SlideShare a Scribd company logo
1 of 7
การศึกษาสมัยใหม่ กลืนกินวัฒนธรรม .... การ
ศึกษากลับกลายเป็นที่หล่อหลอมให้ผู้คนเรียนรู้
เพียงเพื่อการต่อสู้ แย่งชิง และแข่งขัน
รากฐานทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน เพราะ
วัฒนธรรมคือการถักทอของความหลากหลายในวิถีชีวิตของผู้คน
ที่อยู่รวมกันได้อย่างสันติสุข ความสงบสุขนั้นจะเกิดขึ้นได้หาใช่
ด้วยอำานาจและการสยบยอมต่ออำานาจ แต่เกิดขึ้นได้ก็ด้วยการ
เคารพ การเห็นคุณค่า การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันละกันอย่างเกื้อกูล
ในวัฒนธรรมใดๆ หากยิ่งมีมิติของความซับซ้อน การสอดผสาน
และการกำาเนิดใหม่ นั่นแสดงถึงความหลากหลายในเชิงคุณค่าได้
ถักทอ ก่อกำาเนิดขึ้นอย่างอิสระเสรี ซึ่งจริงๆ แล้วความงามของ
วัฒนธรรมจะงอกงามได้ ก็ด้วยการให้พื้นที่แก่ความคิดสร้างสรรค์
และพรสวรรค์ในปัจเจกบุคคล ได้เติบโตและงอกงามจากรากฐาน
ของการเข้าใจตัวเอง เข้าใจคุณค่าในวิถีชีวิต ประเพณี และ
วัฒนธรรมที่เราได้เติบโตมาอย่างแท้จริง
ในสมัยก่อนการกลืนทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นได้ไม่ง่ายนัก
เนื่องด้วยผู้คนมีความผูกพันและหวงแหนในผืนดินถิ่นเกิด
วัฒนธรรมของแต่ละชุมชนเป็นเสมือนศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
บ่งบอกถึงภูมิปัญญา ความงดงามแห่งสันติภาพ อิสรภาพ และ
ศักยภาพอันหลายหลายของผู้คนที่เลือกที่จะอยู่ร่วมกัน แต่แล้ว
ความหมายของการศึกษาที่เราเข้าใจกันในปัจจุบัน กลับถูก
ครอบงำาด้วยอิทธิพลที่เราได้รับมาจากตะวันตกโดยสิ้นเชิง เพราะ
หากเราใคร่ครวญดูความเข้าใจของเราที่มีต่อคำาๆ นี้ แทบจะไม่มี
อะไรที่บอกให้เราได้เข้าใจถึงคุณค่าที่การศึกษามีต่อชีวิตมนุษย์
หรือวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละวัฒนธรรมเลยแม้แต่น้อย ผิดกับใน
อดีตที่คำาว่าศึกษาหรือสิกขา ให้คุณค่าและความหมายเด่นชัดถึง
การเรียนรู้ และเข้าใจชีวิตอย่างถูกต้อง อีกทั้งยังโยงใยไปถึง
คุณค่าทางจิตวิญญาณ การเข้าถึงหัวใจแห่งการเรียนรู้เพื่อตื่นรู้
ความรักผู้อื่น เรียนรู้เพื่อการเคารพความงดงามอันหลากหลาย
ของผู้คน นั่นคือ ศึกษาให้เข้าถึงหัวใจแห่งไตรสิกขา ซึ่งเป็นการ
เรียนรู้และประพฤติปฏิบัติใน ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อการ
พัฒนาศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ผู้มีใจสูงอย่างแท้จริง
แต่แล้วในโลกสมัยใหม่ การศึกษากลับกลายเป็นเพียงเครื่อง
มือแห่งอำานาจ ที่หล่อหลอมให้ผู้คนเรียนรู้เพียงเพื่อการต่อสู้ แย่ง
ชิง และแข่งขัน และเมื่อระบบทุนนิยมได้ก่อกำาเนิดเป็นลัทธิ
วัตถุนิยมแผ่แพร่กระจายไปทั่วทุกอณูของโลก ทุนนิยมก็ได้ใช้การ
ศึกษาเป็นเครื่องมือที่ทำาให้ตัวระบบสามารถคงอยู่ได้ ในสภาพที่ว่า
ผู้ถูกเอาเปรียบกลับกลายเป็นผู้ให้ความสนับสนุนหล่อเลี้ยงให้
ระบบอันเลวร้ายคงอยู่ต่อไปโดยไม่รู้ตัว
สาเหตุสำาคัญที่ทำาให้ระบบสามารถเชิญชวนให้ผู้คนทำาร้าย
ตัวเองได้โดยไม่รู้ตัว ก็คือ การหยิบยื่นความเย้ายวนในรูปของ
กิเลสนานาประการให้กับผู้คน อันกอปรด้วย โลภะทางวัตถุในรูป
ของอำานาจเงิน โทสะในรูปของอำานาจทางการงาน การเมืองและ
การทหาร และโมหะในรูปของความกลัวและความรู้สึกพร่องที่
สื่อสารมวลชนเป็นตัวควบคุมและกำาหนดชี้ เมื่อโลกสมัยใหม่สร้าง
มายาภาพแห่งการสร้างสรรค์วัฒนธรรมแห่งความสะดวกสบาย
กลายเป็นวัฒนธรรมเดี่ยวที่แผ่ปกคลุมไปทั่วโลก ความหลายหลาย
ของวิถีชีวิตผู้คนก็ค่อยๆถูกกลืนหายไปทีละน้อยๆ และการจะหล่อ
เลี้ยงให้ระบบอันเลวร้ายสามารถคงอยู่ได้ ก็ต้องอาศัยการ
สนับสนุนจากระบบการศึกษา ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือที่
สำาคัญอันยิ่งยวดของโครงสร้างที่กล่าวมาทั้งหมด
การกลืนวัฒนธรรมด้วยการศึกษา เป็นเรื่องที่สังคมไทยน่าจะ
ให้ความตระหนักรู้เท่าทันกันให้มากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะหากจะ
อธิบายให้ลึกก็คือการใช้การศึกษาเพื่อเป้าหมายในการกลืน
คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์โดยที่เราไม่รู้ตัว ด้วย
ประวัติศาสตร์ของระบบการศึกษาแบบอเมริกันแสดงให้เห็นถึงการ
ใช้อำานาจการศึกษาเป็นเครื่องมือในการกลืนทางวัฒนธรรม
(assimilation) ของชนพื้นเมืองอินเดียนแดง ความกลัวและ
ความพร่องทางจิตวิญญาณ ทำาให้คนขาวมองความแตกต่างทาง
วิถีชีวิตและวัฒนธรรมเป็นเรื่องเลวร้าย มองสิ่งที่แตกต่างไปจาก
วัฒนธรรมตัวเองว่าด้อยและไม่พัฒนา
เริ่มต้นด้วยการขับไล่ให้ชาวพื้นเมืองให้ต้องอพยพโยกย้าย
ไปสู่พื้นที่ไร้ประโยชน์ ซึ่งโดยมากก็เป็นเขตทะเลทรายอันกันดาร
นอกจากจะทำาให้ชาวพื้นเมืองประสบปัญหาการยังชีพ ที่แต่เดิม
สามารถทำาการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ เพื่อการเป็นอยู่อย่างพอเพียง
และสมดุลกับระบบนิเวศ ยังเป็นกระบวนการที่ทำาให้ชาวพื้นเมือง
ต้องตัดขาดจากผืนแผ่นดินถิ่นกำาเนิด ซึ่งผืนดินสำาหรับชาวพื้น
เมืองนั้น เป็นเสมือนเลือดเนื้อ ชีวิต และเรื่องราว คุณค่าทางจิต
วิญญาณ ภูมิปัญญาที่ถูกถ่ายทอดสืบต่อมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ จาก
นั้นจึงแยกความสัมพันธ์อันซับซ้อนในชุมชน ด้วยการศึกษาภาค
บังคับที่แยกเด็กออกมาจากชุมชน จากนั้นก็ถูกสอนด้วยครูที่ถูกส่ง
ไปจากทางการ สอนชุดความรู้แบบแยกส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับ
วิถีชีวิตอันซับซ้อนในเชิงนิเวศของชนพื้นเมือง เลิกการใช้ภาษา
ท้องถิ่น ผลักดันด้วยการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและความ
เจริญ ตามมาตรฐานที่ถูกกำาหนดจากภายนอก จึงไม่น่าแปลกใจที่
ผลของระบบการศึกษาในลักษณะนี้จะออกมาว่า เด็กมีผลการ
เรียนที่ตำ่ากว่ามาตรฐาน ตีตราว่าคนพื้นเมืองเหล่านั้นเป็นคนโง่
และไร้การศึกษาอีกนั่นเอง ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ว่ากระบวนการนี้ไม่
ต่างกับสิ่งที่การศึกษาไทยทำาต่อชนพื้นเมืองชาวเขาทางภาคเหนือ
เลยแม้แต่น้อย
หากสังเกตให้ดี กระบวนการกลืนทางวัฒนธรรมด้วยการ
ศึกษานี้ กำาลังเกิดขึ้นในทุกระดับของสังคมทั่วโลก ในสังคมไทย
เราจะเห็นตัวอย่างที่คล้ายกันในการจัดการศึกษาท้องถิ่นที่ไม่
คำานึงพื้นฐานทางวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่หลากหลาย ไม่ว่า
จะเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา และอาชีพ ระบบการศึกษา
ที่ผู้คนเหล่านั้นได้รับกลับกลายเป็นมาตรฐานเดี่ยวที่ไม่สอดคล้อง
กับชีวิตความเป็นอยู่ และภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ ยิ่งศึกษา
สูง ยิ่งทำาให้เกิดความรู้สึกแปลกแยก รังเกียจรากเหง้าของตัวเอง
พอกพูนความทะเยอทะยานที่จะแสวงหาความสำาเร็จ และชื่อเสียง
ที่สื่อและค่านิยมทางสังคมเมืองหลวงได้กำาหนดขึ้น ด้วยนิยามการ
สร้างค่านิยมของความเป็นไทย ที่ผิดไปจากความหมายดั้งเดิม
ของการเป็นสังคมของการอยู่ร่วมกันของหลายวัฒนธรรม ปัจจุบัน
วัฒนธรรมพื้นเมือง ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างต้องดิ้นรนเพื่อการรักษา
สืบต่อคุณค่าให้คงอยู่ และหากมองให้กว้างขึ้นถึงค่านิยมการ
ตะเกียกตะกาย เพื่อไปศึกษาไขว่คว้าปริญญาจากต่างประเทศ
ด้วยการขาดซึ่งความเข้าใจและเห็นคุณค่าของรากฐานวัฒนธรรม
ของเราเองอย่างลึกซึ้ง ค่านิยมของการไปศึกษาต่อต่างประเทศก็
เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของแนวโน้มการถูกกลืนทางวัฒนธรรมที่
พบเห็นได้อย่างเด่นชัดในสังคมนักเรียนนอก
จึงเป็นคำาถามว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราจะมีการศึกษาที่ให้
คุณค่าแก่รากฐานทางภูมิปัญญาอันหลากหลาย ให้ผู้คนในแต่ละ
ท้องถิ่น แต่ละชุมชนได้เกิดความเข้าใจ ความรัก ความหวงแหน
ในรากเหง้า คุณค่าและศักดิ์ศรีความงดงามของความเป็นมนุษย์ที่
สั่งสมและสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ เป็นการศึกษาเพื่อการ
เข้าใจตนเองและเข้าใจเพื่อนมนุษย์ แล้วจึงค่อยๆ เติบใหญ่เรียนรู้
ให้กว้างขึ้น ในลักษณะของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยความรัก
เคารพ และหวงแหนในคุณค่าและภูมิปัญญาอันหลากหลายของผู้
อื่น จนเกิดเป็นภาพของการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพ
ของความเป็นมนุษย์ผู้จิตใจสูงและเปิดกว้างอย่างแท้จริง
http://webboard.mthai.com/7/2006-11-
11/281163.html
http://www.onec.go.th/publication/culture_ed/cultur
e_ed.pdf
วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือผลิต
ขึ้นสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีของส่วนรวม ถ่ายทอด
กันไว้ เอาอย่างกันไว้ รวมทั้งผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียน
รู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณีกันมา ตลอดจนความรู้สึก
ความคิดเห็น และกิริยาอาการ หรือการกระทำาใดๆ ของมนุษย์ใน
ส่วนรวมลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกัน และสำาแดงออกมาได้ปรากฏเป็น
ภาษา ศิลปะ ความเชื่อ ระเบียบประเพณี เป็นต้น (พระยา
อนุมานราชธน, ม.ป.ป.)
วัฒนธรรม คือ เครื่องแสดงความเจริญและเอกลักษณ์ของ
ชาติ ประชาชนในชาติที่เจริญแล้วทั้งหลาย จึงมีความภาคภูมิใจ
ช่วยปกป้องรักษาวัฒนธรรมของชาติตน เพื่อให้เอกลักษณ์ของ
ชาติดำารงอยู่ (สมาน แสงมะลิ, ม.ป.ป.)
วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิตโดยส่วนรวมของประชาชนกลุ่มหนึ่ง
(A TOTAL WAY OF A PEOPLE) (สนิท สมัครการ, ม.ป.ป.)
วัฒนธรรม คือ วิถีดำาเนินชีวิตทุกด้านของคนทั้งมวลใน
สังคม ซึ่งหมายถึงวิธีการกระทำาสิ่งต่างๆ ทุกอย่าง ทั้งหมดทั้งสิ้น
นับตั้งแต่วิธีกิน วิธีอยู่ วิธีแต่งกาย วิธีทำางาน วิธีพักผ่อน วิธีแสดง
อารมณ์ วิธีสื่อความ วิธี จราจร และขนส่ง วิธีอยู่ร่วมกันเป็นหมู่
คณะ ตลอดจนวิธีแสดงทางความสุขทางใจและหลักเกณฑ์การ
ดำาเนินชีวิตทั้ง เครื่องใช้ หรือวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่นำามาใช้เพื่อการ
เหล่านั้น ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไม่ว่าสิ่งของ เหล่านั้น
จะเป็นสิ่งของที่นำามาจากธรรมชาติหรือคิดค้นประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่
ก็ตาม (เฉลียว บุรีภักดี, ม.ป.ป.)
วัฒนธรรม คือ แนวทางแห่งการแสดงออกวิถีชีวิตทั้งปวง
ซึ่งอาจเริ่มจากเอกชนหรือคณะบุคคลคิดขึ้น หรือกระทำาขึ้น
เป็นต้นแบบ แล้วต่อมาคณะส่วนใหญ่ของกลุ่มชนยอมรับมา
สืบทอดจนกระทั่งสิ่งนั้นๆ ส่งผล ให้เกิดเป็นนิสัยในการคิด การ
เชื่อถือ และการกระทำาของคนส่วนใหญ่แห่งกลุ่มชนนั้นๆ (สุทธิ
วงศ์ พงษ์ไพบูลย์, ม.ป.ป.)
วัฒนธรรม คือ สิ่งทั้งหมดที่มีลักษณะซับซ้อน ซี่งได้รวมเอา
ความรู้ ความเชื่อ จริยธรรม กฎหมาย สมรรถภาพ และนิสัยที่
บุคคลได้ไว้ฐานะที่เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคม (Akcuff, Allen
and Taylor, 1973)
วัฒนธรรม หมายถึง พฤติกรรมทั้งมวลของมนุษย์อันเกิด
จากการเรียนรู้ และพฤติกรรมนั้นถูกกำาหนด จากประเพณี
(Herkovits, 1952)
วัฒนธรรม หมายถึง รูปแบบของพฤติกรรมอันเกิดจากการ
เรียนรู้ (Linton, 1945)
วัฒนธรรม หมายถึงวิถีชีวิตของบุคคลกลุ่มหนึ่งเป็นลักษณะ
รวมของพฤติกรรม พฤติกรรมเหล่านั้นเกิดจาก การเรียนรู้ และมี
การถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง (Barnouw, 1964)
วัฒนธรรม หมายถึงวิถีชีวิตที่คนในสังคมดำาเนินตาม
(Valentine, 1968)
ความหมายของ"วัฒนธรรม" ตามแนวทางในการรักษาส่ง
เสริมและพัฒนาวัฒนธรรม พ.ศ. 2529
วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิตมนุษย์
วัฒนธรรมเป็นวิถีการดำาเนินชีวิตของสังคม เป็นแบบแผน
การประพฤติปฏิบัติและการแสดงออกซึ่งความรู้สึก นึกคิดใน
สถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถแก้ไขและ
ซาบซึ้งร่วมกัน ดังนั้น วัฒนธรรมไทย คือวิถีชีวิตที่คนไทยได้
สั่งสม เลือกสรร ปรับปรุง แก้ไข จนถือว่าเป็นสิ่งดีงามเหมาะสมกับ
สภาพแวดล้อมและ ได้ใช้เป็นเครื่องมือ หรือเป็นแนวทางในการ
ป้องกันและแก้ไขปัญหาในสังคม
วัฒนธรรม คือ มรดกแห่งสังคม ซึ่งสังคมปรับปรุงและรักษา
ไว้ให้เจริญ งอกงามวัฒนธรรมเกิดขึ้นจากการ ประพฤติปฏิบัติร่วม
กัน เป็นแนวเดียวกันอย่างต่อเนื่องของสมาชิกในสังคมสืบทอด
เป็นมรดกทางสังคมต่อกัน มาจากอดีต หรืออาจเป็นสิ่งประดิษฐ์
คิดค้นสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ หรืออาจรับเอาสิ่งที่เผยแพร่มาจากสังค
มอื่นๆ ทั้งหมดนี้หากสมาชิกยอมรับและยึดถือเป็นแบบแผน
ประพฤติปฏิบัติร่วมกัน ก็ย่อมถือว่าเป็นวัฒนธรรมของ สังคมนั้น
วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือสร้าง
ขึ้น เพื่อความเจริญ งอกงาม
วัฒนธรรม ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขและกาลเวลา
เมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่ วิธีใหม่ ที่ใช้แก้ไขปัญหาและ
ตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดีกว่า ย่อมทำาให้สมาชิกของ
สังคมเกิดความนิยม และในที่สุดอาจเลิกใช้วัฒนธรรมเดิม การจะ
รักษาวัฒนธรรมเดิมไว้ได้จึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือ พัฒนา
วัฒนธรรมนั้นให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพตามยุคสมัย (อ้างใน
นิคม มูสิกะคามะ, 2539)
วัฒนธรรม เป็นวิถีการดำาเนินชีวิตของสังคมเป็นแบบแผน
การประพฤติปฏิบัติและการแสดงออกซึ่ง ความรู้สึกนึกคิดใน
สถานการณ์ต่าง ๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถเข้าใจและ
ซาบซึ้งร่วมกัน ดังนั้น วัฒนธรรมไทยคือ วิถีชีวิตที่คนไทยได้
สั่งสม เลือกสรร ปรับปรุง แก้ไข จนถือกันว่าเป็นสิ่งดีงามเหมาะสม
กับสภาพแวดล้อม และได้ใช้เป็นเครื่องมือหรือเป็นแนวทางในการ
ป้องกันและแก้ไขปัญหาในสังคม
วัฒนธรรมเกิดขึ้นจากการประพฤติปฏิบัติร่วมกัน เป็นแนว
เดียวกันอย่างต่อเนื่องของสมาชิกในสังคม มีการสืบทอดเป็นมรดก
ทางสังคมต่อกันมาจากอดีตหรืออาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ คิดค้น
สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ หรือ อาจรับเอาสิ่งที่เผยแพร่มาจากสังคมอื่น
ทั้งหมดนี้หากสมาชิกยอมรับ และยึดถือเป็นแบบแผนประพฤติ
ปฏิบัติร่วมกันก็ย่อมถือว่าเป็นวัฒนธรรมของสังคมนั้น
วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขและกาลเวลา เมื่อ
มีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่ วิธีใหม่ ที่ใช้แก้ปัญหาและตอบ
สนองความต้องการของสังคมได้ดีกว่า ย่อมทำาให้สมาชิกของ
สังคมเกิดความนิยม และในที่สุดอาจเลิกใช้วัฒนธรรมเดิม การจะ
รักษาวัฒนธรรมเดิมไว้จึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือ พัฒนา
วัฒนธรรมนั้นให้เหมาะสมมีประสิทธิภาพตามยุคสมัย
วัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชนในสังคมใหญ่ ย่อมมีเนื้อหา รูป
แบบ บทบาท และหน้าที่แตกต่างกันไป หากว่า ความแตกต่างนั้น
ไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคมโดยส่วนรวมแล้ว ก็สมควรให้
กลุ่มชนทั้งหลายมีโอกาส เรียนรู้วัฒนธรรมของกันและกัน สภาพ
ความแตกต่างเช่นนี้เป็นธรรมชาติของวัฒนธรรม
วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุง หรือผลิต
สร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีแห่งชีวิต ของส่วนรวม
วัฒนธรรม คือ วิถีแห่งชีวิตของมนุษย์ในส่วนรวม ที่ถ่ายทอดกัน
ได้ เรียนกันได้เอาอย่างกันได้
วัฒนธรรม คือ ความคิดเห็นความรู้สึกความประพฤติและ
กิริยาอาการหรือการกระทำาใด ๆ ของมนุษย์ในส่วน รวมลงรูปเป็น
พิมพ์เดียวกัน และสำาแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษาศิลปะ ความ
เชื่อถือ ระเบียบประเพณี เป็นต้น
วัฒนธรรม คือ มรดกแห่งสังคม ซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้
เจริญงอกงาม (สำานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติ,
2531)
วัฒนธรรม หมายถึง ความดี ความงามและความจริงใน
ชีวิตมนุษย์ซึ่งปรากฏในรูปแบบต่าง ๆ และได้ตกทอดมา ถึงเราใน
สมัยปัจจุบัน หรือว่าที่เราได้ปรับปรุงและสร้างสรรค์ขึ้นในสมัยของ
เราที่ว่าปรากฏในรูปแบบต่าง ๆ นั้น หมายถึงที่ปรากฏในรูปแบบ
ของศิลปกรรม มนุษยศาสตร์ การช่างฝีมือ การกีฬา และ
นันทนาการ และคหกรรมศาสตร์ รวม 5 ประการ แต่จะตี ความ
หมายให้กว้างขวางออกไปกว่านี้อีก เช่น รวม เอาที่ปรากฏอยู่ใน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาไว้ด้วย ก็คงจะทำาได้เพราะทั้ง
สองอย่างนี้ มีความสำาคัญ อย่างมากในชีวิตมนุษย์ในสมัยปัจจุบัน
(สาโรช บัวศรี, 2531)
วัฒนธรรม หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม
ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าว หน้าของชาติ
และศีลธรรมอันดีของประชาชนทางวิทยาการ หมายถึง
พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกัน
และกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
โดย สรุป วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำาเนินชีวิต (The
way of life) ของคนในสังคม นับตั้งแต่วิธีกิน วิธีอยู่ วิธี แต่งกาย
วิธีทำางาน วิธีพักผ่อน วิธีแสดงอารมณ์ วิธีสื่อความ วิธีจราจรและ
ขนส่ง วิธีอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ วิธี แสดงความสุขทางใจ และ
หลักเกณฑ์การดำาเนินชีวิต โดยแนวทางการแสดงออกถึงวิถีชีวิต
นั้นอาจเริ่มมาจาก เอกชนหรือคณะบุคคลทำาเป็นตัวแบบ แล้วต่อ
มาคนส่วนใหญ่ก็ปฏิบัติสืบต่อกันมา วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลง
ไปตามเงื่อนไขและกาลเวลาเมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่
วิธีใหม่ที่ใช้แก้ปัญหาและตอบสนองความ ต้องการของสังคมได้ดี
กว่า ซึ่งอาจทำาให้สมาชิกของสังคมเกิดความนิยม และในที่สุดอาจ
เลิกใช้วัฒนธรรมเดิม ดังนั้นการรักษาหรือธำารงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
เดิมจึงต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาวัฒนธรรมให้
เหมาะสมมีประสิทธิภาพตามยุคสมัย
http://www.geocities.com/kat_natchaya/a5.html

More Related Content

Similar to การศึกษาสมัยใหม่กลืนกินวัฒนธรรม

การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์พัน พัน
 
Strategic destination marketing presentation 2015 part2
Strategic destination marketing presentation 2015 part2Strategic destination marketing presentation 2015 part2
Strategic destination marketing presentation 2015 part2Silpakorn University
 
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานPornpimon Gormsang
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมม
เรียงความเรื่อง    ความหลากหลายทางวัฒนธรรมมเรียงความเรื่อง    ความหลากหลายทางวัฒนธรรมม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมมMim Papatchaya
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง    ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเรียงความเรื่อง    ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมMim Papatchaya
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง    ความหลากหลายวัฒนธรรมเรียงความเรื่อง    ความหลากหลายวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายวัฒนธรรมMim Papatchaya
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง    ความหลากหลายวัฒนธรรมเรียงความเรื่อง    ความหลากหลายวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายวัฒนธรรมMim Papatchaya
 
9789740335931
97897403359319789740335931
9789740335931CUPress
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลาย
เรียงความเรื่อง    ความหลากหลายเรียงความเรื่อง    ความหลากหลาย
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายMim Papatchaya
 
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติคู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติBoonlert Aroonpiboon
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรมเรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรมMim Papatchaya
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรมมม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรมมมเรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรมมม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรมมมMim Papatchaya
 
สุนทรียสนทนา
สุนทรียสนทนาสุนทรียสนทนา
สุนทรียสนทนาEkarach Inthajan
 
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของไทย
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของไทยความหลากหลายทางวัฒนธรรมของไทย
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของไทยfadiljijai
 

Similar to การศึกษาสมัยใหม่กลืนกินวัฒนธรรม (20)

การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
 
Strategic destination marketing presentation 2015 part2
Strategic destination marketing presentation 2015 part2Strategic destination marketing presentation 2015 part2
Strategic destination marketing presentation 2015 part2
 
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมม
เรียงความเรื่อง    ความหลากหลายทางวัฒนธรรมมเรียงความเรื่อง    ความหลากหลายทางวัฒนธรรมม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมม
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง    ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเรียงความเรื่อง    ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง    ความหลากหลายวัฒนธรรมเรียงความเรื่อง    ความหลากหลายวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายวัฒนธรรม
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง    ความหลากหลายวัฒนธรรมเรียงความเรื่อง    ความหลากหลายวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายวัฒนธรรม
 
9789740335931
97897403359319789740335931
9789740335931
 
ท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ ....
ท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ ....ท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ ....
ท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ ....
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลาย
เรียงความเรื่อง    ความหลากหลายเรียงความเรื่อง    ความหลากหลาย
เรียงความเรื่อง ความหลากหลาย
 
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติคู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
 
Kam1
Kam1Kam1
Kam1
 
Education Inter
Education InterEducation Inter
Education Inter
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรมเรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรม
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรมมม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรมมมเรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรมมม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรมมม
 
Asean cultural diversity
Asean cultural diversityAsean cultural diversity
Asean cultural diversity
 
04 how to start a museum - หทัยรัตน์ มณเฑียร
04 how to start a museum - หทัยรัตน์ มณเฑียร04 how to start a museum - หทัยรัตน์ มณเฑียร
04 how to start a museum - หทัยรัตน์ มณเฑียร
 
สุนทรียสนทนา
สุนทรียสนทนาสุนทรียสนทนา
สุนทรียสนทนา
 
Assignment 4
Assignment 4Assignment 4
Assignment 4
 
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของไทย
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของไทยความหลากหลายทางวัฒนธรรมของไทย
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของไทย
 

การศึกษาสมัยใหม่กลืนกินวัฒนธรรม

  • 1. การศึกษาสมัยใหม่ กลืนกินวัฒนธรรม .... การ ศึกษากลับกลายเป็นที่หล่อหลอมให้ผู้คนเรียนรู้ เพียงเพื่อการต่อสู้ แย่งชิง และแข่งขัน รากฐานทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน เพราะ วัฒนธรรมคือการถักทอของความหลากหลายในวิถีชีวิตของผู้คน ที่อยู่รวมกันได้อย่างสันติสุข ความสงบสุขนั้นจะเกิดขึ้นได้หาใช่ ด้วยอำานาจและการสยบยอมต่ออำานาจ แต่เกิดขึ้นได้ก็ด้วยการ เคารพ การเห็นคุณค่า การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันละกันอย่างเกื้อกูล ในวัฒนธรรมใดๆ หากยิ่งมีมิติของความซับซ้อน การสอดผสาน และการกำาเนิดใหม่ นั่นแสดงถึงความหลากหลายในเชิงคุณค่าได้ ถักทอ ก่อกำาเนิดขึ้นอย่างอิสระเสรี ซึ่งจริงๆ แล้วความงามของ วัฒนธรรมจะงอกงามได้ ก็ด้วยการให้พื้นที่แก่ความคิดสร้างสรรค์ และพรสวรรค์ในปัจเจกบุคคล ได้เติบโตและงอกงามจากรากฐาน ของการเข้าใจตัวเอง เข้าใจคุณค่าในวิถีชีวิต ประเพณี และ วัฒนธรรมที่เราได้เติบโตมาอย่างแท้จริง ในสมัยก่อนการกลืนทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นได้ไม่ง่ายนัก เนื่องด้วยผู้คนมีความผูกพันและหวงแหนในผืนดินถิ่นเกิด วัฒนธรรมของแต่ละชุมชนเป็นเสมือนศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ บ่งบอกถึงภูมิปัญญา ความงดงามแห่งสันติภาพ อิสรภาพ และ ศักยภาพอันหลายหลายของผู้คนที่เลือกที่จะอยู่ร่วมกัน แต่แล้ว ความหมายของการศึกษาที่เราเข้าใจกันในปัจจุบัน กลับถูก ครอบงำาด้วยอิทธิพลที่เราได้รับมาจากตะวันตกโดยสิ้นเชิง เพราะ หากเราใคร่ครวญดูความเข้าใจของเราที่มีต่อคำาๆ นี้ แทบจะไม่มี อะไรที่บอกให้เราได้เข้าใจถึงคุณค่าที่การศึกษามีต่อชีวิตมนุษย์ หรือวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละวัฒนธรรมเลยแม้แต่น้อย ผิดกับใน อดีตที่คำาว่าศึกษาหรือสิกขา ให้คุณค่าและความหมายเด่นชัดถึง การเรียนรู้ และเข้าใจชีวิตอย่างถูกต้อง อีกทั้งยังโยงใยไปถึง คุณค่าทางจิตวิญญาณ การเข้าถึงหัวใจแห่งการเรียนรู้เพื่อตื่นรู้ ความรักผู้อื่น เรียนรู้เพื่อการเคารพความงดงามอันหลากหลาย ของผู้คน นั่นคือ ศึกษาให้เข้าถึงหัวใจแห่งไตรสิกขา ซึ่งเป็นการ เรียนรู้และประพฤติปฏิบัติใน ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อการ พัฒนาศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ผู้มีใจสูงอย่างแท้จริง แต่แล้วในโลกสมัยใหม่ การศึกษากลับกลายเป็นเพียงเครื่อง มือแห่งอำานาจ ที่หล่อหลอมให้ผู้คนเรียนรู้เพียงเพื่อการต่อสู้ แย่ง ชิง และแข่งขัน และเมื่อระบบทุนนิยมได้ก่อกำาเนิดเป็นลัทธิ วัตถุนิยมแผ่แพร่กระจายไปทั่วทุกอณูของโลก ทุนนิยมก็ได้ใช้การ
  • 2. ศึกษาเป็นเครื่องมือที่ทำาให้ตัวระบบสามารถคงอยู่ได้ ในสภาพที่ว่า ผู้ถูกเอาเปรียบกลับกลายเป็นผู้ให้ความสนับสนุนหล่อเลี้ยงให้ ระบบอันเลวร้ายคงอยู่ต่อไปโดยไม่รู้ตัว สาเหตุสำาคัญที่ทำาให้ระบบสามารถเชิญชวนให้ผู้คนทำาร้าย ตัวเองได้โดยไม่รู้ตัว ก็คือ การหยิบยื่นความเย้ายวนในรูปของ กิเลสนานาประการให้กับผู้คน อันกอปรด้วย โลภะทางวัตถุในรูป ของอำานาจเงิน โทสะในรูปของอำานาจทางการงาน การเมืองและ การทหาร และโมหะในรูปของความกลัวและความรู้สึกพร่องที่ สื่อสารมวลชนเป็นตัวควบคุมและกำาหนดชี้ เมื่อโลกสมัยใหม่สร้าง มายาภาพแห่งการสร้างสรรค์วัฒนธรรมแห่งความสะดวกสบาย กลายเป็นวัฒนธรรมเดี่ยวที่แผ่ปกคลุมไปทั่วโลก ความหลายหลาย ของวิถีชีวิตผู้คนก็ค่อยๆถูกกลืนหายไปทีละน้อยๆ และการจะหล่อ เลี้ยงให้ระบบอันเลวร้ายสามารถคงอยู่ได้ ก็ต้องอาศัยการ สนับสนุนจากระบบการศึกษา ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือที่ สำาคัญอันยิ่งยวดของโครงสร้างที่กล่าวมาทั้งหมด การกลืนวัฒนธรรมด้วยการศึกษา เป็นเรื่องที่สังคมไทยน่าจะ ให้ความตระหนักรู้เท่าทันกันให้มากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะหากจะ อธิบายให้ลึกก็คือการใช้การศึกษาเพื่อเป้าหมายในการกลืน คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์โดยที่เราไม่รู้ตัว ด้วย ประวัติศาสตร์ของระบบการศึกษาแบบอเมริกันแสดงให้เห็นถึงการ ใช้อำานาจการศึกษาเป็นเครื่องมือในการกลืนทางวัฒนธรรม (assimilation) ของชนพื้นเมืองอินเดียนแดง ความกลัวและ ความพร่องทางจิตวิญญาณ ทำาให้คนขาวมองความแตกต่างทาง วิถีชีวิตและวัฒนธรรมเป็นเรื่องเลวร้าย มองสิ่งที่แตกต่างไปจาก วัฒนธรรมตัวเองว่าด้อยและไม่พัฒนา เริ่มต้นด้วยการขับไล่ให้ชาวพื้นเมืองให้ต้องอพยพโยกย้าย ไปสู่พื้นที่ไร้ประโยชน์ ซึ่งโดยมากก็เป็นเขตทะเลทรายอันกันดาร นอกจากจะทำาให้ชาวพื้นเมืองประสบปัญหาการยังชีพ ที่แต่เดิม สามารถทำาการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ เพื่อการเป็นอยู่อย่างพอเพียง และสมดุลกับระบบนิเวศ ยังเป็นกระบวนการที่ทำาให้ชาวพื้นเมือง ต้องตัดขาดจากผืนแผ่นดินถิ่นกำาเนิด ซึ่งผืนดินสำาหรับชาวพื้น เมืองนั้น เป็นเสมือนเลือดเนื้อ ชีวิต และเรื่องราว คุณค่าทางจิต วิญญาณ ภูมิปัญญาที่ถูกถ่ายทอดสืบต่อมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ จาก นั้นจึงแยกความสัมพันธ์อันซับซ้อนในชุมชน ด้วยการศึกษาภาค บังคับที่แยกเด็กออกมาจากชุมชน จากนั้นก็ถูกสอนด้วยครูที่ถูกส่ง ไปจากทางการ สอนชุดความรู้แบบแยกส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับ วิถีชีวิตอันซับซ้อนในเชิงนิเวศของชนพื้นเมือง เลิกการใช้ภาษา
  • 3. ท้องถิ่น ผลักดันด้วยการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและความ เจริญ ตามมาตรฐานที่ถูกกำาหนดจากภายนอก จึงไม่น่าแปลกใจที่ ผลของระบบการศึกษาในลักษณะนี้จะออกมาว่า เด็กมีผลการ เรียนที่ตำ่ากว่ามาตรฐาน ตีตราว่าคนพื้นเมืองเหล่านั้นเป็นคนโง่ และไร้การศึกษาอีกนั่นเอง ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ว่ากระบวนการนี้ไม่ ต่างกับสิ่งที่การศึกษาไทยทำาต่อชนพื้นเมืองชาวเขาทางภาคเหนือ เลยแม้แต่น้อย หากสังเกตให้ดี กระบวนการกลืนทางวัฒนธรรมด้วยการ ศึกษานี้ กำาลังเกิดขึ้นในทุกระดับของสังคมทั่วโลก ในสังคมไทย เราจะเห็นตัวอย่างที่คล้ายกันในการจัดการศึกษาท้องถิ่นที่ไม่ คำานึงพื้นฐานทางวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่หลากหลาย ไม่ว่า จะเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา และอาชีพ ระบบการศึกษา ที่ผู้คนเหล่านั้นได้รับกลับกลายเป็นมาตรฐานเดี่ยวที่ไม่สอดคล้อง กับชีวิตความเป็นอยู่ และภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ ยิ่งศึกษา สูง ยิ่งทำาให้เกิดความรู้สึกแปลกแยก รังเกียจรากเหง้าของตัวเอง พอกพูนความทะเยอทะยานที่จะแสวงหาความสำาเร็จ และชื่อเสียง ที่สื่อและค่านิยมทางสังคมเมืองหลวงได้กำาหนดขึ้น ด้วยนิยามการ สร้างค่านิยมของความเป็นไทย ที่ผิดไปจากความหมายดั้งเดิม ของการเป็นสังคมของการอยู่ร่วมกันของหลายวัฒนธรรม ปัจจุบัน วัฒนธรรมพื้นเมือง ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างต้องดิ้นรนเพื่อการรักษา สืบต่อคุณค่าให้คงอยู่ และหากมองให้กว้างขึ้นถึงค่านิยมการ ตะเกียกตะกาย เพื่อไปศึกษาไขว่คว้าปริญญาจากต่างประเทศ ด้วยการขาดซึ่งความเข้าใจและเห็นคุณค่าของรากฐานวัฒนธรรม ของเราเองอย่างลึกซึ้ง ค่านิยมของการไปศึกษาต่อต่างประเทศก็ เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของแนวโน้มการถูกกลืนทางวัฒนธรรมที่ พบเห็นได้อย่างเด่นชัดในสังคมนักเรียนนอก จึงเป็นคำาถามว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราจะมีการศึกษาที่ให้ คุณค่าแก่รากฐานทางภูมิปัญญาอันหลากหลาย ให้ผู้คนในแต่ละ ท้องถิ่น แต่ละชุมชนได้เกิดความเข้าใจ ความรัก ความหวงแหน ในรากเหง้า คุณค่าและศักดิ์ศรีความงดงามของความเป็นมนุษย์ที่ สั่งสมและสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ เป็นการศึกษาเพื่อการ เข้าใจตนเองและเข้าใจเพื่อนมนุษย์ แล้วจึงค่อยๆ เติบใหญ่เรียนรู้ ให้กว้างขึ้น ในลักษณะของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยความรัก เคารพ และหวงแหนในคุณค่าและภูมิปัญญาอันหลากหลายของผู้ อื่น จนเกิดเป็นภาพของการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพ ของความเป็นมนุษย์ผู้จิตใจสูงและเปิดกว้างอย่างแท้จริง
  • 4. http://webboard.mthai.com/7/2006-11- 11/281163.html http://www.onec.go.th/publication/culture_ed/cultur e_ed.pdf วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือผลิต ขึ้นสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีของส่วนรวม ถ่ายทอด กันไว้ เอาอย่างกันไว้ รวมทั้งผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียน รู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณีกันมา ตลอดจนความรู้สึก ความคิดเห็น และกิริยาอาการ หรือการกระทำาใดๆ ของมนุษย์ใน ส่วนรวมลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกัน และสำาแดงออกมาได้ปรากฏเป็น ภาษา ศิลปะ ความเชื่อ ระเบียบประเพณี เป็นต้น (พระยา อนุมานราชธน, ม.ป.ป.) วัฒนธรรม คือ เครื่องแสดงความเจริญและเอกลักษณ์ของ ชาติ ประชาชนในชาติที่เจริญแล้วทั้งหลาย จึงมีความภาคภูมิใจ ช่วยปกป้องรักษาวัฒนธรรมของชาติตน เพื่อให้เอกลักษณ์ของ ชาติดำารงอยู่ (สมาน แสงมะลิ, ม.ป.ป.) วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิตโดยส่วนรวมของประชาชนกลุ่มหนึ่ง (A TOTAL WAY OF A PEOPLE) (สนิท สมัครการ, ม.ป.ป.) วัฒนธรรม คือ วิถีดำาเนินชีวิตทุกด้านของคนทั้งมวลใน สังคม ซึ่งหมายถึงวิธีการกระทำาสิ่งต่างๆ ทุกอย่าง ทั้งหมดทั้งสิ้น นับตั้งแต่วิธีกิน วิธีอยู่ วิธีแต่งกาย วิธีทำางาน วิธีพักผ่อน วิธีแสดง อารมณ์ วิธีสื่อความ วิธี จราจร และขนส่ง วิธีอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ คณะ ตลอดจนวิธีแสดงทางความสุขทางใจและหลักเกณฑ์การ ดำาเนินชีวิตทั้ง เครื่องใช้ หรือวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่นำามาใช้เพื่อการ เหล่านั้น ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไม่ว่าสิ่งของ เหล่านั้น จะเป็นสิ่งของที่นำามาจากธรรมชาติหรือคิดค้นประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ก็ตาม (เฉลียว บุรีภักดี, ม.ป.ป.) วัฒนธรรม คือ แนวทางแห่งการแสดงออกวิถีชีวิตทั้งปวง ซึ่งอาจเริ่มจากเอกชนหรือคณะบุคคลคิดขึ้น หรือกระทำาขึ้น เป็นต้นแบบ แล้วต่อมาคณะส่วนใหญ่ของกลุ่มชนยอมรับมา สืบทอดจนกระทั่งสิ่งนั้นๆ ส่งผล ให้เกิดเป็นนิสัยในการคิด การ เชื่อถือ และการกระทำาของคนส่วนใหญ่แห่งกลุ่มชนนั้นๆ (สุทธิ วงศ์ พงษ์ไพบูลย์, ม.ป.ป.) วัฒนธรรม คือ สิ่งทั้งหมดที่มีลักษณะซับซ้อน ซี่งได้รวมเอา ความรู้ ความเชื่อ จริยธรรม กฎหมาย สมรรถภาพ และนิสัยที่ บุคคลได้ไว้ฐานะที่เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคม (Akcuff, Allen and Taylor, 1973)
  • 5. วัฒนธรรม หมายถึง พฤติกรรมทั้งมวลของมนุษย์อันเกิด จากการเรียนรู้ และพฤติกรรมนั้นถูกกำาหนด จากประเพณี (Herkovits, 1952) วัฒนธรรม หมายถึง รูปแบบของพฤติกรรมอันเกิดจากการ เรียนรู้ (Linton, 1945) วัฒนธรรม หมายถึงวิถีชีวิตของบุคคลกลุ่มหนึ่งเป็นลักษณะ รวมของพฤติกรรม พฤติกรรมเหล่านั้นเกิดจาก การเรียนรู้ และมี การถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง (Barnouw, 1964) วัฒนธรรม หมายถึงวิถีชีวิตที่คนในสังคมดำาเนินตาม (Valentine, 1968) ความหมายของ"วัฒนธรรม" ตามแนวทางในการรักษาส่ง เสริมและพัฒนาวัฒนธรรม พ.ศ. 2529 วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิตมนุษย์ วัฒนธรรมเป็นวิถีการดำาเนินชีวิตของสังคม เป็นแบบแผน การประพฤติปฏิบัติและการแสดงออกซึ่งความรู้สึก นึกคิดใน สถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถแก้ไขและ ซาบซึ้งร่วมกัน ดังนั้น วัฒนธรรมไทย คือวิถีชีวิตที่คนไทยได้ สั่งสม เลือกสรร ปรับปรุง แก้ไข จนถือว่าเป็นสิ่งดีงามเหมาะสมกับ สภาพแวดล้อมและ ได้ใช้เป็นเครื่องมือ หรือเป็นแนวทางในการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาในสังคม วัฒนธรรม คือ มรดกแห่งสังคม ซึ่งสังคมปรับปรุงและรักษา ไว้ให้เจริญ งอกงามวัฒนธรรมเกิดขึ้นจากการ ประพฤติปฏิบัติร่วม กัน เป็นแนวเดียวกันอย่างต่อเนื่องของสมาชิกในสังคมสืบทอด เป็นมรดกทางสังคมต่อกัน มาจากอดีต หรืออาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ คิดค้นสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ หรืออาจรับเอาสิ่งที่เผยแพร่มาจากสังค มอื่นๆ ทั้งหมดนี้หากสมาชิกยอมรับและยึดถือเป็นแบบแผน ประพฤติปฏิบัติร่วมกัน ก็ย่อมถือว่าเป็นวัฒนธรรมของ สังคมนั้น วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือสร้าง ขึ้น เพื่อความเจริญ งอกงาม วัฒนธรรม ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขและกาลเวลา เมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่ วิธีใหม่ ที่ใช้แก้ไขปัญหาและ ตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดีกว่า ย่อมทำาให้สมาชิกของ สังคมเกิดความนิยม และในที่สุดอาจเลิกใช้วัฒนธรรมเดิม การจะ รักษาวัฒนธรรมเดิมไว้ได้จึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือ พัฒนา วัฒนธรรมนั้นให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพตามยุคสมัย (อ้างใน นิคม มูสิกะคามะ, 2539)
  • 6. วัฒนธรรม เป็นวิถีการดำาเนินชีวิตของสังคมเป็นแบบแผน การประพฤติปฏิบัติและการแสดงออกซึ่ง ความรู้สึกนึกคิดใน สถานการณ์ต่าง ๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถเข้าใจและ ซาบซึ้งร่วมกัน ดังนั้น วัฒนธรรมไทยคือ วิถีชีวิตที่คนไทยได้ สั่งสม เลือกสรร ปรับปรุง แก้ไข จนถือกันว่าเป็นสิ่งดีงามเหมาะสม กับสภาพแวดล้อม และได้ใช้เป็นเครื่องมือหรือเป็นแนวทางในการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาในสังคม วัฒนธรรมเกิดขึ้นจากการประพฤติปฏิบัติร่วมกัน เป็นแนว เดียวกันอย่างต่อเนื่องของสมาชิกในสังคม มีการสืบทอดเป็นมรดก ทางสังคมต่อกันมาจากอดีตหรืออาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ คิดค้น สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ หรือ อาจรับเอาสิ่งที่เผยแพร่มาจากสังคมอื่น ทั้งหมดนี้หากสมาชิกยอมรับ และยึดถือเป็นแบบแผนประพฤติ ปฏิบัติร่วมกันก็ย่อมถือว่าเป็นวัฒนธรรมของสังคมนั้น วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขและกาลเวลา เมื่อ มีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่ วิธีใหม่ ที่ใช้แก้ปัญหาและตอบ สนองความต้องการของสังคมได้ดีกว่า ย่อมทำาให้สมาชิกของ สังคมเกิดความนิยม และในที่สุดอาจเลิกใช้วัฒนธรรมเดิม การจะ รักษาวัฒนธรรมเดิมไว้จึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือ พัฒนา วัฒนธรรมนั้นให้เหมาะสมมีประสิทธิภาพตามยุคสมัย วัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชนในสังคมใหญ่ ย่อมมีเนื้อหา รูป แบบ บทบาท และหน้าที่แตกต่างกันไป หากว่า ความแตกต่างนั้น ไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคมโดยส่วนรวมแล้ว ก็สมควรให้ กลุ่มชนทั้งหลายมีโอกาส เรียนรู้วัฒนธรรมของกันและกัน สภาพ ความแตกต่างเช่นนี้เป็นธรรมชาติของวัฒนธรรม วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุง หรือผลิต สร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีแห่งชีวิต ของส่วนรวม วัฒนธรรม คือ วิถีแห่งชีวิตของมนุษย์ในส่วนรวม ที่ถ่ายทอดกัน ได้ เรียนกันได้เอาอย่างกันได้ วัฒนธรรม คือ ความคิดเห็นความรู้สึกความประพฤติและ กิริยาอาการหรือการกระทำาใด ๆ ของมนุษย์ในส่วน รวมลงรูปเป็น พิมพ์เดียวกัน และสำาแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษาศิลปะ ความ เชื่อถือ ระเบียบประเพณี เป็นต้น วัฒนธรรม คือ มรดกแห่งสังคม ซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้ เจริญงอกงาม (สำานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติ, 2531) วัฒนธรรม หมายถึง ความดี ความงามและความจริงใน ชีวิตมนุษย์ซึ่งปรากฏในรูปแบบต่าง ๆ และได้ตกทอดมา ถึงเราใน
  • 7. สมัยปัจจุบัน หรือว่าที่เราได้ปรับปรุงและสร้างสรรค์ขึ้นในสมัยของ เราที่ว่าปรากฏในรูปแบบต่าง ๆ นั้น หมายถึงที่ปรากฏในรูปแบบ ของศิลปกรรม มนุษยศาสตร์ การช่างฝีมือ การกีฬา และ นันทนาการ และคหกรรมศาสตร์ รวม 5 ประการ แต่จะตี ความ หมายให้กว้างขวางออกไปกว่านี้อีก เช่น รวม เอาที่ปรากฏอยู่ใน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาไว้ด้วย ก็คงจะทำาได้เพราะทั้ง สองอย่างนี้ มีความสำาคัญ อย่างมากในชีวิตมนุษย์ในสมัยปัจจุบัน (สาโรช บัวศรี, 2531) วัฒนธรรม หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าว หน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชนทางวิทยาการ หมายถึง พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกัน และกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน โดย สรุป วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำาเนินชีวิต (The way of life) ของคนในสังคม นับตั้งแต่วิธีกิน วิธีอยู่ วิธี แต่งกาย วิธีทำางาน วิธีพักผ่อน วิธีแสดงอารมณ์ วิธีสื่อความ วิธีจราจรและ ขนส่ง วิธีอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ วิธี แสดงความสุขทางใจ และ หลักเกณฑ์การดำาเนินชีวิต โดยแนวทางการแสดงออกถึงวิถีชีวิต นั้นอาจเริ่มมาจาก เอกชนหรือคณะบุคคลทำาเป็นตัวแบบ แล้วต่อ มาคนส่วนใหญ่ก็ปฏิบัติสืบต่อกันมา วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลง ไปตามเงื่อนไขและกาลเวลาเมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่ วิธีใหม่ที่ใช้แก้ปัญหาและตอบสนองความ ต้องการของสังคมได้ดี กว่า ซึ่งอาจทำาให้สมาชิกของสังคมเกิดความนิยม และในที่สุดอาจ เลิกใช้วัฒนธรรมเดิม ดังนั้นการรักษาหรือธำารงไว้ซึ่งวัฒนธรรม เดิมจึงต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาวัฒนธรรมให้ เหมาะสมมีประสิทธิภาพตามยุคสมัย http://www.geocities.com/kat_natchaya/a5.html