SlideShare a Scribd company logo
1 of 38
จังหวัดสุโขทัย
เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณภาคกลางตอนบน มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก  และลำปาง  ( เรียงตามเข็มนาฬิกาจากด้านเหนือ ) จังหวัดสุโขทัย
พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสุโขทัยจะเป็นที่ราบลุ่ม ทางตอนเหนือและ ตอนใต้ของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบสูง มีเขาหลวงเป็นภูเขาที่มีความ สูงที่สุดวัดจากระดับน้ำทะเลมีความสูงประมาณ  1 , 200  เมตร โดยมีแนว ภูเขายาวเป็นพืดทางด้านทิศตะวันตกส่วนพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดจะ เป็นที่ราบ มีแม่น้ำไหลผ่านจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ลักษณะภูมิประเทศ
การปกครองแบ่งออกเป็น  9  อำเภอ 86  ตำบล  782  หมู่บ้าน   หน่วยการปกครอง ,[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],สัญลักษณ์ประจำจังหวัด บัวหลวง
งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประเพณีบวชช้างหาดเสี้ยว งานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮง งานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ งานประเพณีสรงน้ำโอยทาน งานแข่งขันเรือพายเทโวโรหณะ งานวันพิชิตยอดเขาหลวง ประเพณีการทำขวัญผึ้ง งานสักการะพระแม่ย่าและงานกาชาด งานเทศกาลและประเพณี
อุทยาน อุทยานแห่งชาติรามคำแหง อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ที่ตั้งและอาณาเขต อำเภอเมืองสุโขทัยตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด  มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง  ทิศเหนือ  ติดต่อกับอำเภอศรีสำโรง ทิศตะวันออก  ติดต่อกับอำเภอพรหมพิราม และอำเภอกงไกรลาศ ทิศใต้  ติดต่อกับอำเภอคีรีมาศ ทิศตะวันตก  ติดต่อกับอำเภอบ้านด่านลานหอย
ทางรถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  101  เชื่อมระหว่างสวรรคโลก - สุโขทัย ระยะทาง  38  กิโลเมตรทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  101  เชื่อมระหว่างสวรรคโลก - ศรีสัชนาลัย ระยะทาง  30  กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  1180  เชื่อมระหว่างสวรรคโลก - ศรีนคร  ระยะทาง  18  กิโลเมตรทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  1048 ( ต่อทางของเทศบาลเมืองสวรรคโลกควบคุม – บรรจบทาง หลวงหมายเลข  1 ( ดอนชัย ))  เชื่อมระหว่างสวรรคโลก - ทุ่งเสลี่ยม ระยะทาง  30  กิโลเมตร การเดินทาง
ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางนั่งปรับอากาศ  ( สปรินเตอร์ )  ขบวนที่  3/4  กรุงเทพ - สวรรคโลก - ศิลาอาสน์ - กรุงเทพ  ไป - กลับ วันละ  1  เที่ยว ถึงสวรรคโลกเวลาประมาณ  17.40  น .  ออกจากสวรรคโลกเวลา  17.55  ถึงกรุงเทพฯ  04.00  น . ทางรถไฟ
 
ท่าอากาศยานสุโขทัย  ( บางกอกแอร์เวย์ )  อยู่ห่างจากเทศบาล ไปทางทิศใต้ตามถนนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม  ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองกระจง มีเที่ยวบินเดินทาง ดังนี้ ทางอากาศ
             ภูมิประเทศโดยทั่วๆ ไป ของจังหวัดสุโขทัย พื้นที่ตอนเหนือเป็นที่ราบสูง มีภูเขายาวติดต่อกันมาทางทิศตะวันตก พื้นที่ตอนกลางเป็นที่ราบ ส่วนพื้นที่ตอนใต้เป็นที่ราบสูง มีแม่น้ำยมซึ่งมี ต้นน้ำอยู่ที่สันเขาผีปันน้ำ  อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ไหลผ่านจากทางเหนือลงใต้โดยผ่าน  พื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง อำเภอเมืองสุโขทัย และอำเภอกงไกรลาศเป็นระยะทางประมาณ  170   กิโลเมตร ไปบรรจบกับแม่น้ำน่านที่อำเภอชุมแสงจังหวัดนครสวรรค์ เกษตรกรส่วนใหญ่ของจังหวัดสุโขทัยอาศัยน้ำจากแม่น้ำยม เป็นแหล่งน้ำสำหรับการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ลักษณะภูมิประเทศ
              สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของจังหวัดสุโขทัยจะเปลี่ยนแปลงไปตาม อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งออกได้เป็น  3   ฤดู คือ             ภูมิอากาศ
ฤดูร้อน  เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม  อากาศจะร้อนอบอ้าวทั่วไป เดือนที่มีอากาศร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน            
ฤดูฝน  เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม  เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งร้อนและชื้นพัด จากมหาสมุทรอินเดียปกคลุมประเทศไทยทำให้มีฝนตกทั่วไป  เดือนที่มีฝนตกมากที่สุดคือ เดือนกันยายน           
     ฤดูหนาว  เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์  ซึ่งเป็นช่วงของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านทำให้อากาศ หนาวเย็นทั่วไป เดือนที่มีอากาศหนาวจัดคือ เดือนธันวาคม และเดือนมกราคม
ป่าไม้     จังหวัดสุโขทัยเป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้อันมีค่า  ที่สำคัญได้แก่ ไม้สัก ไม้แดง ไม้มะค่า และไม้เบญจพรรณ ในปีพ . ศ .  2541 จังหวัดสุโขทัยมีเนื้อที่ป่าไม้  1,944,099.75   ไร่  ( ประมาณ  47.16%   ของเนื้อ ที่ทั้งหมดของจังหวัด  )  แต่เนื่องจากเนื้อที่ป่าสงวนของจังหวัดสุโขทัยถูก บุกรุกและทำลายไปเรื่อยๆ สาเหตุสำคัญคือ ความต้องการที่ดินอันเป็น ปัจจัยของการผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นตามอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ธุรกิจการก่อสร้าง และค่านิยมของประชาชนในการ ใช้ไม้ตกแต่งบ้าน ทรัพยากรธรรมชาติ
             แร่ธาตุสำคัญที่พบในจังหวัดสุโขทัยมีอยู่หลายชนิด  ได้แก่ หินอ่อน หินปูน พลอย ดินขาว แมงกานีส ฟลูออไรด์  ผลึกหินไพไรต์ ที่เรียกว่า ข้าวตอกพระร่วง และแร่รัตนชาติ  หินอ่อนที่จังหวัดสุโขทัยเป็นหินอ่อนที่มีคุณภาพดีที่สุดของประเทศ นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุที่มีการขุดพบ แต่ยังมิได้นำมาใช้ประโยชน์ คือ ทองแดง และเหล็ก     แร่ธาตุ
             การปกครองของจังหวัดสุโขทัยแบ่งออกเป็น  9   อำเภอ  84   ตำบล  787 หมู่บ้าน  1   องค์การบริหารส่วนจังหวัด  2   เทศบาลเมือง ได้แก่เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี และเทศบาลเมืองสวรรคโลก 11   เทศบาลตำบล ได้แก่ เทศบาลตำบลศรีสำโรง  เทศบาลตำบลศรีสัชนาลัย เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว เทศบาลตำบลเมืองเก่า  เทศบาลตำบลบ้านสวน เทศบาลตำบลบ้านโตนด เทศบาลตำบลทุ่งหลวง เทศบาลตำบลกงไกรลาศ เทศบาลตำบลทุ่งเสลี่ยม เทศบาลตำบลศรีนคร  และเทศบาลตำบลลานหอย การบริหารราชการ
                   ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึก เรียกว่า ตรีบูร  มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง  1,300   เมตร ยาว  1,800   เมตร กำแพงชั้นในเป็นศิลาแลงก่อบนคันดิน กำแพง  2   ชั้นนอกเป็นคูน้ำสลับกับคันดิน นอกจากทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกแล้วคูน้ำยังใช้ระบายน้ำไม่ให้ไหลท่วมเมือง อีกด้วย ระหว่างกึ่งกลางแต่ละด้านมีประตูเมือง และป้อมหน้าประตูด้วย   กำแพงเมืองสุโขทัย 
 
    วัดชนะสงคราม                       ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของวัดมหาธาตุ ใกล้กับโบราณสถานที่เรียกว่าหลักเมือง เดิมเรียกว่า วัดราชบูรณะ มีลักษณะเด่นคือ เจดีย์ทรงระฆังกลมขนาดใหญ่ เป็นเจดีย์ประธาน และมีวิหาร โบสถ์ เจดีย์รายต่าง ๆ                                     
เนินปราสาทพระร่วง หรือเขตพระราชวังในสมัยสุโขทัย                     ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับวัดมหาธาตุ มีโบราณสถานแห่งหนึ่งเรียกว่า เนินปราสาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสันนิษฐานว่าบริเวณนี้เคยเป็นฐานปราสาทราชวัง ของกษัตริย์เมืองสุโขทัย กรมศิลปากรได้ขุดแต่ง บูรณะ เมื่อ พ . ศ . 2526  พบฐาน อาคารแบบฐานบัวค่ำ บัวหงาย  มีลักษณะเป็นฐานสูงรูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้า ขนาด 27.50 X 51.50  เมตร มีบันไดที่ด้านหน้า และด้านหลัง                                        
วัดตระพังเงิน    เป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่บริเวณขอบตระพังเงินด้านทิศตะวันตกของวัดมหาธาตุ ห่างจากวัดมหาธาตุ  300   เมตร โบราณสถานนี้ไม่มีกำแพงแก้ว ประกอบด้วยเจดีย์ทรงดอกบัวตูมเป็นประธาน ลักษณะเด่นของเจดีย์ทรงดอกบัวตูม คือ มีจระนำที่เรือนธาตุทั้งสี่ด้านประดิษฐานพระพุทธรูปยืน และพระพุทธรูปปางลีลา  ( จระนำ หมายถึง ชื่อซุ้มท้ายวิหาร  หรือท้ายโบสถ์ มักเป็นช่องตัน )  วิหารประกอบอยู่ด้านหน้าและทาง ด้านตะวันออกของเจดีย์เป็นเกาะ มีโบสถ์ตั้งอยู่กลางน้ำ                                      
  วัดสระศรี เป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานสำคัญอยู่บริเวณกลางสระน้ำที่มีขนาดใหญ่ชื่อว่าตระพังตระกวนและสิ่งสำคัญของวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงลังกาด้านหน้าวิหารขนาดใหญ่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยมีเจดีย์ขนาดเล็กศิลปศรีวิชัยผสมลังกาตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้มีซุ้มพระพุทธรูป 4 ทิศด้านหน้ามีเกาะกลางน้ำขนาดย่อมเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถขนาดเล็กวัดแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นจุดที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม                                     
วัดศรีสวาย                  ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของวัดมหาธาตุ ห่างออกไปประมาณ  350   เมตร โบราณสถานที่สำคัญตั้งอยู่ในกำแพงแก้ว ประกอบด้วยปรางค์  3   องค์ รูปแบบศิลปะลพบุรี ลักษณะของปรางค์ค่อนข้างเพรียว ตั้งอยู่บนฐานเตี้ย ๆ ลวดลายปูนปั้นบางส่วนเหมือนลายบนเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวน ได้พบทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนของเทวรูป และศิวลึงค์ที่แสดงให้เห็นว่าเคยเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูมาก่อน แล้วแปลงเป็นพุทธสถานโดยต่อเติมวิหารขึ้นที่ด้านหน้า แล้วเป็นวัดในพุทธศาสนาภายหลัง                                   
มีลักษณะเป็นโบราณสถานตามแบบศิลปเขมร ก่อด้วยศิลาแลง  สมัยนครวัด  ( พ .  ศ . 1650 - 1700)  ต่อมากรมศิลปากรได้ดำเนินการ ขุดแต่ง และบูรณะศาลนี้ได้พบชิ้นส่วนเทวรูป และเทวสตรีประดับ ด้วยเครื่องตกแต่ง ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง   ศาลตาผาแดง  
  ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย                   เป็นอาคารทรงไทยสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย อยู่ใกล้วัดพระพายหลวง ภายในอาคารเป็นศูนย์ให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย รวมทั้งจัดแสดงแบบจำลองของโบราณสถานต่าง ๆ ในเขตเมืองเก่าสุโขทัย นักท่องเที่ยวควรเริ่มต้นชมอุทยานฯ จากจุดนี้เพื่อจะได้เห็นภาพรวมของสุโขทัยในอดีต                                      
 
      วัดพระพายหลวง                    เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ  3  ชั้น คูชั้นนอกเรียกว่า คูแม่โจน วัดพระพายหลวงเป็นศูนย์กลางของชุมชน โบราณสถานทเก่าแก่ที่สุดของวัด คือ พระปรางค์  3  องค์ เป็นปรางค์ประธานของวัด ก่อด้วยศิลาแลง ศิลปะเป็นเขมรแบบบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่  7  ด้านหน้าของวัดเป็นอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น  4   อิริยาบถ คือนั่ง นอน ยืน เดิน                                      
  วัดช้างรอบ                    อยู่ห่างจากประตู้อ้อไปทางทิศตะวันตกประมาณ  2.4  กิโลเมตร มีโบราณสถานที่สำคัญประกอบด้วย เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีช้างโผล่ครึ่งตัว มีจำนวน  24  เชือก พระอุโบสถอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน และมีเจดีย์ราย  5  องค์ ล้อมรอบเจดีย์ประธาน และโบสถ์                                      
  วัดสะพานหิน                   วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินเขา สูงประมาณ  200   เมตร บริเวณทางเดินขึ้นโบราณสถานมีทางเดินปูลาดด้วยหินชนวนจากตีนเขาขึ้นไปเป็นระยะทาง  300   เมตร สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระประธานเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระปางประทานอภัย สูง  12.50   เมตร เรียกว่า “พระอัฏฐารศ”                                       
  เขื่อนสรีดภงค์ หรือทำนบพระร่วง                     ตั้งอยู่บริเวณเมืองเก่า ทำนบนี้เป็นเขื่อนดิน  ( คันดิน )  สำหรับกั้นน้ำอยู่ระหว่างซอกเขาคือ เขาพระบาทใหญ่ และเขากิ่วอ้ายมา ที่สร้างขึ้นเพื่อกักน้ำ และชักน้ำไปตามคลองส่งน้ำมาเข้ากำแพงเมืองเข้าสระตระพังเงิน ตระพังทอง เพื่อนำไปใช้ในเมือง และพระราชวังในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบันกรมชลประทานได้ปรับปรุงบูรณะ และซ่อมแซมขึ้นใหม่                                      
วัดเจดีย์สี่ห้อง                     ตั้งอยู่ทางตะวันออกของวัดเชตุพน ห่างไปประมาณ  100  เมตร โบราณสถานที่น่าสนใจ คือ ที่ฐานเจดีย์ประธานมีภาพปูนปั้นประดับ โดยรอบปั้นเป็นรูปบุคคล รูปบุรุษ และสตรี สวมอาภารณ์ และ เครื่องประดับ ในมือถือภาชนะ มีพรรณพฤกษางอกโผล่พ้นออก มาที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์  นอกจากนั้นมีปูนปั้นรูปช้าง และสิงห์ประดับรูปบุคคล องค์เจดีย์ประธานเป็นทรงระฆังกลม ที่ได้รับการบูรณะ ส่วนยอดเจดีย์ได้หักพังลง         
วัดช้างล้อม                    เป็นโบราณสถานที่สำคัญ มีเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาเป็นประธานของวัด รอบฐานเจดีย์ประดับด้วย   ปูนปั้นเป็นรูปช้างโผล่ครึ่งตัว ด้านหน้ามีฐานวิหารก่อด้วยอิฐ และยังมีฐานกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐล้อมรอบ                                      
อาณาจักรสุโขทัย .  (“ สุโขทัย .”)   11  พฤศจิกายน  2553.  < http://www.moohin.com/027/. >  3   ธันวาคม  2553.   จังหวัดสุโขทัย .  (“ สุโขทัย .”)  9  พฤศจิกายน  2553 .  <http://th.wikipedia.org/wiki.>  3   ธันวาคม  2553.  บรรณานุกรม
จบการนำเสนอ จัดทำโดย นางสาว อธิติยา  สังคำพันธ์

More Related Content

Similar to สุโขทัย

โรงเรียนวัดมโนราษฎร์
โรงเรียนวัดมโนราษฎร์โรงเรียนวัดมโนราษฎร์
โรงเรียนวัดมโนราษฎร์
Songwut Wankaew
 
โรงเรียนวัดมโนราษฎร์
โรงเรียนวัดมโนราษฎร์โรงเรียนวัดมโนราษฎร์
โรงเรียนวัดมโนราษฎร์
Songwut Wankaew
 
Unit 1 early thailand from prehistory to sukhothai
Unit 1  early thailand from prehistory to sukhothaiUnit 1  early thailand from prehistory to sukhothai
Unit 1 early thailand from prehistory to sukhothai
Thaiway Thanathep
 

Similar to สุโขทัย (20)

สงขลา
สงขลาสงขลา
สงขลา
 
จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดร้อยเอ็ด
 
จังหวัดอุบลราชธานี
จังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุบลราชธานี
จังหวัดอุบลราชธานี
 
อุทัยธานี
อุทัยธานีอุทัยธานี
อุทัยธานี
 
จังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรี
 
จังหวัดฉะเชิงเทรา
จังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดฉะเชิงเทรา
จังหวัดฉะเชิงเทรา
 
จังหวัดอำนาจเจริญ
จังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดอำนาจเจริญ
จังหวัดอำนาจเจริญ
 
จ.ขอนเเก่น
จ.ขอนเเก่นจ.ขอนเเก่น
จ.ขอนเเก่น
 
ตาก
ตากตาก
ตาก
 
จังหวัดสุรินทร์
จังหวัดสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์
จังหวัดสุรินทร์
 
เรื่องจังหวัดพิจิตร
เรื่องจังหวัดพิจิตรเรื่องจังหวัดพิจิตร
เรื่องจังหวัดพิจิตร
 
นำเสนอนครนายก
นำเสนอนครนายกนำเสนอนครนายก
นำเสนอนครนายก
 
3
33
3
 
โรงเรียนวัดมโนราษฎร์
โรงเรียนวัดมโนราษฎร์โรงเรียนวัดมโนราษฎร์
โรงเรียนวัดมโนราษฎร์
 
โรงเรียนวัดมโนราษฎร์
โรงเรียนวัดมโนราษฎร์โรงเรียนวัดมโนราษฎร์
โรงเรียนวัดมโนราษฎร์
 
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
 
จังหวัดชุมพร
จังหวัดชุมพรจังหวัดชุมพร
จังหวัดชุมพร
 
การสถาปนา..
การสถาปนา..การสถาปนา..
การสถาปนา..
 
Unit 1 early thailand from prehistory to sukhothai
Unit 1  early thailand from prehistory to sukhothaiUnit 1  early thailand from prehistory to sukhothai
Unit 1 early thailand from prehistory to sukhothai
 
Ptt อาณาจักรสูโขทัย
Ptt อาณาจักรสูโขทัยPtt อาณาจักรสูโขทัย
Ptt อาณาจักรสูโขทัย
 

More from SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL

More from SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL (20)

Is
IsIs
Is
 
นัทธพงศ์ ดอนศรี.
นัทธพงศ์ ดอนศรี.นัทธพงศ์ ดอนศรี.
นัทธพงศ์ ดอนศรี.
 
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
 
ปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาดปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาด
 
จารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติจารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติ
 
Isมิ้น
Isมิ้นIsมิ้น
Isมิ้น
 
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานเตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
 
Isประเทศบังกลาเทศ
IsประเทศบังกลาเทศIsประเทศบังกลาเทศ
Isประเทศบังกลาเทศ
 
อาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจานอาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจาน
 
คองโก
คองโกคองโก
คองโก
 
Is1
Is1Is1
Is1
 
ตุรกี
ตุรกีตุรกี
ตุรกี
 
มัลดีฟ
มัลดีฟมัลดีฟ
มัลดีฟ
 
อาร์เมเนีย
อาร์เมเนียอาร์เมเนีย
อาร์เมเนีย
 
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานนางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
 
สอบกลางภาค
สอบกลางภาคสอบกลางภาค
สอบกลางภาค
 
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาสอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
 
จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์
 
ณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชาณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชา
 
กลางภาค
กลางภาคกลางภาค
กลางภาค
 

สุโขทัย

  • 2. เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณภาคกลางตอนบน มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก และลำปาง ( เรียงตามเข็มนาฬิกาจากด้านเหนือ ) จังหวัดสุโขทัย
  • 3. พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสุโขทัยจะเป็นที่ราบลุ่ม ทางตอนเหนือและ ตอนใต้ของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบสูง มีเขาหลวงเป็นภูเขาที่มีความ สูงที่สุดวัดจากระดับน้ำทะเลมีความสูงประมาณ 1 , 200 เมตร โดยมีแนว ภูเขายาวเป็นพืดทางด้านทิศตะวันตกส่วนพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดจะ เป็นที่ราบ มีแม่น้ำไหลผ่านจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ลักษณะภูมิประเทศ
  • 4.
  • 5.
  • 6. งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประเพณีบวชช้างหาดเสี้ยว งานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮง งานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ งานประเพณีสรงน้ำโอยทาน งานแข่งขันเรือพายเทโวโรหณะ งานวันพิชิตยอดเขาหลวง ประเพณีการทำขวัญผึ้ง งานสักการะพระแม่ย่าและงานกาชาด งานเทศกาลและประเพณี
  • 7. อุทยาน อุทยานแห่งชาติรามคำแหง อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
  • 8. ที่ตั้งและอาณาเขต อำเภอเมืองสุโขทัยตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอศรีสำโรง ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพรหมพิราม และอำเภอกงไกรลาศ ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอคีรีมาศ ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบ้านด่านลานหอย
  • 9. ทางรถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 เชื่อมระหว่างสวรรคโลก - สุโขทัย ระยะทาง 38 กิโลเมตรทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 เชื่อมระหว่างสวรรคโลก - ศรีสัชนาลัย ระยะทาง 30 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1180 เชื่อมระหว่างสวรรคโลก - ศรีนคร ระยะทาง 18 กิโลเมตรทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1048 ( ต่อทางของเทศบาลเมืองสวรรคโลกควบคุม – บรรจบทาง หลวงหมายเลข 1 ( ดอนชัย )) เชื่อมระหว่างสวรรคโลก - ทุ่งเสลี่ยม ระยะทาง 30 กิโลเมตร การเดินทาง
  • 10. ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางนั่งปรับอากาศ ( สปรินเตอร์ ) ขบวนที่ 3/4 กรุงเทพ - สวรรคโลก - ศิลาอาสน์ - กรุงเทพ ไป - กลับ วันละ 1 เที่ยว ถึงสวรรคโลกเวลาประมาณ 17.40 น . ออกจากสวรรคโลกเวลา 17.55 ถึงกรุงเทพฯ 04.00 น . ทางรถไฟ
  • 11.  
  • 12. ท่าอากาศยานสุโขทัย ( บางกอกแอร์เวย์ ) อยู่ห่างจากเทศบาล ไปทางทิศใต้ตามถนนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองกระจง มีเที่ยวบินเดินทาง ดังนี้ ทางอากาศ
  • 13.             ภูมิประเทศโดยทั่วๆ ไป ของจังหวัดสุโขทัย พื้นที่ตอนเหนือเป็นที่ราบสูง มีภูเขายาวติดต่อกันมาทางทิศตะวันตก พื้นที่ตอนกลางเป็นที่ราบ ส่วนพื้นที่ตอนใต้เป็นที่ราบสูง มีแม่น้ำยมซึ่งมี ต้นน้ำอยู่ที่สันเขาผีปันน้ำ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ไหลผ่านจากทางเหนือลงใต้โดยผ่าน พื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง อำเภอเมืองสุโขทัย และอำเภอกงไกรลาศเป็นระยะทางประมาณ 170 กิโลเมตร ไปบรรจบกับแม่น้ำน่านที่อำเภอชุมแสงจังหวัดนครสวรรค์ เกษตรกรส่วนใหญ่ของจังหวัดสุโขทัยอาศัยน้ำจากแม่น้ำยม เป็นแหล่งน้ำสำหรับการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ลักษณะภูมิประเทศ
  • 14.              สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของจังหวัดสุโขทัยจะเปลี่ยนแปลงไปตาม อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู คือ             ภูมิอากาศ
  • 15. ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศจะร้อนอบอ้าวทั่วไป เดือนที่มีอากาศร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน            
  • 16. ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งร้อนและชื้นพัด จากมหาสมุทรอินเดียปกคลุมประเทศไทยทำให้มีฝนตกทั่วไป เดือนที่มีฝนตกมากที่สุดคือ เดือนกันยายน           
  • 17.     ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านทำให้อากาศ หนาวเย็นทั่วไป เดือนที่มีอากาศหนาวจัดคือ เดือนธันวาคม และเดือนมกราคม
  • 18. ป่าไม้   จังหวัดสุโขทัยเป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้อันมีค่า ที่สำคัญได้แก่ ไม้สัก ไม้แดง ไม้มะค่า และไม้เบญจพรรณ ในปีพ . ศ . 2541 จังหวัดสุโขทัยมีเนื้อที่ป่าไม้ 1,944,099.75 ไร่ ( ประมาณ 47.16% ของเนื้อ ที่ทั้งหมดของจังหวัด ) แต่เนื่องจากเนื้อที่ป่าสงวนของจังหวัดสุโขทัยถูก บุกรุกและทำลายไปเรื่อยๆ สาเหตุสำคัญคือ ความต้องการที่ดินอันเป็น ปัจจัยของการผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นตามอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ธุรกิจการก่อสร้าง และค่านิยมของประชาชนในการ ใช้ไม้ตกแต่งบ้าน ทรัพยากรธรรมชาติ
  • 19.             แร่ธาตุสำคัญที่พบในจังหวัดสุโขทัยมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ หินอ่อน หินปูน พลอย ดินขาว แมงกานีส ฟลูออไรด์ ผลึกหินไพไรต์ ที่เรียกว่า ข้าวตอกพระร่วง และแร่รัตนชาติ หินอ่อนที่จังหวัดสุโขทัยเป็นหินอ่อนที่มีคุณภาพดีที่สุดของประเทศ นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุที่มีการขุดพบ แต่ยังมิได้นำมาใช้ประโยชน์ คือ ทองแดง และเหล็ก   แร่ธาตุ
  • 20.             การปกครองของจังหวัดสุโขทัยแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 84 ตำบล 787 หมู่บ้าน 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 2 เทศบาลเมือง ได้แก่เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี และเทศบาลเมืองสวรรคโลก 11 เทศบาลตำบล ได้แก่ เทศบาลตำบลศรีสำโรง เทศบาลตำบลศรีสัชนาลัย เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว เทศบาลตำบลเมืองเก่า เทศบาลตำบลบ้านสวน เทศบาลตำบลบ้านโตนด เทศบาลตำบลทุ่งหลวง เทศบาลตำบลกงไกรลาศ เทศบาลตำบลทุ่งเสลี่ยม เทศบาลตำบลศรีนคร และเทศบาลตำบลลานหอย การบริหารราชการ
  • 21.                   ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึก เรียกว่า ตรีบูร มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง 1,300 เมตร ยาว 1,800  เมตร กำแพงชั้นในเป็นศิลาแลงก่อบนคันดิน กำแพง 2 ชั้นนอกเป็นคูน้ำสลับกับคันดิน นอกจากทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกแล้วคูน้ำยังใช้ระบายน้ำไม่ให้ไหลท่วมเมือง อีกด้วย ระหว่างกึ่งกลางแต่ละด้านมีประตูเมือง และป้อมหน้าประตูด้วย   กำแพงเมืองสุโขทัย 
  • 22.  
  • 23.     วัดชนะสงคราม                      ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของวัดมหาธาตุ ใกล้กับโบราณสถานที่เรียกว่าหลักเมือง เดิมเรียกว่า วัดราชบูรณะ มีลักษณะเด่นคือ เจดีย์ทรงระฆังกลมขนาดใหญ่ เป็นเจดีย์ประธาน และมีวิหาร โบสถ์ เจดีย์รายต่าง ๆ                                     
  • 24. เนินปราสาทพระร่วง หรือเขตพระราชวังในสมัยสุโขทัย                    ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับวัดมหาธาตุ มีโบราณสถานแห่งหนึ่งเรียกว่า เนินปราสาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสันนิษฐานว่าบริเวณนี้เคยเป็นฐานปราสาทราชวัง ของกษัตริย์เมืองสุโขทัย กรมศิลปากรได้ขุดแต่ง บูรณะ เมื่อ พ . ศ . 2526 พบฐาน อาคารแบบฐานบัวค่ำ บัวหงาย มีลักษณะเป็นฐานสูงรูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้า ขนาด 27.50 X 51.50 เมตร มีบันไดที่ด้านหน้า และด้านหลัง                                     
  • 25. วัดตระพังเงิน    เป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่บริเวณขอบตระพังเงินด้านทิศตะวันตกของวัดมหาธาตุ ห่างจากวัดมหาธาตุ 300  เมตร โบราณสถานนี้ไม่มีกำแพงแก้ว ประกอบด้วยเจดีย์ทรงดอกบัวตูมเป็นประธาน ลักษณะเด่นของเจดีย์ทรงดอกบัวตูม คือ มีจระนำที่เรือนธาตุทั้งสี่ด้านประดิษฐานพระพุทธรูปยืน และพระพุทธรูปปางลีลา ( จระนำ หมายถึง ชื่อซุ้มท้ายวิหาร หรือท้ายโบสถ์ มักเป็นช่องตัน ) วิหารประกอบอยู่ด้านหน้าและทาง ด้านตะวันออกของเจดีย์เป็นเกาะ มีโบสถ์ตั้งอยู่กลางน้ำ                                     
  • 26.   วัดสระศรี เป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานสำคัญอยู่บริเวณกลางสระน้ำที่มีขนาดใหญ่ชื่อว่าตระพังตระกวนและสิ่งสำคัญของวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงลังกาด้านหน้าวิหารขนาดใหญ่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยมีเจดีย์ขนาดเล็กศิลปศรีวิชัยผสมลังกาตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้มีซุ้มพระพุทธรูป 4 ทิศด้านหน้ามีเกาะกลางน้ำขนาดย่อมเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถขนาดเล็กวัดแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นจุดที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม                                   
  • 27. วัดศรีสวาย                 ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของวัดมหาธาตุ ห่างออกไปประมาณ 350  เมตร โบราณสถานที่สำคัญตั้งอยู่ในกำแพงแก้ว ประกอบด้วยปรางค์ 3  องค์ รูปแบบศิลปะลพบุรี ลักษณะของปรางค์ค่อนข้างเพรียว ตั้งอยู่บนฐานเตี้ย ๆ ลวดลายปูนปั้นบางส่วนเหมือนลายบนเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวน ได้พบทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนของเทวรูป และศิวลึงค์ที่แสดงให้เห็นว่าเคยเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูมาก่อน แล้วแปลงเป็นพุทธสถานโดยต่อเติมวิหารขึ้นที่ด้านหน้า แล้วเป็นวัดในพุทธศาสนาภายหลัง                                   
  • 28. มีลักษณะเป็นโบราณสถานตามแบบศิลปเขมร ก่อด้วยศิลาแลง สมัยนครวัด ( พ . ศ . 1650 - 1700) ต่อมากรมศิลปากรได้ดำเนินการ ขุดแต่ง และบูรณะศาลนี้ได้พบชิ้นส่วนเทวรูป และเทวสตรีประดับ ด้วยเครื่องตกแต่ง ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ศาลตาผาแดง  
  • 29.   ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย                  เป็นอาคารทรงไทยสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย อยู่ใกล้วัดพระพายหลวง ภายในอาคารเป็นศูนย์ให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย รวมทั้งจัดแสดงแบบจำลองของโบราณสถานต่าง ๆ ในเขตเมืองเก่าสุโขทัย นักท่องเที่ยวควรเริ่มต้นชมอุทยานฯ จากจุดนี้เพื่อจะได้เห็นภาพรวมของสุโขทัยในอดีต                                     
  • 30.  
  • 31.      วัดพระพายหลวง                   เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูชั้นนอกเรียกว่า คูแม่โจน วัดพระพายหลวงเป็นศูนย์กลางของชุมชน โบราณสถานทเก่าแก่ที่สุดของวัด คือ พระปรางค์ 3 องค์ เป็นปรางค์ประธานของวัด ก่อด้วยศิลาแลง ศิลปะเป็นเขมรแบบบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ด้านหน้าของวัดเป็นอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น 4  อิริยาบถ คือนั่ง นอน ยืน เดิน                                     
  • 32.   วัดช้างรอบ                   อยู่ห่างจากประตู้อ้อไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2.4 กิโลเมตร มีโบราณสถานที่สำคัญประกอบด้วย เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีช้างโผล่ครึ่งตัว มีจำนวน 24 เชือก พระอุโบสถอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน และมีเจดีย์ราย 5 องค์ ล้อมรอบเจดีย์ประธาน และโบสถ์                                     
  • 33.   วัดสะพานหิน                  วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินเขา สูงประมาณ 200  เมตร บริเวณทางเดินขึ้นโบราณสถานมีทางเดินปูลาดด้วยหินชนวนจากตีนเขาขึ้นไปเป็นระยะทาง 300  เมตร สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระประธานเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระปางประทานอภัย สูง 12.50  เมตร เรียกว่า “พระอัฏฐารศ”                                     
  • 34.   เขื่อนสรีดภงค์ หรือทำนบพระร่วง                    ตั้งอยู่บริเวณเมืองเก่า ทำนบนี้เป็นเขื่อนดิน ( คันดิน ) สำหรับกั้นน้ำอยู่ระหว่างซอกเขาคือ เขาพระบาทใหญ่ และเขากิ่วอ้ายมา ที่สร้างขึ้นเพื่อกักน้ำ และชักน้ำไปตามคลองส่งน้ำมาเข้ากำแพงเมืองเข้าสระตระพังเงิน ตระพังทอง เพื่อนำไปใช้ในเมือง และพระราชวังในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบันกรมชลประทานได้ปรับปรุงบูรณะ และซ่อมแซมขึ้นใหม่                                     
  • 35. วัดเจดีย์สี่ห้อง                    ตั้งอยู่ทางตะวันออกของวัดเชตุพน ห่างไปประมาณ 100 เมตร โบราณสถานที่น่าสนใจ คือ ที่ฐานเจดีย์ประธานมีภาพปูนปั้นประดับ โดยรอบปั้นเป็นรูปบุคคล รูปบุรุษ และสตรี สวมอาภารณ์ และ เครื่องประดับ ในมือถือภาชนะ มีพรรณพฤกษางอกโผล่พ้นออก มาที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์  นอกจากนั้นมีปูนปั้นรูปช้าง และสิงห์ประดับรูปบุคคล องค์เจดีย์ประธานเป็นทรงระฆังกลม ที่ได้รับการบูรณะ ส่วนยอดเจดีย์ได้หักพังลง         
  • 36. วัดช้างล้อม                   เป็นโบราณสถานที่สำคัญ มีเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาเป็นประธานของวัด รอบฐานเจดีย์ประดับด้วย   ปูนปั้นเป็นรูปช้างโผล่ครึ่งตัว ด้านหน้ามีฐานวิหารก่อด้วยอิฐ และยังมีฐานกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐล้อมรอบ                                     
  • 37. อาณาจักรสุโขทัย . (“ สุโขทัย .”) 11 พฤศจิกายน 2553. < http://www.moohin.com/027/. > 3 ธันวาคม 2553. จังหวัดสุโขทัย . (“ สุโขทัย .”) 9 พฤศจิกายน 2553 . <http://th.wikipedia.org/wiki.> 3 ธันวาคม 2553. บรรณานุกรม
  • 38. จบการนำเสนอ จัดทำโดย นางสาว อธิติยา สังคำพันธ์