SlideShare a Scribd company logo
1 of 8
Download to read offline
15ปฏิทินกิจกรรม Activity
1ตุลาคม 2562 •
บทความ Article
สวทช. รักษ์โลก เปิดตัว
“ถุงพลาสติกย่อยสลายได้”
2
3
5
4
7
9
8
10
6
ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9
ในเล่ม Insight
11
สวทช. จับมือ สอว. ดึงผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ยกระดับหน่วยบ่มเพาะธุรกิจฯ ทั่วประเทศ
ธ.ก.ส. ร่วมกับ สวทช. หนุนพัฒนานวัตกรรมการเกษตรดิจิทัล
สวทช. ร่วมกับ จ.ปทุมฯ และเครือข่ายพันธมิตร จัดเวิร์คชอปเรียนรู้โค้ดดิ้งเรื่อง PM 2.5
สวทช. อว. ผนึก สยามพิวรรธน์ พีทีทีจีซี โชว์เครื่องกรองอากาศ ‘IonFresh’ ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก
สวทช. ผลักศูนย์น้องใหม่ NSD ขับเคลื่อน S-Curve ที่ 11
สวทช. จุดประกายนักวิทย์ฯน้อย ผ่าน Science Film Festival 2019
สวทช. ร่วมกับ TMA เปิดประเด็นนวัตกรรมอาหารเพื่อมนุษยชาติ
ในงาน Food Innopolis 2019 ตอกย้ำ�ยุทธศาสตร์ไทยสู่ครัวโลก
สวทช. ส่งต่อทูตเยาวชน JENESYS 2019 บินลัดฟ้าเรียนรู้ วทน. และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
ข่าว News
เอ็มเทค สวทช. ร่วมกับพันธมิตรโชว์นวัตกรรม “ถุงพลาสติกสลายตัวได้” ประเดิมงาน “กาชาดสีเขียว 62”
ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9
2 3nstda • October 2019 ตุลาคม 2562 •
ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9
เอ็มเทค สวทช. จับมือพันธมิตร โชว์นวัตกรรม
‘ถุงพลาสติกสลายตัวได้’ จากแล็บสู่
ใช้งานจริงประเดิมงาน “กาชาดสีเขียว 2562”
13 พฤศจิกายน2562 โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค : สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม (อว.)โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย (TBiA)
และพันธมิตรภาคเอกชนร่วมแถลงข่าว"ถุงพลาสติกสลายตัวได้สำ�หรับขยะอินทรีย์ จากแล็บสู่การขยายผลเพื่อใช้งานจริง” ซึ่งเป็นการนำ�"ถุงพลาสติกสลายตัวได้
สำ�หรับขยะอินทรีย์” ผลงานวิจัยของเอ็มเทค สวทช. ที่ร่วมกับ บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด พัฒนาสูตรพลาสติกชีวภาพมาแปรรูปเป็นพลาสติกและ
ทำ�การผสมสูตรเพื่อเพิ่มสมบัติทางวิศวกรรมให้เหมาะสมกับการนำ�ไปขึ้นรูปเป็นฟิล์มบาง โดยได้รับความร่วมมือจากภาคีอุตสาหกรรมพลาสติก ได้แก่ บริษัท
โททาล คอร์เบียน พีแอลเอ(ประเทศไทย) จำ�กัด และ บริษัท บีเอเอสเอฟ(ไทย) จำ�กัด ผู้สนับสนุนวัตถุดิบเม็ดพลาสติกชีวภาพ และบริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม
จำ�กัด (มหาชน) สนับสนุนกระบวนการเป่าขึ้นรูปถุงพลาสติกสลายตัวได้ สำ�หรับใช้แยกขยะอินทรีย์ใน “งานกาชาด 2562” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-24
พฤศจิกายนนี้ ที่สวนลุมพินี
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12895-20191113
เพราะอาหารที่เราบริโภคอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เป็นสิ่งที่ส่งผลถึงความอยู่ได้และอยู่ดีของมนุษย์ อาหารจึงเป็นเรื่องสำ�คัญสำ�หรับทุกหน่วยในสังคม
ปัจจุบันประชากรโลกกว่า821 ล้านคน จากทั้งหมด7,700 ล้านคน กำ�ลังเผชิญกับวิกฤตขาดแคลนอาหารทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ มีการคาดการณ์ว่าภายในปี
ค.ศ.2050 จำ�นวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น9,000 ล้านคน และเพิ่มขึ้นเป็น11,900 ล้านคนในปี ค.ศ.2100 จึงมีความกังวลเกี่ยวกับการผลิตอาหาร
ให้สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ รวมทั้งต้องคำ�นึงถึงการจำ�กัดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ
เพื่อเตรียมการสู่อนาคตและสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่กำ�หนดให้อุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เมืองนวัตกรรมอาหาร
หรือฟู้ดอินโนโพลิส สังกัดสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ร่วมกับ
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ได้จัดงานประชุมนานาชาติ Food Innopolis International Symposium 2019 ขึ้นเป็นครั้ง 2 ในประเทศไทย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12892-20191112
สวทช. ร่วมกับ TMA เปิดประเด็น
นวัตกรรมอาหารเพื่อมนุษยชาติ
ในงาน Food Innopolis 2019
ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9
4 5nstda • October 2019 ตุลาคม 2562 •
สวทช. จับมือ สอว. ดึงผู้เชี่ยวชาญระดับโลก
ยกระดับหน่วยบ่มเพาะธุรกิจฯ ทั่วประทศ
มุ่งเสริมขีดการแข่งขันผู้ประกอบการไทย
สวทช. ส่งต่อทูตเยาวชน JENESYS2019
บินลัดฟ้าเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) โดยงานส่งเสริมและพัฒนา
เด็กและเยาวชนที่มีศักยภาพสูง ฝ่ายพัฒนาบุคลากรวิจัย ให้ความร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำ�ประเทศไทย คัดเลือก16 เยาวชนไทยด้านวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเป็นทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ในโครงการ JENESYS 2019 ศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และวัฒนธรรมถึงประเทศญี่ปุ่น จำ�นวน 9 วัน ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2562 ณ กรุงโตเกียว และจังหวัดนีงาตะ ประเทศญี่ปุ่น โดยจัดพิธี
แสดงความยินดีและปฐมนิเทศทูตเยาวชน JENESYS 2019 เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเดินทาง เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 62 ที่ผ่านมา ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
นางอติพร สุวรรณ หัวหน้างานส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีศักยภาพสูง(JSTP) ฝ่ายพัฒนาบุคลากรวิจัย สวทช. เปิดเผยว่า สวทช. เป็นผู้ประสาน
การดำ�เนินโครงการคัดเลือกเยาวชนทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับสถานทูตญี่ปุ่นประจำ�ประเทศไทย มาตั้งแต่ปี 2015 ซึ่งตอนนี้ดำ�เนินการมา 5 ปีแล้ว โดยในปีนี้
ได้ทำ�การคัดเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโครงการต่างๆ ที่ สวทช. ดูแล
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12908-20191118-jenesys-2019
12 พฤศจิกายน2562 ที่โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพฯ: สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) โดยศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการ
ธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) ร่วมกับ สำ�นักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.)
สองหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) แถลงข่าวผลความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพการจัดการหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ
ใน “โครงการยกระดับขีดความสามารถของหน่วยบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีด้วยMaturityModel” ที่ดำ�เนินการต่อเนื่องเป็นปีที่2 จนครบทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
โดยการประเมินขีดความสามารถของหน่วยบ่มเพาะฯ ต่างๆ ทางโครงการฯ มอบหมายให้ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี สวทช. เป็นผู้ดำ�เนินการ
เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากหน่วยบ่มเพาะฯ โดยดึงผู้เชี่ยวชาญระดับสูงระดับโลกสถาบันCREEDA(ครีด้า) ประเมินและยกระดับขีดความสามารถหน่วยบ่มเพาะฯ
ตามอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคต่างๆ ด้วยรูปแบบ Maturity Model ที่ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การส่งเสริมกิจกรรมด้านการบ่มเพาะฯ ซึ่งปีนี้ดำ�เนินการไป
8 แห่ง ได้แก่ ม.วลัยลักษณ์ ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม ม.แม่ฟ้าหลวง ม.แม่โจ้ ม.นเรศวร ม.มหาสารคาม และ ม.เทคโนโลยีสุรนารี
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12898-20191112-1
ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9
6 7nstda • October 2019 ตุลาคม 2562 •
ธ.ก.ส. ร่วมกับ สวทช. หนุนพัฒนา
นวัตกรรมการเกษตรดิจิทัล
ธ.ก.ส. จับมือ สวทช. ร่วมพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมการเกษตรดิจิทัล เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ SMEs เกษตร
นำ�เทคโนโลยีมาเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของห่วงโซ่คุณค่าอุตสาหกรรมการเกษตร รวมถึงการพัฒนาทางการเงินและการสาธารณสุข
เพื่อนำ�ไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรกรไทย
21 พฤศจิกายน 2562 ณ โถงชั้น 2 ธ.ก.ส. สำ�นักงานใหญ่ บางเขน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมกับ สำ�นักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วย “ความ
ร่วมมือทางวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี” โดยมี นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กับ นายณรงค์
ศิริเลิศวรกุล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ร่วมลงนาม เพื่อร่วมมือและส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศด้านนวัตกรรม
การเกษตรดิจิทัล สุขภาพการแพทย์สาธารณสุข สังคม และองค์กร โดยใช้กลุ่มเทคโนโลยีเป้าหมาย หรือ Technology Development Groups (TDGs) นำ�ไป
วิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ข้อมูล ต่อยอดเพื่อสร้างความยั่งยืนและความสามารถในการแข่งขันให้แก่อุตสาหกรรมภาคเกษตรไทย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12909-20191121
22 พฤศจิกายน 2562 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศ จ.ปทุมธานี - สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.) ร่วมกับ สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต1(สพป.ปทุมธานี เขต1) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึง
หน่วยงานเอกชนที่ให้การสนับสนุนคือ มูลนิธินายห้างโรงปูนผู้หนึ่ง จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “แนวทางการจัดการเรียนรู้ Coding ด้วยสถานการณ์ PM2.5”
ระหว่างวันที่ 22 - 24 พฤศจิกายน 2562 เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี
ที่สร้างผลกระทบต่อสุขภาพและการดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน โดยเฉพาะกับเยาวชน ผู้สูงอายุ และประชาชนในพื้นที่ พร้อมสร้างความตระหนักและความรู้ความ
เข้าใจเรื่องสถานการณ์ PM2.5 ให้แก่บุคคลในพื้นที่ ด้วยการนำ�รูปแบบการเรียนรู้ที่ทันสมัยเรื่องโค้ดดิ้ง (Coding) กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
เรื่องค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน มาใช้เป็นแนวทางจัดการเรียนการรู้ในห้องเรียน จะส่งผลให้เด็กสนุกกับการเรียนรู้ได้มากยิ่งขึ้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12912-20191122-pm2-5
สวทช. ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ จ.ปทุมฯ
และเครือข่ายพันธมิตร จัดเวิร์คช็อป
เรียนรู้โค้ดดิ้งด้วยสถานการณ์ PM2.5
แก่ผู้บริหารและครูในพื้นที่
ธันวาคม 2562 ธันวาคม 2562ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9
8 9nstda • October 2019 ตุลาคม 2562 •
สวทช. ผลักศูนย์น้องใหม่ NSD
ขับเคลื่อน S-Curve ที่ 11 พัฒนานวัตกรรม
รับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
สวทช. อว. ผนึก สยามพิวรรธน์ พีทีทีจีซี
โชว์เครื่องกรองอากาศ ‘IonFresh’
ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก ใจกลางเมือง
โครงการ “Circular Living Campaign 2019”
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ผลักดันหน่วยงานใหม่ภายใต้
สวทช. ได้แก่ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ หรือ National Security and Dual-Use Technology Center (NSD)
เพื่อขับเคลื่อนNewS-Curve ที่11 การพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ตามนโยบายประเทศไทย4.0 ล่าสุดเปิดตัวศูนย์NSD พร้อมนำ�5 นวัตกรรมภายใต้ศูนย์ฯ
จัดแสดงในงาน Defense & Security 2019 และร่วมจัดสัมมนาให้ความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีกราฟีนกับการป้องกันประเทศ
ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม ผู้อำ�นวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์(NSD) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า ความมั่นคงของประเทศ ถูกกำ�หนดให้เป็นประเด็นสำ�คัญหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) โดยมีเป้าหมาย
สำ�คัญในเรื่องการสร้างความมั่นคงปลอดภัย พร้อมรับมือภัยพิบัติและภัยคุกคามในทุกรูปแบบ อีกทั้งรัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีป้องกัน
ประเทศ เป็นS-Curve ตัวที่11 โดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) รับผิดชอบในการส่งเสริมและวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสองทาง
(Dual-Use) ที่สามารถนำ�ไปใช้งานได้ทั้งในภารกิจด้านความมั่นคงและภาคพลเรือนทั่วไปเชิงพาณิชย์ ดังนั้น สวทช. จึงได้จัดตั้ง “ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคง
ของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์” หรือ NSD ขึ้นในปี 2562
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12919-20191127-nsd
3 ธันวาคม2562 ณ ลานสยามดิสคัฟเวอรี่ พลาซ่า: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) โดย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำ�กัด ร่วมจัดกิจกรรมในโครงการ “CircularLivingCampaign2019” โดย สวทช. ได้นำ� ไอออนเฟรซ
(IonFresh) เครื่องกรองอากาศแบบไฟฟ้าสถิต(ElectrostaticAirPurifier) ซึ่งพัฒนาโดยทีมวิจัยศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์
สวทช. ติดตั้งที่บริเวณใต้ต้นคริสต์มาส Magical Christmas Tree โดยเครื่อง IonFresh จะช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 มีอัตราการกรองอากาศ
5,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง เพื่อกรองอากาศให้กับประชาชนทั่วไปเป็นของขวัญในช่วงเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้น ณ ลาน
สยาม ดิสคัฟเวอรี่ พลาซ่า ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 11 มกราคม 2563
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12923-20191204-ionfresh
ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9
10 11nstda • October 2019 ตุลาคม 2562 •
นับวันขยะพลาสติกจะเป็นปัญหาที่รุนแรงและมีแนวโน้มเพิ่มจำ�นวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ผ่านมามีการผลิต
พลาสติกเพื่อใช้งานบนโลกนี้แล้วกว่า 8,800 ล้านตัน ซึ่งกว่าร้อยละ 40 เป็นขยะพลาสติกใช้งานเพียงครั้งเดียว
แล้วทิ้ง และร้อยละ 88 ของขยะพลาสติกทั้งหมดถูกกำ�จัดโดยการฝังกลบ เผา ทิ้งลงแม่น้ำ�และไหลสู่ทะเล
สร้างผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและกำ�ลังย้อนกลับมาสร้างปัญหากับมนุษย์
เรียบเรียง : ภัทรา สัปปินันทน์ ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช.
สวทช. รักษ์โลก เปิดตัว
“ถุงพลาสติก
ย่อยสลายได้”
สวทช. จุดประกายนักวิทย์ฯน้อย
ผ่าน Science Film Festival 2019
กลับมาอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้งกับการเฉลิมฉลองการสื่อสารทางด้านวิทยาศาสตร์ระดับโลก ในงาน “เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่15
(ScienceFilmFestival2019)” โดยในปีนี้ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย ได้ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) องค์การพิพิธภัณฑ์
วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และหน่วยงานพันธมิตร นำ�สื่อวีดิทัศน์ 18 เรื่อง หลากเนื้อหาหลายอารมณ์จาก 10 ประเทศมาฉายให้เด็กและเยาชนได้ชมในธีม
“ฮุมโบลด์ทและสายใยแห่งชีวิต” โดย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมเป็นหนึ่งใน 6 ศูนย์จัดฉายภาพยนตร์ให้กับเด็กและ
เยาวชนระหว่างวันที่ 18 - 28 พฤศจิกายน 2562
นางกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ สวทช. กล่าวว่า “สวทช. ได้ร่วมเป็นพันธมิตรในการเป็นศูนย์จัดฉายภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มาอย่า
งต่อเนื่อง เพราะพันธกิจหลักของ สวทช. นอกจากการสร้างเสริมการวิจัยเพื่อการนำ�ไปใช้ประโยชน์ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีที่จำ�เป็นต่อประเทศแล้ว ยังให้ความสำ�คัญกับการพัฒนากำ�ลังคน ทั้งในด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่อาชีพนักวิจัย การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
การสนับสนุนทุนการศึกษา รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนไทยหันมาสนใจในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9
12 13nstda • October 2019 ตุลาคม 2562 •
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค (MTEC) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร พัฒนา “ถุงพลาสติกย่อยสลายได้” ซึ่งเป็น
การคิดค้นสูตรเม็ดพลาสติกคอมพาวด์สำ�หรับการผลิตต้นแบบถุงพลาสติกย่อยสลายได้ที่สามารถขยายการผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้
เป็นครั้งแรกของประเทศ โดยมีวัตถุดิบหลักเป็นมันสำ�ปะหลังที่เป็นพืชเศรษฐกิจสำ�คัญของไทย และมีการนำ�ไปใช้งานจริงในงานกาชาด
ประจำ�ปี 2562
“จุดเด่นของถุงพลาสติกย่อยสลายได้ที่พัฒนาขึ้นคือ มีการนำ�เอาแป้ง
จากมันสำ�ปะหลังซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจไทยมาเป็นส่วนประกอบหลักสูงถึงร้อยละ
40 ซึ่งมากกว่าถุงพลาสติกย่อยสลายได้ทั่วไป นอกจากมีส่วนสำ�คัญในการเพิ่ม
ประสิทธิภาพการย่อยสลายตัวเองของพลาสติกแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตลง
ได้มากอีกด้วย ทั้งนี้ในการผลิตได้ลดจุดอ่อนในเรื่องการละลายน้ำ�ของแป้งมัน
สำ�ปะหลังลง ด้วยการใช้เทคนิคทวินสกรูว์เอกซ์ทรูชัน (Twin screw extrusion)
ในการหลอมส่วนผสมเข้ากับเม็ดพลาสติกชีวภาพอีก 2 ชนิด PLA และ PBAT
ในสัดส่วนและอุณหภูมิที่เหมาะสม ทำ�ให้ได้ออกมาเป็นเม็ดพลาสติกคอมพาวด์
ที่มีความเหมาะสมแก่การขึ้นรูปด้วยกระบวนการเป่าเป็นถุงพลาสติก ตอบโจทย์
ทั้งความยืดหยุ่น เหนียว แข็งแรง และย่อยสลายได้เร็วภายใต้ภาวะที่มีความชื้น
และจุลินทรีย์ที่เหมาะสม โดยไม่ต้องใช้สารเคมีอันตรายเป็นส่วนผสม ทุกขั้นตอน
การผลิตใช้เครื่องจักรพื้นฐานที่มีการใช้งานภายในประเทศ ทำ�ให้ผู้ประกอบการ
สามารถนำ�เอาองค์ความรู้ไปใช้ผลิตเพื่อจำ�หน่ายได้ง่าย”
ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ฝีมือนักวิจัยไทย
ดร.นพดลเกิดดอนแฝกนักวิจัยเอ็มเทคอธิบายถึงแนวคิดในการทำ�วิจัยว่า
ที่ผ่านมาการผลิตถุงพลาสติกย่อยสลายได้ในประเทศมีต้นทุนสูง เพราะต้องอาศัย
การนำ�เข้าเม็ดพลาสติกชีวภาพพร้อมขึ้นรูปหรือคอมพาวด์ (Compound)
จากต่างประเทศ ดังนั้นเพื่อผลักดันให้สามารถผลิตถุงพลาสติกย่อยสลายได้เอง
จึงมีการรวมตัวของผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ�สู่ปลายน้ำ�เพื่อทำ�
วิจัยร่วมกัน ทั้งผู้ผลิตแป้งมันสำ�ปะหลัง ผู้นำ�เข้าเม็ดพลาสติกชีวภาพ นักวิจัย และ
ผู้ผลิตในส่วนเป่าขึ้นรูปถุงพลาสติก เพื่อให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อมในราคาจับต้องได้
จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ทีมวิจัยพบว่าหากมีการนำ�ไปฝังใน
พื้นที่ที่มีอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม ถุงพลาสติกชนิดนี้สามารถย่อยสลาย
ได้ภายในเวลา 3 - 4 เดือน โดยมีจุลินทรีย์ทำ�หน้าที่เป็นผู้ย่อยสลาย แต่หากนำ�
ไปฝังในพื้นที่จัดการขยะซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า คาดว่าจะสามารถย่อยสลายได้เร็วขึ้น
คือภายในเวลา 3 เดือนหรือน้อยกว่านั้น โดยในการคิดค้นถุงพลาสติกย่อยสลาย
ได้ครั้งนี้ นักวิจัยมีความตั้งใจที่จะนำ�ไปใช้ลดปัญหาการคัดแยกหรือการจัดการ
ขยะอินทรีย์
“ถุงพลาสติกชนิดนี้มีเป้าหมายในการใช้กำ�จัดขยะอินทรีย์ เพราะขยะ
อินทรีย์เป็นขยะที่มีปริมาณมากถึงร้อยละ 65 ของปริมาณขยะทั้งหมด ซึ่งมัก
ไม่ได้รับการคัดแยกเพื่อกำ�จัดอย่างถูกวิธี ทำ�ให้เกิดการปนเปื้อนและลดมูลค่า
ของขยะรีไซเคิลลง ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการคัดแยกก่อนทิ้ง
และสามารถกำ�จัดได้อย่างปลอดภัย ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ชนิดนี้จึงเป็นอีกทาง
เลือกหนึ่งในการใช้กำ�จัด เพราะเมื่อทั้งถุงและขยะอินทรีย์เกิดการย่อยสลายรวม
กันจนเสร็จสิ้นแล้ว จะได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ� สารอนินทรีย์ และชีวมวล
ซึ่งสามารถนำ�ไปใช้เป็นปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนสำ�คัญในการปลูกพืชให้กับเกษตรกรได้”
ประเดิมใช้งาน “ถุงพลาสติกย่อยสลายได้”
ในงานกาชาดสีเขียว
จากความสำ�เร็จในการคิดค้นสูตรการผลิต “ถุงพลาสติกย่อยสลายได้”
ได้เปิดตัวให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทดลองใช้แล้ว ใน “งานกาชาดประจำ�ปี
2562” ระหว่างวันที่ 15-24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ สวนลุมพินี กรุงเทพฯ ซึ่ง
เป็นการจัดงานภายใต้แนวคิดกาชาดสีเขียวเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้
รับความร่วมมือจากภาคีภาคอุตสาหกรรมผู้ร่วมทำ�วิจัยและสนับสนุนการ
ผลิตเพื่อให้เกิดการทดลองใช้จริง บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด
ให้การสนับสนุนแป้งมันสำ�ปะหลัง บริษัท โททาล คอร์เบียน พีแอลเอ(ประเทศไทย)
จำ�กัด และ บริษัท บีเอเอสเอฟ(ไทย) จำ�กัด ให้การสนับสนุนเม็ดพลาสติกชีวภาพ
และ บริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม จำ�กัด(มหาชน) ให้การสนับสนุนกระบวนการ
เป่าขึ้นรูปถุงพลาสติกย่อยสลายได้
ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9
14 15nstda • October 2019 ตุลาคม 2562 •
ภายในงานมีถุงพลาสติกสำ�หรับใช้ทิ้งขยะอินทรีย์ให้บริการ2 ขนาด คือ
ขนาด18x20นิ้วสำ�หรับให้บริการตามร้านขายอาหารและขนาด30x45นิ้วสำ�หรับ
ให้บริการตามจุดทิ้งขยะทั่วงาน จำ�นวนรวม23,800 ใบ น้ำ�หนักรวม1.5 ตัน โดย
มีอาสาสมัครประจำ�ทุกจุดทิ้งขยะเพื่ออธิบายการทิ้งอย่างถูกวิธีให้กับผู้เที่ยวชม
ภายในงาน และคณะวิจัยจะดำ�เนินงานติดตามผลการจัดการขยะจริงต่อเนื่อง
เป็นเวลาอีก 3 เดือน เพื่อยืนยันผลการใช้และนำ�ไปปรับปรุงพัฒนาผลงานต่อไป
สำ�หรับต้นทุนในการผลิตถุงพลาสติกมาใช้ในงานกาชาดครั้งนี้ เนื่องจาก
มีการผลิตจำ�นวนไม่มากจึงมีราคาเทียบเท่ากับที่จำ�หน่ายในต่างประเทศ คือ
ถุงพลาสติกขนาดเล็ก 18 x 20 นิ้ว ความหนา 35 ไมครอน มีราคาใบละ 4 บาท
ถุงพลาสติกขนาดใหญ่30x45 นิ้ว ความหนา60 ไมครอน มีราคาใบละ30 บาท แต่
ดร.นพดล ได้อธิบายถึงกลไกทางการตลาดว่า “หากในอนาคตประชาชนมีความ
ต้องการใช้ถุงพลาสติกแบบย่อยสลายได้มากขึ้น จะทำ�ให้มีผู้ผลิตมากขึ้น และ
ราคาถุงจะลดลงจนเป็นราคาที่จับต้องได้มากกว่านี้”
ดร.นพดล กล่าวทิ้งท้ายว่า “ถุงพลาสติกย่อยสลายได้เป็นอีก
ทางเลือกหนึ่งให้เราได้มีโอกาสเลือกใช้พลาสติกได้อย่างเหมาะสม ลดการ
ใช้พลาสติกที่ก่อให้เกิดขยะจำ�นวนมาก และยังสามารถนำ�ขยะรีไซเคิลกลับ
ไปใช้ประโยชน์อีกครั้งตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน(Circulareconomy)
หากทุกคนช่วยกันลดการสร้างขยะพลาสติกที่ก่อให้เกิดมลภาวะจาก
ต้นทาง และมีการจัดการกับขยะอย่างถูกวิธีจนสามารถเปลี่ยนแปลง
ทั้งระบบได้ ก็จะสามารถดูแลสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน.”
สวทช. เปิดรับ Food SMEs ร่วมอบรม PADTHAI Batch #5
เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย FI Accelerator ร่วมกับ
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เปิดรับสมัครผู้ประกอบการ SMEs ทายาทธุรกิจด้านนวัตกรรมอาหาร ที่ต้องการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถ
ในการแข่งขันของธุรกิจ รวมถึงบุคลากรที่รับผิดชอบการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมอาหารขององค์กร โดยต้องจดทะเบียนนิติบุคคลมาแล้วไม่ต่ำ�
กว่า1 ปี เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการใน “โครงการอบรมเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการอาหารSMEs ด้านนวัตกรรมอาหารของไทย ครั้งที่5(PADTHAI
#5)” หลักสูตรเข้มข้น5 วัน5 คืน จากผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจอาหารโดยตรง พร้อมรับโอกาสมากมาย เช่น การเข้าถึงแหล่งสนับสนุนทุน ตลาด
และการแข่งขันนำ�เสนอแผนธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ
เปิดรับสมัครวันนี้ - 6 ม.ค. 63 และจะฝึกอบรมแบบเข้มข้น 3 - 7 ก.พ. 63 ณ โรงแรมแสนโฮเทล จ.เชียงราย
มีค่าใช้จ่ายลงทะเบียนฝึกอบรม ดูข้อมูลเพิ่มเติมและลิงค์สมัครที่ https://forms.gle/KPrgbi19gq59o1DXA หรือ
เพจเฟซบุ๊ก PADTHAI by Food Innopolis สอบถามโทร. 091-7135433 (กรองจิตร), 082-441-4169 (สันติ)

More Related Content

What's hot

What's hot (10)

NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
 
Startup Thailand 2016 FACTSHEET
Startup Thailand 2016 FACTSHEETStartup Thailand 2016 FACTSHEET
Startup Thailand 2016 FACTSHEET
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
 

Similar to NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2562

NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 

Similar to NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2562 (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2560
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2560
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2560
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
 
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2560
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2563
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2558NSTDA Newsletter ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2558
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
 

More from National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand

More from National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
 

NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2562

  • 1. 15ปฏิทินกิจกรรม Activity 1ตุลาคม 2562 • บทความ Article สวทช. รักษ์โลก เปิดตัว “ถุงพลาสติกย่อยสลายได้” 2 3 5 4 7 9 8 10 6 ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 ในเล่ม Insight 11 สวทช. จับมือ สอว. ดึงผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ยกระดับหน่วยบ่มเพาะธุรกิจฯ ทั่วประเทศ ธ.ก.ส. ร่วมกับ สวทช. หนุนพัฒนานวัตกรรมการเกษตรดิจิทัล สวทช. ร่วมกับ จ.ปทุมฯ และเครือข่ายพันธมิตร จัดเวิร์คชอปเรียนรู้โค้ดดิ้งเรื่อง PM 2.5 สวทช. อว. ผนึก สยามพิวรรธน์ พีทีทีจีซี โชว์เครื่องกรองอากาศ ‘IonFresh’ ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก สวทช. ผลักศูนย์น้องใหม่ NSD ขับเคลื่อน S-Curve ที่ 11 สวทช. จุดประกายนักวิทย์ฯน้อย ผ่าน Science Film Festival 2019 สวทช. ร่วมกับ TMA เปิดประเด็นนวัตกรรมอาหารเพื่อมนุษยชาติ ในงาน Food Innopolis 2019 ตอกย้ำ�ยุทธศาสตร์ไทยสู่ครัวโลก สวทช. ส่งต่อทูตเยาวชน JENESYS 2019 บินลัดฟ้าเรียนรู้ วทน. และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ข่าว News เอ็มเทค สวทช. ร่วมกับพันธมิตรโชว์นวัตกรรม “ถุงพลาสติกสลายตัวได้” ประเดิมงาน “กาชาดสีเขียว 62”
  • 2. ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 2 3nstda • October 2019 ตุลาคม 2562 • ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 เอ็มเทค สวทช. จับมือพันธมิตร โชว์นวัตกรรม ‘ถุงพลาสติกสลายตัวได้’ จากแล็บสู่ ใช้งานจริงประเดิมงาน “กาชาดสีเขียว 2562” 13 พฤศจิกายน2562 โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค : สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย (TBiA) และพันธมิตรภาคเอกชนร่วมแถลงข่าว"ถุงพลาสติกสลายตัวได้สำ�หรับขยะอินทรีย์ จากแล็บสู่การขยายผลเพื่อใช้งานจริง” ซึ่งเป็นการนำ�"ถุงพลาสติกสลายตัวได้ สำ�หรับขยะอินทรีย์” ผลงานวิจัยของเอ็มเทค สวทช. ที่ร่วมกับ บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด พัฒนาสูตรพลาสติกชีวภาพมาแปรรูปเป็นพลาสติกและ ทำ�การผสมสูตรเพื่อเพิ่มสมบัติทางวิศวกรรมให้เหมาะสมกับการนำ�ไปขึ้นรูปเป็นฟิล์มบาง โดยได้รับความร่วมมือจากภาคีอุตสาหกรรมพลาสติก ได้แก่ บริษัท โททาล คอร์เบียน พีแอลเอ(ประเทศไทย) จำ�กัด และ บริษัท บีเอเอสเอฟ(ไทย) จำ�กัด ผู้สนับสนุนวัตถุดิบเม็ดพลาสติกชีวภาพ และบริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) สนับสนุนกระบวนการเป่าขึ้นรูปถุงพลาสติกสลายตัวได้ สำ�หรับใช้แยกขยะอินทรีย์ใน “งานกาชาด 2562” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-24 พฤศจิกายนนี้ ที่สวนลุมพินี อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12895-20191113 เพราะอาหารที่เราบริโภคอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เป็นสิ่งที่ส่งผลถึงความอยู่ได้และอยู่ดีของมนุษย์ อาหารจึงเป็นเรื่องสำ�คัญสำ�หรับทุกหน่วยในสังคม ปัจจุบันประชากรโลกกว่า821 ล้านคน จากทั้งหมด7,700 ล้านคน กำ�ลังเผชิญกับวิกฤตขาดแคลนอาหารทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ มีการคาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ.2050 จำ�นวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น9,000 ล้านคน และเพิ่มขึ้นเป็น11,900 ล้านคนในปี ค.ศ.2100 จึงมีความกังวลเกี่ยวกับการผลิตอาหาร ให้สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ รวมทั้งต้องคำ�นึงถึงการจำ�กัดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เพื่อเตรียมการสู่อนาคตและสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่กำ�หนดให้อุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เมืองนวัตกรรมอาหาร หรือฟู้ดอินโนโพลิส สังกัดสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ร่วมกับ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ได้จัดงานประชุมนานาชาติ Food Innopolis International Symposium 2019 ขึ้นเป็นครั้ง 2 ในประเทศไทย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12892-20191112 สวทช. ร่วมกับ TMA เปิดประเด็น นวัตกรรมอาหารเพื่อมนุษยชาติ ในงาน Food Innopolis 2019
  • 3. ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 4 5nstda • October 2019 ตุลาคม 2562 • สวทช. จับมือ สอว. ดึงผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ยกระดับหน่วยบ่มเพาะธุรกิจฯ ทั่วประทศ มุ่งเสริมขีดการแข่งขันผู้ประกอบการไทย สวทช. ส่งต่อทูตเยาวชน JENESYS2019 บินลัดฟ้าเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) โดยงานส่งเสริมและพัฒนา เด็กและเยาวชนที่มีศักยภาพสูง ฝ่ายพัฒนาบุคลากรวิจัย ให้ความร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำ�ประเทศไทย คัดเลือก16 เยาวชนไทยด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเป็นทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ในโครงการ JENESYS 2019 ศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวัฒนธรรมถึงประเทศญี่ปุ่น จำ�นวน 9 วัน ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2562 ณ กรุงโตเกียว และจังหวัดนีงาตะ ประเทศญี่ปุ่น โดยจัดพิธี แสดงความยินดีและปฐมนิเทศทูตเยาวชน JENESYS 2019 เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเดินทาง เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 62 ที่ผ่านมา ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี นางอติพร สุวรรณ หัวหน้างานส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีศักยภาพสูง(JSTP) ฝ่ายพัฒนาบุคลากรวิจัย สวทช. เปิดเผยว่า สวทช. เป็นผู้ประสาน การดำ�เนินโครงการคัดเลือกเยาวชนทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับสถานทูตญี่ปุ่นประจำ�ประเทศไทย มาตั้งแต่ปี 2015 ซึ่งตอนนี้ดำ�เนินการมา 5 ปีแล้ว โดยในปีนี้ ได้ทำ�การคัดเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโครงการต่างๆ ที่ สวทช. ดูแล อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12908-20191118-jenesys-2019 12 พฤศจิกายน2562 ที่โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพฯ: สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) โดยศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการ ธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) ร่วมกับ สำ�นักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) สองหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) แถลงข่าวผลความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพการจัดการหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ ใน “โครงการยกระดับขีดความสามารถของหน่วยบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีด้วยMaturityModel” ที่ดำ�เนินการต่อเนื่องเป็นปีที่2 จนครบทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยการประเมินขีดความสามารถของหน่วยบ่มเพาะฯ ต่างๆ ทางโครงการฯ มอบหมายให้ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี สวทช. เป็นผู้ดำ�เนินการ เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากหน่วยบ่มเพาะฯ โดยดึงผู้เชี่ยวชาญระดับสูงระดับโลกสถาบันCREEDA(ครีด้า) ประเมินและยกระดับขีดความสามารถหน่วยบ่มเพาะฯ ตามอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคต่างๆ ด้วยรูปแบบ Maturity Model ที่ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การส่งเสริมกิจกรรมด้านการบ่มเพาะฯ ซึ่งปีนี้ดำ�เนินการไป 8 แห่ง ได้แก่ ม.วลัยลักษณ์ ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม ม.แม่ฟ้าหลวง ม.แม่โจ้ ม.นเรศวร ม.มหาสารคาม และ ม.เทคโนโลยีสุรนารี อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12898-20191112-1
  • 4. ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 6 7nstda • October 2019 ตุลาคม 2562 • ธ.ก.ส. ร่วมกับ สวทช. หนุนพัฒนา นวัตกรรมการเกษตรดิจิทัล ธ.ก.ส. จับมือ สวทช. ร่วมพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมการเกษตรดิจิทัล เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ SMEs เกษตร นำ�เทคโนโลยีมาเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของห่วงโซ่คุณค่าอุตสาหกรรมการเกษตร รวมถึงการพัฒนาทางการเงินและการสาธารณสุข เพื่อนำ�ไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรกรไทย 21 พฤศจิกายน 2562 ณ โถงชั้น 2 ธ.ก.ส. สำ�นักงานใหญ่ บางเขน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมกับ สำ�นักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วย “ความ ร่วมมือทางวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี” โดยมี นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กับ นายณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ร่วมลงนาม เพื่อร่วมมือและส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศด้านนวัตกรรม การเกษตรดิจิทัล สุขภาพการแพทย์สาธารณสุข สังคม และองค์กร โดยใช้กลุ่มเทคโนโลยีเป้าหมาย หรือ Technology Development Groups (TDGs) นำ�ไป วิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ข้อมูล ต่อยอดเพื่อสร้างความยั่งยืนและความสามารถในการแข่งขันให้แก่อุตสาหกรรมภาคเกษตรไทย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12909-20191121 22 พฤศจิกายน 2562 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศ จ.ปทุมธานี - สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต1(สพป.ปทุมธานี เขต1) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึง หน่วยงานเอกชนที่ให้การสนับสนุนคือ มูลนิธินายห้างโรงปูนผู้หนึ่ง จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “แนวทางการจัดการเรียนรู้ Coding ด้วยสถานการณ์ PM2.5” ระหว่างวันที่ 22 - 24 พฤศจิกายน 2562 เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ที่สร้างผลกระทบต่อสุขภาพและการดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน โดยเฉพาะกับเยาวชน ผู้สูงอายุ และประชาชนในพื้นที่ พร้อมสร้างความตระหนักและความรู้ความ เข้าใจเรื่องสถานการณ์ PM2.5 ให้แก่บุคคลในพื้นที่ ด้วยการนำ�รูปแบบการเรียนรู้ที่ทันสมัยเรื่องโค้ดดิ้ง (Coding) กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เรื่องค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน มาใช้เป็นแนวทางจัดการเรียนการรู้ในห้องเรียน จะส่งผลให้เด็กสนุกกับการเรียนรู้ได้มากยิ่งขึ้น อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12912-20191122-pm2-5 สวทช. ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ จ.ปทุมฯ และเครือข่ายพันธมิตร จัดเวิร์คช็อป เรียนรู้โค้ดดิ้งด้วยสถานการณ์ PM2.5 แก่ผู้บริหารและครูในพื้นที่
  • 5. ธันวาคม 2562 ธันวาคม 2562ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 8 9nstda • October 2019 ตุลาคม 2562 • สวทช. ผลักศูนย์น้องใหม่ NSD ขับเคลื่อน S-Curve ที่ 11 พัฒนานวัตกรรม รับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ สวทช. อว. ผนึก สยามพิวรรธน์ พีทีทีจีซี โชว์เครื่องกรองอากาศ ‘IonFresh’ ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก ใจกลางเมือง โครงการ “Circular Living Campaign 2019” สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ผลักดันหน่วยงานใหม่ภายใต้ สวทช. ได้แก่ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ หรือ National Security and Dual-Use Technology Center (NSD) เพื่อขับเคลื่อนNewS-Curve ที่11 การพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ตามนโยบายประเทศไทย4.0 ล่าสุดเปิดตัวศูนย์NSD พร้อมนำ�5 นวัตกรรมภายใต้ศูนย์ฯ จัดแสดงในงาน Defense & Security 2019 และร่วมจัดสัมมนาให้ความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีกราฟีนกับการป้องกันประเทศ ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม ผู้อำ�นวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์(NSD) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า ความมั่นคงของประเทศ ถูกกำ�หนดให้เป็นประเด็นสำ�คัญหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) โดยมีเป้าหมาย สำ�คัญในเรื่องการสร้างความมั่นคงปลอดภัย พร้อมรับมือภัยพิบัติและภัยคุกคามในทุกรูปแบบ อีกทั้งรัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีป้องกัน ประเทศ เป็นS-Curve ตัวที่11 โดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) รับผิดชอบในการส่งเสริมและวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสองทาง (Dual-Use) ที่สามารถนำ�ไปใช้งานได้ทั้งในภารกิจด้านความมั่นคงและภาคพลเรือนทั่วไปเชิงพาณิชย์ ดังนั้น สวทช. จึงได้จัดตั้ง “ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคง ของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์” หรือ NSD ขึ้นในปี 2562 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12919-20191127-nsd 3 ธันวาคม2562 ณ ลานสยามดิสคัฟเวอรี่ พลาซ่า: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) โดย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำ�กัด ร่วมจัดกิจกรรมในโครงการ “CircularLivingCampaign2019” โดย สวทช. ได้นำ� ไอออนเฟรซ (IonFresh) เครื่องกรองอากาศแบบไฟฟ้าสถิต(ElectrostaticAirPurifier) ซึ่งพัฒนาโดยทีมวิจัยศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ สวทช. ติดตั้งที่บริเวณใต้ต้นคริสต์มาส Magical Christmas Tree โดยเครื่อง IonFresh จะช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 มีอัตราการกรองอากาศ 5,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง เพื่อกรองอากาศให้กับประชาชนทั่วไปเป็นของขวัญในช่วงเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้น ณ ลาน สยาม ดิสคัฟเวอรี่ พลาซ่า ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 11 มกราคม 2563 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12923-20191204-ionfresh
  • 6. ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 10 11nstda • October 2019 ตุลาคม 2562 • นับวันขยะพลาสติกจะเป็นปัญหาที่รุนแรงและมีแนวโน้มเพิ่มจำ�นวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ผ่านมามีการผลิต พลาสติกเพื่อใช้งานบนโลกนี้แล้วกว่า 8,800 ล้านตัน ซึ่งกว่าร้อยละ 40 เป็นขยะพลาสติกใช้งานเพียงครั้งเดียว แล้วทิ้ง และร้อยละ 88 ของขยะพลาสติกทั้งหมดถูกกำ�จัดโดยการฝังกลบ เผา ทิ้งลงแม่น้ำ�และไหลสู่ทะเล สร้างผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและกำ�ลังย้อนกลับมาสร้างปัญหากับมนุษย์ เรียบเรียง : ภัทรา สัปปินันทน์ ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. สวทช. รักษ์โลก เปิดตัว “ถุงพลาสติก ย่อยสลายได้” สวทช. จุดประกายนักวิทย์ฯน้อย ผ่าน Science Film Festival 2019 กลับมาอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้งกับการเฉลิมฉลองการสื่อสารทางด้านวิทยาศาสตร์ระดับโลก ในงาน “เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่15 (ScienceFilmFestival2019)” โดยในปีนี้ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย ได้ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) องค์การพิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และหน่วยงานพันธมิตร นำ�สื่อวีดิทัศน์ 18 เรื่อง หลากเนื้อหาหลายอารมณ์จาก 10 ประเทศมาฉายให้เด็กและเยาชนได้ชมในธีม “ฮุมโบลด์ทและสายใยแห่งชีวิต” โดย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมเป็นหนึ่งใน 6 ศูนย์จัดฉายภาพยนตร์ให้กับเด็กและ เยาวชนระหว่างวันที่ 18 - 28 พฤศจิกายน 2562 นางกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ สวทช. กล่าวว่า “สวทช. ได้ร่วมเป็นพันธมิตรในการเป็นศูนย์จัดฉายภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มาอย่า งต่อเนื่อง เพราะพันธกิจหลักของ สวทช. นอกจากการสร้างเสริมการวิจัยเพื่อการนำ�ไปใช้ประโยชน์ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีที่จำ�เป็นต่อประเทศแล้ว ยังให้ความสำ�คัญกับการพัฒนากำ�ลังคน ทั้งในด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่อาชีพนักวิจัย การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การสนับสนุนทุนการศึกษา รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนไทยหันมาสนใจในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 7. ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 12 13nstda • October 2019 ตุลาคม 2562 • ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค (MTEC) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร พัฒนา “ถุงพลาสติกย่อยสลายได้” ซึ่งเป็น การคิดค้นสูตรเม็ดพลาสติกคอมพาวด์สำ�หรับการผลิตต้นแบบถุงพลาสติกย่อยสลายได้ที่สามารถขยายการผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้ เป็นครั้งแรกของประเทศ โดยมีวัตถุดิบหลักเป็นมันสำ�ปะหลังที่เป็นพืชเศรษฐกิจสำ�คัญของไทย และมีการนำ�ไปใช้งานจริงในงานกาชาด ประจำ�ปี 2562 “จุดเด่นของถุงพลาสติกย่อยสลายได้ที่พัฒนาขึ้นคือ มีการนำ�เอาแป้ง จากมันสำ�ปะหลังซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจไทยมาเป็นส่วนประกอบหลักสูงถึงร้อยละ 40 ซึ่งมากกว่าถุงพลาสติกย่อยสลายได้ทั่วไป นอกจากมีส่วนสำ�คัญในการเพิ่ม ประสิทธิภาพการย่อยสลายตัวเองของพลาสติกแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตลง ได้มากอีกด้วย ทั้งนี้ในการผลิตได้ลดจุดอ่อนในเรื่องการละลายน้ำ�ของแป้งมัน สำ�ปะหลังลง ด้วยการใช้เทคนิคทวินสกรูว์เอกซ์ทรูชัน (Twin screw extrusion) ในการหลอมส่วนผสมเข้ากับเม็ดพลาสติกชีวภาพอีก 2 ชนิด PLA และ PBAT ในสัดส่วนและอุณหภูมิที่เหมาะสม ทำ�ให้ได้ออกมาเป็นเม็ดพลาสติกคอมพาวด์ ที่มีความเหมาะสมแก่การขึ้นรูปด้วยกระบวนการเป่าเป็นถุงพลาสติก ตอบโจทย์ ทั้งความยืดหยุ่น เหนียว แข็งแรง และย่อยสลายได้เร็วภายใต้ภาวะที่มีความชื้น และจุลินทรีย์ที่เหมาะสม โดยไม่ต้องใช้สารเคมีอันตรายเป็นส่วนผสม ทุกขั้นตอน การผลิตใช้เครื่องจักรพื้นฐานที่มีการใช้งานภายในประเทศ ทำ�ให้ผู้ประกอบการ สามารถนำ�เอาองค์ความรู้ไปใช้ผลิตเพื่อจำ�หน่ายได้ง่าย” ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ฝีมือนักวิจัยไทย ดร.นพดลเกิดดอนแฝกนักวิจัยเอ็มเทคอธิบายถึงแนวคิดในการทำ�วิจัยว่า ที่ผ่านมาการผลิตถุงพลาสติกย่อยสลายได้ในประเทศมีต้นทุนสูง เพราะต้องอาศัย การนำ�เข้าเม็ดพลาสติกชีวภาพพร้อมขึ้นรูปหรือคอมพาวด์ (Compound) จากต่างประเทศ ดังนั้นเพื่อผลักดันให้สามารถผลิตถุงพลาสติกย่อยสลายได้เอง จึงมีการรวมตัวของผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ�สู่ปลายน้ำ�เพื่อทำ� วิจัยร่วมกัน ทั้งผู้ผลิตแป้งมันสำ�ปะหลัง ผู้นำ�เข้าเม็ดพลาสติกชีวภาพ นักวิจัย และ ผู้ผลิตในส่วนเป่าขึ้นรูปถุงพลาสติก เพื่อให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมในราคาจับต้องได้ จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ทีมวิจัยพบว่าหากมีการนำ�ไปฝังใน พื้นที่ที่มีอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม ถุงพลาสติกชนิดนี้สามารถย่อยสลาย ได้ภายในเวลา 3 - 4 เดือน โดยมีจุลินทรีย์ทำ�หน้าที่เป็นผู้ย่อยสลาย แต่หากนำ� ไปฝังในพื้นที่จัดการขยะซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า คาดว่าจะสามารถย่อยสลายได้เร็วขึ้น คือภายในเวลา 3 เดือนหรือน้อยกว่านั้น โดยในการคิดค้นถุงพลาสติกย่อยสลาย ได้ครั้งนี้ นักวิจัยมีความตั้งใจที่จะนำ�ไปใช้ลดปัญหาการคัดแยกหรือการจัดการ ขยะอินทรีย์ “ถุงพลาสติกชนิดนี้มีเป้าหมายในการใช้กำ�จัดขยะอินทรีย์ เพราะขยะ อินทรีย์เป็นขยะที่มีปริมาณมากถึงร้อยละ 65 ของปริมาณขยะทั้งหมด ซึ่งมัก ไม่ได้รับการคัดแยกเพื่อกำ�จัดอย่างถูกวิธี ทำ�ให้เกิดการปนเปื้อนและลดมูลค่า ของขยะรีไซเคิลลง ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการคัดแยกก่อนทิ้ง และสามารถกำ�จัดได้อย่างปลอดภัย ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ชนิดนี้จึงเป็นอีกทาง เลือกหนึ่งในการใช้กำ�จัด เพราะเมื่อทั้งถุงและขยะอินทรีย์เกิดการย่อยสลายรวม กันจนเสร็จสิ้นแล้ว จะได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ� สารอนินทรีย์ และชีวมวล ซึ่งสามารถนำ�ไปใช้เป็นปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนสำ�คัญในการปลูกพืชให้กับเกษตรกรได้” ประเดิมใช้งาน “ถุงพลาสติกย่อยสลายได้” ในงานกาชาดสีเขียว จากความสำ�เร็จในการคิดค้นสูตรการผลิต “ถุงพลาสติกย่อยสลายได้” ได้เปิดตัวให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทดลองใช้แล้ว ใน “งานกาชาดประจำ�ปี 2562” ระหว่างวันที่ 15-24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ สวนลุมพินี กรุงเทพฯ ซึ่ง เป็นการจัดงานภายใต้แนวคิดกาชาดสีเขียวเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้ รับความร่วมมือจากภาคีภาคอุตสาหกรรมผู้ร่วมทำ�วิจัยและสนับสนุนการ ผลิตเพื่อให้เกิดการทดลองใช้จริง บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด ให้การสนับสนุนแป้งมันสำ�ปะหลัง บริษัท โททาล คอร์เบียน พีแอลเอ(ประเทศไทย) จำ�กัด และ บริษัท บีเอเอสเอฟ(ไทย) จำ�กัด ให้การสนับสนุนเม็ดพลาสติกชีวภาพ และ บริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม จำ�กัด(มหาชน) ให้การสนับสนุนกระบวนการ เป่าขึ้นรูปถุงพลาสติกย่อยสลายได้
  • 8. ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 ธันวาคม 2562 ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 14 15nstda • October 2019 ตุลาคม 2562 • ภายในงานมีถุงพลาสติกสำ�หรับใช้ทิ้งขยะอินทรีย์ให้บริการ2 ขนาด คือ ขนาด18x20นิ้วสำ�หรับให้บริการตามร้านขายอาหารและขนาด30x45นิ้วสำ�หรับ ให้บริการตามจุดทิ้งขยะทั่วงาน จำ�นวนรวม23,800 ใบ น้ำ�หนักรวม1.5 ตัน โดย มีอาสาสมัครประจำ�ทุกจุดทิ้งขยะเพื่ออธิบายการทิ้งอย่างถูกวิธีให้กับผู้เที่ยวชม ภายในงาน และคณะวิจัยจะดำ�เนินงานติดตามผลการจัดการขยะจริงต่อเนื่อง เป็นเวลาอีก 3 เดือน เพื่อยืนยันผลการใช้และนำ�ไปปรับปรุงพัฒนาผลงานต่อไป สำ�หรับต้นทุนในการผลิตถุงพลาสติกมาใช้ในงานกาชาดครั้งนี้ เนื่องจาก มีการผลิตจำ�นวนไม่มากจึงมีราคาเทียบเท่ากับที่จำ�หน่ายในต่างประเทศ คือ ถุงพลาสติกขนาดเล็ก 18 x 20 นิ้ว ความหนา 35 ไมครอน มีราคาใบละ 4 บาท ถุงพลาสติกขนาดใหญ่30x45 นิ้ว ความหนา60 ไมครอน มีราคาใบละ30 บาท แต่ ดร.นพดล ได้อธิบายถึงกลไกทางการตลาดว่า “หากในอนาคตประชาชนมีความ ต้องการใช้ถุงพลาสติกแบบย่อยสลายได้มากขึ้น จะทำ�ให้มีผู้ผลิตมากขึ้น และ ราคาถุงจะลดลงจนเป็นราคาที่จับต้องได้มากกว่านี้” ดร.นพดล กล่าวทิ้งท้ายว่า “ถุงพลาสติกย่อยสลายได้เป็นอีก ทางเลือกหนึ่งให้เราได้มีโอกาสเลือกใช้พลาสติกได้อย่างเหมาะสม ลดการ ใช้พลาสติกที่ก่อให้เกิดขยะจำ�นวนมาก และยังสามารถนำ�ขยะรีไซเคิลกลับ ไปใช้ประโยชน์อีกครั้งตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน(Circulareconomy) หากทุกคนช่วยกันลดการสร้างขยะพลาสติกที่ก่อให้เกิดมลภาวะจาก ต้นทาง และมีการจัดการกับขยะอย่างถูกวิธีจนสามารถเปลี่ยนแปลง ทั้งระบบได้ ก็จะสามารถดูแลสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน.” สวทช. เปิดรับ Food SMEs ร่วมอบรม PADTHAI Batch #5 เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย FI Accelerator ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เปิดรับสมัครผู้ประกอบการ SMEs ทายาทธุรกิจด้านนวัตกรรมอาหาร ที่ต้องการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของธุรกิจ รวมถึงบุคลากรที่รับผิดชอบการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมอาหารขององค์กร โดยต้องจดทะเบียนนิติบุคคลมาแล้วไม่ต่ำ� กว่า1 ปี เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการใน “โครงการอบรมเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการอาหารSMEs ด้านนวัตกรรมอาหารของไทย ครั้งที่5(PADTHAI #5)” หลักสูตรเข้มข้น5 วัน5 คืน จากผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจอาหารโดยตรง พร้อมรับโอกาสมากมาย เช่น การเข้าถึงแหล่งสนับสนุนทุน ตลาด และการแข่งขันนำ�เสนอแผนธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เปิดรับสมัครวันนี้ - 6 ม.ค. 63 และจะฝึกอบรมแบบเข้มข้น 3 - 7 ก.พ. 63 ณ โรงแรมแสนโฮเทล จ.เชียงราย มีค่าใช้จ่ายลงทะเบียนฝึกอบรม ดูข้อมูลเพิ่มเติมและลิงค์สมัครที่ https://forms.gle/KPrgbi19gq59o1DXA หรือ เพจเฟซบุ๊ก PADTHAI by Food Innopolis สอบถามโทร. 091-7135433 (กรองจิตร), 082-441-4169 (สันติ)