SlideShare a Scribd company logo
1 of 21
เทียนประเภทแกะสลัก
วัดเมืองเดช อำเภอเดชอุดม
เทียนพรรษาหอม
เทคนิคในกำรสร้ำงสรรค์ผลงำน
รูปแบบในการจัดทาต้นเทียนพรรษาหอมในปี 2557 ของวัดเมืองเดช อาเภอเดชอุดม ได้
ผสมผสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสานใต้ในเรื่องของ“ลวดลายอีสานแท้”เข้ากับศิลปหัตถกรรมที่
มีชื่อเสียงของชุมชน ในอาเภอเดชอุดม ได้แก่ “เทียนหอม” เดชอุดม ในการจัดทาต้นเทียนพรรษา
หอม ได้มีการศึกษาข้อมูลมากว่า 30 ปี โดยอาจารย์อานวย วรพงศธร อาจารย์ผู้สอนวิชาศิลปะ
ประจาชาติ คณะศิลปหัตถกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษา อุบลราชธานี โดยได้ทาการศึกษาลวดลาย
ที่ปรากฏอยู่ในโบราณสถาน โบราณวัตถุ และงานหัตถกรรมพื้นบ้านอีสานของชาวจังหวัด
อุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง โดยการคัดลอก วาดลาย ปั้นลาย ถ่ายภาพ
และพูดคุยสอบถามจากผู้รู้และปราชญ์ท้องถิ่นนาข้อมูลมาวิเคราะห์และจัดเก็บเป็นข้อมูล
การศึกษา “ลวดลายอีสาน” ซึ่งในปัจจุบันมีการศึกษาและจัดเก็บรวบรวมข้อมูลลวดลายอีสาน
อย่างมีแบบแผนค่อนข้างน้อยมาก มีความเสี่ยงต่อการสูญหายของศิลปวัฒนธรรมทางด้าน
ลวดลายอีสานไปตามกาลเวลา ดังนั้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบทอด และเผยแพร่ศิลปะความ
งดงามของลวดลายอีสานของท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จัก คณะช่างเทียนจึงนาเอา “ลวดลายอีสาน
แท้”
ที่ได้จากการศึกษามาเป็นส่วนประกอบหลักในการจัดทาต้นเทียนพรรษาหอมของวัด เมือง
เดช อาเภอเดชอุดม ในงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ประจาปี 2557 ของจังหวัด
อุบลราชธานี และเพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองสมโภช จังหวัดอุบลราชธานี ในวาระครบ 222
ปี โดยนาเสนอรูปแบบ ลวดลายอีสาน ที่มีปรากฏอยู่ตามโบราณสถาน โบราณวัตถุ และ
งานหัตถกรรมพื้นบ้านที่เกิดจากการสังเกตพืชพรรณและ สัตว์ต่างๆ ของช่างโบราณ นามา
จินตนาการประยุกต์ผูกลวดลาย จนเกิดเป็นลายก้านขดเครือเถาว์ที่งดงาม มีกลิ่นไอแห่ง
ความเป็นอีสานอย่างแท้จริง ถึงแม้ว่าจะขาดระเบียบแบบแผนเช่นลวดลายในราชสานักไป
บ้างก็ตาม
แนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน
แนวความคิดในการออกแบบ
ในการออกแบบต้นเทียนพรรษาหอมวัดเมืองเดช อาเภอเดชอุดม ได้แนวความคิดมา
จากเรื่องราวในพระพุทธประวัติ ตอนที่ 117 ซึ่งเป็นตอนที่พระพุทธองค์เสด็จลงจาก
ดาวดึงส์พิมาน ภายหลังจากที่ทรงตรัสพระธรรมเทศนาอภิธรรม 7 คัมภีร์ โปรดพระพุทธ
มารดา นามาออกแบบเป็นเรื่องราวองค์ประกอบบนรถต้นเทียน นาเสนอเรื่องราวของ
ขบวนส่งเสด็จซึ่งประกอบด้วยหมู่เทพดา หมู่พรหม และเหล่านางฟ้ า
วิธีการหรือขั้นตอนในการทา
ต้นเทียนประเภทแกะสลัก เป็นต้นเทียนสมัยใหม่ ทาเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2502 โดย นายคาหมา
แสงงาม ต้นเทียนต้นหนึ่งจะใช้ขี้ผึ้งประมาณ 70-100 กิโลกรัม โดยใช้ขี้ผึ้งดีผสมกับขี้ผึ้งชนิดไม่ดี
ในอัตราส่วน 5 ต่อ 1 หลังจากหล่อและกลึงต้นเทียนแล้ว จะเริ่มแกะสลักต้นเทียนด้วยขั้นตอน ดังนี้
ออกแบบลายที่จะแกะสลัก โดยการร่างทั้งส่วนฐานลาต้นและยอดเทียน ใช้เครื่องมือแกะสลักซึ่งจะ
มีการเซาะ เจาะ ขีด และขูด ให้เป็นรูปสามมิติ เหมือนของจริง หรือรูปที่ร่างไว้ตามจินตนาการ
แก้ไขส่วนที่บกพร่องในระหว่างการแกะสลัก อาจมีการผิดพลาดได้ เช่น รูปที่แกะมีขนาดเล็กหรือ
ใหญ่เกินไป หรือบางส่วนแตกหัก ก็ต้องแก้ไขปรับปรุงให้เรียบร้อย
วัสดุอุปกรณ์ในกำรจัดทำต้นเทียน
1. เทียนสีเหลือง หรือสีหมากสุก
2. แกนที่ทาจากท่อเหล็กหรือไม้ หรือท่อปูน
3. ปูนพลาสเตอร์ใช้สาหรับปั้นหุ่น
4. อุปกรณ์ที่ใช้ในการต้นเทียน
ขั้นตอนกำรแกะสลักต้นเทียน
การแกะสลักลาต้นเทียน เริ่มจากการตกแต่งผิวลาต้นให้เรียบ ด้วยการขูดตกแต่ง หรือนา
ไปกลึงให้กลม แล้วออกแบบลวดลาย ลวดลายที่ออกแบบขึ้นอยู่กับเรื่องราวที่เราจะ
นาเสนอว่าขบวนรถแห่ของเราจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เพราะเรื่องราวที่แกะลาต้น
จะต้องสัมพันธ์กันกับเรื่องราวตัวละคนในรถขบวนต้นเทียน ตัวละครที่อยู่ในขบวนรถฯ
เช่น ลายกินรีเป็นลวดลายที่มีความอ่อนหวาน ลายยักษ์หรือสัตว์ป่าหิมพานต์ก็จะเป็น
ลายกระบี่คชะ ซึ่งเป็นลายที่มีความดุในตัวเอง และสามารถดิ้นลายไปตามจินตนาการ
๑. การร่างภาพและลวดลายลงบนลาต้น ช่างที่ยังไม่มีความชานาญพอก็
สามารถร่างลายลงบนกระดาษไข หรือกระดาษแก้ว แล้วทาการอลกลายลง
ลนลาต้นเทียน ซึ่งมีข้อเสียคือ จะเกิดรอยต่อด้านหลังซึ่งจะต้องมาแก้ไข
จังหวะลายใหม่ ซึ่งจะทาให้ลายที่ได้ไม่ลงตัวทั้งจังหวะและช่องไฟของ
ลวดลาย
๒. การร่างลายลงบนลาต้น เป็นการเขียนลายแบบสดโดยใช้ปากกาเมจิกหรือใช้เหล็ก
ปลายแหลม หรือตะปู หรือถ้าหากเป็นช่างที่มีความชานาญจะใช้เกียงแกะสลัก ร่าง
ภาพได้เลย โดยการร่างเบา ๆ ก่อนลงเส้นหนัก และทาการแกะสลัก
๓. เกียงที่ใช้ในการแกะสลักจะมีหลายรูปแบบ หลายขนาด มีทั้งขนาดสั้น ขนาดยาว
คม ด้านเดียวหรือคม สองด้าน ปลายโค้งงอ ปลายใหญ่ ปลายแหลม ปลายเล็ก
แหลมเรียว แล้วแต่พื้นที่หรือลวดลายที่จะแกะ ส่วนมากช่างจะทาเกียงใช้เอง เพราะ
สามารถเลือกแบบ รูปทรง ขนาดได้ตามความถนัดและความพอใจ วัสดุที่ใช้ทาเกียง
ต้อมีความแข็งแรง ไม่บิดตัวหรือโค้งงอง่าย ไม่เป็นสนิม
๔. เหล็กขูด เป็นอุปกรณ์เสริมอีกอย่างหนึ่ง ใช้ขูดเทียนให้เรียบ เซาะร่องลึก
ที่มีทั้งหน้ากว้างและหน้าแคบ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่จะแกะ ช่างบางคนใช้ใบ
เลื่อยหรือเหล็กแผ่นทั้งเรียบและเป็นคมเลื่อย ใช้ในการขูดพื้นให้หยาบ
เหมือนผิวช้างหรือขนสัตว์
๕. เมื่อร่างภาพเสร็จแล้ว เริ่มแกะจากลายที่มีภาพประกอบก่อนเพราะเป็น
ส่วนที่นูนสูงก่อนแล้วไล่ไปตามระดับชั้นของลายหรือช่อลาย แต่ละกลุ่มที่
ต้องการความคมชัด โดยเฉพาะกลุ่มลายที่อยู่ด้านข้างของตัวรถต้นเทียนซึ่ง
เป็นจุดที่น่าสนใจและสื่อความหมายได้ชัดเจนมากที่สุด
๖. ลายที่มีความสวยงามอ่อนช้อยในตัวเองคือ ลายที่ถูกต้องตามหลักของ
ลายไทย แต่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดชายแดนที่ติดกับประเทศ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเขมร ก็อาจจะมีการซึมซับเอา
ลายจากประเทศเหล่านี้เข้ามาบ้าง แต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อย เรายังคง
เอกลักษณ์ความเป็นไทยอีสาน เหมือนกับไทยภาคเหนือและภาคใต้
๗. ช่างแกะสลักเทียนต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเองและมั่นใจในการลงลาย
แกะสลักเพราะถ้าพลาดก็จะทาให้ชิ้นงานนั้นเสียเพราะเทียนนั้นเมื่ออากาศ
เย็นจะเปราะ แตกหักง่าย แต่ถ้าอากาศร้อนเทียนก็จะละลายหรือบิดตัว ช่าง
ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ซึ่งสิ่งที่สาคัญอีกอย่างหนึ่งในการทางานด้านนี้คือ
อารมณ์ จะต้องต่อเนื่อง และน้าหนักการลงเกียงจะต้องเท่ากัน
๘. อุณหภูมิเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนสาคัญในการแกะสลักเทียน ช่างมีความจา
เป็นต้องทางานแข่งกับเวลา ฉะนั้นการทางานในช่วงเวลาที่อากาศเย็น หรือ
ช่วงกลางคืนต้องอาศัยเครื่องมือช่วยทาให้เทียนอ่อนตัว ง่ายต่อการแกะ
เครื่องมือเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นสปอตไลท์ เครื่องเป่าความร้อน หรือเตาถ่านมี
ส่วนสาคัญทาให้งานเสร็จลุล่วงไปด้วยดี ถ้ามีเศษเทียนแตกหักก็สามารถนา
มาต้มหลอมใหม่และใช้งานได้
๙. เมื่อแกะสลักลาต้นเสร็จแล้ว ก็เป็นขั้นตอนการทาหุ่นหรือองค์ประกอบเรื่องราวที่นา
เสนอบนรถต้นเทียน ส่วนใหญ่การทาหุ่นจะเริ่มจากทาฐานรองหุ่น มีแกนยึดหุ่น โครงยึด
นั้นอาจจะเป็นไม้หรือเหล็กก็ได้แต่ต้องแข็งแรง จากนั้นนาใยมะพร้าวผสมกับปูนพลา
สเตอร์ปั้น แต่งผิวให้เรียบรอติดเทียน เทียนที่ใช้ติด ใช้วิธีเทเทียนที่ต้มแล้วเทลงในถาด
เทียนให้สม่าเสมอ ปล่อยให้เทียนที่เทแล้วนั้นเย็นตัวลงแล้วแกะออกจากถาดเป็นแผ่น ๆ
นามาติดเข้ากับหุ่น และนาเทียนแผ่นที่ได้ติดเข้ากับตัวหุ่น ตกแต่งหุ่นหั้นให้เรียบร้อย และ
แกะสลัก หรือถ้าต้องการความนูนก็สามารถพอกและแกะลวดลายให้นูนสวยงาม แค่นี้เรา
ก็จะได้หุ่นที่สวยงามตามที่ต้องการ
สมาชิกในกลุ่ม
๑.นายทวีจิตร กึกกัน เลขที่ ๑
๒.นายสิรธีร์ สีผึ้งทอง เลขที่ ๗
.นายสุริยา นิโส เลขที่ ๙
๔.นายพิสิษฐ์ วงศ์ปัญญา เลขที่ ๑o
๕.นางสาวพิมชนก อารี เลขที่ ๑๓
๖.นางสาวณัฐวดี หงษ์คา เลขที่ ๑๔
๗.นางสาวเพ็ญพิสุทธิ์ สองเมือง เลขที่ ๑๕
๘.นางสาวพัชรา สุบุญ เลขที่ ๑๙
๙.นางสาวเจนจิรา สายบุญสา เลขที่ ๒๒
๑o.นางสาวทัศนีวรรณ พันธ์ทุม เลขที่ ๒๓
๑๑.นางสาวพิจิตรา บุญชื่น เลขที่ ๓๔
๑๒.นางสาวยุวดี พลอยสมบูรณ์ เลขที่ ๓๕
๑๓.นางสาวลัดดาวรรณ เอ้โทบุตร เลขที่ ๓๘
๑๔.นางสาวพิมพ์พิสุทธิ์ พิทักษ์ชุมพล เลขที่ ๔๔
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๑๓
เสนอ
อาจารย์พัทรพงษ์ ศิริสุวรรณ

More Related Content

Viewers also liked (6)

Architecture in thailand and cambodia
Architecture in thailand and cambodiaArchitecture in thailand and cambodia
Architecture in thailand and cambodia
 
HISTORY: Thai (Thailand) Architecture 1.0
HISTORY: Thai (Thailand) Architecture 1.0HISTORY: Thai (Thailand) Architecture 1.0
HISTORY: Thai (Thailand) Architecture 1.0
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะ
 
Culture & architecture of cambodia
Culture & architecture of cambodiaCulture & architecture of cambodia
Culture & architecture of cambodia
 
Thailand Architecture
Thailand ArchitectureThailand Architecture
Thailand Architecture
 
Intro to cambodia ppt
Intro to cambodia pptIntro to cambodia ppt
Intro to cambodia ppt
 

Similar to เทียนประเภทแกะสลัก 5:13 group1

บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุงบ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
PN17
 
บ้านจ๊างนัก
บ้านจ๊างนักบ้านจ๊างนัก
บ้านจ๊างนัก
PN17
 
โครงการการส่งเสริมพัฒนางานอาชีพและการ
โครงการการส่งเสริมพัฒนางานอาชีพและการโครงการการส่งเสริมพัฒนางานอาชีพและการ
โครงการการส่งเสริมพัฒนางานอาชีพและการ
Jirawan Manyuan
 

Similar to เทียนประเภทแกะสลัก 5:13 group1 (6)

ถอดบทเรียน บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
ถอดบทเรียน บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุงถอดบทเรียน บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
ถอดบทเรียน บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
 
สไลด์ นักเรียนกับพระพุทธฯศาสดา+499+dltvsocp6+55t2soc p06 f21-1page
สไลด์  นักเรียนกับพระพุทธฯศาสดา+499+dltvsocp6+55t2soc p06 f21-1pageสไลด์  นักเรียนกับพระพุทธฯศาสดา+499+dltvsocp6+55t2soc p06 f21-1page
สไลด์ นักเรียนกับพระพุทธฯศาสดา+499+dltvsocp6+55t2soc p06 f21-1page
 
สไลด์ นักเรียนกับพระพุทธฯศาสดา+499+dltvsocp6+55t2soc p06 f21-4page
สไลด์  นักเรียนกับพระพุทธฯศาสดา+499+dltvsocp6+55t2soc p06 f21-4pageสไลด์  นักเรียนกับพระพุทธฯศาสดา+499+dltvsocp6+55t2soc p06 f21-4page
สไลด์ นักเรียนกับพระพุทธฯศาสดา+499+dltvsocp6+55t2soc p06 f21-4page
 
บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุงบ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
 
บ้านจ๊างนัก
บ้านจ๊างนักบ้านจ๊างนัก
บ้านจ๊างนัก
 
โครงการการส่งเสริมพัฒนางานอาชีพและการ
โครงการการส่งเสริมพัฒนางานอาชีพและการโครงการการส่งเสริมพัฒนางานอาชีพและการ
โครงการการส่งเสริมพัฒนางานอาชีพและการ
 

เทียนประเภทแกะสลัก 5:13 group1