SlideShare a Scribd company logo
1 of 19
Download to read offline
คีตกวีเอกของไทย
ประวัติคีตกวีไทย
พระยาประสานดุริยศัพท์
พระยาภูมีเสวิน
พระยาเสนาะดุริยางค์
พระประดิษฐ์ไพเราะ
พระเจนดุริยางค์
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ
หลวงไพเราะเสียงซอ
ครูช้อย สุนทรวาทิน
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริสรานุวัดติวงค์
พระยาประสานดุริยศัพท์
พระยาประสานดุริยศัพท์ มีนามเดิมว่า แปลก ประสานศัพท์ เกิดเมื่อวันอังคาร แรม ๔ ค่่า เดือน ๑๐ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๔
กันยายน พ.ศ.๒๔๐๓ ที่บ้านเลขที่ ๘๑ ตรอกไข่ ถนนบ่ารุงเมือง ต่าบลหลังวัดเทพธิดา หลังวังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระสมมตอมรพันธ์ เป็นบุตรคนโตของขุนกนกเลขา (ทองดี) และนางนิ่ม พระยาประสานดุริยศัพท์ มีน้อง ๔
คน เรียงตามล่าดับถัดจากท่าน ดังนี้ คือ
๑. ชาย “เปลี่ยน”
๒. ชาย “แย้ม” (พระพิณบรรเลงราช)
๓. หญิง “สุ่น” (ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเล็ก)
๔. หญิง “นวล” (ภายหลังใช้นามสกุลพงศ์บุปผา)
การศึกษาวิชาสามัญนั้น ท่านมิได้เข้าเรียนที่ใด แต่เรียนที่บ้านตนเองจนอายุได้ ๑๘ ปี ส่าหรับวิชาดนตรีไทยนั้น
ได้เรียนปี่ชวากับครูชื่อ “หนูด่า” ส่วนวิชาดนตรีปี่พาทย์อื่นๆ รวมทั้งปี่ใน ปี่นอกนั้น
ได้ศึกษาจริงจังกับครูช้อย สุนทรวาทิน ผู้เป็นบิดาของพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน)
ครูช้อย สุนทรวาทินนั้น ท่านรักใคร่ในตัวพระยาประสานดุริยศัพท์มาก เพราะว่า
พระยาประสานดุริยศัพท์ เป็นศิษย์ที่มีความขยันหมั่นเพียร มีฝีมือในทางดนตรี อีกทั้งเป็นผู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดในการแ
ต่งเพลงด้วย ดังนั้น ครูช้อย สุนทรวาทิน จึงได้พยายามพร่่าสั่งสอนและถ่ายทอดวิชาความรู้ทางดนตรีเท่าที่มีอยู่
ให้แก่พระยาประสานดุริยศัพท์ ผู้เป็นศิษย์อย่างเต็มที่ จนกระทั่งพระยาประสานดุริยศัพท์กลายเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดค
น หนึ่งของเมืองไทย
พระยาประสานดุริยศัพท์ เป็นครูดนตรีที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนโดยทั่วไปในนาม “ครูแปลก”
ได้ด่าเนินอาชีพด้วยการเป็นครูดนตรีเรื่อยมา บ้านของท่านตั้งอยู่หลังตลาดประตูผีติดกับวัดเทพธิดาราม ในสมัยรัชกาลที่ ๕
เจ้านายต่างก็มีวงปี่พาทย์มโหรี และเครื่องสายกันหลายพระองค์ ทั้งนี้เพื่อใช้ในการบรรเลงขับกล่อมในยามว่าง
หรือเมื่อมีงานส่าคัญๆก็มักจะน่าวงดนตรีมาบรรเลงประชันกัน ปัจจุบันได้ขายให้คนอื่นไปแล้ว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงด่ารงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร
พระองค์ท่านมีพระราชประสงค์จะใคร่มีวงปี่พาทย์ส่วนพระองค์ขึ้นและได้ทูลขอวงปี่พาทย์จากสมเด็จพระราชชนนี
(สมเด็จพระพันปีหลวง) สมเด็จพระราชชนนีของพระองค์ก็ได้โปรดประทานให้มาหมดทั้งเครื่องดนตรีและนักดนตรี
การที่เจ้านายต่างๆทรงมีวงปี่พาทย์ส่วนพระองค์ขึ้น นอกจากจะทรงมีไว้เพื่อใช้บรรเลงขับกล่อมยามว่างพระธุระแล้ว ยังเป็นสิ่
งประดับพระบารมีอีกด้วย ยิ่งกว่านี้เมื่อมีงานส่าคัญๆก็มักจะน่าวงดนตรีมาบรรเลงประชันขันแข่งกัน เจ้านายที่ทรงเป็นเจ้าขอ
งวง จึงต้องหาครูบาอาจารย์ที่ปรีชาสามารถไว้ปรับปรุงวงดนตรีของตนเพื่อมิให้น้อยหน้ากันได้ และวงปี่พาทย์ในพระบาทสมเ
ด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งคนทั่งไปนิยมเรียกกันว่า “วงสมเด็จพระบรมฯ”
ก็ได้ครูแปลก ประสานศัพท์ ครูดนตรีที่มีชื่อเสียงยิ่งไว้เป็นครูผู้ฝึกสอนและควบคุม
พระยาประสานดุริยศัพท์ เป็นครูดนตรีที่มีทั้งฝีมือและสติปัญญา ท่านสามารถบรรเลงเครื่องดนตรีได้แทบทุกชนิด และที่ถนัด
ที่สุดได้แก่ ปี่ในและระนาดเอก ซึ่งเป็นที่ร่่าลือในหมู่นักดนตรีผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ก็ได้แก่พระยาประสานดุริยศัพท์นั่นเอง
เพื่อเลือกเป็นครูสอนดนตรีให้แก่หลวงประดิษฐไพเราะในครั้งนั้น
ในการที่พระยาประสานดุริยศัพท์ได้ไปเป็นครูสอนดนตรีให้แก่หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
คุณครูหลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน) ท่านได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า
“เนื่องจากหลวงประดิษฐไพเราะ เป็นผู้ที่มีฝีมือทางระนาดเอกดีอยู่แล้ว ในการที่เจ้าคุณครูไปสอนท่าน
สอนเฉพาะเกี่ยวกับไหวพริบ วิธีการในการบรรเลงเป็นส่วนมาก โดยท่านได้ให้หลวง
ประดิษฐไพเราะ ตีเพลงต่างๆให้ฟัง แล้วท่านเจ้าคุณครูก็ตรวจดูว่าลูกใดไม่ดี ท่านก็บอกลูกใหม่ให้แทน
เอาของเก่าตรงที่ไม่ดีนั้นออก”
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ราว พ.ศ. ๒๔๒๘ ขณะนั้นท่านมีอายุราว ๒๕
ปี รัฐบาลอังกฤษได้มีหนังสือเชิญมายังรัฐบาลไทยให้ส่งนาฏศิลป์และดนตรีไทยไปแสดง ณ
ประเทศอังกฤษและยุโรป ในครั้งนี้ทางวังบูรพาภิรมย์เป็นผู้จัดส่งไป นักดนตรีได้ไปแสดงในครั้งนั้น ก็ได้แก่พระยาประสานดุริ
ยศัพท์ เป่าปี่ใน ครูคร้าม ตีระนาด เป็นต้น ผลงานการบรรเลงเดี่ยวของพระยาประสานฯ
เป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นที่ยิ่ง
ถึงกับทรงรับสั่งขอฟังการเป่าขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์อีกครั้งในพระราชวังบัคกิ้งแฮม การบรรเลงครั้งหลังนี้
สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียทรงลุกจากพี่ประทับ และใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯ
พร้อมทั้งมีรับสั่งถามว่าเวลาเป่านั้น
หายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดหายแม้ชั่วขณะ เป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่ง
นับเป็นเกียรติประวัติอย่างสูงแก่วงการดุริยางค์ไทย
พระยาประสานดุริยศัพท์เป็นครูดนตรีที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ถ้าจะกล่าวแล้ว ก็ได้แก่นักดนตรีทั้งหลายที่รับราชการในกรม
พิณพาทย์หลวงนั้นเอง ซึ่งได้แก่ พระประดับดุริยกิจ (แหยม วีณิน) พระเพลงไพเราะ
(โสม สุวาทิต) หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) หลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน) ตราโมทและครูเฉลิม บัวทั่ง
เป็นต้น พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ครูมนตรี
พระยาประสานดุริยศัพท์ได้แต่งเพลงไว้เป็นจ่านวนมาก ได้แก่
ประเภทเพลงเถา เช่น
เพลงเขมรปากท่อ เถา
เพลงประพาสเภตรา เถา
เพลงอาถรรพ์ เถา
เพลงสามไม้ใน เถา
ประเภทเพลงสามชั้น เช่น
เพลงเขมรใหญ่
เพลงดอกไม้ไทร
เพลงถอนสมอ
เพลงทองย่อน
เพลงเทพรัญจวน
เพลงนารายณ์แปลงรูป
เพลงคุณลุงคุณป้า
เพลงพราหมณ์เข้าโบสถ์
เพลงธรณีร้องไห้
เพลงแขกเห่
เพลงอนงค์สุชาดา
เพลงย่องหงิด
เพลงเขมรราชบุรี
เพลงพม่าห้าท่อ
ประเภทเพลงสองชั้น เช่น
เพลงลาวค่าหอม
เพลงลาวด่าเนินทราย
ชีวิตครอบครัวของพระยาประสานดุริยศัพท์
ท่านได้แต่งงานกับนางสาวพยอม ชาวจังหวัดราชบุรี มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น ๑๑ คน แต่ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเล็ก ๖
คน จึงเหลืออยู่ ๕ คน เรียงตามล่าดับจากคนโตลงมาดังนี้
๑.หญิง มณี ประสานศัพท์ (มณี สมบัติ)
๒.หญิง เสงี่ยม ประสานศัพท์ (นางตรวจนภา พวงดอกไม้)
๓.หญิง ประยูร ประสานศัพท์
๔.ชาย ปลั่ง ประสานศัพท์ (ขุนบรรจงทุ้มเลิศ)
๕.หญิง ทองอยู่ ประสานศัพท์ (นางอินทรรัตนากร อินทรรัตน์)
ปัจจุบันนี้ ยังคงเหลืออยู่เพียง ๒ คน คือ ขุนบรรจงทุ้มเลิศและนางอินทรรัตนากร
ขุนบรรจงทุ้มเลิศ
(ปลั่ง ประสานศัพท์) เป็นผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาการดนตรีจากท่านบิดาได้มาก ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ กับทั้งเป็นผู้ที่มีค
วามจ่าดี ในเวลาต่อมาก็ได้รับราชการในกรมพิณพาทย์หลวงด้วย
พระยาประสานดุริยศัพท์ เป็นผู้ที่ประสบความส่าเร็จรุ่งโรจน์ในชีวิตราชการ เป็นบุคคลที่มีเกียรติยศชื่อเสียง มีต่าแหน่งสูง ได้
เป็นถึงพระยาและเป็นถึงเจ้ากรมพิณพาทย์หลวง ในรัชกาลที่
๖ แม้กระนั้นก็ตาม ฐานะทางครอบครัวของท่านใช่ว่าจะร่่ารวยเป็นเศรษฐีก็หาไม่ แต่อยู่ในระดับพอมีพอกินและค่อนข้างยาก
จนมากกว่า
เนื่องจากพระยาประสานดุริยศัพท์ ท่านต้องตรากตร่าท่างานในหน้าที่ด้วยความเอาใจใส่ ประกอบกับอายุของท่านก็มากขึ้น
ท่านจึงล้มเจ็บลงและถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ สิริรวมอายุ ๖๕ ปี
พระยาภูมีเสวิน
พระยาภูมีเสวิน มีนามเดิมว่า จิตร จิตตเสวี เกิดเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๔๓๗ ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๑๐ ค่่าเดือน ๗ ปีมะเมีย ณ
ต่าบลคลองชักพระ อ่าเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี อยู่บ้านเลขที่ ๙๒ ถนนวัดราชาธิวาส อ่าเภอ ดุสิต จังหวัด กรุงเทพมหานคร
ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ของหลวงคนธรรพวาที (จ่าง จิตตเสวี) ผู้เป็นบิดา และนางคนธรรพวาที (เทียบ จิตตเสวี)
พี่น้องของท่านมีอยู่ด้วยกัน ๕ คน
ท่านได้เรียนซอด้วงจากหลวงคนธรรพวาทีผู้เป็นบิดาเมื่ออายุได้ ๖ ขวบ และมีความสามารถออกวงได้เมื่ออายุ ๘ ขวบ
จากนั้นท่านยังได้หัดดนตรีไทยประเภทอื่นๆ กับครูอาจารย์อีกหลายท่าน อาทิเช่น เรียนปี่ชวากับครูทอง
เรียนกลองแขกกับครูมั่ง นอกจากนั้นยังได้ศึกษาดนตรีต่างๆกับครูแป้น ครูพุ่ม และ ครูสอน(บางขุนศรี) ต่อมาได้มาเรียนกับ
ม.จ. ประดับ เมื่อสิ้น ม.จ.ประดับแล้วจึงได้มาเรียนจะเข้กับขุนประดับ ครูอ่วม และขุนเจริญดนตรีการ (นายดาบเจริญ
โรหิตโยธิน) จนสามารถเล่นดนตรีได้รอบวง ที่ช่านาญพิเศษคือ เครื่องสายทุกชนิด
ขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงพระราชอิสรยศักดิ์เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชได้ทรงตั้งวง
มโหรีปี่พาทย์ขึ้น ท่านจึงได้เข้าไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กแผนกมหรสพในต่าแหน่งประจ่ากองดนตรีกรม มหาดเล็กกระทรวงวัง
ได้รับพระราชทานยศเป็นสองตรี เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๙ ในระยะนี้เอง
ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของบรมครูอีกผู้หนึ่งคือ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)
ซึ่งท่านเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง และพระยาประสาน ดุริยศัพท์ ก็รักใคร่ในตัวท่านมาก เพราะเป็นศิษย์ที่มีความขยันหมั่นเพียร
เป็นผู้มีฝีมือและสติปัญญาเฉลียวฉลาดในทางดนตรีเป็นอย่างดีเยี่ยม พระยาประสานฯ
จึงได้พยายามพร่่าสอนและถ่ายทอดวิชาความรู้ทางดนตรีให้แก่ท่าน โดยเฉพาะ ระนาด และ ฆ้อง จนมีความช่านาญ
บรรเลงเดี่ยวฆ้องเล็กได้ และชนะเลิศในการประชันวง เมื่อคราวเสด็จตามพระบรมโอรสาธิราช (รัชกาลที่๖) ไปภาคใต้
ยังความปลื้มปิติยินดีแก่พระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง พร้อมกับได้รับพระราชทานเหรียญที่ระลึกปักษ์ใต้ ในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.
๒๔๕๒ ซึ่งขณะนั้นท่านอายุได้เพียง ๑๕ ปี
ขณะที่ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยามานพนริศร์
นับว่าเป็นคุณประโยชน์แก่ชาตินานับประการทางด้านศิลปะ ดนตรีไทย
นั่นคือท่านได้รับแนะน่าและขอร้องจากพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)
ให้ไปเรียนซอสามสายกับเจ้าเทพสุกัญญา (ณ เชียงใหม่) บูรณะพิมพ์ ซึ่งทั้งเจ้าคุณประสานฯ และเจ้าเทพฯ
ก็ช่วยกันสอนและถ่ายทอดวิชาซอสามสายให้เป็นระยะเวลา ๙ ปี ซึ่งประยาประสานฯ ได้เคยกล่าวกับท่านว่า
“ถ้าไม่เรียนซอสามสายไว้ ต่อไปอาจจะสูญ คุณหลวงนายมีนิสัยสุภาพ และมีความพยายามดี ทั้งเป็นผู้ที่มีความกตัญญูกตเวที
เคารพครูอาจารย์ เป็นอย่างสูง ขอให้เรียนซอสามสายไว้ เพื่อจะได้ สั่งสอนอนุชนรุ่นหลังต่อไป”
เมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๖๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาภูมีเสวิน
ในกระบวนเครื่องดนตรีไทย ย่อมเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ซอสามสายเป็นเครื่องดนตรีที่หาได้ยากที่สุด
และที่จะให้มีกลเม็ดเด็ดพราย ไพเราะเพราะพริ้ง ก็ยากขึ้นไปอีก แต่ท่านก็ไม่ย่อท้อต่อความเป็นจริงเหล่านี้เลย
และในที่สุดท่านก็ได้บรรลุถึงความเป็นเอกในทางซอสามสาย จนเป็นที่ปรากฏว่าท่านสีซอสามสายได้ไพเราะที่สุด แม้แต่ซอด้วง
ซออู้ รวมถึงขลุ่ย ท่านก็บรรเลงได้จับใจยิ่ง ชื่อเสียงในทางการบรรเลงดนตรีของท่านนั้นเลื่องลือไปทั่วประเทศ
เนื่องจากท่านบรรเลงออกอากาศ ณ กรมประชาสัมพันธ์อยู่เป็นประจ่า นอกจากฝีมือในการบรรเลงดนตรีดังกล่าวมาแล้ว
พระยาภูมีฯ ยังมีความสามารถในทางนาฏศิลป์เป็นอย่างมากด้วย โดยเป็นศิษย์ของพระยาพรหมา (ทองใบ)
พระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี) และคุณหญิงเทศ โดยท่านได้แสดงโขนเป็นตัวอินทรชิตหลายครั้ง
ในปีที่ท่านได้รับพระราชทานยศเป็นพระยาภูมีเสวินนี้เอง
ท่านก็ประสบกับความเศร้าสลดอย่างสุดซึ้งด้วยเหตุที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
พร้อมกันนั้นท่านก็ถูกปลดออกจากเบี้ยหวัดที่เคยได้รับพระราชทาน
แต่ก็อาจเป็นเพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยพระราชปรารภ ไว้ว่า “แม้สิ้นแผ่นดินของข้าแล้ว
ใครจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไป เขาก็คงชุบเลี้ยงก็อาจเป็นได้”
ดังนั้น ในวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๔๗๘ ท่านจึงเข้ารับราชการที่กรมศิลปากร ในต่าแหน่ง เจ้าพนักงานกลางแผนกละครและสังคีต
ท่าหน้าที่เหมือนเลขาธิการของอธิบดี ซึ่งท่าหน้าที่เกี่ยวกับรายการบันเทิงทางวิทยุกระจายเสียง
ติดต่อเจ้าหน้าที่ส่านักพระราชวังเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการเมื่อมีการแสดงโขน ละครดนตรี นอกจากนั้นท่านยังร่วมกับกรมศิลปากร
ปรับปรุงพระราชพิธี และงานด้านต่างๆ
ท่านได้เริ่มงานดนตรีขึ้นอีกครั้งหนึ่งด้วยเวลานั้นสถานีวิทยุกระจายเสียง แห่งประเทศไทย ซึ่งมีคุณ ชวาลา
(หัวหน้ากองการหนังสือพิมพ์) และคุณ อ่าพัน (หัวหน้ากองการกระจายเสียง) ได้มาเรียนเชิญท่านไปปรึกษาวิธีการ
ที่จะปรับปรุงและสนับสนุนเพลงไทยในรายการวิทยุ และขอร้องให้ท่านเขียนค่าบรรยายพร้อมทั้งบรรเลงเพลงดนตรีไทย
ประเภทต่างๆเป็นประจ่าทุกอาทิตย์ เมื่อรายการของท่านได้เผยแพร่ออกสู่ประชาชนมากขึ้น
ก็ท่าให้ชื่อเสียงของท่านขจรขจายมากขึ้น เช่นเดียวกัน จากฝีมือซึ่งเป็นหนึ่งของท่านทั้งซอสามสาย
และขลุ่ยคราใดที่มีการประกวดมโหรีปี่พาทย์ และการขับร้องเพลงไทย ท่านก็ได้รับเชิญเป็นกรรมการตัดสินทุกครั้ง
และยังได้เป็นกรรมการ จัดรายการวิทยุในสมัยที่วิทยุกระจายเสียงยังขึ้นอยู่กับกรมไปรษณีย์ อีกด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ระลึกคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ท่านก็บรรเลงเพลงซอสามสาย
เพลงพญาโศกในรายการวิทยุกระจายเสียง หลายท่านเมื่อได้ฟังถึงกับน้่าตาไหล ด้วยท่าให้หวนระลึกถึงพระองค์ท่าน
อันฝีไม้ลายมือของพระยาภูมีฯ นั้นเป็นที่เลื่องลือไปถึงพระกรรณของเจ้านายผู้หญิงในรัชกาลที่ ๗
ถึงกับทรงขอดูตัวเนื่องจากเป็นที่เลื่องลือกันว่า รูปงามและมีฝีมือเป็นเอก ดังนั้นกรมหลวงลพบุรีราเมศร์ (สมเด็จชาย)
จึงได้ทรงน่าตัวเข้าเฝ้าบรรเลงถวายในวังสวนสุนันทา นอกจากนี้
ชาวบ้านร้านถิ่นที่ชอบดนตรีมีหลายคนหาท่านถึงบ้านและได้เชิญท่านไปแสดงตาม หัวเมือง เช่น ที่ฉะเชิงเทรา
และที่ต่าบลบางช้าง สมุทรสงคราม ฯลฯ จากนั้นเป็นต้นมา
ท่านก็ยอมรับค่าเชิญจากสถาบันการศึกษาต่างๆไปช่วยฝึกสอนดนตรีแก่เด็กๆ อาทิเช่น โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม
โรงเรียนเพาะช่างครุสภา วิทยาลัยวิชาการศึกษา (ประสานมิตร,ปทุมวัน) เป็นต้น
หลังจากที่ท่านได้ครบเกษียณอายุราชการแล้วท่านยังอุตสาห์สอนดนตรีให้แก่ สถาบันต่างๆอยู่เป็นนิตย์
ท่านตรากตร่าท่างานทางด้านนี้มาก เพื่อที่จะถ่ายทอดวิชาด้านดนตรีให้แก่ผู้สนใจ ที่จะช่วยท่านุบ่ารุงไว้
จะกลับมาถึงบ้านก็ราว ๕ ทุ่ม สองยามทุกวัน นอกจากนั้นในวันเสาร์ อาทิตย์ ก็ยังมีคนมาเรียนกับท่านถึงที่บ้านอีกมาก
ไม่มีเวลาพักผ่อนเต็มที่ แต่ท่านไม่เคยบ่น ท่านยังกลับพูดเสียอีกว่า คราใดที่มีคนมาเยี่ยมมาฝึกดนตรีกับท่านแล้ว
ถือว่าเป็นการพักผ่อนอย่างดีเยี่ยม ซึ่งดีกว่านั่งๆนอนๆ อยู่เฉยๆ
พระยาภูมีฯ มีลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงทางด้านฝีมือการดนตรีอยู่หลายท่าน ได้แก่ ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ รศ.อุดม อรุณรัตน์
ดร.ณัชชา พันธุ์เจริญ อาจารย์เฉลิม ม่วงแพรศรี และคุณศิริพรรณ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้เป็นหลานตา เป็นต้น
ผลงานด้านการแต่งเพลง ปรากฏผลงานเพลงที่ท่านแต่งไว้หลายเพลง ได้แก่ เพลงสอดสี เถา (พ.ศ. ๒๕๐๓) โหมโรงภูมิทอง
สามชั้น (แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยดัดแปลงมาจากเพลงนกกระจอกทอง สองชั้น) และจ่าปาทอง เถา (พ.ศ. ๒๕๑๘)
ทั้งยังได้ประดิษฐ์ทางบรรเลงเดี่ยวซอสามสายเอาไว้หลายเพลง ได้แก่ ต้นเพลงฉิ่ง ขับไม้บัณเฑาะว์ ทะแย นกขมิ้น ปลาทอง
บรรทมไพร พญาครวญ พญาโศก แสนเสนาะ ทยอยเดี่ยว เชิดนอก และกราวใน เถา
และนอกจากในฐานะครูดนตรีแล้ว พระยาภูมีฯ ยังเป็นนักค้นคว้าและขยันบันทึกไว้ด้วย สิ่งที่ท่านบันทึกไว้นั้น
ได้กลายเป็นหลักฐานส่าคัญทางประวัติศาสตร์ อาทิเช่น ประวัติพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)
ประวัติผู้เชี่ยวชาญการสีซอสามสายในสมัยรัตนโกสินทร์ และหลักการสีซอสามสาย ซึ่งเป็นต่าราดนตรีไทยที่ดีมาเล่มหนึ่ง
โดยท่านได้บรรยายไว้โดยละเอียดถึงการใช้คันชัก การใช้นิ้ว
และยังได้บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับพระราชพิธีเห่กล่อมพระบรรทมไว้ด้วย
พระยาภูมีเสวินได้บรรเลงดนตรีออกงานครั้งสุดท้ายเมื่ออายุประมาณ ๘๐ ปี ณ โรงละครแห่งชาติ กรมศิลปากร
โดยบรรเลงร่วมกับหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน) เพื่อนคู่หูของท่าน
ต่อมา เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๑๙ เวลาเช้า หลังจากที่ท่านได้จุดธูปสวดมนต์ไหว้พระเสร็จแล้ว ท่านก็เป็นลมแน่นิ่งไป
ภรรยาและบุตรของท่านก็ช่วยกันพาส่งโรงพยาบาลวชิระ ซึ่งระยะทางจากบ้านของท่านถึงโรงพยาบาล รถวิ่งไม่เกิน ๕ นาที
แต่อย่างไรก็ตามขณะที่พาท่านส่งโรงพยาบาลนั้นเป็นช่วงระยะเวลาที่การจราจร ติดขัดมาก
กว่าจะพาท่านมาถึงโรงพยาบาลเสียเวลาไปเกือบ ๒๐ นาที ซึ่งหมอลงบันทึกไว้ว่าท่านสิ้นใจก่อนจะมาถึง
สุดความสามารถของหมอที่จะช่วยได้ สิริรวมอายุได้ ๘๒ ปี
พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน)
พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน)
เป็นบุตรคนโตของครูช้อย และนางไผ่ สุนทรวาทิน ได้ฝึกฝนวิชาดนตรี จากครูช้อย ผู้เป็นบิดา จนมีความแตกฉาน
ต่อมาเจ้าพระยาเทเวศน์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร) ได้ขอตัวมาเป็นนักดนตรีในวงปี่พาทย์ของท่าน ท่านเข้ารับราชการ
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนเสนาะดุริยางค์”
ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ต่าแหน่งเจ้ากรมพิณพาทย์หลวง จึงโปรดให้เลื่อนเป็น “หลวงเสนาะดุริยางค์”ในปีพ.ศ.๒๔๕๓
จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เลื่อนเป็น “พระเสนาะดุริยางค์” รับราชการในกรมมหรสพหลวง
และได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ด้วยความซื่อสัตย์ และมีความจงรักภักดี
ท่านจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาเสนาะดุริยางค์” ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับมอบหมายให้ควบคุมวงพิณพาทย์
ของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง วงพิณพาทย์วงนี้
นับได้ว่าเป็นการรวบรวมผู้มีฝีมือ ซึ่งต่อมาได้เป็นครูผู้ใหญ่ เป็นที่รู้จักนับถือโดยทั่วไป เช่น ครูเทียม คงลายทอง ครูพริ้ง
ดนตรีรส ครูสอน วงฆ้อง ครูมิ ทรัพย์เย็น ครูแสวง โสภา ครูผิว ใบไม ้ครูทรัพย ์นุตสถิตย ์ครูอรุณ กอนกุล ครูเชื้อ นักร้อง
และครูทองสุข ค่าศิริพระยาเสนาะดุริยางค
พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก)
พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก)
นามเดิม มี ดุริยางกูร คนทั่วไปมักเรียกท่านว่า ครูมีแขก เล่ากันว่า เมื่อคลอดออกมาใหม่ๆ มีสิ่งขาวๆ
ครอบอยู่บนศรีษะคล้ายๆ หมวกแขก เลยเรียก
มีแขก ต่อมาก็เป็นครูมีแขก บ้านเดิมท่านอยู่ในบริเวณสุเหร่าเหนือวัดอรุณราชวราราม
ครูมีแขก มีชีวิตอยู่ในรัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๕ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงประดิษฐ์ไพเราะ วันที่
๒๑ พฤศจิกายน ๒๓๙๖ ต่อมาในวันที่
๒๑ ธันวาคมปีเดียวกันท่านได้บรรเลงเพลงเชิดจีน ซึ่งแต่งไว้ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯและพระองค์ทรงโปรดปรา
นมาก ถึงกับได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระประดิษฐ์ไพเราะ ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ท่านเป็นหลวง เพียงเดือนเดียวเท่านั้น
พระประดิษฐ์ไพเราะ เป็นครูดนตรีไทยคนส่าคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 3-5 คนทั่วไปมักเรียกท่านว่า ครูมีแขก
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสืบประวัติไว้ว่า ครูปี่พาทย์ชื่อครูมีแขกนั้น คือเป็นเชื้อแขก ชื่อ”มี”
เป็นคีตกวีคนแรกที่น่าเพลง 2 ชั้น มาท่าเป็นเพลงสามชั้น มีความสามารถในการแต่งเพลง และฝีมือในทางเป่าปี่ เป็นเยี่ยม
โดยเฉพาะเพลงเด่นที่สุดคือ “ทยอยเดี่ยว” จนท่าให้ท่านได้รัมสมญานามว่า “เจ้าแห่งเพลงทยอย”
ซึ่งหมายถึงเพลงที่มีเทคนิคการบรรเลงและลีลาที่พิสดาร โดยเฉพาะลูกล้อ ลูกขัดต่างๆ อีกเพลงหนึ่งคือเพลง “เชิดจีน”
เป็นเพลงที่ให้อารมณ์สนุกสนาน มีลูกล้อลูกขัด ที่แปลกและพิสดาร ท่านแต่งบรรเลงถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ
ซึ่งได้รับการโปรดปรานมาก จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระประดิษฐ์ไพเราะ” ต่าแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็ก
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เป็นครูมโหรีของกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร นอกจากมีความสามารถในการเป่าปี่แล้ว
ครูมีแขกยังช่านาญในการสีซอสามสาย โดยได้แต่งเพลงเดี่ยวเชิดนอกทางซอสามสายไว้ด้วย
บทเพลงจากการประพันธ์ของท่านคือ เพลงจีนแส อาเฮีย แป๊ะ ชมสวนสวรรค์ การะเวกเล็ก แขกบรเทศ แขกมอญ ขวัญเมือง
เทพรัญจวน พระยาโศก จีนขิมเล็ก เชิดในสามชั้น (เดี่ยว) ฯลฯ
ผลงานของท่านเป็นมรดกของดนตรีไทยมีมากมาย พอสรุปได้ดังนี้
เป็นผู้ริเริ่มเอาเพลง ๒ ชั้น มาท่าเป็น ๓ ชั้น
ริเริ่มท่าเพลงเดี่ยวส่าหรับเครื่องดนตรี เพลงที่มีชื่อเสียงของท่านคือ ทยอยเดี่ยว
เป็นต้นฉบับเพลงทยอย เพลงทยอยเป็นเพลงที่มีเทคนิคการบรรเลงและลีลาที่วิจิตร
พิศดาร โดยประเภทลูกล้อ ลูกขัด เพลงประเภททยอยที่ส่าคัญ ซึ่งท่านแต่งไว้
คือ ทยอยนอก ซึ่งคงถือเป็นเพลงเอกของท่าน พระประดิษฐ์ไพเราะได้ประดิษฐ์เพลงนี้ขึ้นราวสมัยรัชกาลที่๔ ตอนต้นๆ
เหตุที่เรียกว่าทยอยนอกเป็นเพลงเอกก็เพราะ นอกเหนือจากความไพเราะแล้ว ท่านยังแทรกลูกเล่นไว้อย่างน่าฟัง มีทั้งเสียงห
นัก เสียงเบา ล้อกันไปมาตลอดเวลา ถ้านักดนตรีคนใดบรรเลงเพลงนี้ไม้ได้ถือกันว่าฝีมือยังไม่ถึงขั้น
ดัดแปลงท่านองเพลงจีนขึ้นเป็นเพลงไทย ส่าเนียงจีนคือเพลงจีนแส อาเฮีย แป๊ะและ
ชมสวนสวรรค์
บทเพลงอื่นของท่าน คือ การะเวกเล็ก แขกบรเทศ แขกมอญ แขกมอญบางช้างขวัญเมือง
พระยาโศก เทพรัญจวน พระอาทิตย์ชิงดวง ทยอยเขมร จีนเก็บบุผา จีนขิมเล็ก นอกจากผลงานดังกล่าวแล้ว ท่านยังเป็นค
รูสอนปี่พาทย์ให้กับเจ้านายในรัชกาลที่๔ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเองก็ทรงเรียนกับท่านในรัชกาลที่
๕ หลังจากท่านได้เป็นครูมโหรีของสมเด็จกรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูรไม่นานท่านก็ถึงแก่กรรม ท่านเป็นต้นสกุลของ ดุริยา
งกูร
พระเจนดุริยางค์
พระเจนดุริยางค์
นามเดิมปิติ วาทยากร เกิดเมื่อวันที่
๑๓ กรกฎาคม ๒๔๒๖ ต.บ้านทราย อ.ยานนาวาจ.พระนคร บิดาเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน ชื่อ จาคอบ
ไฟท์ มารดาเป็นคนไทย เชื้อสายมอญ ชื่อ ทองอยู่ วาทยากร บิดาของท่านได้เดินทางมาประเทศไทย
ในฐานะนักท่องเที่ยวและผจญภัย หลังจากที่ได้พักผ่อนและท่องเที่ยวอยู่ในประเทศไทย รู้สึกชอบเมืองไทยประกอบกับเป็นผู้ที่
มีความรู้และเชี่ยวชาญในทางดนตรีและขณะนั้นสมเด็จพระบัณฑูรกรมพระราชวังบวรมหาวิชัยชาญ(วังหน้า) ก่าลังต้องการครู
แตรวงจึงมีรับสั่งให้เข้ารับราชการเป็นครูแตรวงในราชส่านัก ต่อมาได้ย้ายมาประจ่าเป็นครูแตรวงทหารบก จนกระทั่งมรณะกร
รมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ ซึ่งขณะนั้นพระเจนอายุได้ ๒๖ ปี
พระเจนดุริยางค์ได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรกที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ตั้งแต่อายุได้ ๗ ขวบ เรียนอยู่ที่นี่เป็นเวลา 11
ปี ในขณะที่เรียนหนังสืออยู่นั้น บิดาของท่านได้สอนดนตรีให้ด้วย เป็นเหตุที่ท่าให้ท่านรักดนตรีและได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอ
งอยู่เสมอตลอดมา เมื่อส่าเร็จจากโรงเรียนอัสสัมชัญก็เป็นครูสอนภาษาอังกฤษอยู่ที่โรงเรียนนี้ 2
ปี แล้วลาออกไปเข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวง แผนกกองเดินรถได้รับพระราชทานสัญญาบัตร มีบรรดาศักดิ์และราชทินน
ามว่า “ขุนเจนรถรัฐ” รับราชการอยู่นาน 14 ปี
ในระหว่างที่ท่านรับราชการในกรมรถไฟหลวงนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
๖ ทรงทราบว่าท่านมีความสามารถในทางดนตรีอยู่มาก จึงรับสั่งให้ย้ายไปรับราชการกรมมหรสพ ต่าแหน่งผู้ช่วยปลัดกรม
หลังจากที่ได้เข้าประจ่ากรมมหรสพได้เดือนเศษ ท่านก็ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร มีบรรดาศักดิ์และราชทินนามว่า “หลว
งเจนดุริยางค์” และอีกปีต่อมา ก็ได้ เลื่อนต่าแหน่งเป็นปลัดกรมได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระเจน
ดุริยางค์” ในปี พ.ศ. ๒๔๖๕
ในระหว่างที่ท่านย้ายเข้าประจ่าอยู่ในกรมมหรสพ ท่านได้ฝึกสอนนักดนตรีในราชส่านัก จนสามารถเล่นดนตรีสากลได้ดีเยี่ยมใ
นสมัยนั้น หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ
เสด็จสวรรคต วงดนตรีสากลหรือวงดนตรีฝรั่งหลวง ต้องหยุดชะงักไปชั่วคราว และต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรง
มีพระมหากรุณาธิคุณเป็นองค์อุปถัมภ์ดนตรีสากล จึงได้ด่าเนินงานการบรรเลงเป็นปกติอีกครั้ง ในระยะนั้นมีเจ้านายบางท่าน
เกิดความรู้สึกต่อต้านไม่เห็นด้วย ท่านและคณะถูกกลั่นแกล้งต่างๆ นาๆ
นักดนตรีต้องได้รับความล่าบาก ทั้งในเรื่องการเงินและความเป็นอยู่ด้วยความอดทนของท่านและนักดนตรีทุกคนในวงก็พยาย
ามผนึกก่าลังโดยไม่ย่อท้อ วงดนตรีก็เข้มแข็งยิ่งขึ้นเป็นที่ถูกพระราชหฤทัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่
๗ ซึ่งไม่ทราบเรื่องที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด นักดนตรีก็ได้เงินเพิ่มขึ้น ตัวท่านเองก็ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาเป็นบ่าเหน็จ
ความชอบ
ในระหว่างที่เจ้านายหลายท่านมีความเห็นขัดแย้งในเรื่องการส่งเสริมดนตรีสากล
เพลงไทยที่ไหวตัวขึ้นมีการวางหลักบันทึกดนตรีสากลเพื่อรักษาหลักฐาน
และป้องกันการสูญหาย ซึ่งแต่เดิมนั้นเพลงไทยใช้ต่อกันโดยวิธีจดจ่าเป็นหลัก เมื่อนักดนตรีตายไปเพลงต่างๆ
ก็สูญหายไปด้วย งานบันทึกเพลงไทยด้วยโน้ตสากลได้เริ่มขึ้นในความอ่านวยการของสมเด็จกรมพระยาด่ารงราชานุภาพ ซึ่งมี
ท่านเป็นผู้วางหลักฐานการบันทึก
ในปี พ.ศ.
๒๔๗๗ กิจการของวงดนตรีสากลได้ย้ายไปสังกัดในกรมศิลปากรและกรมศิลปากรได้ส่งพระเจนดุริยางค์ไปดูงานดนตรีในต่าง
ประเทศ คือ ประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน ออสเตรียและอิตาลี เป็นเวลา 8 เดือน เมื่อกลับจากต่างประเทศแล้วใน ปี
พ.ศ.
๒๔๘๓ ได้ไปประจ่าอยู่กองทัพอากาศเพื่อจัดตั้งวงดนตรีของกองทัพอากาศขึ้น ต่อมากรมศิลปากรถูกตัดงบประมาณไปมาก
กิจการดนตรีสากลทรุดโทรม ท่านได้ลาออกจากหัวหน้ากองดุริยางค์ศิลป์
ไปเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดดนตรีสากล ภายหลังโรงเรียนฝึกหัดดนตรีเลิกล้มกิจการ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจ
ารย์ประจ่ามหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ท่านได้กลับเข้ารับราชการในกรมศิลปากรอีก จนกระทั่งถึง พ.ศ.
๒๔๙๗ รวมเวลาที่ท่านรับราชการในกรมมหรสพและกรมศิลปากรนานถึง
๓๗ ปี หลังจากที่ท่านออกจากราชการไปแล้ว ท่านก็ยังคงท่างานเป็นผู้เชี่ยวชาญของกรมศิลปากรต่อไปอีก
ในบั้นปลายชีวิตของท่านได้รับต่าแหน่งผู้อ่านวยการและผู้เชี่ยวชาญดนตรีประจ่ากองดุริยางค์กรมต่ารวจ ท่านได้แต่งเพลงแล
ะแยกเสียงประสาน
เพื่อใช้เล่นกับวงดุริยางค์สากลไว้มาก ล้วนแต่เพลงไพเราะ เช่น เพลงประกอบภาพยนต์เรื่องบ้านไร่นาเรา พระเจ้าจักรา และ
บทเพลงในมหาอุปรากรเรื่อง มหาดารตี นอกจากนั้นท่านได้ท่าเพลงไทยประสานเสียง ส่าหรับบรรเลงด้วย
วงดุริยางค์สากล เช่น เพลงเขมรไทรโค แขกเชิญเจ้า ต้นวรเชษฐ์ มหาฤกษ์ มหาชัย เป็นต้น
ในด้านต่ารา ท่านได้แต่งต่ารา หลักวิชาการดนตรีและขับร้องเล่ม 1-2-
3 แบบเรียนดุริยางค์ศาสตร์สากล แบบเรียนวิชาการประสานเสียง เล่ม 1 และ 2 และอื่นๆ
ท่านเป็นปรมาจารย์ทางดนตรี จนได้ชื่อว่า เป็นบิดาแห่งโน้ตสากล ท่านได้ถึงแก่กรรมเมื่อ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑
๑
ผลงานที่เป็นอมตะของท่าน คือ เพลงชาติไทย ซึ่งเราได้ฟังกันอยู่ทุกวันและตลอดไป
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ นามเดิม ศร ศิลปบรรเลง เกิดเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๔๒๔ ต.ดาวดึงส์ จ.
สมุทรสงคราม เป็นบุตรคนสุดท้องของนางยิ้มและนายสิน ศิลปบรรเลง ซึ่งคุณพ่อเป็นครูปี่พาทย์ ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดสมุทร
สงคราม เมื่อเด็กชาย ศร อายุ ๕ ขวบ
ก็สามารถตีฆ้องวงเป็นเพลงได้โดยไม่มีใครหัดให้แต่ยังไม่ได้สนใจจะหัดจริงจัง มารู้สึกประทับใจในเรื่องดนตรีไทยและเรียนเอา
จริงเอาจังเมื่ออายุ ๑๑ ขวบ เนื่องมาจากคราวที่โกนจุกตัวเอง บิดาท่านได้จัดเป็นงานใหญ่มี
ปี่พาทย์มาประชันวงกันหลายวงได้เห็นฝีมือความสามารถของดนตรีเหล่านั้น จึงได้เริ่มฝึกหัดกับบิดาตั้งแต่นั้นมาและอีกไม่นา
นนักก็ออกประชันวงได้
จากการได้ออกแสดงฝีมือบ่อยๆ
ท่าให้ชื่อเสียงของนายศรเป็นที่เลื่องลือในหมู่นักดนตรี โดยเฉพาะในงานโกนจุกเจ้าจอมเอิบและเจ้าจอมธิดาเจ้าพระยาสุรพันธ์
พิสุทธิ์ จังหวัดเพชรบุรี
ซึ่งเป็นงานใหญ่ ฝีมือตีระนาดของนายศร ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด ครั้งนี้เองได้ท่าให้น่าชื่อเสียงให้แก่นายศรเป็นอันมาก แ
ละอีกครั้งหนึ่งในงานประชันวงในงานปิตุฉา เจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
นายศรได้เดี่ยวระนาดเอกเพลงกราวในเถา เพลงที่เล่นยากมากและยาวถึง ๑
ชั่วโมง นายศรบรรเลงได้อย่างดียิ่ง สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติติวงศ์ ซึ่งเป็นนักดนตรีฝีมือเยี่ยมถึงกับประทานรางวัล
เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าภานุพันธุวงศ์วรเดช เสด็จไปบัญชาการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอม
เกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสถ้่าเขางู จังหวัดราชบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าวังบูรพาองค์นี้ได้ทรงทราบกิตติ -
ศัพท์ของนายศร จึงรับสั่งให้หาตัว เมื่อได้ทรงสดับฟังฝีมือของนายศรแล้ว ทรงพอพระทัยมาก ถึงกับทรงขอตัวจากบิดาท่านใ
ห้เข้าเป็นมหาดเล็กในพระองค์ นายศรจึงได้เข้ามาเป็นมหาดเล็ก จนได้ต่าแหน่งเป็นจางวางคือ
เป็นใหญ่ในบรรดามหาดเล็กอยู่ในวังบูรพาภิรมย์ ตั้งแต่เมื่ออายุได้เพียง ๑๙ ปี
ในระยะที่อยู่ในวังบูรพาภิรมย์นี้เอง ชื่อของจางวางศรและวงดนตรีบูรพาภิรมย์เป็นที่ยกย่องกันทั่วไป ทั้งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระ
ยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ก็โปรดทรงชุบเลี้ยงด้วยพระกรุณาเป็นอย่างยิ่ง ทรงอุปถัมภ์ให้อุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ๑
พรรษา โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระ-
ยาวชิรญาณวโรรสทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อจากนั้นทรงพระกรุณาแต่งงานให้กับ
น.ส.โชติ หุราพันธ์ ธิดาพันโทพระประมวญ ประมาณพล จางวางศรได้ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่สนองพระกรุณาด้วยความจงรักภัก
ดีอย่างสุดความสามารถตลอดมา ความสามารถของจางวางศรนั้นไม่จ่าเพาะเพียงฝีมือการบรรเลงดนตรีไทยได้ทุกเครื่องมือเท่
านั้น ท่านยังมีความสามารถในการประดิษฐ์เพลงขึ้นใหม่ ตลอดถึงการปรับปรุงเพลงที่มีอยู่แล้วขยายอัตราจังหวะขึ้นเป็น
สามชั้นและทอนลงเป็นชั้นเดียว ซึ่งเรียกว่า เพลงเถาอีกเป็นจ่านวนมาก
การปรับปรุงประเภทนี้ท่านได้ท่าไว้ถึงร้อยกว่าเพลง ซึ่งนิยมเล่นกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
ในคราวสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เสด็จประพาสชวาใน ปี พ.ศ.
๒๔๕๑ จางวางศร ศิลปบรรเลง มหาดเล็กในพระองค์ได้โดยเสด็จไปด้วย
ได้จ่าเพลงชวามาหลายเพลง ได้น่ามาเรียบเรียงใหม่เป็นเพลงตามหลักดุริยางค์ไทย เช่น เพลงบูเซนซอคและเพลงยะวา เป็น
ต้น พร้อมกันนี้ท่านได้น่าอังกะลุงซึ่งเป็นเครื่องดนตรีของชวาเข้ามาเช่นในประเทศไทยเป็นคนแรก โดยน่ามาฝึกหัดมหาดเล็กใ
นวังบูรพภิรมย์
จนสามารถน่าออกแสดงได้และการแสดงครั้งแรกเป็นการแสดงหน้าพระที่นั่งเครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นที่นิยมเล่นกันแพร่หลายมา
จนทุกวันนี้
ในปี พ.ศ.
๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชด่าเนินเลียบมณฑลนครศรีธรรมราช อุปราชภาคใต้ขณะนั้น
ได้ให้จางวางศรเป็นผู้ปรับปรุงวงดนตรีไว้รับเสด็จ จางวางศรได้น่าเพลง เขมรเขาเขียวสองชั้น ของเก่ามาประดิษฐ์ยืดเป็น ๓
ชั้น ใช้ท่านองกรออย่างอ่อนหวานผิดกว่าเพลงอื่นๆ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพอพระราชหฤทัยในเพลงนี้มาก จางวางศรได้ตั้งชื่อเพลงใหม่นี้ว่า เขมรเลียบนคร
เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์รับเสด็จฯ ในครั้งนั้น เพลงนี้ก็มีชื่อเสียงเช่นเดียวกันเรื่อยมา
เป็นที่นิยมจนทุกวันนี้ จางวางศรได้ปรับปรุงเพลงไทยต่างๆ
ให้เป็นเพลงเถาขึ้นหลายสิบเพลง พร้อมทั้งปรับปรุงดนตรีไทยให้ดียิ่งขึ้นด้วยและได้น่าเพลงที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่เหล่านั้นออกแส
ดงในงานคล้ายวันเกิดของเจ้าพระยารามราฆพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประทับฟังอยู่ด้วย การแสดง
ดนตรีแต่ละครั้งของจางวางศรเป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์พระราชทิ
นนามให้เป็น หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ซึ่งเป็นราชทินนามที่เหมาะสมอย่างยิ่ง ต่อมาท่านก็ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นปลัด
กรมพิณพาทย์หลวง หลังจากนั้นไม่นานพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ก็เสด็จสวรรคต
ในสมัยพระบาทสมเด็จพะปกเกล้าฯ รัชกาลที่
๗ หลวงประดิษฐ์ไพเราะร่วมกับหลวงไพเราะเสียงซอ(อุ่น ดุริยชีวิน) ก็ได้รับราชการเป็นผู้ถวายวิชาดนตรีไทยแด่พระบาทสมเ
ด็จพระปกเกล้าฯและสมเด็จพระบรมราชินี และได้แนะน่าวิธีการแต่งเพลงไทยตามหลักดุริยางค์ไทย จนทรงพระราชนิพนธ์เพ
ลงได้ เพลงที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นคือ เพลงราตรีประดับดาวเถา เขมรละออองค์และคลื่นกระทบฝั่ง เป็นต้น
ในคราวพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เสด็จประพาสเขมรใน พ.ศ. ๒๔๗๓ หลวงประดิษฐ์ไพเราะก็ได้เสด็จไปด้วย
และได้มีโอกาสแสดงดนตรีไทยร่วมกับวงปี่พาทย์เขมร พระเจ้ามณีวงศ์ กษัตริย์เขมรทรงพอพระทัยมาก ได้ขอพระราชทานพร
ะบรมราชานุญาตให้หลวงประดิษฐ์ไพเราะช่วยสอนเพลงไทยให้แก่ครูดนตรีในราชส่านักเขมร ท่านได้ถือโอกาสนี้ศึกษาเพลงเข
มรไปด้วยหลายเพลง เช่น เพลงนกเขาขะแมร์ ศรีโสภณ เครอวอังโกเลี้ยด เป็นต้น
สมเด็จกรมพระยาด่ารงราชานุภาพ มีพระด่าริให้บันทึกเพลงไทยด้วยตัวโน้ตสากล ในปี
พ.ศ. ๒๔๗๒ หลวงประดิษฐ์ไพเราะได้เป็นหัวหน้าฝ่ายบอกท่านองและเป็นกรรมการตรวจตราเพลงที่บันทึกนั้นด้วย ท่านเป็น
ผู้มีสติปัญญาและฝีมือในทางดนตรี มีความยันหมั่นเพียรในการฝึกฝนจนมีฝีมือเลื่องลือไปทั่วประเทศ
ท่านใช้เวลากว่า ๖๐
ปี ในการสร้างดุริยางค์ศิลป์เพื่อกล่อมคนไทยทั้งชาติด้วยเพลงอันไพเราะ ท่านเป็นนักดนตรีที่มีแนวความคิดใหม่ๆ
แปลกๆ ในการปรับปรุงการดนตรีไทยให้ดียิ่งขึ้น
เป็นต้นต่ารับของเพลงร้องที่มีลีลาอ่อนหวาน เช่น เพลงเขมรเลียบนคร เขมรพวง ไส้พระจันทร์
ฯลฯ เป็นผู้น่าของการเปลี่ยนแปลงเพลงเป็นทางต่างๆ ได้แก่ เพลงพราหมณ์ดีดน้่าเต้า ลาวเสี่ยงเทียน
ช้างประสานงาและเพลงโอ้ต่างๆ เป็นผู้ประดิษฐ์เพลงที่มีลูกน่าขึ้นต้น และเพลงที่แสดงความหมายของธรรมชาติอย่างแท้จริง
เช่น
เพลงแสนค่านึง เพลงตับภุมริน เพลงนกเขาขะแมร์ เป็นต้น เป็นผู้น่าเพลงไทยไปเผยแพร่ในกัมพูชา เป็นผู้น่าอังกะลุงของชว
ามาเปลี่ยนแปลงปรับปรุงใช้บรรเลงเพลงไทยเป็นคนแรก และเป็นผู้ริเริ่มแต่งเพลงไทยประเภทจังหวะ ๓ ชั้นให้เป็น ๔
ชั้น มีหลายเพลง เช่น พม่า๕ ท่อน ๔ ชั้น พราหมณ์ดีดน้่าเต้า ๔ ชั้น ดาวจรเข้ ๔ ชั้น และเพลงเขมรไทรโยค ๔
ชั้น เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังเคยท่าทางเดี่ยวขิมเพลงแป๊ะให้นักเรียนนาฏศิลป์ บรรเลงด้วยขิมหลายสิบตัวพร้อมๆ กัน
เพลงทุกเพลงที่หลวงประดิษฐ์ไพเราะแต่งขึ้น
ล้วนมีท่านองไพเราะน่าฟังและมีลีลาพิศดารแปลกกว่าผู้อื่น ได้รับความนิยมแพร่หลาย
เช่น เพลงพราหมณ์ดีดน้่าเต้า เพลงปฐมดุสิต เพลง
อะแซหวุ่นกี้และเพลงเขมรปากท่อ เป็นต้น เพลงเหล่านี้มีผู้แต่งขึ้นหลายๆ มีทางต่างๆ กัน
ตามแนวความคิดและสติปัญญาของนักดนตรีแต่ละคน แต่ทางของหลวงประดิษฐ์ไพเราะเป็นที่นิยมแพร่หลายมากกว่าทางอื่น
ท่านเป็นผู้ที่มีความจ่า มีเชาวน์และสติปัญญาปฏิภาณในทางดนตรีเป็นเลิศ สามารถจ่าท่านองเพลงได้กว่า 1,000เพลง
โดยไม่ต้องอาศัยโน้ต เพลงบางเพลงท่านแต่งโดยวิธีด้นคือนึกท่านองขึ้นทันทีทันใดก็มี เช่น เพลงอะแซหวุ่นกี้ซึ่งมีถึง ๑๐
จังหวะ
ท่านเคยเป็นครูสอนที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง โรงเรียนราชินี โรงเรียนนาฏศิลป์และที่ครุสภา ท่านสามารถสอนได้เกือบทุกเครื่
องมือ ตลอดจนการขับร้องก็สอนได้ ส่าหรับศิษย์ที่มีฝีมือดี
ท่านก็เลือกสอนทางที่พลิกแพลง ส่าหรับศิษย์ที่มีฝีมือไม่สู้ดีนักท่านก็เลือกทางธรรมดามีท่านองอ่อนหวาน
เพลงที่หลวงประดิษฐ์ไพเราะแต่งขึ้น มีมากมายนับเป็นหลายร้อยเพลง เช่น กระแตไต่ไม้
๓ชั้น เขมรถา เขมรปากท่อเถา เขมรเลียบนครเถา เขมรโพธิสัตว์เถา แขกขาวเถา แขกสาหร่ายเถา จีนน่าเสด็จ ๓
ชั้น จีนลันถันเถา นกเขาขะแมร์เถา นาวเยื้อง ๓ ชั้น ปฐมดุสิต ๓ ชั้น ประชุมเทวราช ๓ ชั้น
พม่าเห่เถา พราหมณ์ดีดน้่าเต้าเถา ม้าสะบัดกีบเถา
มุล่งเถา ยวนเคล้าเถา ลาวเสี่ยงเทียนเถา สมิงทองเถา สาริกาเขมร สาวสอดแหวน ๓
ชั้น แสนค่านึงเถา ไส้พระจันทร์เถา อะแซหวุ่นกี้เถา โอ้ลาว เถา เป็นต้น
หลวงประดิษฐ์ไพเราะได้ประดิษฐ์เพลงใหม่ๆ ขึ้นเสมอๆ ท่านมีความเห็นว่าเพลงไทยวิวัฒนา
การได้ จะต้องมีการประดิษฐ์เพลงให้มีเพิ่มขึ้น โดยรักษาหลักเดิมและใช้ศิลปะในการประดิษฐ์การบรรเลงให้ดียิ่งๆ
ขึ้นไป เพลงไทยนั้นมีความไพเราะปราณีตพิศดารเป็นพิเศษอยู่ในตัวเองแล้ว
หลวงประดิษฐ์ไพเราะได้ล้มป่วยลงและถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗
หลวงไพเราะเสียงซอ
หลวงไพเราะเสียงซอเดิมชื่ออุ่น ดูรยชีวิน เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 ณ
ต่าบลหน้าไม้อ่าเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายพยอมและนางเทียบ เมื่ออายุ 11
ปีท่านได้บวชเป็นสามเณรที่วัดหน้าต่างนอก ภายหลังบิดามารดาย้ายเข้ากรุงเทพมหานครท่านจึงย้ายไปเรียนที่วัดปริณายก
โดยเริ่มแรกท่านเรียนซอด้วงจากบิดาของท่าน
เวลาต่อมาท่านถวายตัวเข้าเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรงด่ารงพระยศเป็นสมเด็จพระบ
รมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ท่านจึงมีโอกาสศึกษาดนตรีไทยกับพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)
ต่อมามีการก่อตั้งกองเครื่องสายฝรั่งหลวงในกรมมหรสพ
ท่านได้รับเลือกให้ฝึกหัดไวโอลิน และท่านได้เข้ารับราชการในกองดนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2448[1]
เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯเสด็จขึ้นเถลิงราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว
ท่านจึงได้เลื่อนขั้นเป็นมหาดเล็กประจ่า
ต่อมารัชกาลที่หกมีพระราชประสงค์ให้มีวงดนตรีตามเสด็จพระราชด่าเนินเมื่อแปรพระราชฐานตามหัวเมือง
เรียกกันว่า”วงตามเสด็จ”ประกอบด้วยข้าราชการที่มีฝีมือทางด้านดนตรี
ท่านเป็นผู้หนึ่งในวงตามเสด็จได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนดนตรีบรรเลง รองหุ้มแพรมหาดเล็ก
ในที่สุดท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ที่หลวงไพเราะเสียงซอ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2460
ครั้นสมัยรัชกาลที่เจ็ด หลวงไพเราะเสียงซอได้มีโอกาสเป็นพระอาจารย์สอนเครื่องสายถวายเจ้านาย
ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อันมี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าร่าไพพรรณี
พระบรมราชินี กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ กรมหมื่นอนุพงศ์จักรพรรดิ์ หม่อมเจ้าถาวรมงคล จักรพันธุ์และหม่อมเจ้าแววจักร
จักรพันธุ์ นอกจากนี้ท่านได้สอนถวายพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคลและข้าหลวงอีกด้วย
ภายหลังกรมศิลปากรได้เชิญท่านสอนประจ่าที่วิทยาลัยนาฏศิลป์
และท่านยังได้สอนและปรับปรุงวงดนตรีไทยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนท่าให้วงดนตรีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็น
ที่รู้จักในเวลาต่อมา[2]
หลวงไพเราะเสียงซอถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุ 84 ปี
หลวงไพเราะเสียงซอสมรสกับนางนวม มัธยมจันทร์ มีบุตรธิดา 8 เวลาต่อมาท่านได้สมรสครั้งที่สองกับหม่อมเจ้ากริณานฤมล
สุริยง มีบุตรธิดาอีก 5 คน
ผลงานของหลวงไพเราะเสียงซอนั้นมีปรากฏในราชการมากมาย อาทิวงขับไม้ในพระราชพิธีสมโภชต่างๆในสมัยรัชกาลที่หก
เช่นพระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีขึ้นระวางพระคชาธารเป็นต้น และในสมัยรัชกาลที่เจ็ด
เพลงคลื่นโหมโรงกระทบฝั่งซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่เจ็ด ก็มีที่มาจากค่ากราบบังคลทูลของหลวงไพเราะฯ
เมื่อครั้งตามเสด็จประพาสสัตหีบเมื่อปี พ.ศ. 2474
ครูช้อย สุนทรวาทิน
ครูช้อย สุนทรวาทิน
ครูช้อยท่านอยู่ในสมัย ช่วง พ.ศ. 2370 – 2380 ชีวิตในวัยเด็กนั้นท่านป่วยเป็นไข้ทรพิษ แต่รอดตายมาได้อย่างน่าอัศจรรย์
เพราะหนึ่งในร้อยในพันจริงๆจึงรอดตายจากโรคนี้ได้
แต่ด้วยพิษแห่งโรคร้ายแม้รอดตายมาได้แต่ก็ต้องเสียดวงตาทั้งสองข้าง แต่แม้ดวงตาทั้งสองข้างของท่านจะบอดสนิทตั้งแต่วัย
เยาว์ แต่ท่านกลับไม่เคยคิดพ่ายแพ้แก่ชะตาชีวิตตนเอง
และด้วยสายเลือดแห่งศิลปินที่มีอยู่ภายในชีวิตจิตวิญญาณของท่านท่าให้ท่าน
ฝึกหัดเครื่องเล่นดนตรีไทยด้วยตนเองตั้งแต่เด็ก ในความจริงครูช้อย ท่านก็เกิดในตระกูลศิลปินอยู่แล้ว
แต่ด้วยที่ท่านตาบอดผู้เป็นบิดาจึงมิได้หัดท่านในทางดนตรี ก็ด้วยความใส่ใจ ความรักในศิลปะดนตรีนี่เองที่ท่าให้ท่านฝึกฝน
โดยเริ่มจากการน่าเอากะลาใต้ถุนบ้านมาเรียงกัน ๑๖ ใบแล้วตีตาม หูก็แง่ฟังการสอนของบิดาบนเรือน
ส่วนตัวเองอยู่ใต้ถุนบ้านหัดตามไป และยามใดที่บิดาท่านไม่อยู่ท่านก็จะขึ้นไปฝึกหัดกับเครื่องดนตรีจริงบนบ้าน
จนเกิดความช่านาญในเครื่องดนตรีทุกชนิดที่มีอยู่
เล่ากันว่าอยู่มาวันหนึ่ง มีงานดนตรี แต่คนระนาดป่วย หาคนแทนไม่ได้ พวกลูกศิษย์รู้ฝีมือลูกชายอาจารย์ว่าใช้ได้
ก็เสนอให้ครูช้อยไปเป็นคนระนาดแทน กระนั้นบิดาก็ยังไม่แน่ใจ ขอทดสอบฝีมือลูกชาย…เห็นฝีมือแล้ว
จึงยอมปล่อยตัวไปออกงาน หลังจากนั้นบิดา ก็เริ่มอบรมบ่มเพาะฝีมือดนตรีให้ลูกชายอย่างจริงจัง
ปลายรัชกาลที่ 4 เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง โดยเฉพาะเรื่องปี่กระทั่งบิดาเห็นแวว จึงส่งไปเรียนวิชาปี่กับครูมีแขก
(พระประดิษฐ์ไพเราะ) จึงยิ่งมีความช่านาญเพิ่มขึ้น
ต่อมาเมื่อครูช้อยเป็นครูดนตรี สอนดนตรีทั้งที่บ้าน ในวัด ถึงในวัง มีลูกศิษย์ส่าคัญสองคน คนแรก ลูกชายครูช้อยเอง ชื่อ แช่ม
ต่อมาเป็นพระยาเสนาะดุริยางค์ (คู่แข่งระนาดหลวงประดิษฐ์ไพเราะ) และศิษย์เอกชื่อแปลก
ต่อมาเป็นพระยาประสานดุริยศัพท์
ความน่าอัศจรรย์อันเป็นความอัจฉริยะภาพอย่างหนึ่งของครูช้อยคือ หากศิษย์คนใดก็ตามเล่นเครื่องดนตรีเสียงเพี้ยน
ไม่ถูกต้อง ครูช้อยจะใช้วิธี “ดีดเม็ดมะขาม” ใส่ผู้นั้นอย่างถูกต้องแม่นย่า
โดยรู้ว่าใครเป็นใครนั่งตรงไหนอย่างถูกต้องราวกับตาเห็น
สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของครูช้อยอีกอย่างหนึ่งคือ ท่านเลี้ยงนกฮูก เอาไว้สื่อสารกับลูกศิษย์
ท่านฝึกสอนนกฮูกของท่านจนพูดภาษาคนได้ โดยท่านสอนให้มันพูดว่า “พ่อเรียก” เหตุที่ท่านสอนค่านี้เพราะว่า
ท่านจะได้ใช้ให้นกฮูกไปตามศิษย์มาพบท่านได้ โดยเมื่อศิษย์ที่มาเรียนดนตรีกลับบ้าน ครูช้อยก็ให้อุ้มนกฮูกไปด้วย
ถึงบ้านแล้วก็ปล่อยให้นกฮูกบินกลับ ท่าซ้่าซากอย่างนี้ จนนกฮูกจ่าบ้านศิษย์ทุกคนได้แม่น
ยามใดที่มีคนมาเรียกวงปี่พาทย์ของท่านไปเล่น ท่านก็จะส่งนกฮูกของท่านไปตามในเวลาเย็น
นกฮูกจะบินไปเกาะหน้าบ้านของลูกศิษย์คนแล้วคนเล่า พร้อมทั้งส่งเสียงว่า “พ่อเรียก” อันเป็นที่รู้กันว่า
ครูช้อยท่านตามให้ไปพบ
เครื่องดนตรีที่ครูช้อยช่านาญและมีชื่อเสียงได้แก่ ระนาดเอก ปี่ ซอสามสาย และเครื่องดนตรีไทยอีกหลายชนิด
ผลงานของครูช้อยมีมากมาย ส่วนที่แพร่หลายถึงวันนี้ได้แก่ เพลง ใบ้คลั่ง เขมรโพธิสัตว์ อกทะเล ฯลฯ
ส่วนลูกศิษย์คนส่าคัญของท่านได้แก่พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ผู้เป็นลูก และหลานของท่านเองคือ ครูเลื่อน
สุนทรวาทิน
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
คีตกวีเอกของไทย.pdf
คีตกวีเอกของไทย.pdf

More Related Content

Similar to คีตกวีเอกของไทย.pdf

1 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 2
1 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 21 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 2
1 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 2
Tongsamut vorasan
 
บาลี 06 80
บาลี 06 80บาลี 06 80
บาลี 06 80
Rose Banioki
 
1 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 2
1 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 21 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 2
1 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 2
Wataustin Austin
 
พระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า
พระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่าพระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า
พระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
รุ่งอรุณแห่งความสุข
รุ่งอรุณแห่งความสุขรุ่งอรุณแห่งความสุข
รุ่งอรุณแห่งความสุข
Kwandjit Boonmak
 
สุโขทัย
สุโขทัยสุโขทัย
สุโขทัย
sangworn
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์
Ning Rommanee
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์
Ning Rommanee
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์
Ning Rommanee
 

Similar to คีตกวีเอกของไทย.pdf (20)

พระราชประวัติ
พระราชประวัติพระราชประวัติ
พระราชประวัติ
 
1 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 2
1 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 21 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 2
1 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 2
 
บาลี 06 80
บาลี 06 80บาลี 06 80
บาลี 06 80
 
1 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 2
1 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 21 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 2
1 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 2
 
1 06 อุภัยพากย์ปริวัตน์ ภาค 1 2
1 06 อุภัยพากย์ปริวัตน์ ภาค 1 21 06 อุภัยพากย์ปริวัตน์ ภาค 1 2
1 06 อุภัยพากย์ปริวัตน์ ภาค 1 2
 
พระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า
พระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่าพระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า
พระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า
 
สุนทรภู่
สุนทรภู่สุนทรภู่
สุนทรภู่
 
Sss
SssSss
Sss
 
รุ่งอรุณแห่งความสุข
รุ่งอรุณแห่งความสุขรุ่งอรุณแห่งความสุข
รุ่งอรุณแห่งความสุข
 
Tutor social science
Tutor social scienceTutor social science
Tutor social science
 
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
 
ในหลวงดวงใจไทยทั้งชาติ
ในหลวงดวงใจไทยทั้งชาติในหลวงดวงใจไทยทั้งชาติ
ในหลวงดวงใจไทยทั้งชาติ
 
หอเกียรติยศ.doc
หอเกียรติยศ.docหอเกียรติยศ.doc
หอเกียรติยศ.doc
 
หอเกียรติยศ.doc
หอเกียรติยศ.docหอเกียรติยศ.doc
หอเกียรติยศ.doc
 
Tutor social science
Tutor social scienceTutor social science
Tutor social science
 
สุโขทัย
สุโขทัยสุโขทัย
สุโขทัย
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์
 

More from pinglada

More from pinglada (20)

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทวีปยุโรป.doc
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทวีปยุโรป.docความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทวีปยุโรป.doc
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทวีปยุโรป.doc
 
ประชาคมอาเซียน.docx
ประชาคมอาเซียน.docxประชาคมอาเซียน.docx
ประชาคมอาเซียน.docx
 
ประเทศในโลก.docx
ประเทศในโลก.docxประเทศในโลก.docx
ประเทศในโลก.docx
 
คีตกวีเอกของโลก.pdf
คีตกวีเอกของโลก.pdfคีตกวีเอกของโลก.pdf
คีตกวีเอกของโลก.pdf
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 7 เรื่อง โน้ตสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 7 เรื่อง โน้ตสากล.pdfใบความรู้ที่ 1 บทที่ 7 เรื่อง โน้ตสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 7 เรื่อง โน้ตสากล.pdf
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 8 เรื่อง กุญแจประจำหลัก.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 8 เรื่อง กุญแจประจำหลัก.pdfใบความรู้ที่ 1 บทที่ 8 เรื่อง กุญแจประจำหลัก.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 8 เรื่อง กุญแจประจำหลัก.pdf
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 6 เรื่อง การดูแลรักษาเครื่องดนตรี.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 6 เรื่อง การดูแลรักษาเครื่องดนตรี.pdfใบความรู้ที่ 1 บทที่ 6 เรื่อง การดูแลรักษาเครื่องดนตรี.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 6 เรื่อง การดูแลรักษาเครื่องดนตรี.pdf
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 4 เรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 4 เรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากล.pdfใบความรู้ที่ 1 บทที่ 4 เรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 4 เรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากล.pdf
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 9 เรื่อง จังหวะและเครื่องหมายกำหนดจังหวะ.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 9 เรื่อง จังหวะและเครื่องหมายกำหนดจังหวะ.pdfใบความรู้ที่ 1 บทที่ 9 เรื่อง จังหวะและเครื่องหมายกำหนดจังหวะ.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 9 เรื่อง จังหวะและเครื่องหมายกำหนดจังหวะ.pdf
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล.pdfใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล.pdf
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 5 เรื่อง ประเภทของเครื่องดนตรีสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 5 เรื่อง ประเภทของเครื่องดนตรีสากล.pdfใบความรู้ที่ 1 บทที่ 5 เรื่อง ประเภทของเครื่องดนตรีสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 5 เรื่อง ประเภทของเครื่องดนตรีสากล.pdf
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 3 เรื่อง ลักษณะของวงดนตรีสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 3 เรื่อง ลักษณะของวงดนตรีสากล.pdfใบความรู้ที่ 1 บทที่ 3 เรื่อง ลักษณะของวงดนตรีสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 3 เรื่อง ลักษณะของวงดนตรีสากล.pdf
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 2 เรื่่อง องค์ประกอบดนตรีสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 2 เรื่่อง องค์ประกอบดนตรีสากล.pdfใบความรู้ที่ 1 บทที่ 2 เรื่่อง องค์ประกอบดนตรีสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 2 เรื่่อง องค์ประกอบดนตรีสากล.pdf
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 4 เรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 4 เรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากล.pdfใบความรู้ที่ 1 บทที่ 4 เรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 4 เรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากล.pdf
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล.pdfใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล.pdf
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล.pdfใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล.pdf
 
ThaiMusic8.doc
ThaiMusic8.docThaiMusic8.doc
ThaiMusic8.doc
 
ThaiMusic5.doc
ThaiMusic5.docThaiMusic5.doc
ThaiMusic5.doc
 
ThaiMusic10.doc
ThaiMusic10.docThaiMusic10.doc
ThaiMusic10.doc
 
ThaiMusic11.doc
ThaiMusic11.docThaiMusic11.doc
ThaiMusic11.doc
 

คีตกวีเอกของไทย.pdf

  • 1. คีตกวีเอกของไทย ประวัติคีตกวีไทย พระยาประสานดุริยศัพท์ พระยาภูมีเสวิน พระยาเสนาะดุริยางค์ พระประดิษฐ์ไพเราะ พระเจนดุริยางค์ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ หลวงไพเราะเสียงซอ ครูช้อย สุนทรวาทิน สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริสรานุวัดติวงค์ พระยาประสานดุริยศัพท์ พระยาประสานดุริยศัพท์ มีนามเดิมว่า แปลก ประสานศัพท์ เกิดเมื่อวันอังคาร แรม ๔ ค่่า เดือน ๑๐ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๐๓ ที่บ้านเลขที่ ๘๑ ตรอกไข่ ถนนบ่ารุงเมือง ต่าบลหลังวัดเทพธิดา หลังวังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์ เป็นบุตรคนโตของขุนกนกเลขา (ทองดี) และนางนิ่ม พระยาประสานดุริยศัพท์ มีน้อง ๔ คน เรียงตามล่าดับถัดจากท่าน ดังนี้ คือ ๑. ชาย “เปลี่ยน” ๒. ชาย “แย้ม” (พระพิณบรรเลงราช) ๓. หญิง “สุ่น” (ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเล็ก) ๔. หญิง “นวล” (ภายหลังใช้นามสกุลพงศ์บุปผา) การศึกษาวิชาสามัญนั้น ท่านมิได้เข้าเรียนที่ใด แต่เรียนที่บ้านตนเองจนอายุได้ ๑๘ ปี ส่าหรับวิชาดนตรีไทยนั้น ได้เรียนปี่ชวากับครูชื่อ “หนูด่า” ส่วนวิชาดนตรีปี่พาทย์อื่นๆ รวมทั้งปี่ใน ปี่นอกนั้น ได้ศึกษาจริงจังกับครูช้อย สุนทรวาทิน ผู้เป็นบิดาของพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ครูช้อย สุนทรวาทินนั้น ท่านรักใคร่ในตัวพระยาประสานดุริยศัพท์มาก เพราะว่า พระยาประสานดุริยศัพท์ เป็นศิษย์ที่มีความขยันหมั่นเพียร มีฝีมือในทางดนตรี อีกทั้งเป็นผู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดในการแ
  • 2. ต่งเพลงด้วย ดังนั้น ครูช้อย สุนทรวาทิน จึงได้พยายามพร่่าสั่งสอนและถ่ายทอดวิชาความรู้ทางดนตรีเท่าที่มีอยู่ ให้แก่พระยาประสานดุริยศัพท์ ผู้เป็นศิษย์อย่างเต็มที่ จนกระทั่งพระยาประสานดุริยศัพท์กลายเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดค น หนึ่งของเมืองไทย พระยาประสานดุริยศัพท์ เป็นครูดนตรีที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนโดยทั่วไปในนาม “ครูแปลก” ได้ด่าเนินอาชีพด้วยการเป็นครูดนตรีเรื่อยมา บ้านของท่านตั้งอยู่หลังตลาดประตูผีติดกับวัดเทพธิดาราม ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เจ้านายต่างก็มีวงปี่พาทย์มโหรี และเครื่องสายกันหลายพระองค์ ทั้งนี้เพื่อใช้ในการบรรเลงขับกล่อมในยามว่าง หรือเมื่อมีงานส่าคัญๆก็มักจะน่าวงดนตรีมาบรรเลงประชันกัน ปัจจุบันได้ขายให้คนอื่นไปแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงด่ารงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร พระองค์ท่านมีพระราชประสงค์จะใคร่มีวงปี่พาทย์ส่วนพระองค์ขึ้นและได้ทูลขอวงปี่พาทย์จากสมเด็จพระราชชนนี (สมเด็จพระพันปีหลวง) สมเด็จพระราชชนนีของพระองค์ก็ได้โปรดประทานให้มาหมดทั้งเครื่องดนตรีและนักดนตรี การที่เจ้านายต่างๆทรงมีวงปี่พาทย์ส่วนพระองค์ขึ้น นอกจากจะทรงมีไว้เพื่อใช้บรรเลงขับกล่อมยามว่างพระธุระแล้ว ยังเป็นสิ่ งประดับพระบารมีอีกด้วย ยิ่งกว่านี้เมื่อมีงานส่าคัญๆก็มักจะน่าวงดนตรีมาบรรเลงประชันขันแข่งกัน เจ้านายที่ทรงเป็นเจ้าขอ งวง จึงต้องหาครูบาอาจารย์ที่ปรีชาสามารถไว้ปรับปรุงวงดนตรีของตนเพื่อมิให้น้อยหน้ากันได้ และวงปี่พาทย์ในพระบาทสมเ ด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งคนทั่งไปนิยมเรียกกันว่า “วงสมเด็จพระบรมฯ” ก็ได้ครูแปลก ประสานศัพท์ ครูดนตรีที่มีชื่อเสียงยิ่งไว้เป็นครูผู้ฝึกสอนและควบคุม พระยาประสานดุริยศัพท์ เป็นครูดนตรีที่มีทั้งฝีมือและสติปัญญา ท่านสามารถบรรเลงเครื่องดนตรีได้แทบทุกชนิด และที่ถนัด ที่สุดได้แก่ ปี่ในและระนาดเอก ซึ่งเป็นที่ร่่าลือในหมู่นักดนตรีผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ก็ได้แก่พระยาประสานดุริยศัพท์นั่นเอง เพื่อเลือกเป็นครูสอนดนตรีให้แก่หลวงประดิษฐไพเราะในครั้งนั้น ในการที่พระยาประสานดุริยศัพท์ได้ไปเป็นครูสอนดนตรีให้แก่หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) คุณครูหลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน) ท่านได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า “เนื่องจากหลวงประดิษฐไพเราะ เป็นผู้ที่มีฝีมือทางระนาดเอกดีอยู่แล้ว ในการที่เจ้าคุณครูไปสอนท่าน สอนเฉพาะเกี่ยวกับไหวพริบ วิธีการในการบรรเลงเป็นส่วนมาก โดยท่านได้ให้หลวง ประดิษฐไพเราะ ตีเพลงต่างๆให้ฟัง แล้วท่านเจ้าคุณครูก็ตรวจดูว่าลูกใดไม่ดี ท่านก็บอกลูกใหม่ให้แทน เอาของเก่าตรงที่ไม่ดีนั้นออก” ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ราว พ.ศ. ๒๔๒๘ ขณะนั้นท่านมีอายุราว ๒๕ ปี รัฐบาลอังกฤษได้มีหนังสือเชิญมายังรัฐบาลไทยให้ส่งนาฏศิลป์และดนตรีไทยไปแสดง ณ ประเทศอังกฤษและยุโรป ในครั้งนี้ทางวังบูรพาภิรมย์เป็นผู้จัดส่งไป นักดนตรีได้ไปแสดงในครั้งนั้น ก็ได้แก่พระยาประสานดุริ ยศัพท์ เป่าปี่ใน ครูคร้าม ตีระนาด เป็นต้น ผลงานการบรรเลงเดี่ยวของพระยาประสานฯ เป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นที่ยิ่ง ถึงกับทรงรับสั่งขอฟังการเป่าขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์อีกครั้งในพระราชวังบัคกิ้งแฮม การบรรเลงครั้งหลังนี้ สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียทรงลุกจากพี่ประทับ และใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯ พร้อมทั้งมีรับสั่งถามว่าเวลาเป่านั้น
  • 3. หายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดหายแม้ชั่วขณะ เป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่ง นับเป็นเกียรติประวัติอย่างสูงแก่วงการดุริยางค์ไทย พระยาประสานดุริยศัพท์เป็นครูดนตรีที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ถ้าจะกล่าวแล้ว ก็ได้แก่นักดนตรีทั้งหลายที่รับราชการในกรม พิณพาทย์หลวงนั้นเอง ซึ่งได้แก่ พระประดับดุริยกิจ (แหยม วีณิน) พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต) หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) หลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน) ตราโมทและครูเฉลิม บัวทั่ง เป็นต้น พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ครูมนตรี พระยาประสานดุริยศัพท์ได้แต่งเพลงไว้เป็นจ่านวนมาก ได้แก่ ประเภทเพลงเถา เช่น เพลงเขมรปากท่อ เถา เพลงประพาสเภตรา เถา เพลงอาถรรพ์ เถา เพลงสามไม้ใน เถา ประเภทเพลงสามชั้น เช่น เพลงเขมรใหญ่ เพลงดอกไม้ไทร เพลงถอนสมอ เพลงทองย่อน เพลงเทพรัญจวน เพลงนารายณ์แปลงรูป เพลงคุณลุงคุณป้า เพลงพราหมณ์เข้าโบสถ์ เพลงธรณีร้องไห้ เพลงแขกเห่ เพลงอนงค์สุชาดา เพลงย่องหงิด เพลงเขมรราชบุรี เพลงพม่าห้าท่อ ประเภทเพลงสองชั้น เช่น เพลงลาวค่าหอม เพลงลาวด่าเนินทราย ชีวิตครอบครัวของพระยาประสานดุริยศัพท์
  • 4. ท่านได้แต่งงานกับนางสาวพยอม ชาวจังหวัดราชบุรี มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น ๑๑ คน แต่ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเล็ก ๖ คน จึงเหลืออยู่ ๕ คน เรียงตามล่าดับจากคนโตลงมาดังนี้ ๑.หญิง มณี ประสานศัพท์ (มณี สมบัติ) ๒.หญิง เสงี่ยม ประสานศัพท์ (นางตรวจนภา พวงดอกไม้) ๓.หญิง ประยูร ประสานศัพท์ ๔.ชาย ปลั่ง ประสานศัพท์ (ขุนบรรจงทุ้มเลิศ) ๕.หญิง ทองอยู่ ประสานศัพท์ (นางอินทรรัตนากร อินทรรัตน์) ปัจจุบันนี้ ยังคงเหลืออยู่เพียง ๒ คน คือ ขุนบรรจงทุ้มเลิศและนางอินทรรัตนากร ขุนบรรจงทุ้มเลิศ (ปลั่ง ประสานศัพท์) เป็นผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาการดนตรีจากท่านบิดาได้มาก ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ กับทั้งเป็นผู้ที่มีค วามจ่าดี ในเวลาต่อมาก็ได้รับราชการในกรมพิณพาทย์หลวงด้วย พระยาประสานดุริยศัพท์ เป็นผู้ที่ประสบความส่าเร็จรุ่งโรจน์ในชีวิตราชการ เป็นบุคคลที่มีเกียรติยศชื่อเสียง มีต่าแหน่งสูง ได้ เป็นถึงพระยาและเป็นถึงเจ้ากรมพิณพาทย์หลวง ในรัชกาลที่ ๖ แม้กระนั้นก็ตาม ฐานะทางครอบครัวของท่านใช่ว่าจะร่่ารวยเป็นเศรษฐีก็หาไม่ แต่อยู่ในระดับพอมีพอกินและค่อนข้างยาก จนมากกว่า เนื่องจากพระยาประสานดุริยศัพท์ ท่านต้องตรากตร่าท่างานในหน้าที่ด้วยความเอาใจใส่ ประกอบกับอายุของท่านก็มากขึ้น ท่านจึงล้มเจ็บลงและถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ สิริรวมอายุ ๖๕ ปี พระยาภูมีเสวิน
  • 5. พระยาภูมีเสวิน มีนามเดิมว่า จิตร จิตตเสวี เกิดเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๔๓๗ ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๑๐ ค่่าเดือน ๗ ปีมะเมีย ณ ต่าบลคลองชักพระ อ่าเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี อยู่บ้านเลขที่ ๙๒ ถนนวัดราชาธิวาส อ่าเภอ ดุสิต จังหวัด กรุงเทพมหานคร ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ของหลวงคนธรรพวาที (จ่าง จิตตเสวี) ผู้เป็นบิดา และนางคนธรรพวาที (เทียบ จิตตเสวี) พี่น้องของท่านมีอยู่ด้วยกัน ๕ คน ท่านได้เรียนซอด้วงจากหลวงคนธรรพวาทีผู้เป็นบิดาเมื่ออายุได้ ๖ ขวบ และมีความสามารถออกวงได้เมื่ออายุ ๘ ขวบ จากนั้นท่านยังได้หัดดนตรีไทยประเภทอื่นๆ กับครูอาจารย์อีกหลายท่าน อาทิเช่น เรียนปี่ชวากับครูทอง เรียนกลองแขกกับครูมั่ง นอกจากนั้นยังได้ศึกษาดนตรีต่างๆกับครูแป้น ครูพุ่ม และ ครูสอน(บางขุนศรี) ต่อมาได้มาเรียนกับ ม.จ. ประดับ เมื่อสิ้น ม.จ.ประดับแล้วจึงได้มาเรียนจะเข้กับขุนประดับ ครูอ่วม และขุนเจริญดนตรีการ (นายดาบเจริญ โรหิตโยธิน) จนสามารถเล่นดนตรีได้รอบวง ที่ช่านาญพิเศษคือ เครื่องสายทุกชนิด ขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงพระราชอิสรยศักดิ์เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชได้ทรงตั้งวง มโหรีปี่พาทย์ขึ้น ท่านจึงได้เข้าไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กแผนกมหรสพในต่าแหน่งประจ่ากองดนตรีกรม มหาดเล็กกระทรวงวัง ได้รับพระราชทานยศเป็นสองตรี เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๙ ในระยะนี้เอง ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของบรมครูอีกผู้หนึ่งคือ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ซึ่งท่านเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง และพระยาประสาน ดุริยศัพท์ ก็รักใคร่ในตัวท่านมาก เพราะเป็นศิษย์ที่มีความขยันหมั่นเพียร เป็นผู้มีฝีมือและสติปัญญาเฉลียวฉลาดในทางดนตรีเป็นอย่างดีเยี่ยม พระยาประสานฯ จึงได้พยายามพร่่าสอนและถ่ายทอดวิชาความรู้ทางดนตรีให้แก่ท่าน โดยเฉพาะ ระนาด และ ฆ้อง จนมีความช่านาญ บรรเลงเดี่ยวฆ้องเล็กได้ และชนะเลิศในการประชันวง เมื่อคราวเสด็จตามพระบรมโอรสาธิราช (รัชกาลที่๖) ไปภาคใต้ ยังความปลื้มปิติยินดีแก่พระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง พร้อมกับได้รับพระราชทานเหรียญที่ระลึกปักษ์ใต้ ในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๒ ซึ่งขณะนั้นท่านอายุได้เพียง ๑๕ ปี ขณะที่ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยามานพนริศร์ นับว่าเป็นคุณประโยชน์แก่ชาตินานับประการทางด้านศิลปะ ดนตรีไทย นั่นคือท่านได้รับแนะน่าและขอร้องจากพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ให้ไปเรียนซอสามสายกับเจ้าเทพสุกัญญา (ณ เชียงใหม่) บูรณะพิมพ์ ซึ่งทั้งเจ้าคุณประสานฯ และเจ้าเทพฯ ก็ช่วยกันสอนและถ่ายทอดวิชาซอสามสายให้เป็นระยะเวลา ๙ ปี ซึ่งประยาประสานฯ ได้เคยกล่าวกับท่านว่า “ถ้าไม่เรียนซอสามสายไว้ ต่อไปอาจจะสูญ คุณหลวงนายมีนิสัยสุภาพ และมีความพยายามดี ทั้งเป็นผู้ที่มีความกตัญญูกตเวที เคารพครูอาจารย์ เป็นอย่างสูง ขอให้เรียนซอสามสายไว้ เพื่อจะได้ สั่งสอนอนุชนรุ่นหลังต่อไป” เมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๖๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาภูมีเสวิน ในกระบวนเครื่องดนตรีไทย ย่อมเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ซอสามสายเป็นเครื่องดนตรีที่หาได้ยากที่สุด และที่จะให้มีกลเม็ดเด็ดพราย ไพเราะเพราะพริ้ง ก็ยากขึ้นไปอีก แต่ท่านก็ไม่ย่อท้อต่อความเป็นจริงเหล่านี้เลย และในที่สุดท่านก็ได้บรรลุถึงความเป็นเอกในทางซอสามสาย จนเป็นที่ปรากฏว่าท่านสีซอสามสายได้ไพเราะที่สุด แม้แต่ซอด้วง ซออู้ รวมถึงขลุ่ย ท่านก็บรรเลงได้จับใจยิ่ง ชื่อเสียงในทางการบรรเลงดนตรีของท่านนั้นเลื่องลือไปทั่วประเทศ เนื่องจากท่านบรรเลงออกอากาศ ณ กรมประชาสัมพันธ์อยู่เป็นประจ่า นอกจากฝีมือในการบรรเลงดนตรีดังกล่าวมาแล้ว พระยาภูมีฯ ยังมีความสามารถในทางนาฏศิลป์เป็นอย่างมากด้วย โดยเป็นศิษย์ของพระยาพรหมา (ทองใบ) พระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี) และคุณหญิงเทศ โดยท่านได้แสดงโขนเป็นตัวอินทรชิตหลายครั้ง
  • 6. ในปีที่ท่านได้รับพระราชทานยศเป็นพระยาภูมีเสวินนี้เอง ท่านก็ประสบกับความเศร้าสลดอย่างสุดซึ้งด้วยเหตุที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ พร้อมกันนั้นท่านก็ถูกปลดออกจากเบี้ยหวัดที่เคยได้รับพระราชทาน แต่ก็อาจเป็นเพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยพระราชปรารภ ไว้ว่า “แม้สิ้นแผ่นดินของข้าแล้ว ใครจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไป เขาก็คงชุบเลี้ยงก็อาจเป็นได้” ดังนั้น ในวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๔๗๘ ท่านจึงเข้ารับราชการที่กรมศิลปากร ในต่าแหน่ง เจ้าพนักงานกลางแผนกละครและสังคีต ท่าหน้าที่เหมือนเลขาธิการของอธิบดี ซึ่งท่าหน้าที่เกี่ยวกับรายการบันเทิงทางวิทยุกระจายเสียง ติดต่อเจ้าหน้าที่ส่านักพระราชวังเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการเมื่อมีการแสดงโขน ละครดนตรี นอกจากนั้นท่านยังร่วมกับกรมศิลปากร ปรับปรุงพระราชพิธี และงานด้านต่างๆ ท่านได้เริ่มงานดนตรีขึ้นอีกครั้งหนึ่งด้วยเวลานั้นสถานีวิทยุกระจายเสียง แห่งประเทศไทย ซึ่งมีคุณ ชวาลา (หัวหน้ากองการหนังสือพิมพ์) และคุณ อ่าพัน (หัวหน้ากองการกระจายเสียง) ได้มาเรียนเชิญท่านไปปรึกษาวิธีการ ที่จะปรับปรุงและสนับสนุนเพลงไทยในรายการวิทยุ และขอร้องให้ท่านเขียนค่าบรรยายพร้อมทั้งบรรเลงเพลงดนตรีไทย ประเภทต่างๆเป็นประจ่าทุกอาทิตย์ เมื่อรายการของท่านได้เผยแพร่ออกสู่ประชาชนมากขึ้น ก็ท่าให้ชื่อเสียงของท่านขจรขจายมากขึ้น เช่นเดียวกัน จากฝีมือซึ่งเป็นหนึ่งของท่านทั้งซอสามสาย และขลุ่ยคราใดที่มีการประกวดมโหรีปี่พาทย์ และการขับร้องเพลงไทย ท่านก็ได้รับเชิญเป็นกรรมการตัดสินทุกครั้ง และยังได้เป็นกรรมการ จัดรายการวิทยุในสมัยที่วิทยุกระจายเสียงยังขึ้นอยู่กับกรมไปรษณีย์ อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ระลึกคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ท่านก็บรรเลงเพลงซอสามสาย เพลงพญาโศกในรายการวิทยุกระจายเสียง หลายท่านเมื่อได้ฟังถึงกับน้่าตาไหล ด้วยท่าให้หวนระลึกถึงพระองค์ท่าน อันฝีไม้ลายมือของพระยาภูมีฯ นั้นเป็นที่เลื่องลือไปถึงพระกรรณของเจ้านายผู้หญิงในรัชกาลที่ ๗ ถึงกับทรงขอดูตัวเนื่องจากเป็นที่เลื่องลือกันว่า รูปงามและมีฝีมือเป็นเอก ดังนั้นกรมหลวงลพบุรีราเมศร์ (สมเด็จชาย) จึงได้ทรงน่าตัวเข้าเฝ้าบรรเลงถวายในวังสวนสุนันทา นอกจากนี้ ชาวบ้านร้านถิ่นที่ชอบดนตรีมีหลายคนหาท่านถึงบ้านและได้เชิญท่านไปแสดงตาม หัวเมือง เช่น ที่ฉะเชิงเทรา และที่ต่าบลบางช้าง สมุทรสงคราม ฯลฯ จากนั้นเป็นต้นมา ท่านก็ยอมรับค่าเชิญจากสถาบันการศึกษาต่างๆไปช่วยฝึกสอนดนตรีแก่เด็กๆ อาทิเช่น โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม โรงเรียนเพาะช่างครุสภา วิทยาลัยวิชาการศึกษา (ประสานมิตร,ปทุมวัน) เป็นต้น หลังจากที่ท่านได้ครบเกษียณอายุราชการแล้วท่านยังอุตสาห์สอนดนตรีให้แก่ สถาบันต่างๆอยู่เป็นนิตย์ ท่านตรากตร่าท่างานทางด้านนี้มาก เพื่อที่จะถ่ายทอดวิชาด้านดนตรีให้แก่ผู้สนใจ ที่จะช่วยท่านุบ่ารุงไว้ จะกลับมาถึงบ้านก็ราว ๕ ทุ่ม สองยามทุกวัน นอกจากนั้นในวันเสาร์ อาทิตย์ ก็ยังมีคนมาเรียนกับท่านถึงที่บ้านอีกมาก ไม่มีเวลาพักผ่อนเต็มที่ แต่ท่านไม่เคยบ่น ท่านยังกลับพูดเสียอีกว่า คราใดที่มีคนมาเยี่ยมมาฝึกดนตรีกับท่านแล้ว ถือว่าเป็นการพักผ่อนอย่างดีเยี่ยม ซึ่งดีกว่านั่งๆนอนๆ อยู่เฉยๆ พระยาภูมีฯ มีลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงทางด้านฝีมือการดนตรีอยู่หลายท่าน ได้แก่ ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ รศ.อุดม อรุณรัตน์ ดร.ณัชชา พันธุ์เจริญ อาจารย์เฉลิม ม่วงแพรศรี และคุณศิริพรรณ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้เป็นหลานตา เป็นต้น ผลงานด้านการแต่งเพลง ปรากฏผลงานเพลงที่ท่านแต่งไว้หลายเพลง ได้แก่ เพลงสอดสี เถา (พ.ศ. ๒๕๐๓) โหมโรงภูมิทอง สามชั้น (แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยดัดแปลงมาจากเพลงนกกระจอกทอง สองชั้น) และจ่าปาทอง เถา (พ.ศ. ๒๕๑๘)
  • 7. ทั้งยังได้ประดิษฐ์ทางบรรเลงเดี่ยวซอสามสายเอาไว้หลายเพลง ได้แก่ ต้นเพลงฉิ่ง ขับไม้บัณเฑาะว์ ทะแย นกขมิ้น ปลาทอง บรรทมไพร พญาครวญ พญาโศก แสนเสนาะ ทยอยเดี่ยว เชิดนอก และกราวใน เถา และนอกจากในฐานะครูดนตรีแล้ว พระยาภูมีฯ ยังเป็นนักค้นคว้าและขยันบันทึกไว้ด้วย สิ่งที่ท่านบันทึกไว้นั้น ได้กลายเป็นหลักฐานส่าคัญทางประวัติศาสตร์ อาทิเช่น ประวัติพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ประวัติผู้เชี่ยวชาญการสีซอสามสายในสมัยรัตนโกสินทร์ และหลักการสีซอสามสาย ซึ่งเป็นต่าราดนตรีไทยที่ดีมาเล่มหนึ่ง โดยท่านได้บรรยายไว้โดยละเอียดถึงการใช้คันชัก การใช้นิ้ว และยังได้บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับพระราชพิธีเห่กล่อมพระบรรทมไว้ด้วย พระยาภูมีเสวินได้บรรเลงดนตรีออกงานครั้งสุดท้ายเมื่ออายุประมาณ ๘๐ ปี ณ โรงละครแห่งชาติ กรมศิลปากร โดยบรรเลงร่วมกับหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน) เพื่อนคู่หูของท่าน ต่อมา เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๑๙ เวลาเช้า หลังจากที่ท่านได้จุดธูปสวดมนต์ไหว้พระเสร็จแล้ว ท่านก็เป็นลมแน่นิ่งไป ภรรยาและบุตรของท่านก็ช่วยกันพาส่งโรงพยาบาลวชิระ ซึ่งระยะทางจากบ้านของท่านถึงโรงพยาบาล รถวิ่งไม่เกิน ๕ นาที แต่อย่างไรก็ตามขณะที่พาท่านส่งโรงพยาบาลนั้นเป็นช่วงระยะเวลาที่การจราจร ติดขัดมาก กว่าจะพาท่านมาถึงโรงพยาบาลเสียเวลาไปเกือบ ๒๐ นาที ซึ่งหมอลงบันทึกไว้ว่าท่านสิ้นใจก่อนจะมาถึง สุดความสามารถของหมอที่จะช่วยได้ สิริรวมอายุได้ ๘๒ ปี พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) เป็นบุตรคนโตของครูช้อย และนางไผ่ สุนทรวาทิน ได้ฝึกฝนวิชาดนตรี จากครูช้อย ผู้เป็นบิดา จนมีความแตกฉาน ต่อมาเจ้าพระยาเทเวศน์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร) ได้ขอตัวมาเป็นนักดนตรีในวงปี่พาทย์ของท่าน ท่านเข้ารับราชการ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนเสนาะดุริยางค์” ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ต่าแหน่งเจ้ากรมพิณพาทย์หลวง จึงโปรดให้เลื่อนเป็น “หลวงเสนาะดุริยางค์”ในปีพ.ศ.๒๔๕๓ จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เลื่อนเป็น “พระเสนาะดุริยางค์” รับราชการในกรมมหรสพหลวง และได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ด้วยความซื่อสัตย์ และมีความจงรักภักดี ท่านจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาเสนาะดุริยางค์” ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับมอบหมายให้ควบคุมวงพิณพาทย์ ของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง วงพิณพาทย์วงนี้
  • 8. นับได้ว่าเป็นการรวบรวมผู้มีฝีมือ ซึ่งต่อมาได้เป็นครูผู้ใหญ่ เป็นที่รู้จักนับถือโดยทั่วไป เช่น ครูเทียม คงลายทอง ครูพริ้ง ดนตรีรส ครูสอน วงฆ้อง ครูมิ ทรัพย์เย็น ครูแสวง โสภา ครูผิว ใบไม ้ครูทรัพย ์นุตสถิตย ์ครูอรุณ กอนกุล ครูเชื้อ นักร้อง และครูทองสุข ค่าศิริพระยาเสนาะดุริยางค พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก) พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก) นามเดิม มี ดุริยางกูร คนทั่วไปมักเรียกท่านว่า ครูมีแขก เล่ากันว่า เมื่อคลอดออกมาใหม่ๆ มีสิ่งขาวๆ ครอบอยู่บนศรีษะคล้ายๆ หมวกแขก เลยเรียก มีแขก ต่อมาก็เป็นครูมีแขก บ้านเดิมท่านอยู่ในบริเวณสุเหร่าเหนือวัดอรุณราชวราราม ครูมีแขก มีชีวิตอยู่ในรัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๕ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงประดิษฐ์ไพเราะ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๓๙๖ ต่อมาในวันที่ ๒๑ ธันวาคมปีเดียวกันท่านได้บรรเลงเพลงเชิดจีน ซึ่งแต่งไว้ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯและพระองค์ทรงโปรดปรา นมาก ถึงกับได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระประดิษฐ์ไพเราะ ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ท่านเป็นหลวง เพียงเดือนเดียวเท่านั้น พระประดิษฐ์ไพเราะ เป็นครูดนตรีไทยคนส่าคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 3-5 คนทั่วไปมักเรียกท่านว่า ครูมีแขก สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสืบประวัติไว้ว่า ครูปี่พาทย์ชื่อครูมีแขกนั้น คือเป็นเชื้อแขก ชื่อ”มี” เป็นคีตกวีคนแรกที่น่าเพลง 2 ชั้น มาท่าเป็นเพลงสามชั้น มีความสามารถในการแต่งเพลง และฝีมือในทางเป่าปี่ เป็นเยี่ยม โดยเฉพาะเพลงเด่นที่สุดคือ “ทยอยเดี่ยว” จนท่าให้ท่านได้รัมสมญานามว่า “เจ้าแห่งเพลงทยอย” ซึ่งหมายถึงเพลงที่มีเทคนิคการบรรเลงและลีลาที่พิสดาร โดยเฉพาะลูกล้อ ลูกขัดต่างๆ อีกเพลงหนึ่งคือเพลง “เชิดจีน” เป็นเพลงที่ให้อารมณ์สนุกสนาน มีลูกล้อลูกขัด ที่แปลกและพิสดาร ท่านแต่งบรรเลงถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งได้รับการโปรดปรานมาก จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระประดิษฐ์ไพเราะ” ต่าแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็ก ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เป็นครูมโหรีของกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร นอกจากมีความสามารถในการเป่าปี่แล้ว ครูมีแขกยังช่านาญในการสีซอสามสาย โดยได้แต่งเพลงเดี่ยวเชิดนอกทางซอสามสายไว้ด้วย บทเพลงจากการประพันธ์ของท่านคือ เพลงจีนแส อาเฮีย แป๊ะ ชมสวนสวรรค์ การะเวกเล็ก แขกบรเทศ แขกมอญ ขวัญเมือง เทพรัญจวน พระยาโศก จีนขิมเล็ก เชิดในสามชั้น (เดี่ยว) ฯลฯ
  • 9. ผลงานของท่านเป็นมรดกของดนตรีไทยมีมากมาย พอสรุปได้ดังนี้ เป็นผู้ริเริ่มเอาเพลง ๒ ชั้น มาท่าเป็น ๓ ชั้น ริเริ่มท่าเพลงเดี่ยวส่าหรับเครื่องดนตรี เพลงที่มีชื่อเสียงของท่านคือ ทยอยเดี่ยว เป็นต้นฉบับเพลงทยอย เพลงทยอยเป็นเพลงที่มีเทคนิคการบรรเลงและลีลาที่วิจิตร พิศดาร โดยประเภทลูกล้อ ลูกขัด เพลงประเภททยอยที่ส่าคัญ ซึ่งท่านแต่งไว้ คือ ทยอยนอก ซึ่งคงถือเป็นเพลงเอกของท่าน พระประดิษฐ์ไพเราะได้ประดิษฐ์เพลงนี้ขึ้นราวสมัยรัชกาลที่๔ ตอนต้นๆ เหตุที่เรียกว่าทยอยนอกเป็นเพลงเอกก็เพราะ นอกเหนือจากความไพเราะแล้ว ท่านยังแทรกลูกเล่นไว้อย่างน่าฟัง มีทั้งเสียงห นัก เสียงเบา ล้อกันไปมาตลอดเวลา ถ้านักดนตรีคนใดบรรเลงเพลงนี้ไม้ได้ถือกันว่าฝีมือยังไม่ถึงขั้น ดัดแปลงท่านองเพลงจีนขึ้นเป็นเพลงไทย ส่าเนียงจีนคือเพลงจีนแส อาเฮีย แป๊ะและ ชมสวนสวรรค์ บทเพลงอื่นของท่าน คือ การะเวกเล็ก แขกบรเทศ แขกมอญ แขกมอญบางช้างขวัญเมือง พระยาโศก เทพรัญจวน พระอาทิตย์ชิงดวง ทยอยเขมร จีนเก็บบุผา จีนขิมเล็ก นอกจากผลงานดังกล่าวแล้ว ท่านยังเป็นค รูสอนปี่พาทย์ให้กับเจ้านายในรัชกาลที่๔ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเองก็ทรงเรียนกับท่านในรัชกาลที่ ๕ หลังจากท่านได้เป็นครูมโหรีของสมเด็จกรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูรไม่นานท่านก็ถึงแก่กรรม ท่านเป็นต้นสกุลของ ดุริยา งกูร พระเจนดุริยางค์
  • 10. พระเจนดุริยางค์ นามเดิมปิติ วาทยากร เกิดเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๒๖ ต.บ้านทราย อ.ยานนาวาจ.พระนคร บิดาเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน ชื่อ จาคอบ ไฟท์ มารดาเป็นคนไทย เชื้อสายมอญ ชื่อ ทองอยู่ วาทยากร บิดาของท่านได้เดินทางมาประเทศไทย ในฐานะนักท่องเที่ยวและผจญภัย หลังจากที่ได้พักผ่อนและท่องเที่ยวอยู่ในประเทศไทย รู้สึกชอบเมืองไทยประกอบกับเป็นผู้ที่ มีความรู้และเชี่ยวชาญในทางดนตรีและขณะนั้นสมเด็จพระบัณฑูรกรมพระราชวังบวรมหาวิชัยชาญ(วังหน้า) ก่าลังต้องการครู แตรวงจึงมีรับสั่งให้เข้ารับราชการเป็นครูแตรวงในราชส่านัก ต่อมาได้ย้ายมาประจ่าเป็นครูแตรวงทหารบก จนกระทั่งมรณะกร รมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ ซึ่งขณะนั้นพระเจนอายุได้ ๒๖ ปี พระเจนดุริยางค์ได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรกที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ตั้งแต่อายุได้ ๗ ขวบ เรียนอยู่ที่นี่เป็นเวลา 11 ปี ในขณะที่เรียนหนังสืออยู่นั้น บิดาของท่านได้สอนดนตรีให้ด้วย เป็นเหตุที่ท่าให้ท่านรักดนตรีและได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอ งอยู่เสมอตลอดมา เมื่อส่าเร็จจากโรงเรียนอัสสัมชัญก็เป็นครูสอนภาษาอังกฤษอยู่ที่โรงเรียนนี้ 2 ปี แล้วลาออกไปเข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวง แผนกกองเดินรถได้รับพระราชทานสัญญาบัตร มีบรรดาศักดิ์และราชทินน ามว่า “ขุนเจนรถรัฐ” รับราชการอยู่นาน 14 ปี
  • 11. ในระหว่างที่ท่านรับราชการในกรมรถไฟหลวงนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงทราบว่าท่านมีความสามารถในทางดนตรีอยู่มาก จึงรับสั่งให้ย้ายไปรับราชการกรมมหรสพ ต่าแหน่งผู้ช่วยปลัดกรม หลังจากที่ได้เข้าประจ่ากรมมหรสพได้เดือนเศษ ท่านก็ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร มีบรรดาศักดิ์และราชทินนามว่า “หลว งเจนดุริยางค์” และอีกปีต่อมา ก็ได้ เลื่อนต่าแหน่งเป็นปลัดกรมได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระเจน ดุริยางค์” ในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ในระหว่างที่ท่านย้ายเข้าประจ่าอยู่ในกรมมหรสพ ท่านได้ฝึกสอนนักดนตรีในราชส่านัก จนสามารถเล่นดนตรีสากลได้ดีเยี่ยมใ นสมัยนั้น หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เสด็จสวรรคต วงดนตรีสากลหรือวงดนตรีฝรั่งหลวง ต้องหยุดชะงักไปชั่วคราว และต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรง มีพระมหากรุณาธิคุณเป็นองค์อุปถัมภ์ดนตรีสากล จึงได้ด่าเนินงานการบรรเลงเป็นปกติอีกครั้ง ในระยะนั้นมีเจ้านายบางท่าน เกิดความรู้สึกต่อต้านไม่เห็นด้วย ท่านและคณะถูกกลั่นแกล้งต่างๆ นาๆ นักดนตรีต้องได้รับความล่าบาก ทั้งในเรื่องการเงินและความเป็นอยู่ด้วยความอดทนของท่านและนักดนตรีทุกคนในวงก็พยาย ามผนึกก่าลังโดยไม่ย่อท้อ วงดนตรีก็เข้มแข็งยิ่งขึ้นเป็นที่ถูกพระราชหฤทัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๗ ซึ่งไม่ทราบเรื่องที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด นักดนตรีก็ได้เงินเพิ่มขึ้น ตัวท่านเองก็ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาเป็นบ่าเหน็จ ความชอบ ในระหว่างที่เจ้านายหลายท่านมีความเห็นขัดแย้งในเรื่องการส่งเสริมดนตรีสากล เพลงไทยที่ไหวตัวขึ้นมีการวางหลักบันทึกดนตรีสากลเพื่อรักษาหลักฐาน และป้องกันการสูญหาย ซึ่งแต่เดิมนั้นเพลงไทยใช้ต่อกันโดยวิธีจดจ่าเป็นหลัก เมื่อนักดนตรีตายไปเพลงต่างๆ ก็สูญหายไปด้วย งานบันทึกเพลงไทยด้วยโน้ตสากลได้เริ่มขึ้นในความอ่านวยการของสมเด็จกรมพระยาด่ารงราชานุภาพ ซึ่งมี ท่านเป็นผู้วางหลักฐานการบันทึก ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ กิจการของวงดนตรีสากลได้ย้ายไปสังกัดในกรมศิลปากรและกรมศิลปากรได้ส่งพระเจนดุริยางค์ไปดูงานดนตรีในต่าง ประเทศ คือ ประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน ออสเตรียและอิตาลี เป็นเวลา 8 เดือน เมื่อกลับจากต่างประเทศแล้วใน ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้ไปประจ่าอยู่กองทัพอากาศเพื่อจัดตั้งวงดนตรีของกองทัพอากาศขึ้น ต่อมากรมศิลปากรถูกตัดงบประมาณไปมาก กิจการดนตรีสากลทรุดโทรม ท่านได้ลาออกจากหัวหน้ากองดุริยางค์ศิลป์ ไปเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดดนตรีสากล ภายหลังโรงเรียนฝึกหัดดนตรีเลิกล้มกิจการ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจ ารย์ประจ่ามหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ท่านได้กลับเข้ารับราชการในกรมศิลปากรอีก จนกระทั่งถึง พ.ศ. ๒๔๙๗ รวมเวลาที่ท่านรับราชการในกรมมหรสพและกรมศิลปากรนานถึง ๓๗ ปี หลังจากที่ท่านออกจากราชการไปแล้ว ท่านก็ยังคงท่างานเป็นผู้เชี่ยวชาญของกรมศิลปากรต่อไปอีก ในบั้นปลายชีวิตของท่านได้รับต่าแหน่งผู้อ่านวยการและผู้เชี่ยวชาญดนตรีประจ่ากองดุริยางค์กรมต่ารวจ ท่านได้แต่งเพลงแล ะแยกเสียงประสาน เพื่อใช้เล่นกับวงดุริยางค์สากลไว้มาก ล้วนแต่เพลงไพเราะ เช่น เพลงประกอบภาพยนต์เรื่องบ้านไร่นาเรา พระเจ้าจักรา และ บทเพลงในมหาอุปรากรเรื่อง มหาดารตี นอกจากนั้นท่านได้ท่าเพลงไทยประสานเสียง ส่าหรับบรรเลงด้วย วงดุริยางค์สากล เช่น เพลงเขมรไทรโค แขกเชิญเจ้า ต้นวรเชษฐ์ มหาฤกษ์ มหาชัย เป็นต้น
  • 12. ในด้านต่ารา ท่านได้แต่งต่ารา หลักวิชาการดนตรีและขับร้องเล่ม 1-2- 3 แบบเรียนดุริยางค์ศาสตร์สากล แบบเรียนวิชาการประสานเสียง เล่ม 1 และ 2 และอื่นๆ ท่านเป็นปรมาจารย์ทางดนตรี จนได้ชื่อว่า เป็นบิดาแห่งโน้ตสากล ท่านได้ถึงแก่กรรมเมื่อ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑ ๑ ผลงานที่เป็นอมตะของท่าน คือ เพลงชาติไทย ซึ่งเราได้ฟังกันอยู่ทุกวันและตลอดไป หลวงประดิษฐ์ไพเราะ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ นามเดิม ศร ศิลปบรรเลง เกิดเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๔๒๔ ต.ดาวดึงส์ จ. สมุทรสงคราม เป็นบุตรคนสุดท้องของนางยิ้มและนายสิน ศิลปบรรเลง ซึ่งคุณพ่อเป็นครูปี่พาทย์ ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดสมุทร สงคราม เมื่อเด็กชาย ศร อายุ ๕ ขวบ ก็สามารถตีฆ้องวงเป็นเพลงได้โดยไม่มีใครหัดให้แต่ยังไม่ได้สนใจจะหัดจริงจัง มารู้สึกประทับใจในเรื่องดนตรีไทยและเรียนเอา จริงเอาจังเมื่ออายุ ๑๑ ขวบ เนื่องมาจากคราวที่โกนจุกตัวเอง บิดาท่านได้จัดเป็นงานใหญ่มี ปี่พาทย์มาประชันวงกันหลายวงได้เห็นฝีมือความสามารถของดนตรีเหล่านั้น จึงได้เริ่มฝึกหัดกับบิดาตั้งแต่นั้นมาและอีกไม่นา นนักก็ออกประชันวงได้ จากการได้ออกแสดงฝีมือบ่อยๆ ท่าให้ชื่อเสียงของนายศรเป็นที่เลื่องลือในหมู่นักดนตรี โดยเฉพาะในงานโกนจุกเจ้าจอมเอิบและเจ้าจอมธิดาเจ้าพระยาสุรพันธ์ พิสุทธิ์ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นงานใหญ่ ฝีมือตีระนาดของนายศร ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด ครั้งนี้เองได้ท่าให้น่าชื่อเสียงให้แก่นายศรเป็นอันมาก แ ละอีกครั้งหนึ่งในงานประชันวงในงานปิตุฉา เจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี นายศรได้เดี่ยวระนาดเอกเพลงกราวในเถา เพลงที่เล่นยากมากและยาวถึง ๑ ชั่วโมง นายศรบรรเลงได้อย่างดียิ่ง สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติติวงศ์ ซึ่งเป็นนักดนตรีฝีมือเยี่ยมถึงกับประทานรางวัล เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าภานุพันธุวงศ์วรเดช เสด็จไปบัญชาการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสถ้่าเขางู จังหวัดราชบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าวังบูรพาองค์นี้ได้ทรงทราบกิตติ - ศัพท์ของนายศร จึงรับสั่งให้หาตัว เมื่อได้ทรงสดับฟังฝีมือของนายศรแล้ว ทรงพอพระทัยมาก ถึงกับทรงขอตัวจากบิดาท่านใ
  • 13. ห้เข้าเป็นมหาดเล็กในพระองค์ นายศรจึงได้เข้ามาเป็นมหาดเล็ก จนได้ต่าแหน่งเป็นจางวางคือ เป็นใหญ่ในบรรดามหาดเล็กอยู่ในวังบูรพาภิรมย์ ตั้งแต่เมื่ออายุได้เพียง ๑๙ ปี ในระยะที่อยู่ในวังบูรพาภิรมย์นี้เอง ชื่อของจางวางศรและวงดนตรีบูรพาภิรมย์เป็นที่ยกย่องกันทั่วไป ทั้งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระ ยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ก็โปรดทรงชุบเลี้ยงด้วยพระกรุณาเป็นอย่างยิ่ง ทรงอุปถัมภ์ให้อุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ๑ พรรษา โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระ- ยาวชิรญาณวโรรสทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อจากนั้นทรงพระกรุณาแต่งงานให้กับ น.ส.โชติ หุราพันธ์ ธิดาพันโทพระประมวญ ประมาณพล จางวางศรได้ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่สนองพระกรุณาด้วยความจงรักภัก ดีอย่างสุดความสามารถตลอดมา ความสามารถของจางวางศรนั้นไม่จ่าเพาะเพียงฝีมือการบรรเลงดนตรีไทยได้ทุกเครื่องมือเท่ านั้น ท่านยังมีความสามารถในการประดิษฐ์เพลงขึ้นใหม่ ตลอดถึงการปรับปรุงเพลงที่มีอยู่แล้วขยายอัตราจังหวะขึ้นเป็น สามชั้นและทอนลงเป็นชั้นเดียว ซึ่งเรียกว่า เพลงเถาอีกเป็นจ่านวนมาก การปรับปรุงประเภทนี้ท่านได้ท่าไว้ถึงร้อยกว่าเพลง ซึ่งนิยมเล่นกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ในคราวสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เสด็จประพาสชวาใน ปี พ.ศ. ๒๔๕๑ จางวางศร ศิลปบรรเลง มหาดเล็กในพระองค์ได้โดยเสด็จไปด้วย ได้จ่าเพลงชวามาหลายเพลง ได้น่ามาเรียบเรียงใหม่เป็นเพลงตามหลักดุริยางค์ไทย เช่น เพลงบูเซนซอคและเพลงยะวา เป็น ต้น พร้อมกันนี้ท่านได้น่าอังกะลุงซึ่งเป็นเครื่องดนตรีของชวาเข้ามาเช่นในประเทศไทยเป็นคนแรก โดยน่ามาฝึกหัดมหาดเล็กใ นวังบูรพภิรมย์ จนสามารถน่าออกแสดงได้และการแสดงครั้งแรกเป็นการแสดงหน้าพระที่นั่งเครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นที่นิยมเล่นกันแพร่หลายมา จนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชด่าเนินเลียบมณฑลนครศรีธรรมราช อุปราชภาคใต้ขณะนั้น ได้ให้จางวางศรเป็นผู้ปรับปรุงวงดนตรีไว้รับเสด็จ จางวางศรได้น่าเพลง เขมรเขาเขียวสองชั้น ของเก่ามาประดิษฐ์ยืดเป็น ๓ ชั้น ใช้ท่านองกรออย่างอ่อนหวานผิดกว่าเพลงอื่นๆ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพอพระราชหฤทัยในเพลงนี้มาก จางวางศรได้ตั้งชื่อเพลงใหม่นี้ว่า เขมรเลียบนคร เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์รับเสด็จฯ ในครั้งนั้น เพลงนี้ก็มีชื่อเสียงเช่นเดียวกันเรื่อยมา เป็นที่นิยมจนทุกวันนี้ จางวางศรได้ปรับปรุงเพลงไทยต่างๆ ให้เป็นเพลงเถาขึ้นหลายสิบเพลง พร้อมทั้งปรับปรุงดนตรีไทยให้ดียิ่งขึ้นด้วยและได้น่าเพลงที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่เหล่านั้นออกแส ดงในงานคล้ายวันเกิดของเจ้าพระยารามราฆพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประทับฟังอยู่ด้วย การแสดง ดนตรีแต่ละครั้งของจางวางศรเป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์พระราชทิ นนามให้เป็น หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ซึ่งเป็นราชทินนามที่เหมาะสมอย่างยิ่ง ต่อมาท่านก็ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นปลัด กรมพิณพาทย์หลวง หลังจากนั้นไม่นานพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ก็เสด็จสวรรคต ในสมัยพระบาทสมเด็จพะปกเกล้าฯ รัชกาลที่ ๗ หลวงประดิษฐ์ไพเราะร่วมกับหลวงไพเราะเสียงซอ(อุ่น ดุริยชีวิน) ก็ได้รับราชการเป็นผู้ถวายวิชาดนตรีไทยแด่พระบาทสมเ ด็จพระปกเกล้าฯและสมเด็จพระบรมราชินี และได้แนะน่าวิธีการแต่งเพลงไทยตามหลักดุริยางค์ไทย จนทรงพระราชนิพนธ์เพ ลงได้ เพลงที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นคือ เพลงราตรีประดับดาวเถา เขมรละออองค์และคลื่นกระทบฝั่ง เป็นต้น
  • 14. ในคราวพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เสด็จประพาสเขมรใน พ.ศ. ๒๔๗๓ หลวงประดิษฐ์ไพเราะก็ได้เสด็จไปด้วย และได้มีโอกาสแสดงดนตรีไทยร่วมกับวงปี่พาทย์เขมร พระเจ้ามณีวงศ์ กษัตริย์เขมรทรงพอพระทัยมาก ได้ขอพระราชทานพร ะบรมราชานุญาตให้หลวงประดิษฐ์ไพเราะช่วยสอนเพลงไทยให้แก่ครูดนตรีในราชส่านักเขมร ท่านได้ถือโอกาสนี้ศึกษาเพลงเข มรไปด้วยหลายเพลง เช่น เพลงนกเขาขะแมร์ ศรีโสภณ เครอวอังโกเลี้ยด เป็นต้น สมเด็จกรมพระยาด่ารงราชานุภาพ มีพระด่าริให้บันทึกเพลงไทยด้วยตัวโน้ตสากล ในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ หลวงประดิษฐ์ไพเราะได้เป็นหัวหน้าฝ่ายบอกท่านองและเป็นกรรมการตรวจตราเพลงที่บันทึกนั้นด้วย ท่านเป็น ผู้มีสติปัญญาและฝีมือในทางดนตรี มีความยันหมั่นเพียรในการฝึกฝนจนมีฝีมือเลื่องลือไปทั่วประเทศ ท่านใช้เวลากว่า ๖๐ ปี ในการสร้างดุริยางค์ศิลป์เพื่อกล่อมคนไทยทั้งชาติด้วยเพลงอันไพเราะ ท่านเป็นนักดนตรีที่มีแนวความคิดใหม่ๆ แปลกๆ ในการปรับปรุงการดนตรีไทยให้ดียิ่งขึ้น เป็นต้นต่ารับของเพลงร้องที่มีลีลาอ่อนหวาน เช่น เพลงเขมรเลียบนคร เขมรพวง ไส้พระจันทร์ ฯลฯ เป็นผู้น่าของการเปลี่ยนแปลงเพลงเป็นทางต่างๆ ได้แก่ เพลงพราหมณ์ดีดน้่าเต้า ลาวเสี่ยงเทียน ช้างประสานงาและเพลงโอ้ต่างๆ เป็นผู้ประดิษฐ์เพลงที่มีลูกน่าขึ้นต้น และเพลงที่แสดงความหมายของธรรมชาติอย่างแท้จริง เช่น เพลงแสนค่านึง เพลงตับภุมริน เพลงนกเขาขะแมร์ เป็นต้น เป็นผู้น่าเพลงไทยไปเผยแพร่ในกัมพูชา เป็นผู้น่าอังกะลุงของชว ามาเปลี่ยนแปลงปรับปรุงใช้บรรเลงเพลงไทยเป็นคนแรก และเป็นผู้ริเริ่มแต่งเพลงไทยประเภทจังหวะ ๓ ชั้นให้เป็น ๔ ชั้น มีหลายเพลง เช่น พม่า๕ ท่อน ๔ ชั้น พราหมณ์ดีดน้่าเต้า ๔ ชั้น ดาวจรเข้ ๔ ชั้น และเพลงเขมรไทรโยค ๔ ชั้น เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังเคยท่าทางเดี่ยวขิมเพลงแป๊ะให้นักเรียนนาฏศิลป์ บรรเลงด้วยขิมหลายสิบตัวพร้อมๆ กัน เพลงทุกเพลงที่หลวงประดิษฐ์ไพเราะแต่งขึ้น ล้วนมีท่านองไพเราะน่าฟังและมีลีลาพิศดารแปลกกว่าผู้อื่น ได้รับความนิยมแพร่หลาย เช่น เพลงพราหมณ์ดีดน้่าเต้า เพลงปฐมดุสิต เพลง อะแซหวุ่นกี้และเพลงเขมรปากท่อ เป็นต้น เพลงเหล่านี้มีผู้แต่งขึ้นหลายๆ มีทางต่างๆ กัน ตามแนวความคิดและสติปัญญาของนักดนตรีแต่ละคน แต่ทางของหลวงประดิษฐ์ไพเราะเป็นที่นิยมแพร่หลายมากกว่าทางอื่น ท่านเป็นผู้ที่มีความจ่า มีเชาวน์และสติปัญญาปฏิภาณในทางดนตรีเป็นเลิศ สามารถจ่าท่านองเพลงได้กว่า 1,000เพลง โดยไม่ต้องอาศัยโน้ต เพลงบางเพลงท่านแต่งโดยวิธีด้นคือนึกท่านองขึ้นทันทีทันใดก็มี เช่น เพลงอะแซหวุ่นกี้ซึ่งมีถึง ๑๐ จังหวะ ท่านเคยเป็นครูสอนที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง โรงเรียนราชินี โรงเรียนนาฏศิลป์และที่ครุสภา ท่านสามารถสอนได้เกือบทุกเครื่ องมือ ตลอดจนการขับร้องก็สอนได้ ส่าหรับศิษย์ที่มีฝีมือดี ท่านก็เลือกสอนทางที่พลิกแพลง ส่าหรับศิษย์ที่มีฝีมือไม่สู้ดีนักท่านก็เลือกทางธรรมดามีท่านองอ่อนหวาน เพลงที่หลวงประดิษฐ์ไพเราะแต่งขึ้น มีมากมายนับเป็นหลายร้อยเพลง เช่น กระแตไต่ไม้ ๓ชั้น เขมรถา เขมรปากท่อเถา เขมรเลียบนครเถา เขมรโพธิสัตว์เถา แขกขาวเถา แขกสาหร่ายเถา จีนน่าเสด็จ ๓ ชั้น จีนลันถันเถา นกเขาขะแมร์เถา นาวเยื้อง ๓ ชั้น ปฐมดุสิต ๓ ชั้น ประชุมเทวราช ๓ ชั้น พม่าเห่เถา พราหมณ์ดีดน้่าเต้าเถา ม้าสะบัดกีบเถา
  • 15. มุล่งเถา ยวนเคล้าเถา ลาวเสี่ยงเทียนเถา สมิงทองเถา สาริกาเขมร สาวสอดแหวน ๓ ชั้น แสนค่านึงเถา ไส้พระจันทร์เถา อะแซหวุ่นกี้เถา โอ้ลาว เถา เป็นต้น หลวงประดิษฐ์ไพเราะได้ประดิษฐ์เพลงใหม่ๆ ขึ้นเสมอๆ ท่านมีความเห็นว่าเพลงไทยวิวัฒนา การได้ จะต้องมีการประดิษฐ์เพลงให้มีเพิ่มขึ้น โดยรักษาหลักเดิมและใช้ศิลปะในการประดิษฐ์การบรรเลงให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป เพลงไทยนั้นมีความไพเราะปราณีตพิศดารเป็นพิเศษอยู่ในตัวเองแล้ว หลวงประดิษฐ์ไพเราะได้ล้มป่วยลงและถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ หลวงไพเราะเสียงซอ หลวงไพเราะเสียงซอเดิมชื่ออุ่น ดูรยชีวิน เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 ณ ต่าบลหน้าไม้อ่าเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายพยอมและนางเทียบ เมื่ออายุ 11 ปีท่านได้บวชเป็นสามเณรที่วัดหน้าต่างนอก ภายหลังบิดามารดาย้ายเข้ากรุงเทพมหานครท่านจึงย้ายไปเรียนที่วัดปริณายก โดยเริ่มแรกท่านเรียนซอด้วงจากบิดาของท่าน เวลาต่อมาท่านถวายตัวเข้าเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรงด่ารงพระยศเป็นสมเด็จพระบ รมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ท่านจึงมีโอกาสศึกษาดนตรีไทยกับพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ต่อมามีการก่อตั้งกองเครื่องสายฝรั่งหลวงในกรมมหรสพ ท่านได้รับเลือกให้ฝึกหัดไวโอลิน และท่านได้เข้ารับราชการในกองดนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2448[1] เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯเสด็จขึ้นเถลิงราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ท่านจึงได้เลื่อนขั้นเป็นมหาดเล็กประจ่า ต่อมารัชกาลที่หกมีพระราชประสงค์ให้มีวงดนตรีตามเสด็จพระราชด่าเนินเมื่อแปรพระราชฐานตามหัวเมือง เรียกกันว่า”วงตามเสด็จ”ประกอบด้วยข้าราชการที่มีฝีมือทางด้านดนตรี
  • 16. ท่านเป็นผู้หนึ่งในวงตามเสด็จได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนดนตรีบรรเลง รองหุ้มแพรมหาดเล็ก ในที่สุดท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ที่หลวงไพเราะเสียงซอ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ครั้นสมัยรัชกาลที่เจ็ด หลวงไพเราะเสียงซอได้มีโอกาสเป็นพระอาจารย์สอนเครื่องสายถวายเจ้านาย ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อันมี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าร่าไพพรรณี พระบรมราชินี กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ กรมหมื่นอนุพงศ์จักรพรรดิ์ หม่อมเจ้าถาวรมงคล จักรพันธุ์และหม่อมเจ้าแววจักร จักรพันธุ์ นอกจากนี้ท่านได้สอนถวายพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคลและข้าหลวงอีกด้วย ภายหลังกรมศิลปากรได้เชิญท่านสอนประจ่าที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ และท่านยังได้สอนและปรับปรุงวงดนตรีไทยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนท่าให้วงดนตรีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็น ที่รู้จักในเวลาต่อมา[2] หลวงไพเราะเสียงซอถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุ 84 ปี หลวงไพเราะเสียงซอสมรสกับนางนวม มัธยมจันทร์ มีบุตรธิดา 8 เวลาต่อมาท่านได้สมรสครั้งที่สองกับหม่อมเจ้ากริณานฤมล สุริยง มีบุตรธิดาอีก 5 คน ผลงานของหลวงไพเราะเสียงซอนั้นมีปรากฏในราชการมากมาย อาทิวงขับไม้ในพระราชพิธีสมโภชต่างๆในสมัยรัชกาลที่หก เช่นพระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีขึ้นระวางพระคชาธารเป็นต้น และในสมัยรัชกาลที่เจ็ด เพลงคลื่นโหมโรงกระทบฝั่งซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่เจ็ด ก็มีที่มาจากค่ากราบบังคลทูลของหลวงไพเราะฯ เมื่อครั้งตามเสด็จประพาสสัตหีบเมื่อปี พ.ศ. 2474 ครูช้อย สุนทรวาทิน ครูช้อย สุนทรวาทิน ครูช้อยท่านอยู่ในสมัย ช่วง พ.ศ. 2370 – 2380 ชีวิตในวัยเด็กนั้นท่านป่วยเป็นไข้ทรพิษ แต่รอดตายมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ เพราะหนึ่งในร้อยในพันจริงๆจึงรอดตายจากโรคนี้ได้ แต่ด้วยพิษแห่งโรคร้ายแม้รอดตายมาได้แต่ก็ต้องเสียดวงตาทั้งสองข้าง แต่แม้ดวงตาทั้งสองข้างของท่านจะบอดสนิทตั้งแต่วัย เยาว์ แต่ท่านกลับไม่เคยคิดพ่ายแพ้แก่ชะตาชีวิตตนเอง และด้วยสายเลือดแห่งศิลปินที่มีอยู่ภายในชีวิตจิตวิญญาณของท่านท่าให้ท่าน ฝึกหัดเครื่องเล่นดนตรีไทยด้วยตนเองตั้งแต่เด็ก ในความจริงครูช้อย ท่านก็เกิดในตระกูลศิลปินอยู่แล้ว แต่ด้วยที่ท่านตาบอดผู้เป็นบิดาจึงมิได้หัดท่านในทางดนตรี ก็ด้วยความใส่ใจ ความรักในศิลปะดนตรีนี่เองที่ท่าให้ท่านฝึกฝน
  • 17. โดยเริ่มจากการน่าเอากะลาใต้ถุนบ้านมาเรียงกัน ๑๖ ใบแล้วตีตาม หูก็แง่ฟังการสอนของบิดาบนเรือน ส่วนตัวเองอยู่ใต้ถุนบ้านหัดตามไป และยามใดที่บิดาท่านไม่อยู่ท่านก็จะขึ้นไปฝึกหัดกับเครื่องดนตรีจริงบนบ้าน จนเกิดความช่านาญในเครื่องดนตรีทุกชนิดที่มีอยู่ เล่ากันว่าอยู่มาวันหนึ่ง มีงานดนตรี แต่คนระนาดป่วย หาคนแทนไม่ได้ พวกลูกศิษย์รู้ฝีมือลูกชายอาจารย์ว่าใช้ได้ ก็เสนอให้ครูช้อยไปเป็นคนระนาดแทน กระนั้นบิดาก็ยังไม่แน่ใจ ขอทดสอบฝีมือลูกชาย…เห็นฝีมือแล้ว จึงยอมปล่อยตัวไปออกงาน หลังจากนั้นบิดา ก็เริ่มอบรมบ่มเพาะฝีมือดนตรีให้ลูกชายอย่างจริงจัง ปลายรัชกาลที่ 4 เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง โดยเฉพาะเรื่องปี่กระทั่งบิดาเห็นแวว จึงส่งไปเรียนวิชาปี่กับครูมีแขก (พระประดิษฐ์ไพเราะ) จึงยิ่งมีความช่านาญเพิ่มขึ้น ต่อมาเมื่อครูช้อยเป็นครูดนตรี สอนดนตรีทั้งที่บ้าน ในวัด ถึงในวัง มีลูกศิษย์ส่าคัญสองคน คนแรก ลูกชายครูช้อยเอง ชื่อ แช่ม ต่อมาเป็นพระยาเสนาะดุริยางค์ (คู่แข่งระนาดหลวงประดิษฐ์ไพเราะ) และศิษย์เอกชื่อแปลก ต่อมาเป็นพระยาประสานดุริยศัพท์ ความน่าอัศจรรย์อันเป็นความอัจฉริยะภาพอย่างหนึ่งของครูช้อยคือ หากศิษย์คนใดก็ตามเล่นเครื่องดนตรีเสียงเพี้ยน ไม่ถูกต้อง ครูช้อยจะใช้วิธี “ดีดเม็ดมะขาม” ใส่ผู้นั้นอย่างถูกต้องแม่นย่า โดยรู้ว่าใครเป็นใครนั่งตรงไหนอย่างถูกต้องราวกับตาเห็น สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของครูช้อยอีกอย่างหนึ่งคือ ท่านเลี้ยงนกฮูก เอาไว้สื่อสารกับลูกศิษย์ ท่านฝึกสอนนกฮูกของท่านจนพูดภาษาคนได้ โดยท่านสอนให้มันพูดว่า “พ่อเรียก” เหตุที่ท่านสอนค่านี้เพราะว่า ท่านจะได้ใช้ให้นกฮูกไปตามศิษย์มาพบท่านได้ โดยเมื่อศิษย์ที่มาเรียนดนตรีกลับบ้าน ครูช้อยก็ให้อุ้มนกฮูกไปด้วย ถึงบ้านแล้วก็ปล่อยให้นกฮูกบินกลับ ท่าซ้่าซากอย่างนี้ จนนกฮูกจ่าบ้านศิษย์ทุกคนได้แม่น ยามใดที่มีคนมาเรียกวงปี่พาทย์ของท่านไปเล่น ท่านก็จะส่งนกฮูกของท่านไปตามในเวลาเย็น นกฮูกจะบินไปเกาะหน้าบ้านของลูกศิษย์คนแล้วคนเล่า พร้อมทั้งส่งเสียงว่า “พ่อเรียก” อันเป็นที่รู้กันว่า ครูช้อยท่านตามให้ไปพบ เครื่องดนตรีที่ครูช้อยช่านาญและมีชื่อเสียงได้แก่ ระนาดเอก ปี่ ซอสามสาย และเครื่องดนตรีไทยอีกหลายชนิด ผลงานของครูช้อยมีมากมาย ส่วนที่แพร่หลายถึงวันนี้ได้แก่ เพลง ใบ้คลั่ง เขมรโพธิสัตว์ อกทะเล ฯลฯ ส่วนลูกศิษย์คนส่าคัญของท่านได้แก่พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ผู้เป็นลูก และหลานของท่านเองคือ ครูเลื่อน สุนทรวาทิน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์