SlideShare a Scribd company logo
1 of 52
บทที่ 4
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคและปลูก
ถ่ายอวัยวะ
(Medical Laws of Organ Donation and
Transplantation)
สุธีร์ หนูช่วย
บทนำา
ในปัจจุบันวงการแพทย์ได้มีวิวัฒนาการในด้านการรักษาและ
วิทยาการเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะด้านการปลูกถ่ายเปลี่ยนอวัยวะในผู้ป่วยที่มีปัญหาการสูญเสีย
หน้าที่การทำางานของอวัยวะหรือมีความล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ
ไต หัวใจ ปอด เป็นต้น การปลูกถ่ายอวัยวะในมนุษย์เป็นกระบวนการหนึ่ง
ที่แพทย์ต้องกระทำาการผ่าตัดร่างกายแล้วนำาเอาอวัยวะออกจากร่างกาย
บุคคลหนึ่ง ไปยังอีกบุคคลหนึ่งที่ป่วยและมีความต้องการที่จะรักษา จึงส่ง
ผลให้ผู้ป่วยจำานวนมากมีความต้องการอวัยวะเพิ่มขึ้น และรอคอยความ
หวังในการได้รับบริจาคอวัยวะจากผู้ที่ยังมีชีวิดและเสียชีวิตต่อไป
ในประเทศไทยยังมีอุปสรรคใหญ่ที่ทำาให้มาตรฐานการให้ชีวิตใหม่
แก่ผู้ป่วยไม่สามารถทำาได้อย่างเต็มที่เนื่องจากยังขาดอวัยวะที่จะใช้ทั้งๆที่
ความสามารถทางการแพทย์ของไทยมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมประเท
ศอื่นๆและที่น่าเสียดายมากคือ การขาดแคลนอวัยวะที่เกิดจากความเชื่อที่
ผิดของเจ้าของอวัยวะและญาติของผู้บริจาคเอง และอาจเกิดจากความไม่
ใส่ใจของผู้บริหารบ้านเมือง ทำาให้ไม่มีกฎหมายรองรับการใช้ประโยชน์
จากอวัยวะของผู้ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว เช่นกรณีเกิดอุบัติเหตุจนสมอง
ตายแต่อวัยวะยังคงใช้ประโยชน์ได้ดีซึ่งมีหลายประเทศที่มีกฎหมาย
อนุญาตให้ใช้อวัยวะต่างๆได้เลย และยังไม่มีกฎหมายที่เหมาะสมในการ
คุ้มครองผู้บริจาคอวัยวะ เนื่องจากในประเทศไทยมีประชากรอยู่รวมกัน
หลายกลุ่มหลายศาสนาและยังคงยึดถือความเชื่อทางด้านศาสนา
ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมต่างอย่างฝังแน่น จึงต้องอาศัยการ
ประชาสัมพันธ์และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะที่ถูกต้องและมี
มาตรฐานสากลเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อการบริจาคอวัยวะ อีกทั้งในปัจจุบัน
มีกระแสเกี่ยวกับการซื้อขายอวัยวะเกิดขึ้นเนื่องจากความต้องการเข้ารับ
การรักษาด้วยการปลูกถ่ายอวัยวะของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น กระแสข่าวการค้า
อวัยวะมนุษย์จึงเกิดขึ้นในสังคมอย่างกว้างขวางอันเป็นการขัดต่อศีลธรรม
หรือจะหมิ่นเหม่ต่อการทำาผิดจริยธรรมหรือกฎหมายได้ โดยเฉพาะเรื่อง
เกี่ยวกับความผิดอาญาที่เกิดจากการผ่าตัดโดยแพทย์แล้วนำาอวัยวะออก
จากร่างกายจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิต หรือผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้ว ซึ่ง
เป็นการสมควรจะได้รับการพิจารณาให้ความคุ้มครองในทางกฎหมาย
อาญา ในปัจจุบันความไม่ชัดเจนในการกำาหนดหลักเกณฑ์ในทาง
กฎหมายเกี่ยวกับการค้าอวัยวะมนุษย์ รวมทั้งบทบัญญัติเกี่ยวกับการ
คุ้มครองชีวิตบุคคลที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เข้าช่วยใน
การผ่าตัดนั้นยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งอาจส่งผลต่อการวินิจฉัยความผิดของ
แพทย์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องที่เกี่ยวกับความรับผิดทางอาญา และอาจ
ก่อให้เกิดความไม่แน่ใจในการกำาหนดแนวทางการพัฒนาการรักษาและ
การผ่าตัดในเรื่องดังกล่าวอันเป็นอุปสรรคที่สำาคัญต่อวงการแพทย์ และ ข้อ
พิจารณาทางด้านการแพทย์เกี่ยวกับภาวะแกนสมองตาย ประกอบกับข้อ
พิจารณาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองชีวิตมนุษย์เพื่อให้เกิดความ
ถูกต้องในการวินิจฉัยและการกำาหนดความรับผิดของบุคคลที่เกี่ยวข้องต่อ
ไป
ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้เกิดการฟ้องร้องดำาเนินคดีทางกฎหมายกับ
แพทย์และบุคลากรต่างๆที่เกี่ยวข้องและกับโรงพยาบาลต่างๆขึ้นในช่วง 4-
5 ปีที่ผ่านมา ผลดังกล่าวทำาให้กระแสการบริจาคอวัยวะเพื่อช่วยช่วยชีวิตผู้
ป่วยลดลงอย่างมาก จึงต้องมีการศึกษาและรวบรวมประเด็นทางกฎหมาย
และข้อบังคับต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะขึ้นเพื่อให้ประชาชนมี
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายการบริจาคอวัยวะและทำาให้การ
บริจาคอวัยวะได้รับความสนใจมากขึ้นและนำาไปสู่การบริจาคอวัยวะเพื่อ
ช่วยต่อลมหายใจผู้ป่วยมากขึ้นในอนาคต
ความหมายของการบริจาคอวัยวะและการปลูกถ่าย
อวัยวะ
การปลูกถ่ายอวัยวะคือ การนำาอวัยวะจากที่หนึ่งไปไว้ที่หนึ่ง อาจ
เป็นในคนเดียวกันหรือต่างคนก็ได้ เช่น การย้ายผิวหนังจากขามาปะที่ลำา
ตัว หรือการเปลี่ยนแก้วตาจากการบริจาคดวงตา อย่างไรก็ตาม
วิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ก้าวหน้ามากจนสามารถนำาอวัยวะ
จากผู้ที่เสียชีวิตแล้วหรือผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นำาไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยได้ ที่
เรียกกันทั่วไปว่า การเปลี่ยนอวัยวะทำาให้ผู้ที่ได้รับอวัยวะรอดชีวิต กลับมี
ชีวิตใหม่อีกครั้ง
การบริจาคอวัยวะหมายถึงการที่บุคคลแสดงเจตจำานงในการเสีย
สละแบ่งบันซึ่งอวัยวะต่างๆในร่างกายเช่น ไขกระดูก ไต ดวงตา ในขณะที่
ตนมีชีวิตอยู่เพื่อช่วยเหลือในการปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยที่มีการล้มเหลวของ
อวัยวะดังกล่าว หรือเป็นการยินยอมโดยทายาทตามกฎหมายในกรณีที่ผู้
บริจาคได้เสียชีวิตเเล้ว ซึ่งต้องมีกฎหมายรองรับเพื่อป้องกันปัญหาทาง
อาชญากรรมหรือความไม่เป็นธรรมต่างๆ และต้องอาศัยกฎหมายในการ
คุ้มครองผู้บริจาค ผู้รับบริจาคและบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
ด้วยเพื่อป้องกันการซื้อขายอวัยวะอันเป็นการขัดต่อหลักกฎหมายและศีล
ธรรมอันดี
การบริจาคอวัยวะสามารถทำาได้ในผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่และเสียชีวิตแล้ว
แต่เนื่องจากการรับบริจาคอวัยวะจากบุคคลที่เสียชีวิตแล้วนั้นสามารถนำา
ไปใช้ได้ทันทีและเป็นสิ่งที่ต้องกระทำาอย่างเร่งด่วนและการบริจาคโดย
ทายาทมักมีปัญหามากที่สุดเนื่องจากความคิดเห็นของทายาทแต่ละคนไม่
ตรงกัน จึงต้องมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะที่ถูกต้องและมี
มาตรฐานตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิชาชีพเวชกรรม
ตามนิยามการตายของแพทยสภา แพทยสภาได้ออกข้อบังคับ
แพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ 3)
พ.ศ.2551 ซึ่งได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 16 มกราคม
พ.ศ.2552 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการนิยามการตายของบุคคลไว้ในข้อที่ 3
ของข้อบังคับ ดังนี้
“การตายของบุคคล” หมายความว่า บุคคลอยู่ในสภาวะที่ระบบ
การไหลเวียนเลือด และระบบการหายใจหยุดทำางาน โดยไม่สามารถกลับ
คืนได้อีก หรืออยู่ในสภาวะสมองตายคือ การที่แกนสมองถูกทำาลายจนสิ้น
สุดการทำางานโดยสิ้นเชิงตลอดไป ทั้งนี้หลักเกณฑ์และวิธีวินิจฉัยสมอง
ตาย ให้คณะกรรมการแพทยสภากำาหนดและออกเป็นประกาศแพทยสภา
ผลทางกฎหมายในการนำาเกณฑ์เรื่องสมองตายมา
ใช้
เดิมทีนั้น อาจมีการเห็นกันว่าการยอมรับให้นำาเรื่องสมองตายมาใช้
เป็นการสื่อโดยนัยถึงการฆ่าผู้อื่นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ข้อสงสัยดัง
กล่าวนี้ก็ได้หมดไปเมื่อมีการยอมรับว่า สมองตาย หมายความถึง การตาย
ของมนุษย์ (somatic death) ในความหมายที่ยอมรับกันอยู่ทั่วไปเช่นกัน
ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่า แม้จะมีการดูแลรักษาคนไข้ดังกล่าวอย่างดีจะมีผลเพียง
ชะลอผลลัพท์ที่หนีไม่พ้นของการที่สมองได้รับความกระทบกระเทือน และ
จะไม่สามารถหยุดยั้งผลของการที่สมองได้รับบาดเจ็บดังกล่าว แนวความ
คิดเรื่องนี้ได้มีการยอมรับเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในคดี People v
Lyons ซึ่งเหยื่อที่ถูกยิงในคดีหนึ่งถูกทำาให้ตายอย่างถูกกฎหมายและนำา
เอาอวัยวะมาใช้ปลูกถ่ายแก่ผู้อื่น ต่อมา ศาลในสหราชอาณาจักรก็ได้
ดำาเนินตามแนวบรรทัดฐานคดีดังกล่าว โดยเริ่มจากศาลในสกอตแลนด์ใน
คดี Finlayson v HM Advocate และศาลอังกฤษใน คดี R v
Malcherek, R v Steel ซึ่งพิพากษาว่า “เมื่อแพทย์ได้ใช้วิธีการที่ได้รับ
การยอมรับในการสรุปว่าคนไข้นั้นเสียชีวิตแล้ว และสมองส่วนที่เหลือของ
คนไข้นั้นอยู่ได้ก็ด้วยเครื่องช่วยชีวิต การหยุดการรักษาคนไข้ดังกล่าวจึง
ไม่ใช่การตัดวรจรชีวิตอันเป็นเหตุให้คนไข้นั้นตาย” นอกจากนี้แล้ว ใน
คดี Re A ซึ่งผู้ปกครองของเด็กคนหนึ่งได้ยื่นขอให้ศาลนุญาตให้เด็กดัง
กล่าวได้รับการรักษาโดยเครื่องช่วยหายใจต่อไป แต่ศาลได้พิพากษาว่า A
เป็นบุคลซึ่งมีการรับรองแล้วว่าก้านสมองตาย ถือว่าได้ตายแล้วตาม
กฎหมาย แพทย์ซึ่งปิดเครื่องช่วยหายใจไม่ได้กระทำาผิดกฎหมาย ดังนั้นจึง
เป็นที่ชัดเจนว่ากฎหมายในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรไม่เอาผิด
แก่แพทย์ที่ปิดเครื่องช่วยหายใจคนไข้ที่สมองตาย (ณัฐวสา ฉัตร
ไพฑูรย์,2547)
กฎหมายนิยามการตาย
นานาชาติได้สนับสนุนให้บัญญัติกฎหมายเรื่องการนิยามการตายให้
ชัดเจน แต่มีข้อน่าสังเกตว่ากฎหมายเหล่านี้จะยอมรับเอาการตายทั้งสอง
แบบ โดยรวมการตายแบบเดิมซึ่งต้องวินิจฉัยจากลมหายใจ และสมองตาย
ดังตัวอย่างที่ปรากฏใน United State Uniform Determination of
Death Act 1980 อันถือเป็นแบบฉบับของพระราชบัญญัติหรือรัฐบัญญัติ
ประเภทนี้ ได้บัญญัติไว้ว่า
‘An individual who has sustained either (1) irreversible
cessation of circulatory and respiratory functions, or (2)
irreversible cessation of all functions of the entire brain,
including the brain stem, is death. A determination of death
must be made in accordance with accepted medical
standards.’
นอกจากนี้แล้วพระราชบัญญัติของประเทศในกลุ่ม
Commonwealth เช่น มาตรา 41 ของ Human Tissue Act 1982
(Victoria) ได้บัญญัติว่า
‘A person has died when there has occurred:
(a) Irreversible cesssation of the circulation of the
blood in the body of the person, or
(b) Irreversible cessation of all functions of the brain
death of the person.’
ข้อดีของพระราชบัญญัติหรือรัฐบัญญัติเหล่านี้ก็คือ การมีกรอบของ
กฎหมายที่ชัดเจนให้แพทย์ปฏิบัติ แต่นักกฎหมายบางส่วนในประเทศที่ใช้
common law ก็เห็นว่าการออกพระราชบัญญัติเป็นเรื่องที่ไม่จำาเป็นนัก
เพราะพระราชบัญญัติดังกล่าวคงไม่สามารถกำาหนดวิธีการเฉพาะใดๆ แต่
ยังคงอิงอยู่กับระเบียบการปฏิบัติงาน (code of practice) ที่มีอยู่ และเห็น
ว่าพระราชบัญญัติที่นิยามความตายจะต้องอยู่ในกรอบของสิ่งที่กระทำาได้
เพราะโดยปกติแล้วการพัฒนาในเรื่องเทคโนโลยีทางการแพทย์และผู้
เชี่ยวชาญจะก้าวรุดหน้ากฎหมายที่ใช้กันอยู่ แพทย์จึงเป็นบุคคลสำาคัญที่
จะเป็นผู้ประเมินผลการวินิจฉัยคนไข้ นอกจากนี้แล้วข้อเท็จจริงทาง
จริยธรรม ปรัชญาและสังคมจะมีผลสำาคัญต่อการให้ความหมายของคำาว่า
ตายมาช้านานแล้ว พระราชบัญญัติที่นิยามการตายจึงทำาได้แต่เพียงกล่าว
ยำ้าข้อเท็จเหล่านี้ การจะให้มีพระราชบัญญัติเพื่อนิยามการตายจึงเป็นไป
ดังอุปมาที่ว่า เครื่องมือที่ใช้ฟังเสียงปอดและหัวใจของแพทย์
(stethoscope) และเครื่องวัดคลื่นหัวใจ (CT scanner) ต่างเหมือนกัน
ตรงที่อุปกรณ์ทั้งสองอย่างนั้นต้องอิงอยู่กับความเชี่ยวชาญของผู้ใช้ จึง
ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาใดๆ จะมาทดแทนความจริง
เรื่องนี้ (ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์,2547)
หลักเกณฑ์การวินิจฉัยการตายในประเทศไทย
เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายในเรื่องสมองตาย ทั้ง
ประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้นิยามว่าอย่างไรถือว่าเป็นการตายตาม
กฎหมาย เดิมทีการวินิจฉัยการตายจึงขึ้นอยู่กับแพทย์ ซึ่งโดยปกติแล้วจะ
อาศัยเกณฑ์ในการวินิจฉัยโดยอิงอยู่กับปัจจัยพื้นฐานในการดำารงชีวิตของ
มนุษย์สามประการคือ 1) ระบบประสาทส่วนกลาง (สมอง) 2) ระบบหายใจ
(ปอด) และ 3) ระบบไหลเวียนโลหิต (หัวใจ) แต่ต่อมาก็ได้มีการยอมรับ
เกณฑ์การวินิจฉัยการตายจากก้านสมอง โดยถือว่าการตายหมายความ
รวมถึงการที่ก้านสมองไม่สามารถทำางานได้อย่างสิ้นเชิง และแพทยสภา
ก็ได้ออกหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยเรื่องสมองตายเอาไว้ (ณัฐวสา ฉัตร
ไพฑูรย์,2547)
ผลทางกฎหมายของการวินิจฉัยเรื่องสมองตาย
เนื่องจากการตายของมนุษย์จะทำาให้เกิดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิด
แก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง ในส่วนนี้จึงจะพิจารณาถึง ผลทางกฎหมายของการ
วินิจฉัยเรื่องสมองตาย และการจัดการกับศพผู้ตาย เช่น การนำาเอาอวัยวะ
ของผู้ตายไปใช้ในการปลูกถ่ายเพื่อช่วยชีวิตผู้อื่น และความรับผิดทาง
อาญาที่เกี่ยวข้อง (ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์,2547)
ผลการวินิจฉัยว่าสมองตายของแพทย์
เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้นิยามว่า อย่างไรถือว่าตาย
การวินิจฉัยการตายจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งจะต้องให้แพทย์เป็นผู้
วินิจฉัย ทั้งตามพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร์ก็ได้กำาหนดให้แพทย์เป็นผู้
ออกหนังสือรับรองการตาย แต่เดิมนั้นแพทย์ได้วินิจฉัยการตายโดยถือเอา
เกณฑ์การหยุดทำางานของสมอง ปอด และหัวใจ แต่ในขณะนี้แพทยสภา
ได้ยอมรับเอาเกณฑ์สมองตาย และได้ออกประกาศเกณฑ์การวินิจฉัยเรื่อง
สมองตายไว้ชัดเจน การฟังข้อเท็จจริงในเรื่องการตาย จึงต้องถือเอาตาม
ประกาศของแพทยสภาเป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัยการ (ณัฐวสา ฉัตร
ไพฑูรย์,2547)
การบัญญัติกฎหมายเพื่อให้แสดงความประสงค์ใน
การบริจาคอวัยวะ
ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้มีการบัญญัติกฎหมายคือ Organ
Donation (wet op de Orgaandonatie) Act 1998 ซึ่งกำาหนดให้มี
การแจ้งให้บุคคลที่มีอายุเกินกว่า 18 ปี ลงทะเบียนเพื่อแสดงความประสงค์
ในการบริจาคอวัยวะภายหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้วที่ Centre Register
ซึ่งการลงทะเบียนดังกล่าวจะต้องแสดงถึง ความยินยอมในการบริจาค
อวัยวะทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการปฏิเสธที่จะบริจาคอวัยวะ และชื่อญาติ
หรือบุคคลผู้มีสิทธิให้ความยินยอม ในการตัดสินใจตามที่ลงทะเบียนไว้นี้
อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อโดย Centre Register จะเปิดให้บริการ
24 ชั่วโมง พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังครอบคลุมถึงการบริจาคอวัยวะและ
ไขกระดูก (bone marrow) ในขณะที่ยังมีชีวิต Mason, Smith, and
Laurie ได้บันทึกว่าพระราชบัญญัตินี้ได้รับการยอมรับว่ามีเหตุผลทาง
จริยธรรมและมีมาตรการเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับโดยการให้โอกาสในการ
ให้ความยินยอมในการบริจาคอวัยวะและปฏิเสธเท่าๆกัน
การมีกฎหมายเรื่องการปลูกถ่ายอวัยวะ
มาตรการทางกฎหมายที่จำาเป็นที่ควรนำามาใช้เพื่อสร้างความมั่นใจ
ต่อระบบปลูกถ่ายอวัยวะอีกประการหนึ่งก็คือการบัญญัติกฎหมายเพื่อการ
คุ้มครองผู้บริจาคอวัยวะ ไม่ว่าจะเป็นการห้ามไม่ให้พาณิชย์อวัยวะหรือ
การวางหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการห้ามรับบริจาคอวัยวะจากผู้ที่ไร้ความ
สามารถ กฎหมายเหล่านี้แม้จะมีลักษณะของการจำากัดอิสรภาพในการ
ตัดสินใจหรือ autonomy ของบุคคล แต่เพื่อการคุ้มครองบุคคลดังกล่าว
นานาประเทศจึงยอมรับการใช้ paternalism ในลักษณะนี้
พินัยกรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพที่ 6 ได้กำาหนดไว้ว่า
เมื่อการตายให้มรดกตกแก่ทายาท ซึ่งสิ่งที่กฎหมายมรดกกำาหนดให้
ตกทอดแก่กันนั้นจะจำากัดเฉพาะทรัพย์หรือทรัพย์สิน ในทำานองเดียวกัน
บุคคลอาจทำาพินัยกรรมกำาหนดการเผื่อตายเรื่องทรัพย์สินหรือการต่างๆไว้
เช่น การจัดการศพ ประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่า 1) ศพหรือส่วนของศพ
(อวัยวะ) ของคนที่ตายแล้วถือเป็นทรัพย์หรือไม่ และ 2) บุคคลสามารถทำา
พินัยกรรมยกศพหรือส่วนของศพตนเองให้แก่ผู้อื่นได้หรือไม่ และ 3) หาก
ถือเอาเกณฑ์สมองตายแล้ว จะถือว่าเวลาใดเป็นเวลาตาย (ณัฐวสา ฉัตร
ไพฑูรย์,2547)
1) ในประเด็นว่าศพหรือชิ้นส่วนของศพเป็นทรัพย์หรือไม่นั้น โดย
ส่วนใหญ่แล้วในต่างประเทศจะมีความเห็นกันว่าชิ้นส่วนของร่างกาย
มนุษย์ หรือ ศพไม่ใช่ทรัพย์ เว้นแต่ลักษณะของศพจะมีคุณค่าเป็นการ
เฉพาะ โดยศาลสกอตแลนด์เคยพิพากษาว่า “ผู้ที่ลักชิ้นส่วนของศพที่เก็บ
ไว้ในพิพิธภัณฑ์ทางการแพทย์มีความผิดฐานลักทรัพย์” แต่ในทางตรงกัน
ข้าม ในสหรัฐอเมริกา ศาลในคดี Moore v Regents of the
University of California ที่แพทย์ได้นำาชิ้นเนื้อจากม้ามของคนไข้ไป
ศึกษา จนค้นพบการรักษาโรคมะเร็ง จึงนำาไปจดสิทธิบัตร ศาลในคดีนี้กลับ
ไม่ยอมรับว่าชิ้นเนื้อดังกล่าวเป็นทรัพย์ อันจะทำาให้เจ้าของชิ้นเนื้อสามารถ
มีสิทธิในการเรียกเงินจากการนำาชิ้นเนื้อนั้นไปศึกษาวิจัย ซึ่งในกรณีนี้ ศพ
หรือส่วนของศพที่จะใช้ในการปลูกถ่ายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ มีคุณค่าอย่าง
สูง และอาจจะต้องจ่ายเงินจ่ายทองเพื่อให้ได้มา ทั้งคำาว่า ทรัพย์ ตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หมายถึง สิ่งที่มีราคาและถือเอาได้ โดย
สภาพแล้วคงไม่มีใครปฏิเสธว่าศพหรือชิ้นส่วนของศพเป็นสิ่งที่ถือเอาได้
แต่ในการให้ความหมายของคำาว่า “ราคา”นั้น แม้โดยทั่วไปแล้วคงไม่มี
ใครคิดจะซื้อขายศพ แต่ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้ามากๆอย่างในปัจจุบัน
อันทำาให้สามารถใช้เครื่องมือในการถนอมร่างของผู้ตายไว้เพื่อการปลูก
ถ่าย ก็อาจมีความเห็นกันว่าศพหรือส่วนของศพที่มีลักษณะพิเศษนั้นมี
คุณค่า อันจะทำาให้บุคคลที่กระทำาโดยไม่ชอบแก่ศพหรือชิ้นส่วนของศพดัง
กล่าวต้องรับผิด (ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์,2547)
2) บุคคลสามารถทำาพินัยกรรมยกศพหรือส่วนของศพ (อวัยวะ)
ของตนเองให้แก่ผู้อื่นได้หรือไม่ ในเรื่องนี้เคยมีคำาพิพากษาศาลฎีกาตัดสิน
ว่า “การแสดงเจตนาบริจาคศพของผู้ตายมีผลบังคับตามกฎหมาย ทำาให้
ทายาทไม่อาจขอศพดังกล่าวคืนจากคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล”
ในทำานองเดียวกันหากเป็นส่วนของศพที่ผู้ตายได้แสดงเจตนาบริจาค
อวัยวะไว้ เมื่อเทียบเคียงกับแนวคำาพิพากษาดังกล่าวแล้วก็น่าจะถือว่าต้อง
บังคับตามที่ผู้ตายแสดงความประสงค์ไว้ เพราะโดยสภาพแล้วส่วนของศพ
ก็ไม่ได้ต่างจากศพทั้งร่าง อย่างไรก็ตามในเรื่องการบริจาคอวัยวะยังมี
ประเด็นที่น่าสนใจเรื่องความยินยอมของญาติผู้ตาย ทั้งนี้ในทางปฏิบัติแล้ว
การตัดเอาอวัยวะจากศพจะต้องขอความยินยอมจากญาติผู้ตาย ซึ่งปกติ
แล้วจะเป็นทายาทลำาดับต้น ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องมาจากเหตุผลด้าน
มนุษยธรรมที่ต้องคำานึงถึงสภาพจิตใจของญาติผู้ตายที่ต้องสูญเสียบุคคล
อันเป็นที่คนรัก ในกรณีนี้ทำาให้มีประเด็นน่าคิดว่าการที่ให้ญาติลงชื่อใน
พินัยกรรมจะถือเป็นการยินยอมในการบริจาคอวัยวะอันทำาให้ไม่ต้องมาขอ
ความยินยอมของญาติในภายหลังได้หรือไม่ ซึ่งในที่นี้เห็นว่าในส่วนของ
พินัยกรรมนั้น เมื่อแนวคำาพิพากษาของศาลได้ยอมรับการแสดงเจตนา
บริจาคศพไว้ และให้มีผลบังคับตามกฎหมายเรื่องพินัยกรรม การทำา
พินัยกรรมดังกล่าวจึงควรอยู่ในขอบเขตที่กฎหมายกำาหนดไว้เป็นการ
ทั่วไป โดยอาจไม่จำาต้องให้ญาติเข้ามาร่วมเป็นพยาน แต่อย่างไรก็ดีเพื่อ
ประโยชน์ด้านความสะดวกและจิตวิทยา การให้ญาติๆได้มีโอกาสรับรู้การ
แสดงเจตนาของผู้ตายแต่เนิ่นๆ ก็คงไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ในเรื่องความ
ยินยอมของญาติในขณะที่จะมีการตัดอวัยวะของผู้ตายนั้น เห็นว่าแม้ผู้ตาย
จะได้แสดงเจตนาบริจาคอวัยวะเอาไว้ และตามกฎหมายแล้วความรู้สึกสูญ
เสียของญาติคงไม่อาจนำามาตัดการแสดงเจตนาของผู้ตายได้ แต่อาจจะ
ด้วยเหตุผลทางขนบธรรมเนียมประเพณีที่จะต้องมีการนำาร่างของผู้ตายไป
บำาเพ็ญกุศล และเหตุผลทางจิตวิทยากรณีผู้ที่เพิ่งสูญเสียคนอันเป็นที่รัก จึง
มีการออกกฎเกณฑ์ในนานาชาติให้ต้องขออนุญาตจากญาติในการตัดเอา
อวัยวะของผู้ตายไป ดังนั้นจึงคงยังควรคงขั้นตอนการขออนุญาตจากญาติ
ส่วนจะเป็นญาติคนใดคงจะต้องดูตามลำาดับชั้นของทายาทเป็นสำาคัญ (ณัฐ
วสา ฉัตรไพฑูรย์,2547)
3) สำาหรับประเด็นเรื่องเวลาที่ถือว่าตายนั้นจะทำาให้เกิดปัญหาเรื่อง
ทรัพย์มรดกพอสมควร เช่น กรณีที่สามีภรรยาประสบอุบัติเหตุสมองตายทั้ง
คู่จะถือว่าผู้ใดเป็นทายาท ในกรณีนี้ยังไม่มีตัวอย่างเกิดขึ้นให้เห็น แต่
เนื่องจากแพทย์เป็นผู้ที่ออกหนังสือรับรองการตาย เวลาที่ถือว่าตายคงน่า
จะต้องขึ้นอยู่กับแพทย์ที่จะวินิจฉัย (ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์,2547)
การจัดการกับศพผู้ตาย : การนำาเอาอวัยวะไปใช้
ในการปลูกถ่าย
เป็นที่ยอมรับกันตามประเพณีว่าเมื่อมีการตายเกิดขึ้นก็จะต้องมี
การจัดการกับศพนั้นไม่ว่าจะเป็นการนำาไปเผาหรือฝังดิน อย่างไรก็ตามใน
กรณีของผู้ที่แสดงเจตนาบริจาคอวัยวะไว้นั้น การตายย่อมก่อให้เกิดสิทธิ
แก่เจ้าหน้าที่ที่ได้รับบริจาคที่จะนำาศพผู้ตายไปตัดเอาอวัยวะ อย่างไรก็ดีมี
ปัญหาที่น่าคิดว่าหากเป็นกรณีของศพคดี เช่น หากความตายของผู้บริจาค
ดังกล่าวทำาให้จะต้องมีการดำาเนินคดีอาญากับผู้หนึ่งผู้ใดแล้ว แพทย์จะตัด
เอาอวัยวะของผู้ตายไปได้หรือไม่ และต้องทำาอย่างไร ในเรื่องนี้หากเกิด
ขึ้นในสกอตแลนด์แพทย์จะต้องปรึกษากับพนักงานอัยการ หรือที่เรียกว่า
Procurator Fiscal ซึ่งหากการตัดเอาอวัยวะออกไปจะทำาลายหลักฐาน
และทำาให้คดีของพนักงานอัยการเสียหาย Procurator Fiscal จะไม่
อนุญาตตัดอวัยวะ อย่างไรก็ตาม Procurator Fiscal ก็อาจขอให้พยาธิ
แพทย์ของ Procurator Fiscal เข้าร่วมในการผ่าตัดเอาอวัยวะที่บริจาค
ออก และถือว่าการผ่าตัดดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการชันสูตรพลิกศพ
ซึ่งในประเด็นยังเป็นเรื่องที่ต้องร่วมกันพิจารณาเพื่อวางแนวทางในการ
สอบสวนและเก็บรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อการพิสูจน์ความจริงเรื่องการ
ตาย ว่าในขณะนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การตรวจสอบการตาย
แล้วหรือยัง และรูปแบบควรจะเป็นอย่างไร นอกจากนี้แล้วในการตัดเอา
อวัยวะไปใช้ในการปลูกถ่ายควรมีหลักเกณฑ์เฉพาะอย่างไร ในบาง
ประเทศ เช่นในสหรัฐอเมริกาได้นำาหลักเกณฑ์เรื่อง required request
มาใช้ หลักการนี้กำาหนดให้เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล ที่รักษาผู้ป่วยที่
ใกล้จะสมองตาย หรือสมองตายแล้ว ต้องขอรับบริจาคอวัยวะของผู้ป่วย
จากญาติทุกราย มิเช่นนั้นจะต้องรับโทษทางอาญา แต่ในบางประเทศ เช่น
ในเสปน ได้นำาหลัก presumed consent มาใช้ หลักการดังกล่าวจะ
กำาหนดข้อสันนิษฐานให้คนทุกคนที่ตายเป็นผู้บริจาคอวัยวะ เว้นแต่จะมี
การแสดงความจำานงไว้ล่วงหน้าโดยขึ้นทะเบียนชื่อผู้ไม่ยินยอมบริจาคเอา
ไว้ เมื่อมีการตายเกิดขึ้นก็จะมีการตรวจสอบรายชื่อจากคอมพิวเตอร์ และ
หากไม่มีรายการแสดงเจตนาไม่บริจาคเอาไว้ แพทย์ก็จะสามารถนำาเอา
อวัยวะของผู้นั้นไปปลูกถ่ายได้ทันที (ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์,2547)
ความรับผิดทางอาญา
มีการยกประเด็นเรื่องสมองตายและการดำาเนินคดีอาญาขึ้นมาก
ล่าวกันนานมาแล้ว โดยมีการตั้งประเด็นว่าการกระทำาการใดๆ เช่น ถอด
เครื่องช่วยหายใจของคนไข้ที่สมองตายจะถือเป็นการเร่งการตายอันทำาให้
แพทย์ต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ ซึ่งในกรณีนี้ต้องพิจารณาว่า 1)
ประกาศแพทยสภาเรื่องสมองตายมีผลทางกฎหมายอย่างไร และ 2) คำาว่า
สมองตาย หมายถึงอะไร ซึ่งอาจพิจารณาได้ดังนี้ 1) เมื่อยอมรับกันว่าการ
ตายเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งแพทย์จะต้องวินิจฉัยและแพทยสภาได้ถือว่า
การที่ก้านสมองไม่สามารถทำางานอย่างถาวรเป็นการตาย ทั้งมีเกณฑ์ใน
การวินิจฉัยออกมาเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติแก่แพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ
การตายนั้น ก็จะคงจะต้องยอมรับว่าการที่ก้านสมองตายเป็นการตาย 2)
อย่างไรก็ตามการที่สมองแบ่งออกเป็นหลายส่วนและทำาหน้าที่ต่างๆกัน เมื่อ
ไม่ได้กำาหนดแน่ชัดว่าที่ว่าสมองตายนั้นหมายถึงส่วนใด คงต้องแยก
พิจารณาออกเป็น 2 ประการคือ ก) ก้านสมองตาย และ ข) สมองส่วน
cortex ตาย ก) ในกรณีที่ก้านสมองตายคงมีความชัดเจนในตัวเองแล้ว
เพราะเมื่อมีการยอมรับว่าบุคคลที่ก้านสมองตาย แม้ว่าหัวใจยังเต้นอยู่ ว่า
เป็นผู้ที่เสียชีวิตแล้ว การกระทำาการใดๆ เช่น การถอดเครื่องช่วยหายใจ
บุคคลดังกล่าว ก็คงไม่อาจทำาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการถอดเครื่องช่วยหายใจ
ออกต้องรับผิด ฐานฆ่าผู้อื่น เพราะผู้อื่นที่เป็นองค์ประกอบความผิดฐานฆ่า
นั้นจะต้องมีสภาพเป็นบุคคลไม่ใช่ผู้ที่ในทางการแพทย์ยอมรับกันว่าเสีย
ชีวิตแล้ว ข) อย่างไรก็ตามยังมีคนไข้ที่สมองส่วนอื่นไม่สามารถทำางานได้
ที่เป็นปัญหามากก็คือคนไข้ที่สมองส่วน cortex เสียไปซึ่งทำาให้คนไข้นั้น
แม้สามารถลืมตาได้แต่ไม่มีสติ ต้องนอนอยู่กับเตียงที่เรียกกันว่าผักมนุษย์
(PVS) โดยสภาพแล้วคนไข้นี้จะยังสามารถหายใจได้เอง และยังไม่ถือว่า
เป็นผู้ที่ตายแล้วในทางการแพทย์ การกระทำาการใดๆแก่บุคคลดังกล่าว
เช่น การหยุดรักษาคนไข้เหล่านี้ ในต่างประเทศจะเรียกกันว่า
euthanasia ซึ่งหากจะเกิดขึ้นในสหราชอาณาจักรจะต้องไปขออำานาจ
ศาลเพื่อพิจารณาอนุญาตให้หยุดการรักษาคนไข้เหล่านี้ เมื่อนำามาเทียบ
เคียงกับกฎหมายไทยแล้วจะเห็นว่า ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเรื่อง
euthanasia ทั้งการหยุดการรักษาก็ไม่มีเหตุยกเว้นโทษหรือยกเว้นความ
รับผิดฐานฆ่าผู้อื่น หากเห็นว่าเรื่อง euthanasia เป็นเรื่องจำาเป็นก็สมควร
ผลักดันเพื่อให้มีกฎหมายในเรื่องนี้ให้ชัดเจน โดยควรคำานึงถึงการวาง
หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบถ่วงดุลเพื่อคุ้มครองชีวิต และความปลอดภัย
ของบุคคลไปพร้อมกัน(ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์,2547)
นอกจากนี้ในการตัดอวัยวะของผู้ที่สมองตายได้เคยมีคำา
พิพากษาศาลฎีกาตัดสินว่า เมื่อถือว่าผู้ที่สมองตายคือผู้ที่ตายไปแล้ว การ
ตัดเอาอวัยวะที่ผู้ตายแสดงความจำานงบริจาคไว้ก็ไม่ทำาให้แพทย์ผู้ทำาการ
ผ่าตัดต้องรับผิดทางอาญา อย่างไรก็ตามหากการตัดอวัยวะกระทำาโดยไม่
ได้รับอนุญาต จะทำาให้เกิดความรับผิดอย่างใดหรือไม่ ซึ่งทำาให้ต้องกลับ
มาพิจารณาประเด็นที่ว่าศพหรือส่วนของศพเป็นทรัพย์หรือไม่ ซึ่งในกรณี
นี้ ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ เคยให้ความเห็นไว้ว่า
หากถือว่าศพหรือส่วนของศพไม่ใช่ทรัพย์ ก็คงไม่สามารถดำาเนินคดีใน
ข้อหาลักทรัพย์หรือทำาให้เสียทรัพย์แก่ผู้ที่ตัดเอาชิ้นส่วนของศพไป (ณัฐ
วสา ฉัตรไพฑูรย์,2547)
อนึ่ง ยังมีประเด็นเกี่ยวข้องที่น่าสนใจที่ว่าทารกพิการที่ไม่มี
cortex แต่ยังมีก้านสมอง ทำาให้เด็กนี้หายใจได้ และหัวใจเต้นได้ ซึ่งเด็ก
คนนี้องค์การอนามัยโลกยังถือว่าเป็นเด็กที่คลอดมามีชีวิต (livebirth)
ทำาให้การตัดอวัยวะของเด็กไปใช้เพื่อการปลูกถ่ายจะต้องรอจนกว่าเด็กนั้น
จะเสียชีวิตก่อน มิเช่นนั้นแพทย์จะต้องมีความรับผิดทางอาญาฐานฆ่าผู้อื่น
อย่างไรก็ตามในกรณีนี้หากเกิดขึ้นในเยอรมัน ศาลเยอรมันจะถือว่าเด็ก
ดังกล่าวมิใช่เด็กที่คลอดมีชีวิต ซึ่งจะทำาให้ความรับผิดของแพทย์ที่ตัดเอา
อวัยวะของเด็กไปใช้ในการปลูกถ่ายเปลี่ยนแปลงไป ในเรื่องนี้จึงเป็น
ประเด็นที่น่าจะหยิบยกมาทบทวนหากมีจะมีการบัญญัติกฎหมายนิยามการ
ตาย (ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์,2547)
ข้อดีของการบัญญัติกฎหมายนิยามการตายให้
ชัดเจน
การออกกฎหมายเรื่องนิยามการตายนี้มีข้อดีซึ่งควรคำานึงถึง ดังนี้
1 เนื่องจากมีบุคคลที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการตายไม่ว่าจะเป็น
แพทย์ นักกฎหมาย และประชาชนทั่วๆไป การนิยามการตายให้ชัดเจนจะ
ทำาให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทราบและเข้าเรื่องสมองตายดีขึ้น โดยเฉพาะในยุค
ปัจจุบันที่ศพผู้ตายมีประโยชน์สามารถนำาเอาอวัยวะมาปลูกถ่าย การไม่มี
กรอบของกฎหมายที่ชัดเจนจะทำาให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะญาติของ
ผู้ที่แพทย์ถือว่าเสียชีวิตแล้วเกิดความระแวงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีการ
ร้องเรียนและฟ้องร้องอันนำามาซึ่งความเดือดร้อน และยุ่งยากแก่บุคลากร
สาธารณสุข
2 การมีกฎหมายที่ชัดเจนจะทำาให้สามารถวางระบบการจัดการเกี่ยว
กับศพของผู้ตาย เช่นในการกำาหนดให้มีการแจ้งเรื่องคนไข้สมองตายแก่
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อันจะทำาลดอุปสรรคและเพิ่มความรวดเร็วในการ
เข้าไปรับศพคนไข้ที่ตายแล้วไปใช้ในการปลูกถ่ายอวัยวะ
3 ทำาให้มีการทบทวนเรื่องเกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยการตายซึ่งใน
ต่างประเทศยังคงมีข้อถกเถียงเรื่องความแม่นยำาและน่าเชื่อถือ อันอาจ
ทำาให้มีการนำาเอาเทคโนโลยีใหม่ เช่น มีการนำาเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้า
ของสมอง (electroencephalogram, EEG) มาใช้เพิ่มความแม่นยำาใน
การวินิจฉัยการตาย เพื่อเพิ่มความมั่นใจแก่ญาติผู้ตายและประชาชนว่า
บุคคลที่สมองตายนั้นได้ตายแล้วอย่างไม่มีข้อสงสัย ทั้งจะเป็นการเพิ่ม
มาตรฐานการสาธารณสุขของไทย
4 ทำาให้เกิดการทบทวนถึงของเขตของคำาว่า “ตาย” ที่สังคมต้องการ
ว่าควรมีความหมายเพียงใด การที่สมองตายจะให้มีความหมายรวมถึง
กรณีทารกพิการที่สมองส่วน cortex เสียแต่ก้านสมองยังทำางานได้ หรือ
คนไข้ที่เป็นผักมนุษย์ (PVS) หรือไม่
ในการออกกฎหมายนิยามการตายให้ชัดเจนนั้นเห็นว่าควรมีการ
ออกกฎหมายนิยามการตายโดยคำานึงถึงการวินิจฉัยการตายทั้งสอง
ประเภทตามแบบที่นิยมกันในนานาชาติ เพื่อเปิดโอกาสให้แพทย์ใช้
ดุลยพินิจที่จะวินิจฉัยตามความเหมาะสมแก่กรณี เช่น อาจจะบัญญัติ
ว่า”บุคคลถึงแก่ความตาย เมื่อ
(ก) มีการหยุดทำางานที่ไม่สามารถแก้ไขได้ของการไหลเวียนของ
เลือดในร่างกาย หรือ
(ข) มีการหยุดทำางานที่ไม่สามารถแก้ไขได้ของหน้าที่ (function)
ทั้งหมดของคนที่สมองตาย”
บทสรุป
เนื่องจากการตายเป็นเรื่องสำาคัญที่บุคคลคนหนึ่งจะหมดสภาพ
ความเป็นมนุษย์ ทั้งก่อสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
การที่จะถือว่าบุคคลหนึ่งบุคคลใดตายแล้วจึงเป็นเรื่องสำาคัญและควรมี
ความชัดเจน แม้ประเทศไทยจะยอมรับในเรื่องสมองตายมานานแล้ว แต่ใน
ความเป็นจริงแล้วประชาชนหรือแม้กระทั่งนักกฎหมายบางส่วนก็ยังไม่
เข้าใจในเรื่องดังกล่าวนัก อันทำาให้เกิดการไม่ยอมรับการปฏิบัติหน้าที่ของ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีการร้องเรียน และร้องทุกข์ดำาเนินคดี สร้างความ
เดือดร้อนกังวลใจแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อความชัดเจนแล้วจึงควร
มีการออกกฎหมายนิยามการตายให้ชัดเจน โดยอาจจะถือตามเกณฑ์การ
วินิจฉัยการตายทั้งสองแบบตามที่นิยมทำากันในนานาชาติ และควรมีการ
ทบทวนหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มมาตรฐานของการสาธารณสุขและ
การปฏิบัติงานด้านการนำาเอาอวัยวะไปใช้ในการปลูกถ่ายพร้อมๆกัน การ
ที่มีกฎหมายนิยามการตายที่ชัดเจนนั้นจะทำาให้ความสงสัยของญาติของผู้
ตายตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเรื่องการจัดการเกี่ยวกับศพของผู้
ตายหมดไป อันทำาให้สามารถวางแผนในการจัดการเพื่อเพิ่มจำานวนผู้
บริจาคอวัยวะได้ดียิ่งขึ้น สามารถวางกรอบในการปฏิบัติงานให้บุคคลากร
ทางสาธารณสุขเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
ของตนเอง เพื่อเพิ่มพูนความผาสุกและความปลอดภัยแก่คนทุกๆคนใน
สังคม
ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการค้าขายอวัยวะมนุษย์
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าอวัยวะมนุษย์เพื่อการ
ปลูกถ่ายในประเทศไทย
สำาหรับประเทศไทยนั้นในตอนนี้ยังไม่มีการบัญญัติกฎหมายในความ
ผิดฐานค้าอวัยวะมนุษย์ไว้โดยเฉพาะทั้งนี้เนื่องจากว่าในประเทศไทยนั้น
ยังไม่มีกรณีการเกิดการค้าอวัยวะมนุษย์ให้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน แต่
อย่างไรก็ตามเราก็ไม่ควรที่จะละเลยต่อประเด็นปัญหานี้ เพราะการที่ไม่มี
กรณีปรากฏเห็นเด่นชัด ก็ไม่ได้หมายความว่าการกระทำาความผิดในฐาน
ความผิดดังกล่าวจะมิได้เกิดขึ้นในสังคมไทย แต่อาจจะเป็นด้วยเหตุเพราะ
การขาดข้อมูลที่เกี่ยวกับความผิดดังกล่าว เพราะผู้ขายกับผู้ซื้ออาจตกลง
ซื้อขายกันเงียบๆ และการตกลงซื้อขายนั้นก็เป็นไปด้วยดี คือการเกิดจาก
ความยินยอมของผู้ขายเอง ดังนั้น เมื่อข้อมูลไม่ถูกเปิดเผย จึงทำาให้การก
ระทำาความผิดดังกล่าวถูกลดความสำาคัญลง ดังนั้นประเทศไทยจึงมิได้มี
การกำาหนดถึงความผิดในฐานค้าอวัยวะขึ้น (พรรณราย ธรรมวิทยา
ภูมิ,2552)
สถานภาพทางกฎหมายของอวัยวะ
อวัยวะมนุษย์สามารถเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามหลักนิติกรรมสัญญาได้
หรือไม่นั้น จะต้องทราบว่า อวัยวะของมนุษย์มีสถานะเป็นทรัพย์หรือ
ทรัพย์สินตามกฎหมายหรือไม่ โดยพิจารณาความหมายของคำาว่าทรัพย์
หรือทรัพย์สินความหมายของคำาว่าทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ มาตรา 137 บัญญัติว่า “ทรัพย์หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง”
ความหมายของคำาว่าทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ มาตรา 138 บัญญัติว่า “ทรัพย์สินหมายความรวมทั้งทรัพย์และ
วัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้”
ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้จึงต้องหมายความทั้งทรัพย์และทรัพย์สิน
ฉะนั้นจึงหมายความรวมถึงวัตถุที่มีรูปร่างและวัตถุที่ไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมี
ราคาและอาจถือเอาได้ จึงเป็นประเด็นคำาถามที่ต้องวิเคราะห์ต่อไปว่า
อวัยวะที่นำามาปลูกถ่ายจะมีสถานะเป็นทรัพย์ตามกฎหมายหรือไม่
สถานะทางกฎหมายของอวัยวะมนุษย์มีสถานะเป็นทรัพย์หรือ
ทรัพย์สินตามกฎหมายหรือไม่นั้น สามารถพิจารณาได้ดังต่อไปนี้
1. คำาว่าทรัพย์ คือ วัตถุที่มีรูปร่าง
2. คำาว่าทรัพย์สิน คือ วัตถุที่มีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่าง
ซึ่งลักษณะสำาคัญของคำาว่าทรัพย์และทรัพย์สินนั้นต้องมีลักษณะที่
อาจมีราคาและอาจถือเอาได้ การพิจารณาความหมายอันแท้จริงของคำาทั้ง
สองคำานี้จำาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอ่านมาตรา 137 และมาตรา 138
ประกอบกันไป
องค์ประกอบดังกล่าวเป็นองค์ประกอบสำาคัญในการพิจารณาถึงความ
เป็นทรัพย์หรือทรัพย์สิน เช่น มนุษย์เราแม้จะมีรูปร่าง แต่คนก็ไม่ใช่วัตถุ
และไม่อาจมีราคาซื้อขายกันได้ เพราะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
312 บัญญัติห้ามเอาคนลงเป็นทาส ห้ามพา ซื้อขาย จำาหน่าย รับ หรือ
หน่วงเหนี่ยวบุคคลไว้ เมื่อขาดองค์ประกอบของทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ว่า
อาจมีราคาแล้ว จึงถือกันว่ามนุษย์ไม่ใช่ทรัพย์ ดังนั้นอวัยวะของมนุษย์จึง
ไม่ใช่ทรัพย์เช่นกัน
แต่สำาหรับอวัยวะของมนุษย์ที่แยกออกมาจากตัวมนุษย์แล้ว ย่อม
ไม่ใช่ร่างกายของมนุษย์อีกต่อไป เช่น ผมสตรีที่ตัดเอาไปขาย ย่อมมีราคา
และถือเอาได้ จึงเป็นทรัพย์ ดวงตาที่บุคคลขายหรืออุทิศให้แก่โรงพยาบาล
เพื่อนำาไปเปลี่ยนกับตาของคนไข้ก็ถือว่ามีราคาและถือเอาได้จึงมีสภาพเป็น
ทรัพย์ตามกฎหมาย
เมื่อพิจารณาความหมายของคำาว่า “ทรัพย์” ตามกฎหมาย จะพบว่า
ศพเป็นวัตถุที่มีรูปร่างแน่นอน แม้โดยจารีตประเพณีและความรู้สึกในทาง
ศีลธรรมอันดีของบุคคลทั่วๆไป ไม่ประสงค์จะมองศพว่าเป็นวัตถุอย่างหนึ่ง
แต่คิดว่าเป็นสิ่งพิเศษของมนุษย์ที่ดองเอาไว้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ของแพทย์ ย่อมมีราคาและอาจถือเอาได้ จึงถือเป็นทรัพย์อย่างหนึ่ง ส่วน
ศพของมนุษย์ทั่วๆไปนั้นถ้าญาติพี่น้องยังหวงแหนกราบไหว้บูชาก็อาจ
ถือว่ามีราคาได้เพราะคำาว่าอาจมีราคาหมายถึง คุณค่าในตัวสิ่งนั้น แต่หาก
เป็นศพไม่มีญาติซึ่งไม่มีผู้ใดหวงแหน เก็บเอาไว้ย่อมไม่มีราคาหรือคุณค่า
จึงมิใช่ทรัพย์ หากไม่ถือว่าศพเป็นทรัพย์ อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาทันที
เมื่อคนตายใหม่ๆก็จะมีผู้ฉวยโอกาสเอาอวัยวะส่วนต่างๆของศพโดย
พลการและไม่มีความผิดใดๆเลย เพราะการกระทำาต่อศพ ถ้ามิใช่การ
ยักย้ายทำาลายศพเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 199 ก็จะไม่มีความผิดอาญา ในทางตรงข้าม เมื่อการปลูกถ่าย
อวัยวะต้องการอวัยวะที่สดๆด้วยแล้ว อวัยวะของศพจึงมีคุณค่าเป็นที่
หวงแหนของญาติจนกว่าจะมีการเผาเป็นดินหรือตะกอนและไม่มีใครเก็บ
เอาไปแล้วดังนั้นอวัยวะที่นำาออกจากร่างกายของมนุษย์ หากแยกจากกัน
เด็ดขาดจากร่างกายก็ควรถือว่าเป็นทรัพย์ตามกฎหมาย ส่วนอวัยวะที่แยก
จากร่างกายที่ไม่มีชีวิต(ศพ)ก็ควรถือว่าเป็นทรัพย์ด้วย ซึ่งนั่นต้องรวมถึง
ร่างกายในทุกส่วนของศพ แม้ว่าจะไม่มีการแบ่งแยกก็ตาม เพราะศพนั้น
ถือว่าเป็นทรัพย์ของทายาท (พรรณราย ธรรมวิทยาภูมิ,2552)
ประมวลกฎหมายอาญา
เนื่องจากว่าการค้าอวัยวะมนุษย์นั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การปลูกถ่าย
อวัยวะอันเป็นการล่วงลำ้าต่อชีวิต ร่างกายเสรีภาพ และจิตใจ ดังนั้นใน
ความรับผิดทางอาญาดังกล่าวจึงสามารถพิจารณาได้ดังต่อไปนี้
การกระทำาโดยการปลูกถ่ายอวัยวะบุคคลจะมีความรับผิดทางอาญา
ได้ หากเข้าองค์ประกอบแห่งความผิดคือ องค์ประกอบภายนอก
(บทบัญญัติแห่งกฎหมายอาญา) และ องค์ประกอบภายใน (เจตนา) ใน
ความผิดนั้นได้แก่ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, ความผิดที่เกี่ยวกับชีวิต
และร่างกาย ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ แต่การกระทำาความผิดนี้บุคคลอาจ
อ้างว่าเป็นความยินยอมจากผู้เสียหายได้ แต่ผลจะเป็นประการใดสามารถ
พิจารณาได้ดังนี้
ความรับผิดทางอาญาต่อร่างกาย
ความผิดฐานทำาร้ายร่างกายเป็นความผิดที่บุคคลได้กระทำาต่อ
ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้ดังนี้
มาตรา 295 “ผู้ใดทำาร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย
หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำาความผิดฐานทำาร้ายร่างกาย ต้องระวาง
โทษจำาคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ”
จากบทบัญญัตินี้การทำาร้าย หมายความถึง การกระทำาต่อร่างกาย
หรือจิตใจของผู้อื่นในทางให้เจ็บ หรือแตกหัก เสียหาย ทั้งนี้จะมีอาวุธหรือ
ไม่ก็ตามและไม่ว่าจะกระทำาโดยมีการสัมผัสเนื้อตัวร่างกายของผู้เสียหาย
หรือไม่ก็ตาม
การค้าอวัยวะมนุษย์เพื่อการปลูกถ่าย ก็เป็นการกระทำาอันหนึ่งที่นำา
เอาอวัยวะออกจากร่างกายโดยเฉพาะนำามาจากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ และผู้นั้น
ยังไม่ถึงแก่ความตาย ถือเป็นการทำาร้ายร่างกาย เช่น การที่แพทย์ทำาการ
ผ่าตัดเอาอวัยวะจากคนปกตินำาไปปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วยถือเป็นการทำาร้าย
ร่างกาย เพราะการผ่าตัดเป็นการกระทำาที่แพทย์ประสงค์ให้เกิดหรืออาจ
เล็งเห็นผลได้ว่าจะเกิดอันตรายแก่กายผู้ถูกเอาอวัยวะออกจากร่างกาย จึง
ครบองค์ประกอบความผิดฐานทำาร้ายร่างกาย (พรรณราย ธรรมวิทยา
ภูมิ,2552)
เมื่อถือว่าการนำาเอาอวัยวะออกจากร่างกายเป็นการทำาร้ายแล้ว แต่
การกระทำานั้นเป็นการทำาร้ายร่างกายสาหัสหรือไม่ พิจารณาได้ดังนี้
มาตรา 297 “ผู้ใดกระทำาความผิดฐานทำาร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุ
ให้ผู้ถูกกระทำาร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำาคุกตั้งแต่หกเดือนถึง
สิบปี อันตรายสาหัสนั้น คือ
(3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใดการกระทำาผิดตาม
มาตรานี้ แม้ผู้กระทำาจะมีเจตนาหรือไม่มีเจตนากระทำาให้เกิดอันตราย
สาหัสขึ้นหรือไม่ไม่ใช่สาระสำาคัญ เพียงแต่ผู้กระทำาผิดมีเจตนาที่จะทำาร้าย
และผลของการกระทำาร้ายอันเป็นผลธรรมดาส่งผลให้เกิดอันตรายสาหัส
ขึ้น ผู้กระทำาก็มีความผิดตามมาตรานี้แล้ว
คำาว่า “อวัยวะอื่นใด” ในความหมายตามอนุมาตรา (3) คือ อวัยวะที่
สำาคัญทุกชนิดรวมทั้งอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต แต่ไม่ได้
หมายถึงส่วนของร่างกายซึ่งแยกออกจากร่างกายได้โดยไม่กระทบ
กระเทือนต่อความเป็นอยู่ตามปกติในชีวิตของบุคคลนั้นๆ เช่น ผม ฟัน เล็บ
เป็นต้น
ความรับผิดทางอาญาต่อชีวิต
มาตรา 288 “ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำาคุกตลอด
ชีวิต หรือจำาคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี”
มาตรา 289 “ผู้ใด (4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ต้องระวาง
โทษประหารชีวิต”
มาตรา 290 “ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำาร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้
นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำาคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใด ดังที่บัญญัติไว้ใน
มาตรา 289 ผู้กระทำาต้องระวางโทษจำาคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี”
มาตรา 291 “ผู้ใดกระทำาโดยประมาท และการกระทำานั้นเป็นเหตุ
ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำาคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน
สองหมื่นบาท”
ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นนั้น หากการกระทำาของแพทย์เป็นเหตุให้ผู้
อื่นต้องเสียชีวิตก็ย่อมเป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ซึ่งในความ
รับผิดฐานฆ่าผู้อื่นนี้อาจจะร้ายแรงกว่า หากพิสูจน์ได้ว่าแพทย์ได้ไตร่ตรอง
ไว้ก่อนแล้ว หรือหากไม่มีเจตนาฆ่า แต่การกระทำาของแพทย์เป็นเหตุให้ผู้
อื่นถึงแก่ความตาย แพทย์ก็มีความเสี่ยงกับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่
เจตนา หรือแม้จะไม่มีเจตนา แต่หากกระทำาด้วยความประมาทและการกระ
ทำานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ก็ย่อมมีความผิดด้วย
การตายทางการแพทย์
การตายหมายถึง การหยุดทำางานอย่างถาวรของระบบประสาทส่วน
กลาง (Central nervous system)ระบบการหายใจ (Respiratory
system) และระบบการไหลเวียนของโลหิต (Cardiovascular system)
โดยที่อวัยวะทั้งสามทำางานสัมพันธ์กัน เมื่อระบบใดระบบหนึ่งไม่ทำางานจะ
ทำาให้อีกสองระบบไม่ทำางานด้วย ผลที่สุดคือ ตายโดยเกณฑ์ที่ใช้ในการ
วินิจฉัยคนตายนั้น แพทยสภาได้ยึดหลักเกณฑ์สมองตาย (Brain Death)
ซึ่งได้กำาหนดสภาวะและเงื่อนไขสำาหรับการวินิจฉัยไว้ (พรรณราย ธรรม
วิทยาภูมิ,2552)
ความรับผิดทางอาญาของแพทย์ต่อผู้รับอวัยวะ
การกระทำาใดๆของแพทย์ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม เช่น การ
ผ่าตัด แพทย์จะต้องได้รับความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าวจากผู้ป่วย
และหากแพทย์ได้รับความยินยอมดังกล่าวก็จะมีผลทำาให้การกระทำาของ
แพทย์ไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย แต่หากแพทย์ไม่ได้รับความยินยอม
จากผู้ป่วย แพทย์ก็อาจรับผิดฐานทำาร้ายร่างกาย และรับผิดในความผิด
เกี่ยวกับเสรีภาพ เนื่องจากกระทบต่อเสรีภาพในการตัดสินใจของผู้ป่วยซึ่ง
ในทางปฏิบัติแล้ว แพทย์จะขอความยินยอมจากผู้ป่วยเสมอ แต่แม้ว่า
แพทย์จะกระทำาการด้วยความยินยอมของผู้ป่วย ก็มิใช่ว่าจะไม่มีปัญหา
เกี่ยวกับความรับผิดของแพทย์ในการปลูกถ่ายอวัยวะให้แก่ผู้ป่วยซึ่งเป็น
ผู้รับอวัยวะแม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่าการกระทำาของแพทย์ต่อร่างกายของผู้
ป่วย ไม่เป็นการทำาร้ายตามความหมายของกฎหมายเพราะเป็นการบำาบัด
โรคให้แก่ผู้ป่วย และเป็นการทำาให้ร่างกายของผู้ป่วยดีขึ้น จึงไม่เป็นความ
ผิดฐานทำาร้ายร่างกายก็ตาม แต่บางครั้งแพทย์อาจกระทำาการโดยประมาท
เลินเล่อ ปราศจากความระมัดระวัง ตามวิสัยและพฤติการณ์ที่แพทย์
สามารถจะใช้ความระมัดระวังได้ แต่มิได้ใช้ให้เพียงพอ เช่นไม่เย็บต่อ
อวัยวะให้ดี, ให้เลือดผิดกลุ่ม เป็นต้นซึ่งเป็นผลทำาให้ผู้รับอวัยวะถึงแก่
ความตาย แพทย์ก็อาจต้องรับผิดฐานทำาให้คนตายโดยประมาท(พรรณ
ราย ธรรมวิทยาภูมิ,2552)
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคและปลูกถ่าย
อวัยวะในประเทศไทย
ประเทศไทยได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรมที่เกี่ยวข้อง
กับการปลูกถ่ายอวัยวะมาเรื่อยๆโดยแพทยสภาและนักกฎหมายต่างๆ ซึ่ง
ในปัจจุบันมีการปรับปรุงและประกาศใช้ฉบับล่าสุดในปี พ.ศ. 2553 ข้อ
บังคับแพทยสภา
ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.
๒๕๔๙
อาศัยอำานาจตามความในมาตรา ๒๑ (๓) (ช) แห่งพระราชบัญญัติ
วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๒๕
คณะกรรมการแพทยสภาด้วยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษตาม
มาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรมพ.ศ. ๒๕๒๕ อันเป็นพระ
ราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการที่เกี่ยวกับการจำากัดสิทธิและเสรีภาพ
ของบุคคล ซึ่งมาตรา๒๙ ประกอบกับมาตรา ๕๐ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำาได้โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่ง
กฎหมาย คณะกรรมการแพทยสภาออกข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรม
แห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549”
ข้อ 2 ให้ใช้ข้อบังคับนี้ตั้งแต่สามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจา
นุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ 3 ตั้งแต่วันใช้ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่ง
วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549
สืบไป ให้ยกเลิกบรรดาข้อบังคับดังต่อไปนี้
(1) ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2533
(2) ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2538
(3) ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543
(4) ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม
(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2544
(5) ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม
(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2545
(6) ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม
(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2545
หมวด ๑๐ การประกอบวิชาชีพเวชกรรมเกี่ยวกับการปลูกถ่าย
อวัยวะ
"การปลูกถ่ายอวัยวะ" หมายความว่า การประกอบวิชาชีพ
เวชกรรมที่เกี่ยวกับการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือเปลี่ยนอวัยวะ ต่อไปนี้คือ
หัวใจ ปอด ตับ ตับอ่อน ไต และอวัยวะอื่น ตามที่แพทยสภาประกาศ
กำาหนด
"ผู้บริจาค" หมายความว่า บุคคลผู้บริจาคอวัยวะของตน เพื่อการ
ปลูกถ่ายอวัยวะ
ข้อ ๕๒ การปลูกถ่ายอวัยวะที่ผู้บริจาคประสงค์จะบริจาคอวัยวะขณะที่ยังมี
ชีวิต
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ทำาการปลูกถ่ายอวัยวะต้องดำาเนินการตาม
เกณฑ์ต่อไปนี้
(1) ผู้บริจาคต้องเป็นญาติโดยสายเลือด หรือคู่สมรสที่จดทะเบียน
สมรสกับผู้รับอวัยวะมาแล้วอย่างน้อยสามปีเท่านั้น ยกเว้นกรณี
เป็นการปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้บริจาคที่เป็นผู้ได้รับการวินิจฉัยว่าอยู่
ในเกณฑ์สมองตายตามประกาศแพทยสภา
(2) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ทำาการปลูกถ่ายอวัยวะต้อง
ทำาการตรวจสอบ และรวบรวมหลักฐานที่แสดงว่าผู้บริจาคเป็นญาติ
โดยสายเลือด หรือเป็นคู่สมรสกับผู้รับอวัยวะโดยต้องเก็บหลักฐานดัง
กล่าวไว้ในรายงานผู้ป่วยของผู้รับอวัยวะ
(3) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ทำาการปลูกถ่ายอวัยวะ ต้อง
อธิบายให้ผู้บริจาคเข้าใจถึงความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่างๆแก่ผู้
บริจาคทั้งจากการผ่าตัด หรือหลังการผ่าตัดอวัยวะที่บริจาคออกแล้ว
เมื่อผู้บริจาคเข้าใจและเต็มใจที่จะบริจาคแล้วจึงลงนามแสดงความ
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1
กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1

More Related Content

Featured

AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfmarketingartwork
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024Neil Kimberley
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)contently
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024Albert Qian
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsKurio // The Social Media Age(ncy)
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Search Engine Journal
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summarySpeakerHub
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Tessa Mero
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentLily Ray
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best PracticesVit Horky
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementMindGenius
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...RachelPearson36
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Applitools
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at WorkGetSmarter
 

Featured (20)

AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
 
Skeleton Culture Code
Skeleton Culture CodeSkeleton Culture Code
Skeleton Culture Code
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work
 
ChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slidesChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slides
 
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike RoutesMore than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
 

กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะ1

  • 1. บทที่ 4 กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคและปลูก ถ่ายอวัยวะ (Medical Laws of Organ Donation and Transplantation) สุธีร์ หนูช่วย บทนำา ในปัจจุบันวงการแพทย์ได้มีวิวัฒนาการในด้านการรักษาและ วิทยาการเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านการปลูกถ่ายเปลี่ยนอวัยวะในผู้ป่วยที่มีปัญหาการสูญเสีย หน้าที่การทำางานของอวัยวะหรือมีความล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ไต หัวใจ ปอด เป็นต้น การปลูกถ่ายอวัยวะในมนุษย์เป็นกระบวนการหนึ่ง ที่แพทย์ต้องกระทำาการผ่าตัดร่างกายแล้วนำาเอาอวัยวะออกจากร่างกาย บุคคลหนึ่ง ไปยังอีกบุคคลหนึ่งที่ป่วยและมีความต้องการที่จะรักษา จึงส่ง ผลให้ผู้ป่วยจำานวนมากมีความต้องการอวัยวะเพิ่มขึ้น และรอคอยความ หวังในการได้รับบริจาคอวัยวะจากผู้ที่ยังมีชีวิดและเสียชีวิตต่อไป ในประเทศไทยยังมีอุปสรรคใหญ่ที่ทำาให้มาตรฐานการให้ชีวิตใหม่ แก่ผู้ป่วยไม่สามารถทำาได้อย่างเต็มที่เนื่องจากยังขาดอวัยวะที่จะใช้ทั้งๆที่ ความสามารถทางการแพทย์ของไทยมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมประเท ศอื่นๆและที่น่าเสียดายมากคือ การขาดแคลนอวัยวะที่เกิดจากความเชื่อที่ ผิดของเจ้าของอวัยวะและญาติของผู้บริจาคเอง และอาจเกิดจากความไม่ ใส่ใจของผู้บริหารบ้านเมือง ทำาให้ไม่มีกฎหมายรองรับการใช้ประโยชน์ จากอวัยวะของผู้ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว เช่นกรณีเกิดอุบัติเหตุจนสมอง ตายแต่อวัยวะยังคงใช้ประโยชน์ได้ดีซึ่งมีหลายประเทศที่มีกฎหมาย
  • 2. อนุญาตให้ใช้อวัยวะต่างๆได้เลย และยังไม่มีกฎหมายที่เหมาะสมในการ คุ้มครองผู้บริจาคอวัยวะ เนื่องจากในประเทศไทยมีประชากรอยู่รวมกัน หลายกลุ่มหลายศาสนาและยังคงยึดถือความเชื่อทางด้านศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมต่างอย่างฝังแน่น จึงต้องอาศัยการ ประชาสัมพันธ์และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะที่ถูกต้องและมี มาตรฐานสากลเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อการบริจาคอวัยวะ อีกทั้งในปัจจุบัน มีกระแสเกี่ยวกับการซื้อขายอวัยวะเกิดขึ้นเนื่องจากความต้องการเข้ารับ การรักษาด้วยการปลูกถ่ายอวัยวะของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น กระแสข่าวการค้า อวัยวะมนุษย์จึงเกิดขึ้นในสังคมอย่างกว้างขวางอันเป็นการขัดต่อศีลธรรม หรือจะหมิ่นเหม่ต่อการทำาผิดจริยธรรมหรือกฎหมายได้ โดยเฉพาะเรื่อง เกี่ยวกับความผิดอาญาที่เกิดจากการผ่าตัดโดยแพทย์แล้วนำาอวัยวะออก จากร่างกายจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิต หรือผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้ว ซึ่ง เป็นการสมควรจะได้รับการพิจารณาให้ความคุ้มครองในทางกฎหมาย อาญา ในปัจจุบันความไม่ชัดเจนในการกำาหนดหลักเกณฑ์ในทาง กฎหมายเกี่ยวกับการค้าอวัยวะมนุษย์ รวมทั้งบทบัญญัติเกี่ยวกับการ คุ้มครองชีวิตบุคคลที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เข้าช่วยใน การผ่าตัดนั้นยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งอาจส่งผลต่อการวินิจฉัยความผิดของ แพทย์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องที่เกี่ยวกับความรับผิดทางอาญา และอาจ ก่อให้เกิดความไม่แน่ใจในการกำาหนดแนวทางการพัฒนาการรักษาและ การผ่าตัดในเรื่องดังกล่าวอันเป็นอุปสรรคที่สำาคัญต่อวงการแพทย์ และ ข้อ พิจารณาทางด้านการแพทย์เกี่ยวกับภาวะแกนสมองตาย ประกอบกับข้อ พิจารณาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองชีวิตมนุษย์เพื่อให้เกิดความ ถูกต้องในการวินิจฉัยและการกำาหนดความรับผิดของบุคคลที่เกี่ยวข้องต่อ ไป ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้เกิดการฟ้องร้องดำาเนินคดีทางกฎหมายกับ แพทย์และบุคลากรต่างๆที่เกี่ยวข้องและกับโรงพยาบาลต่างๆขึ้นในช่วง 4- 5 ปีที่ผ่านมา ผลดังกล่าวทำาให้กระแสการบริจาคอวัยวะเพื่อช่วยช่วยชีวิตผู้ ป่วยลดลงอย่างมาก จึงต้องมีการศึกษาและรวบรวมประเด็นทางกฎหมาย และข้อบังคับต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะขึ้นเพื่อให้ประชาชนมี
  • 3. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายการบริจาคอวัยวะและทำาให้การ บริจาคอวัยวะได้รับความสนใจมากขึ้นและนำาไปสู่การบริจาคอวัยวะเพื่อ ช่วยต่อลมหายใจผู้ป่วยมากขึ้นในอนาคต ความหมายของการบริจาคอวัยวะและการปลูกถ่าย อวัยวะ การปลูกถ่ายอวัยวะคือ การนำาอวัยวะจากที่หนึ่งไปไว้ที่หนึ่ง อาจ เป็นในคนเดียวกันหรือต่างคนก็ได้ เช่น การย้ายผิวหนังจากขามาปะที่ลำา ตัว หรือการเปลี่ยนแก้วตาจากการบริจาคดวงตา อย่างไรก็ตาม วิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ก้าวหน้ามากจนสามารถนำาอวัยวะ จากผู้ที่เสียชีวิตแล้วหรือผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นำาไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยได้ ที่ เรียกกันทั่วไปว่า การเปลี่ยนอวัยวะทำาให้ผู้ที่ได้รับอวัยวะรอดชีวิต กลับมี ชีวิตใหม่อีกครั้ง การบริจาคอวัยวะหมายถึงการที่บุคคลแสดงเจตจำานงในการเสีย สละแบ่งบันซึ่งอวัยวะต่างๆในร่างกายเช่น ไขกระดูก ไต ดวงตา ในขณะที่ ตนมีชีวิตอยู่เพื่อช่วยเหลือในการปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยที่มีการล้มเหลวของ อวัยวะดังกล่าว หรือเป็นการยินยอมโดยทายาทตามกฎหมายในกรณีที่ผู้ บริจาคได้เสียชีวิตเเล้ว ซึ่งต้องมีกฎหมายรองรับเพื่อป้องกันปัญหาทาง อาชญากรรมหรือความไม่เป็นธรรมต่างๆ และต้องอาศัยกฎหมายในการ คุ้มครองผู้บริจาค ผู้รับบริจาคและบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
  • 4. ด้วยเพื่อป้องกันการซื้อขายอวัยวะอันเป็นการขัดต่อหลักกฎหมายและศีล ธรรมอันดี การบริจาคอวัยวะสามารถทำาได้ในผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่และเสียชีวิตแล้ว แต่เนื่องจากการรับบริจาคอวัยวะจากบุคคลที่เสียชีวิตแล้วนั้นสามารถนำา ไปใช้ได้ทันทีและเป็นสิ่งที่ต้องกระทำาอย่างเร่งด่วนและการบริจาคโดย ทายาทมักมีปัญหามากที่สุดเนื่องจากความคิดเห็นของทายาทแต่ละคนไม่ ตรงกัน จึงต้องมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะที่ถูกต้องและมี มาตรฐานตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิชาชีพเวชกรรม ตามนิยามการตายของแพทยสภา แพทยสภาได้ออกข้อบังคับ แพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2551 ซึ่งได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2552 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการนิยามการตายของบุคคลไว้ในข้อที่ 3 ของข้อบังคับ ดังนี้ “การตายของบุคคล” หมายความว่า บุคคลอยู่ในสภาวะที่ระบบ การไหลเวียนเลือด และระบบการหายใจหยุดทำางาน โดยไม่สามารถกลับ คืนได้อีก หรืออยู่ในสภาวะสมองตายคือ การที่แกนสมองถูกทำาลายจนสิ้น สุดการทำางานโดยสิ้นเชิงตลอดไป ทั้งนี้หลักเกณฑ์และวิธีวินิจฉัยสมอง ตาย ให้คณะกรรมการแพทยสภากำาหนดและออกเป็นประกาศแพทยสภา ผลทางกฎหมายในการนำาเกณฑ์เรื่องสมองตายมา ใช้ เดิมทีนั้น อาจมีการเห็นกันว่าการยอมรับให้นำาเรื่องสมองตายมาใช้ เป็นการสื่อโดยนัยถึงการฆ่าผู้อื่นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ข้อสงสัยดัง กล่าวนี้ก็ได้หมดไปเมื่อมีการยอมรับว่า สมองตาย หมายความถึง การตาย ของมนุษย์ (somatic death) ในความหมายที่ยอมรับกันอยู่ทั่วไปเช่นกัน ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่า แม้จะมีการดูแลรักษาคนไข้ดังกล่าวอย่างดีจะมีผลเพียง ชะลอผลลัพท์ที่หนีไม่พ้นของการที่สมองได้รับความกระทบกระเทือน และ
  • 5. จะไม่สามารถหยุดยั้งผลของการที่สมองได้รับบาดเจ็บดังกล่าว แนวความ คิดเรื่องนี้ได้มีการยอมรับเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในคดี People v Lyons ซึ่งเหยื่อที่ถูกยิงในคดีหนึ่งถูกทำาให้ตายอย่างถูกกฎหมายและนำา เอาอวัยวะมาใช้ปลูกถ่ายแก่ผู้อื่น ต่อมา ศาลในสหราชอาณาจักรก็ได้ ดำาเนินตามแนวบรรทัดฐานคดีดังกล่าว โดยเริ่มจากศาลในสกอตแลนด์ใน คดี Finlayson v HM Advocate และศาลอังกฤษใน คดี R v Malcherek, R v Steel ซึ่งพิพากษาว่า “เมื่อแพทย์ได้ใช้วิธีการที่ได้รับ การยอมรับในการสรุปว่าคนไข้นั้นเสียชีวิตแล้ว และสมองส่วนที่เหลือของ คนไข้นั้นอยู่ได้ก็ด้วยเครื่องช่วยชีวิต การหยุดการรักษาคนไข้ดังกล่าวจึง ไม่ใช่การตัดวรจรชีวิตอันเป็นเหตุให้คนไข้นั้นตาย” นอกจากนี้แล้ว ใน คดี Re A ซึ่งผู้ปกครองของเด็กคนหนึ่งได้ยื่นขอให้ศาลนุญาตให้เด็กดัง กล่าวได้รับการรักษาโดยเครื่องช่วยหายใจต่อไป แต่ศาลได้พิพากษาว่า A เป็นบุคลซึ่งมีการรับรองแล้วว่าก้านสมองตาย ถือว่าได้ตายแล้วตาม กฎหมาย แพทย์ซึ่งปิดเครื่องช่วยหายใจไม่ได้กระทำาผิดกฎหมาย ดังนั้นจึง เป็นที่ชัดเจนว่ากฎหมายในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรไม่เอาผิด แก่แพทย์ที่ปิดเครื่องช่วยหายใจคนไข้ที่สมองตาย (ณัฐวสา ฉัตร ไพฑูรย์,2547) กฎหมายนิยามการตาย นานาชาติได้สนับสนุนให้บัญญัติกฎหมายเรื่องการนิยามการตายให้ ชัดเจน แต่มีข้อน่าสังเกตว่ากฎหมายเหล่านี้จะยอมรับเอาการตายทั้งสอง แบบ โดยรวมการตายแบบเดิมซึ่งต้องวินิจฉัยจากลมหายใจ และสมองตาย ดังตัวอย่างที่ปรากฏใน United State Uniform Determination of Death Act 1980 อันถือเป็นแบบฉบับของพระราชบัญญัติหรือรัฐบัญญัติ ประเภทนี้ ได้บัญญัติไว้ว่า ‘An individual who has sustained either (1) irreversible cessation of circulatory and respiratory functions, or (2) irreversible cessation of all functions of the entire brain, including the brain stem, is death. A determination of death
  • 6. must be made in accordance with accepted medical standards.’ นอกจากนี้แล้วพระราชบัญญัติของประเทศในกลุ่ม Commonwealth เช่น มาตรา 41 ของ Human Tissue Act 1982 (Victoria) ได้บัญญัติว่า ‘A person has died when there has occurred: (a) Irreversible cesssation of the circulation of the blood in the body of the person, or (b) Irreversible cessation of all functions of the brain death of the person.’ ข้อดีของพระราชบัญญัติหรือรัฐบัญญัติเหล่านี้ก็คือ การมีกรอบของ กฎหมายที่ชัดเจนให้แพทย์ปฏิบัติ แต่นักกฎหมายบางส่วนในประเทศที่ใช้ common law ก็เห็นว่าการออกพระราชบัญญัติเป็นเรื่องที่ไม่จำาเป็นนัก เพราะพระราชบัญญัติดังกล่าวคงไม่สามารถกำาหนดวิธีการเฉพาะใดๆ แต่ ยังคงอิงอยู่กับระเบียบการปฏิบัติงาน (code of practice) ที่มีอยู่ และเห็น ว่าพระราชบัญญัติที่นิยามความตายจะต้องอยู่ในกรอบของสิ่งที่กระทำาได้ เพราะโดยปกติแล้วการพัฒนาในเรื่องเทคโนโลยีทางการแพทย์และผู้ เชี่ยวชาญจะก้าวรุดหน้ากฎหมายที่ใช้กันอยู่ แพทย์จึงเป็นบุคคลสำาคัญที่ จะเป็นผู้ประเมินผลการวินิจฉัยคนไข้ นอกจากนี้แล้วข้อเท็จจริงทาง จริยธรรม ปรัชญาและสังคมจะมีผลสำาคัญต่อการให้ความหมายของคำาว่า ตายมาช้านานแล้ว พระราชบัญญัติที่นิยามการตายจึงทำาได้แต่เพียงกล่าว ยำ้าข้อเท็จเหล่านี้ การจะให้มีพระราชบัญญัติเพื่อนิยามการตายจึงเป็นไป ดังอุปมาที่ว่า เครื่องมือที่ใช้ฟังเสียงปอดและหัวใจของแพทย์ (stethoscope) และเครื่องวัดคลื่นหัวใจ (CT scanner) ต่างเหมือนกัน ตรงที่อุปกรณ์ทั้งสองอย่างนั้นต้องอิงอยู่กับความเชี่ยวชาญของผู้ใช้ จึง ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาใดๆ จะมาทดแทนความจริง เรื่องนี้ (ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์,2547)
  • 7. หลักเกณฑ์การวินิจฉัยการตายในประเทศไทย เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายในเรื่องสมองตาย ทั้ง ประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้นิยามว่าอย่างไรถือว่าเป็นการตายตาม กฎหมาย เดิมทีการวินิจฉัยการตายจึงขึ้นอยู่กับแพทย์ ซึ่งโดยปกติแล้วจะ อาศัยเกณฑ์ในการวินิจฉัยโดยอิงอยู่กับปัจจัยพื้นฐานในการดำารงชีวิตของ มนุษย์สามประการคือ 1) ระบบประสาทส่วนกลาง (สมอง) 2) ระบบหายใจ (ปอด) และ 3) ระบบไหลเวียนโลหิต (หัวใจ) แต่ต่อมาก็ได้มีการยอมรับ เกณฑ์การวินิจฉัยการตายจากก้านสมอง โดยถือว่าการตายหมายความ รวมถึงการที่ก้านสมองไม่สามารถทำางานได้อย่างสิ้นเชิง และแพทยสภา ก็ได้ออกหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยเรื่องสมองตายเอาไว้ (ณัฐวสา ฉัตร ไพฑูรย์,2547) ผลทางกฎหมายของการวินิจฉัยเรื่องสมองตาย เนื่องจากการตายของมนุษย์จะทำาให้เกิดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิด แก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง ในส่วนนี้จึงจะพิจารณาถึง ผลทางกฎหมายของการ วินิจฉัยเรื่องสมองตาย และการจัดการกับศพผู้ตาย เช่น การนำาเอาอวัยวะ ของผู้ตายไปใช้ในการปลูกถ่ายเพื่อช่วยชีวิตผู้อื่น และความรับผิดทาง อาญาที่เกี่ยวข้อง (ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์,2547) ผลการวินิจฉัยว่าสมองตายของแพทย์ เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้นิยามว่า อย่างไรถือว่าตาย การวินิจฉัยการตายจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งจะต้องให้แพทย์เป็นผู้ วินิจฉัย ทั้งตามพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร์ก็ได้กำาหนดให้แพทย์เป็นผู้ ออกหนังสือรับรองการตาย แต่เดิมนั้นแพทย์ได้วินิจฉัยการตายโดยถือเอา เกณฑ์การหยุดทำางานของสมอง ปอด และหัวใจ แต่ในขณะนี้แพทยสภา ได้ยอมรับเอาเกณฑ์สมองตาย และได้ออกประกาศเกณฑ์การวินิจฉัยเรื่อง สมองตายไว้ชัดเจน การฟังข้อเท็จจริงในเรื่องการตาย จึงต้องถือเอาตาม ประกาศของแพทยสภาเป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัยการ (ณัฐวสา ฉัตร ไพฑูรย์,2547)
  • 8. การบัญญัติกฎหมายเพื่อให้แสดงความประสงค์ใน การบริจาคอวัยวะ ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้มีการบัญญัติกฎหมายคือ Organ Donation (wet op de Orgaandonatie) Act 1998 ซึ่งกำาหนดให้มี การแจ้งให้บุคคลที่มีอายุเกินกว่า 18 ปี ลงทะเบียนเพื่อแสดงความประสงค์ ในการบริจาคอวัยวะภายหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้วที่ Centre Register ซึ่งการลงทะเบียนดังกล่าวจะต้องแสดงถึง ความยินยอมในการบริจาค อวัยวะทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการปฏิเสธที่จะบริจาคอวัยวะ และชื่อญาติ หรือบุคคลผู้มีสิทธิให้ความยินยอม ในการตัดสินใจตามที่ลงทะเบียนไว้นี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อโดย Centre Register จะเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังครอบคลุมถึงการบริจาคอวัยวะและ ไขกระดูก (bone marrow) ในขณะที่ยังมีชีวิต Mason, Smith, and Laurie ได้บันทึกว่าพระราชบัญญัตินี้ได้รับการยอมรับว่ามีเหตุผลทาง จริยธรรมและมีมาตรการเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับโดยการให้โอกาสในการ ให้ความยินยอมในการบริจาคอวัยวะและปฏิเสธเท่าๆกัน การมีกฎหมายเรื่องการปลูกถ่ายอวัยวะ มาตรการทางกฎหมายที่จำาเป็นที่ควรนำามาใช้เพื่อสร้างความมั่นใจ ต่อระบบปลูกถ่ายอวัยวะอีกประการหนึ่งก็คือการบัญญัติกฎหมายเพื่อการ คุ้มครองผู้บริจาคอวัยวะ ไม่ว่าจะเป็นการห้ามไม่ให้พาณิชย์อวัยวะหรือ การวางหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการห้ามรับบริจาคอวัยวะจากผู้ที่ไร้ความ สามารถ กฎหมายเหล่านี้แม้จะมีลักษณะของการจำากัดอิสรภาพในการ ตัดสินใจหรือ autonomy ของบุคคล แต่เพื่อการคุ้มครองบุคคลดังกล่าว นานาประเทศจึงยอมรับการใช้ paternalism ในลักษณะนี้ พินัยกรรม
  • 9. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพที่ 6 ได้กำาหนดไว้ว่า เมื่อการตายให้มรดกตกแก่ทายาท ซึ่งสิ่งที่กฎหมายมรดกกำาหนดให้ ตกทอดแก่กันนั้นจะจำากัดเฉพาะทรัพย์หรือทรัพย์สิน ในทำานองเดียวกัน บุคคลอาจทำาพินัยกรรมกำาหนดการเผื่อตายเรื่องทรัพย์สินหรือการต่างๆไว้ เช่น การจัดการศพ ประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่า 1) ศพหรือส่วนของศพ (อวัยวะ) ของคนที่ตายแล้วถือเป็นทรัพย์หรือไม่ และ 2) บุคคลสามารถทำา พินัยกรรมยกศพหรือส่วนของศพตนเองให้แก่ผู้อื่นได้หรือไม่ และ 3) หาก ถือเอาเกณฑ์สมองตายแล้ว จะถือว่าเวลาใดเป็นเวลาตาย (ณัฐวสา ฉัตร ไพฑูรย์,2547) 1) ในประเด็นว่าศพหรือชิ้นส่วนของศพเป็นทรัพย์หรือไม่นั้น โดย ส่วนใหญ่แล้วในต่างประเทศจะมีความเห็นกันว่าชิ้นส่วนของร่างกาย มนุษย์ หรือ ศพไม่ใช่ทรัพย์ เว้นแต่ลักษณะของศพจะมีคุณค่าเป็นการ เฉพาะ โดยศาลสกอตแลนด์เคยพิพากษาว่า “ผู้ที่ลักชิ้นส่วนของศพที่เก็บ ไว้ในพิพิธภัณฑ์ทางการแพทย์มีความผิดฐานลักทรัพย์” แต่ในทางตรงกัน ข้าม ในสหรัฐอเมริกา ศาลในคดี Moore v Regents of the University of California ที่แพทย์ได้นำาชิ้นเนื้อจากม้ามของคนไข้ไป ศึกษา จนค้นพบการรักษาโรคมะเร็ง จึงนำาไปจดสิทธิบัตร ศาลในคดีนี้กลับ ไม่ยอมรับว่าชิ้นเนื้อดังกล่าวเป็นทรัพย์ อันจะทำาให้เจ้าของชิ้นเนื้อสามารถ มีสิทธิในการเรียกเงินจากการนำาชิ้นเนื้อนั้นไปศึกษาวิจัย ซึ่งในกรณีนี้ ศพ หรือส่วนของศพที่จะใช้ในการปลูกถ่ายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ มีคุณค่าอย่าง สูง และอาจจะต้องจ่ายเงินจ่ายทองเพื่อให้ได้มา ทั้งคำาว่า ทรัพย์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หมายถึง สิ่งที่มีราคาและถือเอาได้ โดย สภาพแล้วคงไม่มีใครปฏิเสธว่าศพหรือชิ้นส่วนของศพเป็นสิ่งที่ถือเอาได้ แต่ในการให้ความหมายของคำาว่า “ราคา”นั้น แม้โดยทั่วไปแล้วคงไม่มี ใครคิดจะซื้อขายศพ แต่ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้ามากๆอย่างในปัจจุบัน อันทำาให้สามารถใช้เครื่องมือในการถนอมร่างของผู้ตายไว้เพื่อการปลูก ถ่าย ก็อาจมีความเห็นกันว่าศพหรือส่วนของศพที่มีลักษณะพิเศษนั้นมี คุณค่า อันจะทำาให้บุคคลที่กระทำาโดยไม่ชอบแก่ศพหรือชิ้นส่วนของศพดัง กล่าวต้องรับผิด (ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์,2547)
  • 10. 2) บุคคลสามารถทำาพินัยกรรมยกศพหรือส่วนของศพ (อวัยวะ) ของตนเองให้แก่ผู้อื่นได้หรือไม่ ในเรื่องนี้เคยมีคำาพิพากษาศาลฎีกาตัดสิน ว่า “การแสดงเจตนาบริจาคศพของผู้ตายมีผลบังคับตามกฎหมาย ทำาให้ ทายาทไม่อาจขอศพดังกล่าวคืนจากคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล” ในทำานองเดียวกันหากเป็นส่วนของศพที่ผู้ตายได้แสดงเจตนาบริจาค อวัยวะไว้ เมื่อเทียบเคียงกับแนวคำาพิพากษาดังกล่าวแล้วก็น่าจะถือว่าต้อง บังคับตามที่ผู้ตายแสดงความประสงค์ไว้ เพราะโดยสภาพแล้วส่วนของศพ ก็ไม่ได้ต่างจากศพทั้งร่าง อย่างไรก็ตามในเรื่องการบริจาคอวัยวะยังมี ประเด็นที่น่าสนใจเรื่องความยินยอมของญาติผู้ตาย ทั้งนี้ในทางปฏิบัติแล้ว การตัดเอาอวัยวะจากศพจะต้องขอความยินยอมจากญาติผู้ตาย ซึ่งปกติ แล้วจะเป็นทายาทลำาดับต้น ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องมาจากเหตุผลด้าน มนุษยธรรมที่ต้องคำานึงถึงสภาพจิตใจของญาติผู้ตายที่ต้องสูญเสียบุคคล อันเป็นที่คนรัก ในกรณีนี้ทำาให้มีประเด็นน่าคิดว่าการที่ให้ญาติลงชื่อใน พินัยกรรมจะถือเป็นการยินยอมในการบริจาคอวัยวะอันทำาให้ไม่ต้องมาขอ ความยินยอมของญาติในภายหลังได้หรือไม่ ซึ่งในที่นี้เห็นว่าในส่วนของ พินัยกรรมนั้น เมื่อแนวคำาพิพากษาของศาลได้ยอมรับการแสดงเจตนา บริจาคศพไว้ และให้มีผลบังคับตามกฎหมายเรื่องพินัยกรรม การทำา พินัยกรรมดังกล่าวจึงควรอยู่ในขอบเขตที่กฎหมายกำาหนดไว้เป็นการ ทั่วไป โดยอาจไม่จำาต้องให้ญาติเข้ามาร่วมเป็นพยาน แต่อย่างไรก็ดีเพื่อ ประโยชน์ด้านความสะดวกและจิตวิทยา การให้ญาติๆได้มีโอกาสรับรู้การ แสดงเจตนาของผู้ตายแต่เนิ่นๆ ก็คงไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ในเรื่องความ ยินยอมของญาติในขณะที่จะมีการตัดอวัยวะของผู้ตายนั้น เห็นว่าแม้ผู้ตาย จะได้แสดงเจตนาบริจาคอวัยวะเอาไว้ และตามกฎหมายแล้วความรู้สึกสูญ เสียของญาติคงไม่อาจนำามาตัดการแสดงเจตนาของผู้ตายได้ แต่อาจจะ ด้วยเหตุผลทางขนบธรรมเนียมประเพณีที่จะต้องมีการนำาร่างของผู้ตายไป บำาเพ็ญกุศล และเหตุผลทางจิตวิทยากรณีผู้ที่เพิ่งสูญเสียคนอันเป็นที่รัก จึง มีการออกกฎเกณฑ์ในนานาชาติให้ต้องขออนุญาตจากญาติในการตัดเอา อวัยวะของผู้ตายไป ดังนั้นจึงคงยังควรคงขั้นตอนการขออนุญาตจากญาติ ส่วนจะเป็นญาติคนใดคงจะต้องดูตามลำาดับชั้นของทายาทเป็นสำาคัญ (ณัฐ วสา ฉัตรไพฑูรย์,2547)
  • 11. 3) สำาหรับประเด็นเรื่องเวลาที่ถือว่าตายนั้นจะทำาให้เกิดปัญหาเรื่อง ทรัพย์มรดกพอสมควร เช่น กรณีที่สามีภรรยาประสบอุบัติเหตุสมองตายทั้ง คู่จะถือว่าผู้ใดเป็นทายาท ในกรณีนี้ยังไม่มีตัวอย่างเกิดขึ้นให้เห็น แต่ เนื่องจากแพทย์เป็นผู้ที่ออกหนังสือรับรองการตาย เวลาที่ถือว่าตายคงน่า จะต้องขึ้นอยู่กับแพทย์ที่จะวินิจฉัย (ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์,2547) การจัดการกับศพผู้ตาย : การนำาเอาอวัยวะไปใช้ ในการปลูกถ่าย เป็นที่ยอมรับกันตามประเพณีว่าเมื่อมีการตายเกิดขึ้นก็จะต้องมี การจัดการกับศพนั้นไม่ว่าจะเป็นการนำาไปเผาหรือฝังดิน อย่างไรก็ตามใน กรณีของผู้ที่แสดงเจตนาบริจาคอวัยวะไว้นั้น การตายย่อมก่อให้เกิดสิทธิ แก่เจ้าหน้าที่ที่ได้รับบริจาคที่จะนำาศพผู้ตายไปตัดเอาอวัยวะ อย่างไรก็ดีมี ปัญหาที่น่าคิดว่าหากเป็นกรณีของศพคดี เช่น หากความตายของผู้บริจาค ดังกล่าวทำาให้จะต้องมีการดำาเนินคดีอาญากับผู้หนึ่งผู้ใดแล้ว แพทย์จะตัด เอาอวัยวะของผู้ตายไปได้หรือไม่ และต้องทำาอย่างไร ในเรื่องนี้หากเกิด ขึ้นในสกอตแลนด์แพทย์จะต้องปรึกษากับพนักงานอัยการ หรือที่เรียกว่า Procurator Fiscal ซึ่งหากการตัดเอาอวัยวะออกไปจะทำาลายหลักฐาน และทำาให้คดีของพนักงานอัยการเสียหาย Procurator Fiscal จะไม่ อนุญาตตัดอวัยวะ อย่างไรก็ตาม Procurator Fiscal ก็อาจขอให้พยาธิ แพทย์ของ Procurator Fiscal เข้าร่วมในการผ่าตัดเอาอวัยวะที่บริจาค ออก และถือว่าการผ่าตัดดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการชันสูตรพลิกศพ ซึ่งในประเด็นยังเป็นเรื่องที่ต้องร่วมกันพิจารณาเพื่อวางแนวทางในการ สอบสวนและเก็บรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อการพิสูจน์ความจริงเรื่องการ ตาย ว่าในขณะนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การตรวจสอบการตาย แล้วหรือยัง และรูปแบบควรจะเป็นอย่างไร นอกจากนี้แล้วในการตัดเอา อวัยวะไปใช้ในการปลูกถ่ายควรมีหลักเกณฑ์เฉพาะอย่างไร ในบาง ประเทศ เช่นในสหรัฐอเมริกาได้นำาหลักเกณฑ์เรื่อง required request มาใช้ หลักการนี้กำาหนดให้เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล ที่รักษาผู้ป่วยที่ ใกล้จะสมองตาย หรือสมองตายแล้ว ต้องขอรับบริจาคอวัยวะของผู้ป่วย
  • 12. จากญาติทุกราย มิเช่นนั้นจะต้องรับโทษทางอาญา แต่ในบางประเทศ เช่น ในเสปน ได้นำาหลัก presumed consent มาใช้ หลักการดังกล่าวจะ กำาหนดข้อสันนิษฐานให้คนทุกคนที่ตายเป็นผู้บริจาคอวัยวะ เว้นแต่จะมี การแสดงความจำานงไว้ล่วงหน้าโดยขึ้นทะเบียนชื่อผู้ไม่ยินยอมบริจาคเอา ไว้ เมื่อมีการตายเกิดขึ้นก็จะมีการตรวจสอบรายชื่อจากคอมพิวเตอร์ และ หากไม่มีรายการแสดงเจตนาไม่บริจาคเอาไว้ แพทย์ก็จะสามารถนำาเอา อวัยวะของผู้นั้นไปปลูกถ่ายได้ทันที (ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์,2547) ความรับผิดทางอาญา มีการยกประเด็นเรื่องสมองตายและการดำาเนินคดีอาญาขึ้นมาก ล่าวกันนานมาแล้ว โดยมีการตั้งประเด็นว่าการกระทำาการใดๆ เช่น ถอด เครื่องช่วยหายใจของคนไข้ที่สมองตายจะถือเป็นการเร่งการตายอันทำาให้ แพทย์ต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ ซึ่งในกรณีนี้ต้องพิจารณาว่า 1) ประกาศแพทยสภาเรื่องสมองตายมีผลทางกฎหมายอย่างไร และ 2) คำาว่า สมองตาย หมายถึงอะไร ซึ่งอาจพิจารณาได้ดังนี้ 1) เมื่อยอมรับกันว่าการ ตายเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งแพทย์จะต้องวินิจฉัยและแพทยสภาได้ถือว่า การที่ก้านสมองไม่สามารถทำางานอย่างถาวรเป็นการตาย ทั้งมีเกณฑ์ใน การวินิจฉัยออกมาเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติแก่แพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ การตายนั้น ก็จะคงจะต้องยอมรับว่าการที่ก้านสมองตายเป็นการตาย 2) อย่างไรก็ตามการที่สมองแบ่งออกเป็นหลายส่วนและทำาหน้าที่ต่างๆกัน เมื่อ ไม่ได้กำาหนดแน่ชัดว่าที่ว่าสมองตายนั้นหมายถึงส่วนใด คงต้องแยก พิจารณาออกเป็น 2 ประการคือ ก) ก้านสมองตาย และ ข) สมองส่วน cortex ตาย ก) ในกรณีที่ก้านสมองตายคงมีความชัดเจนในตัวเองแล้ว เพราะเมื่อมีการยอมรับว่าบุคคลที่ก้านสมองตาย แม้ว่าหัวใจยังเต้นอยู่ ว่า เป็นผู้ที่เสียชีวิตแล้ว การกระทำาการใดๆ เช่น การถอดเครื่องช่วยหายใจ บุคคลดังกล่าว ก็คงไม่อาจทำาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการถอดเครื่องช่วยหายใจ ออกต้องรับผิด ฐานฆ่าผู้อื่น เพราะผู้อื่นที่เป็นองค์ประกอบความผิดฐานฆ่า นั้นจะต้องมีสภาพเป็นบุคคลไม่ใช่ผู้ที่ในทางการแพทย์ยอมรับกันว่าเสีย
  • 13. ชีวิตแล้ว ข) อย่างไรก็ตามยังมีคนไข้ที่สมองส่วนอื่นไม่สามารถทำางานได้ ที่เป็นปัญหามากก็คือคนไข้ที่สมองส่วน cortex เสียไปซึ่งทำาให้คนไข้นั้น แม้สามารถลืมตาได้แต่ไม่มีสติ ต้องนอนอยู่กับเตียงที่เรียกกันว่าผักมนุษย์ (PVS) โดยสภาพแล้วคนไข้นี้จะยังสามารถหายใจได้เอง และยังไม่ถือว่า เป็นผู้ที่ตายแล้วในทางการแพทย์ การกระทำาการใดๆแก่บุคคลดังกล่าว เช่น การหยุดรักษาคนไข้เหล่านี้ ในต่างประเทศจะเรียกกันว่า euthanasia ซึ่งหากจะเกิดขึ้นในสหราชอาณาจักรจะต้องไปขออำานาจ ศาลเพื่อพิจารณาอนุญาตให้หยุดการรักษาคนไข้เหล่านี้ เมื่อนำามาเทียบ เคียงกับกฎหมายไทยแล้วจะเห็นว่า ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเรื่อง euthanasia ทั้งการหยุดการรักษาก็ไม่มีเหตุยกเว้นโทษหรือยกเว้นความ รับผิดฐานฆ่าผู้อื่น หากเห็นว่าเรื่อง euthanasia เป็นเรื่องจำาเป็นก็สมควร ผลักดันเพื่อให้มีกฎหมายในเรื่องนี้ให้ชัดเจน โดยควรคำานึงถึงการวาง หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบถ่วงดุลเพื่อคุ้มครองชีวิต และความปลอดภัย ของบุคคลไปพร้อมกัน(ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์,2547) นอกจากนี้ในการตัดอวัยวะของผู้ที่สมองตายได้เคยมีคำา พิพากษาศาลฎีกาตัดสินว่า เมื่อถือว่าผู้ที่สมองตายคือผู้ที่ตายไปแล้ว การ ตัดเอาอวัยวะที่ผู้ตายแสดงความจำานงบริจาคไว้ก็ไม่ทำาให้แพทย์ผู้ทำาการ ผ่าตัดต้องรับผิดทางอาญา อย่างไรก็ตามหากการตัดอวัยวะกระทำาโดยไม่ ได้รับอนุญาต จะทำาให้เกิดความรับผิดอย่างใดหรือไม่ ซึ่งทำาให้ต้องกลับ มาพิจารณาประเด็นที่ว่าศพหรือส่วนของศพเป็นทรัพย์หรือไม่ ซึ่งในกรณี นี้ ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ เคยให้ความเห็นไว้ว่า หากถือว่าศพหรือส่วนของศพไม่ใช่ทรัพย์ ก็คงไม่สามารถดำาเนินคดีใน ข้อหาลักทรัพย์หรือทำาให้เสียทรัพย์แก่ผู้ที่ตัดเอาชิ้นส่วนของศพไป (ณัฐ วสา ฉัตรไพฑูรย์,2547) อนึ่ง ยังมีประเด็นเกี่ยวข้องที่น่าสนใจที่ว่าทารกพิการที่ไม่มี cortex แต่ยังมีก้านสมอง ทำาให้เด็กนี้หายใจได้ และหัวใจเต้นได้ ซึ่งเด็ก คนนี้องค์การอนามัยโลกยังถือว่าเป็นเด็กที่คลอดมามีชีวิต (livebirth) ทำาให้การตัดอวัยวะของเด็กไปใช้เพื่อการปลูกถ่ายจะต้องรอจนกว่าเด็กนั้น จะเสียชีวิตก่อน มิเช่นนั้นแพทย์จะต้องมีความรับผิดทางอาญาฐานฆ่าผู้อื่น
  • 14. อย่างไรก็ตามในกรณีนี้หากเกิดขึ้นในเยอรมัน ศาลเยอรมันจะถือว่าเด็ก ดังกล่าวมิใช่เด็กที่คลอดมีชีวิต ซึ่งจะทำาให้ความรับผิดของแพทย์ที่ตัดเอา อวัยวะของเด็กไปใช้ในการปลูกถ่ายเปลี่ยนแปลงไป ในเรื่องนี้จึงเป็น ประเด็นที่น่าจะหยิบยกมาทบทวนหากมีจะมีการบัญญัติกฎหมายนิยามการ ตาย (ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์,2547) ข้อดีของการบัญญัติกฎหมายนิยามการตายให้ ชัดเจน การออกกฎหมายเรื่องนิยามการตายนี้มีข้อดีซึ่งควรคำานึงถึง ดังนี้ 1 เนื่องจากมีบุคคลที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการตายไม่ว่าจะเป็น แพทย์ นักกฎหมาย และประชาชนทั่วๆไป การนิยามการตายให้ชัดเจนจะ ทำาให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทราบและเข้าเรื่องสมองตายดีขึ้น โดยเฉพาะในยุค ปัจจุบันที่ศพผู้ตายมีประโยชน์สามารถนำาเอาอวัยวะมาปลูกถ่าย การไม่มี กรอบของกฎหมายที่ชัดเจนจะทำาให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะญาติของ ผู้ที่แพทย์ถือว่าเสียชีวิตแล้วเกิดความระแวงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีการ ร้องเรียนและฟ้องร้องอันนำามาซึ่งความเดือดร้อน และยุ่งยากแก่บุคลากร สาธารณสุข 2 การมีกฎหมายที่ชัดเจนจะทำาให้สามารถวางระบบการจัดการเกี่ยว กับศพของผู้ตาย เช่นในการกำาหนดให้มีการแจ้งเรื่องคนไข้สมองตายแก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อันจะทำาลดอุปสรรคและเพิ่มความรวดเร็วในการ เข้าไปรับศพคนไข้ที่ตายแล้วไปใช้ในการปลูกถ่ายอวัยวะ 3 ทำาให้มีการทบทวนเรื่องเกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยการตายซึ่งใน ต่างประเทศยังคงมีข้อถกเถียงเรื่องความแม่นยำาและน่าเชื่อถือ อันอาจ ทำาให้มีการนำาเอาเทคโนโลยีใหม่ เช่น มีการนำาเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้า ของสมอง (electroencephalogram, EEG) มาใช้เพิ่มความแม่นยำาใน การวินิจฉัยการตาย เพื่อเพิ่มความมั่นใจแก่ญาติผู้ตายและประชาชนว่า
  • 15. บุคคลที่สมองตายนั้นได้ตายแล้วอย่างไม่มีข้อสงสัย ทั้งจะเป็นการเพิ่ม มาตรฐานการสาธารณสุขของไทย 4 ทำาให้เกิดการทบทวนถึงของเขตของคำาว่า “ตาย” ที่สังคมต้องการ ว่าควรมีความหมายเพียงใด การที่สมองตายจะให้มีความหมายรวมถึง กรณีทารกพิการที่สมองส่วน cortex เสียแต่ก้านสมองยังทำางานได้ หรือ คนไข้ที่เป็นผักมนุษย์ (PVS) หรือไม่ ในการออกกฎหมายนิยามการตายให้ชัดเจนนั้นเห็นว่าควรมีการ ออกกฎหมายนิยามการตายโดยคำานึงถึงการวินิจฉัยการตายทั้งสอง ประเภทตามแบบที่นิยมกันในนานาชาติ เพื่อเปิดโอกาสให้แพทย์ใช้ ดุลยพินิจที่จะวินิจฉัยตามความเหมาะสมแก่กรณี เช่น อาจจะบัญญัติ ว่า”บุคคลถึงแก่ความตาย เมื่อ (ก) มีการหยุดทำางานที่ไม่สามารถแก้ไขได้ของการไหลเวียนของ เลือดในร่างกาย หรือ (ข) มีการหยุดทำางานที่ไม่สามารถแก้ไขได้ของหน้าที่ (function) ทั้งหมดของคนที่สมองตาย” บทสรุป เนื่องจากการตายเป็นเรื่องสำาคัญที่บุคคลคนหนึ่งจะหมดสภาพ ความเป็นมนุษย์ ทั้งก่อสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง การที่จะถือว่าบุคคลหนึ่งบุคคลใดตายแล้วจึงเป็นเรื่องสำาคัญและควรมี ความชัดเจน แม้ประเทศไทยจะยอมรับในเรื่องสมองตายมานานแล้ว แต่ใน ความเป็นจริงแล้วประชาชนหรือแม้กระทั่งนักกฎหมายบางส่วนก็ยังไม่ เข้าใจในเรื่องดังกล่าวนัก อันทำาให้เกิดการไม่ยอมรับการปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีการร้องเรียน และร้องทุกข์ดำาเนินคดี สร้างความ เดือดร้อนกังวลใจแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อความชัดเจนแล้วจึงควร มีการออกกฎหมายนิยามการตายให้ชัดเจน โดยอาจจะถือตามเกณฑ์การ วินิจฉัยการตายทั้งสองแบบตามที่นิยมทำากันในนานาชาติ และควรมีการ ทบทวนหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มมาตรฐานของการสาธารณสุขและ
  • 16. การปฏิบัติงานด้านการนำาเอาอวัยวะไปใช้ในการปลูกถ่ายพร้อมๆกัน การ ที่มีกฎหมายนิยามการตายที่ชัดเจนนั้นจะทำาให้ความสงสัยของญาติของผู้ ตายตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเรื่องการจัดการเกี่ยวกับศพของผู้ ตายหมดไป อันทำาให้สามารถวางแผนในการจัดการเพื่อเพิ่มจำานวนผู้ บริจาคอวัยวะได้ดียิ่งขึ้น สามารถวางกรอบในการปฏิบัติงานให้บุคคลากร ทางสาธารณสุขเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ของตนเอง เพื่อเพิ่มพูนความผาสุกและความปลอดภัยแก่คนทุกๆคนใน สังคม ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการค้าขายอวัยวะมนุษย์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าอวัยวะมนุษย์เพื่อการ ปลูกถ่ายในประเทศไทย สำาหรับประเทศไทยนั้นในตอนนี้ยังไม่มีการบัญญัติกฎหมายในความ ผิดฐานค้าอวัยวะมนุษย์ไว้โดยเฉพาะทั้งนี้เนื่องจากว่าในประเทศไทยนั้น ยังไม่มีกรณีการเกิดการค้าอวัยวะมนุษย์ให้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ อย่างไรก็ตามเราก็ไม่ควรที่จะละเลยต่อประเด็นปัญหานี้ เพราะการที่ไม่มี กรณีปรากฏเห็นเด่นชัด ก็ไม่ได้หมายความว่าการกระทำาความผิดในฐาน ความผิดดังกล่าวจะมิได้เกิดขึ้นในสังคมไทย แต่อาจจะเป็นด้วยเหตุเพราะ การขาดข้อมูลที่เกี่ยวกับความผิดดังกล่าว เพราะผู้ขายกับผู้ซื้ออาจตกลง ซื้อขายกันเงียบๆ และการตกลงซื้อขายนั้นก็เป็นไปด้วยดี คือการเกิดจาก ความยินยอมของผู้ขายเอง ดังนั้น เมื่อข้อมูลไม่ถูกเปิดเผย จึงทำาให้การก ระทำาความผิดดังกล่าวถูกลดความสำาคัญลง ดังนั้นประเทศไทยจึงมิได้มี การกำาหนดถึงความผิดในฐานค้าอวัยวะขึ้น (พรรณราย ธรรมวิทยา ภูมิ,2552) สถานภาพทางกฎหมายของอวัยวะ
  • 17. อวัยวะมนุษย์สามารถเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามหลักนิติกรรมสัญญาได้ หรือไม่นั้น จะต้องทราบว่า อวัยวะของมนุษย์มีสถานะเป็นทรัพย์หรือ ทรัพย์สินตามกฎหมายหรือไม่ โดยพิจารณาความหมายของคำาว่าทรัพย์ หรือทรัพย์สินความหมายของคำาว่าทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 137 บัญญัติว่า “ทรัพย์หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง” ความหมายของคำาว่าทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 138 บัญญัติว่า “ทรัพย์สินหมายความรวมทั้งทรัพย์และ วัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้” ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้จึงต้องหมายความทั้งทรัพย์และทรัพย์สิน ฉะนั้นจึงหมายความรวมถึงวัตถุที่มีรูปร่างและวัตถุที่ไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมี ราคาและอาจถือเอาได้ จึงเป็นประเด็นคำาถามที่ต้องวิเคราะห์ต่อไปว่า อวัยวะที่นำามาปลูกถ่ายจะมีสถานะเป็นทรัพย์ตามกฎหมายหรือไม่ สถานะทางกฎหมายของอวัยวะมนุษย์มีสถานะเป็นทรัพย์หรือ ทรัพย์สินตามกฎหมายหรือไม่นั้น สามารถพิจารณาได้ดังต่อไปนี้ 1. คำาว่าทรัพย์ คือ วัตถุที่มีรูปร่าง 2. คำาว่าทรัพย์สิน คือ วัตถุที่มีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่าง ซึ่งลักษณะสำาคัญของคำาว่าทรัพย์และทรัพย์สินนั้นต้องมีลักษณะที่ อาจมีราคาและอาจถือเอาได้ การพิจารณาความหมายอันแท้จริงของคำาทั้ง สองคำานี้จำาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอ่านมาตรา 137 และมาตรา 138 ประกอบกันไป องค์ประกอบดังกล่าวเป็นองค์ประกอบสำาคัญในการพิจารณาถึงความ เป็นทรัพย์หรือทรัพย์สิน เช่น มนุษย์เราแม้จะมีรูปร่าง แต่คนก็ไม่ใช่วัตถุ และไม่อาจมีราคาซื้อขายกันได้ เพราะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 312 บัญญัติห้ามเอาคนลงเป็นทาส ห้ามพา ซื้อขาย จำาหน่าย รับ หรือ หน่วงเหนี่ยวบุคคลไว้ เมื่อขาดองค์ประกอบของทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ว่า
  • 18. อาจมีราคาแล้ว จึงถือกันว่ามนุษย์ไม่ใช่ทรัพย์ ดังนั้นอวัยวะของมนุษย์จึง ไม่ใช่ทรัพย์เช่นกัน แต่สำาหรับอวัยวะของมนุษย์ที่แยกออกมาจากตัวมนุษย์แล้ว ย่อม ไม่ใช่ร่างกายของมนุษย์อีกต่อไป เช่น ผมสตรีที่ตัดเอาไปขาย ย่อมมีราคา และถือเอาได้ จึงเป็นทรัพย์ ดวงตาที่บุคคลขายหรืออุทิศให้แก่โรงพยาบาล เพื่อนำาไปเปลี่ยนกับตาของคนไข้ก็ถือว่ามีราคาและถือเอาได้จึงมีสภาพเป็น ทรัพย์ตามกฎหมาย เมื่อพิจารณาความหมายของคำาว่า “ทรัพย์” ตามกฎหมาย จะพบว่า ศพเป็นวัตถุที่มีรูปร่างแน่นอน แม้โดยจารีตประเพณีและความรู้สึกในทาง ศีลธรรมอันดีของบุคคลทั่วๆไป ไม่ประสงค์จะมองศพว่าเป็นวัตถุอย่างหนึ่ง แต่คิดว่าเป็นสิ่งพิเศษของมนุษย์ที่ดองเอาไว้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ของแพทย์ ย่อมมีราคาและอาจถือเอาได้ จึงถือเป็นทรัพย์อย่างหนึ่ง ส่วน ศพของมนุษย์ทั่วๆไปนั้นถ้าญาติพี่น้องยังหวงแหนกราบไหว้บูชาก็อาจ ถือว่ามีราคาได้เพราะคำาว่าอาจมีราคาหมายถึง คุณค่าในตัวสิ่งนั้น แต่หาก เป็นศพไม่มีญาติซึ่งไม่มีผู้ใดหวงแหน เก็บเอาไว้ย่อมไม่มีราคาหรือคุณค่า จึงมิใช่ทรัพย์ หากไม่ถือว่าศพเป็นทรัพย์ อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาทันที เมื่อคนตายใหม่ๆก็จะมีผู้ฉวยโอกาสเอาอวัยวะส่วนต่างๆของศพโดย พลการและไม่มีความผิดใดๆเลย เพราะการกระทำาต่อศพ ถ้ามิใช่การ ยักย้ายทำาลายศพเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 199 ก็จะไม่มีความผิดอาญา ในทางตรงข้าม เมื่อการปลูกถ่าย อวัยวะต้องการอวัยวะที่สดๆด้วยแล้ว อวัยวะของศพจึงมีคุณค่าเป็นที่ หวงแหนของญาติจนกว่าจะมีการเผาเป็นดินหรือตะกอนและไม่มีใครเก็บ เอาไปแล้วดังนั้นอวัยวะที่นำาออกจากร่างกายของมนุษย์ หากแยกจากกัน เด็ดขาดจากร่างกายก็ควรถือว่าเป็นทรัพย์ตามกฎหมาย ส่วนอวัยวะที่แยก จากร่างกายที่ไม่มีชีวิต(ศพ)ก็ควรถือว่าเป็นทรัพย์ด้วย ซึ่งนั่นต้องรวมถึง ร่างกายในทุกส่วนของศพ แม้ว่าจะไม่มีการแบ่งแยกก็ตาม เพราะศพนั้น ถือว่าเป็นทรัพย์ของทายาท (พรรณราย ธรรมวิทยาภูมิ,2552) ประมวลกฎหมายอาญา
  • 19. เนื่องจากว่าการค้าอวัยวะมนุษย์นั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การปลูกถ่าย อวัยวะอันเป็นการล่วงลำ้าต่อชีวิต ร่างกายเสรีภาพ และจิตใจ ดังนั้นใน ความรับผิดทางอาญาดังกล่าวจึงสามารถพิจารณาได้ดังต่อไปนี้ การกระทำาโดยการปลูกถ่ายอวัยวะบุคคลจะมีความรับผิดทางอาญา ได้ หากเข้าองค์ประกอบแห่งความผิดคือ องค์ประกอบภายนอก (บทบัญญัติแห่งกฎหมายอาญา) และ องค์ประกอบภายใน (เจตนา) ใน ความผิดนั้นได้แก่ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, ความผิดที่เกี่ยวกับชีวิต และร่างกาย ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ แต่การกระทำาความผิดนี้บุคคลอาจ อ้างว่าเป็นความยินยอมจากผู้เสียหายได้ แต่ผลจะเป็นประการใดสามารถ พิจารณาได้ดังนี้ ความรับผิดทางอาญาต่อร่างกาย ความผิดฐานทำาร้ายร่างกายเป็นความผิดที่บุคคลได้กระทำาต่อ ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้ดังนี้ มาตรา 295 “ผู้ใดทำาร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำาความผิดฐานทำาร้ายร่างกาย ต้องระวาง โทษจำาคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ” จากบทบัญญัตินี้การทำาร้าย หมายความถึง การกระทำาต่อร่างกาย หรือจิตใจของผู้อื่นในทางให้เจ็บ หรือแตกหัก เสียหาย ทั้งนี้จะมีอาวุธหรือ ไม่ก็ตามและไม่ว่าจะกระทำาโดยมีการสัมผัสเนื้อตัวร่างกายของผู้เสียหาย หรือไม่ก็ตาม การค้าอวัยวะมนุษย์เพื่อการปลูกถ่าย ก็เป็นการกระทำาอันหนึ่งที่นำา เอาอวัยวะออกจากร่างกายโดยเฉพาะนำามาจากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ และผู้นั้น ยังไม่ถึงแก่ความตาย ถือเป็นการทำาร้ายร่างกาย เช่น การที่แพทย์ทำาการ ผ่าตัดเอาอวัยวะจากคนปกตินำาไปปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วยถือเป็นการทำาร้าย ร่างกาย เพราะการผ่าตัดเป็นการกระทำาที่แพทย์ประสงค์ให้เกิดหรืออาจ เล็งเห็นผลได้ว่าจะเกิดอันตรายแก่กายผู้ถูกเอาอวัยวะออกจากร่างกาย จึง
  • 20. ครบองค์ประกอบความผิดฐานทำาร้ายร่างกาย (พรรณราย ธรรมวิทยา ภูมิ,2552) เมื่อถือว่าการนำาเอาอวัยวะออกจากร่างกายเป็นการทำาร้ายแล้ว แต่ การกระทำานั้นเป็นการทำาร้ายร่างกายสาหัสหรือไม่ พิจารณาได้ดังนี้ มาตรา 297 “ผู้ใดกระทำาความผิดฐานทำาร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุ ให้ผู้ถูกกระทำาร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำาคุกตั้งแต่หกเดือนถึง สิบปี อันตรายสาหัสนั้น คือ (3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใดการกระทำาผิดตาม มาตรานี้ แม้ผู้กระทำาจะมีเจตนาหรือไม่มีเจตนากระทำาให้เกิดอันตราย สาหัสขึ้นหรือไม่ไม่ใช่สาระสำาคัญ เพียงแต่ผู้กระทำาผิดมีเจตนาที่จะทำาร้าย และผลของการกระทำาร้ายอันเป็นผลธรรมดาส่งผลให้เกิดอันตรายสาหัส ขึ้น ผู้กระทำาก็มีความผิดตามมาตรานี้แล้ว คำาว่า “อวัยวะอื่นใด” ในความหมายตามอนุมาตรา (3) คือ อวัยวะที่ สำาคัญทุกชนิดรวมทั้งอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต แต่ไม่ได้ หมายถึงส่วนของร่างกายซึ่งแยกออกจากร่างกายได้โดยไม่กระทบ กระเทือนต่อความเป็นอยู่ตามปกติในชีวิตของบุคคลนั้นๆ เช่น ผม ฟัน เล็บ เป็นต้น ความรับผิดทางอาญาต่อชีวิต มาตรา 288 “ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำาคุกตลอด ชีวิต หรือจำาคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี” มาตรา 289 “ผู้ใด (4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ต้องระวาง โทษประหารชีวิต”
  • 21. มาตรา 290 “ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำาร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำาคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใด ดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 289 ผู้กระทำาต้องระวางโทษจำาคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี” มาตรา 291 “ผู้ใดกระทำาโดยประมาท และการกระทำานั้นเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำาคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท” ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นนั้น หากการกระทำาของแพทย์เป็นเหตุให้ผู้ อื่นต้องเสียชีวิตก็ย่อมเป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ซึ่งในความ รับผิดฐานฆ่าผู้อื่นนี้อาจจะร้ายแรงกว่า หากพิสูจน์ได้ว่าแพทย์ได้ไตร่ตรอง ไว้ก่อนแล้ว หรือหากไม่มีเจตนาฆ่า แต่การกระทำาของแพทย์เป็นเหตุให้ผู้ อื่นถึงแก่ความตาย แพทย์ก็มีความเสี่ยงกับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่ เจตนา หรือแม้จะไม่มีเจตนา แต่หากกระทำาด้วยความประมาทและการกระ ทำานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ก็ย่อมมีความผิดด้วย การตายทางการแพทย์ การตายหมายถึง การหยุดทำางานอย่างถาวรของระบบประสาทส่วน กลาง (Central nervous system)ระบบการหายใจ (Respiratory system) และระบบการไหลเวียนของโลหิต (Cardiovascular system) โดยที่อวัยวะทั้งสามทำางานสัมพันธ์กัน เมื่อระบบใดระบบหนึ่งไม่ทำางานจะ ทำาให้อีกสองระบบไม่ทำางานด้วย ผลที่สุดคือ ตายโดยเกณฑ์ที่ใช้ในการ วินิจฉัยคนตายนั้น แพทยสภาได้ยึดหลักเกณฑ์สมองตาย (Brain Death) ซึ่งได้กำาหนดสภาวะและเงื่อนไขสำาหรับการวินิจฉัยไว้ (พรรณราย ธรรม วิทยาภูมิ,2552) ความรับผิดทางอาญาของแพทย์ต่อผู้รับอวัยวะ
  • 22. การกระทำาใดๆของแพทย์ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม เช่น การ ผ่าตัด แพทย์จะต้องได้รับความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าวจากผู้ป่วย และหากแพทย์ได้รับความยินยอมดังกล่าวก็จะมีผลทำาให้การกระทำาของ แพทย์ไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย แต่หากแพทย์ไม่ได้รับความยินยอม จากผู้ป่วย แพทย์ก็อาจรับผิดฐานทำาร้ายร่างกาย และรับผิดในความผิด เกี่ยวกับเสรีภาพ เนื่องจากกระทบต่อเสรีภาพในการตัดสินใจของผู้ป่วยซึ่ง ในทางปฏิบัติแล้ว แพทย์จะขอความยินยอมจากผู้ป่วยเสมอ แต่แม้ว่า แพทย์จะกระทำาการด้วยความยินยอมของผู้ป่วย ก็มิใช่ว่าจะไม่มีปัญหา เกี่ยวกับความรับผิดของแพทย์ในการปลูกถ่ายอวัยวะให้แก่ผู้ป่วยซึ่งเป็น ผู้รับอวัยวะแม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่าการกระทำาของแพทย์ต่อร่างกายของผู้ ป่วย ไม่เป็นการทำาร้ายตามความหมายของกฎหมายเพราะเป็นการบำาบัด โรคให้แก่ผู้ป่วย และเป็นการทำาให้ร่างกายของผู้ป่วยดีขึ้น จึงไม่เป็นความ ผิดฐานทำาร้ายร่างกายก็ตาม แต่บางครั้งแพทย์อาจกระทำาการโดยประมาท เลินเล่อ ปราศจากความระมัดระวัง ตามวิสัยและพฤติการณ์ที่แพทย์ สามารถจะใช้ความระมัดระวังได้ แต่มิได้ใช้ให้เพียงพอ เช่นไม่เย็บต่อ อวัยวะให้ดี, ให้เลือดผิดกลุ่ม เป็นต้นซึ่งเป็นผลทำาให้ผู้รับอวัยวะถึงแก่ ความตาย แพทย์ก็อาจต้องรับผิดฐานทำาให้คนตายโดยประมาท(พรรณ ราย ธรรมวิทยาภูมิ,2552) กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคและปลูกถ่าย อวัยวะในประเทศไทย ประเทศไทยได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรมที่เกี่ยวข้อง กับการปลูกถ่ายอวัยวะมาเรื่อยๆโดยแพทยสภาและนักกฎหมายต่างๆ ซึ่ง ในปัจจุบันมีการปรับปรุงและประกาศใช้ฉบับล่าสุดในปี พ.ศ. 2553 ข้อ บังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. ๒๕๔๙
  • 23. อาศัยอำานาจตามความในมาตรา ๒๑ (๓) (ช) แห่งพระราชบัญญัติ วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๒๕ คณะกรรมการแพทยสภาด้วยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษตาม มาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรมพ.ศ. ๒๕๒๕ อันเป็นพระ ราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการที่เกี่ยวกับการจำากัดสิทธิและเสรีภาพ ของบุคคล ซึ่งมาตรา๒๙ ประกอบกับมาตรา ๕๐ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำาได้โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่ง กฎหมาย คณะกรรมการแพทยสภาออกข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรม แห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549” ข้อ 2 ให้ใช้ข้อบังคับนี้ตั้งแต่สามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจา นุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ 3 ตั้งแต่วันใช้ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่ง วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549 สืบไป ให้ยกเลิกบรรดาข้อบังคับดังต่อไปนี้ (1) ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2533 (2) ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2538 (3) ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 (4) ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2544 (5) ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2545
  • 24. (6) ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2545 หมวด ๑๐ การประกอบวิชาชีพเวชกรรมเกี่ยวกับการปลูกถ่าย อวัยวะ "การปลูกถ่ายอวัยวะ" หมายความว่า การประกอบวิชาชีพ เวชกรรมที่เกี่ยวกับการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือเปลี่ยนอวัยวะ ต่อไปนี้คือ หัวใจ ปอด ตับ ตับอ่อน ไต และอวัยวะอื่น ตามที่แพทยสภาประกาศ กำาหนด "ผู้บริจาค" หมายความว่า บุคคลผู้บริจาคอวัยวะของตน เพื่อการ ปลูกถ่ายอวัยวะ ข้อ ๕๒ การปลูกถ่ายอวัยวะที่ผู้บริจาคประสงค์จะบริจาคอวัยวะขณะที่ยังมี ชีวิต ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ทำาการปลูกถ่ายอวัยวะต้องดำาเนินการตาม เกณฑ์ต่อไปนี้ (1) ผู้บริจาคต้องเป็นญาติโดยสายเลือด หรือคู่สมรสที่จดทะเบียน สมรสกับผู้รับอวัยวะมาแล้วอย่างน้อยสามปีเท่านั้น ยกเว้นกรณี เป็นการปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้บริจาคที่เป็นผู้ได้รับการวินิจฉัยว่าอยู่ ในเกณฑ์สมองตายตามประกาศแพทยสภา (2) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ทำาการปลูกถ่ายอวัยวะต้อง ทำาการตรวจสอบ และรวบรวมหลักฐานที่แสดงว่าผู้บริจาคเป็นญาติ โดยสายเลือด หรือเป็นคู่สมรสกับผู้รับอวัยวะโดยต้องเก็บหลักฐานดัง กล่าวไว้ในรายงานผู้ป่วยของผู้รับอวัยวะ (3) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ทำาการปลูกถ่ายอวัยวะ ต้อง อธิบายให้ผู้บริจาคเข้าใจถึงความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่างๆแก่ผู้ บริจาคทั้งจากการผ่าตัด หรือหลังการผ่าตัดอวัยวะที่บริจาคออกแล้ว เมื่อผู้บริจาคเข้าใจและเต็มใจที่จะบริจาคแล้วจึงลงนามแสดงความ