SlideShare a Scribd company logo
1 of 13
จิตวิทยาการเรียนรู้ โดย นางสาวพนิดา ธงชัยธนากุล 521121039 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์
ความหมายของการเรียนรู้                การมีปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาเรื่อยไป จนกระทั่งคลอดมาเป็นทารกแล้วอยู่รอด ซึ่งบุคคลก็ต้องปรับตัวเพื่อให้ตนเองอยู่รอดกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในครรภ์มารดาและเมื่อออกมาอยู่ภายนอกเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่รอดทั้งนี้ก็เพราะการเรียนรู้ทั้งสิ้น                 การเรียนรู้ มีความหมายลึกซึ้งมากกว่าการสั่งสอน หรือการบอกเล่าให้เข้าใจและจำได้เท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของการทำตามแบบ ไม่ได้มีความหมายต่อการเรียนในวิชาต่างๆเท่านั้น แต่ความหมายคลุมไปถึง การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมอันเป็นผลจากการสังเกตพิจารณา ไตร่ตรอง แก้ปัญหาทั้งปวงและไม่ชี้ชัดว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปในทางที่สังคมยอมรับเท่านั้น การเรียนรู้เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เป็นความเจริญงอกงาม       เน้นว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นการเรียนรู้ต้องเนื่องมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกหัด และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นควรจะต้องมีความคงทนถาวรเหมาะแก่เหตุเมื่อพฤติกรรมดั้งเดิมเปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมที่มุ่งหวัง ก็แสดงว่าเกิดการเรียนรู้แล้ว                
  การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมในการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง                 การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันมีผลมาจากการได้มีประสบการณ์                 การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดกิจกรรม   หรือ   กระบวนการที่ทำให้กิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปโดยเป็นผลตอบสนองจากสภาพการณ์หนึ่งซึ่งไม่ใช่ปฏิกิริยาธรรมชาติไม่ใช่วุฒิภาวะและไม่ใช่สภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกายชั่วครั้งชั่วคราวที่เนื่องมาจากความเหนื่อยล้าหรือฤทธิ์ยา                 การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่เนื่องมาจากประสบการณ์ตรงและประสบการณ์อ้อมกระทำให้อินทรีย์เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร                 การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม   ซึ่งเป็นผลของการฝึกหัด                 จากความหมายของการเรียนรู้ข้างต้นอาจสรุปได้ว่า   การเรียนรู้  หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลจากการที่บุคคลทำกิจกรรมใดๆ ทำให้เกิดประสบการณ์และเกิดทักษะต่างๆ ขึ้นยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
จุดมุ่งหมายของการเรียน 		พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดม่งหมายของนักศึกษาซึ่งกำหนดโดยบลูม และคณะ(Bloom and Others) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3 ด้านดังนี้ 		1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นการกระทำ ที่เกี่ยวกับ กระบวนการทางสมอง เช่น สติปัญญา (Intellectual) การเรียนรู้ (Learning) และ การแก้ปัญหา (Problem solving) ได้แบ่งระดับพุทธิพิสัยไว้ 6 ระดับ โดยเรียงจากระดับต่ำสุด ถึง ระดับสูงสุด ดังนี้
	1. ความรู้ - ความจำ (Knowledge) 2. ความเข้าใจ (Comprehension) 	3. การนำไปใช้ (Application) 	4. การวิเคราะห์ (Analysis) 	5. การสังเคราะห์ (Synthesis) 	6. การประเมินค่า (Evaluation)
		2) .ด้านจิตพิสัย(affective  domain) หมายถึงพฤติกรรมเกี่ยวกับการแสดงออกของสภาพจิตใจด้านอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งเกี่ยวข้องกับค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ความสนใจและความซาบซึ้ง เป้าหมายด้านจิตพิสัยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ 		การรับรู้ (receiving attention)  		การตอบสนอง (responding)  	การสร้างคุณค่า (valuing) 		การจัดระบบคุณค่า (organization) 		การสร้าลักษณะนิสัย (characterization by a value )
3) ด้านทักษะพิสัย (psychomotor domain) หมายถึงทักษะทางกาย ซึ่งเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับความสามารถในการบังคับระบบกล้ามเนื้อ  ระบบประสาท และสมองให้สัมพันธ์กันจนกระทั่งเกิดเป็นการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายในการปฏิบัติงานต่างๆมีการจำแนกพฤติกรรมทางทักษะพิสัยออกเป็น 7 ระดับ คือ  		1.ด้านการรับรู้ (perception)  		2.การเตรียม  (set)  		3.การตอบสนองการชี้แนะ(guided response)  		4.การสร้างกลไก (mechanism)  		5.การตอบสนองที่ซับซ้อน (complex overt response ) 		6.การดัดแปลงให้เหมาะสม (adaptation) 		7.การริเริ่มใหม่ (organization)
ธรรมชาติของการเรียนรู้ 		ธรรมชาติของการเรียนรู้โดยทั่วไปนักจิตวิทยาเชื่อว่ามนุษย์จะมีการเรียนรู้ได้ก็ ต่อเมื่อมนุษย์ได้ทำกิจกรรมใดๆ แล้วเกิดประสบการณ์ ประสบการณ์ที่สะสมมามากๆ และหลายๆ ครั้งทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ขึ้นและเกิดการพัฒนาสิ่งที่เรียนรู้จนเกิดเป็นทักษะ  และเกิดเป็นความชำนาญ ดังนั้นการเรียนรู้ของมนุษย์ก็จะอยู่กับตัวของมนุษย์เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร      ดังนั้นหัวข้อที่น่าศึกษาต่อไปคือธรรมชาติของการเรียนรู้ของมนุษย์มีอะไรบ้าง ในที่นี้ขออธิบายเป็นข้อๆ คือ
1.       การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร 2.       การเรียนรู้ย่อมมีการแก้ไข ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ จะต้องเนื่องมาจากประสบการณ์  3.       การเปลี่ยนแปลงชั่วครั้งชั่วคราวไม่นับว่าเป็นการเรียนรู้ 4.       การเรียนรู้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมต้องอาศัยการสังเกตพฤติกรรม 5.       การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และกระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลาที่บุคคลมีชีวิตอยู่ โดยอาศัยประสบการณ์ในชีวิต 6.       การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่อาศัยวุฒิภาวะ วุฒิภาวะคือระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของบุคคลในแต่ละช่วงวัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ แต่การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่ต้องอาศัยวุฒิภาวะประกอบกัน 7.       การเรียนรู้เกิดได้ง่ายถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน 8.       การเรียนรู้ของแต่ละคนแตกต่างกัน 9.       การเรียนรู้ย่อมเป็นผลให้เกิดการสร้างแบบแผนของพฤติกรรมใหม่ 10.   การเรียนรู้อาจจะเกิดขึ้นโดยการตั้งใจหรือเกิดโดยบังเอิญก็ได้
องค์ประกอบของการเรียนรู้ 1.       สิ่งเร้า ( Stimulus ) เป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยาโต้ตอบออกมาและเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมว่าจะแสดงออกมาในลักษณะใด สิ่งเร้าอาจเป็นเหตุการณ์หรือวัตถุและอาจเกิดภายในหรือภายนอกร่างกายก็ได้   เช่น เสียงนาฬิกาปลุกให้เราตื่น กำหนดวันสอบเร้าให้เราเตรียมสอบ 		2.       แรงขับ ( Drive ) มี 2 ประเภทคือแรงขับปฐมภูมิ ( Primary Drive ) เช่น ความหิว ความกระหาย การต้องการพักผ่อน เป็นต้น และแรงขับทุติยภูมิ ( Secondary Drive ) เป็นเรื่องของความต้องการทางจิตและทางสังคม เช่น ความวิตกกังวล ความต้องการความรัก ความปลอดภัย เป็นต้น แรงขับทั้งสองประเภทเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอันจะนำไปสู่การเรียนรู้
	3.       การตอบสนอง ( Response ) เป็นพฤติกรรมต่างๆ ที่บุคคลแสดงออกมาเมื่อได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ หรือสถานการณ์ อาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งแวดล้อมที่รอบตัวเรานั่นเอง 		4.       แรงเสริม ( Reinforcement ) สิ่งที่มาเพิ่มกำลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง เช่น รางวัล การตำหนิ  การลงโทษ การชมเชย เงิน ของขวัญ  เป็นต้น
กระบวนการของการเรียนรู้                 กระบวนการของการเรียนรู้มีขั้นตอนดังนี้คือ 		1.       มีสิ่งเร้า( Stimulus ) มาเร้าอินทรีย์ ( Organism )  		2.       อินทรีย์เกิดการรับสัมผัส ( Sensation ) ประสาทสัมผัสทั้งห้า ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย 		3.       ประสาทสัมผัสส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทเกิดการรับรู้ ( Perception )  		4.       สมองแปลผลออกมาว่าสิ่งที่สัมผัสคืออะไรเรียกว่าความคิดรวบยอด ( Conception )  		5.       พฤติกรรมได้รับคำแปลผลทำให้เกิดความคิดรวบยอดก็จะเกิดการเรียนรู้ ( Learning ) 		6.       เมื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้บุคคลก็จะเกิดการตอบสนอง ( Response ) พฤติกรรมนั้นๆ 
จบแล้วค่ะ

More Related Content

Viewers also liked

Loucas Curve Sketching Project
Loucas Curve Sketching ProjectLoucas Curve Sketching Project
Loucas Curve Sketching Projectasmith123183
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7pajyeeb
 
Visumé deck
Visumé deckVisumé deck
Visumé deckJacky Lee
 
Angelica curve sketching project
Angelica curve sketching projectAngelica curve sketching project
Angelica curve sketching projectasmith123183
 
code name 'Yeati' pitch deck english
code name 'Yeati' pitch deck englishcode name 'Yeati' pitch deck english
code name 'Yeati' pitch deck englishJacky Lee
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7pajyeeb
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8pajyeeb
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8pajyeeb
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8pajyeeb
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8pajyeeb
 
"Got Any News? Who Cares."
"Got Any News? Who Cares." "Got Any News? Who Cares."
"Got Any News? Who Cares." Yiannis Kardaras
 
Enhancing SAP HCM - Thoughts and opinions hcm
Enhancing SAP HCM - Thoughts and opinions hcmEnhancing SAP HCM - Thoughts and opinions hcm
Enhancing SAP HCM - Thoughts and opinions hcmChris Paine
 
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้pajyeeb
 
SAP HANA Cloud Platform - SuccessFactors Extensions
SAP HANA Cloud Platform - SuccessFactors ExtensionsSAP HANA Cloud Platform - SuccessFactors Extensions
SAP HANA Cloud Platform - SuccessFactors ExtensionsChris Paine
 
Ada Easd Guidelines 2012
Ada Easd Guidelines 2012Ada Easd Guidelines 2012
Ada Easd Guidelines 2012fleurymi
 

Viewers also liked (16)

Loucas Curve Sketching Project
Loucas Curve Sketching ProjectLoucas Curve Sketching Project
Loucas Curve Sketching Project
 
Presentation1
Presentation1Presentation1
Presentation1
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
Visumé deck
Visumé deckVisumé deck
Visumé deck
 
Angelica curve sketching project
Angelica curve sketching projectAngelica curve sketching project
Angelica curve sketching project
 
code name 'Yeati' pitch deck english
code name 'Yeati' pitch deck englishcode name 'Yeati' pitch deck english
code name 'Yeati' pitch deck english
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
"Got Any News? Who Cares."
"Got Any News? Who Cares." "Got Any News? Who Cares."
"Got Any News? Who Cares."
 
Enhancing SAP HCM - Thoughts and opinions hcm
Enhancing SAP HCM - Thoughts and opinions hcmEnhancing SAP HCM - Thoughts and opinions hcm
Enhancing SAP HCM - Thoughts and opinions hcm
 
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้
 
SAP HANA Cloud Platform - SuccessFactors Extensions
SAP HANA Cloud Platform - SuccessFactors ExtensionsSAP HANA Cloud Platform - SuccessFactors Extensions
SAP HANA Cloud Platform - SuccessFactors Extensions
 
Ada Easd Guidelines 2012
Ada Easd Guidelines 2012Ada Easd Guidelines 2012
Ada Easd Guidelines 2012
 

Similar to จิตวิทยาการเรียนรู้

จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3poms0077
 
จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3poms0077
 
จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2poms0077
 
จิตวิทยา
จิตวิทยาจิตวิทยา
จิตวิทยาpoms0077
 
Thinking and doing school
Thinking and doing schoolThinking and doing school
Thinking and doing schoolWC Triumph
 
วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา
วิธีการสอนแบบแก้ปัญหาวิธีการสอนแบบแก้ปัญหา
วิธีการสอนแบบแก้ปัญหาJindarat JB'x Kataowwy
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยNoppasorn Boonsena
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่Pitsiri Lumphaopun
 
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่Ailada_oa
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่panggoo
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่Jo Smartscience II
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่Jo Smartscience II
 
การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้
การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้
การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้Tawanat Ruamphan
 

Similar to จิตวิทยาการเรียนรู้ (20)

ความหมายของการเรียนรู้5555
ความหมายของการเรียนรู้5555ความหมายของการเรียนรู้5555
ความหมายของการเรียนรู้5555
 
จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3
 
จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3
 
จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2
 
จิตวิทยา
จิตวิทยาจิตวิทยา
จิตวิทยา
 
Kku5
Kku5Kku5
Kku5
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่
 
Thinking and doing school
Thinking and doing schoolThinking and doing school
Thinking and doing school
 
วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา
วิธีการสอนแบบแก้ปัญหาวิธีการสอนแบบแก้ปัญหา
วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ G
จิตวิทยาการเรียนรู้ Gจิตวิทยาการเรียนรู้ G
จิตวิทยาการเรียนรู้ G
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ G
จิตวิทยาการเรียนรู้ Gจิตวิทยาการเรียนรู้ G
จิตวิทยาการเรียนรู้ G
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วย
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่
 
Ch 2
Ch 2Ch 2
Ch 2
 
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่
 
การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้
การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้
การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้
 
พหุปัญญา
พหุปัญญาพหุปัญญา
พหุปัญญา
 

จิตวิทยาการเรียนรู้

  • 1. จิตวิทยาการเรียนรู้ โดย นางสาวพนิดา ธงชัยธนากุล 521121039 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์
  • 2. ความหมายของการเรียนรู้                การมีปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาเรื่อยไป จนกระทั่งคลอดมาเป็นทารกแล้วอยู่รอด ซึ่งบุคคลก็ต้องปรับตัวเพื่อให้ตนเองอยู่รอดกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในครรภ์มารดาและเมื่อออกมาอยู่ภายนอกเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่รอดทั้งนี้ก็เพราะการเรียนรู้ทั้งสิ้น                 การเรียนรู้ มีความหมายลึกซึ้งมากกว่าการสั่งสอน หรือการบอกเล่าให้เข้าใจและจำได้เท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของการทำตามแบบ ไม่ได้มีความหมายต่อการเรียนในวิชาต่างๆเท่านั้น แต่ความหมายคลุมไปถึง การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมอันเป็นผลจากการสังเกตพิจารณา ไตร่ตรอง แก้ปัญหาทั้งปวงและไม่ชี้ชัดว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปในทางที่สังคมยอมรับเท่านั้น การเรียนรู้เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เป็นความเจริญงอกงาม       เน้นว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นการเรียนรู้ต้องเนื่องมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกหัด และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นควรจะต้องมีความคงทนถาวรเหมาะแก่เหตุเมื่อพฤติกรรมดั้งเดิมเปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมที่มุ่งหวัง ก็แสดงว่าเกิดการเรียนรู้แล้ว                
  • 3.   การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมในการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง                 การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันมีผลมาจากการได้มีประสบการณ์                 การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดกิจกรรม   หรือ   กระบวนการที่ทำให้กิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปโดยเป็นผลตอบสนองจากสภาพการณ์หนึ่งซึ่งไม่ใช่ปฏิกิริยาธรรมชาติไม่ใช่วุฒิภาวะและไม่ใช่สภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกายชั่วครั้งชั่วคราวที่เนื่องมาจากความเหนื่อยล้าหรือฤทธิ์ยา                 การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่เนื่องมาจากประสบการณ์ตรงและประสบการณ์อ้อมกระทำให้อินทรีย์เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร                 การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม   ซึ่งเป็นผลของการฝึกหัด                 จากความหมายของการเรียนรู้ข้างต้นอาจสรุปได้ว่า   การเรียนรู้  หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลจากการที่บุคคลทำกิจกรรมใดๆ ทำให้เกิดประสบการณ์และเกิดทักษะต่างๆ ขึ้นยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
  • 4. จุดมุ่งหมายของการเรียน พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดม่งหมายของนักศึกษาซึ่งกำหนดโดยบลูม และคณะ(Bloom and Others) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3 ด้านดังนี้ 1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นการกระทำ ที่เกี่ยวกับ กระบวนการทางสมอง เช่น สติปัญญา (Intellectual) การเรียนรู้ (Learning) และ การแก้ปัญหา (Problem solving) ได้แบ่งระดับพุทธิพิสัยไว้ 6 ระดับ โดยเรียงจากระดับต่ำสุด ถึง ระดับสูงสุด ดังนี้
  • 5. 1. ความรู้ - ความจำ (Knowledge) 2. ความเข้าใจ (Comprehension) 3. การนำไปใช้ (Application) 4. การวิเคราะห์ (Analysis) 5. การสังเคราะห์ (Synthesis) 6. การประเมินค่า (Evaluation)
  • 6. 2) .ด้านจิตพิสัย(affective  domain) หมายถึงพฤติกรรมเกี่ยวกับการแสดงออกของสภาพจิตใจด้านอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งเกี่ยวข้องกับค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ความสนใจและความซาบซึ้ง เป้าหมายด้านจิตพิสัยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ การรับรู้ (receiving attention) การตอบสนอง (responding) การสร้างคุณค่า (valuing) การจัดระบบคุณค่า (organization) การสร้าลักษณะนิสัย (characterization by a value )
  • 7. 3) ด้านทักษะพิสัย (psychomotor domain) หมายถึงทักษะทางกาย ซึ่งเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับความสามารถในการบังคับระบบกล้ามเนื้อ  ระบบประสาท และสมองให้สัมพันธ์กันจนกระทั่งเกิดเป็นการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายในการปฏิบัติงานต่างๆมีการจำแนกพฤติกรรมทางทักษะพิสัยออกเป็น 7 ระดับ คือ 1.ด้านการรับรู้ (perception) 2.การเตรียม  (set) 3.การตอบสนองการชี้แนะ(guided response) 4.การสร้างกลไก (mechanism) 5.การตอบสนองที่ซับซ้อน (complex overt response ) 6.การดัดแปลงให้เหมาะสม (adaptation) 7.การริเริ่มใหม่ (organization)
  • 8. ธรรมชาติของการเรียนรู้ ธรรมชาติของการเรียนรู้โดยทั่วไปนักจิตวิทยาเชื่อว่ามนุษย์จะมีการเรียนรู้ได้ก็ ต่อเมื่อมนุษย์ได้ทำกิจกรรมใดๆ แล้วเกิดประสบการณ์ ประสบการณ์ที่สะสมมามากๆ และหลายๆ ครั้งทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ขึ้นและเกิดการพัฒนาสิ่งที่เรียนรู้จนเกิดเป็นทักษะ  และเกิดเป็นความชำนาญ ดังนั้นการเรียนรู้ของมนุษย์ก็จะอยู่กับตัวของมนุษย์เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร      ดังนั้นหัวข้อที่น่าศึกษาต่อไปคือธรรมชาติของการเรียนรู้ของมนุษย์มีอะไรบ้าง ในที่นี้ขออธิบายเป็นข้อๆ คือ
  • 9. 1.       การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร 2.       การเรียนรู้ย่อมมีการแก้ไข ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ จะต้องเนื่องมาจากประสบการณ์  3.       การเปลี่ยนแปลงชั่วครั้งชั่วคราวไม่นับว่าเป็นการเรียนรู้ 4.       การเรียนรู้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมต้องอาศัยการสังเกตพฤติกรรม 5.       การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และกระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลาที่บุคคลมีชีวิตอยู่ โดยอาศัยประสบการณ์ในชีวิต 6.       การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่อาศัยวุฒิภาวะ วุฒิภาวะคือระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของบุคคลในแต่ละช่วงวัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ แต่การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่ต้องอาศัยวุฒิภาวะประกอบกัน 7.       การเรียนรู้เกิดได้ง่ายถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน 8.       การเรียนรู้ของแต่ละคนแตกต่างกัน 9.       การเรียนรู้ย่อมเป็นผลให้เกิดการสร้างแบบแผนของพฤติกรรมใหม่ 10.   การเรียนรู้อาจจะเกิดขึ้นโดยการตั้งใจหรือเกิดโดยบังเอิญก็ได้
  • 10. องค์ประกอบของการเรียนรู้ 1.       สิ่งเร้า ( Stimulus ) เป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยาโต้ตอบออกมาและเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมว่าจะแสดงออกมาในลักษณะใด สิ่งเร้าอาจเป็นเหตุการณ์หรือวัตถุและอาจเกิดภายในหรือภายนอกร่างกายก็ได้   เช่น เสียงนาฬิกาปลุกให้เราตื่น กำหนดวันสอบเร้าให้เราเตรียมสอบ 2.       แรงขับ ( Drive ) มี 2 ประเภทคือแรงขับปฐมภูมิ ( Primary Drive ) เช่น ความหิว ความกระหาย การต้องการพักผ่อน เป็นต้น และแรงขับทุติยภูมิ ( Secondary Drive ) เป็นเรื่องของความต้องการทางจิตและทางสังคม เช่น ความวิตกกังวล ความต้องการความรัก ความปลอดภัย เป็นต้น แรงขับทั้งสองประเภทเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอันจะนำไปสู่การเรียนรู้
  • 11. 3.       การตอบสนอง ( Response ) เป็นพฤติกรรมต่างๆ ที่บุคคลแสดงออกมาเมื่อได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ หรือสถานการณ์ อาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งแวดล้อมที่รอบตัวเรานั่นเอง 4.       แรงเสริม ( Reinforcement ) สิ่งที่มาเพิ่มกำลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง เช่น รางวัล การตำหนิ  การลงโทษ การชมเชย เงิน ของขวัญ  เป็นต้น
  • 12. กระบวนการของการเรียนรู้                 กระบวนการของการเรียนรู้มีขั้นตอนดังนี้คือ 1.       มีสิ่งเร้า( Stimulus ) มาเร้าอินทรีย์ ( Organism )  2.       อินทรีย์เกิดการรับสัมผัส ( Sensation ) ประสาทสัมผัสทั้งห้า ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย 3.       ประสาทสัมผัสส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทเกิดการรับรู้ ( Perception )  4.       สมองแปลผลออกมาว่าสิ่งที่สัมผัสคืออะไรเรียกว่าความคิดรวบยอด ( Conception )  5.       พฤติกรรมได้รับคำแปลผลทำให้เกิดความคิดรวบยอดก็จะเกิดการเรียนรู้ ( Learning ) 6.       เมื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้บุคคลก็จะเกิดการตอบสนอง ( Response ) พฤติกรรมนั้นๆ