SlideShare a Scribd company logo
การดื่มกาแฟเป็นประโยชน์หรือโทษกันแน่
เรียบเรียงโดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
วันที่เผยแพร่ 26 กุมภาพันธ์ 2554
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อตอบคาถามให้แก่พี่พยาบาล รพ.สมิติเวช ศรีราชา ซึ่งต้องการทราบว่า การดื่มกาแฟ
นั้นตกลงมันเป็นประโยชน์หรือโทษกันแน่? ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหา ผมขอออกตัวก่อนนะครับ ว่ามันอาจ
ไม่ใช่บทความที่สมบูรณ์แบบและครอบคลุมทุกแง่ทุกมุม สาเหตุก็เพราะว่ากาแฟนั้นเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับ
ความนิยมอย่างมาก ดื่มกันอยู่ทั่วโลก งานศึกษาวิจัยถึงผลดีผลเสียของกาแฟจึงมีอยู่จานวนมหาศาล ซึ่ง
แน่นอนว่าผมไม่สามารถจะค้นคว้ามาทั้งหมดได้ เนื้อหาในบทความนี้จึงเป็นลักษณะบทสรุปคร่าวๆ เพื่อให้
เกิดการมองในมุมกว้างเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของเครื่องดื่มยอดนิยมชนิดนี้มากกว่า เอาล่ะครับ...ถ้า
ยอมรับได้ในความไม่สมบูรณ์พร้อมของบทความผมแล้ว เราก็มาดูกันเลยว่าดื่มกาแฟมันดีหรือไม่ดียังไง
กาแฟ (coffee) เป็นเครื่องดื่มมหัศจรรย์ที่มีรสชาติหอมหวน ชวนดื่ม บางคนก็บอกว่ากาแฟนั้นเป็นเครื่องดื่ม
จากสวรรค์ เพราะมันสร้างสุนทรียภาพให้กับผู้ดื่มได้ บางคนก็ทาธุรกิจร้านกาแฟจนมีเงินตั้งตัวได้ และอีก
ไม่น้อยที่ถึงกับทาให้ร่ารวยเลยทีเดียว แต่ทางด้านวิชาการก็มีข้อมูลของกาแฟต่อผลของสุขภาพอยู่มากมาย
บ้างก็บอกว่ามันมีประโยชน์อยู่ไม่ใช่น้อย แต่บ้างก็บอกว่ามีโทษอยู่เยอะเหมือนกัน
หากเปรียบเทียบกาแฟกับบุหรี่และสุรา เราจะพบว่าสาหรับบุหรี่และสุรา ข้อมูลทางวิชาการในปัจจุบันนี้
แทบทุกหน่วยงานทุกองค์กร ล้วนยอมรับเป็นเสียงเดียวกันว่า การสูบบุหรี่และการดื่มสุรา น่าจะส่งผลเสีย
ต่อสุขภาพมากกว่าผลดี แต่สาหรับกาแฟ ข้อมูลวิชาการที่มีในปัจจุบันยังดูขัดแย้งกันอยู่ อีกทั้งงานวิจัยที่ทา
เกี่ยวกับผลสุขภาพของกาแฟก็มีอยู่จานวนมาก วันที่เขียนบทความนี้ (26 กุมภาพันธ์ 2554) หากเราเข้าไปค้น
ข้อมูลในฐานข้อมูลงานวิจัย pubmed(www.pubmed.gov) โดยใช้คาค้นว่า “coffee” จะพบว่ามีงานวิจัยที่ทา
เกี่ยวกับผลของกาแฟต่อสุขภาพอยู่มากมายถึง 8,042 เรื่อง นี่เป็นการค้นหาจากเพียงแค่ฐานข้อมูลเดียว หาก
รวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวกับกาแฟจากทั่วโลกอาจจะมีมากกว่านี้
การที่คนเราดื่มกาแฟนั้น ถ้าไม่ได้ติดใจในรสชาติของกาแฟแล้ว ส่วนหนึ่งก็อาจจะเพราะหวังผลลดความง่วง
สารออกฤทธิ์สาคัญที่อยู่ในกาแฟคือสารคาเฟอีน (caffeine) สารเคมีชนิดนี้มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท จึงทาให้ผู้
ดื่มตื่นจากอาการง่วงได้ นอกจากฤทธิ์กระตุ้นประสาทแล้ว คาเฟอีนยังออกฤทธิ์ต่อร่างกายส่วนอื่นๆ ด้วยไม่
ต่างจากการกินยาชนิดหนึ่งเข้าไป ผลข้างเคียง (side effects) ที่ว่านี้ได้แก่ทาให้ใจสั่น ชีพจรเร็วขึ้น เวียนหัว
กระสับกระส่าย ปากแห้ง ปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องเสีย ปัสสาวะเพิ่มขึ้น ผลข้างเคียงที่กล่าวมานี้ อาจเกิดขึ้น
มากน้อยแตกต่างกันไปในคนแต่ละคน หรือในคนคนเดียวกัน ผลบางอย่างก็เกิดมาก ผลบางอย่างก็เกิดน้อย
ผลแต่ละอย่างจะเกิดมากหรือเกิดน้อยก็ขึ้นอยู่กับปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับและสรีระวิทยาของร่างกาย
ด้วยเหตุนี้ท่านที่อยู่ในวงสังคมคนชอบดื่มกาแฟ คงจะเคยได้ยินเพื่อนบางคนบอกว่า ดื่มกาแฟแล้วไม่เห็น
หายง่วงเลย หรือดื่มกาแฟทีไรแล้วท้องเสียทุกที หรือดื่มกาแฟแล้วใจสั่นจนทางานไม่ได้ ในขณะที่บางคน
ดื่มกาแฟไปแล้วมีอาการเหล่านี้บ้างแต่ก็ไม่รุนแรงนัก
ในเรื่องของฤทธิ์กระตุ้นสมอง ก่อให้เกิดอาการใจสั่น และทาให้ชีพจรเต้นเร็วนั้น หากได้รับคาเฟอีนใน
ปริมาณสูงมาก เช่น ในกรณีของการกินคาเฟอีนอัดเม็ดที่มีขายในต่างประเทศเข้าไปจานวนมากเกิน สามารถ
ทาให้หัวใจเต้นรัวจนเสียชีวิตได้ ในกรณีของการกินเมล็ดกาแฟสดเข้าไปจานวนมาก ก็เคยมีรายงานว่าทาให้
มีอาการโคม่าได้เหมือนกัน แต่สาหรับกรณีของกาแฟที่ชงสาเร็จแล้วนั้น ปริมาณคาเฟอีนที่มีอาจไม่มาก
พอที่จะทาให้โคม่าหรือเสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้ดื่มเข้าไปหลายๆ ลิตร เท่าที่ทราบปัจจุบันจึงยังไม่มีรายงานคน
เสียชีวิตจากการดื่มกาแฟชงสาเร็จ
ในภาพรวมของการทาให้เสียชีวิตและเป็นมะเร็งในระยะยาว เราพบว่าการดื่มกาแฟเป็นประจาอาจช่วยลด
อัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุรวมกันลงได้ สาหรับในเรื่องการก่อมะเร็งนั้น ข้อสรุปเท่าที่มีในปัจจุบันเรา
เชื่อว่าการดื่มกาแฟไม่ใช่เหตุก่อมะเร็ง
มีงานวิจัยหลายชิ้น บ่งชี้ว่ากาแฟ อาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงจากโรคบางอย่างได้ ตัวอย่างของโรคเหล่านี้
เช่น โรคหลงลืม (dementia) โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) ทา
ให้ความจาระยะสั้นดีขึ้น (shortterm recall) ลดความเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วในถุงน้าดี (gallstone) ลดความเสี่ยง
ต่อการเป็นโรคเบาหวาน (diabetes) ช่วยป้องกันภาวะตับแข็ง (cirrhosis) ลดความเสี่ยงต่อการตายจาก
โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease) ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์ (gout) อย่างไรก็ตาม
ผลดีที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นสมมติฐานที่ได้จากการวิจัยทางด้านระบาดวิทยาเป็นส่วนใหญ่ แม้จะทาการเก็บ
ข้อมูลในประชากรจานวนหลายหมื่นหลายแสนคน แต่เรื่องของอาหารกับการป้องกันโรคนี้ก็มักมีปัจจัย
รบกวนมากมาย เพราะวันๆ หนึ่งคนเราก็ไม่ได้กินอะไรเพียงอย่างเดียว และในแต่ละวันก็กินเปลี่ยนไป
เรื่อยๆ ด้วย อีกทั้งในหลายความสัมพันธ์ที่พบนี้ก็ยังไม่สามารถหาเหตุผลกลไกมาอธิบายได้กระจ่าง การ
พิจารณาข้อมูลเหล่านี้แบบฟังหูไว้หูจึงเป็นสิ่งที่แนะนา
หากกล่าวถึงผลเสียของการดื่มกาแฟ ก็มีงานวิจัยหลายฉบับที่พบความอันตรายจากการดื่มกาแฟเช่นกัน ที่
ค่อนข้างชัดเจนคือกาแฟทาให้เป็นแผลในกระเพาะอาหาร (peptic ulcer) กระตุ้นให้เกิดอาการกรดไหลย้อน
(gastroesophageal reflux) ทาให้ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น (increase lipid level) ทาให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
ชั่วคราว (high blood pressure) รบกวนการดูดซึมธาตุเหล็กและทาให้เกิดภาวะโลหิตจาง (iron deficiency
anemia) ในมารดาและทารก ทาให้นอนไม่หลับ (insomnia) และวิตกกังวล (anxiety) เช่นเดียวกับผลดีของ
กาแฟ ผลเสียของกาแฟที่พบนี้ก็มาจากการศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยาที่มีข้อจากัดมากมาย การพิจารณาผลดี
ผลเสียของการดื่มกาแฟจึงควรทาอย่างระมัดระวัง
ในเรื่องการป้องกันฟันผุ มีการตั้งสมมติฐานว่า สารกลุ่มโพลีฟีนอล (polyphenol) ในกาแฟมีฤทธิ์ป้องกันฟัน
ผุได้ ดังนั้นการดื่มกาแฟไม่ใส่น้าตาลอาจทาให้ลดโอกาสในการเกิดฟันผุลง แต่หากมองในแง่ความสวยงาม
แล้ว พบว่ากาแฟมีฤทธิ์ทาให้ฟันเหลือง (toothstaining)
เกี่ยวกับอาการปวดหัวกับกาแฟ ผลการวิจัยที่ออกมาในปัจจุบันยังมีความขัดแย้งกันอยู่ ในอดีตเราเชื่อว่า
คาเฟอีนในกาแฟเป็นสารที่มีฤทธิ์แก้ปวดหัวได้ ยาแก้ปวดหัวหลายสูตรจึงมีส่วนผสมของคาเฟอีนอยู่ด้วย ยา
เหล่านี้เป็นยาที่แพทย์มักจ่ายให้แก่ผู้ป่วยที่ปวดศีรษะ ทั้งปวดศีรษะแบบบีบรัด (tension headache) และโรค
ปวดศีรษะไมเกรน (migraine headache) อย่างไรก็ตามงานวิจัยบางส่วนมีข้อมูลแย้งว่า การได้รับคาเฟอีนใน
ระยะสั้นนั้นอาจลดอาการปวดหัวได้จริง แต่ถ้าดื่มบ่อยๆ จนเกิดอาการติด เมื่อไม่ได้ดื่มกลับจะทาให้ปวดหัว
มากขึ้น
ส่วนในเรื่องของการต้านอนุมูลอิสระ มีการกล่าวถึงกาแฟทั้งแง่ที่ว่าสามารถป้องกันมะเร็งได้ เนื่องจากฤทธิ์
ของสารต้านอนุมูลอิสระในกาแฟหลายตัว เช่น เมทิลไพริดิเนียม (methylpiridinium) โพลีฟีนอล
(polyphenol ) อย่างไรก็ตาม ฤทธิ์ของสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ ค้นพบการออกฤทธิ์แค่เพียงในหลอด
ทดลองเป็นส่วนใหญ่ การพิสูจน์ผลออกฤทธิ์ที่เกิดประโยชน์ในคนจริงๆ ยังไม่มีให้เห็นชัดเจน การเชื่ออย่าง
สนิทใจว่ากินกาแฟแล้วจะป้องกันมะเร็งได้นั้นจึงยังอาจไม่ถูกนัก ในทางตรงข้ามกัน นักวิจัยก็ค้นพบสาร
สกัดที่อาจก่อมะเร็งอยู่ในกาแฟหลายชนิดเหมือนกัน แต่สารเหล่านี้ก็มีข้อมูลแต่เพียงในหลอดทดลอง
ข้อสรุปที่เป็นกลางในปัจจุบันนี้ ที่พอน่าเชื่อถือได้ คือการกล่าวว่า การดื่มกาแฟค่อนข้างชัดเจนว่าไม่ใช่เหตุ
ก่อมะเร็ง แต่ฤทธิ์ต้านมะเร็งนั้นมีจริงหรือไม่อาจยังไม่รู้แน่ชัด
จากผลที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่า ผลของกาแฟต่อสุขภาพนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดีดูจะมี
มากกว่าข้อเสียเล็กน้อย ผลบางอย่างข้อมูลปัจจุบันยังดูมีความขัดแย้งกันอยู่ อาจต้องรอการพิสูจน์ในอนาคต
จึงจะทราบข้อสรุปที่ชัดเจนขึ้น ในประชากรบางกลุ่ม การดื่มกาแฟอาจก่อผลเสียได้ค่อนข้างมาก เช่นคน
เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คนเป็นโรคกระเพาะอาหาร คนเป็นโรคกรดไหลย้อน ประชากรกลุ่มนี้จึงควร
หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟถ้าเป็นไปได้ แต่ในคนที่ไม่มีความเสี่ยงใดๆ แล้ว การดื่มกาแฟก็ไม่ได้เป็นเรื่องห้าม
เอกสารอ้างอิง
Rudolph T, Knudsen K. Acase of fatal caffeine poisoning. Acta Anaesthesiol Scand. 2010 Apr;54(4):521-
3.
WurlP. [Life-threatening caffeine poisoning by using coffeeas apsychoactive drug].Wien Klin
Wochenschr. 1994;106(11):359-61.
Tamakoshi A, Lin Y, Kawado M, Yagyu K, Kikuchi S, Iso H. Effect of coffee consumption on all–cause
and totalcancer mortality: finding from the JACC study. Eur J Epidemiol 2011 Feb;[Epub ahead of print].
van Dieren S, Uiterwaal CS, van der Schouw YT, van der A DL, Boer JM, Spijkerman A, Grobbee DE,
Beulens JW. Coffee andtea consumption and risk of type 2 diabetes. Diabetologia. 2009
Dec;52(12):2561-9.
Woodward M, Tunstall-Pedoe H. Coffee andtea consumption in the Scottish Heart Health Studyfollow
up: conflicting relations with coronaryrisk factors, coronary disease, andall cause mortality. J Epidemiol
Community Health. 1999 Aug;53(8):481-7.
Choi HK, Willett W, Curhan G. Coffeeconsumption and risk of incident gout in men: a prospective study.
Arthritis Rheum. 2007 Jun;56(6):2049-55.
van Deventer G, Kamemoto E, Kuznicki JT, Heckert DC, Schulte MC. Lower esophageal sphincter
pressure, acid secretion, and blood gastrin after coffeeconsumption. Dig Dis Sci. 1992 Apr;37(4):558-69.
Namboodiripad AP, KoriS. Can coffee prevent caries?. J Conserv Dent. 2009 Jan;12(1):17-21.
Shapiro RE. Caffeine and headaches. Curr Pain Headache Rep. 2008 Aug;12(4):311-5.
Bakuradze T, Lang R, Hofmann T, Stiebitz H, Bytof G, Lanzt I, Baum M, et. al. Antioxidant effectiveness
of coffee extracts and selected constituents in cell-free systems and human colon cell lines. Mol Nutr Fodd
Res. 2010 Dec;54(12):1734-43.

More Related Content

Featured

AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
marketingartwork
 
Skeleton Culture Code
Skeleton Culture CodeSkeleton Culture Code
Skeleton Culture Code
Skeleton Technologies
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
Neil Kimberley
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
contently
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
Albert Qian
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Kurio // The Social Media Age(ncy)
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Search Engine Journal
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
SpeakerHub
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
Tessa Mero
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Lily Ray
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
Rajiv Jayarajah, MAppComm, ACC
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
Christy Abraham Joy
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
Vit Horky
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
MindGenius
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
RachelPearson36
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Applitools
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work
GetSmarter
 
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike RoutesMore than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
Project for Public Spaces & National Center for Biking and Walking
 

Featured (20)

AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
 
Skeleton Culture Code
Skeleton Culture CodeSkeleton Culture Code
Skeleton Culture Code
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work
 
ChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slidesChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slides
 
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike RoutesMore than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
 

Coffee & Heath

  • 1. การดื่มกาแฟเป็นประโยชน์หรือโทษกันแน่ เรียบเรียงโดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ วันที่เผยแพร่ 26 กุมภาพันธ์ 2554 บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อตอบคาถามให้แก่พี่พยาบาล รพ.สมิติเวช ศรีราชา ซึ่งต้องการทราบว่า การดื่มกาแฟ นั้นตกลงมันเป็นประโยชน์หรือโทษกันแน่? ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหา ผมขอออกตัวก่อนนะครับ ว่ามันอาจ ไม่ใช่บทความที่สมบูรณ์แบบและครอบคลุมทุกแง่ทุกมุม สาเหตุก็เพราะว่ากาแฟนั้นเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับ ความนิยมอย่างมาก ดื่มกันอยู่ทั่วโลก งานศึกษาวิจัยถึงผลดีผลเสียของกาแฟจึงมีอยู่จานวนมหาศาล ซึ่ง แน่นอนว่าผมไม่สามารถจะค้นคว้ามาทั้งหมดได้ เนื้อหาในบทความนี้จึงเป็นลักษณะบทสรุปคร่าวๆ เพื่อให้ เกิดการมองในมุมกว้างเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของเครื่องดื่มยอดนิยมชนิดนี้มากกว่า เอาล่ะครับ...ถ้า ยอมรับได้ในความไม่สมบูรณ์พร้อมของบทความผมแล้ว เราก็มาดูกันเลยว่าดื่มกาแฟมันดีหรือไม่ดียังไง กาแฟ (coffee) เป็นเครื่องดื่มมหัศจรรย์ที่มีรสชาติหอมหวน ชวนดื่ม บางคนก็บอกว่ากาแฟนั้นเป็นเครื่องดื่ม จากสวรรค์ เพราะมันสร้างสุนทรียภาพให้กับผู้ดื่มได้ บางคนก็ทาธุรกิจร้านกาแฟจนมีเงินตั้งตัวได้ และอีก ไม่น้อยที่ถึงกับทาให้ร่ารวยเลยทีเดียว แต่ทางด้านวิชาการก็มีข้อมูลของกาแฟต่อผลของสุขภาพอยู่มากมาย บ้างก็บอกว่ามันมีประโยชน์อยู่ไม่ใช่น้อย แต่บ้างก็บอกว่ามีโทษอยู่เยอะเหมือนกัน หากเปรียบเทียบกาแฟกับบุหรี่และสุรา เราจะพบว่าสาหรับบุหรี่และสุรา ข้อมูลทางวิชาการในปัจจุบันนี้ แทบทุกหน่วยงานทุกองค์กร ล้วนยอมรับเป็นเสียงเดียวกันว่า การสูบบุหรี่และการดื่มสุรา น่าจะส่งผลเสีย ต่อสุขภาพมากกว่าผลดี แต่สาหรับกาแฟ ข้อมูลวิชาการที่มีในปัจจุบันยังดูขัดแย้งกันอยู่ อีกทั้งงานวิจัยที่ทา เกี่ยวกับผลสุขภาพของกาแฟก็มีอยู่จานวนมาก วันที่เขียนบทความนี้ (26 กุมภาพันธ์ 2554) หากเราเข้าไปค้น ข้อมูลในฐานข้อมูลงานวิจัย pubmed(www.pubmed.gov) โดยใช้คาค้นว่า “coffee” จะพบว่ามีงานวิจัยที่ทา เกี่ยวกับผลของกาแฟต่อสุขภาพอยู่มากมายถึง 8,042 เรื่อง นี่เป็นการค้นหาจากเพียงแค่ฐานข้อมูลเดียว หาก รวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวกับกาแฟจากทั่วโลกอาจจะมีมากกว่านี้
  • 2. การที่คนเราดื่มกาแฟนั้น ถ้าไม่ได้ติดใจในรสชาติของกาแฟแล้ว ส่วนหนึ่งก็อาจจะเพราะหวังผลลดความง่วง สารออกฤทธิ์สาคัญที่อยู่ในกาแฟคือสารคาเฟอีน (caffeine) สารเคมีชนิดนี้มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท จึงทาให้ผู้ ดื่มตื่นจากอาการง่วงได้ นอกจากฤทธิ์กระตุ้นประสาทแล้ว คาเฟอีนยังออกฤทธิ์ต่อร่างกายส่วนอื่นๆ ด้วยไม่ ต่างจากการกินยาชนิดหนึ่งเข้าไป ผลข้างเคียง (side effects) ที่ว่านี้ได้แก่ทาให้ใจสั่น ชีพจรเร็วขึ้น เวียนหัว กระสับกระส่าย ปากแห้ง ปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องเสีย ปัสสาวะเพิ่มขึ้น ผลข้างเคียงที่กล่าวมานี้ อาจเกิดขึ้น มากน้อยแตกต่างกันไปในคนแต่ละคน หรือในคนคนเดียวกัน ผลบางอย่างก็เกิดมาก ผลบางอย่างก็เกิดน้อย ผลแต่ละอย่างจะเกิดมากหรือเกิดน้อยก็ขึ้นอยู่กับปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับและสรีระวิทยาของร่างกาย ด้วยเหตุนี้ท่านที่อยู่ในวงสังคมคนชอบดื่มกาแฟ คงจะเคยได้ยินเพื่อนบางคนบอกว่า ดื่มกาแฟแล้วไม่เห็น หายง่วงเลย หรือดื่มกาแฟทีไรแล้วท้องเสียทุกที หรือดื่มกาแฟแล้วใจสั่นจนทางานไม่ได้ ในขณะที่บางคน ดื่มกาแฟไปแล้วมีอาการเหล่านี้บ้างแต่ก็ไม่รุนแรงนัก ในเรื่องของฤทธิ์กระตุ้นสมอง ก่อให้เกิดอาการใจสั่น และทาให้ชีพจรเต้นเร็วนั้น หากได้รับคาเฟอีนใน ปริมาณสูงมาก เช่น ในกรณีของการกินคาเฟอีนอัดเม็ดที่มีขายในต่างประเทศเข้าไปจานวนมากเกิน สามารถ ทาให้หัวใจเต้นรัวจนเสียชีวิตได้ ในกรณีของการกินเมล็ดกาแฟสดเข้าไปจานวนมาก ก็เคยมีรายงานว่าทาให้ มีอาการโคม่าได้เหมือนกัน แต่สาหรับกรณีของกาแฟที่ชงสาเร็จแล้วนั้น ปริมาณคาเฟอีนที่มีอาจไม่มาก พอที่จะทาให้โคม่าหรือเสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้ดื่มเข้าไปหลายๆ ลิตร เท่าที่ทราบปัจจุบันจึงยังไม่มีรายงานคน เสียชีวิตจากการดื่มกาแฟชงสาเร็จ ในภาพรวมของการทาให้เสียชีวิตและเป็นมะเร็งในระยะยาว เราพบว่าการดื่มกาแฟเป็นประจาอาจช่วยลด อัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุรวมกันลงได้ สาหรับในเรื่องการก่อมะเร็งนั้น ข้อสรุปเท่าที่มีในปัจจุบันเรา เชื่อว่าการดื่มกาแฟไม่ใช่เหตุก่อมะเร็ง มีงานวิจัยหลายชิ้น บ่งชี้ว่ากาแฟ อาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงจากโรคบางอย่างได้ ตัวอย่างของโรคเหล่านี้ เช่น โรคหลงลืม (dementia) โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) ทา ให้ความจาระยะสั้นดีขึ้น (shortterm recall) ลดความเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วในถุงน้าดี (gallstone) ลดความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคเบาหวาน (diabetes) ช่วยป้องกันภาวะตับแข็ง (cirrhosis) ลดความเสี่ยงต่อการตายจาก
  • 3. โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease) ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์ (gout) อย่างไรก็ตาม ผลดีที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นสมมติฐานที่ได้จากการวิจัยทางด้านระบาดวิทยาเป็นส่วนใหญ่ แม้จะทาการเก็บ ข้อมูลในประชากรจานวนหลายหมื่นหลายแสนคน แต่เรื่องของอาหารกับการป้องกันโรคนี้ก็มักมีปัจจัย รบกวนมากมาย เพราะวันๆ หนึ่งคนเราก็ไม่ได้กินอะไรเพียงอย่างเดียว และในแต่ละวันก็กินเปลี่ยนไป เรื่อยๆ ด้วย อีกทั้งในหลายความสัมพันธ์ที่พบนี้ก็ยังไม่สามารถหาเหตุผลกลไกมาอธิบายได้กระจ่าง การ พิจารณาข้อมูลเหล่านี้แบบฟังหูไว้หูจึงเป็นสิ่งที่แนะนา หากกล่าวถึงผลเสียของการดื่มกาแฟ ก็มีงานวิจัยหลายฉบับที่พบความอันตรายจากการดื่มกาแฟเช่นกัน ที่ ค่อนข้างชัดเจนคือกาแฟทาให้เป็นแผลในกระเพาะอาหาร (peptic ulcer) กระตุ้นให้เกิดอาการกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux) ทาให้ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น (increase lipid level) ทาให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ชั่วคราว (high blood pressure) รบกวนการดูดซึมธาตุเหล็กและทาให้เกิดภาวะโลหิตจาง (iron deficiency anemia) ในมารดาและทารก ทาให้นอนไม่หลับ (insomnia) และวิตกกังวล (anxiety) เช่นเดียวกับผลดีของ กาแฟ ผลเสียของกาแฟที่พบนี้ก็มาจากการศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยาที่มีข้อจากัดมากมาย การพิจารณาผลดี ผลเสียของการดื่มกาแฟจึงควรทาอย่างระมัดระวัง ในเรื่องการป้องกันฟันผุ มีการตั้งสมมติฐานว่า สารกลุ่มโพลีฟีนอล (polyphenol) ในกาแฟมีฤทธิ์ป้องกันฟัน ผุได้ ดังนั้นการดื่มกาแฟไม่ใส่น้าตาลอาจทาให้ลดโอกาสในการเกิดฟันผุลง แต่หากมองในแง่ความสวยงาม แล้ว พบว่ากาแฟมีฤทธิ์ทาให้ฟันเหลือง (toothstaining) เกี่ยวกับอาการปวดหัวกับกาแฟ ผลการวิจัยที่ออกมาในปัจจุบันยังมีความขัดแย้งกันอยู่ ในอดีตเราเชื่อว่า คาเฟอีนในกาแฟเป็นสารที่มีฤทธิ์แก้ปวดหัวได้ ยาแก้ปวดหัวหลายสูตรจึงมีส่วนผสมของคาเฟอีนอยู่ด้วย ยา เหล่านี้เป็นยาที่แพทย์มักจ่ายให้แก่ผู้ป่วยที่ปวดศีรษะ ทั้งปวดศีรษะแบบบีบรัด (tension headache) และโรค ปวดศีรษะไมเกรน (migraine headache) อย่างไรก็ตามงานวิจัยบางส่วนมีข้อมูลแย้งว่า การได้รับคาเฟอีนใน ระยะสั้นนั้นอาจลดอาการปวดหัวได้จริง แต่ถ้าดื่มบ่อยๆ จนเกิดอาการติด เมื่อไม่ได้ดื่มกลับจะทาให้ปวดหัว มากขึ้น
  • 4. ส่วนในเรื่องของการต้านอนุมูลอิสระ มีการกล่าวถึงกาแฟทั้งแง่ที่ว่าสามารถป้องกันมะเร็งได้ เนื่องจากฤทธิ์ ของสารต้านอนุมูลอิสระในกาแฟหลายตัว เช่น เมทิลไพริดิเนียม (methylpiridinium) โพลีฟีนอล (polyphenol ) อย่างไรก็ตาม ฤทธิ์ของสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ ค้นพบการออกฤทธิ์แค่เพียงในหลอด ทดลองเป็นส่วนใหญ่ การพิสูจน์ผลออกฤทธิ์ที่เกิดประโยชน์ในคนจริงๆ ยังไม่มีให้เห็นชัดเจน การเชื่ออย่าง สนิทใจว่ากินกาแฟแล้วจะป้องกันมะเร็งได้นั้นจึงยังอาจไม่ถูกนัก ในทางตรงข้ามกัน นักวิจัยก็ค้นพบสาร สกัดที่อาจก่อมะเร็งอยู่ในกาแฟหลายชนิดเหมือนกัน แต่สารเหล่านี้ก็มีข้อมูลแต่เพียงในหลอดทดลอง ข้อสรุปที่เป็นกลางในปัจจุบันนี้ ที่พอน่าเชื่อถือได้ คือการกล่าวว่า การดื่มกาแฟค่อนข้างชัดเจนว่าไม่ใช่เหตุ ก่อมะเร็ง แต่ฤทธิ์ต้านมะเร็งนั้นมีจริงหรือไม่อาจยังไม่รู้แน่ชัด จากผลที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่า ผลของกาแฟต่อสุขภาพนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดีดูจะมี มากกว่าข้อเสียเล็กน้อย ผลบางอย่างข้อมูลปัจจุบันยังดูมีความขัดแย้งกันอยู่ อาจต้องรอการพิสูจน์ในอนาคต จึงจะทราบข้อสรุปที่ชัดเจนขึ้น ในประชากรบางกลุ่ม การดื่มกาแฟอาจก่อผลเสียได้ค่อนข้างมาก เช่นคน เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คนเป็นโรคกระเพาะอาหาร คนเป็นโรคกรดไหลย้อน ประชากรกลุ่มนี้จึงควร หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟถ้าเป็นไปได้ แต่ในคนที่ไม่มีความเสี่ยงใดๆ แล้ว การดื่มกาแฟก็ไม่ได้เป็นเรื่องห้าม เอกสารอ้างอิง Rudolph T, Knudsen K. Acase of fatal caffeine poisoning. Acta Anaesthesiol Scand. 2010 Apr;54(4):521- 3. WurlP. [Life-threatening caffeine poisoning by using coffeeas apsychoactive drug].Wien Klin Wochenschr. 1994;106(11):359-61. Tamakoshi A, Lin Y, Kawado M, Yagyu K, Kikuchi S, Iso H. Effect of coffee consumption on all–cause and totalcancer mortality: finding from the JACC study. Eur J Epidemiol 2011 Feb;[Epub ahead of print]. van Dieren S, Uiterwaal CS, van der Schouw YT, van der A DL, Boer JM, Spijkerman A, Grobbee DE, Beulens JW. Coffee andtea consumption and risk of type 2 diabetes. Diabetologia. 2009 Dec;52(12):2561-9.
  • 5. Woodward M, Tunstall-Pedoe H. Coffee andtea consumption in the Scottish Heart Health Studyfollow up: conflicting relations with coronaryrisk factors, coronary disease, andall cause mortality. J Epidemiol Community Health. 1999 Aug;53(8):481-7. Choi HK, Willett W, Curhan G. Coffeeconsumption and risk of incident gout in men: a prospective study. Arthritis Rheum. 2007 Jun;56(6):2049-55. van Deventer G, Kamemoto E, Kuznicki JT, Heckert DC, Schulte MC. Lower esophageal sphincter pressure, acid secretion, and blood gastrin after coffeeconsumption. Dig Dis Sci. 1992 Apr;37(4):558-69. Namboodiripad AP, KoriS. Can coffee prevent caries?. J Conserv Dent. 2009 Jan;12(1):17-21. Shapiro RE. Caffeine and headaches. Curr Pain Headache Rep. 2008 Aug;12(4):311-5. Bakuradze T, Lang R, Hofmann T, Stiebitz H, Bytof G, Lanzt I, Baum M, et. al. Antioxidant effectiveness of coffee extracts and selected constituents in cell-free systems and human colon cell lines. Mol Nutr Fodd Res. 2010 Dec;54(12):1734-43.