SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
Download to read offline
คำสัง่ (ต. ๒๑) 
คำร้องที่ ๘๐๙/๒๕๕๑ 
คำสัง่ที่ ๑๕๗/๒๕๕๒ 
ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ 
ศาลปกครองสูงสุด 
วันที่ ๑๗ เดือน มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๒ 
ระหว่าง 
นายวงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล ที่ ๑ ผู้ฟ้องคดี 
นางกรรนิการ์ ฉัตรสันติประภา ที่ ๒ 
นางสาววรรณี ชัยเฉลิมพงษ์ ที่ ๓ 
นางสาวฉันทนา อารมย์ดี ที่ ๔ 
นางสาวจินดา หวังบุญสกุล ที่ ๕ 
นางสาววัชรี คุณกิตติ ที่ ๖ 
นายศุภชัย ติยวรนันท์ ที่ ๗ 
นายสมชาย สุริยะไกร ที่ ๘ 
นางอ้อมบุญ ล้วนรัตน์ ที่ ๙ 
นายอภิชาติ จันทนิสร์ ที่ ๑๐ 
ผู้ถูกฟ้องคดี 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 
(ในฐานะสภานายกพิเศษของสภาเภสัชกรรม) ที่ ๑ 
สภาเภสัชกรรม ที่ ๒ 
นายกสภาเภสัชกรรม ที่ ๓ 
/เรื่อง...
๒ 
เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎ 
โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำร้องอุทธรณ์คำสัง่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา) 
ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสัง่ในคดีหมายเลขดำที่ ๑๔๓๔/๒๕๕๑ 
หมายเลขแดงที่ ๑๓๘๗/๒๕๕๑ ของศาลปกครองชัน้ต้น (ศาลปกครองกลาง) 
คดีนี้ผู้ฟ้องคดีทัง้สิบฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีทัง้สิบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกร และ/หรือ 
เป็นผู้สอนนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ในชั้นอุดมศึกษา ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรือ 
อาจจะเดือดร้อนเสียหายเนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย 
ในการออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยการรับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชา 
เภสัชศาสตร์หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัคร 
เป็นสมาชิก พ.ศ. ๒๕๕๑ ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในเรื่อง 
สิทธิเสรีภาพ และขัดต่อพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗ เนื่องจาก 
พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้อำ นาจแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ 
ในการกำหนดให้มีการรับรองหลักสูตรในการศึกษาวิชาชีพเภสัชกรรมว่าจะต้องมี 
กำหนดระยะเวลาเท่าใด เพียงแต่ให้อำนาจในการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาหรือวิจัย หรือ 
รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรหรือวุฒิบัตรในวิชาชีพของตนในสถาบันต่างๆ เท่านั้น 
กรณีจึงเป็นการออกข้อบังคับโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจที่กฎหมายกำหนด รวมทัง้ 
การออกข้อบังคับดังกล่าวยังไม่เป็นไปตามขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดให้มีการ 
รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกและประชาชนก่อนตามที่พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม 
พ.ศ. ๒๕๓๗ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดไว้ อีกทั้ง ยังเป็นการ 
ออกข้อบังคับที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้จบการศึกษาเภสัชศาสตร์จากสถาบัน 
ในประเทศกับต่างประเทศ อันเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 
การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบ 
และประชาชนโดยส่วนรวม ผู้ฟ้องคดีทัง้สิบจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง 
ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสัง่ให้เพิกถอนข้อบังคับสภาเภสัชกรรม 
ว่าด้วยการรับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชาเภสัชศาสตร์หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพ 
เภสัชกรรมของสถาบันต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก พ.ศ. ๒๕๕๑ 
/ศาลปกครองชัน้ต้น...
๓ 
ศาลปกครองชัน้ต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยการ 
รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชาเภสัชศาสตร์หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของ 
สถาบันต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก พ.ศ. ๒๕๕๑ มีสาระสำคัญที่เป็น 
ประเด็นแห่งคดีโดยสรุปว่า ตัง้แต่ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จะให้การ 
รับรองเฉพาะปริญญาทางเภสัชศาสตร์ที่เกิดจากหลักสูตรที่มีมาตรฐานตามหลักเกณฑ์ของ 
หลักสูตร ๖ ปี ดังนั้น เมื่อข้อบังคับฉบับนี้มีผลใช้บังคับแล้ว หลักสูตรที่สถาบันจะเสนอเพื่อ 
ขอรับความเห็นชอบทั้งที่เป็นหลักสูตรที่เกิดขึ้นใหม่และหลักสูตรเดิมที่นำมาปรับปรุงต้องมี 
มาตรฐานตามหลักเกณฑ์ของหลักสูตร ๖ ปี (ซึ่งแต่เดิมกำหนดไว้ ๕ ปี หรือ ๖ ปี) 
หากสถาบันที่ดำเนินการมาแต่เดิมไม่สามารถจัดทำหลักสูตร ๖ ปี ได้ทันการเพื่อให้มีผู้สำเร็จ 
การศึกษาในปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๗ ก็ให้ทำคำร้องพร้อมด้วยเหตุผลขอผ่อนผัน 
จากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นการเฉพาะราย โดยอาจขอเลื่อนกำหนดเวลาดังกล่าวออกไป 
ได้ไม่เกินปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๙ ทั้งนี้ ให้สถาบันเดิมที่ได้ดำเนินการสอนในวิชา 
เภสัชศาสตร์ โดยมีผู้สำเร็จการศึกษาสาขาเภสัชศาสตร์มาแล้วก่อนข้อบังคับนี้ประกาศใช้ 
เป็นสถาบันที่ได้รับการรับรองตามข้อบังคับนี้ และให้หลักสูตรที่มีผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว 
ที่ดำเนินการโดยสถาบันดังกล่าว เป็นหลักสูตรที่ได้รับความเห็นชอบเป็นระยะเวลา ๕ ปี 
เว้นแต่สถาบันจะดำเนินการผิดไปจากมาตรฐานตามที่กำหนด ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า 
ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าวเป็นการกำหนดมาตรฐานและระยะเวลาศึกษาตามเกณฑ์ 
ของหลักสูตรเภสัชศาสตร์ในการขอรับรองหลักสูตรสำหรับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา 
ในประเทศที่เป็นเจ้าของหลักสูตรเภสัชศาสตร์ที่ผลิตบัณฑิตโดยให้รับปริญญาที่ต้องการ 
ขอรับการรับรอง ซึ่งการกำ หนดข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าวจะมีผลไปถึง 
ผู้ที่สำ เร็จการศึกษาที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และได้รับ 
ใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ๖ ปี ตามที่ข้อบังคับ 
สภาเภสัชกรรมฯ กำหนด โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จะให้การรับรองหลักสูตรดังกล่าว 
ตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป แต่อย่างไรก็ตาม ข้อบังคับนี้ไม่มีผลบังคับใช้กับ 
สถาบันการศึกษาเดิมที่ได้ดำเนินการสอนในวิชาเภสัชศาสตร์ โดยมีผู้สำเร็จการศึกษา 
สาขาเภสัชศาสตร์มาแล้วก่อนข้อบังคับนี้ประกาศใช้ ดังนั้น เมื่อข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ 
กับสถาบันการศึกษาที่ขอรับรอง และผู้ที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป 
/โดย...
๔ 
โดยไม่ใช้บังคับกับผู้สำเร็จการศึกษาก่อนปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๗ แต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่า 
ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ซึ่งสำเร็จการศึกษาและได้รับใบอนุญาต 
ประกอบวิชาชีพอยู่ก่อนแล้วตามกฎหมาย โดยยังคงเป็นสมาชิกของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และ 
เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอยู่เช่นเดิมแม้จะมีการประกาศใช้ข้อบังคับสภาเภสัชกรรม 
ดังกล่าวก็ตาม ดังนั้น การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทัง้สามในการออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรม 
ดังกล่าวจึงไม่ได้มีผลกระทบต่อสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีทัง้สิบแต่อย่างใด ผู้ฟ้องคดีทัง้สิบ 
จึงมิใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามต่อศาลได้ 
ตามมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 
พ.ศ. ๒๕๔๒ ศาลจึงไม่อาจรับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทัง้สิบไว้พิจารณาได้ ส่วนคำขอของผู้ฟ้องคดี 
ทั้งสิบที่ขอให้ศาลมีคำสัง่ให้ทุเลาการบังคับตามกฎดังกล่าวนั้น เมื่อศาลไม่อาจรับคำฟ้องนี้ 
ไว้พิจารณาได้ ศาลจึงไม่อาจรับคำขอนี้ไว้พิจารณาได้เช่นกัน ศาลปกครองชั้นต้นจึงมีคำสัง่ 
ไม่รับคำฟ้องนี้และคำขอทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสัง่ไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดี 
ออกจากสารบบความ 
ผู้ฟ้องคดีทัง้สิบยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสัง่ของศาลปกครองชัน้ต้นที่ไม่รับคำฟ้อง 
ไว้พิจารณา ความว่า ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า คดีปกครองมีการแบ่งประเภทคดีออกเป็น ๒ ประเภท 
ดังนี้ ๑. คดีขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมทางปกครอง ประเภทกฎหรือคำสัง่ทางปกครองที่ 
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ ๒. คดีที่ขอให้ศาลพิพากษาให้มีการรับผิดหรือชดใช้ค่าเสียหาย 
ตามสัญญาทางปกครองหรือละเมิดทางปกครอง โดยที่คดีนี้ผู้ฟ้องคดีประสงค์จะขอให้ 
ศาลปกครองเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองประเภทกฎหรือคำสัง่ทางปกครองที่ไม่ชอบด้วย 
กฎหมาย หาใช่การฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้มีการรับผิดหรือชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญา 
ทางปกครองหรือละเมิดทางปกครอง โดยคดีประเภทที่สองนี้ ผู้มีสิทธิฟ้องคดี คือผู้ทรงสิทธิ 
ซึ่งสิทธิของตนถูกกระทบกระเทือนคล้ายกับคดีแพ่ง แต่ในประเภทแรกซึ่งเป็นคดีประเภท 
ที่ผู้ฟ้องคดีใช้ในการฟ้องคดีนี้ เกณฑ์ในการพิจารณาผู้มีสิทธิฟ้องคดีจะแตกต่างออกไป 
โดยจะมีการพิจารณาประโยชน์เกี่ยวข้องหรือส่วนได้เสียของผู้ฟ้องคดีว่ามีความสัมพันธ์กับ 
เหตุแห่งการฟ้องคดีหรือไม่ เพียงใด ทั้งนี้ เพราะปรัชญาพื้นฐานของการฟ้องคดีขอให้ 
ศาลเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองก็คือ การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรม 
ทางปกครองที่ถูกโต้แย้ง หาใช่พิจารณาถึงสิทธิทางอัตตะวิสัยของผู้ฟ้องคดี ดังนั้น ในการฟ้องคดี 
/ประเภทนี้...
๕ 
ประเภทนี้ หากจำกัดสิทธิของผู้มีสิทธิฟ้องคดีให้แคบลงเฉพาะผู้ทรงสิทธิซึ่งสิทธิถูก 
กระทบกระเทือนตามดุลยพินิจของศาลปกครองชั้นต้นเท่านั้น ก็จะมีผลเท่ากับว่า นิติกรรม 
ทางปกครองในที่นี้คือ ข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยการรับรองปริญญา ประกาศนียบัตร 
ในวิชาเภสัชศาสตร์ หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันต่างๆ เพื่อประโยชน์ 
ในการสมัครเป็นสมาชิก พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ถูกโต้แย้งนั้น มีลักษณะเป็นกฎหรือคำสัง่ 
ที่มีผลบังคับทัว่ไป ซึ่งผู้ที่อยู่ในบังคับยังไม่ถึงขนาดว่าจะต้องเป็นผู้ทรงสิทธิ ด้วยเหตุนี้ 
เราจะพบได้ว่าในประเทศอื่นที่มีศาลปกครอง เช่น ประเทศฝรัง่เศส ศาลปกครอง 
ฝรัง่เศสก็ให้การยอมรับในหลักเกณฑ์ดังกล่าวว่า ผู้ที่จะมีสิทธิฟ้องคดีขอให้ศาลปกครอง 
เพิกถอนนิติกรรมทางปกครองได้ จะต้องเป็นผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับการ 
เพิกถอนนิติกรรมทางปกครองเท่านั้น ทำให้ต้องกลับมาพิจารณาคำว่า การพิจารณา 
ประโยชน์เกี่ยวข้องโดยทัว่ไป ซึ่งมีหลักในการพิจารณาอยู่ ๖ ประการที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ 
ดังนี้ 
๑. ประโยชน์เกี่ยวข้องหรือส่วนได้เสียดังกล่าวต้องมีอยู่จริง เทียบได้กับคดีนี้ 
คือ ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบต่างเป็นเภสัชกรที่เป็นสมาชิกของผู้ถูกฟ้องคดี และส่วนใหญ่ยังเป็น 
อาจารย์ผู้สอนนักศึกษาในคณะเภสัชศาสตร์ของสถาบันการศึกษาของรัฐ ทั้งยังต้องเป็น 
ผู้จัดทำหลักสูตรการศึกษาเพื่อเสนอต่อสถาบันไปยังผู้ถูกฟ้องคดีตามข้อบังคับที่ขอเพิกถอนด้วย 
ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบเห็นว่า การออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าวส่งผลต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสิบ 
โดยตรง ในฐานะคณาจารย์เภสัชศาสตร์ที่เป็นผู้ปฏิบัติ ซึ่งต้องมีส่วนร่วมในการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ 
๖ ปี ให้เป็นไปตามรายละเอียดที่กำหนดตามข้อบังคับสภาเภสัชกรรมฯ ได้รับผลกระทบต่อ 
ภาระการจัดการเรียนการสอนที่ต้องถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลงอย่างเร่งรีบ ทัง้ที่ยังไม่มีข้อสรุป 
ที่ชัดเจนของข้อดีข้อเสียของการใช้หลักสูตรแบบ ๖ ปี ดังกล่าว เป็นการเพิ่มภาระในการ 
ประสานงานและจัดเตรียมแหล่งฝึกนอกสถาบันการศึกษา รวมทั้งการพัฒนาข้อตกลง 
ด้านการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 
นอกจากนี้แล้ว ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ และผู้ฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็น 
กรรมการประจำคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น หากพิจารณาอำนาจหน้าที่ 
คณะกรรมการประจำคณะที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๔๑ 
มาตรา ๒๙ (๒) ที่กำหนดให้คณะกรรมการประจำคณะมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณา 
/หลักสูตร...
๖ 
หลักสูตรและรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรสำหรับคณะเพื่อเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย 
ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ และผู้ฟ้องคดีที่ ๓ จึงเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการ 
ออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าว จึงกล่าวได้ว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง 
หรือมีส่วนได้เสียโดยตรงกับการขอเพิกถอนข้อบังคับสภาเภสัชกรรมฯ ตามคำฟ้อง 
๒. ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องนี้มีลักษณะที่ระบุตัวได้ ไม่ว่าจะเป็นรายบุคคลหรือ 
ประโยชน์ร่วมกัน ในที่นี้จะพบว่าผู้ฟ้องคดีทัง้สิบได้ตั้งประเด็นในคำฟ้องอย่างชัดเจนว่า ผู้ที่ได้รับ 
ความเดือดร้อนกรณีรายบุคคล คือนักศึกษาที่จะต้องเข้าศึกษาในคณะเภสัชศาสตร์ 
ภายในประเทศ ซึ่งจะมีสิทธิน้อยกว่านักศึกษาที่ไปศึกษาที่ต่างประเทศ เพราะผู้ที่ไปศึกษา 
ที่ต่างประเทศที่มีระยะเวลาการศึกษาไม่ถึง ๖ ปี เมื่อจบมาแล้วได้รับการยกเว้นไม่ต้องใช้ 
ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมฯ ก็สามารถขอเป็นสมาชิกและขึ้นทะเบียนได้เลย ส่วนผู้ฟ้องคดี 
เมื่อเป็นผู้ต้องจัดทำหลักสูตรใหม่ให้เป็น ๖ ปี ตามข้อบังคับสภาเภสัชกรรมฯ ก็ถูกบังคับให้ 
ทำ หลักสูตรที่มองเห็นแล้วว่าเหมือนกับหลักสูตรเดิม เพียงแต่เพิ่มเวลาในปีที่ ๖ 
ให้ไปฝึกงานในสถานที่ฝึกงานที่ยังไม่สามารถระบุสถานที่ได้เพราะในประเทศไทย 
มีสถานที่ฝึกงานเอกชนที่มีมาตรฐานหรือโรงงานยาน้อยมาก ทำ ให้นักศึกษาต้อง 
เสียโอกาสไป ๑ ปี โดยไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่ได้ และต้องเสียประโยชน์ เสียค่าใช้จ่าย 
ถือว่าเป็นประโยชน์ร่วมกันที่ไม่ควรต้องเสีย และผู้ฟ้องคดีอาจต้องตกเป็นผู้ต้องถูกฟ้อง 
ฐานละเมิดทำให้เสียหายอีกด้วย ทั้งยังจะส่งผลกระทบต่อบุตรหลานของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบ 
ซึ่งหากตัดสินใจเลือกเรียนหลักสูตรเภสัชศาสตร์ก็จะมีทางเลือกน้อยลง โดยที่มี 
ภาระค่าใช้จ่ายในการเรียนเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย ๑ ปี และจำเป็นต้องใช้เวลาในการเรียน 
นานขึ้นกว่าบัณฑิตรุ่นก่อนๆ โดยไม่จำเป็น ขณะที่ผู้ฟ้องคดีบางรายที่มีร้านยาของตนเอง 
หากต้องว่าจ้างเภสัชกรมาเป็นผู้ช่วยเหลือก็ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้างเพิ่มขึ้น 
เนื่องจากผู้ที่จบจากหลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิตแบบ ๖ ปี ย่อมต้องเรียกร้องค่าตอบแทน 
ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงวิกฤต และมีแนวโน้มว่า 
จะเกิดสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างรุนแรงในประเทศไทยในอนาคต ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบ 
จึงจำต้องฟ้องขอให้ศาลปกครองมีคำสัง่เพิกถอนการออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าว 
๓. ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องนี้ต้องมีความชอบธรรม กล่าวคือ คดีนี้ข้อบังคับ 
สภาเภสัชกรรมฯ ที่ผู้ฟ้องคดีขอเพิกถอนไม่มีความชอบธรรม ไม่มีเหตุผลและดำเนินการ 
/วิเคราะห์...
๗ 
วิเคราะห์อย่างถ้วนถี่ มีการออกกฎโดยไม่สนใจต่อการคัดค้านของสมาชิกประมาณ ๑,๐๐๐ คน 
จึงถือได้ว่าประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับผู้ฟ้องคดีมีความชอบธรรม 
๔. ประโยชน์เกี่ยวข้องมีความถูกต้องพอควรแก่เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ 
ผู้ฟ้องคดีทัง้สิบเป็นสมาชิกของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิตามกฎหมาย 
โดยตรงในการคัดค้านการกระทำขององค์กรวิชาชีพที่ไม่ถูกต้อง การฟ้องคดีนี้ผู้ฟ้องคดี 
ก็อาศัยอำนาจตามกฎหมายขององค์กรที่ให้อำนาจไว้ หาใช่เป็นการฟ้องโดยการกลัน่แกล้งผู้ใด 
จึงถือว่ามีความถูกต้องและพอสมควรแก่เหตุแล้ว 
๕. ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องจะต้องมีลักษณะโดยตรง กล่าวคือคำฟ้องของ 
ผู้ฟ้องคดีชัดแจ้งว่าผู้ฟ้องคดีคือสมาชิกของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และมีกลุ่มรายชื่อของสมาชิก 
อีกนับหลายร้อยรายชื่อที่ไม่เห็นด้วยกับการขอออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าว 
ซึ่งถือว่าเป็นผลกระทบโดยตรงของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทัง้หมด ไม่ว่าจะจบมานานแล้ว 
หรือกำลังศึกษาอยู่ หรือกำลังจะเข้าศึกษาก็ตาม 
๖. ประโยชน์เกี่ยวข้องจะต้องมีลักษณะค่อนข้างแน่นอน กล่าวคือ ลักษณะ 
ที่แน่นอน คือการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมทางปกครองนี้ ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรง 
ต่อสภาเภสัชกรรม และเป็นผู้ทำการสอนในคณะเภสัชศาสตร์โดยตรง หาใช่ผู้อื่นที่ไม่อยู่ใน 
แวดวงอาชีพเภสัชกรรมแต่อย่างใดไม่ 
จากแนวทางการพิจารณาข้างต้นเมื่อนำมาพิเคราะห์ร่วมกับเกณฑ์ที่กฎหมาย 
กำหนดให้ศาลปกครองใช้ในการพิจารณาคดีปกครองนั้น มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติ 
จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติว่า ผู้ใดได้รับความ 
เดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ นั้น 
หลักเกณฑ์ที่ศาลปกครองจะใช้ในการพิจารณาต้องกว้างกว่าการพิจารณาเฉพาะเรื่องสิทธิ 
ของผู้นำคดีมาฟ้อง และเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายปกครองที่ต้องการให้องค์กรผู้ใช้ 
อำนาจตุลาการสามารถเข้าไปตรวจสอบการใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครองได้มากขึ้น 
โดยเปิดช่องให้ประชาชนสามารถเสนอคดีต่อศาลได้กว้างขึ้น และเปิดโอกาสให้มีการ 
ตรวจสอบการกระทำของฝ่ายปกครองได้ตามภาระหน้าที่อีกด้วย 
การที่ศาลปกครองกลางพิจารณาไม่รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีเท่ากับเป็นการ 
ปิดกั้นการตรวจสอบการกระทำของฝ่ายปกครองในคดีนี้ จำกัดสิทธิผู้ที่จะนำคดีมาเสนอต่อ 
/ศาลได้...
๘ 
ศาลได้ เหมือนกับคดีปกครองคงเหลือแต่ประเภทผู้ทรงสิทธิที่ต้องได้รับผลกระทบโดยตรง 
เพียงอย่างเดียวเท่านั้น จึงไม่ใช่การพิจารณาที่ตรงตามเจตนารมณ์ตามมาตรา ๔๒ 
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เพราะหากถือเอาเกณฑ์เรื่องประโยชน์เกี่ยวข้องหรือ 
ส่วนได้เสียเป็นหลักว่า เมื่อใดมีการกระทบกระเทือนต่อประโยชน์เกี่ยวข้องหรือส่วนได้เสีย 
ก็ฟ้องคดีได้ และระดับของประโยชน์ที่เกี่ยวข้องหรือส่วนได้เสียนั้น ก็ยืดหยุ่นตามลักษณะ 
คดีที่นำมาฟ้องคดี ดังนั้น คดีนี้ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบจึงเป็นผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องทั้งทางตรง 
และทางอ้อม และลักษณะคดีนี้เป็นการขอเพิกถอนกฎหรือคำสัง่ ซึ่งหากศาลพิจารณาว่า 
ผู้ฟ้องคดีทัง้สิบซึ่งเป็นสมาชิกของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ โดยตรงตามกฎหมายไม่เป็นผู้มีประโยชน์ 
เกี่ยวข้องแล้ว จะทำให้ศาลเองไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของกฎ 
หรือระเบียบที่ออกโดยหน่วยงานทางปกครองได้อีกต่อไป และคงต้องรอให้เกิดผลกระทบ 
ต่อเศรษฐกิจและระบบการศึกษาขึ้นมาก่อน ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ 
และต่อผู้ศึกษาในคณะเภสัชศาสตร์จนอาจทำให้ประเทศไทยหมดสิ้นอิสรภาพในการศึกษา 
ด้านเภสัชศาสตร์และต้องไปขึ้นตรงต่อประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ เท่ากับทำลาย 
อำนาจการปกครองของประเทศโดยทางอ้อมเช่นกัน 
โดยที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบขอใช้อำนาจฟ้องคดีนี้ตามมาตรา ๗๑ ของรัฐธรรมนูญ 
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่วางหลักการใหม่ให้ประชาชนต้องมีหน้าที่ 
รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ซึ่งถือได้ว่ารัฐธรรมนูญได้วางหลักคำว่า หน้าที่ 
ให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของชาติ ดังนั้น ประชาชนไม่ว่าจะเป็นผู้ใด 
หากรับทราบว่ามีการกระทำให้ประเทศชาติสูญเสียผลประโยชน์ก็ต้องดำเนินการตาม 
กฎหมายทุกครัง้ มิฉะนั้น จะเป็นผู้ขัดขวางและละเมิดรัฐธรรมนูญ เท่ากับเป็นผู้กระทำผิด 
กฎหมายเสียเองและอาจกลายเป็นผู้ต้องหาในฐานะที่ไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ 
อีกประการหนึ่ง เนื่องจากศาลปกครองชั้นต้นมีคำสัง่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ทำให้คำร้อง 
ขอบรรเทาทุกข์ชัว่คราวก่อนมีคำพิพากษาต้องตกไปด้วย ผู้ฟ้องคดีจึงขอให้ศาลปกครองสูงสุด 
ได้โปรดพิจารณาคำร้องขอบรรเทาทุกข์ชัว่คราวก่อนมีคำพิพากษาและมีคำสัง่ให้มีการระงับ 
การใช้ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าวไว้เป็นการชัว่คราวต่อไปด้วย 
/ศาลปกครองสูงสุด...
๙ 
ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีมีประเด็นต้องพิจารณาว่า ศาลปกครอง 
จะรับคำฟ้องนี้ไว้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสัง่ได้หรือไม่ เห็นว่า โดยที่มาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง 
แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติว่า 
ผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ 
อันเนื่องจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือ 
เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขต 
อำนาจศาลปกครองตามมาตรา ๙ และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือเสียหาย 
หรือยุติข้อโต้แย้งนั้นต้องมีคำบังคับตามที่กำหนดในมาตรา ๗๒ ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดี 
ต่อศาลปกครอง บทบัญญัติแห่งกฎหมายนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่จะมีสิทธิฟ้องคดีพิพาท 
เกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย 
ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสัง่ หรือการกระทำอื่นใด ต้องเป็นบุคคลที่สิทธิของตน 
ถูกกระทบกระเทือนหรืออาจถูกกระทบกระเทือนโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากกฎ คำสัง่ หรือ 
การกระทำนั้น และต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะได้รับความ 
เดือดร้อนหรือเสียหายโดยตรงและเป็นการเฉพาะตัว จากกฎ คำสัง่ หรือการกระทำที่เป็น 
เหตุแห่งการฟ้องคดี ไม่ใช่ว่าบุคคลใดก็ได้ที่เห็นว่ากฎ คำสัง่ หรือการกระทำนั้นไม่ชอบ 
ด้วยกฎหมายจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนกฎ คำสัง่ หรือห้ามการ 
กระทำ นั้นได้ ดังนั้น เมื่อข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยการรับรองปริญญา 
ประกาศนียบัตรในวิชาเภสัชศาสตร์ หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันต่างๆ 
เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๔ กำหนดว่า“หลักสูตร ๖ ปี ” 
หมายความว่า หลักสูตรเภสัชศาสตร์ที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์ของหลักสูตรที่มีจำนวนหน่วยกิต 
ที่ใช้ระยะเวลาทำการศึกษาเทียบเท่า ๖ ปี ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 
กำหนดและตามที่กำหนดในข้อบังคับนี้ รวมทั้งประกาศที่เกี่ยวข้อง และข้อ ๕ วรรคสาม 
กำหนดว่า ตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป สภาเภสัชกรรมจะให้การรับรอง 
เฉพาะปริญญาที่เกิดจากหลักสูตรที่มีมาตรฐานตามหลักเกณฑ์ของหลักสูตร 
๖ ปี จึงเห็นได้ว่า ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าวจะมีผลบังคับเฉพาะผู้ที่สำเร็จการศึกษาตัง้แต่ 
ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๗ ที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และประสงค์ 
ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมตามมาตรา ๑๒ และ 
/มาตรา ๑๓...
๑๐ 
มาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า 
ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ซึ่งสำเร็จการศึกษาและได้รับใบอนุญาต 
ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมอยู่ก่อนแล้วตามกฎหมาย โดยยังคงเป็นสมาชิกของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ 
และเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมอยู่เช่นเดิม แม้จะมีการประกาศใช้ 
ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๑ แล้วก็ตาม 
การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทัง้สามในการออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยการรับรองปริญญา 
ประกาศนียบัตรในวิชาเภสัชศาสตร์หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันต่างๆ 
เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือ 
หน้าที่ของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบโดยตรงและเป็นการเฉพาะตัวแต่อย่างใด ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบจึงมิใช่ 
ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามต่อศาลได้ ตามนัย 
มาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 
พ.ศ. ๒๕๔๒ สำหรับกรณีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบอุทธรณ์ว่า การออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรม 
ดังกล่าวส่งผลต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสิบโดยตรง ในฐานะคณาจารย์เภสัชศาสตร์ที่เป็นผู้ปฏิบัติ 
ซึ่งต้องมีส่วนร่วมในการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามรายละเอียดที่กำหนดตามข้อบังคับ 
สภาเภสัชกรรมดังกล่าว ได้รับผลกระทบต่อภาระการจัดการเรียนการสอนที่ต้องถูกบังคับ 
ให้เปลี่ยนแปลงอย่างเร่งรีบ เป็นการเพิ่มภาระในการประสานงานและจัดเตรียมแหล่งฝึก 
นอกสถาบันการศึกษา รวมทั้งการพัฒนาข้อตกลงด้านการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 
นอกจากนี้ ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ และผู้ฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นกรรมการประจำคณะเภสัชศาสตร์ 
ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาหลักสูตรเพื่อเสนอต่อสภา 
มหาวิทยาลัย จึงเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าว และ 
ผู้ฟ้องคดีทัง้สิบได้อ้างข้อเท็จจริงและเหตุผลอื่นๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อน 
หรือเสียหาย เช่น ประเทศไทยมีสถานที่ฝึกงานเอกชนที่มีมาตรฐานหรือโรงงานยาน้อยมาก 
ทำให้นักศึกษาต้องเสียโอกาสไป ๑ ปี โดยไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่ได้ ผู้ฟ้องคดีอาจต้องตกเป็น 
ผู้ต้องถูกฟ้องฐานละเมิด ทั้งยังส่งผลกระทบต่อบุตรหลานของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบซึ่งหาก 
ตัดสินใจเลือกเรียนหลักสูตรเภสัชศาสตร์จะมีทางเลือกน้อยลง มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 
ผู้ฟ้องคดีบางรายมีร้านขายยาของตนเอง หากต้องว่าจ้างเภสัชกรเป็นผู้ช่วยเหลือก็ต้อง 
แบกรับค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้างเพิ่มขึ้น เป็นต้น เห็นว่า ข้ออ้างเหล่านั้นหาใช่ผลกระทบต่อสิทธิ 
/หรือ...
๑๑ 
หรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบโดยตรงและเป็นการเฉพาะตัวไม่ อุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีไม่มี 
เหตุผลเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลปกครองชั้นต้น เมื่อได้วินิจฉัยเช่นนี้แล้ว 
จึงไม่จำต้องพิจารณาคำขอของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบที่ขอให้ศาลมีคำสัง่ให้ทุเลาการบังคับตามกฎ 
ดังกล่าวอีกต่อไป ดังนั้น การที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสัง่ไม่รับคำฟ้องนี้ไว้พิจารณาและให้ 
จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย 
จึงมีคำสัง่ยืนตามคำสัง่ของศาลปกครองชัน้ต้น 
นายปรีชา ชวลิตธำรง ตุลาการเจ้าของสำนวน 
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด 
นายจรัญ หัตถกรรม 
ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด 
นายเกษม คมสัตย์ธรรม 
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด 
นายไพบูลย์ เสียงก้อง 
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด 
นายวรวิทย์ กังศศิเทียม 
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด 
วันที่อ่าน ๓๐ เมษายน ๒๕๕๒ 
นาลิณี : ผู้พิมพ์

More Related Content

More from Parun Rutjanathamrong

เรื่องร้องทุกข์กรณีขอย้ายในตำแหน่งเภสัชกรชำนาญการและอ้างถึงการย้ายข้ามหน้าข้ามตา
เรื่องร้องทุกข์กรณีขอย้ายในตำแหน่งเภสัชกรชำนาญการและอ้างถึงการย้ายข้ามหน้าข้ามตาเรื่องร้องทุกข์กรณีขอย้ายในตำแหน่งเภสัชกรชำนาญการและอ้างถึงการย้ายข้ามหน้าข้ามตา
เรื่องร้องทุกข์กรณีขอย้ายในตำแหน่งเภสัชกรชำนาญการและอ้างถึงการย้ายข้ามหน้าข้ามตาParun Rutjanathamrong
 
รายงานการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมหมอดูและหมอทำเสน่ห์ยาแฝด พ.ศ. 2482
รายงานการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมหมอดูและหมอทำเสน่ห์ยาแฝด พ.ศ. 2482รายงานการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมหมอดูและหมอทำเสน่ห์ยาแฝด พ.ศ. 2482
รายงานการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมหมอดูและหมอทำเสน่ห์ยาแฝด พ.ศ. 2482Parun Rutjanathamrong
 
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลราชการ เจ้าหน้าที่ไม่เชื่อว...
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลราชการ เจ้าหน้าที่ไม่เชื่อว...คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลราชการ เจ้าหน้าที่ไม่เชื่อว...
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลราชการ เจ้าหน้าที่ไม่เชื่อว...Parun Rutjanathamrong
 
จับตา!สอบข้อเท็จจริง2ฝ่าย'หมอณรงค์ สปสช.'
จับตา!สอบข้อเท็จจริง2ฝ่าย'หมอณรงค์ สปสช.'จับตา!สอบข้อเท็จจริง2ฝ่าย'หมอณรงค์ สปสช.'
จับตา!สอบข้อเท็จจริง2ฝ่าย'หมอณรงค์ สปสช.'Parun Rutjanathamrong
 
องค์การเภสัชกรรมโชว์กำไร6ปี ช่วยรัฐประหยัดเกือบ 2 หมื่นล้าน
องค์การเภสัชกรรมโชว์กำไร6ปี ช่วยรัฐประหยัดเกือบ 2 หมื่นล้านองค์การเภสัชกรรมโชว์กำไร6ปี ช่วยรัฐประหยัดเกือบ 2 หมื่นล้าน
องค์การเภสัชกรรมโชว์กำไร6ปี ช่วยรัฐประหยัดเกือบ 2 หมื่นล้านParun Rutjanathamrong
 
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีสั่งทำลายไก่เพื่อป้องกันโรคระบาด แบบฟอร์มราชการจ...
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีสั่งทำลายไก่เพื่อป้องกันโรคระบาด แบบฟอร์มราชการจ...คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีสั่งทำลายไก่เพื่อป้องกันโรคระบาด แบบฟอร์มราชการจ...
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีสั่งทำลายไก่เพื่อป้องกันโรคระบาด แบบฟอร์มราชการจ...Parun Rutjanathamrong
 
W11 2557-แนวทางการดำเนินการตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน กรณีการเรี่ยไร ...
W11 2557-แนวทางการดำเนินการตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน กรณีการเรี่ยไร  ...W11 2557-แนวทางการดำเนินการตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน กรณีการเรี่ยไร  ...
W11 2557-แนวทางการดำเนินการตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน กรณีการเรี่ยไร ...Parun Rutjanathamrong
 
คู่มือการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตรทางด้านเคมีและเภสัช...
คู่มือการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตรทางด้านเคมีและเภสัช...คู่มือการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตรทางด้านเคมีและเภสัช...
คู่มือการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตรทางด้านเคมีและเภสัช...Parun Rutjanathamrong
 
เนื้อหาความตกลงอาเซียนด้านยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และภาคผนวก (ย่อ)
เนื้อหาความตกลงอาเซียนด้านยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และภาคผนวก (ย่อ)เนื้อหาความตกลงอาเซียนด้านยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และภาคผนวก (ย่อ)
เนื้อหาความตกลงอาเซียนด้านยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และภาคผนวก (ย่อ)Parun Rutjanathamrong
 
สถิติคดีในศาลยุติธรรมปี2556
สถิติคดีในศาลยุติธรรมปี2556สถิติคดีในศาลยุติธรรมปี2556
สถิติคดีในศาลยุติธรรมปี2556Parun Rutjanathamrong
 
เกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อยาและการส่งเสริมการขายยา
เกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อยาและการส่งเสริมการขายยาเกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อยาและการส่งเสริมการขายยา
เกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อยาและการส่งเสริมการขายยาParun Rutjanathamrong
 
ตารางเปรียบเทียบร่างพ.ร.บ.ยา
ตารางเปรียบเทียบร่างพ.ร.บ.ยาตารางเปรียบเทียบร่างพ.ร.บ.ยา
ตารางเปรียบเทียบร่างพ.ร.บ.ยาParun Rutjanathamrong
 
Royal decree วิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี
Royal decree วิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีRoyal decree วิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี
Royal decree วิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีParun Rutjanathamrong
 
เปลี่ยนแปลงระบบการตรวจประเมินGmp
เปลี่ยนแปลงระบบการตรวจประเมินGmpเปลี่ยนแปลงระบบการตรวจประเมินGmp
เปลี่ยนแปลงระบบการตรวจประเมินGmpParun Rutjanathamrong
 
ข่าวประท้วงร่าง พ.ร.บ.ยา 9ตุลาคม2557
ข่าวประท้วงร่าง พ.ร.บ.ยา 9ตุลาคม2557ข่าวประท้วงร่าง พ.ร.บ.ยา 9ตุลาคม2557
ข่าวประท้วงร่าง พ.ร.บ.ยา 9ตุลาคม2557Parun Rutjanathamrong
 
สิทธิอุทธรณ์ฎีกาในคดีอาญาที่'ขาด'และ'เกิน'
สิทธิอุทธรณ์ฎีกาในคดีอาญาที่'ขาด'และ'เกิน'สิทธิอุทธรณ์ฎีกาในคดีอาญาที่'ขาด'และ'เกิน'
สิทธิอุทธรณ์ฎีกาในคดีอาญาที่'ขาด'และ'เกิน'Parun Rutjanathamrong
 
Fda แนวปฏิบัติตามกฎกระทรวงการขอนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน
Fda แนวปฏิบัติตามกฎกระทรวงการขอนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันFda แนวปฏิบัติตามกฎกระทรวงการขอนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน
Fda แนวปฏิบัติตามกฎกระทรวงการขอนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันParun Rutjanathamrong
 
ห้ามพระภิกษุสามเณรประกอบอาชีพเป็นหมอหรือแพทย์รักษาโรค
ห้ามพระภิกษุสามเณรประกอบอาชีพเป็นหมอหรือแพทย์รักษาโรคห้ามพระภิกษุสามเณรประกอบอาชีพเป็นหมอหรือแพทย์รักษาโรค
ห้ามพระภิกษุสามเณรประกอบอาชีพเป็นหมอหรือแพทย์รักษาโรคParun Rutjanathamrong
 
Thai clinic ร่างพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม-version12.กันยายน.2557
Thai clinic ร่างพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม-version12.กันยายน.2557Thai clinic ร่างพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม-version12.กันยายน.2557
Thai clinic ร่างพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม-version12.กันยายน.2557Parun Rutjanathamrong
 

More from Parun Rutjanathamrong (20)

เรื่องร้องทุกข์กรณีขอย้ายในตำแหน่งเภสัชกรชำนาญการและอ้างถึงการย้ายข้ามหน้าข้ามตา
เรื่องร้องทุกข์กรณีขอย้ายในตำแหน่งเภสัชกรชำนาญการและอ้างถึงการย้ายข้ามหน้าข้ามตาเรื่องร้องทุกข์กรณีขอย้ายในตำแหน่งเภสัชกรชำนาญการและอ้างถึงการย้ายข้ามหน้าข้ามตา
เรื่องร้องทุกข์กรณีขอย้ายในตำแหน่งเภสัชกรชำนาญการและอ้างถึงการย้ายข้ามหน้าข้ามตา
 
รายงานการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมหมอดูและหมอทำเสน่ห์ยาแฝด พ.ศ. 2482
รายงานการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมหมอดูและหมอทำเสน่ห์ยาแฝด พ.ศ. 2482รายงานการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมหมอดูและหมอทำเสน่ห์ยาแฝด พ.ศ. 2482
รายงานการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมหมอดูและหมอทำเสน่ห์ยาแฝด พ.ศ. 2482
 
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลราชการ เจ้าหน้าที่ไม่เชื่อว...
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลราชการ เจ้าหน้าที่ไม่เชื่อว...คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลราชการ เจ้าหน้าที่ไม่เชื่อว...
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลราชการ เจ้าหน้าที่ไม่เชื่อว...
 
จับตา!สอบข้อเท็จจริง2ฝ่าย'หมอณรงค์ สปสช.'
จับตา!สอบข้อเท็จจริง2ฝ่าย'หมอณรงค์ สปสช.'จับตา!สอบข้อเท็จจริง2ฝ่าย'หมอณรงค์ สปสช.'
จับตา!สอบข้อเท็จจริง2ฝ่าย'หมอณรงค์ สปสช.'
 
องค์การเภสัชกรรมโชว์กำไร6ปี ช่วยรัฐประหยัดเกือบ 2 หมื่นล้าน
องค์การเภสัชกรรมโชว์กำไร6ปี ช่วยรัฐประหยัดเกือบ 2 หมื่นล้านองค์การเภสัชกรรมโชว์กำไร6ปี ช่วยรัฐประหยัดเกือบ 2 หมื่นล้าน
องค์การเภสัชกรรมโชว์กำไร6ปี ช่วยรัฐประหยัดเกือบ 2 หมื่นล้าน
 
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีสั่งทำลายไก่เพื่อป้องกันโรคระบาด แบบฟอร์มราชการจ...
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีสั่งทำลายไก่เพื่อป้องกันโรคระบาด แบบฟอร์มราชการจ...คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีสั่งทำลายไก่เพื่อป้องกันโรคระบาด แบบฟอร์มราชการจ...
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีสั่งทำลายไก่เพื่อป้องกันโรคระบาด แบบฟอร์มราชการจ...
 
W11 2557-แนวทางการดำเนินการตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน กรณีการเรี่ยไร ...
W11 2557-แนวทางการดำเนินการตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน กรณีการเรี่ยไร  ...W11 2557-แนวทางการดำเนินการตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน กรณีการเรี่ยไร  ...
W11 2557-แนวทางการดำเนินการตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน กรณีการเรี่ยไร ...
 
คู่มือการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตรทางด้านเคมีและเภสัช...
คู่มือการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตรทางด้านเคมีและเภสัช...คู่มือการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตรทางด้านเคมีและเภสัช...
คู่มือการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตรทางด้านเคมีและเภสัช...
 
เนื้อหาความตกลงอาเซียนด้านยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และภาคผนวก (ย่อ)
เนื้อหาความตกลงอาเซียนด้านยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และภาคผนวก (ย่อ)เนื้อหาความตกลงอาเซียนด้านยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และภาคผนวก (ย่อ)
เนื้อหาความตกลงอาเซียนด้านยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และภาคผนวก (ย่อ)
 
สถิติคดีในศาลยุติธรรมปี2556
สถิติคดีในศาลยุติธรรมปี2556สถิติคดีในศาลยุติธรรมปี2556
สถิติคดีในศาลยุติธรรมปี2556
 
เกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อยาและการส่งเสริมการขายยา
เกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อยาและการส่งเสริมการขายยาเกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อยาและการส่งเสริมการขายยา
เกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อยาและการส่งเสริมการขายยา
 
ตารางเปรียบเทียบร่างพ.ร.บ.ยา
ตารางเปรียบเทียบร่างพ.ร.บ.ยาตารางเปรียบเทียบร่างพ.ร.บ.ยา
ตารางเปรียบเทียบร่างพ.ร.บ.ยา
 
วิบากกรรม NGO
วิบากกรรม NGOวิบากกรรม NGO
วิบากกรรม NGO
 
Royal decree วิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี
Royal decree วิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีRoyal decree วิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี
Royal decree วิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี
 
เปลี่ยนแปลงระบบการตรวจประเมินGmp
เปลี่ยนแปลงระบบการตรวจประเมินGmpเปลี่ยนแปลงระบบการตรวจประเมินGmp
เปลี่ยนแปลงระบบการตรวจประเมินGmp
 
ข่าวประท้วงร่าง พ.ร.บ.ยา 9ตุลาคม2557
ข่าวประท้วงร่าง พ.ร.บ.ยา 9ตุลาคม2557ข่าวประท้วงร่าง พ.ร.บ.ยา 9ตุลาคม2557
ข่าวประท้วงร่าง พ.ร.บ.ยา 9ตุลาคม2557
 
สิทธิอุทธรณ์ฎีกาในคดีอาญาที่'ขาด'และ'เกิน'
สิทธิอุทธรณ์ฎีกาในคดีอาญาที่'ขาด'และ'เกิน'สิทธิอุทธรณ์ฎีกาในคดีอาญาที่'ขาด'และ'เกิน'
สิทธิอุทธรณ์ฎีกาในคดีอาญาที่'ขาด'และ'เกิน'
 
Fda แนวปฏิบัติตามกฎกระทรวงการขอนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน
Fda แนวปฏิบัติตามกฎกระทรวงการขอนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันFda แนวปฏิบัติตามกฎกระทรวงการขอนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน
Fda แนวปฏิบัติตามกฎกระทรวงการขอนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน
 
ห้ามพระภิกษุสามเณรประกอบอาชีพเป็นหมอหรือแพทย์รักษาโรค
ห้ามพระภิกษุสามเณรประกอบอาชีพเป็นหมอหรือแพทย์รักษาโรคห้ามพระภิกษุสามเณรประกอบอาชีพเป็นหมอหรือแพทย์รักษาโรค
ห้ามพระภิกษุสามเณรประกอบอาชีพเป็นหมอหรือแพทย์รักษาโรค
 
Thai clinic ร่างพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม-version12.กันยายน.2557
Thai clinic ร่างพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม-version12.กันยายน.2557Thai clinic ร่างพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม-version12.กันยายน.2557
Thai clinic ร่างพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม-version12.กันยายน.2557
 

คำสั่งศาลปกครองสูงสุด กรณีไม่รับคำฟ้องให้เพิกถอนหลักสูตรเภสัชศาสตร์ 6 ปี

  • 1. คำสัง่ (ต. ๒๑) คำร้องที่ ๘๐๙/๒๕๕๑ คำสัง่ที่ ๑๕๗/๒๕๕๒ ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ศาลปกครองสูงสุด วันที่ ๑๗ เดือน มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๒ ระหว่าง นายวงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล ที่ ๑ ผู้ฟ้องคดี นางกรรนิการ์ ฉัตรสันติประภา ที่ ๒ นางสาววรรณี ชัยเฉลิมพงษ์ ที่ ๓ นางสาวฉันทนา อารมย์ดี ที่ ๔ นางสาวจินดา หวังบุญสกุล ที่ ๕ นางสาววัชรี คุณกิตติ ที่ ๖ นายศุภชัย ติยวรนันท์ ที่ ๗ นายสมชาย สุริยะไกร ที่ ๘ นางอ้อมบุญ ล้วนรัตน์ ที่ ๙ นายอภิชาติ จันทนิสร์ ที่ ๑๐ ผู้ถูกฟ้องคดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ในฐานะสภานายกพิเศษของสภาเภสัชกรรม) ที่ ๑ สภาเภสัชกรรม ที่ ๒ นายกสภาเภสัชกรรม ที่ ๓ /เรื่อง...
  • 2. ๒ เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำร้องอุทธรณ์คำสัง่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา) ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสัง่ในคดีหมายเลขดำที่ ๑๔๓๔/๒๕๕๑ หมายเลขแดงที่ ๑๓๘๗/๒๕๕๑ ของศาลปกครองชัน้ต้น (ศาลปกครองกลาง) คดีนี้ผู้ฟ้องคดีทัง้สิบฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีทัง้สิบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกร และ/หรือ เป็นผู้สอนนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ในชั้นอุดมศึกษา ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรือ อาจจะเดือดร้อนเสียหายเนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในการออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยการรับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชา เภสัชศาสตร์หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัคร เป็นสมาชิก พ.ศ. ๒๕๕๑ ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในเรื่อง สิทธิเสรีภาพ และขัดต่อพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗ เนื่องจาก พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้อำ นาจแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ในการกำหนดให้มีการรับรองหลักสูตรในการศึกษาวิชาชีพเภสัชกรรมว่าจะต้องมี กำหนดระยะเวลาเท่าใด เพียงแต่ให้อำนาจในการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาหรือวิจัย หรือ รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรหรือวุฒิบัตรในวิชาชีพของตนในสถาบันต่างๆ เท่านั้น กรณีจึงเป็นการออกข้อบังคับโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจที่กฎหมายกำหนด รวมทัง้ การออกข้อบังคับดังกล่าวยังไม่เป็นไปตามขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดให้มีการ รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกและประชาชนก่อนตามที่พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดไว้ อีกทั้ง ยังเป็นการ ออกข้อบังคับที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้จบการศึกษาเภสัชศาสตร์จากสถาบัน ในประเทศกับต่างประเทศ อันเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบ และประชาชนโดยส่วนรวม ผู้ฟ้องคดีทัง้สิบจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสัง่ให้เพิกถอนข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยการรับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชาเภสัชศาสตร์หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพ เภสัชกรรมของสถาบันต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก พ.ศ. ๒๕๕๑ /ศาลปกครองชัน้ต้น...
  • 3. ๓ ศาลปกครองชัน้ต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยการ รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชาเภสัชศาสตร์หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของ สถาบันต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก พ.ศ. ๒๕๕๑ มีสาระสำคัญที่เป็น ประเด็นแห่งคดีโดยสรุปว่า ตัง้แต่ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จะให้การ รับรองเฉพาะปริญญาทางเภสัชศาสตร์ที่เกิดจากหลักสูตรที่มีมาตรฐานตามหลักเกณฑ์ของ หลักสูตร ๖ ปี ดังนั้น เมื่อข้อบังคับฉบับนี้มีผลใช้บังคับแล้ว หลักสูตรที่สถาบันจะเสนอเพื่อ ขอรับความเห็นชอบทั้งที่เป็นหลักสูตรที่เกิดขึ้นใหม่และหลักสูตรเดิมที่นำมาปรับปรุงต้องมี มาตรฐานตามหลักเกณฑ์ของหลักสูตร ๖ ปี (ซึ่งแต่เดิมกำหนดไว้ ๕ ปี หรือ ๖ ปี) หากสถาบันที่ดำเนินการมาแต่เดิมไม่สามารถจัดทำหลักสูตร ๖ ปี ได้ทันการเพื่อให้มีผู้สำเร็จ การศึกษาในปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๗ ก็ให้ทำคำร้องพร้อมด้วยเหตุผลขอผ่อนผัน จากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นการเฉพาะราย โดยอาจขอเลื่อนกำหนดเวลาดังกล่าวออกไป ได้ไม่เกินปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๙ ทั้งนี้ ให้สถาบันเดิมที่ได้ดำเนินการสอนในวิชา เภสัชศาสตร์ โดยมีผู้สำเร็จการศึกษาสาขาเภสัชศาสตร์มาแล้วก่อนข้อบังคับนี้ประกาศใช้ เป็นสถาบันที่ได้รับการรับรองตามข้อบังคับนี้ และให้หลักสูตรที่มีผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว ที่ดำเนินการโดยสถาบันดังกล่าว เป็นหลักสูตรที่ได้รับความเห็นชอบเป็นระยะเวลา ๕ ปี เว้นแต่สถาบันจะดำเนินการผิดไปจากมาตรฐานตามที่กำหนด ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าวเป็นการกำหนดมาตรฐานและระยะเวลาศึกษาตามเกณฑ์ ของหลักสูตรเภสัชศาสตร์ในการขอรับรองหลักสูตรสำหรับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ในประเทศที่เป็นเจ้าของหลักสูตรเภสัชศาสตร์ที่ผลิตบัณฑิตโดยให้รับปริญญาที่ต้องการ ขอรับการรับรอง ซึ่งการกำ หนดข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าวจะมีผลไปถึง ผู้ที่สำ เร็จการศึกษาที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และได้รับ ใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ๖ ปี ตามที่ข้อบังคับ สภาเภสัชกรรมฯ กำหนด โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จะให้การรับรองหลักสูตรดังกล่าว ตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป แต่อย่างไรก็ตาม ข้อบังคับนี้ไม่มีผลบังคับใช้กับ สถาบันการศึกษาเดิมที่ได้ดำเนินการสอนในวิชาเภสัชศาสตร์ โดยมีผู้สำเร็จการศึกษา สาขาเภสัชศาสตร์มาแล้วก่อนข้อบังคับนี้ประกาศใช้ ดังนั้น เมื่อข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ กับสถาบันการศึกษาที่ขอรับรอง และผู้ที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป /โดย...
  • 4. ๔ โดยไม่ใช้บังคับกับผู้สำเร็จการศึกษาก่อนปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๗ แต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ซึ่งสำเร็จการศึกษาและได้รับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพอยู่ก่อนแล้วตามกฎหมาย โดยยังคงเป็นสมาชิกของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และ เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอยู่เช่นเดิมแม้จะมีการประกาศใช้ข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ดังกล่าวก็ตาม ดังนั้น การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทัง้สามในการออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ดังกล่าวจึงไม่ได้มีผลกระทบต่อสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีทัง้สิบแต่อย่างใด ผู้ฟ้องคดีทัง้สิบ จึงมิใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามต่อศาลได้ ตามมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ศาลจึงไม่อาจรับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทัง้สิบไว้พิจารณาได้ ส่วนคำขอของผู้ฟ้องคดี ทั้งสิบที่ขอให้ศาลมีคำสัง่ให้ทุเลาการบังคับตามกฎดังกล่าวนั้น เมื่อศาลไม่อาจรับคำฟ้องนี้ ไว้พิจารณาได้ ศาลจึงไม่อาจรับคำขอนี้ไว้พิจารณาได้เช่นกัน ศาลปกครองชั้นต้นจึงมีคำสัง่ ไม่รับคำฟ้องนี้และคำขอทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสัง่ไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดี ออกจากสารบบความ ผู้ฟ้องคดีทัง้สิบยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสัง่ของศาลปกครองชัน้ต้นที่ไม่รับคำฟ้อง ไว้พิจารณา ความว่า ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า คดีปกครองมีการแบ่งประเภทคดีออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้ ๑. คดีขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมทางปกครอง ประเภทกฎหรือคำสัง่ทางปกครองที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ ๒. คดีที่ขอให้ศาลพิพากษาให้มีการรับผิดหรือชดใช้ค่าเสียหาย ตามสัญญาทางปกครองหรือละเมิดทางปกครอง โดยที่คดีนี้ผู้ฟ้องคดีประสงค์จะขอให้ ศาลปกครองเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองประเภทกฎหรือคำสัง่ทางปกครองที่ไม่ชอบด้วย กฎหมาย หาใช่การฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้มีการรับผิดหรือชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญา ทางปกครองหรือละเมิดทางปกครอง โดยคดีประเภทที่สองนี้ ผู้มีสิทธิฟ้องคดี คือผู้ทรงสิทธิ ซึ่งสิทธิของตนถูกกระทบกระเทือนคล้ายกับคดีแพ่ง แต่ในประเภทแรกซึ่งเป็นคดีประเภท ที่ผู้ฟ้องคดีใช้ในการฟ้องคดีนี้ เกณฑ์ในการพิจารณาผู้มีสิทธิฟ้องคดีจะแตกต่างออกไป โดยจะมีการพิจารณาประโยชน์เกี่ยวข้องหรือส่วนได้เสียของผู้ฟ้องคดีว่ามีความสัมพันธ์กับ เหตุแห่งการฟ้องคดีหรือไม่ เพียงใด ทั้งนี้ เพราะปรัชญาพื้นฐานของการฟ้องคดีขอให้ ศาลเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองก็คือ การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรม ทางปกครองที่ถูกโต้แย้ง หาใช่พิจารณาถึงสิทธิทางอัตตะวิสัยของผู้ฟ้องคดี ดังนั้น ในการฟ้องคดี /ประเภทนี้...
  • 5. ๕ ประเภทนี้ หากจำกัดสิทธิของผู้มีสิทธิฟ้องคดีให้แคบลงเฉพาะผู้ทรงสิทธิซึ่งสิทธิถูก กระทบกระเทือนตามดุลยพินิจของศาลปกครองชั้นต้นเท่านั้น ก็จะมีผลเท่ากับว่า นิติกรรม ทางปกครองในที่นี้คือ ข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยการรับรองปริญญา ประกาศนียบัตร ในวิชาเภสัชศาสตร์ หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันต่างๆ เพื่อประโยชน์ ในการสมัครเป็นสมาชิก พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ถูกโต้แย้งนั้น มีลักษณะเป็นกฎหรือคำสัง่ ที่มีผลบังคับทัว่ไป ซึ่งผู้ที่อยู่ในบังคับยังไม่ถึงขนาดว่าจะต้องเป็นผู้ทรงสิทธิ ด้วยเหตุนี้ เราจะพบได้ว่าในประเทศอื่นที่มีศาลปกครอง เช่น ประเทศฝรัง่เศส ศาลปกครอง ฝรัง่เศสก็ให้การยอมรับในหลักเกณฑ์ดังกล่าวว่า ผู้ที่จะมีสิทธิฟ้องคดีขอให้ศาลปกครอง เพิกถอนนิติกรรมทางปกครองได้ จะต้องเป็นผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับการ เพิกถอนนิติกรรมทางปกครองเท่านั้น ทำให้ต้องกลับมาพิจารณาคำว่า การพิจารณา ประโยชน์เกี่ยวข้องโดยทัว่ไป ซึ่งมีหลักในการพิจารณาอยู่ ๖ ประการที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ ดังนี้ ๑. ประโยชน์เกี่ยวข้องหรือส่วนได้เสียดังกล่าวต้องมีอยู่จริง เทียบได้กับคดีนี้ คือ ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบต่างเป็นเภสัชกรที่เป็นสมาชิกของผู้ถูกฟ้องคดี และส่วนใหญ่ยังเป็น อาจารย์ผู้สอนนักศึกษาในคณะเภสัชศาสตร์ของสถาบันการศึกษาของรัฐ ทั้งยังต้องเป็น ผู้จัดทำหลักสูตรการศึกษาเพื่อเสนอต่อสถาบันไปยังผู้ถูกฟ้องคดีตามข้อบังคับที่ขอเพิกถอนด้วย ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบเห็นว่า การออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าวส่งผลต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสิบ โดยตรง ในฐานะคณาจารย์เภสัชศาสตร์ที่เป็นผู้ปฏิบัติ ซึ่งต้องมีส่วนร่วมในการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ ๖ ปี ให้เป็นไปตามรายละเอียดที่กำหนดตามข้อบังคับสภาเภสัชกรรมฯ ได้รับผลกระทบต่อ ภาระการจัดการเรียนการสอนที่ต้องถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลงอย่างเร่งรีบ ทัง้ที่ยังไม่มีข้อสรุป ที่ชัดเจนของข้อดีข้อเสียของการใช้หลักสูตรแบบ ๖ ปี ดังกล่าว เป็นการเพิ่มภาระในการ ประสานงานและจัดเตรียมแหล่งฝึกนอกสถาบันการศึกษา รวมทั้งการพัฒนาข้อตกลง ด้านการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ และผู้ฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็น กรรมการประจำคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น หากพิจารณาอำนาจหน้าที่ คณะกรรมการประจำคณะที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๒๙ (๒) ที่กำหนดให้คณะกรรมการประจำคณะมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณา /หลักสูตร...
  • 6. ๖ หลักสูตรและรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรสำหรับคณะเพื่อเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ และผู้ฟ้องคดีที่ ๓ จึงเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการ ออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าว จึงกล่าวได้ว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง หรือมีส่วนได้เสียโดยตรงกับการขอเพิกถอนข้อบังคับสภาเภสัชกรรมฯ ตามคำฟ้อง ๒. ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องนี้มีลักษณะที่ระบุตัวได้ ไม่ว่าจะเป็นรายบุคคลหรือ ประโยชน์ร่วมกัน ในที่นี้จะพบว่าผู้ฟ้องคดีทัง้สิบได้ตั้งประเด็นในคำฟ้องอย่างชัดเจนว่า ผู้ที่ได้รับ ความเดือดร้อนกรณีรายบุคคล คือนักศึกษาที่จะต้องเข้าศึกษาในคณะเภสัชศาสตร์ ภายในประเทศ ซึ่งจะมีสิทธิน้อยกว่านักศึกษาที่ไปศึกษาที่ต่างประเทศ เพราะผู้ที่ไปศึกษา ที่ต่างประเทศที่มีระยะเวลาการศึกษาไม่ถึง ๖ ปี เมื่อจบมาแล้วได้รับการยกเว้นไม่ต้องใช้ ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมฯ ก็สามารถขอเป็นสมาชิกและขึ้นทะเบียนได้เลย ส่วนผู้ฟ้องคดี เมื่อเป็นผู้ต้องจัดทำหลักสูตรใหม่ให้เป็น ๖ ปี ตามข้อบังคับสภาเภสัชกรรมฯ ก็ถูกบังคับให้ ทำ หลักสูตรที่มองเห็นแล้วว่าเหมือนกับหลักสูตรเดิม เพียงแต่เพิ่มเวลาในปีที่ ๖ ให้ไปฝึกงานในสถานที่ฝึกงานที่ยังไม่สามารถระบุสถานที่ได้เพราะในประเทศไทย มีสถานที่ฝึกงานเอกชนที่มีมาตรฐานหรือโรงงานยาน้อยมาก ทำ ให้นักศึกษาต้อง เสียโอกาสไป ๑ ปี โดยไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่ได้ และต้องเสียประโยชน์ เสียค่าใช้จ่าย ถือว่าเป็นประโยชน์ร่วมกันที่ไม่ควรต้องเสีย และผู้ฟ้องคดีอาจต้องตกเป็นผู้ต้องถูกฟ้อง ฐานละเมิดทำให้เสียหายอีกด้วย ทั้งยังจะส่งผลกระทบต่อบุตรหลานของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบ ซึ่งหากตัดสินใจเลือกเรียนหลักสูตรเภสัชศาสตร์ก็จะมีทางเลือกน้อยลง โดยที่มี ภาระค่าใช้จ่ายในการเรียนเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย ๑ ปี และจำเป็นต้องใช้เวลาในการเรียน นานขึ้นกว่าบัณฑิตรุ่นก่อนๆ โดยไม่จำเป็น ขณะที่ผู้ฟ้องคดีบางรายที่มีร้านยาของตนเอง หากต้องว่าจ้างเภสัชกรมาเป็นผู้ช่วยเหลือก็ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้างเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ที่จบจากหลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิตแบบ ๖ ปี ย่อมต้องเรียกร้องค่าตอบแทน ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงวิกฤต และมีแนวโน้มว่า จะเกิดสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างรุนแรงในประเทศไทยในอนาคต ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบ จึงจำต้องฟ้องขอให้ศาลปกครองมีคำสัง่เพิกถอนการออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าว ๓. ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องนี้ต้องมีความชอบธรรม กล่าวคือ คดีนี้ข้อบังคับ สภาเภสัชกรรมฯ ที่ผู้ฟ้องคดีขอเพิกถอนไม่มีความชอบธรรม ไม่มีเหตุผลและดำเนินการ /วิเคราะห์...
  • 7. ๗ วิเคราะห์อย่างถ้วนถี่ มีการออกกฎโดยไม่สนใจต่อการคัดค้านของสมาชิกประมาณ ๑,๐๐๐ คน จึงถือได้ว่าประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับผู้ฟ้องคดีมีความชอบธรรม ๔. ประโยชน์เกี่ยวข้องมีความถูกต้องพอควรแก่เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ ผู้ฟ้องคดีทัง้สิบเป็นสมาชิกของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิตามกฎหมาย โดยตรงในการคัดค้านการกระทำขององค์กรวิชาชีพที่ไม่ถูกต้อง การฟ้องคดีนี้ผู้ฟ้องคดี ก็อาศัยอำนาจตามกฎหมายขององค์กรที่ให้อำนาจไว้ หาใช่เป็นการฟ้องโดยการกลัน่แกล้งผู้ใด จึงถือว่ามีความถูกต้องและพอสมควรแก่เหตุแล้ว ๕. ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องจะต้องมีลักษณะโดยตรง กล่าวคือคำฟ้องของ ผู้ฟ้องคดีชัดแจ้งว่าผู้ฟ้องคดีคือสมาชิกของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และมีกลุ่มรายชื่อของสมาชิก อีกนับหลายร้อยรายชื่อที่ไม่เห็นด้วยกับการขอออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นผลกระทบโดยตรงของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทัง้หมด ไม่ว่าจะจบมานานแล้ว หรือกำลังศึกษาอยู่ หรือกำลังจะเข้าศึกษาก็ตาม ๖. ประโยชน์เกี่ยวข้องจะต้องมีลักษณะค่อนข้างแน่นอน กล่าวคือ ลักษณะ ที่แน่นอน คือการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมทางปกครองนี้ ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรง ต่อสภาเภสัชกรรม และเป็นผู้ทำการสอนในคณะเภสัชศาสตร์โดยตรง หาใช่ผู้อื่นที่ไม่อยู่ใน แวดวงอาชีพเภสัชกรรมแต่อย่างใดไม่ จากแนวทางการพิจารณาข้างต้นเมื่อนำมาพิเคราะห์ร่วมกับเกณฑ์ที่กฎหมาย กำหนดให้ศาลปกครองใช้ในการพิจารณาคดีปกครองนั้น มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติว่า ผู้ใดได้รับความ เดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ นั้น หลักเกณฑ์ที่ศาลปกครองจะใช้ในการพิจารณาต้องกว้างกว่าการพิจารณาเฉพาะเรื่องสิทธิ ของผู้นำคดีมาฟ้อง และเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายปกครองที่ต้องการให้องค์กรผู้ใช้ อำนาจตุลาการสามารถเข้าไปตรวจสอบการใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครองได้มากขึ้น โดยเปิดช่องให้ประชาชนสามารถเสนอคดีต่อศาลได้กว้างขึ้น และเปิดโอกาสให้มีการ ตรวจสอบการกระทำของฝ่ายปกครองได้ตามภาระหน้าที่อีกด้วย การที่ศาลปกครองกลางพิจารณาไม่รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีเท่ากับเป็นการ ปิดกั้นการตรวจสอบการกระทำของฝ่ายปกครองในคดีนี้ จำกัดสิทธิผู้ที่จะนำคดีมาเสนอต่อ /ศาลได้...
  • 8. ๘ ศาลได้ เหมือนกับคดีปกครองคงเหลือแต่ประเภทผู้ทรงสิทธิที่ต้องได้รับผลกระทบโดยตรง เพียงอย่างเดียวเท่านั้น จึงไม่ใช่การพิจารณาที่ตรงตามเจตนารมณ์ตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เพราะหากถือเอาเกณฑ์เรื่องประโยชน์เกี่ยวข้องหรือ ส่วนได้เสียเป็นหลักว่า เมื่อใดมีการกระทบกระเทือนต่อประโยชน์เกี่ยวข้องหรือส่วนได้เสีย ก็ฟ้องคดีได้ และระดับของประโยชน์ที่เกี่ยวข้องหรือส่วนได้เสียนั้น ก็ยืดหยุ่นตามลักษณะ คดีที่นำมาฟ้องคดี ดังนั้น คดีนี้ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบจึงเป็นผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องทั้งทางตรง และทางอ้อม และลักษณะคดีนี้เป็นการขอเพิกถอนกฎหรือคำสัง่ ซึ่งหากศาลพิจารณาว่า ผู้ฟ้องคดีทัง้สิบซึ่งเป็นสมาชิกของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ โดยตรงตามกฎหมายไม่เป็นผู้มีประโยชน์ เกี่ยวข้องแล้ว จะทำให้ศาลเองไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของกฎ หรือระเบียบที่ออกโดยหน่วยงานทางปกครองได้อีกต่อไป และคงต้องรอให้เกิดผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจและระบบการศึกษาขึ้นมาก่อน ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ และต่อผู้ศึกษาในคณะเภสัชศาสตร์จนอาจทำให้ประเทศไทยหมดสิ้นอิสรภาพในการศึกษา ด้านเภสัชศาสตร์และต้องไปขึ้นตรงต่อประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ เท่ากับทำลาย อำนาจการปกครองของประเทศโดยทางอ้อมเช่นกัน โดยที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบขอใช้อำนาจฟ้องคดีนี้ตามมาตรา ๗๑ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่วางหลักการใหม่ให้ประชาชนต้องมีหน้าที่ รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ซึ่งถือได้ว่ารัฐธรรมนูญได้วางหลักคำว่า หน้าที่ ให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของชาติ ดังนั้น ประชาชนไม่ว่าจะเป็นผู้ใด หากรับทราบว่ามีการกระทำให้ประเทศชาติสูญเสียผลประโยชน์ก็ต้องดำเนินการตาม กฎหมายทุกครัง้ มิฉะนั้น จะเป็นผู้ขัดขวางและละเมิดรัฐธรรมนูญ เท่ากับเป็นผู้กระทำผิด กฎหมายเสียเองและอาจกลายเป็นผู้ต้องหาในฐานะที่ไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ อีกประการหนึ่ง เนื่องจากศาลปกครองชั้นต้นมีคำสัง่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ทำให้คำร้อง ขอบรรเทาทุกข์ชัว่คราวก่อนมีคำพิพากษาต้องตกไปด้วย ผู้ฟ้องคดีจึงขอให้ศาลปกครองสูงสุด ได้โปรดพิจารณาคำร้องขอบรรเทาทุกข์ชัว่คราวก่อนมีคำพิพากษาและมีคำสัง่ให้มีการระงับ การใช้ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าวไว้เป็นการชัว่คราวต่อไปด้วย /ศาลปกครองสูงสุด...
  • 9. ๙ ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีมีประเด็นต้องพิจารณาว่า ศาลปกครอง จะรับคำฟ้องนี้ไว้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสัง่ได้หรือไม่ เห็นว่า โดยที่มาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติว่า ผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขต อำนาจศาลปกครองตามมาตรา ๙ และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรือยุติข้อโต้แย้งนั้นต้องมีคำบังคับตามที่กำหนดในมาตรา ๗๒ ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดี ต่อศาลปกครอง บทบัญญัติแห่งกฎหมายนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่จะมีสิทธิฟ้องคดีพิพาท เกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสัง่ หรือการกระทำอื่นใด ต้องเป็นบุคคลที่สิทธิของตน ถูกกระทบกระเทือนหรืออาจถูกกระทบกระเทือนโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากกฎ คำสัง่ หรือ การกระทำนั้น และต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะได้รับความ เดือดร้อนหรือเสียหายโดยตรงและเป็นการเฉพาะตัว จากกฎ คำสัง่ หรือการกระทำที่เป็น เหตุแห่งการฟ้องคดี ไม่ใช่ว่าบุคคลใดก็ได้ที่เห็นว่ากฎ คำสัง่ หรือการกระทำนั้นไม่ชอบ ด้วยกฎหมายจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนกฎ คำสัง่ หรือห้ามการ กระทำ นั้นได้ ดังนั้น เมื่อข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยการรับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชาเภสัชศาสตร์ หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๔ กำหนดว่า“หลักสูตร ๖ ปี ” หมายความว่า หลักสูตรเภสัชศาสตร์ที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์ของหลักสูตรที่มีจำนวนหน่วยกิต ที่ใช้ระยะเวลาทำการศึกษาเทียบเท่า ๖ ปี ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กำหนดและตามที่กำหนดในข้อบังคับนี้ รวมทั้งประกาศที่เกี่ยวข้อง และข้อ ๕ วรรคสาม กำหนดว่า ตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป สภาเภสัชกรรมจะให้การรับรอง เฉพาะปริญญาที่เกิดจากหลักสูตรที่มีมาตรฐานตามหลักเกณฑ์ของหลักสูตร ๖ ปี จึงเห็นได้ว่า ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าวจะมีผลบังคับเฉพาะผู้ที่สำเร็จการศึกษาตัง้แต่ ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๗ ที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และประสงค์ ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมตามมาตรา ๑๒ และ /มาตรา ๑๓...
  • 10. ๑๐ มาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ซึ่งสำเร็จการศึกษาและได้รับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมอยู่ก่อนแล้วตามกฎหมาย โดยยังคงเป็นสมาชิกของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมอยู่เช่นเดิม แม้จะมีการประกาศใช้ ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๑ แล้วก็ตาม การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทัง้สามในการออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยการรับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชาเภสัชศาสตร์หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือ หน้าที่ของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบโดยตรงและเป็นการเฉพาะตัวแต่อย่างใด ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบจึงมิใช่ ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามต่อศาลได้ ตามนัย มาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สำหรับกรณีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบอุทธรณ์ว่า การออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ดังกล่าวส่งผลต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสิบโดยตรง ในฐานะคณาจารย์เภสัชศาสตร์ที่เป็นผู้ปฏิบัติ ซึ่งต้องมีส่วนร่วมในการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามรายละเอียดที่กำหนดตามข้อบังคับ สภาเภสัชกรรมดังกล่าว ได้รับผลกระทบต่อภาระการจัดการเรียนการสอนที่ต้องถูกบังคับ ให้เปลี่ยนแปลงอย่างเร่งรีบ เป็นการเพิ่มภาระในการประสานงานและจัดเตรียมแหล่งฝึก นอกสถาบันการศึกษา รวมทั้งการพัฒนาข้อตกลงด้านการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ และผู้ฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นกรรมการประจำคณะเภสัชศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาหลักสูตรเพื่อเสนอต่อสภา มหาวิทยาลัย จึงเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าว และ ผู้ฟ้องคดีทัง้สิบได้อ้างข้อเท็จจริงและเหตุผลอื่นๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย เช่น ประเทศไทยมีสถานที่ฝึกงานเอกชนที่มีมาตรฐานหรือโรงงานยาน้อยมาก ทำให้นักศึกษาต้องเสียโอกาสไป ๑ ปี โดยไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่ได้ ผู้ฟ้องคดีอาจต้องตกเป็น ผู้ต้องถูกฟ้องฐานละเมิด ทั้งยังส่งผลกระทบต่อบุตรหลานของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบซึ่งหาก ตัดสินใจเลือกเรียนหลักสูตรเภสัชศาสตร์จะมีทางเลือกน้อยลง มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ผู้ฟ้องคดีบางรายมีร้านขายยาของตนเอง หากต้องว่าจ้างเภสัชกรเป็นผู้ช่วยเหลือก็ต้อง แบกรับค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้างเพิ่มขึ้น เป็นต้น เห็นว่า ข้ออ้างเหล่านั้นหาใช่ผลกระทบต่อสิทธิ /หรือ...
  • 11. ๑๑ หรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบโดยตรงและเป็นการเฉพาะตัวไม่ อุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีไม่มี เหตุผลเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลปกครองชั้นต้น เมื่อได้วินิจฉัยเช่นนี้แล้ว จึงไม่จำต้องพิจารณาคำขอของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบที่ขอให้ศาลมีคำสัง่ให้ทุเลาการบังคับตามกฎ ดังกล่าวอีกต่อไป ดังนั้น การที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสัง่ไม่รับคำฟ้องนี้ไว้พิจารณาและให้ จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย จึงมีคำสัง่ยืนตามคำสัง่ของศาลปกครองชัน้ต้น นายปรีชา ชวลิตธำรง ตุลาการเจ้าของสำนวน ตุลาการศาลปกครองสูงสุด นายจรัญ หัตถกรรม ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด นายเกษม คมสัตย์ธรรม ตุลาการศาลปกครองสูงสุด นายไพบูลย์ เสียงก้อง ตุลาการศาลปกครองสูงสุด นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ตุลาการศาลปกครองสูงสุด วันที่อ่าน ๓๐ เมษายน ๒๕๕๒ นาลิณี : ผู้พิมพ์