SlideShare a Scribd company logo
1 of 39
จิตวิทยาการเรียนรู้  Psychology of learning
ความหมายของการเรียนรู้                 ความหมายของคำว่า “การเรียนรู้” มีนักจิตวิทยาได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้หลายท่านในที่นี้จะสรุปพอเป็นแนวทางให้เข้าใจดังนี้คือ                 การเรียนรู้ หมายถึง   การที่มนุษย์ได้รับรู้ถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเขา โดยเริ่มต้นตั้งแต่การมีปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาเรื่อยไป จนกระทั่งคลอดมาเป็นทารกแล้วอยู่รอด ซึ่งบุคคลก็ต้องปรับตัวเพื่อให้ตนเองอยู่รอดกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในครรภ์มารดาและเมื่อออกมาอยู่ภายนอกเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่รอดทั้งนี้ก็เพราะการเรียนรู้ทั้งสิ้น
การเรียนรู้ มีความหมายลึกซึ้งมากกว่าการสั่งสอน หรือการบอกเล่าให้เข้าใจและจำได้เท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของการทำตามแบบ ไม่ได้มีความหมายต่อการเรียนในวิชาต่างๆเท่านั้น แต่ความหมายคลุมไปถึง การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมอันเป็นผลจากการสังเกตพิจารณา ไตร่ตรอง แก้ปัญหาทั้งปวงและไม่ชี้ชัดว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปในทางที่สังคมยอมรับเท่านั้น การเรียนรู้เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เป็นความเจริญงอกงาม       เน้นว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นการเรียนรู้ต้องเนื่องมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกหัด และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นควรจะต้องมีความคงทนถาวรเหมาะแก่เหตุเมื่อพฤติกรรมดั้งเดิมเปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมที่มุ่งหวัง ก็แสดงว่าเกิดการเรียนรู้แล้ว
        การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมในการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง                 การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันมีผลมาจากการได้มีประสบการณ์                 การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดกิจกรรม   หรือ   กระบวนการที่ทำให้กิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปโดยเป็นผลตอบสนองจากสภาพการณ์หนึ่งซึ่งไม่ใช่ปฏิกิริยาธรรมชาติไม่ใช่วุฒิภาวะและไม่ใช่สภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกายชั่วครั้งชั่วคราวที่เนื่องมาจากความเหนื่อยล้าหรือฤทธิ์ยา            การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่เนื่องมาจากประสบการณ์ตรงและประสบการณ์อ้อมกระทำให้อินทรีย์เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร             การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม   ซึ่งเป็นผลของการฝึกหัด             จากความหมายของการเรียนรู้ข้างต้นอาจสรุปได้ว่า   การเรียนรู้  หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลจากการที่บุคคลทำกิจกรรมใดๆ ทำให้เกิดประสบการณ์และเกิดทักษะต่างๆ ขึ้นยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ 	พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ  (Bloomand Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน  ๓  ด้าน    ดังนี้ 	๑.  ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)  คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ ความเข้าใจ  การนำไปใช้  การวิเคราะห์  การสังเคราะห์และประเมินผล 	๒.  ด้านเจตพิสัย (Affective Domain )  คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก  ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก ความสนใจ  ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม 	๓.  ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)  คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่อนไหว  การกระทำ  การปฏิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ
องค์ประกอบของการเรียนรู้ 	1. สิ่งเร้า ( Stimulus ) เป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยาโต้ตอบออกมาและเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมว่าจะแสดงออกมาในลักษณะใด สิ่งเร้าอาจเป็นเหตุการณ์หรือวัตถุและอาจเกิดภายในหรือภายนอกร่างกายก็ได้   เช่น เสียงนาฬิกาปลุกให้เราตื่น กำหนดวันสอบเร้าให้เราเตรียมสอบ 2. แรงขับ ( Drive ) มี 2 ประเภทคือแรงขับปฐมภูมิ ( Primary Drive ) เช่น ความหิวความกระหาย การต้องการพักผ่อน เป็นต้น และแรงขับทุติยภูมิ ( Secondary Drive ) เป็นเรื่องของความต้องการทางจิตและทางสังคม เช่น ความวิตกกังวล ความต้องการความรัก ความปลอดภัย เป็นต้น แรงขับทั้งสองประเภทเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอันจะนำไปสู่การเรียนรู้
	3. การตอบสนอง ( Response ) เป็นพฤติกรรมต่างๆ ที่บุคคลแสดงออกมาเมื่อได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ หรือสถานการณ์ อาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งแวดล้อมที่รอบตัวเรานั่นเอง 	4. แรงเสริม ( Reinforcement ) สิ่งที่มาเพิ่มกำลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง เช่น รางวัล การตำหนิ  การลงโทษ การชมเชย เงิน ของขวัญ  เป็นต้น
ธรรมชาติของการเรียนรู้ 	ธรรมชาติของการเรียนรู้โดยทั่วไปนักจิตวิทยาเชื่อว่ามนุษย์จะมีการเรียนรู้ได้ก็ ต่อเมื่อมนุษย์ ได้ทำกิจกรรมใดๆ แล้วเกิดประสบการณ์ ประสบการณ์ที่สะสมมามากๆ และหลายๆ ครั้งทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ขึ้นและเกิดการพัฒนาสิ่งที่เรียนรู้จนเกิดเป็นทักษะ  และเกิดเป็นความชำนาญ ดังนั้นการเรียนรู้ของมนุษย์ก็จะอยู่กับตัวของมนุษย์เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร      ดังนั้นหัวข้อที่น่าศึกษาต่อไปคือธรรมชาติของการเรียนรู้ของมนุษย์มีอะไรบ้าง ในที่นี้ขออธิบายเป็นข้อๆ คือ
1. การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร 	2. การเรียนรู้ย่อมมีการแก้ไข ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ จะต้องเนื่องมาจากประสบการณ์  	3. การเปลี่ยนแปลงชั่วครั้งชั่วคราวไม่นับว่าเป็นการเรียนรู้ 	4. การเรียนรู้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมต้องอาศัยการสังเกตพฤติกรรม 	5. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และกระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลาที่บุคคลมีชีวิตอยู่ โดยอาศัยประสบการณ์ในชีวิต
6. การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่อาศัยวุฒิภาวะ วุฒิภาวะคือระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของบุคคลในแต่ละช่วงวัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ แต่การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่ต้องอาศัยวุฒิภาวะประกอบกัน 	7. การเรียนรู้เกิดได้ง่ายถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน 	8. การเรียนรู้ของแต่ละคนแตกต่างกัน 	9. การเรียนรู้ย่อมเป็นผลให้เกิดการสร้างแบบแผนของพฤติกรรมใหม่ 	10. การเรียนรู้อาจจะเกิดขึ้นโดยการตั้งใจหรือเกิดโดยบังเอิญก็ได้ 
กระบวนการของการเรียนรู้           กระบวนการของการเรียนรู้มีขั้นตอนดังนี้คือ 1. มีสิ่งเร้า( Stimulus ) มาเร้าอินทรีย์ ( Organism )  2. อินทรีย์เกิดการรับสัมผัส ( Sensation ) ประสาทสัมผัสทั้งห้า ตา หู จมูก ลิ้น  ผิวกาย 3. ประสาทสัมผัสส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทเกิดการรับรู้ ( Perception )  4. สมองแปลผลออกมาว่าสิ่งที่สัมผัสคืออะไรเรียกว่าความคิดรวบยอด( Conception )  5. พฤติกรรมได้รับคำแปลผลทำให้เกิดความคิดรวบยอดก็จะเกิดการเรียนรู้ ( Learning ) 6. เมื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้บุคคลก็จะเกิดการตอบสนอง ( Response ) พฤติกรรมนั้นๆ 
ตัวอย่างเช่น  เราฝึกสัตว์ให้สามารถทำกิจกรรมใดๆ    ก็ได้อาจเป็นการเล่นลูกบอลโยนห่วง หรือให้นกพิราบจิกบัตรสี หรือหัดให้ลิงชิมแฟนซีวาดรูปภาพต่างๆ หรือให้นกแก้วเฝ้าบ้านโดยส่งเสียงร้องเวลาที่คนแปลหน้าเข้าบ้าน กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ จะต้องมีกระบวนการคือมีสิ่งเร้ามาเร้าอินทรีย์ ถ้าในที่นี้อินทรีย์คือตัวแลคคูน ตัวแลคคูนก็จะรู้สึก การเกิดความรู้สึกเราเรียกว่าเกิดการรับสัมผัส จะด้วยทางตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย ประสาทสัมผัสจะทำให้เกิดการรับรู้ สมองก็จะแปลความหมาย พฤติกรรมที่สมองแปลความหมายเรียกว่าเกิดการเรียนรู้ จะให้เรียนรู้ได้ต้องทำบ่อยๆ โดยนักจิตวิทยาให้แลคคูนจับลูกบอลบ่อยๆ พร้อมให้แรงเสริมด้วยอาหารที่เจ้าแลคคูนชอบ ก่อนให้อาหารก็ให้เจ้าแลคคูนจับลูกบอลบ่อยๆ ทำซ้ำๆ หลายครั้งเจ้าแลคคูนก็จะเกิดการเรียนรู้ว่าถ้าทำกิจกรรมจับลูกบอลแล้วพัฒนาไปถึงขั้นโยนลูกบอลเข้าห่วงก็จะได้อาหาร การเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้น คือถ้าเจ้าแลคคูนหิวก็จับลุกบอลโยนห่วงเป็นต้น 
การนำความรู้ไปใช้ 	๑.  ก่อนที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ใหม่  ต้องแน่ใจว่า ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่มาแล้ว 	๒.  พยายามสอนหรือบอกให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง 	๓.  ไม่ลงโทษผู้ที่เรียนเร็วหรือช้ากว่าคนอื่นๆ และไม่มุ่งหวังว่าผู้เรียนทุกคนจะต้องเกิดการเรียนรู้ที่เท่ากันในเวลาเท่ากัน 	๔.  ถ้าสอนบทเรียนที่คล้ายกัน ต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนแรกได้ดีแล้วจึงจะสอนบทเรียนต่อไป 	๕.  พยายามชี้แนะให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของบทเรียนที่มีความสัมพันธ์กัน
ลักษณะสำคัญ ที่แสดงให้เห็นว่ามีการเรียนรู้เกิดขึ้น จะต้องประกอบด้วยปัจจัย๓ประการคือ ๑.   มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงทนถาวร 	๒.  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นจะต้องเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึก การปฏิบัติซ้ำๆ  เท่านั้น 	๓.  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าวจะมีการเพิ่มพูนในด้านความรู้  ความเข้าใจ  ความรู้สึกและความสามารถทางทักษะทั้งปริมาณและคุณภาพ
ทฤษฎีการเรียนรู้ ( Theory of Learning )                 ตามที่เราให้ความหมายของการเรียนรู้ว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของอินทรีย์ที่ค่อนข้างถาวร แต่สิ่งที่เราควรศึกษาคือเรื่องของทฤษฎีการเรียนรู้ เพราะทฤษฎีเป็นคำอธิบายที่มีระบบแบบแผน ช่วยให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำไปใช้ควบคุม หรือทำนายพฤติกรรมได้อีกด้วย เพราะทฤษฎีการเรียนรู้จะช่วยอธิบายถึงกระบวนการ วิธีการและเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ รวมทั้งอธิบายถึงสภาพสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอีกด้วย ซึ่งในที่นี้จะอธิบายโดยสังเขป คือ
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข ( Conditioning Theory ) 	การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข เป็นการเรียนรู้ที่เกิดเนื่องมาจากการตอบสนองของอินทรีย์ที่มีต่อสิ่งเร้าตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป โดยสิ่งเร้าหนึ่งเป็นสิ่งเร้าที่ไม่มีอิทธิพลทำให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการคือไม่สามารถดึงการตอบสนองออกมาได้ถ้าไม่มีเงื่อนไข เรียกว่า สิ่งเร้าที่ต้องการเงื่อนไขหรือสิ่งเร้าเทียม ส่วนอีกสิ่งเร้าหนึ่งเป็นสิ่งเร้าที่อินทรีย์พอใจสามารถดึงการตอบสนองออกมาได้เอง เรียกว่าสิ่งเร้าที่ไม่ต้องการวางเงื่อนไขหรือสิ่งเร้าแท้เหตุที่นำสิ่งเร้าที่อินทรีย์พอใจมาเข้าคู่กับสิ่งเร้าที่ไม่มีอิทธิพลทำให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ ก็เพื่อให้สามารถดึงการตอบสนองที่ต้องการออกมาได้จนในที่สุดปฏิกิริยาตอบสนองนั้นค่อนข้างคงทนถาวร แม้จะนำสิ่งเร้าแท้หรือสิ่งเร้าที่เป็นเงื่อนไขออกไปแล้วปฏิกิริยาตอบสนองเช่นเดิมก็ยังมีอยู่เรียกว่า ได้เกิดการเรียนรู้แล้ว โดยจะอธิบายทฤษฎีการวางเงื่อนไขทั้งสองแบบคือ
การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ( classical Conditioning ) 	นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย (1849 - 1936)  ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาการเรียนรู้ทีเกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงระหว่างการตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามธรรมชาติที่ไม่ได้วางเงื่อนไข  (Unconditioned  Stimulus =UCS)  และสิ่งเร้า ที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus)จนเกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าที่เป็นกลางให้กลายเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned  Stimulus  =  CS)และการตอบสนองที่ไม่มีเงื่อนไข  (Unconditioned   Response = UCR)  เป็นการตอบสนองที่มีเงื่อนไข  (Conditioned   Response  =  CR) ลำดับ
ขั้นตอนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นดังนี้ ๑.   ก่อนการวางเงื่อนไข UCS    (อาหาร)  UCR     (น้ำลายไหล)                   สิ่งเร้าที่เป็นกลาง  (เสียงกระดิ่ง)     น้ำลายไม่ไหล   ๒.   ขณะวางเงื่อนไข CS   (เสียงกระดิ่ง) + UCS  (อาหาร)                   UCR    (น้ำลายไหล) ๓.   หลังการวางเงื่อนไข CS   (เสียงกระดิ่ง)                                      CR     (น้ำลายไหล)
หลักการเกิดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น  คือ  การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข  (CR)  เกิดจากการนำเอาสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  (CS)   มาเข้าคู่กับสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข  (UCS) ซ้ำกันหลายๆ  ครั้ง  ต่อมาเพียงแต่ให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  (CS) เพียงอย่างเดียวก็มีผลทำให้เกิดการตอบสนองในแบบเดียวกัน
กฎของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก                 ถ้าต้องการทำให้การตอบสนองเงื่อนไขยังคงมีต่อไปก็จำเป็นจะต้องนำสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขมาควบคู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขซ้ำอีก การให้สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขควบคู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขจะเสริมแรงความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าทั้งสอง ถ้าหากให้แต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยปราศจากสิ่งเร้าใจที่ไม่วางเงื่อนไขการตอบสนองจะอ่อนลง และจะเกิดขึ้นน้อยลงเมื่อฟาลลอฟสั่นกระดิ่ง ( สิ่งเร้าใจที่วางเงื่อนไข ) ซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยไม่ให้อาหารแก่สุนัข ( สิ่งเร้าใจที่ไม่ได้วางเงื่อนไข ) น้ำลายของสุนัขจะมีปริมาณน้อยลงๆ การลดลงของการตอบสนองที่เรียนรู้แล้วนักจิตวิทยา เรียกว่า   การลดภาวะ ( extinction )
การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ( operant Conditioning )  	การตอบสนองในแบบของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกนั้นเป็นไปโดยเจ้าตัวควบคุมการตอบสนองโดยตรงไม่ได้ส่วนการตอบสนองในแบบการวางเงื่อนไขนั้น เราสามารถควบคุมการกระทำของตนเองได้ เราทำอะไรหลายอย่างเพราะเรารู้สึกว่าการกระทำนั้นจะให้ผลดีต่อเราและเราทำอะไรหลายอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงประสบการณ์ที่ไม่ดี เราสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของเราได้เมื่อเราได้รับผลดีจากการกระทำ หรือเมื่อกระทำแล้วเราถูกลงโทษการเรียนรู้ทางการวางเงื่อนไขแบบการกระทำอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า instrumental learning การตอบสนองต่อเงื่อนไขแบบนี้เราต้องมีการกระทำ ( operate ) ต่อสิ่งแวดล้อม กฎของการวางเงื่อนไขแบบการกระทำจะอธิบายถึงการปรับพฤติกรรม ( shaping behavior ) และการปรับพฤติกรรม (behavior modification ) โดยการใช้ผลของการกระทำที่จะได้รับการเสริมแรงหรือได้รับการลงโทษตามมา
สกินเนอร์ ( B.F. Skinner ) ได้ทดลองเอาหนูไปใส่ในกรงทดลองเรียกว่า Skinner box กล่องนี้เป็นกล่องที่ปิดมิดชิดเสียงรอดออกไม่ได้ภายในมีคานอันเล็กๆและถ้วยใส่อาหาร สิ่งที่ผู้ทดลองต้องการให้หนูที่ถูกใส่ลงไปก็คือ กดคานเพื่อที่จะได้รับอาหาร ในตอนแรกที่หนูถูกนำไปใส่กล่องมันจะแสดงการตอบสนองหลายอย่างที่ไม่เกี่ยวกับการกดคาน เช่น วิ่งไปรอบๆ กล่อง พยายามปีนผนังห้อง หรือเกาตัวเอง เป็นต้น ในที่สุดหนูก็กดคานโดยบังเอิญ ผลที่ตามมาคือมีอาหารเม็ดเล็กๆ ตกลงมาในถ้วยอย่างอัตโนมัติ หนูได้รับเม็ดอาหารเป็นรางวัลหลังจากนั้นหนูกดคานอีกและได้รับอาหารอีกต่อเนื่องกันไป หนูมีความสามารถในการกดคานได้เร็วขึ้นและถี่ยิ่งขึ้นการตอบสนองที่ไม่เกี่ยวข้องหายไป             เงื่อนไขที่จำเป็นในการวางเงื่อนไขแบบการกระทำมีปัจจัยสำคัญ 3 เรื่องคือ 	1. การเสริมแรง (Reinforcement ) 	2. ความต่อเนื่อง ( Contiguity ) 	3. การฝึกหัด ( Practice )
ความแตกต่างระหว่างการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคกับการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ  	การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้นเป็นการตอบสนองของอินทรีย์เกิดขึ้นโดยมิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของอินทรีย์ การตอบสนองเกิดขึ้นเพราะถูกสิ่งเร้าไปดึง  ( elicit ) ออกมา เช่นการที่น้ำลายไหลของสุนัข เป็นการใช้สิ่งแวดล้อมในรูปของสิ่งเร้าต่างๆที่นำมาเป็นตัวกระทำต่ออินทรีย์   ส่วนการวางเงื่อนไขแบบการกระทำเป็นการตอบสนองของอินทรีย์ที่เกิดขึ้นโดยที่การตอบสนองเกิดขึ้นเพราะอินทรีย์เป็นผู้สั่ง  ( emit ) ออกมาและไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งเร้าโดยตรง เช่นการกดคานของหนู หรือการจิกแผ่นสีของนกพิราบ อาจกล่าวได้ว่า อินทรีย์เป็นผู้แสดงอาการกระทำต่อสิ่งแวดล้อม
ทฤษฎีสิ่งเสริมแรง (Reinforcement Theory )                 เบอร์ฮัสเฟดเดอริคสกินเนอร์ (BurrhusFederick Skinner) นักจิตวิทยาพัฒนาทฤษฎีสิ่งเสริมแรงเรียกว่า สิ่งเสริมแรงทางบวก(Positive Reinforcement) ใช้หลักการจูงใจแต่ละบุคคลให้ทำงานได้อย่างเหมาะสม โดยชการออกแบบและจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีบรรยากาศน่าทำงาน ในการยกย่องชมเชยบุคคลที่มีประสิทธิภาพในการทำงานดี และใช้การลงโทษซึ่งทำให้เกิดผลลบแก่บุคคลที่มีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำมาก
                 สกินเนอร์ได้ทำการจูงใจในขั้นที่สูงกว่าให้การยกย่องชมเชยแก่พนักงานที่ทำงานมีประสิทธิภาพดี โดยจัดให้มีการวิเคราะห์สภาพการทำงาน เพื่อหาสาเหตุว่าทำไมพนักงานจึงต้องทำงานเหมือนอย่างเดิมที่เคยทำอยู่ สกินเนอร์เป็นผู้เริ่มให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานโดยให้พนักงานแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นในหน่วยงานและอุปสรรคที่มาขัดขวางในการทำงาน มีการจัดตั่งเป้าหมายในการทำงานขึ้น โดยเฉพาะให้มีการร่วมมือของพนักงาน มีการช่วยแหลือพนักงานในการทำงานมีการจัดให้มีการรายงานผลป้อนข้อมูลส่งกลับแบบธรรมดาอย่างรวดเร็วฉับพลัน ทำให้ประสิทธิภาพการทำงาน ถึงแม้ว่าบางครั้งการทำงานจะไม่ได้ประสิทธิภาพในการทำงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีหลายอย่างที่จะช่วยเหลือพนักงานทำงานได้ การจูงใจที่ทำงานดีก็มีคำยกย่องชมเชย และพบว่าจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทอย่างมากถ้าสามารถจูงใจให้พนยักงานให้ความร่วมมือในการทำหน้าที่ให้ข่าวสารอย่างสมบูรณ์เกี่ยวกับปัญหาที่ของบริษัท โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวพนักงาน
	เทคนิคการทำงานที่มีชื่อเสียงเกือบทั้งหมดจะเป็นแบบง่ายสำหรับการทำงาน นักวิทยาศาสตร์ทางด้านพฤติกรรมและผู้จัดการเป็นจำนวนมากต่างมีความสงสัยในเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน แต่มีบริษัทที่มีชื่อเสียงในการทำงานค้นพบว่า การจูงใจพนักงานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพต้องใช้แนวทางการให้ผลประโยชน์ตอบแทน                 แนวทางการจูงใจของสกินเนอร์ที่ใช้ได้ผล ต้องมีการจัดการที่ดี เน้นการขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางประสิทธิภาพการทำงาน ควบคุมการทำงานโดยผ่านกระบวนการรายงานผลป้อนข้อมูลข่าวสารส่งกลับ และขยายการติดต่อสื่อสารให้ทั่วถึงกับพนักงานทุกคน
สิ่งเสริมแรงและการลงโทษ(Reintorcement and Punishment)                 การให้รางวัลและการให้โทษในหน่วยงาน องค์การเป็นที่ทราบกันดีว่า มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของบุคคล ถ้าเราต้องการให้บุคคลทำงานในแนวทางที่เหมาะสม เราก็ควรจูงใจบุคคลเหล่านั้นโดยการให้สิ่งเสริมแรงเอให้เขาทำงานให้ตามที่เราต้องการ จากผลการศึกษาเป็นจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า การผู้บริหารมีการใช้วิธีการให้รางวัลและการให้โทษ ย่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงาน และความพอใจในการทำงานในกลุ่มบุคคล ผู้ร่วมงาน การให้รางวัลอย่างเหมาะสมคือ ให้รางวัลแก่ผู้ทำงานที่มีผลงานดี และไม่ให้รางวัลแก่บุคคลที่ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารที่ไม่รู้จักให้รางวัลอย่างเหมาะสมจะทำให้บุคคลที่ทำงานเกิดความรู้สึกไม่พอใจว่า ไม่ได้รับความยุติธรรม ทำให้ผลผลิตมีแนวโน้มลดลง และทำให้กลุ่มของผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความรู้สึกไม่พอใจมากขึ้น ดังนั้นการรู้จักใช้การให้รางวัลอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความพอใจในการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
สิ่งล่อใจ (Incentives )                 สิ่งล่อใจ จัดว่าเป็นการจูงใจโดยการให้รางวัล นับว่ามีความสำคัญต่อการกระตุ้นพฤติกรรมสเปนซ์(Spence)  เชื่อว่า สิ่งล่อใจของทฤษฏีการจูงใจประกอบด้วย ลัทธิพฤติกรรมและแนวทางความเข้าใจตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า พฤติกรรมเป็นสิ่งชี้นำไปสู่จุดหมายปลายทางและบุคคลนั้นก็มีความพยายามที่จะทำให้ได้รับประเภทสิ่งล่อใจทางบวก(สิ่งที่ปรารถนา) และพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งล่อใจทางลบ(สิ่งที่ไม่ปรารถนา)
ประเภทของสิ่งล่อใจ (Types of Incentives)      สิ่งล่อใจอาจจัดแบ่งเป็น 5 ประเภทคือ                 ประเภทที่ 1 สิ่งล่อใจปฐมภูมิ(Primary Incentives) เป็นสิ่งล่อใจที่สามารถทำให้เกิดความพึงพอใจในด้านความต้องการทางด้านสรีระ เพื่อความมีชีวิตอยู่รอด ได้แก่ ปัจจัย 5 คือ อาหาร,เสื้อผ้า,ที่อยู่อาศัย,ยารักษาโรคและความต้องการทางเพศ
                ประเภทที่ 2 สิ่งล่อใจทุติยภูมิ(Secondary Incentives) เป็นสิ่งล่อใจที่ทำให้เกิดประสบการณ์แปลกใหม่ และมีการเร้าใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหน้าที่การทำงานที่ตรงกับความสนใจ ความถนัด ท้าทายความสามารถหรือเป็นงานใหม่ที่ลดความจำเจซ้ำซาก ที่ทำให้เกิดความหน้าเบื่อหน่ายต่อผู้ปฏิบัติงานหรือเป็นงานที่มีการแข่งขันใช้ความรู้ความสามารถ ซึ่งตรงกับลักษณะที่เป็นบุคคลที่มีความกระตือรือร้น มีความขยันหมั่นเพียร ตั้งใจการทำงานอย่างจริงจัง                 ประเภทที่ 3  สิ่งล่อใจทางสังคม (Social Incentives) เป็นสิ่งล่อใจที่เกี่ยวกับการให้การยอมรับยกย่องนับถือ ให้ความไว้วางใจ ให้ความเชื่อถือ ให้อิสรภาพและการแสดงความคิดเห็นเสนอแนะที่ดีในการทำงาน โดยกระทำให้เป็นที่ปรากฏและรู้จักแก่เพื่อนร่วมงาน ผู้บริหารงาน และบุคคลที่เรายอมรับและนับถือนี้ เป็นบุคคลที่มีผลงานดีเด่น มีความประพฤติเป็นตัวอย่างที่ดีได้จะทำให้ผู้ร่วมงานดีมีความรู้สึกว่าตนสำคัญต่อหน่วยงาน และจะมีกำลังในการทำงานเพิ่มมากขึ้น
                 ประเภทที่ 4 สิ่งล่อใจที่เป็นเงิน (Monetary Incentives) สิ่งล่อใจที่เป็นเงินเป็นการให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่บุคคลที่ทำงานมีผลงานดีหรือผลผลิตเพิ่มขึ้น หรือมีผลกำไรเพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นสิ่งล่อใจให้บุคคลที่ทำงานดีอยู่แล้ว หรือบุคคลที่ทำงานยังไม่ถึงเกณฑ์ระดับดีได้มีของขวัญและกำลังใจเพิ่มขึ้นที่จะอุทิศทั้งสติปัญญา พลังร่างกายให้แก่การทำงานอย่างเต็มที่                 สิ่งล่อใจที่เป็นเงิน ได้แก่ ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา สวัสดิการ โบนัส และรางวัลเป็นต้น สิ่งล่อใจที่เป็นเงินนี้มีอิทธิพลต่อบุคคลที่ทำงาน ถ้าได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากผู้บริหารก็สามารถจัดเป็นผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้สึกว่าผู้บริหารมีความยุติธรรมในการบริหารงานและจะทำให้เกิดความพอใจที่จะทำงานให้มีผลงานหรือผลผลิตและกำไรเพิ่มมากขึ้น เป็นสัดส่วนโดยตรงกับผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับ
                 ประเภทที่ 5 สิ่งล่อใจที่เป็นกิจกรรม(Activity Incentives) เป็นสิ่งล่อใจที่เกี่ยวกับกิจกรรมทำงานตามตำแหน่งหน้าที่ ผู้บริหารงานมีหน้าที่จะต้องจัดการให้ผู้ทำงานได้ทำงานตรงกับความรู้ความสามารถ ความสนใจ ความถนัด เพื่อเป็นการจูงใจในการทำงาน ผู้บริหารงานสามารถจัดให้มีการแข่งขันในการทำงาน โดยกำหนดเป้าหมายเป็นจำนวนผลงานหรือผลผลิตภายในเวลาเท่าใดและกำหนดการให้รางวัลแก่ผู้ทำงานที่สามารถทำงานได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ วิธีดังกล่าวนี้จะเป็นการจูงใจผู้ทำงานเกิดความรู้สึกอยากจะทำงานให้มีผลงานหรือผลผลิตเพิ่มขึ้น
ทฤษฎีปัญญาสังคม (Social Learning Theory) 	Albert Bandura (1962 - 1986)   นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าของตนเอง  เดิมใช้ชื่อว่า  "ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม" (Social Learning Theory)  ต่อมาเขาได้เปลี่ยนชื่อทฤษฎีเพื่อความเหมาะสมเป็น  "ทฤษฎีปัญญาสังคม"  	ทฤษฎีปัญญาสังคมเน้นหลักการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning) เกิดจากการที่บุคคลสังเกตการกระทำของผู้อื่นแล้วพยายามเลียนแบบพฤติกรรมนั้น ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทางสังคมเราสามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน  เช่น  การออกเสียง   การขับรถยนต์  การเล่นกีฬาประเภทต่างๆ  เป็นต้น
ขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกต 	๑.  ขั้นให้ความสนใจ  (Attention Phase)  ถ้าไม่มีขั้นตอนนี้ การเรียนรู้อาจจะไม่เกิดขึ้น  เป็นขั้นตอน    ที่ผู้เรียนให้ความสนใจต่อตัวแบบ (Modeling) ความสามารถ ความมีชื่อเสียง และคุณลักษณะเด่นของตัวแบบจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจ 	๒. ขั้นจำ  (Retention Phase) เมื่อผู้เรียนสนใจพฤติกรรมของตัวแบบ จะบันทึกสิ่งที่สังเกตได้ไว้ในระบบความจำของตนเอง  ซึ่งมักจะจดจำไว้เป็นจินตภาพเกี่ยวกับขั้นตอนการแสดงพฤติกรรม
๓.  ขั้นปฏิบัติ (Reproduction Phase)  เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนลองแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ  ซึ่งจะส่งผลให้มีการตรวจสอบการเรียนรู้ที่ได้จดจำไว้ 	๔.  ขั้นจูงใจ (Motivation Phase)  ขั้นตอนนี้เป็นขั้นแสดงผลของการกระทำ (Consequence) จากการแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ  ถ้าผลที่ตัวแบบเคยได้รับ (VicariousConsequence) เป็นไปในทางบวก (Vicarious Reinforcement)  ก็จะจูงใจให้ผู้เรียนอยากแสดงพฤติกรรมตามแบบ  ถ้าเป็นไปในทางลบ (Vicarious Punishment) ผู้เรียนก็มักจะงดเว้นการแสดงพฤติกรรมนั้นๆ
หลักพื้นฐานของทฤษฎีปัญญาสังคม มี  ๓  ประการ  คือ  	๑.  กระบวนการเรียนรู้ต้องอาศัยทั้งกระบวนการทางปัญญา และทักษะการตัดสินใจของผู้เรียน 	๒.  การเรียนรู้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ  ๓  ประการ  ระหว่าง ตัวบุคคล (Person)  สิ่งแวดล้อม  (Environment)  และพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งมีอิทธิพลต่อกันและกัน P     B   E
	๓.  ผลของการเรียนรู้กับการแสดงออกอาจจะแตกต่างกัน สิ่งที่เรียนรู้แล้วอาจไม่มีการแสดงออกก็ได้ เช่น   ผลของการกระทำ (Consequence) ด้านบวก เมื่อเรียนรู้แล้วจะเกิดการแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ แต่ผลการกระทำด้านลบ อาจมีการเรียนรู้แต่ไม่มีการเลียนแบบ การนำหลักการมาประยุกต์ใช้ 	๑.  ในห้องเรียนครูจะเป็นตัวแบบที่มีอิทธิพลมากที่สุด  ครูควรคำนึงอยู่เสมอว่า  การเรียนรู้โดยการสังเกตและเลียนแบบจะเกิดขึ้นได้เสมอ  แม้ว่าครูจะไม่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ก็ตาม
๒.  การสอนแบบสาธิตปฏิบัติเป็นการสอนโดยใช้หลักการและขั้นตอนของทฤษฎีปัญญาสังคมทั้งสิ้น  ครูต้องแสดงตัวอย่างพฤติกรรมที่ถูกต้องที่สุดเท่านั้น  จึงจะมีประสิทธิภาพในการแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ  ความผิดพลาดของครูแม้ไม่ตั้งใจ  ไม่ว่าครูจะพร่ำบอกผู้เรียนว่าไม่ต้องสนใจจดจำ  แต่ก็ผ่านการสังเกตและการรับรู้ของผู้เรียนไปแล้ว ๓.  ตัวแบบในชั้นเรียนไม่ควรจำกัดไว้ที่ครูเท่านั้น ควรใช้ผู้เรียนด้วยกันเป็นตัวแบบได้ในบางกรณี โดยธรรมชาติเพื่อนในชั้นเรียนย่อมมีอิทธิพลต่อการเลียนแบบสูงอยู่แล้ว ครูควรพยายามใช้ทักษะจูงใจให้ผู้เรียนสนใจและเลียนแบบเพื่อนที่มีพฤติกรรมที่ดี มากกว่าผู้ที่มีพฤติกรรมไม่ดี
หนังสืออ้างอิง 	กันยา สุวรรณแสง.จิตวิทยาทั่วไป General psychology . กรุงเทพมหานคร : อักษรพิทยา, 244 หน้า, 2538. 	ทิพย์ นาถสุภา. บทความประกอบหมวดวิชาการศึกษา วิชาจิตวิทยาการศึกษา. พระนคร :หน่วย ศึกษานิเทศ กรมการฝึกหัดครู, 2513. 	พิชญ์สิรี โค้วตระกูล และ สุธีรา เผ่าโภคสถิตย์. จิตวิทยาทั่วไป.กรุงเทพมหานคร : เทพรัตน์พับลิชชิ่งกรุ๊ป,200 หน้า , 2538. 	โยธิน ศันสนยุทธ และคณะ. จิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร : ศูยน์ส่งเสริมวิชาการ, 381หน้า,2533. 	โรเบิร์ต อี. ซิลเวอร์แมน. สุปาณี สนธิรัตน และคณะ แปลและเรียบเรียง. จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 5 ,กรุงเทพมหานคร : เนติกุลการพิมพ์, 388 หน้า ,2537. เอนกกุล กรีแสง. จิตวิทยาการศึกษา. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพิษณุโลก, 2526.

More Related Content

What's hot

ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้Bay Phitsacha Kanjanawiwin
 
การเรียนรู้Learning
การเรียนรู้Learningการเรียนรู้Learning
การเรียนรู้Learningunyaparn
 
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้Pattarawadee Dangkrajang
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์3
ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์3ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์3
ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์3Dee Arna'
 
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้Ratchada Rattanapitak
 
จิตรวิทยาการเรียนรู้
จิตรวิทยาการเรียนรู้จิตรวิทยาการเรียนรู้
จิตรวิทยาการเรียนรู้maymymay
 
จิตวิทยาการเรียนรู้2525222
จิตวิทยาการเรียนรู้2525222จิตวิทยาการเรียนรู้2525222
จิตวิทยาการเรียนรู้2525222maymymay
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้pajyeeb
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้team00428
 
5.1จิตวิทยาการเรียนการสอน
5.1จิตวิทยาการเรียนการสอน5.1จิตวิทยาการเรียนการสอน
5.1จิตวิทยาการเรียนการสอนSarawut Tikummul
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)Chantana Papattha
 
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์Pop Punkum
 
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้Pimpika Jinak
 
ทฤษฎีการเรียนรู้010-015-030-036
ทฤษฎีการเรียนรู้010-015-030-036ทฤษฎีการเรียนรู้010-015-030-036
ทฤษฎีการเรียนรู้010-015-030-036MooHnoon Choiyz
 
จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2hadesza
 
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้Mod DW
 

What's hot (19)

ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
การเรียนรู้Learning
การเรียนรู้Learningการเรียนรู้Learning
การเรียนรู้Learning
 
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์3
ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์3ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์3
ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์3
 
ทฤษฎี
ทฤษฎีทฤษฎี
ทฤษฎี
 
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้
 
จิตรวิทยาการเรียนรู้
จิตรวิทยาการเรียนรู้จิตรวิทยาการเรียนรู้
จิตรวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้2525222
จิตวิทยาการเรียนรู้2525222จิตวิทยาการเรียนรู้2525222
จิตวิทยาการเรียนรู้2525222
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
5.1จิตวิทยาการเรียนการสอน
5.1จิตวิทยาการเรียนการสอน5.1จิตวิทยาการเรียนการสอน
5.1จิตวิทยาการเรียนการสอน
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)
 
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์
 
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้
 
ทฤษฎีการเรียนรู้010-015-030-036
ทฤษฎีการเรียนรู้010-015-030-036ทฤษฎีการเรียนรู้010-015-030-036
ทฤษฎีการเรียนรู้010-015-030-036
 
จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2
 
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้
 

Similar to จิตวิทยา

จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3poms0077
 
จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3poms0077
 
จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2poms0077
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ 2
จิตวิทยาการเรียนรู้ 2จิตวิทยาการเรียนรู้ 2
จิตวิทยาการเรียนรู้ 2team00428
 
จิตวิทยาการเรียนร้2
จิตวิทยาการเรียนร้2จิตวิทยาการเรียนร้2
จิตวิทยาการเรียนร้2kungcomedu
 
จิตวิทยาการเรียนร้
จิตวิทยาการเรียนร้จิตวิทยาการเรียนร้
จิตวิทยาการเรียนร้kungcomedu
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้team00428
 
5cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth02
5cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth025cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth02
5cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth02Mai Amino
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้Sasipron Tosuk
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้Sasipron Tosuk
 
จิตวิทยาการเรียนร้2
จิตวิทยาการเรียนร้2จิตวิทยาการเรียนร้2
จิตวิทยาการเรียนร้2kungcomedu
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้team00428
 
Mapทฤษฎีการเรียนรู้
Mapทฤษฎีการเรียนรู้Mapทฤษฎีการเรียนรู้
Mapทฤษฎีการเรียนรู้TupPee Zhouyongfang
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้team00428
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)Maesinee Fuguro
 

Similar to จิตวิทยา (20)

จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3
 
จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3
 
จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ 2
จิตวิทยาการเรียนรู้ 2จิตวิทยาการเรียนรู้ 2
จิตวิทยาการเรียนรู้ 2
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ 5555
จิตวิทยาการเรียนรู้ 5555จิตวิทยาการเรียนรู้ 5555
จิตวิทยาการเรียนรู้ 5555
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ 333333
จิตวิทยาการเรียนรู้ 333333จิตวิทยาการเรียนรู้ 333333
จิตวิทยาการเรียนรู้ 333333
 
จิตวิทยาการเรียนร้2
จิตวิทยาการเรียนร้2จิตวิทยาการเรียนร้2
จิตวิทยาการเรียนร้2
 
ความหมายของการเรียนรู้5555
ความหมายของการเรียนรู้5555ความหมายของการเรียนรู้5555
ความหมายของการเรียนรู้5555
 
จิตวิทยาการเรียนร้
จิตวิทยาการเรียนร้จิตวิทยาการเรียนร้
จิตวิทยาการเรียนร้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
5cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth02
5cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth025cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth02
5cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth02
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนร้2
จิตวิทยาการเรียนร้2จิตวิทยาการเรียนร้2
จิตวิทยาการเรียนร้2
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
Mapทฤษฎีการเรียนรู้
Mapทฤษฎีการเรียนรู้Mapทฤษฎีการเรียนรู้
Mapทฤษฎีการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)
 

More from poms0077

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้poms0077
 
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้poms0077
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้poms0077
 
สื่อ
สื่อสื่อ
สื่อpoms0077
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้poms0077
 
ยินดีต้อนรับ
ยินดีต้อนรับยินดีต้อนรับ
ยินดีต้อนรับpoms0077
 

More from poms0077 (7)

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
 
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
สื่อ
สื่อสื่อ
สื่อ
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
55
5555
55
 
ยินดีต้อนรับ
ยินดีต้อนรับยินดีต้อนรับ
ยินดีต้อนรับ
 

จิตวิทยา