SlideShare a Scribd company logo
1 of 4
Download to read offline
รวบรวมและเรียบเรียงโดยอาจารย์ศศิมา สุขสว่าง หน้า 1
การระดมสมอง หรือการระดมความคิด (Brainstorm) เพื่อปลุกไอเดียสร้างสรรค์ เป็นเทคนิคหนึ่งที่
นิยมนํามาใช้ในการระดมความคิดเพื่อหาไอเดียสร้างสรรค์ไหม่ๆ หรือใช้ในระดมความคิดเพื่อแก้ไขปัญหา จาก
หลายๆมุมมอง หลายความคิดของสมาชิกที่มาร่วมกิจกรรมระดมสมอง
"Brainstorm" มาจาก "Brain + Storming" ถ้าแปลตรงๆตัว ก็คงหมายถึง พายุที่โหมกระหนํ่าเข้ามาในสมอง
เทคนิคนี้เกิดจากแนวคิดของ ออสบอร์น (Alex F. Osborne) ซึ่งเป็นผู้บริหารบริษัทโฆษณาแห่งหนึ่ง
“การระดมความคิด (Brainstorm )” โดยสรุปหมายถึง การระดมความคิดจากทุกๆมุมมอง โดยไม่
มีการตัดสินถูกผิด ของสมาชิกในกลุ่ม เพื่อหาทางเลือกในการตัดสินใจ ความคิดใหม่ๆและใช้ในการการ
วางแผน
จํานวนคนที่ร่วมระดมสมองถ้าจะให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดควรอยู่ระหว่าง 4 ถึง 9 คน ถ้าน้อยไป
จะได้ความคิดและมุมมองน้อย แต่ถ้ามากไปความคิดจะแตกออกนอกทะเลไป หรือมีคนที่นั่งเงียบไม่ออก
ความคิดเห็น
สิ่งสําคัญในการระดมสมองหรือระดมความคิด คือ
1.ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
2. เนินการระดมความคิดให้ได้ปริมาณมากที่สุด
3.ไม่มีการตั้งกรอบ หรือประเมินถูกผิดขณะระดมความคิด
การระดมความคิด (Brainstorm) เทคนิคปั้นความคิดสร้างสรรค์#2
รวบรวมและเรียบเรียงโดยอาจารย์ศศิมา สุขสว่าง หน้า 2
การระดมความคิด (Brainstorm) มีขั้นตอนอย่างไร
ขั้นที่ 1 ตั้งผู้ดําเนินการ หรือผู้อํานวยความสะดวก (facilitator) เพื่อ ผู้เป็นประสานงาน กระตุ้นให้
เกิดการออกความเห็นอย่างเท่าเทียมกันหากมีผู้ที่นั่งเงียบหรือบางคนผูกขาดพูดอยู่คนเดียว ช่วยไกล่เกลี่ยหาก
มีผู้ที่โต้แย้งกัน เป็นต้น
ขั้นที่ 2 กําหนดหัวข้อในการระดมความคิด หัวข้อในการระดมสมองควรเป็นหัวข้อที่เจาะจง ไม่
กว้างจนเกินไปเพราะเมื่อจบการระดมสมองอาจจะไม่ได้ข้อสรุปที่นําไปดําเนินการต่อได้ ตัวอย่างหัวข้อ
เช่น “ปัญหาที่มักพบในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์”
ขั้นที่ 3 ระดมความคิด เพื่อให้ได้ความคิดมามากที่สุด โดยมีกฏว่าต้องจดทุกความคิดโดยไม่มีการ
ประเมินใดๆทั้งสิ้น เพราะทุกคนต้องได้รับอิสระในการแสดงความคิดเห็น ในขั้นนี้อาจจะต้องกําหนด เป้ าหมาย
ในการระดมความคิด เช่น กําหนดจํานวนที่ต้องการ 80-100 ไอเดีย หรือกําหนดเวลา 1-1.5 ชั่วโมงเป็น
ต้น เครื่องมือที่ใช้จดความคิด มีหลายเครื่องมือ เช่น ใช้ mind map , Root cause analysis (ฝังก้างปลา) หรือ
แม้แต่การใช้กระดาษ post it ไปแปะตามหมวดหมู่
ขั้นที่ 4 สรุปผลการระดมสมอง สรุปออกมาเป็น 3 กลุ่ม ไอเดียที่ดีพร้อมไปดําเนินการได้ ไอเดียดี
รอการพิจารณา และไอเดียที่ต้องพิจารณา โดยสมาชิกคนใดคนหนึ่งจะเป็นคนจดโน้ตพร้อมทั้งส่งบันทึกให้กับ
ผู้ที่ร่วมระดมสมอง ในการระดมสมองนั้น ส่วนใหญ่เราจะไม่ทิ้งความคิดใดคิดหนึ่ง เพราะในเวลานั้นความคิดที่
เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ หรือเพ้อฝัน อาจจะเป็นเพราะทรัพยากรในตอนนั้นเราอาจจะไม่พร้อมที่จะดําเนินการ แต่
อาจจะเป็นจริงในภายหลังก็ได้ อย่างเช่น อินเตอร์เนต รถยนต์ใช้ไฟฟ้ าไม่ต้องมีคนขับ รถบินได้ในปัจจุบันก็มา
จากความฝันในอดีตเช่นกัน
ขั้นที่ 5 การติดตามผล หลังจากระดมสมองเสร็จแล้ว ควรมีการติดตามผลว่า ได้นําความคิดนั้นไป
ดําเนินการ แล้วผลเป็นอย่างไร เพื่อประเมินและหาหนทาง หรือนําแนวคิดที่เหลือไปดําเนินการต่อ
การระดมความคิด (Brainstorm)
รวบรวมและเรียบเรียงโดยอาจารย์ศศิมา สุขสว่าง หน้า 3
ในหลายองค์กร สามารถนําเทคนิคการระดมความคิดนี้ไปในการแก้ปัญหาในกระบวนการผลิต หรือ
ระดมความคิดเพื่อพัฒนาเป้ าหมายไปข้างหน้า หรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ โดยในการจัดกิจกรรมแต่ละ
ครั้ง ควรมีคนภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้ได้มุมมองหลายๆมุมมอง
แต่ละครั้งที่จัดอาจจะจัดกลุ่มเล็กๆก่อน สัก 4-5 คน เพื่อไม่ให้ไปกระทบกับงานประจําที่รับผิดชอบของ
แต่คน แล้วจัดหัวข้อเดียวในหลายๆกลุ่มจากนั้น นําความคิดที่ได้ในแต่ละกลุ่มมาประมวลผล ว่าความคิดที่
ออกมาที่มีความถี่ออกมามากเป็นหัวข้อใด แล้วค่อยนําไปสรุปผล แล้วดําเนินการตามแผนต่อไป
ในความคิดเห็นของผู้เขียนจากประสบการณ์ที่ไปทํางานเป็นที่ปรึกษาในด้านการพัฒนาบุคคลากร
HRM และ HRD ในองค์กรโดยใช้กระบวนการระดมความคิด (Brainstorm) เพื่อหากระบวนการแก้ไขปัญหา
ประเด็นหนึ่งที่สําคัญ คือ การสร้างพื้นที่ปลอดภัย ให้กับผู้ที่เข้าร่วมการระดมสมอง
เนื่องจากบางปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร บางประเด็นละเอียดอ่อน คนมักไม่ค่อยอยากพูดกัน พูดไป
เดี๋ยวเข้าตัว เงียบไว้ดีกว่า แต่ปัญหานั้นกลายมาเป็นปัญหาใหญ่จนต้องมีที่ปรึกษาเข้าไปแก้ไข ดังนั้นการสร้าง
พื้นที่ปลอดภัย จึงเป็นเรื่องสําคัญถ้าอยากให้การระดมความคิดห้ได้ความคิดเห็นที่หลากหลายและได้ความจริง
ออกมา
รวบรวมและเรียบเรียงโดยอาจารย์ศศิมา สุขสว่าง หน้า 4
หากท่านต้องการวิทยากรด้านการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) หรือ การแก้ไข
ปัญหาและการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ (Creative Problem solving and Decision making) หรือความคิด
สร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สามารถติดต่ออาจารย์ศศิมา สุขสว่าง ได้ที่
sasimasuk.com@gmail.com โทร. 092-7989843
@@@@@@@@@@@@@@@
บทความโดย: อาจารย์ศศิมา สุขสว่าง
วิทยากร ที่ปรึกษา โค้ช
sasimasuk.com@gmail.com
http://www.sasimasuk.com/

More Related Content

Viewers also liked

รายงานผลการทดสอบซีเมนต์ ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา และการทดสอบ
รายงานผลการทดสอบซีเมนต์ ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา และการทดสอบรายงานผลการทดสอบซีเมนต์ ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา และการทดสอบ
รายงานผลการทดสอบซีเมนต์ ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา และการทดสอบKasetsart University
 
Project management ver7 video
Project management ver7 videoProject management ver7 video
Project management ver7 videoArjin Numsomran
 
เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)
เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)
เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)sornblog2u
 
รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...
รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...
รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...Kasetsart University
 
Manual tecnico apasco
Manual tecnico apascoManual tecnico apasco
Manual tecnico apascoDanii Giraldo
 
แนวความคิดและทฤษฎีการบริหาร
แนวความคิดและทฤษฎีการบริหารแนวความคิดและทฤษฎีการบริหาร
แนวความคิดและทฤษฎีการบริหารguest3d68ee
 
Holcim technical manual_english
Holcim technical manual_englishHolcim technical manual_english
Holcim technical manual_englishabbdou001
 
Thailand Energy Management System
Thailand Energy Management SystemThailand Energy Management System
Thailand Energy Management SystemNarinporn Malasri
 
From quality management to performance excellence
From quality management to performance excellenceFrom quality management to performance excellence
From quality management to performance excellenceAreté Partners
 
Project organization and human resources management
Project organization and human resources managementProject organization and human resources management
Project organization and human resources managementRapeepan Thawornwanchai
 

Viewers also liked (17)

Hrd kan57
Hrd kan57Hrd kan57
Hrd kan57
 
รายงานผลการทดสอบซีเมนต์ ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา และการทดสอบ
รายงานผลการทดสอบซีเมนต์ ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา และการทดสอบรายงานผลการทดสอบซีเมนต์ ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา และการทดสอบ
รายงานผลการทดสอบซีเมนต์ ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา และการทดสอบ
 
Project management ver7 video
Project management ver7 videoProject management ver7 video
Project management ver7 video
 
เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)
เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)
เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)
 
รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...
รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...
รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...
 
All sdm basic_book_drmk
All sdm basic_book_drmkAll sdm basic_book_drmk
All sdm basic_book_drmk
 
Manual tecnico apasco
Manual tecnico apascoManual tecnico apasco
Manual tecnico apasco
 
Tpm
TpmTpm
Tpm
 
Organization and Management (OM) overview (ch.1)
Organization and Management (OM) overview (ch.1)Organization and Management (OM) overview (ch.1)
Organization and Management (OM) overview (ch.1)
 
แนวความคิดและทฤษฎีการบริหาร
แนวความคิดและทฤษฎีการบริหารแนวความคิดและทฤษฎีการบริหาร
แนวความคิดและทฤษฎีการบริหาร
 
Holcim technical manual_english
Holcim technical manual_englishHolcim technical manual_english
Holcim technical manual_english
 
2 tpm edit
2 tpm edit2 tpm edit
2 tpm edit
 
toyota
toyotatoyota
toyota
 
Thailand Energy Management System
Thailand Energy Management SystemThailand Energy Management System
Thailand Energy Management System
 
From quality management to performance excellence
From quality management to performance excellenceFrom quality management to performance excellence
From quality management to performance excellence
 
Project organization and human resources management
Project organization and human resources managementProject organization and human resources management
Project organization and human resources management
 
Forklift 2
Forklift 2Forklift 2
Forklift 2
 

การระดมความคิด (Brainstorm) เทคนิคปั้นความคิดสร้างสรรค์#1

  • 1. รวบรวมและเรียบเรียงโดยอาจารย์ศศิมา สุขสว่าง หน้า 1 การระดมสมอง หรือการระดมความคิด (Brainstorm) เพื่อปลุกไอเดียสร้างสรรค์ เป็นเทคนิคหนึ่งที่ นิยมนํามาใช้ในการระดมความคิดเพื่อหาไอเดียสร้างสรรค์ไหม่ๆ หรือใช้ในระดมความคิดเพื่อแก้ไขปัญหา จาก หลายๆมุมมอง หลายความคิดของสมาชิกที่มาร่วมกิจกรรมระดมสมอง "Brainstorm" มาจาก "Brain + Storming" ถ้าแปลตรงๆตัว ก็คงหมายถึง พายุที่โหมกระหนํ่าเข้ามาในสมอง เทคนิคนี้เกิดจากแนวคิดของ ออสบอร์น (Alex F. Osborne) ซึ่งเป็นผู้บริหารบริษัทโฆษณาแห่งหนึ่ง “การระดมความคิด (Brainstorm )” โดยสรุปหมายถึง การระดมความคิดจากทุกๆมุมมอง โดยไม่ มีการตัดสินถูกผิด ของสมาชิกในกลุ่ม เพื่อหาทางเลือกในการตัดสินใจ ความคิดใหม่ๆและใช้ในการการ วางแผน จํานวนคนที่ร่วมระดมสมองถ้าจะให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดควรอยู่ระหว่าง 4 ถึง 9 คน ถ้าน้อยไป จะได้ความคิดและมุมมองน้อย แต่ถ้ามากไปความคิดจะแตกออกนอกทะเลไป หรือมีคนที่นั่งเงียบไม่ออก ความคิดเห็น สิ่งสําคัญในการระดมสมองหรือระดมความคิด คือ 1.ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ 2. เนินการระดมความคิดให้ได้ปริมาณมากที่สุด 3.ไม่มีการตั้งกรอบ หรือประเมินถูกผิดขณะระดมความคิด การระดมความคิด (Brainstorm) เทคนิคปั้นความคิดสร้างสรรค์#2
  • 2. รวบรวมและเรียบเรียงโดยอาจารย์ศศิมา สุขสว่าง หน้า 2 การระดมความคิด (Brainstorm) มีขั้นตอนอย่างไร ขั้นที่ 1 ตั้งผู้ดําเนินการ หรือผู้อํานวยความสะดวก (facilitator) เพื่อ ผู้เป็นประสานงาน กระตุ้นให้ เกิดการออกความเห็นอย่างเท่าเทียมกันหากมีผู้ที่นั่งเงียบหรือบางคนผูกขาดพูดอยู่คนเดียว ช่วยไกล่เกลี่ยหาก มีผู้ที่โต้แย้งกัน เป็นต้น ขั้นที่ 2 กําหนดหัวข้อในการระดมความคิด หัวข้อในการระดมสมองควรเป็นหัวข้อที่เจาะจง ไม่ กว้างจนเกินไปเพราะเมื่อจบการระดมสมองอาจจะไม่ได้ข้อสรุปที่นําไปดําเนินการต่อได้ ตัวอย่างหัวข้อ เช่น “ปัญหาที่มักพบในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์” ขั้นที่ 3 ระดมความคิด เพื่อให้ได้ความคิดมามากที่สุด โดยมีกฏว่าต้องจดทุกความคิดโดยไม่มีการ ประเมินใดๆทั้งสิ้น เพราะทุกคนต้องได้รับอิสระในการแสดงความคิดเห็น ในขั้นนี้อาจจะต้องกําหนด เป้ าหมาย ในการระดมความคิด เช่น กําหนดจํานวนที่ต้องการ 80-100 ไอเดีย หรือกําหนดเวลา 1-1.5 ชั่วโมงเป็น ต้น เครื่องมือที่ใช้จดความคิด มีหลายเครื่องมือ เช่น ใช้ mind map , Root cause analysis (ฝังก้างปลา) หรือ แม้แต่การใช้กระดาษ post it ไปแปะตามหมวดหมู่ ขั้นที่ 4 สรุปผลการระดมสมอง สรุปออกมาเป็น 3 กลุ่ม ไอเดียที่ดีพร้อมไปดําเนินการได้ ไอเดียดี รอการพิจารณา และไอเดียที่ต้องพิจารณา โดยสมาชิกคนใดคนหนึ่งจะเป็นคนจดโน้ตพร้อมทั้งส่งบันทึกให้กับ ผู้ที่ร่วมระดมสมอง ในการระดมสมองนั้น ส่วนใหญ่เราจะไม่ทิ้งความคิดใดคิดหนึ่ง เพราะในเวลานั้นความคิดที่ เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ หรือเพ้อฝัน อาจจะเป็นเพราะทรัพยากรในตอนนั้นเราอาจจะไม่พร้อมที่จะดําเนินการ แต่ อาจจะเป็นจริงในภายหลังก็ได้ อย่างเช่น อินเตอร์เนต รถยนต์ใช้ไฟฟ้ าไม่ต้องมีคนขับ รถบินได้ในปัจจุบันก็มา จากความฝันในอดีตเช่นกัน ขั้นที่ 5 การติดตามผล หลังจากระดมสมองเสร็จแล้ว ควรมีการติดตามผลว่า ได้นําความคิดนั้นไป ดําเนินการ แล้วผลเป็นอย่างไร เพื่อประเมินและหาหนทาง หรือนําแนวคิดที่เหลือไปดําเนินการต่อ การระดมความคิด (Brainstorm)
  • 3. รวบรวมและเรียบเรียงโดยอาจารย์ศศิมา สุขสว่าง หน้า 3 ในหลายองค์กร สามารถนําเทคนิคการระดมความคิดนี้ไปในการแก้ปัญหาในกระบวนการผลิต หรือ ระดมความคิดเพื่อพัฒนาเป้ าหมายไปข้างหน้า หรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ โดยในการจัดกิจกรรมแต่ละ ครั้ง ควรมีคนภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้ได้มุมมองหลายๆมุมมอง แต่ละครั้งที่จัดอาจจะจัดกลุ่มเล็กๆก่อน สัก 4-5 คน เพื่อไม่ให้ไปกระทบกับงานประจําที่รับผิดชอบของ แต่คน แล้วจัดหัวข้อเดียวในหลายๆกลุ่มจากนั้น นําความคิดที่ได้ในแต่ละกลุ่มมาประมวลผล ว่าความคิดที่ ออกมาที่มีความถี่ออกมามากเป็นหัวข้อใด แล้วค่อยนําไปสรุปผล แล้วดําเนินการตามแผนต่อไป ในความคิดเห็นของผู้เขียนจากประสบการณ์ที่ไปทํางานเป็นที่ปรึกษาในด้านการพัฒนาบุคคลากร HRM และ HRD ในองค์กรโดยใช้กระบวนการระดมความคิด (Brainstorm) เพื่อหากระบวนการแก้ไขปัญหา ประเด็นหนึ่งที่สําคัญ คือ การสร้างพื้นที่ปลอดภัย ให้กับผู้ที่เข้าร่วมการระดมสมอง เนื่องจากบางปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร บางประเด็นละเอียดอ่อน คนมักไม่ค่อยอยากพูดกัน พูดไป เดี๋ยวเข้าตัว เงียบไว้ดีกว่า แต่ปัญหานั้นกลายมาเป็นปัญหาใหญ่จนต้องมีที่ปรึกษาเข้าไปแก้ไข ดังนั้นการสร้าง พื้นที่ปลอดภัย จึงเป็นเรื่องสําคัญถ้าอยากให้การระดมความคิดห้ได้ความคิดเห็นที่หลากหลายและได้ความจริง ออกมา
  • 4. รวบรวมและเรียบเรียงโดยอาจารย์ศศิมา สุขสว่าง หน้า 4 หากท่านต้องการวิทยากรด้านการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) หรือ การแก้ไข ปัญหาและการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ (Creative Problem solving and Decision making) หรือความคิด สร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สามารถติดต่ออาจารย์ศศิมา สุขสว่าง ได้ที่ sasimasuk.com@gmail.com โทร. 092-7989843 @@@@@@@@@@@@@@@ บทความโดย: อาจารย์ศศิมา สุขสว่าง วิทยากร ที่ปรึกษา โค้ช sasimasuk.com@gmail.com http://www.sasimasuk.com/