SlideShare a Scribd company logo
หัวข้อรายงานเรื่อง
“วิเคราะห์การเลือกที่จะไม่มีลูก”
ช่วงเวลาของข้อมูล : 11 กันยายน 2566 - 31 ตุลาคม 2566
ช่องทางโซเชียลมีเดียที่ใช้เก็บข้อมูล :
การศึกษาข้อมูลผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE
รูปแบบการจัดทำรายงาน
ตัวอย่าง Key word ที่ใช้ :
จุดประสงค์ของรายงาน
อยากทราบความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับประเด็น “การเลือกที่จะไม่มีลูก”
อยากทราบพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายบนสื่อโซเชียลมีเดียที่มีการพูดถึงประเด็น “การเลือกที่จะไม่มีลูก
อยากทราบอารมณ์ความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายเมื่อพูดถึงประเด็น “การเลือกที่จะไม่มีลูก”
อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับประเด็น “การเลือกที่จะไม่มีลูก” ที่กลุ่มเป้าหมายได้ให้ความสนใจจนเกิดเป็นไวรัล
1.
2.
3.
4.
สารบัญ
สรุปภาพรวมจากเครื่องมือ ZOCIAL EYE
เปรียบเทียบจำนวนข้อความกับจำนวน Engagement ในแต่ละวัน
ข้อมูลเชิงเพศและอายุ
Word clouds แสดงคำที่ถูกพูดถึงบ่อย
Hashtag clouds แสดงความสำคัญของคำที่ผู้คนสนใจ
ข้อมูลเชิง Sentiment
ภาพตัวอย่างข้อความที่เกิดขึ้นของแต่ละ Sentiment
ข้อมูลผลการสำรวจ และผลการวิจัย
ผลสรุปการสำรวจจากแบบสอบถามทาง Google form
ผลการสรุปข้อมูลโดยรวม
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.
ในช่วงเดือนกันยายนตลอดจนถึงเดือนตุลาคม ปีพ.ศ. 2566 มีข้อความที่เกี่ยวข้อง และพูดถึงประเด็น
“การเลือกที่จะไม่มีลูก” ทั้งสิ้น 5,405 ข้อความ ได้รับยอด engagement ทั้งหมด 733,574
โดยมี 2,860 ข้อความเกิดขึ้นในช่องทาง Facebook คิดเป็นสัดส่วน 52.91% ของข้อความทั้งหมด
ตามด้วยช่องทาง Twitter (28.73%) และ Instagram (1.89%) ตามลำดับ
มีจำนวน Accounts ในสื่อโซเชียลมีเดียที่พูดถึงประเด็น
“การเลือกที่จะไม่มีลูก” ทั้งหมด 2,466 Accounts
มีจำนวนข้อความเฉลี่ยต่อวันในช่วงระยะเวลา 1 เดือนนี้ เป็น
จำนวน 174 ข้อความ
ประเด็นที่น่าสนใจในเชิงสถิติ
สรุปภาพรวม
วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566 กลุ่มคนช่วงอายุน้อยกว่า 18ปี - 45ปีขึ้นไป มีการพูดถึงประเด็นเกี่ยวกับ
“การเลือกที่จะไม่มีบุตร” ซึ่งมีสถิติที่สูงกว่าวันอื่นๆ สังเกตได้จากกราฟสถิติรวมทุกช่องทางมีจำนวนข้อความ
ทั้งหมด 1,007 ข้อความ และมียอด Engagement สูงถึง 142,556
เปรียบเทียบจำนวนข้อความกับจำนวน Engagement ในแต่ละวัน
จากข้อมูลรายวัน แม้ว่าวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566 ช่องทาง Twitter จะมีจำนวนข้อความที่น้อยกว่า
ช่องทาง Facebook แต่ Twitter กลับมียอด Engagement ที่สูงกว่าช่องทาง Facebook
เปรียบเทียบจำนวนข้อความกับจำนวน Engagement ในแต่ละวัน
ข้อมูลรายวันจากช่องทาง Twitter เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566 ข้อมูลรายวันจากช่องทาง Facebook เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566
ข้อความที่ได้รับความนิยมในช่องทาง Twitter ที่เกิดจากการการกดไลค์ กดรีทวิต กดแชร์ และคอมเมนต์ จนมียอด
Engagement สูงที่สุด เป็นข้อความเกี่ยวกับประเด็นคำกล่าวของหมอชลน่านที่กล่าวว่า “สังคมบิดเบี้ยว คู่รัก
แต่งงานแต่ไม่มีลูก” จึงเกิดการถกเถียงกันเกิดขึ้นบนสื่อโซเชียลมีเดีย ในการแสดงความเห็นต่างของแต่ละบุคคล
ข้อมูลรายวันที่น่าสนใจ
พบว่าเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566 ช่องทาง Facebook มีการพูดถึงประเด็นเกี่ยวกับ “การเลือกที่จะไม่มีลูก” มีจำนวน
509 ข้อความ และมียอด Engagement เป็นจำนวน 40,429 ซึ่งข้อความที่กลุ่มคนช่วงอายุน้อยกว่า18ปี - 45ปีขึ้นไป ให้
ความสนใจจนเป็นข้อความที่ได้รับความนิยมมากที่สุดนั่นก็คือ เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า การตอบกลับของสส.ก้าวไกลเพราะ
ความไม่เห็นด้วย ต่อประเด็นคำกล่าวของหมอชลน่านที่กล่าวว่า “สังคมบิดเบี้ยว คู่รักแต่งงานแต่ไม่มีลูก”
ข้อมูลรายวันที่น่าสนใจ
กราฟสถิติวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ในช่องทาง Facebook แม้ว่าจะมีจำนวนข้อมูลเพียงแค่ 133 ข้อความ แต่
กลับมียอด Engagement ที่สูงมากถึง 76,018 engagement ซึ่งข้อความเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับ ผลสำรวจ
นิด้าโพล ที่มีการเปิดเผยสถิติเกี่ยวกับการเลือกที่จะไม่มีลูก โดยมีการกดไลค์ กดแชร์ และคอมเมนต์ จำนวนมาก
จนนำมาสู่ยอด Engagement สูงที่สุดในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2566
ข้อมูลรายวันที่น่าสนใจ
ข้อมูลเชิงเพศและอายุ
เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเพศ และอายุ โดยใช้ AI ใน
เครื่องมือ ZOCIAL EYE พบว่า กว่า 60.94% เป็น
สัดส่วนโดยรวมของเพศหญิง ซึ่งสูงกว่าเพศชายในช่วง
อายุระหว่าง 18 - 34 ปี และมีสัดส่วนเพศชายมากกว่า
เพศหญิงในช่วงอายุระหว่าง 35 - 45 ปีขึ้นไป โดยรวม
39.06%
อาจกล่าวได้ว่า ประเด็นการเลือกที่จะไม่มีลูก เป็น
ประเด็นที่กลุ่มคนหลากหลายช่วงวัยให้ความสนใจ และ
มีการพูดถึงบนสื่อโซเชียลมีเดียกันอย่างกว้างขวางทุก
เพศทุกวัยโดยเฉพาะเพศหญิง
Word clouds แสดงคำที่ถูกพูดถึงบ่อย
เมื่อช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา โซเชียลมีเดียมีการพูดถึง
“การเลือกที่จะไม่มีลูก” โดยคำที่พูดถึงบ่อยที่สุดคือคำว่า
“มีลูก” รองลงมา “ลูก” “สังคม” “เวลา” “บิดเบี้ยว”
ซึ่งคำเหล่านี้มาจากความคิดเห็นที่เกิดจากการแสดงความ
คิดเห็นบนโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้แก่ Twitter
Facebook และYoutube ฯลฯ จึงเป็นที่มาของการ
ปรากฎ Word clouds ที่แสดงคำที่ถูกพูดถึงบ่อยเกี่ยว
กับประเด็น “การไม่อยากมีลูก” อันเนื่องมาจากสังคม
และเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคง ส่งผลต่อภาระค่าใช้จ่าย การ
ไม่มีเวลา รวมไปถึงประเด็นที่ว่าการไม่มีลูกคือ สิ่งที่บิด
เบี้ยว จนนำมาสู่การไม่อยากมีลูกในที่สุด
Word clouds แสดงคำที่ถูกพูดถึงบ่อย
Word clouds แสดงคำที่ถูกพูดถึงบ่อย
ช่องทาง Twitter Facebook Youtube และInstagram มักมีการพูดถึงคำว่า “มีลูก” จึงทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่า
กลุ่มคนช่วงอายุน้อยกว่า18ปี - 45ปีขึ้นไป พวกเขามีความสนใจเกี่ยวกับประเด็นการเลือกที่จะมีลูกหรือไม่มีลูก ด้วยการแสดง
ความคิดเห็นบนโซเชียลมีเดีย ดังนั้นคำว่า “มีลูก” ที่พบใน Word clouds จึงเป็นหนึ่งในคำที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในทุกช่องทาง
สิ่งที่คล้ายคลึงกันของช่องทาง Twitter Facebook และInstagram คือมักจะพูดเกี่ยวกับคำว่า “สังคม” “บิดเบี้ยว”
“รัฐบาล” “งานเยอะ” “เครียด” “ค่าใช้จ่าย” มากกว่าช่องทางอื่นๆ
ในขณะที่ช่องทาง Youtube มักจะพูดเกี่ยวกับคำว่า “เด็ก” “การทำหมัน” “ยาคุมกำเนิด” ซึ่งมีความแตกต่างจาก
ช่องทางอื่นๆ
เมื่อทำการแยก Word clouds ในแต่ละช่องทาง จะพบว่าพฤติกรรมการพูดถึงประเด็น “การเลือกที่จะไม่มีลูก” มีพฤติกรรมและ
ความคิดที่แตกต่างกัน ดังนี้
จากการวิเคราะห์ข้อมูลข้างต้นนี้ทำให้สามารถสรุปได้ว่า ถึงแม้ว่าแต่ละช่องทางการสื่อสารจะมี Word clouds ที่แตกต่างกัน แต่
กลับพบว่าคำที่ถูกพูดถึงบ่อยในแต่ละช่องทางนั้น เกิดขึ้นจากประเด็นเดียวกันคือ “การเลือกที่จะไม่มีลูก”
วิเคราะห์ Word clouds
Hashtag clouds แสดงความสำคัญของคำที่ผู้คนสนใจ
Hashtag clouds จาก Zocial eye สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมการ
เกิดขึ้นของ Hashtag clouds ได้ว่า Hashtag clouds ที่ปรากฎใน
ภาพนี้ เกิดขึ้นจากกลุ่มคนช่วงอายุน้อยกว่า 18 ปี -45ปี ขึ้นไป ที่มี
ความสนใจในประเด็นเดียวกัน หรือเรื่องราวเดียวกันคือ สิทธิการ
เลือกที่จะมีลูก หรือไม่มีลูก และ Hashtag clouds นี้ก็เป็นประเด็นที่
สำคัญที่ส่งผลให้เกิดความคิดต่อการตัดสินใจเลือกที่จะมีลูก หรือไม่มีลูก
เช่น #ประชุมสภา #พารากอน #ฆ่าโบกปูน ฯลฯ
จากประเด็นนี้สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มคนช่วงอายุน้อยกว่า 18ปี - 45ปี
ขึ้นไป มีพฤติกรรมสนใจในประเด็นสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ที่
อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตในอนาคตของพวกเขา และการที่พวกเขาได้
เห็นมุมมองที่หลากหลายในประเด็น จะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกที่จะ
มีลูก หรือไม่มีลูกด้วย
ข้อมูลเชิง Sentiment
ข้อความที่เป็น Positive กับการเลือกที่จะไม่มีลูก จะเป็นข้อความที่สื่อโซเชียลมีเดียมีการกล่าวถึง
ประเด็นที่น่าสนใจในเชิง Sentiment
1.
“การเลือกที่จะมีหรือไม่มีลูก ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างที่ยังไม่เอื้ออำนวย”
“ความเป็นอิสระ ในการตัดสินใจเลือกที่จะมีหรือไม่มีลูก ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล”
“ การเลือกที่จะไม่มีลูก ส่งผลให้ชีวิตมีความอิสระ ไม่มีภาระที่ผูกมัด”
ข้อมูลเชิง Sentiment
ข้อความที่เป็น Neutral ซึ่งมีสัดส่วนเยอะที่สุดในเชิง Sentiment (51.27%) เป็นการโพสต์เกี่ยวกับ
เนื้อหาบทละคร และการแสดงความคิดเห็น ที่มีการกล่าวถึง ความพร้อมในการมีลูก หากไม่มั่นใจใน
ความสัมพันธ์ หรือไม่มั่นใจในการเลี้ยงลูกให้เติบโตมาเป็นคนที่ดีได้ ก็ไม่ควรที่จะตัดสินใจมีลูก
ประเด็นที่น่าสนใจในเชิง Sentiment
ข้อมูลเชิง Sentiment
ข้อความที่เป็น Negative มักจะมีการกล่าวถึง เหตุผลในการตัดสินใจเลือกที่จะไม่มีลูก อันเนื่องมาจาก
ความกลัวที่จะย้อนกลับมาจากพฤติกรรมการกระทำที่ไม่ดีในอดีต รวมไปถึงความไม่ปลอดภัยจาก
สถานการณ์ทางสังคม และเศรษฐกิจ
ประเด็นที่น่าสนใจในเชิง Sentiment
ภาพตัวอย่างข้อความที่เกิดขึ้นของแต่ละ Sentiment
ไม่ใช่ว่าไม่อยากมีลูก แต่การมีลูกต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างที่ยังไม่เอื้ออำนวย
Engagement : 2
เด็กกำพร้าก็นับได้ว่าเป็นอนาคตของชาติที่สมควรได้รับการดูแล อีกทั้งการตัดสินใจในการเลือกที่จะมีลูก หรือไม่มี เป็นสิทธิส่วนบุคคล
Engagement : 0
การไม่มีลูก ทำให้เรามีความอิสระ สามารถทำทุกอย่างได้คล่องตัว ไม่มีความกดดันต่อภาระหน้าที่ในการดูแลใคร
Engagement : 858
ภาพตัวอย่างข้อความที่เกิดขึ้นของแต่ละ Sentiment
การแสดงความคิดเห็นในเรื่องอื่น แต่มีการกล่าวถึงการไม่อยากมีลูก
Engagement : 434
ความไม่มั่นใจในการเลี้ยงดูลูก ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่จะ มีหรือไม่มีลูก
Engagement : 0
ภาพตัวอย่างข้อความที่เกิดขึ้นของแต่ละ Sentiment
กลัวเวรกรรมตามสนองในสิ่งที่ทำไม่ดีกับพ่อแม่
Engagement : 7,468
คนไทยไม่อยากมีลูก เนื่องจากประเทศไร้ความปลอดภัย ความมั่นคง
Engagement : 245
สังคมไม่น่าอยู่ โหดร้าย มองหน้ากันก็มีแต่จะหาเรื่องกันอย่างเดียว
Engagement : 16
Top 3 posts by engagement
3 โพสต์ที่ได้รับยอด Engagement เยอะที่สุดในช่องทาง
Facebook ล้วนเป็นโพสต์จาก Facebook Page ไม่ว่าจะเป็น
Poetry of Bitch, คมศักดิ์ แอดดัมส์, Ch7HD News ที่มีการ
กล่าวถึง ประเด็นดราม่าของ หมอชลน่าน ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์
เกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการมีบุตร ซึ่งได้มีการพูดถึง และพาดพิง
ถึงประเด็นที่ว่า การไม่อยากมีลูก คือสิ่งที่ “บิดเบี้ยว” ก่อให้เกิด
กระแสการถกเถียงกันในโลกออนไลน์กันเป็นจำนวนมาก รวมไป
ถึงมีผลการสำรวจจาก นิด้าโพล ออกมาแสดงถึงสาเหตุที่คนไทย
ไม่อยากมีลูก และตอกย้ำนโยบายส่งเสริมการมีบุตรอีกด้วย
Top 3 posts by engagement
3 โพสต์ที่ได้รับยอด Engagement เยอะที่สุดในช่องทาง
Twitter ล้วนเป็นโพสต์ที่มีการกล่าวถึง ประเด็นดราม่า สาเหตุการ
ไม่อยากมีลูก ที่มีเหตุผลอันเนื่องมาจาก ปัจจัยทางด้านการเมือง
รวมไปนโยบายจากรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการมีบุตร ซึ่ง
หมอชลน่าน ได้มีการพูดถึง และพาดพิงถึงประเด็นที่ว่า การไม่อยาก
มีลูก คือสิ่งที่ “บิดเบี้ยว” ก่อให้กระแสการถกเถียงกันในโลก
ออนไลน์ถึงความไม่เหมาะสมกันเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีผู้ใช้งาน
Twitter รายหนึ่งได้มีการกล่าวถึงประเด็นที่น่าสนใจ เอาไว้ว่า แม้จะ
เป็นครอบครัวที่มีฐานะ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะมีความพร้อมในการ
เลี้ยงดูลูกเสมอไป ซึ่งนี่ก็นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่สังคมกำลัง
จับตามอง และให้ความสนใจ ณ ขณะนี้
Top 3 posts by engagement
3 โพสต์ที่ได้รับยอด Engagement เยอะที่สุดในช่องทาง
Instagram ล้วนเป็นโพสต์จาก Fanpage ชื่อดัง ที่มียอดผู้
ติดตามจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น eventpassapp, kodkid.iq,
sale_here ที่มีการกล่าวถึง วิจัย และผลการสำรวจถึงสาเหตุ
ของการเลือกที่จะไม่มีลูกของคนรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยทาง
ด้านเศรษฐกิจ ความพร้อมทางการเงิน ความพร้อมทางการงาน
รวมไปถึงอีกปัจจัยที่น่าประหลาดใจอยู่ไม่น้อย คือ กลัวกรรม
ตามสนอง เนื่องจากเคยประพฤติไม่ดีกับพ่อและแม่ ฯลฯ
Top 3 posts by engagement
3 โพสต์ที่ได้รับยอด Engagement เยอะที่สุดในช่องทาง
Forum มีการกล่าวถึงประเด็นทางการเมือง ว่าด้วยนโยบาย
จากรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการมีบุตร ซึ่งแน่นอนว่า
มีทั้งผู้ที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย
นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงสภาพสังคมในเชิงลบ ไม่ว่าจะ
เป็น สภาพสังคมในปัจจุบันที่ย่ำแย่ ประชากรขาดคุณภาพ ว่า
ปัจจัยเหล่านี้ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของการไม่อยากมีลูก
Top 3 posts by engagement
3 โพสต์ที่ได้รับยอด Engagement เยอะที่สุดในช่องทาง
YouTube ล้วนเป็นโพสต์จากช่องการสื่อสารข่าวสาร ไม่ว่า
จะเป็น VOICE TV, เรื่องเล่าข่าวการเมืองออนไลน์ ที่มีการ
บอกเล่า และกล่าวถึงประเด็น ผลการสำรวจจาก “นิด้าโพล”
ซึ่งพบว่ามีสารพัดเหตุผล ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจไม่อยากมี
ลูกของคนไทย โดยหนึ่งในเหตุผลนั่นก็คือ “ประเทศไร้
อนาคต”
ข้อมูลผลการสำรวจและผลการวิจัย
เรื่อง“การเลือกที่จะไม่มีลูก”
ไม่อยากเพิ่มค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงลูก และเป็นห่วงว่าลูกเราจะอยู่อย่างไรในสภาพสังคม
ปัจจุบัน ในสัดส่วนที่เท่ากัน (38.32%)
ไม่อยากมีภาระต้องดูแลลูก (37.72%)
ต้องการชีวิตอิสระ (33.23%)
กลัวเลี้ยงลูกได้ไม่ดี (17.66%)
อยากให้ความสำคัญกับงานมากกว่า (13.77%)
สุขภาพตนเองหรือคู่ครองไม่ค่อยดี (5.39%)
กลัวพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ไม่ดี (2.10%)
กลัวกรรมตามสนองเพราะเคยทำไม่ดีไว้กับพ่อแม่ (0.90%)
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้มีการเปิดเผย
ผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “มีลูกกันเถอะน่า” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 26-28 กันยายน
2566 จากประชาชนที่มีอายุระหว่าง 18-40 ปี ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วย
ตัวอย่าง เกี่ยวกับการมีลูกในปัจจุบัน
เมื่อสอบถามเกี่ยวกับการอยากมีลูก พบว่า ร้อยละ 44.00 ระบุว่า ไม่อยากมี ซึ่งสาเหตุที่ไม่
อยากมีลูก พบว่า มีดังนี้
1.ผลการสำรวจจาก สถาบันบัณฑิตบริหารศาสตร์ (นิด้าโพล) ปี 2566
ที่มา : https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=658
งานยุ่ง จนไม่มีเวลามาเลี้ยงดูลูก
ถ้าหากเลี้ยงลูกได้ไม่ดี ก็เลือกที่จะไม่มีดีกว่า
มีความต้องการอยากที่จะทุ่มเทชีวิตให้กับการทำงานก่อน
อยากใช้ชีวิตให้คุ้ม เพราะการมีลูกอาจทำให้เสียโอกาสในการทำงานและการใช้ชีวิตตามที่ต้องการ
งานวิจัยเรื่อง “การส่งเสริมการมีบุตรผ่านการสร้างความสมดุลระหว่างการทำงาน และการสร้างครอบครัวที่มี
คุณภาพ ปีพุทธศักราช 2559” ที่จัดทำโดย ผศ.ดร. มนสิการ กาญจนะจิตรา และคณะ ได้มีการแบ่งปัจจัยที่ทำให้คน
Gen Y (ช่วงอายุระหว่าง 26-40 ปี) ไม่อยากมีลูกออกเป็น 4 ปัจจัย ดังนี้
ซึ่งนอกจากเหตุผลเรื่องการทำงานและการใช้ชีวิต ยังมีเรื่องของค่าใช้จ่ายด้วย เพราะค่าเฉลี่ยที่ต้องใช้ต่อการ
มีลูกคนหนึ่งอยู่ที่ประมาณ 1.9 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นจำนวนเงินที่สูงพอสมควร อีกทั้งคน Gen Y ก็ไม่ได้มองว่าการมี
ลูกเป็น ‘โซ่ทองคล้องใจ’ แต่เป็นสิ่งเติมเต็มให้ชีวิตสมบูรณ์เท่านั้น ผู้คนส่วนใหญ่จึงรู้สึกลำบากใจ หากต้องปันเงิน
ส่วนที่จะใช้ซื้อบ้าน รถ หรือใช้ท่องเที่ยว มาใช้กับการมีลูกแทน
2.ผลการวิจัยของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2559
ที่มา : https://www.the101.world/gen-y-no-child/
3.ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2556
จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติและการตัดสินใจในการเลือกที่จะไม่มีลูก ของกลุ่มตัวอย่างคู่
สามีภรรยาที่ยังไม่มีลูก แบ่งออกเป็น 4 ปัจจัย ดังนี้
ปัจจัยที่ 1 ด้านทัศนคติส่วนบุคคล โดยส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน ต้องการใช้
เงินที่หามาได้เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองและคู่ครอง จึงมีความเห็นว่า การมีลูกจะทำให้ตัวเองและคู่ครองมี
ภาระทางด้านการเงินและภาระความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น และมองว่าการไม่มีลูก ไม่ได้ทำให้การดำเนินชีวิตคู่เงียบเหงา
หรือขาดอะไรไป เพราะกลุ่มผู้วิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ สามารถหากิจกรรมต่างๆ ทำร่วมกัน และสามารถให้เวลาซึ่งกัน
และกันได้อย่างเต็มที่
ปัจจัยที่ 2 ด้านสุขภาพ โดยส่วนใหญ่มุ่งแสวงหาความประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน จึงทำให้ขาดการ
วางแผนในเรื่องความพร้อมด้านสุขภาพในการมีลูก ดังนั้น พออายุมากขึ้นจึงทำให้เกิดปัญหาภาวะมีบุตรยาก นอกจากนี้
กลุ่มผู้วิจัยยังพบว่ากลุ่มคนตัวอย่าง มักจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่อาจมีปัญหาด้านสุขภาพที่ส่งผลให้ไม่สามารถมีลูกได้ตั้งแต่
ก่อนที่จะตกลงแต่งงาน หรือใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน เช่น โรคธาลัสซีเมีย ซึ่งจะทำให้ลูกที่เกิดมามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้สูงมาก
หรือภาวะการเป็นหมันของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ไม่สามารถทำให้มีลูกได้ จึงทำให้ตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันโดยที่ไม่มีลูก
ที่มา : https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/436/1/TP%20MM.012%202556.pdf
ปัจจัยที่ 3 ด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่มีสภาวะบีบคั้น ผู้คนต่างพยายามหารายได้เพื่อมาใช้
จ่ายในชีวิตประจำวันให้เพียงพอต่อค่าครองชีพที่มีอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้วิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มองว่า
การมีลูกจะทำให้พวกเขาต้องมีภาระทางด้านการเงินที่เพิ่มขึ้น ไม่สามารถใช้จ่ายได้ตามความต้องการของตนเอง
และคู่ครอง เพราะต้องคิดถึงลูกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรเงินเพื่อมาดูแลลูก การวางแผนอนาคตของลูกเรื่องการ
ศึกษาเล่าเรียน ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมาก แทนที่พวกเขาจะนำเงินส่วนนี้มาใช้จ่ายตามที่ตนเองและคู่ครองปรารถนา ดังนั้น
ปัจจัยด้านเศรษฐกิจจึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่อยากมีลูก
ปัจจัยที่ 4 ด้านสังคม ผู้วิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ต้องการที่จะมีลูก เพราะกังวลว่าลูกของตนเองจะได้รับ
ผลกระทบจากปัญหาด้านสังคม อันเนื่องมาจากสภาพสังคมไทยในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น
กันมากขึ้น ผู้คนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม จึงทำให้เกิดปัญหาทางสังคมอื่นๆ ตามมา เช่น ปัญหา
ความยากจน ปัญหาอาชญากรรม และปัญหายาเสพติด ฯลฯ
ที่มา : https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/436/1/TP%20MM.012%202556.pdf
ภาระทางการเงิน และความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูลูก สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่บีบคั้น และสภาพแวดล้อมที่
เสื่อมโทรมลง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คู่สมรสยุคใหม่ไม่มีลูก
มีพฤติกรรมแต่งงานช้า เพราะมุ่งเน้นแสวงหาความสำเร็จก่อน พออายุมากขึ้นจึงมีลูกยาก หรือไม่ต้องการที่จะมีลูกแล้ว
ต้องการใช้ชีวิตอิสระในแบบที่ตัวเองและคู่ครองปรารถนา
ปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ภาวะเป็นหมัน หรือภาวะความผิดปกติของรังไข่
มองว่าลูกไม่ใช่ส่วนเติมเต็มของครอบครัวให้มีความสมบูรณ์ โดยที่พวกเขาสามารถหาความสุขได้แม้จะไม่มีลูก และการไม่มี
ลูกไม่ได้ทำให้ชีวิตคู่เงียบเหงา เพราะมีกิจกรรมอื่นๆ ที่สามารถทําร่วมกันได้
สรุปใจความสำคัญต่อสาเหตุที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างคู่สามีภรรยาที่ยังไม่มีลูก ตัดสินใจเลือกที่จะไม่มีลูกดังนี้
1.
2.
3.
4.
5.
ที่มา : https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/436/1/TP%20MM.012%202556.pdf
จากการทำวิจัยพบว่า ระดับการศึกษาเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจแต่งงานและการมีลูกในประเทศไทย
ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจแต่งงานและการมีลูกในประเทศไทย คือ ระดับการศึกษาของผู้หญิงไทยที่เพิ่มสูงขึ้น ที่ถึงแม้จะ
ส่งผลทางบวกต่อระดับสถานภาพของผู้หญิงทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม แต่ส่งผลลบต่อการตัดสินใจแต่งงานและการมีลูกของผู้หญิง
เพราะการที่ผู้หญิงไทยมีระดับการศึกษาที่สูงขึ้น ทำให้มีโอกาสที่จะพบคู่ครองที่มีความเหมาะสมกันทั้งระดับรายได้และการศึกษาน้อยลง
ไม่เพียงเท่านี้ระดับการศึกษาที่เพิ่มขึ้นยังทำให้ผู้หญิงเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น ได้รับค่าตอบแทนแรงงานสูงขึ้น และทำให้ต้นทุนค่าเสีย
โอกาสของผู้หญิงจากการลาคลอดและเลี้ยงดูลูกเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ ผู้หญิงที่มีการศึกษาสูงยังอาจเลือก “คุณภาพ” ในการเลี้ยงดู
ลูกมากกว่า “จำนวน” ซึ่งนอกจากระดับการศึกษาที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจแต่งงานและการมีลูกแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกด้วย
ได้แก่
ที่มา : https://thaipublica.org/2020/02/pier-research-marriage-strike/
4.ผลการวิจัยของ ดร.ศศิวิมลและ Ms.Luis Liao ปี พ.ศ. 2563
ต้นทุนของการเลี้ยงดูลูกที่เพิ่มขึ้น ทำให้คู่สมรสมีแนวโน้มที่จะชะลอการมีลูกหรือตัดสินใจไม่มีลูกเลย
ข้อมูลจาก งานวิจัยล่าสุดของ Chamchan et al. (2019) ชี้ว่า การเลี้ยงลูก 1 คน (อายุ 0-14 ปี) อยู่ที่
ประมาณ 1.57 ล้านบาท โดยต้นทุนการเลี้ยงดูบุตรนี้เพิ่มสูงขึ้นตามระดับรายได้ของครัวเรือน
ผลกระทบต่อค่าจ้างที่เกิดขึ้นจากการมีลูกของแรงงานไทย งานวิจัยของ Liao and Paweenawat
(2019b) ได้ศึกษาความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างแรงงานที่มีลูกและแรงงานที่ไม่มีลูก (parenthood
wage gap) พบว่า การมีลูกส่งผลกระทบทางลบต่อค่าจ้างของแรงงานหญิง (motherhood wage
penalty) โดยแรงงานที่ไม่มีลูกจะมีระดับค่าจ้างเฉลี่ยที่สูงกว่าแรงงานที่มีลูก ซึ่งความแตกต่างของค่าจ้าง
นี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
ที่มา : https://thaipublica.org/2020/02/pier-research-marriage-strike/
ที่มา : https://thaipublica.org/2020/02/pier-research-marriage-strike/
ทัศนคติของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาสูง มีทัศนคติต่อการแต่งงานและการมีลูกที่แตกต่างกันออกไป โดย
กลุ่มคนรุ่นใหม่นี้มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและความเป็นอิสระส่วน
ตัวมากยิ่งขึ้น ทำให้มีแนวโน้มที่จะมีจำนวนลูกลดน้อยลง Samutachak and Darawuttimaprakorn
(2014) พบว่า กลุ่ม Generation Y ในประเทศไทย (คนที่เกิดระหว่างปี 1980-2003) ให้ความสำคัญกับ
การแต่งงานและการมีลูกน้อยกว่าเรื่องอื่น
การขาดการสนับสนุนและความช่วยเหลือจากทางภาครัฐและสังคม เช่น การขาดแคลนสถานเลี้ยงดูเด็ก
เล็กของภาครัฐ การขาดความยืดหยุ่นของเวลาการทำงาน การกีดกันแบ่งแยกในสถานที่ทำงานต่อแรงงานที่
มีลูก ทำให้ลดความต้องการที่จะแต่งงานและมีลูกลงไป
สรุปผลการสำรวจจากแบบสอบถามทาง Google form
ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น “การเลือกที่จะไม่มีลูก”
โดยมีจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 75 ราย อยู่ในช่วงอายุ 18 - 35 ปีขึ้นไป
ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่า
มีสัดส่วนเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีสัดส่วนเพศ
หญิงจำนวนทั้งหมด 42 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 56% และ
มีเพศชายจำนวนทั้งหมด 33 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 44%
ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่า
มีสัดส่วนที่มากที่สุดอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 25 - 34 ปี
จำนวนทั้งหมด 47 ราย หรือเป็นร้อยละ 62.7% รองลงมาจะ
อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 18 - 24 ปี จำนวนทั้งหมด 22 ราย
หรือเป็นร้อยละ 29.3% และน้อยที่สุดในช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไป
จำนวนทั้งหมด 6 ราย หรือเป็นร้อยละ 8 %
ข้อมูลเพศและอายุ
ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด
เป็นจำนวน 50 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 66.7% และมี
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนน้อยที่มีสถานภาพสมรสเป็น
จำนวน 25 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 33.3%
ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีวุฒิการศึกษา
ระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า เป็นจำนวน 54 ราย
หรือคิดเป็นร้อยละ 72% ซึ่งมากที่สุด รองลงมาจะอยู่ใน
ระดับสูงกว่าปริญญาตรี เป็นจำนวน 11 ราย หรือคิดเป็น
ร้อยละ 14.7% และน้อยที่สุดจะอยู่ในระดับต่ำกว่า
ปริญญาตรี จำนวน 10 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 13.3%
ข้อมูลสถานภาพและวุฒิการศึกษา
ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อ
เดือน 15,001-35,000 บาท เป็นจำนวน 41 ราย
หรือคิดเป็นร้อยละ 54.7% รองลงมา ต่ำกว่า 15,000
บาท เป็นจำนวน 20 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 26.7%
และรองลงมา 35,001 บาทขึ้นไป เป็นจำนวน 14 ราย
หรือคิดเป็นร้อยละ 18.7%
ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบ
ว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่ต้องการมีบุตรเป็น
จำนวน 52 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 69.3% โดยแบ่งเป็น
เพศชายจำนวน 22 ราย และเพศหญิง 30 ราย และส่วน
น้อยที่ต้องการมีบุตรเป็นจำนวน 23 ราย หรือคิดเป็นร้อย
ละ 30.7% โดยแบ่งเป็นเพศชาย 12 ราย และเพศหญิง 11
ราย
ข้อมูลรายได้เฉลี่ยต่อเดือนและความต้องการมีบุตร
หากคุณต้องการมีบุตร เพราะเหตุใด
ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่าเหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างต้องการมีบุตร เนื่องมาจากเหตุผลดังนี้
บุตรทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 52.6% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชายมากที่สุด
การอยากเลี้ยงดูบุตร ปกป้อง ดูแล ได้แสดงออกถึงความเป็นพ่อแม่ คิดเป็นร้อยละ 52.6% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด
เพื่อให้บุตรเป็นเพื่อน ทำให้ไม่เหงา คิดเป็นร้อยละ 39.5% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชายมากที่สุด
เพื่อให้บุตรเป็นผู้สืบสกุล และทรัพย์สิน คิดเป็นร้อยละ 36.8 % โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชายมากที่สุด
เพื่อให้บุตรช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจให้ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 13.2 โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชายมากที่สุด
เพื่อให้บุตรเป็นผู้ที่คอยดูแลยามแก่ชรา คิดเป็นร้อยละ 10.5% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชาย และเพศหญิงเท่ากัน
1.
2.
3.
4.
5.
6.
หากคุณไม่ต้องการมีบุตร เพราะเหตุใด
ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่าเหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างไม่ต้องการมีบุตร เนื่องมาจากเหตุผลดังนี้
ห่วงความเป็นอยู่ของบุตรในสภาพสังคมปัจจุบัน และอนาคต คิดเป็นร้อยละ 65% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด
ต้องการชีวิตอิสระ ไม่มีพันธะ คิดเป็นร้อยละ 46.7% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด
ไม่อยากเพิ่มค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตร คิดเป็นร้อยละ 38.3% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด
ไม่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงดูบุตร กลัวเลี้ยงบุตรได้ไม่ดี คิดเป็นร้อยละ 31.7% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด
อยากให้ความสำคัญกับการทำงานมากกว่า คิดเป็นร้อยละ 16.7% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชายมากที่สุด
มีปัญหา และความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง หรือคู่ครอง คิดเป็นร้อยละ 8.3% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชายมากที่สุด
เป็นกลุ่มรักเพศเดียวกัน ทำให้มีบุตรไม่ได้ คิดเป็นร้อยละ 1.7% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชายมากที่สุด
อื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น มีความกังวลว่าหากเลี้ยงดูบุตรได้ไม่ดี จะส่งผลให้บุตรกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคม คิดเป็นร้อยละ 1.7% ,
กังวลว่ารูปร่างของตนเองจะเปลี่ยนแปลงไปภายหลังการมีบุตร คิดเป็นร้อยละ 1.7% เป็นต้น
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
คุณคิดว่าปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการตัดสินใจในการมีบุตรหรือไม่
ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของกลุ่มตัวอย่างในการเลือกที่จะมีบุตร ดังนี้
สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ 89.3% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด
สภาพสังคมในปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ 84% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด
นโยบายหรือสวัสดิการของรัฐเกี่ยวกับการมีบุตร คิดเป็นร้อยละ 60% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด
บุคคลรอบข้าง เช่น ครอบครัว คนรัก เพื่อน หรือญาติ ฯลฯ คิดเป็นร้อยละ 44% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด
1.
2.
3.
4.
จากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ที่ผู้เยาว์มีส่วนเกี่ยวข้อง
ไม่ว่าจะเป็นเหยื่อ หรือผู้กระทำ ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคุณอย่างไร
ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่าจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิด
ขึ้นในสังคมไทย ที่ผู้เยาว์มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นเหยื่อ หรือผู้กระทำ ส่งผลกระทบต่อความ
รู้สึกของกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้
ส่งผลให้รู้สึกว่าไม่อยากให้ลูกเกิดมาอยู่ในสังคมแบบนี้ เพราะมีความกังวลว่า หากสักวันหนึ่ง
ลูกเราอาจจะตกเป็นเหยื่อขึ้นมา คงเกิดความรู้สึกรับไม่ได้กับเหตุการณ์นั้น
สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาสังคม เช่น การตั้งครรภ์โดยที่ไม่พร้อม ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลทั้ง
ทางตรงและทางอ้อม เช่น บิดามารดาไม่มีเวลาดูแลบุตรจนนำมาสู่ปัญหาสังคม
มองว่าการคุมกำเนิดและการเลี้ยงดูเด็กให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญ
รู้สึกว่าการมีลูกเมื่อพร้อมคือสิ่งที่ดีที่สุด ต้องมีความพร้อมทั้งด้านฐานะ ภาวะทางอารมณ์
และความสามารถในการดูแลบุตร เพราะหากมีแล้วไม่สามารถเลี้ยงดูลูกให้เติบโตเป็นคนดีได้ ก็
ไม่ควรที่จะมี
1.
2.
3.
4.
คุณมีความคิดเห็นอย่างไรต่อ คำกล่าวที่ว่า การไม่อยากมีลูก คือสิ่งที่ “บิดเบี้ยว”
ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่าจากคำกล่าวของ
หมอชลน่าน ที่กล่าวว่า การไม่อยากมีลูก คือสิ่งที่ “บิดเบี้ยว” ส่งผลกระทบต่อ
ความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้
การไม่อยากมีลูกไม่ใ่ช่ความบิดเบี้ยว เพราะ การที่เราจะมีลูกได้ต้องดูหลาย
องค์ประกอบในการตัดสินใจเช่น สภาพสังคมในปัจจุบัน รัฐบาลมีนโยบายที่ดี
ในการซัพพอร์ตในการมีบุตรหรือไม่ เรามีความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรให้
เจริญเติบโตมาในแนวทางที่ถูกต้องหรือเปล่า ถ้าตัวเราไม่พร้อม สภาพสังคม
ไม่พร้อม การมีบุตรอาจจะทำให้เด็กที่เกิดมามีปัญหาได้
ไม่เห็นด้วย เนื่องจากการมีลูกเป็นสิทธิของแต่ละบุคคล เราไม่ควรไปตัดสินคน
อื่นเพียงเพราะแค่ไม่ยอมมีลูก ความบิดเบี้ยวที่แท้จริงคือ การโทษคนที่ไม่
ยอมมีลูกให้เป็นปัญหา ทั้งๆที่ปัญหาคือการที่สังคมไม่เอื้ออำนวยต่อการ
เติบโตของประชากรในประเทศให้มีคุณภาพ
ไม่เห็นด้วย เนื่องจากการจะมีหรือไม่มีบุตร เป็นสิทธิส่วนบุคคล ที่อยู่ภาย
ใต้การตัดสินใจของสามีภรรยา โดยที่ไม่มีคำว่าถูกหรือผิด ปกติหรือผิดปกติ
1.
2.
3.
หากสภาพสังคม และเศรษฐกิจไทยมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น
คุณจะมีความคิดเห็นที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่เกี่ยวกับการเลือกมีบุตร
ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่าหากสภาพสังคม และเศรษฐกิจมีการ
พัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อการเลือกที่จะมี หรือไม่มีบุตร มีดังนี้
มีความคิดเห็นที่เปลี่ยนแปลงไป คิดเป็นร้อยละ 72% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชาย และเพศหญิงที่เท่ากัน
มีความคิดเห็นที่ไม่เปลี่ยนแปลง คิดเป็นร้อยละ 28% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด
1.
2.
มีความคิดเห็นที่เปลี่ยนแปลงไป คิดเป็นร้อยละ 72% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชาย และเพศหญิงที่เท่ากัน ซึ่งมี
ความคิดเห็นดังนี้
เปลี่ยนแปลงไป เพราะ หากเศรษฐกิจ และสังคมไทยพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นก็จะส่งผลดีในเรื่องต่างๆตามมา
เช่น ค่าครองชีพที่เหมาะสม สวัสดิการที่ดี ก่อให้เกิดสังคมที่ดี ทำให้การเลี้ยงดูบุตรออกมาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
และทำให้มองเห็นอนาคตของลูกตนเองในประเทศไทยมากขึ้น
เปลี่ยนแปลงไป เพราะหากเศรษฐกิจดีขึ้น ความมั่นคงทางการเงินก็ดีขึ้นตาม ส่งผลให้ประชาชนมีความพร้อม
ทั้งในด้านเวลาและค่าใช้จ่ายมากขึ้น สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นก็จะช่วยให้เด็กที่โตขึ้น เป็นประชากรที่มี
คุณภาพมากขึ้น
เปลี่ยนแปลงไป เพราะสภาพแวดล้อมทางสังคม และเศรษฐกิจ มีผลต่อความคิด การตัดสินใจ รวมไปถึงความ
เป็นอยู่ของลูกในอนาคต ถ้าหากสภาพแวดล้อมดีก็อาจจะทำให้ลูกมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในอนาคต
1.
2.
3.
หากสภาพสังคม และเศรษฐกิจไทยมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น
กลุ่มตัวอย่างจะมีความคิดเห็นที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเหตุใด
มีความคิดเห็นที่ไม่เปลี่ยนแปลง คิดเป็นร้อยละ 28% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด ซึ่งมีความคิดเห็นดังนี้
1. ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะมองว่าการตัดสินใจที่จะมีลูกหรือไม่มีลูก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านสภาพสังคม และเศรษฐกิจ
แต่ขึ้นอยู่กับความพร้อม และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล หรือครอบครัวมากกว่า
2. ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะถึงแม้ว่าสภาพสังคม และเศรษฐกิจไทยจะมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อ
ความรู้สึกที่อยากจะมีลูกมากขึ้น เพราะยังห่วงความเป็นอยู่ของลูกในสภาพแวดล้อมปัจจุบันและมีความกังวลต่อการ
เปลี่ยนแปลงในอนาคต
3. ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะมีความต้องการใช้ชีวิตอิสระ ไม่อยากเพิ่มภาระให้กับตัวเองตั้งแต่แรก
หากสภาพสังคม และเศรษฐกิจไทยมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น
กลุ่มตัวอย่างจะมีความคิดเห็นที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเหตุใด
ในท้ายที่สุดนี้ คุณคิดว่าการไม่มีบุตรจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และความสุขของคุณอย่างไร
มีชีวิตอิสระ คิดเป็นร้อยละ 74.7% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด
ประหยัดค่าใช้จ่าย คิดเป็นร้อยละ 62.7% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด
มีเวลาว่างมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 60% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด
สุขภาพร่างกายดีขึ้น มีสัดส่วนที่เท่ากับมีความสุขมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 14.7% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด
รู้สึกเหงา ไม่มีอะไรมาเติมเต็มในชีวิตคู่ คิดเป็นร้อยละ 20% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชายมากที่สุด
ไม่มีคนดูแลยามชรา คิดเป็นร้อยละ 16% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชายมากที่สุด
ไม่มีผู้สืบสกุล และทรัพย์สิน คิดเป็นร้อยละ 21.3% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชายมากที่สุด
อื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น คิดว่าลูกไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต ความสุขหรือความทุกข์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับบุตร คิดเป็นร้อยละ 1.3% ,
ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่าการเลือกที่จะไม่มีบุตรส่งผลต่อสุขภาพชีวิต และความสุขของกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
ไม่ต้องแบกรับความกดดันภาระหน้าที่ต่างๆ เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 1.3% เป็นต้น
การทำวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยกับกลุ่มคนช่วงอายุน้อยกว่า 18ปี - 45ปีขึ้นไป ในหัวข้อ “การเลือกที่
จะไม่มีลูก” จากการศึกษารวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูล Zocial eye ข้อมูลผลการวิจัย ข้อมูลผลสำรวจ และการ
ทำแบบสอบถาม โดยผู้วิจัยพบว่า ข้อมูลที่ค้นพบมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญระหว่าง ทัศนคติ
พฤติกรรมและวิธีการดำเนินชีวิตของกลุ่มคน กล่าวคือ กลุ่มคนในช่วงอายุน้อยกว่า 18ปี - 45ปีขึ้นไป มีมุมมอง
ต่อการมีบุตรในยุคปัจจุบันเป็นเรื่องที่ห่างไกล เนื่องจากปัจจัยหลากหลายอย่าง ดังนี้
ผลการสรุปข้อมูลโดยรวม
ผลการสรุปข้อมูลโดยรวม
ด้านทัศนคติส่วนบุคคล โดยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและความเป็น
อิสระส่วนตัวมากกว่าการเลือกที่จะมีบุตร เพราะ การมีบุตรส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน เนื่องจากในปัจจุบัน
บริษัทส่วนใหญ่มีทรัพยากรไม่เพียงพอและผู้บริหารไม่มีนโยบายที่เอื้อต่อสวัสดิการของพนักงาน จึงทำให้ต้นทุน
ค่าเสียโอกาสทั้งในด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ด้านเวลาในการทำงานที่ลดน้อยลง จากการลาคลอดหรือ
เลี้ยงดูบุตร เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่มีบุตร ที่สามารถใช้เวลาในการทำงานได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ ส่ง
ผลให้มีความก้าวหน้าทางการงานที่รวดเร็วกว่า อีกทั้งยังมองว่าการไม่มีลูก ไม่ได้ทำให้การดำเนินชีวิตคู่
เงียบเหงา หรือขาดอะไรไป เพราะ พวกเขาสามารถมองหาความสุขได้แม้จะไม่มีลูก ผ่านการทำกิจกรรมอื่นๆ
ที่สามารถเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันได้ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนส่วนน้อยที่มีเหตุผลในการตัดสินใจ
เลือกที่จะไม่มีลูก อันเนื่องมาจากความกลัวที่จะย้อนกลับมาจากพฤติกรรมการกระทำที่ไม่ดีในอดีต
ผลการสรุปข้อมูลโดยรวม
ด้านเศรษฐกิจ พบว่ากลุ่มคนส่วนใหญ่มองว่าปัจจัยในด้านเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการ
เลือกที่จะมีบุตร หรือไม่มีบุตร เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน มีความเปราะบาง และเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง
อยู่ตลอดเวลา ก่อให้เกิดอัตราค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ประชาชนสามารถเข้าถึงสินค้าประเภทอุปโภค และบริโภคใน
ราคาที่จับต้องได้ยาก ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นกับเงินในกระเป๋าที่ลดลง ทำให้กลุ่มคนส่วนใหญ่ ตัดสินใจเลือกที่จะไม่มีบุตร
เพื่อลดภาระทางด้านการเงิน ในการเลี้ยงดูบุตร ซึ่งโดยเฉลี่ยการมีบุตรหนึ่งคน ต้องใช้เงินจำนวนมากถึง 1.9 ล้านบาท
ดังนั้นกลุ่มคนเหล่านี้จึงรู้สึกลำบากใจ หากต้องสละเงินส่วนตัวในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน มาใช้กับการมีบุตรแทน อีกทั้ง
ยังมองว่า การมีความพร้อมทางด้านค่าใช้จ่าย เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ รวมไปถึงการเลี้ยงดูบุตรให้มี
คุณภาพมาก ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเด็กที่โตขึ้นให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ หากไม่มีความพร้อมในการเลี้ยงดู
บุตรอย่างมีคุณภาพได้ อาจส่งผลให้บุตรกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมในอนาคต
ด้านสุขภาพ พบว่ากลุ่มคนบางส่วนมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพของตนเอง หรือคู่ครอง
ยกตัวอย่างเช่น ภาวะเป็นหมัน หรือภาวะความผิดปกติของรังไข่ ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก จนนำมาสู่การ
ตัดสินใจเลือกที่จะไม่มีลูกในที่สุด
ผลการสรุปข้อมูลโดยรวม
ด้านสังคม พบว่าสภาพสังคม เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกที่จะมีบุตร หรือไม่มีบุตร
กล่าวคือ จากสถานการณ์ทางสังคม ณ ปัจจุบัน ที่มีปัญหาอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสถานการณ์ความ
รุนแรงต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาอาชญากรรม เยาวชนวัย 14 ปี ก่อเหตุการกราดยิงที่ห้าง
สรรพสินค้าพารากอน , ฆ่าโบกปูน 5 ศพ ฆาตกรต่อเนื่องฆ่าลูกในไส้, ปัญหายาเสพติด, ปัญหาโรคอุบัติใหม่ที่เกิด
ขึ้นอยู่ตลอดเวลา, ปัญหาสภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ทั้งไฟป่า น้ำท่วม ฯลฯ เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อ
ให้คนส่วนใหญ่เกิดความกังวล ว่าถ้าหากตัดสินใจที่จะมีบุตร แล้วบุตรของตนเองต้องเติบโตมาในสภาพสังคมที่
รายล้อมไปด้วยปัญหามากมายเหล่านี้ คุณภาพชีวิต และความปลอดภัยของบุตรจะเป็นเช่นไร และไม่ต้องการให้
บุตรต้องเผชิญกับโลกแห่งความเป็นจริงที่โหดร้ายเหมือนกับที่ตนเองพบเจอ อีกทั้งในสังคมไทยยังมีช่อง
ว่างสวัสดิการเด็กเล็ก ที่ขาดการสนับสนุนและความช่วยเหลือจากทางภาครัฐและสังคม เช่น การขาดแคลน
สถานเลี้ยงดูเด็กเล็กของภาครัฐ การขาดความยืดหยุ่นของเวลาการทำงาน การกีดกันแบ่งแยกในสถานที่ทำงานต่อ
แรงงานที่มีลูก จึงเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่มีส่วนทำให้คนส่วนใหญ่ลดความต้องการที่จะมีลูก
ผลการสรุปข้อมูลโดยรวม
ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานี้ หากในอนาคตสภาพสังคม และเศรษฐกิจมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดี
ขึ้น ผู้วิจัยพบว่า กลุ่มคนส่วนใหญ่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง และตัดสินใจเลือกที่จะมีบุตรเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากต้องการปัจจัยในด้านความพร้อมทั้งค่าใช้จ่าย และสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อให้บุตรสามารถเติบโตได้
อย่างประสิทธิภาพ ผ่านสภาพแวดล้อมสังคมที่ดี มีเศรษฐกิจที่มั่นคง จนนำไปสู่ประชากรที่มีคุณภาพ
Thank You
ภคพล
โกลัญญา
มิ่งกมล
สุทธิดา
ภูติณณ์
ปรมะ
ขยันการ
ศินธรรมกุล
นิศวอนุตรพันธ์
จันทา
จันทร์ขาว
ผิวพรรณ
เลขที่ 2
เลขที่ 3
เลขที่ 22
เลขที่ 31
เลขที่ 37
เลขที่ 38
จัดทำโดย

More Related Content

More from Bangkok University

BD032 ดูดวง.pdf
BD032 ดูดวง.pdfBD032 ดูดวง.pdf
BD032 ดูดวง.pdf
Bangkok University
 
Edtech.pdf
Edtech.pdfEdtech.pdf
Edtech.pdf
Bangkok University
 
การใช้บริการฟิตเนสของกลุ่มคนรักสุขภาพ.pdf
การใช้บริการฟิตเนสของกลุ่มคนรักสุขภาพ.pdfการใช้บริการฟิตเนสของกลุ่มคนรักสุขภาพ.pdf
การใช้บริการฟิตเนสของกลุ่มคนรักสุขภาพ.pdf
Bangkok University
 
Brand guidelines อำเภอเมืองปทุมธานี.pdf
Brand guidelines อำเภอเมืองปทุมธานี.pdfBrand guidelines อำเภอเมืองปทุมธานี.pdf
Brand guidelines อำเภอเมืองปทุมธานี.pdf
Bangkok University
 
Lat Lum Kaeo Mapping_Infographic.pdf
Lat Lum Kaeo Mapping_Infographic.pdfLat Lum Kaeo Mapping_Infographic.pdf
Lat Lum Kaeo Mapping_Infographic.pdf
Bangkok University
 
Lat Lum Kaeo Mapping.pdf
Lat Lum Kaeo Mapping.pdfLat Lum Kaeo Mapping.pdf
Lat Lum Kaeo Mapping.pdf
Bangkok University
 
Lad Lum Kaeo Brand Guidelines.pdf
Lad Lum Kaeo Brand Guidelines.pdfLad Lum Kaeo Brand Guidelines.pdf
Lad Lum Kaeo Brand Guidelines.pdf
Bangkok University
 
คลองหลวง เที่ยวชิดติดกรุง.pdf
คลองหลวง เที่ยวชิดติดกรุง.pdfคลองหลวง เที่ยวชิดติดกรุง.pdf
คลองหลวง เที่ยวชิดติดกรุง.pdf
Bangkok University
 
Re-U Pitching
Re-U PitchingRe-U Pitching
Re-U Pitching
Bangkok University
 
Jelly bug
Jelly bugJelly bug
beyonder
beyonderbeyonder
Klaum_PITCHING
Klaum_PITCHINGKlaum_PITCHING
Klaum_PITCHING
Bangkok University
 
VVIC.pdf
VVIC.pdfVVIC.pdf
ผลิตภัณฑ์สบู่ใบชา.pdf
ผลิตภัณฑ์สบู่ใบชา.pdfผลิตภัณฑ์สบู่ใบชา.pdf
ผลิตภัณฑ์สบู่ใบชา.pdf
Bangkok University
 
Klaum_PITCHING_Sec.411C.pdf
Klaum_PITCHING_Sec.411C.pdfKlaum_PITCHING_Sec.411C.pdf
Klaum_PITCHING_Sec.411C.pdf
Bangkok University
 
Klaum_PITCHING_Sec.411C.pdf
Klaum_PITCHING_Sec.411C.pdfKlaum_PITCHING_Sec.411C.pdf
Klaum_PITCHING_Sec.411C.pdf
Bangkok University
 
Soy stick
Soy stickSoy stick
Ler LaRose.pdf
Ler LaRose.pdfLer LaRose.pdf
Ler LaRose.pdf
Bangkok University
 
Vekiss.pdf
Vekiss.pdfVekiss.pdf
Vekiss.pdf
Bangkok University
 
PITCH DECK (THE NEXT FARMER).pdf
PITCH DECK (THE NEXT FARMER).pdfPITCH DECK (THE NEXT FARMER).pdf
PITCH DECK (THE NEXT FARMER).pdf
Bangkok University
 

More from Bangkok University (20)

BD032 ดูดวง.pdf
BD032 ดูดวง.pdfBD032 ดูดวง.pdf
BD032 ดูดวง.pdf
 
Edtech.pdf
Edtech.pdfEdtech.pdf
Edtech.pdf
 
การใช้บริการฟิตเนสของกลุ่มคนรักสุขภาพ.pdf
การใช้บริการฟิตเนสของกลุ่มคนรักสุขภาพ.pdfการใช้บริการฟิตเนสของกลุ่มคนรักสุขภาพ.pdf
การใช้บริการฟิตเนสของกลุ่มคนรักสุขภาพ.pdf
 
Brand guidelines อำเภอเมืองปทุมธานี.pdf
Brand guidelines อำเภอเมืองปทุมธานี.pdfBrand guidelines อำเภอเมืองปทุมธานี.pdf
Brand guidelines อำเภอเมืองปทุมธานี.pdf
 
Lat Lum Kaeo Mapping_Infographic.pdf
Lat Lum Kaeo Mapping_Infographic.pdfLat Lum Kaeo Mapping_Infographic.pdf
Lat Lum Kaeo Mapping_Infographic.pdf
 
Lat Lum Kaeo Mapping.pdf
Lat Lum Kaeo Mapping.pdfLat Lum Kaeo Mapping.pdf
Lat Lum Kaeo Mapping.pdf
 
Lad Lum Kaeo Brand Guidelines.pdf
Lad Lum Kaeo Brand Guidelines.pdfLad Lum Kaeo Brand Guidelines.pdf
Lad Lum Kaeo Brand Guidelines.pdf
 
คลองหลวง เที่ยวชิดติดกรุง.pdf
คลองหลวง เที่ยวชิดติดกรุง.pdfคลองหลวง เที่ยวชิดติดกรุง.pdf
คลองหลวง เที่ยวชิดติดกรุง.pdf
 
Re-U Pitching
Re-U PitchingRe-U Pitching
Re-U Pitching
 
Jelly bug
Jelly bugJelly bug
Jelly bug
 
beyonder
beyonderbeyonder
beyonder
 
Klaum_PITCHING
Klaum_PITCHINGKlaum_PITCHING
Klaum_PITCHING
 
VVIC.pdf
VVIC.pdfVVIC.pdf
VVIC.pdf
 
ผลิตภัณฑ์สบู่ใบชา.pdf
ผลิตภัณฑ์สบู่ใบชา.pdfผลิตภัณฑ์สบู่ใบชา.pdf
ผลิตภัณฑ์สบู่ใบชา.pdf
 
Klaum_PITCHING_Sec.411C.pdf
Klaum_PITCHING_Sec.411C.pdfKlaum_PITCHING_Sec.411C.pdf
Klaum_PITCHING_Sec.411C.pdf
 
Klaum_PITCHING_Sec.411C.pdf
Klaum_PITCHING_Sec.411C.pdfKlaum_PITCHING_Sec.411C.pdf
Klaum_PITCHING_Sec.411C.pdf
 
Soy stick
Soy stickSoy stick
Soy stick
 
Ler LaRose.pdf
Ler LaRose.pdfLer LaRose.pdf
Ler LaRose.pdf
 
Vekiss.pdf
Vekiss.pdfVekiss.pdf
Vekiss.pdf
 
PITCH DECK (THE NEXT FARMER).pdf
PITCH DECK (THE NEXT FARMER).pdfPITCH DECK (THE NEXT FARMER).pdf
PITCH DECK (THE NEXT FARMER).pdf
 

Recently uploaded

1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
Prachyanun Nilsook
 
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdfรายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
NitayataNuansri
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 

Recently uploaded (9)

1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
 
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdfรายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
 

No Child การเลือกที่จะไม่มีลูก.pdf

  • 2. ช่วงเวลาของข้อมูล : 11 กันยายน 2566 - 31 ตุลาคม 2566 ช่องทางโซเชียลมีเดียที่ใช้เก็บข้อมูล : การศึกษาข้อมูลผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE รูปแบบการจัดทำรายงาน ตัวอย่าง Key word ที่ใช้ :
  • 3. จุดประสงค์ของรายงาน อยากทราบความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับประเด็น “การเลือกที่จะไม่มีลูก” อยากทราบพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายบนสื่อโซเชียลมีเดียที่มีการพูดถึงประเด็น “การเลือกที่จะไม่มีลูก อยากทราบอารมณ์ความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายเมื่อพูดถึงประเด็น “การเลือกที่จะไม่มีลูก” อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับประเด็น “การเลือกที่จะไม่มีลูก” ที่กลุ่มเป้าหมายได้ให้ความสนใจจนเกิดเป็นไวรัล 1. 2. 3. 4.
  • 4. สารบัญ สรุปภาพรวมจากเครื่องมือ ZOCIAL EYE เปรียบเทียบจำนวนข้อความกับจำนวน Engagement ในแต่ละวัน ข้อมูลเชิงเพศและอายุ Word clouds แสดงคำที่ถูกพูดถึงบ่อย Hashtag clouds แสดงความสำคัญของคำที่ผู้คนสนใจ ข้อมูลเชิง Sentiment ภาพตัวอย่างข้อความที่เกิดขึ้นของแต่ละ Sentiment ข้อมูลผลการสำรวจ และผลการวิจัย ผลสรุปการสำรวจจากแบบสอบถามทาง Google form ผลการสรุปข้อมูลโดยรวม 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10.
  • 5. ในช่วงเดือนกันยายนตลอดจนถึงเดือนตุลาคม ปีพ.ศ. 2566 มีข้อความที่เกี่ยวข้อง และพูดถึงประเด็น “การเลือกที่จะไม่มีลูก” ทั้งสิ้น 5,405 ข้อความ ได้รับยอด engagement ทั้งหมด 733,574 โดยมี 2,860 ข้อความเกิดขึ้นในช่องทาง Facebook คิดเป็นสัดส่วน 52.91% ของข้อความทั้งหมด ตามด้วยช่องทาง Twitter (28.73%) และ Instagram (1.89%) ตามลำดับ มีจำนวน Accounts ในสื่อโซเชียลมีเดียที่พูดถึงประเด็น “การเลือกที่จะไม่มีลูก” ทั้งหมด 2,466 Accounts มีจำนวนข้อความเฉลี่ยต่อวันในช่วงระยะเวลา 1 เดือนนี้ เป็น จำนวน 174 ข้อความ ประเด็นที่น่าสนใจในเชิงสถิติ สรุปภาพรวม
  • 6. วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566 กลุ่มคนช่วงอายุน้อยกว่า 18ปี - 45ปีขึ้นไป มีการพูดถึงประเด็นเกี่ยวกับ “การเลือกที่จะไม่มีบุตร” ซึ่งมีสถิติที่สูงกว่าวันอื่นๆ สังเกตได้จากกราฟสถิติรวมทุกช่องทางมีจำนวนข้อความ ทั้งหมด 1,007 ข้อความ และมียอด Engagement สูงถึง 142,556 เปรียบเทียบจำนวนข้อความกับจำนวน Engagement ในแต่ละวัน
  • 7. จากข้อมูลรายวัน แม้ว่าวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566 ช่องทาง Twitter จะมีจำนวนข้อความที่น้อยกว่า ช่องทาง Facebook แต่ Twitter กลับมียอด Engagement ที่สูงกว่าช่องทาง Facebook เปรียบเทียบจำนวนข้อความกับจำนวน Engagement ในแต่ละวัน ข้อมูลรายวันจากช่องทาง Twitter เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566 ข้อมูลรายวันจากช่องทาง Facebook เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566
  • 8. ข้อความที่ได้รับความนิยมในช่องทาง Twitter ที่เกิดจากการการกดไลค์ กดรีทวิต กดแชร์ และคอมเมนต์ จนมียอด Engagement สูงที่สุด เป็นข้อความเกี่ยวกับประเด็นคำกล่าวของหมอชลน่านที่กล่าวว่า “สังคมบิดเบี้ยว คู่รัก แต่งงานแต่ไม่มีลูก” จึงเกิดการถกเถียงกันเกิดขึ้นบนสื่อโซเชียลมีเดีย ในการแสดงความเห็นต่างของแต่ละบุคคล ข้อมูลรายวันที่น่าสนใจ
  • 9. พบว่าเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566 ช่องทาง Facebook มีการพูดถึงประเด็นเกี่ยวกับ “การเลือกที่จะไม่มีลูก” มีจำนวน 509 ข้อความ และมียอด Engagement เป็นจำนวน 40,429 ซึ่งข้อความที่กลุ่มคนช่วงอายุน้อยกว่า18ปี - 45ปีขึ้นไป ให้ ความสนใจจนเป็นข้อความที่ได้รับความนิยมมากที่สุดนั่นก็คือ เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า การตอบกลับของสส.ก้าวไกลเพราะ ความไม่เห็นด้วย ต่อประเด็นคำกล่าวของหมอชลน่านที่กล่าวว่า “สังคมบิดเบี้ยว คู่รักแต่งงานแต่ไม่มีลูก” ข้อมูลรายวันที่น่าสนใจ
  • 10. กราฟสถิติวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ในช่องทาง Facebook แม้ว่าจะมีจำนวนข้อมูลเพียงแค่ 133 ข้อความ แต่ กลับมียอด Engagement ที่สูงมากถึง 76,018 engagement ซึ่งข้อความเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับ ผลสำรวจ นิด้าโพล ที่มีการเปิดเผยสถิติเกี่ยวกับการเลือกที่จะไม่มีลูก โดยมีการกดไลค์ กดแชร์ และคอมเมนต์ จำนวนมาก จนนำมาสู่ยอด Engagement สูงที่สุดในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ข้อมูลรายวันที่น่าสนใจ
  • 11. ข้อมูลเชิงเพศและอายุ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเพศ และอายุ โดยใช้ AI ใน เครื่องมือ ZOCIAL EYE พบว่า กว่า 60.94% เป็น สัดส่วนโดยรวมของเพศหญิง ซึ่งสูงกว่าเพศชายในช่วง อายุระหว่าง 18 - 34 ปี และมีสัดส่วนเพศชายมากกว่า เพศหญิงในช่วงอายุระหว่าง 35 - 45 ปีขึ้นไป โดยรวม 39.06% อาจกล่าวได้ว่า ประเด็นการเลือกที่จะไม่มีลูก เป็น ประเด็นที่กลุ่มคนหลากหลายช่วงวัยให้ความสนใจ และ มีการพูดถึงบนสื่อโซเชียลมีเดียกันอย่างกว้างขวางทุก เพศทุกวัยโดยเฉพาะเพศหญิง
  • 12. Word clouds แสดงคำที่ถูกพูดถึงบ่อย เมื่อช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา โซเชียลมีเดียมีการพูดถึง “การเลือกที่จะไม่มีลูก” โดยคำที่พูดถึงบ่อยที่สุดคือคำว่า “มีลูก” รองลงมา “ลูก” “สังคม” “เวลา” “บิดเบี้ยว” ซึ่งคำเหล่านี้มาจากความคิดเห็นที่เกิดจากการแสดงความ คิดเห็นบนโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้แก่ Twitter Facebook และYoutube ฯลฯ จึงเป็นที่มาของการ ปรากฎ Word clouds ที่แสดงคำที่ถูกพูดถึงบ่อยเกี่ยว กับประเด็น “การไม่อยากมีลูก” อันเนื่องมาจากสังคม และเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคง ส่งผลต่อภาระค่าใช้จ่าย การ ไม่มีเวลา รวมไปถึงประเด็นที่ว่าการไม่มีลูกคือ สิ่งที่บิด เบี้ยว จนนำมาสู่การไม่อยากมีลูกในที่สุด
  • 15. ช่องทาง Twitter Facebook Youtube และInstagram มักมีการพูดถึงคำว่า “มีลูก” จึงทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่า กลุ่มคนช่วงอายุน้อยกว่า18ปี - 45ปีขึ้นไป พวกเขามีความสนใจเกี่ยวกับประเด็นการเลือกที่จะมีลูกหรือไม่มีลูก ด้วยการแสดง ความคิดเห็นบนโซเชียลมีเดีย ดังนั้นคำว่า “มีลูก” ที่พบใน Word clouds จึงเป็นหนึ่งในคำที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในทุกช่องทาง สิ่งที่คล้ายคลึงกันของช่องทาง Twitter Facebook และInstagram คือมักจะพูดเกี่ยวกับคำว่า “สังคม” “บิดเบี้ยว” “รัฐบาล” “งานเยอะ” “เครียด” “ค่าใช้จ่าย” มากกว่าช่องทางอื่นๆ ในขณะที่ช่องทาง Youtube มักจะพูดเกี่ยวกับคำว่า “เด็ก” “การทำหมัน” “ยาคุมกำเนิด” ซึ่งมีความแตกต่างจาก ช่องทางอื่นๆ เมื่อทำการแยก Word clouds ในแต่ละช่องทาง จะพบว่าพฤติกรรมการพูดถึงประเด็น “การเลือกที่จะไม่มีลูก” มีพฤติกรรมและ ความคิดที่แตกต่างกัน ดังนี้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลข้างต้นนี้ทำให้สามารถสรุปได้ว่า ถึงแม้ว่าแต่ละช่องทางการสื่อสารจะมี Word clouds ที่แตกต่างกัน แต่ กลับพบว่าคำที่ถูกพูดถึงบ่อยในแต่ละช่องทางนั้น เกิดขึ้นจากประเด็นเดียวกันคือ “การเลือกที่จะไม่มีลูก” วิเคราะห์ Word clouds
  • 16. Hashtag clouds แสดงความสำคัญของคำที่ผู้คนสนใจ Hashtag clouds จาก Zocial eye สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมการ เกิดขึ้นของ Hashtag clouds ได้ว่า Hashtag clouds ที่ปรากฎใน ภาพนี้ เกิดขึ้นจากกลุ่มคนช่วงอายุน้อยกว่า 18 ปี -45ปี ขึ้นไป ที่มี ความสนใจในประเด็นเดียวกัน หรือเรื่องราวเดียวกันคือ สิทธิการ เลือกที่จะมีลูก หรือไม่มีลูก และ Hashtag clouds นี้ก็เป็นประเด็นที่ สำคัญที่ส่งผลให้เกิดความคิดต่อการตัดสินใจเลือกที่จะมีลูก หรือไม่มีลูก เช่น #ประชุมสภา #พารากอน #ฆ่าโบกปูน ฯลฯ จากประเด็นนี้สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มคนช่วงอายุน้อยกว่า 18ปี - 45ปี ขึ้นไป มีพฤติกรรมสนใจในประเด็นสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ที่ อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตในอนาคตของพวกเขา และการที่พวกเขาได้ เห็นมุมมองที่หลากหลายในประเด็น จะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกที่จะ มีลูก หรือไม่มีลูกด้วย
  • 17. ข้อมูลเชิง Sentiment ข้อความที่เป็น Positive กับการเลือกที่จะไม่มีลูก จะเป็นข้อความที่สื่อโซเชียลมีเดียมีการกล่าวถึง ประเด็นที่น่าสนใจในเชิง Sentiment 1. “การเลือกที่จะมีหรือไม่มีลูก ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างที่ยังไม่เอื้ออำนวย” “ความเป็นอิสระ ในการตัดสินใจเลือกที่จะมีหรือไม่มีลูก ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล” “ การเลือกที่จะไม่มีลูก ส่งผลให้ชีวิตมีความอิสระ ไม่มีภาระที่ผูกมัด”
  • 18. ข้อมูลเชิง Sentiment ข้อความที่เป็น Neutral ซึ่งมีสัดส่วนเยอะที่สุดในเชิง Sentiment (51.27%) เป็นการโพสต์เกี่ยวกับ เนื้อหาบทละคร และการแสดงความคิดเห็น ที่มีการกล่าวถึง ความพร้อมในการมีลูก หากไม่มั่นใจใน ความสัมพันธ์ หรือไม่มั่นใจในการเลี้ยงลูกให้เติบโตมาเป็นคนที่ดีได้ ก็ไม่ควรที่จะตัดสินใจมีลูก ประเด็นที่น่าสนใจในเชิง Sentiment
  • 19. ข้อมูลเชิง Sentiment ข้อความที่เป็น Negative มักจะมีการกล่าวถึง เหตุผลในการตัดสินใจเลือกที่จะไม่มีลูก อันเนื่องมาจาก ความกลัวที่จะย้อนกลับมาจากพฤติกรรมการกระทำที่ไม่ดีในอดีต รวมไปถึงความไม่ปลอดภัยจาก สถานการณ์ทางสังคม และเศรษฐกิจ ประเด็นที่น่าสนใจในเชิง Sentiment
  • 20. ภาพตัวอย่างข้อความที่เกิดขึ้นของแต่ละ Sentiment ไม่ใช่ว่าไม่อยากมีลูก แต่การมีลูกต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างที่ยังไม่เอื้ออำนวย Engagement : 2 เด็กกำพร้าก็นับได้ว่าเป็นอนาคตของชาติที่สมควรได้รับการดูแล อีกทั้งการตัดสินใจในการเลือกที่จะมีลูก หรือไม่มี เป็นสิทธิส่วนบุคคล Engagement : 0 การไม่มีลูก ทำให้เรามีความอิสระ สามารถทำทุกอย่างได้คล่องตัว ไม่มีความกดดันต่อภาระหน้าที่ในการดูแลใคร Engagement : 858
  • 21. ภาพตัวอย่างข้อความที่เกิดขึ้นของแต่ละ Sentiment การแสดงความคิดเห็นในเรื่องอื่น แต่มีการกล่าวถึงการไม่อยากมีลูก Engagement : 434 ความไม่มั่นใจในการเลี้ยงดูลูก ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่จะ มีหรือไม่มีลูก Engagement : 0
  • 22. ภาพตัวอย่างข้อความที่เกิดขึ้นของแต่ละ Sentiment กลัวเวรกรรมตามสนองในสิ่งที่ทำไม่ดีกับพ่อแม่ Engagement : 7,468 คนไทยไม่อยากมีลูก เนื่องจากประเทศไร้ความปลอดภัย ความมั่นคง Engagement : 245 สังคมไม่น่าอยู่ โหดร้าย มองหน้ากันก็มีแต่จะหาเรื่องกันอย่างเดียว Engagement : 16
  • 23. Top 3 posts by engagement 3 โพสต์ที่ได้รับยอด Engagement เยอะที่สุดในช่องทาง Facebook ล้วนเป็นโพสต์จาก Facebook Page ไม่ว่าจะเป็น Poetry of Bitch, คมศักดิ์ แอดดัมส์, Ch7HD News ที่มีการ กล่าวถึง ประเด็นดราม่าของ หมอชลน่าน ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ เกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการมีบุตร ซึ่งได้มีการพูดถึง และพาดพิง ถึงประเด็นที่ว่า การไม่อยากมีลูก คือสิ่งที่ “บิดเบี้ยว” ก่อให้เกิด กระแสการถกเถียงกันในโลกออนไลน์กันเป็นจำนวนมาก รวมไป ถึงมีผลการสำรวจจาก นิด้าโพล ออกมาแสดงถึงสาเหตุที่คนไทย ไม่อยากมีลูก และตอกย้ำนโยบายส่งเสริมการมีบุตรอีกด้วย
  • 24. Top 3 posts by engagement 3 โพสต์ที่ได้รับยอด Engagement เยอะที่สุดในช่องทาง Twitter ล้วนเป็นโพสต์ที่มีการกล่าวถึง ประเด็นดราม่า สาเหตุการ ไม่อยากมีลูก ที่มีเหตุผลอันเนื่องมาจาก ปัจจัยทางด้านการเมือง รวมไปนโยบายจากรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการมีบุตร ซึ่ง หมอชลน่าน ได้มีการพูดถึง และพาดพิงถึงประเด็นที่ว่า การไม่อยาก มีลูก คือสิ่งที่ “บิดเบี้ยว” ก่อให้กระแสการถกเถียงกันในโลก ออนไลน์ถึงความไม่เหมาะสมกันเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีผู้ใช้งาน Twitter รายหนึ่งได้มีการกล่าวถึงประเด็นที่น่าสนใจ เอาไว้ว่า แม้จะ เป็นครอบครัวที่มีฐานะ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะมีความพร้อมในการ เลี้ยงดูลูกเสมอไป ซึ่งนี่ก็นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่สังคมกำลัง จับตามอง และให้ความสนใจ ณ ขณะนี้
  • 25. Top 3 posts by engagement 3 โพสต์ที่ได้รับยอด Engagement เยอะที่สุดในช่องทาง Instagram ล้วนเป็นโพสต์จาก Fanpage ชื่อดัง ที่มียอดผู้ ติดตามจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น eventpassapp, kodkid.iq, sale_here ที่มีการกล่าวถึง วิจัย และผลการสำรวจถึงสาเหตุ ของการเลือกที่จะไม่มีลูกของคนรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยทาง ด้านเศรษฐกิจ ความพร้อมทางการเงิน ความพร้อมทางการงาน รวมไปถึงอีกปัจจัยที่น่าประหลาดใจอยู่ไม่น้อย คือ กลัวกรรม ตามสนอง เนื่องจากเคยประพฤติไม่ดีกับพ่อและแม่ ฯลฯ
  • 26. Top 3 posts by engagement 3 โพสต์ที่ได้รับยอด Engagement เยอะที่สุดในช่องทาง Forum มีการกล่าวถึงประเด็นทางการเมือง ว่าด้วยนโยบาย จากรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการมีบุตร ซึ่งแน่นอนว่า มีทั้งผู้ที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงสภาพสังคมในเชิงลบ ไม่ว่าจะ เป็น สภาพสังคมในปัจจุบันที่ย่ำแย่ ประชากรขาดคุณภาพ ว่า ปัจจัยเหล่านี้ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของการไม่อยากมีลูก
  • 27. Top 3 posts by engagement 3 โพสต์ที่ได้รับยอด Engagement เยอะที่สุดในช่องทาง YouTube ล้วนเป็นโพสต์จากช่องการสื่อสารข่าวสาร ไม่ว่า จะเป็น VOICE TV, เรื่องเล่าข่าวการเมืองออนไลน์ ที่มีการ บอกเล่า และกล่าวถึงประเด็น ผลการสำรวจจาก “นิด้าโพล” ซึ่งพบว่ามีสารพัดเหตุผล ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจไม่อยากมี ลูกของคนไทย โดยหนึ่งในเหตุผลนั่นก็คือ “ประเทศไร้ อนาคต”
  • 29. ไม่อยากเพิ่มค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงลูก และเป็นห่วงว่าลูกเราจะอยู่อย่างไรในสภาพสังคม ปัจจุบัน ในสัดส่วนที่เท่ากัน (38.32%) ไม่อยากมีภาระต้องดูแลลูก (37.72%) ต้องการชีวิตอิสระ (33.23%) กลัวเลี้ยงลูกได้ไม่ดี (17.66%) อยากให้ความสำคัญกับงานมากกว่า (13.77%) สุขภาพตนเองหรือคู่ครองไม่ค่อยดี (5.39%) กลัวพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ไม่ดี (2.10%) กลัวกรรมตามสนองเพราะเคยทำไม่ดีไว้กับพ่อแม่ (0.90%) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้มีการเปิดเผย ผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “มีลูกกันเถอะน่า” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 26-28 กันยายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุระหว่าง 18-40 ปี ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วย ตัวอย่าง เกี่ยวกับการมีลูกในปัจจุบัน เมื่อสอบถามเกี่ยวกับการอยากมีลูก พบว่า ร้อยละ 44.00 ระบุว่า ไม่อยากมี ซึ่งสาเหตุที่ไม่ อยากมีลูก พบว่า มีดังนี้ 1.ผลการสำรวจจาก สถาบันบัณฑิตบริหารศาสตร์ (นิด้าโพล) ปี 2566 ที่มา : https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=658
  • 30. งานยุ่ง จนไม่มีเวลามาเลี้ยงดูลูก ถ้าหากเลี้ยงลูกได้ไม่ดี ก็เลือกที่จะไม่มีดีกว่า มีความต้องการอยากที่จะทุ่มเทชีวิตให้กับการทำงานก่อน อยากใช้ชีวิตให้คุ้ม เพราะการมีลูกอาจทำให้เสียโอกาสในการทำงานและการใช้ชีวิตตามที่ต้องการ งานวิจัยเรื่อง “การส่งเสริมการมีบุตรผ่านการสร้างความสมดุลระหว่างการทำงาน และการสร้างครอบครัวที่มี คุณภาพ ปีพุทธศักราช 2559” ที่จัดทำโดย ผศ.ดร. มนสิการ กาญจนะจิตรา และคณะ ได้มีการแบ่งปัจจัยที่ทำให้คน Gen Y (ช่วงอายุระหว่าง 26-40 ปี) ไม่อยากมีลูกออกเป็น 4 ปัจจัย ดังนี้ ซึ่งนอกจากเหตุผลเรื่องการทำงานและการใช้ชีวิต ยังมีเรื่องของค่าใช้จ่ายด้วย เพราะค่าเฉลี่ยที่ต้องใช้ต่อการ มีลูกคนหนึ่งอยู่ที่ประมาณ 1.9 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นจำนวนเงินที่สูงพอสมควร อีกทั้งคน Gen Y ก็ไม่ได้มองว่าการมี ลูกเป็น ‘โซ่ทองคล้องใจ’ แต่เป็นสิ่งเติมเต็มให้ชีวิตสมบูรณ์เท่านั้น ผู้คนส่วนใหญ่จึงรู้สึกลำบากใจ หากต้องปันเงิน ส่วนที่จะใช้ซื้อบ้าน รถ หรือใช้ท่องเที่ยว มาใช้กับการมีลูกแทน 2.ผลการวิจัยของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2559 ที่มา : https://www.the101.world/gen-y-no-child/
  • 31. 3.ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2556 จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติและการตัดสินใจในการเลือกที่จะไม่มีลูก ของกลุ่มตัวอย่างคู่ สามีภรรยาที่ยังไม่มีลูก แบ่งออกเป็น 4 ปัจจัย ดังนี้ ปัจจัยที่ 1 ด้านทัศนคติส่วนบุคคล โดยส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน ต้องการใช้ เงินที่หามาได้เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองและคู่ครอง จึงมีความเห็นว่า การมีลูกจะทำให้ตัวเองและคู่ครองมี ภาระทางด้านการเงินและภาระความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น และมองว่าการไม่มีลูก ไม่ได้ทำให้การดำเนินชีวิตคู่เงียบเหงา หรือขาดอะไรไป เพราะกลุ่มผู้วิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ สามารถหากิจกรรมต่างๆ ทำร่วมกัน และสามารถให้เวลาซึ่งกัน และกันได้อย่างเต็มที่ ปัจจัยที่ 2 ด้านสุขภาพ โดยส่วนใหญ่มุ่งแสวงหาความประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน จึงทำให้ขาดการ วางแผนในเรื่องความพร้อมด้านสุขภาพในการมีลูก ดังนั้น พออายุมากขึ้นจึงทำให้เกิดปัญหาภาวะมีบุตรยาก นอกจากนี้ กลุ่มผู้วิจัยยังพบว่ากลุ่มคนตัวอย่าง มักจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่อาจมีปัญหาด้านสุขภาพที่ส่งผลให้ไม่สามารถมีลูกได้ตั้งแต่ ก่อนที่จะตกลงแต่งงาน หรือใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน เช่น โรคธาลัสซีเมีย ซึ่งจะทำให้ลูกที่เกิดมามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้สูงมาก หรือภาวะการเป็นหมันของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ไม่สามารถทำให้มีลูกได้ จึงทำให้ตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันโดยที่ไม่มีลูก ที่มา : https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/436/1/TP%20MM.012%202556.pdf
  • 32. ปัจจัยที่ 3 ด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่มีสภาวะบีบคั้น ผู้คนต่างพยายามหารายได้เพื่อมาใช้ จ่ายในชีวิตประจำวันให้เพียงพอต่อค่าครองชีพที่มีอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้วิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มองว่า การมีลูกจะทำให้พวกเขาต้องมีภาระทางด้านการเงินที่เพิ่มขึ้น ไม่สามารถใช้จ่ายได้ตามความต้องการของตนเอง และคู่ครอง เพราะต้องคิดถึงลูกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรเงินเพื่อมาดูแลลูก การวางแผนอนาคตของลูกเรื่องการ ศึกษาเล่าเรียน ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมาก แทนที่พวกเขาจะนำเงินส่วนนี้มาใช้จ่ายตามที่ตนเองและคู่ครองปรารถนา ดังนั้น ปัจจัยด้านเศรษฐกิจจึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่อยากมีลูก ปัจจัยที่ 4 ด้านสังคม ผู้วิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ต้องการที่จะมีลูก เพราะกังวลว่าลูกของตนเองจะได้รับ ผลกระทบจากปัญหาด้านสังคม อันเนื่องมาจากสภาพสังคมไทยในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น กันมากขึ้น ผู้คนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม จึงทำให้เกิดปัญหาทางสังคมอื่นๆ ตามมา เช่น ปัญหา ความยากจน ปัญหาอาชญากรรม และปัญหายาเสพติด ฯลฯ ที่มา : https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/436/1/TP%20MM.012%202556.pdf
  • 33. ภาระทางการเงิน และความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูลูก สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่บีบคั้น และสภาพแวดล้อมที่ เสื่อมโทรมลง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คู่สมรสยุคใหม่ไม่มีลูก มีพฤติกรรมแต่งงานช้า เพราะมุ่งเน้นแสวงหาความสำเร็จก่อน พออายุมากขึ้นจึงมีลูกยาก หรือไม่ต้องการที่จะมีลูกแล้ว ต้องการใช้ชีวิตอิสระในแบบที่ตัวเองและคู่ครองปรารถนา ปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ภาวะเป็นหมัน หรือภาวะความผิดปกติของรังไข่ มองว่าลูกไม่ใช่ส่วนเติมเต็มของครอบครัวให้มีความสมบูรณ์ โดยที่พวกเขาสามารถหาความสุขได้แม้จะไม่มีลูก และการไม่มี ลูกไม่ได้ทำให้ชีวิตคู่เงียบเหงา เพราะมีกิจกรรมอื่นๆ ที่สามารถทําร่วมกันได้ สรุปใจความสำคัญต่อสาเหตุที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างคู่สามีภรรยาที่ยังไม่มีลูก ตัดสินใจเลือกที่จะไม่มีลูกดังนี้ 1. 2. 3. 4. 5. ที่มา : https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/436/1/TP%20MM.012%202556.pdf
  • 34. จากการทำวิจัยพบว่า ระดับการศึกษาเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจแต่งงานและการมีลูกในประเทศไทย ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจแต่งงานและการมีลูกในประเทศไทย คือ ระดับการศึกษาของผู้หญิงไทยที่เพิ่มสูงขึ้น ที่ถึงแม้จะ ส่งผลทางบวกต่อระดับสถานภาพของผู้หญิงทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม แต่ส่งผลลบต่อการตัดสินใจแต่งงานและการมีลูกของผู้หญิง เพราะการที่ผู้หญิงไทยมีระดับการศึกษาที่สูงขึ้น ทำให้มีโอกาสที่จะพบคู่ครองที่มีความเหมาะสมกันทั้งระดับรายได้และการศึกษาน้อยลง ไม่เพียงเท่านี้ระดับการศึกษาที่เพิ่มขึ้นยังทำให้ผู้หญิงเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น ได้รับค่าตอบแทนแรงงานสูงขึ้น และทำให้ต้นทุนค่าเสีย โอกาสของผู้หญิงจากการลาคลอดและเลี้ยงดูลูกเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ ผู้หญิงที่มีการศึกษาสูงยังอาจเลือก “คุณภาพ” ในการเลี้ยงดู ลูกมากกว่า “จำนวน” ซึ่งนอกจากระดับการศึกษาที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจแต่งงานและการมีลูกแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกด้วย ได้แก่ ที่มา : https://thaipublica.org/2020/02/pier-research-marriage-strike/ 4.ผลการวิจัยของ ดร.ศศิวิมลและ Ms.Luis Liao ปี พ.ศ. 2563
  • 35. ต้นทุนของการเลี้ยงดูลูกที่เพิ่มขึ้น ทำให้คู่สมรสมีแนวโน้มที่จะชะลอการมีลูกหรือตัดสินใจไม่มีลูกเลย ข้อมูลจาก งานวิจัยล่าสุดของ Chamchan et al. (2019) ชี้ว่า การเลี้ยงลูก 1 คน (อายุ 0-14 ปี) อยู่ที่ ประมาณ 1.57 ล้านบาท โดยต้นทุนการเลี้ยงดูบุตรนี้เพิ่มสูงขึ้นตามระดับรายได้ของครัวเรือน ผลกระทบต่อค่าจ้างที่เกิดขึ้นจากการมีลูกของแรงงานไทย งานวิจัยของ Liao and Paweenawat (2019b) ได้ศึกษาความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างแรงงานที่มีลูกและแรงงานที่ไม่มีลูก (parenthood wage gap) พบว่า การมีลูกส่งผลกระทบทางลบต่อค่าจ้างของแรงงานหญิง (motherhood wage penalty) โดยแรงงานที่ไม่มีลูกจะมีระดับค่าจ้างเฉลี่ยที่สูงกว่าแรงงานที่มีลูก ซึ่งความแตกต่างของค่าจ้าง นี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ที่มา : https://thaipublica.org/2020/02/pier-research-marriage-strike/
  • 36. ที่มา : https://thaipublica.org/2020/02/pier-research-marriage-strike/ ทัศนคติของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาสูง มีทัศนคติต่อการแต่งงานและการมีลูกที่แตกต่างกันออกไป โดย กลุ่มคนรุ่นใหม่นี้มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและความเป็นอิสระส่วน ตัวมากยิ่งขึ้น ทำให้มีแนวโน้มที่จะมีจำนวนลูกลดน้อยลง Samutachak and Darawuttimaprakorn (2014) พบว่า กลุ่ม Generation Y ในประเทศไทย (คนที่เกิดระหว่างปี 1980-2003) ให้ความสำคัญกับ การแต่งงานและการมีลูกน้อยกว่าเรื่องอื่น การขาดการสนับสนุนและความช่วยเหลือจากทางภาครัฐและสังคม เช่น การขาดแคลนสถานเลี้ยงดูเด็ก เล็กของภาครัฐ การขาดความยืดหยุ่นของเวลาการทำงาน การกีดกันแบ่งแยกในสถานที่ทำงานต่อแรงงานที่ มีลูก ทำให้ลดความต้องการที่จะแต่งงานและมีลูกลงไป
  • 37. สรุปผลการสำรวจจากแบบสอบถามทาง Google form ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น “การเลือกที่จะไม่มีลูก” โดยมีจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 75 ราย อยู่ในช่วงอายุ 18 - 35 ปีขึ้นไป
  • 38. ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่า มีสัดส่วนเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีสัดส่วนเพศ หญิงจำนวนทั้งหมด 42 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 56% และ มีเพศชายจำนวนทั้งหมด 33 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 44% ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่า มีสัดส่วนที่มากที่สุดอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 25 - 34 ปี จำนวนทั้งหมด 47 ราย หรือเป็นร้อยละ 62.7% รองลงมาจะ อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 18 - 24 ปี จำนวนทั้งหมด 22 ราย หรือเป็นร้อยละ 29.3% และน้อยที่สุดในช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งหมด 6 ราย หรือเป็นร้อยละ 8 % ข้อมูลเพศและอายุ
  • 39. ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด เป็นจำนวน 50 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 66.7% และมี ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนน้อยที่มีสถานภาพสมรสเป็น จำนวน 25 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 33.3% ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีวุฒิการศึกษา ระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า เป็นจำนวน 54 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 72% ซึ่งมากที่สุด รองลงมาจะอยู่ใน ระดับสูงกว่าปริญญาตรี เป็นจำนวน 11 ราย หรือคิดเป็น ร้อยละ 14.7% และน้อยที่สุดจะอยู่ในระดับต่ำกว่า ปริญญาตรี จำนวน 10 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 13.3% ข้อมูลสถานภาพและวุฒิการศึกษา
  • 40. ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อ เดือน 15,001-35,000 บาท เป็นจำนวน 41 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 54.7% รองลงมา ต่ำกว่า 15,000 บาท เป็นจำนวน 20 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 26.7% และรองลงมา 35,001 บาทขึ้นไป เป็นจำนวน 14 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 18.7% ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบ ว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่ต้องการมีบุตรเป็น จำนวน 52 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 69.3% โดยแบ่งเป็น เพศชายจำนวน 22 ราย และเพศหญิง 30 ราย และส่วน น้อยที่ต้องการมีบุตรเป็นจำนวน 23 ราย หรือคิดเป็นร้อย ละ 30.7% โดยแบ่งเป็นเพศชาย 12 ราย และเพศหญิง 11 ราย ข้อมูลรายได้เฉลี่ยต่อเดือนและความต้องการมีบุตร
  • 41. หากคุณต้องการมีบุตร เพราะเหตุใด ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่าเหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างต้องการมีบุตร เนื่องมาจากเหตุผลดังนี้ บุตรทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 52.6% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชายมากที่สุด การอยากเลี้ยงดูบุตร ปกป้อง ดูแล ได้แสดงออกถึงความเป็นพ่อแม่ คิดเป็นร้อยละ 52.6% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด เพื่อให้บุตรเป็นเพื่อน ทำให้ไม่เหงา คิดเป็นร้อยละ 39.5% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชายมากที่สุด เพื่อให้บุตรเป็นผู้สืบสกุล และทรัพย์สิน คิดเป็นร้อยละ 36.8 % โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชายมากที่สุด เพื่อให้บุตรช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจให้ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 13.2 โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชายมากที่สุด เพื่อให้บุตรเป็นผู้ที่คอยดูแลยามแก่ชรา คิดเป็นร้อยละ 10.5% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชาย และเพศหญิงเท่ากัน 1. 2. 3. 4. 5. 6.
  • 42. หากคุณไม่ต้องการมีบุตร เพราะเหตุใด ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่าเหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างไม่ต้องการมีบุตร เนื่องมาจากเหตุผลดังนี้ ห่วงความเป็นอยู่ของบุตรในสภาพสังคมปัจจุบัน และอนาคต คิดเป็นร้อยละ 65% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด ต้องการชีวิตอิสระ ไม่มีพันธะ คิดเป็นร้อยละ 46.7% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด ไม่อยากเพิ่มค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตร คิดเป็นร้อยละ 38.3% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด ไม่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงดูบุตร กลัวเลี้ยงบุตรได้ไม่ดี คิดเป็นร้อยละ 31.7% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด อยากให้ความสำคัญกับการทำงานมากกว่า คิดเป็นร้อยละ 16.7% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชายมากที่สุด มีปัญหา และความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง หรือคู่ครอง คิดเป็นร้อยละ 8.3% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชายมากที่สุด เป็นกลุ่มรักเพศเดียวกัน ทำให้มีบุตรไม่ได้ คิดเป็นร้อยละ 1.7% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชายมากที่สุด อื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น มีความกังวลว่าหากเลี้ยงดูบุตรได้ไม่ดี จะส่งผลให้บุตรกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคม คิดเป็นร้อยละ 1.7% , กังวลว่ารูปร่างของตนเองจะเปลี่ยนแปลงไปภายหลังการมีบุตร คิดเป็นร้อยละ 1.7% เป็นต้น 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8.
  • 43. คุณคิดว่าปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการตัดสินใจในการมีบุตรหรือไม่ ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของกลุ่มตัวอย่างในการเลือกที่จะมีบุตร ดังนี้ สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ 89.3% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด สภาพสังคมในปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ 84% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด นโยบายหรือสวัสดิการของรัฐเกี่ยวกับการมีบุตร คิดเป็นร้อยละ 60% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด บุคคลรอบข้าง เช่น ครอบครัว คนรัก เพื่อน หรือญาติ ฯลฯ คิดเป็นร้อยละ 44% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด 1. 2. 3. 4.
  • 44. จากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ที่ผู้เยาว์มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเหยื่อ หรือผู้กระทำ ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคุณอย่างไร ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่าจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิด ขึ้นในสังคมไทย ที่ผู้เยาว์มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นเหยื่อ หรือผู้กระทำ ส่งผลกระทบต่อความ รู้สึกของกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ส่งผลให้รู้สึกว่าไม่อยากให้ลูกเกิดมาอยู่ในสังคมแบบนี้ เพราะมีความกังวลว่า หากสักวันหนึ่ง ลูกเราอาจจะตกเป็นเหยื่อขึ้นมา คงเกิดความรู้สึกรับไม่ได้กับเหตุการณ์นั้น สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาสังคม เช่น การตั้งครรภ์โดยที่ไม่พร้อม ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลทั้ง ทางตรงและทางอ้อม เช่น บิดามารดาไม่มีเวลาดูแลบุตรจนนำมาสู่ปัญหาสังคม มองว่าการคุมกำเนิดและการเลี้ยงดูเด็กให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญ รู้สึกว่าการมีลูกเมื่อพร้อมคือสิ่งที่ดีที่สุด ต้องมีความพร้อมทั้งด้านฐานะ ภาวะทางอารมณ์ และความสามารถในการดูแลบุตร เพราะหากมีแล้วไม่สามารถเลี้ยงดูลูกให้เติบโตเป็นคนดีได้ ก็ ไม่ควรที่จะมี 1. 2. 3. 4.
  • 45. คุณมีความคิดเห็นอย่างไรต่อ คำกล่าวที่ว่า การไม่อยากมีลูก คือสิ่งที่ “บิดเบี้ยว” ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่าจากคำกล่าวของ หมอชลน่าน ที่กล่าวว่า การไม่อยากมีลูก คือสิ่งที่ “บิดเบี้ยว” ส่งผลกระทบต่อ ความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ การไม่อยากมีลูกไม่ใ่ช่ความบิดเบี้ยว เพราะ การที่เราจะมีลูกได้ต้องดูหลาย องค์ประกอบในการตัดสินใจเช่น สภาพสังคมในปัจจุบัน รัฐบาลมีนโยบายที่ดี ในการซัพพอร์ตในการมีบุตรหรือไม่ เรามีความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรให้ เจริญเติบโตมาในแนวทางที่ถูกต้องหรือเปล่า ถ้าตัวเราไม่พร้อม สภาพสังคม ไม่พร้อม การมีบุตรอาจจะทำให้เด็กที่เกิดมามีปัญหาได้ ไม่เห็นด้วย เนื่องจากการมีลูกเป็นสิทธิของแต่ละบุคคล เราไม่ควรไปตัดสินคน อื่นเพียงเพราะแค่ไม่ยอมมีลูก ความบิดเบี้ยวที่แท้จริงคือ การโทษคนที่ไม่ ยอมมีลูกให้เป็นปัญหา ทั้งๆที่ปัญหาคือการที่สังคมไม่เอื้ออำนวยต่อการ เติบโตของประชากรในประเทศให้มีคุณภาพ ไม่เห็นด้วย เนื่องจากการจะมีหรือไม่มีบุตร เป็นสิทธิส่วนบุคคล ที่อยู่ภาย ใต้การตัดสินใจของสามีภรรยา โดยที่ไม่มีคำว่าถูกหรือผิด ปกติหรือผิดปกติ 1. 2. 3.
  • 46. หากสภาพสังคม และเศรษฐกิจไทยมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น คุณจะมีความคิดเห็นที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่เกี่ยวกับการเลือกมีบุตร ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่าหากสภาพสังคม และเศรษฐกิจมีการ พัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อการเลือกที่จะมี หรือไม่มีบุตร มีดังนี้ มีความคิดเห็นที่เปลี่ยนแปลงไป คิดเป็นร้อยละ 72% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชาย และเพศหญิงที่เท่ากัน มีความคิดเห็นที่ไม่เปลี่ยนแปลง คิดเป็นร้อยละ 28% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด 1. 2.
  • 47. มีความคิดเห็นที่เปลี่ยนแปลงไป คิดเป็นร้อยละ 72% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชาย และเพศหญิงที่เท่ากัน ซึ่งมี ความคิดเห็นดังนี้ เปลี่ยนแปลงไป เพราะ หากเศรษฐกิจ และสังคมไทยพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นก็จะส่งผลดีในเรื่องต่างๆตามมา เช่น ค่าครองชีพที่เหมาะสม สวัสดิการที่ดี ก่อให้เกิดสังคมที่ดี ทำให้การเลี้ยงดูบุตรออกมาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และทำให้มองเห็นอนาคตของลูกตนเองในประเทศไทยมากขึ้น เปลี่ยนแปลงไป เพราะหากเศรษฐกิจดีขึ้น ความมั่นคงทางการเงินก็ดีขึ้นตาม ส่งผลให้ประชาชนมีความพร้อม ทั้งในด้านเวลาและค่าใช้จ่ายมากขึ้น สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นก็จะช่วยให้เด็กที่โตขึ้น เป็นประชากรที่มี คุณภาพมากขึ้น เปลี่ยนแปลงไป เพราะสภาพแวดล้อมทางสังคม และเศรษฐกิจ มีผลต่อความคิด การตัดสินใจ รวมไปถึงความ เป็นอยู่ของลูกในอนาคต ถ้าหากสภาพแวดล้อมดีก็อาจจะทำให้ลูกมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในอนาคต 1. 2. 3. หากสภาพสังคม และเศรษฐกิจไทยมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น กลุ่มตัวอย่างจะมีความคิดเห็นที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเหตุใด
  • 48. มีความคิดเห็นที่ไม่เปลี่ยนแปลง คิดเป็นร้อยละ 28% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด ซึ่งมีความคิดเห็นดังนี้ 1. ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะมองว่าการตัดสินใจที่จะมีลูกหรือไม่มีลูก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านสภาพสังคม และเศรษฐกิจ แต่ขึ้นอยู่กับความพร้อม และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล หรือครอบครัวมากกว่า 2. ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะถึงแม้ว่าสภาพสังคม และเศรษฐกิจไทยจะมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อ ความรู้สึกที่อยากจะมีลูกมากขึ้น เพราะยังห่วงความเป็นอยู่ของลูกในสภาพแวดล้อมปัจจุบันและมีความกังวลต่อการ เปลี่ยนแปลงในอนาคต 3. ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะมีความต้องการใช้ชีวิตอิสระ ไม่อยากเพิ่มภาระให้กับตัวเองตั้งแต่แรก หากสภาพสังคม และเศรษฐกิจไทยมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น กลุ่มตัวอย่างจะมีความคิดเห็นที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเหตุใด
  • 49. ในท้ายที่สุดนี้ คุณคิดว่าการไม่มีบุตรจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และความสุขของคุณอย่างไร มีชีวิตอิสระ คิดเป็นร้อยละ 74.7% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด ประหยัดค่าใช้จ่าย คิดเป็นร้อยละ 62.7% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด มีเวลาว่างมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 60% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด สุขภาพร่างกายดีขึ้น มีสัดส่วนที่เท่ากับมีความสุขมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 14.7% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศหญิงมากที่สุด รู้สึกเหงา ไม่มีอะไรมาเติมเต็มในชีวิตคู่ คิดเป็นร้อยละ 20% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชายมากที่สุด ไม่มีคนดูแลยามชรา คิดเป็นร้อยละ 16% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชายมากที่สุด ไม่มีผู้สืบสกุล และทรัพย์สิน คิดเป็นร้อยละ 21.3% โดยมีสัดส่วนเป็นเพศชายมากที่สุด อื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น คิดว่าลูกไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต ความสุขหรือความทุกข์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับบุตร คิดเป็นร้อยละ 1.3% , ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 75 ราย พบว่าการเลือกที่จะไม่มีบุตรส่งผลต่อสุขภาพชีวิต และความสุขของกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. ไม่ต้องแบกรับความกดดันภาระหน้าที่ต่างๆ เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 1.3% เป็นต้น
  • 50. การทำวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยกับกลุ่มคนช่วงอายุน้อยกว่า 18ปี - 45ปีขึ้นไป ในหัวข้อ “การเลือกที่ จะไม่มีลูก” จากการศึกษารวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูล Zocial eye ข้อมูลผลการวิจัย ข้อมูลผลสำรวจ และการ ทำแบบสอบถาม โดยผู้วิจัยพบว่า ข้อมูลที่ค้นพบมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญระหว่าง ทัศนคติ พฤติกรรมและวิธีการดำเนินชีวิตของกลุ่มคน กล่าวคือ กลุ่มคนในช่วงอายุน้อยกว่า 18ปี - 45ปีขึ้นไป มีมุมมอง ต่อการมีบุตรในยุคปัจจุบันเป็นเรื่องที่ห่างไกล เนื่องจากปัจจัยหลากหลายอย่าง ดังนี้ ผลการสรุปข้อมูลโดยรวม
  • 51. ผลการสรุปข้อมูลโดยรวม ด้านทัศนคติส่วนบุคคล โดยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและความเป็น อิสระส่วนตัวมากกว่าการเลือกที่จะมีบุตร เพราะ การมีบุตรส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน เนื่องจากในปัจจุบัน บริษัทส่วนใหญ่มีทรัพยากรไม่เพียงพอและผู้บริหารไม่มีนโยบายที่เอื้อต่อสวัสดิการของพนักงาน จึงทำให้ต้นทุน ค่าเสียโอกาสทั้งในด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ด้านเวลาในการทำงานที่ลดน้อยลง จากการลาคลอดหรือ เลี้ยงดูบุตร เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่มีบุตร ที่สามารถใช้เวลาในการทำงานได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ ส่ง ผลให้มีความก้าวหน้าทางการงานที่รวดเร็วกว่า อีกทั้งยังมองว่าการไม่มีลูก ไม่ได้ทำให้การดำเนินชีวิตคู่ เงียบเหงา หรือขาดอะไรไป เพราะ พวกเขาสามารถมองหาความสุขได้แม้จะไม่มีลูก ผ่านการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่สามารถเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันได้ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนส่วนน้อยที่มีเหตุผลในการตัดสินใจ เลือกที่จะไม่มีลูก อันเนื่องมาจากความกลัวที่จะย้อนกลับมาจากพฤติกรรมการกระทำที่ไม่ดีในอดีต
  • 52. ผลการสรุปข้อมูลโดยรวม ด้านเศรษฐกิจ พบว่ากลุ่มคนส่วนใหญ่มองว่าปัจจัยในด้านเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการ เลือกที่จะมีบุตร หรือไม่มีบุตร เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน มีความเปราะบาง และเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา ก่อให้เกิดอัตราค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ประชาชนสามารถเข้าถึงสินค้าประเภทอุปโภค และบริโภคใน ราคาที่จับต้องได้ยาก ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นกับเงินในกระเป๋าที่ลดลง ทำให้กลุ่มคนส่วนใหญ่ ตัดสินใจเลือกที่จะไม่มีบุตร เพื่อลดภาระทางด้านการเงิน ในการเลี้ยงดูบุตร ซึ่งโดยเฉลี่ยการมีบุตรหนึ่งคน ต้องใช้เงินจำนวนมากถึง 1.9 ล้านบาท ดังนั้นกลุ่มคนเหล่านี้จึงรู้สึกลำบากใจ หากต้องสละเงินส่วนตัวในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน มาใช้กับการมีบุตรแทน อีกทั้ง ยังมองว่า การมีความพร้อมทางด้านค่าใช้จ่าย เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ รวมไปถึงการเลี้ยงดูบุตรให้มี คุณภาพมาก ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเด็กที่โตขึ้นให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ หากไม่มีความพร้อมในการเลี้ยงดู บุตรอย่างมีคุณภาพได้ อาจส่งผลให้บุตรกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมในอนาคต ด้านสุขภาพ พบว่ากลุ่มคนบางส่วนมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพของตนเอง หรือคู่ครอง ยกตัวอย่างเช่น ภาวะเป็นหมัน หรือภาวะความผิดปกติของรังไข่ ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก จนนำมาสู่การ ตัดสินใจเลือกที่จะไม่มีลูกในที่สุด
  • 53. ผลการสรุปข้อมูลโดยรวม ด้านสังคม พบว่าสภาพสังคม เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกที่จะมีบุตร หรือไม่มีบุตร กล่าวคือ จากสถานการณ์ทางสังคม ณ ปัจจุบัน ที่มีปัญหาอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสถานการณ์ความ รุนแรงต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาอาชญากรรม เยาวชนวัย 14 ปี ก่อเหตุการกราดยิงที่ห้าง สรรพสินค้าพารากอน , ฆ่าโบกปูน 5 ศพ ฆาตกรต่อเนื่องฆ่าลูกในไส้, ปัญหายาเสพติด, ปัญหาโรคอุบัติใหม่ที่เกิด ขึ้นอยู่ตลอดเวลา, ปัญหาสภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ทั้งไฟป่า น้ำท่วม ฯลฯ เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อ ให้คนส่วนใหญ่เกิดความกังวล ว่าถ้าหากตัดสินใจที่จะมีบุตร แล้วบุตรของตนเองต้องเติบโตมาในสภาพสังคมที่ รายล้อมไปด้วยปัญหามากมายเหล่านี้ คุณภาพชีวิต และความปลอดภัยของบุตรจะเป็นเช่นไร และไม่ต้องการให้ บุตรต้องเผชิญกับโลกแห่งความเป็นจริงที่โหดร้ายเหมือนกับที่ตนเองพบเจอ อีกทั้งในสังคมไทยยังมีช่อง ว่างสวัสดิการเด็กเล็ก ที่ขาดการสนับสนุนและความช่วยเหลือจากทางภาครัฐและสังคม เช่น การขาดแคลน สถานเลี้ยงดูเด็กเล็กของภาครัฐ การขาดความยืดหยุ่นของเวลาการทำงาน การกีดกันแบ่งแยกในสถานที่ทำงานต่อ แรงงานที่มีลูก จึงเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่มีส่วนทำให้คนส่วนใหญ่ลดความต้องการที่จะมีลูก
  • 54. ผลการสรุปข้อมูลโดยรวม ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานี้ หากในอนาคตสภาพสังคม และเศรษฐกิจมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดี ขึ้น ผู้วิจัยพบว่า กลุ่มคนส่วนใหญ่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง และตัดสินใจเลือกที่จะมีบุตรเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้องการปัจจัยในด้านความพร้อมทั้งค่าใช้จ่าย และสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อให้บุตรสามารถเติบโตได้ อย่างประสิทธิภาพ ผ่านสภาพแวดล้อมสังคมที่ดี มีเศรษฐกิจที่มั่นคง จนนำไปสู่ประชากรที่มีคุณภาพ