SlideShare a Scribd company logo
1 of 88
Download to read offline
ไขประตูสู่ลาว




ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
 1
ไขประตูสู่ลาว




2 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
ไขประตูสู่ลาว
                               คำนำ
	           
	           ไทยและลาวมีสายสัมพันธ์ฉันญาติมิตรมาแต่ โบราณกาล
เหมือนดั่งคำกล่าวว่าข้ามโขง “ไปเอาพริกที่บ้านเหนือ ไปเอาเกลือที่
บ้านใต้” ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศครอบคลุม
ความร่วมมือหลากหลายสาขาและเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนในสังคม
ของทั้งสองประเทศ 
	           หนทางหนึ่งที่จะทำให้รู้จักและเข้าใจประเทศใดประเทศหนึ่ง
ได้ดีที่สุดคือการเดินทางไปเยือนและมีประสบการณ์ตรงด้วยตนเอง ชื่อ
คู่มือ “ไขประตูสู่ลาว” จึงมีนัยถึงการ “ทำความรู้จัก” ก่อนไปลาว ยิ่ง
ประชาชนไปมาหาสู่กันมากและ “รู้เขา รู้เรา” มากขึ้นเท่าใด ก็จะยิ่ง
เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและรู้สึกผูกพันกันเพิ่มขึ้นเท่านั้น อันจะช่วยนำ
มาซึ่งความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจกันในที่สุด 
	           สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ได้รวบรวมประสบการณ์
และข้อมูลเกี่ยวกับลาวที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ ไว้ ในหนังสือเล่มนี้
เช่น การเดินทางข้ามแดน วิถีชีวิตและธรรมเนียมปฏิบัติของชาวลาว
สถานที่สำคัญ และภาษาลาวที่พบในชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยให้คนไทย
ไปลาวได้อย่างเตรียมพร้อมมากขึ้น และเนื่องจากปี 2553 เป็นปีครบ
60 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว จึงได้เพิ่มเนื้อหาที่สะท้อนถึง
เหตุการณ์สำคัญในช่วง 60 ปีที่ผ่านมาไว้ในภาคแรกของไขประตูสู่ลาว
(พิมพ์ครั้งที่ 3) ฉบับ 60 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาวเล่มนี้ด้วย
รวมทั้งได้เพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับแขวงอื่นที่คนไทยนิยมไปท่องเที่ยว
สถานเอกอัครราชทูตฯ หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยทำให้ผู้อ่านรู้จักและ
                            ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
 1
ไขประตูสู่ลาว

เข้ า ใจประเทศลาวได้ อ ย่ า งลึ ก ซึ้ ง กว้ า งขวางมากขึ้ น อั น จะนำมาซึ่ ง
รากฐานของมิตรภาพที่ยั่งยืนทั้งในระดับประชาชนและระดับประเทศ
ต่อไป


	          	               สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์
	          	      	              	              กันยายน 2553





2 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
ไขประตูสู่ลาว
                          
                          CONTENT
 CONTENT
                            

1. ฉลอง 60 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
                         4
   - ภาพเก่าเล่าสัมพันธ์
                                          4
   - ต้นไม้แห่งความสัมพันธ์
                                      11
   - สถานที่น่าสนใจในความสัมพันธ์ไทย-ลาว
                         13
2. การเดินทางไป สปป.ลาว
                                          20
3. การติดต่อสื่อสาร
                                              30
4. รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าข้ามโขง : ข้อควรรู้ก่อนเดินทางไปลาว
        32
5. ของฝากจากกงสุล
                        38
6. ถ้อยคำที่ใช้ในภาษาไทย-ลาว
 42
7. ทำบุญไหว้พระ
                          54
8. เทศกาลงานฉลอง
                         58
9. ม่วนซื่นกับหมู่ลาว
 66
10. ที่พัก
                    68
11. กองทัพเดินด้วยท้อง
 70
12. จับจ่ายใช้สอย
             80
13. หมายเลขโทรศัพท์
                            82

                         ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
 3
ไขประตูสู่ลาว
                                                                  ภาพเก่าเล่าสัมพันธ์
ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว




                                           	           หนังสือจากนายวรการบัญชา รัฐมนตรีวาการกระทรวงการต่างประเทศ
                                                                                             ่
                                           ถึงจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี แจ้งว่า นายโง่น ชนะนิกร ผู้แทน
                                           รัฐบาลลาวประจำสำนักข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสได้ทาบทามผ่านกงสุลใหญ่ ณ เมือง
                                           ไซ่ง่อน (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองโฮจิมินห์) เสนอแลกเปลี่ยนผู้แทนทางการทูตกับ
                                           ไทย ซึงฝ่ายไทยได้ตอบรับข้อเสนอสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตตังแต่ 19 ธันวาคม
                                                  ่                                                        ้
                                           2493 เป็นต้นไป และแต่งตั้งนายประสิทธิ์ นรินทรางกูร กงสุลใหญ่ ณ เมืองไซ่ง่อน
                                           เป็นอุปทูตประจำลาวอีกตำแหน่งหนึ่ง
                                           4
ไขประตูสู่ลาว




	          ฯพณฯ ไกสอน พมวิหาน ประธานประเทศ สปป.ลาว และภริยา เยือน           ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
ไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ระหว่างวันที่ 6-11 มกราคม 2535
โดยเป็นประธานประเทศ สปป.ลาว คนแรกที่เยือนไทย และได้เยี่ยมชมศูนย์ศึกษา
การพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ซึ่ง
นำมาสู่การขอพระราชทานความช่วยเหลือจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้ง
โครงการพัฒนาชนบทขึ้นแห่งหนึ่งใน สปป.ลาว ซึ่งก็คือศูนย์พัฒนาและบริการด้าน
การเกษตร ห้วยซอน-ห้วยซั้ว หลัก 22 ในปัจจุบัน
                                                                        5
ไขประตูสู่ลาว
ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว




                                           	          ฯพณฯ หนูฮก พูมสะหวัน ประธานประเทศ สปป.ลาว และภริยา เยือนไทย
                                                               ั
                                           อย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ
                                           สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ระหว่างวันที่ 14-19 กุมภาพันธ์ 2538




                                           6
ไขประตูสู่ลาว




                                                                                                 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
	               “วันที่เปิดอาคารศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว หลัก 22
นั้นเรียกว่ามีความประทับใจกันทั้ง 2 ฝ่าย เพราะว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ พร้อมด้วย
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทั้ง 3 พระองค์ โดยมีประธานประเทศลาว ท่านหนูฮัก มาต้อนรับ....ท่านหนูฮัก จะมีอายุครบ 80 ปี
แล้ว ในวันรุ่งขึ้นจะเป็นวันเกิดของท่าน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้อวยพร Happy Birthday
ให้กับท่านหนูฮัก และท่านหนูฮักก็บอกว่า “ขอไปด้วย” ขอตามเสด็จไปบริเวณที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำ
พระองค์จูงมือท่านหนูฮักไปด้วยกัน เป็นภาพที่น่ารักและประทับใจมาก”
	               นายสุพร จันทร์พวง ที่ปรึกษาโครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วย
ซอน-ห้วยซั้วกล่าวถึงความประทับใจเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทรงเปิดศูนย์
ร่วมกับ ฯพณฯ หนูฮัก พูมสะหวัน ประธานประเทศ สปป.ลาว เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2537 (คัดลอก
จากหนังสือสานสัมพันธ์สองแผ่นดิน 15 ปี โครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว)
                                                                                            7
ไขประตูสู่ลาว
ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว




                                           	         ภาพตราไปรษณียากรออกโดยรัฐวิสาหกิจไปรษณีย์ลาวในโอกาสฉลอง
                                           55 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อปี 2548




                                           8
ไขประตูสู่ลาว




                                                                          ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
	           ฯพณฯ จูมมาลี ไซยะสอน ประธานประเทศ สปป.ลาว และภริยา เยือนไทย
อย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ระหว่างวันที่ 12-14 พฤษภาคม 2552 ใน
ระหวางการเยอน ฯพณฯ จมมาลี ไซยะสอน ไดรบมอบปรญญารฐศาสตรดษฎบณฑต
     ่       ื         ู               ้ั        ิ    ั        ุ ีั ิ
กิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้เยี่ยมชมโครงการส่วนพระองค์
สวนจิตรลดาและโครงการแก้มลิงเพื่อป้องกันน้ำท่วม เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร




                                                                      9
ไขประตูสู่ลาว
ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว




                                           	          สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธาน
                                           ร่วมกับ ฯพณฯ บุนยัง วอละจิด รองประธานประเทศ สปป.ลาว ในพิธีเปิดการเดิน
                                           รถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ไทย-ลาวเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2552 และพิธีวางศิลาฤกษ์สะพาน
                                           มิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 นครพนม-คำม่วน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2552
                                           10
ไขประตูสู่ลาว

                    ต้นไม้แห่งความสัมพันธ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหวทรงปลูก
                          ่ั
ต้นราชพฤกษ์เมือวันที่ 8 เมษายน2537
               ่
ทีศนย์บริการด้านการเกษตรห้วยซอน
  ู่
-ห้วยซัว หลัก 22 นครหลวงเวียงจันทน์
       ้




                                                                                   ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
	         ฯพณฯ หนูฮัก พูมสะหวัน ประธานประเทศแห่ง สปป.ลาว ปลูกต้น
ราชพฤกษ์ เมือวันที่ 8 เมษายน 2537 ทีศนย์บริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซัว
            ่                       ู่                                  ้
หลัก 22 

                                   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                               ทรงปลูกต้นมะยม เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2537 ที่ศูนย์
                               บริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว หลัก 22
                                    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                               ทรงปลูกต้นราชพฤกษ์เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2537
                               ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงเรียนวัฒนธรรม
                               เด็กกำพร้า แขวงเวียงจันทน์ หลัก 67
                                   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                               ทรงปลูกต้นลีลาวดีร่วมกับ ฯพณฯ บุนยัง วอละจิด
                               รองประธานประเทศแห่ง สปป.ลาว เมือวันที่ 5 มีนาคม
                                                               ่
                               2552 ที่สถานีรถไฟท่านาแล้ง นครหลวงเวียงจันทน์	 


                                                                              11
ไขประตูสู่ลาว
ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว




                                           	         สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงปลูกต้นอินทนิล
                                           (กากะเลา) ในพิธีเปิดฝายห้วยซั้ว เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2552 ที่ศูนย์บริการด้าน
                                           การเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว หลัก 22 




                                           	             สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงปลูกต้นลีลาวดี
                                           ในพิธีเปิดโครงการจัดตั้งแปลงสาธิตการเกษตรแบบผสมผสานที่มหาวิทยาลัยจำปาสัก
                                           เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553 


                                           12
ไขประตูสู่ลาว
	
	
      สถานที่น่าสนใจในความสัมพันธ์ไทย-ลาว
โครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว
	          ตั้งอยู่ที่เมืองนาซายทอง ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ 22
กิโลเมตร จึงเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า “โครงการ หลัก 22” เป็นโครงการ
พัฒนาชนบทที่ ฯพณฯ ไกสอน พมวิหาน ประธานประเทศ สปป.ลาว
ได้ขอพระราชทานความช่วยเหลือจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                                                                                   ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
เมื่อปี 2535   เพื่อเป็นแบบอย่างและสถานที่ถ่ายทอดความรู้วิชาการ
และประสบการณ์ด้านการเกษตรให้แก่ชาวบ้าน โดยให้มีลักษณะเช่นเดียว
กับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ประสบผลสำเร็จ
ในประเทศไทย 
	          โครงการได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2537
ปัจจุบัน เป็นสถานที่ให้บริการแก่เจ้าหน้าที่และประชาชนลาวด้านวิชาการ
เกษตรด้านต่างๆ อย่างครบวงจรแห่งเดียวใน สปป. ลาว มีอ่างเก็บน้ำ
ห้วยซอน และฝายห้วยซั้ว เป็นแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรและการอุปโภค
บริโภคในพื้นที่ 9 หมู่บ้านรอบโครงการ
                                                •พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                              ทรงเปิด และ ฯพณฯ หนูฮัก 
                                              พูมสะหวัน ประธานประเทศ
                                              สปป.ลาว เปิดป้ายโครงการ
                                              ศูนย์พัฒนาและบริการด้าน
                                              การเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว
                                              อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 
                                              8 เมษายน 2537


                                                                              13
ไขประตูสู่ลาว
           โรงเรียนวัฒนธรรมเด็กกำพร้า
           	               ตั้งอยู่ที่เมืองโพนโฮง แขวงเวียงจันทน์ ห่างจากนครหลวง
           เวียงจันทน์ 67 กิโลเมตร จึงเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า “โรงเรียน หลัก
           67” ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2519 เพื่อรองรับเด็กกำพร้าจาก
           สงคราม เด็กขาดที่พึ่ง และเด็กจากครอบครัวยากจนทั่วประเทศ แต่
           ข้อจำกัดด้านงบประมาณส่งผลให้นักเรียนขาดแคลนที่พัก อาหาร และ
           น้ำ เพื่อการอุปโภคและบริโภค และเป็นโรคขาดสารอาหาร
           	            เมื่อวันที่ 15-22 มีนาคม 2533 สมเด็จพระเทพรัตนราช
           สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เยือน สปป. ลาว เป็นครั้งแรก
           และได้มีผู้บริจาคทุนทรัพย์โดยเสด็จพระราชกุศลเป็นเงิน 12 ล้านกีบ
                                                       พระองค์ ได้ โปรดเกล้าฯ ให้นำเงินไป
                                                       ก่ อ สร้ า งเรื อ นนอนให้ แ ก่ โ รงเรี ย น
                                                       วัฒนธรรมเด็กกำพร้า ซึ่งได้รับ พระ
                                                       ราชทานชื่อว่า “อาคารสิรินธร” โดย
                                                       ได้ พ ระราชทานพระราชทรั พ ย์ ส่ ว น
                                                       พระองค์สมทบอีก 10 ล้านกีบ เพื่อ
•พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ
                                                       สร้างเรือนนอนดังกล่าวและส่งเสริม
พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ โรงเรียนวัฒนธรรมเด็กกำพร้าเมื่อ
วันที่ 9 เมษายน 2537
                                                       การพั ฒ นาแหล่ ง น้ ำ เพื่ อ การอุ ป โภค
           บริ โภคและการเกษตรด้วย และได้มีพระราชดำริให้ตั้งคณะกรรมการ
           ส่งเสริมกิจกรรมของโรงเรียน เพื่อจัดโครงการอาหารกลางวันและ
           โครงการโภชนาการสำหรับเด็ก รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมด้านการ
           ส่งเสริมอาชีพ การเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร และสิ่งก่อสร้างให้
           อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
     14 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
ไขประตูสู่ลาว
โครงการแปลงสาธิตการเกษตรแบบผสมผสานภายใต้โครงการความ
ร่วมมือทางวิชาการระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนากับมหาวิทยาลัยจำปาสัก
	             มหาวิทยาลัยจำปาสักได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตน
ราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี ขอพระราชทานความร่ ว มมื อ ทาง
วิ ช าการระหว่ า งมู ล นิ ธิ ชั ย พั ฒ นากั บ มหาวิ ท ยาลั ย จำปาสั ก ในด้ า น   
วิชาการเกษตร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจึง
ทรงมีพระราชดำริ ให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาประสานหน่วยงานที่




                                                                                    ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
เกี่ ย วข้ อ งดำเนิ น งาน “โครงการจั ด ตั้ ง แปลงสาธิ ต การเกษตรแบบ
ผสมผสาน” ขึ้นภายในมหาวิทยาลัยจำปาสัก โดยมีการลงนามใน
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2550 
	             กิ จ กรรมภายใต้ โ ครงการประกอบด้ ว ย 1) งานด้ า นการ
พัฒนาที่ดิน 2) งานด้านชลประทาน 3) งานด้านปศุสัตว์ 4) งานด้าน
ประมง 5) งานด้านการเกษตร 6) งานด้านการพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐาน อาทิ การก่อสร้างอาคาร หอพักนักศึกษา และ 7) งานด้าน
การเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการการเกษตร หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
ของโครงการ ได้แก่ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา โดยความร่วมมือกับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อาทิ สถานกงสุลใหญ่ ณ แขวงสะหวันนะ
เขต กรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน กรมวิชาการเกษตร กรมประมง
และกรมปศุสัตว์
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์)
	             สะพานข้ า มแม่ น้ ำ โขงแห่ ง แรกที่ เ ชื่ อ มฝั่ ง ไทย-ลาว เป็ น
โครงการที่ ไ ด้ รั บ ความช่ ว ยเหลื อ จากออสเตรเลี ย มู ล ค่ า 30 ล้ า น
ดอลลาร์สหรัฐ ความยาว 1,174 เมตร มีรางรถไฟอยู่กลางสะพาน
                                                                              15
ไขประตูสู่ลาว
                                           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ ฯพณฯ หนูฮัก พูมสะหวัน ประธาน
                                           ประเทศ สปป.ลาว เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน
                                           2537
                                           สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)
                                           	              สะพานนี้เป็นส่วนหนึ่งของ East-West Economic Corridor
                                           ที่ จ ะเชื่ อ มโยงเส้ น ทางคมนาคมขนส่ ง จากพม่ า ผ่ า นไทยและลาวไป
                                           เวียดนาม รัฐบาลไทยและลาวได้ร่วมกันกู้เงินจากญี่ปุ่น จำนวน 2,670
ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว




                                           ล้านบาท เพื่อก่อสร้างสะพาน ความยาว 2,050 เมตร สมเด็จพระเทพ
                                           รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและ ฯพณฯ บุนยัง วอละจิด รอง
                                           ประธานประเทศ สปป.ลาว เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20
                                           ธันวาคม 2549 
                                           สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน)
                                           สะพานข้ า มแม่ น้ ำ โขงแห่ ง แรกที่ ไ ทยสนั บ สนุ น งบประมาณทั้ ง หมด
                                                                                มู ล ค่ า ประมาณ 1,700 ล้ า นบาท
                                                                                สะพานนี้ จ ะเป็ น จุ ด เชื่ อ มโยงภาค
                                                                                ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ของไทยกั บ
                                                                                แขวงคำม่ ว นและแขวงบอลิ ค ำไซสู่
                                                                                เมื อ งท่ า ในเวี ย ดนาม เชิ ง สะพาน
                                                                                แต่ละฝั่งมีอาคารด่านพรมแดนตาม
                                           รูปแบบสถาปัตยกรรมของจังหวัดนครพนมและแบบล้านช้างของแขวง
                                           คำม่วน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและ ฯพณฯ
                                           บุนยัง วอละจิด รองประธานประเทศ สปป.ลาว เป็นประธานร่วมในพิธี
                                           วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2552
                                           16
ไขประตูสู่ลาว
สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยซาย)
	         เป็นสะพานเชื่อมโยงจังหวัดเชียงรายกับแขวงบ่อแก้ว สปป.
ลาว และเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทาง R3A สู่นครคุนหมิงในจีนตามแผน
พัฒนา North-South Economic Corridor ซึ่งไทย สปป.ลาว จีน และ
ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ร่วมกันดำเนินการภายใต้กรอบความ
ร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) งบประมาณก่อสร้างสะพาน
1,486.5 ล้านบาท มีพิธีลงนามความตกลงการก่อสร้างสะพาน เมื่อวัน




                                                                          ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
ที่ 14 พฤษภาคม 2553 ระยะเวลาการก่อสร้างประมาณ 30 เดือน 
สะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว (เลย-ไซยะบูลี)
	         ตั้งอยู่ที่ อ.ท่าลี่ จ.เลย ตรงข้ามเมืองแก่นท้าว แขวงไซยะบุลี
ความยาว 110 เมตร รัฐบาลไทยสนับสนุนงบประมาณก่อสร้าง 20.75
ล้านบาท เส้นทางนี้สามารถเดินทางต่อไปแขวงหลวงพระบางได้
ระยะทางประมาณ 363 กิโลเมตร





           •คาราวานจักรยานมิตรภาพไทย-ลาวข้ามแม่น้ำเหือง



                                                                     17
ไขประตูสู่ลาว

                                           ทางรถไฟหนองคาย-ท่านาแล้ง
                                           	         ทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ที่เชื่อมเมืองหลวงของไทยและ
                                           สปป.ลาว เข้าด้วยกัน จากกลางสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 ถึง
                                           สถานีท่านาแล้งในฝั่งลาว ทางรถไฟมีระยะทาง 3.5 กิโลเมตร วงเงิน
                                           ก่อสร้าง 197 ล้านบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม
                                           ราชกุมารีและ ฯพณฯ บุนยัง วอละจิด รองประธานประเทศ สปป.ลาว
ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว




                                           เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดการเดินรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์เมื่อวันที่
                                           5 มีนาคม 2552
                                           ถนนลาว-ไทย นครหลวงเวียงจันทน์
                                                                     	          ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กระยะ
                                                                     ทาง 4 กิ โลเมตร ตั้งแต่สามแยกหลัก 3
                                                                     ถนนท่ า เดื่ อ ไปสามแยกน้ ำ ประปา ถนน
                                                                     โพนทั น รั ฐ บาลไทยให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ
                                                                     ปรับปรุงถนนจำนวน 62 ล้านบาท นาย
                                           ชวน หลี ก ภั ย นายกรั ฐ มนตรี และนายสี ส ะหวาด แก้ ว บุ น พั น
                                           นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว เป็นประธานร่วมในพิธีมอบ-รับเมื่อวันที่ 27
                                           พฤษภาคม 2543 
                                           ถนนมิตรภาพลาว-ไทย แขวงหลวงพระบาง
                                           	         เป็นถนนเชื่อมระหว่างถนน 13 เหนือ
                                           กับถนนสังคะโลก ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร
                                           รัฐบาลไทยสนับสนุนงบประมาณปรับปรุง 18
                                           ล้านบาท ทำพิธีมอบ-รับเมื่อวันที่ 25 มีนาคม
                                           2552 
                                           18
ไขประตูสู่ลาว
อาคารกีฬาอเนกประสงค์มิตรภาพลาว-ไทย (บึงขะหยอง)
	         อาคารกีฬาในร่มอเนกประสงค์ที่ ไทยสนับสนุนงบประมาณ
ก่อสร้าง 84 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นสถานที่แข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ที่
สปป.ลาว เป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ 9-18 ธันวาคม 2552 นายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรี
สปป.ลาว เป็นประธานร่วมในพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 23 มกราคม
2552




                                                                        ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว



     



              •ภาพอาคารกีฬาอเนกประสงค์มิตรภาพลาว-ไทย




                                                                   19
ไขประตูสู่ลาว
               
 

 การเดินทางไป สปป.ลาว
 
 	      การเดินทางไป สปป.ลาว เป็นการเดินทางไปต่างประเทศ
 ต้องมีเอกสารเดินทางที่ถูกต้อง ได้แก่ หนังสือเดินทางหรือบัตรผ่าน
 แดน มิฉะนั้นจะเป็นการลักลอบเข้าเมือง
 1. เอกสารประจำตัว
       1.1 หนังสือเดินทาง
 หนังสือเดินทางต้องมีอายุไม่
 น้อยกว่า 6 เดือน สามารถ
 เดินทางไปเที่ยว สปป.ลาว
 ได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า พำนัก
 ได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน
       1.2 บัตรผ่านแดน  หาก
 ไม่มีหนังสือเดินทาง สามารถ
 ใช้บัตรผ่านแดน ซึ่งขอทำได้ที่
 ที่ว่าการอำเภอที่มีชายแดนติดกับ สปป.ลาว โดยใช้บัตรประจำตัว
 ประชาชนและเสียค่าธรรมเนียม 40 บาท สามารถพำนักอยู่ได้ 3 วัน
 2 คืน แต่ไม่สามารถเดินทางออกนอกพื้นที่ที่กำหนด เช่น หากข้าม
 สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 จากจังหวัดหนองคายไปนครหลวง
 เวียงจันทน์ จะไม่สามารถเดินทางไปนอกเขตนครหลวงเวียงจันทน์ได้
 เช่น วังเวียง แดนสะหวัน เขื่อนน้ำงึม  หรือเมื่อข้ามสะพานมิตรภาพ
 ไทย-ลาว 2 จากจังหวัดมุกดาหารไปแขวงสะหวันนะเขต ก็ไม่สามารถ
 เดินทางต่อไปแขวงอื่น หากละเมิดจะถูกจับในข้อหาเดินทางออกนอก
20 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
ไขประตูสู่ลาว
พื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาต และจะต้องจ่ายค่าปรับขั้นต่ำ 100 ดอลลาร์
สหรัฐ 
 

   •ห้ามพำนักอยู่ใน สปป.ลาว เกินกำหนดที่ได้รับอนุญาต (กรณีบัตร
ผ่านแดนจะถูกปรับวันละ 5 ดอลลาร์สหรัฐ/วันที่อยู่เกินกำหนด และ
กรณีหนังสือเดินทางจะถูกปรับวันละ 10 ดอลลาร์สหรัฐ/วันที่อยู่เกิน
กำหนด)
   •ผู้ใช้บัตรผ่านแดนสามารถขออยู่ต่อได้อีกไม่เกิน 3 ครั้ง ครังละ
                                                             ้
ไม่เกิน 3 วัน โดยติดต่อที่แผนกคุ้มครองคนต่างประเทศ กองบัญชาการ
ป้องกันรักษาความสงบ (ปกส) ในพื้นที่
   •ควรนำเอกสารเดินทางติดตัวตลอดเวลา และถ่ายสำเนาแยกเก็บ
ไว้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายลาวขอตรวจ
   •ตามกฎหมายลาว การเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะต้องติดต่อ
ผ่านบริษัททัวร์ของลาวที่องค์การท่องเที่ยวแห่งชาติ สปป.ลาว รับรอง
และต้องมีมัคคุเทศก์ชาวลาวประจำรถ เนื่องจากทางการลาวไม่
อนุญาตให้ชาวต่างชาติทำหน้าที่มัคคุเทศก์หรือบรรยายตามสถานที่
ท่องเที่ยวต่างๆ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุด 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ

2. การนำยานพาหนะข้ามแดน
   2.1 รถยนต์ส่วนบุคคล ใช้เอกสารดังนี้
	        - หนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศ (สีม่วง) และ
เครื่องหมายแสดงประเทศ ขอได้ที่สำนักมาตรฐานงานทะเบียน

                         ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
 21
ไขประตูสู่ลาว
 และภาษีรถ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่รถนั้น
 จดทะเบียนไว้หรือจังหวัดที่มีพื้นที่รับผิดชอบติดกับ สปป.ลาว
    - หนังสือคู่มือจดทะเบียนรถ (ฉบับจริง)
    - ใบอนุญาตขับรถที่ยังไม่หมดอายุ และแปลเป็นภาษาอังกฤษ
 ขอได้ที่สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถและสำนักงานขนส่ง
 จังหวัดชายแดน
    - หากมิได้เป็นเจ้าของรถยนต์ ต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของ
 และติดอากรแสตมป์ 30 บาท
    - รถของบริษัทต้องมีหนังสือบริคณห์สนธิ
    - กรมธรรม์ประกันภัยบุคคลที่ 3 ของ สปป.ลาว ซึ่งจะมีจำหน่ายที่
 สำนักงานสาขาของบริษัทประกันภัยที่จุดผ่านแดนฝั่งลาว
      2.2 รถที่ใช้ขนส่งระหว่างประเทศ
    - หนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศ (สีเขียว) และเครื่องหมาย
 แสดงประเทศ ขอได้ ที่ ส ำนั ก มาตรฐานงานทะเบี ย นและภาษี ร ถ
 สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่รถนั้นจดทะเบียนไว้
 หรือจังหวัดที่มีพื้นที่รับผิดชอบติดกับ สปป.ลาว
   - สำเนาใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ
   - ใบอนุญาตขับรถที่ยังไม่หมดอายุ และแปลเป็นภาษาอังกฤษ
 ขอได้ที่สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถและสำนักงานขนส่ง
 จังหวัดชายแดน
   - หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ ขอได้ที่สำนักงานขนส่งที่รถนั้น
 จดทะเบียน หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดชายแดน
 	
22 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
ไขประตูสู่ลาว
	          - กรมธรรม์ประกันภัยบุคคลที่ 3 ของ สปป.ลาว ซึ่งจะมี
จำหน่ายที่สำนักงานสาขาของบริษัทประกันภัยที่จุดผ่านแดนฝั่งลาว
     •ควรขับขี่ยานพาหนะในสปป.ลาว อย่างระมัดระวัง เนื่องจาก
ระบบการจราจรใน สปป.ลาวให้ขับทางขวาของถนน ต่างจากฝั่งไทย  
และไม่ควรใช้ความเร็วสูงเนื่องจากทางการลาวจำกัดความเร็วไม่เกิน
50-60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และรถทางโทมักไม่หยุดรอรถทางเอก
    •เมื่อสัญญาณไฟจราจรเปลี่ยนจากไฟแดงเป็นไฟเขียว ควรออกรถ
อย่างระมัดระวังและดูให้แน่ใจว่าไม่มีรถฝ่าไฟแดงจากด้านอื่น
    •ต้องระวังอันตรายจากรถจักรยานยนต์และสัตว์เลี้ยงต่างๆ เช่น
ฝูงวัวและแพะ ซึ่งอาจตัดหน้าในระยะกระชั้นชิดและอาจก่อให้เกิด
อุบัติเหตุได้ 
    •ห้ามพูดโทรศัพท์ระหว่างขับรถ
     •หากไม่ตองการนำรถยนต์ขามไป สปป.ลาว บริเวณใกล้กบด่านฝัง
                ้             ้                          ั    ่
ไทยทีสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 ที่ จ.หนองคาย มีที่รับฝากรถ
       ่
ของเอกชน เช่น กาตนาทัวร์ นฤมลทัวร์ เสียค่าบริการวันละ 100 บาท







คนไทยอาจไม่คุ้นเคยป้ายจราจรบางป้ายในลาว เช่น (จากซ้ายไปขวา) ห้ามจอดในวันคี่ ห้ามจอด

ในวันคู่ และห้ามหยุดรถและจอดรถ
                                 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
 23
ไขประตูสู่ลาว
 3. รถประจำทาง
 	          มีรถประจำทางให้บริการระหว่างนครหลวงเวียงจันทน์กับ
 หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น และ
 นครราชสีมา ระหว่างเมืองปากเซ แขวง
 จำปาสักกับอุบลราชธานี และระหว่าง
 เมืองไกสอน พมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต
 กับมุกดาหาร สถานีขนส่งที่นครหลวง
 เวียงจันทน์สำหรับรถโดยสารไปยัง
 ประเทศไทยอยู่ที่ถนนหนองบอน หลังตลาดเช้า ดูตารางรถได้ที่เว็บไซต์
 บริษัทขนส่ง จำกัด www.transport.co.th 
 4. เครื่องบิน
 	          มีสายการบินให้บริการระหว่างกรุงเทพฯ กับที่หมายใน
 สปป.ลาว 4 แห่ง ได้แก่ (1) นครหลวงเวียงจันทน์ (2) เมืองหลวงพระบาง
 (3) แขวงสะหวันนะเขต และ (4) เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก หากจะ
 เดินทางไปนครหลวงเวียงจันทน์ อาจนั่งเครื่องบินไปอุดรธานีแล้วนั่งรถ
 ต่อไปสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร (มีรถ
 บริการจากท่าอากาศยานอุดรธานี) นอกจากนี้ การบินลาวยังมีบริการ
 เส้นทางเชียงใหม่ - หลวงพระบาง และอุดรธานี - หลวงพระบางด้วย 
 	          การเดิ น ทางโดยเครื่ อ งบิ น จากนครหลวงเวี ย งจั น ทน์ ไ ป
 ประเทศอื่นยังไม่สะดวกมากนัก เพราะมีเส้นทางจำกัด เมืองที่สามารถ
 เดินทางไปได้โดยตรงจากนครหลวงเวียงจันทน์ ได้แก่ ฮานอย โฮจิมนห์   ิ
 พนมเปญ เสียมราฐ คุนหมิง และกัวลาลัมเปอร์
                                    
24 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
ไขประตูสู่ลาว

                                

  สนามบินที่นครหลวงเวียงจันทน์คือ สนามบินวัดไต (Wattay Aiport)

5. รถไฟ 
	         นั่งรถไฟไปลงที่สถานีหนองคาย แล้วนั่งรถสามล้อไปด่าน
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ระยะทางประมาณ  1 กิโลเมตร หรือนั่ง
รถไฟข้ามแม่น้ำโขงไปลงที่สถานีท่านาแล้งในฝั่งลาว จากสถานี
ท่านาแล้งต้องนั่งรถยนต์ไปอีกประมาณ 20 กิโลเมตร จึงจะถึงตัวเมือง
เวียงจันทน์ พิธีการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรทำที่สถานีรถไฟ
หนองคาย และสถานีท่านาแล้ง









  ขบวนรถไฟดีเซลรางบริการระหว่างสถานีหนองคายกับสถานีท่านาแล้ง



                         ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
 25
ไขประตูสู่ลาว

                        จุดผ่านแดนไทย-ลาว
 	            ตามกฎระเบียบของไทย จุดผ่านแดนที่คนไทย คนลาว และ
 คนประเทศที่ 3 เดินทางผ่านได้และสามารถขนส่งสินค้าเข้าออกได้ คือ
 จุดผ่านแดนถาวร ซึ่งชายแดนไทย-ลาวมี 15 แห่ง จุดผ่านแดนประเภท
 นี้ ฝั่งลาวเรียกว่า ด่านสากล จุดผ่านแดนระดับรองลงมา คือ
 จุดผ่อนปรนการค้า ซึ่งฝั่งลาวเรียกว่าด่านท้องถิ่น จุดผ่านแดนประเภท
 นี้ไม่ได้เปิดทุกวันและมีข้อจำกัดในการเดินทางเข้าออก ทั้งนี้ สปป.ลาว
 มีด่านอีกประเภทหนึ่งเรียกว่าด่านประเพณี ซึ่งให้เข้าออกได้เฉพาะ
 ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายแดน
 	            จุดผ่านแดนถาวรไทย-ลาว มีดังนี้
 	            1. จุดผ่านแดนถาวรบ้านเชียงแสน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
 ตรงข้ามด่านเมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว (ด่านฝั่งลาวยังเป็นด่านท้องถิ่น)
 	            2. จุดผ่านแดนถาวร อ.เชียงของ จ.เชียงราย-เมืองห้วยซาย
 แขวงบ่อแก้ว เชื่อมโยงกับเส้นทาง R3 โดยต้องข้ามแม่น้ำโขงโดย
 แพขนานยนต์ แต่ในอนาคตจะมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4
 	            3. จุดผ่านแดนถาวรห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน -
 ด่านน้ำเงิน เมืองเงิน แขวงไซยะบูลี เป็นเส้นทางสู่เมืองหลวงพระบาง
 และแขวงภาคเหนือของ สปป.ลาว รัฐบาลไทยได้สนับสนุนงบประมาณ
 ก่อสร้างถนนระยะทาง 49.2 กม.จากด่านไปเมืองเงิน แขวงไซยะบูลี ซึ่ง
 อยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามเมืองปากแบ่ง แขวงอุดมไซ และรัฐบาลลาวจะ

26 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
ไขประตูสู่ลาว

สร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมกับถนนดังกล่าวโดยกู้เงินจากจีน
	          4. จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพน้ำเหือง (ลาว-ไทย)
ระหว่าง อ.ท่าลี่ จ.เลย-เมืองแก่นเท้า แขวงไซยะบูลี สะพานเปิดใช้เมื่อ
วันที่ 28 ตุลาคม 2547 จากด่านไปเมืองหลวงพระบางมีระยะทาง 363
กม. แต่ถนนยังมีสภาพไม่ดี
	          5. จุดผ่านแดนถาวร อ.เชียงคาน จ.เลย ตรงข้ามด่านเมือง
ซะนะคาม แขวงเวียงจันทน์ ซึ่งยังเป็นด่านท้องถิ่น 
	          6. จุดผ่านแดนถาวรบ้านคกไผ่ อ.ปากชม จ.เลย ตรงข้าม
ด่านบ้านวัง เมืองหมื่น แขวงเวียงจันทน์ ซึ่งยังเป็นด่านท้องถิ่น 
	          7. จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 อ.เมือง
จ.หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์	 
	          8. จุดผ่านแดนถาวรท่าเสด็จ อ.เมือง จ.หนองคาย ตรงข้าม
ด่านท่าเดื่อ นครหลวงเวียงจันทน์ (เดิมด่านท่าเดื่อเป็นด่านสากล แต่
หลังเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 เมื่อปี 2537 ด่านสากลได้
ย้ายไปที่สะพาน)
	          9. ด่านสถานีรถไฟหนองคาย-สถานีรถไฟท่านาแล้ง 
(ณ กันยายน 2553 มีเฉพาะการขนส่งผู้โดยสาร ไม่มีการขนส่งสินค้า
เพราะยังไม่มีคลังสินค้า)
	          10. จุดผ่านแดนถาวร อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย - เมืองปากซัน
แขวงบอลิคำไซ เชื่อมโยงกับเส้นทางหมายเลข 8 ใน สปป.ลาว โดย

                          ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
 27
ไขประตูสู่ลาว

 ต้องข้ามแม่น้ำโขงโดยแพขนานยนต์
 	         11. จุดผ่านแดนถาวร อ.เมือง จ.นครพนม-เมืองท่าแขก
 แขวงคำม่วน เชื่อมโยงกับเส้นทางหมายเลข 12 ในสปป.ลาว โดยต้อง
 ข้ามแม่น้ำโขงโดยแพขนานยนต์ แต่ในอนาคตจะมีสะพานมิตรภาพ
 ไทย-ลาวแห่งที่ 3
 	         12. จุ ด ผ่ า นแดนถาวรสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่ง ที่ 2 
 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) เชื่อมโยงกับเส้นทางหมายเลข 9 ตามแนว
 East-West Economic Corridor ไปสู่ท่าเรือในเวียดนามได้
 	         13. จุดผ่านแดนถาวร อ.เมือง จ.มุกดาหาร ตรงข้ามด่าน
 เมืองไกสอน พมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต (เดิมด่านเมืองไกสอน
 พมวิหานเป็นด่านสากล แต่หลังเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่
 2 เมื่อปี 2549 ด่านสากลได้ย้ายไปที่สะพาน และทางการลาวได้ลด
 ระดับด่านเป็นด่านท้องถิ่น)
 	         14. จุดผ่านแดนถาวรบ้านปากแซง กิงอำเภอนาตาล จ.อุบลราชธานี
                                           ่
 ตรงข้ามด่านท้องถิ่นบ้านปากตะพาน เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน 
 	         15. จุดผ่านแดนถาวรช่องเม็ก อ.สิรนธร จ.อุบลราชธานี - วังเต่า
                                             ิ
 แขวงจำปาสั ก เป็ น จุ ด ผ่ า นแดนสู่แขวงภาคใต้ของ สปป.ลาว และ
 สามารถเดินทางไปเวียดนามได้ทางด่านพูเกือ แขวงอัดตะปือ
 
 

28 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
ไขประตูสู่ลาว

        แผนที่แสดงจุดผ่านแดนถาวรไทย-ลาว
               เมืองหลวงพระบางมรดกโลก



   1
   2
   3
   4
   5
   6
7
 8
 9
  10
  11
  12
 13
  14
  15
                                               ปราสาทวัดพูมรดกโลก
            หมายเหตุ :   = เป็นจุดผ่านแดนถาวรทั้งสองฝั่ง 
                         = ฝั่งลาวยังไม่เป็นจุดผ่านแดนถาวร 
                          ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
 29
ไขประตูสู่ลาว
 
 การ
 การติดต่อสื่อสาร
    
    1. โทรศัพท์
       	      - สปป.ลาวมีผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 4 เครือข่าย ได้แก่
 (1) M Phone (ลาวเทเลคอม) (2) ETL (3) TIGO (4) ลาวสตาร์ ผู้ที่นำ
 โทรศัพท์มือถือมาจากไทย สามารถซื้อซิมได้จากร้านสะดวกซื้อหรือร้าน
 ขายของทั่วไป
 	            - เมื่อเปลี่ยนซิมโทรศัพท์เป็นหมายเลขของลาวแล้ว หาก
 ต้องการโทรกลับไทยให้กดรหัส 00-66 ตามด้วยหมายเลขในไทยโดย
    ตัด 0 ตัวแรกออก เช่น จะโทรไปหมายเลข 02-6435000 ให้กด
    00-66-2-6435000 หรือโทรไปหมายเลข 081-1234567 ให้กด
 00-66-81-1234567
 	            - หากต้องการโทรศัพท์จากไทยไปลาว ให้กดรหัสสำหรับ
 โทรต่างประเทศ + 856 + รหัสพื้นที่หรือรหัสมือถือโดยตัด 0 ตัวแรก
    เช่น ต้องการโทรไปหมายเลขมือถือลาว 020-1234567 ให้กด 001
 (หรื อ 00X) 856-20-1234567 ทั้ ง นี้ ตั้ ง แต่ มิ ถุ นายน 2553 ผู้ ใ ช้
    เครือข่าย M Phone คือ หมายเลขขึ้นต้นด้วย 4,5 และ 6 ต้องเติมเลข
    5 อีกหนึ่งตัวที่ด้านหน้าสุด ผู้ใช้เครือข่าย TIGO คือ หมายเลขขึ้นต้น
    ด้วย 7 ต้องเติมเลข 7 อีกหนึ่งตัวที่ด้านหน้าสุด ส่วนเครือข่าย ETL ใช้
    หมายเลข7 หลักตามเดิม
    	
    
30 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
ไขประตูสู่ลาว
	         - สามารถรับสัญญาณโทรศัพท์มือถือไทยได้ในบางบริเวณที่
ใกล้ชายแดน เช่น ริมแม่น้ำโขงในนครหลวงเวียงจันทน์และที่แขวง
สะหวันนะเขต
  
2. อินเทอร์เน็ต
	         ในเมืองใหญ่ที่มีนักท่องเที่ยวมาก เช่น นครหลวงเวียงจันทน์
หลวงพระบาง วังเวียง สะหวันนะเขต จะมีรานอินเทอร์เน็ตหรืออินเทอร์
                                           ้
เน็ตคาเฟ่ที่สามารถใช้บริการได้ โรงแรมบางแห่งมีบริการอินเทอร์เน็ต
Wi-Fi  

3. ไปรษณีย์
	         ที่นครหลวงเวียงจันทน์ สามารถซื้อตราไปรษณียากรทั้งเพื่อ
ส่งจดหมายและการสะสมได้ที่รัฐวิสาหกิจไปรษณีย์ลาวซึ่งตั้งอยู่ตรง
ข้ามตลาดเช้ามอลล์ และไปรษณีย์สาขาที่ท่าอากาศยานวัดไต สำหรับ
ต่างแขวงอาจซื้อได้จากร้านขายโปสการ์ด

                                
                                





                         ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
 31
ไขประตูสู่ลาว
 
 
รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าข้ามโขง: ข้อควรรู้ก่อนเดินทางไปลาว
 
 วัฒนธรรมและประเพณี 
 	          ไทยและลาวมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกันแต่ต่างก็มี
 พัฒนาการในแบบฉบับของตัวเอง ภาษาไทยและลาวมีความคล้ายคลึง
 กันและสื่อสารกันเข้าใจได้ ทำให้หลายๆ ท่านที่ไม่สันทัดภาษาอังกฤษ  
 มาเที่ยวลาวได้อย่างสบายใจ ชาวลาวทั่วไปมีอัธยาศัยโอบอ้อมอารีและ
 ทำให้คนไทยรู้สึกคุ้นเคยได้ไม่ยาก มีคำแนะนำบางประการที่จะช่วยให้
 คนไทยผู้ ม าเป็ น แขกรั ก ษาน้ ำ ใจของเจ้ า ภาพและสร้ า งมิ ต รใหม่ ใ น
 ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงแห่งนี้
 	          เรื่องแรกคือ เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาว
 คำว่า “บ้านใกล้เรือนเคียง” เป็นคำที่เหมาะสมในทุกบริบท ส่วนคำว่า
 “บ้านพี่เมืองน้อง” แม้จะสื่อถึงความใกล้ชิดฉันญาติ ได้ดีกว่า แต่พึง
 เข้าใจว่าหมายถึงความเป็นพี่เป็นน้องของประชาชนไทยและลาวที่นับ
 ญาติ แ ละนั บ ถื อ กั น ตามอาวุ โ ส ไม่ ไ ด้ ห มายถึ ง ว่ า เมื อ งใดเป็ น พี่ ห รื อ
 ประเทศใดเป็นน้อง 
 	          คำหนึ่งในภาษาลาวที่แสดงถึงสายสัมพันธ์แบบเครือญาติคือ
 คำว่า “เป็นแก่วเป็นดอง” หมายถึงการเกี่ยวดองกันโดยการแต่งงาน
 ดังตัวอย่างในสุนทรพจน์ของ ฯพณฯ จูมมาลี ไซยะสอน ประธาน
 ประเทศแห่ง สปป.ลาว ในงานพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำเมื่อวันที่ 12
 พฤษภาคม 2552 ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬารว่า “ลาวและ
 ไทยเป็นประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงที่มีประเพณี วัฒนธรรมและภาษา
32 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
ไขประตูสู่ลาว
พูดคล้ายคลึงกัน พร้อมทังมีประวัตศาสตร์ทเี่ กียวพันกันมาแต่โบราณกาล
                          ้          ิ       ่
นอกจากนี้ ประชาชนไทยและประชาชนลาวยังมีสายสัมพันธ์ฉันญาติ
พี่น้องและเป็นแก่วเป็นดองกันมาเนิ่นนาน” หรือคำว่า “ไปพุ้นกินปลา
มานี่กินข้าว” ก็แสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์คนสองฝั่งโขงที่ใกล้ชิดกัน
สามารถไปกินปลาที่โน้นมากินข้าวที่นี่
	          เรื่องที่สอง ควรระมัดระวังหัวข้อสนทนา การเริ่มสนทนา
ด้วยเรื่องดินฟ้าอากาศ ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ละครทีวี หรือปรับทุกข์
เรื่องราคาน้ำมัน เป็นเรื่องทั่วไปที่หาคนร่วมวงได้ไม่ยาก แต่บางหัวข้อที่
หมิ่นเหม่ต่อการกระทบกระเทือนความรู้สึกของผู้ฟังก็ควรหลีกเลี่ยง
อย่างยิ่ง เช่น การนำความแตกต่างทางภาษา วิถีชีวิต ประเพณี และ
วัฒนธรรมมาเปรียบเทียบหรือล้อเลียนในเชิงตลกขบขัน (มีหลายกรณี
ที่คนไทยได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดจากสื่อบันเทิงเกี่ยวกับคำศัพท์ภาษา
ลาวหรือชื่อภาพยนตร์)  
	          ในวงสนทนาหรือการสัมภาษณ์บุคคลใดๆ ไม่ควรตั้งคำถาม
คาดคั้นให้คู่สนทนาหรือผู้ถูกสัมภาษณ์ต้องเปรียบเทียบบุคคล สถานที่
สิ่งของของไทยและลาวว่าของใครดีกว่าหรือสวยกว่า รวมทั้งงดเว้นการ
แสดงความคิดเห็นแบบชาตินิยมที่อาจนำไปสู่การโต้เถียงในประเด็น
ละเอียดอ่อน เช่น ประวัติศาสตร์ การเมือง การปกครอง เลี่ยงการ
สนทนาเกี่ยวกับการเมืองภายในของไทย และไม่ควรซักถามให้คนลาว
แสดงความเห็นเกี่ยวกับประเทศไทยหรือสถาบัน ยกเว้นเป็นการแสดง
ความเห็นโดยสมัครใจของชาวลาวก่อนเอง	                  
	          เรื่องต่อมา ควรเข้าใจว่า สปป.ลาว มีมาตรฐานการดำเนิน
ชีวิต วัฒนธรรมประเพณีในแบบฉบับของชาวลาว การได้มาเยือน
                            ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
 33
ไขประตูสู่ลาว
 สปป.ลาว เป็ น โอกาสดี ที่ จ ะเรี ย นรู้ วิ ถี ชี วิ ต ของท้ อ งถิ่ น ของประเทศ
 เพื่อนบ้านใกล้ชิดของเราเอง การนำมาตรฐานการดำเนินชีวิต
 ในประเทศไทยมาเป็นข้อเปรียบเทียบ เรียกร้อง จะทำให้เจ้าบ้าน
 ไม่สบายใจหรืออึดอัดใจได้
 	          เรืองสุดท้าย ควรทราบและปฏิบตตามกฎหมายและวัฒนธรรม
               ่                                ัิ
 ประเพณีอันดีงามของชาวลาว เช่น ควรแสดงความเคารพและกล่าวถึง
 บุคคลสำคัญของลาวที่ชาวลาวเคารพยกย่องอย่างเหมาะสม  ควรแต่ง
 กายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ โดยเฉพาะเมื่อไปสถานที่ทางศาสนาและ
 สถานที่ราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ควรแต่งเครื่องแบบและพกอาวุธเข้า
 มาใน สปป.ลาว หากมิใช่เป็นการเยือนอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้
 ควรทราบว่า ห้ามพักค้างคืนที่บ้านคนลาวโดยไม่แจ้งต่อนายบ้าน
 (ผู้ใหญ่บ้าน) ก่อน และการมีเพศสัมพันธ์กับคนลาวที่ไม่ใช่คู่สมรสเป็น
 เรืองผิดกฎหมาย หากละเมิดจะถูกกักตัวจนกว่าจะนำเงินมาจ่ายค่าปรับ
     ่
 ขั้นต่ำ 500 ดอลลาร์สหรัฐ และถูกส่งกลับประเทศ จึงต้องระวังและ
 หลีกเลี่ยงหากมีการชักชวนให้ไปท่องเที่ยวและซื้อบริการที่ผิดกฎหมาย
 และศีลธรรมอันดี 
 การใช้จ่ายและทำธุรกิจ
   	        นักท่องเที่ยวไทยเป็นลูกค้ารายใหญ่ของร้านค้าปลอดภาษีที่
 สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ตลาดเช้า ตลาดจีน และอีกหลายตลาดใน
 สปป.ลาว  โดยทั่วไปร้านค้าท้องถิ่นรับเงินบาทไทย  แต่ตามกฎหมาย
 ของ สปป.ลาวกำหนดให้ต้องชำระเป็นเงินกีบเท่านั้น (ประกาศธนาคาร
 แห่ง สปป.ลาว เลขที่ 92 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2550) และร้านค้าต้องติด
 ป้ายแสดงราคาสินค้าเป็นเงินกีบ ร้านค้าที่รับบัตรเครดิตยังมีไม่มากนัก
34 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
ไขประตูสู่ลาว

และมักให้เจ้าของบัตรเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมธนาคาร จึงควร
สอบถามให้ชัดเจนก่อนลงนามในสลิป
	          การเข้ามาซื้อสินค้าปลอดภาษีที่บริเวณด่านฝั่งลาว อาทิ ไวน์
สุรา และบุหรี่ นั้น ต้องมีเอกสารเข้าเมืองตามปกติ และพึงระลึกไว้
เสมอว่ากฎหมายไทยอนุญาตให้นำสุราและบุหรี่เข้าประเทศไทยได้ ไม่
เกิน 1 ลิตร และไม่เกิน 200 มวน ต่อคน  
	          บัตร ATM ประเภท Domestic (บัตรใช้ภายในประเทศไทย)
ไม่สามารถเบิกถอนเงินสดได้ใน สปป.ลาว  จะสามารถใช้บัตร ATM ได้
เฉพาะบัตรที่มีเครื่องหมาย VISA / MASTER โดยถอนเป็นเงินสกุลกีบ
เท่านั้น และหากจะนำเงินเข้า - ออก สปป.ลาว เกิน 5,000 ดอลลาร์
สหรัฐ ต้องยื่นสำแดงต่อเจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง
	          สำหรับผู้ที่ประสงค์จะลงทุนใน สปป.ลาว พึงตรวจสอบ
ความน่าเชื่อถือของผู้ร่วมลงทุนหรือบริษัทที่ร่วมลงทุนกับหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องของ สปป.ลาวก่อน หรือติดต่อสอบถามที่สำนักงานส่งเสริม
การค้าในต่างประเทศ ณ เวียงจันทน์ โทร. (007) 856-21 413704
และควรศึกษากฎระเบียบของลาวเพื่อดำเนินการได้ถูกต้องตามขั้นตอน
เช่น การจดทะเบียนประกอบธุรกิจ 
	          อนึง ผู้ไปปฏิบตงานใน สปป.ลาว ชัวคราว เช่น ติดตังอุปกรณ์
              ่          ัิ                ่               ้
หรือเป็นวิทยากรฝึกอบรม ควรให้ผู้ว่าจ้างใน สปป.ลาว ตรวจสอบ
ระเบียบในขณะนั้นให้ชัดเจนว่าจำเป็นต้องขอวีซ่าประเภททำงานหรือไม่



                          ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
 35
ไขประตูสู่ลาว
 สุขภาพและความปลอดภัย
 	          สปป.ลาว เป็นประเทศที่สุขสงบ แต่ตามเมืองใหญ่อาจมีการ
 ฉกชิงวิ่งราวเหมือนเมืองใหญ่อื่นๆ ทั่วโลก นักท่องเที่ยวควรระวังตัว
 เสมอเพื่อป้องกันการกระชากกระเป๋า การจี้ปล้น ซึ่งเคยปรากฏเป็น
 กรณีมาแล้ว เช่น ไม่ควรออกมาเดินเที่ยวเล่นในยามวิกาลตามสถานที่
 เปลี่ยว การสะพายกระเป๋าควรสะพายในลักษณะคล้องคอเอาไว้
 ด้านหน้า ไม่ควรสะพายคล้องไหล่  และหากถูกจี้ปล้นไม่ควรต่อสู้กับ
 คนร้ายเพราะเสี่ยงต่อการถูกทำร้ายจนบาดเจ็บ
 	          สำหรับการรักษาสุขภาพ นักท่องเทียวควรเตรียมยารักษาโรค
                                              ่
 ที่จำเป็นติดตัวไว้เสมอ รวมทั้งมีหมายเลขโทรศัพท์ของโรงพยาบาลใน
 ไทยไว้เผื่อกรณีฉุกเฉิน (โปรดดูหมายเลขโทรศัพท์ที่อาจเป็นประโยชน์
 ได้ทหน้า82) ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินและต้องไปรักษาพยาบาลในประเทศไทย
      ี่
 สามารถติดต่อสถานเอกอัครราชทูตเพื่อประสานให้ด่านสะพาน
 มิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 (หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์) อำนวย
 ความสะดวกในการข้ามแดนทั้งในและนอกเวลาทำการของด่าน
 (ด่านเปิดเวลา 6.00-22.00 น.) อนึ่ง ร้านอาหารใน สปป.ลาว นิยม
 ปรุงอาหารโดยใส่ผงชูรสปริมาณมาก ผู้ที่แพ้ผงชูรส ควรแจ้งร้านอาหาร
 ก่อนสั่งอาหารทุกครั้ง (ภาษาลาวเรียกผงชูรสว่า แป้งนัว)
 การกระทำที่ผิดกฎหมาย
 	          สปป.ลาว ให้ความสำคัญกับการรักษาความสงบเรียบร้อยใน
 สังคม เรื่องที่ทั้ง สปป.ลาว และไทยเข้มงวดอย่างยิ่งคือปัญหายาเสพ
 ติด การมียาเสพติดไว้เสพหรือซื้อขาย รวมทั้งการพกพาอาวุธและของ
 
36 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
ไขประตูสู่ลาว

ต้องห้ามไว้ในครอบครองเป็นสิ่งผิดกฎหมายขั้นรุนแรงของทั้งสปป.ลาว
และไทย ผู้ฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีลงโทษตามกฎหมายในขั้นสูงสุด
(โทษประหารชวต/จำคกตลอดชวต) กรณีตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้น คือ
                ีิ     ุ       ีิ
ชาวต่างประเทศหลอกจ้างให้หญิงไทยและหญิงลาวขนของที่ซุกซ่อน
ยาเสพติด หรืออาศัยที่อยู่เป็นที่ส่งพัสดุซุกซ่อนยาเสพติดจากต่าง
ประเทศ 
	         กิจกรรมที่ต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของลาว
ก่อน ได้แก่ การแจกจ่ายใบปลิว หรือเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ต่างๆ การถ่ายทำภาพยนตร์ ละคร มิวสิควีดิ โอ ข่าว สารคดี หรือ
รายการโทรทัศน์ (ทางการลาวจะจัดเจ้าหน้าที่ติดตามควบคุมการถ่าย
ทำทุกกรณีตลอดเวลาที่พำนักในลาว) และการชุมนุมเพื่อทำกิจกรรม
เช่น การสัมมนา การเผยแผ่ศาสนา การสอนภาษา และการขายสินค้า
หากฝ่าฝืนจะถูกปรับขั้นต่ำ 500 ดอลลาร์สหรัฐ หรือทั้งจำทั้งปรับ
	         กิจกรรมที่ห้ามทำ ได้แก่ ห้ามถ่ายภาพสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับ
ความมั่นคง เช่น ค่ายทหาร สถานีเรดาร์ หากฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดี
โดยมีโทษทั้งจำและปรับ ซึ่งเคยปรากฏเป็นกรณีมาหลายครั้งแล้ว และ
ห้ามนักท่องเที่ยวลงไปเดินบริเวณหาดทรายในแม่น้ำโขงหลัง 17.00 น.
หากฝ่าฝืนมีโทษปรับ
                                 
                                 
                                 
                                 
                                 
                          ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
 37
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010
ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010

More Related Content

What's hot

เล่มที่ 10 พระยาพิชัยดาบหัก
เล่มที่ 10  พระยาพิชัยดาบหักเล่มที่ 10  พระยาพิชัยดาบหัก
เล่มที่ 10 พระยาพิชัยดาบหักChoengchai Rattanachai
 
เมืองโบราณหริภุญไชย
เมืองโบราณหริภุญไชยเมืองโบราณหริภุญไชย
เมืองโบราณหริภุญไชย4lifesecret
 
07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยาJulPcc CR
 
เล่มที่ 4 โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสน
เล่มที่ 4  โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสนเล่มที่ 4  โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสน
เล่มที่ 4 โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสนChoengchai Rattanachai
 
เล่ม 1 ตำนานหมู่บ้านป่าคาตำบลแม่เงิน
เล่ม 1 ตำนานหมู่บ้านป่าคาตำบลแม่เงินเล่ม 1 ตำนานหมู่บ้านป่าคาตำบลแม่เงิน
เล่ม 1 ตำนานหมู่บ้านป่าคาตำบลแม่เงินChoengchai Rattanachai
 
เล่มที่ 3 แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของเชียงแสน
เล่มที่ 3  แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของเชียงแสนเล่มที่ 3  แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของเชียงแสน
เล่มที่ 3 แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของเชียงแสนChoengchai Rattanachai
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601Princess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยfernbamoilsong
 
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9พระราชประวัติรัชกาลที่ 9
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9banlangkhao
 

What's hot (18)

เล่มที่ 10 พระยาพิชัยดาบหัก
เล่มที่ 10  พระยาพิชัยดาบหักเล่มที่ 10  พระยาพิชัยดาบหัก
เล่มที่ 10 พระยาพิชัยดาบหัก
 
สมเด็พระนารายณ์มหาราช
สมเด็พระนารายณ์มหาราชสมเด็พระนารายณ์มหาราช
สมเด็พระนารายณ์มหาราช
 
Nuin
NuinNuin
Nuin
 
เมืองโบราณหริภุญไชย
เมืองโบราณหริภุญไชยเมืองโบราณหริภุญไชย
เมืองโบราณหริภุญไชย
 
07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา
 
เล่มที่ 4 โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสน
เล่มที่ 4  โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสนเล่มที่ 4  โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสน
เล่มที่ 4 โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสน
 
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 
ความสัมพั...Pptx กลุ่ม 4
ความสัมพั...Pptx  กลุ่ม 4ความสัมพั...Pptx  กลุ่ม 4
ความสัมพั...Pptx กลุ่ม 4
 
เล่ม 1 ตำนานหมู่บ้านป่าคาตำบลแม่เงิน
เล่ม 1 ตำนานหมู่บ้านป่าคาตำบลแม่เงินเล่ม 1 ตำนานหมู่บ้านป่าคาตำบลแม่เงิน
เล่ม 1 ตำนานหมู่บ้านป่าคาตำบลแม่เงิน
 
Sss
SssSss
Sss
 
Key of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56xKey of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56x
 
เล่มที่ 3 แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของเชียงแสน
เล่มที่ 3  แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของเชียงแสนเล่มที่ 3  แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของเชียงแสน
เล่มที่ 3 แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของเชียงแสน
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
 
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธีลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
 
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยาพัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
 
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9พระราชประวัติรัชกาลที่ 9
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9
 

More from Sarod Paichayonrittha

พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร What did the buddha teach
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  What did the buddha teachพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  What did the buddha teach
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร What did the buddha teachSarod Paichayonrittha
 
สูตรของเว่ยหลาง โดย พุทธทาสภิกขุ
สูตรของเว่ยหลาง โดย พุทธทาสภิกขุสูตรของเว่ยหลาง โดย พุทธทาสภิกขุ
สูตรของเว่ยหลาง โดย พุทธทาสภิกขุSarod Paichayonrittha
 
อานาปานสติสูตร
อานาปานสติสูตรอานาปานสติสูตร
อานาปานสติสูตรSarod Paichayonrittha
 
Ukti marketing brief make it happens -jan2014
Ukti marketing brief  make it happens  -jan2014Ukti marketing brief  make it happens  -jan2014
Ukti marketing brief make it happens -jan2014Sarod Paichayonrittha
 
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณรำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณSarod Paichayonrittha
 
Led lighting outdoor design challenge dec2013
Led lighting outdoor design challenge dec2013Led lighting outdoor design challenge dec2013
Led lighting outdoor design challenge dec2013Sarod Paichayonrittha
 
Kwater investor presentation oct2013
Kwater investor presentation oct2013Kwater investor presentation oct2013
Kwater investor presentation oct2013Sarod Paichayonrittha
 
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรSarod Paichayonrittha
 
Handbook malaysian fi t feed-in-tariff renewable energy mar2011
Handbook   malaysian fi t feed-in-tariff renewable energy mar2011Handbook   malaysian fi t feed-in-tariff renewable energy mar2011
Handbook malaysian fi t feed-in-tariff renewable energy mar2011Sarod Paichayonrittha
 
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554Sarod Paichayonrittha
 
ตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวู
ตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวูตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวู
ตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวูSarod Paichayonrittha
 
The ultimatum of god nature the one straw revolution -a recapitulation-1996
The ultimatum of god nature the one straw revolution  -a recapitulation-1996The ultimatum of god nature the one straw revolution  -a recapitulation-1996
The ultimatum of god nature the one straw revolution -a recapitulation-1996Sarod Paichayonrittha
 
Led Lighting SSL Road Map US.DOE aug2012
Led Lighting SSL Road Map US.DOE aug2012 Led Lighting SSL Road Map US.DOE aug2012
Led Lighting SSL Road Map US.DOE aug2012 Sarod Paichayonrittha
 
หลักการเขียนลายเซ็น
หลักการเขียนลายเซ็นหลักการเขียนลายเซ็น
หลักการเขียนลายเซ็นSarod Paichayonrittha
 
ISA Effective Use of PID Controllers 3-7-2013
ISA Effective Use of PID Controllers 3-7-2013ISA Effective Use of PID Controllers 3-7-2013
ISA Effective Use of PID Controllers 3-7-2013Sarod Paichayonrittha
 
Feed in tariff malaysia brochure 2012
Feed in tariff malaysia brochure 2012Feed in tariff malaysia brochure 2012
Feed in tariff malaysia brochure 2012Sarod Paichayonrittha
 

More from Sarod Paichayonrittha (20)

พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร What did the buddha teach
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  What did the buddha teachพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  What did the buddha teach
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร What did the buddha teach
 
สูตรของเว่ยหลาง โดย พุทธทาสภิกขุ
สูตรของเว่ยหลาง โดย พุทธทาสภิกขุสูตรของเว่ยหลาง โดย พุทธทาสภิกขุ
สูตรของเว่ยหลาง โดย พุทธทาสภิกขุ
 
อานาปานสติสูตร
อานาปานสติสูตรอานาปานสติสูตร
อานาปานสติสูตร
 
Ukti marketing brief make it happens -jan2014
Ukti marketing brief  make it happens  -jan2014Ukti marketing brief  make it happens  -jan2014
Ukti marketing brief make it happens -jan2014
 
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณรำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
 
The new scada jun2014
The new scada jun2014 The new scada jun2014
The new scada jun2014
 
Led lighting outdoor design challenge dec2013
Led lighting outdoor design challenge dec2013Led lighting outdoor design challenge dec2013
Led lighting outdoor design challenge dec2013
 
Kwater investor presentation oct2013
Kwater investor presentation oct2013Kwater investor presentation oct2013
Kwater investor presentation oct2013
 
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
 
Oil and gas thailand 2011 v f
Oil and gas thailand 2011 v fOil and gas thailand 2011 v f
Oil and gas thailand 2011 v f
 
Handbook malaysian fi t feed-in-tariff renewable energy mar2011
Handbook   malaysian fi t feed-in-tariff renewable energy mar2011Handbook   malaysian fi t feed-in-tariff renewable energy mar2011
Handbook malaysian fi t feed-in-tariff renewable energy mar2011
 
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
 
ตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวู
ตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวูตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวู
ตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวู
 
The ultimatum of god nature the one straw revolution -a recapitulation-1996
The ultimatum of god nature the one straw revolution  -a recapitulation-1996The ultimatum of god nature the one straw revolution  -a recapitulation-1996
The ultimatum of god nature the one straw revolution -a recapitulation-1996
 
ABB DC Circuit Breakers Catalog
ABB DC Circuit Breakers CatalogABB DC Circuit Breakers Catalog
ABB DC Circuit Breakers Catalog
 
Led Lighting SSL Road Map US.DOE aug2012
Led Lighting SSL Road Map US.DOE aug2012 Led Lighting SSL Road Map US.DOE aug2012
Led Lighting SSL Road Map US.DOE aug2012
 
หลักการเขียนลายเซ็น
หลักการเขียนลายเซ็นหลักการเขียนลายเซ็น
หลักการเขียนลายเซ็น
 
ISA Effective Use of PID Controllers 3-7-2013
ISA Effective Use of PID Controllers 3-7-2013ISA Effective Use of PID Controllers 3-7-2013
ISA Effective Use of PID Controllers 3-7-2013
 
China bullet train population 2013
China bullet train population 2013China bullet train population 2013
China bullet train population 2013
 
Feed in tariff malaysia brochure 2012
Feed in tariff malaysia brochure 2012Feed in tariff malaysia brochure 2012
Feed in tariff malaysia brochure 2012
 

ไขประตูสู่ลาว 2553 Lao Booklet 3rd Edition 2010

  • 1. ไขประตูสู่ลาว ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว 1
  • 2. ไขประตูสู่ลาว 2 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
  • 3. ไขประตูสู่ลาว คำนำ ไทยและลาวมีสายสัมพันธ์ฉันญาติมิตรมาแต่ โบราณกาล เหมือนดั่งคำกล่าวว่าข้ามโขง “ไปเอาพริกที่บ้านเหนือ ไปเอาเกลือที่ บ้านใต้” ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศครอบคลุม ความร่วมมือหลากหลายสาขาและเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนในสังคม ของทั้งสองประเทศ หนทางหนึ่งที่จะทำให้รู้จักและเข้าใจประเทศใดประเทศหนึ่ง ได้ดีที่สุดคือการเดินทางไปเยือนและมีประสบการณ์ตรงด้วยตนเอง ชื่อ คู่มือ “ไขประตูสู่ลาว” จึงมีนัยถึงการ “ทำความรู้จัก” ก่อนไปลาว ยิ่ง ประชาชนไปมาหาสู่กันมากและ “รู้เขา รู้เรา” มากขึ้นเท่าใด ก็จะยิ่ง เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและรู้สึกผูกพันกันเพิ่มขึ้นเท่านั้น อันจะช่วยนำ มาซึ่งความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจกันในที่สุด สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ได้รวบรวมประสบการณ์ และข้อมูลเกี่ยวกับลาวที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ ไว้ ในหนังสือเล่มนี้ เช่น การเดินทางข้ามแดน วิถีชีวิตและธรรมเนียมปฏิบัติของชาวลาว สถานที่สำคัญ และภาษาลาวที่พบในชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยให้คนไทย ไปลาวได้อย่างเตรียมพร้อมมากขึ้น และเนื่องจากปี 2553 เป็นปีครบ 60 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว จึงได้เพิ่มเนื้อหาที่สะท้อนถึง เหตุการณ์สำคัญในช่วง 60 ปีที่ผ่านมาไว้ในภาคแรกของไขประตูสู่ลาว (พิมพ์ครั้งที่ 3) ฉบับ 60 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาวเล่มนี้ด้วย รวมทั้งได้เพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับแขวงอื่นที่คนไทยนิยมไปท่องเที่ยว สถานเอกอัครราชทูตฯ หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยทำให้ผู้อ่านรู้จักและ ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว 1
  • 4. ไขประตูสู่ลาว เข้ า ใจประเทศลาวได้ อ ย่ า งลึ ก ซึ้ ง กว้ า งขวางมากขึ้ น อั น จะนำมาซึ่ ง รากฐานของมิตรภาพที่ยั่งยืนทั้งในระดับประชาชนและระดับประเทศ ต่อไป สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ กันยายน 2553 2 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
  • 5. ไขประตูสู่ลาว CONTENT CONTENT 1. ฉลอง 60 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว 4 - ภาพเก่าเล่าสัมพันธ์ 4 - ต้นไม้แห่งความสัมพันธ์ 11 - สถานที่น่าสนใจในความสัมพันธ์ไทย-ลาว 13 2. การเดินทางไป สปป.ลาว 20 3. การติดต่อสื่อสาร 30 4. รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าข้ามโขง : ข้อควรรู้ก่อนเดินทางไปลาว 32 5. ของฝากจากกงสุล 38 6. ถ้อยคำที่ใช้ในภาษาไทย-ลาว 42 7. ทำบุญไหว้พระ 54 8. เทศกาลงานฉลอง 58 9. ม่วนซื่นกับหมู่ลาว 66 10. ที่พัก 68 11. กองทัพเดินด้วยท้อง 70 12. จับจ่ายใช้สอย 80 13. หมายเลขโทรศัพท์ 82 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว 3
  • 6. ไขประตูสู่ลาว ภาพเก่าเล่าสัมพันธ์ ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว หนังสือจากนายวรการบัญชา รัฐมนตรีวาการกระทรวงการต่างประเทศ ่ ถึงจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี แจ้งว่า นายโง่น ชนะนิกร ผู้แทน รัฐบาลลาวประจำสำนักข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสได้ทาบทามผ่านกงสุลใหญ่ ณ เมือง ไซ่ง่อน (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองโฮจิมินห์) เสนอแลกเปลี่ยนผู้แทนทางการทูตกับ ไทย ซึงฝ่ายไทยได้ตอบรับข้อเสนอสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตตังแต่ 19 ธันวาคม ่ ้ 2493 เป็นต้นไป และแต่งตั้งนายประสิทธิ์ นรินทรางกูร กงสุลใหญ่ ณ เมืองไซ่ง่อน เป็นอุปทูตประจำลาวอีกตำแหน่งหนึ่ง 4
  • 7. ไขประตูสู่ลาว ฯพณฯ ไกสอน พมวิหาน ประธานประเทศ สปป.ลาว และภริยา เยือน ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว ไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ระหว่างวันที่ 6-11 มกราคม 2535 โดยเป็นประธานประเทศ สปป.ลาว คนแรกที่เยือนไทย และได้เยี่ยมชมศูนย์ศึกษา การพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ซึ่ง นำมาสู่การขอพระราชทานความช่วยเหลือจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้ง โครงการพัฒนาชนบทขึ้นแห่งหนึ่งใน สปป.ลาว ซึ่งก็คือศูนย์พัฒนาและบริการด้าน การเกษตร ห้วยซอน-ห้วยซั้ว หลัก 22 ในปัจจุบัน 5
  • 8. ไขประตูสู่ลาว ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว ฯพณฯ หนูฮก พูมสะหวัน ประธานประเทศ สปป.ลาว และภริยา เยือนไทย ั อย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ระหว่างวันที่ 14-19 กุมภาพันธ์ 2538 6
  • 9. ไขประตูสู่ลาว ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว “วันที่เปิดอาคารศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว หลัก 22 นั้นเรียกว่ามีความประทับใจกันทั้ง 2 ฝ่าย เพราะว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้ง 3 พระองค์ โดยมีประธานประเทศลาว ท่านหนูฮัก มาต้อนรับ....ท่านหนูฮัก จะมีอายุครบ 80 ปี แล้ว ในวันรุ่งขึ้นจะเป็นวันเกิดของท่าน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้อวยพร Happy Birthday ให้กับท่านหนูฮัก และท่านหนูฮักก็บอกว่า “ขอไปด้วย” ขอตามเสด็จไปบริเวณที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำ พระองค์จูงมือท่านหนูฮักไปด้วยกัน เป็นภาพที่น่ารักและประทับใจมาก” นายสุพร จันทร์พวง ที่ปรึกษาโครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วย ซอน-ห้วยซั้วกล่าวถึงความประทับใจเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทรงเปิดศูนย์ ร่วมกับ ฯพณฯ หนูฮัก พูมสะหวัน ประธานประเทศ สปป.ลาว เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2537 (คัดลอก จากหนังสือสานสัมพันธ์สองแผ่นดิน 15 ปี โครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว) 7
  • 10. ไขประตูสู่ลาว ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว ภาพตราไปรษณียากรออกโดยรัฐวิสาหกิจไปรษณีย์ลาวในโอกาสฉลอง 55 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อปี 2548 8
  • 11. ไขประตูสู่ลาว ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว ฯพณฯ จูมมาลี ไซยะสอน ประธานประเทศ สปป.ลาว และภริยา เยือนไทย อย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ระหว่างวันที่ 12-14 พฤษภาคม 2552 ใน ระหวางการเยอน ฯพณฯ จมมาลี ไซยะสอน ไดรบมอบปรญญารฐศาสตรดษฎบณฑต ่ ื ู ้ั ิ ั ุ ีั ิ กิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้เยี่ยมชมโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดาและโครงการแก้มลิงเพื่อป้องกันน้ำท่วม เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร 9
  • 12. ไขประตูสู่ลาว ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธาน ร่วมกับ ฯพณฯ บุนยัง วอละจิด รองประธานประเทศ สปป.ลาว ในพิธีเปิดการเดิน รถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ไทย-ลาวเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2552 และพิธีวางศิลาฤกษ์สะพาน มิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 นครพนม-คำม่วน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2552 10
  • 13. ไขประตูสู่ลาว ต้นไม้แห่งความสัมพันธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหวทรงปลูก ่ั ต้นราชพฤกษ์เมือวันที่ 8 เมษายน2537 ่ ทีศนย์บริการด้านการเกษตรห้วยซอน ู่ -ห้วยซัว หลัก 22 นครหลวงเวียงจันทน์ ้ ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว ฯพณฯ หนูฮัก พูมสะหวัน ประธานประเทศแห่ง สปป.ลาว ปลูกต้น ราชพฤกษ์ เมือวันที่ 8 เมษายน 2537 ทีศนย์บริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซัว ่ ู่ ้ หลัก 22 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้นมะยม เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2537 ที่ศูนย์ บริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว หลัก 22 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้นราชพฤกษ์เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2537 ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงเรียนวัฒนธรรม เด็กกำพร้า แขวงเวียงจันทน์ หลัก 67 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้นลีลาวดีร่วมกับ ฯพณฯ บุนยัง วอละจิด รองประธานประเทศแห่ง สปป.ลาว เมือวันที่ 5 มีนาคม ่ 2552 ที่สถานีรถไฟท่านาแล้ง นครหลวงเวียงจันทน์ 11
  • 14. ไขประตูสู่ลาว ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงปลูกต้นอินทนิล (กากะเลา) ในพิธีเปิดฝายห้วยซั้ว เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2552 ที่ศูนย์บริการด้าน การเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว หลัก 22 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงปลูกต้นลีลาวดี ในพิธีเปิดโครงการจัดตั้งแปลงสาธิตการเกษตรแบบผสมผสานที่มหาวิทยาลัยจำปาสัก เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553 12
  • 15. ไขประตูสู่ลาว สถานที่น่าสนใจในความสัมพันธ์ไทย-ลาว โครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว ตั้งอยู่ที่เมืองนาซายทอง ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ 22 กิโลเมตร จึงเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า “โครงการ หลัก 22” เป็นโครงการ พัฒนาชนบทที่ ฯพณฯ ไกสอน พมวิหาน ประธานประเทศ สปป.ลาว ได้ขอพระราชทานความช่วยเหลือจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว เมื่อปี 2535 เพื่อเป็นแบบอย่างและสถานที่ถ่ายทอดความรู้วิชาการ และประสบการณ์ด้านการเกษตรให้แก่ชาวบ้าน โดยให้มีลักษณะเช่นเดียว กับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ประสบผลสำเร็จ ในประเทศไทย โครงการได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2537 ปัจจุบัน เป็นสถานที่ให้บริการแก่เจ้าหน้าที่และประชาชนลาวด้านวิชาการ เกษตรด้านต่างๆ อย่างครบวงจรแห่งเดียวใน สปป. ลาว มีอ่างเก็บน้ำ ห้วยซอน และฝายห้วยซั้ว เป็นแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรและการอุปโภค บริโภคในพื้นที่ 9 หมู่บ้านรอบโครงการ •พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเปิด และ ฯพณฯ หนูฮัก พูมสะหวัน ประธานประเทศ สปป.ลาว เปิดป้ายโครงการ ศูนย์พัฒนาและบริการด้าน การเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2537 13
  • 16. ไขประตูสู่ลาว โรงเรียนวัฒนธรรมเด็กกำพร้า ตั้งอยู่ที่เมืองโพนโฮง แขวงเวียงจันทน์ ห่างจากนครหลวง เวียงจันทน์ 67 กิโลเมตร จึงเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า “โรงเรียน หลัก 67” ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2519 เพื่อรองรับเด็กกำพร้าจาก สงคราม เด็กขาดที่พึ่ง และเด็กจากครอบครัวยากจนทั่วประเทศ แต่ ข้อจำกัดด้านงบประมาณส่งผลให้นักเรียนขาดแคลนที่พัก อาหาร และ น้ำ เพื่อการอุปโภคและบริโภค และเป็นโรคขาดสารอาหาร เมื่อวันที่ 15-22 มีนาคม 2533 สมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เยือน สปป. ลาว เป็นครั้งแรก และได้มีผู้บริจาคทุนทรัพย์โดยเสด็จพระราชกุศลเป็นเงิน 12 ล้านกีบ พระองค์ ได้ โปรดเกล้าฯ ให้นำเงินไป ก่ อ สร้ า งเรื อ นนอนให้ แ ก่ โ รงเรี ย น วัฒนธรรมเด็กกำพร้า ซึ่งได้รับ พระ ราชทานชื่อว่า “อาคารสิรินธร” โดย ได้ พ ระราชทานพระราชทรั พ ย์ ส่ ว น พระองค์สมทบอีก 10 ล้านกีบ เพื่อ •พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ สร้างเรือนนอนดังกล่าวและส่งเสริม พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ โรงเรียนวัฒนธรรมเด็กกำพร้าเมื่อ วันที่ 9 เมษายน 2537 การพั ฒ นาแหล่ ง น้ ำ เพื่ อ การอุ ป โภค บริ โภคและการเกษตรด้วย และได้มีพระราชดำริให้ตั้งคณะกรรมการ ส่งเสริมกิจกรรมของโรงเรียน เพื่อจัดโครงการอาหารกลางวันและ โครงการโภชนาการสำหรับเด็ก รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมด้านการ ส่งเสริมอาชีพ การเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร และสิ่งก่อสร้างให้ อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน 14 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
  • 17. ไขประตูสู่ลาว โครงการแปลงสาธิตการเกษตรแบบผสมผสานภายใต้โครงการความ ร่วมมือทางวิชาการระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนากับมหาวิทยาลัยจำปาสัก มหาวิทยาลัยจำปาสักได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี ขอพระราชทานความร่ ว มมื อ ทาง วิ ช าการระหว่ า งมู ล นิ ธิ ชั ย พั ฒ นากั บ มหาวิ ท ยาลั ย จำปาสั ก ในด้ า น วิชาการเกษตร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจึง ทรงมีพระราชดำริ ให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาประสานหน่วยงานที่ ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว เกี่ ย วข้ อ งดำเนิ น งาน “โครงการจั ด ตั้ ง แปลงสาธิ ต การเกษตรแบบ ผสมผสาน” ขึ้นภายในมหาวิทยาลัยจำปาสัก โดยมีการลงนามใน บันทึกข้อตกลงความร่วมมือเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2550 กิ จ กรรมภายใต้ โ ครงการประกอบด้ ว ย 1) งานด้ า นการ พัฒนาที่ดิน 2) งานด้านชลประทาน 3) งานด้านปศุสัตว์ 4) งานด้าน ประมง 5) งานด้านการเกษตร 6) งานด้านการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน อาทิ การก่อสร้างอาคาร หอพักนักศึกษา และ 7) งานด้าน การเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการการเกษตร หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ของโครงการ ได้แก่ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา โดยความร่วมมือกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อาทิ สถานกงสุลใหญ่ ณ แขวงสะหวันนะ เขต กรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน กรมวิชาการเกษตร กรมประมง และกรมปศุสัตว์ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) สะพานข้ า มแม่ น้ ำ โขงแห่ ง แรกที่ เ ชื่ อ มฝั่ ง ไทย-ลาว เป็ น โครงการที่ ไ ด้ รั บ ความช่ ว ยเหลื อ จากออสเตรเลี ย มู ล ค่ า 30 ล้ า น ดอลลาร์สหรัฐ ความยาว 1,174 เมตร มีรางรถไฟอยู่กลางสะพาน 15
  • 18. ไขประตูสู่ลาว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ ฯพณฯ หนูฮัก พูมสะหวัน ประธาน ประเทศ สปป.ลาว เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2537 สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) สะพานนี้เป็นส่วนหนึ่งของ East-West Economic Corridor ที่ จ ะเชื่ อ มโยงเส้ น ทางคมนาคมขนส่ ง จากพม่ า ผ่ า นไทยและลาวไป เวียดนาม รัฐบาลไทยและลาวได้ร่วมกันกู้เงินจากญี่ปุ่น จำนวน 2,670 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว ล้านบาท เพื่อก่อสร้างสะพาน ความยาว 2,050 เมตร สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและ ฯพณฯ บุนยัง วอละจิด รอง ประธานประเทศ สปป.ลาว เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549 สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) สะพานข้ า มแม่ น้ ำ โขงแห่ ง แรกที่ ไ ทยสนั บ สนุ น งบประมาณทั้ ง หมด มู ล ค่ า ประมาณ 1,700 ล้ า นบาท สะพานนี้ จ ะเป็ น จุ ด เชื่ อ มโยงภาค ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ของไทยกั บ แขวงคำม่ ว นและแขวงบอลิ ค ำไซสู่ เมื อ งท่ า ในเวี ย ดนาม เชิ ง สะพาน แต่ละฝั่งมีอาคารด่านพรมแดนตาม รูปแบบสถาปัตยกรรมของจังหวัดนครพนมและแบบล้านช้างของแขวง คำม่วน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและ ฯพณฯ บุนยัง วอละจิด รองประธานประเทศ สปป.ลาว เป็นประธานร่วมในพิธี วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2552 16
  • 19. ไขประตูสู่ลาว สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยซาย) เป็นสะพานเชื่อมโยงจังหวัดเชียงรายกับแขวงบ่อแก้ว สปป. ลาว และเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทาง R3A สู่นครคุนหมิงในจีนตามแผน พัฒนา North-South Economic Corridor ซึ่งไทย สปป.ลาว จีน และ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ร่วมกันดำเนินการภายใต้กรอบความ ร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) งบประมาณก่อสร้างสะพาน 1,486.5 ล้านบาท มีพิธีลงนามความตกลงการก่อสร้างสะพาน เมื่อวัน ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว ที่ 14 พฤษภาคม 2553 ระยะเวลาการก่อสร้างประมาณ 30 เดือน สะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว (เลย-ไซยะบูลี) ตั้งอยู่ที่ อ.ท่าลี่ จ.เลย ตรงข้ามเมืองแก่นท้าว แขวงไซยะบุลี ความยาว 110 เมตร รัฐบาลไทยสนับสนุนงบประมาณก่อสร้าง 20.75 ล้านบาท เส้นทางนี้สามารถเดินทางต่อไปแขวงหลวงพระบางได้ ระยะทางประมาณ 363 กิโลเมตร •คาราวานจักรยานมิตรภาพไทย-ลาวข้ามแม่น้ำเหือง 17
  • 20. ไขประตูสู่ลาว ทางรถไฟหนองคาย-ท่านาแล้ง ทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ที่เชื่อมเมืองหลวงของไทยและ สปป.ลาว เข้าด้วยกัน จากกลางสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 ถึง สถานีท่านาแล้งในฝั่งลาว ทางรถไฟมีระยะทาง 3.5 กิโลเมตร วงเงิน ก่อสร้าง 197 ล้านบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารีและ ฯพณฯ บุนยัง วอละจิด รองประธานประเทศ สปป.ลาว ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดการเดินรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2552 ถนนลาว-ไทย นครหลวงเวียงจันทน์ ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กระยะ ทาง 4 กิ โลเมตร ตั้งแต่สามแยกหลัก 3 ถนนท่ า เดื่ อ ไปสามแยกน้ ำ ประปา ถนน โพนทั น รั ฐ บาลไทยให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ปรับปรุงถนนจำนวน 62 ล้านบาท นาย ชวน หลี ก ภั ย นายกรั ฐ มนตรี และนายสี ส ะหวาด แก้ ว บุ น พั น นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว เป็นประธานร่วมในพิธีมอบ-รับเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2543 ถนนมิตรภาพลาว-ไทย แขวงหลวงพระบาง เป็นถนนเชื่อมระหว่างถนน 13 เหนือ กับถนนสังคะโลก ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร รัฐบาลไทยสนับสนุนงบประมาณปรับปรุง 18 ล้านบาท ทำพิธีมอบ-รับเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2552 18
  • 21. ไขประตูสู่ลาว อาคารกีฬาอเนกประสงค์มิตรภาพลาว-ไทย (บึงขะหยอง) อาคารกีฬาในร่มอเนกประสงค์ที่ ไทยสนับสนุนงบประมาณ ก่อสร้าง 84 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นสถานที่แข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ที่ สปป.ลาว เป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ 9-18 ธันวาคม 2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว เป็นประธานร่วมในพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2552 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว •ภาพอาคารกีฬาอเนกประสงค์มิตรภาพลาว-ไทย 19
  • 22. ไขประตูสู่ลาว การเดินทางไป สปป.ลาว การเดินทางไป สปป.ลาว เป็นการเดินทางไปต่างประเทศ ต้องมีเอกสารเดินทางที่ถูกต้อง ได้แก่ หนังสือเดินทางหรือบัตรผ่าน แดน มิฉะนั้นจะเป็นการลักลอบเข้าเมือง 1. เอกสารประจำตัว 1.1 หนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางต้องมีอายุไม่ น้อยกว่า 6 เดือน สามารถ เดินทางไปเที่ยว สปป.ลาว ได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า พำนัก ได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน 1.2 บัตรผ่านแดน หาก ไม่มีหนังสือเดินทาง สามารถ ใช้บัตรผ่านแดน ซึ่งขอทำได้ที่ ที่ว่าการอำเภอที่มีชายแดนติดกับ สปป.ลาว โดยใช้บัตรประจำตัว ประชาชนและเสียค่าธรรมเนียม 40 บาท สามารถพำนักอยู่ได้ 3 วัน 2 คืน แต่ไม่สามารถเดินทางออกนอกพื้นที่ที่กำหนด เช่น หากข้าม สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 จากจังหวัดหนองคายไปนครหลวง เวียงจันทน์ จะไม่สามารถเดินทางไปนอกเขตนครหลวงเวียงจันทน์ได้ เช่น วังเวียง แดนสะหวัน เขื่อนน้ำงึม หรือเมื่อข้ามสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว 2 จากจังหวัดมุกดาหารไปแขวงสะหวันนะเขต ก็ไม่สามารถ เดินทางต่อไปแขวงอื่น หากละเมิดจะถูกจับในข้อหาเดินทางออกนอก 20 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
  • 23. ไขประตูสู่ลาว พื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาต และจะต้องจ่ายค่าปรับขั้นต่ำ 100 ดอลลาร์ สหรัฐ •ห้ามพำนักอยู่ใน สปป.ลาว เกินกำหนดที่ได้รับอนุญาต (กรณีบัตร ผ่านแดนจะถูกปรับวันละ 5 ดอลลาร์สหรัฐ/วันที่อยู่เกินกำหนด และ กรณีหนังสือเดินทางจะถูกปรับวันละ 10 ดอลลาร์สหรัฐ/วันที่อยู่เกิน กำหนด) •ผู้ใช้บัตรผ่านแดนสามารถขออยู่ต่อได้อีกไม่เกิน 3 ครั้ง ครังละ ้ ไม่เกิน 3 วัน โดยติดต่อที่แผนกคุ้มครองคนต่างประเทศ กองบัญชาการ ป้องกันรักษาความสงบ (ปกส) ในพื้นที่ •ควรนำเอกสารเดินทางติดตัวตลอดเวลา และถ่ายสำเนาแยกเก็บ ไว้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายลาวขอตรวจ •ตามกฎหมายลาว การเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะต้องติดต่อ ผ่านบริษัททัวร์ของลาวที่องค์การท่องเที่ยวแห่งชาติ สปป.ลาว รับรอง และต้องมีมัคคุเทศก์ชาวลาวประจำรถ เนื่องจากทางการลาวไม่ อนุญาตให้ชาวต่างชาติทำหน้าที่มัคคุเทศก์หรือบรรยายตามสถานที่ ท่องเที่ยวต่างๆ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุด 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ 2. การนำยานพาหนะข้ามแดน 2.1 รถยนต์ส่วนบุคคล ใช้เอกสารดังนี้ - หนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศ (สีม่วง) และ เครื่องหมายแสดงประเทศ ขอได้ที่สำนักมาตรฐานงานทะเบียน ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว 21
  • 24. ไขประตูสู่ลาว และภาษีรถ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่รถนั้น จดทะเบียนไว้หรือจังหวัดที่มีพื้นที่รับผิดชอบติดกับ สปป.ลาว - หนังสือคู่มือจดทะเบียนรถ (ฉบับจริง) - ใบอนุญาตขับรถที่ยังไม่หมดอายุ และแปลเป็นภาษาอังกฤษ ขอได้ที่สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถและสำนักงานขนส่ง จังหวัดชายแดน - หากมิได้เป็นเจ้าของรถยนต์ ต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของ และติดอากรแสตมป์ 30 บาท - รถของบริษัทต้องมีหนังสือบริคณห์สนธิ - กรมธรรม์ประกันภัยบุคคลที่ 3 ของ สปป.ลาว ซึ่งจะมีจำหน่ายที่ สำนักงานสาขาของบริษัทประกันภัยที่จุดผ่านแดนฝั่งลาว 2.2 รถที่ใช้ขนส่งระหว่างประเทศ - หนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศ (สีเขียว) และเครื่องหมาย แสดงประเทศ ขอได้ ที่ ส ำนั ก มาตรฐานงานทะเบี ย นและภาษี ร ถ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่รถนั้นจดทะเบียนไว้ หรือจังหวัดที่มีพื้นที่รับผิดชอบติดกับ สปป.ลาว - สำเนาใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ - ใบอนุญาตขับรถที่ยังไม่หมดอายุ และแปลเป็นภาษาอังกฤษ ขอได้ที่สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถและสำนักงานขนส่ง จังหวัดชายแดน - หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ ขอได้ที่สำนักงานขนส่งที่รถนั้น จดทะเบียน หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดชายแดน 22 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
  • 25. ไขประตูสู่ลาว - กรมธรรม์ประกันภัยบุคคลที่ 3 ของ สปป.ลาว ซึ่งจะมี จำหน่ายที่สำนักงานสาขาของบริษัทประกันภัยที่จุดผ่านแดนฝั่งลาว •ควรขับขี่ยานพาหนะในสปป.ลาว อย่างระมัดระวัง เนื่องจาก ระบบการจราจรใน สปป.ลาวให้ขับทางขวาของถนน ต่างจากฝั่งไทย และไม่ควรใช้ความเร็วสูงเนื่องจากทางการลาวจำกัดความเร็วไม่เกิน 50-60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และรถทางโทมักไม่หยุดรอรถทางเอก •เมื่อสัญญาณไฟจราจรเปลี่ยนจากไฟแดงเป็นไฟเขียว ควรออกรถ อย่างระมัดระวังและดูให้แน่ใจว่าไม่มีรถฝ่าไฟแดงจากด้านอื่น •ต้องระวังอันตรายจากรถจักรยานยนต์และสัตว์เลี้ยงต่างๆ เช่น ฝูงวัวและแพะ ซึ่งอาจตัดหน้าในระยะกระชั้นชิดและอาจก่อให้เกิด อุบัติเหตุได้ •ห้ามพูดโทรศัพท์ระหว่างขับรถ •หากไม่ตองการนำรถยนต์ขามไป สปป.ลาว บริเวณใกล้กบด่านฝัง ้ ้ ั ่ ไทยทีสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 ที่ จ.หนองคาย มีที่รับฝากรถ ่ ของเอกชน เช่น กาตนาทัวร์ นฤมลทัวร์ เสียค่าบริการวันละ 100 บาท คนไทยอาจไม่คุ้นเคยป้ายจราจรบางป้ายในลาว เช่น (จากซ้ายไปขวา) ห้ามจอดในวันคี่ ห้ามจอด ในวันคู่ และห้ามหยุดรถและจอดรถ ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว 23
  • 26. ไขประตูสู่ลาว 3. รถประจำทาง มีรถประจำทางให้บริการระหว่างนครหลวงเวียงจันทน์กับ หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น และ นครราชสีมา ระหว่างเมืองปากเซ แขวง จำปาสักกับอุบลราชธานี และระหว่าง เมืองไกสอน พมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต กับมุกดาหาร สถานีขนส่งที่นครหลวง เวียงจันทน์สำหรับรถโดยสารไปยัง ประเทศไทยอยู่ที่ถนนหนองบอน หลังตลาดเช้า ดูตารางรถได้ที่เว็บไซต์ บริษัทขนส่ง จำกัด www.transport.co.th 4. เครื่องบิน มีสายการบินให้บริการระหว่างกรุงเทพฯ กับที่หมายใน สปป.ลาว 4 แห่ง ได้แก่ (1) นครหลวงเวียงจันทน์ (2) เมืองหลวงพระบาง (3) แขวงสะหวันนะเขต และ (4) เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก หากจะ เดินทางไปนครหลวงเวียงจันทน์ อาจนั่งเครื่องบินไปอุดรธานีแล้วนั่งรถ ต่อไปสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร (มีรถ บริการจากท่าอากาศยานอุดรธานี) นอกจากนี้ การบินลาวยังมีบริการ เส้นทางเชียงใหม่ - หลวงพระบาง และอุดรธานี - หลวงพระบางด้วย การเดิ น ทางโดยเครื่ อ งบิ น จากนครหลวงเวี ย งจั น ทน์ ไ ป ประเทศอื่นยังไม่สะดวกมากนัก เพราะมีเส้นทางจำกัด เมืองที่สามารถ เดินทางไปได้โดยตรงจากนครหลวงเวียงจันทน์ ได้แก่ ฮานอย โฮจิมนห์ ิ พนมเปญ เสียมราฐ คุนหมิง และกัวลาลัมเปอร์ 24 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
  • 27. ไขประตูสู่ลาว สนามบินที่นครหลวงเวียงจันทน์คือ สนามบินวัดไต (Wattay Aiport) 5. รถไฟ นั่งรถไฟไปลงที่สถานีหนองคาย แล้วนั่งรถสามล้อไปด่าน สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร หรือนั่ง รถไฟข้ามแม่น้ำโขงไปลงที่สถานีท่านาแล้งในฝั่งลาว จากสถานี ท่านาแล้งต้องนั่งรถยนต์ไปอีกประมาณ 20 กิโลเมตร จึงจะถึงตัวเมือง เวียงจันทน์ พิธีการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรทำที่สถานีรถไฟ หนองคาย และสถานีท่านาแล้ง ขบวนรถไฟดีเซลรางบริการระหว่างสถานีหนองคายกับสถานีท่านาแล้ง ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว 25
  • 28. ไขประตูสู่ลาว จุดผ่านแดนไทย-ลาว ตามกฎระเบียบของไทย จุดผ่านแดนที่คนไทย คนลาว และ คนประเทศที่ 3 เดินทางผ่านได้และสามารถขนส่งสินค้าเข้าออกได้ คือ จุดผ่านแดนถาวร ซึ่งชายแดนไทย-ลาวมี 15 แห่ง จุดผ่านแดนประเภท นี้ ฝั่งลาวเรียกว่า ด่านสากล จุดผ่านแดนระดับรองลงมา คือ จุดผ่อนปรนการค้า ซึ่งฝั่งลาวเรียกว่าด่านท้องถิ่น จุดผ่านแดนประเภท นี้ไม่ได้เปิดทุกวันและมีข้อจำกัดในการเดินทางเข้าออก ทั้งนี้ สปป.ลาว มีด่านอีกประเภทหนึ่งเรียกว่าด่านประเพณี ซึ่งให้เข้าออกได้เฉพาะ ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายแดน จุดผ่านแดนถาวรไทย-ลาว มีดังนี้ 1. จุดผ่านแดนถาวรบ้านเชียงแสน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ตรงข้ามด่านเมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว (ด่านฝั่งลาวยังเป็นด่านท้องถิ่น) 2. จุดผ่านแดนถาวร อ.เชียงของ จ.เชียงราย-เมืองห้วยซาย แขวงบ่อแก้ว เชื่อมโยงกับเส้นทาง R3 โดยต้องข้ามแม่น้ำโขงโดย แพขนานยนต์ แต่ในอนาคตจะมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 3. จุดผ่านแดนถาวรห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน - ด่านน้ำเงิน เมืองเงิน แขวงไซยะบูลี เป็นเส้นทางสู่เมืองหลวงพระบาง และแขวงภาคเหนือของ สปป.ลาว รัฐบาลไทยได้สนับสนุนงบประมาณ ก่อสร้างถนนระยะทาง 49.2 กม.จากด่านไปเมืองเงิน แขวงไซยะบูลี ซึ่ง อยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามเมืองปากแบ่ง แขวงอุดมไซ และรัฐบาลลาวจะ 26 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
  • 29. ไขประตูสู่ลาว สร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมกับถนนดังกล่าวโดยกู้เงินจากจีน 4. จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพน้ำเหือง (ลาว-ไทย) ระหว่าง อ.ท่าลี่ จ.เลย-เมืองแก่นเท้า แขวงไซยะบูลี สะพานเปิดใช้เมื่อ วันที่ 28 ตุลาคม 2547 จากด่านไปเมืองหลวงพระบางมีระยะทาง 363 กม. แต่ถนนยังมีสภาพไม่ดี 5. จุดผ่านแดนถาวร อ.เชียงคาน จ.เลย ตรงข้ามด่านเมือง ซะนะคาม แขวงเวียงจันทน์ ซึ่งยังเป็นด่านท้องถิ่น 6. จุดผ่านแดนถาวรบ้านคกไผ่ อ.ปากชม จ.เลย ตรงข้าม ด่านบ้านวัง เมืองหมื่น แขวงเวียงจันทน์ ซึ่งยังเป็นด่านท้องถิ่น 7. จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 อ.เมือง จ.หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์ 8. จุดผ่านแดนถาวรท่าเสด็จ อ.เมือง จ.หนองคาย ตรงข้าม ด่านท่าเดื่อ นครหลวงเวียงจันทน์ (เดิมด่านท่าเดื่อเป็นด่านสากล แต่ หลังเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 เมื่อปี 2537 ด่านสากลได้ ย้ายไปที่สะพาน) 9. ด่านสถานีรถไฟหนองคาย-สถานีรถไฟท่านาแล้ง (ณ กันยายน 2553 มีเฉพาะการขนส่งผู้โดยสาร ไม่มีการขนส่งสินค้า เพราะยังไม่มีคลังสินค้า) 10. จุดผ่านแดนถาวร อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย - เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ เชื่อมโยงกับเส้นทางหมายเลข 8 ใน สปป.ลาว โดย ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว 27
  • 30. ไขประตูสู่ลาว ต้องข้ามแม่น้ำโขงโดยแพขนานยนต์ 11. จุดผ่านแดนถาวร อ.เมือง จ.นครพนม-เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน เชื่อมโยงกับเส้นทางหมายเลข 12 ในสปป.ลาว โดยต้อง ข้ามแม่น้ำโขงโดยแพขนานยนต์ แต่ในอนาคตจะมีสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาวแห่งที่ 3 12. จุ ด ผ่ า นแดนถาวรสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่ง ที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) เชื่อมโยงกับเส้นทางหมายเลข 9 ตามแนว East-West Economic Corridor ไปสู่ท่าเรือในเวียดนามได้ 13. จุดผ่านแดนถาวร อ.เมือง จ.มุกดาหาร ตรงข้ามด่าน เมืองไกสอน พมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต (เดิมด่านเมืองไกสอน พมวิหานเป็นด่านสากล แต่หลังเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 เมื่อปี 2549 ด่านสากลได้ย้ายไปที่สะพาน และทางการลาวได้ลด ระดับด่านเป็นด่านท้องถิ่น) 14. จุดผ่านแดนถาวรบ้านปากแซง กิงอำเภอนาตาล จ.อุบลราชธานี ่ ตรงข้ามด่านท้องถิ่นบ้านปากตะพาน เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน 15. จุดผ่านแดนถาวรช่องเม็ก อ.สิรนธร จ.อุบลราชธานี - วังเต่า ิ แขวงจำปาสั ก เป็ น จุ ด ผ่ า นแดนสู่แขวงภาคใต้ของ สปป.ลาว และ สามารถเดินทางไปเวียดนามได้ทางด่านพูเกือ แขวงอัดตะปือ 28 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
  • 31. ไขประตูสู่ลาว แผนที่แสดงจุดผ่านแดนถาวรไทย-ลาว เมืองหลวงพระบางมรดกโลก 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 ปราสาทวัดพูมรดกโลก หมายเหตุ : = เป็นจุดผ่านแดนถาวรทั้งสองฝั่ง = ฝั่งลาวยังไม่เป็นจุดผ่านแดนถาวร ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว 29
  • 32. ไขประตูสู่ลาว การ การติดต่อสื่อสาร 1. โทรศัพท์ - สปป.ลาวมีผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 4 เครือข่าย ได้แก่ (1) M Phone (ลาวเทเลคอม) (2) ETL (3) TIGO (4) ลาวสตาร์ ผู้ที่นำ โทรศัพท์มือถือมาจากไทย สามารถซื้อซิมได้จากร้านสะดวกซื้อหรือร้าน ขายของทั่วไป - เมื่อเปลี่ยนซิมโทรศัพท์เป็นหมายเลขของลาวแล้ว หาก ต้องการโทรกลับไทยให้กดรหัส 00-66 ตามด้วยหมายเลขในไทยโดย ตัด 0 ตัวแรกออก เช่น จะโทรไปหมายเลข 02-6435000 ให้กด 00-66-2-6435000 หรือโทรไปหมายเลข 081-1234567 ให้กด 00-66-81-1234567 - หากต้องการโทรศัพท์จากไทยไปลาว ให้กดรหัสสำหรับ โทรต่างประเทศ + 856 + รหัสพื้นที่หรือรหัสมือถือโดยตัด 0 ตัวแรก เช่น ต้องการโทรไปหมายเลขมือถือลาว 020-1234567 ให้กด 001 (หรื อ 00X) 856-20-1234567 ทั้ ง นี้ ตั้ ง แต่ มิ ถุ นายน 2553 ผู้ ใ ช้ เครือข่าย M Phone คือ หมายเลขขึ้นต้นด้วย 4,5 และ 6 ต้องเติมเลข 5 อีกหนึ่งตัวที่ด้านหน้าสุด ผู้ใช้เครือข่าย TIGO คือ หมายเลขขึ้นต้น ด้วย 7 ต้องเติมเลข 7 อีกหนึ่งตัวที่ด้านหน้าสุด ส่วนเครือข่าย ETL ใช้ หมายเลข7 หลักตามเดิม 30 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
  • 33. ไขประตูสู่ลาว - สามารถรับสัญญาณโทรศัพท์มือถือไทยได้ในบางบริเวณที่ ใกล้ชายแดน เช่น ริมแม่น้ำโขงในนครหลวงเวียงจันทน์และที่แขวง สะหวันนะเขต 2. อินเทอร์เน็ต ในเมืองใหญ่ที่มีนักท่องเที่ยวมาก เช่น นครหลวงเวียงจันทน์ หลวงพระบาง วังเวียง สะหวันนะเขต จะมีรานอินเทอร์เน็ตหรืออินเทอร์ ้ เน็ตคาเฟ่ที่สามารถใช้บริการได้ โรงแรมบางแห่งมีบริการอินเทอร์เน็ต Wi-Fi 3. ไปรษณีย์ ที่นครหลวงเวียงจันทน์ สามารถซื้อตราไปรษณียากรทั้งเพื่อ ส่งจดหมายและการสะสมได้ที่รัฐวิสาหกิจไปรษณีย์ลาวซึ่งตั้งอยู่ตรง ข้ามตลาดเช้ามอลล์ และไปรษณีย์สาขาที่ท่าอากาศยานวัดไต สำหรับ ต่างแขวงอาจซื้อได้จากร้านขายโปสการ์ด ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว 31
  • 34. ไขประตูสู่ลาว รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าข้ามโขง: ข้อควรรู้ก่อนเดินทางไปลาว วัฒนธรรมและประเพณี ไทยและลาวมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกันแต่ต่างก็มี พัฒนาการในแบบฉบับของตัวเอง ภาษาไทยและลาวมีความคล้ายคลึง กันและสื่อสารกันเข้าใจได้ ทำให้หลายๆ ท่านที่ไม่สันทัดภาษาอังกฤษ มาเที่ยวลาวได้อย่างสบายใจ ชาวลาวทั่วไปมีอัธยาศัยโอบอ้อมอารีและ ทำให้คนไทยรู้สึกคุ้นเคยได้ไม่ยาก มีคำแนะนำบางประการที่จะช่วยให้ คนไทยผู้ ม าเป็ น แขกรั ก ษาน้ ำ ใจของเจ้ า ภาพและสร้ า งมิ ต รใหม่ ใ น ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงแห่งนี้ เรื่องแรกคือ เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาว คำว่า “บ้านใกล้เรือนเคียง” เป็นคำที่เหมาะสมในทุกบริบท ส่วนคำว่า “บ้านพี่เมืองน้อง” แม้จะสื่อถึงความใกล้ชิดฉันญาติ ได้ดีกว่า แต่พึง เข้าใจว่าหมายถึงความเป็นพี่เป็นน้องของประชาชนไทยและลาวที่นับ ญาติ แ ละนั บ ถื อ กั น ตามอาวุ โ ส ไม่ ไ ด้ ห มายถึ ง ว่ า เมื อ งใดเป็ น พี่ ห รื อ ประเทศใดเป็นน้อง คำหนึ่งในภาษาลาวที่แสดงถึงสายสัมพันธ์แบบเครือญาติคือ คำว่า “เป็นแก่วเป็นดอง” หมายถึงการเกี่ยวดองกันโดยการแต่งงาน ดังตัวอย่างในสุนทรพจน์ของ ฯพณฯ จูมมาลี ไซยะสอน ประธาน ประเทศแห่ง สปป.ลาว ในงานพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2552 ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬารว่า “ลาวและ ไทยเป็นประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงที่มีประเพณี วัฒนธรรมและภาษา 32 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
  • 35. ไขประตูสู่ลาว พูดคล้ายคลึงกัน พร้อมทังมีประวัตศาสตร์ทเี่ กียวพันกันมาแต่โบราณกาล ้ ิ ่ นอกจากนี้ ประชาชนไทยและประชาชนลาวยังมีสายสัมพันธ์ฉันญาติ พี่น้องและเป็นแก่วเป็นดองกันมาเนิ่นนาน” หรือคำว่า “ไปพุ้นกินปลา มานี่กินข้าว” ก็แสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์คนสองฝั่งโขงที่ใกล้ชิดกัน สามารถไปกินปลาที่โน้นมากินข้าวที่นี่ เรื่องที่สอง ควรระมัดระวังหัวข้อสนทนา การเริ่มสนทนา ด้วยเรื่องดินฟ้าอากาศ ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ละครทีวี หรือปรับทุกข์ เรื่องราคาน้ำมัน เป็นเรื่องทั่วไปที่หาคนร่วมวงได้ไม่ยาก แต่บางหัวข้อที่ หมิ่นเหม่ต่อการกระทบกระเทือนความรู้สึกของผู้ฟังก็ควรหลีกเลี่ยง อย่างยิ่ง เช่น การนำความแตกต่างทางภาษา วิถีชีวิต ประเพณี และ วัฒนธรรมมาเปรียบเทียบหรือล้อเลียนในเชิงตลกขบขัน (มีหลายกรณี ที่คนไทยได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดจากสื่อบันเทิงเกี่ยวกับคำศัพท์ภาษา ลาวหรือชื่อภาพยนตร์) ในวงสนทนาหรือการสัมภาษณ์บุคคลใดๆ ไม่ควรตั้งคำถาม คาดคั้นให้คู่สนทนาหรือผู้ถูกสัมภาษณ์ต้องเปรียบเทียบบุคคล สถานที่ สิ่งของของไทยและลาวว่าของใครดีกว่าหรือสวยกว่า รวมทั้งงดเว้นการ แสดงความคิดเห็นแบบชาตินิยมที่อาจนำไปสู่การโต้เถียงในประเด็น ละเอียดอ่อน เช่น ประวัติศาสตร์ การเมือง การปกครอง เลี่ยงการ สนทนาเกี่ยวกับการเมืองภายในของไทย และไม่ควรซักถามให้คนลาว แสดงความเห็นเกี่ยวกับประเทศไทยหรือสถาบัน ยกเว้นเป็นการแสดง ความเห็นโดยสมัครใจของชาวลาวก่อนเอง เรื่องต่อมา ควรเข้าใจว่า สปป.ลาว มีมาตรฐานการดำเนิน ชีวิต วัฒนธรรมประเพณีในแบบฉบับของชาวลาว การได้มาเยือน ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว 33
  • 36. ไขประตูสู่ลาว สปป.ลาว เป็ น โอกาสดี ที่ จ ะเรี ย นรู้ วิ ถี ชี วิ ต ของท้ อ งถิ่ น ของประเทศ เพื่อนบ้านใกล้ชิดของเราเอง การนำมาตรฐานการดำเนินชีวิต ในประเทศไทยมาเป็นข้อเปรียบเทียบ เรียกร้อง จะทำให้เจ้าบ้าน ไม่สบายใจหรืออึดอัดใจได้ เรืองสุดท้าย ควรทราบและปฏิบตตามกฎหมายและวัฒนธรรม ่ ัิ ประเพณีอันดีงามของชาวลาว เช่น ควรแสดงความเคารพและกล่าวถึง บุคคลสำคัญของลาวที่ชาวลาวเคารพยกย่องอย่างเหมาะสม ควรแต่ง กายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ โดยเฉพาะเมื่อไปสถานที่ทางศาสนาและ สถานที่ราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ควรแต่งเครื่องแบบและพกอาวุธเข้า มาใน สปป.ลาว หากมิใช่เป็นการเยือนอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ ควรทราบว่า ห้ามพักค้างคืนที่บ้านคนลาวโดยไม่แจ้งต่อนายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) ก่อน และการมีเพศสัมพันธ์กับคนลาวที่ไม่ใช่คู่สมรสเป็น เรืองผิดกฎหมาย หากละเมิดจะถูกกักตัวจนกว่าจะนำเงินมาจ่ายค่าปรับ ่ ขั้นต่ำ 500 ดอลลาร์สหรัฐ และถูกส่งกลับประเทศ จึงต้องระวังและ หลีกเลี่ยงหากมีการชักชวนให้ไปท่องเที่ยวและซื้อบริการที่ผิดกฎหมาย และศีลธรรมอันดี การใช้จ่ายและทำธุรกิจ นักท่องเที่ยวไทยเป็นลูกค้ารายใหญ่ของร้านค้าปลอดภาษีที่ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ตลาดเช้า ตลาดจีน และอีกหลายตลาดใน สปป.ลาว โดยทั่วไปร้านค้าท้องถิ่นรับเงินบาทไทย แต่ตามกฎหมาย ของ สปป.ลาวกำหนดให้ต้องชำระเป็นเงินกีบเท่านั้น (ประกาศธนาคาร แห่ง สปป.ลาว เลขที่ 92 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2550) และร้านค้าต้องติด ป้ายแสดงราคาสินค้าเป็นเงินกีบ ร้านค้าที่รับบัตรเครดิตยังมีไม่มากนัก 34 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
  • 37. ไขประตูสู่ลาว และมักให้เจ้าของบัตรเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมธนาคาร จึงควร สอบถามให้ชัดเจนก่อนลงนามในสลิป การเข้ามาซื้อสินค้าปลอดภาษีที่บริเวณด่านฝั่งลาว อาทิ ไวน์ สุรา และบุหรี่ นั้น ต้องมีเอกสารเข้าเมืองตามปกติ และพึงระลึกไว้ เสมอว่ากฎหมายไทยอนุญาตให้นำสุราและบุหรี่เข้าประเทศไทยได้ ไม่ เกิน 1 ลิตร และไม่เกิน 200 มวน ต่อคน บัตร ATM ประเภท Domestic (บัตรใช้ภายในประเทศไทย) ไม่สามารถเบิกถอนเงินสดได้ใน สปป.ลาว จะสามารถใช้บัตร ATM ได้ เฉพาะบัตรที่มีเครื่องหมาย VISA / MASTER โดยถอนเป็นเงินสกุลกีบ เท่านั้น และหากจะนำเงินเข้า - ออก สปป.ลาว เกิน 5,000 ดอลลาร์ สหรัฐ ต้องยื่นสำแดงต่อเจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง สำหรับผู้ที่ประสงค์จะลงทุนใน สปป.ลาว พึงตรวจสอบ ความน่าเชื่อถือของผู้ร่วมลงทุนหรือบริษัทที่ร่วมลงทุนกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องของ สปป.ลาวก่อน หรือติดต่อสอบถามที่สำนักงานส่งเสริม การค้าในต่างประเทศ ณ เวียงจันทน์ โทร. (007) 856-21 413704 และควรศึกษากฎระเบียบของลาวเพื่อดำเนินการได้ถูกต้องตามขั้นตอน เช่น การจดทะเบียนประกอบธุรกิจ อนึง ผู้ไปปฏิบตงานใน สปป.ลาว ชัวคราว เช่น ติดตังอุปกรณ์ ่ ัิ ่ ้ หรือเป็นวิทยากรฝึกอบรม ควรให้ผู้ว่าจ้างใน สปป.ลาว ตรวจสอบ ระเบียบในขณะนั้นให้ชัดเจนว่าจำเป็นต้องขอวีซ่าประเภททำงานหรือไม่ ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว 35
  • 38. ไขประตูสู่ลาว สุขภาพและความปลอดภัย สปป.ลาว เป็นประเทศที่สุขสงบ แต่ตามเมืองใหญ่อาจมีการ ฉกชิงวิ่งราวเหมือนเมืองใหญ่อื่นๆ ทั่วโลก นักท่องเที่ยวควรระวังตัว เสมอเพื่อป้องกันการกระชากกระเป๋า การจี้ปล้น ซึ่งเคยปรากฏเป็น กรณีมาแล้ว เช่น ไม่ควรออกมาเดินเที่ยวเล่นในยามวิกาลตามสถานที่ เปลี่ยว การสะพายกระเป๋าควรสะพายในลักษณะคล้องคอเอาไว้ ด้านหน้า ไม่ควรสะพายคล้องไหล่ และหากถูกจี้ปล้นไม่ควรต่อสู้กับ คนร้ายเพราะเสี่ยงต่อการถูกทำร้ายจนบาดเจ็บ สำหรับการรักษาสุขภาพ นักท่องเทียวควรเตรียมยารักษาโรค ่ ที่จำเป็นติดตัวไว้เสมอ รวมทั้งมีหมายเลขโทรศัพท์ของโรงพยาบาลใน ไทยไว้เผื่อกรณีฉุกเฉิน (โปรดดูหมายเลขโทรศัพท์ที่อาจเป็นประโยชน์ ได้ทหน้า82) ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินและต้องไปรักษาพยาบาลในประเทศไทย ี่ สามารถติดต่อสถานเอกอัครราชทูตเพื่อประสานให้ด่านสะพาน มิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 (หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์) อำนวย ความสะดวกในการข้ามแดนทั้งในและนอกเวลาทำการของด่าน (ด่านเปิดเวลา 6.00-22.00 น.) อนึ่ง ร้านอาหารใน สปป.ลาว นิยม ปรุงอาหารโดยใส่ผงชูรสปริมาณมาก ผู้ที่แพ้ผงชูรส ควรแจ้งร้านอาหาร ก่อนสั่งอาหารทุกครั้ง (ภาษาลาวเรียกผงชูรสว่า แป้งนัว) การกระทำที่ผิดกฎหมาย สปป.ลาว ให้ความสำคัญกับการรักษาความสงบเรียบร้อยใน สังคม เรื่องที่ทั้ง สปป.ลาว และไทยเข้มงวดอย่างยิ่งคือปัญหายาเสพ ติด การมียาเสพติดไว้เสพหรือซื้อขาย รวมทั้งการพกพาอาวุธและของ 36 ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว
  • 39. ไขประตูสู่ลาว ต้องห้ามไว้ในครอบครองเป็นสิ่งผิดกฎหมายขั้นรุนแรงของทั้งสปป.ลาว และไทย ผู้ฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีลงโทษตามกฎหมายในขั้นสูงสุด (โทษประหารชวต/จำคกตลอดชวต) กรณีตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้น คือ ีิ ุ ีิ ชาวต่างประเทศหลอกจ้างให้หญิงไทยและหญิงลาวขนของที่ซุกซ่อน ยาเสพติด หรืออาศัยที่อยู่เป็นที่ส่งพัสดุซุกซ่อนยาเสพติดจากต่าง ประเทศ กิจกรรมที่ต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของลาว ก่อน ได้แก่ การแจกจ่ายใบปลิว หรือเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ต่างๆ การถ่ายทำภาพยนตร์ ละคร มิวสิควีดิ โอ ข่าว สารคดี หรือ รายการโทรทัศน์ (ทางการลาวจะจัดเจ้าหน้าที่ติดตามควบคุมการถ่าย ทำทุกกรณีตลอดเวลาที่พำนักในลาว) และการชุมนุมเพื่อทำกิจกรรม เช่น การสัมมนา การเผยแผ่ศาสนา การสอนภาษา และการขายสินค้า หากฝ่าฝืนจะถูกปรับขั้นต่ำ 500 ดอลลาร์สหรัฐ หรือทั้งจำทั้งปรับ กิจกรรมที่ห้ามทำ ได้แก่ ห้ามถ่ายภาพสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคง เช่น ค่ายทหาร สถานีเรดาร์ หากฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดี โดยมีโทษทั้งจำและปรับ ซึ่งเคยปรากฏเป็นกรณีมาหลายครั้งแล้ว และ ห้ามนักท่องเที่ยวลงไปเดินบริเวณหาดทรายในแม่น้ำโขงหลัง 17.00 น. หากฝ่าฝืนมีโทษปรับ ฉลอง 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว 37