SlideShare a Scribd company logo
1 of 1
ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิรยาเคมี
                                   ิ
   อัตราเร็วในการเกิดปฏิกิริยา หมายถึง ปริมาณของสารตั้งต้นที่ลดลง หรือปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมากขึ้นต่อหน่วย
เวลา โดยอาจวัดปริมาณของสารได้จากความเข้มข้น ปริมาตร หรือมวลของสารที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากเกิดปฏิกิริยา ซึ่ง
สามารถเขียนสูตรแสดงความสัมพันธ์ได้ดังนี้
                                                                       ปริมาณสารตั้งต้นที่ลดลง
                      อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี            =           ---------------------------------------
                                                                      เวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยา

                                                                                 ปริมาณสารผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น
                                                                   =            ----------------------------------------
                                                                                 เวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยา

     ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นอยู่รอบ ๆ ตัวเรานั้น บางปฏิกิริยาก็เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่บางปฏิกิริยาก็เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ แม้แต่
ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากสารตั้งต้นชนิดเดียวกัน บางครั้งก็ยังเกิดขึ้นได้ด้วยอัตราเร็วที่แตกต่างกัน โดยอัตราเร็วของปฏิกิริยาจะ
ขึ้นอยู่กบชนิดของสารตั้งต้นและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ดังนี้
          ั
     1. ชนิดของสารตั้งต้น สารตั้งต้นแต่ละชนิดจะมีความสามารถเกิดปฏิกิริยาเคมีที่แตกต่างกัน โดยสารตั้งต้นชนิดหนึ่ง
อาจจะสามารถเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกับสารชนิดหนึ่ง แต่อาจเกิดปฏิกิริยาได้ช้ากับสารอีกชนิดหนึ่งก็ได้ ตัวอย่างเช่น โลหะ
แมกนีเซียมจะสามารถทำาปฏิกิริยาได้ดีกับสารละลายกรดเกิดเป็นแก๊สไฮโดรเจน แต่แมกนีเซียมจะทำาปฏิกิริยากับออกซิเจน
ได้ช้ามาก หรือการที่โลหะ โซเดียมที่สามารถทำาปฏิกิริยากับนำ้าได้อย่างรวดเร็วมาก ขณะที่โลหะแมกนีเซียมจะทำาปฏิกิริยา
กับนำ้าได้ช้า เป็นต้น
     2. ความเข้มข้นของสารตั้งต้น ปฏิกิริยาโดยส่วนมากจะเกิดได้เร็วมากขึ้น ถ้าหากเราใช้สารตั้งต้นมีความเข้มข้นมาก
ขึ้น เนื่องจากการเพิ่มความเข้มข้นของสารจะทำาใหมีอนุภาคของสารอยู่รวมกันอย่างหนาแน่นมากขึ้น อนุภาคของสารจึงมี
โอกาสชนกันแล้วเกิดปฏิกิริยาได้มากขึ้น
    3. อุณหภูมิ หรือ พลังงานความร้อนจะมีผลต่อพลังงานภายในสาร โดยการเพิ่มอุณหภูมิจะเป็นการเพิ่ม
พลังงานจลน์ให้แก่อนุภาคของสารทำาให้อนุภาคของสารเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น จึงช่วยเพิ่มโอกาสในการชนกันของอนุภาคมาก
ขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มพลังงานให้แก่สารจะช่วยทำาให้สารมีพลังงานภายในมากกว่าค่าพลังงานก่อกัมมันต์จึงทำาให้เกิด
ปฏิกิริยาเร็วขึ้นได้ เช่น การเก็บอาหารในตู้เย็นเพื่อป้องการการเน่าเสีย เป็นต้น
     4. ตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นสารที่เติมลงไปในปฏิกิริยาโดยสารเหล่านี้จะไม่มีผลต่อการเกิดผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาทำาให้
ปฏิกิริยาแต่จะมีผลไปลดค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาแต่จะมีผลไปลดค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาทำาให้
ปฏิกิริยานั้นเกิดได้ง่ายมากขึ้น และหลังจากการเกิดปฏิกิริยาแล้ว ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใส่ลงไปจะยังคงมีสมบัติและปริมาณ
เหมือนเดิม โดยตัวเร่งปฏิกิริยาที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำาวัน ได้แก่ เอนไซม์ต่าง ๆ ในร่างกายของเราซึ่งมีลักษณะเป็นตัว
เร่งปฏิกิริยาช่วยให้เกิดการย่อยอาหารได้เร็วมากขึ้น เป็นต้น
     5. ตัวหน่วงปฏิกิริยา เป็นสารที่เติมลงไปในปฏิกิริยาโดยที่สารเหล่านี้จะไม่มีผลต่อการเกิดผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยา แต่
จะมีผลไปเพิ่มค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยา จึงทำาให้สารเกิดปฏิกิริยาได้ยากขึ้นหรือมีผลยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาแล้ว ตัว
หน่วงปฏิกิริยาทางเคมีและมีมวลเท่าเดิม แต่อาจมีสมบัติทางภาพบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีขนาด หรือรูปร่างเปลี่ยน
ไป โดยตัวหน่วงปฏิกิริยาที่พบได้ชีวิตประจำาวัน ได้แก่ สารกันบูดในอาหาร ที่ช่วยยับยั้งปฏิกิริยาที่ทำาให้เกิดการเน่าเสียของ
อาหาร เป็นต้น
     6. พื้นที่ผิวของสารตั้งต้น ในกรณีที่สารตั้งต้นเป็นของแข็ง การเพิ่มพื้นที่ผิวของสารจะช่วยให้เกิดปฏิกิริยาเคมีเร็วขึ้น
ได้ เนืองจากพื้นที่ผิวที่เพิ่มขึ้นจะทำาให้สารมีพื้นที่สำาหรับการเข้าทำาปฏิกิริยากันได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น การเคี้ยวอาหารให้
       ่
ละเอียดก่อนกลืน จะช่วยทำาให้อาหารมีขนาดเล็กลง และมีพื้นที่ผิวเพิ่มมากขึ้น จึงทำาให้นำ้าย่อยในระบบทางเดินอาหาร
สามารถเข้าย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น เป็นต้น
     7. ความดัน จะมีผลทำาให้สารที่เป็นแก๊สสามารถทำาปฏิกิริยากันได้ดีขึ้น เนื่องจากการเพิ่มความดันจะช่วยทำาให้โมเลกุล
ของแก๊สเข้าอยู่มาอยู่ใกล้ชิดกันมากขึ้น มีจำานวนโมเลกุลของแก๊สต่อหน่วยพื้นที่เพิ่มขึ้น จึงมีโอกาสชนกันและเกิดปฏิกิริยา
เคมีมากขึ้น ซึ่งลักษณะเช่นนี้ก็คล้ายกับกรณีที่สารที่มีความเข้มข้นมากจะสามารถเกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้นนั่นเอง


ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
พงศธร นันทธเนศ และสุนทร ภูรีปรีชาเลิศ. สารและสมบัติของสาร ม.4 - ม.6. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญ
ทัศน์.

More Related Content

Similar to นางสาวศิริพร เทพศรีหาม.5

3210000000000000000
32100000000000000003210000000000000000
3210000000000000000
Awirut619
 
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
Jariya Jaiyot
 
อัตราการเกิดปฏิกริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกริยาเคมีอัตราการเกิดปฏิกริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกริยาเคมี
weerabong
 
อัตราการเกิดปฏิกริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกริยาเคมีอัตราการเกิดปฏิกริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกริยาเคมี
weerabong
 

Similar to นางสาวศิริพร เทพศรีหาม.5 (6)

3210000000000000000
32100000000000000003210000000000000000
3210000000000000000
 
16442806.ppt
16442806.ppt16442806.ppt
16442806.ppt
 
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
จลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมี
จลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมีจลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมี
จลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมี
 
อัตราการเกิดปฏิกริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกริยาเคมีอัตราการเกิดปฏิกริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกริยาเคมี
 
อัตราการเกิดปฏิกริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกริยาเคมีอัตราการเกิดปฏิกริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกริยาเคมี
 

นางสาวศิริพร เทพศรีหาม.5

  • 1. ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิรยาเคมี ิ อัตราเร็วในการเกิดปฏิกิริยา หมายถึง ปริมาณของสารตั้งต้นที่ลดลง หรือปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมากขึ้นต่อหน่วย เวลา โดยอาจวัดปริมาณของสารได้จากความเข้มข้น ปริมาตร หรือมวลของสารที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากเกิดปฏิกิริยา ซึ่ง สามารถเขียนสูตรแสดงความสัมพันธ์ได้ดังนี้ ปริมาณสารตั้งต้นที่ลดลง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี = --------------------------------------- เวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยา ปริมาณสารผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น = ---------------------------------------- เวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นอยู่รอบ ๆ ตัวเรานั้น บางปฏิกิริยาก็เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่บางปฏิกิริยาก็เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ แม้แต่ ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากสารตั้งต้นชนิดเดียวกัน บางครั้งก็ยังเกิดขึ้นได้ด้วยอัตราเร็วที่แตกต่างกัน โดยอัตราเร็วของปฏิกิริยาจะ ขึ้นอยู่กบชนิดของสารตั้งต้นและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ดังนี้ ั 1. ชนิดของสารตั้งต้น สารตั้งต้นแต่ละชนิดจะมีความสามารถเกิดปฏิกิริยาเคมีที่แตกต่างกัน โดยสารตั้งต้นชนิดหนึ่ง อาจจะสามารถเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกับสารชนิดหนึ่ง แต่อาจเกิดปฏิกิริยาได้ช้ากับสารอีกชนิดหนึ่งก็ได้ ตัวอย่างเช่น โลหะ แมกนีเซียมจะสามารถทำาปฏิกิริยาได้ดีกับสารละลายกรดเกิดเป็นแก๊สไฮโดรเจน แต่แมกนีเซียมจะทำาปฏิกิริยากับออกซิเจน ได้ช้ามาก หรือการที่โลหะ โซเดียมที่สามารถทำาปฏิกิริยากับนำ้าได้อย่างรวดเร็วมาก ขณะที่โลหะแมกนีเซียมจะทำาปฏิกิริยา กับนำ้าได้ช้า เป็นต้น 2. ความเข้มข้นของสารตั้งต้น ปฏิกิริยาโดยส่วนมากจะเกิดได้เร็วมากขึ้น ถ้าหากเราใช้สารตั้งต้นมีความเข้มข้นมาก ขึ้น เนื่องจากการเพิ่มความเข้มข้นของสารจะทำาใหมีอนุภาคของสารอยู่รวมกันอย่างหนาแน่นมากขึ้น อนุภาคของสารจึงมี โอกาสชนกันแล้วเกิดปฏิกิริยาได้มากขึ้น 3. อุณหภูมิ หรือ พลังงานความร้อนจะมีผลต่อพลังงานภายในสาร โดยการเพิ่มอุณหภูมิจะเป็นการเพิ่ม พลังงานจลน์ให้แก่อนุภาคของสารทำาให้อนุภาคของสารเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น จึงช่วยเพิ่มโอกาสในการชนกันของอนุภาคมาก ขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มพลังงานให้แก่สารจะช่วยทำาให้สารมีพลังงานภายในมากกว่าค่าพลังงานก่อกัมมันต์จึงทำาให้เกิด ปฏิกิริยาเร็วขึ้นได้ เช่น การเก็บอาหารในตู้เย็นเพื่อป้องการการเน่าเสีย เป็นต้น 4. ตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นสารที่เติมลงไปในปฏิกิริยาโดยสารเหล่านี้จะไม่มีผลต่อการเกิดผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาทำาให้ ปฏิกิริยาแต่จะมีผลไปลดค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาแต่จะมีผลไปลดค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาทำาให้ ปฏิกิริยานั้นเกิดได้ง่ายมากขึ้น และหลังจากการเกิดปฏิกิริยาแล้ว ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใส่ลงไปจะยังคงมีสมบัติและปริมาณ เหมือนเดิม โดยตัวเร่งปฏิกิริยาที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำาวัน ได้แก่ เอนไซม์ต่าง ๆ ในร่างกายของเราซึ่งมีลักษณะเป็นตัว เร่งปฏิกิริยาช่วยให้เกิดการย่อยอาหารได้เร็วมากขึ้น เป็นต้น 5. ตัวหน่วงปฏิกิริยา เป็นสารที่เติมลงไปในปฏิกิริยาโดยที่สารเหล่านี้จะไม่มีผลต่อการเกิดผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยา แต่ จะมีผลไปเพิ่มค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยา จึงทำาให้สารเกิดปฏิกิริยาได้ยากขึ้นหรือมีผลยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาแล้ว ตัว หน่วงปฏิกิริยาทางเคมีและมีมวลเท่าเดิม แต่อาจมีสมบัติทางภาพบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีขนาด หรือรูปร่างเปลี่ยน ไป โดยตัวหน่วงปฏิกิริยาที่พบได้ชีวิตประจำาวัน ได้แก่ สารกันบูดในอาหาร ที่ช่วยยับยั้งปฏิกิริยาที่ทำาให้เกิดการเน่าเสียของ อาหาร เป็นต้น 6. พื้นที่ผิวของสารตั้งต้น ในกรณีที่สารตั้งต้นเป็นของแข็ง การเพิ่มพื้นที่ผิวของสารจะช่วยให้เกิดปฏิกิริยาเคมีเร็วขึ้น ได้ เนืองจากพื้นที่ผิวที่เพิ่มขึ้นจะทำาให้สารมีพื้นที่สำาหรับการเข้าทำาปฏิกิริยากันได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น การเคี้ยวอาหารให้ ่ ละเอียดก่อนกลืน จะช่วยทำาให้อาหารมีขนาดเล็กลง และมีพื้นที่ผิวเพิ่มมากขึ้น จึงทำาให้นำ้าย่อยในระบบทางเดินอาหาร สามารถเข้าย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น เป็นต้น 7. ความดัน จะมีผลทำาให้สารที่เป็นแก๊สสามารถทำาปฏิกิริยากันได้ดีขึ้น เนื่องจากการเพิ่มความดันจะช่วยทำาให้โมเลกุล ของแก๊สเข้าอยู่มาอยู่ใกล้ชิดกันมากขึ้น มีจำานวนโมเลกุลของแก๊สต่อหน่วยพื้นที่เพิ่มขึ้น จึงมีโอกาสชนกันและเกิดปฏิกิริยา เคมีมากขึ้น ซึ่งลักษณะเช่นนี้ก็คล้ายกับกรณีที่สารที่มีความเข้มข้นมากจะสามารถเกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้นนั่นเอง ที่มาและได้รับอนุญาตจาก : พงศธร นันทธเนศ และสุนทร ภูรีปรีชาเลิศ. สารและสมบัติของสาร ม.4 - ม.6. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญ ทัศน์.