SlideShare a Scribd company logo
1 of 22
Download to read offline
1ตุลาคม 2559 •
5 6
8
13
7
119
12
21
2 3
ก.วิทย์ฯ สวทช. เปิดเวทีให้ความรู้
“ซิก้า”...ไวรัสร้าย ภัยเงียบแม่ตั้งครรภ์
สวทช. เปิดศูนย์วิเคราะห์ทดสอบ บริการทดสอบสินค้า
จับมือ 16 เครือข่ายศูนย์เครื่องมือวิทย าศาสตร์ทั่วไทย
สุดยอดไอเดียเด็กไทย! มนุษย์อวกาศญี่ปุ่น
เลือกไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ
สวทช. นำ�คณะผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงาน The 4th
Forum on China-ASEAN ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
ก.วิทย์ฯ สวทช. จับมือ มูลนิธิโครงการหลวงส่งมอบ
เห็ดหอมอร่อยสดนานด้วย "ActivePAK BPW"
สวทช. รับรางวัล “หน่วยงานที่มีความพร้อม
ในการให้บริการรองรับ IPv6” ประจำ�ปี 2559
นักวิจัยนาโนเทค ได้รับทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย
“เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำ�ปี 2559
ก.วิทย์ฯ สวทช. นำ�งานวิจัย “โลชั่นกันยุงนาโน-จุลินทรีย์ฆ่า
ลูกน้ำ�ยุงลาย” รณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก จ.ปทุมธานี
ซอฟต์แวร์พาร์ค สวทช. หนุนอุตสาหกรรมโลจิสติกส์เพิ่มประสิทธิภาพด้วย IoT
สวทช. ร่วมกับ เว็ลธ์ แมเนจเม้นท์ ซิสเท็ม ประกาศผลสุดยอดแอนิเมชั่น เงินออมสร้างชาติ
ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7
ปฏิทินกิจกรรม Activity
ในเล่ม Insight
ข่าว News
บทความ Article
14
10 เทคโนโลยี
ที่น่าจับตามอง
สำ�หรับธุรกิจ
2 nstda • ตุลาคม 2559
ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7
ก.วิทย์ฯ สวทช. เปิดเวทีให้ความรู้
“ซิก้า”...ไวรัสร้าย
ภัยเงียบสำ�หรับคุณแม่ตั้งครรภ์
6 กันยายน 2559 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งชาติ (สวทช.) โดย โปรแกรมโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ� คลัสเตอร์สุขภาพและการแพทย์ จัดเสวนา เรื่อง: “Zika…ไวรัสร้าย ภัยเงียบสำ�หรับคุณ
แม่ตั้งครรภ์” โดยมี ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำ�นวยการ สวทช. เปิดการเสวนา และมีผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสร่วมเสวนา ได้แก่ นพ.ยงเจือ เหล่าศิริถาวร
นายแพทย์ชำ�นาญการ ศูนย์สารสนเทศทางระบาดวิทยาและการพยากรณ์โรค สำ�นักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ.ธีระวัฒน์
เหมะจุฑา ผู้อำ�นวยการศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำ�นวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัย
โลก ด้านค้นคว้าและอบรมโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน ผศ. ดร.ชรินทร์ โหมดชัง อาจารย์ประจำ�ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ
นพ.ปรีดา มาลาสิทธิ์ ผู้อำ�นวยการหน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช.
และที่ปรึกษาหน่วยวิจัยโรคไข้เลือดออก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล โดยมี ศ. นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล ประธานคลัสเตอร์สุขภาพและการ
แพทย์ สวทช. เป็นผู้ดำ�เนินรายการ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการเสวนาได้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงภัยอันตรายของไวรัสZika โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/22209-zika-nstda
3ตุลาคม 2559 •
ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7
สุดยอดไอเดียเด็กไทย!
มนุษย์อวกาศญี่ปุ่นเลือกไปทดลอง
บนสถานีอวกาศนานาชาติ
8 ก.ย. 59 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำ�นักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำ�นักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
(สทอภ.) ร่วมกับ องค์การสำ�รวจอวกาศญี่ปุ่น หรือแจ็กซา (Japan Aerospace Exploration Agency : JAXA) แถลง
ข่าวผลการคัดเลือกสุดยอดไอเดียการทดลองวิทยาศาสตร์ของเยาวชนไทย คือ “การโค้งของผิวของเหลวในอวกาศ
(Capillary in Zero gravity)” ส่งให้กับมนุษย์อวกาศญี่ปุ่นทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ พร้อมเปิดโอกาสให้เด็ก
ไทยเจ้าของไอเดียร่วมเป็นสักขีพยานชมการทดลองสดที่ญี่ปุ่น ในวันที่ 14 กันยายน 2559
4 nstda • ตุลาคม 2559
ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี กล่าวว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำ�นักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำ�นักงานพัฒนาเทคโนโลยี
อวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) ร่วมกับ องค์การสำ�รวจ
อวกาศญี่ปุ่น หรือ Japan Aerospace Exploration Agency (แจ็กซา) จัดทำ�
โครงการ Asian Try Zero-G 2016 เปิดรับแนวคิดการทดลองวิทยาศาสตร์จาก
เยาวชนไทย เพื่อส่งให้มนุษย์อวกาศญี่ปุ่น นายทะคุยะ โอะนิชิ เลือกนำ�ไปใช้
ทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง บนสถานีอวกาศนานาชาติ โดยในโครงการมี
เยาวชนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จาก นิวซีแลนด์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม
ปากีสถาน เป็นต้น ให้ความสนใจส่งไอเดียการทดลองวิทยาศาสตร์เข้าร่วมจำ�นวน
28 เรื่อง ซึ่งทางแจ็กซาได้คัดเลือกไอเดียของเด็กไทยจำ�นวน1 เรื่อง โดยได้นำ�ขึ้น
ไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ ในวันที่ 14 กันยายน ที่ผ่านมา คือ “การ
ทดลอง Capillary in Zero gravity” ผลงานของ นายวรวุฒิ จันทร์หอม คณะ
วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี” ซึ่งกระทรวงฯ
ให้ความสำ�คัญเป็นอย่างมากในการสนับสนุนพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และนวัตกรรมของเด็กไทยให้มีความทัดเทียมกับนานาประเทศ และ
เป็นกำ�ลังสำ�คัญด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศต่อไปในอนาคต
ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำ�นวยการ สวทช. กล่าวเพิ่มเติมว่า สวทช.
องค์กรด้านการวิจัยและพัฒนามีนโยบายให้การสนับสนุนเยาวชนในการพัฒนา
ความรู้ด้าน วทน. ซึ่งในแต่ละปีจะมีเยาวชนเข้าร่วมโครงการของ สวทช. เป็น
จำ�นวนมาก สำ�หรับโครงการนี้เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ข้อเสนอโครงการของเยาวชน
ไทยได้รับการคัดเลือกจากแจ๊กซา คือ “การโค้งของผิวของเหลวในอวกาศ(Capil-
lary in Zero gravity)” พร้อมกับข้อเสนอโครงการของเยาวชนอีก 4 เรื่องจาก 4
ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม นำ�ขึ้นไปทดลอง
บนสถานีอวกาศนานาชาติ โดยมนุษย์อวกาศญี่ปุ่น นอกจากนี้ ด้วยความร่วมมือ
ในระดับนานาชาติที่ประสบผล
สำ�เร็จเป็นอย่างดี แจ็กซาจึงได้
เปิดโอกาสให้เยาวชนที่ผ่านการ
คัดเลือกจากโครงการเข้ารับชม
การถ่ายทอดสดการทดลองทาง
วิทยาศาสตร์ของมนุษย์อวกาศ
ชาวญี่ปุ่น จากสถานีอวกาศ
นานาชาติ ผ่านห้องบังคับการ
ที่ศูนย์อวกาศสึคุบะ (Tsukuba
Space Center) ในวันพุธที่ 14
กันยายน 2559 และมีโอกาสเข้า
ร่วมกิจกรรมหลักสูตรการฝึกมนุษย์อวกาศระยะสั้น1 วัน อีกด้วย ซึ่งนับเป็นครั้ง
แรกการที่แจ็กซาเปิดโอกาสดังกล่าว และการที่เยาวชนไทยเข้าร่วมโครงการนี้จะ
เป็นประโยชน์ต่อการคิดและค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่ได้จากการทดลอง
ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก เพราะการทดลองนี้ไม่สามารถ
ทำ�ได้บนพื้นโลก
นายวรวุฒิ จันทร์หอม นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เจ้าของไอเดีย
การทดลอง “CapillaryinZerogravity” กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการทดลองนี้มา
จากการทำ�Lab ในห้องเรียน ซึ่งผมสังเกตว่าของเหลวที่อยู่ในภาชนะที่มีลักษณะ
เป็นหลอด ผิวของน้ำ�จะมีลักษณะแตกต่างกัน บางผิวมีลักษณะเว้าขึ้น บางผิวมี
ลักษณะเว้าลง ทำ�ให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการอ่านข้อมูล ผมจึงเริ่มหาข้อมูล
จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อนำ�มาสนับสนุนการทดลองในครั้งนี้ และพบว่าความ
เว้านูนของน้ำ�ขึ้นอยู่กับแรง adhesive และ cohesive ซึ่งในสมการจะมีแรง
เนื่องจากแรงโน้มถ่วงอยู่ในสมการ ผมจึงสงสัยว่าถ้าทดลองในสภาวะไรน้ำ�หนัก
ลักษณะของผิวของเหลวจะเป็นอย่างไร โดยการทดลองจะนำ�ของเหลวต่างชนิดกัน
มาบรรจุในเข็มฉีดยา(Plasticsyringe) จากนั้นสังเกตผิวของของเหลวแล้วนำ�มา
เปรียบเทียบกับการทดลองบนโลก
“ผมรู้สึกดีใจและตื่นเต้นมากครับ ที่การทดลองของผมได้รับคัดเลือก
เป็น 1 ใน 5 ของการทดลองในปีนี้ และเป็นประสบการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ที่ได้เข้า
ร่วมโครงการกับองค์กรระดับโลกอย่าง JAXA ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้เอาข้อ
สันนิฐานไปพิสูจน์และผลจากการทดลองไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงครับ”
นายวรวุฒิ จันทร์หอม กล่าว
ทั้งนี้สามารถติดตามการเดินทางเพื่อร่วมชมการทดลองแบบ Real time
ที่ญี่ปุ่นของเด็กไทย และติดตามข้อมูลโครงการ Try Zero-G 2016 ได้ที่
https://www.facebook.com/JaxaThailand
ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7
5ตุลาคม 2559 •
นักวิจัยนาโนเทค ได้รับทุนวิจัยลอรีอัล
“เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำ�ปี 2559
ดร.สุภาวดี นาเมืองรักษ์ นักวิจัยจากหน่วยวิจัยวัสดุนาโนและวิศวกรรม
ระบบนาโน ห้องปฏิบัติการคำ�นวณระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กับผลงานวิจัย
หัวข้อ “การประยุกต์ใช้แบบจำ�ลองโมเลกุลสามมิติ และการคำ�นวณด้วยเทคนิค
ทางเคมีคอมพิวเตอร์ขั้นสูงเพื่อการออกแบบและพัฒนาวัสดุโครงสร้างระดับนาโน
สำ�หรับการใช้งานด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” ได้รับการคัดเลือกให้
เป็น1 ใน3 ท่านผู้ได้รับทุนจาก3 สาขา ของโครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย
“เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science) ประจำ�ปี 2559
ดร.สุภาวดี นาเมืองรักษ์ ผู้ได้รับทุนวิจัยสาขาเคมี กล่าวถึงราย
ละเอียดของงานวิจัยว่า “การศึกษาเพื่อทำ�ความเข้าใจเชิงลึกระดับโมเลกุลใน
กระบวนการเกิดปฏิกิริยาเคมีในวัสดุนาโนเป็นกุญแจสำ�คัญในการออกแบบและ
พัฒนาวัสดุนาโนเพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน เช่น การบำ�บัดสภาพอากาศหรือ
การผลิตพลังงานชีวภาพจากชีวมวล ซึ่งจากแนวโน้มประชากรโลกและปริมาณ
การใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลให้การพัฒนาวิจัยด้านการสรรหาพลังงาน
ทดแทนควบคู่กับการพัฒนาทางด้านสิ่งแวดล้อมมีความสำ�คัญและสร้างสรรค์
ให้เกิดผลกระทบเชิงบวกในการพัฒนาพลังงานทางเลือก รวมไปถึงเพิ่มวิธีการ
แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางอากาศ และหวังว่าผลลัพธ์ที่ได้
จากงานวิจัยจะสร้างประโยชน์ให้กับทั้งระบบเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมทั่วโลก”
ทั้งนี้ทุนวิจัยลอรีอัลประเทศไทยเป็นทุนที่บริษัทลอรีอัล(ประเทศไทย)จำ�กัด
ด้วยความร่วมมือกับสำ�นักเลขาธิการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ และ
วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศรายชื่อนักวิจัยสตรี
ผู้มีผลงานอันโดดเด่นจนได้รับทุนโครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อ
สตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science) ประจำ�ปี 2559 โดย
ในปีนี้เป็นปีที่ 14 ของการดำ�เนินโครงการในประเทศไทย ซึ่งตอกย้ำ�ความ
มุ่งมั่นในการร่วมเชิดชูเกียรติสตรีในสายงานวิทยาศาสตร์และสนับสนุนงาน
ด้านการค้นคว้าและวิจัยเพื่อนำ�ไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทย
โดยมีนักวิจัยสตรีที่ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการนี้รวมแล้วทั้งสิ้น 58 ท่าน
6 nstda • ตุลาคม 2559
ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7
สวทช. เปิดศูนย์วิเคราะห์ทดสอบ
หนุนบริการทดสอบสินค้ามูลค่าสูงได้มาตรฐาน
พร้อมจับมือ 16 สมาชิกเครือข่ายศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์
ทั่วประเทศ เพิ่มกำ�ลังการแข่งขันผู้ประกอบการไทย
13 กันยายน 2559 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดพิธีเปิด “ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. หรือ NCTC (NSTDA Characterization and Testing Center)” เพื่อ
ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบตามวิธีมาตรฐานต่างๆ ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย มูลค่าสูง และได้มาตรฐาน พร้อมนักวิจัยวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญ
ทำ�ให้สามารถวิเคราะห์ทดสอบงานที่ซับซ้อนได้ เปิดดำ�เนินการ 7 วัน 24 ชั่วโมง พร้อมให้บริการด้วยความสะดวกและรวดเร็ว สนับสนุนการทำ�วิจัยและ
พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้ามูลค่าสูงทั้งภาครัฐและเอกชน ในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ หุ่นยนต์และแมคาทรอนิกส์ ยานยนต์และ
ชิ้นส่วนยานยนต์ พร้อมเสริมสร้างความเข้มแข็งด้วยลงนามความร่วมมือการทำ�งานในรูปแบบเครือข่ายศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ประเทศไทย กับศูนย์
เครื่องมือวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศรวม 16 แห่ง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยในตลาดโลก
สำ�หรับ ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. ตั้งอยู่ชั้น 3 อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2-C (INC2-C) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
สอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 0 2117 6850 อีเมล์ : nctc@nstda.or.th
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/22234-nctc-nstda
7ตุลาคม 2559 •
ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7
สวทช. นำ�คณะผู้ประกอบการไทยร่วมงาน
The 4th Forum on China-ASEAN Technology
Transfer and Collaborative Innovation
ณ นครหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ สำ�นักงาน
นวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำ�ผลงานวิจัย และผู้ประกอบการภาคเอกชนของไทย เข้า
ร่วมงานส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยี ในการประชุมจีน-อาเซียนว่าด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความร่วมมือด้านนวัตกรรมครั้งที่ 4 (The 4th
ForumonChina-ASEANTechnologyTransferandCollaborativeInnovation) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียนครั้งที่13(The
13thChina-ASEANExpo หรือCAEXPO) ณ นครหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่11-14 กันยายน2559
สำ�หรับงานนี้ สวทช. ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรและผู้ประกอบการภาคเอกชนของไทย จำ�นวน 28 ราย นำ�ผลงานวิจัยและผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรและ
อาหารแปรรูปที่มีความโดดเด่นทางด้านเทคโนโลยี จำ�นวน46 รายการ เข้าร่วมจัดแสดงในส่วนของนิทรรศการด้านเทคโนโลยีที่ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ
นครหนานหนิง ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมนิทรรศการเป็นจำ�นวนมาก นับเป็นการประชาสัมพันธ์และเปิดตลาดให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ
ของไทย ไม่ว่าจะเป็น น้ำ�ผึ้งจากชันโรง(StinglessBee) และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำ�ผึ้งชันโรง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพริก เช่น พริกแผ่น น้ำ�จิ้มอาหารทะเล
พริกป่นปรุงสำ�เร็จ เจลบรรเทาอาการปวดเมื่อยจากพริก ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้ไทย ฯลฯ นอกจากนั้น
ภายในงานยังมีการจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างผู้ประกอบการภาคเอกชนของไทย และตัวแทนจากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
ทางการเกษตรของประเทศจีนด้วย ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการของไทยในการเปิดตลาดในประเทศจีนอีกทางหนึ่ง
ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.nstda.or.th/tcttc/index.php/category/caexpo2016/
8 nstda • ตุลาคม 2559
ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7
ก.วิทย์ฯ สวทช. จับมือ มูลนิธิโครงการหลวง
ส่งมอบเห็ดหอมอร่อยสดนานยิ่งขึ้นแก่ผู้บริโภค
ด้วยนวัตกรรมใหม่ "ActivePAK BPW"
22 ก.ย.59 ณ พาร์ค พารากอน ศูนย์การค้าสยามพารากอน: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกับ มูลนิธิโครงการหลวง ส่งมอบเห็ดหอมอร่อยสดนานยิ่งขึ้นแก่ผู้บริโภคด้วย
บรรจุภัณฑ์แบบใหม่ “ActivePAKBPW" ที่มีเทคโนโลยีEMA(EquilibriumModifiedAtmosphere) สามารถสร้างสมดุลบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ จึง
คงความสด คุณค่า และรสชาติของเห็ดหอมให้สด อร่อย ได้นานสูงสุด2-5 เท่า ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค พร้อมตอกย้ำ�จุดยืนของโครงการหลวงที่
ช่วยสร้างอาชีพ และคุณภาพชีวิตที่ดีแก่เกษตรกรชาวดอยภาคเหนือ โดยมีผลลัพธ์เป็นเห็ดหอมสดคุณภาพสูงจากยอดดอย ส่งถึงมือผู้บริโภค ล่าสุดเผยโฉม
เห็ดหอมสดในถุงรุ่นใหม่ “ActivePAKBPW” แล้ว ในงานRoyalProjectMarket สดๆ จากเกษตรกรชาวดอย22-26 กันยายน2559 ณ พาร์ค พารากอน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/22247-mtec-activepak
ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7
9ตุลาคม 2559 •
ก.วิทย์ฯ สวทช. นำ�งานวิจัย
โลชั่นกันยุงนาโน-จุลินทรีย์ฆ่าลูกน้ำ�ยุงลาย"
รณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก-ไวรัสซิก้า จ.ปทุมธานี
วันที่ 28 กันยายน 2559 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง
ชาติ (สวทช.) : นางกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.) พร้อมด้วยนักวิจัยและพนักงาน สวทช. ลงพื้นที่ชุมชมร่วมใจพัฒนา หมู่ 4 ต.สวนพริกไทย อ.เมือง จ.ปทุมธานี
เพื่อทำ�กิจกรรมรณรงค์ “ยุงลาย พ่าย งานวิจัย” เดินรณรงค์เคาะประตูบ้านเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงการ
ป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้ไวรัสซิก้า ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์วิจัยของ สวทช. และพันธมิตร จำ�นวน 500 ชุด มาใช้
ในพื้นที่ เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำ�โรค โดยมีนายไพฑูรย์ สายเนตรงาม นายกองค์การบริหารส่วน
ตำ�บลสวนพริกไทย (อบต. สวนพริกไทย) เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ร่วมเดินรณรงค์ โดยได้รับความ
สนใจจากประชาชนจำ�นวนมาก
ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7
10 nstda • ตุลาคม 2559
สำ�หรับผลงานวิจัยที่ สวทช. นำ�มารณรงค์ป้องกันไข้เลือดออกและไวรัส
ซิกา ได้แก่ “มอสคิล” ชีวภัณฑ์กำ�จัดลูกน้ำ�ยุงลาย จากจุลินทรีย์จำ�พวกแบคทีเรีย
ที่ใช้ควบคุมและกำ�จัดลูกน้ำ�ยุงลายแทนการใช้สารเคมี โดยแบคทีเรียจะเข้าสู่ตัว
ลูกน้ำ�ยุงลายได้ 3 ทาง คือ ทางผิวหนัง ท่ออากาศ และปาก มีฤทธิ์เป็นพิษอย่าง
เฉพาะเจาะจงกับลูกน้ำ�ยุงลาย แบคทีเรียสามารถซึมผ่านของเหลวและออกฤทธิ์
ทำ�ลายเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหารและระบบเลือด ทำ�ให้เกิดสภาพที่เป็นด่างใน
กระเพาะของลูกน้ำ�ยุงลายส่งผลให้เกิดอาการอัมพาต และทำ�ให้ลูกน้ำ�ยุงลาย
ตายก่อนที่จะเจริญเป็นตัวเต็มวัย มีประสิทธิภาพกำ�จัดลูกน้ำ�ยุงลายได้ภายใน24
ชั่วโมง ผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ใช้กำ�จัดลูกน้ำ�ยุงลาย
ได้ มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และปลา ไม่สะสมในร่างกาย
คนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 
นอกจากนั้นแล้ว ยังมี “โลชั่นกันยุงนาโน” (NaNOMOS LOTION ) ที่
วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์นาโนเทค สวทช. ผลิตในรูปแบบสเปรย์ ใช้สำ�หรับทา
ผิวหนัง ด้วยเทคโนโลยีการกักเก็บทำ�ให้ได้เป็นนาโนอิมัลชั่นกักเก็บสารสังเคราะห์
ไอคาริดิน (Icaridin) ที่ออกฤทธิ์ไล่ยุงได้นานมากกว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งออกฤทธิ์ได้
นานกว่าผลิตภัณฑ์โลชั่นกันยุงทั่วไป และป้องกันยุงกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์นี้ จุดเด่นของโลชั่นกัน
ยุงนาโน ใช้เทคโนโลยีการกักเก็บในรูปแบบของนาโนอิมัลชั่นที่มีขนาดของอนุภาค
ระดับนาโนเมตร จึงทำ�ให้พื้นที่ผิวของอนุภาคเพิ่มขึ้น ช่วยป้องกันการระเหยและ
การเสื่อมสภาพของสารออกฤทธิ์ได้ดีเยี่ยม ลักษณะของโลชั่น มีความโปร่งใส
และมีกลิ่นสัมผัสที่น่าใช้ เพียงฉีดสเปรย์บริเวณผิวหนังที่ต้องการและทาให้ทั่วเพื่อ
ป้องกันยุงกัด ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพทางชีววิเคราะห์ช่วยป้องกันยุงลาย
บ้านกัดได้ โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) 
อย่างไรก็ตามสถานการณ์ไข้เลือดออกในปีนี้ยังพบผู้ป่วยน้อยเมื่อเปรียบ
เทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีที่ผ่านมา สำ�หรับไวรัสซิกาซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ
นำ�โรค รายงานล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ต้นปี 2559 ถึงปัจจุบัน พบ
ว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกาสะสม 279 รายจากทั่วประเทศ แม้จะ
อยู่ในภาวะควบคุมได้ แต่ด้วยความรุนแรงของเชื้อไวรัสซิกาก็มีผลต่อหญิงตั้ง
ครรภ์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เพราะทำ�ให้เด็กเกิดมาพิการแต่กำ�เนิด มีศีรษะเล็ก ดังนั้น
ประชาชนจึงต้องตื่นตัวและเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด ซึ่งกิจกรรมรณรงค์ครั้งนี้ได้
รับความสนใจจากประชาชนในตำ�บลสวนพริกไทยเป็นอย่างมาก และคาดหวังว่า
ผลงานวิจัยของ สวทช. และพันธมิตรจะช่วยทำ�ลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ�ยุงลาย
ภายในบริเวณที่พักอาศัยของประชาชน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้เลือด
ออกและไข้ติดเชื้อไวรัสซิกาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7
11ตุลาคม 2559 •
จากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
สวทช. รับรางวัล “หน่วยงานที่มีความ
พร้อมในการให้บริการรองรับ IPv6” ปี 2559
สืบเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ผลักดัน ส่งเสริม เร่งรัด และ
ติดตามผลการดำ�เนินงาน IPv6 ของหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหน่วยงานหลักทำ�
หน้าที่บริหารจัดการตามมติดังกล่าว โดยกระทรวงฯ ได้เชิญให้หน่วยงานต่างๆ
เข้าร่วมประกวดในโครงการ “การนำ�หน่วยงานเปลี่ยนผ่านไปสู่IPv6” โดยมีหลัก
เกณฑ์ให้ปรับปรุงเครือข่ายของบริการให้รองรับIPv6 ทั้ง3 ด้าน อันประกอบด้วย
บริการเว็บไซต์ บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และบริการโดเมนเนม ทั้งนี้ คณะ
กรรมการได้ประเมินความพร้อมใช้ของบริการดังกล่าว ในช่วงวันที่ 22 สิงหาคม
ถึงวันที่ 1 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งบริการทั้งหมดจะต้องมีความเสถียรอย่าง
น้อย 80%
ในการนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้พิจารณาตามหลัก
เกณฑ์ของการประกวดดังกล่าวแล้วเห็นว่า สวทช. ได้ดำ�เนินการตามหลักเกณฑ์
ที่กำ�หนด จึงมอบรางวัล "หน่วยงานที่มีความพร้อมในการให้บริการรองรับ IPv6"
ประจำ�ปี 2559 ให้กับ สวทช. โดยคุณวารุณี ลีละธนาวิทย์ (ผช.ผพว. ด้าน
สารสนเทศ) และ ดร.ทวีทรัพย์ อภิวัฒนาพงศ์ (ผอ.ฝ่ายบริการคอมพิวเตอร์และ
เครือข่าย) เป็นผู้แทน สวทช. เข้ารับรางวัลดังกล่าวจากนางทรงพร โกมลสุรเดช
ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในงาน “IPv6 ประจำ�ปี 2559” เมื่อ
วันที่ 23 กันยายน 2559 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7
12 nstda • ตุลาคม 2559
ซอฟต์แวร์พาร์ค สวทช. หนุน
อุตสาหกรรมโลจิสติกส์
เพิ่มประสิทธิภาพด้วย IoT
30 ก.ย. 59 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย
เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand) ร่วมกับ IoT Consortium และพันธมิตร จัดโครงการ “พัฒนาแนวคิดนวัตกรรม Internet of
Things(IoT) เพื่ออุตสาหกรรมโลจิสติกส์” ส่งเสริมให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ผู้ประกอบการธุรกิจด้านไอที และคนรุ่นใหม่
นำ�ความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีมาร่วมกันสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิ
ทัล (Digital Economy) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/22269-nstda-makerthon
ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7
13ตุลาคม 2559 •
สวทช. ร่วมกับ เว็ลธ์ แมเนจเม้นท์ ซิสเท็ม
ประกาศผลสุดยอดแอนิเมชั่น เงินออมสร้างชาติ
3 ผลงานเข้าตา คว้ารางวัลรองชนะเลิศร่วมกัน 3 รางวัล
3 ตุลาคม2559- สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) โดยเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย(ซอฟต์แวร์พาร์ค)
ร่วมกับ บริษัทเว็ลธ์ แมเนจเม้นท์ ซิสเท็ม จำ�กัด ผู้พัฒนาเว็บไซต์ www.WealthMagik.com ที่ให้บริการข้อมูลความรู้ด้านการวางแผนการออมด้วย
กองทุนรวม จัดกิจกรรมการประกวดพัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่นในระดับอุดมศึกษา ภายใต้ชื่อ โครงการ Software Park - WealthMagik Animation
Award ในหัวข้อ “สุดยอดแอนิเมชั่น เงินออมสร้างชาติ” มาตั้งแต่เดือนเมษายน 2559 ที่ผ่านมา เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา และ
บุคคลทั่วไป ได้ตระหนักถึงคุณค่าของการออม และส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาศักยภาพด้านไอที และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ได้นำ�ความรู้ด้าน
การพัฒนาสื่อซอฟต์แวร์แอนิเมชั่น ผสมผสานความรู้ด้านการเงินส่วนบุคคลมาประยุกต์ เพื่อถ่ายทอดให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และเข้าใจได้ง่ายในรูปแบบ
การ์ตูนแอนิเมชั่น โดยมีนักศึกษาระดับปริญญาตรี - โท ให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการมากกว่า 40 ทีมจากทั่วประเทศ ซึ่งแต่ละทีมที่ผ่านเข้า
รอบได้ถูกคัดเลือกจากเนื้อเรื่อง สตอรี่บอร์ด และผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ รวมทั้งร่วมกิจกรรมบูธแค้มป์ระหว่างการแข่งขัน เพื่อเสริมความรู้ด้านการเงิน
การพัฒนาแอนิเมชั่นจากผู้เชี่ยวชาญ โดยกิจกรรมครั้งนี้เป็นการแข่งขันประกวดรอบ 10 ทีมสุดท้ายแล้ว ผลปรากฎว่ามี 3 ผลงานเข้าตา คว้ารางวัล
รองชนะเลิศร่วมกัน 3 รางวัล แทนสุดยอดทีมชนะเลิศแอนิเมชั่น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/22270-nstda-wealthmagik-animation-award
ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7
14 nstda • ตุลาคม 2559
10 เทคโนโลยี
ที่น่าจับตามอง
สำ�หรับธุรกิจ
รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์
เทคโนโลยีใดจะมาแรงสำ�หรับธุรกิจยุคใหม่
ค้นหาคำ�ตอบได้ในการปาฐกถาพิเศษ โดย
ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล
ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7
15ตุลาคม 2559 •
ข้อมูลภาพอ้างอิง
• http://www.drinksware.co.uk/uploads/Products/product_55/
cornstarch-cups.jpg
• http://www.bandt.com.au/information/uploads/2016/03/tesla-
wall-charger-e1442438329238.jpg
• http://solidsmack.com/wp-content/uploads/2013/09/igo3d_
builder_3d-printer.jpg
ในงานมหกรรม Thailand Tech Show 2016 ณ ศูนย์การประชุมแห่ง
ชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 กันยายน ที่ผ่านมา ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำ�นวยการ
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ปาฐกถาพิเศษ
หัวข้อ “10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองสำ�หรับธุรกิจ”
การปาฐกถาพิเศษหัวข้อดังกล่าวนี้ เริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2553 และครั้ง
นี้เป็นครั้งที่ 7 แล้ว เป็นความพยายามของ สวทช. ที่จะสื่อสารเรื่องเทคโนโลยี
ใหม่ๆ ที่จะส่งผลกระทบในช่วงเวลา 5-10 ปีข้างหน้า เพื่อให้ผู้ประกอบการและ
คนทั่วไปเตรียมตัวได้อย่างเหมาะสม โดยเทคโนโลยีจำ�นวนมากเกี่ยวข้องกับเรื่อง
อิเล็กทรอนิกส์และไอที เทคโนโลยีชีวภาพ วัสดุศาสตร์ และนาโนเทคโนโลยี ซึ่ง
ศูนย์วิจัยแห่งชาติใน สวทช. อาจเกีี่ยวข้องอยู่ด้วย แต่บางเทคโนโลยีก็นำ�เสนอ
ในอีกรูปแบบหนึ่งคือ ผ่านผลกระทบในเชิงสุขภาพ พลังงาน หรือการดำ�รงชีวิต
ในรูปแบบต่างๆ
ดังตัวอย่าง ปี 2553 เราพูดถึง รถยนต์ไฟฟ้า ตอนนี้เราก็เห็นแล้วว่า
รถยนต์ Tesla มาแรงมากๆ ในต่างประเทศ
ปี 2554 เราพูดถึง พลาสติกชีวภาพ ตอนนี้ก็เห็นมีแก้วกาแฟในร้านดัง
บางแห่งที่หันมาใช้วัสดุแบบนี้แล้ว
ในหลายปีหลัง เราพูดถึงการพิมพ์ล้ำ�ยุคอย่าง 3D หรือ 4D printing
รวมไปถึง bioprinting ที่เป็นการพิมพ์เซลล์ที่ใช้ซ่อมแซมร่างกาย ก็จะเห็นว่า
3D-printing เริ่มมีผลิตภัณฑ์ขายกันเกร่อแล้ว ขณะที่4D กับbioprinting ก็ใกล้
จะวางตลาดเข้ามาเรื่อยๆ แล้ว
เกม Pokemon Go ก็ใช้เทคโนโลยี Augmented
Reality ที่เราพูดถึงไปเมื่อ 3 ปีก่อน
ในปีนี้ เราขอนำ�เสนอเทคโนโลยีทั้ง 10 แบบ ใน
ลักษณะของภาพจำ�ลองอนาคต หรือ scenario ตั้งแต่เราตื่น
ไปจนถึงการทำ�งาน หรือดำ�รงชีวิตระหว่างวัน
ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7
16 nstda • ตุลาคม 2559
 
2. Personalized Food
อาหารในอนาคตอันใกล้ อาจจะกลายมาเป็นยาจริงๆ ดังที่บางท่าน
อาจจะมีอาหารเฉพาะบุคคล หรือ personalized food
อาหารเฉพาะบุคคล คืออะไร ?
มันคืออาหารที่ออกแบบโดยอาศัยข้อมูลสุขภาพของตัวท่านอย่างจำ�เพาะ
ซึ่งการจะทำ�เช่นนั้นได้ ต้องอาศัยข้อมูลทางชีววิทยาจำ�นวนมาก ต้องใช้เทคโนโลยี
ที่ลงท้ายด้วยโอมิกส์ทั้งหลาย เช่น จีโนมิกส์(genomics) ที่ศึกษาข้อมูลพันธุกรรม
ทั้งหมดของคนเรา โปรตีโอมิกส์(proteomics) ที่ศึกษาโปรตีนทุกชนิดของคนเรา
อีกหน่อยท่านจะได้ยินเรื่องเกี่ยวกับ nutrigenomics และ nutrigenetics ที่บอก
ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับพันธุกรรมของแต่ละคนได้ จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยี
แบบนี้ขนานไปกับ personal genomics และ pharmacogenetics ที่ช่วย
ออกแบบยาตามข้อมูลพันธุกรรมที่เราเคยกล่าวถึงไปตั้งแต่ปี 2553 และ 2554
ตัวอย่าง บริษัทMyDietClinic รับตรวจแนวโน้มการเกิดโรคต่างๆ ไม่ว่า
จะเป็น โรคความดันโลหิตสูงจากโซเดียม ความดันโลหิตต่ำ�จากโฟเลต โรคจาก
ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง เป็นต้น โดยประเมินจากพันธุกรรมใน7 ยีน แล้วนำ�มาใช้
ออกแบบสูตรอาหาร พร้อมให้คำ�แนะนำ�ด้านสุขภาพแบบต่างๆ ถือเป็นเทคโนโลยี
แบบ mass customization
บริษัท TNO Innovation For Life พัฒนาวิธีหาความเชื่อมโยงอาหารกับ
สุขภาพ และพัฒนาวิธีทำ� 3D Printed Food สำ�หรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการกลืน
โดยออกแบบทั้งสารอาหาร รูปร่างหน้าตา และรสชาติของอาหารด้วย
จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสำ�คัญจะไปคอนเวอร์เจนซ์ รวมเข้ากับเทคโนโลยี
ใหม่ๆ ด้วยกันอยู่เสมอๆ จะเกิด niche ใหม่ๆ ด้านอุตสาหกรรมอาหารขึ้นใน
ไม่ช้า สำ�หรับประเทศไทย โดยความริเริ่มของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก็ริเริ่มและผลักดันให้มีการก่อตั้งFoodInnopolis ขึ้นที่
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย แล้วก็คงมีนวัตกรรมหลายๆ อย่างที่ตอบสนองต่อ
เทรนด์ “อาหารที่เป็นยาด้วย” แบบนี้ด้วยเช่นกัน เทคโนโลยีการออกแบบ
โครงสร้างอาหาร และอาหารเฉพาะบุคคล จึงเป็น 2 เทคโนโลยีที่ไปด้วยกัน
อย่างใกล้ชิด
Food, Cosmetics & Clothes
1. Food Structure Design
ลองจินตนาการว่า ตื่นเช้าขึ้นมา ท่านต้องทำ�อะไรบ้าง หลังจากทำ�กิจวัตร
ประจำ�วันแล้ว ท่านก็ต้องทานอาหารใช่ไหมครับ อาหารที่ดีต่อสุขภาพมักไม่ค่อย
ถูกปาก เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะมาช่วย เกี่ยวข้องกับการออกแบบโครงสร้างอาหาร
หรือFoodStructureDesign เพื่อให้อาหารที่ดีมีความน่ารับประทานมากขึ้น จึง
เป็นเทคโนโลยีสำ�คัญ และเป็นเทคโนโลยีลำ�ดับที่ 2 ที่เราจะกล่าวถึงในวันนี้
การจะทำ�ให้อาหารดูดี มีเนื้อสัมผัสดี อีกทั้งยังสามารถให้กลิ่น รสชาติ
และสารอาหาร ได้อย่างครบถ้วน จะต้องอาศัยความรู้เรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
จำ�นวนมาก และถือเป็นงานวิจัยด้านวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุที่มาแรงทีเดียว
ตัวอย่างการออกแบบอาหารจำ�พวกนี้ เช่น ผลงานวิจัยไส้กรอกไขมันต่ำ�ของ
เอ็มเทค สวทช. ที่ทำ�ร่วมกับ บริษัทเบทาโกร ซึ่งสามารถทำ�ให้ไส้กรอกมีปริมาณ
ไขมันต่ำ�กว่า 5% จากที่ปกติแล้วไส้กรอกทั่วไปจะมีไขมันอยู่ราว 20-30% โดย
ไม่ทำ�ให้รสสัมผัสนุ่มลิ้นของไส้กรอกเปลี่ยนแปลงไปด้วย ที่สำ�คัญคือสารที่ใส่
ทดแทนไขมันเข้าไป ยังช่วยเพิ่มเส้นใยอาหารที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย
สำ�หรับประเทศไทยที่กำ�ลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งอาจจะมีปัญหา
การเคี้ยวอาหารยากลำ�บาก ก็มีความพยายามพัฒนาอาหารที่มีเคี้ยวง่าย ส่วน
ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ก็ต้องการอาหารบดที่ไม่เหลวจนเกินไป เพราะอาจไหล
เข้าหลอดลม และก่อให้เกิดภาวะติดเชื้อและเป็นอันตรายได้
ข้อมูลภาพอ้างอิง
• http://3dprintingindustry.com/wp-content/uploads/2014/11/tno-3d-printing-food-
spore.png
ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7
17ตุลาคม 2559 •
3. Second Skin
เมื่อทานอาหารที่ออกแบบอย่างเหมาะสมกับร่างกายสุดๆ แล้ว ต่อไป
ก็ต้องแต่งหน้าแต่งตัว เรื่องหน้าตาผิวพรรณ ถือเป็นเรื่องที่คนสมัยนี้ให้ความ
สนใจกันมาก มีผลิตภัณฑ์บำ�รุงผิวออกมาใหม่ๆ ตลอดเวลาจะดีเพียงใด หาก
มีผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ใช้งานง่าย และที่สำ�คัญคือ ไม่แพงนัก วิธีใช้งานก็เพียง
แค่ทามันลงบนผิวของเรา มันก็จะทำ�หน้าที่ประหนึ่งผิวหนังที่สอง หรือ Second
Skin ให้กับเราได้ เรื่องนี้ใกล้จะเป็นจริงแล้ว เพราะมีการผนึกกำ�ลังของกลุ่มนักวิจัย
จาก MIT, Massachusetts General Hospital, บริษัท Living Proof และ Olivo
Labs ในสหรัฐฯ ที่กำ�ลังพัฒนานวัตกรรมที่เรียกว่าSecondSkinPolymer กันอยู่
พอลิเมอร์ดังกล่าวมีสมบัติที่ดี แทบจะเทียบเท่ากับผิวหนังของหนุ่มสาว
คือ ยืดหยุ่นสูงถึง250% ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง ยอมให้ออกซิเจนและความชุ่มชื้น
ซึมผ่านลงไปสู่ผิวจริงได้ดี พอลิเมอร์ดังกล่าวคือ polysiloxane หากทาพอลิเมอร์
ดังกล่าว แล้วทาเจลอีกชนิดหนี่งที่มี platinum เป็นองค์ประกอบทำ�หน้าที่เป็น
ตัวเร่งปฏิกิริยาทับลงไป พอลิเมอร์ในชั้นแรกก็เกิดโครงสร้างที่ประสานกันในไม่กี่
วินาที เกิดเป็นฟิล์มใสที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทำ�หน้าที่ปกป้องผิวกายเราให้ดู
อ่อนเยาว์ เต่งตึง และชุ่มชื้น โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทำ�งานได้นานถึง24 ชั่วโมง
ทนต่อเหงื่อและน้ำ� ไม่ลอกออกง่ายๆ และยังช่วยป้องกันรังสียูวีด้วย ที่สำ�คัญคือ
Second Skin ดังกล่าว ยังสามารถประยุกต์ใช้ในการนำ�ส่งยาหรือสารอื่นๆ ได้
อีกด้วย สำ�หรับในประเทศไทย มีห้องปฏิบัติการนาโนเวชสำ�อางของศูนย์นาโน
เทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ที่สนใจทำ�วิจัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นี้อยู่
4. Micro Supercapacitor
หลังจากแต่งหน้าแต่งตา ก็มาที่เรื่องเสื้อผ้ากันครับ ทุกคนคงมีมือถือกัน
นะครับ เดี๋ยวนี้มีการใช้งานกันหนักมาก บางทีต้องมีเพาเวอร์แบ็งก์ติดตัวด้วย
บางคนมากกว่า 1 เครื่องอีกต่างหาก หากเสื้อผ้าที่เราสวมใส่สามารถชาร์จไฟให้
มือถือได้ ก็คงจะดีนะครับ ขณะนี้มีการพัฒนาตัวเก็บประจุยิ่งยวดขนาดจิ๋ว หรือ
MicroSupercapacitor กันอยู่(อุปกรณ์ที่ว่านี้มีชื่อย่อทางวิชาการว่าEDLC) โดยมี
โครงสร้างง่ายๆ ที่ประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า2 ขั้ว และสารอิเล็กโทรไลต์(electrolyte) 
เมื่อชาร์จไฟประจุบวกและลบจะวิ่งไปยังขั้วตรงข้าม และเมื่อคายประจุ พวกมันก็
จะวิ่งกลับมาที่สารอิเล็กโทรไลต์เหมือนเดิม โดยไม่มีปฏิกิริยาเคมีมาเกี่ยวข้อง จึง
ต่างจากแบตเตอรี่ในปัจจุบัน ระบบแบบนี้ ชาร์จและปล่อยประจุได้เร็วมาก และ
ไม่มีการสึกกร่อนด้วย จึงชาร์จไฟได้เป็นล้านๆ ครั้งโดยไม่เสื่อมสภาพ ที่สำ�คัญ
คือ สามารถออกแบบให้มีลักษณะโค้งงอได้ และสร้างซ้อนกันเป็นชั้นๆ ได้ จึง
ทำ�ให้ออกแบบให้มีความจุมาก แต่ยังมีขนาดเล็กมาก ลักษณะสำ�คัญอีกอย่าง
คือ สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เก็บเกี่ยวพลังงานได้หลายรูปแบบ เช่น จากการ
สั่นสะเทือนหรือจากอุณหภูมิ จึงเหมาะมากที่จะนำ�มาใช้ประกอบเข้ากับเส้นใย
เสื้อผ้า มีการคาดหมายว่าในอนาคต เราน่าจะชาร์จมือถือจากเสื้อผ้าหรืออุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์แบบสวมใส่ได้(wearableelectronics) จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ไกล
เกินเอื้อมอีกต่อไป ขณะนี้ในประเทศไทย ศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
และอิเล็กทรอนิกส์อินทรีย์ของเนคเทค สวทช. กำ�ลังวิจัยและพัฒนาMicroSuper
capacitor แบบนี้อยู่ โดยอาศัยกราฟีนมาใช้เป็นขั้วไฟฟ้า
ข้อมูลภาพอ้างอิง
• https://d1o50x50snmhul.cloudfront.net/wp-content/uploads/2016/05/gettyimages-
145083512-800x533.jpg
ข้อมูลภาพอ้างอิง
• http://i2.cdn.turner.com/money/dam/assets/160627163001-baubax-jacket-780x439.
jpg
ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7
18 nstda • ตุลาคม 2559
Transportation
5. Programmable Materials
เมื่อแต่งตัวกันแล้ว เราก็จะเริ่มออกเดินทางกันครับ ในอนาคตอันใกล้
เราอาจจะได้ใช้ยานพาหนะที่มีการออกแบบเรื่องรูปร่างไว้ในโครงสร้างตั้งแต่ต้นใน
สามปีที่ผ่านมา เราได้กล่าวถึงวัสดุฉลาดหลายจำ�พวก ทั้งพวกที่ซ่อมแซมตัวเองได้
หรือมีคุณสมบัติพิเศษแบบที่เรียกว่าเป็น smart polymer, smart textile และ
intelligent material
ในปีนี้จะขอพูดถึงวัสดุฉลาดอีกจำ�พวกหนึ่งคือ วัสดุที่สามารถตั้งโปรแกรม
ได้ หรือprogrammablematerials กล่าวเปรียบเทียบให้ง่าย ปัจจุบันเรามีวัสดุที่
เปลี่ยนแปลงสภาพบางอย่างได้เมื่อถูกกระตุ้น เช่น แก้วน้ำ�ที่เติมน้ำ�ร้อน แล้วจะมี
ภาพปรากฏให้เห็น หรือหลอดไฟที่เมื่อมีสัญญาณเรียกเข้ามายังมือถือ ก็จะสว่าง
ขึ้น แต่ในกรณีนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และฟังก์ชันการทำ�งานได้ ตาม
สิ่งแวดล้อมหรือสภาวการณ์ต่างๆ เช่น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
ความชื้น สนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า ความดัน สภาพทางเคมี หรือแม้แต่เมื่อถูก
แสงในย่านความถี่ต่างๆ ปัจจุบันใน ภาคอุตสาหกรรมต้องการวัสดุพวกนี้อย่างยิ่ง 
แต่ยังมีข้อจำ�กัด เนื่องจากมีราคาแพง หรือสร้างและประกอบยุ่งยาก
มีความพยายามจะออกแบบยานยนต์ หรืออากาศยานด้วยวัสดุโปรแกรม
ได้ เช่น กรณีของคาร์บอนไฟเบอร์โปรแกรมได้ คาร์บอนไฟเบอร์เป็นวัสดุที่มีความ
แข็งแรง เหนียว และมีน้ำ�หนักเบา ซึ่งทำ�ให้ใช้งานได้ในหลายอุตสาหกรรม บริษัท
BriggsAutomotiveCompany ผู้ผลิตปีกซูเปอร์คาร์ ร่วมกับบริษัทAirbus และ
MIT ออกแบบการขึ้นรูปชิ้นส่วนที่ใช้ควบคุมปริมาณอากาศที่จะปล่อยให้เข้าสู่ห้อง
เครื่องเจ็ต แต่ละชิ้นส่วนของคาร์บอนไฟเบอร์โปรแกรมได้ จะเปลี่ยนรูปร่างของมัน
เพื่อสร้างความได้เปรียบทางแอโรไดนามิกส์ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำ�งาน
ทำ�ให้ช่วยลดน้ำ�หนักอากาศยานลงอย่างมาก และไม่จำ�เป็นต้องใช้อุปกรณ์เชิงกล
ควบคุมอีกต่อไป วัสดุโปรแกรมได้ยังมีใช้ในข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน เช่น ทำ�จาก
ไม้อัดโปรแกรมได้ ซึ่งอาจนำ�มาใช้ทำ�เฟอร์นิเจอร์ที่มีรูปร่างขนย้ายได้ง่าย แต่จะ
กลายเป็นรูปร่างสุดท้ายเมื่อไปถึงที่หมายแล้วและโดนกระตุ้น หรือบางทีแม้แต่
เสื้อผ้า ก็อาจใช้วัสดุการพิมพ์แบบ3 มิติ มาช่วยสร้างชุดเสื้อผ้าแบบโปรแกรมได้
เช่นกัน วัสดุพวกนี้จึงออกแบบให้มีหน้าตารูปร่างสุดท้าย ตั้งแต่การเริ่มต้นผลิต 
ในส่วนของ สวทช. มีห้องปฏิบัติการใน เอ็มเทค และ นาโนเทค ที่ทำ�วิจัยเกี่ยว
กับวัสดุทำ�นองนี้อยู่
 
6. Image & VDO Content Analytics
เมื่อขึ้นยานพาหนะที่อาจจะใช้วัสดุที่โปรแกรมล่วงหน้าได้แล้ว ลองมาดู
เรื่องการจราจรกันต่อไป ปัจจุบัน กล้องดิจิทัลสมาร์ตโฟนที่ถ่ายภาพได้ ระบบ
คลาวด์ที่มีพื้นที่เก็บข้อมูลเหลือเฟือ ประกอบกับการเจริญเติบโตของเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต ทำ�ให้ผู้คนทุกมุมโลกเชื่อมต่อ สร้างและเก็บข้อมูลภาพและวิดีโอ
มากมายตลอดเวลา เทคโนโลยีการวิเคราะห์เนื้อหาภาพและวิดีโอ (Image and
VideoContent Analytics) จึงมีส่วนสำ�คัญในการจัดการข้อมูลจำ�นวนมหาศาล
ดังกล่าว มีหลายนวัตกรรมที่สอดรับกับการจัดการบิ๊กเดต้า(BigData) หรือข้อมูล
ขนาดใหญ่ ในโครงการสำ�คัญระดับชาติ ในโครงการสมาร์ตซิตี้ ที่จะนำ�ร่องที่
จังหวัดภูเก็ต โดยเน้นในเรื่องการรักษาความปลอดภัย ภาพจากกล้องCCTV ใน
ปัจจุบัน ยังนำ�มาใช้งานแบบ passive เป็นหลัก คือ เกิดเหตุแล้วนำ�มาใช้ช่วย
ตรวจสอบ แต่ในยุคหน้าเทคโนโลยี Content Analytics จะช่วยทำ�ให้เป็นแบบ
active และ real time
ปัจจุบันเริ่มมีการนำ�เทคโนโลยี Deep learning มาใช้วิเคราะห์ภาพ
และวิดีโอในทางอุตสาหกรรมบ้างแล้ว สำ�หรับประเทศไทย เทคโนโลยีนี้เคยถูก
นำ�มาใช้ในอุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม อาทิ ด้านอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ในขณะที่กลุ่ม
อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ อาทิ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการ
ขนส่งและการบิน อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ ล้วน
มีความต้องการใช้งานเทคโนโลยีนี้
นอกจากนี้ ยังใช้ในร้านสะดวกซื้อ งานรักษาความปลอดภัย และการช่วย
เหลือชีวิต เช่น ตรวจสอบเพลิงไหม้ และการทะเลาะวิวาทแบบอัตโนมัติ และยัง
ใช้ป้องกันการก่อการร้ายได้ด้วย
ทั้งหมดที่ว่ามานี้ ล้วนแล้วแต่สนับสนุนแนวคิดการสร้าง New S-Curve
ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยหลุดจาก “กับดัก
รายได้ปานกลาง” ที่เราเผชิญอยู่ ตามแนวนโยบายของกระทรวงและของประเทศ
ข้อมูลภาพอ้างอิง
• http://thenewstack.io/shapeshifted-things-4d-printed-materials-programmed-for-self-
transformation/
• https://media.licdn.com/mpr/mpr/AAEAAQAAAAAAAAe8AAAAJDE4NDJiNzU-
zLTEwZjUtNGZmMy1iZWVjLWM5NzdlYWZlOGY2Mg.jpg
ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7
19ตุลาคม 2559 •
Work & Health
7. Terahertz Tech
เทคโนโลยีอีก 3 อย่างที่เหลือ จะเกี่ยวข้องกับการแพทย์ และการรักษา
โรคในอนาคตอันใกล้ในแบบใดแบบหนึ่ง เรามาดูกันก่อนที่เทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์
(Terahertz Technology) คลื่นเทระเฮิรตซ์ คือ ช่วงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่
ระหว่าง คลื่นไมโครเวฟ และ คลื่นอินฟราเรด ซึ่งมีความยาวคลื่นอยู่
ในช่วง 30 ไมโครเมตร ถึง 3 มิลลิเมตร ซึ่งเหมาะจะใช้ในการสื่อสาร
โทรคมนาคม การตรวจจับสารเคมี และสารตั้งต้นวัตถุระเบิด จึงเหมาะสำ�หรับ
ใช้งานในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมที่เป็น
massmarket อย่างเช่น การควบคุมคุณภาพของกระดาษ การควบคุมความหนา
ของสีเคลือบผิววัสดุ การตรวจสอบรอยต่อของวงจรใน ICs และใช้ตรวจสอบ
กระบวนการ และผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม และการควบคุมคุณภาพการผลิต
(QC) ได้ด้วย
คลื่นเทระเฮิรตซ์ยังใช้ตรวจสอบโครงสร้างและแยกแยะองค์ประกอบทาง
เคมีอย่างเฉพาะเจาะจงได้ จึงใช้กับผลิตภัณฑ์ด้านเภสัชกรรม และด้านชีวการ
แพทย์ ได้ แต่ความโดนเด่นของเทคโนโลยีนี้ ซึ่งน่าจะเหมาะกับประเทศไทยเป็น
อย่างมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ เทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ เหมาะมากกับวัสดุจำ�พวก
อินทรีย์สาร อย่างสินค้าเกษตรชนิดต่างๆ นั่นเอง เพราะไม่ทำ�อันตรายกับตัวอย่าง
 
8. Service Drone
โดรน(drone) หรือ อากาศยานไร้คนขับ ก็คือ อากาศยานที่สามารถบิน
และปฏิบัติงานได้โดยไม่ได้มีนักบินหรือคนบังคับอยู่ภายในตัวอากาศยานนั่นเอง
ทั้งนี้โดรนนั้นสามารถถูกควบคุมได้หลายรูปแบบ โดรนที่ถูกใช้งานในภาคพลเรือน
มีแนวโน้มการเติบโตสูงกว่าโดรนทางการทหารมาก มีการนำ�โดรนไปประยุกต์
ใช้อย่างหลากหลาย ทั้งในด้าน การเกษตร การจัดการภัยพิบัติ (ในพื้นที่เข้าถึง
ยาก) การบริการถ่ายภาพทางอากาศ(โดยเฉพาะในพื้นที่หรือระดับความสูงที่เดิม
เข้าไม่ถึง) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การตรวจสอบโครงสร้างขนาด
ใหญ่ ตลอดจนการสำ�รวจพื้นที่เพื่อใช้ในการตัดสินใจและวางแผนในการสร้างสิ่ง
ก่อสร้างขนาดใหญ่ เป็นต้น
จุดเด่นของโดรนก็คือ ให้ภาพที่มีรายละเอียดสูงกว่าภาพถ่ายดาวเทียม
และยังสามารถนำ�ภาพเหล่านั้นมาreconstruct ใหม่ให้ได้เป็นภาพแบบจำ�ลอง3
มิติ (3D Model) ของสถานที่นั้นๆ ได้อีกด้วย เห็นได้ว่ายังมีช่องว่างให้นักธุรกิจ
และนักลงทุนในประเทศไทยอีกมาก รวมถึงยังมีโอกาสและช่องทางให้นักวิจัยและ
นักพัฒนาในประเทศไทยพัฒนาโดรนเพิ่มเติม เช่น โดรนที่สามารถใช้งานได้อย่าง
สะดวกภายในอาคาร โดรนซึ่งสามารถยึดเกาะกับสิ่งของและบรรทุกของ รวมทั้ง
โดรนที่ทำ�งานร่วมกันเป็นทีม หรือ Swarm Robot (มีการทดสอบใช้สร้างสะพาน
เชือกชั่วคราว) เป็นต้น
ในทางการแพทย์มีการใช้โดรนในการขนส่งยารักษาโรคไปส่งในบริเวณ
ที่ขับรถไปได้ยากลำ�บากในฤดูฝนของประเทศในแอฟริกา หรือบริษัทยักษ์ใหญ่
ของโลกอย่าง อะเมซอน ประกาศจะใช้โดรนในการขนส่งสินค้าน้ำ�หนักไม่เกิน
2.5 กิโลกรัม และที่หมายอยู่ห่างจากคลังสินค้าไม่เกิน 16 กิโลเมตร ส่วนเฟซบุ๊ก
ก็มีแผนจะปล่อยโดรนพิเศษที่ปล่อยสัญญาณ wifi ได้ เพื่อให้คนในพื้นที่ห่างไกล
เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และต้นปีนี้เองมีบริษัทที่ประกาศแผนงานจะใช้โดรนในการ
ขนส่งคนด้วย ข้อจำ�กัดของโดรนในงานบริการก็คือ ข้อบังคับหรือกฎหมายที่จะ
เข้ามาควบคุมความเสี่ยงจากการก่อการร้าย
 ข้อมูลภาพอ้างอิง
• http://www.fujitsu.com/global/Images/20110912-01a_tcm100-838802.jpg
• https://www2.aofoundation.org/AOFileServerSurgery/MyPortalFiles?FilePath=/Surgery/
en/_img/surgery/FurtherReading/PFxM2/2.3-3.jpg
ข้อมูลภาพอ้างอิง
• https://pbs.twimg.com/media/ChB3I7qWYAAMNLg.jpg
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2559 (ฉบับที่ 19)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2559 (ฉบับที่ 19)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2559 (ฉบับที่ 19)

More Related Content

What's hot

NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&Dพลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&DNational Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
รายงานประจำปี 2559 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รายงานประจำปี 2559 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติรายงานประจำปี 2559 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รายงานประจำปี 2559 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติNational Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 

What's hot (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
 
หนังสือแผนกลยุทธ์ฉบับที่ 6
หนังสือแผนกลยุทธ์ฉบับที่ 6หนังสือแผนกลยุทธ์ฉบับที่ 6
หนังสือแผนกลยุทธ์ฉบับที่ 6
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
 
NSTDA Annual Report 2015
NSTDA Annual Report 2015NSTDA Annual Report 2015
NSTDA Annual Report 2015
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
 
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&Dพลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
 
Nstda Newsletter ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2558Nstda Newsletter ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2558
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2562
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2558NSTDA Newsletter ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2558
 
Startup Thailand 2016 FACTSHEET
Startup Thailand 2016 FACTSHEETStartup Thailand 2016 FACTSHEET
Startup Thailand 2016 FACTSHEET
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2561
 
S&T with NSTDA
S&T with NSTDAS&T with NSTDA
S&T with NSTDA
 
รายงานประจำปี 2559 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รายงานประจำปี 2559 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติรายงานประจำปี 2559 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รายงานประจำปี 2559 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 

Similar to NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2559 (ฉบับที่ 19)

TNRR - ความท้าทาย
TNRR - ความท้าทายTNRR - ความท้าทาย
TNRR - ความท้าทายBoonlert Aroonpiboon
 

Similar to NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2559 (ฉบับที่ 19) (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
 
TNRR - ความท้าทาย
TNRR - ความท้าทายTNRR - ความท้าทาย
TNRR - ความท้าทาย
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
 

More from National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand

More from National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
 
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2563
 

NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2559 (ฉบับที่ 19)

  • 1. 1ตุลาคม 2559 • 5 6 8 13 7 119 12 21 2 3 ก.วิทย์ฯ สวทช. เปิดเวทีให้ความรู้ “ซิก้า”...ไวรัสร้าย ภัยเงียบแม่ตั้งครรภ์ สวทช. เปิดศูนย์วิเคราะห์ทดสอบ บริการทดสอบสินค้า จับมือ 16 เครือข่ายศูนย์เครื่องมือวิทย าศาสตร์ทั่วไทย สุดยอดไอเดียเด็กไทย! มนุษย์อวกาศญี่ปุ่น เลือกไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ สวทช. นำ�คณะผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงาน The 4th Forum on China-ASEAN ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ก.วิทย์ฯ สวทช. จับมือ มูลนิธิโครงการหลวงส่งมอบ เห็ดหอมอร่อยสดนานด้วย "ActivePAK BPW" สวทช. รับรางวัล “หน่วยงานที่มีความพร้อม ในการให้บริการรองรับ IPv6” ประจำ�ปี 2559 นักวิจัยนาโนเทค ได้รับทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำ�ปี 2559 ก.วิทย์ฯ สวทช. นำ�งานวิจัย “โลชั่นกันยุงนาโน-จุลินทรีย์ฆ่า ลูกน้ำ�ยุงลาย” รณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก จ.ปทุมธานี ซอฟต์แวร์พาร์ค สวทช. หนุนอุตสาหกรรมโลจิสติกส์เพิ่มประสิทธิภาพด้วย IoT สวทช. ร่วมกับ เว็ลธ์ แมเนจเม้นท์ ซิสเท็ม ประกาศผลสุดยอดแอนิเมชั่น เงินออมสร้างชาติ ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 ปฏิทินกิจกรรม Activity ในเล่ม Insight ข่าว News บทความ Article 14 10 เทคโนโลยี ที่น่าจับตามอง สำ�หรับธุรกิจ
  • 2. 2 nstda • ตุลาคม 2559 ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 ก.วิทย์ฯ สวทช. เปิดเวทีให้ความรู้ “ซิก้า”...ไวรัสร้าย ภัยเงียบสำ�หรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 6 กันยายน 2559 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) โดย โปรแกรมโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ� คลัสเตอร์สุขภาพและการแพทย์ จัดเสวนา เรื่อง: “Zika…ไวรัสร้าย ภัยเงียบสำ�หรับคุณ แม่ตั้งครรภ์” โดยมี ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำ�นวยการ สวทช. เปิดการเสวนา และมีผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสร่วมเสวนา ได้แก่ นพ.ยงเจือ เหล่าศิริถาวร นายแพทย์ชำ�นาญการ ศูนย์สารสนเทศทางระบาดวิทยาและการพยากรณ์โรค สำ�นักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำ�นวยการศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำ�นวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัย โลก ด้านค้นคว้าและอบรมโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน ผศ. ดร.ชรินทร์ โหมดชัง อาจารย์ประจำ�ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ นพ.ปรีดา มาลาสิทธิ์ ผู้อำ�นวยการหน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. และที่ปรึกษาหน่วยวิจัยโรคไข้เลือดออก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล โดยมี ศ. นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล ประธานคลัสเตอร์สุขภาพและการ แพทย์ สวทช. เป็นผู้ดำ�เนินรายการ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการเสวนาได้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงภัยอันตรายของไวรัสZika โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/22209-zika-nstda
  • 3. 3ตุลาคม 2559 • ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 สุดยอดไอเดียเด็กไทย! มนุษย์อวกาศญี่ปุ่นเลือกไปทดลอง บนสถานีอวกาศนานาชาติ 8 ก.ย. 59 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำ�นักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำ�นักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) ร่วมกับ องค์การสำ�รวจอวกาศญี่ปุ่น หรือแจ็กซา (Japan Aerospace Exploration Agency : JAXA) แถลง ข่าวผลการคัดเลือกสุดยอดไอเดียการทดลองวิทยาศาสตร์ของเยาวชนไทย คือ “การโค้งของผิวของเหลวในอวกาศ (Capillary in Zero gravity)” ส่งให้กับมนุษย์อวกาศญี่ปุ่นทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ พร้อมเปิดโอกาสให้เด็ก ไทยเจ้าของไอเดียร่วมเป็นสักขีพยานชมการทดลองสดที่ญี่ปุ่น ในวันที่ 14 กันยายน 2559
  • 4. 4 nstda • ตุลาคม 2559 ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี กล่าวว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำ�นักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำ�นักงานพัฒนาเทคโนโลยี อวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) ร่วมกับ องค์การสำ�รวจ อวกาศญี่ปุ่น หรือ Japan Aerospace Exploration Agency (แจ็กซา) จัดทำ� โครงการ Asian Try Zero-G 2016 เปิดรับแนวคิดการทดลองวิทยาศาสตร์จาก เยาวชนไทย เพื่อส่งให้มนุษย์อวกาศญี่ปุ่น นายทะคุยะ โอะนิชิ เลือกนำ�ไปใช้ ทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง บนสถานีอวกาศนานาชาติ โดยในโครงการมี เยาวชนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จาก นิวซีแลนด์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ปากีสถาน เป็นต้น ให้ความสนใจส่งไอเดียการทดลองวิทยาศาสตร์เข้าร่วมจำ�นวน 28 เรื่อง ซึ่งทางแจ็กซาได้คัดเลือกไอเดียของเด็กไทยจำ�นวน1 เรื่อง โดยได้นำ�ขึ้น ไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ ในวันที่ 14 กันยายน ที่ผ่านมา คือ “การ ทดลอง Capillary in Zero gravity” ผลงานของ นายวรวุฒิ จันทร์หอม คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี” ซึ่งกระทรวงฯ ให้ความสำ�คัญเป็นอย่างมากในการสนับสนุนพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของเด็กไทยให้มีความทัดเทียมกับนานาประเทศ และ เป็นกำ�ลังสำ�คัญด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศต่อไปในอนาคต ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำ�นวยการ สวทช. กล่าวเพิ่มเติมว่า สวทช. องค์กรด้านการวิจัยและพัฒนามีนโยบายให้การสนับสนุนเยาวชนในการพัฒนา ความรู้ด้าน วทน. ซึ่งในแต่ละปีจะมีเยาวชนเข้าร่วมโครงการของ สวทช. เป็น จำ�นวนมาก สำ�หรับโครงการนี้เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ข้อเสนอโครงการของเยาวชน ไทยได้รับการคัดเลือกจากแจ๊กซา คือ “การโค้งของผิวของเหลวในอวกาศ(Capil- lary in Zero gravity)” พร้อมกับข้อเสนอโครงการของเยาวชนอีก 4 เรื่องจาก 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม นำ�ขึ้นไปทดลอง บนสถานีอวกาศนานาชาติ โดยมนุษย์อวกาศญี่ปุ่น นอกจากนี้ ด้วยความร่วมมือ ในระดับนานาชาติที่ประสบผล สำ�เร็จเป็นอย่างดี แจ็กซาจึงได้ เปิดโอกาสให้เยาวชนที่ผ่านการ คัดเลือกจากโครงการเข้ารับชม การถ่ายทอดสดการทดลองทาง วิทยาศาสตร์ของมนุษย์อวกาศ ชาวญี่ปุ่น จากสถานีอวกาศ นานาชาติ ผ่านห้องบังคับการ ที่ศูนย์อวกาศสึคุบะ (Tsukuba Space Center) ในวันพุธที่ 14 กันยายน 2559 และมีโอกาสเข้า ร่วมกิจกรรมหลักสูตรการฝึกมนุษย์อวกาศระยะสั้น1 วัน อีกด้วย ซึ่งนับเป็นครั้ง แรกการที่แจ็กซาเปิดโอกาสดังกล่าว และการที่เยาวชนไทยเข้าร่วมโครงการนี้จะ เป็นประโยชน์ต่อการคิดและค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่ได้จากการทดลอง ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก เพราะการทดลองนี้ไม่สามารถ ทำ�ได้บนพื้นโลก นายวรวุฒิ จันทร์หอม นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เจ้าของไอเดีย การทดลอง “CapillaryinZerogravity” กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการทดลองนี้มา จากการทำ�Lab ในห้องเรียน ซึ่งผมสังเกตว่าของเหลวที่อยู่ในภาชนะที่มีลักษณะ เป็นหลอด ผิวของน้ำ�จะมีลักษณะแตกต่างกัน บางผิวมีลักษณะเว้าขึ้น บางผิวมี ลักษณะเว้าลง ทำ�ให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการอ่านข้อมูล ผมจึงเริ่มหาข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อนำ�มาสนับสนุนการทดลองในครั้งนี้ และพบว่าความ เว้านูนของน้ำ�ขึ้นอยู่กับแรง adhesive และ cohesive ซึ่งในสมการจะมีแรง เนื่องจากแรงโน้มถ่วงอยู่ในสมการ ผมจึงสงสัยว่าถ้าทดลองในสภาวะไรน้ำ�หนัก ลักษณะของผิวของเหลวจะเป็นอย่างไร โดยการทดลองจะนำ�ของเหลวต่างชนิดกัน มาบรรจุในเข็มฉีดยา(Plasticsyringe) จากนั้นสังเกตผิวของของเหลวแล้วนำ�มา เปรียบเทียบกับการทดลองบนโลก “ผมรู้สึกดีใจและตื่นเต้นมากครับ ที่การทดลองของผมได้รับคัดเลือก เป็น 1 ใน 5 ของการทดลองในปีนี้ และเป็นประสบการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ที่ได้เข้า ร่วมโครงการกับองค์กรระดับโลกอย่าง JAXA ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้เอาข้อ สันนิฐานไปพิสูจน์และผลจากการทดลองไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงครับ” นายวรวุฒิ จันทร์หอม กล่าว ทั้งนี้สามารถติดตามการเดินทางเพื่อร่วมชมการทดลองแบบ Real time ที่ญี่ปุ่นของเด็กไทย และติดตามข้อมูลโครงการ Try Zero-G 2016 ได้ที่ https://www.facebook.com/JaxaThailand
  • 5. ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 5ตุลาคม 2559 • นักวิจัยนาโนเทค ได้รับทุนวิจัยลอรีอัล “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำ�ปี 2559 ดร.สุภาวดี นาเมืองรักษ์ นักวิจัยจากหน่วยวิจัยวัสดุนาโนและวิศวกรรม ระบบนาโน ห้องปฏิบัติการคำ�นวณระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กับผลงานวิจัย หัวข้อ “การประยุกต์ใช้แบบจำ�ลองโมเลกุลสามมิติ และการคำ�นวณด้วยเทคนิค ทางเคมีคอมพิวเตอร์ขั้นสูงเพื่อการออกแบบและพัฒนาวัสดุโครงสร้างระดับนาโน สำ�หรับการใช้งานด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” ได้รับการคัดเลือกให้ เป็น1 ใน3 ท่านผู้ได้รับทุนจาก3 สาขา ของโครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science) ประจำ�ปี 2559 ดร.สุภาวดี นาเมืองรักษ์ ผู้ได้รับทุนวิจัยสาขาเคมี กล่าวถึงราย ละเอียดของงานวิจัยว่า “การศึกษาเพื่อทำ�ความเข้าใจเชิงลึกระดับโมเลกุลใน กระบวนการเกิดปฏิกิริยาเคมีในวัสดุนาโนเป็นกุญแจสำ�คัญในการออกแบบและ พัฒนาวัสดุนาโนเพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน เช่น การบำ�บัดสภาพอากาศหรือ การผลิตพลังงานชีวภาพจากชีวมวล ซึ่งจากแนวโน้มประชากรโลกและปริมาณ การใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลให้การพัฒนาวิจัยด้านการสรรหาพลังงาน ทดแทนควบคู่กับการพัฒนาทางด้านสิ่งแวดล้อมมีความสำ�คัญและสร้างสรรค์ ให้เกิดผลกระทบเชิงบวกในการพัฒนาพลังงานทางเลือก รวมไปถึงเพิ่มวิธีการ แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางอากาศ และหวังว่าผลลัพธ์ที่ได้ จากงานวิจัยจะสร้างประโยชน์ให้กับทั้งระบบเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมทั่วโลก” ทั้งนี้ทุนวิจัยลอรีอัลประเทศไทยเป็นทุนที่บริษัทลอรีอัล(ประเทศไทย)จำ�กัด ด้วยความร่วมมือกับสำ�นักเลขาธิการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ และ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศรายชื่อนักวิจัยสตรี ผู้มีผลงานอันโดดเด่นจนได้รับทุนโครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อ สตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science) ประจำ�ปี 2559 โดย ในปีนี้เป็นปีที่ 14 ของการดำ�เนินโครงการในประเทศไทย ซึ่งตอกย้ำ�ความ มุ่งมั่นในการร่วมเชิดชูเกียรติสตรีในสายงานวิทยาศาสตร์และสนับสนุนงาน ด้านการค้นคว้าและวิจัยเพื่อนำ�ไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทย โดยมีนักวิจัยสตรีที่ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการนี้รวมแล้วทั้งสิ้น 58 ท่าน
  • 6. 6 nstda • ตุลาคม 2559 ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 สวทช. เปิดศูนย์วิเคราะห์ทดสอบ หนุนบริการทดสอบสินค้ามูลค่าสูงได้มาตรฐาน พร้อมจับมือ 16 สมาชิกเครือข่ายศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ทั่วประเทศ เพิ่มกำ�ลังการแข่งขันผู้ประกอบการไทย 13 กันยายน 2559 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดพิธีเปิด “ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. หรือ NCTC (NSTDA Characterization and Testing Center)” เพื่อ ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบตามวิธีมาตรฐานต่างๆ ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย มูลค่าสูง และได้มาตรฐาน พร้อมนักวิจัยวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญ ทำ�ให้สามารถวิเคราะห์ทดสอบงานที่ซับซ้อนได้ เปิดดำ�เนินการ 7 วัน 24 ชั่วโมง พร้อมให้บริการด้วยความสะดวกและรวดเร็ว สนับสนุนการทำ�วิจัยและ พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้ามูลค่าสูงทั้งภาครัฐและเอกชน ในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ หุ่นยนต์และแมคาทรอนิกส์ ยานยนต์และ ชิ้นส่วนยานยนต์ พร้อมเสริมสร้างความเข้มแข็งด้วยลงนามความร่วมมือการทำ�งานในรูปแบบเครือข่ายศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ประเทศไทย กับศูนย์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศรวม 16 แห่ง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยในตลาดโลก สำ�หรับ ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. ตั้งอยู่ชั้น 3 อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2-C (INC2-C) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี สอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 0 2117 6850 อีเมล์ : nctc@nstda.or.th อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/22234-nctc-nstda
  • 7. 7ตุลาคม 2559 • ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 สวทช. นำ�คณะผู้ประกอบการไทยร่วมงาน The 4th Forum on China-ASEAN Technology Transfer and Collaborative Innovation ณ นครหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ สำ�นักงาน นวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำ�ผลงานวิจัย และผู้ประกอบการภาคเอกชนของไทย เข้า ร่วมงานส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยี ในการประชุมจีน-อาเซียนว่าด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความร่วมมือด้านนวัตกรรมครั้งที่ 4 (The 4th ForumonChina-ASEANTechnologyTransferandCollaborativeInnovation) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียนครั้งที่13(The 13thChina-ASEANExpo หรือCAEXPO) ณ นครหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่11-14 กันยายน2559 สำ�หรับงานนี้ สวทช. ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรและผู้ประกอบการภาคเอกชนของไทย จำ�นวน 28 ราย นำ�ผลงานวิจัยและผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรและ อาหารแปรรูปที่มีความโดดเด่นทางด้านเทคโนโลยี จำ�นวน46 รายการ เข้าร่วมจัดแสดงในส่วนของนิทรรศการด้านเทคโนโลยีที่ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ นครหนานหนิง ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมนิทรรศการเป็นจำ�นวนมาก นับเป็นการประชาสัมพันธ์และเปิดตลาดให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ ของไทย ไม่ว่าจะเป็น น้ำ�ผึ้งจากชันโรง(StinglessBee) และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำ�ผึ้งชันโรง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพริก เช่น พริกแผ่น น้ำ�จิ้มอาหารทะเล พริกป่นปรุงสำ�เร็จ เจลบรรเทาอาการปวดเมื่อยจากพริก ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้ไทย ฯลฯ นอกจากนั้น ภายในงานยังมีการจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างผู้ประกอบการภาคเอกชนของไทย และตัวแทนจากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ทางการเกษตรของประเทศจีนด้วย ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการของไทยในการเปิดตลาดในประเทศจีนอีกทางหนึ่ง ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.nstda.or.th/tcttc/index.php/category/caexpo2016/
  • 8. 8 nstda • ตุลาคม 2559 ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 ก.วิทย์ฯ สวทช. จับมือ มูลนิธิโครงการหลวง ส่งมอบเห็ดหอมอร่อยสดนานยิ่งขึ้นแก่ผู้บริโภค ด้วยนวัตกรรมใหม่ "ActivePAK BPW" 22 ก.ย.59 ณ พาร์ค พารากอน ศูนย์การค้าสยามพารากอน: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกับ มูลนิธิโครงการหลวง ส่งมอบเห็ดหอมอร่อยสดนานยิ่งขึ้นแก่ผู้บริโภคด้วย บรรจุภัณฑ์แบบใหม่ “ActivePAKBPW" ที่มีเทคโนโลยีEMA(EquilibriumModifiedAtmosphere) สามารถสร้างสมดุลบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ จึง คงความสด คุณค่า และรสชาติของเห็ดหอมให้สด อร่อย ได้นานสูงสุด2-5 เท่า ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค พร้อมตอกย้ำ�จุดยืนของโครงการหลวงที่ ช่วยสร้างอาชีพ และคุณภาพชีวิตที่ดีแก่เกษตรกรชาวดอยภาคเหนือ โดยมีผลลัพธ์เป็นเห็ดหอมสดคุณภาพสูงจากยอดดอย ส่งถึงมือผู้บริโภค ล่าสุดเผยโฉม เห็ดหอมสดในถุงรุ่นใหม่ “ActivePAKBPW” แล้ว ในงานRoyalProjectMarket สดๆ จากเกษตรกรชาวดอย22-26 กันยายน2559 ณ พาร์ค พารากอน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/22247-mtec-activepak
  • 9. ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 9ตุลาคม 2559 • ก.วิทย์ฯ สวทช. นำ�งานวิจัย โลชั่นกันยุงนาโน-จุลินทรีย์ฆ่าลูกน้ำ�ยุงลาย" รณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก-ไวรัสซิก้า จ.ปทุมธานี วันที่ 28 กันยายน 2559 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ชาติ (สวทช.) : นางกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมด้วยนักวิจัยและพนักงาน สวทช. ลงพื้นที่ชุมชมร่วมใจพัฒนา หมู่ 4 ต.สวนพริกไทย อ.เมือง จ.ปทุมธานี เพื่อทำ�กิจกรรมรณรงค์ “ยุงลาย พ่าย งานวิจัย” เดินรณรงค์เคาะประตูบ้านเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงการ ป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้ไวรัสซิก้า ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์วิจัยของ สวทช. และพันธมิตร จำ�นวน 500 ชุด มาใช้ ในพื้นที่ เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำ�โรค โดยมีนายไพฑูรย์ สายเนตรงาม นายกองค์การบริหารส่วน ตำ�บลสวนพริกไทย (อบต. สวนพริกไทย) เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ร่วมเดินรณรงค์ โดยได้รับความ สนใจจากประชาชนจำ�นวนมาก
  • 10. ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 10 nstda • ตุลาคม 2559 สำ�หรับผลงานวิจัยที่ สวทช. นำ�มารณรงค์ป้องกันไข้เลือดออกและไวรัส ซิกา ได้แก่ “มอสคิล” ชีวภัณฑ์กำ�จัดลูกน้ำ�ยุงลาย จากจุลินทรีย์จำ�พวกแบคทีเรีย ที่ใช้ควบคุมและกำ�จัดลูกน้ำ�ยุงลายแทนการใช้สารเคมี โดยแบคทีเรียจะเข้าสู่ตัว ลูกน้ำ�ยุงลายได้ 3 ทาง คือ ทางผิวหนัง ท่ออากาศ และปาก มีฤทธิ์เป็นพิษอย่าง เฉพาะเจาะจงกับลูกน้ำ�ยุงลาย แบคทีเรียสามารถซึมผ่านของเหลวและออกฤทธิ์ ทำ�ลายเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหารและระบบเลือด ทำ�ให้เกิดสภาพที่เป็นด่างใน กระเพาะของลูกน้ำ�ยุงลายส่งผลให้เกิดอาการอัมพาต และทำ�ให้ลูกน้ำ�ยุงลาย ตายก่อนที่จะเจริญเป็นตัวเต็มวัย มีประสิทธิภาพกำ�จัดลูกน้ำ�ยุงลายได้ภายใน24 ชั่วโมง ผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ใช้กำ�จัดลูกน้ำ�ยุงลาย ได้ มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และปลา ไม่สะสมในร่างกาย คนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  นอกจากนั้นแล้ว ยังมี “โลชั่นกันยุงนาโน” (NaNOMOS LOTION ) ที่ วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์นาโนเทค สวทช. ผลิตในรูปแบบสเปรย์ ใช้สำ�หรับทา ผิวหนัง ด้วยเทคโนโลยีการกักเก็บทำ�ให้ได้เป็นนาโนอิมัลชั่นกักเก็บสารสังเคราะห์ ไอคาริดิน (Icaridin) ที่ออกฤทธิ์ไล่ยุงได้นานมากกว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งออกฤทธิ์ได้ นานกว่าผลิตภัณฑ์โลชั่นกันยุงทั่วไป และป้องกันยุงกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์นี้ จุดเด่นของโลชั่นกัน ยุงนาโน ใช้เทคโนโลยีการกักเก็บในรูปแบบของนาโนอิมัลชั่นที่มีขนาดของอนุภาค ระดับนาโนเมตร จึงทำ�ให้พื้นที่ผิวของอนุภาคเพิ่มขึ้น ช่วยป้องกันการระเหยและ การเสื่อมสภาพของสารออกฤทธิ์ได้ดีเยี่ยม ลักษณะของโลชั่น มีความโปร่งใส และมีกลิ่นสัมผัสที่น่าใช้ เพียงฉีดสเปรย์บริเวณผิวหนังที่ต้องการและทาให้ทั่วเพื่อ ป้องกันยุงกัด ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพทางชีววิเคราะห์ช่วยป้องกันยุงลาย บ้านกัดได้ โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)  อย่างไรก็ตามสถานการณ์ไข้เลือดออกในปีนี้ยังพบผู้ป่วยน้อยเมื่อเปรียบ เทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีที่ผ่านมา สำ�หรับไวรัสซิกาซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ นำ�โรค รายงานล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ต้นปี 2559 ถึงปัจจุบัน พบ ว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกาสะสม 279 รายจากทั่วประเทศ แม้จะ อยู่ในภาวะควบคุมได้ แต่ด้วยความรุนแรงของเชื้อไวรัสซิกาก็มีผลต่อหญิงตั้ง ครรภ์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เพราะทำ�ให้เด็กเกิดมาพิการแต่กำ�เนิด มีศีรษะเล็ก ดังนั้น ประชาชนจึงต้องตื่นตัวและเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด ซึ่งกิจกรรมรณรงค์ครั้งนี้ได้ รับความสนใจจากประชาชนในตำ�บลสวนพริกไทยเป็นอย่างมาก และคาดหวังว่า ผลงานวิจัยของ สวทช. และพันธมิตรจะช่วยทำ�ลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ�ยุงลาย ภายในบริเวณที่พักอาศัยของประชาชน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้เลือด ออกและไข้ติดเชื้อไวรัสซิกาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 11. ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 11ตุลาคม 2559 • จากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สวทช. รับรางวัล “หน่วยงานที่มีความ พร้อมในการให้บริการรองรับ IPv6” ปี 2559 สืบเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ผลักดัน ส่งเสริม เร่งรัด และ ติดตามผลการดำ�เนินงาน IPv6 ของหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหน่วยงานหลักทำ� หน้าที่บริหารจัดการตามมติดังกล่าว โดยกระทรวงฯ ได้เชิญให้หน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมประกวดในโครงการ “การนำ�หน่วยงานเปลี่ยนผ่านไปสู่IPv6” โดยมีหลัก เกณฑ์ให้ปรับปรุงเครือข่ายของบริการให้รองรับIPv6 ทั้ง3 ด้าน อันประกอบด้วย บริการเว็บไซต์ บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และบริการโดเมนเนม ทั้งนี้ คณะ กรรมการได้ประเมินความพร้อมใช้ของบริการดังกล่าว ในช่วงวันที่ 22 สิงหาคม ถึงวันที่ 1 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งบริการทั้งหมดจะต้องมีความเสถียรอย่าง น้อย 80% ในการนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้พิจารณาตามหลัก เกณฑ์ของการประกวดดังกล่าวแล้วเห็นว่า สวทช. ได้ดำ�เนินการตามหลักเกณฑ์ ที่กำ�หนด จึงมอบรางวัล "หน่วยงานที่มีความพร้อมในการให้บริการรองรับ IPv6" ประจำ�ปี 2559 ให้กับ สวทช. โดยคุณวารุณี ลีละธนาวิทย์ (ผช.ผพว. ด้าน สารสนเทศ) และ ดร.ทวีทรัพย์ อภิวัฒนาพงศ์ (ผอ.ฝ่ายบริการคอมพิวเตอร์และ เครือข่าย) เป็นผู้แทน สวทช. เข้ารับรางวัลดังกล่าวจากนางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในงาน “IPv6 ประจำ�ปี 2559” เมื่อ วันที่ 23 กันยายน 2559 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
  • 12. ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 12 nstda • ตุลาคม 2559 ซอฟต์แวร์พาร์ค สวทช. หนุน อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เพิ่มประสิทธิภาพด้วย IoT 30 ก.ย. 59 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand) ร่วมกับ IoT Consortium และพันธมิตร จัดโครงการ “พัฒนาแนวคิดนวัตกรรม Internet of Things(IoT) เพื่ออุตสาหกรรมโลจิสติกส์” ส่งเสริมให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ผู้ประกอบการธุรกิจด้านไอที และคนรุ่นใหม่ นำ�ความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีมาร่วมกันสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิ ทัล (Digital Economy) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/22269-nstda-makerthon
  • 13. ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 13ตุลาคม 2559 • สวทช. ร่วมกับ เว็ลธ์ แมเนจเม้นท์ ซิสเท็ม ประกาศผลสุดยอดแอนิเมชั่น เงินออมสร้างชาติ 3 ผลงานเข้าตา คว้ารางวัลรองชนะเลิศร่วมกัน 3 รางวัล 3 ตุลาคม2559- สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) โดยเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย(ซอฟต์แวร์พาร์ค) ร่วมกับ บริษัทเว็ลธ์ แมเนจเม้นท์ ซิสเท็ม จำ�กัด ผู้พัฒนาเว็บไซต์ www.WealthMagik.com ที่ให้บริการข้อมูลความรู้ด้านการวางแผนการออมด้วย กองทุนรวม จัดกิจกรรมการประกวดพัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่นในระดับอุดมศึกษา ภายใต้ชื่อ โครงการ Software Park - WealthMagik Animation Award ในหัวข้อ “สุดยอดแอนิเมชั่น เงินออมสร้างชาติ” มาตั้งแต่เดือนเมษายน 2559 ที่ผ่านมา เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา และ บุคคลทั่วไป ได้ตระหนักถึงคุณค่าของการออม และส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาศักยภาพด้านไอที และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ได้นำ�ความรู้ด้าน การพัฒนาสื่อซอฟต์แวร์แอนิเมชั่น ผสมผสานความรู้ด้านการเงินส่วนบุคคลมาประยุกต์ เพื่อถ่ายทอดให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และเข้าใจได้ง่ายในรูปแบบ การ์ตูนแอนิเมชั่น โดยมีนักศึกษาระดับปริญญาตรี - โท ให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการมากกว่า 40 ทีมจากทั่วประเทศ ซึ่งแต่ละทีมที่ผ่านเข้า รอบได้ถูกคัดเลือกจากเนื้อเรื่อง สตอรี่บอร์ด และผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ รวมทั้งร่วมกิจกรรมบูธแค้มป์ระหว่างการแข่งขัน เพื่อเสริมความรู้ด้านการเงิน การพัฒนาแอนิเมชั่นจากผู้เชี่ยวชาญ โดยกิจกรรมครั้งนี้เป็นการแข่งขันประกวดรอบ 10 ทีมสุดท้ายแล้ว ผลปรากฎว่ามี 3 ผลงานเข้าตา คว้ารางวัล รองชนะเลิศร่วมกัน 3 รางวัล แทนสุดยอดทีมชนะเลิศแอนิเมชั่น อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/22270-nstda-wealthmagik-animation-award
  • 14. ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 14 nstda • ตุลาคม 2559 10 เทคโนโลยี ที่น่าจับตามอง สำ�หรับธุรกิจ รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์ เทคโนโลยีใดจะมาแรงสำ�หรับธุรกิจยุคใหม่ ค้นหาคำ�ตอบได้ในการปาฐกถาพิเศษ โดย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
  • 15. ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 15ตุลาคม 2559 • ข้อมูลภาพอ้างอิง • http://www.drinksware.co.uk/uploads/Products/product_55/ cornstarch-cups.jpg • http://www.bandt.com.au/information/uploads/2016/03/tesla- wall-charger-e1442438329238.jpg • http://solidsmack.com/wp-content/uploads/2013/09/igo3d_ builder_3d-printer.jpg ในงานมหกรรม Thailand Tech Show 2016 ณ ศูนย์การประชุมแห่ง ชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 กันยายน ที่ผ่านมา ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำ�นวยการ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองสำ�หรับธุรกิจ” การปาฐกถาพิเศษหัวข้อดังกล่าวนี้ เริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2553 และครั้ง นี้เป็นครั้งที่ 7 แล้ว เป็นความพยายามของ สวทช. ที่จะสื่อสารเรื่องเทคโนโลยี ใหม่ๆ ที่จะส่งผลกระทบในช่วงเวลา 5-10 ปีข้างหน้า เพื่อให้ผู้ประกอบการและ คนทั่วไปเตรียมตัวได้อย่างเหมาะสม โดยเทคโนโลยีจำ�นวนมากเกี่ยวข้องกับเรื่อง อิเล็กทรอนิกส์และไอที เทคโนโลยีชีวภาพ วัสดุศาสตร์ และนาโนเทคโนโลยี ซึ่ง ศูนย์วิจัยแห่งชาติใน สวทช. อาจเกีี่ยวข้องอยู่ด้วย แต่บางเทคโนโลยีก็นำ�เสนอ ในอีกรูปแบบหนึ่งคือ ผ่านผลกระทบในเชิงสุขภาพ พลังงาน หรือการดำ�รงชีวิต ในรูปแบบต่างๆ ดังตัวอย่าง ปี 2553 เราพูดถึง รถยนต์ไฟฟ้า ตอนนี้เราก็เห็นแล้วว่า รถยนต์ Tesla มาแรงมากๆ ในต่างประเทศ ปี 2554 เราพูดถึง พลาสติกชีวภาพ ตอนนี้ก็เห็นมีแก้วกาแฟในร้านดัง บางแห่งที่หันมาใช้วัสดุแบบนี้แล้ว ในหลายปีหลัง เราพูดถึงการพิมพ์ล้ำ�ยุคอย่าง 3D หรือ 4D printing รวมไปถึง bioprinting ที่เป็นการพิมพ์เซลล์ที่ใช้ซ่อมแซมร่างกาย ก็จะเห็นว่า 3D-printing เริ่มมีผลิตภัณฑ์ขายกันเกร่อแล้ว ขณะที่4D กับbioprinting ก็ใกล้ จะวางตลาดเข้ามาเรื่อยๆ แล้ว เกม Pokemon Go ก็ใช้เทคโนโลยี Augmented Reality ที่เราพูดถึงไปเมื่อ 3 ปีก่อน ในปีนี้ เราขอนำ�เสนอเทคโนโลยีทั้ง 10 แบบ ใน ลักษณะของภาพจำ�ลองอนาคต หรือ scenario ตั้งแต่เราตื่น ไปจนถึงการทำ�งาน หรือดำ�รงชีวิตระหว่างวัน
  • 16. ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 16 nstda • ตุลาคม 2559   2. Personalized Food อาหารในอนาคตอันใกล้ อาจจะกลายมาเป็นยาจริงๆ ดังที่บางท่าน อาจจะมีอาหารเฉพาะบุคคล หรือ personalized food อาหารเฉพาะบุคคล คืออะไร ? มันคืออาหารที่ออกแบบโดยอาศัยข้อมูลสุขภาพของตัวท่านอย่างจำ�เพาะ ซึ่งการจะทำ�เช่นนั้นได้ ต้องอาศัยข้อมูลทางชีววิทยาจำ�นวนมาก ต้องใช้เทคโนโลยี ที่ลงท้ายด้วยโอมิกส์ทั้งหลาย เช่น จีโนมิกส์(genomics) ที่ศึกษาข้อมูลพันธุกรรม ทั้งหมดของคนเรา โปรตีโอมิกส์(proteomics) ที่ศึกษาโปรตีนทุกชนิดของคนเรา อีกหน่อยท่านจะได้ยินเรื่องเกี่ยวกับ nutrigenomics และ nutrigenetics ที่บอก ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับพันธุกรรมของแต่ละคนได้ จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยี แบบนี้ขนานไปกับ personal genomics และ pharmacogenetics ที่ช่วย ออกแบบยาตามข้อมูลพันธุกรรมที่เราเคยกล่าวถึงไปตั้งแต่ปี 2553 และ 2554 ตัวอย่าง บริษัทMyDietClinic รับตรวจแนวโน้มการเกิดโรคต่างๆ ไม่ว่า จะเป็น โรคความดันโลหิตสูงจากโซเดียม ความดันโลหิตต่ำ�จากโฟเลต โรคจาก ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง เป็นต้น โดยประเมินจากพันธุกรรมใน7 ยีน แล้วนำ�มาใช้ ออกแบบสูตรอาหาร พร้อมให้คำ�แนะนำ�ด้านสุขภาพแบบต่างๆ ถือเป็นเทคโนโลยี แบบ mass customization บริษัท TNO Innovation For Life พัฒนาวิธีหาความเชื่อมโยงอาหารกับ สุขภาพ และพัฒนาวิธีทำ� 3D Printed Food สำ�หรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการกลืน โดยออกแบบทั้งสารอาหาร รูปร่างหน้าตา และรสชาติของอาหารด้วย จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสำ�คัญจะไปคอนเวอร์เจนซ์ รวมเข้ากับเทคโนโลยี ใหม่ๆ ด้วยกันอยู่เสมอๆ จะเกิด niche ใหม่ๆ ด้านอุตสาหกรรมอาหารขึ้นใน ไม่ช้า สำ�หรับประเทศไทย โดยความริเริ่มของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก็ริเริ่มและผลักดันให้มีการก่อตั้งFoodInnopolis ขึ้นที่ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย แล้วก็คงมีนวัตกรรมหลายๆ อย่างที่ตอบสนองต่อ เทรนด์ “อาหารที่เป็นยาด้วย” แบบนี้ด้วยเช่นกัน เทคโนโลยีการออกแบบ โครงสร้างอาหาร และอาหารเฉพาะบุคคล จึงเป็น 2 เทคโนโลยีที่ไปด้วยกัน อย่างใกล้ชิด Food, Cosmetics & Clothes 1. Food Structure Design ลองจินตนาการว่า ตื่นเช้าขึ้นมา ท่านต้องทำ�อะไรบ้าง หลังจากทำ�กิจวัตร ประจำ�วันแล้ว ท่านก็ต้องทานอาหารใช่ไหมครับ อาหารที่ดีต่อสุขภาพมักไม่ค่อย ถูกปาก เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะมาช่วย เกี่ยวข้องกับการออกแบบโครงสร้างอาหาร หรือFoodStructureDesign เพื่อให้อาหารที่ดีมีความน่ารับประทานมากขึ้น จึง เป็นเทคโนโลยีสำ�คัญ และเป็นเทคโนโลยีลำ�ดับที่ 2 ที่เราจะกล่าวถึงในวันนี้ การจะทำ�ให้อาหารดูดี มีเนื้อสัมผัสดี อีกทั้งยังสามารถให้กลิ่น รสชาติ และสารอาหาร ได้อย่างครบถ้วน จะต้องอาศัยความรู้เรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จำ�นวนมาก และถือเป็นงานวิจัยด้านวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุที่มาแรงทีเดียว ตัวอย่างการออกแบบอาหารจำ�พวกนี้ เช่น ผลงานวิจัยไส้กรอกไขมันต่ำ�ของ เอ็มเทค สวทช. ที่ทำ�ร่วมกับ บริษัทเบทาโกร ซึ่งสามารถทำ�ให้ไส้กรอกมีปริมาณ ไขมันต่ำ�กว่า 5% จากที่ปกติแล้วไส้กรอกทั่วไปจะมีไขมันอยู่ราว 20-30% โดย ไม่ทำ�ให้รสสัมผัสนุ่มลิ้นของไส้กรอกเปลี่ยนแปลงไปด้วย ที่สำ�คัญคือสารที่ใส่ ทดแทนไขมันเข้าไป ยังช่วยเพิ่มเส้นใยอาหารที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย สำ�หรับประเทศไทยที่กำ�ลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งอาจจะมีปัญหา การเคี้ยวอาหารยากลำ�บาก ก็มีความพยายามพัฒนาอาหารที่มีเคี้ยวง่าย ส่วน ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ก็ต้องการอาหารบดที่ไม่เหลวจนเกินไป เพราะอาจไหล เข้าหลอดลม และก่อให้เกิดภาวะติดเชื้อและเป็นอันตรายได้ ข้อมูลภาพอ้างอิง • http://3dprintingindustry.com/wp-content/uploads/2014/11/tno-3d-printing-food- spore.png
  • 17. ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 17ตุลาคม 2559 • 3. Second Skin เมื่อทานอาหารที่ออกแบบอย่างเหมาะสมกับร่างกายสุดๆ แล้ว ต่อไป ก็ต้องแต่งหน้าแต่งตัว เรื่องหน้าตาผิวพรรณ ถือเป็นเรื่องที่คนสมัยนี้ให้ความ สนใจกันมาก มีผลิตภัณฑ์บำ�รุงผิวออกมาใหม่ๆ ตลอดเวลาจะดีเพียงใด หาก มีผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ใช้งานง่าย และที่สำ�คัญคือ ไม่แพงนัก วิธีใช้งานก็เพียง แค่ทามันลงบนผิวของเรา มันก็จะทำ�หน้าที่ประหนึ่งผิวหนังที่สอง หรือ Second Skin ให้กับเราได้ เรื่องนี้ใกล้จะเป็นจริงแล้ว เพราะมีการผนึกกำ�ลังของกลุ่มนักวิจัย จาก MIT, Massachusetts General Hospital, บริษัท Living Proof และ Olivo Labs ในสหรัฐฯ ที่กำ�ลังพัฒนานวัตกรรมที่เรียกว่าSecondSkinPolymer กันอยู่ พอลิเมอร์ดังกล่าวมีสมบัติที่ดี แทบจะเทียบเท่ากับผิวหนังของหนุ่มสาว คือ ยืดหยุ่นสูงถึง250% ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง ยอมให้ออกซิเจนและความชุ่มชื้น ซึมผ่านลงไปสู่ผิวจริงได้ดี พอลิเมอร์ดังกล่าวคือ polysiloxane หากทาพอลิเมอร์ ดังกล่าว แล้วทาเจลอีกชนิดหนี่งที่มี platinum เป็นองค์ประกอบทำ�หน้าที่เป็น ตัวเร่งปฏิกิริยาทับลงไป พอลิเมอร์ในชั้นแรกก็เกิดโครงสร้างที่ประสานกันในไม่กี่ วินาที เกิดเป็นฟิล์มใสที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทำ�หน้าที่ปกป้องผิวกายเราให้ดู อ่อนเยาว์ เต่งตึง และชุ่มชื้น โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทำ�งานได้นานถึง24 ชั่วโมง ทนต่อเหงื่อและน้ำ� ไม่ลอกออกง่ายๆ และยังช่วยป้องกันรังสียูวีด้วย ที่สำ�คัญคือ Second Skin ดังกล่าว ยังสามารถประยุกต์ใช้ในการนำ�ส่งยาหรือสารอื่นๆ ได้ อีกด้วย สำ�หรับในประเทศไทย มีห้องปฏิบัติการนาโนเวชสำ�อางของศูนย์นาโน เทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ที่สนใจทำ�วิจัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นี้อยู่ 4. Micro Supercapacitor หลังจากแต่งหน้าแต่งตา ก็มาที่เรื่องเสื้อผ้ากันครับ ทุกคนคงมีมือถือกัน นะครับ เดี๋ยวนี้มีการใช้งานกันหนักมาก บางทีต้องมีเพาเวอร์แบ็งก์ติดตัวด้วย บางคนมากกว่า 1 เครื่องอีกต่างหาก หากเสื้อผ้าที่เราสวมใส่สามารถชาร์จไฟให้ มือถือได้ ก็คงจะดีนะครับ ขณะนี้มีการพัฒนาตัวเก็บประจุยิ่งยวดขนาดจิ๋ว หรือ MicroSupercapacitor กันอยู่(อุปกรณ์ที่ว่านี้มีชื่อย่อทางวิชาการว่าEDLC) โดยมี โครงสร้างง่ายๆ ที่ประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า2 ขั้ว และสารอิเล็กโทรไลต์(electrolyte)  เมื่อชาร์จไฟประจุบวกและลบจะวิ่งไปยังขั้วตรงข้าม และเมื่อคายประจุ พวกมันก็ จะวิ่งกลับมาที่สารอิเล็กโทรไลต์เหมือนเดิม โดยไม่มีปฏิกิริยาเคมีมาเกี่ยวข้อง จึง ต่างจากแบตเตอรี่ในปัจจุบัน ระบบแบบนี้ ชาร์จและปล่อยประจุได้เร็วมาก และ ไม่มีการสึกกร่อนด้วย จึงชาร์จไฟได้เป็นล้านๆ ครั้งโดยไม่เสื่อมสภาพ ที่สำ�คัญ คือ สามารถออกแบบให้มีลักษณะโค้งงอได้ และสร้างซ้อนกันเป็นชั้นๆ ได้ จึง ทำ�ให้ออกแบบให้มีความจุมาก แต่ยังมีขนาดเล็กมาก ลักษณะสำ�คัญอีกอย่าง คือ สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เก็บเกี่ยวพลังงานได้หลายรูปแบบ เช่น จากการ สั่นสะเทือนหรือจากอุณหภูมิ จึงเหมาะมากที่จะนำ�มาใช้ประกอบเข้ากับเส้นใย เสื้อผ้า มีการคาดหมายว่าในอนาคต เราน่าจะชาร์จมือถือจากเสื้อผ้าหรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์แบบสวมใส่ได้(wearableelectronics) จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ไกล เกินเอื้อมอีกต่อไป ขณะนี้ในประเทศไทย ศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ และอิเล็กทรอนิกส์อินทรีย์ของเนคเทค สวทช. กำ�ลังวิจัยและพัฒนาMicroSuper capacitor แบบนี้อยู่ โดยอาศัยกราฟีนมาใช้เป็นขั้วไฟฟ้า ข้อมูลภาพอ้างอิง • https://d1o50x50snmhul.cloudfront.net/wp-content/uploads/2016/05/gettyimages- 145083512-800x533.jpg ข้อมูลภาพอ้างอิง • http://i2.cdn.turner.com/money/dam/assets/160627163001-baubax-jacket-780x439. jpg
  • 18. ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 18 nstda • ตุลาคม 2559 Transportation 5. Programmable Materials เมื่อแต่งตัวกันแล้ว เราก็จะเริ่มออกเดินทางกันครับ ในอนาคตอันใกล้ เราอาจจะได้ใช้ยานพาหนะที่มีการออกแบบเรื่องรูปร่างไว้ในโครงสร้างตั้งแต่ต้นใน สามปีที่ผ่านมา เราได้กล่าวถึงวัสดุฉลาดหลายจำ�พวก ทั้งพวกที่ซ่อมแซมตัวเองได้ หรือมีคุณสมบัติพิเศษแบบที่เรียกว่าเป็น smart polymer, smart textile และ intelligent material ในปีนี้จะขอพูดถึงวัสดุฉลาดอีกจำ�พวกหนึ่งคือ วัสดุที่สามารถตั้งโปรแกรม ได้ หรือprogrammablematerials กล่าวเปรียบเทียบให้ง่าย ปัจจุบันเรามีวัสดุที่ เปลี่ยนแปลงสภาพบางอย่างได้เมื่อถูกกระตุ้น เช่น แก้วน้ำ�ที่เติมน้ำ�ร้อน แล้วจะมี ภาพปรากฏให้เห็น หรือหลอดไฟที่เมื่อมีสัญญาณเรียกเข้ามายังมือถือ ก็จะสว่าง ขึ้น แต่ในกรณีนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และฟังก์ชันการทำ�งานได้ ตาม สิ่งแวดล้อมหรือสภาวการณ์ต่างๆ เช่น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความชื้น สนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า ความดัน สภาพทางเคมี หรือแม้แต่เมื่อถูก แสงในย่านความถี่ต่างๆ ปัจจุบันใน ภาคอุตสาหกรรมต้องการวัสดุพวกนี้อย่างยิ่ง  แต่ยังมีข้อจำ�กัด เนื่องจากมีราคาแพง หรือสร้างและประกอบยุ่งยาก มีความพยายามจะออกแบบยานยนต์ หรืออากาศยานด้วยวัสดุโปรแกรม ได้ เช่น กรณีของคาร์บอนไฟเบอร์โปรแกรมได้ คาร์บอนไฟเบอร์เป็นวัสดุที่มีความ แข็งแรง เหนียว และมีน้ำ�หนักเบา ซึ่งทำ�ให้ใช้งานได้ในหลายอุตสาหกรรม บริษัท BriggsAutomotiveCompany ผู้ผลิตปีกซูเปอร์คาร์ ร่วมกับบริษัทAirbus และ MIT ออกแบบการขึ้นรูปชิ้นส่วนที่ใช้ควบคุมปริมาณอากาศที่จะปล่อยให้เข้าสู่ห้อง เครื่องเจ็ต แต่ละชิ้นส่วนของคาร์บอนไฟเบอร์โปรแกรมได้ จะเปลี่ยนรูปร่างของมัน เพื่อสร้างความได้เปรียบทางแอโรไดนามิกส์ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำ�งาน ทำ�ให้ช่วยลดน้ำ�หนักอากาศยานลงอย่างมาก และไม่จำ�เป็นต้องใช้อุปกรณ์เชิงกล ควบคุมอีกต่อไป วัสดุโปรแกรมได้ยังมีใช้ในข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน เช่น ทำ�จาก ไม้อัดโปรแกรมได้ ซึ่งอาจนำ�มาใช้ทำ�เฟอร์นิเจอร์ที่มีรูปร่างขนย้ายได้ง่าย แต่จะ กลายเป็นรูปร่างสุดท้ายเมื่อไปถึงที่หมายแล้วและโดนกระตุ้น หรือบางทีแม้แต่ เสื้อผ้า ก็อาจใช้วัสดุการพิมพ์แบบ3 มิติ มาช่วยสร้างชุดเสื้อผ้าแบบโปรแกรมได้ เช่นกัน วัสดุพวกนี้จึงออกแบบให้มีหน้าตารูปร่างสุดท้าย ตั้งแต่การเริ่มต้นผลิต  ในส่วนของ สวทช. มีห้องปฏิบัติการใน เอ็มเทค และ นาโนเทค ที่ทำ�วิจัยเกี่ยว กับวัสดุทำ�นองนี้อยู่   6. Image & VDO Content Analytics เมื่อขึ้นยานพาหนะที่อาจจะใช้วัสดุที่โปรแกรมล่วงหน้าได้แล้ว ลองมาดู เรื่องการจราจรกันต่อไป ปัจจุบัน กล้องดิจิทัลสมาร์ตโฟนที่ถ่ายภาพได้ ระบบ คลาวด์ที่มีพื้นที่เก็บข้อมูลเหลือเฟือ ประกอบกับการเจริญเติบโตของเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ทำ�ให้ผู้คนทุกมุมโลกเชื่อมต่อ สร้างและเก็บข้อมูลภาพและวิดีโอ มากมายตลอดเวลา เทคโนโลยีการวิเคราะห์เนื้อหาภาพและวิดีโอ (Image and VideoContent Analytics) จึงมีส่วนสำ�คัญในการจัดการข้อมูลจำ�นวนมหาศาล ดังกล่าว มีหลายนวัตกรรมที่สอดรับกับการจัดการบิ๊กเดต้า(BigData) หรือข้อมูล ขนาดใหญ่ ในโครงการสำ�คัญระดับชาติ ในโครงการสมาร์ตซิตี้ ที่จะนำ�ร่องที่ จังหวัดภูเก็ต โดยเน้นในเรื่องการรักษาความปลอดภัย ภาพจากกล้องCCTV ใน ปัจจุบัน ยังนำ�มาใช้งานแบบ passive เป็นหลัก คือ เกิดเหตุแล้วนำ�มาใช้ช่วย ตรวจสอบ แต่ในยุคหน้าเทคโนโลยี Content Analytics จะช่วยทำ�ให้เป็นแบบ active และ real time ปัจจุบันเริ่มมีการนำ�เทคโนโลยี Deep learning มาใช้วิเคราะห์ภาพ และวิดีโอในทางอุตสาหกรรมบ้างแล้ว สำ�หรับประเทศไทย เทคโนโลยีนี้เคยถูก นำ�มาใช้ในอุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม อาทิ ด้านอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ในขณะที่กลุ่ม อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ อาทิ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการ ขนส่งและการบิน อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ ล้วน มีความต้องการใช้งานเทคโนโลยีนี้ นอกจากนี้ ยังใช้ในร้านสะดวกซื้อ งานรักษาความปลอดภัย และการช่วย เหลือชีวิต เช่น ตรวจสอบเพลิงไหม้ และการทะเลาะวิวาทแบบอัตโนมัติ และยัง ใช้ป้องกันการก่อการร้ายได้ด้วย ทั้งหมดที่ว่ามานี้ ล้วนแล้วแต่สนับสนุนแนวคิดการสร้าง New S-Curve ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยหลุดจาก “กับดัก รายได้ปานกลาง” ที่เราเผชิญอยู่ ตามแนวนโยบายของกระทรวงและของประเทศ ข้อมูลภาพอ้างอิง • http://thenewstack.io/shapeshifted-things-4d-printed-materials-programmed-for-self- transformation/ • https://media.licdn.com/mpr/mpr/AAEAAQAAAAAAAAe8AAAAJDE4NDJiNzU- zLTEwZjUtNGZmMy1iZWVjLWM5NzdlYWZlOGY2Mg.jpg
  • 19. ตุลาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 19ตุลาคม 2559 • Work & Health 7. Terahertz Tech เทคโนโลยีอีก 3 อย่างที่เหลือ จะเกี่ยวข้องกับการแพทย์ และการรักษา โรคในอนาคตอันใกล้ในแบบใดแบบหนึ่ง เรามาดูกันก่อนที่เทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ (Terahertz Technology) คลื่นเทระเฮิรตซ์ คือ ช่วงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่ ระหว่าง คลื่นไมโครเวฟ และ คลื่นอินฟราเรด ซึ่งมีความยาวคลื่นอยู่ ในช่วง 30 ไมโครเมตร ถึง 3 มิลลิเมตร ซึ่งเหมาะจะใช้ในการสื่อสาร โทรคมนาคม การตรวจจับสารเคมี และสารตั้งต้นวัตถุระเบิด จึงเหมาะสำ�หรับ ใช้งานในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมที่เป็น massmarket อย่างเช่น การควบคุมคุณภาพของกระดาษ การควบคุมความหนา ของสีเคลือบผิววัสดุ การตรวจสอบรอยต่อของวงจรใน ICs และใช้ตรวจสอบ กระบวนการ และผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม และการควบคุมคุณภาพการผลิต (QC) ได้ด้วย คลื่นเทระเฮิรตซ์ยังใช้ตรวจสอบโครงสร้างและแยกแยะองค์ประกอบทาง เคมีอย่างเฉพาะเจาะจงได้ จึงใช้กับผลิตภัณฑ์ด้านเภสัชกรรม และด้านชีวการ แพทย์ ได้ แต่ความโดนเด่นของเทคโนโลยีนี้ ซึ่งน่าจะเหมาะกับประเทศไทยเป็น อย่างมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ เทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ เหมาะมากกับวัสดุจำ�พวก อินทรีย์สาร อย่างสินค้าเกษตรชนิดต่างๆ นั่นเอง เพราะไม่ทำ�อันตรายกับตัวอย่าง   8. Service Drone โดรน(drone) หรือ อากาศยานไร้คนขับ ก็คือ อากาศยานที่สามารถบิน และปฏิบัติงานได้โดยไม่ได้มีนักบินหรือคนบังคับอยู่ภายในตัวอากาศยานนั่นเอง ทั้งนี้โดรนนั้นสามารถถูกควบคุมได้หลายรูปแบบ โดรนที่ถูกใช้งานในภาคพลเรือน มีแนวโน้มการเติบโตสูงกว่าโดรนทางการทหารมาก มีการนำ�โดรนไปประยุกต์ ใช้อย่างหลากหลาย ทั้งในด้าน การเกษตร การจัดการภัยพิบัติ (ในพื้นที่เข้าถึง ยาก) การบริการถ่ายภาพทางอากาศ(โดยเฉพาะในพื้นที่หรือระดับความสูงที่เดิม เข้าไม่ถึง) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การตรวจสอบโครงสร้างขนาด ใหญ่ ตลอดจนการสำ�รวจพื้นที่เพื่อใช้ในการตัดสินใจและวางแผนในการสร้างสิ่ง ก่อสร้างขนาดใหญ่ เป็นต้น จุดเด่นของโดรนก็คือ ให้ภาพที่มีรายละเอียดสูงกว่าภาพถ่ายดาวเทียม และยังสามารถนำ�ภาพเหล่านั้นมาreconstruct ใหม่ให้ได้เป็นภาพแบบจำ�ลอง3 มิติ (3D Model) ของสถานที่นั้นๆ ได้อีกด้วย เห็นได้ว่ายังมีช่องว่างให้นักธุรกิจ และนักลงทุนในประเทศไทยอีกมาก รวมถึงยังมีโอกาสและช่องทางให้นักวิจัยและ นักพัฒนาในประเทศไทยพัฒนาโดรนเพิ่มเติม เช่น โดรนที่สามารถใช้งานได้อย่าง สะดวกภายในอาคาร โดรนซึ่งสามารถยึดเกาะกับสิ่งของและบรรทุกของ รวมทั้ง โดรนที่ทำ�งานร่วมกันเป็นทีม หรือ Swarm Robot (มีการทดสอบใช้สร้างสะพาน เชือกชั่วคราว) เป็นต้น ในทางการแพทย์มีการใช้โดรนในการขนส่งยารักษาโรคไปส่งในบริเวณ ที่ขับรถไปได้ยากลำ�บากในฤดูฝนของประเทศในแอฟริกา หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ ของโลกอย่าง อะเมซอน ประกาศจะใช้โดรนในการขนส่งสินค้าน้ำ�หนักไม่เกิน 2.5 กิโลกรัม และที่หมายอยู่ห่างจากคลังสินค้าไม่เกิน 16 กิโลเมตร ส่วนเฟซบุ๊ก ก็มีแผนจะปล่อยโดรนพิเศษที่ปล่อยสัญญาณ wifi ได้ เพื่อให้คนในพื้นที่ห่างไกล เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และต้นปีนี้เองมีบริษัทที่ประกาศแผนงานจะใช้โดรนในการ ขนส่งคนด้วย ข้อจำ�กัดของโดรนในงานบริการก็คือ ข้อบังคับหรือกฎหมายที่จะ เข้ามาควบคุมความเสี่ยงจากการก่อการร้าย  ข้อมูลภาพอ้างอิง • http://www.fujitsu.com/global/Images/20110912-01a_tcm100-838802.jpg • https://www2.aofoundation.org/AOFileServerSurgery/MyPortalFiles?FilePath=/Surgery/ en/_img/surgery/FurtherReading/PFxM2/2.3-3.jpg ข้อมูลภาพอ้างอิง • https://pbs.twimg.com/media/ChB3I7qWYAAMNLg.jpg