SlideShare a Scribd company logo
1 of 25
Download to read offline
1
ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535
คู่มือสำ�หรับฝึกอบรม
เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์
เป็นผู้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
ตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535
ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์การดำ�เนินโครงการสัตว์ปลอดโรค
คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า
ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ
กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
2 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า”
ที่ปรึกษา :
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์
นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์
นายสัตวแพทย์ธนวัฒน์ พันธุ์สนิท ผู้อำ�นวยการสำ�นักควบคุม ป้องกันและบำ�บัดโรคสัตว์
สัตวแพทย์หญิงนพวรรณ บัวมีธูป ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสุขภาพสัตว์ และบำ�บัดโรคสัตว์
จัดทำ�โดย : กลุ่มควบคุมป้องกันโรคสัตว์เลี้ยง
สำ�นักควบคุม ป้องกันและบำ�บัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์
โทร. 0 2653 4444 ต่อ 4181-2
จัดพิมพ์โดย : กลุ่มควบคุมป้องกันโรคสัตว์เลี้ยง
สำ�นักควบคุม ป้องกัน และบำ�บัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400
โทรศัพท์ 0-2653-4444 ต่อ 4181-4182
E-mail : dcontrol6@dld.go.th
พิมพ์ที่ : เค.เอ็น อินเตอร์ปริ้นท์
เลขที่ 20 ซอยสามัคคี 49 แยก 2 ถนนสามัคคี
แขวงท่าทราย อำ�เภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
โทร. 02-115-6446 , 061-591-6259
E-mail : puvarin.kn@gmail.com, kninterprint@gmail.com
3
ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535
บทนำ� หน้า 4
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า หน้า 9
บทที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำ�หรับสัตว์ หน้า 13
บทที่ 3 ความรู้เกี่ยวกับการขนส่งและการเก็บรักษาคุณภาพวัคซีน
สำ�หรับสัตว์ (Cold Chain) หน้า 17
บทที่ 4 การจับบังคับสุนัขและแมวเพื่อฉีดวัคซีน หน้า 20
บทที่ 5 การควบคุมโรคพิษสุนัขบ้ากรณีเกิดโรค หน้า 23
สารบัญ
4 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า”
ด้วยศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
ทรงมีพระปณิธานเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในการดูแลทุกข์สุขของพสกนิกรชาวไทย รวมถึงสรรพชีวิตภายใต้ร่ม
พระบารมีให้ได้รับความผาสุกตราบจนทุกวันนี้ และขออัญเชิญพระกระแสรับสั่งเมื่อครั้งเสด็จทอด
พระเนตรการดำ�เนินงานของศูนย์ดูแลสุนัขจรจัดของกองทัพเรือ อำ�เภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2559 ว่า “ทรงห่วงใยปัญหาโรคพิษสุนัขบ้าที่เป็นปัญหาสำ�คัญของชาติ”
และทรงมีพระประสงค์ให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทยรัฐบาลได้น้อมรับใส่เกล้า ฯ สนอง
พระปณิธาน และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้มีคำ�สั่งที่ 214/ 2559 ลงวันที่ 29 กันยายน 2559
แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้าตามพระ
ปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ซึ่งในเวลาต่อมา จึง
ได้จัดทำ�เป็นโครงการยุทธศาสตร์การดำ�เนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า
ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เพื่อ
ให้มีการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม
การกำ�จัดโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ในระดับพื้นที่ จะต้องมีการเฝ้าระวังโรคอย่างมี
ประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เช่น การสังเกตอาการสัตว์ป่วย การแจ้งพบสัตว์สงสัย การเก็บตัวอย่าง
ส่งตรวจ เป็นต้น ส่วนการป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีนก็มีความสำ�คัญอย่างยิ่งเพราะจะต้องทำ�เชิง
คุณภาพเท่านั้นถึงจะทำ�ให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันต่อโรคได้ เป็นต้นว่า การประเมินสุขภาพสัตว์ก่อนฉีด
วัคซีน การควบคุมคุณภาพวัคซีนทั้งการขนส่งและการจัดเก็บ (ระบบห่วงโซ่ความเย็น หรือ Cold
Chain) การฉีดวัคซีน (ชนิดวัคซีน โปรแกรมการฉีดวัคซีน และเทคนิคในการฉีด) นอกจากนี้ ยังรวม
ถึงเทคนิคการจับสัตว์เพื่อนำ�มาฉีดวัคซีนหรือทำ�หมันทั้งการจับโดยใช้อุปกรณ์และใช้เวชภัณฑ์ก็มี
ความสำ�คัญเนื่องจากเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2545 ซึ่งทั้งหมดนี้
ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ มีเทคนิคหรือทักษะในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องถึงจะปฏิบัติ
งานให้ได้ผลออกมาอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลต่อความสำ�เร็จในการกำ�จัดโรค
พิษสุนัขบ้า
บทนำ�
5
ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535
คู่มือฉบับนี้ มีเนื้อหาประกอบด้วยขั้นตอนการพัฒนาอาสาสมัครที่จะปฏิบัติด้านการเฝ้า
ระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลความรู้ต่างๆ ที่ใช้ในการฝึก
อบรม ได้แก่ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
สำ�หรับสัตว์ ความรู้เกี่ยวกับการข่นส่งและการเก็บรักษาคุณภาพวัคซีนสำ�หรับสัตว์ (Cold Chain)
การเตรียมความพร้อมสำ�หรับฉีดวัคซีน ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการฉีดวัคซีน (การเตรียมวัคซีน
และการฉีดวัคซีนเข้าสู่ตัวสัตว์) การจับบังคับสัตว์ การเฝ้าระวังโรค การสังเกตอาการสัตว์ป่วย
การแจ้งพบสัตว์สงสัย การเก็บตัวอย่างส่งตรวจห้องปฏิบัติการ และการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า
กรณีเกิดโรค การเตรียมความพร้อมของอาสาสมัครก่อนการปฏิบัติงาน
ดังนั้น เพื่อให้การดำ�เนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์มีความ
ครอบคลุมทุกพื้นที่ กรมปศุสัตว์จึงได้จัดทำ�โครงการฝึกอบรมเพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพ
อาสาสมัครด้านโรคพิษสุนัขบ้าขึ้น ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์การดำ�เนินโครงการสัตว์ปลอดโรค
คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรี
สวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 1 การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุม
โรคพิษสุนัขบ้า กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการบูรณาการการดำ�เนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการ
เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ในทุกระดับ ซึ่งอาสาสมัครดังกล่าวจะได้รับมอบ
หมายเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าถูกต้องตามกฎหมายพระราช
บัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 ต่อไป
กระบวนการสร้าง พัฒนาอาสาปศุสัตว์และการปฏิบัติงานเชิงคุณภาพ
วิทยากร
ฝึกอบรม ผ่านการ
ฝึกอบรม
การรักษา
สถานภาพ
อาสาปศุสัตว์
ทดสอบ
สมรรถนะ
และพัฒนา
หน้าที่
คุณสมบัติ
หลักสูตร
ฝึกอบรม
จับบังคับสัตว์
ฉีดวัคซีน
เก็บตัวอย่าง
ส่งตรวจ
แจ้งพบโรค/
พบสัตว์สงสัย
เฝ้าระวังโรค
สื่อสาร/
ประชาสัมพันธ์
สำ�รวจสัตว์
กระบวนการสร้างและพัฒนา
อาสาปศุสัตว์
การปฏิบัติงานเชิงคุณภาพ
อาสาปศุสัตว์
6 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า”
วัตถุประสงค์ของโครงการ
เพื่อบูรณาการการกำ�จัดโรคพิษสุนัขบ้าอย่างยั่งยืนในรูปแบบของความร่วมมือทั้งจาก
ภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยการสร้างอาสาสมัครขึ้นใหม่และพัฒนาอาสาสมัครที่มีอยู่
เดิมให้มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการปฏิบัติงานด้านการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุม
โรคพิษสุนัขบ้าครอบคลุมในทุกพื้นที่ของทุกจังหวัดโดยมีจำ�นวนเป้าหมายอย่างน้อย 2 คนต่อ
ตำ�บล ส่วนพื้นที่ควบคุมโรคหรือพื้นที่เกิดโรคให้ดำ�เนินการฝึกอบรมอาสาฯ 3 คนต่อตำ�บล
มีระยะเวลาดำ�เนินการระหว่างเดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ของปีถัดไป ทั้งนี้เนื่องจากกรมปศุสัตว์
ร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมควบคุมโรคได้กำ�หนดช่วงเวลาในการรณรงค์
ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (ฉีดวัคซีน) เป็นช่วงเดือนมีนาคม - กรกฎาคม ของทุกปี ดังนั้นอาสาสมัคร
ที่ผ่านการฝึกอบรมแล้วก็จะสามารถปฏิบัติงานได้ทันที
ขั้นตอนการดำ�เนินการ
คุณสมบัติของอาสาสมัคร
1. มีอายุไม่ต่ำ�กว่า18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
2. จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป สามารถอ่านออกเขียนได้ หรือมีประสบการณ์
ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 1 ปี
3. มีมนุษยสัมพันธ์ดี เป็นที่ยอมรับของชุมชน
4. สามารถติดต่อประสานงานได้ดี
5. สมัครใจและเสียสละเพื่อช่วยเหลือการดำ�เนินงานด้านโรคพิษสุนัขบ้า
บทบาทหน้าที่ของอาสาสมัคร
1. จับสุนัขและแมวโดยเฉพาะที่ไม่มีเจ้าของเพื่อนำ�มาฉีดวัคซีนหรือผ่าตัดทำ�หมัน
2. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
3. ช่วยเจ้าหน้าที่ในการสำ�รวจจำ�นวนประชากรสุนัขและแมว
สำ�นักงานปศุสัตว์จังหว้ด
1. คัดเลือกอาสาปศุสัตว์ตามคุณสมบัติ
2. ฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
3. มอบประกาศนียบัติให้กับผู้ผ่านการฝึกอบรม
4. มอบบัตรประจำ�ตัวอาสาปศุสัตว์
5. มอบหนังสือมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษ
สุนัขบ้า ตาม พ.ร.บ.โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. ๒๕๓๕
สำ�นักควบคุม ป้องกันและบำ�บัดโรคสัตว์
1. จัดทำ�และอนุมัติโครงการฯ
2. เตรียมความพร้อมในการดำ�เนินงาน
3. สนับสนุนคู่มือประกอบการฝึกอบรม
4. สนับสนุนบัตรประจำ�ตัวอาสาปศุสัตว์
สำ�นักงานปศุสัตว์เขต 1 - 9
1. ประชุมชี้แจงและกำ�หนดแผนหรือแนวทางดำ�เนินการ
ร่วมกับสำ�นักงานปศุสัตว์จังหวัด
2. สนับสนุนวิทยากรให้กับสำ�นักงานปศุสัตว์จังหวัดใน
กรณีที่จังหวัดขอรับการสนับสนุน
3. กำ�กับ ติดตาม และประเมินผลร่วมกับสำ�นักควบคุม
ป้องกันและบำ�บัดโรคสัตว์
7
ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535
4. ช่วยเจ้าหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารและความรู้ต่างๆ
5. เป็นเครือข่ายในการเฝ้าระวังโรค แจ้งการพบโรคหรือพบสัตว์สงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า
6. เก็บตัวอย่างสัตว์สงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าส่งตรวจห้องปฏิบัติการ
7. เป็นผู้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับหมู่บ้าน
และตำ�บล
8. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
การฝึกอบรม
สำ�นักงานปศุสัตว์จังหวัดดำ�เนินการฝึกอบรม โดยใช้วิทยากรจากสำ�นักงานปศุสัตว์จังหวัด
หรือสำ�นักงานปศุสัตว์อำ�เภอ หรือขอรับการสนับสนุนวิทยากรจากสำ�นักงานปศุสัตว์เขต
หลักสูตรการฝึกอบรม
เนื้อหาการฝึกอบรมให้ประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆ ที่สามารถนำ�ไปใช้ปฏิบัติงานจริง
เช่น
1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า
2. ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำ�หรับสัตว์
3. ความรู้เกี่ยวกับการข่นส่งและการเก็บรักษาคุณภาพวัคซีนสำ�หรับสัตว์ (Cold Chain)
4. การเตรียมความพร้อมของอาสาสมัครก่อนการปฏิบัติงาน
5. การประเมินสุขภาพสุนัขและแมวเบื้องต้นก่อนการฉีดวัคซีน
6. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการฉีดวัคซีน (การเตรียมวัคซีนและเทคนิคในการฉีดวัคซีน)
7. การจับบังคับสุนัขและแมวเพื่อฉีดวัคซีน
8. การเฝ้าระวังโรค การสังเกตอาการสัตว์ป่วย การแจ้งพบสัตว์สงสัย การเก็บตัวอย่าง
ส่งตรวจห้องปฏิบัติการ
9. การควบคุมโรคพิษสุนัขบ้ากรณีเกิดโรค การเตรียมความพร้อมของอาสาสมัครก่อน
การปฏิบัติงาน
8 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า”
การดำ�เนินการเมื่ออาสาสมัครผ่านการฝึกอบรม
1. มอบประกาศนียบัตรให้กับผู้ผ่านการฝึกอบรมซึ่งลงนามในใบประกาศฯโดยปศุสัตว์
จังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
2. มอบบัตรประจำ�ตัวให้กับอาสาสมัคร (ลงนามโดยปศุสัตว์จังหวัดเท่านั้น) โดยกำ�หนด
ให้บัตรฯ มีอายุได้ไม่เกิน 1 ปี
3. สัตวแพทย์มอบหนังสือมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระ
ราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535
4. จัดทำ�ทะเบียนหรือฐานข้อมูลอาสาปศุสัตว์ตามฟอร์มหรือแบบรายงานส่งให้กรมปศุสัตว์
5. อาสาปศุสัตว์จะต้องได้รับการฝึกอบรมเป็นประจำ�ทุกปี ซึ่งมีการทดสอบก่อน-หลัง
การฝึกอบรมทุกครั้ง
สรุปขั้นตอนการสร้างและพัฒนาอาสาปศุสัตว์ (ด้านโรคพิษสุนัขบ้า)
คุณสมบัติอาสาปศุสัตว์
1. มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
2. จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปที่ 6 ขึ้นไป
3. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า1ปี
4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นที่ยอมรับของชุมชน
5. สามารถติดต่อประสานงานได้ดี
การคัดเลือกอาสาฯ การฝึกอบรม การขึ้นทะเบียน การปฏิบัติงาน
การขึ้นทะเบียน
1. ขึ้นทะเบียนที่สำ�นักงานปศุสัตว์จังหวัด
2. เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียน ได้แก่ บัตรประชาชน,
ใบประกาศนียบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรม
3. ขึ้นทะเบียนแล้วจะได้รับบัตรประจำ�ตัวอาสาฯ
4. รับใบมอบหมายให้ฉีดวัคซีนจากสัตวแพทย์
หลักสูตรการฝึกอบรม
1. ความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า
2. การจับบังคับสัตว์
3. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
4. การเฝ้าระวังโรคทางอาการ การแจ้งโรค
5. การเก็บตัวอย่างส่งตรวจ
6. การสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้ ประชาสัมพันธ์
หน้าที่ของอาสาปศุสัตว์
1. สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า
แก่ประชาชน
2. จับบังคับสัตว์เพื่อนำ�มาผ่าตัดทำ�หมัน ฉีดวัคซีน ฯลฯ
3. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
4. เป็นเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่
และแจ้งพบโรคไปยังสัตวแพทย์
5. เก็บตัวอย่างสัตว์ป่วยสงสัยเป็นโรคพิษสุนับ้าส่งตรวจ
ห้องปฏิบัติการ
6. ปฏิบัติงานอื่นๆ
9
ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)
โรคพิษสุนัขบ้า หรือที่ชาวบ้าน
ทั่วๆ ไปนิยมเรียกว่า “โรคกลัวน้ำ�”
(Hydrophobia) เป็นโรคติดเชื้อของ
ระบบประสาทส่วนกลางที่มีอันตราย
ร้ายแรงถึงชีวิต พบในสัตว์เลี้ยงลูก
ด้วยนมทุกชนิดทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์
ป่าและยังสามารถติดต่อมาสู่มนุษย์ได้
พาหะนำ�โรคที่สำ�คัญในประเทศไทย
คือ สุนัขและแมว (สำ�นักควบคุม
ป้องกัน และบำ�บัดโรคสัตว์, 2559)
ส่วนในต่างประเทศมักเกิดจากสัตว์
ป่า เช่น สุนัขจิ้งจอก สุนัขป่า ตัวแรค
คูณ เป็นต้น (กรมควบคุมโรค, 2554)
และสำ�หรับในประเทศทวีปอเมริกา
นั้น พาหะที่สำ�คัญคือ ค้างคาว
(WHO, 2016)
สาเหตุและการติดต่อของโรคพิษสุนัขบ้า
โรคพิษสุนัขบ้าแพร่เชื้อจากสัตว์ไปสู่มนุษย์หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวอื่นผ่านทาง
น้ำ�ลาย เช่น ผ่านทางการกัด โดยเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าที่อยู่ในน้ำ�ลายจะเข้าสู่บาดแผลและ
ผ่านเข้าสู่เส้นประสาทส่วนปลายผ่านไขสันหลัง และเข้าสู่สมอง หลังจากนั้นเชื้อไวรัสจะแบ่ง
ตัวในสมองและปล่อยเชื้อไวรัสไปตามแขนงเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย
โดยเฉพาะต่อมน้ำ�ลายและเพิ่มจำ�นวนในเซลล์ของต่อมน้ำ�ลาย โดยสัตว์สามารถแพร่เชื้อผ่าน
ทางน้ำ�ลายได้ 1-10 วันก่อนแสดงอาการป่วยออกมาให้เห็น และตลอดระยะเวลาที่สัตว์แสดง
อาการป่วยจากโรคพิษสุนัขบ้า
บทที่ 1
10 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า”
ระยะฟักตัวของโรคพิษสุนัขบ้า
ระยะฟักตัวของโรคพิษสุนัขบ้าเป็นระยะเวลานับตั้งแต่เชื้อโรคไวรัสเข้าสู่ร่างกายจนก่อ
ให้แสดงอาการของโรคโดยสามารถพบได้ตั้งแต่ระยะไม่กี่วัน จนถึงระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี ซึ่ง
ระยะฟักตัวจะสั้นหรือยาวขึ้นกับปัจจัยบางประการ ได้แก่ ปริมาณของเชื้อไวรัส ความรุนแรง
ของบาดแผล ปริมาณปลายประสาทที่ตำ�แหน่งของแผล และระยะทางจากแผลไปยังสมอง
เช่น แผลที่หน้า ศีรษะ คอ และมือจะมีระยะฟักตัวที่สั้นกว่าแผลที่เท้า และการล้างแผลทันที
จะมีส่วนช่วยลดจำ�นวนเชื้อลงได้มาก โดยล้างด้วยน้ำ�สะอาดและสบู่
อาการของโรคพิษสุนัขบ้า
1. อาการในสัตว์
1.1 สุนัข อาการในสุนัขแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบดุร้าย และแบบเซื่องซึม โดย
แบบดุร้ายจะพบได้บ่อยกว่าแบบเซื่องซึม โดยอาการของโรคแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
อาการระยะเริ่มแรก สุนัขจะมีนิสัยหรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เช่น จากที่เคย
ร่าเริงแจ่มใสชอบคลุกคลีกับเจ้าของ มักจะมีอาการหงุดหงิด ไม่อยากเข้าใกล้เจ้าของ หลบซุกซ่อน
ตัวอยู่ตามมุมมืด แสดงอาการเห่า ขู่ หรือกัด หวาดระแวง หวาดกลัว รูม่านตาขยายกว้างกว่า
ปกติ มีการตอบสนองต่อแสงลดลง โดยสุนัขจะแสดงอาการเริ่มแรกนี้ประมาณ 2-3 วัน
อาการระยะตื่นเต้น สุนัขมีอาการลุกลี้ลุกลน กระวนกระวาย พยายามจะหลบหนีจากที่อยู่
เดิม หากหลบหนีออกมาได้จะวิ่งอย่างไม่มีจุดหมาย มักแสดงอาการแปลกๆ เช่น งับลมหรือกัดกิน
สิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ดิน หญ้า หรือแม้แต่เศษไม้อย่างบ้าคลั่ง หากจับกักขัง
จะกัดกรงอย่างรุนแรงจนเกิดบาดแผลที่ปาก หรือฟันหักโดยไม่แสดงความเจ็บปวด เสียงเห่าหอน
จะผิดไปเนื่องจากเกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อกล่องเสียง ต่อมาจะเกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับ
การเคี้ยวหรือการกลืน ทำ�ให้ลิ้นห้อยออกนอกปาก น้ำ�ลายไหล ลิ้นมีสีแดงคล้ำ�หรือมีร่องรอยของ
ความบอบช้ำ� หรือมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ที่ลิ้น ระยะต่อมาลำ�ตัวจะแข็ง หางตก ขาหลังเริ่มอ่อน
เปลี้ย ซึ่งเป็นอาการที่เริ่มเข้าสู่ระยะอัมพาต สุนัขจะแสดงอาการระยะตื่นเต้นอยู่ 1-7 วัน
อาการระยะอัมพาต เป็นอาการระยะสุดท้ายของโรค สุนัขจะแสดงอาการขาหลังอ่อน
เปลี้ย ในที่สุดจะล้มลงลุกไม่ได้ อาการอัมพาตจะเกิดจากส่วนท้ายของลำ�ตัวไปยังส่วนหัว สุนัข
จะตายด้วยระบบหายใจล้มเหลว สุนัขที่แสดงอาการของโรคพิษสุนัขบ้าทั้ง 3 ระยะดังกล่าวนี้
ตั้งแต่เริ่มสังเกตเห็นอาการมักอยู่ได้ไม่เกิน 10 วัน สุนัขที่แสดงอาการระยะตื่นเต้นชัดเจน มัก
เรียกกันว่า “บ้าแบบดุร้าย” ซึ่งเป็นอาการที่พบเห็นได้มากกว่า “บ้าแบบซึม” (ประเสริฐ, 2523)
1.2 แมว การติดต่อของโรคพิษสุนัขบ้าในแมวมักเกิดจากการได้รับเชื้อทางน้ำ�ลายของ
แมวหรือสัตว์อื่นที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า เชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าจะเริ่มถูกขับออกมาทางน้ำ�ลาย
ของแมวในช่วงระยะ 1-5 วันก่อนแสดงอาการ (The Center for Food
Security &Public Health, 2012) และจะมีอยู่ในน้ำ�ลายตลอดจน
คู่มือสำ�หรับฝึกอบรม
11
ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535
บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)
กระทั่งแมวตาย โดยทั่วไปพบว่าแมวที่เป็นโรคส่วนใหญ่จะแสดงอาการในระยะตื่นเต้นให้
เห็นเด่นชัดหรือเรียกว่าเป็นบ้าแบบดุร้ายมากกว่าแบบซึมซึ่งจะแสดงอาการในระยะอัมพาต
(ประเสริฐ, 2523) โดยอาการของโรคพิษสุนัขในแมวแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
อาการระยะเริ่มแรก แมวที่ชอบคลุกคลีกับเจ้าของอาจกัดหรือข่วนเจ้าของโดยแสดง
อาการอารมณ์ฉุนเฉียวฉับพลัน หรืออาจหลบซ่อนตัวในที่มืด อาการระยะนี้จะเป็นเพียงระยะ
เวลาสั้นๆไม่เกิน 1 วัน
อาการระยะตื่นเต้น แมวจะเริ่มมีอาการกล้ามเนื้อสั่น กล้ามเนื้อเริ่มทำ�งานไม่สัมพันธ์
กัน ตามด้วยอาการทางระบบประสาท ดุร้าย ถ้ากักขังจะแสดงอาการท่าทีพร้อมที่จะกัดหรือ
ข่วน โดยเฉพาะเมื่อมีวัตถุเคลื่อนไหวผ่าน และมีอาการกลืนลำ�บาก น้ำ�ลายไหลเนื่องจาก
เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเคี้ยวและการกลืน โดยทั่วไประยะนี้จะแสดงอาการ
ประมาณ 2-4 วัน หลังจากนั้นจะเข้าสู่ระยะอัมพาต
อาการระยะอัมพาต แมวจะเริ่มแสดงอาการเกิดอัมพาตที่ส่วนท้ายของลำ�ตัวก่อนแล้ว
แผ่ขยายไปยังส่วนลำ�ตัวและหัว จนเกิดอัมพาตทั่วตัวอย่างรวดเร็วแล้วและตายในที่สุด
1.3 โค - กระบือ อาการที่พบ คือ ไม่กินหญ้า กระสับกระส่าย ตื่นเต้น กล้ามเนื้อเกร็ง
กระตุก อาจวิ่งไล่ชนสิ่งต่างๆ แสดงอาการคันบริเวณที่เคยถูกกัด โดยเอาบริเวณนั้นไปถูไถกับ
คอกบ่อยๆ มีอาการคล้ายมีสิ่งแปลกปลอมติดคอ มีน้ำ�ลายไหล กัดฟัน ชอบขึ้นขี่ตัวอื่น ท้อง
ป่องเนื่องจากมีแก๊สสะสมในกระเพาะมาก หางบิด ขาอ่อน อัมพาต และตายภายใน 1-6 วัน
หลังแสดงอาการ
1.4 แพะ - แกะ อาการที่พบ คือ ไม่กินหญ้า กระวนกระวาย ตื่นเต้น ดุกว่าปกติ ชอบ
ขึ้นขี่ตัวอื่น ตาเบิกกว้าง จ้องนิ่ง ชอบเอาเท้าโขกพื้น เลียบริเวณที่ถูกกัดบ่อยๆ อัมพาตล้มลง
ตายภายใน 5-6 วันหลังแสดงอาการ
1.5 ม้า - ลา มักพบอาการตื่นเต้น ดุร้าย กัดคนหรือสัตว์อื่น คันบริเวณที่ถูกกัดโดยสัตว์จะ
เอาบริเวณนั้นถูไถคอก หรืออาจกัดจนเป็นแผลหรือเนื้อหลุดได้ ไวต่อเสียงมาก เอาเท้าโขกพื้น กัด
รางอาหาร กินอุจจาระ ตาแดง จ้องนิ่ง อาจแสดงอาการท้องผูกเสียด (แก๊สในกระเพาะมาก) ชัก
อัมพาตล้มลงตายภายใน 5-8 วันหลังแสดงอาการ (ธนวรรษ, 2541)
1.6 สุกร อาการที่พบ คือ จะมีนิสัยเปลี่ยนไป บางรายดุร้ายขึ้น ตื่นเต้น ส่งเสียงร้อง
เจ็บปวด น้ำ�ลายไหลมาก กระวนกระวาย ไวต่อการตอบสนองสิ่งแวดล้อม โดยอาการที่พบบ่อย
คือ จะกระโดดขึ้นทันทีเมื่อตกใจ และอาจไล่กัดสุกรตัวอื่นภายในคอก หลังจากแสดงอาการจะตาย
ภายใน 3-4 วัน
2. อาการในคน จำ�แนกอาการได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
2.1 อาการแบบคลุ้มคลั่ง อาการระยะนี้จะดำ�เนินโรคอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ยมักเสีย
ชีวิตใน 5 วัน โดยการวินิจฉัยอาการแบบคลุ้มคลั่ง ต้องมีอาการครบ
ทั้ง 3 ประการ ดังนี้
12 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า”
1) ผู้ป่วยจะมีอาการสลับระหว่างภาวะปกติและภาวะกระวนกระวายต่อสิ่งเร้าไม่ว่าจะ
เป็นเสียง แสง เป็นต้น อาการจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนผู้ป่วยอาจจะอาละวาด และผุดลุกผุด
นั่ง ในระหว่างที่ผู้ป่วยอยู่ในภาวะปกติจะสามารถพูด คุย โต้ตอบได้ รู้เรื่องทุกอย่าง แต่ในภาวะ
แสดงอาการผิดปกติผู้ป่วยจะพูดไม่ได้หรือไม่เข้าใจตนเอง สภาพเช่นนี้จะดำ�เนินไปประมาณ
2-3 วัน จากนั้นผู้ป่วยจะเริ่มซึม ไม่รู้สึกตัวในระยะ 24 ชั่วโมงสุดท้าย ความดันโลหิตต่ำ�
2) อาการกลัวน้ำ� กลัวลม ซึ่งจะเห็นได้ชัดขณะที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวเท่านั้น เมื่อผู้ป่วยเริ่ม
แสดงอาการซึมอาการเหล่านี้ก็จะหายไป แต่ยังคงมีอาการถอนหายใจเป็นพักๆ ซึ่งเกิดขึ้นเอง
และเป็นอาการสำ�คัญซึ่งช่วยในการวินิจฉัย
3) อาการขนลุกเป็นบางส่วนหรือทั้งตัว รูม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสง ซึ่งรูม่านตาอาจ
ขยายเต็มที่หรือหดตัวเต็มที่ น้ำ�ลายมากผิดปกติจนต้องบ้วน หรือถ่มเป็นระยะ
นอกจากนั้น จะมีอาการคันเฉพาะที่ตรงถูกสัตว์กัดหรืออาจจะปวดแสบปวดร้อน ปวด
ลึกๆ ซึ่งแพร่กระจายไปทั่วแขน ขา หรือเฉพาะบริเวณที่ถูกกัด
2.2 อาการแบบอัมพาต จะสังเกตเห็นอาการอ่อนแรงของแขนขา จากนั้นความรุนแรง
ของโรคจะเพิ่มขึ้นจนผู้ป่วยเสียชีวิต เนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว โดยเฉลี่ยเสียชีวิตในระยะ
เวลาประมาณ 13 วัน
2.3 กลุ่มที่ไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ไม่สามารถวินิจฉัยได้จากอาการ ถือเป็นกลุ่มที่มี
ความยากลำ�บากที่สุดในการวินิจฉัย มีทางเดียวเท่านั้นที่จะวินิจฉัยได้ คือ การตรวจยืนยันทางห้อง
ปฏิบัติการ การตรวจด้วยคอมพิวเตอร์สนามแม่เหล็กไฟฟ้าของสมอง (MRI) อาจพบความผิดปกติ
ของสมอง อย่างไรก็ดีความผิดปกติของสมองที่แสดงผลใน MRI สามารถพบได้ทั้งในสามกลุ่ม
การรักษาและการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ไม่ว่าจะในสัตว์หรือคน โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งในสัตว์ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน หากถูกกัดแนะนำ�ให้ทำ�การการุณฆาต (Catherine et.al.,
2016) เพราะถึงแม้ว่าจะมีการใช้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าฉีดให้แก่สัตว์ภายหลังถูกสัตว์ที่เป็นบ้า
ผลที่ได้ไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่สัตว์ได้รับวัคซีนหลังจากถูกกัด โปรแกรมวัคซีน ความ
รุนแรงของบาดแผล ตำ�แหน่งของบาดแผล สุขภาพสัตว์หรือชนิดของสัตว์ที่รับเชื้อ ดังนั้นการ
ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยเราสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษ
สุนัขบ้าให้แก่สัตว์เป็นประจำ�ทุกปี ควบคู่ไปกับการระวังอย่าให้ถูกสัตว์ที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้ากัด
การทำ�ลายเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า
เชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าเมื่อออกจากร่างกายสัตว์ป่วยจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานจะถูกทำ�ลาย
ได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน แสงแดด หรือยาฆ่าเชื้อ ได้แก่ ฟอร์มาลีน แอลกอฮอล์ 70% ไลโซล
กรดหรือด่างอย่างแรง หรือไฮเปอร์คลอไรท์ 10% (น้ำ�ผสมคลอรีนไฮเตอร์
หรือคลอร็อคในอัตราส่วน 1 ส่วนต่อน้ำ� 9 ส่วน) (ธนวรรษ, 2541)
คู่มือสำ�หรับฝึกอบรม
13
ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535
ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำ�หรับสัตว์
1. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำ�หรับสัตว์ (Rabies Vaccine)
คุณลักษณะของวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำ�หรับสัตว์
1.1 วัคซีนที่มีจำ�หน่ายในประเทศทั้งหมดเป็นวัคซีนชนิดน้ำ�แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
น้ำ�สีขาวและน้ำ�สีแดงอ่อน
1.2 เป็นวัคซีนเชื้อตายที่ผลิตจากเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies virus)
1.3 ได้รับการขึ้นทะเบียนตำ�รับยาจากกระทรวงสาธารณสุข
1.4 มีความแรง (Potency) ไม่น้อยกว่า 1 IUต่อมิลลิลิตร
1.5 มีความคุ้มโรคในสัตว์ที่ได้รับการฉีดวัคซีนนานอย่างน้อย 1 ปี
1.6 อุณหภูมิการเก็บรักษาอู่ในช่วง +2 ถึง +8 องศาเซลเซียส
2. วีธีการเตรียมวัคซีนไปใช้
2.1 เตรียมวัคซีนให้พอเหมาะกับจำ�นวนสัตว์เป้าหมายในแต่ละครั้ง ถ้าวัคซีนเหลือ
ควรใช้ให้หมดโดยเร็วในครั้งต่อไป
2.2 การจัดเก็บและการขนส่งวัคซีนเพื่อนำ�ไปปฏิบัติงานให้ใช้หีบเย็น (vaccine cold
box) กล่องโฟม กระติกวัคซีน หรือกระเป๋าเก็บความเย็น
2.3 ห้ามให้ขวดวัคซีนสัมผัสกับน้ำ�แข็งหรือน้ำ�แช่น้ำ�แข็งโดยตรง
2.4 หลีกเลี่ยงการให้ขวดวัคซีนสัมผัสแสงแดด
2.5 การจัดเรียงวัคซีนในหีบเย็น กระติกวัคซีน กล่องโฟม หรือกระเป๋าเก็บความเย็น
- วางไอซ์แพคที่เริ่มละลายแล้ว (มีหยดน้ำ�เกาะที่ผิว) ด้านข้างทั้ง 4 ด้าน รวมทั้งด้าน
บน-ล่าง (กรณีเป็นหีบเย็น/กล่องโฟมใบใหญ่)
- ห่อวัคซีนแล้วนำ�ไปวางไว้ตรงกลางภาชนะที่เตรียมไว้
- ปิดฝาให้สนิทและวางไว้ในที่ร่ม
บทที่ 2
14 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า”
3. ขั้นตอนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์
3.1 จัดทำ�แผนการฉีด โดยกำ�หนดพื้นที่ สำ�รวจจำ�นวนสัตว์เป้าหมาย การปิดประกาศ
กำ�หนดเขตท้องที่ทำ�การฉีดวัคซีนโดยไม่เสียค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า
พ.ศ. 2535 เป็นต้น
3.2 ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้
3.3 เตรียมวัคซีน เวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ เช่น เข็ม กระบอกฉีดยา สำ�ลี แอลกอฮอล์
บัตรวัคซีน เหรียญเครื่องหมายประจำ�ตัวสัตว์ กระติกน้ำ�แข็ง ไอซ์แพคหรือน้ำ�แข็ง ขวดสำ�หรับ
ใส่เข็มที่ใช้แล้ว ถุงขยะ เป็นต้น
3.4 จัดเรียงวัคซีนลงในกระติกหรือกระเป๋าวัคซีนให้เป็นไปตามคำ�แนะนำ�ในการเก็บ
รักษาและขนส่งวัคซีน
3.5 สอบถามประวัติสัตว์จากเจ้าของสัตว์ เช่น ชื่อ อายุ เพศ พันธ์ ประวัติการฉีด
วัคซีน การฉีดวัคซีนครั้งสุดท้าย และอาการสุนัข แมว ณ ปัจจุบัน
3.6 ตรวจสุขภาพสุนัข - แมว พื้นฐาน เช่น วัดอุณหภูมิ (อุณหภูมิปกติ101 - 102
องศาฟาเรนไฮน์) สัตว์ที่จะฉีดวัคซีนได้จะต้องมีสุขภาพดี ไม่ป่วย
3.7 เตรียมวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยดูดวัคซีนออกจากขวดวัคซีน
1. วัคซีน (Vaccine)
มีคุณภาพในการกระตุ้น
ภูมิคุ้มกัน
การเก็บรักษาคุณภาพ
ทุกขั้นตอนของระบบ
ห่วงโซ่ความเย็น (Cold
Chain)
มีจำ�นวนเพียงพอกับ
จำ�นวนสัตว์เป้าหมาย
2. วิธีการฉีดวัคซีน (Vaccination)
วิธีการฉีดที่ถูกต้อง
ฉีดวัคซีนเข้าสู่ตัวสัตว์เต็มขนาด
(Dose)
มีจำ�นวนเพียงพอ
ฉีดตรงตามโปรแกรม
ฉีดต่อเนื่องตลอดชีวิตสัตว์
ฉีดได้ครอบคลุมอย่างน้อย 80%
ของจำ�นวนสัตว์
อาสาปศุสัตว์
 






3. ผู้ฉีดวัคซีน (Vaccinator)
คนฉีดวัคซีนถูกต้องตามกฎหมาย (เป็นสัตวแพทย์หรือผู้ได้รับมอบหมายจากสัตวแพทย์ ตามพระราชบัญญัติ
โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535)
คนฉีดมีคุณภาพ ผ่านการฝึกอบรม มีความรู้ และมีทักษะในการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง
คนฉีดมีจำ�นวนครอบคลุม สอดคล้องกับจำ�นวนสัตว์ที่จะฉีดวัคซีน





คู่มือสำ�หรับฝึกอบรม
15
ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535
บทที่ 2
ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำ�หรับสัตว์
3.8 ให้เจ้าของหรืออาสาสมัครจับบังคับสุนัข หรือแมว ตามขั้นตอนการจับบังคับสัตว์
3.9 ดำ�เนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
3.9.1 ใช้วิธีการฉีดเข้าใต้หนัง ซึ่งสามารถฉีดได้ง่าย และสะดวกกว่าการฉีดเข้า
ทางอื่นๆ ทำ�ให้สุนัข - แมวเจ็บน้อยกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แม้ว่าการดูดซึมทางผิวหนังจะช้า
กว่าการฉีดเข้าทางอื่น แต่จัดเป็นวิธีการที่เหมาะสมต่อการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
3.9.2 ตำ�แหน่งที่ฉีดส่วนใหญ่คือบริเวณด้านบนลำ�ตัวหลังขาหน้า หน้าขาหน้า
และหน้าขาหลังซึ่งเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมาก
3.10 ขั้นตอนการฉีดวัคซีน
3.10.1 ใช้มือข้างที่ถนัดถือกระบอกยาที่เตรียมวัคซีนไว้และใช้มืออีกข้างหนึ่งเช็ด
บริเวณที่จะฉีดด้วยสำ�ลีชุบแอลกอฮอล์ 70 %
3.10.2 จากนั้นใช้มืออีกข้างหนึ่งดึง หรือขยุ้มผิวหนังขึ้นมาเล็กน้อยเพื่อให้ใต้ผิวหนัง
เกิดเป็นโพรง
3.10.3 แทงเข็มเข้าบริเวณดังกล่าวโดยก่อนฉีดวัคซีนเข้าไปควรดึงก้านกระบอก
ฉีดถอยหลังเล็กน้อยเพื่อตรวจสอบว่าปลายเข็มฉีดยาไม่ได้แทงเข้าหลอดเลือดในบริเวณนั้น
หากไม่พบมีเลือดไหลย้อนกลับให้ฉีดยาเข้าตัวสุนัข-แมวได้
3.11 บันทึกข้อมูลการฉีดในใบรับรองการฉีดวัคซีนและชี้แจงกำ�หนดการฉีดครั้งต่อไป
แก่เจ้าของสัตว์
สรุปขั้นตอนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
การดูดวัคซีนออกจากขวด
วัคซีน
การฉัดวัคซีนเข้าชั้นใต้
ผิวหนังสุนัข-แมว


16 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า”
เริ่มต้นการฉีดในลูกสุนัขหรือแมว
(อายุน้อยกว่า 1 ปี)
เริ่มต้นอายุประมาณ 12 สัปดาห์ หรือ
3 เดือนกรณีฉีดก่อนอายุ 3 เดือนให้ฉีด
ซ้ำ�ที่อายุ 12 เดือนในกรณีพื้นที่เสี่ยง*
ให้กระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยการฉีดวัคซีนซ้ำ�
ที่ 2-4 สัปดาห์ หลังการทำ�วัคซีนเข็มแรก
เริ่มต้นอายุประมาณ 12 สัปดาห์ และ
กระตุ้นซ้ำ� 1 ปี หลังจากนั้น
เริ่มต้นการฉีดในสุนัขหรือแมวโตเต็มวัย
(อายุมากกว่า 1 ปี)
สามารถฉีดได้ทันที ในกรณีพื้นที่เสี่ยง*
ให้กระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยการฉีดวัคซีนซ้ำ�
ที่ 2-4 สัปดาห์หลังการทำ�วัคซีนเข็มแรก
สามารถฉีดได้ทันที และกระตุ้นซ้ำ� 1 ปี
หลังจากนั้น
การกระตุ้นภูมิคุ้มกันประจำ�ปี
กระตุ้นวัคซีนป้องกันโรคพิษ
สุนัขบ้าปีละ 1 ครั้ง
กระตุ้นวัคซีนป้องกันโรคพิษ
สุนัขบ้าปีละ 1 ครั้ง
ชนิดสัตว์
สุนัข
แมว
โปรแกรมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ (WSAVA, 2016)
หมายเหตุ : *ประเทศไทยจัดเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์
2556 2557 2558
2559 2560 2561
2562 2563 2564
หลักฐานที่เจ้าของสัตว์ต้องได้รับหลังจากสุนัข
และแมวได้รับการฉีดวัคซีน
คู่มือสำ�หรับฝึกอบรม
17
ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535
ความรู้เกี่ยวกับการขนส่งและการเก็บรักษา
คุณภาพวัคซีนสำ�หรับสัตว์
บทที่ 3
ระบบลูกโซ่ความเย็น (Cold Chain System)
เป็นระบบที่จะทำ�ให้วัคซีนอยู่
บนอุณหภูมิที่เหมาะสมตลอดเวลา ทั้งใน
ขณะจัดเก็บและการขนส่งวัคซีน ระบบนี้
ประกอบไปด้วยการจัดเก็บและการขนส่ง
ที่เชื่อมต่อกัน ซึ่งได้ออกแบบให้วัคซีนอยู่
ในอุณหภูมี่ถูกต้องเหมาะสมจนกระทั่งถึง
ตัวสัตว์ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
ความสำ�คัญของระบบลูกโซ่ความเย็น
1. วัคซีนเสื่อมสภาพได้ง่ายเมื่อ
เวลาผ่านไปความแรงของวัคซีน (potency)
จะลดลง
2. อุณหภูมิที่สูงขึ้น จะทำ�ให้ความ
แรงของวัคซีน (potency) ลดลงเร็วขึ้น
3.วัคซีนบางชนิดจะสูญเสียความ
แรงทันทีถ้าอยู่ในอุณหภูมิที่ทำ�ให้แข็งตัว
(Freezing)
4. เมื่อวัคซีนเสื่อมสภาพจากอุณหภูมิที่ทำ�ให้แข็งตัว (Freezing) ฉีดแล้วจะเกิด
เป็นไตแข็ง
ดังนั้น การจัดเก็บการขนส่งวัคซีนที่ไม่เหมาะสม จะทำ�ให้เกิดความเสี่ยงต่อสัตว์ที่จะ
ได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ไม่มีคุณภาพ
คู่มือสำ�หรับฝึกอบรม
18 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า”
1. วิธีการจัดเก็บวัคซีนในตู้เย็น
1.1 สภาพที่เหมาะสมในการเก็บรักษาวัคซีน
คือ +2 ถึง +8 องศาเซลเซียส
1.2 แขวนเทอร์โมมิเตอร์ไว้ในตู้เย็น ตรง
ตำ�แหน่งกึ่งกลางของช่องเย็นธรรมดา
1.3 บันทึกอุณหภูมิตู้เย็นอย่างน้อยวันละ 2
ครั้ง เช้า-เย็นทุกวัน
1.4 เก็บวัคซีนไว้ข้างในส่วนลึกของช่อง
ธรรมดาของตู้เย็น
1.5 ห้ามเก็บวัคซีนไว้ในช่องแช่แข็ง เพราะ
จะทำ�ให้วัคซีนเสื่อมสภาพ
1.6 ห้ามเก็บวัคซีนไว้ช่องใต้ช่องแช่แข็ง
เพราะจะทำ�ให้วัคซีนเสื่อมสภาพ
1.7 ห้ามเก็บวัคซีนไว้แน่นตู้เย็น ควรมีระยะ
ห่างของกล่องวัคซีนเพื่อให้ความเย็นกระจาย ได้
อย่างทั่วถึงและห้ามเปิดตู้เย็นโดยไม่จำ�เป็น
1.8 ห้ามเก็บอาหาร เครื่องดื่ม ยา หรือวัสดุอื่นๆ ไว้ในตู้เย็น
1.9 ถ้าตู้เย็นมีอุณภูมิผิดปกติ ให้ย้ายวัคซีนไปเก็บในตู้เย็นอื่นที่มีอุณหภูมิปกติ
1.10 ถ้ามีน้ำ�แข็งเกาะตู้เย็นหนาเกินกว่า 5 มิลลิเมตรในช่องแช่แข็ง ให้ละลายน้ำ�แข็งออก
หีบเย็น (vaccine clod box) กระติกวัคซีน (vaccine carrier)
2. วิธีการจัดเก็บวัคซีนในหีบเย็นและกระติกวัคซีน
2.1 นำ�ไอซ์แพค (ice-packs) ใส่ด้านล่างและด้านข้างของหีบเย็นและกระติกวัคซีน ทั้ง 4 ด้าน
โดยใช้ไอซ์แพคที่เริ่มละลายแล้วโดยสังเกตจากรอบนอกของไอซ์แพคที่เริ่มมีหยดน้ำ�เกาะและได้ยิน
เสียงน้ำ�แข็งเวลาเขย่า ห้ามนำ�ไอซ์แพคที่พึ่งนำ�ออกจากช่องแช่แข็งมาใช้ทันที เพราะอาจทำ�ให้
อุณหภูมิของวัคซีนติดลบและเสื่อมคุณภาพได้
คู่มือสำ�หรับฝึกอบรม
19
ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535
บทที่ 3
ความรู้เกี่ยวกับการขนส่งและการเก็บรักษาคุณภาพวัคซีนสำ�หรับสัตว์
ปัจจัยที่สำ�คัญ ได้แก่
 การขนส่งที่ไม่เหมาะสม
 สภาวะการเก็บรักษาวัคซีน
 วัคซีนโดนแสงแดดโดยตรง
 อุณหภูมิการเก็บรักษาไม่เหมาะสม
 การนำ�วัคซีนไปใช้หน้างาน
 การแพ็ควัคซีนไปใช้หน้างานอย่างไม่เหมาะสม
 การเตรียมวัคซีนไปใช้มากเกินไป
2. ปัจจัยที่ทำ�ให้วัคซีนเสื่อมคุณภาพ
2.2 ห่อวัคซีนแล้วนำ�วัคซีนวางไว้ตรงกลางของหีบเย็นและกระติกวัคซีน ในส่วนของหีบเย็นให้วาง
ไอซ์แพคด้านบน และด้านข้างควรใส่กระดาษหนาๆหรือฟิวเจอร์บอร์ดกั้นระหว่างไอซ์แพคและวัคซีน
เพื่อป้องกันไม่ให้ไอซ์แพคติดกับขวดวัคซีนโดยตรงสำ�หรับกระติกวัคซีนไม่ต้องวางไอซ์แพคด้านบน
2.3 ปิดฝาให้สนิทและวางไว้ในที่ร่มเพื่อเตรียมขนส่ง
20 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า”
บทที่ 4
การจับบังคับสัตว์
1. การจับบังคับสุนัข (อมรพรรณ, 2556)
1.1 การเข้าหาสุนัข ควรเคลื่อนไหวอย่างนุ่มนวล ยื่นมือไประดับหน้าของสุนัข เพื่อให้สุนัข
ดมกลิ่น ห้ามยื่นมือเข้าไปเหนือหัวสุนัขเพราะเป็นลักษณะของการท้าทาย ถ้าสุนัขแสดงท่าทีที่
เป็นมิตรก็สามารถลูบคลำ�หรือตบเบาๆ ที่คอได้ ห้ามตบหัวสุนัขเพราะเป็นการแสดงอำ�นาจที่
เหนือกว่า ซึ่งสุนัขที่ไม่คุ้นเคยอาจไม่ยอมรับ
1.2 การควบคุมและการผูกปากสุนัข
1) การผูกปากสุนัขให้ใช้แถบผ้า
หรือเชือกที่ไม่มีคมผูกเป็นบ่วง
2) สวมปากสุนัข แล้วดึงให้ตึงพอ
ประมาณ โดยให้ปมที่ผูกอยู่บนดั้งจมูก
ของสุนัข
3) พันแถบผ้าหรือเชือกลงมาผูกใต้คาง
อีกปมอย่าให้แน่นจนเกินไป
แล้วอ้อมใต้ใบหู และจากนั้นผูก
เป็นเงื่อนไว้บนหนังคอ
21
ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535
1.3 การจับบังคับสุนัข
1) สุนัขขนาดใหญ่ (Human Society Veterinary Medical Association, 2016)
1.1) การบังคับสุนัขในท่านั่ง ให้ใช้แขนโอบรอบ
ใต้คอสุนัข เพื่อให้แขนยึดหัวของสุนัขกับร่างกายผู้จับ
บังคับสุนัข แล้วใช้แขนและมืออีกข้างหนึ่งจับยึดบริเวณ
สะโพก และขาหลังของสุนัข เพื่อป้องกันไม่ให้สุนัขยืน
หรือนอนลงในระหว่างดำ�เนินการ โดยพยายามดึงสุนัข
ให้ใกล้กับหน้าอกเพื่อช่วยลดการเคลื่อนตัวของสุนัข
(ตามภาพ)
1.2) การบังคับสุนัขในท่ายืน วางแขน
ข้างหนึ่งใต้คอสุนัขเพื่อให้แขนยึดหัวของสุนัขให้
อยู่กับที่ เพื่อลดโอกาสที่สุนัขจะไปกัดผู้ดำ�เนินการ
คนอื่นๆ และวางแขนอีกข้างหนึ่งใต้ท้องสุนัขเพื่อ
ป้องกันไม่ให้สุนัขนั่งหรือนอนลงในช่วงดำ�เนินการ
โดยพยายามดึงสุนัขให้ใกล้กับร่างกายเพื่อช่วยลด
การเคลื่อนตัวของสุนัข (ตามภาพ)
1.3) การบังคับสุนัขในท่า
นอนตะแคง ทำ�โดยเมื่อสุนัขอยู่ใน
ท่ายืน ให้เอื้อมมือข้ามจากด้านหลัง
ของสุนัขมาจับขาหน้า และขาหลัง
ของสุนัข พยายามให้ลำ�ตัวสุนัข
ใกล้กับตัวของผู้จับบังคับมากที่สุด
แล้วค่อยๆ ยกขาของสุนัขออกจาก
โต๊ะ (หรือพื้น) โดยให้ร่างกายของสุนัขค่อยๆ เลื่อนออกจากตัวผู้จับบังคับจนกระทั่งนอนลง และ
ขาทั้ง 4 ข้าง ชี้ออกนอกตัวผู้จับบังคับใช้แขนทั้ง 2 ข้างในการกดควบคุม
การเคลื่อนไหวของสุนัข (ตามภาพ)
บทที่ 4
การจับบังคับสัตว์
22 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า”
2. สุนัขขนาดเล็ก (อมรพรรณ,2556)
อาจใช้วิธีการอุ้มสุนัขแต่ต้อง
แน่ใจว่าสุนัขไม่อยู่ในสภาพที่ตื่นกลัว
แล้วใช้มือข้างหนึ่งสอดเข้าระหว่าง
ขาหน้า  ขณะที่มืออีกข้างหนึ่งโอบ
รอบขาหลังและสะโพกเพื่อไม่ให้สุนัข
บิดตัวหรือถีบยกสุนัขขึ้นมือข้างหนึ่ง
อยู่ที่หน้าอกและมืออีกข้างหนึ่งอยู่ที่
บั้นท้ายจะป้องกันไม่ให้สุนัขกระโดด
ลงได้ (ตามภาพ)
การจับบังคับแมว (Human Society Veterinary Medical Association, 2016)
ใช้มือข้างหนึ่งจับบริเวณหนังคอแมวระหว่างหูทั้ง 2 ข้าง ซึ่งเป็นส่วนที่ผิวหนังหลวม
สามารถจับยึดได้ง่าย และเป็นตำ�แหน่งที่แมวไม่สามารถหันหัวแว้งกัดได้ มืออีกข้างหนึ่งจับ
ยึด 2 ขาหลังของแมว และดึงให้แมวเหยียดตัวออกโดยให้ขาทั้ง 4 ข้างออกนอกตัวผู้บังคับ
พยายามให้แขนที่จับ 2 ขาหลัง กดแมวให้ติดกับพื้นหรือโต๊ะ เพื่อลดโอกาสเคลื่อนไหวของแมว
(ตามภาพ)
คู่มือสำ�หรับฝึกอบรม
23
ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535
การควบคุมโรคในพื้นที่เกิดโรคพิษสุนัขบ้า
1. การดำ�เนินการภายใต้พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558
เมื่อมีการรายงานยืนยันตรวจพบโรคพิษสุนัขบ้าจากห้องปฏิบัติการ อาศัยอำ�นาจตามความ
ในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ปศุสัตว์อำ�เภอจะต้องประกาศกำ�หนด
เขตโรคระบาดชั่วคราว ชนิดโรคพิษสุนัขบ้า ในสุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีพื้นที่รัศมี 5
กิโลเมตรรอบจุดพบโรค โดยประกาศดังกล่าวมีกำ�หนดระยะเวลา 30 วัน ซึ่งเมื่อประกาศแล้ว เจ้าของ
สัตว์หรือซากสัตว์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 22 และตามมาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 13 มาตรา
14 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 มีรายละเอียดโดยสังเขป ดังนี้
1) ห้ามไม่ให้ผู้ใดเคลื่อนย้ายสุนัขและแมวเข้า ออก หรือผ่านในเขตนั้น เว้นแต่ได้รับเป็น
หนังสือจากสัตวแพทย์ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบประจำ�เขตนั้นทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้าย
2) เมื่อพบเห็นสุนัขหรือแมว ป่วยหรือตายโดยไม่รู้ว่าเป็นโรคระบาดหรือโดยไม่ทราบสาเหตุ
หรือในหมู่บ้านเดียวกันหรือพื้นที่ใกล้เคียงกันมีสุนัขหรือแมวป่วยหรือตายด้วยอาการคล้ายคลึงกันใน
ระยะเวลาห่างกันไม่เกิน 7 วัน ให้เจ้าของสัตว์แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสารวัตรหรือสัตวแพทย์
ภายในระยะเวลา 12 ชั่วโมง
3) ห้ามไม่ให้เจ้าของสัตว์หรือผู้ใดเคลื่อนย้ายสุนัขหรือแมวป่วยทั้งหมดไปจากบริเวณนั้น ใน
กรณีที่สุนัขหรือแมวตาย ให้เจ้าของสัตว์ควบคุมซากนั้นให้อยู่ ณ ที่ที่สัตว์ตาย และห้ามไม่ให้ผู้ใดเคลื่อน
ย้าย ชำ�แหละ หรือกระทำ�การอื่นใดแก่ซากสัตว์นั้น
ทั้งนี้ หากเจ้าของสัตว์ฝ่าฝืนมาตรา 22 อาจต้องโทษจำ�คุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000
บาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ รวมทั้ง หากฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตาม หรือไม่ดำ�เนินการตาม บทบัญญัติมาตรา 11
มาตรา 12 มาตรา 13 และมาตรา 14 อาจต้องได้รับโทษแล้วแต่กรณี
2. การดำ�เนินการภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535
เมื่อมีรายงานยืนยันตรวจพบโรคพิษสุนัขบ้าจากห้องปฏิบัติการและปศุสัตว์อำ�เภอได้ประกาศ
กำ�หนดเขตโรคระบาดชั่วคราว ชนิดโรคพิษสุนัขบ้า ตามความในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติ
โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 เรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า ให้ดำ�เนิน
การตามมาตรา 10 11 12 13 14 15 และ 16 แห่งพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 มี
รายละเอียดโดยสังเขป ดังนี้
บทที่ 5
24 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า”
1) สัตวแพทย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากสัตวแพทย์ ดำ�เนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษ
สุนัขบ้าให้กับสุนัขและแมวทุกตัว (ฉีด 100% ของประชากรสุนัขและแมว) ในพื้นที่ 5 กิโลเมตร รอบ
จุดเกิดโรค
2) เจ้าของสัตว์ควบคุมต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานท้องถิ่นภายใน 24 ชั่วโมง
เมื่อพบว่าสัตว์ของตัวเองถูกสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดเพื่อฉีดวัคซีน และเจ้าของสัตว์ควบคุม
ต้องสังเกตอาการสัตว์ควบคุมที่ถูกกัดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือนนับตั้งแต่เวลาที่ถูกกัด หากพบ
ว่าสัตว์ควบคุมนั้นมีอาการของโรคพิษสุนัขบ้า ตายหรือสูญหาย ต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่หรือ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อแจ้งต่อสัตวแพทย์เพื่อให้ดำ�เนินการ ดังนี้
2.1) ในกรณีตรวจสอบแล้วสัตว์ควบคุมดังกล่าวไม่แสดงอาการของโรคพิษสุนัขบ้าให้ฉีด
วัคซีน
2.2) ในกรณีที่สัตว์ควบคุมแสดงอาการสงสัย ให้สัตวแพทย์สั่งให้เจ้าของสัตว์ควบคุม
กักขังสัตว์โดยด่วน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วันและสัตวแพทย์ต้องตรวจอาการสัตว์ควบคุมอย่างต่อ
เนื่องทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพร่ของโรค
2.3) ในกรณีที่สัตว์ควบคุมแสดงอาการของโรค ให้สัตวแพทย์สั่งทำ�ลายแล้วเก็บตัวอย่าง
ส่งตรวจ
3) เจ้าของสัตว์ควบคุมต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 24 ชั่วโมง
เมื่อพบสัตว์ควบคุมแสดงอาการของโรคพิษสุนัขบ้าโดยนับตั้งแต่ที่พบสัตว์แสดงอาการ
4) พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำ�นาจทำ�ลายสัตว์ควบคุมที่แสดงอาการ
ของโรคพิษสุนัขบ้าในที่สาธารณะได้
5) สัตวแพทย์ นำ�หัวสัตว์ควบคุมที่ตายหรือมีเหตุสงสัยว่าตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้าส่งตรวจ
ชันสูตร
6) สัตวแพทย์สั่งให้เจ้าของสัตว์ควบคุมทำ�ลายซากสัตว์ควบคุมที่ตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้าด้วย
การฝัง
7) สัตวแพทย์แจ้งเจ้าพนักงานสาธารณสุขตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อเพื่อเป็นการป้องกัน
โรคพิษสุนัขบ้าที่จะเกิดกับคน
ทั้งนี้ หากเจ้าของสัตว์ควบคุมฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12
มาตรา 13 มาตรา 14 มาตรา 15 และมาตรา 16 อาจต้องได้รับโทษแล้วแต่กรณี
คู่มือสำ�หรับฝึกอบรม
25
ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535
เอกสารอ้างอิง
1. กรมควบคุมโรค, 2554. ชุดความรู้โรคพิษสุนัขบ้า, โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์
ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, กรุงเทพฯ
2. ธนวรรษ เทียนสิน, 2541, คู่มือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า, โรงพิมพ์
สิทธิประเสริฐ, กรุงเทพ
3. ประเสริฐ ทองเจริญ, 2523, หนังสือโรคพิษสุนัขบ้า, โรงพิมพ์อักษรสมัย, กรุงเทพฯ
4. ศูนย์โรคพิษสุนัขบ้า กรมปศุสัตว์, 2536. คู่มือการปฏิบัติงานโครงการป้องกันกำ�จัดโรคพิษ
สุนัขบ้า 2536
5. กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค, 2561, คู่มือการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคพิษ
สุนัขบ้าในสัตว์สำ�หรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, สำ�นักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์, กรุงเทพฯ
6. สำ�นักควบคุมป้องกัน และบำ�บัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์, 2559, ระบบสารสนเทศเพื่อการ
เฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า (Thai Rabies Net), Available:
http://www.thairabies.net. Date: 2016, November 28
7. สำ�นักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2559, รายงานโรคในระบบรายงาน 506, Available:
http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/506wk/y59/d42_4559.pdf. Date: 2016,
November 28
8. อมรพรรณ จัตุชัย, 2556, การจับบังคับสัตว์, วารสารโรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ หนองโพ, ครั้งที่ 9 Available:
http://vetnp.vet.ku.ac.th/attachments/260_%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8
%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%20KM%20%20%E0%B8%81%E0%B
8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8
%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%
B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B
7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99.
pdf. Date: 2016, November 30
9. Catherine M. B., Sally S., Paul E., Tom J.S., Faye E.S., 2016, Compendium
of Animal Rabies Prevention and Control, JAVMA, Vol 248, no.5.page505-517
10. Human Society Veterinary Medical Association, 2016, Physical Restraint
of Dog and Cat, Available: http://www.ruralareavet.org/PDF/Animal_Handling-Physical_
Restraint.pdf. Date: 2016, November 30

More Related Content

Similar to คู่มือฝึกอบรมอบรมอาสาโรคพิษสุนัขบ้า.pdf

คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009Adisorn Tanprasert
 
Final measle 30 07-11
Final measle 30 07-11Final measle 30 07-11
Final measle 30 07-11Aimmary
 
การควบคุมและป้องกันฟันผุ
การควบคุมและป้องกันฟันผุ การควบคุมและป้องกันฟันผุ
การควบคุมและป้องกันฟันผุ Dr.Ratchaneewan Sinawat Poomsa-ad
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสำหรับครอบครัว
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสำหรับครอบครัว แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสำหรับครอบครัว
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสำหรับครอบครัว Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วย ไข้เลือดออก (สำหรับครอบครัว)
แนวทางการดูแลผู้ป่วย ไข้เลือดออก (สำหรับครอบครัว)แนวทางการดูแลผู้ป่วย ไข้เลือดออก (สำหรับครอบครัว)
แนวทางการดูแลผู้ป่วย ไข้เลือดออก (สำหรับครอบครัว)chalunthorn teeyamaneerat
 
Surveillance Systems
Surveillance SystemsSurveillance Systems
Surveillance SystemsUltraman Taro
 
Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV Handbook
Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV HandbookMiddle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV Handbook
Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV HandbookUtai Sukviwatsirikul
 
2การจัดลำดับความสำคัญโรคติดต่อนำโดยแมลง
2การจัดลำดับความสำคัญโรคติดต่อนำโดยแมลง2การจัดลำดับความสำคัญโรคติดต่อนำโดยแมลง
2การจัดลำดับความสำคัญโรคติดต่อนำโดยแมลงนายสามารถ เฮียงสุข
 
โรคเอดส์
โรคเอดส์โรคเอดส์
โรคเอดส์tichana
 
โรคเอดส์
โรคเอดส์โรคเอดส์
โรคเอดส์tichana
 
Infectious epidemic
Infectious epidemicInfectious epidemic
Infectious epidemictaem
 
แนวทางการรักษาไข้มาลาเรีย ประเทศไทย 2558
แนวทางการรักษาไข้มาลาเรีย ประเทศไทย 2558แนวทางการรักษาไข้มาลาเรีย ประเทศไทย 2558
แนวทางการรักษาไข้มาลาเรีย ประเทศไทย 2558Utai Sukviwatsirikul
 

Similar to คู่มือฝึกอบรมอบรมอาสาโรคพิษสุนัขบ้า.pdf (20)

H1n1 For Safe 040852
H1n1 For Safe 040852H1n1 For Safe 040852
H1n1 For Safe 040852
 
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009
 
Final measle 30 07-11
Final measle 30 07-11Final measle 30 07-11
Final measle 30 07-11
 
Final measle 30 07-11
Final measle 30 07-11Final measle 30 07-11
Final measle 30 07-11
 
02 lepto
02 lepto02 lepto
02 lepto
 
การควบคุมและป้องกันฟันผุ
การควบคุมและป้องกันฟันผุ การควบคุมและป้องกันฟันผุ
การควบคุมและป้องกันฟันผุ
 
Rabies
RabiesRabies
Rabies
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสำหรับครอบครัว
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสำหรับครอบครัว แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสำหรับครอบครัว
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสำหรับครอบครัว
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วย ไข้เลือดออก (สำหรับครอบครัว)
แนวทางการดูแลผู้ป่วย ไข้เลือดออก (สำหรับครอบครัว)แนวทางการดูแลผู้ป่วย ไข้เลือดออก (สำหรับครอบครัว)
แนวทางการดูแลผู้ป่วย ไข้เลือดออก (สำหรับครอบครัว)
 
Basic epi 2018 10-07
Basic epi 2018 10-07Basic epi 2018 10-07
Basic epi 2018 10-07
 
Surveillance Systems
Surveillance SystemsSurveillance Systems
Surveillance Systems
 
Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV Handbook
Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV HandbookMiddle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV Handbook
Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV Handbook
 
2การจัดลำดับความสำคัญโรคติดต่อนำโดยแมลง
2การจัดลำดับความสำคัญโรคติดต่อนำโดยแมลง2การจัดลำดับความสำคัญโรคติดต่อนำโดยแมลง
2การจัดลำดับความสำคัญโรคติดต่อนำโดยแมลง
 
CPG Thai Tuberculosis 2543
CPG Thai Tuberculosis 2543CPG Thai Tuberculosis 2543
CPG Thai Tuberculosis 2543
 
Vis hib
Vis hibVis hib
Vis hib
 
Vis hib
Vis hibVis hib
Vis hib
 
โรคเอดส์
โรคเอดส์โรคเอดส์
โรคเอดส์
 
โรคเอดส์
โรคเอดส์โรคเอดส์
โรคเอดส์
 
Infectious epidemic
Infectious epidemicInfectious epidemic
Infectious epidemic
 
แนวทางการรักษาไข้มาลาเรีย ประเทศไทย 2558
แนวทางการรักษาไข้มาลาเรีย ประเทศไทย 2558แนวทางการรักษาไข้มาลาเรีย ประเทศไทย 2558
แนวทางการรักษาไข้มาลาเรีย ประเทศไทย 2558
 

คู่มือฝึกอบรมอบรมอาสาโรคพิษสุนัขบ้า.pdf

  • 1. 1 ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 คู่มือสำ�หรับฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์ เป็นผู้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์การดำ�เนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
  • 2. 2 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า” ที่ปรึกษา : นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์ธนวัฒน์ พันธุ์สนิท ผู้อำ�นวยการสำ�นักควบคุม ป้องกันและบำ�บัดโรคสัตว์ สัตวแพทย์หญิงนพวรรณ บัวมีธูป ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสุขภาพสัตว์ และบำ�บัดโรคสัตว์ จัดทำ�โดย : กลุ่มควบคุมป้องกันโรคสัตว์เลี้ยง สำ�นักควบคุม ป้องกันและบำ�บัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ โทร. 0 2653 4444 ต่อ 4181-2 จัดพิมพ์โดย : กลุ่มควบคุมป้องกันโรคสัตว์เลี้ยง สำ�นักควบคุม ป้องกัน และบำ�บัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400 โทรศัพท์ 0-2653-4444 ต่อ 4181-4182 E-mail : dcontrol6@dld.go.th พิมพ์ที่ : เค.เอ็น อินเตอร์ปริ้นท์ เลขที่ 20 ซอยสามัคคี 49 แยก 2 ถนนสามัคคี แขวงท่าทราย อำ�เภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร. 02-115-6446 , 061-591-6259 E-mail : puvarin.kn@gmail.com, kninterprint@gmail.com
  • 3. 3 ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 บทนำ� หน้า 4 บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า หน้า 9 บทที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำ�หรับสัตว์ หน้า 13 บทที่ 3 ความรู้เกี่ยวกับการขนส่งและการเก็บรักษาคุณภาพวัคซีน สำ�หรับสัตว์ (Cold Chain) หน้า 17 บทที่ 4 การจับบังคับสุนัขและแมวเพื่อฉีดวัคซีน หน้า 20 บทที่ 5 การควบคุมโรคพิษสุนัขบ้ากรณีเกิดโรค หน้า 23 สารบัญ
  • 4. 4 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า” ด้วยศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงมีพระปณิธานเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในการดูแลทุกข์สุขของพสกนิกรชาวไทย รวมถึงสรรพชีวิตภายใต้ร่ม พระบารมีให้ได้รับความผาสุกตราบจนทุกวันนี้ และขออัญเชิญพระกระแสรับสั่งเมื่อครั้งเสด็จทอด พระเนตรการดำ�เนินงานของศูนย์ดูแลสุนัขจรจัดของกองทัพเรือ อำ�เภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2559 ว่า “ทรงห่วงใยปัญหาโรคพิษสุนัขบ้าที่เป็นปัญหาสำ�คัญของชาติ” และทรงมีพระประสงค์ให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทยรัฐบาลได้น้อมรับใส่เกล้า ฯ สนอง พระปณิธาน และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้มีคำ�สั่งที่ 214/ 2559 ลงวันที่ 29 กันยายน 2559 แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้าตามพระ ปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ซึ่งในเวลาต่อมา จึง ได้จัดทำ�เป็นโครงการยุทธศาสตร์การดำ�เนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เพื่อ ให้มีการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม การกำ�จัดโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ในระดับพื้นที่ จะต้องมีการเฝ้าระวังโรคอย่างมี ประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เช่น การสังเกตอาการสัตว์ป่วย การแจ้งพบสัตว์สงสัย การเก็บตัวอย่าง ส่งตรวจ เป็นต้น ส่วนการป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีนก็มีความสำ�คัญอย่างยิ่งเพราะจะต้องทำ�เชิง คุณภาพเท่านั้นถึงจะทำ�ให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันต่อโรคได้ เป็นต้นว่า การประเมินสุขภาพสัตว์ก่อนฉีด วัคซีน การควบคุมคุณภาพวัคซีนทั้งการขนส่งและการจัดเก็บ (ระบบห่วงโซ่ความเย็น หรือ Cold Chain) การฉีดวัคซีน (ชนิดวัคซีน โปรแกรมการฉีดวัคซีน และเทคนิคในการฉีด) นอกจากนี้ ยังรวม ถึงเทคนิคการจับสัตว์เพื่อนำ�มาฉีดวัคซีนหรือทำ�หมันทั้งการจับโดยใช้อุปกรณ์และใช้เวชภัณฑ์ก็มี ความสำ�คัญเนื่องจากเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2545 ซึ่งทั้งหมดนี้ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ มีเทคนิคหรือทักษะในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องถึงจะปฏิบัติ งานให้ได้ผลออกมาอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลต่อความสำ�เร็จในการกำ�จัดโรค พิษสุนัขบ้า บทนำ�
  • 5. 5 ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 คู่มือฉบับนี้ มีเนื้อหาประกอบด้วยขั้นตอนการพัฒนาอาสาสมัครที่จะปฏิบัติด้านการเฝ้า ระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลความรู้ต่างๆ ที่ใช้ในการฝึก อบรม ได้แก่ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สำ�หรับสัตว์ ความรู้เกี่ยวกับการข่นส่งและการเก็บรักษาคุณภาพวัคซีนสำ�หรับสัตว์ (Cold Chain) การเตรียมความพร้อมสำ�หรับฉีดวัคซีน ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการฉีดวัคซีน (การเตรียมวัคซีน และการฉีดวัคซีนเข้าสู่ตัวสัตว์) การจับบังคับสัตว์ การเฝ้าระวังโรค การสังเกตอาการสัตว์ป่วย การแจ้งพบสัตว์สงสัย การเก็บตัวอย่างส่งตรวจห้องปฏิบัติการ และการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า กรณีเกิดโรค การเตรียมความพร้อมของอาสาสมัครก่อนการปฏิบัติงาน ดังนั้น เพื่อให้การดำ�เนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์มีความ ครอบคลุมทุกพื้นที่ กรมปศุสัตว์จึงได้จัดทำ�โครงการฝึกอบรมเพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครด้านโรคพิษสุนัขบ้าขึ้น ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์การดำ�เนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรี สวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 1 การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุม โรคพิษสุนัขบ้า กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการบูรณาการการดำ�เนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการ เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ในทุกระดับ ซึ่งอาสาสมัครดังกล่าวจะได้รับมอบ หมายเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าถูกต้องตามกฎหมายพระราช บัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 ต่อไป กระบวนการสร้าง พัฒนาอาสาปศุสัตว์และการปฏิบัติงานเชิงคุณภาพ วิทยากร ฝึกอบรม ผ่านการ ฝึกอบรม การรักษา สถานภาพ อาสาปศุสัตว์ ทดสอบ สมรรถนะ และพัฒนา หน้าที่ คุณสมบัติ หลักสูตร ฝึกอบรม จับบังคับสัตว์ ฉีดวัคซีน เก็บตัวอย่าง ส่งตรวจ แจ้งพบโรค/ พบสัตว์สงสัย เฝ้าระวังโรค สื่อสาร/ ประชาสัมพันธ์ สำ�รวจสัตว์ กระบวนการสร้างและพัฒนา อาสาปศุสัตว์ การปฏิบัติงานเชิงคุณภาพ อาสาปศุสัตว์
  • 6. 6 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า” วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อบูรณาการการกำ�จัดโรคพิษสุนัขบ้าอย่างยั่งยืนในรูปแบบของความร่วมมือทั้งจาก ภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยการสร้างอาสาสมัครขึ้นใหม่และพัฒนาอาสาสมัครที่มีอยู่ เดิมให้มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการปฏิบัติงานด้านการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุม โรคพิษสุนัขบ้าครอบคลุมในทุกพื้นที่ของทุกจังหวัดโดยมีจำ�นวนเป้าหมายอย่างน้อย 2 คนต่อ ตำ�บล ส่วนพื้นที่ควบคุมโรคหรือพื้นที่เกิดโรคให้ดำ�เนินการฝึกอบรมอาสาฯ 3 คนต่อตำ�บล มีระยะเวลาดำ�เนินการระหว่างเดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ของปีถัดไป ทั้งนี้เนื่องจากกรมปศุสัตว์ ร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมควบคุมโรคได้กำ�หนดช่วงเวลาในการรณรงค์ ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (ฉีดวัคซีน) เป็นช่วงเดือนมีนาคม - กรกฎาคม ของทุกปี ดังนั้นอาสาสมัคร ที่ผ่านการฝึกอบรมแล้วก็จะสามารถปฏิบัติงานได้ทันที ขั้นตอนการดำ�เนินการ คุณสมบัติของอาสาสมัคร 1. มีอายุไม่ต่ำ�กว่า18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป 2. จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป สามารถอ่านออกเขียนได้ หรือมีประสบการณ์ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 1 ปี 3. มีมนุษยสัมพันธ์ดี เป็นที่ยอมรับของชุมชน 4. สามารถติดต่อประสานงานได้ดี 5. สมัครใจและเสียสละเพื่อช่วยเหลือการดำ�เนินงานด้านโรคพิษสุนัขบ้า บทบาทหน้าที่ของอาสาสมัคร 1. จับสุนัขและแมวโดยเฉพาะที่ไม่มีเจ้าของเพื่อนำ�มาฉีดวัคซีนหรือผ่าตัดทำ�หมัน 2. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 3. ช่วยเจ้าหน้าที่ในการสำ�รวจจำ�นวนประชากรสุนัขและแมว สำ�นักงานปศุสัตว์จังหว้ด 1. คัดเลือกอาสาปศุสัตว์ตามคุณสมบัติ 2. ฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ 3. มอบประกาศนียบัติให้กับผู้ผ่านการฝึกอบรม 4. มอบบัตรประจำ�ตัวอาสาปศุสัตว์ 5. มอบหนังสือมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษ สุนัขบ้า ตาม พ.ร.บ.โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. ๒๕๓๕ สำ�นักควบคุม ป้องกันและบำ�บัดโรคสัตว์ 1. จัดทำ�และอนุมัติโครงการฯ 2. เตรียมความพร้อมในการดำ�เนินงาน 3. สนับสนุนคู่มือประกอบการฝึกอบรม 4. สนับสนุนบัตรประจำ�ตัวอาสาปศุสัตว์ สำ�นักงานปศุสัตว์เขต 1 - 9 1. ประชุมชี้แจงและกำ�หนดแผนหรือแนวทางดำ�เนินการ ร่วมกับสำ�นักงานปศุสัตว์จังหวัด 2. สนับสนุนวิทยากรให้กับสำ�นักงานปศุสัตว์จังหวัดใน กรณีที่จังหวัดขอรับการสนับสนุน 3. กำ�กับ ติดตาม และประเมินผลร่วมกับสำ�นักควบคุม ป้องกันและบำ�บัดโรคสัตว์
  • 7. 7 ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 4. ช่วยเจ้าหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารและความรู้ต่างๆ 5. เป็นเครือข่ายในการเฝ้าระวังโรค แจ้งการพบโรคหรือพบสัตว์สงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า 6. เก็บตัวอย่างสัตว์สงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าส่งตรวจห้องปฏิบัติการ 7. เป็นผู้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับหมู่บ้าน และตำ�บล 8. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย การฝึกอบรม สำ�นักงานปศุสัตว์จังหวัดดำ�เนินการฝึกอบรม โดยใช้วิทยากรจากสำ�นักงานปศุสัตว์จังหวัด หรือสำ�นักงานปศุสัตว์อำ�เภอ หรือขอรับการสนับสนุนวิทยากรจากสำ�นักงานปศุสัตว์เขต หลักสูตรการฝึกอบรม เนื้อหาการฝึกอบรมให้ประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆ ที่สามารถนำ�ไปใช้ปฏิบัติงานจริง เช่น 1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า 2. ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำ�หรับสัตว์ 3. ความรู้เกี่ยวกับการข่นส่งและการเก็บรักษาคุณภาพวัคซีนสำ�หรับสัตว์ (Cold Chain) 4. การเตรียมความพร้อมของอาสาสมัครก่อนการปฏิบัติงาน 5. การประเมินสุขภาพสุนัขและแมวเบื้องต้นก่อนการฉีดวัคซีน 6. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการฉีดวัคซีน (การเตรียมวัคซีนและเทคนิคในการฉีดวัคซีน) 7. การจับบังคับสุนัขและแมวเพื่อฉีดวัคซีน 8. การเฝ้าระวังโรค การสังเกตอาการสัตว์ป่วย การแจ้งพบสัตว์สงสัย การเก็บตัวอย่าง ส่งตรวจห้องปฏิบัติการ 9. การควบคุมโรคพิษสุนัขบ้ากรณีเกิดโรค การเตรียมความพร้อมของอาสาสมัครก่อน การปฏิบัติงาน
  • 8. 8 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า” การดำ�เนินการเมื่ออาสาสมัครผ่านการฝึกอบรม 1. มอบประกาศนียบัตรให้กับผู้ผ่านการฝึกอบรมซึ่งลงนามในใบประกาศฯโดยปศุสัตว์ จังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย 2. มอบบัตรประจำ�ตัวให้กับอาสาสมัคร (ลงนามโดยปศุสัตว์จังหวัดเท่านั้น) โดยกำ�หนด ให้บัตรฯ มีอายุได้ไม่เกิน 1 ปี 3. สัตวแพทย์มอบหนังสือมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระ ราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 4. จัดทำ�ทะเบียนหรือฐานข้อมูลอาสาปศุสัตว์ตามฟอร์มหรือแบบรายงานส่งให้กรมปศุสัตว์ 5. อาสาปศุสัตว์จะต้องได้รับการฝึกอบรมเป็นประจำ�ทุกปี ซึ่งมีการทดสอบก่อน-หลัง การฝึกอบรมทุกครั้ง สรุปขั้นตอนการสร้างและพัฒนาอาสาปศุสัตว์ (ด้านโรคพิษสุนัขบ้า) คุณสมบัติอาสาปศุสัตว์ 1. มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป 2. จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปที่ 6 ขึ้นไป 3. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า1ปี 4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นที่ยอมรับของชุมชน 5. สามารถติดต่อประสานงานได้ดี การคัดเลือกอาสาฯ การฝึกอบรม การขึ้นทะเบียน การปฏิบัติงาน การขึ้นทะเบียน 1. ขึ้นทะเบียนที่สำ�นักงานปศุสัตว์จังหวัด 2. เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียน ได้แก่ บัตรประชาชน, ใบประกาศนียบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรม 3. ขึ้นทะเบียนแล้วจะได้รับบัตรประจำ�ตัวอาสาฯ 4. รับใบมอบหมายให้ฉีดวัคซีนจากสัตวแพทย์ หลักสูตรการฝึกอบรม 1. ความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า 2. การจับบังคับสัตว์ 3. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 4. การเฝ้าระวังโรคทางอาการ การแจ้งโรค 5. การเก็บตัวอย่างส่งตรวจ 6. การสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้ ประชาสัมพันธ์ หน้าที่ของอาสาปศุสัตว์ 1. สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า แก่ประชาชน 2. จับบังคับสัตว์เพื่อนำ�มาผ่าตัดทำ�หมัน ฉีดวัคซีน ฯลฯ 3. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 4. เป็นเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ และแจ้งพบโรคไปยังสัตวแพทย์ 5. เก็บตัวอย่างสัตว์ป่วยสงสัยเป็นโรคพิษสุนับ้าส่งตรวจ ห้องปฏิบัติการ 6. ปฏิบัติงานอื่นๆ
  • 9. 9 ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) โรคพิษสุนัขบ้า หรือที่ชาวบ้าน ทั่วๆ ไปนิยมเรียกว่า “โรคกลัวน้ำ�” (Hydrophobia) เป็นโรคติดเชื้อของ ระบบประสาทส่วนกลางที่มีอันตราย ร้ายแรงถึงชีวิต พบในสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมทุกชนิดทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ ป่าและยังสามารถติดต่อมาสู่มนุษย์ได้ พาหะนำ�โรคที่สำ�คัญในประเทศไทย คือ สุนัขและแมว (สำ�นักควบคุม ป้องกัน และบำ�บัดโรคสัตว์, 2559) ส่วนในต่างประเทศมักเกิดจากสัตว์ ป่า เช่น สุนัขจิ้งจอก สุนัขป่า ตัวแรค คูณ เป็นต้น (กรมควบคุมโรค, 2554) และสำ�หรับในประเทศทวีปอเมริกา นั้น พาหะที่สำ�คัญคือ ค้างคาว (WHO, 2016) สาเหตุและการติดต่อของโรคพิษสุนัขบ้า โรคพิษสุนัขบ้าแพร่เชื้อจากสัตว์ไปสู่มนุษย์หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวอื่นผ่านทาง น้ำ�ลาย เช่น ผ่านทางการกัด โดยเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าที่อยู่ในน้ำ�ลายจะเข้าสู่บาดแผลและ ผ่านเข้าสู่เส้นประสาทส่วนปลายผ่านไขสันหลัง และเข้าสู่สมอง หลังจากนั้นเชื้อไวรัสจะแบ่ง ตัวในสมองและปล่อยเชื้อไวรัสไปตามแขนงเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะต่อมน้ำ�ลายและเพิ่มจำ�นวนในเซลล์ของต่อมน้ำ�ลาย โดยสัตว์สามารถแพร่เชื้อผ่าน ทางน้ำ�ลายได้ 1-10 วันก่อนแสดงอาการป่วยออกมาให้เห็น และตลอดระยะเวลาที่สัตว์แสดง อาการป่วยจากโรคพิษสุนัขบ้า บทที่ 1
  • 10. 10 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า” ระยะฟักตัวของโรคพิษสุนัขบ้า ระยะฟักตัวของโรคพิษสุนัขบ้าเป็นระยะเวลานับตั้งแต่เชื้อโรคไวรัสเข้าสู่ร่างกายจนก่อ ให้แสดงอาการของโรคโดยสามารถพบได้ตั้งแต่ระยะไม่กี่วัน จนถึงระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี ซึ่ง ระยะฟักตัวจะสั้นหรือยาวขึ้นกับปัจจัยบางประการ ได้แก่ ปริมาณของเชื้อไวรัส ความรุนแรง ของบาดแผล ปริมาณปลายประสาทที่ตำ�แหน่งของแผล และระยะทางจากแผลไปยังสมอง เช่น แผลที่หน้า ศีรษะ คอ และมือจะมีระยะฟักตัวที่สั้นกว่าแผลที่เท้า และการล้างแผลทันที จะมีส่วนช่วยลดจำ�นวนเชื้อลงได้มาก โดยล้างด้วยน้ำ�สะอาดและสบู่ อาการของโรคพิษสุนัขบ้า 1. อาการในสัตว์ 1.1 สุนัข อาการในสุนัขแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบดุร้าย และแบบเซื่องซึม โดย แบบดุร้ายจะพบได้บ่อยกว่าแบบเซื่องซึม โดยอาการของโรคแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ อาการระยะเริ่มแรก สุนัขจะมีนิสัยหรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เช่น จากที่เคย ร่าเริงแจ่มใสชอบคลุกคลีกับเจ้าของ มักจะมีอาการหงุดหงิด ไม่อยากเข้าใกล้เจ้าของ หลบซุกซ่อน ตัวอยู่ตามมุมมืด แสดงอาการเห่า ขู่ หรือกัด หวาดระแวง หวาดกลัว รูม่านตาขยายกว้างกว่า ปกติ มีการตอบสนองต่อแสงลดลง โดยสุนัขจะแสดงอาการเริ่มแรกนี้ประมาณ 2-3 วัน อาการระยะตื่นเต้น สุนัขมีอาการลุกลี้ลุกลน กระวนกระวาย พยายามจะหลบหนีจากที่อยู่ เดิม หากหลบหนีออกมาได้จะวิ่งอย่างไม่มีจุดหมาย มักแสดงอาการแปลกๆ เช่น งับลมหรือกัดกิน สิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ดิน หญ้า หรือแม้แต่เศษไม้อย่างบ้าคลั่ง หากจับกักขัง จะกัดกรงอย่างรุนแรงจนเกิดบาดแผลที่ปาก หรือฟันหักโดยไม่แสดงความเจ็บปวด เสียงเห่าหอน จะผิดไปเนื่องจากเกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อกล่องเสียง ต่อมาจะเกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับ การเคี้ยวหรือการกลืน ทำ�ให้ลิ้นห้อยออกนอกปาก น้ำ�ลายไหล ลิ้นมีสีแดงคล้ำ�หรือมีร่องรอยของ ความบอบช้ำ� หรือมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ที่ลิ้น ระยะต่อมาลำ�ตัวจะแข็ง หางตก ขาหลังเริ่มอ่อน เปลี้ย ซึ่งเป็นอาการที่เริ่มเข้าสู่ระยะอัมพาต สุนัขจะแสดงอาการระยะตื่นเต้นอยู่ 1-7 วัน อาการระยะอัมพาต เป็นอาการระยะสุดท้ายของโรค สุนัขจะแสดงอาการขาหลังอ่อน เปลี้ย ในที่สุดจะล้มลงลุกไม่ได้ อาการอัมพาตจะเกิดจากส่วนท้ายของลำ�ตัวไปยังส่วนหัว สุนัข จะตายด้วยระบบหายใจล้มเหลว สุนัขที่แสดงอาการของโรคพิษสุนัขบ้าทั้ง 3 ระยะดังกล่าวนี้ ตั้งแต่เริ่มสังเกตเห็นอาการมักอยู่ได้ไม่เกิน 10 วัน สุนัขที่แสดงอาการระยะตื่นเต้นชัดเจน มัก เรียกกันว่า “บ้าแบบดุร้าย” ซึ่งเป็นอาการที่พบเห็นได้มากกว่า “บ้าแบบซึม” (ประเสริฐ, 2523) 1.2 แมว การติดต่อของโรคพิษสุนัขบ้าในแมวมักเกิดจากการได้รับเชื้อทางน้ำ�ลายของ แมวหรือสัตว์อื่นที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า เชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าจะเริ่มถูกขับออกมาทางน้ำ�ลาย ของแมวในช่วงระยะ 1-5 วันก่อนแสดงอาการ (The Center for Food Security &Public Health, 2012) และจะมีอยู่ในน้ำ�ลายตลอดจน คู่มือสำ�หรับฝึกอบรม
  • 11. 11 ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) กระทั่งแมวตาย โดยทั่วไปพบว่าแมวที่เป็นโรคส่วนใหญ่จะแสดงอาการในระยะตื่นเต้นให้ เห็นเด่นชัดหรือเรียกว่าเป็นบ้าแบบดุร้ายมากกว่าแบบซึมซึ่งจะแสดงอาการในระยะอัมพาต (ประเสริฐ, 2523) โดยอาการของโรคพิษสุนัขในแมวแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ อาการระยะเริ่มแรก แมวที่ชอบคลุกคลีกับเจ้าของอาจกัดหรือข่วนเจ้าของโดยแสดง อาการอารมณ์ฉุนเฉียวฉับพลัน หรืออาจหลบซ่อนตัวในที่มืด อาการระยะนี้จะเป็นเพียงระยะ เวลาสั้นๆไม่เกิน 1 วัน อาการระยะตื่นเต้น แมวจะเริ่มมีอาการกล้ามเนื้อสั่น กล้ามเนื้อเริ่มทำ�งานไม่สัมพันธ์ กัน ตามด้วยอาการทางระบบประสาท ดุร้าย ถ้ากักขังจะแสดงอาการท่าทีพร้อมที่จะกัดหรือ ข่วน โดยเฉพาะเมื่อมีวัตถุเคลื่อนไหวผ่าน และมีอาการกลืนลำ�บาก น้ำ�ลายไหลเนื่องจาก เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเคี้ยวและการกลืน โดยทั่วไประยะนี้จะแสดงอาการ ประมาณ 2-4 วัน หลังจากนั้นจะเข้าสู่ระยะอัมพาต อาการระยะอัมพาต แมวจะเริ่มแสดงอาการเกิดอัมพาตที่ส่วนท้ายของลำ�ตัวก่อนแล้ว แผ่ขยายไปยังส่วนลำ�ตัวและหัว จนเกิดอัมพาตทั่วตัวอย่างรวดเร็วแล้วและตายในที่สุด 1.3 โค - กระบือ อาการที่พบ คือ ไม่กินหญ้า กระสับกระส่าย ตื่นเต้น กล้ามเนื้อเกร็ง กระตุก อาจวิ่งไล่ชนสิ่งต่างๆ แสดงอาการคันบริเวณที่เคยถูกกัด โดยเอาบริเวณนั้นไปถูไถกับ คอกบ่อยๆ มีอาการคล้ายมีสิ่งแปลกปลอมติดคอ มีน้ำ�ลายไหล กัดฟัน ชอบขึ้นขี่ตัวอื่น ท้อง ป่องเนื่องจากมีแก๊สสะสมในกระเพาะมาก หางบิด ขาอ่อน อัมพาต และตายภายใน 1-6 วัน หลังแสดงอาการ 1.4 แพะ - แกะ อาการที่พบ คือ ไม่กินหญ้า กระวนกระวาย ตื่นเต้น ดุกว่าปกติ ชอบ ขึ้นขี่ตัวอื่น ตาเบิกกว้าง จ้องนิ่ง ชอบเอาเท้าโขกพื้น เลียบริเวณที่ถูกกัดบ่อยๆ อัมพาตล้มลง ตายภายใน 5-6 วันหลังแสดงอาการ 1.5 ม้า - ลา มักพบอาการตื่นเต้น ดุร้าย กัดคนหรือสัตว์อื่น คันบริเวณที่ถูกกัดโดยสัตว์จะ เอาบริเวณนั้นถูไถคอก หรืออาจกัดจนเป็นแผลหรือเนื้อหลุดได้ ไวต่อเสียงมาก เอาเท้าโขกพื้น กัด รางอาหาร กินอุจจาระ ตาแดง จ้องนิ่ง อาจแสดงอาการท้องผูกเสียด (แก๊สในกระเพาะมาก) ชัก อัมพาตล้มลงตายภายใน 5-8 วันหลังแสดงอาการ (ธนวรรษ, 2541) 1.6 สุกร อาการที่พบ คือ จะมีนิสัยเปลี่ยนไป บางรายดุร้ายขึ้น ตื่นเต้น ส่งเสียงร้อง เจ็บปวด น้ำ�ลายไหลมาก กระวนกระวาย ไวต่อการตอบสนองสิ่งแวดล้อม โดยอาการที่พบบ่อย คือ จะกระโดดขึ้นทันทีเมื่อตกใจ และอาจไล่กัดสุกรตัวอื่นภายในคอก หลังจากแสดงอาการจะตาย ภายใน 3-4 วัน 2. อาการในคน จำ�แนกอาการได้เป็น 3 ลักษณะ คือ 2.1 อาการแบบคลุ้มคลั่ง อาการระยะนี้จะดำ�เนินโรคอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ยมักเสีย ชีวิตใน 5 วัน โดยการวินิจฉัยอาการแบบคลุ้มคลั่ง ต้องมีอาการครบ ทั้ง 3 ประการ ดังนี้
  • 12. 12 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า” 1) ผู้ป่วยจะมีอาการสลับระหว่างภาวะปกติและภาวะกระวนกระวายต่อสิ่งเร้าไม่ว่าจะ เป็นเสียง แสง เป็นต้น อาการจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนผู้ป่วยอาจจะอาละวาด และผุดลุกผุด นั่ง ในระหว่างที่ผู้ป่วยอยู่ในภาวะปกติจะสามารถพูด คุย โต้ตอบได้ รู้เรื่องทุกอย่าง แต่ในภาวะ แสดงอาการผิดปกติผู้ป่วยจะพูดไม่ได้หรือไม่เข้าใจตนเอง สภาพเช่นนี้จะดำ�เนินไปประมาณ 2-3 วัน จากนั้นผู้ป่วยจะเริ่มซึม ไม่รู้สึกตัวในระยะ 24 ชั่วโมงสุดท้าย ความดันโลหิตต่ำ� 2) อาการกลัวน้ำ� กลัวลม ซึ่งจะเห็นได้ชัดขณะที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวเท่านั้น เมื่อผู้ป่วยเริ่ม แสดงอาการซึมอาการเหล่านี้ก็จะหายไป แต่ยังคงมีอาการถอนหายใจเป็นพักๆ ซึ่งเกิดขึ้นเอง และเป็นอาการสำ�คัญซึ่งช่วยในการวินิจฉัย 3) อาการขนลุกเป็นบางส่วนหรือทั้งตัว รูม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสง ซึ่งรูม่านตาอาจ ขยายเต็มที่หรือหดตัวเต็มที่ น้ำ�ลายมากผิดปกติจนต้องบ้วน หรือถ่มเป็นระยะ นอกจากนั้น จะมีอาการคันเฉพาะที่ตรงถูกสัตว์กัดหรืออาจจะปวดแสบปวดร้อน ปวด ลึกๆ ซึ่งแพร่กระจายไปทั่วแขน ขา หรือเฉพาะบริเวณที่ถูกกัด 2.2 อาการแบบอัมพาต จะสังเกตเห็นอาการอ่อนแรงของแขนขา จากนั้นความรุนแรง ของโรคจะเพิ่มขึ้นจนผู้ป่วยเสียชีวิต เนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว โดยเฉลี่ยเสียชีวิตในระยะ เวลาประมาณ 13 วัน 2.3 กลุ่มที่ไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ไม่สามารถวินิจฉัยได้จากอาการ ถือเป็นกลุ่มที่มี ความยากลำ�บากที่สุดในการวินิจฉัย มีทางเดียวเท่านั้นที่จะวินิจฉัยได้ คือ การตรวจยืนยันทางห้อง ปฏิบัติการ การตรวจด้วยคอมพิวเตอร์สนามแม่เหล็กไฟฟ้าของสมอง (MRI) อาจพบความผิดปกติ ของสมอง อย่างไรก็ดีความผิดปกติของสมองที่แสดงผลใน MRI สามารถพบได้ทั้งในสามกลุ่ม การรักษาและการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ไม่ว่าจะในสัตว์หรือคน โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในสัตว์ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน หากถูกกัดแนะนำ�ให้ทำ�การการุณฆาต (Catherine et.al., 2016) เพราะถึงแม้ว่าจะมีการใช้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าฉีดให้แก่สัตว์ภายหลังถูกสัตว์ที่เป็นบ้า ผลที่ได้ไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่สัตว์ได้รับวัคซีนหลังจากถูกกัด โปรแกรมวัคซีน ความ รุนแรงของบาดแผล ตำ�แหน่งของบาดแผล สุขภาพสัตว์หรือชนิดของสัตว์ที่รับเชื้อ ดังนั้นการ ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยเราสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษ สุนัขบ้าให้แก่สัตว์เป็นประจำ�ทุกปี ควบคู่ไปกับการระวังอย่าให้ถูกสัตว์ที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้ากัด การทำ�ลายเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า เชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าเมื่อออกจากร่างกายสัตว์ป่วยจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานจะถูกทำ�ลาย ได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน แสงแดด หรือยาฆ่าเชื้อ ได้แก่ ฟอร์มาลีน แอลกอฮอล์ 70% ไลโซล กรดหรือด่างอย่างแรง หรือไฮเปอร์คลอไรท์ 10% (น้ำ�ผสมคลอรีนไฮเตอร์ หรือคลอร็อคในอัตราส่วน 1 ส่วนต่อน้ำ� 9 ส่วน) (ธนวรรษ, 2541) คู่มือสำ�หรับฝึกอบรม
  • 13. 13 ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำ�หรับสัตว์ 1. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำ�หรับสัตว์ (Rabies Vaccine) คุณลักษณะของวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำ�หรับสัตว์ 1.1 วัคซีนที่มีจำ�หน่ายในประเทศทั้งหมดเป็นวัคซีนชนิดน้ำ�แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ น้ำ�สีขาวและน้ำ�สีแดงอ่อน 1.2 เป็นวัคซีนเชื้อตายที่ผลิตจากเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies virus) 1.3 ได้รับการขึ้นทะเบียนตำ�รับยาจากกระทรวงสาธารณสุข 1.4 มีความแรง (Potency) ไม่น้อยกว่า 1 IUต่อมิลลิลิตร 1.5 มีความคุ้มโรคในสัตว์ที่ได้รับการฉีดวัคซีนนานอย่างน้อย 1 ปี 1.6 อุณหภูมิการเก็บรักษาอู่ในช่วง +2 ถึง +8 องศาเซลเซียส 2. วีธีการเตรียมวัคซีนไปใช้ 2.1 เตรียมวัคซีนให้พอเหมาะกับจำ�นวนสัตว์เป้าหมายในแต่ละครั้ง ถ้าวัคซีนเหลือ ควรใช้ให้หมดโดยเร็วในครั้งต่อไป 2.2 การจัดเก็บและการขนส่งวัคซีนเพื่อนำ�ไปปฏิบัติงานให้ใช้หีบเย็น (vaccine cold box) กล่องโฟม กระติกวัคซีน หรือกระเป๋าเก็บความเย็น 2.3 ห้ามให้ขวดวัคซีนสัมผัสกับน้ำ�แข็งหรือน้ำ�แช่น้ำ�แข็งโดยตรง 2.4 หลีกเลี่ยงการให้ขวดวัคซีนสัมผัสแสงแดด 2.5 การจัดเรียงวัคซีนในหีบเย็น กระติกวัคซีน กล่องโฟม หรือกระเป๋าเก็บความเย็น - วางไอซ์แพคที่เริ่มละลายแล้ว (มีหยดน้ำ�เกาะที่ผิว) ด้านข้างทั้ง 4 ด้าน รวมทั้งด้าน บน-ล่าง (กรณีเป็นหีบเย็น/กล่องโฟมใบใหญ่) - ห่อวัคซีนแล้วนำ�ไปวางไว้ตรงกลางภาชนะที่เตรียมไว้ - ปิดฝาให้สนิทและวางไว้ในที่ร่ม บทที่ 2
  • 14. 14 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า” 3. ขั้นตอนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ 3.1 จัดทำ�แผนการฉีด โดยกำ�หนดพื้นที่ สำ�รวจจำ�นวนสัตว์เป้าหมาย การปิดประกาศ กำ�หนดเขตท้องที่ทำ�การฉีดวัคซีนโดยไม่เสียค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 เป็นต้น 3.2 ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ 3.3 เตรียมวัคซีน เวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ เช่น เข็ม กระบอกฉีดยา สำ�ลี แอลกอฮอล์ บัตรวัคซีน เหรียญเครื่องหมายประจำ�ตัวสัตว์ กระติกน้ำ�แข็ง ไอซ์แพคหรือน้ำ�แข็ง ขวดสำ�หรับ ใส่เข็มที่ใช้แล้ว ถุงขยะ เป็นต้น 3.4 จัดเรียงวัคซีนลงในกระติกหรือกระเป๋าวัคซีนให้เป็นไปตามคำ�แนะนำ�ในการเก็บ รักษาและขนส่งวัคซีน 3.5 สอบถามประวัติสัตว์จากเจ้าของสัตว์ เช่น ชื่อ อายุ เพศ พันธ์ ประวัติการฉีด วัคซีน การฉีดวัคซีนครั้งสุดท้าย และอาการสุนัข แมว ณ ปัจจุบัน 3.6 ตรวจสุขภาพสุนัข - แมว พื้นฐาน เช่น วัดอุณหภูมิ (อุณหภูมิปกติ101 - 102 องศาฟาเรนไฮน์) สัตว์ที่จะฉีดวัคซีนได้จะต้องมีสุขภาพดี ไม่ป่วย 3.7 เตรียมวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยดูดวัคซีนออกจากขวดวัคซีน 1. วัคซีน (Vaccine) มีคุณภาพในการกระตุ้น ภูมิคุ้มกัน การเก็บรักษาคุณภาพ ทุกขั้นตอนของระบบ ห่วงโซ่ความเย็น (Cold Chain) มีจำ�นวนเพียงพอกับ จำ�นวนสัตว์เป้าหมาย 2. วิธีการฉีดวัคซีน (Vaccination) วิธีการฉีดที่ถูกต้อง ฉีดวัคซีนเข้าสู่ตัวสัตว์เต็มขนาด (Dose) มีจำ�นวนเพียงพอ ฉีดตรงตามโปรแกรม ฉีดต่อเนื่องตลอดชีวิตสัตว์ ฉีดได้ครอบคลุมอย่างน้อย 80% ของจำ�นวนสัตว์ อาสาปศุสัตว์         3. ผู้ฉีดวัคซีน (Vaccinator) คนฉีดวัคซีนถูกต้องตามกฎหมาย (เป็นสัตวแพทย์หรือผู้ได้รับมอบหมายจากสัตวแพทย์ ตามพระราชบัญญัติ โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535) คนฉีดมีคุณภาพ ผ่านการฝึกอบรม มีความรู้ และมีทักษะในการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง คนฉีดมีจำ�นวนครอบคลุม สอดคล้องกับจำ�นวนสัตว์ที่จะฉีดวัคซีน      คู่มือสำ�หรับฝึกอบรม
  • 15. 15 ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 บทที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำ�หรับสัตว์ 3.8 ให้เจ้าของหรืออาสาสมัครจับบังคับสุนัข หรือแมว ตามขั้นตอนการจับบังคับสัตว์ 3.9 ดำ�เนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 3.9.1 ใช้วิธีการฉีดเข้าใต้หนัง ซึ่งสามารถฉีดได้ง่าย และสะดวกกว่าการฉีดเข้า ทางอื่นๆ ทำ�ให้สุนัข - แมวเจ็บน้อยกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แม้ว่าการดูดซึมทางผิวหนังจะช้า กว่าการฉีดเข้าทางอื่น แต่จัดเป็นวิธีการที่เหมาะสมต่อการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 3.9.2 ตำ�แหน่งที่ฉีดส่วนใหญ่คือบริเวณด้านบนลำ�ตัวหลังขาหน้า หน้าขาหน้า และหน้าขาหลังซึ่งเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมาก 3.10 ขั้นตอนการฉีดวัคซีน 3.10.1 ใช้มือข้างที่ถนัดถือกระบอกยาที่เตรียมวัคซีนไว้และใช้มืออีกข้างหนึ่งเช็ด บริเวณที่จะฉีดด้วยสำ�ลีชุบแอลกอฮอล์ 70 % 3.10.2 จากนั้นใช้มืออีกข้างหนึ่งดึง หรือขยุ้มผิวหนังขึ้นมาเล็กน้อยเพื่อให้ใต้ผิวหนัง เกิดเป็นโพรง 3.10.3 แทงเข็มเข้าบริเวณดังกล่าวโดยก่อนฉีดวัคซีนเข้าไปควรดึงก้านกระบอก ฉีดถอยหลังเล็กน้อยเพื่อตรวจสอบว่าปลายเข็มฉีดยาไม่ได้แทงเข้าหลอดเลือดในบริเวณนั้น หากไม่พบมีเลือดไหลย้อนกลับให้ฉีดยาเข้าตัวสุนัข-แมวได้ 3.11 บันทึกข้อมูลการฉีดในใบรับรองการฉีดวัคซีนและชี้แจงกำ�หนดการฉีดครั้งต่อไป แก่เจ้าของสัตว์ สรุปขั้นตอนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การดูดวัคซีนออกจากขวด วัคซีน การฉัดวัคซีนเข้าชั้นใต้ ผิวหนังสุนัข-แมว  
  • 16. 16 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า” เริ่มต้นการฉีดในลูกสุนัขหรือแมว (อายุน้อยกว่า 1 ปี) เริ่มต้นอายุประมาณ 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือนกรณีฉีดก่อนอายุ 3 เดือนให้ฉีด ซ้ำ�ที่อายุ 12 เดือนในกรณีพื้นที่เสี่ยง* ให้กระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยการฉีดวัคซีนซ้ำ� ที่ 2-4 สัปดาห์ หลังการทำ�วัคซีนเข็มแรก เริ่มต้นอายุประมาณ 12 สัปดาห์ และ กระตุ้นซ้ำ� 1 ปี หลังจากนั้น เริ่มต้นการฉีดในสุนัขหรือแมวโตเต็มวัย (อายุมากกว่า 1 ปี) สามารถฉีดได้ทันที ในกรณีพื้นที่เสี่ยง* ให้กระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยการฉีดวัคซีนซ้ำ� ที่ 2-4 สัปดาห์หลังการทำ�วัคซีนเข็มแรก สามารถฉีดได้ทันที และกระตุ้นซ้ำ� 1 ปี หลังจากนั้น การกระตุ้นภูมิคุ้มกันประจำ�ปี กระตุ้นวัคซีนป้องกันโรคพิษ สุนัขบ้าปีละ 1 ครั้ง กระตุ้นวัคซีนป้องกันโรคพิษ สุนัขบ้าปีละ 1 ครั้ง ชนิดสัตว์ สุนัข แมว โปรแกรมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ (WSAVA, 2016) หมายเหตุ : *ประเทศไทยจัดเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 หลักฐานที่เจ้าของสัตว์ต้องได้รับหลังจากสุนัข และแมวได้รับการฉีดวัคซีน คู่มือสำ�หรับฝึกอบรม
  • 17. 17 ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 ความรู้เกี่ยวกับการขนส่งและการเก็บรักษา คุณภาพวัคซีนสำ�หรับสัตว์ บทที่ 3 ระบบลูกโซ่ความเย็น (Cold Chain System) เป็นระบบที่จะทำ�ให้วัคซีนอยู่ บนอุณหภูมิที่เหมาะสมตลอดเวลา ทั้งใน ขณะจัดเก็บและการขนส่งวัคซีน ระบบนี้ ประกอบไปด้วยการจัดเก็บและการขนส่ง ที่เชื่อมต่อกัน ซึ่งได้ออกแบบให้วัคซีนอยู่ ในอุณหภูมี่ถูกต้องเหมาะสมจนกระทั่งถึง ตัวสัตว์ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ความสำ�คัญของระบบลูกโซ่ความเย็น 1. วัคซีนเสื่อมสภาพได้ง่ายเมื่อ เวลาผ่านไปความแรงของวัคซีน (potency) จะลดลง 2. อุณหภูมิที่สูงขึ้น จะทำ�ให้ความ แรงของวัคซีน (potency) ลดลงเร็วขึ้น 3.วัคซีนบางชนิดจะสูญเสียความ แรงทันทีถ้าอยู่ในอุณหภูมิที่ทำ�ให้แข็งตัว (Freezing) 4. เมื่อวัคซีนเสื่อมสภาพจากอุณหภูมิที่ทำ�ให้แข็งตัว (Freezing) ฉีดแล้วจะเกิด เป็นไตแข็ง ดังนั้น การจัดเก็บการขนส่งวัคซีนที่ไม่เหมาะสม จะทำ�ให้เกิดความเสี่ยงต่อสัตว์ที่จะ ได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ไม่มีคุณภาพ คู่มือสำ�หรับฝึกอบรม
  • 18. 18 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า” 1. วิธีการจัดเก็บวัคซีนในตู้เย็น 1.1 สภาพที่เหมาะสมในการเก็บรักษาวัคซีน คือ +2 ถึง +8 องศาเซลเซียส 1.2 แขวนเทอร์โมมิเตอร์ไว้ในตู้เย็น ตรง ตำ�แหน่งกึ่งกลางของช่องเย็นธรรมดา 1.3 บันทึกอุณหภูมิตู้เย็นอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็นทุกวัน 1.4 เก็บวัคซีนไว้ข้างในส่วนลึกของช่อง ธรรมดาของตู้เย็น 1.5 ห้ามเก็บวัคซีนไว้ในช่องแช่แข็ง เพราะ จะทำ�ให้วัคซีนเสื่อมสภาพ 1.6 ห้ามเก็บวัคซีนไว้ช่องใต้ช่องแช่แข็ง เพราะจะทำ�ให้วัคซีนเสื่อมสภาพ 1.7 ห้ามเก็บวัคซีนไว้แน่นตู้เย็น ควรมีระยะ ห่างของกล่องวัคซีนเพื่อให้ความเย็นกระจาย ได้ อย่างทั่วถึงและห้ามเปิดตู้เย็นโดยไม่จำ�เป็น 1.8 ห้ามเก็บอาหาร เครื่องดื่ม ยา หรือวัสดุอื่นๆ ไว้ในตู้เย็น 1.9 ถ้าตู้เย็นมีอุณภูมิผิดปกติ ให้ย้ายวัคซีนไปเก็บในตู้เย็นอื่นที่มีอุณหภูมิปกติ 1.10 ถ้ามีน้ำ�แข็งเกาะตู้เย็นหนาเกินกว่า 5 มิลลิเมตรในช่องแช่แข็ง ให้ละลายน้ำ�แข็งออก หีบเย็น (vaccine clod box) กระติกวัคซีน (vaccine carrier) 2. วิธีการจัดเก็บวัคซีนในหีบเย็นและกระติกวัคซีน 2.1 นำ�ไอซ์แพค (ice-packs) ใส่ด้านล่างและด้านข้างของหีบเย็นและกระติกวัคซีน ทั้ง 4 ด้าน โดยใช้ไอซ์แพคที่เริ่มละลายแล้วโดยสังเกตจากรอบนอกของไอซ์แพคที่เริ่มมีหยดน้ำ�เกาะและได้ยิน เสียงน้ำ�แข็งเวลาเขย่า ห้ามนำ�ไอซ์แพคที่พึ่งนำ�ออกจากช่องแช่แข็งมาใช้ทันที เพราะอาจทำ�ให้ อุณหภูมิของวัคซีนติดลบและเสื่อมคุณภาพได้ คู่มือสำ�หรับฝึกอบรม
  • 19. 19 ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 บทที่ 3 ความรู้เกี่ยวกับการขนส่งและการเก็บรักษาคุณภาพวัคซีนสำ�หรับสัตว์ ปัจจัยที่สำ�คัญ ได้แก่  การขนส่งที่ไม่เหมาะสม  สภาวะการเก็บรักษาวัคซีน  วัคซีนโดนแสงแดดโดยตรง  อุณหภูมิการเก็บรักษาไม่เหมาะสม  การนำ�วัคซีนไปใช้หน้างาน  การแพ็ควัคซีนไปใช้หน้างานอย่างไม่เหมาะสม  การเตรียมวัคซีนไปใช้มากเกินไป 2. ปัจจัยที่ทำ�ให้วัคซีนเสื่อมคุณภาพ 2.2 ห่อวัคซีนแล้วนำ�วัคซีนวางไว้ตรงกลางของหีบเย็นและกระติกวัคซีน ในส่วนของหีบเย็นให้วาง ไอซ์แพคด้านบน และด้านข้างควรใส่กระดาษหนาๆหรือฟิวเจอร์บอร์ดกั้นระหว่างไอซ์แพคและวัคซีน เพื่อป้องกันไม่ให้ไอซ์แพคติดกับขวดวัคซีนโดยตรงสำ�หรับกระติกวัคซีนไม่ต้องวางไอซ์แพคด้านบน 2.3 ปิดฝาให้สนิทและวางไว้ในที่ร่มเพื่อเตรียมขนส่ง
  • 20. 20 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า” บทที่ 4 การจับบังคับสัตว์ 1. การจับบังคับสุนัข (อมรพรรณ, 2556) 1.1 การเข้าหาสุนัข ควรเคลื่อนไหวอย่างนุ่มนวล ยื่นมือไประดับหน้าของสุนัข เพื่อให้สุนัข ดมกลิ่น ห้ามยื่นมือเข้าไปเหนือหัวสุนัขเพราะเป็นลักษณะของการท้าทาย ถ้าสุนัขแสดงท่าทีที่ เป็นมิตรก็สามารถลูบคลำ�หรือตบเบาๆ ที่คอได้ ห้ามตบหัวสุนัขเพราะเป็นการแสดงอำ�นาจที่ เหนือกว่า ซึ่งสุนัขที่ไม่คุ้นเคยอาจไม่ยอมรับ 1.2 การควบคุมและการผูกปากสุนัข 1) การผูกปากสุนัขให้ใช้แถบผ้า หรือเชือกที่ไม่มีคมผูกเป็นบ่วง 2) สวมปากสุนัข แล้วดึงให้ตึงพอ ประมาณ โดยให้ปมที่ผูกอยู่บนดั้งจมูก ของสุนัข 3) พันแถบผ้าหรือเชือกลงมาผูกใต้คาง อีกปมอย่าให้แน่นจนเกินไป แล้วอ้อมใต้ใบหู และจากนั้นผูก เป็นเงื่อนไว้บนหนังคอ
  • 21. 21 ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 1.3 การจับบังคับสุนัข 1) สุนัขขนาดใหญ่ (Human Society Veterinary Medical Association, 2016) 1.1) การบังคับสุนัขในท่านั่ง ให้ใช้แขนโอบรอบ ใต้คอสุนัข เพื่อให้แขนยึดหัวของสุนัขกับร่างกายผู้จับ บังคับสุนัข แล้วใช้แขนและมืออีกข้างหนึ่งจับยึดบริเวณ สะโพก และขาหลังของสุนัข เพื่อป้องกันไม่ให้สุนัขยืน หรือนอนลงในระหว่างดำ�เนินการ โดยพยายามดึงสุนัข ให้ใกล้กับหน้าอกเพื่อช่วยลดการเคลื่อนตัวของสุนัข (ตามภาพ) 1.2) การบังคับสุนัขในท่ายืน วางแขน ข้างหนึ่งใต้คอสุนัขเพื่อให้แขนยึดหัวของสุนัขให้ อยู่กับที่ เพื่อลดโอกาสที่สุนัขจะไปกัดผู้ดำ�เนินการ คนอื่นๆ และวางแขนอีกข้างหนึ่งใต้ท้องสุนัขเพื่อ ป้องกันไม่ให้สุนัขนั่งหรือนอนลงในช่วงดำ�เนินการ โดยพยายามดึงสุนัขให้ใกล้กับร่างกายเพื่อช่วยลด การเคลื่อนตัวของสุนัข (ตามภาพ) 1.3) การบังคับสุนัขในท่า นอนตะแคง ทำ�โดยเมื่อสุนัขอยู่ใน ท่ายืน ให้เอื้อมมือข้ามจากด้านหลัง ของสุนัขมาจับขาหน้า และขาหลัง ของสุนัข พยายามให้ลำ�ตัวสุนัข ใกล้กับตัวของผู้จับบังคับมากที่สุด แล้วค่อยๆ ยกขาของสุนัขออกจาก โต๊ะ (หรือพื้น) โดยให้ร่างกายของสุนัขค่อยๆ เลื่อนออกจากตัวผู้จับบังคับจนกระทั่งนอนลง และ ขาทั้ง 4 ข้าง ชี้ออกนอกตัวผู้จับบังคับใช้แขนทั้ง 2 ข้างในการกดควบคุม การเคลื่อนไหวของสุนัข (ตามภาพ) บทที่ 4 การจับบังคับสัตว์
  • 22. 22 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า” 2. สุนัขขนาดเล็ก (อมรพรรณ,2556) อาจใช้วิธีการอุ้มสุนัขแต่ต้อง แน่ใจว่าสุนัขไม่อยู่ในสภาพที่ตื่นกลัว แล้วใช้มือข้างหนึ่งสอดเข้าระหว่าง ขาหน้า  ขณะที่มืออีกข้างหนึ่งโอบ รอบขาหลังและสะโพกเพื่อไม่ให้สุนัข บิดตัวหรือถีบยกสุนัขขึ้นมือข้างหนึ่ง อยู่ที่หน้าอกและมืออีกข้างหนึ่งอยู่ที่ บั้นท้ายจะป้องกันไม่ให้สุนัขกระโดด ลงได้ (ตามภาพ) การจับบังคับแมว (Human Society Veterinary Medical Association, 2016) ใช้มือข้างหนึ่งจับบริเวณหนังคอแมวระหว่างหูทั้ง 2 ข้าง ซึ่งเป็นส่วนที่ผิวหนังหลวม สามารถจับยึดได้ง่าย และเป็นตำ�แหน่งที่แมวไม่สามารถหันหัวแว้งกัดได้ มืออีกข้างหนึ่งจับ ยึด 2 ขาหลังของแมว และดึงให้แมวเหยียดตัวออกโดยให้ขาทั้ง 4 ข้างออกนอกตัวผู้บังคับ พยายามให้แขนที่จับ 2 ขาหลัง กดแมวให้ติดกับพื้นหรือโต๊ะ เพื่อลดโอกาสเคลื่อนไหวของแมว (ตามภาพ) คู่มือสำ�หรับฝึกอบรม
  • 23. 23 ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 การควบคุมโรคในพื้นที่เกิดโรคพิษสุนัขบ้า 1. การดำ�เนินการภายใต้พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 เมื่อมีการรายงานยืนยันตรวจพบโรคพิษสุนัขบ้าจากห้องปฏิบัติการ อาศัยอำ�นาจตามความ ในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ปศุสัตว์อำ�เภอจะต้องประกาศกำ�หนด เขตโรคระบาดชั่วคราว ชนิดโรคพิษสุนัขบ้า ในสุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตรรอบจุดพบโรค โดยประกาศดังกล่าวมีกำ�หนดระยะเวลา 30 วัน ซึ่งเมื่อประกาศแล้ว เจ้าของ สัตว์หรือซากสัตว์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 22 และตามมาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 13 มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 มีรายละเอียดโดยสังเขป ดังนี้ 1) ห้ามไม่ให้ผู้ใดเคลื่อนย้ายสุนัขและแมวเข้า ออก หรือผ่านในเขตนั้น เว้นแต่ได้รับเป็น หนังสือจากสัตวแพทย์ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบประจำ�เขตนั้นทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้าย 2) เมื่อพบเห็นสุนัขหรือแมว ป่วยหรือตายโดยไม่รู้ว่าเป็นโรคระบาดหรือโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือในหมู่บ้านเดียวกันหรือพื้นที่ใกล้เคียงกันมีสุนัขหรือแมวป่วยหรือตายด้วยอาการคล้ายคลึงกันใน ระยะเวลาห่างกันไม่เกิน 7 วัน ให้เจ้าของสัตว์แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสารวัตรหรือสัตวแพทย์ ภายในระยะเวลา 12 ชั่วโมง 3) ห้ามไม่ให้เจ้าของสัตว์หรือผู้ใดเคลื่อนย้ายสุนัขหรือแมวป่วยทั้งหมดไปจากบริเวณนั้น ใน กรณีที่สุนัขหรือแมวตาย ให้เจ้าของสัตว์ควบคุมซากนั้นให้อยู่ ณ ที่ที่สัตว์ตาย และห้ามไม่ให้ผู้ใดเคลื่อน ย้าย ชำ�แหละ หรือกระทำ�การอื่นใดแก่ซากสัตว์นั้น ทั้งนี้ หากเจ้าของสัตว์ฝ่าฝืนมาตรา 22 อาจต้องโทษจำ�คุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ รวมทั้ง หากฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตาม หรือไม่ดำ�เนินการตาม บทบัญญัติมาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 13 และมาตรา 14 อาจต้องได้รับโทษแล้วแต่กรณี 2. การดำ�เนินการภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 เมื่อมีรายงานยืนยันตรวจพบโรคพิษสุนัขบ้าจากห้องปฏิบัติการและปศุสัตว์อำ�เภอได้ประกาศ กำ�หนดเขตโรคระบาดชั่วคราว ชนิดโรคพิษสุนัขบ้า ตามความในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติ โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 เรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า ให้ดำ�เนิน การตามมาตรา 10 11 12 13 14 15 และ 16 แห่งพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 มี รายละเอียดโดยสังเขป ดังนี้ บทที่ 5
  • 24. 24 หลักสูตร “การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมายให้ทำ�การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า” 1) สัตวแพทย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากสัตวแพทย์ ดำ�เนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษ สุนัขบ้าให้กับสุนัขและแมวทุกตัว (ฉีด 100% ของประชากรสุนัขและแมว) ในพื้นที่ 5 กิโลเมตร รอบ จุดเกิดโรค 2) เจ้าของสัตว์ควบคุมต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานท้องถิ่นภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อพบว่าสัตว์ของตัวเองถูกสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดเพื่อฉีดวัคซีน และเจ้าของสัตว์ควบคุม ต้องสังเกตอาการสัตว์ควบคุมที่ถูกกัดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือนนับตั้งแต่เวลาที่ถูกกัด หากพบ ว่าสัตว์ควบคุมนั้นมีอาการของโรคพิษสุนัขบ้า ตายหรือสูญหาย ต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่หรือ เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อแจ้งต่อสัตวแพทย์เพื่อให้ดำ�เนินการ ดังนี้ 2.1) ในกรณีตรวจสอบแล้วสัตว์ควบคุมดังกล่าวไม่แสดงอาการของโรคพิษสุนัขบ้าให้ฉีด วัคซีน 2.2) ในกรณีที่สัตว์ควบคุมแสดงอาการสงสัย ให้สัตวแพทย์สั่งให้เจ้าของสัตว์ควบคุม กักขังสัตว์โดยด่วน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วันและสัตวแพทย์ต้องตรวจอาการสัตว์ควบคุมอย่างต่อ เนื่องทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพร่ของโรค 2.3) ในกรณีที่สัตว์ควบคุมแสดงอาการของโรค ให้สัตวแพทย์สั่งทำ�ลายแล้วเก็บตัวอย่าง ส่งตรวจ 3) เจ้าของสัตว์ควบคุมต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อพบสัตว์ควบคุมแสดงอาการของโรคพิษสุนัขบ้าโดยนับตั้งแต่ที่พบสัตว์แสดงอาการ 4) พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำ�นาจทำ�ลายสัตว์ควบคุมที่แสดงอาการ ของโรคพิษสุนัขบ้าในที่สาธารณะได้ 5) สัตวแพทย์ นำ�หัวสัตว์ควบคุมที่ตายหรือมีเหตุสงสัยว่าตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้าส่งตรวจ ชันสูตร 6) สัตวแพทย์สั่งให้เจ้าของสัตว์ควบคุมทำ�ลายซากสัตว์ควบคุมที่ตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้าด้วย การฝัง 7) สัตวแพทย์แจ้งเจ้าพนักงานสาธารณสุขตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อเพื่อเป็นการป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้าที่จะเกิดกับคน ทั้งนี้ หากเจ้าของสัตว์ควบคุมฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 13 มาตรา 14 มาตรา 15 และมาตรา 16 อาจต้องได้รับโทษแล้วแต่กรณี คู่มือสำ�หรับฝึกอบรม
  • 25. 25 ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 เอกสารอ้างอิง 1. กรมควบคุมโรค, 2554. ชุดความรู้โรคพิษสุนัขบ้า, โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, กรุงเทพฯ 2. ธนวรรษ เทียนสิน, 2541, คู่มือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า, โรงพิมพ์ สิทธิประเสริฐ, กรุงเทพ 3. ประเสริฐ ทองเจริญ, 2523, หนังสือโรคพิษสุนัขบ้า, โรงพิมพ์อักษรสมัย, กรุงเทพฯ 4. ศูนย์โรคพิษสุนัขบ้า กรมปศุสัตว์, 2536. คู่มือการปฏิบัติงานโครงการป้องกันกำ�จัดโรคพิษ สุนัขบ้า 2536 5. กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค, 2561, คู่มือการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคพิษ สุนัขบ้าในสัตว์สำ�หรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, สำ�นักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์, กรุงเทพฯ 6. สำ�นักควบคุมป้องกัน และบำ�บัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์, 2559, ระบบสารสนเทศเพื่อการ เฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า (Thai Rabies Net), Available: http://www.thairabies.net. Date: 2016, November 28 7. สำ�นักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2559, รายงานโรคในระบบรายงาน 506, Available: http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/506wk/y59/d42_4559.pdf. Date: 2016, November 28 8. อมรพรรณ จัตุชัย, 2556, การจับบังคับสัตว์, วารสารโรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ หนองโพ, ครั้งที่ 9 Available: http://vetnp.vet.ku.ac.th/attachments/260_%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8 %A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%20KM%20%20%E0%B8%81%E0%B 8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8 %B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8% B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B 7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99. pdf. Date: 2016, November 30 9. Catherine M. B., Sally S., Paul E., Tom J.S., Faye E.S., 2016, Compendium of Animal Rabies Prevention and Control, JAVMA, Vol 248, no.5.page505-517 10. Human Society Veterinary Medical Association, 2016, Physical Restraint of Dog and Cat, Available: http://www.ruralareavet.org/PDF/Animal_Handling-Physical_ Restraint.pdf. Date: 2016, November 30