SlideShare a Scribd company logo
1 of 67
Download to read offline
LOGO
พันธะเคมี
พันธะเคมี
เป็นแรงยึดเหนี่ยวอะตอมชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันมาอยู่ด้วยกัน
เป็นโมเลกุล หรือเป็นการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนของอะตอมต่างๆ ซึ่ง
พยายามปรับตัวเองโดยการรวมตัวกับอะตอมอื่น เพื่อให้การจัดเรียง
อิเล็กตรอนมีสภาพเสถียร
การเกิดพันธะสามารถเกิดได้โดย
1 ให้อิเล็กตรอนแก่อะตอมอื่น
2 รับอิเล็กตรอนจากอะตอมอื่น
3 ใช้อิเล็กตรอนร่วมกับอะตอมอื่น
การเกิดพันธะเป็นการสร้างแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมแต่ละอะตอมมา
รวมกันแล้วกลายเป็นโมเลกุล ซึ่งในการเกิดพันธะหรือเกิดแรงยึดเหนี่ยว
ทางเคมีนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1 แรงยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุล ได้แก่
พันธะไอออิก
พันธะโควาเลนต์
พันธะโคออร์ดิเนตโควาเลนต์
พันธะโลหะ
2 แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลได้แก่
พันธะไฮโดรเจน
แรงวันเดอร์วาลส์
แรงดึงดูดระหว่างขั้ว
กฎออกเตต (Octet rule)
ในการเกิดสารประกอบส่วนใหญ่อะตอมของธาตุๆต่างๆ จะรวมกันด้วย
สัดส่วนที่ทาให้อะตอมเห่านั้นมีอิเล็กตรอนวงนอกสุดครบแปด โดยการ
เปลี่ยนแปลงอิเล็กตรอนเพื่อให้มีโครงสร้างอะตอมคล้ายกับก๊าซเฉื่อย ยกเว้น
He ที่มีอิเล็กตรอนครบ 2 เท่านั้น
เวเลนซ์อิเล็กตรอน(valence electrons) เป็นอิเล็กตรอนชั้นนอกสุดของ
อะตอม ซึ่งมีส่วนร่วมในการสร้างพันธะเคมี
หมู่ธาตุ e- configuration Valence e-
1A ns1 1 +1
2A ns2 2 +2
3A ns2np1 3 +3
4A ns2np2 4 -4
5A ns2np3 5 -3
6A ns2np4 6 -2
7A ns2np5 7 -1
ประจุ
ประเภทของพันธะเคมี
เป็นพันธะที่เกิดจากแรงกระทาระหว่างอะตอม 2 อะตอมที่มีประจุ
ต่างกัน (ประจุบวกกับประจุลบ) โดยจะเกิดการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอน
เกิดขึ้น ทาให้เกิดแรงดึงดูดทางไฟฟ
้ าสถิตระหว่างประจุที่ต่างกัน
บางครั้งก็เรียกว่าพันธะอิเล็กโตรเวเลนต์ (electrovalent bond) การ
เกิดพันธะแบบนี้มักเกิดระหว่างอะตอมที่มีค่า IE ต่ากับอะตอมของ
ธาตุที่มี EA สูง
พันธะไอออนิก (Ionic bond)
หรือแรงดึงดูดทางไฟฟ
้ าระหว่างไอออนบวกกับไอออนลบ
พันธะไอออนิกเกิดขึ้นเมื่อโลหะรวมตัวกับอโลหะ
เกิดการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนเกิดขึ้น ทาให้เกิดแรงดึงดูด
ไฟฟ
้ าสถิตระหว่างประจุที่ต่างกัน โดย
อะตอมที่สูญเสีย e- จะกลายเป็น อิออนบวก (Cation)
อะตอมที่รับ e- จะกลายเป็น อิออนลบ (Anion)
อะตอมของ โลหะ ไอออนบวก (cation,+)
อะตอมของ อโลหะ ไอออนลบ (anion, -)
ให้ e-
รับ e-
ตัวอย่าง การเกิดสารประกอบไอออนิก NaCl เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างอะตอม
ของ Na และ Cl ซึ่งโครงสร้างอิเล็กโตรนิกของธาตุทั้งสองเป็นดังนี้
อะตอมโลหะ อโลหะ สารประกอบไอออนิก
Na + Cl Na+ [ Cl ]-
 
 
11Na 1s2 2s2 2p6 3s1
= 2, 8, 1
17Cl 1s2 2s2 2p6 3s2 3p5
= 2, 8, 7
Na+
= 1s2 2s2 2p6 = 2, 8
Cl-
= 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 = 2, 8, 8
เสีย e-
จะเห็นว่ามีการให้และรับอิเล็กตรอนจากโลหะไปยังอโลหะ แล้วทาให้เกิด
ไอออนบวกและลบเกิดขึ้น มีโครงสร้างอิเล็กตรอนเหมือนก๊าซเฉื่อย ซึ่งมี
ความเสถียร
สมบัติของสารประกอบไอออนิก
1 การละลาย สารประกอบไอออนิกส่วนมากจะละลายน้า ไม่ละลายในตัว
ทาละลายอินทรีย์
2 การนาไฟฟ้ า
- ของแข็งหรือผลึกไม่นาไฟฟ
้ า เพราะไอออนบวกและลบยึดติด
กันแน่นด้วยแรงดึงดูดอย่างมาก ไอออนทั้งสองจะไม่เป็นอิสร
และไม่เคลื่อนที่จึงไม่นาไฟฟ
้ า
- ของเหลวหรือสารละลาย จะนาไฟฟ
้ าได้ดี เพราะไอออนทั้งสอง
แยกจากกันเป็นอิสระเคลื่อนที่ได้จึงนาไฟฟ
้ าได้ดี
3 จุดเดือด จุดหลอมเหลว สารประกอบไอออนิกมีจุดเดือด
จุดหลอมเหลวที่สูง เพราะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างไอออนบวก
และลบที่แข็งแรงมาก ซึ่งดึงดูดกันทุกทิศทาง ทาให้การแยก
อนุภาคออกจากกันยากต้องใช้พลังงานมากในการหลอม
4 ความเปราะ สารประกอบไอออนิกจะมีความเปราะ เพราะเมื่อ
มีการทุบจะทาให้ให้โมเลกุลมีการสั่นสะเทือน ทาให้ไอออน
ชนิดเดียวกัน เลื่อนมาอยู่ชิดกัน จึงเกิดแรงผลักกันอย่างรุนแรง
ผลึกจึงแตกออกจากกัน
5 ไม่มีสูตรโมเลกุล มีเพียงสูตรอย่างง่ายที่แสดงอัตราส่วนอย่าง
ต่าของไอออนบวกและลบ
6 เกิดปฏิกิริยาได้รวดเร็ว เมื่ออยู่ในสารละลาย
พลังงานกับการละลาย
การละลายของสารประกอบไอออนิกจะมีพลังงานเกี่ยวข้อง อยู่ 2 อย่างคือ
1 พลังงานโครงผลึก (Lattice energy)
2 พลังงานไฮเดรชัน (hydration energy)
พลังงานของการละลาย = ผลต่างของพลังงานโครงผลึกและพลังงานไฮเดรชัน
( ไม่คิดเครื่องหมาย + (ดูด)หรือ – (ลบ) )
พลังงานโครงผลึก (lacttice energy)
เป็นพลังงานที่ดูดเข้าไปเพื่อทาลายพันธะของผลึกสารประกอบไอออนิก
พลังงาน ไฮเดรชัน (Hydration)
เป็นพลังงานที่คายออกมาเมื่อไอออนในสถานะก๊าซ 1 โมลรวมตัวกับน้า
พลังงานโครงผลึก > พลังงานไอเดรชัน การละลายนั้นจะเป็นแบบดูดความร้อน
พลังงานโครงผลึก < พลังงานไฮเดรชัน การละลายนั้นเป็นแบบคายความร้อน
พลังงานโครงผลึก >> พลังงานไฮเดรชัน สารนั้นไม่ละลาย
พลังงานโครงผลึก << พลังงานไฮเดรชัน สารนั้นละลายน้าได้ดี
วงจรบอร์น- ฮาเบอร์ (Borm-Haber cycle)
การเปลี่ยนแปลงพลังงานในสารประกอบไอออนิกนั้นจะมีอยู่หลายขั้นตอน
ซึ่งพลังงานที่เปลี่ยนแปลงจะไม่ขึ้นกับกลไกหารเปลี่ยนแปลง ผลรวมของ
พลังงานในแต่ละขั้นตอนจะมีค่าเท่ากับพลังงานของปฏิกิริยารวม ซึ่ง
พลังงานในการเกิดพันธะนี้หาได้จาก Born-Haber Cycle พลังงานที่
เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอนคือ
1 พลังงานในการระเหิด (Sublimation energy, S)
2 พลังงานไอออไนเซชัน (Ionization energy, IE)
3 พลังงานแตกตัว (Dissociation energy, D)
4 พลังงานสัมพรรคภาคอิเล็กตรอน( electron affinity energy, EA)
5 พลังงานแลตทิช (lattice energy, L)
6 พลังงานในการระเหย (Vaporization energy, V)
สมการ
M (s) + ½ X2
(g) MX (s) , H = Hf
MX(s) M+
(g) + X-
(g)
M (s) + ½ X2
(g) M (g) + X(g)
S + ½ D
L
IE EA
Hf
Hf
= S + ½ D + IE + EA + L
Na (s) + ½ Cl2 (g) NaCl (s) , Hf = -410 kJ/mol
Na+ (g) + Cl- (g) NaCl (s)
Na (g) + Cl (g) Na (s) + ½ Cl2 (g)
Hf
L
S + ½ D
EA
IE
1 ผลึกโลหะโซเดียม ระเหิดกลายเป็นอะตอมของโลหะโซเดียมใน
สภาวะก๊าซ พลังงานที่ใช้คือ sublimation energy (S)
Na (s) Na (g) ; S = 109 kJ/mol
2 โมเลกุลของคลอรีน (Cl2) แตกตัวเป็นอะตอมในสภาวะก๊าซ พลังงานที่ใช้คือ
dissociation energy (D) แต่สมการใช้พลังงานเพียงครึ่งเดียวดังนั้น
Cl2 (g) Cl (g) ; 1/2D = ½(242) = 121 kJ/mol
3 อะตอมของโซเดียม เสียอิเล็กตรอนไป 1 ตัวกลายเป็นไอออน
บวก พลังงานที่ใช้คือพลังงาน ionization energy (I)
Na (g) Na+ (g) + e- ; IE = 494 kJ/mol
4 อะตอมคลอรีน รับอิเล็กตรอน 1 ตัวกลายเป็น ไอออนลบ
ซึ่งจะให้พลังงานออกมาคือ electron affinity energy (E)
Cl (g) + e- Cl- (g) ; EA = -347 kJ/mol
5 ไอออนทั้งสองที่เป็นก๊าซจะรวมตัวกันเป็น 1 โมล ของผลึกโซเดียมคลอ
ไรด์พลังงานที่ได้เป็นพลังงานแลตทิช (lattice energy, L )
Na+ (g) + Cl- (g) NaCl (s) ; L = -787 kJ/mol
ดังนั้น พลังงานจากการเกิด NaCl (s) คือ
Hf = S + 1/2D + IE + EA + L
= 109 + 121 + 494 + (-347) + (-787)
= -410 kJ/mol
การเขียนสูตรและการเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก
ทาให้จานวนประจุบวกเท่ากับประจุลบ โดยการ คูณไขว้ด้วย
ประจุ ตัวอย่างเช่น AlCl3 , Al2O3 ,Mg(OH)2
Al กับ O = Al3+
O2-
= Al O = Al2O3
3+ 2-
Mg กับ OH = Mg2+
(OH)1-
= Mg (OH) = Mg(OH)2
2+ 1-
Al กับ Cl = Al3+
Cl1-
= Al Cl = AlCl3
3+ 1-
การอ่านชื่อ
1 อ่านชื่อไอออนบวก แล้วตามด้วยไอออนลบ
2 เปลี่ยนคาลงท้ายเป็น –ide (ไอด์)
3 ถ้าไอออนบวกมีประจุหลายค่า ให้เติมวงเล็บด้วยเลขโรมัน (II),(III),(IV)
4 ถ้าไอออนลบเป็นกลุ่มไอออนหรืออนุมูลกรด ให้อ่านชื่ออนุมูลกรดตามหลัง
ไอออนบวก ไอออนลบ
Fe2+
= ไอร์ออน (II) ไอออน
Fe3+
= ไอร์ออน(III) ไอออน
Cu+
= คอปเปอร์(I) ไอออน
Cu2+
= คอปเปอร์(II) ไอออน
Sn2+
= ทิน(II) ไอออน
Sn4+
= ทิน(IV) ไอออน
Ag+
= ซิลเวอร์ไอออน
NH4
+
= แอมโมเนียมไอออน
Zn2+
= ซิงค์ไอออน
F-
= ฟลูออไรด์ไอออน
Cl-
= คลอไรด์ไอออน
Br-
= โบรไมด์ไอออน
I-
= ไอโดไดด์ไอออน
NO3
-
= ไนเตรทไอออน
NO2
-
= ไนไตรไอออน
SO3
2-
= ซัลไฟด์ไอออน
SO4
2-
= ซัลเฟตไอออน
CO3
2-
= คาร์บอเนตไอออน
เช่น
NaCl = โซเดียมคลอไรด์
CaCO3
= แคลเซียมคาร์บอเนต
Cu(NO3
)2
= คอปเปอร์(II)ไนเตรท
KCN = โปแตสเซียมไซยาไนด์
PbSO4
= เลด(II) ซัลเฟต
(NH4
)2
SO4
= แอมโมเนียมซัลเฟต
BaCl2
K2O
Mg(OH)2
KNO3
FeCl2
Cr2S3
Cu(NO3)2
KH2PO4
NH4ClO3
ตัวอย่าง อ่านชื่อสารประกอบต่อไปนี้
จงเขียนสูตรอย่างง่ายของสารประกอบไอออนิกต่อไปนี้
Li กับ Cl
Mg กับ O
Na+
กับ CO3
2-
Na กับ S
Al กับ O
Mg กับ CO3
2-
Be กับ SO4
Ca2+
กับ PO4
3-
Mg กับ Cl
พันธะโควาเลนต์ (Covalent bond)
เกิดจากอะตอมของธาตุนาเวเลนซ์อิเล็กตรอนมาใช้ร่วมกัน เพื่อให้มีการ
จัดเรียงอิเล็กตอนคบแปด ตามกฎ ออกเตต โดยอะตอมจะเอาเวเลนซ์มา
รวมกันเป็นคู่ ซึ่งได้แก่ สารประกอบที่เกิดจากอะตอมของ อโลหะกับ
อโลหะ
ชนิดของพันธะโควาเลนต์
1 พันธะเดี่ยว (single bond) พันธะที่เกิดจากการที่อะตอมทั้งสองใช้
อิเล็กตรอนร่วมกัน1 คู่ เขียนแทนด้วย  หรือ - แทนอิเล็กตรอน
H2
F2
2 พันธะคู่ (Double bond) พันธะที่เกิดจากการที่อะตอมทั้งสองใช้
อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่ เขียนแทนด้วย : : หรือ = แทนอิเล็กตรอน
3 พันธะสาม (triple bond) พันธะที่เกิดจากการที่อะตอมทั้งสองใช้
อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่ เขียนแทนด้วย หรือ =
…
…
1 แบบจุด (dot of formular or Lewis formular)
จะเขียนแสดงเฉพาะอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดหรือเวเลนซ์
อิเล็กตรอนของแต่ละธาตุ โดยใช้ จุดแทนจานวนอิเล็กตรอน
HCl H • • Cl
โดยอิเล็กตรอนที่เกิดพันธะ เรียกว่า อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ ส่วน
อิเล็กตรอนที่ไม่เกิดพันธะ เรียกว่าอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
การเขียนสูตรโครงสร้างแสดงพันธะโควาเลนท์


2 สูตรโครงสร้างแบบเส้น จะเขียนสูตรโดยใช้ขีด (-) แทนอิเล็กตรอนคู่
ร่วมพันธะ ส่วนอิเล็กตรอนที่ไม่ใช่คู่ร่วมพันธะจะเขียนหรือไม่เขียนก็ได้
เช่น
O
H H
H2
O
การเขียนสูตรสารประกอบโคเวเลนต์
1 เขียนสูตรสารประกอบโคเวเลนต์ เรียงตามหลักสากลคือ
Si, C ,Sb ,As ,P, N ,Te, S, At, I, Br, Cl, O, F
2 พิจารณาตามกฎออกเตต
ว่าแต่ละธาตุมีเวเลนอิเล็กตรอนที่ยังไม่ครบแปดอีกเท่าไหร่
3 จานวนอะตอมในสารประกอบหาได้จาก จานวนอิเล็กตรอนที่ต้องการเพิ่ม
ของแต่ละอะตอมแล้วจับคูณไขว้ เช่น
S กับ H
S มีเวเลนอิเล็กตรอน = 6 (รับเพิ่มอีก 2)
H มีเวเลนอิเล็กตรอน = 1 (รับเพิ่มอีก1)
H : S
1 2
H2
S
หลักการเขียนสูตรแบบเส้น
เลือกอะตอมของธาตุที่มีจานวนพันธะมากที่สุดเป็นอะตอมกลาง แล้ว
ล้อมรอบด้วยธาตุที่เหลือ เช่น
NH3
N มี 3 พันธะ H มี 1 พันธะ N
H
H
H
HCN H มี 1 พันธะ C มี 4 พันธะ N มี 3 พันธะ
H N
C
จงเขียนสูตรโครงสร้างของสารต่อไปนี้ตามแบบจุดและแบบเส้น
H2
O
CO2
CCl4
H3
PO3
N2
O5
H2
SO2
การอ่านชื่อ
1 อ่านชื่อธาตุที่อยู่ข้างหน้าก่อน แล้วตามด้วยชื่อธาตุที่อยู่ข้างหลัง
2 เปลี่ยนคาลงท้ายเป็น -ide (ไอด์)
3 บอกจานวนอะตอมของธาตุแต่ละธาตุด้วยภาษากรีก หรือลาติน
ภาษากรีก
Mono 1 hexa 6
Di 2 hepta 7
Tri 3 octa 8
Tetra 4 nona 9
Penta 5 daca 10
ภาษากรีก
จานวนอะตอม จานวนอะตอม
เช่น
CS2
คาร์บอนไดซัลไฟด์
Cl2
O ไดคลอรีนโมโนออกไซด์
BF3
โบรอนไตรฟลูออไรด์
CCl4
คาร์บอนเตตระคลอไรด์
CO คาร์บอนมอนอกไซด์
CO2
คาร์บอนไดออกไซด์
Cl2
O7
ไดคลอรีนเฮปตะออกไซด์
SiCl4
SF6
P2
O5
P4
O10
N2
O5
จงอ่านชื่อของสารต่อไปนี้
สมบัติสารประกอบโคเวเลนต์
1 มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวต่า
2 ไม่นาไฟฟ้ าทั้งในสถานะของแข็ง ของเหลว และก๊าซ
3 ไม่ละลายในตัวทาละลายที่มีขั้ว
พันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ (coordinate covalent bond)
พันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ เป็นพันธะที่เกิดจากอะตอมใดอะตอม
หนึ่งเป็นผู้ให้ e- คู่ เพื่อใช้ร่วมกัน (คู่อิเล็กตรอนที่ใช้ในการเกิดพันธะ
มาจากอะตอมใดอะตอมหนึ่งเท่านั้น)
ขั้วพันธะ
พันธะโคเวเลนต์ถ้าแบ่งตามสภาพขั้วสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท
1 พันธะโควาเลนท์ไม่มีขั้ว ( non-polar covalent bond) เป็นพันธะที่
เกิดจากอะตอมชนิดเดียวกัน ซึ่งมีค่าอิเล็กโตรเนกาตีวีตี (EN) เท่ากัน
นิวเคลียสของอะตอมทั้งสองส่งแรงดึงดูดอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะด้วย
แรงที่เท่ากัน ดังนั้นโมเลกุลที่เกิดขึ้นจึงมีค่าdipole moment เป็น ศูนย์
จึงเกิดเป็นโมเลกุลที่ไม่มีขั้ว และพันธะจะไม่มีขั้ว เช่น
H2 (H-H) , Cl2 (Cl-Cl) , Br2 (Br-Br)
2 พันธะโควาเลนท์มีขั้ว (polar – covalent bond) เป็นพันธะที่เกิดจาก
อะตอมของธาตุที่มีค่า EN ต่างกัน มารวมตัวกันด้วยพันธะโควาเลนท์ โดย
ธาตุที่มีค่า EN สูงกว่าจะดึงดูดอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะได้มากกว่าทาให้
แสดงขั้วไฟฟ
้ าลบ (-) ส่วนอะตอมที่มีค่า ENต่ากว่าจะแสดงขั้วไฟฟ
้ าบวก
(+) ดังนั้นโมเลกุลที่เกิดขึ้นจะมีค่า dipole moment ไม่เท่ากับศูนย์
เช่น
โมเลกุล HF H-Cl
EN ต่า EN สูง

+

-
H Cl
ขั้วของโมเลกุล
ขั้วของโมเลกุลจะเป็นผลรวมระหว่างขั้วของพันธะต่างๆทั้งหมดใน
โมเลกุลผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นขั้วของโมเลกุล
ทิศทางของขั้วจะหันไปทางขั้วลบ
ขั้วของโมเลกุลจะขึ้นอยู่กับค่า EN และรูปร่างของโมเลกุล
โมเลกุลโคเวเลนต์ที่มีขั้ว (polar molecule)
โมเลกุลที่ขั้วของพันธะหักล้างกันไม่หมด จึงแสดงอานาจทางไฟฟ
้ าเป็น
บวกและลบ ในโมเลกุล เช่น
H2O
NH3
ขั้ว
โมเลกุล
ขั้ว
พันธะ
โมเลกุลโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว (non polar molecule)
โมเลกุลที่ขั้วของพันธะหักล้างกันหมด พันธะในโมเลกุลจึงไม่แสดง
ทิศทางของขั้ว เช่น
CO2
BF3
ความมีขั้วหักล้างกันหมด
พันธะโลหะ(Metallic bond)
เป็นพันธะหรือแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมต่างๆที่เกิดขึ้นภายในก้อน
โลหะ อะตอมทั้งหมดจะใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน ดังนั้น จึงเป็นแรง
ดึงดูดระหว่างไอออนบวก ที่อยู่กับที่ กับ อิเล็กตรอนที่อยู่รอบๆซึ่งสามารถ
เคลื่อนที่ไปรอบๆไอออนบวก ทฤษฏีที่ใช้อธิบายพันธะโลหะเรียกว่า
แบบจาลองทะเลอิเล็กตรอน (electron sea model)
สมบัติของโลหะ
1 นาไฟฟ
้ าได้ดี อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระทั่วทั้งก้อน
2 นาความร้อนได้ดี เมื่อได้รับความร้อนเวเลนต์อิเล็กตรอนจะมี
พลังงานสูงขึ้น จึงมีการถ่ายโอนพลังงานต่อเนื่องกันจนทั่วทั้งก้อน
3 จุดเดือดจุดหลอมเหลวสูง
4 ผิวมันวาว
5 ตี รีดเป็นแผ่นได้
6 ดึงเป็นเส้นได้
7 มีความหนาแน่นสูง
พันธะไฮโดรเจน (Hydrogen bond)
เป็นพันธะที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลสอง
โมเลกุล
ซึ่งแต่ละโมเลกุลนั้นประกอบด้วยอะตอมของไฮโดรเจนสร้างพันธะ
โคเวเลนต์กับอะตอมของธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี (EN) สูงมากๆ
เช่น F, O และ N
ใช้สัญลักษณ์พันธะไฮโดรเจนเป็นจุดประ ( ……..) โดยเขียน
ไว้ระหว่างอะตอมของธาตุที่เกิดพันธะไฮโดรเจน
เช่น พันธะไฮโดรเจนในโมเลกุล HF จะเขียนได้ดังนี้
H — F …………. H — F
พันธะไฮโดรเจน พันธะโคเวเลนต์
พันธะโควาเลนต์
พันธะไฮโดรเจน
พันธะไฮโดรเจน
• พันธะไฮโดรเจนแข็งแรงน้อยกว่าพันธะไอออนิกและพันธะโควาเลนซ์
เนื่องจากเป็นแรงดึงดูดทางไฟฟ
้ า อ่อนๆ ระหว่างโมเลกุลที่มีขั้ว
• แข็งแรงมากกว่าแรงวันเดอร์วาลส์ และแม้จะเป็นแรงอย่างอ่อนแต่ก็มี
อิทธิพลต่อสมบัติของสาร เช่น ทาให้จุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูงกว่า
ปกติ
เช่น การเกิดพันธะไฮโดรเจนในน้า
แรงแวนเดอร์วาลส์ (Vamder waals force)
เป็นแรงดึงดูดกันทางไฟฟ
้ าอย่างอ่อนระหว่างโมเลกุลของสารชนิด
เดียวกัน หรือต่างชนิดกัน แต่จะมีอิทธิพลในโมเลกุลไม่มีขั้วมากกว่า
โมเลกุลที่มีขั้ว เช่น ก๊าซเฉื่อย (He, Ne, Ar, Kr) และพวกที่ไม่มีขั้วทั่วๆไป
เช่น I2
, H2
, CH4
, O2
เป็นต้น
แรงแวนเดอร์วาลส์ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1 แรงไดโพล – ไดโพล (dipole- dipole attraction)
เป็นแรงดึงดูดระหว่างโมกุลที่มีขั้วที่ถาวรอยู่แล้วทั้งสองโมเลกุล ซึ่ง
แรงดึงดูดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพขั้ว
I-Cl I-Cl O
H H
H-Cl
dipole-diploe force





2 แรงเหนี่ยวนา (Induce attraction)
เป็นแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่มีขั้วถาวรกับโมเลกุลไม่มีขั้ว โมเลกุล
มีขั้วจะเหนี่ยวนาโมเลกุลไม่มีขั้วให้เกิดสภาพขั้วขึ้น
O
H H
O O
induction force





3 แรงแผ่กระจาย(disperse traction)
เป็นรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่ไม่มีขั้วกับโมเลกุลไม่มีขั้ว
แรงชนิดนี้จะเกิดขึ้นชั่วขณะ เนื่องจากความหนาแน่นของอิเล็กตรอนไม่
สม่าเสมอ ทาให้เกิดสภาพขั้วขึ้น
O O
O
O
london force




พลังงานพันธะ (Bond energy)
คือ พลังงานที่ใช้สลายพันธะระหว่างอะตอมภายในโมเลกุล
ในสภาวะแก๊สให้กลายเป็นอะตอมเดี่ยว
พลังงานของพันธะสาม  พันธะคู่  พันธะเดี่ยว
เช่น H2
(g) 2H (g)
ความแข็งแรงของพันธะ
พันธะที่มีความแข็งแรงมาก จะใช้พลังงานในการสลายพันธะสูง
พันธะที่มี ความแข็งแรงน้อย จะใช้พลังงานในการสลายพันธะต่า
พลังงานการสลายพันธะจะบอกให้รู้ถึงความแข็งแรงของพันธะ
อะตอมที่มีขนาดใหญ่จะมีพันธะที่แข็งแรงน้อยกว่าอะตอมที่มีขนาดเล็ก
พันธะสาม > พันธะสอง > พันธะเดี่ยว
โมเลกุลที่มีหลายพันธะ พลังงานพันธะแต่ละพันธะในโมเลกุลนั้นจะมีค่าไม่
เท่ากัน พลังงานพันธะที่ใช้สลายพันธะจึงคิดเป็นพลังงานพันธะเฉลี่ย
พลังงานพันธะเฉลี่ย คิดจากค่าเฉลี่ยของพลังงานสลายพันธะทั้งหมดที่มีอยู่
ในพันธะชนิดใดชนิดหนึ่งในหนึ่งโมเลกุล
เช่นโมเลกุลของก๊าซมีเทน (CH4)
H
H C H C+ 4H พลังงานพันธะ C-H = 413 kJ
H
ตัวอย่างพลังงานพันธะเฉลี่ยสาหรับพันธะชนิดต่าง (kJ/mol)
C-F (489) C-H (413) O-H (463) C-C (348)
C-Cl (339) C-O (358) C=O (745) C=C (614)
C-Br (285) C-N (305) Cl-Cl (242) C= C (893)
ความร้อนของปฏิกิริยา (Heat of Reaction)
การเกิดปฏิกิริยาเคมี คือกระบวนการที่มีการทาลายพันธะเดิม (สารตั้งต้น)
และสร้างพันธะใหม่(สารผลิตภัณฑ์)
พลังงานเอนทาลปี (H) คือ ความร้อนหรือพลังงานของปฏิกิริยาเคมีที่
เปลี่ยนแปลงไป สามารถหาได้จาก
H = Hสารตั้งต้น + H สารที่เกิดใหม่
H เป็นลบ (-) ; ปฏิกิริยาคายความร้อน
H เป็นบวก (+) ; ปฏิกิริยาดูดความร้อน
CH4(g) + Cl2(g) CH3Cl(g) + HCl(g)
Hสารตั้งต้น ; C-H(+414) + Cl-Cl(+243) = +657 kJ
Hสารเกิดใหม่ ; C-Cl(-326)+H-Cl(-431) = -757 kJ
H = (+657) + (-757) = -100 kJ/mole ; ปฏิกิริยาคายความร้อน
จาก
H = Hสารตั้งต้น + H สารที่เกิดใหม่
ความยาวพันธะ (Bond Length)
ความยาวพันธะ คือระยะห่างระหว่างอะตอมคู่ที่สร้างพันธะ โดยเป็น
ตาแหน่งที่อะตอมทั้งสองดึงดูดกันได้ดีที่สุด มีพลังงานต่าสุดหรือ
มีเสถียรภาพที่สุด
ความยาวของพันธะโควาเลนต์สัมพันธ์กับพลังงานพันธะ
ความยาวพันธะเดี่ยว  พันธะคู่  พันธะสาม
พลังงานพันธะเดี่ยว  พันธะคู่  พันธะสาม
โมเลกุล ชนิดของพันธะ ความยาวพันธะ พลังงานพันธะ
(pm) (kJ mol-1)
H3C-CH3 C-C 154 348
H2C=CH2 C=C 134 614
HCCH CC 120 839
มุมพันธะ
มุมพันธะ คือมุมที่เกิดขึ้น เมื่อลาก
เส้นผ่านพันธะ 2 พันธะมาตัดที่
นิวเคลียสของอะตอมกลาง
โมเลกุลที่มีสูตรเคมีคล้ายกัน มุมพันธะอาจไม่เท่ากัน
H2O = 104.5o
H 2S = 92o
การทานายโครงสร้างของโมเลกุลเช่น มุมพันธะ จาเป็นต้องอาศัยข้อมูล
เกี่ยวกับอิเล็กตรอนในโมเลกุล
106.0
104.0
พันธะเคมี-(Chemical Bonding)มทร.ล้านนา.pdf

More Related Content

Similar to พันธะเคมี-(Chemical Bonding)มทร.ล้านนา.pdf

สมบัติของธาตุและสารประกอบ2
สมบัติของธาตุและสารประกอบ2สมบัติของธาตุและสารประกอบ2
สมบัติของธาตุและสารประกอบ2ครูแป้ง ครูตาว
 
ธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบwebsite22556
 
โครงสร้างอะตอมและตารางธาตุ (โครงงานคอมพิวเตอร์)
โครงสร้างอะตอมและตารางธาตุ (โครงงานคอมพิวเตอร์)โครงสร้างอะตอมและตารางธาตุ (โครงงานคอมพิวเตอร์)
โครงสร้างอะตอมและตารางธาตุ (โครงงานคอมพิวเตอร์)Ajchariya Sitthikaew
 
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์oraneehussem
 
เคมีอินทรีย์เบื้องต้น
เคมีอินทรีย์เบื้องต้นเคมีอินทรีย์เบื้องต้น
เคมีอินทรีย์เบื้องต้นDr.Woravith Chansuvarn
 

Similar to พันธะเคมี-(Chemical Bonding)มทร.ล้านนา.pdf (6)

สมบัติของธาตุและสารประกอบ2
สมบัติของธาตุและสารประกอบ2สมบัติของธาตุและสารประกอบ2
สมบัติของธาตุและสารประกอบ2
 
ธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบ
 
โครงสร้างอะตอมและตารางธาตุ (โครงงานคอมพิวเตอร์)
โครงสร้างอะตอมและตารางธาตุ (โครงงานคอมพิวเตอร์)โครงสร้างอะตอมและตารางธาตุ (โครงงานคอมพิวเตอร์)
โครงสร้างอะตอมและตารางธาตุ (โครงงานคอมพิวเตอร์)
 
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
 
เคมีอินทรีย์เบื้องต้น
เคมีอินทรีย์เบื้องต้นเคมีอินทรีย์เบื้องต้น
เคมีอินทรีย์เบื้องต้น
 
Bond
BondBond
Bond
 

พันธะเคมี-(Chemical Bonding)มทร.ล้านนา.pdf