นละสิ่งที่ยากใน เรื่องของมุมมองจริงๆ 12 13Issue# 13 April 2012
  • 8. Nikon D7000 • Nikon 18-55mm f/3.5-5.6G AF-S VR DX • @24mm • F/22 • 25 sec. • ISO 100 • ND 8X 14 15Issue# 13 April 2012
  • 9. Nikon D7000 • Nikon 18-55mm f/3.5-5.6G AF-S VR DX • @18mm • F/22 • 25 sec. • ISO 100 • ND 8X ไม่ได้มีหมอกบนผิวทะเล แต่มันคืออิทธิฤทธิ์ของละอองน�้ำบนผิว คลื่นกับสปีดชัตเตอร์ช้าๆ ต่างหาก ท�ำยังไงก็ได้ให้คุณสามารถใช้ สปีดชัตเตอร์ระดับต�่ำๆ ในวันที่คลื่นมีก�ำลังในการถาโถมเข้าใส่โขด หิน ละอองน�้ำที่ฟุ้งกระจายนั้นจะปรากฏเป็นสีขาวๆ ฟุ้งๆ ลงไปบน เซนเซอร์รับภาพ ท�ำให้คลื่นที่รุนแรงนั้นกลายเป็นละอองหมอกที่อ่อน นุ่มไปทันทีที่ม่านชัตเตอร์ปิดตัวลง ภาพนี้ใช้ฟิลเตอร์ ND บังหน้าเลนส์ท�ำให้แสงที่ผ่านเข้ามามี ปริมาณลดลง เมื่อบีบรูรับแสงแคบมากๆ แล้วมันจะสามารถเปิดรับ แสงได้นานถึง 25 วินาที! 16 17Issue# 13 April 2012
  • 10. Nikon D7000 • Tamron SP AF10-24mm F/3.5-4.5 Di II LD Aspherical [IF] • F/22 • 10 sec. • ISO 100 • ND8X ถ้าวันไหนมีพระอาทิตย์ขึ้นให้เห็น ลองหาทางผนวก มันเข้ามาในภาพดู แม้ว่าแรกๆ มันอาจจะยากและ ต้องใช้เวลาในการทดลองอยู่สักหน่อย แต่ถ้าคุณ สามารถท�ำได้ รับรองว่าภาพทะเลของคุณจะไม่เห มือนใครๆ แน่นอน 18 19Issue# 13 April 2012
  • 11. Nikon D7000 • Tamron SP AF10-24mm F/3.5-4.5 Di II LD Aspherical [IF] • F/25 • 15 sec. • ISO 100 • ND8X 20 21Issue# 13 April 2012
  • 12. Nikon D7000 • Tamron SP AF10-24mm F/3.5-4.5 Di II LD Aspherical [IF] • F/22 • 5 sec. • ISO 100 ทะเลที่เต็มไปด้วยโขดหินไม่ใช่สิ่งที่คนเล่นน�้ำ ต้องการ แต่เป็นสวรรค์ของคนถ่ายภาพจริงๆ เพราะมันจะช่วยให้ภาพถ่ายดูมีเรื่องราวที่แตกต่าง ออกไปจากทะเลใสๆ ฟ้าสวยๆ เพียงอย่างเดียวที่เห็น กันดาษดื่น ลองมองหาโขดหินที่มีลักษณะและสีสัน ทางกายภาพอันน่าสนใจ จัดมุมรอจังหวะแสงสวยๆ ประยุกต์เทคนิคต่างๆ ที่พอเป็นไปได้เข้าไป ครั้งต่อไปที่นึกถึงทะเล คุณอาจจะมองหาแต่ ทะเลที่เต็มไปด้วยโขดหินก็เป็นได้ 22 23Issue# 13 April 2012
  • 13. Pentax K-30 • SMC-DA 18-135mm f/3.5-5.6 ED AL [IF] WR • F/22 • 5 sec. • ISO 100 ถึงแม้ว่าคุณจะมีเลนส์มุมกว้างอยู่ในมือ แต่ก็อย่าใช้ แต่มุมกว้างเพียงอย่างเดียว การน�ำเสนอบางสิ่งแบบ เน้นๆ จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจลงในชุดภาพทะเล ของคุณได้ บางสิ่งที่ว่านั้นอาจจะถูกละเลยมองข้าม ไปในสายตาคนทั่วไปเนื่องด้วยเป็นสิ่งที่เห็นกันจนชา ชิน แต่เมื่อถูกน�ำเสนอแบบเน้นๆ ภายในพื้นที่กรอบ สี่เหลี่ยมของภาพถ่าย มันอาจจะกลายเป็นสิ่งที่ดึงดูด ความสนใจมากเป็นพิเศษก็เป็นได้ 24 25Issue# 13 April 2012
  • 14. Nikon D7000 • Tamron SP AF10-24mm F/3.5-4.5 Di II LD Aspherical [IF] • F/8 • 1/320 sec. • ISO 200 คุณอาจจะเพิ่มความเคลื่อนไหวลงไปในภาพเพื่อให้มันดูมีชีวิตชีวามากขึ้น ได้ถึงแม้ว่าตัวแบบหลักในภาพของคุณจะดูน่าสนใจอยู่แล้ว ตัวประกอบบาง อย่างจะช่วยเสริมให้ภาพมีเรื่องราวมากยิ่งขึ้น ลีลาของชั้นหินในภาพนี้ก็ดู น่าสนใจ แต่คลื่นที่แตกกระทบโขดหินเบื้องหลังนั้นก็ท�ำให้ภาพดูมีความ เคลื่อนไหวและมีเรื่องราวมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งที่คุณควรท�ำเพิ่มเติมก็คือการรอ จังหวะที่เหมาะสมในการลั่นชัตเตอร์นั่นเอง 26 27Issue# 13 April 2012
  • 15. Nikon D7000 • Tamron SP AF10-24mm F/3.5-4.5 Di II LD Aspherical [IF] • F/13 • 1/100 sec. • ISO 100 ถึงแม้ว่าคลื่นนุ่มๆ ฟุ้งๆ จะเป็นภาพที่น่าดู แต่ภาพคลื่นที่ แสดงความรุนแรงก็น่าดูไม่แพ้กัน ท�ำยังไงเราถึงจะน�ำเสนอ อารมณ์ภาพแบบนั้นได้? ค�ำตอบก็คือการใช้สปีดชัตเตอร์ที่ช้ากว่าการ “หยุด” การเคลื่อนไหวลงมาอีกเล็กน้อย ผมไม่สามารถบอกได้ครับ ว่าต้องใช้เท่าไหร่ เพราะมันขึ้นอยู่กับความเร็ว+แรงของคลื่น, ปริมาณแสงในขณะนั้น คุณต้องลองดูตามความเหมาะสม แต่ ที่ส�ำคัญก็คือต้องหาจุดที่คลื่นจะกระแทกโขดหินอย่างรุนแรง เพราะมันจะดูน่าตื่นตาและน่าสนใจเป็นอย่างมาก 28 29Issue# 13 April 2012
  • 16. Nikon D7000 • Tamron SP70-300mm F/4-5.6 Di VC USD • @300mm • F/5.6 • 1/320 sec. • ISO 100 สัตว์ทะเลก็ควรมีอยู่ในชุดภาพของคุณ เพราะมันเป็นอีกสิ่งที่ช่วยให้ บรรยากาศโดยรวมดูมีชีวิตชีวามากกว่าแค่เฉพาะเรื่องสถานที่ และโดยมาก แล้วมันก็จะมีสีสันสวยงาม ท�ำให้ภาพยิ่งดูน่าสนใจมากเข้าไปใหญ่ ปูทะเลตัวนี้เกาะอยู่บนโขดหินหากินกันเป็นฝูง ผมต้องนอนราบไปกับ พื้นหินเพราะต้องการทิ้งฉากหลังให้ไกลออกไป ซึ่งมีทั้งสีของน�้ำทะเลและฟอง คลื่นที่กระเซ็นตัวขึ้นมา (อันนี้ต้องรอจังหวะให้ดี) อีกทั้งแสงสีบนตัวปูก็จะดูมี มิติมากขึ้นด้วย และที่ส�ำคัญก็คือระดับสายตาของปูและคนดูภาพอยู่ในระดับ เดียวกันแล้ว อืมมม...มันดูดีกว่าก้มถ่ายในมุมกดลงไปเป็นไหนๆ นะ...ว่ามั๊ย? 30 31Issue# 13 April 2012
  • 17. Nikon D7000 • Tamron SP AF60mm F/2 Di II • F/18 • 1/200 sec. • ISO 100 เลนส์มาโครก็แผลงฤทธิ์ได้เมื่อไปทะเล โจทย์ก็คือท�ำยังไง ถึงจะรู้ได้ว่านี่คือภาพที่ถ่ายเมื่อไปทะเลนะ เพราะภาพ มาโครก็คือโลกใบจิ๋วๆ ที่แทบจะไม่ได้ทิวทัศน์สภาพแวดล้อม ติดเข้ามาในภาพ นอกจากอะไรที่อยู่ใกล้ๆ ตัวมัน ก็คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการมองหาสภาพแวดล้อม เล็กๆ ที่บอกได้ว่ามันคือสิ่งที่อยู่ในทะเลนั่นแหละ ตัวแบบ ในภาพนี้คือแมลงตัวจิ๋วที่ชื่ออะไรก็ไม่รู้ ด้วยความที่ผมคิด อย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้น ผมก็เลยต้องมองไปที่ “เวที” ซะ ก่อน ซึ่งผมก็คิดว่าตรงนี้น่าจะเหมาะ ก็บังเอิญสอดสายตา ไปพบเจ้าตัวจิ๋วหนวดสีส้มนี้เข้าพอดี...เสร็จโจร ทั้งตัวแบบและเวทีของผมก็เลยช่วยเล่าเรื่องราวกัน ใหญ่ แถมยังทิ้งปริศนาประเภทมันคือตัวอะไรว้า? เอาไว้ ให้คนดูภาพได้อีกด้วยสิ... 32 33Issue# 13 April 2012
  • 18. Nikon D7000 • Tamron SP AF10-24mm F/3.5-4.5 Di II LD Aspherical [IF] • F/4.5 • 10 mins. • ISO 200 ถึงจะหมดแสงตะวันแล้วก็ยังไม่ต้องเก็บกล้อง ขอแค่มีขาตั้งกล้องและสายลั่น ชัตเตอร์ เราก็ยังสนุกสนานกับการเก็บภาพได้อีกพักใหญ่ๆ (ใหญ่มากเลยเชียว แหละ) เชื่อไหมว่าภาพนี้ถ่ายในเวลาเกือบๆ เที่ยงคืน ก็ด้วยการเปิดรับแสงที่ นานราวๆ สิบนาทีท�ำให้สิ่งต่างๆ สว่างขึ้นมาได้จนน่าอัศจรรย์ และด้วยการเปิด รับแสงที่ยาวนานขนาดนี้ ผืนทะเลก็กลายเป็นแผ่นเรียบเพราะการเคลื่อนไหว ทั้งหลายถูกท�ำให้กลายเป็นความต่อเนื่องที่ราบเรียบไปหมดแล้ว แสงจากเรือไดหมึกที่อยู่ไกลออกไปตรงขอบฟ้าก็ยังส่งอิทธิพลมาถึงที่นี่ ทั้งๆ ที่ตอนลั่นชัตเตอร์น่ะตรงนี้มันมืดมากเลยทีเดียว! 34 35Issue# 13 April 2012
  • 19. ถ้าเป็นคืนที่ฟ้าเปิด ก็ต้องนับว่าเป็นวันที่โชคเข้าข้างซึ่งจะได้เห็นดาวมากมาย แต่ถ้าแบตเตอรี่มีน้อยก็ต้องบอกว่าบุญมีแต่กรรมบัง! การถ่ายภาพดาวนั้นต้องอาศัยการเปิดรับแสงที่นานมาก ซึ่งมันก็จะใช้ พลังของแบตเตอรี่มากเหมือนกัน อันที่จริงภาพนี้ควรจะมีเส้นแสดงการเดินทาง ของดวงดาวที่ยาวออกไปมากกว่านี้ แต่ภาพนี้เปิดรับแสงได้เพียง 45 นาที แบตเตอรี่ที่ผ่านการใช้งานอย่างหนักหน่วงมาทั้งวันก็ค่อยๆ มอดดับลง ดังนั้น ถ้าคุณตั้งใจจะไปถ่ายภาพเส้นแสงของดวงดาวอย่างจริงจังแล้วละก็ อย่าลืมชาร์จ แบตไปให้เต็ม มีส�ำรองได้ยิ่งดี อ้อ แล้วก็อย่าลืมยากันยุงประเภทต่างๆ ด้วยล่ะ เพราะมันก็จัดเป็น อุปสรรคขัดขวางในอันดับต้นๆ ของคนถ่ายภาพดาวด้วยเหมือนกัน Nikon D7000 • Tamron SP AF10-24mm F/3.5-4.5 Di II LD Aspherical [IF] • F/6.3 • 45 mins. • ISO 100 36 37Issue# 13 April 2012
  • 20. ทะเลนั้นทรงอิทธิพลมากมายมหาศาลต่อการถ่ายภาพ เป็น ทั้งแรงบรรดาลใจและเวทีในการวาดลวดลายทางความคิด สร้างสรรค์ได้อย่างไม่รู้จบ เพียงแค่คุณรู้จักที่จะคิดและมองใน มุมที่ต่างออกไปจากคนอื่นๆ เพราะจะว่าไปแล้วกล้องถ่ายภาพ สามารถท�ำอะไรแปลกๆ ออกมาให้พวกเราดูได้อีกร้อยแปดพัน ประการ คุณอาจจะต้องลองตั้งโจทย์ให้กับตัวเองดูว่าอยากจะ ถ่ายภาพให้ออกมาแบบนี้แบบนั้น แล้วลองสรรหาวิธีที่จะท�ำให้ มันเกิดขึ้นจริงให้ได้ ซึ่งบางทีมันอาจจะเป็นภาพแบบที่ยังไม่เคย มีใครถ่ายมาก่อนเลยก็เป็นได้ แต่ถ้าคุณยังคงเป็นมือใหม่ที่ไม่เชี่ยวชาญเพลงยุทธ์แห่ง หุบเขาหลังเลนส์มากมายนัก ผมก็ขอแนะน�ำให้ลองฝึกฝนตาม แบบที่เค้าบอกสอนกันมาให้เข้าใจเสียก่อน เพราะบางสิ่ง บางอย่างไม่สามารถ ท�ำความเข้าใจได้แค่ การอ่านหรือการฟัง จ�ำเป็นต้องอาศัยการ ลงมือท�ำจริงด้วยจึงจะ เข้าใจ หลังจากนั้นจึงค่อยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของความคิด สร้างสรรค์ที่จะ “ลองของ” กันดู เชื่อเถอะว่า นับจากนี้ “ทะเล” ในมุมมองของคุณจะ ค่อยๆ เปลี่ยนไป ซึ่งบางทีคุณอาจจะอยากสะพายกล้องไป ทะเลในวันที่ท้องฟ้าเต็มไปด้วยพายุโหมกระหน�่ำจนผืนทะเล โยนตัวไปด้วยเกลียวคลื่นที่บ้าคลั่ง เพื่อถ่ายภาพที่ไม่เหมือน ชาวบ้านให้มันสะใจไปเลยก็ได้! ปิยะฉัตร แกหลง 38 39Issue# 13 April 2012
  • 21. ในการถ่ายภาพท�ำนองนี้ ผมแนะน�ำว่าคุณควรมีอุปกรณ์ เสริมดังนี้ครับ : • ขาตั้งกล้อง ควรเป็นขาตั้งกล้องชนิดที่แข็งแรงและกางแต่ละขาออก ไปได้อย่างอิสระ ยิ่งมีความยืดหยุ่นมากเท่าไหร่ก็ยิ่งสะดวกต่อ การใช้งานมากเท่านั้น ไม่แนะน�ำแบบราคาถูกที่มีขายึดกับแกนกลาง เพราะ นอกจากจะไม่สะดวกต่อพื้นที่โขดหินแล้ว มันยังไม่ค่อยแข็งแรง และมีความเสี่ยงต่อการล้มคว�่ำสร้างความเสียหายได้ • C-PL Filter ฟิลเตอร์ส�ำหรับตัดแสงสะท้อน เหมาะกับการตัดแสง สะท้อนจากผิวน�้ำท�ำให้น�้ำดูใสมากยิ่งขึ้น ท�ำให้สีสันสดใสอิ่ม ตัว และมันยังช่วยลดปริมาณแสงได้ 1-2 สตอปอีกด้วย • ND Filter ส�ำหรับช่วยลดแสงที่จะเข้าสู่กล้อง มีทั้งแบบ 2X 4X 8X 10X ซึ่งยิ่งเข้มมากก็จะยิ่งหาซื้อยาก แต่ก็พอหาได้ตามร้านที่ ขายอุปกรณ์เสริมทั้งหลาย ส�ำหรับพวกฟิลเตอร์นี้ควรจะเป็นชนิด “ขอบบาง” เพราะ เมื่อน�ำไปใช้กับเลนส์มุมกว้างพิเศษแล้วจะได้ไม่มีปัญหาขอบฟิล เตอร์ติดเข้ามาในมุมภาพทั้งสี่ด้านด้วย ส่วนวิธีการถ่ายภาพลักษณะนี้ คลิกเข้าไปคุยกับผมที่ ลิ้งค์ด้านล่างนี้ได้เลยครับ PhotoTechnique 40 41Issue# 13 April 2012
  • 22. ภาพในชุดนี้ทั้งหมดผมได้มาจาก “อุทยานแห่งชาติ เขาแหลมหญ้า - หมู่เกาะเสม็ด” ซึ่งไม่ได้หมายความ ว่าอยู่บนเกาะเสม็ดนะ แต่อยู่บนฝั่งทะเลระยอง วิ่งไป จนสุดหาดแม่ร�ำพึง เลี้ยวซ้ายไปอีกนิดก็มีป้ายใหญ่โต เลี้ยวขวาเข้าไป สามารถขับรถข้ามภูเขาลงไปจนถึง ชายหาดที่ปรากฏในภาพได้ ส่วนปลายแหลมเขาหญ้าอันมีลักษณะทาง ธรณีวิทยาที่น่าสนใจนั้นก็เดินเลาะเลียบริมทะเลไปอีก ประมาณหนึ่งกิโลเมตร ทางเดินไม่ถึงกับล�ำบากล�ำบน อะไรมากมายนัก บางช่วงมีสะพานไม้ให้เดินสะดวก สบาย ผจญภัยเล็กๆ พอได้บรรยากาศกันนิดนึง... มีบ้านพักเอาไว้ให้บริการหลายหลัง หรือถ้าใคร จะกางเต๊นท์ก็สามารถ แต่ต้องน�ำเต๊นท์มาเองเพราะ เต๊นท์ของทางอุทยานฯ ไม่มีให้บริการ ห้องน�้ำห้อง ท่าสะดวกสบายหายห่วง โดยเฉพาะคุณผู้หญิงนั้น มีให้ใช้งานหลายห้องเลยทีเดียว ที่เห็นจะล�ำบากสักหน่อยก็คือเรื่องของ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องชาร์จแบตเตอรี่ ร้านค้าร้าน อาหารเพียงร้านเดียวนั้นเปิดให้บริการไปจนถึงราว สามทุ่ม คิดค่าบริการเสียบปลั๊กชิ้นละ 20 บาท แต่ ถ้าร้านปิดแล้วก็ไม่มีปลั๊กให้เสียบ ที่ท�ำการก็ไม่ได้ อยู่แถวนี้ ดังนั้นหากคิดจะมากางเต๊นท์นอนก็เตรียม ตัวในเรื่องนี้ให้ดีๆ ด้วยล่ะ หรือจะไปพักที่ “ระยองรีสอร์ท” ซึ่งอยู่ติด กันแล้วเดินมาก็สามารถท�ำได้ ขาลุยสไตล์หรูก็ เห็นมีอยู่ไม่น้อยเหมือนกันนี่นา... • Click for map from Google Maps 42 43Issue# 13 April 2012
  • 23. หลังจากที่กล้อง DSLR ซึ่งมีคุณสมบัติในการ บันทึกภาพวีดีโอตัวแรกจาก Nikon ได้เผยตัวออกมา พร้อมค�ำถามจากสังคมว่า DSLR จะถ่ายวีดีโอได้ไปเพื่อ อะไร? ค�ำตอบก็ดูเหมือนจะชัดเจนแล้วส�ำหรับในปัจจุบัน เมื่อภาพวีดีโอที่มีคุณภาพระดับสูงจาก DSLR นั้นได้แสดง ศักยภาพออกมาในหลายๆ ด้าน ซึ่งท�ำให้ DSLR ทุกรุ่นที่ จะออกสู่ท้องตลาดในปัจจุบันนี้ต้องมีคุณสมบัติในการ บันทึกภาพวีดีโอติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิด ...และแน่นอนว่าต้องเป็นระบบ “Full HD” ระดับ ความละเอียด 1080x1920px ด้วย จะสังเกตหรือไม่ก็ตาม ในสเปคบอกระดับความ ละเอียดนั้นจะมีตัวอักษรเล็กๆ อีกหนึ่งตัวห้อยติดมาด้วย นั่น ก็คือ “i” และ “p” ซึ่งก็ไม่เฉพาะกับกล้อง DSLR เท่านั้น แต่อุปกรณ์ A/V ทั้งหลายในปัจจุบันต้องมีติดมาด้วยทั้งสิ้น ...มันคืออะไร? 44 45Issue# 13 April 2012
  • 24. ท้าวความไปถึงเรื่องพื้นฐานของการแสดง ภาพวีดีโอกันสักนิด ว่าภาพวีดีโอหรือภาพเคลื่อนไหว ที่กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาส�ำหรับชีวิตประจ�ำวัน ของเรานั้น มันก็คือการเล่นภาพนิ่งหลายๆ ภาพต่อ เนื่องกัน ซึ่งก็ขึ้นกับระบบของการเล่นภาพในแต่ละ แบบว่าจะแสดงภาพจ�ำนวนกี่ภาพต่อหนึ่งวินาทีเพื่อ ให้เห็นเป็นการเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่อง โดยระบบปกติแล้วก็จะมีแบบ 24, 25 และ 30 ภาพต่อวินาที หรือ เฟรม/วินาที (Frame per second : FPS) ซึ่งความเร็วในการแสดงภาพต่อเนื่อง ในระดับนี้ สายตาของเราจะมองไม่เห็นภาพทีละภาพ แต่จะมองเห็นเป็นการเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันไปเลย ทั้งอุปกรณ์การบันทึกและอุปกรณ์แสดงภาพ ต่างก็อยู่ในวิธีการเดียวกันนี้ กล้องวีดีโอก็จะบันทึก มาด้วยความเร็ว 30 ภาพต่อวินาที ในขณะที่ทีวีก็จะ แสดงภาพในอัตราความเร็ว 30 ภาพต่อวินาทีเช่น กัน...นี่คือตัวอย่างของระบบ NTSC หรือในระบ DVD ที่เราคุ้นเคยนั่นเอง แต่ถ้าเป็นระบบโทรทัศน์ที่ออกอากาศในบ้าน เรานั้น จะเป็นระบบ “PAL” ซึ่งแสดงภาพเคลื่อนไหว ที่อัตรา 25 ภาพต่อวินาที ส่วนระบบฟิล์มภาพยนตร์ นั้นจะใช้อัตรา 24 ภาพต่อวินาที ในการเล่นภาพต่อเนื่องนั้น อุปกรณ์จะมีขั้น ตอนหนึ่งที่เรียกว่า “Scan” คือการกวาดสร้าง สัญญาณภาพขึ้นบนอุปกรณ์โดยใช้ระบบ “เส้น” คือการสร้างภาพจากเส้นในแนวนอนเรียงลงมาจาก ด้านบน ซึ่งความเร็วในการ Scan นี้จะเร็วมากเสียจน สายตาของเราจับไม่ทัน จึงมองไม่เห็นขั้นตอนการเรียง ตัวเป็นเส้นของอุปกรณ์เหล่านี้ แต่กล้องถ่ายภาพมีความเร็วในการหยุดภาพ มากกว่าสายตาของเรา ดังนั้นเมื่อเราถ่ายภาพจอทีวี ที่ก�ำลังแสดงภาพอยู่ จึงปรากฏขั้นตอนการกวาดภาพ หรือการสร้างเส้นของจอทีวีให้เห็น (ที่เห็นเป็นภาพ ไม่เต็มจอเพราะอยู่ในระหว่างการ Scan เส้นลงมา จากด้านบนนั่นเอง) เส้นเหล่านี้บอกความละเอียดของความคมชัด ในภาพแต่ละระบบด้วย ยกตัวอย่างเช่นความละเอียด 1080x1920px ก็จะมีจ�ำนวนเส้นในแนวนอนเท่ากับ 1080 เส้น อย่างที่บอกไปแล้วว่าภาพวีดีโอคือการแสดง ภาพนิ่งหลายภาพต่อเนื่องกัน และการแสดงภาพ บนอุปกรณ์นั้นก็จะมีขั้นตอนการ “Scan” เพื่อสร้าง ภาพขึ้นมาโดยการเรียงเป็นเส้นแนวนอนจากบนลง ล่าง ซึ่งขั้นตอนการ “Scan” นี่เองคือต�ำแหน่งของ “i” และ “p” ที่อยู่ในความสงสัยของเรา 46 47Issue# 13 April 2012
  • 25. “i” หมายถึง Interlaced ในขณะที่ “p” หมาย ถึง Progressive พูดโดยคร่าวๆ แปลว่า มันคือระบบ การ Scan หรือสร้างภาพที่แตกต่างกันนั่นเอง • Interlaced Scan ระบบการสแกนภาพแบบดั้งเดิมที่จะสร้างภาพต่อเนื่อง แบบสลับเส้น โดยจะแบ่งเป็นเส้นคู่และเส้นคี่ เส้นคู่จะ เป็นเฟรมแรกส่วนเส้นคี่จะเป็นเฟรมถัดไป การสร้าง ภาพก็คือสร้างจากเส้นที่ 1,3,5...จนถึงด้านล่าง แล้วก็ กลับขึ้นมาสร้างเฟรมถัดไปที่ 2,4,6... ซึ่งเป็นเทคนิคที่ ดูคล้ายกับการซ้อนภาพแต่ละเฟรมอย่างรวดเร็วเพื่อ ความต่อเนื่องในการแสดงภาพเคลื่อนไหวนั่นเอง ระบบการสแกนภาพแบบ Interlaced นี้เป็น ระบบที่ใช้กันมานานมากตั้งแต่ระบบ Analog แม้ กระทั่งในปัจจุบันอเมริกาจะมีการแพร่ภาพสัญญาณทีวี ในแบบ High Definition (HD) แต่ก็ยังใช้ระบบสแกน ภาพแบบ Interlaced นี้อยู่ รวมไปถึงจอคอมพิวเตอร์แบบ “จอหลอด” หรือ ที่ใช้หลอดภาพ (ไม่ใช่แบบ LCD หรือ LED ในปัจจุบัน) ก็ใช้ระบบ Interlaced ในการสร้างภาพแช่นกัน • Progressive Scan ส�ำหรับผู้ทีเกิดมาในยุคที่คอมพิวเตอร์ยังเป็นจอภาพ แบบเดิมอยู่นั้น คงจะจ�ำกันได้ว่าการแสดงผลของมัน นั้นไม่เหมาะกับการดูในระยะใกล้เลย โดยเฉพาะกับ งานตัวอักษร ยิ่งเมื่อต้องนั่งท�ำงานนานๆ นั้นจะก่อให้ เกิดอาการเมื่อยล้าสายตาได้ง่าย และที่หนักหน่อยก็คือ ท�ำให้สายตาสั้นได้ ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะระบบการสแกนหรือ “กวาด” สร้างภาพแบบ Interlaced ที่ถึงแม้ว่าสายตา จะจับการเปลี่ยนแปลงไม่ทัน แต่มันก็มีการกระพริบถี่ๆ ด้วยความเร็วสูงที่ระบบประสาทตาสามารถรู้สึกได้ และ ส่งผลเสียต่อระบบการมองเห็นได้อยู่ดี ด้วยเหตุนี้ จึงมีการคิดค้นระบบที่จะเข้ามาแก้ ปัญหานี้ให้หมดไป ซึ่งก็เป็นที่มาของ Progressive Scan นั่นเอง Progressive จะสแกนภาพโดยการสร้างเรียงเส้น จากบนลงล่างให้จบทีละภาพคือ 1,2,3...จนถึงด้านล่าง แล้วจึงสร้างภาพถัดไป ภาพประกอบจาก tvjuneau.com 48 49Issue# 13 April 2012
  • 26. • Interlaced vs. Progressive เนื่องจาก Interlaced เป็นระบบดั้งเดิมตั้งแต่ยุค Analog แต่ Progressive นั้นเกิดมาในยุค Digital ดังนั้นความสามารถในการแสดงภาพจึงค่อนข้างแตก ต่างกัน เพราะ Progressive จะแสดงภาพให้จบแต่ละภาพในครั้งเดียว ดังนั้นภาพ ที่ได้จึงมีความคมชัดและแสดงรายละเอียดได้ดีกว่า และไม่มีปัญหาการกระพริบ ของภาพ และจะเห็นได้ชัดเจนเมื่อมีการหยุดภาพในระหว่างการเล่นภาพ เคลื่อนไหว ซึ่งระบบ Progressive จะหยุดได้นิ่งสนิท แต่ Interlaced จะเกิด การกระพริบขึ้น ปัญหาส�ำคัญของ Interlaced ก็คือลักษณะของอาการแสดงภาพแตก เป็นเส้นๆ ในวัตถุที่ก�ำลังเคลื่อนไหว นั่นก็เพราะ Interlaced ต้องซ้อนภาพ ระหว่างเฟรมลงในเส้นคู่/คี่ จึงเห็นปัญหานี้ได้บ่อยครั้ง แต่ Progressive แสดง ภาพแต่ละภาพให้เสร็จในครั้งเดียว ปัญหานี้จึงไม่มีให้เห็น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า Progressive สามารถแสดงภาพได้ดีกว่า Interlaced มาก แต่มันก็ต้องใช้ระบบการประมวลผลและความเร็วของอุปกรณ์ในระดับสูง กว่าเช่นกัน แม้กระทั่งหากจะออกอากาศสัญญาณโทรทัศน์แบบ Progressive นั้นก็ต้องใช้ระดับความกว้างหรือ Bandwidth ที่สูงกว่าเช่นเดียวกันด้วย ...จะว่าไปแล้วก็คล้ายกับโทรศัพท์ 2G, 3G และ 4G ยังไงยังงั้นเลย ปัญหาการแตกเป็นเส้นของภาพเคลื่อนไหวในภาพแบบ Interlaced อันเนื่องมา จากการซ้อนกันของแต่ละเฟรมในเส้นคู่และเส้นคี่ของขั้นตอนการสแกนภาพ ซึ่ง ในบางกรณีนั้นเห็นชัดเจนและรบกวนการรับชมเป็นอย่างมาก ดูความแตกต่างของการสแกน ภาพทั้งสองระบบได้โดยคลิกที่นี่ 50 51Issue# 13 April 2012
  • 27. • แก้ปัญหาภาพแตกเป็นเส้น ปัญหาภาพแตกเป็นเส้นของ Interlaced ดูจะเป็นปัญหาที่ เห็นได้ชัดเจนที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถแก้ไขได้โดย ใช้ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการตัดต่อวีดีโอ ให้ลองมองหาค�ำ สั่งที่เกี่ยวกับ “De-Interlaced”, “None Interlaced” หรืออะไร ท�ำนองนี้ มันก็จะช่วยท�ำให้ภาพที่ได้ออกมาเป็นลักษณะ เหมือนกับภาพแบบ Progressive อย่างไรก็ตาม ส�ำหรับเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ตาม บ้านในปัจจุบันนี้ก็ดูเหมือนว่าจะพร้อมรองรับระบบการสแกน ภาพแบบ Progressive กันหมดแล้ว HDTV รุ่นใหม่ๆ ในท้อง ตลาดต่างก็รองรับระบบนี้กันทั่วหน้าเพื่อการแสดงภาพที่ดีกว่า เนื่องจากเครื่องเล่นและระบบของ DVD ไปจนถึง Blu-ray นั้น ต่างก็เป็นแบบ Progressive นั่นเอง หาก HDTV ของค่ายไหน ยังไม่รองรับ Progressive ก็มีหวังจะขายไม่ดี แต่ในบางกรณี ระบบภาพของ Interlaced ก็เล่น ภาพเคลื่อนไหวได้นุ่มนวลกว่าแบบ Progressive ทั้งนี้ทั้ง นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับลักษณะการเคลื่อนไหวของวัตถุด้วย เช่นถ้าเป็นการเคลื่อนไหวแบบรวดเร็ว-รุนแรงอย่างเช่น กีฬา ระบบ Progressive ก็อาจจะให้ภาพที่ดีกว่า แต่ถ้า เป็นการเคลื่อนไหวที่เชื่องช้า ไม่มีความเร็วมากนัก Inter- laced ก็อาจจะแสดงภาพต่อเนื่องได้นุ่มนวลกว่า เป็นต้น ก็เป็นอันรู้กันละว่า “i” และ “p” ที่ต่อท้ายความ ละเอียดของภาพวีดีโอในสเปคของ DSLR แต่ละรุ่นนั้นมี ที่มาที่ไปและหมายความว่าอย่างไร ค�ำถามนี้ก็เป็นอันสิ้น สุดและใช้ประกอบการตัดสินใจได้แล้ว ที่เหลือก็อยู่ที่ว่า คุณจะให้ความส�ำคัญกับเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน? ซึ่งถ้า มันไม่จ�ำเป็นก็อาจจะไม่ต้องเอามาใส่ใจเลยก็ยังได้ “i” และ “p” มีผลต่อเรื่องของวีดีโอ แต่ไม่มีผลต่อการ ถ่ายภาพนิ่งซึ่งเป็นหน้าที่หลักของ DSLR แต่อย่างใด. 52 53Issue# 13 April 2012
  • 28. บริษัท Nikon Corporation หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ “Nikon” นั้นเป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่่นที่มีขนาดใหญ่ระดับ Multinational Corporation (ซึ่งหมายถึงบริษัทข้ามชาติที่มีการจดทะเบียน อย่างเป็นทางการในหลายๆ ประเทศ) โดยมีส�ำนักงานใหญ่อยู่ ที่เมืองโตเกียว ธุรกิจหลักคือสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ทาง Optic และงานที่เกี่ยวข้องกับ “ภาพ” สินค้าหลักได้แก่ กล้อง เลนส์ กล้อง ส่องทางไกล กล้องจุลทรรศน์ อุปกรณ์ตรวจ วัดระยะ รวมไปถึงเครื่องมือในการผลิตชิป ประมวลผลและแผงวงจร แต่สินค้าที่สร้าง ชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปก็คือกล้องและ เลนส์ส�ำหรับการถ่ายภาพ ...นั่นคือเรื่องที่เรารู้กันดี และจากนี้เราจะมาดู ประวัติแต่หนหลังของ Nikon กันบ้าง www.nicovandijk.net/rangefinder.htm 54 55Issue# 13 April 2012
  • 29. 25 กรกฏาคม 1917 คือวันจัดตั้งบริษัทอย่างเป็น ทางการในชื่อ Nippon Kōgaku Kōgyō Kabushikigaisha (แปลว่า Japan Optical Industries Co., Ltd.) ซึ่งเป็นการ ควบรวมกิจการจากบริษัทที่ท�ำกิจการเกี่ยวกับ Optic 3 แห่ง เข้าด้วยกัน โดยมีการส่งเทียบเชิญวิศวกรจากเยอรมัน 8 คนมาเข้าร่วมในการด�ำเนินกิจการ ในช่วงต้นนั้นเริ่มการ ผลิตโดยใช้พนักงานจ�ำนวน 200 คน ซึ่งกิจการของบริษัท ในยุคแรกนั้นคือการผลิตชิ้นส่วนทางด้าน Optic ประเภท พวกชิ้นเลนส์ ไม่ใช่กล้องถ่ายภาพทั้งตัว อุปกรณ์เหล่านั้นได้แก่กล้องจุลทรรศน์, กล้องส่อง ทางไกล, เครื่องมือส�ำรวจ และอุปกรณ์ตรวจวัด ซึ่งเป็น อุปกรณ์และเครื่องมือส�ำหรับงานอุตสาหกรรมและงานทาง วิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น ดังนั้นบริษัทนี้จึงมีชื่อเสียงในกลุ่ม อุตสาหกรรมและนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก ...แต่ไม่เป็นที่รู้จักส�ำหรับผู้คนทั่วไป ชื่อ “Nikkor” ถูกใช้เป็นครั้งแรกในการผลิตเลนส์ ส�ำหรับกล้องถ่ายภาพ ซึ่งเป็นชื่ออันมีที่มาจาก “Nikko” ซึ่งเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าในกล้องจุลทรรศน์ของบริษัท ต่อมาก็มีการพัฒนาเลนส์ 50mm F/4.5, 3.5 และ 2.0 ซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานส�ำหรับกล้อง “Hansa Canon” ซึ่ง เป็นกล้องรุ่นแรกจาก Canon นั่นเอง หลังจากนั้นมา Nikkor ก็เป็นเลนส์คู่ใจส�ำหรับกล้อง Canon มาโดยตลอด จนกระทั่งในกลางปี 1947 หลังจากที่ สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงและ Canon สามารถผลิต เลนส์ของตัวเองได้เป็นผลส�ำเร็จ Nikkor ก็ถอนตัวออกจาก การเป็นผู้ผลิตเลนส์ให้กับ Canon ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนั้น บริษัทฯ เป็นหนึ่งใน อีกหลายๆ บริษัทของญี่ปุ่นที่ผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทาง ทหารเพื่อสนับสนุนกิจการของกองทัพ โดยได้รับการ สนับสนุนเงินทุนจากทางรัฐบาลด้วย (ซึ่งจัดเป็นผู้ผลิตเลนส์ ส�ำหรับกล้องของทหารที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นในขณะนั้น) ส่ง ผลให้บริษัทฯ มี 19 โรงงานและพนักงานถึง 23,000 คน หลังจากสงครามสิ้นสุดลง บริษัทฯ มีการปรับสภาพ โครงสร้างองค์กรใหม่ โรงงานลดเหลือเพียงแห่งเดียว และ จ�ำนวนพนักงานก็ลดลงมาอยู่ที่ 1,400 คน ซึ่งเป็นผลกระทบ มาจากทั้งเงินทุนสนุบสนุนจากรัฐบาลที่สิ้นสุดลง และสภาวะ เศรษฐกิจหยุดชะงักหลังสงคราม อาคารสำ�นักงานแห่งแรกในโตเกียว “MIKRON 4x” กล้องส่องทางไกลตัว แรกที่ออกแบบและผลิตโดย Nikon ใน ปี 1921 “JOICO” กล้องจุลทรรศน์ตัวแรกที่ออก แบบและผลิตโดย Nikon (1925) 56 57Issue# 13 April 2012
  • 30. ช่วงเวลานั้นบริษัทฯ ก็มีความคิดว่าควรจะผลิต กล้องถ่ายภาพเป็นของตัวเองออกสู่ตลาด และเพื่อจะ ท�ำให้ชื่อเสียงของบริษัทฯ เป็นที่รู้จักในหมู่คนทั่วไปด้วย เริ่มต้นจากการวิจัยความต้องการของตลาด ซึ่งเริ่ม ที่กล้องชนิด TLR 6x6 และกล้อง 35mm ซึ่งผลของการ วิจัยก็ตอบกลับมาว่ากล้อง TLR นั้นเริ่มเสื่อมความนิยม แต่กล้อง 35mm นั้นมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมใน อนาคต ดังนั้นโจทย์จึงเหลือเพียงกล้อง ระบบ 35mm เพียงอย่างเดียว ในปี 1948 ก็เป็นครั้งแรกที่ โลกได้รู้จักกับชื่อ “Nikon” โดย การประกาศเปิดตัวกล้องรุ่น “Nikon I” ซึ่งเป็นกล้องตัวแรก ของบริษัท กล้องตัวนี้ถูก ออกแบบมาตั้งแต่ปี 1946 โดย เป็นการรวมคุณสมบัติจาก กล้องของ Leica และ Contax ซึ่ง เป็นกล้องที่ วิศวกรของ Nikon เห็นว่าเป็นกล้องถ่ายภาพที่สมบรูณ์ แบบที่สุดในขณะนั้น ...จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ Nikon I จะมีหน้าตา คล้ายคลึงกับกล้อง Contax เป็นอย่างมาก Nikon I ชุดแรกนั้นใช้เวลาในการผลิตถึงหนึ่งปี กล้องตัวนี้ใช้เลนส์ 50mm F.3.5 (หรือ 2.0) แน่นอน ว่าต้องเป็นเลนส์ Nikkor แต่อย่างไรก็ตามมันกลับไม่ได้ รับความนิยมมากนัก สาเหตุหนึ่งนั้นก็เป็นเพราะกล้อง ตัวนี้ไม่สามารถใช้งานร่วมกับฟิล์มขนาดมาตรฐานของ Kodachrome ได้ (กล้องตัวนี้ใช้ฟิล์มขนาด 24x32) ซึ่ง ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ท�ำให้ไม่สามารถส่งกล้องไป จ�ำหน่ายยังอเมริกาได้ด้วย ดังนั้น Nikon I จึงถูกผลิต ออกส่งมอบให้กับลูกค้าเพียง 400 ตัวเท่านั้น (ปัจจุบัน นี้ก็กลายเป็นหนึ่งในกล้องหายากอีกตัวหนึ่ง) Nikon จึงต้องแก้ปัญหานั้นด้วยการออกแบบ กล้องรุ่นใหม่ในชื่อว่า “Nikon M” ในปี 1949 “Nikon I” ซึ่งในปัจจุบันติดอันดับกล้องหายาก ตัวที่อยู่ในภาพนี้ถูกประมูลด้วยราคาประมาณ 22,000 ยูโร (ประมาณเกือบเก้าแสนบาท) “HANSA CANON” กับเลนส์ Nikkor 50mm F/3.5 58 59Issue# 13 April 2012
  • 31. Nikon M ออกแบบมาให้ใช้ฟิล์มขนาด 24x34mm (ซึ่ง เป็นปัญหาเดิมอันเป็นที่มาของกล้องรุ่นนี้) และก็ได้รับความสนใจ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับช่างภาพข่าวสงครามเพราะในขณะ นั้นอยู่ในช่วงที่สงครามเกาหลีก�ำลังปะทุอย่างรุนแรง นักข่าวจึง นิยมซื้อกล้องและเลนส์ไปใช้ในการรายงานข่าวเป็นอย่างมาก แต่กล้องที่ท�ำให้ชื่อ Nikon รู้จักแพร่หลายในระดับนานาชาติ คือ “Nikon S” ซึ่งออกท�ำตลาดในช่วง 1951-1955 โดยที่มันถูก จ�ำหน่ายไปมากกว่า 37,000 ตัว ปัจจัยที่ท�ำให้กล้องรุ่นนี้ประสบความส�ำเร็จก็คือ มันได้รับ การแนะน�ำจากช่างภาพผู้มีชื่อเสียง “Mr. David Douglas Dun- can” (DDD) ซึ่งถ่ายภาพให้กับนิตยสาร Time-Life เกี่ยวกับ เรื่องราวต่างๆ ในญี่ปุ่่น และได้ต่อยอดไปเป็นการแนะน�ำให้รู้จัก กับ Mr. Joe Ehrenreich ซึ่งเป็นผู้น�ำเข้ากล้องและเลนส์จาก Nikon ไปจ�ำหน่ายยังอเมริกา อีกปัจจัยหนึ่งก็คือสงครามเกาหลีซึ่งส่งผลให้มีช่างภาพ เดินทางไปยังญี่ปุ่นเป็นจ�ำนวนมาก ซึ่งช่างภาพเหล่านั้นต่างก็ ต้องการกล้องและอุปกรณ์ภาคสนามเพื่อใช้ในการรายงานข่าว ดัง นั้นในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นเสมือนช่วงเวลาทองของกล้องถ่าย ภาพจากแดนซามูไรเลยทีเดียว “Nikon M” ซึ่งถูกปรับปรุงต่อจาก Nikon I ในเรื่องขนาดของ ฟิล์ม จนสามารถส่งออกไปจำ�หน่ายยังต่างประเทศได้สำ�เร็จ “Nikon S” ภาพประกอบจาก mir.com 60 61Issue# 13 April 2012
  • 32. ในกล้องรุ่นถัดมาก็เป็นการกลั่นความคิดออกจาก ประสบการณ์ในอดีตของ Nikon ซึ่งก็ได้รับความส�ำเร็จที่ เหนือกว่าในชื่อรุ่น “Nikon S2” เปิดตัวในปี 1953 ซึ่ง หลายสิ่งถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก ในช่วง ระหว่าง 1953-1958 นั้น สามารถท�ำยอดขายได้มากกว่า 56,000 ตัวเลยทีเดียว ปี 1957 เป็นปีที่ Lieca เปิดตัวกล้องรุ่น M3 ซึ่ง Nikon ก็ส่งกล้องรุ่น “SP” ลงสู่ตลาดด้วยเหมือนกัน ซึ่ง มันเป็นกล้องที่เข้าใกล้ระดับมืออาชีพเข้าไปอีก คุณสมบัติ โดดเด่นหลากหลายถูกเพิ่มเติมเข้ามา มีความไวชัตเตอร์ ให้ใช้งานตั้งแต่ช่วง 1 sec. ไปจนถึง 1/1000 sec. ถ่าย ภาพได้เร็ว 3-4 เฟรมต่อวินาที และมีระบบชัตเตอร์แบบ วัสดุไททาเนียมเพื่อความแข็งแกร่งให้เลือกใช้งาน ที่ส�ำคัญ มันยังมีเลนส์ให้เลือกใช้งานหลายรุ่นคือ 25, 28, 35, 50, 85, 105 และ 135mm รวมทั้งมี อุปกรณ์เสริมอย่างเฮ้าส์ซิ่งกันน�้ำให้ใช้งานด้วย ...Nikon SP ท�ำยอดขายได้กว่า 22,000 ตัว “Nikon SP” “Nikon S2” ภาพประกอบจาก mir.com 62 63Issue# 13 April 2012
  • 33. • เริ่มเข้าสู่ยุค SLR ต่อมาในเดือนเมษายนปี 1959 Nikon ก็ได้เปิดตัว กล้อง SLR รุ่น “Nikon F” ซึ่งเป็น SLR ตัวแรกของ Nikon พร้อมคุณสมบัติที่โดดเด่นหลายประการ โดยที่ “F” ประสบความส�ำเร็จเป็นอย่างมาก มันเป็นกล้อง SLR ที่ สามารถเปลี่ยนปริซึมสะท้อนภาพและโฟกัสซิ่งสกรีนได้ มี ปุ่มเช็คชัดลึกให้ใช้งาน สามารถล็อคกระจกสะท้อนภาพได้ ที่ส�ำคัญคือมันมีความแข็งแกร่งทนทานและสมบุกสมบัน ดังจะเห็นได้จากการที่มันเป็นที่นิยมของช่างภาพข่าวในช่วง สงครามเวียตนามเป็นอย่างมาก นอกจากนี้มันยังได้รับการ บรรจุเข้าเป็นเครื่องมือบันทึกภาพมาตรฐานในโครงการ อวกาศของอเมริกาอีกด้วย สาเหตุที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในงานทั้งสอง ก็คือ Nikon F สามารถเปลี่ยนอุปกรณ์เสริมบางส่วนซึ่ง ท�ำให้มันสามารถบรรจุฟิล์มที่ถ่ายภาพได้มากถึง 250 ภาพ รวมทั้งมีระบบ Motor Drive ที่ช่วยขับเคลื่อนฟิล์ม เพื่อให้สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็วขึ้นด้วย ภาพประกอบโดย Richard de Stoutz (ภาพประกอบจาก collectiblend.com) อุปกรณ์เสริมที่ทำ�ให้ Nikon F สามารถใส่ฟิลม์ล์มที่ถ่ายภาพได้ถึง 250 ภาพ พร้อม Motor Drive ช่วยขับเคลื่อนฟิล์ม 64 65Issue# 13 April 2012
  • 34. Nikon F ท�ำตลาดอยู่นานถึง 12 ปี หลังจากนั้นจึงเปิดตัว “Nikon F2” มาในปี 1971 ซึ่งมีการเพิ่มระบบอิเล็คทรอนิกส์เข้า มาในกล้องมากขึ้น ปรับปรุงให้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้ตั้งแต่ 10 sec. ไปจนถึง 1/2000 sec. ซึ่ง F2 นี้สามารถจ�ำน่ายได้มากถึง 862,600 ตัว จากนั้นกล้องในตระกูล F ของ Nikon ก็พัฒนาความสามารถ ออกมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถึง SLR ในระบบฟิล์มรุ่นสุดท้าย ของ Nikon ในรุ่น F6 เมื่อปี 2004 • สู่ยุคดิจิตอล Nikon ได้ท�ำการผลิตกล้องระบบดิจิตอลมาตั้งแต่ปี 1991 ซึ่ง ตัวแรกนั้นเป็นกล้อง SLR ในระบบดิจิตอลเพื่อใช้ในภาระกิจด้าน อวกาศของอเมริกาในรุ่น Nikon NASA F4 และยังได้ร่วมมือกับ Kodak ในการพัฒนาระบบดิจิตอลเพื่อใช้งานร่วมกับกล้อง SLR ของ Nikon ด้วย อย่างไรก็ดี กล้อง DSLR ตัวแรกส�ำหรับตลาด ทั่วไปของ Nikon ก็คือ Nikon D1 ในปี 1999 ซึ่งใช้เซนเซอร์รับ ภาพขนาด APS-C ส่วนกล้องส�ำหรับผู้ใช้ทั่วไปนั้นจะอยู่ในตระกูล Coolpix ซึ่งเริ่มท�ำตลาดในปี 2000 ส�ำหรับกล้อง DSLR ของ Nikon นั้นจะใช้เซนเซอร์รับภาพ ขนาด APS-C มาตลอด จนกระทั่งในปี 2005 Nikon จึงเริ่มใช้ เซนเซอร์รับภาพขนาด Fullframe ในกล้องรุ่น D3 ตามมาด้วย Nikon NASA F4 66 67Issue# 13 April 2012
  • 35. D700 ในปี 2007 และ Nikon กลับขึ้นมาเป็นผู้น�ำอีกครั้งใน ปี 2008 กับกล้องรุ่น D90 ซึ่งมันเป็นกล้อง DSLR ตัวแรก ของโลกที่สามารถบันทึกวีดีโอได้ กระแสของกล้อง DSLR นั้นมาแรงมาก ท�ำให้ยอดขาย กล้องฟิล์มของค่ายฯ ตกอย่างรวดเร็ว ซึ่งขณะนั้นก็เหลือเพียง Nikon เท่านั้นที่ยังคงผลิตกล้องฟิล์มออกมาท�ำตลาด แต่ใน ที่สุด Nikon ก็ประกาศยุติสายพานการผลิตกล้องฟิล์มในเดือน มกราคม 2006 ซึ่งกล้องฟิล์มรุ่นสุดท้ายก่อนยุติก็คือ F6 และ FM10 ประวัติของ Nikon โดยละเอียดนั้นยังมีกล้องและ อุปกรณ์อีกมากมายที่แสดงถึงนวัตกรรมและความก้าวหน้า ในโลกของการถ่ายภาพจาก Nikon เพราะสินค้าของค่ายนี้ มีความหลากหลายและต่อเนื่องเป็นอย่างมาก ซึ่งบนเส้น ทางนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทขึ้นมานั้นต้องผ่านทั้งอุปสรรคและ ประสบการณ์อันมากมายกว่าจะมาเป็น Nikon ในวันนี้ บอกได้เลยว่าถ้าไม่แน่จริง ก็คงไม่สามารถครองใจมหาชน ได้อย่างยั่งยืนยาวนานขนาดนี้ได้แน่ๆ “D90” กล้อง DSLR ตัวแรกของโลกที่สามารถ บันทึกวีดีโอได้ “D3” กล้อง DSLR ตัวแรกของ Nikon ที่ ใช้เซนเซอร์รับภาพขนาด “Full Frame” 68 69Issue# 13 April 2012
  • 37. See this pic at 500px.com copyright2013©Anan Charoenkal 72 73Issue# 13 April 2012
  • 38. See this pic at 500px.com copyright2013©Suradej Chuepphanich 74 75Issue# 13 April 2012
  • 39. See this pic at 500px.com copyright2013©Chakrit Chanpen 76 77Issue# 13 April 2012
  • 40. See this pic at 500px.com copyright2013©Nuang Sangkhsri 78 79Issue# 13 April 2012
  • 41. with Adobe Photoshop อาการ“ขอบมืด” นั้นจะว่าไปแล้วก็ท�ำให้ภาพหลายๆ ภาพดูดีขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะภาพแนวเรโทรเก่าๆ อันเป็นเอฟเฟกต์ชนิดที่ก�ำลังนิยมกันอยู่ในขณะนี้ มีเครื่องมืออยู่ตัวหนึ่งใน Photoshop ที่มีเอาไว้เพื่อแก้ อาหารขอบมืดที่ว่าในภาพถ่าย ซึ่งจริงๆ แล้วมันเป็นอาการที่ เกิดจากจุดอ่อนของเลนส์ ซึ่งต้องแก้ไขให้อาการดังกล่าวหาย ไป แต่เราจะมาท�ำให้อาการดังกล่าวเกิดขึ้นมาแม้แต่ในภาพที่ ผ่านเลนส์ระดับเทพก็ตาม เพราะข้อดีของมันก็คืออารมณ์แบบ คลาสสิคบวกกับการช่วยขับเน้นตัวแบบให้โดดเด่นขึ้น และที่ ส�ำคัญคือเป็นวิธีการที่ง่ายและรวดเร็วปานสายฟ้าแลบ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่ามันใช้พื้นที่แค่สองหน้าต่อจากนี้ เท่านั้นเอง... ...ไปดูกันเลย! 80 81Issue# 13 April 2012
  • 42. เปิดภาพขึ้นมาใน Photoshop จากนั้นไปที่ค�ำสั่ง Filter > Lens Correction... เมื่อปรากฏหน้าต่าง Lens Correction ขึ้นมาแล้ว ให้คลิกเลือกที่แถบ Custom ซึ่งจะปรากฏตัวเลื่อนมา ให้เราปรับหลายตัว ดูที่ส่วนของ “Vignette” จะมีตัวเลื่อนสองตัว คือ “Amount” คือระดับความมืดของขอบภาพ ส่วน “Midpoint” คือระดับความสว่างของส่วนกลางภาพ ลองเลื่อนค่า Amount ดูก่อน โดยเลื่อนไปทาง ซ้ายจนถึงระดับความเข้มที่พอใจ จากนั้นลองปรับค่า Midpoint ดูว่ามันจะท�ำให้ภาพดีขึ้นได้หรือไม่? อย่าลืมคลิกที่ “Preview” ด้วยเพื่อแสดงค่า ความเปลี่ยนแปลงให้ดู หรือจะปิด/เปิดมันเพื่อดูความ แตกต่างก็ได้ จากนั้นก็คลิกที่ OK ...แค่นี้ก็ได้ภาพที่มี “ขอบมืด” สมใจแล้ว! 82 83Issue# 13 April 2012
  • 43. +Camerateria วิวัฒนาการบทต่อมาของกล้องเล็กไม่ยอมตาย (ซึ่งอันที่จริงก็คงจะไม่มีวันตายเพราะมีคนใช้เยอะ) คือการ ขยับชั้นขึ้นมาใช้เซนเซอร์รับภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นระดับ APS-C ซึ่งเป็นขนาดเดียวกับ DSLR หลายๆ รุ่น แน่นอน ว่าคุณภาพของภาพยังด้อยกว่า DSLR แต่มันก็ย่อมจะ ดีกว่าคอมแพคทั่วไปแน่นอน เพราะขนาดเซนเซอร์ ที่ใหญ่ขึ้นนั้นมันหมายถึงคุณภาพและมิติสีสันโดย รวมของภาพถ่ายจะดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา กล้องคอมแพคที่ใช้เซนเซอร์ APS-C นั้น เริ่มท�ำตลาดกันอย่างจริงจังแล้ว และถึงจะได้ ชื่อว่าคอมแพค แต่ส่วนมากแล้วก็มีราคาแซงหน้า DSLR รุ่นเล็กไปไกล และบางรุ่นนั้นก็มีค่าตัวเทียบชั้นกับ DSLR รุ่น บนๆ ได้เลยทีเดียว ลองมาดูกันว่าตอนนี้มีกล้องคอมแพครุ่นไหนที่เป็น APS-C แล้วบ้าง? และมันน่าสนใจขนาดไหนกันเชียว? 84 85Issue# 13 April 2012
  • 44. +Camerateria FujiFilm X100S สืบทอดสไตล์เรโทรมาจากรุ่นพี่อย่าง “X100” ซึ่งตอบ กระแสเรียกร้องรสนิยมวันวานได้เป็นอย่างดี แต่รอบนี้ถูก ปรับปรุงเรื่องราวภายในหลายๆ อย่าง ที่ส�ำคัญที่สุดก็คือ เซนเซอร์รับภาพ APS-C “X-Trans” ความละเอียด 16.3MP พร้อมระบบ Phase Detection ในตัว (ระบบนี้เปิดตัวขึ้นใน กล้องของ Fujifilm เป็นเจ้าแรก) ลูกเล่นส�ำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยเสริมบรรยากาศของ ความเป็นกล้องเก่าก็คือ ถึงแม้จะมีระบบ Live view แต่มัน ก็มีช่องมองภาพแบบ Optical มาให้ส่องกันเท่ไปเลย อันนี้จะ ว่าเท่อย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะในยามที่ต้องสงวนแบตเตอรี่ การ ปิดระบบ Live view ก็สามารถช่วยได้เยอะเหมือนกัน ที่อาจจะสืบทอดอารมณ์กล้องเก่ามาอีกอย่างหนึ่ง (แต่ คงไม่ค่อยจะดีนัก) ก็คือ X100S มีน�้ำหนักถึง 445 กรัม หรือ เกือบครึ่งกิโล! ชึ่งก็นับว่าหนักเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน... 86 87Issue# 13 April 2012
  • 45. +Camerateria โปรเซสเซอร์ประมวลผลตัวใหม่ “EXR II” ที่ท�ำงาน ได้ฉับไวไฉไลกว่าเดิม ซึ่งเมื่อมาท�ำงานประสานกับระบบออโต โฟกัสบนเซนเซอร์รับภาพด้วยแล้ว ท�ำให้ Fujifilm กล้าที่จะ ประกาศอย่างอหังการว่านี่คือระบบออโตโฟกัสที่เร็วที่สุดใน โลก! อันนี้คงต้องรอฟังเสียงสะท้อนจากผู้ใช้งานดูอีกที แต่ก็ น่าจะเร็วปรู๊ดปราดจริงๆ ยิ่งท�ำงานร่วมกับเลนส์ไวแสงอีกอย่าง หนึ่งด้วย มันจะช้าก็ให้รู้กันไปสิ... กล้องแนวนี้ต้องใช้ฝีมือและมุมมองสะท้อนความเก๋ากัน สักหน่อย เพราะมันมีเลนส์ฟิกซ์ระยะ 23mm รูรับแสงกว้าง สุด F/2 ติดมากับตัว ซึ่งอันนี้แหละที่คนทั่วไปคงจะอึดอัดน่า ดูเพราะมันไม่ใช่เลนส์ซูมอันแสนสะดวกสบาย แต่เสน่ห์ของ เลนส์ฟิกซ์ก็มีอยู่ในตัวของมัน เพราะนอกจากคุณภาพจะเหนือ กว่าเลนส์ซูมแล้ว ความท้าทายก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คนใช้กล้อง แนวนี้เค้ามีกันอยู่เยอะ ระบบแป้นและปุ่มควบคุมต่างๆ ก็ต้องถือว่า Fujifilm ออกแบบมาได้ยอดเยี่ยมมาก มันยังคงอารมณ์กล้องในยุค ดั้งเดิมเอาไว้ได้ทุกกระเบียดนิ้ว คนทั่วไปมองผ่านๆ อาจจะคิด ว่าหลงยุค สมัยนี้ยังมีฟิล์มให้ซื้อมาใช้ด้วยเหรอ? ข้อด้อยที่น่าเสียดายอย่างหนึ่งของ X100S ก็คือ จอภาพด้านหลังขนาด 2.8 นิ้วนั้นกลับมีความละเอียดเพียง แค่ 460,000px เท่านั้น ...ดูจะ “เรโทร” ไปหน่อยรึเปล่า? Fujifilm X100S Online 88 89Issue# 13 April 2012
  • 46. +Camerateria Fujifilm X100S • Programmed Auto • F/5 • 1/75 sec. • ISO 400 90 91Issue# 13 April 2012
  • 47. +Camerateria Leica X2 ถ้าบอกชื่อ “Leica” ก็คงไม่มีใครกล้าเถียงว่าเป็นกล้อง ชั้นดีที่ได้อานิสงส์มาจากสมัยสงคราม เพราะกล้องรุ่น พ่อรุ่นปู่นั้นฝากฝีมือระดับต�ำนานเอาไว้เยอะแยะ มากมาย เมื่อมาถึงรุ่นของหลานในยุคดิจิตอล Leica ก็ยัง ไม่ยอมตายไปจากวงการด้วยการพัฒนากล้องรุ่นใหม่ๆ ออกมาอีกหลายรุ่น อาจจะไม่บ่อยครั้งมากเท่ากล้องจาก แดนซามูไร แต่ออกมาครั้งไหนเป็นต้องได้ฮือฮากันเสมอ ...แน่นอนว่าหนึ่งในความฮือฮาก็เป็นเรื่องของ “ราคา” ที่ไม่เคยจมลงมาได้สักที ต่อให้เป็นกล้องคอมแพค Leica ก็ยังมีราคาน่า หวาดหวั่น และเมื่อถึงคิวของคอมแพค APS-C อย่าง “X2” มันก็มีราคาไม่ใช่เบาเช่นกัน ความละเอียดของเซนเซอร์ APS-C ตัวนี้อยู่ที่ 16.2MP บันทึกแสงที่ได้จากเลนส์ฟิกซ์ ELMARIT 36mm F/2.8 หรือเทียบเท่ากับเลนส์ 50mm ในระบบ ฟิล์มนั่นเอง 92 93Issue# 13 April 2012
  • 48. +Camerateria จากการปรับปรุงมาจาก “X1” รุ่นก่อนหน้า ท�ำให้ มันมีคุณสมบัติที่ดีขึ้นหลายประการ รวมไปถึงอุปกรณ์ เสริมที่ท�ำให้ดูหน้าตาดีขึ้นไปอีกอย่างช่องมองภาพอิเล็ค ทรอนิกส์ “Viso-Flex” ซึ่งเป็นงานการผลิตจาก Epson อีกสิ่งหนึ่งที่ Leica ยืนยันอย่างหนักแน่นก็คือ ระบบออโตโฟกัสที่ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งเรื่องนี้เคยเป็น จุดอ่อนใน X1 ที่ถูกวิจารณ์อย่างหนัก ความไวแสงวิ่งอยู่ระหว่าง 100 - 12500 ถ่ายภาพ ต่อเนื่องได้เร็วสุด 5 ภาพต่อวินาที ที่น่าประหลาดใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ จอภาพ LCD ด้านหลังขนาด 2.7 นิ้วนั้นกลับมีความละเอียดเพียง 230,000px เท่านั้น เมื่อเทียบสเปคกับราคาค่าตัวแล้ว คุณต้องเป็น แฟน Leica อย่างแท้จริง ไม่งั้นไม่กล้าควักกระเป๋าจ่าย เพื่อครอบครองมันแน่ๆ Leica X2 Online 94 95Issue# 13 April 2012
  • 50. +Camerateria Nikon Coolpix A ปะโลโก้ “DX” หราอยู่บนตัวกล้อง ก็เป็นอันแน่นอน ว่าคอมแพคตัวนี้ใช้เซนเซอร์ขนาด APS-C แน่ๆ ซึ่ง ก็อาจจะสร้างความงุนงงได้นิดๆ เพราะมันก็หน้าตาเกือบ จะเหมือนกล้อง Mirrorless รุ่น “Nikon 1” อยู่หน่อยๆ เหมือนกัน เลนส์ฟิกซ์บนตัวกล้องนั้นระบุเอาไว้ว่าเป็นระยะ 18.5mm ซึ่งก็จะเปรียบได้กับเลนส์ระยะ 28mm ส�ำหรับ ระบบ 35mm นั่นเอง รหัส “A” ของกล้องรุ่นนี้คือการดึงเอาคุณสมบัติ เด่นของกล้องคอมแพคระดับสูงของค่ายอย่าง P7700 มา รวมกับ DSLR ระดับกลางของค่าย ท�ำให้มันมีความ สามารถในการควบคุมการถ่ายภาพแบบ Manual ได้ หลายประการ และหนึ่งในเทรนด์ของกล้องยุคนี้ นั่นก็คือ Coolpix A ไม่มี AA Filter อยู่หน้าเซนเซอร์ ซึ่งก็คงจะชูประเด็น เรื่องความคมชัดกินขาดให้เป็นหมัดตายกันเลยทีเดียว! 98 99Issue# 13 April 2012
  • 51. +Camerateria เซนเซอร์รับภาพ APS-C แบบ CMOS ตัวนี้มีความ ละเอียด 16.2MP ระดับค่า ISO วิ่งอยู่ระหว่าง 100 - 25600 ถ่ายภาพต่อเนื่องได้ 4 ภาพต่อวินาที เลนส์ 28mm นั้นมาพร้อมรูรับแสงกว้างสุด F/2.8 ซึ่งมากพอที่จะถ่ายภาพแบบ “ชัดตื้น” ได้สบายๆ จอภาพด้านหลังขนาด 3 นิ้ว ความละเอียด 921,000px ดูภาพถ่ายหรือภาพวีดีโอได้คมชัด Coolpix A สามารถส่งภาพถ่ายหรือวีดีโอไปทาง ระบบ Wi-fi ได้ด้วย แต่น่าเสียดายว่าไม่ใช่คุณสมบัติ ที่มีพร้อมใช้ในตัว เพราะคุณต้องซื้ออุปกรณ์เสริม WU- 1a มาติดตั้งเข้าไปเสียก่อน...ถ้าจะติดตั้งมาในตัวเลยก็ คงจะดีนะ Nikon Coolpix A Online 100 101Issue# 13 April 2012
  • 52. +Camerateria Nikon Coolpix A • Program Auto • F/5.6 • 1/15 sec. • ISO 100 102 103Issue# 13 April 2012
  • 53. +Camerateria Ricoh New GR เดินทางมาถึงรุ่นที่ 5 แล้ว ส�ำหรับกล้อง คอมแพคเลนส์ฟิกซ์สุดแนวที่มีแฟนๆ เหนียว แน่นทั่วโลก (รวมทั้งในบ้านเราด้วย) คุณอาจ จะไม่เคยรู้ แต่กล้องตระกูล GR มีประวัติมาตั้งแต่ ยุคกล้องฟิล์มนู่นเลยทีเดียว รุ่นที่ 5 นี้ใส่ความพิเศษเข้ามาเพิ่ม นั่นก็ คือเรื่องของเซนเซอร์รับภาพแบบ CMOS ขนาด APS-C ความละเอียด 16.2MP พร้อมเลนส์ 28mm F/2.8 ซึ่งออกแบบมาได้เล็กจนน่า อัศจรรย์ใจ จอภาพด้านหลังขนาด 3 นิ้ว ความละเอียด 1,230,000px ค่าความไวแสงระหว่าง 100 - 25600 ความไวชัตเตอร์ 300 sec. ถึง 1/4000 sec. ถ่ายภาพต่อเนื่องได้ 4 ภาพต่อวินาที บันทึก วีดีโอได้ถึงระดับ Full HD 104 105Issue# 13 April 2012
  • 54. +Camerateria สิ่งที่น่าประทับใจก็คือ คอนเซปต์ของ GR นั้นเป็นกล้อง ที่เน้นเรื่องการ “Snap” เป็นหลัก ประเภทว่าเห็นอะไรเจ๋งๆ ก็ยกกล้องขึ้นกด ซึ่งใน GR รุ่นใหม่นี้มีระบบช่วยเหลือหลายๆ อย่างที่จะท�ำให้คุณข้ามขั้นตอนหลายๆ อย่างที่เคยท�ำให้พลาด โอกาสมาแล้วในอดีต เป็นต้นว่าสามารถตั้งระบบโฟกัสแบบ Infinity เอาไว้ล่วงหน้าได้เลย ไม่ว่ากล้องจะถูกปรับตั้งเอาไว้แบบ ไหนในขณะนั้น เมื่อคุณยกกล้องขึ้นแล้วกดชัตเตอร์แบบ Full press มันจะบันทึกภาพที่ Infinity ให้ทันที เป็นต้น อีกอย่างหนึ่งก็คือ ปุ่มควบคุมต่างๆ ด้านหลังและด้านบน นั้นถูกออกแบบมาให้สามารถจัดการได้โดยใช้แค่มือเดียว ซึ่งจะ สังเกตได้ว่าไม่มีปุ่มอะไรอยู่อีกฝั่งของกล้องเลย เพราะฉะนั้นต่อ ให้อีกมือหนึ่งไม่ว่าง คุณก็ยังสามารถควบคุมกล้องได้สบายๆ สิ่งที่น่าเสียดายก็คือ กล้องตัวนี้ไม่มีระบบป้องกันภาพสั่น ไหวติดมาให้ ก็เลยต้องใช้ฝีมือกันหน่อย แต่ถ้ามีก็น่าจะดีได้ มากกว่านี้ โดยรวมแล้ว GR ตัวนี้กลับมีสเปคน่าสนใจที่สุดในขณะ ที่มีราคาต�่ำที่สุดในบรรดากล้องคอมแพค APS-C ในกลุ่ม เดียวกัน แถมด้วยดีกรีกล้องคอมแพคเลนส์ฟิกซ์ที่มีคนการัน ตีในเรื่องของคุณภาพเป็นอย่างมากอีกด้วย Ricoh GR Online 106 107Issue# 13 April 2012