SlideShare a Scribd company logo
1 of 13
Download to read offline
ยุทธศาสตร์ 20 ปี องค์การปกครอง
ส่วนท้องถิ่นแบบสมาร์ท
นาวาตรี ดร.วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ
กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
จากนโยบายแห่งชาติในการปฎิรูปประเทศไทยที่ต้องางแผนในระยะยาวยี่สิบปี ซึ่งมีความ
แตกต่างกับเดิมที่เคยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประมาณ 5 ปี ที่เป็นแผนที่นำทาง
หรือ Road map ของการพัฒนาประเทศมาโดยตลอด บางฉบับก็ได้ผลเต็มที่ บางฉบับมีแต่แผน
โครงการ แต่ไม่ได้ทำให้สำเร็จตามเป้าหมาย
การที่จะทำให้สำเร็จนั้น อาจต้องมองเป็นหลายระยะ และ หลายระดับ เริ่มจากวิสัยทัศน์ ไป
จนถึงการปฏิบัติ และ ลงไปถึงประชาชนที่มีส่วนได้เสีย
!1
โดยทั่วไป วิสัยทัศน์ในการพัฒนานาน จะใช้กำหนดสภาพโดยคร่าวๆ เป็นองค์รวม ก็คง
ไม่พ้นภาพที่เสนอนั่นเอง
ขอเริ่มจากข้อแรก คือ
E-Governance and Citizen Service คือ การพัฒนาการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้
งานที่ใช้อำนาจในการวินิจฉัย สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และ มีการตรวจสอบถ่วงดุลย์
ซึ่ง อปท. สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
	 	 ระบบข้อมูลข่าวสารของทางราชการที่ให้บริการต่อประชาชน ด้วยความสะดวก
รวดเร็ว ดั่งใจ ตามที่ประชาชนร้องขอ นอกจากนั้น การบริการที่เปลี่ยนเป็นการใช้อิเล็กทรอนิกส์
แทนการใช้คน หรือ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) เพื่อความรวดเร็ว โปร่งใส นอกจาก
นั้น ประชาชนสามารถจอง หรือ ขอ การบริการอื่นๆ ที่ถูกเตรียมไว้ให้ โดย อปท. เช่น การไล่ยุง
เก็บขยะ ลอกท่อ และ อื่นๆ ที่รัฐมีแต่ไม่มากพอที่จะให้ทุกคนพร้อมๆ กันได้
ระบบ CCTV หรือ Closed Circuit TV สามารถเป็น หู ตา ให้เจ้าหน้าที่แก้ปัญหา
อาชญากรรม และ การจราจร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ เมือง มี Laws & Orderss ได้ ตาม
แนวคิด สามัคคี สงบ มั่งคั่ง และยั่งยืน สามารถออกนอกบ้านได้ 24 ชม. โดยมีกล้องคอยติดตาม
ตลอด
ข้อที่สอง คือ การบริหารจัดการของเสีย Waste Management ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญมากๆ
ของ อปท. การจัดการนำ้เสีย และ การจัดการน้ำดี ให้สามารถทำ recycle หรือ กักน้ำดีให้มีใช้
ยามขาดแคลน โดยยึดหลักน้ำเป็นทรัพยากร ไม่ใช่ สิ่งที่ได้มาฟรีๆ
การบริหาร พลังงาน ที่พัฒนาจากของเสีย หรือ ขยะในระบบเมือง ก็เป็นอืกเรื่องที่สำคัญ
การมององค์รวมเรื่องของขยะ เป็นพลังงาน ทำให้ อปท. สามารถประสานงานระหว่างกัน ในการ
พัฒนาระบบพลังงาน และ บริหารของเหลือใช้ หรือ ขยะ มาแปรสภาพไปกลับได้ ในวันนี้
เทคโนโลยี แปรรูป ขยะเป็นพลังงาน มีมากขึ้นและถูกลง บางประเทศต้องนำเข้าขยะในการ
พัฒนาเป็นพลังงานไฟฟ้าอีกด้วย การแปรรูป และ การลดปริมาณขยะ เป็นสิ่งที่ต้องทำคู่กัน
ข้อที่ สาม การบริหารจัดการนำ้ ให้มี Smart Meter คนสามารถติดตามและบริหารการใช้
น้ำของตน การมีระบบตรวจสอบการรั่วไหลของระบบประปา การซ่อมบำรุง และ การบำรุงรักษา
ระบบน้ำสะอาด เป็นเรื่องที่จะเป็นของ Smart City ทุกๆ เมือง
!2
ข้อที่ 4 คือ การบริหารจัดการพลังงาน ให้มีอย่างพอเพียง มีเสถียรภาพ ในวันนี้ เราคงมี
ประสพการณ์ในการไฟฟ้าดับ หรือ งดจ่ายไฟ เมื่อไม่มีไฟฟ้า ประชาชนจำนวนมากเริ่มที่จะไม่ทน
และ บ่น หรือ ร้องเรียนมากมาย ดังนั้น จะมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น คือ Smart Meter มิเตอร์อัจฉริยะ ที่
ทำให้การบริหารจัดการไฟฟ้า และ โหลดของไฟฟ้า ทำได้พร้อมๆ กันทุกบ้าน
การนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ เช่น การนำพลังงานส่วนเกินมาสะสมเป็นศักยะของ
พลังงานใหม่ เช่น ระบบบเขื่อนสูบกลับ หรือ นำพลังงานจากน้ำมันพืชใช้แล้ว มาใช้ในเครื่องกล
การนำขยะ มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเป็นต้น
การมีโครงการอาคารประหยัดพลังงาน หรือ Green Building เป็นการที่อาคารต่างๆ มี
ระบบพลังงานของตนเองจากแสงแดด หรือ จากการออกแบบที่ประหยัดไฟแสงสว่าง และ
อุณหภูมิ จะเป็นโครงการที่เกิดใหม่อย่างมากมายในปีต่อๆ ไป
ข้อ 5 Urban Mobility การจัดการขนส่ง และ การเดินทาง ตลอดจนการจราจรในสมาร์ท
ซิตี้ โดยการใช้เครือข่าย GPS และ ระบบติดตามรถ ทำให้รถทุกคันในเมืองมีการรายงานผลไป
ยังศูนย์ควบคุม และ ทำให้การจราจร คล่องตัว การขนส่ง และ การเดินทางที่ฉลาด ทำให้ทุกคน
ไปถึงที่หมายในเวลาที่เหมาะสม และ ประหยัดเวลา นอกจากนั้นการใช้ Mode บูรณาการ หรือ
Integrated ทำให้การเดินทางที่ต้องต่อรถหลายคัน หรือ เรือ ต่อรถ และ รถไฟ จะมีการรวมตั๋ว
และ มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ไม่แพงเกินไป ผู้ที่อยู่นอกเมืองสามารถมีระบบขนส่งสาธารณะ
ที่มีราคาประหยัดเดินทางมาทำงานในเมืองได้
นอกจากที่กล่าวมา ในเมืองที่ห่างไกลแพทย์ ก็จะมีการใช้ระบบ Tele-Medicine เข้ามาช่วย
เหลือ
ศูนย์บ่มเพาะ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการใหม่
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน ในการพัฒนาแรงงานใหม่ๆ หรือ ผู้ที่ตกงาน เข้ามาพัฒนาทักษะ
และ เป็นแรงงานที่มีฝีมือต่อไป
!3
ความจำเป็นของ Smart City
1 ความจำเป็นของสมาร์ทซิตี้ในการแก้ปัญหาเมืองใหญ่ เมืองขนาดกลางและเล็ก
เมืองทุกเมืองล้วนมีปัญหา และ อุปสรรค ตลอดจนแนวทางการแก้ไขที่แตกต่างกัน
ปัญหาที่แตกต่างย่อมมีแนวทางแก้ที่ต่างกันเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ปัญหาของ
กรุงเทพมหานคร กับ เมืองพัทยา อาจจะมีบางอย่างเหมือน และก็ต่างกัน ทั้งใน
เรื่องของขนาด ปริมาณประชากร และ ทรัพยากร ที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นสมาร์ทซิตี้ จึง
อาจจะตอบสนองต่างกัน อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนี้ มีแนวทางมาตรฐานที่กำหนดโดย
องค์การสหประชาชาติ สหภาพยุโรป และ IEEE ที่ว่าด้วยเรื่องของ สมาร์ทซิตี้
โดยเฉพาะ ซึ่งมีแนวทางแก้ปัญหาดังต่อไปนี้
ความแออัดทั้งที่อยู่อาศัยและการจราจรที่ติดขัด การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green)
สังคมผู้สูงอายุ ความเหลื่อมล้ำของคน ทั้งในเมืองและชนบท ความรู้ การสื่อสาร
โทรคมนาคมดิจิตัลที่ไม่เพียงพอ
!4
ซึ่งปัญหาเหล่านี้ สามารถแก้ไขได้โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสาร หรือ ICT มาใช้ในการแก้ปัญหา ทั้งที่แก้โดยตรง หรือ ใช้การประยุกต์
ผ่านโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ หรือโดยการที่ติดตั้ง Internet of Things ลงไปใน
อุปกรณ์ต่างๆ ให้มีความสมาร์ท สามารถสื่อสาร ให้ข้อมูลผ่านเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ หรือ Cloud ได้ ทำให้สังคมลดปัญหาที่ไม่เคยแก้ไขได้ในเมือง สร้าง
โอกาส ในการทำงาน สร้างนวัตกรรมโดยการใช้ความรู้ ดูแลและสร้างโอกาสให้
ผู้สูงอายุ และ เยาวชน ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ทั้งยัง
ดำรงศิลปวัฒนธรรม และ สังคมในเมืองให้ดำรงอยู่ต่อไปแบบมีอารยะ
2 ความจำเป็นและการตอบสนองโจทย์ของสังคมในยุคสารสนเทศ โลกาภิวัฒน์
สังคมดิจิทัลและสังคมผู้สูงวัย และผุ้พิการ
จากสิ่งที่เป็นปัญหาในข้อ 1 จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สามารถนำมาใช้สนองตอบต่อปัญหาดังกล่าวได้แล้ว โดยการสร้างนวัตกรรม
ต่างๆ และ นำมาใช้ในเมือง เช่น ระบบสื่อสารสำหรับติดตาม หรือ Track การ
จราจร รถประจำทาง ที่เราไม่ต้องไปยืนคอยนานๆ ให้ร้อน หรือ หนาว หรือ เปียก
อีกต่อไป โดยการติดตั้ง Tracking Buses จะรู้ว่าอีกกี่นาที รถเมล์จะมา การสร้าง
สมาร์ทโฮม สมาร์ทบิวดิ้ง หรือ สมาร์ทคลาสรูม เพื่อเปลี่ยนประสบการณ์ของการ
ใช้ชีวิต ในสังคมเดิมๆ เป็นสังคมแบบดิจิทัล เราสามารถสั่งอุปกรณ์ เครื่องมือ
เครื่องใช้ ในบ้าน ได้จากที่ทำงาน หรือ จากที่บ้านสั่งไปที่ทำงาน ดังนั้น พฤติกรรม
และ การเรียนรู้ จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง สังคมยุคใหม่ เป็นสังคมที่
ไม่รอใคร ทุกอย่างถูกตัดสินใจอย่างรวดเร็วแบบเรียลไทม์และออนไลน์ ความเร็ว
ในการทำงานที่มีข้อมูลและระบบข้อมูลสนับสนุนที่พร้อมในการตัดสินใจ
เนื่องจากความก้าวหน้าในทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้ในอีกไม่กี่ปีข้าง
หน้า ผู้ที่มีอายุวัยเกษียณจะมีประมาณ 1/4 ของประชากรที่ทำงาน ทุกบ้าน ครัว
เรือน จะมีผู้สูงอายุอยู่ในบ้านและบ่อยครั้ง ต้องอยู่ตามลำพัง ผู้สูงวัยจำนวนมาก
ต้องการเทคโนโลยีที่ไม่ยากในการใช้ เพื่อหาเพื่อน เพื่อช่วยเหลือเวลาประสบเหตุ
หรือ แม้แต่การช่วยชีวิต ดังนั้น ระบบในสมาร์ทซิตี้ จะต้องสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้สูงวัย
สามารถใช้งานได้ง่าย และ ตรงต่อความต้องการอีกด้วยซึ่งการออกแบบระบบ
หรือ สถาปัตยกรรมไอซีทีที่จะเกิดขึ้น ต้องออกแบบเป็นอารยะ ไม่ใช่แค่เพื่อคน
ทั่วไปแต่ต้องเพื่อคนสูงวัยและคนพิการอีกด้วย
3 การตอบสนองต่อความต้องการหลากหลายของสังคมเมืองและสังคมชนบท
สังคมเมือง และ สังคมชนบท มีมิติของความหลากหลายทางขนาดพื้นที่ และ
ความเจริญ ในทางทรัพยากร เมือง ดึงดูดทรัพยากรจากนอกเมืองเข้ามาหล่อเลี้ยง
เช่น น้ำ อาหาร และ อากาศที่บริสุทธิ์ แต่เมืองเก็บความเจริญ และ ความรู้ไว้
ทำให้การกระจายรายได้ไม่ได้ลงมาสู่ชนบท เกิดการอพยพประชากร จากชนบท
!5
เข้ามาสู่เมืองมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดปัญหาของเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน การก
ระจาย รายได้ ความเจริญ และ ความรู้สู่ชนบท จะช่วยลดปัญหาของความหนา
แน่นในเมือง ดังนั้นการสร้างสมาร์ทซิตี้พร้อมๆ กันไปทั้งเมือง และ ชนบท บริวาร
ที่มีความแตกต่างกัน ควรต้องออกแบบให้สอดประสานกัน เช่น การจราจร หรือ
การระบายน้ำ ที่แน่นอน ต้องต่อเชื่อมกันทั้งหมดไม่เป็นคอขวดที่ใดที่หนึ่ง เพราะ
ฉะนั้น ต้องพิจารณาแบบเป็นองค์รวม หรือ บูรณาการเข้าด้วยกัน
4 ความจำเป็นอย่างเร่งด่วนของการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็น
สิ่งจำเป็น เช่นการสร้างถนนคนเดินในฝรั่งเศส เพื่อลดปัญหาจราจรในเมือง ก็ต้อง
เผชิญหน้ากับการต่อต้านของประชาชนที่ขับรถยนต์ การสร้างถนนจักรยานในอัม
สเตอดัม ก็ต้องออกกฏหมายหลายฉบับเพื่อให้คนขับขี่จักรยานได้อย่างปลอดภัย
การสร้างสมาร์ทกริด ให้พลังงานเดินอย่างต่อเนื่องก็ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ
และ ความร่วมมือจากประชาชน จากทุกภาคส่วน และ จากองค์กรภาคประชาชน
หรือ NGOs ต่างๆ ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาในการทำงาน โครงการทุกโครงการ
ของสมาร์ทซิตี้ ต้องการการมีส่วนร่วมทุกมิติ ทั้งรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น
ประชาชน และ องค์กรภาคประชาชน ที่มาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดและ
ประสบการณ์ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน และเพื่อให้มีการต่อต้านน้อยที่สุด
5 การเริ่มต้นโครงการ สมาร์ทไทยแลนด์
ประเทศไทยมีโครงการ "Smart Thailand" โดยเริ่มจากรอบตัวเรา และรอบบ้าน
โดยภาครัฐผลักดันการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคนเมือง เพื่อการ
พัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีของประเทศ
การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับระบบงานราชการ เพื่อเพิ่มความสะดวกใน
การจัดเก็บเอกสาร และการติดต่องานระหว่างหน่วยงานภาครัฐและประชาชน และ
ที่สำคัญ คือ การเปิดโอกาสให้ประชากรมีการเข้าถึงเทคโนโลยี โดยโครงการที่
เห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน คือ โครงการฟรีอินเทอร์เน็ตไร้สาย Wi-Fi ซึ่งใน
ปัจจุบันมีการขยายการให้บริการไปยังสถานที่ราชการ และแหล่งท่องเที่ยว
มากมาย โครงการดังกล่าวมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากโครงการ
Green Bangkok Wi-Fi ที่เปิดให้บริการฟรีในเขตกรุงเทพมหานคร จนถึง
โครงการ ICT Free Wi-Fi ที่สามารถใช้งานได้ตามบริเวณสำคัญทั่วประเทศ ซึ่ง
ในปัจจุบันได้มีการติดตั้งรวมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนกว่า 2.9 แสนจุด และมี
แผนติดตั้งเพิ่มอีกกว่า 3.1 แสนจุดในปี 2557 ซึ่งแผนงานอยู่ภายใต้การดูแลทั้ง
ทางกระทรวงฯ ไอซีที และกสทช.
จากรอบบ้าน สู่ รอบเมือง อีกแผนหนึ่งที่มีความต่อเนื่องนานกว่า 10 ปีที่เริ่มเห็นรูป
ธรรมมากขึ้น คือการนำระบบ Cloud เข้าใช้กับหน่วยงานราชการที่เรียกว่า G-
Cloud (Government Cloud Service) ที่ได้สำนักงานรัฐบาล
!6
อิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน) เป็นเจ้าภาพในการสานต่อตามแผนกรอบ
นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ที่ได้มีการพัฒนาต่อเนื่อง
กว่า 3 ปี ในขณะเดียวกันกระทรวงไอซีทียังได้มีการวางกรอบนโยบาย Smart
Thailand 2020 ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
(ICT) ในระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ.2554-2563) นโยบายดังกล่าว ให้ความสำคัญกับ
การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ บนพื้นฐานความรู้ (Knowledge-based) โดย
มุ่งหวังให้ ICT เป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และสร้าง
โอกาสให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน โดยมีเป้าหมายหลัก คือ •
มีโครงสร้างพื้นฐาน ICT ความเร็วสูง (Broadband) กระจายอย่างทั่วถึง และ
ประชาชนสามารถเข้าถึงโครงข่ายโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้
อย่างเท่าเทียมกัน • มีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพในปริมาณที่เพียงพอต่อการขับเคลื่อน
การพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ • เพิ่มบทบาท และความสำคัญ
ของอุตสาหกรรม ICT ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้มีสัดส่วนมูลค่าเพิ่ม
ของอุตสาหกรรม ICT ต่อ GDP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 18 • ยกระดับความพร้อมด้าน
ICT ของประเทศไทย โดยมุ่งหวังให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่มีการพัฒนาสูงที่สุด
ร้อยละ 25 (Top quartile) ของ Networked Readiness Index • เพิ่มโอกาสใน
การสร้างรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มด้อยโอกาสทางสังคม
โดยสร้างการจ้างงาฯแบบใหม่ที่เป็นการทำงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ • สร้าง
ความตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทของ ICT ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในทุกส่วนภาคของสังคม
รูปที่ สมาร์ทไทยแลนด์ แหล่งที่มาของภาพ : e-Government Agency’s website
สู่การพัฒนาแห่งเมืองอัจฉริยะ "Smart City" การพัฒนาด้านไอซีที จะสมบูรณ์ได้
ต้องมีการกระจายออกจากตัวเมือง สู่พื้นที่ต่างจังหวัด โดยมี "จังหวัดต้นแบบ" เป็น
ตัวนำร่อง ดังที่เห็นจากความสำเร็จ เริ่มต้นจาก Silicon Valley ในอเมริกา จน
กระทั่งปัจจุบัน หลายประเทศมีการนำคอนเซ็ปท์ เมืองอัจฉริยะไปปรับใช้ เช่น
!7
Cyberjaya ในมาเลเซีย ดังนั้น ในประเทศไทย จึงมีการใช้พื้นที่ จังหวัด
นครนายก เพื่อเป็นต้นแบบ และยังมีแผนการขยายไปอีก 10 จังหวัด เริ่มตั้งแต่ปี
2557-2562 โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้าร่วมบริหารจัดการ
จังหวัด ทั้งนี้ การขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว มีการยึดหลักการทำสมาร์ทซิตี้ให้
ประสบความสำเร็จ 5 ประการสำคัญ ได้แก่
• ให้ประชาชนสามารถเชื่อมข้อมูลข่าวสารระหว่างกันได้ทั่วประเทศ • ข้อมูลภาค
รัฐจะต้องบูรณาการเพื่อใช้งานร่วมกันได้ทั้งหมด • บริการภาครัฐจะต้องกระจาย
ตัวลงไปให้ใกล้ประชาชนมากที่สุด • สนับสนุนด้านการศึกษาให้ผ่านระบบ
อิเล็กทรอนิกส์ • ระบบเศรษฐกิจสหกรณ์ ใช้งานด้านอิเล็กทรอนิกส์สนับสนุนผู้
ผลิตสินค้าโอท็อปให้มีรายได้สูงขึ้น
การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องสมาร์ทซิตี้
ปัจจุบันนี้ ผู้บริหารองค์กรในทุกระดับมีความเข้าใจผิดในเรื่องของสมาร์ทซิตี้ ว่า
เป็นโครงการทาง ICT เท่านั้น แค่สร้างความทันสมัย ความเร็วของอินเทอร์เน็ต
หรือมีเว็บให้บริการ มีข้อมูลข่าวสารเท่านั้นก็จบแล้ว เป็นสมาร์ทซิตี้แล้วนั้น อาจจะ
ต้องให้การศึกษากับผู้บริหารองค์กรต่างๆ ใหม่ โดยที่ต้องสร้างความเข้าใจ
สาธารณะว่า สมาร์ทซิตี้ คือ อะไร และต้องมีความเข้าใจว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะ
มีความหนาแน่นของประชากรในเมืองจำนวนมาก ทำให้ต้องแก้ปัญหาโดยการใช้
สมาร์ทซิตี้ โดยสร้างความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้
A smart economy เศรษฐกิจแบบสมาร์ท e-Commerce Logistics
Smart energy พลังงานสมาร์ท ระบบสมาร์ทกริด
Smart mobility การเคลื่อนที่แบบสมาร์ท เช่นการเดินทาง การจราจร
A smart environment สิ่งแวดล้อมที่สมาร์ท เช่นระบบดูแลน้ํา อากาศ
และ ขยะ
Smart living ความเป็นอยู่แบบสมาร์ท เช่น สมาร์ทโฮม สมาร์ท
Irrigation
Smart governance ธรรมาภิบาลที่สมาร์ท เช่น Smart Government
หรือ e-Government
!8
การสร้างความเข้าใจในทุกระดับ เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่สำหรับประเทศไทย คงต้อง
เริ่มจากรัฐบาล ที่ต้องเข้าใจแนวคิดของสมาร์ทซิตี้ ที่เป็นกติกาสากลของ
สหประชาชาติที่ประกาศไว้ใน
Declaration on cities and other human settlements
in the new millennium
โลกจะมีที่พักอาศัยที่เพียงพอสำหรับมนุษย์ทุกคน และ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่
ยั่งยืน มนุษย์มีความกังวลในเรื่องที่พักอาศัยที่เพียงพอสำหรับการตั้งถิ่นฐานของ
มนุษย์และการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและมีอยู่ร่วมกับธรรมชาติ
อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งการมีชีวิตที่ยั่งยืนอย่างมีคุณภาพ โดยมีความเพียงพอ ทั้งในด้านปัจจัยพื้นฐาน
การดำรงชีวิต และความสะดวกสบาย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม จึงมีความจำเป็นใน
การพัฒนาให้เกิดขึ้น เทคโนโลยีของสมาร์ทซิตี้จึงเป็นทางเลือกที่สำคัญและ
จำเป็น
นอกเหนือจากการให้ความรู้กับผู้บริหารรัฐบาลแล้ว การออกสื่อสาธารณะเป็น
เรื่องที่มีความจำเป็น ทั้งนี้การที่สมาร์ทซิตี้ จะใช้งบประมาณจำนวนมากที่มาจาก
ภาษีทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาล โครงการบางโครงการจะต้อง
โปร่งใส และ ตรวจสอบได้ เช่น โครงการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยของ
กรุงเทพมหานคร ระบบสมาร์ทบอร์ดที่ดูแลการจราจรอัตโนมัติ ระบบดูแลผู้สูงวัย
ที่เป็นระบบที่ต้องมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วน เพื่อที่จะให้งานที่เป็นส่วนๆ มีการ
ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน
ผู้บริหารท้องถิ่น จะต้องเข้าใจในหลักการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน หรือ
สื่อสารระหว่างหน่วยงานที่มีพื้นที่ติดต่อกัน ดังเช่น มหานครใหญ่ๆ ในโลก จะมี
การจราจรที่ต่อเนื่องกัน อบจ. อบต. เทศบาล และ เมือง จะต้องมีระบบที่ต่อกัน
และอาจจะต้องเรียนรู้ประสบการณ์ขององค์กรที่ทำไปแล้ว โดยจัดเป็นหลักสูตร
อบรมผ่าน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย หรือ อาจจะจัด
หลักสูตรไปดูงานประเทศที่พัฒนาเรื่องสมาร์ทซิตี้ไปมากแล้ว เช่น สวีเดน หรือ
สเปน
6.2 การศึกษาวิเคราะห์นโยบาย เป้าหมายที่ชัดเจนวางแผนยุทธศาสตร์ที่ทำ
สำเร็จได้ และแผนการปฏิบัติการของสมาร์ทซิตี้ โดยจัดทำเป็นขั้นตอน
นโยบายสมาร์ทซิตี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนสมาร์ทซิตี้เนื่องจากต้องมี
ความต้องการและแบบแผน รวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐชัดเจนและเป็นรูป
ธรรม ภาครัฐต้องวางโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและด้านอื่น ๆ การนำ
เทคโนโลยีมาใช้ในระบบงานราชการสำหรับการจัดเก็บเอกสารและการติดต่อ
ระหว่างภาครัฐและประชาชน และที่สำคัญคือการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึง
อินเตอร์เน็ตอย่างทั่วถึงอย่างสะดวกสบาย โดยไม่มีค่าใช้จ่ายหรือราคาถูก เช่น
!9
โครงการ Green Bangkok WiFi หรือ ICT Free WiFI ล่าสุด ได้มีการนำระบบ
คลาว์ดมาใช้ในระบบราชการ เรียกว่า G-Cloud (Government Cloud Service)
โดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ทั้งนี้ การพัฒนาสมาร์ทซิตี้
นั้นขึ้นอยู่กับนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติเป็นสำคัญ
รูป G-Cloud สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
ที่มา http://www.ega.or.th/en/profile/905/
นโยบาย Smart Thailand 2020 ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสาร เป็นกรอบการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในระยะเวลา
10 ปี (พ.ศ. 2554-2563) เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเสริมประสิทธิภาพการ
ทำงานของภาครัฐทั้งระบบในการสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการ
แข่งขันของภาคธุรกิจอย่างไร้ขีดจำกัดและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้
เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมุ่งสู่สังคมอุดมปัญญา นโยบายนี้ได้ถูกออกแบบภายใต้
ยุทธศาสตร์ไอซีทีหลักของประเทศ 4 ด้านประกอบด้วย 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ทุนมนุษย์ให้เข้าถึงเข้าถึงและรู้เท่าทันไอซีทีเพื่อการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ
อย่างพอเพียงด้วยแนวคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม มีส่วนร่วมในการพัฒนา และ
ใช้ประโยชน์จากบริการไอซีที (Participatory People) 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่พอเพียง
(Sufficient) และคุ้มค่า (Optimal Infrastructure) 3. ยุทธศาสตร์การยกระดับ
บริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่นใน
แนวทางนวัตกรรมบริการ และมีความมั่นคงปลอดภัยทั้งในระดับประเทศและ
ภูมิภาคสากล (Smart Government) 4. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ
และอุตสาหกรรมไอซีทีให้เติบโตสดใส มีขีดความสามารถและศักยภาพในการ
แข่งขันในตลาดระดับภูมิภาคและระดับสากลโดยเฉพาะอุตสาหกรรมไอซีทีเชิง
!10
สร้างสรรค์ และการใช้ไอซีทีในธุรกิจและอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
(Vibrant Business)
การดำเนินการสมาร์ทซิตี้นั้นจำเป็นต้องมีเป้าหมายหรือตัวชี้วัดที่ชัดเจนในการ
วัดผลที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป้าหมายหลักในนโยบาย Smart Thailand 2020 มีดังนี้
1. มีโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีความเร็วสูง (Broadband) กระจายอย่างทั่วถึง และ
ประชาชนสามารถเข้าถึงโครงข่ายโทรคมนาคม และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้
อย่างเท่าเทียมกัน 2. มีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพในปริมาณที่เพียงพอต่อการขับ
เคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ 3. เพิ่มบทบาท และ
ความสำคัญของอุตสาหกรรมไอซีทีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้มี
สัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมไอซีทีต่อจีดีพีไม่น้อยกว่าร้อยละ18 4. ยกระดับ
ความพร้อมด้านไอซีทีของประเทศไทย โดยมุ่งหวังให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่มี
การพัฒนาสูงที่สุดร้อยละ 25 (Top quartile) ของ Networked Readiness Index
เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มด้อย
โอกาสทางสังคม โดยสร้างการจ้างงานแบบใหม่ที่เป็นการทำงานผ่านสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ 5. สร้างความตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทของไอซีทีต่อการ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในทุกส่วน
จากที่ได้กล่าวไว้ในบทก่อนหน้านี้ สมาร์ทซิตี้ในจังหวัดนครนายกได้กำหนดตัวชี้
วัด 4 องค์ประกอบที่สอดคล้องกับนโยบาย Smart City 2020 ได้แก่ 5. ดัชนีชี้วัด
ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือ จีดีพี ของจังหวัดต้องเพิ่มขึ้น และ การลงทุน
ต้องเพิ่มขึ้น 6. รายได้ประชากรต่อคนต่อปีต้องเพิ่มขึ้น 7. การกระจายรายได้ของ
คนต้องลงไปสู่ฐานล่างตั้งแต่เกษตรกร 8. ดัชนีชี้วัดความผาสุกมวลรวมต้องเพิ่ม
ขึ้น ขณะที่ค่าบริหารจัดการภาครัฐต้องลดลง
นอกจากนี้ ในการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวเพื่อให้ผลลัพธ์เป็นไปตามเป้า
หมายที่กำหนดไว้ จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญในการพัฒนาไอซีทีของ
ประเทศเพื่อมุ่งสู่สังคมอุดมปัญญาหรือสมาร์ทซิตี้ดังต่อไปนี้ 1. การพัฒนาโครง
ข่ายสื่อสารอัจฉริยะ (Smart Communication Network: SCN) โดยการบูรณา
การโครงข่ายอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G 4G และ XG เข้าด้วยกัน 2.
การใช้ประโยชน์จาก Cloud Computing ซึ่งนำไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากร
และการประยุกต์ใช้ไอซีทีในยุคหน้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยก
ตัวอย่าง เช่น ระบบ G-Cloud สำหรับหน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นการสานต่อแผนก
รอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 3. การประยุกต์ใช้
อุปกรณ์พกพาอัจฉริยะ (Smart Mobile Device: SMD) ในแนวทางที่จะเกิด
ประโยชน์ในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชน โดยเน้นการนำ
เสนอสารสนเทศในรูปแบบที่เหมาะสมและพอเพียงเป็นหลัก เช่น ข้อความ ภาพ
และ เสียง เพื่อให้สารสนเทศเข้าถึงอุปกรณ์ SMD ของประชาชนในทุกระดับชั้น
ซึ่งแนวทางนี้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาในยุคใหม่ในรูปแบบที่เรียกว่า
!11
(Bring Your Own Device: BYOD) 4. การพัฒนาไปสู่ชุมชนสากล (Global
Community: GC) ซึ่งเป็นการพัฒนาไอซีทีไปสู่ชุมชนที่มีการเชื่อมโยงกันโดยทั่ว
ถึง โดยประชาชนในทุกชุมชนสามารถเข้าถึงโลกดิจิทัล เพื่อใช้ประโยชน์ในการ
ดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้โดยถ้วนหน้า 5. การพัฒนาระบบงานประยุกต์ใน
รูปแบบสากล (Global Application: GA) ซึ่งประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้
ทุกหนทุกแห่งและตลอดเวลาแบบ 24x7 โดยประกอบด้วยระบบกลางหลักที่
สำคัญ ได้แก่ สารสนเทศกลางที่บูรณาการกัน (Information) ที่พัฒนาไปสู่ระบบ
องค์ความรู้กลางที่มีคุณค่า (Knowledge) พร้อมด้วยระบบศูนย์กลางในการเรียน
รู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ในการค้าขายผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(e-Commerce) ในการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) และระบบทะเบียน
อิเล็กทรอนิกส์ (e-ID) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการให้บริการและการทำ
ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
รูป แผนกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ที่มา http://
www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=2248
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของ
ประเทศไทยเริ่มมีความชัดเจนในเรื่องสมาร์ทซิตี้มากขึ้น เช่น แนวทางการพัฒนา
!12
พาณิชย์ดิจิทัล (Digital Commerce) ที่แตกแขนงไปสู่ Mobile Commerce และ
Social Commerce ที่มีการค้าขายบนระบบดิจิทัล หรือ แนวทางการพัฒนา
Digital Transformation ที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิด
มูลค่าทางธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนี้ยังรวมถึง
Digital Consumption ที่เป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นช่องทางการซื้อ
ขายแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการที่มีอยู่เดิม ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นต้องสอดคล้องกับ
นโยบาย ยุทธศาสตร์ และ เป้าหมายที่เกี่ยวกับการพัฒนาด้านไอซีทีเดิมที่ได้
กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ และ ต้องมีความพร้อมสำหรับการรองรับเทคโนโลยีที่จะเกิด
ใหม่และเพื่อก้าวให้ทันกับยุคไอที ในการให้บริการ และ ถ่ายทอดความรู้สู่ภาค
ประชาชนอย่างทั่วถึง
เอกสารอ้างอิง http://www.uih.co.th/knowledge/view/681 http://
www.itnews24hrs.com/2014/03/smart-thailand-2020/ http://
www.mict.go.th/assets/portals/1/files/download/3การพัฒนาด้าน ICTเพื่อ
ก้าวสู่ SmartThailand.pdf http://www.most.go.th/main/index.php/product/
sciencetalk/4054-digital-economy-.html
!13

More Related Content

Similar to smart อปท

การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กร
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กรการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กร
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กรSoftware Park Thailand
 
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กรบทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กรSanyawadee
 
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กรบทที่5 ระบบข้อมูลข่าสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กรSanyawadee
 
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กรบทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กรSanyawadee
 
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคมการรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคมjeabjeabloei
 
Future of living (1)
Future of living (1)Future of living (1)
Future of living (1)Pattie Pattie
 
ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์premmanu
 
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กรบทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กรSanyawadee
 
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย Thanachart Numnonda
 
เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวันเทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวันChaiwit Khempanya
 
3การพัฒนาด้าน ictเพื่อก้าวสู่ smart thailand
3การพัฒนาด้าน ictเพื่อก้าวสู่ smart thailand3การพัฒนาด้าน ictเพื่อก้าวสู่ smart thailand
3การพัฒนาด้าน ictเพื่อก้าวสู่ smart thailandSupawadee Bunnual
 
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศบทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศKriangx Ch
 
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณBig Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณSettapong Malisuwan
 
ความปลอดภัยในการใช้สังคมออนไลน์
ความปลอดภัยในการใช้สังคมออนไลน์ความปลอดภัยในการใช้สังคมออนไลน์
ความปลอดภัยในการใช้สังคมออนไลน์0869493821
 
ความปลอดภัยในการใช้สังคมออนไลน์
ความปลอดภัยในการใช้สังคมออนไลน์ความปลอดภัยในการใช้สังคมออนไลน์
ความปลอดภัยในการใช้สังคมออนไลน์0869493821
 
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารปิยะดนัย วิเคียน
 

Similar to smart อปท (20)

การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กร
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กรการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กร
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กร
 
e-Government Thailand
e-Government Thailande-Government Thailand
e-Government Thailand
 
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กรบทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
 
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กรบทที่5 ระบบข้อมูลข่าสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
 
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กรบทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
 
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคมการรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
 
Future of living (1)
Future of living (1)Future of living (1)
Future of living (1)
 
ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
 
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กรบทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
 
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
 
เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวันเทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน
 
Ku 54
Ku 54Ku 54
Ku 54
 
3การพัฒนาด้าน ictเพื่อก้าวสู่ smart thailand
3การพัฒนาด้าน ictเพื่อก้าวสู่ smart thailand3การพัฒนาด้าน ictเพื่อก้าวสู่ smart thailand
3การพัฒนาด้าน ictเพื่อก้าวสู่ smart thailand
 
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศบทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณBig Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
 
ความปลอดภัยในการใช้สังคมออนไลน์
ความปลอดภัยในการใช้สังคมออนไลน์ความปลอดภัยในการใช้สังคมออนไลน์
ความปลอดภัยในการใช้สังคมออนไลน์
 
ความปลอดภัยในการใช้สังคมออนไลน์
ความปลอดภัยในการใช้สังคมออนไลน์ความปลอดภัยในการใช้สังคมออนไลน์
ความปลอดภัยในการใช้สังคมออนไลน์
 
Roiet
RoietRoiet
Roiet
 
Roiet
RoietRoiet
Roiet
 
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 

More from Wuttipong Pongsuwan

อนาคตของสื่อใหม่ กับ อนาคต ของประเทศ (อ,วุฒิพงศ์)
อนาคตของสื่อใหม่ กับ อนาคต ของประเทศ (อ,วุฒิพงศ์)อนาคตของสื่อใหม่ กับ อนาคต ของประเทศ (อ,วุฒิพงศ์)
อนาคตของสื่อใหม่ กับ อนาคต ของประเทศ (อ,วุฒิพงศ์)Wuttipong Pongsuwan
 
อนาคตของสื่อใหม่ กับ อนาคต ของประเทศไทย
อนาคตของสื่อใหม่ กับ อนาคต ของประเทศไทยอนาคตของสื่อใหม่ กับ อนาคต ของประเทศไทย
อนาคตของสื่อใหม่ กับ อนาคต ของประเทศไทยWuttipong Pongsuwan
 
The Smart Transportation for Smart labor (1)
The Smart Transportation for Smart labor (1)The Smart Transportation for Smart labor (1)
The Smart Transportation for Smart labor (1)Wuttipong Pongsuwan
 
Paper for John Walsh Jul 23_2016-SamardEnglishV2
Paper for John Walsh Jul 23_2016-SamardEnglishV2Paper for John Walsh Jul 23_2016-SamardEnglishV2
Paper for John Walsh Jul 23_2016-SamardEnglishV2Wuttipong Pongsuwan
 
Journal_Internal conference John Walsh
Journal_Internal conference John WalshJournal_Internal conference John Walsh
Journal_Internal conference John WalshWuttipong Pongsuwan
 
Journal_Internal conference_Achara
Journal_Internal conference_AcharaJournal_Internal conference_Achara
Journal_Internal conference_AcharaWuttipong Pongsuwan
 

More from Wuttipong Pongsuwan (8)

90Sep_Pongsuwan
90Sep_Pongsuwan90Sep_Pongsuwan
90Sep_Pongsuwan
 
ThorICBASS
ThorICBASSThorICBASS
ThorICBASS
 
อนาคตของสื่อใหม่ กับ อนาคต ของประเทศ (อ,วุฒิพงศ์)
อนาคตของสื่อใหม่ กับ อนาคต ของประเทศ (อ,วุฒิพงศ์)อนาคตของสื่อใหม่ กับ อนาคต ของประเทศ (อ,วุฒิพงศ์)
อนาคตของสื่อใหม่ กับ อนาคต ของประเทศ (อ,วุฒิพงศ์)
 
อนาคตของสื่อใหม่ กับ อนาคต ของประเทศไทย
อนาคตของสื่อใหม่ กับ อนาคต ของประเทศไทยอนาคตของสื่อใหม่ กับ อนาคต ของประเทศไทย
อนาคตของสื่อใหม่ กับ อนาคต ของประเทศไทย
 
The Smart Transportation for Smart labor (1)
The Smart Transportation for Smart labor (1)The Smart Transportation for Smart labor (1)
The Smart Transportation for Smart labor (1)
 
Paper for John Walsh Jul 23_2016-SamardEnglishV2
Paper for John Walsh Jul 23_2016-SamardEnglishV2Paper for John Walsh Jul 23_2016-SamardEnglishV2
Paper for John Walsh Jul 23_2016-SamardEnglishV2
 
Journal_Internal conference John Walsh
Journal_Internal conference John WalshJournal_Internal conference John Walsh
Journal_Internal conference John Walsh
 
Journal_Internal conference_Achara
Journal_Internal conference_AcharaJournal_Internal conference_Achara
Journal_Internal conference_Achara
 

smart อปท

  • 1. ยุทธศาสตร์ 20 ปี องค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่นแบบสมาร์ท นาวาตรี ดร.วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ จากนโยบายแห่งชาติในการปฎิรูปประเทศไทยที่ต้องางแผนในระยะยาวยี่สิบปี ซึ่งมีความ แตกต่างกับเดิมที่เคยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประมาณ 5 ปี ที่เป็นแผนที่นำทาง หรือ Road map ของการพัฒนาประเทศมาโดยตลอด บางฉบับก็ได้ผลเต็มที่ บางฉบับมีแต่แผน โครงการ แต่ไม่ได้ทำให้สำเร็จตามเป้าหมาย การที่จะทำให้สำเร็จนั้น อาจต้องมองเป็นหลายระยะ และ หลายระดับ เริ่มจากวิสัยทัศน์ ไป จนถึงการปฏิบัติ และ ลงไปถึงประชาชนที่มีส่วนได้เสีย !1
  • 2. โดยทั่วไป วิสัยทัศน์ในการพัฒนานาน จะใช้กำหนดสภาพโดยคร่าวๆ เป็นองค์รวม ก็คง ไม่พ้นภาพที่เสนอนั่นเอง ขอเริ่มจากข้อแรก คือ E-Governance and Citizen Service คือ การพัฒนาการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ งานที่ใช้อำนาจในการวินิจฉัย สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และ มีการตรวจสอบถ่วงดุลย์ ซึ่ง อปท. สามารถทำได้ดังต่อไปนี้ ระบบข้อมูลข่าวสารของทางราชการที่ให้บริการต่อประชาชน ด้วยความสะดวก รวดเร็ว ดั่งใจ ตามที่ประชาชนร้องขอ นอกจากนั้น การบริการที่เปลี่ยนเป็นการใช้อิเล็กทรอนิกส์ แทนการใช้คน หรือ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) เพื่อความรวดเร็ว โปร่งใส นอกจาก นั้น ประชาชนสามารถจอง หรือ ขอ การบริการอื่นๆ ที่ถูกเตรียมไว้ให้ โดย อปท. เช่น การไล่ยุง เก็บขยะ ลอกท่อ และ อื่นๆ ที่รัฐมีแต่ไม่มากพอที่จะให้ทุกคนพร้อมๆ กันได้ ระบบ CCTV หรือ Closed Circuit TV สามารถเป็น หู ตา ให้เจ้าหน้าที่แก้ปัญหา อาชญากรรม และ การจราจร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ เมือง มี Laws & Orderss ได้ ตาม แนวคิด สามัคคี สงบ มั่งคั่ง และยั่งยืน สามารถออกนอกบ้านได้ 24 ชม. โดยมีกล้องคอยติดตาม ตลอด ข้อที่สอง คือ การบริหารจัดการของเสีย Waste Management ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญมากๆ ของ อปท. การจัดการนำ้เสีย และ การจัดการน้ำดี ให้สามารถทำ recycle หรือ กักน้ำดีให้มีใช้ ยามขาดแคลน โดยยึดหลักน้ำเป็นทรัพยากร ไม่ใช่ สิ่งที่ได้มาฟรีๆ การบริหาร พลังงาน ที่พัฒนาจากของเสีย หรือ ขยะในระบบเมือง ก็เป็นอืกเรื่องที่สำคัญ การมององค์รวมเรื่องของขยะ เป็นพลังงาน ทำให้ อปท. สามารถประสานงานระหว่างกัน ในการ พัฒนาระบบพลังงาน และ บริหารของเหลือใช้ หรือ ขยะ มาแปรสภาพไปกลับได้ ในวันนี้ เทคโนโลยี แปรรูป ขยะเป็นพลังงาน มีมากขึ้นและถูกลง บางประเทศต้องนำเข้าขยะในการ พัฒนาเป็นพลังงานไฟฟ้าอีกด้วย การแปรรูป และ การลดปริมาณขยะ เป็นสิ่งที่ต้องทำคู่กัน ข้อที่ สาม การบริหารจัดการนำ้ ให้มี Smart Meter คนสามารถติดตามและบริหารการใช้ น้ำของตน การมีระบบตรวจสอบการรั่วไหลของระบบประปา การซ่อมบำรุง และ การบำรุงรักษา ระบบน้ำสะอาด เป็นเรื่องที่จะเป็นของ Smart City ทุกๆ เมือง !2
  • 3. ข้อที่ 4 คือ การบริหารจัดการพลังงาน ให้มีอย่างพอเพียง มีเสถียรภาพ ในวันนี้ เราคงมี ประสพการณ์ในการไฟฟ้าดับ หรือ งดจ่ายไฟ เมื่อไม่มีไฟฟ้า ประชาชนจำนวนมากเริ่มที่จะไม่ทน และ บ่น หรือ ร้องเรียนมากมาย ดังนั้น จะมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น คือ Smart Meter มิเตอร์อัจฉริยะ ที่ ทำให้การบริหารจัดการไฟฟ้า และ โหลดของไฟฟ้า ทำได้พร้อมๆ กันทุกบ้าน การนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ เช่น การนำพลังงานส่วนเกินมาสะสมเป็นศักยะของ พลังงานใหม่ เช่น ระบบบเขื่อนสูบกลับ หรือ นำพลังงานจากน้ำมันพืชใช้แล้ว มาใช้ในเครื่องกล การนำขยะ มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเป็นต้น การมีโครงการอาคารประหยัดพลังงาน หรือ Green Building เป็นการที่อาคารต่างๆ มี ระบบพลังงานของตนเองจากแสงแดด หรือ จากการออกแบบที่ประหยัดไฟแสงสว่าง และ อุณหภูมิ จะเป็นโครงการที่เกิดใหม่อย่างมากมายในปีต่อๆ ไป ข้อ 5 Urban Mobility การจัดการขนส่ง และ การเดินทาง ตลอดจนการจราจรในสมาร์ท ซิตี้ โดยการใช้เครือข่าย GPS และ ระบบติดตามรถ ทำให้รถทุกคันในเมืองมีการรายงานผลไป ยังศูนย์ควบคุม และ ทำให้การจราจร คล่องตัว การขนส่ง และ การเดินทางที่ฉลาด ทำให้ทุกคน ไปถึงที่หมายในเวลาที่เหมาะสม และ ประหยัดเวลา นอกจากนั้นการใช้ Mode บูรณาการ หรือ Integrated ทำให้การเดินทางที่ต้องต่อรถหลายคัน หรือ เรือ ต่อรถ และ รถไฟ จะมีการรวมตั๋ว และ มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ไม่แพงเกินไป ผู้ที่อยู่นอกเมืองสามารถมีระบบขนส่งสาธารณะ ที่มีราคาประหยัดเดินทางมาทำงานในเมืองได้ นอกจากที่กล่าวมา ในเมืองที่ห่างไกลแพทย์ ก็จะมีการใช้ระบบ Tele-Medicine เข้ามาช่วย เหลือ ศูนย์บ่มเพาะ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน ในการพัฒนาแรงงานใหม่ๆ หรือ ผู้ที่ตกงาน เข้ามาพัฒนาทักษะ และ เป็นแรงงานที่มีฝีมือต่อไป !3
  • 4. ความจำเป็นของ Smart City 1 ความจำเป็นของสมาร์ทซิตี้ในการแก้ปัญหาเมืองใหญ่ เมืองขนาดกลางและเล็ก เมืองทุกเมืองล้วนมีปัญหา และ อุปสรรค ตลอดจนแนวทางการแก้ไขที่แตกต่างกัน ปัญหาที่แตกต่างย่อมมีแนวทางแก้ที่ต่างกันเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ปัญหาของ กรุงเทพมหานคร กับ เมืองพัทยา อาจจะมีบางอย่างเหมือน และก็ต่างกัน ทั้งใน เรื่องของขนาด ปริมาณประชากร และ ทรัพยากร ที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นสมาร์ทซิตี้ จึง อาจจะตอบสนองต่างกัน อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนี้ มีแนวทางมาตรฐานที่กำหนดโดย องค์การสหประชาชาติ สหภาพยุโรป และ IEEE ที่ว่าด้วยเรื่องของ สมาร์ทซิตี้ โดยเฉพาะ ซึ่งมีแนวทางแก้ปัญหาดังต่อไปนี้ ความแออัดทั้งที่อยู่อาศัยและการจราจรที่ติดขัด การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green) สังคมผู้สูงอายุ ความเหลื่อมล้ำของคน ทั้งในเมืองและชนบท ความรู้ การสื่อสาร โทรคมนาคมดิจิตัลที่ไม่เพียงพอ !4
  • 5. ซึ่งปัญหาเหล่านี้ สามารถแก้ไขได้โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร หรือ ICT มาใช้ในการแก้ปัญหา ทั้งที่แก้โดยตรง หรือ ใช้การประยุกต์ ผ่านโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ หรือโดยการที่ติดตั้ง Internet of Things ลงไปใน อุปกรณ์ต่างๆ ให้มีความสมาร์ท สามารถสื่อสาร ให้ข้อมูลผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์ หรือ Cloud ได้ ทำให้สังคมลดปัญหาที่ไม่เคยแก้ไขได้ในเมือง สร้าง โอกาส ในการทำงาน สร้างนวัตกรรมโดยการใช้ความรู้ ดูแลและสร้างโอกาสให้ ผู้สูงอายุ และ เยาวชน ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ทั้งยัง ดำรงศิลปวัฒนธรรม และ สังคมในเมืองให้ดำรงอยู่ต่อไปแบบมีอารยะ 2 ความจำเป็นและการตอบสนองโจทย์ของสังคมในยุคสารสนเทศ โลกาภิวัฒน์ สังคมดิจิทัลและสังคมผู้สูงวัย และผุ้พิการ จากสิ่งที่เป็นปัญหาในข้อ 1 จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สามารถนำมาใช้สนองตอบต่อปัญหาดังกล่าวได้แล้ว โดยการสร้างนวัตกรรม ต่างๆ และ นำมาใช้ในเมือง เช่น ระบบสื่อสารสำหรับติดตาม หรือ Track การ จราจร รถประจำทาง ที่เราไม่ต้องไปยืนคอยนานๆ ให้ร้อน หรือ หนาว หรือ เปียก อีกต่อไป โดยการติดตั้ง Tracking Buses จะรู้ว่าอีกกี่นาที รถเมล์จะมา การสร้าง สมาร์ทโฮม สมาร์ทบิวดิ้ง หรือ สมาร์ทคลาสรูม เพื่อเปลี่ยนประสบการณ์ของการ ใช้ชีวิต ในสังคมเดิมๆ เป็นสังคมแบบดิจิทัล เราสามารถสั่งอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ในบ้าน ได้จากที่ทำงาน หรือ จากที่บ้านสั่งไปที่ทำงาน ดังนั้น พฤติกรรม และ การเรียนรู้ จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง สังคมยุคใหม่ เป็นสังคมที่ ไม่รอใคร ทุกอย่างถูกตัดสินใจอย่างรวดเร็วแบบเรียลไทม์และออนไลน์ ความเร็ว ในการทำงานที่มีข้อมูลและระบบข้อมูลสนับสนุนที่พร้อมในการตัดสินใจ เนื่องจากความก้าวหน้าในทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้ในอีกไม่กี่ปีข้าง หน้า ผู้ที่มีอายุวัยเกษียณจะมีประมาณ 1/4 ของประชากรที่ทำงาน ทุกบ้าน ครัว เรือน จะมีผู้สูงอายุอยู่ในบ้านและบ่อยครั้ง ต้องอยู่ตามลำพัง ผู้สูงวัยจำนวนมาก ต้องการเทคโนโลยีที่ไม่ยากในการใช้ เพื่อหาเพื่อน เพื่อช่วยเหลือเวลาประสบเหตุ หรือ แม้แต่การช่วยชีวิต ดังนั้น ระบบในสมาร์ทซิตี้ จะต้องสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้สูงวัย สามารถใช้งานได้ง่าย และ ตรงต่อความต้องการอีกด้วยซึ่งการออกแบบระบบ หรือ สถาปัตยกรรมไอซีทีที่จะเกิดขึ้น ต้องออกแบบเป็นอารยะ ไม่ใช่แค่เพื่อคน ทั่วไปแต่ต้องเพื่อคนสูงวัยและคนพิการอีกด้วย 3 การตอบสนองต่อความต้องการหลากหลายของสังคมเมืองและสังคมชนบท สังคมเมือง และ สังคมชนบท มีมิติของความหลากหลายทางขนาดพื้นที่ และ ความเจริญ ในทางทรัพยากร เมือง ดึงดูดทรัพยากรจากนอกเมืองเข้ามาหล่อเลี้ยง เช่น น้ำ อาหาร และ อากาศที่บริสุทธิ์ แต่เมืองเก็บความเจริญ และ ความรู้ไว้ ทำให้การกระจายรายได้ไม่ได้ลงมาสู่ชนบท เกิดการอพยพประชากร จากชนบท !5
  • 6. เข้ามาสู่เมืองมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดปัญหาของเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน การก ระจาย รายได้ ความเจริญ และ ความรู้สู่ชนบท จะช่วยลดปัญหาของความหนา แน่นในเมือง ดังนั้นการสร้างสมาร์ทซิตี้พร้อมๆ กันไปทั้งเมือง และ ชนบท บริวาร ที่มีความแตกต่างกัน ควรต้องออกแบบให้สอดประสานกัน เช่น การจราจร หรือ การระบายน้ำ ที่แน่นอน ต้องต่อเชื่อมกันทั้งหมดไม่เป็นคอขวดที่ใดที่หนึ่ง เพราะ ฉะนั้น ต้องพิจารณาแบบเป็นองค์รวม หรือ บูรณาการเข้าด้วยกัน 4 ความจำเป็นอย่างเร่งด่วนของการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็น สิ่งจำเป็น เช่นการสร้างถนนคนเดินในฝรั่งเศส เพื่อลดปัญหาจราจรในเมือง ก็ต้อง เผชิญหน้ากับการต่อต้านของประชาชนที่ขับรถยนต์ การสร้างถนนจักรยานในอัม สเตอดัม ก็ต้องออกกฏหมายหลายฉบับเพื่อให้คนขับขี่จักรยานได้อย่างปลอดภัย การสร้างสมาร์ทกริด ให้พลังงานเดินอย่างต่อเนื่องก็ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ และ ความร่วมมือจากประชาชน จากทุกภาคส่วน และ จากองค์กรภาคประชาชน หรือ NGOs ต่างๆ ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาในการทำงาน โครงการทุกโครงการ ของสมาร์ทซิตี้ ต้องการการมีส่วนร่วมทุกมิติ ทั้งรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น ประชาชน และ องค์กรภาคประชาชน ที่มาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดและ ประสบการณ์ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน และเพื่อให้มีการต่อต้านน้อยที่สุด 5 การเริ่มต้นโครงการ สมาร์ทไทยแลนด์ ประเทศไทยมีโครงการ "Smart Thailand" โดยเริ่มจากรอบตัวเรา และรอบบ้าน โดยภาครัฐผลักดันการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคนเมือง เพื่อการ พัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีของประเทศ การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับระบบงานราชการ เพื่อเพิ่มความสะดวกใน การจัดเก็บเอกสาร และการติดต่องานระหว่างหน่วยงานภาครัฐและประชาชน และ ที่สำคัญ คือ การเปิดโอกาสให้ประชากรมีการเข้าถึงเทคโนโลยี โดยโครงการที่ เห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน คือ โครงการฟรีอินเทอร์เน็ตไร้สาย Wi-Fi ซึ่งใน ปัจจุบันมีการขยายการให้บริการไปยังสถานที่ราชการ และแหล่งท่องเที่ยว มากมาย โครงการดังกล่าวมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากโครงการ Green Bangkok Wi-Fi ที่เปิดให้บริการฟรีในเขตกรุงเทพมหานคร จนถึง โครงการ ICT Free Wi-Fi ที่สามารถใช้งานได้ตามบริเวณสำคัญทั่วประเทศ ซึ่ง ในปัจจุบันได้มีการติดตั้งรวมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนกว่า 2.9 แสนจุด และมี แผนติดตั้งเพิ่มอีกกว่า 3.1 แสนจุดในปี 2557 ซึ่งแผนงานอยู่ภายใต้การดูแลทั้ง ทางกระทรวงฯ ไอซีที และกสทช. จากรอบบ้าน สู่ รอบเมือง อีกแผนหนึ่งที่มีความต่อเนื่องนานกว่า 10 ปีที่เริ่มเห็นรูป ธรรมมากขึ้น คือการนำระบบ Cloud เข้าใช้กับหน่วยงานราชการที่เรียกว่า G- Cloud (Government Cloud Service) ที่ได้สำนักงานรัฐบาล !6
  • 7. อิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน) เป็นเจ้าภาพในการสานต่อตามแผนกรอบ นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ที่ได้มีการพัฒนาต่อเนื่อง กว่า 3 ปี ในขณะเดียวกันกระทรวงไอซีทียังได้มีการวางกรอบนโยบาย Smart Thailand 2020 ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) ในระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ.2554-2563) นโยบายดังกล่าว ให้ความสำคัญกับ การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ บนพื้นฐานความรู้ (Knowledge-based) โดย มุ่งหวังให้ ICT เป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และสร้าง โอกาสให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน โดยมีเป้าหมายหลัก คือ • มีโครงสร้างพื้นฐาน ICT ความเร็วสูง (Broadband) กระจายอย่างทั่วถึง และ ประชาชนสามารถเข้าถึงโครงข่ายโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ อย่างเท่าเทียมกัน • มีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพในปริมาณที่เพียงพอต่อการขับเคลื่อน การพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ • เพิ่มบทบาท และความสำคัญ ของอุตสาหกรรม ICT ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้มีสัดส่วนมูลค่าเพิ่ม ของอุตสาหกรรม ICT ต่อ GDP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 18 • ยกระดับความพร้อมด้าน ICT ของประเทศไทย โดยมุ่งหวังให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่มีการพัฒนาสูงที่สุด ร้อยละ 25 (Top quartile) ของ Networked Readiness Index • เพิ่มโอกาสใน การสร้างรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มด้อยโอกาสทางสังคม โดยสร้างการจ้างงาฯแบบใหม่ที่เป็นการทำงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ • สร้าง ความตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทของ ICT ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในทุกส่วนภาคของสังคม รูปที่ สมาร์ทไทยแลนด์ แหล่งที่มาของภาพ : e-Government Agency’s website สู่การพัฒนาแห่งเมืองอัจฉริยะ "Smart City" การพัฒนาด้านไอซีที จะสมบูรณ์ได้ ต้องมีการกระจายออกจากตัวเมือง สู่พื้นที่ต่างจังหวัด โดยมี "จังหวัดต้นแบบ" เป็น ตัวนำร่อง ดังที่เห็นจากความสำเร็จ เริ่มต้นจาก Silicon Valley ในอเมริกา จน กระทั่งปัจจุบัน หลายประเทศมีการนำคอนเซ็ปท์ เมืองอัจฉริยะไปปรับใช้ เช่น !7
  • 8. Cyberjaya ในมาเลเซีย ดังนั้น ในประเทศไทย จึงมีการใช้พื้นที่ จังหวัด นครนายก เพื่อเป็นต้นแบบ และยังมีแผนการขยายไปอีก 10 จังหวัด เริ่มตั้งแต่ปี 2557-2562 โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้าร่วมบริหารจัดการ จังหวัด ทั้งนี้ การขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว มีการยึดหลักการทำสมาร์ทซิตี้ให้ ประสบความสำเร็จ 5 ประการสำคัญ ได้แก่ • ให้ประชาชนสามารถเชื่อมข้อมูลข่าวสารระหว่างกันได้ทั่วประเทศ • ข้อมูลภาค รัฐจะต้องบูรณาการเพื่อใช้งานร่วมกันได้ทั้งหมด • บริการภาครัฐจะต้องกระจาย ตัวลงไปให้ใกล้ประชาชนมากที่สุด • สนับสนุนด้านการศึกษาให้ผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ • ระบบเศรษฐกิจสหกรณ์ ใช้งานด้านอิเล็กทรอนิกส์สนับสนุนผู้ ผลิตสินค้าโอท็อปให้มีรายได้สูงขึ้น การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องสมาร์ทซิตี้ ปัจจุบันนี้ ผู้บริหารองค์กรในทุกระดับมีความเข้าใจผิดในเรื่องของสมาร์ทซิตี้ ว่า เป็นโครงการทาง ICT เท่านั้น แค่สร้างความทันสมัย ความเร็วของอินเทอร์เน็ต หรือมีเว็บให้บริการ มีข้อมูลข่าวสารเท่านั้นก็จบแล้ว เป็นสมาร์ทซิตี้แล้วนั้น อาจจะ ต้องให้การศึกษากับผู้บริหารองค์กรต่างๆ ใหม่ โดยที่ต้องสร้างความเข้าใจ สาธารณะว่า สมาร์ทซิตี้ คือ อะไร และต้องมีความเข้าใจว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะ มีความหนาแน่นของประชากรในเมืองจำนวนมาก ทำให้ต้องแก้ปัญหาโดยการใช้ สมาร์ทซิตี้ โดยสร้างความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้ A smart economy เศรษฐกิจแบบสมาร์ท e-Commerce Logistics Smart energy พลังงานสมาร์ท ระบบสมาร์ทกริด Smart mobility การเคลื่อนที่แบบสมาร์ท เช่นการเดินทาง การจราจร A smart environment สิ่งแวดล้อมที่สมาร์ท เช่นระบบดูแลน้ํา อากาศ และ ขยะ Smart living ความเป็นอยู่แบบสมาร์ท เช่น สมาร์ทโฮม สมาร์ท Irrigation Smart governance ธรรมาภิบาลที่สมาร์ท เช่น Smart Government หรือ e-Government !8
  • 9. การสร้างความเข้าใจในทุกระดับ เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่สำหรับประเทศไทย คงต้อง เริ่มจากรัฐบาล ที่ต้องเข้าใจแนวคิดของสมาร์ทซิตี้ ที่เป็นกติกาสากลของ สหประชาชาติที่ประกาศไว้ใน Declaration on cities and other human settlements in the new millennium โลกจะมีที่พักอาศัยที่เพียงพอสำหรับมนุษย์ทุกคน และ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่ ยั่งยืน มนุษย์มีความกังวลในเรื่องที่พักอาศัยที่เพียงพอสำหรับการตั้งถิ่นฐานของ มนุษย์และการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและมีอยู่ร่วมกับธรรมชาติ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการมีชีวิตที่ยั่งยืนอย่างมีคุณภาพ โดยมีความเพียงพอ ทั้งในด้านปัจจัยพื้นฐาน การดำรงชีวิต และความสะดวกสบาย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม จึงมีความจำเป็นใน การพัฒนาให้เกิดขึ้น เทคโนโลยีของสมาร์ทซิตี้จึงเป็นทางเลือกที่สำคัญและ จำเป็น นอกเหนือจากการให้ความรู้กับผู้บริหารรัฐบาลแล้ว การออกสื่อสาธารณะเป็น เรื่องที่มีความจำเป็น ทั้งนี้การที่สมาร์ทซิตี้ จะใช้งบประมาณจำนวนมากที่มาจาก ภาษีทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาล โครงการบางโครงการจะต้อง โปร่งใส และ ตรวจสอบได้ เช่น โครงการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยของ กรุงเทพมหานคร ระบบสมาร์ทบอร์ดที่ดูแลการจราจรอัตโนมัติ ระบบดูแลผู้สูงวัย ที่เป็นระบบที่ต้องมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วน เพื่อที่จะให้งานที่เป็นส่วนๆ มีการ ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน ผู้บริหารท้องถิ่น จะต้องเข้าใจในหลักการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน หรือ สื่อสารระหว่างหน่วยงานที่มีพื้นที่ติดต่อกัน ดังเช่น มหานครใหญ่ๆ ในโลก จะมี การจราจรที่ต่อเนื่องกัน อบจ. อบต. เทศบาล และ เมือง จะต้องมีระบบที่ต่อกัน และอาจจะต้องเรียนรู้ประสบการณ์ขององค์กรที่ทำไปแล้ว โดยจัดเป็นหลักสูตร อบรมผ่าน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย หรือ อาจจะจัด หลักสูตรไปดูงานประเทศที่พัฒนาเรื่องสมาร์ทซิตี้ไปมากแล้ว เช่น สวีเดน หรือ สเปน 6.2 การศึกษาวิเคราะห์นโยบาย เป้าหมายที่ชัดเจนวางแผนยุทธศาสตร์ที่ทำ สำเร็จได้ และแผนการปฏิบัติการของสมาร์ทซิตี้ โดยจัดทำเป็นขั้นตอน นโยบายสมาร์ทซิตี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนสมาร์ทซิตี้เนื่องจากต้องมี ความต้องการและแบบแผน รวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐชัดเจนและเป็นรูป ธรรม ภาครัฐต้องวางโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและด้านอื่น ๆ การนำ เทคโนโลยีมาใช้ในระบบงานราชการสำหรับการจัดเก็บเอกสารและการติดต่อ ระหว่างภาครัฐและประชาชน และที่สำคัญคือการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึง อินเตอร์เน็ตอย่างทั่วถึงอย่างสะดวกสบาย โดยไม่มีค่าใช้จ่ายหรือราคาถูก เช่น !9
  • 10. โครงการ Green Bangkok WiFi หรือ ICT Free WiFI ล่าสุด ได้มีการนำระบบ คลาว์ดมาใช้ในระบบราชการ เรียกว่า G-Cloud (Government Cloud Service) โดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ทั้งนี้ การพัฒนาสมาร์ทซิตี้ นั้นขึ้นอยู่กับนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติเป็นสำคัญ รูป G-Cloud สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ที่มา http://www.ega.or.th/en/profile/905/ นโยบาย Smart Thailand 2020 ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร เป็นกรอบการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ. 2554-2563) เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเสริมประสิทธิภาพการ ทำงานของภาครัฐทั้งระบบในการสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันของภาคธุรกิจอย่างไร้ขีดจำกัดและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมุ่งสู่สังคมอุดมปัญญา นโยบายนี้ได้ถูกออกแบบภายใต้ ยุทธศาสตร์ไอซีทีหลักของประเทศ 4 ด้านประกอบด้วย 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนา ทุนมนุษย์ให้เข้าถึงเข้าถึงและรู้เท่าทันไอซีทีเพื่อการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ อย่างพอเพียงด้วยแนวคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม มีส่วนร่วมในการพัฒนา และ ใช้ประโยชน์จากบริการไอซีที (Participatory People) 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่พอเพียง (Sufficient) และคุ้มค่า (Optimal Infrastructure) 3. ยุทธศาสตร์การยกระดับ บริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่นใน แนวทางนวัตกรรมบริการ และมีความมั่นคงปลอดภัยทั้งในระดับประเทศและ ภูมิภาคสากล (Smart Government) 4. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ และอุตสาหกรรมไอซีทีให้เติบโตสดใส มีขีดความสามารถและศักยภาพในการ แข่งขันในตลาดระดับภูมิภาคและระดับสากลโดยเฉพาะอุตสาหกรรมไอซีทีเชิง !10
  • 11. สร้างสรรค์ และการใช้ไอซีทีในธุรกิจและอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (Vibrant Business) การดำเนินการสมาร์ทซิตี้นั้นจำเป็นต้องมีเป้าหมายหรือตัวชี้วัดที่ชัดเจนในการ วัดผลที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป้าหมายหลักในนโยบาย Smart Thailand 2020 มีดังนี้ 1. มีโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีความเร็วสูง (Broadband) กระจายอย่างทั่วถึง และ ประชาชนสามารถเข้าถึงโครงข่ายโทรคมนาคม และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ อย่างเท่าเทียมกัน 2. มีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพในปริมาณที่เพียงพอต่อการขับ เคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ 3. เพิ่มบทบาท และ ความสำคัญของอุตสาหกรรมไอซีทีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้มี สัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมไอซีทีต่อจีดีพีไม่น้อยกว่าร้อยละ18 4. ยกระดับ ความพร้อมด้านไอซีทีของประเทศไทย โดยมุ่งหวังให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่มี การพัฒนาสูงที่สุดร้อยละ 25 (Top quartile) ของ Networked Readiness Index เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มด้อย โอกาสทางสังคม โดยสร้างการจ้างงานแบบใหม่ที่เป็นการทำงานผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ 5. สร้างความตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทของไอซีทีต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในทุกส่วน จากที่ได้กล่าวไว้ในบทก่อนหน้านี้ สมาร์ทซิตี้ในจังหวัดนครนายกได้กำหนดตัวชี้ วัด 4 องค์ประกอบที่สอดคล้องกับนโยบาย Smart City 2020 ได้แก่ 5. ดัชนีชี้วัด ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือ จีดีพี ของจังหวัดต้องเพิ่มขึ้น และ การลงทุน ต้องเพิ่มขึ้น 6. รายได้ประชากรต่อคนต่อปีต้องเพิ่มขึ้น 7. การกระจายรายได้ของ คนต้องลงไปสู่ฐานล่างตั้งแต่เกษตรกร 8. ดัชนีชี้วัดความผาสุกมวลรวมต้องเพิ่ม ขึ้น ขณะที่ค่าบริหารจัดการภาครัฐต้องลดลง นอกจากนี้ ในการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวเพื่อให้ผลลัพธ์เป็นไปตามเป้า หมายที่กำหนดไว้ จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญในการพัฒนาไอซีทีของ ประเทศเพื่อมุ่งสู่สังคมอุดมปัญญาหรือสมาร์ทซิตี้ดังต่อไปนี้ 1. การพัฒนาโครง ข่ายสื่อสารอัจฉริยะ (Smart Communication Network: SCN) โดยการบูรณา การโครงข่ายอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G 4G และ XG เข้าด้วยกัน 2. การใช้ประโยชน์จาก Cloud Computing ซึ่งนำไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากร และการประยุกต์ใช้ไอซีทีในยุคหน้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยก ตัวอย่าง เช่น ระบบ G-Cloud สำหรับหน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นการสานต่อแผนก รอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 3. การประยุกต์ใช้ อุปกรณ์พกพาอัจฉริยะ (Smart Mobile Device: SMD) ในแนวทางที่จะเกิด ประโยชน์ในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชน โดยเน้นการนำ เสนอสารสนเทศในรูปแบบที่เหมาะสมและพอเพียงเป็นหลัก เช่น ข้อความ ภาพ และ เสียง เพื่อให้สารสนเทศเข้าถึงอุปกรณ์ SMD ของประชาชนในทุกระดับชั้น ซึ่งแนวทางนี้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาในยุคใหม่ในรูปแบบที่เรียกว่า !11
  • 12. (Bring Your Own Device: BYOD) 4. การพัฒนาไปสู่ชุมชนสากล (Global Community: GC) ซึ่งเป็นการพัฒนาไอซีทีไปสู่ชุมชนที่มีการเชื่อมโยงกันโดยทั่ว ถึง โดยประชาชนในทุกชุมชนสามารถเข้าถึงโลกดิจิทัล เพื่อใช้ประโยชน์ในการ ดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้โดยถ้วนหน้า 5. การพัฒนาระบบงานประยุกต์ใน รูปแบบสากล (Global Application: GA) ซึ่งประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้ ทุกหนทุกแห่งและตลอดเวลาแบบ 24x7 โดยประกอบด้วยระบบกลางหลักที่ สำคัญ ได้แก่ สารสนเทศกลางที่บูรณาการกัน (Information) ที่พัฒนาไปสู่ระบบ องค์ความรู้กลางที่มีคุณค่า (Knowledge) พร้อมด้วยระบบศูนย์กลางในการเรียน รู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ในการค้าขายผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ในการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) และระบบทะเบียน อิเล็กทรอนิกส์ (e-ID) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการให้บริการและการทำ ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รูป แผนกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ที่มา http:// www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=2248 ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของ ประเทศไทยเริ่มมีความชัดเจนในเรื่องสมาร์ทซิตี้มากขึ้น เช่น แนวทางการพัฒนา !12
  • 13. พาณิชย์ดิจิทัล (Digital Commerce) ที่แตกแขนงไปสู่ Mobile Commerce และ Social Commerce ที่มีการค้าขายบนระบบดิจิทัล หรือ แนวทางการพัฒนา Digital Transformation ที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิด มูลค่าทางธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนี้ยังรวมถึง Digital Consumption ที่เป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นช่องทางการซื้อ ขายแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการที่มีอยู่เดิม ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นต้องสอดคล้องกับ นโยบาย ยุทธศาสตร์ และ เป้าหมายที่เกี่ยวกับการพัฒนาด้านไอซีทีเดิมที่ได้ กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ และ ต้องมีความพร้อมสำหรับการรองรับเทคโนโลยีที่จะเกิด ใหม่และเพื่อก้าวให้ทันกับยุคไอที ในการให้บริการ และ ถ่ายทอดความรู้สู่ภาค ประชาชนอย่างทั่วถึง เอกสารอ้างอิง http://www.uih.co.th/knowledge/view/681 http:// www.itnews24hrs.com/2014/03/smart-thailand-2020/ http:// www.mict.go.th/assets/portals/1/files/download/3การพัฒนาด้าน ICTเพื่อ ก้าวสู่ SmartThailand.pdf http://www.most.go.th/main/index.php/product/ sciencetalk/4054-digital-economy-.html !13