SlideShare a Scribd company logo
1 of 4
Download to read offline
หมู่บ้านสตรอว์เบอรŠรี่แห่งภาคอีสาน
แปลงสตรอว์เบอร์รี่สีแดงสดที่ปกคลุมทั่วเนินเขาหมู่บ้านบ่อเหมืองน้อยและห้วยน้ำ�ผัก แม้ไม่เป็นที่รู้จัก
มากนัก แต่ใครที่เคยผ่านไปแถวอำ�เภอนาแห้ว ได้เห็นและชิมสตรอว์เบอร์รี่อีสาน ต่างออกปากรับประกันว่ารสชาติ
หวานกรอบไม่แพ้ที่ไหน แต่กว่าจะประสบความสำ�เร็จอย่างที่เห็น ชาวบ้านและพี่เลี้ยงจากหลายหน่วยงานต้อง
ฝ่าฟันอุปสรรคมาไม่น้อย
ศักดิ์ชัย วัฒนศรีรังกุล หรือ “เม้ง” นักวิเคราะห์
โครงการจาก สวทช. เล่าให้ฟังว่า หลังจากร้อยเอก
อรรฐพร โบสุวรรณ ติดต่อมา ไบโอเทค สวทช. ร่วมกับ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
เข้าไปดูพื้นที่ทันที
ตอนนั้นโจทย์ที่ สวทช. ตั้งไว้คือ ทำ�อย่างไรให้
ชาวบ้านประกอบอาชีพได้ โดยใช้ทรัพยากรในพื้นที่ ไม่มี
การย้ายถิ่นฐาน เป็นการดำ�เนินการบนหลักการที่ว่าทำ�
อย่างไรให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้
“ไบโอเทค มองว่าพื้นที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมืองมาก
การคมนาคมไม่สะดวก ถ้าปลูกข้าวโพด ถั่วฝักยาวจะไม่
คุ้มค่า พืชที่ปลูกควรเป็นพืชมูลค่าสูงๆ ที่เหมาะกับสภาพ
ภูมิอากาศที่หนาวเย็น เนื่องจากทั้งสองหมู่บ้านตั้งอยู่ที่
ระดับความสูง 750-1,200 เมตร ประกอบกับช่วงนั้น
ไบโอเทค มีงานวิจัยเรื่องสตรอว์เบอร์รี่กับโครงการหลวง
ที่อำ�เภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ พวกเรามองว่าคนอยู่
บนดอยปลูกสตรอว์เบอร์รี่เป็นอาชีพได้ในพื้นที่ที่จำ�กัด ดังนั้น
สตรอว์เบอร์รี่จึงเป็นพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่นี้มากที่สุด”
หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2539 ไบโอเทค สวทช.
ร่วมกับ มจธ. เข้าไปถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต
สตรอว์เบอร์รี่ให้ชาวบ้าน
ปิยทัศน์ ทองไตรภพ หรือ “ปิ” นักวิจัยจากศูนย์วิจัย
และบริการอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรม
ชีวเคมี สำ�นักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
เล่าว่า ในช่วงแรก สมศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ นักวิชาการ
จาก ไบโอเทค สวทช. และ ทศพร ทองเที่ยง นักวิชาการ
จาก มจธ. เข้าไปทำ�แปลงทดลอง พาชาวบ้านมาอบรมวิธี
การปลูก จากนั้นนำ�สตรอว์เบอร์รี่เข้าไปส่งเสริม เอาไหล
สตรอว์เบอร์รี่ไปให้ชาวบ้านทดลองปลูกบ้านละ 2,000-
3,000 ต้น ทั้ง 2 หมู่บ้านประมาณ 150 ครัวเรือน
“ความรู้และเทคโนโลยีที่ถ่ายทอดให้ชาวบ้าน เริ่ม
อบรมตั้งแต่การเตรียมแปลง การปลูก การดูแล จนถึงการ
เก็บเกี่ยว ช่วงนั้นต้องขึ้นนาแห้วทุกเดือนเลย เดือนละ
ประมาณ 15 วัน เข้าแปลงกับเขา ดูว่ามีปัญหาอะไร
ปลูกแล้วเป็นอย่างไร ทำ�ไมไม่โต มีโรคอะไร ใช้ยาอะไรพ่น
32
ดูแลอย่างไร เราใช้กลไกการติดตาม
ตลอด พูดง่ายๆ ผมปลูกไม่เป็นก็ต้อง
ปลูกเป็นเลย (หัวเราะ) แทบจะจับมือ
เขาปลูกเลย ผลผลิตต้องเก็บอย่างไร
ช่วยดูตลอด”
“การปลูกสตรอว์เบอร์รี่ดูแล
ยากกว่าพืชชนิดอื่นเยอะ” นายสง่า
บุญธรรม หรือ “พี่สง่า” ผู้ใหญ่บ้าน
ห้วยน้ำ�ผักและเกษตรกรเจ้าของ
แปลงสตรอว์เบอร์รี่เอ่ยขึ้น ต้องดูแล
ทุกวัน ดูว่าแปลงปลูกแห้ง หรือมีหญ้า
ขึ้นหรือไม่ หากใบทึบต้องแต่งใบ
นอกจากนี้ต้องคอยระวังโรคพืชชนิด
ต่างๆ โดยเฉพาะเชื้อรา
“ทำ�แปลงต้องทำ�สูง เพราะ
แปลงต่ำ� ความชื้นมีเยอะ เวลาปลูก
“อยากเรียนรู้และปลูกให้ดีที่สุดอยากเอาสตรอว์เบอร์รี่
มาพลิกฟื้นหมู่บ้านห้วยน้Óผัก ให้เป็นหมู่บ้านสตรอว์เบอร์รี่
เป็นตลาดสตรอว์เบอร์รี่ที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน”
ต้องปลูกสองแถว ให้ต้นไหลหันเข้าหา
กัน ปลูกเสร็จแล้ว 7 วันแรกต้องรดน้ำ�
ตลอดไม่ให้แห้ง”
สตรอว์เบอร์รี่เป็นพืชชนิดใหม่
ที่ชาวบ้านไม่มีความรู้มาก่อน ช่วงแรก
จึงอาศัยความทุ่มเทและอดทน เมื่อ
เรียนรู้และมีประสบการณ์พอควร
พี่สง่าตัดสินใจทดลองปลูกปีแรก
ประมาณ 3,000 ต้น ในเนื้อที่ประมาณ
งานกว่าๆ
“ผลผลิตปีแรกดี แต่ไม่มาก
เพราะมือใหม่ แล้วเจอโรคด้วย
ตอนนั้นคิดว่าไม่คุ้มหรอก แต่ไม่ท้อนะ
พยายามปลูกใหม่ อยากปรับปรุงใหม่
ทุกปี ปลูกแล้วทำ�ยังไงให้ขึ้นทุกต้น
มีดอกมีผลทุกต้น“
เมื่อไม่ท้อต้องมีก้าวต่อไป
พัฒนาการอีกขั้นของชาวไร่สตรอว์-
เบอร์รี่ที่นี่คือ การใช้ระบบน้ำ�หยด
ปิยทัศน์แนะนำ�ให้มีการติดตั้งบน
เนื้อที่ 10 ไร่ ที่เป็นแปลงผลิตกลาง
ของทั้งสองหมู่บ้าน ข้อดีของระบบน้ำ�
หยดคือ ลดปัญหาโรคแอนแทรคโนส
ที่เป็นศัตรูสำ�คัญของสตรอว์เบอร์รี่ได้
ระบบน้ำ�หยดให้ผลเป็นที่น่า
พอใจ เพราะนอกจากต้นสมบูรณ์
ดีแล้ว ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น
“ปีแรกปลูก 3,000 ต้น ได้
ผลผลิต 500 กิโลกรัม ปีที่สองผลผลิต
ไม่ต่างกันเท่าไหร่ พอมาถึงปีที่สามที่
มีระบบน้ำ�หยด ได้ผลผลิตเฉลี่ย 1.2
33
ตันต่อไร่ ดีใจมากนะ มีกำ�ลังใจ อยาก
ปลูกไปทุกปี” พี่สง่าเล่า
ใช่ว่านักวิชาการ คือผู้ถ่ายทอด
ความรู้และเทคโนโลยีให้ชาวบ้านเพียง
อย่างเดียว หลายครั้งการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ ระหว่างนักวิชาการกับชาวบ้าน
ทำ�ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ได้ผลผลิต
ดีขึ้น
ปิยทัศน์ ยกตัวอย่างกรณีวัสดุ
คลุมแปลงว่า ภาคเหนือใช้ใบตองตึง
คลุมดินเพื่อไม่ให้หญ้าขึ้น ใบตองตึง
1 ไพล ยาว 1 เมตร ซื้อมาแล้วใช้วางได้
เลย แต่ 1 ไพล ตอนนี้ราคา 3 บาท
ถือเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น พวกเราจึงมอง
หาทางเลือกอื่น เช่น ฟางข้าว
“พอใช้ฟางข้าวไปสักพัก พบว่า
ฟางข้าวพอถูกน้ำ� เมล็ดข้าวที่หลงเหลือ
อยู่งอกขึ้นมา เสียเวลาไปถอน ฟางข้าว
เมื่อถูกน้ำ�มากๆ ย่อยสลายเร็วมาก
ผลตามมา คือ ฟางข้าวเริ่มเน่า
สตรอว์เบอร์รี่เน่าตามไปด้วย เลยลอง
เปลี่ยนมาเป็นหญ้าคาเพราะเป็นวัสดุ
ที่มีอยู่แล้ว ได้ผลดีนะ หญ้าคาไม่
ย่อยสลาย ต้นทุนลดไปอีก” พี่สง่าให้
ข้อมูลเสริม
เมื่อชาวบ้านเริ่มเลี้ยงวัวควาย
มากขึ้น หญ้าคาเริ่มหายาก พลาสติก
เป็นวัสดุใหม่ที่นำ�มาใช้โดยได้แนวคิด
มาจากประเทศอิสราเอล แต่เนื่องจาก
สภาพอากาศที่ต่างกัน ทำ�ให้ต้น
เสียหาย ต้องหาวิธีการใหม่
“ปกติแปลงสตรอว์เบอร์รี่จะ
ยกร่องเป็นเนินเหมือนภูเขา แล้วเรา
นำ�พลาสติกมาคลุมทั้งเนิน ด้านบน
ส่วนที่ปลูกสตรอว์เบอร์รี่เจาะรูไว้ แต่
บ้านเราอากาศร้อน เลยอบไป ต้น
สตรอว์เบอร์รี่เสียหาย ผมจึงลองใหม่
ปลูกสตรอว์เบอร์รี่ให้เสร็จก่อนแล้วเอา
หญ้าคามาคลุมทับบนผิวดินด้านบนที่
ปลูกสตรอว์เบอร์รี่ ส่วนเนินดินที่
ลาดลงพื้นด้านข้างทั้งสองฝั่งเอาพลาสติก
มาคลุม ปรากฏว่าได้ผลดี ดินบริเวณ
ด้านข้าง หญ้าไม่ขึ้น ส่วนดินด้านบนก็
ไม่ร้อนเพราะเป็นหญ้าคาคลุมอยู่”
นี่คือการเรียนรู้ที่ได้จากการ
สังเกต ปิยทัศน์บอกว่าเทคนิคตรงนี้
สอนไม่ได้ เช่น การใส่ปุ๋ย เราบอกให้
เจาะหลุมข้างทรงพุ่มหยิบปุ๋ย1หยิบมือ
34
ใส่หลุมแล้วกลบปิด ชาวบ้านบอกว่า
วิธีนี้ดีแต่เสียเวลา เขาโรยเอา ตอน
รดน้ำ�ระวังไม่ให้โดนปุ๋ย เขาเรียนรู้จาก
ความรู้ที่เราสอนทั้งหลักการทาง
วิทยาศาสตร์และเกษตร แต่ประยุกต์ให้
เหมาะกับพื้นที่และการทำ�งานของเขา
พบว่าไม่ได้เสียหายและได้ผลผลิตพอๆ
กับที่เราทำ�”
หลังจากที่มีความพร้อมทั้ง
ความรู้ เทคโนโลยีและประสบการณ์
ไร่สตรอว์เบอร์รี่ที่ชาวบ้าน ประคบ
ประหงมมาหลายปี ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
จากเดิมถึง 3 เท่า แต่ไม่ได้หมายความ
ว่าทางข้างหน้าไม่มีอุปสรรค
ปิยทัศน์ ขยายความถึงปัญหา
อีกประการหนึ่งคือ ไหล หรือ ต้นกล้า
ที่ใช้สำ�หรับปลูกสตรอว์เบอร์รี่
“เดิมใช้ไหลจากเชียงใหม่ถามว่า
ดีมั้ย บางปีดี บางปีไม่ดีเท่าไหร่ เพราะ
เชียงใหม่ปลูกซ้ำ�ที่เดิม ใช้ต้นพันธุ์เดิม
มีปัญหาเรื่องโรค เหมือนเรายกต้นที่
ปลูกที่เชียงใหม่ มาปลูกที่นาแห้ว มา
เป็นโรคต่อ ปีไหนได้ไหลดี ได้ผลผลิตดี
ปีไหนไหลคุณภาพไม่ดีนัก ผลผลิต
อาจไม่ค่อยดีเท่าไหร พอปี พ.ศ. 2553
เริ่มมีความคิดอยากผลิตต้นไหลที่
นาแห้ว”
เกษตรกรคนแรกที่ยกมือขอมี
ส่วนร่วมในการทดลองทำ�ไหล คือ
พี่สง่า บอกว่าอยากลองทำ�เอง เพราะ
คิดว่าช่วยลดต้นทุนลงได้
“ทำ�ไหลยากกว่าปลูกอีก (หัวเราะ)
ทำ�ไหลต้องเตรียมต้นแม่ไว้ตั้งแต่
ตอนปลูกเอาลูกเลย ต้องเด็ดเอาดอก
ออกเพื่อเอาต้นแม่อย่างเดียว ไม่เอา
ผล ครั้งแรกไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่
พยายามอยู่เรื่อยๆ ไหลที่เตรียมเอง
เอามาปลูกได้ผลผลิตดีนะ แต่ว่ายังไม่
แข็งแรงเท่าไหร่ ต้องเรียนรู้และทดลอง
ไปเรื่อยๆ ทำ�มาได้ 2 ปีแล้ว ปีนี้เป็นปี
ที่สอง คุณภาพก็ดี”
ในความคิดของพี่สง่า หากไหล
ราคาถูกลง ชาวบ้านจะหันมาปลูก
สตรอว์เบอร์รี่มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วง
หน้าแล้งไม่ต้องไปขายแรงงานที่
กรุงเทพฯ
“อยากเรียนรู้และปลูกให้ดี
ที่สุด อยากเอาสตรอว์เบอร์รี่มาพลิก
ฟื้นหมู่บ้านห้วยน้ำ�ผัก ให้เป็นหมู่บ้าน
สตรอว์เบอร์รี่ เป็นตลาดสตรอว์เบอร์รี่
ที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสานฝันไว้อย่างนั้น
นะ ในฐานะผู้ใหญ่บ้าน อยากให้ไปถึง
วันนั้น คนในหมู่บ้านมีรายได้ ไม่ต้อง
จากท้องถิ่นไปไหน อยากให้เวลา
ใครพูดถึงบ้านห้วยน้ำ�ผัก ก็นึกถึง
สตรอว์เบอร์รี่”
ทุกวันนี้หมู่บ้านห้วยน้ำ�ผักและ
บ่อเหมืองน้อย มีแปลงสตรอว์เบอร์รี่
รวมกันกว่า 10 ไร่ มีนักท่องเที่ยว
แวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมอยู่เสมอ
นอกจากรายได้แล้ว ถือเป็นความภูมิใจ
ที่คุ้มค่ากับความเหน็ดเหนื่อยตลอด
หลายปีที่ผ่านมา
35

More Related Content

Featured

How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
ThinkNow
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Kurio // The Social Media Age(ncy)
 

Featured (20)

How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
 
Skeleton Culture Code
Skeleton Culture CodeSkeleton Culture Code
Skeleton Culture Code
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work
 
ChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slidesChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slides
 

การผลิตสตรอเบอรี่ที่นาแห้ว

  • 1. หมู่บ้านสตรอว์เบอรŠรี่แห่งภาคอีสาน แปลงสตรอว์เบอร์รี่สีแดงสดที่ปกคลุมทั่วเนินเขาหมู่บ้านบ่อเหมืองน้อยและห้วยน้ำ�ผัก แม้ไม่เป็นที่รู้จัก มากนัก แต่ใครที่เคยผ่านไปแถวอำ�เภอนาแห้ว ได้เห็นและชิมสตรอว์เบอร์รี่อีสาน ต่างออกปากรับประกันว่ารสชาติ หวานกรอบไม่แพ้ที่ไหน แต่กว่าจะประสบความสำ�เร็จอย่างที่เห็น ชาวบ้านและพี่เลี้ยงจากหลายหน่วยงานต้อง ฝ่าฟันอุปสรรคมาไม่น้อย ศักดิ์ชัย วัฒนศรีรังกุล หรือ “เม้ง” นักวิเคราะห์ โครงการจาก สวทช. เล่าให้ฟังว่า หลังจากร้อยเอก อรรฐพร โบสุวรรณ ติดต่อมา ไบโอเทค สวทช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เข้าไปดูพื้นที่ทันที ตอนนั้นโจทย์ที่ สวทช. ตั้งไว้คือ ทำ�อย่างไรให้ ชาวบ้านประกอบอาชีพได้ โดยใช้ทรัพยากรในพื้นที่ ไม่มี การย้ายถิ่นฐาน เป็นการดำ�เนินการบนหลักการที่ว่าทำ� อย่างไรให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้ “ไบโอเทค มองว่าพื้นที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมืองมาก การคมนาคมไม่สะดวก ถ้าปลูกข้าวโพด ถั่วฝักยาวจะไม่ คุ้มค่า พืชที่ปลูกควรเป็นพืชมูลค่าสูงๆ ที่เหมาะกับสภาพ ภูมิอากาศที่หนาวเย็น เนื่องจากทั้งสองหมู่บ้านตั้งอยู่ที่ ระดับความสูง 750-1,200 เมตร ประกอบกับช่วงนั้น ไบโอเทค มีงานวิจัยเรื่องสตรอว์เบอร์รี่กับโครงการหลวง ที่อำ�เภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ พวกเรามองว่าคนอยู่ บนดอยปลูกสตรอว์เบอร์รี่เป็นอาชีพได้ในพื้นที่ที่จำ�กัด ดังนั้น สตรอว์เบอร์รี่จึงเป็นพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่นี้มากที่สุด” หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2539 ไบโอเทค สวทช. ร่วมกับ มจธ. เข้าไปถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต สตรอว์เบอร์รี่ให้ชาวบ้าน ปิยทัศน์ ทองไตรภพ หรือ “ปิ” นักวิจัยจากศูนย์วิจัย และบริการอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรม ชีวเคมี สำ�นักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เล่าว่า ในช่วงแรก สมศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ นักวิชาการ จาก ไบโอเทค สวทช. และ ทศพร ทองเที่ยง นักวิชาการ จาก มจธ. เข้าไปทำ�แปลงทดลอง พาชาวบ้านมาอบรมวิธี การปลูก จากนั้นนำ�สตรอว์เบอร์รี่เข้าไปส่งเสริม เอาไหล สตรอว์เบอร์รี่ไปให้ชาวบ้านทดลองปลูกบ้านละ 2,000- 3,000 ต้น ทั้ง 2 หมู่บ้านประมาณ 150 ครัวเรือน “ความรู้และเทคโนโลยีที่ถ่ายทอดให้ชาวบ้าน เริ่ม อบรมตั้งแต่การเตรียมแปลง การปลูก การดูแล จนถึงการ เก็บเกี่ยว ช่วงนั้นต้องขึ้นนาแห้วทุกเดือนเลย เดือนละ ประมาณ 15 วัน เข้าแปลงกับเขา ดูว่ามีปัญหาอะไร ปลูกแล้วเป็นอย่างไร ทำ�ไมไม่โต มีโรคอะไร ใช้ยาอะไรพ่น 32
  • 2. ดูแลอย่างไร เราใช้กลไกการติดตาม ตลอด พูดง่ายๆ ผมปลูกไม่เป็นก็ต้อง ปลูกเป็นเลย (หัวเราะ) แทบจะจับมือ เขาปลูกเลย ผลผลิตต้องเก็บอย่างไร ช่วยดูตลอด” “การปลูกสตรอว์เบอร์รี่ดูแล ยากกว่าพืชชนิดอื่นเยอะ” นายสง่า บุญธรรม หรือ “พี่สง่า” ผู้ใหญ่บ้าน ห้วยน้ำ�ผักและเกษตรกรเจ้าของ แปลงสตรอว์เบอร์รี่เอ่ยขึ้น ต้องดูแล ทุกวัน ดูว่าแปลงปลูกแห้ง หรือมีหญ้า ขึ้นหรือไม่ หากใบทึบต้องแต่งใบ นอกจากนี้ต้องคอยระวังโรคพืชชนิด ต่างๆ โดยเฉพาะเชื้อรา “ทำ�แปลงต้องทำ�สูง เพราะ แปลงต่ำ� ความชื้นมีเยอะ เวลาปลูก “อยากเรียนรู้และปลูกให้ดีที่สุดอยากเอาสตรอว์เบอร์รี่ มาพลิกฟื้นหมู่บ้านห้วยน้Óผัก ให้เป็นหมู่บ้านสตรอว์เบอร์รี่ เป็นตลาดสตรอว์เบอร์รี่ที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน” ต้องปลูกสองแถว ให้ต้นไหลหันเข้าหา กัน ปลูกเสร็จแล้ว 7 วันแรกต้องรดน้ำ� ตลอดไม่ให้แห้ง” สตรอว์เบอร์รี่เป็นพืชชนิดใหม่ ที่ชาวบ้านไม่มีความรู้มาก่อน ช่วงแรก จึงอาศัยความทุ่มเทและอดทน เมื่อ เรียนรู้และมีประสบการณ์พอควร พี่สง่าตัดสินใจทดลองปลูกปีแรก ประมาณ 3,000 ต้น ในเนื้อที่ประมาณ งานกว่าๆ “ผลผลิตปีแรกดี แต่ไม่มาก เพราะมือใหม่ แล้วเจอโรคด้วย ตอนนั้นคิดว่าไม่คุ้มหรอก แต่ไม่ท้อนะ พยายามปลูกใหม่ อยากปรับปรุงใหม่ ทุกปี ปลูกแล้วทำ�ยังไงให้ขึ้นทุกต้น มีดอกมีผลทุกต้น“ เมื่อไม่ท้อต้องมีก้าวต่อไป พัฒนาการอีกขั้นของชาวไร่สตรอว์- เบอร์รี่ที่นี่คือ การใช้ระบบน้ำ�หยด ปิยทัศน์แนะนำ�ให้มีการติดตั้งบน เนื้อที่ 10 ไร่ ที่เป็นแปลงผลิตกลาง ของทั้งสองหมู่บ้าน ข้อดีของระบบน้ำ� หยดคือ ลดปัญหาโรคแอนแทรคโนส ที่เป็นศัตรูสำ�คัญของสตรอว์เบอร์รี่ได้ ระบบน้ำ�หยดให้ผลเป็นที่น่า พอใจ เพราะนอกจากต้นสมบูรณ์ ดีแล้ว ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น “ปีแรกปลูก 3,000 ต้น ได้ ผลผลิต 500 กิโลกรัม ปีที่สองผลผลิต ไม่ต่างกันเท่าไหร่ พอมาถึงปีที่สามที่ มีระบบน้ำ�หยด ได้ผลผลิตเฉลี่ย 1.2 33
  • 3. ตันต่อไร่ ดีใจมากนะ มีกำ�ลังใจ อยาก ปลูกไปทุกปี” พี่สง่าเล่า ใช่ว่านักวิชาการ คือผู้ถ่ายทอด ความรู้และเทคโนโลยีให้ชาวบ้านเพียง อย่างเดียว หลายครั้งการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ระหว่างนักวิชาการกับชาวบ้าน ทำ�ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ได้ผลผลิต ดีขึ้น ปิยทัศน์ ยกตัวอย่างกรณีวัสดุ คลุมแปลงว่า ภาคเหนือใช้ใบตองตึง คลุมดินเพื่อไม่ให้หญ้าขึ้น ใบตองตึง 1 ไพล ยาว 1 เมตร ซื้อมาแล้วใช้วางได้ เลย แต่ 1 ไพล ตอนนี้ราคา 3 บาท ถือเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น พวกเราจึงมอง หาทางเลือกอื่น เช่น ฟางข้าว “พอใช้ฟางข้าวไปสักพัก พบว่า ฟางข้าวพอถูกน้ำ� เมล็ดข้าวที่หลงเหลือ อยู่งอกขึ้นมา เสียเวลาไปถอน ฟางข้าว เมื่อถูกน้ำ�มากๆ ย่อยสลายเร็วมาก ผลตามมา คือ ฟางข้าวเริ่มเน่า สตรอว์เบอร์รี่เน่าตามไปด้วย เลยลอง เปลี่ยนมาเป็นหญ้าคาเพราะเป็นวัสดุ ที่มีอยู่แล้ว ได้ผลดีนะ หญ้าคาไม่ ย่อยสลาย ต้นทุนลดไปอีก” พี่สง่าให้ ข้อมูลเสริม เมื่อชาวบ้านเริ่มเลี้ยงวัวควาย มากขึ้น หญ้าคาเริ่มหายาก พลาสติก เป็นวัสดุใหม่ที่นำ�มาใช้โดยได้แนวคิด มาจากประเทศอิสราเอล แต่เนื่องจาก สภาพอากาศที่ต่างกัน ทำ�ให้ต้น เสียหาย ต้องหาวิธีการใหม่ “ปกติแปลงสตรอว์เบอร์รี่จะ ยกร่องเป็นเนินเหมือนภูเขา แล้วเรา นำ�พลาสติกมาคลุมทั้งเนิน ด้านบน ส่วนที่ปลูกสตรอว์เบอร์รี่เจาะรูไว้ แต่ บ้านเราอากาศร้อน เลยอบไป ต้น สตรอว์เบอร์รี่เสียหาย ผมจึงลองใหม่ ปลูกสตรอว์เบอร์รี่ให้เสร็จก่อนแล้วเอา หญ้าคามาคลุมทับบนผิวดินด้านบนที่ ปลูกสตรอว์เบอร์รี่ ส่วนเนินดินที่ ลาดลงพื้นด้านข้างทั้งสองฝั่งเอาพลาสติก มาคลุม ปรากฏว่าได้ผลดี ดินบริเวณ ด้านข้าง หญ้าไม่ขึ้น ส่วนดินด้านบนก็ ไม่ร้อนเพราะเป็นหญ้าคาคลุมอยู่” นี่คือการเรียนรู้ที่ได้จากการ สังเกต ปิยทัศน์บอกว่าเทคนิคตรงนี้ สอนไม่ได้ เช่น การใส่ปุ๋ย เราบอกให้ เจาะหลุมข้างทรงพุ่มหยิบปุ๋ย1หยิบมือ 34
  • 4. ใส่หลุมแล้วกลบปิด ชาวบ้านบอกว่า วิธีนี้ดีแต่เสียเวลา เขาโรยเอา ตอน รดน้ำ�ระวังไม่ให้โดนปุ๋ย เขาเรียนรู้จาก ความรู้ที่เราสอนทั้งหลักการทาง วิทยาศาสตร์และเกษตร แต่ประยุกต์ให้ เหมาะกับพื้นที่และการทำ�งานของเขา พบว่าไม่ได้เสียหายและได้ผลผลิตพอๆ กับที่เราทำ�” หลังจากที่มีความพร้อมทั้ง ความรู้ เทคโนโลยีและประสบการณ์ ไร่สตรอว์เบอร์รี่ที่ชาวบ้าน ประคบ ประหงมมาหลายปี ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น จากเดิมถึง 3 เท่า แต่ไม่ได้หมายความ ว่าทางข้างหน้าไม่มีอุปสรรค ปิยทัศน์ ขยายความถึงปัญหา อีกประการหนึ่งคือ ไหล หรือ ต้นกล้า ที่ใช้สำ�หรับปลูกสตรอว์เบอร์รี่ “เดิมใช้ไหลจากเชียงใหม่ถามว่า ดีมั้ย บางปีดี บางปีไม่ดีเท่าไหร่ เพราะ เชียงใหม่ปลูกซ้ำ�ที่เดิม ใช้ต้นพันธุ์เดิม มีปัญหาเรื่องโรค เหมือนเรายกต้นที่ ปลูกที่เชียงใหม่ มาปลูกที่นาแห้ว มา เป็นโรคต่อ ปีไหนได้ไหลดี ได้ผลผลิตดี ปีไหนไหลคุณภาพไม่ดีนัก ผลผลิต อาจไม่ค่อยดีเท่าไหร พอปี พ.ศ. 2553 เริ่มมีความคิดอยากผลิตต้นไหลที่ นาแห้ว” เกษตรกรคนแรกที่ยกมือขอมี ส่วนร่วมในการทดลองทำ�ไหล คือ พี่สง่า บอกว่าอยากลองทำ�เอง เพราะ คิดว่าช่วยลดต้นทุนลงได้ “ทำ�ไหลยากกว่าปลูกอีก (หัวเราะ) ทำ�ไหลต้องเตรียมต้นแม่ไว้ตั้งแต่ ตอนปลูกเอาลูกเลย ต้องเด็ดเอาดอก ออกเพื่อเอาต้นแม่อย่างเดียว ไม่เอา ผล ครั้งแรกไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ พยายามอยู่เรื่อยๆ ไหลที่เตรียมเอง เอามาปลูกได้ผลผลิตดีนะ แต่ว่ายังไม่ แข็งแรงเท่าไหร่ ต้องเรียนรู้และทดลอง ไปเรื่อยๆ ทำ�มาได้ 2 ปีแล้ว ปีนี้เป็นปี ที่สอง คุณภาพก็ดี” ในความคิดของพี่สง่า หากไหล ราคาถูกลง ชาวบ้านจะหันมาปลูก สตรอว์เบอร์รี่มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วง หน้าแล้งไม่ต้องไปขายแรงงานที่ กรุงเทพฯ “อยากเรียนรู้และปลูกให้ดี ที่สุด อยากเอาสตรอว์เบอร์รี่มาพลิก ฟื้นหมู่บ้านห้วยน้ำ�ผัก ให้เป็นหมู่บ้าน สตรอว์เบอร์รี่ เป็นตลาดสตรอว์เบอร์รี่ ที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสานฝันไว้อย่างนั้น นะ ในฐานะผู้ใหญ่บ้าน อยากให้ไปถึง วันนั้น คนในหมู่บ้านมีรายได้ ไม่ต้อง จากท้องถิ่นไปไหน อยากให้เวลา ใครพูดถึงบ้านห้วยน้ำ�ผัก ก็นึกถึง สตรอว์เบอร์รี่” ทุกวันนี้หมู่บ้านห้วยน้ำ�ผักและ บ่อเหมืองน้อย มีแปลงสตรอว์เบอร์รี่ รวมกันกว่า 10 ไร่ มีนักท่องเที่ยว แวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมอยู่เสมอ นอกจากรายได้แล้ว ถือเป็นความภูมิใจ ที่คุ้มค่ากับความเหน็ดเหนื่อยตลอด หลายปีที่ผ่านมา 35