SlideShare a Scribd company logo
1 of 5
Download to read offline
สภากาชาดไทย เป็นองค์กรสาธารณกุศล มีประวัติอันยาวนานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2436 และต่อมาได้มี
พระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดไทยเมื่อ พ.ศ. 2461 กาหนดข้อบังคับต่างๆ ขึ้น วัตถุประสงค์ของสภากาชาด
ไทยคือ “รักษาพยาบาลผู้ป่ วยไข้และบาดเจ็บในเวลาสงคราม ทั้งอาจทาการบรรเทาทุกข์ในเหตุการณ์สาธารณภัย
พินาศ โดยไม่เลือก เชื้อชาติ สัญชาติ ลัทธิ ศาสนา หรือความเห็นในทางการเมืองของผู้ประสบภัย”
.
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็ นสานักงานหนึ่งของสภากาชาดไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อครั้ ง
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสู่สวรรคาลัยเมื่อ 23
ตุลาคม พ.ศ. 2453 โดยบรรดาพระราชโอรสพระราชธิดา มีพระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าฯ เป็นประธาน ได้
ปลงพระหฤทัยที่จะทรงบาเพ็ญทานพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณเป็นพิเศษ จัดสร้างสิ่งซึ่งเป็นถาวร
ประโยชน์ไว้เป็นอนุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระบรมชนกนาถโดยทรงพระดาริเห็นพร้อมกันว่า หาก
สร้างโรงพยาบาลสภากาชาดขึ้นก็จะเป็นการพระกุศล อันประกอบด้วยถาวรประโยชน์อนุโลม ตามพระราช
ประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนก-นาถและเป็นเกียรติยศแก่สยามราชอาณาจักรด้วยทุกประการ เมื่อ
ทรงพระดาริเห็นพร้อมกันฉะนี้ บรรดาพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสิ
นทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่างพระองค์จึงทรงบริจาคทรัพย์รวมกันเป็นจานวนเงิน
122,910.00 บาท มอบถวายในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชพระราชธุระอานวยการ
ให้สาเร็จตามพระประสงค์ และได้ทรงพระราชปรารภความอันนี้ แด่สมเด็จพระบรมราชชนนี
องค์สภานายิกา ก็ทรงอนุโมทนาอนุมัติตามและพระราชทานพระราชานุญาตพิเศษอีกส่วนหนึ่งว่าเงินทุนของ
สภากาชาดเดิมที่มีอยู่นั้น ถ้าจะเป็นประโยชน์อุปการะให้การโรงพยาบาลนี้สาเร็จได้ด้วยประการใดก็เต็มพระ
ราชหฤทัยที่จะให้ใช้เงินนั้นด้วย ส่วนการก่อสร้างและจัดการโรงพยาบาล สภากาชาดนี้พระบาทสมเด็จพระ
มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินอันเป็นส่วนของพระองค์มิให้ต้องลงทุน
ซื้อหา และโปรดเกล้าฯ ให้จอมพลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ซึ่งดารงตาแหน่งเสนาบดี
กระทรวงกลาโหมเป็นเจ้าหน้าที่จัดการก่อสร้างโรงพยาบาล ได้ลงมือทาการตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2454
เป็นต้นมา การยังไม่ทันแล้ว จอมพลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช สิ้นพระชนม์เสียก่อน จึงทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จอมพล (ในขณะนั้นยังเป็นนายพลเอก) สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ
กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก ทรงอานวยการต่อมาจนการสาเร็จ และโปรดเกล้าฯ ให้
ขนานนามโรงพยาบาลตามพระบรมนามาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
และ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์” และเสด็จพระราชดาเนินมาเปิด โรงพยาบาล ณ วันที่
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 ได้เริ่มทาการสงเคราะห์ทวยพสกนิกรเป็นปฐมแต่แต่นั้นมา
ความจริงโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ใช้เป็นสถานที่อบรมแพทย์และนักเรียนแพทย์มาช้านาน
แล้ว เช่น แพทย์ที่สาเร็จวิชาแพทย์จากโรงเรียนราชแพทยาลัยได้มารับการ อบรมที่โรงพยาบาลนี้มีกาหนด 6 - 18
เดือน ตามระดับอาวุโส เมื่ออบรมจบแล้วได้รับบรรจุเป็นแพทย์ฝ่ายทหารต่อไป นักเรียนปีสุดท้ายของโรงเรียน
ราชแพทยาลัย ได้มาใช้โรงพยาบาลนี้เป็นสถานที่อบรมและปฏิบัติงานคนละ 4 เดือน ก่อนจะจบการศึกษาเป็น
แพทย์ในสมัยนั้น
ครั้งหนึ่งรัฐบาลได้จัดหลักสูตรย่อการศึกษาแพทย์เรียกว่า โรงเรียนแพทย์เสนารักษ์ เพื่อเข้ารับ
ราชการทหาร 4 รุ่น โดยให้เรียนวิชาแพทย์จบใน 4 ปี แทนที่จะเรียน 6 ปี แพทย์ที่เรียนจบได้รับประกาศนียบัตร
แพทย์เหล่านี้ ใช้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นที่ศึกษาจนจบหลักสูตรเช่นเดียวกัน
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถือกาเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2490 เดิมสังกัดอยู่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มีนามว่า คณะ
แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และย้ายสังกัดมาอยู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2510 มีนามว่า
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โดยที่ต่อมามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เปลี่ยนเป็ น
มหาวิทยาลัยมหิดล) ประวัติการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีดังนี้
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จพระราชดาเนินมาในพิธี
พระราชทานปริญญาและอนุปริญญาแก่นักศึกษาแพทย์และพยาบาล ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อ พ.ศ.2489
พระองค์ได้ทรงพระราชปรารภ มีใจความสาคัญตอนหนึ่งว่า พระองค์ท่านใคร่จะให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
ผลิตจานวนแพทย์ให้มากขึ้น เพื่อให้พอกับความต้องการของประเทศชาติ
เพื่อสนองพระราชประสงค์ของพระองค์ท่านดังกล่าวมาแล้ว รัฐบาลจึงได้อนุมัติงบประมาณให้
กระทรวงสาธารณสุขจานวนหนึ่งสาหรับการรับนักศึกษาให้มากขึ้น แต่ครั้นจะขยายสถานที่สาหรับสอน
ฝึกอบรมที่โรงพยาบาลศิริราชก็ไม่สามารถทาได้เพราะมีที่จากัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (พระยา
สุนทรพิพิธ) จึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นใหม่อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็ได้อนุมัติ
ผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในขณะนั้นคือ ศาสตราจารย์นายแพทย์เฉลิม พรมมาส
ได้ปรึกษากับผู้อานวยการกองบรรเทาทุกข์และอนามัย สภากาชาดไทย(พลตรีพระยาดารงแพทยาคุณ) เพื่อขอใช้
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นสถานศึกษาสาหรับจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งใหม่ซึ่งก็เห็นว่าเป็นการเหมาะสม
เพราะว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีเตียงมากพอแก่การศึกษาและเคยเป็นโรงเรียนแพทย์ทหารมาก่อน ผู้
บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จีงได้จึงได้ขออนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งก็ได้รับความ
เห็นชอบด้วย ผู้อานวยการกองบรรเทาทุกข์และอนามัย จึงกราบทูลสมเด็จองค์สภานายิกาสภากาชาดไทย
(สมเด็จพระพัน-วัสสาอัยยิกาเจ้า) ก็ทรงเห็นชอบด้วย เพราะจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติต่อไป ดังนั้น
โรงเรียนแพทย์แห่งใหม่จึงได้ถือกาเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2490 มีนามว่า คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ในขณะที่เริ่มก่อตั้งนั้นสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์)
พลตรีพระยาดารงแพทยาคุณ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณบดีคนแรก
เมื่อได้เปิดสอนในปีแรกมีนักศึกษาจานวน 67 คน และเริ่มสอนทางวิชาปรีคลินิกก่อน 2 ปี ใน
2 ปีหลังจึงเริ่มขึ้นทางานกับผู้ป่วยในตึก อาจารย์ทางปรีคลินิกส่วนใหญ่ได้รับการ แต่งตั้งขึ้นใหม่ทั้งชุด ส่วน
ทางคลินิกนั้นได้โอนนายแพทย์ที่สังกัดอยู่กับสภากาชาดไทยแต่เดิมมาเป็นอาจารย์ รวมทั้งอาจารย์แต่งตั้งขึ้น
ใหม่จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อความเหมาะสมด้วย
การอยู่ร่วมกันระหว่างคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
กับ สภากาชาดไทย อยู่ด้วยกันในแบบพึ่งพาอาศัยกัน กล่าวคือ สภากาชาดได้ประโยชน์ในด้านการรักษาผู้ป่วย
และได้รับความเจริญก้าวหน้าของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ฯ ได้ใช้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
เป็นสถานศึกษาสาหรับนักศึกษา และให้บรรดาอาจารย์ได้ทาการวิจัย นอกจากนั้น สภากาชาดได้จัดหาที่ใน
บริเวณโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ให้คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อสร้างอาคารสาหรับเป็น
สถานศึกษา และหอพักของนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดและแพทย์ประจาบ้าน
กิจการของโรงพยาบาลก็ขยายขึ้นเป็นลาดับ ความร่วมมือของทั้งสองสถาบันนี้ ช่วยให้
การแพทย์ก้าวหน้าขึ้นมาก เนื่องจากคณะแพทยศาสตร์ได้อาศัยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นสถานที่ฝึกหัด วิจัย
ทางการแพทย์โรงพยาบาลได้ประโยชน์ในด้านการรักษาผู้ป่วย
เจ้าหน้าที่ทั้งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ ได้ประสานงานกันเป็นอย่างดี
ทางานร่วมกันโดยยึดมั่นในปณิธานอันเดียวกันคือ ดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยให้ดีที่ ดังนั้นในปัจจุบันอาศัยความ
ร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ดังกล่าว ทาให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ก้าวหน้าขึ้น มีคนไข้เข้ารับการ
รักษาพยาบาลเป็นจานวนมาก โดยในจานวนนี้กว่า 80% เป็นคนไข้อนาถา ซึ่งโรงพยาบาลจะต้องสงเคราะห์
ดังนั้น ในแต่ละปียอดรายจ่ายของโรงพยาบาลจึงสูงกว่ายอดรายรับตลอดมา
แต่อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ก็ยังยึดมั่นในปณิธานที่จะให้ความช่วยเหลือผู้
เจ็บป่วยทั่วไป โดยไม่เลือกชาติ ชั้น วรรณะ
การบริหารงานของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ขณะที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้แยกออกเป็น 2 ส่วน อย่างเด็ดขาด แต่ก็ยังมีความพยายามที่จะผสมผสานการดาเนินงานทางด้านการ
บริหารงานของทั้งสองสถาบันเพื่อที่จะให้บรรลุถึงประสิทธิภาพตามที่ต้องการ ดังนั้น คณบดีคณะแพทยศาสตร์
จึงได้รับตาแหน่งผู้อานวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้วย ในขณะที่รองผู้อานวยการก็จะมีตาแหน่งเป็นสมาชิก
อาวุโสของคณะแพทยศาสตร์
ในสายงานของคณะแพทยศาสตร์หน่วยงานย่อยลงมาเรียกว่า ภาควิชา มีหัวหน้าภาควิชาเป็น
ผู้บริหารในภาควิชาฯ แต่ในสายงานของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์หน่วยงานย่อยลงมา เรียกว่า ฝ่าย มีหัวหน้าฝ่าย
เป็นผู้บริหารงาน ดังนั้นเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน การวิจัย จึงมีภาควิชาฯ เป็นผู้ดูแล และส่วนที่เกี่ยวกับ
การบริการจะมีฝ่ายเป็นผู้ดูแล ทั้งที่จริงแล้วอยู่ในที่เดียวกันและผู้บริหารคนเดียวกัน เช่น ภาควิชาอายุรศาสตร์
หรือฝ่ายอายุรศาสตร์ เป็นต้น
บุคลากรผู้ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ ต่างก็ทางานด้วย
วัตถุประสงค์เดียวกัน เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่สถาบันนี้โดยไม่ได้คิดว่าใครสังกัดสถาบันไหน สาหรับ
แพทย์ที่สังกัดคณะแพทยศาสตร์ตลอดจนแพทย์ประจาบ้านที่เข้ารับการ ฝึกอบรมตามหลักสูตร ก็จะได้รับการ
ประกาศแต่งตั้งเป็นแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้วย
หน้าที่และการปฏิบัติงานของนิสิตแพทย์เวชปฏิบัติ
เพื่อให้การดาเนินการสอนและฝึกปฏิบัติงานของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ของคณะ-แพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในลักษณะนิสิตแพทย์เวชปฏิบัติ ตามหอผู้ป่วยต่างๆ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จึงได้กาหนดระเบียบปฏิบัติงานของ
นิสิตดังกล่าวไว้ตามประกาศของโรงพยาบาล ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2537 ดังนี้
ก. ระเบียบปฏิบัติงานของนิสิต
1. ให้นิสิตรับผิดชอบและปฏิบัติการรักษาผู้ป่วยภายใต้การดูแลควบคุมของแพทย์ประจา
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
2. นิสิตจะต้องอยู่ปฏิบัติงานดูแลรักษาผู้ป่ วยทั้งในและนอกเวลาราชการ ตามที่ได้ได้รับ
มอบหมายจากภาควิชาที่นิสิตประจาอยู่โดยเคร่งครัด
3. อนุญาตให้นิสิตสั่งการตรวจรักษาในใบสั่งการรักษาผู้ป่วยใน บัตรตรวจผู้ป่วย-นอก ใบสั่ง
ตรวจทางห้องปฏิบัติการต่าง ๆ (ยกเว้นการตรวจพิเศษที่มีระเบียบระบุไว้เป็นอย่างอื่น) และเขียนใบสั่งยาได้ใน
ความควบคุมของแพทย์ประจาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
เมื่อนิสิตแพทย์สั่งการตามข้อ 3 นี้แล้ว ให้ลงนามพร้อมทั้งเขียนเลขรหัสประจาตัว
ต่อจากการลงนามทุกครั้ง
4. นิสิตไม่มีสิทธิลงนามในใบสั่งยาที่ต้องไปซื้อนอกโรงพยาบาล
5. นิสิตไม่มีสิทธิลงนามในใบรับรองทางการแพทย์ทุกชนิด
6. นิสิตไม่มีสิทธิลงนามรับผู้ป่วยเข้าไว้รักษาจากฝ่ ายผู้ป่วยนอก และส่งปรึกษาผู้ป่วยระหว่าง
ฝ่าย
ข. ระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการ
1. จัดเสื้อกาวน์ให้คนละ 3 ตัว (เสื้อตัวสั้น)
2. จัดอาหารให้ 3 มื้อ ในขณะปฏิบัติงานอยู่เวร
3. ไม่มีเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายหรือค่าตอบแทนใด ๆ
4. เมื่อเจ็บป่ วยได้สิทธิเฉพาะตัว ยกเว้นค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด (บิดา มารดา ได้สิทธิ
ลดหย่อนค่าห้องและค่าผ่าตัด ตามระเบียบสภากาชาดไทยว่าด้วยการให้สวัสดิการในการรักษาพยาบาลประเภท
ผู้ป่วยในแก่ผู้ปฏิบัติงานให้สภากาชาดไทย พ.ศ. 2534 (ดูรายละเอียดในเรื่องสิทธิในการเบิกค่ารักษาพยาบาล)

More Related Content

Viewers also liked

1.ประวัติความเป็นมาของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1.ประวัติความเป็นมาของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย1.ประวัติความเป็นมาของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1.ประวัติความเป็นมาของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยงานพัฒนาบุคลากร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
 
4.10 ระเบียบปฏิบัติงานพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
4.10 ระเบียบปฏิบัติงานพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์4.10 ระเบียบปฏิบัติงานพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
4.10 ระเบียบปฏิบัติงานพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์งานพัฒนาบุคลากร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
 
Seminar on lean six sigma
Seminar on lean six sigmaSeminar on lean six sigma
Seminar on lean six sigmaChetan Naphade
 

Viewers also liked (18)

4.5 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชาปรสิตวิทยา
4.5 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชาปรสิตวิทยา4.5 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชาปรสิตวิทยา
4.5 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชาปรสิตวิทยา
 
4.11 ระเบียบหอสมุดคณะแพทย์
4.11 ระเบียบหอสมุดคณะแพทย์4.11 ระเบียบหอสมุดคณะแพทย์
4.11 ระเบียบหอสมุดคณะแพทย์
 
1.ประวัติความเป็นมาของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1.ประวัติความเป็นมาของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย1.ประวัติความเป็นมาของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1.ประวัติความเป็นมาของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
6.การปฏิบัติงานระบบเภสัชกรรม
6.การปฏิบัติงานระบบเภสัชกรรม6.การปฏิบัติงานระบบเภสัชกรรม
6.การปฏิบัติงานระบบเภสัชกรรม
 
4.4 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชาพยาธิวิทยา
4.4 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชาพยาธิวิทยา4.4 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชาพยาธิวิทยา
4.4 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชาพยาธิวิทยา
 
17.แผนรับสาธารณภัยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
17.แผนรับสาธารณภัยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์17.แผนรับสาธารณภัยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
17.แผนรับสาธารณภัยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
 
4.3 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชานิติเวชศาสตร์
4.3 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชานิติเวชศาสตร์4.3 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชานิติเวชศาสตร์
4.3 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชานิติเวชศาสตร์
 
3.ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับงานเวชระเบียน
3.ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับงานเวชระเบียน3.ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับงานเวชระเบียน
3.ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับงานเวชระเบียน
 
4.2 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชาจุลชีววิทยา
4.2 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชาจุลชีววิทยา4.2 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชาจุลชีววิทยา
4.2 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชาจุลชีววิทยา
 
CV Standar-1
CV Standar-1CV Standar-1
CV Standar-1
 
12.คำประกาศของผู้ป่วยและคู่มือพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย
12.คำประกาศของผู้ป่วยและคู่มือพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย12.คำประกาศของผู้ป่วยและคู่มือพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย
12.คำประกาศของผู้ป่วยและคู่มือพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย
 
5.ภาควิชานิติเวชศาสตร์
5.ภาควิชานิติเวชศาสตร์5.ภาควิชานิติเวชศาสตร์
5.ภาควิชานิติเวชศาสตร์
 
9.ภาควิชารังสิวิทยา
9.ภาควิชารังสิวิทยา9.ภาควิชารังสิวิทยา
9.ภาควิชารังสิวิทยา
 
4.10 ระเบียบปฏิบัติงานพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
4.10 ระเบียบปฏิบัติงานพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์4.10 ระเบียบปฏิบัติงานพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
4.10 ระเบียบปฏิบัติงานพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
 
10.ฝ่ายธนาคารเลือด
10.ฝ่ายธนาคารเลือด10.ฝ่ายธนาคารเลือด
10.ฝ่ายธนาคารเลือด
 
4.ภาควิชาจุลชีววิทยา
4.ภาควิชาจุลชีววิทยา4.ภาควิชาจุลชีววิทยา
4.ภาควิชาจุลชีววิทยา
 
7.ภาควิชาปรสิตวิทยา
7.ภาควิชาปรสิตวิทยา7.ภาควิชาปรสิตวิทยา
7.ภาควิชาปรสิตวิทยา
 
Seminar on lean six sigma
Seminar on lean six sigmaSeminar on lean six sigma
Seminar on lean six sigma
 

Similar to 1.บทนำ

ACTEP2014: ASCC challenges in EM
ACTEP2014: ASCC challenges in EMACTEP2014: ASCC challenges in EM
ACTEP2014: ASCC challenges in EMtaem
 
10 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเจรจาร๊อคกี้เฟลเลอร์
10 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเจรจาร๊อคกี้เฟลเลอร์10 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเจรจาร๊อคกี้เฟลเลอร์
10 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเจรจาร๊อคกี้เฟลเลอร์สุรพล ศรีบุญทรง
 
พรบรักษาพยาบาล
พรบรักษาพยาบาลพรบรักษาพยาบาล
พรบรักษาพยาบาลpatty_sb
 
คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ ฉบับใบลาน
คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ ฉบับใบลานคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ ฉบับใบลาน
คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ ฉบับใบลานVorawut Wongumpornpinit
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdfVorawut Wongumpornpinit
 

Similar to 1.บทนำ (6)

ACTEP2014: ASCC challenges in EM
ACTEP2014: ASCC challenges in EMACTEP2014: ASCC challenges in EM
ACTEP2014: ASCC challenges in EM
 
10 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเจรจาร๊อคกี้เฟลเลอร์
10 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเจรจาร๊อคกี้เฟลเลอร์10 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเจรจาร๊อคกี้เฟลเลอร์
10 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเจรจาร๊อคกี้เฟลเลอร์
 
พรบรักษาพยาบาล
พรบรักษาพยาบาลพรบรักษาพยาบาล
พรบรักษาพยาบาล
 
Archive01
Archive01Archive01
Archive01
 
คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ ฉบับใบลาน
คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ ฉบับใบลานคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ ฉบับใบลาน
คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ ฉบับใบลาน
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
 

More from งานพัฒนาบุคลากร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

More from งานพัฒนาบุคลากร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (7)

4.12 ระเบียบหอพักคณะแพทยศาสตร์
4.12 ระเบียบหอพักคณะแพทยศาสตร์4.12 ระเบียบหอพักคณะแพทยศาสตร์
4.12 ระเบียบหอพักคณะแพทยศาสตร์
 
4.6 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชาเวชศาสตร์ชันสุตร
4.6 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชาเวชศาสตร์ชันสุตร4.6 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชาเวชศาสตร์ชันสุตร
4.6 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชาเวชศาสตร์ชันสุตร
 
16.การปฏิบัติงานระบบเภสัชกรรม
16.การปฏิบัติงานระบบเภสัชกรรม16.การปฏิบัติงานระบบเภสัชกรรม
16.การปฏิบัติงานระบบเภสัชกรรม
 
14.ระเบียบหอพักคณะแพทยศาสตร์
14.ระเบียบหอพักคณะแพทยศาสตร์14.ระเบียบหอพักคณะแพทยศาสตร์
14.ระเบียบหอพักคณะแพทยศาสตร์
 
13.ระเบียบหอสมุดคณะแพทย์
13.ระเบียบหอสมุดคณะแพทย์13.ระเบียบหอสมุดคณะแพทย์
13.ระเบียบหอสมุดคณะแพทย์
 
11.ฝ่ายสวัสดิการสังคม
11.ฝ่ายสวัสดิการสังคม11.ฝ่ายสวัสดิการสังคม
11.ฝ่ายสวัสดิการสังคม
 
8.ภาควิชาเวชศาสตร์ชันสูตร
8.ภาควิชาเวชศาสตร์ชันสูตร8.ภาควิชาเวชศาสตร์ชันสูตร
8.ภาควิชาเวชศาสตร์ชันสูตร
 

1.บทนำ

  • 1. สภากาชาดไทย เป็นองค์กรสาธารณกุศล มีประวัติอันยาวนานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2436 และต่อมาได้มี พระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดไทยเมื่อ พ.ศ. 2461 กาหนดข้อบังคับต่างๆ ขึ้น วัตถุประสงค์ของสภากาชาด ไทยคือ “รักษาพยาบาลผู้ป่ วยไข้และบาดเจ็บในเวลาสงคราม ทั้งอาจทาการบรรเทาทุกข์ในเหตุการณ์สาธารณภัย พินาศ โดยไม่เลือก เชื้อชาติ สัญชาติ ลัทธิ ศาสนา หรือความเห็นในทางการเมืองของผู้ประสบภัย” . โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็ นสานักงานหนึ่งของสภากาชาดไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อครั้ ง พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสู่สวรรคาลัยเมื่อ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 โดยบรรดาพระราชโอรสพระราชธิดา มีพระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าฯ เป็นประธาน ได้ ปลงพระหฤทัยที่จะทรงบาเพ็ญทานพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณเป็นพิเศษ จัดสร้างสิ่งซึ่งเป็นถาวร ประโยชน์ไว้เป็นอนุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระบรมชนกนาถโดยทรงพระดาริเห็นพร้อมกันว่า หาก สร้างโรงพยาบาลสภากาชาดขึ้นก็จะเป็นการพระกุศล อันประกอบด้วยถาวรประโยชน์อนุโลม ตามพระราช ประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนก-นาถและเป็นเกียรติยศแก่สยามราชอาณาจักรด้วยทุกประการ เมื่อ ทรงพระดาริเห็นพร้อมกันฉะนี้ บรรดาพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสิ นทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่างพระองค์จึงทรงบริจาคทรัพย์รวมกันเป็นจานวนเงิน 122,910.00 บาท มอบถวายในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชพระราชธุระอานวยการ ให้สาเร็จตามพระประสงค์ และได้ทรงพระราชปรารภความอันนี้ แด่สมเด็จพระบรมราชชนนี องค์สภานายิกา ก็ทรงอนุโมทนาอนุมัติตามและพระราชทานพระราชานุญาตพิเศษอีกส่วนหนึ่งว่าเงินทุนของ สภากาชาดเดิมที่มีอยู่นั้น ถ้าจะเป็นประโยชน์อุปการะให้การโรงพยาบาลนี้สาเร็จได้ด้วยประการใดก็เต็มพระ ราชหฤทัยที่จะให้ใช้เงินนั้นด้วย ส่วนการก่อสร้างและจัดการโรงพยาบาล สภากาชาดนี้พระบาทสมเด็จพระ มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินอันเป็นส่วนของพระองค์มิให้ต้องลงทุน ซื้อหา และโปรดเกล้าฯ ให้จอมพลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ซึ่งดารงตาแหน่งเสนาบดี กระทรวงกลาโหมเป็นเจ้าหน้าที่จัดการก่อสร้างโรงพยาบาล ได้ลงมือทาการตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2454 เป็นต้นมา การยังไม่ทันแล้ว จอมพลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช สิ้นพระชนม์เสียก่อน จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จอมพล (ในขณะนั้นยังเป็นนายพลเอก) สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก ทรงอานวยการต่อมาจนการสาเร็จ และโปรดเกล้าฯ ให้ ขนานนามโรงพยาบาลตามพระบรมนามาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2. พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์” และเสด็จพระราชดาเนินมาเปิด โรงพยาบาล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 ได้เริ่มทาการสงเคราะห์ทวยพสกนิกรเป็นปฐมแต่แต่นั้นมา ความจริงโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ใช้เป็นสถานที่อบรมแพทย์และนักเรียนแพทย์มาช้านาน แล้ว เช่น แพทย์ที่สาเร็จวิชาแพทย์จากโรงเรียนราชแพทยาลัยได้มารับการ อบรมที่โรงพยาบาลนี้มีกาหนด 6 - 18 เดือน ตามระดับอาวุโส เมื่ออบรมจบแล้วได้รับบรรจุเป็นแพทย์ฝ่ายทหารต่อไป นักเรียนปีสุดท้ายของโรงเรียน ราชแพทยาลัย ได้มาใช้โรงพยาบาลนี้เป็นสถานที่อบรมและปฏิบัติงานคนละ 4 เดือน ก่อนจะจบการศึกษาเป็น แพทย์ในสมัยนั้น ครั้งหนึ่งรัฐบาลได้จัดหลักสูตรย่อการศึกษาแพทย์เรียกว่า โรงเรียนแพทย์เสนารักษ์ เพื่อเข้ารับ ราชการทหาร 4 รุ่น โดยให้เรียนวิชาแพทย์จบใน 4 ปี แทนที่จะเรียน 6 ปี แพทย์ที่เรียนจบได้รับประกาศนียบัตร แพทย์เหล่านี้ ใช้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นที่ศึกษาจนจบหลักสูตรเช่นเดียวกัน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกาเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2490 เดิมสังกัดอยู่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มีนามว่า คณะ แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และย้ายสังกัดมาอยู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2510 มีนามว่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โดยที่ต่อมามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เปลี่ยนเป็ น มหาวิทยาลัยมหิดล) ประวัติการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีดังนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จพระราชดาเนินมาในพิธี พระราชทานปริญญาและอนุปริญญาแก่นักศึกษาแพทย์และพยาบาล ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อ พ.ศ.2489 พระองค์ได้ทรงพระราชปรารภ มีใจความสาคัญตอนหนึ่งว่า พระองค์ท่านใคร่จะให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ผลิตจานวนแพทย์ให้มากขึ้น เพื่อให้พอกับความต้องการของประเทศชาติ เพื่อสนองพระราชประสงค์ของพระองค์ท่านดังกล่าวมาแล้ว รัฐบาลจึงได้อนุมัติงบประมาณให้ กระทรวงสาธารณสุขจานวนหนึ่งสาหรับการรับนักศึกษาให้มากขึ้น แต่ครั้นจะขยายสถานที่สาหรับสอน ฝึกอบรมที่โรงพยาบาลศิริราชก็ไม่สามารถทาได้เพราะมีที่จากัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (พระยา สุนทรพิพิธ) จึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นใหม่อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็ได้อนุมัติ ผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในขณะนั้นคือ ศาสตราจารย์นายแพทย์เฉลิม พรมมาส ได้ปรึกษากับผู้อานวยการกองบรรเทาทุกข์และอนามัย สภากาชาดไทย(พลตรีพระยาดารงแพทยาคุณ) เพื่อขอใช้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นสถานศึกษาสาหรับจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งใหม่ซึ่งก็เห็นว่าเป็นการเหมาะสม เพราะว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีเตียงมากพอแก่การศึกษาและเคยเป็นโรงเรียนแพทย์ทหารมาก่อน ผู้ บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จีงได้จึงได้ขออนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งก็ได้รับความ เห็นชอบด้วย ผู้อานวยการกองบรรเทาทุกข์และอนามัย จึงกราบทูลสมเด็จองค์สภานายิกาสภากาชาดไทย
  • 3. (สมเด็จพระพัน-วัสสาอัยยิกาเจ้า) ก็ทรงเห็นชอบด้วย เพราะจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติต่อไป ดังนั้น โรงเรียนแพทย์แห่งใหม่จึงได้ถือกาเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2490 มีนามว่า คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ในขณะที่เริ่มก่อตั้งนั้นสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์) พลตรีพระยาดารงแพทยาคุณ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณบดีคนแรก เมื่อได้เปิดสอนในปีแรกมีนักศึกษาจานวน 67 คน และเริ่มสอนทางวิชาปรีคลินิกก่อน 2 ปี ใน 2 ปีหลังจึงเริ่มขึ้นทางานกับผู้ป่วยในตึก อาจารย์ทางปรีคลินิกส่วนใหญ่ได้รับการ แต่งตั้งขึ้นใหม่ทั้งชุด ส่วน ทางคลินิกนั้นได้โอนนายแพทย์ที่สังกัดอยู่กับสภากาชาดไทยแต่เดิมมาเป็นอาจารย์ รวมทั้งอาจารย์แต่งตั้งขึ้น ใหม่จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อความเหมาะสมด้วย การอยู่ร่วมกันระหว่างคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กับ สภากาชาดไทย อยู่ด้วยกันในแบบพึ่งพาอาศัยกัน กล่าวคือ สภากาชาดได้ประโยชน์ในด้านการรักษาผู้ป่วย และได้รับความเจริญก้าวหน้าของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ฯ ได้ใช้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นสถานศึกษาสาหรับนักศึกษา และให้บรรดาอาจารย์ได้ทาการวิจัย นอกจากนั้น สภากาชาดได้จัดหาที่ใน บริเวณโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ให้คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อสร้างอาคารสาหรับเป็น สถานศึกษา และหอพักของนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดและแพทย์ประจาบ้าน กิจการของโรงพยาบาลก็ขยายขึ้นเป็นลาดับ ความร่วมมือของทั้งสองสถาบันนี้ ช่วยให้ การแพทย์ก้าวหน้าขึ้นมาก เนื่องจากคณะแพทยศาสตร์ได้อาศัยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นสถานที่ฝึกหัด วิจัย ทางการแพทย์โรงพยาบาลได้ประโยชน์ในด้านการรักษาผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ทั้งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ ได้ประสานงานกันเป็นอย่างดี ทางานร่วมกันโดยยึดมั่นในปณิธานอันเดียวกันคือ ดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยให้ดีที่ ดังนั้นในปัจจุบันอาศัยความ ร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ดังกล่าว ทาให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ก้าวหน้าขึ้น มีคนไข้เข้ารับการ รักษาพยาบาลเป็นจานวนมาก โดยในจานวนนี้กว่า 80% เป็นคนไข้อนาถา ซึ่งโรงพยาบาลจะต้องสงเคราะห์ ดังนั้น ในแต่ละปียอดรายจ่ายของโรงพยาบาลจึงสูงกว่ายอดรายรับตลอดมา แต่อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ก็ยังยึดมั่นในปณิธานที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ เจ็บป่วยทั่วไป โดยไม่เลือกชาติ ชั้น วรรณะ
  • 4. การบริหารงานของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ขณะที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แยกออกเป็น 2 ส่วน อย่างเด็ดขาด แต่ก็ยังมีความพยายามที่จะผสมผสานการดาเนินงานทางด้านการ บริหารงานของทั้งสองสถาบันเพื่อที่จะให้บรรลุถึงประสิทธิภาพตามที่ต้องการ ดังนั้น คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จึงได้รับตาแหน่งผู้อานวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้วย ในขณะที่รองผู้อานวยการก็จะมีตาแหน่งเป็นสมาชิก อาวุโสของคณะแพทยศาสตร์ ในสายงานของคณะแพทยศาสตร์หน่วยงานย่อยลงมาเรียกว่า ภาควิชา มีหัวหน้าภาควิชาเป็น ผู้บริหารในภาควิชาฯ แต่ในสายงานของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์หน่วยงานย่อยลงมา เรียกว่า ฝ่าย มีหัวหน้าฝ่าย เป็นผู้บริหารงาน ดังนั้นเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน การวิจัย จึงมีภาควิชาฯ เป็นผู้ดูแล และส่วนที่เกี่ยวกับ การบริการจะมีฝ่ายเป็นผู้ดูแล ทั้งที่จริงแล้วอยู่ในที่เดียวกันและผู้บริหารคนเดียวกัน เช่น ภาควิชาอายุรศาสตร์ หรือฝ่ายอายุรศาสตร์ เป็นต้น บุคลากรผู้ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ ต่างก็ทางานด้วย วัตถุประสงค์เดียวกัน เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่สถาบันนี้โดยไม่ได้คิดว่าใครสังกัดสถาบันไหน สาหรับ แพทย์ที่สังกัดคณะแพทยศาสตร์ตลอดจนแพทย์ประจาบ้านที่เข้ารับการ ฝึกอบรมตามหลักสูตร ก็จะได้รับการ ประกาศแต่งตั้งเป็นแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้วย
  • 5. หน้าที่และการปฏิบัติงานของนิสิตแพทย์เวชปฏิบัติ เพื่อให้การดาเนินการสอนและฝึกปฏิบัติงานของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ของคณะ-แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในลักษณะนิสิตแพทย์เวชปฏิบัติ ตามหอผู้ป่วยต่างๆ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จึงได้กาหนดระเบียบปฏิบัติงานของ นิสิตดังกล่าวไว้ตามประกาศของโรงพยาบาล ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2537 ดังนี้ ก. ระเบียบปฏิบัติงานของนิสิต 1. ให้นิสิตรับผิดชอบและปฏิบัติการรักษาผู้ป่วยภายใต้การดูแลควบคุมของแพทย์ประจา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 2. นิสิตจะต้องอยู่ปฏิบัติงานดูแลรักษาผู้ป่ วยทั้งในและนอกเวลาราชการ ตามที่ได้ได้รับ มอบหมายจากภาควิชาที่นิสิตประจาอยู่โดยเคร่งครัด 3. อนุญาตให้นิสิตสั่งการตรวจรักษาในใบสั่งการรักษาผู้ป่วยใน บัตรตรวจผู้ป่วย-นอก ใบสั่ง ตรวจทางห้องปฏิบัติการต่าง ๆ (ยกเว้นการตรวจพิเศษที่มีระเบียบระบุไว้เป็นอย่างอื่น) และเขียนใบสั่งยาได้ใน ความควบคุมของแพทย์ประจาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อนิสิตแพทย์สั่งการตามข้อ 3 นี้แล้ว ให้ลงนามพร้อมทั้งเขียนเลขรหัสประจาตัว ต่อจากการลงนามทุกครั้ง 4. นิสิตไม่มีสิทธิลงนามในใบสั่งยาที่ต้องไปซื้อนอกโรงพยาบาล 5. นิสิตไม่มีสิทธิลงนามในใบรับรองทางการแพทย์ทุกชนิด 6. นิสิตไม่มีสิทธิลงนามรับผู้ป่วยเข้าไว้รักษาจากฝ่ ายผู้ป่วยนอก และส่งปรึกษาผู้ป่วยระหว่าง ฝ่าย ข. ระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการ 1. จัดเสื้อกาวน์ให้คนละ 3 ตัว (เสื้อตัวสั้น) 2. จัดอาหารให้ 3 มื้อ ในขณะปฏิบัติงานอยู่เวร 3. ไม่มีเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายหรือค่าตอบแทนใด ๆ 4. เมื่อเจ็บป่ วยได้สิทธิเฉพาะตัว ยกเว้นค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด (บิดา มารดา ได้สิทธิ ลดหย่อนค่าห้องและค่าผ่าตัด ตามระเบียบสภากาชาดไทยว่าด้วยการให้สวัสดิการในการรักษาพยาบาลประเภท ผู้ป่วยในแก่ผู้ปฏิบัติงานให้สภากาชาดไทย พ.ศ. 2534 (ดูรายละเอียดในเรื่องสิทธิในการเบิกค่ารักษาพยาบาล)