SlideShare a Scribd company logo
1 of 92
Download to read offline
โครงการอบรมการผลิตสื่อ
    การสอนด้วยโปรแกรม
        CourseLab
    Interactive eLearning
   Content by CourseLab

      ๑๐-๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
ณ ห้องบริการคอมพิวเตอร์ ห้อง ๙๓๑


    โดย อ.เขมปริต ขุนราชเสนา
    สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
   มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                         อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

                                                    คํานํา

          ปจจุบันนวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษามีหลายประเด็นหลายเรื่องที่เป็นที่สนใจในวงการศึกษา
เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของนโยบายด้านการศึกษาของประเทศ                    ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึง
การศึกษาระดับที่สูงที่สด การพัฒนานวัตกรรมด้านการศึกษาซึ่งใช้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน
                            ุ
ทําให้ผ้เรียนได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตนเอง
        ู                                                             โดยในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้
เข้ามามีบทบาทในการเรียนและการสอนมากขึ้น ทําให้การเรียนการสอนไม่จํากัดอยู่ที่เวลาและสถานที่ มีการ
ปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เรียนผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งเป็นการแก้ปัญหาบุคลิกลักษณะของผู้
เรียนที่ไม่มีความมั่นใจในการเรียนกลัวการตอบคําถาม การตั้งคําถาม ซึงการใช้การสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์
                                                                        ่
เน็ต ทําให้ผู้เรียนกล้าแสดงออกความคิดเห็นมากขึ้น
          ทั้งนี้สื่อการเรียนที่นําตอบสนองความต้องการของผู้เรียนยังไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเกิดจากข้อจํากัดหลาย
ประการ เช่น ทักษะในการสร้างสื่อ การใช้โปรแกรมในการสร้างสื่อของผู้สอน รวมทั้งราคาของโปรแกรมที่ใช้
ในการสร้างสื่อ ดังนั้นจึงจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม CourseLab” ขึ้นโดยใช้
โปรแกรม CourseLab ซึงเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาอีเลิร์นนิ่งแบบฟรีแวร์(Freeware) ไม่เสียค่าลิขสิทธิ์
                                ่
ของโปรแกรม และเพื่อเสริมทักษะในการพัฒนาสื่อการสอนที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

                                                                      เขมปริต ขุนราเสนา
                                                                      สิงหาคม 2554




                                                                                 Interactive Elearning By CourseLab
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

                                           สารบัญ

เรื่อง                                                                                              หนา

ลักษณะของโปรแกรม CourseLab                                                                           1
ระบบ LMS                                                                                             2
การติดตั้งโปรแกรม                                                                                    3
เริ่มตนใชงาน                                                                                       7
การลงทะเบียนใชงานโปรแกรม                                                                            7
เริ่มตนสรางบทเรียนอิเล็กทรอนิกส                                                                  12
สวนประกอบของโปรแกรม CourseLab                                                                      18
แนะนําเมนูตาง ๆ ของโปรแกรม CourseLab                                                               19
การกําหนดคาใหกับบทเรียน                                                                           21
     • Design Setting                                                                               21
     • Runtime Setting                                                                              24
     • กําหนดตัวแปรเพื่อเก็บคะแนน                                                                   25
     • การแกไขบทเรียน (Editting Module)                                                            29
              o แกไขหนาแรกของบทเรียน                                                              29
              o แกไขหนาหลักของบทเรียน                                                             29
              o แกไขหนานําเสนอเนื้อหา                                                             30
     • การเพิ่มวัตถุใหกับบทเรียน (Object)                                                          30
     • การเพิ่มขอความรูปภาพ ตารางดวย Texbox                                                       31
     • การกําหนด Effect การแสดงผลใหกับกลองขอความ                                                 33
     • การเพิ่มไฟลวดีโอ
                       ี                                                                            34
     • การเพิ่มเสียงใหกับวัตถุ                                                                     37
     • การใช TimeLine จัดลําดับการแสดงผล                                                           38
     • การเพิ่มลบสไลดบทเรียน                                                                       39
     • การเชื่อมโยงสไลดบทเรียน                                                                     40
การสรางแบบทดสอบ                                                                                    41
              o การสรางชุดทดสอบ                                                                    41
              o การรายงานผลการสอบ                                                                   41
ตัวอยางการสรางแบบทดสอบรายขอที่มีปฏิสัมพันธ                                                      49
Even หรือเหตุการณที่ใชบอย                                                                        55
                                                                        Interactive Elearning By CourseLab
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                   อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

การแทรกตัวนําทาง (Insert a Navigation)                                                                 55
การแทรกสัญลักษณหนาขอความ (Insert a Lists)                                                           56
การแทรกบอลลูน (Insert a Balloon)                                                                       58
การเผยแพรบทเรียนอิเล็กทรอนิกส (Publish Course)                                                       59

ภาคผนวก
   • แนวทางการสรางคอรสแวรที่มีคุณภาพ                                                                65
   • ตัวอยางการวิเคราะหหนวยงาน/ความตองการ/ผูเรียน                                                 72
   • แบบวิเคราะหรูปแบบการเรียนรูของผูเรียน                                                          75
   • การวิเคราะหเนื้อหา                                                                               77
   • ตัวอยางการวิเคราะหโครงสรางเนื้อหาสําหรับนําไปพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส                        78
   • การวิเคราะหจดประสงคการเรียนรู
                   ุ                                                                                   79
   • การวิเคราะหกจกรรมและสื่ออิเล็กทรอนิกส
                     ิ                                                                                 80




                                                                           Interactive Elearning By CourseLab
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                    อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

                                               โปรแกรม CouseLab
                                                         โปรแกรม CourseLab เปนโปรแกรมที่จัดอยูใน
                                               กลุมที่ใชสําหรับนิพนธบทเรียนหรือ Authoring Tool เปน
                                               โปรแกรมฟรีแวร ไมกําหนดระยะเวลาใชงานดังนั้นจึงเปน
                                               โปรแกรมที่นาสนใจโปรแกรมหนึ่งที่นานํามาใชในการ
                                                                
                                               สรางบทเรียนอิเล็กทรอนิกสหรือ e-learning ที่สนับสนุน
                                               มาตรฐานอีเลิรนนิ่งตาง ๆ เชน SCORM 1.2, SCORM
                                               2004 (SORM 1.3) และ AIC และสามารถเพิ่มความ
                                               นาสนใจใหกบบทเรียนโดยการเขียน Action ใหกับชินงาน
                                                              ั                                  ้
                                               หรือวัตถุได สามารถดาวนโหลดโปรแกรมไดที่เว็บไซต
ของโปรแกรม CourseLab ไดโดยตรงคือ http://www.courselab.com หรือเว็บ www.irecog.com ไปที่
downloads แลวเลือกหมวดหมูเปน Authoring Tool ก็ไดเชนกัน
ลักษณะการใชงาน
    • ลักษณะการใชงานคลาย ๆ กับ PowerPoint
    • ออกแบบเนื้อหาในรูปแบบโมเดลโครงสราง
    • ทํางานในลักษณะ WYSIWYG (What You See Is What You Get)
    • การเรียกใชงานวัตถุในโปรแกรมเปนลักษณะ Drag and Drop
    • รองรับการใชงานไฟลมเี ดียตางๆ เชน Flash, Shockwave, Java และไฟลวีดีโอในรูปแบบตางๆ มาใช
       รวมกันได
    • วัตถุหรือ Object เชน กลองขอความ รูปภาพ ปุม ทั้งหมดสามารถกําหนดใหปฏิสัมพันธกับผูใชงานได
    • การเผยแพรผลงาน สามารถเผยแพรไดหลายรูปแบบเชน ซีดี-รอม อินเตอรเน็ต และสามารถนําไปใช
       งานรวมกับระบบ LMS (Learning Management System)

ลักษณะเดนของโปรแกรม CourseLab
       1. ผูใชงานไมจาเปนตองมีความรูดานการเขียนโปรแกรม
                        ํ
       2. มีการตูนเคลื่อนไหวในโปรแกรม เพื่อใชในการประกอบการสรางสื่อฯ
       3. สามารถทดสอบผลงานไดดวยตัวโปรแกรมเอง
                                     
       4. ใชทรัพยากรเครื่องคอมพิวเตอรนอย
       5. สนับสนุนมาตรฐานอีเลิรนนิ่งตางๆ เชน AICC, SCORM 1.2, SCORM 2004 (SCORM 1.3)
                                   

ระบบ LMS (Learning Management System) ที่สนับสนุนการนําบทเรียนไปใชงาน
      โปรแกรม CourseLab สนับสนุนการใชงานกับระบบ LMS ที่ไดรับความนิยม เชน
      • Akuter Enterprise
โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                        Interactive Elearning By CourseLab 1
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                       อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

        •   ATutor
        •   BlackBoard
        •   Docebo
        •   IBM Learning Space
        •   IBM Lotus Workplace Collaborative Learning
        •   Ilias
        •   Microsoft SharePoint Learning Kit
        •   Moodle
        •   Oracle iLearning
        •   SAP eLearning Solution
        •   WebSoft WebTutor and WebTutor Lite

ระบบ Learning Management System หรือ LMS คืออะไร
          ระบบบริหารจัดการเรียนการสอนผานระบบเครือขาย หรือระบบบริหารจัดการเรียนรู หรือเรียกกันใน
ชื่อทั่วไปวา LMS ยอมาจาก Learning Management System เปนระบบทีใชบริหารจัดการการเรียนรูทอํานวย
                                                                        ่                           ี่
ความสะดวก รวมทั้งการสรางแบบทดสอบ การทดสอบและการประเมินผลบนเครือขายอินเทอรเน็ต โดย
องคประกอบของ LMS ประกอบดวย 5 สวน ดังนี้
          1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุมผูใชงานแบงเปน 3 ระดับ คือ ผูเรียน ผูสอน และ
ผูบริหารระบบ โดยสามารถเขาสูระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได โดยผานเครือขายอินเทอรเน็ต ระบบสามารถ
รองรับจํานวน ผูใช และ จํานวนบทเรียนได ไมจํากัด โดยขึ้นอยูกับ ฮารดแวรและ /หรือ ซอฟทแวรทใช และ
                                                                                                 ี่
ระบบสามารถรองรับการใชงานภาษาไทยอยางเต็มรูปแบบ
          2. ระบบการสรางบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบดวย เครื่องมือในการชวยสราง
เนื้อหา ระบบสามารถใชงานไดดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media
          3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังขอสอบ โดยเปน
ระบบการสุมขอสอบสามารถจับเวลาการทําขอสอบและการตรวจขอสอบอัตโนมัติ พรอมเฉลย รายงานสถิติ
คะแนน และสถิติการเขาเรียนของนักเรียน
          4. ระบบสงเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบดวยเครื่องมือตางๆ ที่ใชส่อสารระหวาง ผูเรียนกับ
                                                                                   ื
ผูสอน และ ผูเรียนกับผูเรียน ไดแก เว็บบอรด (Web board) และ หองสนทนา (Chatroom) โดยสามารถเก็บ
ขอมูลเหลานี้ได
          5. ระบบจัดการขอมูล (Data Management System) ประกอบดวย ระบบจัดการไฟลและโฟลเดอร
ผูสอนมีเนื้อที่เก็บขอมูลบทเรียนเปนของตนเอง โดยไดเนื้อที่ตามที่ผูดแลระบบกําหนดให
                                                                      ู



โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                           Interactive Elearning By CourseLab 2
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                   อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

เว็บไซตของโปรแกรม CourseLab
        ทานสามารถดาวนโหลดโปรแกรม CourseLab ไดที่เว็บไซตโดยตรง




การติดตั้งโปรแกรม CourseLab
   1. ดาวนโหลดโปรแกรมที่ www.courselab.com
   2. เมื่อดาวนโหลดแลวจะไดไฟล courselab_2_installer.zip ซึ่งไฟลจะถูกบีบอัดไวในลักษณะของซิฟ
       ไฟล ใหทําการคลายไฟลดังกลาวออกมา




    ภาพที่ 1 โปรแกรมที่ไดจากการดาวนโหลด


                                                                 ภาพที่ 2 แตกไฟลที่ถูกบีบอัดไว


โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                       Interactive Elearning By CourseLab 3
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                             อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

จะไดดังภาพที่ 3




                                   ภาพที่ 3 โปรแกรมที่ไดจากการแตกไฟล

3. ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟลโปรแกรม CourseLab_2_installer.msi



                                 ภาพที่ 4 การดับเบิ้ลคลิกที่ไฟลสําหรับติดตั้ง

4. เมื่อไดดังภาพที่ 5 ให กดปุม Next
                               




                                        ภาพที่ 5 เริ่มการติดตั้งโดยกดปุม Next

โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                                 Interactive Elearning By CourseLab 4
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                       อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

5. ทําการติดตังโปรแกรมโดย กดปุม Install ดังภาพที่ 6
              ้




                                ภาพที่ 6 กดปุม Install เพื่อติดตั้งโปรแกรม
                                             




                             ภาพที่ 7 ระบบกําลังติดตั้งโปรแกรม CourseLab




โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                           Interactive Elearning By CourseLab 5
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                       อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

6. ระบบทําการติดตั้งโปรแกรมเสร็จแลวให กดปุม Finish




                                 ภาพที่ 8 กดปุม Finish เพื่อจบการติดตั้งโปรแกรม
                                              
7. เมื่อติดตั้งเสร็จแลวใหดูทหนาจอคอมพิวเตอร วามี Icon ของโปรแกรม CourseLab หรือไม ถาติดตั้งเสร็จ
                              ี่
เรียบรอยแลวไมมีปญหาอะไรเกิดขึ้น สามารถดูผลการติดตั้งที่หนาจอซึ่งจะเห็น Icon ไดดังภาพ




                         ภาพที่ 9 Icon ของโปรแกรมที่แสดงที่หนาจอคอมพิวเตอร




โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                           Interactive Elearning By CourseLab 6
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                       อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

เริ่มตนใชงานโปรแกรม

การลงทะเบียนโปรแกรม
        หลังจากที่ไดตดตั้งโปรแกรมเสร็จเรียบรอยแลว ในการเรียกใชงานโปรแกรมครั้งแรกนั้นเราตอง
                      ิ
ลงทะเบียนเพือใชงานโปรแกรมโดยที่ไมตองเสียคาใชจาย สําหรับการลงทะเบียนใหทานทําตามขั้นตอน
            ่                                       
ดังตอไปนี้

1. คลิ๊กเลือกที่ Icon ของโปรแกรมที่หนาจอคอมพิวเตอร




                        ภาพที่ 10 Icon ของโปรแกรมซึ่งแสดงที่หนาจอคอมพิวเตอร

2. โปรแกรมจะแสดงหนาจอเพื่อใหลงทะเบียน สําหรับการลงทะเบียนในสวนนี้ทานตองเชื่อมตอคอมพิวเตอร
ของทานใหสามารถใชงานอินเตอรเน็ตได เพราะโปรแกรมจะสงรหัสเขาสูอีเมลของทาน




                             ภาพที่ 11 หนาตางสําหรับลงทะเบียนโปรแกรม

โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                           Interactive Elearning By CourseLab 7
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                      อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

3. กรอกขอมูลในชองวางทั้งหมด โดยกรอกชื่อ สกุล เลือกประเทศ กรอกหนวยงาน และอีเมล เมื่อกรอกเสร็จ
แลวให กดปุม Next




                                                                          กรอกชื่อ สกุล
                                                                            ประเทศ
                                                                          หนวยงานและ
                                                                              อีเมล




                            ภาพที่ 12 กรอกขอมูลเพื่อลงทะเบียนและกดปุม Next
4. เมื่อกดปุม Next แลว จะปรากฏหนาตางเพื่อใหทานกรอก Code หรือวารหัสที่ถูกสงไปยังอีเมลของทาน




                                              คํายืนยันบอกวาไดสงรหัสไปยังอีเมล
                                              เรียบรอยแลว




                       ภาพที่ 13 หนาตางสําหรับกรอกรหัสการเขาใชงานโปรแกรม


โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                          Interactive Elearning By CourseLab 8
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                      อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ



5. เปดอีเมลที่ทานใชบริการ จากตัวอยางเปนการใชบริการอีเมลฟรี Hotmail ดังภาพ




                ภาพที่ 14 การเขาตรวจสอบอีเมลเพื่อดูรหัสลงทะเบียนการใชงานโปรแกรม

6. เมื่อเขาไปแลวใหดูที่กลองขาเขา เพื่อตรวจสอบอีเมลที่ถกสงมาจากโปรแกรม CourseLab
                                                            ู




            ภาพที่ 15 ตรวจสอบอีเมลที่กลองขาเขา ระบบของ CourseLab จะสงรหัสผานมาให




โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                          Interactive Elearning By CourseLab 9
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                      อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

7. เปดดูอีเมลเพื่อดูรหัสลงทะเบียนการใชงานโปรแกรม CourseLab




                                                            รหัสลงทะเบียนคัดลอกไป
                                                            ใสในชองสําหรับ
                                                            ลงทะเบียน




                                ภาพที่ 16 เปดอีเมลเพื่อดูรหัสลงทะเบียน

8. นํารหัสกรอกเพื่อเขาใชงานโปรแกรม เสร็จแลวกดปุม Next เพื่อเขาใชงานโปรแกรม
                                                  




                                                               2B5D


                                                  รหัสที่ไดคือ 2B5D




                       ภาพที่ 17 กรอกรหัสสําหรับลงทะเบียนเพื่อใชงานโปรแกรม
โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                          Interactive Elearning By CourseLab 10
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                     อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ



9. หลังจากลงทะเบียนเสร็จเรียบรอยแลวก็จะสามารถเขาใชงานได ซึ่งจะเห็นเปนหนาตางขึ้นมาดานลาง




                       ภาพที่ 18 หนาตางสําหรับการใชงานเมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น

        เมื่อลงทะเบียนเสร็จเรียบรอยแลว สามารถเขาใชงานโปรแกรมไดโดยจะพบหนาตางดังภาพที่ 18 โดย
สามารถสรางคอรสหรือบทเรียนใหมโดยเลือกไปที่ Create a New course… แตกรณีที่มีบทเรียนทีไดสรางไว
                                                                                       ่
แลวหรือดาวนโหลดมาจากเว็บไซตกสามารถเรียกใชงานไดโดยกดที่ Browse…
                                    ็




โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                         Interactive Elearning By CourseLab 11
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                     อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ



เริ่มตนสรางบทเรียนอิเล็กทรอนิกส
         หลังจากที่ไดทาการวิเคราะหเนื้อหาหรือเตรียมเนื้อหาสําหรับนํามาสรางบทเรียนอิเล็กทรอนิกส โดย
                       ํ
การใชโปรแกรมในกลุม Authoring Tool ซึ่งมีหลายโปรแกรมแลวแตความถนัดหรือความชอบ สําหรับการใช
โปรแกรม CourseLab เพื่อสรางบทเรียนใหมนั้นสามารถทําไดดังนี้

1. คลิ๊กเลือกที่ icon ของโปรแกรม CourseLab ดังภาพที่ 19




                                ภาพที่ 19 icon ของโปรแกรม CourseLab

2. เลือก Create New Course เพื่อสรางคอรสหรือบทเรียนใหม หรือไปที่เมนู File -> New -> Course…




                             ภาพที่ 20 หนาตางสรางคอรสหรือบทเรียนใหม


โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                         Interactive Elearning By CourseLab 12
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                      อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

3.จะไดหนาตางถัดไปดังภาพที่ 21 ซึ่งเปนตัวชวยในการสรางคอรสหรือเรียกวา Wizard ซึ่งจะชวยใหการสราง
บทเรียนทําไดงายมากขึ้น โดยมีคําอธิบายรายละเอียดไวดังภาพ หลังจากนั้น กดปุม Next




                        ภาพที่ 21 แสดง Wizard สําหรับชวยสรางคอรสหรือบทเรียน

4. หนาตางสําหรับการระบุชอคอรส (ชื่อวิชา) ชื่อโฟลเดอร (Folder) สําหรับเก็บขอมูลบทเรียนและตําแหนง
                          ่ื
ของงานที่ตองการจัดเก็บ (Location) ดังภาพที่ 22




                                                                                 2. เลือกตําแหนงสําหรับเก็บบทเรียน
                                                                                            แลวกดปุม OK




                 1. เลือกตําแหนงสําหรับเก็บบทเรียน




               ภาพที่ 22 กําหนดชื่อของบทเรียน ชื่อโฟลเดอรตําแหนงการเก็บขอมูลบทเรียน
โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                          Interactive Elearning By CourseLab 13
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                      อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

5. เมื่อกรอกและเลือกขอมูลครบทั้งสามชองแลวใหกดปุม Next เพื่อดําเนินขันถัดไป
                                                                         ้




                     ภาพที่ 23 แสดงขอมูลที่กรอกเสร็จเรียบรอยแลวและกดปุม Next

6. จะปรากฏหนาตางเพื่อใหกําหนดชื่อบทเรียนโดยกรอกในชอง Module Name และเลือกแบบสําหรับแสดง
หนาของบทเรียนซึ่งเรียกวา Templete โปรแกรม CourseLab ไดเตรียมแมแบบสําหรับบทเรียนไวมากมายหลาย
แบบ ดังภาพที่ 24 หลังจากนั้น กดปุม Next




                    ภาพที่ 24 กําหนดโมดูลบทเรียนและเลือกแมแบบสําหรับบทเรียน

โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                          Interactive Elearning By CourseLab 14
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                     อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

7. จะปรากฏหนาจอซึ่งบอกวาขณะนี้การสรางบทเรียนไดเสร็จเรียบรอยแลวและพรอมสําหรับการใชงานตอไป
โดยการกดปุม Finish




                                   ภาพที่ 25 เสร็จสิ้นการสรางบทเรียน

8. เมื่อกดปุม Finish แลวระบบแมแบบของบทเรียนที่ไดสรางไวดังภาพ




                  ภาพที่ 26 แมแบบสําหรับแกไขบทเรียนทีไดจากการสรางบทเรียนใหม
                                                       ่

โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                         Interactive Elearning By CourseLab 15
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                      อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

9. เมื่อสรางเสร็จแลวทดสอบดูผลงานของบทเรียนวามีลักษณะอยางไรโดยเลือกไปทีเ่ มนู Module -> View
Module หรือกดปุม F5 (หมายเหตุ : ถัดไปจะไดใชงานปุม F5 บอยครั้งมากขึ้นเพราะจะเปนปุมใชสาหรับดูวา
                                                                                        ํ
บทเรียนที่ไดเปลี่ยนแปลงแกไขจะมีลกษณะเปลียนไปอยางไร
                                  ั        ่




                      ภาพที่ 27 เมนู View Module ดูผลลัพธของชิ้นงานที่ไดสรางขึ้น

10. เมื่อกดปุม F5 โปรแกร CourseLab จะทําการประมวลผลสิ่งที่ไดสรางขึ้นตั้งแตขั้นตอนที่ 1 – 7 และ
แสดงผลใหดู (ใหสังเกตชื่อไฟลในตําแหนงสุดทายมีชอวา Start.hta เปนไฟลเริ่มตนสําหรับการเรียกใชงาน
                                                   ื่
โมดูลบทเรียนที่ไดสรางขึ้น) และกดปุม Start Module (เริ่มใชงานบทเรียน)
                                    




                              ภาพที่ 28 แสดงแมแบบของบทเรียนที่สรางไว

โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                          Interactive Elearning By CourseLab 16
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                      อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

11. หลังจากกดปุม Start Module ก็จะเขาสูบทเรียนที่ไดจากการเลือกแมแบบไว




                         ภาพที่ 29 แสดงแมแบบของบทเรียนหรือโมดูลบทเรียน




โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                          Interactive Elearning By CourseLab 17
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                                             อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

สวนประกอบของโปรแกรม CourseLab
         หลังจากที่ไดสรางบทเรียนเรียบรอยแลวสิงที่ตองทําความเขาใจอีกสวนหนึ่งคือ สวนประกอบตาง ๆ
                                                  ่
ของโปรแกรม สําหรับการสรางบทเรียน (Module) จะมี 3 สวนที่ตองจัดการคือ
         - หนาแรกของบทเรียน (Title) ซึ่งแสดงเปนหนาแรกของบทเรียนแตละบท โดยปกติจะเปนหนาที่
แสดงชื่อของบทเรียนนันๆ  ้
         - แมแบบของหนาเนื้อหาบทเรียน (Master) เปนสวนการกําหนดตนแบบของหนาบทเรียนแตละหนา
ซึ่งเราสามารถสรางหนาแมแบบไดหลายหนา
         - หนาเนื้อหา (Normal) ซึ่งเปนหนาทีใชในการใสเนื้อหาของบทเรียน
                                              ่

                                                                     หนาตาง TimeLine ใชสําหรับ
                                                                   กําหนดเวลาสําหรับการแสดงวัตถุ




                                      หนาตาง Slide
                                    สําหรับเพิ่ม/แกไข
                                                                                              หนาตางงาน Task pane ซึ่งจะมีสวนยอย 6 สวน คือ
                                      Slide บทเรียน
    หนาตาง Course ที่ใชสําหรับ                                                             - Frame Structure เพื่อเลือกวัตถุบนหนาสไลด
                                        (คลายกับ
    เลือกบทเรียนสําหรับแกไข                                                                   - Object Library เลือกวัตถุในโปรแกรมมาใชงาน
    เมื่อกดคลิ๊กเลือกบทเรียนจะ                                                                 - Clip Art ใชกาหนดตําแหนงรูปภาพ
                                                หนาตาง Frame ใชสําหรับ เพิ่ม               - AutoShape รูปทรงตาง ๆ ที่ถูกจัดเตรียมไว
    สัมพันธกับหนาตาง Slide
                                                    หนาของแตละ Slide                        - Template สําหรับเปลียนแมแบบ
                                                                                                                      ่




Title :หนาแรกของบทเรียน

             Master : กําหนดแมแบบของบทเรียน                                      Normal : กําหนดเนื้อหาบทเรียน

                                    ภาพที่ 30 สวนประกอบของโปรแกรม CourseLab


โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                                                     Interactive Elearning By CourseLab 18
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                       อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ



แนะนําเมนูตาง ๆ ของโปรแกรม Course Lab
       โปรแกรม CourseLab มีเมนูตาง ๆ อยูทั้งหมด 9 เมนู คือ เมนู File ,Edit ,View ,Insert ,Format ,Tool,
Module , Window ,Help โดยรายละเอียดของแตละเมนูทจําเปนสําหรับกรใชงานมีดังนี้
                                                    ี่

1. เมนู File เปนเมนูหลักใชสําหรับ
         - New -> Course สรางบทเรียนใหม (มีทั้งหมด 3 ประเภท คือ Course Module และ Folder
         - การเปด-ปดไฟลบทเรียน (Open/Close)
         - Save / Save All บันทึกบทเรียนที่สรางขึ้นใหมหรือบทเรีนเดิมที่ไดรับการแกไข
         - Course Runtime Settings.. กําหนดคาสําหรับการนําบทเรียนไปใชงานรวมกับ LMS
         - Publish Course… การสรางชุดสําหรับเผยแพรผลงาน




                                             ภาพที่ 31 เมนูไฟล
2. เมนู Edit เมนูนี้ใชสําหรับการแกไข การตัด การคัดลอก การวาง วัตถุ หรือการยกเลิกการกระทําในขั้นตอน
ของการสรางบทเรียน




                                        ภาพที่ 32 เมนู Edit (แกไข)

โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                           Interactive Elearning By CourseLab 19
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                         อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

3. เมนู View ใชสําหรับการเรียกดูองคประกอบหรือสวนตาง ๆ ของโปรแกรมเชน หนาตาง Slides หนาตาง
Timeline หนาตาง Frames หนาตาง Course (ถาหนาตางใดหนาตางหนึงในโปรแกรมหายไป สามารถเรียก
                                                                  ่
กลับมาไดโดยใชงานที่เมนูน)ี้




         ภาพที่ 33 เมนู View สําหรับเรียกหนาตางหรือปดหนาตาง Slides,Timelines,Frames,Course

4. เมนู Insert เปนเมนูสําหรับการเพิ่มวัตถุตาง ๆ เขาในบทเรียน เชน การเพิ่ม Slide การเพิ่มกลองขอความ
รูปภาพ และวัตถุ




                          ภาพที่ 34 เมนู Insert สําหรับการเพิ่มวัตถุตาง ๆ สูบทเรียน
                                                                     




โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                             Interactive Elearning By CourseLab 20
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                       อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

5. เมนู Modules ใชสําหรับการแสดงผล Slide หรือแสดง Slide บทเรียนที่ไดการออกแบบไวโดยคลิ๊กเลือกที่
View Module หรือสามารถกดคียลัดไดโดยกดปุม F5 ที่คียบอรด ในสวนของ View Slide เปนการแสดง
ตัวอยาง Slide บทเรียน
         สําหรับเมนูยอยที่ตองกําหนดเพิ่มเติมคือ
         - Design Settings เพื่อปรับเปลี่ยนขนาดของการแสดงผล(Slide), ฟอนต(Font) ,ชื่อวัตถุ (Identifiers)
และสี (Colors)
         - Runtime Settings ใชสําหรับการกําหนดคาตาง ๆ และจําเปนสําหรับการใชงานรวมกับ LMS




        ภาพที่ 35 เมนู Module สําหรับการแสดงผล Slide และกําหนดคาเพื่อนําไปใชกับระบบ LMS

การกําหนดคาใหกับบทเรียน (Module)
          การกําหนดคาของบทเรียนมี 2 สวน คือ Design Settings และ Runtime Settings โดยในสวนของ
Design Settings จะเปนการกําหนดคาในของการสราง-แกไขบทเรียน สวน Runtime Settings เปนการกําหนด
คาที่ใชในขณะบทเรียนกําลังทํางาน การกําหนดคาทําไดดังนี้

1. Design Setting
        ในสวนนี้จะเปนการกําหนดคาสําหรับการสรางหรือแกไขบทเรียน โดยไปที่เมนู Module -> Design
Settings หรือสามารถกดคียบอรดสองปุมประกอบกันคือ Alt และ F7 (Alt+F7) ดังภาพที่ 36




                           ภาพที่ 36 กําหนดคาบทเรียนดวยเมนู Design Settings

โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                           Interactive Elearning By CourseLab 21
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                     อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

        เมื่อเลือกที่เมนู Module -> Design Setting หรือกดปุม Alt+F7 จะปรากฏหนาตาง Module Settings
ซึ่งจะประกอบดวยหนาตางยอย ๆ ทั้งหมด 4 สวน คือ Slide ,Font ,Identifiers ,Colors




                    ภาพที่ 37 สวนของการกําหนดขนาด Slide สําหรับแสดงที่จอภาพ

          จากภาพที่ 37 เปนสวนของการกําหนดขนาดของ Slide เพือจะแสดงผลที่จอภาพ ในการกําหนดขนาด
                                                            ่
นี้ตองกําหนดคาใหสอดคลองกับหนาจอคอมพิวเตอรทจะนําไปใชงาน เชน หนาจอคอมพิวเตอรทกําหนด
                                                ี่                                   ี่
ขนาดไว 800 X 600 หรือ 1024 X 768




                              ภาพที่ 38 การกําหนดรูปแบบตัวอักษร (Font)

      จากภาพที่ 38 เปนการกําหนดแบบตัวอักษรเพื่อใชงานกับ Slide บทเรียนทั้งหมด ซึ่งสามารถกําหนด
แบบอักษร รูปแบบ (Style) ขนาด (Size) และสี (Color)
โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                         Interactive Elearning By CourseLab 22
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                     อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ




                               ภาพที่ 39 การกําหนดชื่อวัตถุประเภทตาง ๆ

        จากภาพที่ 39 เปนในสวนของ Identifiers ใชสําหรับกําหนดชื่อวัตถุที่จะนําเขาใชในบทเรียน โดยการ
กําหนดชื่อนั้นจะทําใหเปนมาตรฐานเดียวกันคือ ถาเปน Slide จะใช Slide_ ถาเปน ชองสําหรับแสดงขอความ
จะใช TXT_ นําหนา การกําหนดชื่อนําหนานี้จะสะดวกสําหรับการจดจําประเภทของวัตถุที่ไดนําเขาใชใน
บทเรียน




                                 ภาพที่ 40 การกําหนดคาสีใหกับบทเรียน

          จากภาพที่ 40 เปนสวนของ Colors ซึ่งจะใชสําหรับกําหนดคาสีใหกบบทเรียน โดยสามารถกําหนด
                                                                         ั
เพิ่มเติมไดโดยการกดปุม Add จะปรากฏหนาตางเพื่อใหผูใชงานไดกาหนดคาสีหรือเลือกสีตามที่ไดรับการ
                                                                   ํ
ออกแบบสําหรับการสรางบทเรียนไว ดังภาพที่ 41




โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                         Interactive Elearning By CourseLab 23
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                      อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ




                                    ภาพที่ 41 การกําหนดคาสีเพิมเติม
                                                               ่

2. Runtime Settings
        สวนนี้จะเปนการกําหนดคาที่ใชในขณะบทเรียนกําลังทํางาน โดยไปที่เมนู Module -> Runtimes
Settings ดังภาพที่ 42




                                ภาพที่ 42 เมนูกําหนดคาขณะบทเรียนกําลังทํางาน
        เมื่อคลิ๊กเลือกที่เมนู Runtime Settings แลวจะปรากฏหนาตาง Module Properties ซึ่งจะประกอบดวย
แท็ปยอยภายในทั้งหมด 5 แท็ปดังภาพที่ 43

         แท็ป General ใชสําหรับกําหนดชื่อที่จะแสดงขึ้นมา โดยเฉพาะเมื่อใหกบระบบ LMS ตองกรอก ชื่อ
                                                                           ั
(Identifier) และคําอธิบายโดยยอของบทเรียน (Description)




โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                          Interactive Elearning By CourseLab 24
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                      อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ




                 ภาพที่ 43 หนาตาง Module Properties และกําหนดคาใหกับแท็ป General

การกําหนดตัวแปรเพื่อเก็บคะแนน
          แท็ป Objectives เปนการกําหนดตัวแปรทีใชในการเก็บคะแนน ซึ่งตัวโปรแกรมจะเตรียมไวให 1 ตัว
                                                  ่
คือ total โดยทานสามารถเพิ่มตัวแปรกีตัวก็ได เชน การเพิ่มตัวแปร Pretest เพื่อเก็บคะแนนสําหรับการทํา
                                     ่
แบบทดสอบกอนเรียน โดยกดปุม Add…




                    ภาพที่ 44 หนาตาง Objectives สําหรับสรางตัวแปรเพื่อเก็บคาตาง ๆ

โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                          Interactive Elearning By CourseLab 25
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                        อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ




                          ภาพที่ 45 ตัวอยางการเพิ่มตัวแปรสําหรับใชในบทเรียน

       ในการกําหนดคาตัวแปรกําหนดชื่อตัวแปรในชอง Identiver ตองเปนภาษาอังกฤษเทานั้น และในสวน
ของ Score จะสามารถกําหนดคาคะแนนสูงสุดและต่ําสุด เมื่อทําการเพิมตัวแปรเสร็จเรียบรอยแลวกดปุม OK
                                                               ่
จะปรากฏชื่อตัวแปรที่กําหนดขึ้นมาใหมคือ Pretest




                          ภาพที่ 46 ชื่อตัวแปรที่ถูกกําหนดขึ้นเพิ่มเติมจากที่มีอยู



โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                            Interactive Elearning By CourseLab 26
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                    อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

       แท็ป Rules ใชสําหรับการกําหนดกฏเกณฑ




                           ภาพที่ 47 แท็ป Rules ใชสําหรับการกําหนดกฏเกณฑ
       แท็ป Checks เปนการกําหนดรายชื่อโปรแกรมที่บทเรียนของเราจะทําการตรวจสอบ ในเครื่องที่กําลัง
ทํางานอยู




                 ภาพที่ 48 กําหนดรายชื่อโปรแกรมที่บทเรียนของเราจะทําการตรวจสอบ



โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                        Interactive Elearning By CourseLab 27
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                        อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

        แท็ป Runtime ในที่นี้ใหคลิกเอาเครื่องหมายถูกที่ show Title-Slid at module startup ออก เพื่อไมตอง
ใชหนาแรกบทเรียน (Title) เนื่องจากการกําหนดลําดับการแสดงผลของวัตถุตางๆ บนสไลดไมสามารถทําได




                                         ภาพที่ 49 แท็ป Runtime




โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                            Interactive Elearning By CourseLab 28
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                          อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

การแกไขบทเรียน (Editing Module)
         การแกไขบทเรียนจะทําการแกไขทั้งหมดสามสวนคือ Title Slide, Master Slide และ Normal Slide
ในสวนของ Title Slide จะเปนหนาแรกเมือทําการแสดงผลบทเรียนจากการกดปุม F5 ซึ่งสามารถปรับแกไขได
                                        ่
ทุกสวนของหนา Slide ในสวนของ Master Slide เปนการแกไขเพื่อกําหนดเปนแมแบบของบทเรียนหรือที่
เรียกวา Templete ซึ่งจะนําไปใชในบทเรียนโดยอัตโนมัติ

1. การแกไขหนาแรกของบทเรียนหรือ Title Slide
        การแกไข Title Slide นั้นทําไดโดยกดไปที่เมนู View -> Title หรือดูที่หนาตาง Slide ซึ่งมี icon อยุ
ดานลางที่เปนรูปกลองสี่เหลี่ยมเมื่อนําเมาสชี้ไวเหนือกลองสี่เหลี่ยมจะมีขอความบอกวาหมายถึงอะไร
                                                                             
สําหรับการแกไขในสวนนี้เมือคลิ๊กเลือกแลวจะปรากฏหนา Slide ขึ้นมา เราสามารถปรับเปลี่ยนแกไขทั้ง
                               ่
รูปภาพและขอความไดทั้งหมด




                              ภาพที่ 50 แสดงเมนูเพื่อแกไขสวนของ Title Slide

2. แกไขหนาหลักของบทเรียนหรือ Master Slide แมแบบ
        สไลดแมแบบ (Master Slide) เปนตนแบบของสไลดบทเรียน ซึ่งสไลดบทเรียนที่เราสรางขึ้นตอง
กําหนดวาใชแมแบบหนาไหน ดังนั้นเราจําเปนตองมีแมแบบไวอยางนอย 1 สไลด การใชงานไปที่เมนู
View -> Master หลังจากนั้นก็สามารถแกไขเปลี่ยนรูปภาพของแมแบบไดทั้งหมด




                             ภาพที่ 51 แสดงเมนูเพื่อแกไขสวนของ Master Slide

โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                              Interactive Elearning By CourseLab 29
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                     อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ



3. แกไขหนานําเสนอเนื้อหาของบทเรียนหรือ Normal Slide
        การแกไข Slide บทเรียน ทําไดโดยไปที่เมนู View -> Normal ซึ่งจะเปนหนาสําหรับแสดงเนื้อหาใน
บทเรียนดังภาพที่ 52




                          ภาพที่ 52 แสดงเมนูเพื่อแกไขสวนของ Normal Slide
        สําหรับการแกไขสไลดที่แสดงเนื้อหาในบทเรียนนันสามารถแกไขในสวนตาง ๆ คือ เชนการเปลี่ยน
                                                       ้
ชื่อสไลด การกําหนด ID ใหกับสไลด เปนตน

การเพิ่มวัตถุใหกับบทเรียนหรือการเพิ่ม Object
          การจัดการสไลดบทเรียนหรือในสวนของหนาแสดงเนื้อหาของบทเรียน องคประกอบของสไลด
สวนใหญจะประกอบไปดวยขอความ รูปภาพ บางสไลดอาจมีภาพมากกวาหนึ่งภาพแตลําดับในการแสดงภาพ
นั้นใชเวลาที่แตกตางกัน และสําหรับบางสวนของบทเรียนอาจเพิ่มความนาสนใจดวยการเพิ่มวีดีโอ
ภาพเคลื่อนไหว โดยสามารถแทรกไฟลวดีโอ ไฟลแฟลช หรือกาตูนยแอนนิเมชัน เพื่อเพิ่มความนาสนใจ
                                             ี                                  ่
ใหกับผูเรียน เพื่อดึงดูดใหผูเรียนมีสมาธิกบเนื้อหาที่ตองการนําเสนอ การจัดการกับขอความรูปภาพสามารถ
                                               ั
เรียกใชงานไดที่เมนู Insert -> Text Box , Insert -> Picture




โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                         Interactive Elearning By CourseLab 30
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                     อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

การเพิ่มขอความ, รูปภาพ, ตาราง ดวย Text Box
        เลือกที่เมนู Insert -> Text Box หลังจากนันจะปรากฏวัตถุที่หนาของสไลด
                                                 ้




                                       ภาพที่ 53 การเพิ่มขอความ




                          ภาพที่ 54 วัตถุประเภทขอความที่ไดเพิ่มสูหนาสไดล
        การเพิ่มขอความลงในวัตถุประเภทขอความสามารถทําไดโดยการดับเบิ้ลคลิกในกรอบของวัตถุแลว
พิมพขอความลงไปและสามารถแทรกรูปภาพหรือขอความลงไปไดดังภาพที่ 55
      




                 ภาพที่ 55 การเพิ่มขอความและแทรกรูปภาพลงในวัตถุประเภทขอความ

โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                         Interactive Elearning By CourseLab 31
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                  อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ




                          ภาพที่ 56 การแทรกตารางลงในวัตถุประเภทขอความ




                ภาพที่ 57 ผลที่ไดจากการแทรกตารางและรูปภาพในวัตถุประเภทขอความ




โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                      Interactive Elearning By CourseLab 32
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                       อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

การกําหนด Effect การแสดงผลใหกบกลองขอความ
                                    ั
         กลองขอความนอกจากจัดลําดับในการแสดงผลแลวยังสามารถใสเทคนิคพิเศษสําหรับการแสดงผลได
อีกดวย เชน คอย ๆ แสดงผลเปนแถบจากซายไปขวา เปนตน ซึ่งสามารถใส Effect โดยคลิกขวาทีวตถุนั้น แลว
                                                                                              ่ั
เลือก Format Text Box… (หรือ Format Picture… กรณีเปนวัตถุรูปภาพ หรือ Format Object… กรณีเปนวัตถุ
อื่นๆ) จากนันคลิกที่แท็ป Display แลวเลือก Effect ในสวน Entrance เพื่อใชเมื่อเริ่มแสดงผล และเลือก Effect
            ้
ในสวน Exit เพื่อใชเมื่อสิ้นสุดการแสดงผล




                            ภาพที่ 57-1 การกําหนด Effect ใหกับกลองขอความ




                      ภาพที่ 57-2 การเลือกลักษณะพิเศษสําหรับการแสดงผลขอความ
โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                           Interactive Elearning By CourseLab 33
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                     อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

การเพิ่มไฟลวีดีโอ
        การเพิ่มประเภทไฟลวีดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพแฟลชแอนนิเมชั่น หรือวีดีโอ สามารถเพิ่มไดโดยการ
เลือกไปที่ Task Panel -> เลือก Object Library -> เลือก Media จะไดดังภาพ




                     ภาพที่ 57 วิธีการเลือกประเภทไฟลวดีโอเพื่อเพิ่มไปที่หนาสไลด
                                                      ี

       วิธีการเพิ่มไฟลวีดีโอไปสูสไลดบทเรียนจะทําการดับเบิลคลิกเลือกประเภทของไฟลที่ตองการใสใน
                                                            ้
หนาสไลด




                                    ภาพที่ 58 เลือกประเภทไฟลวีดโอ
                                                                ี



โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                         Interactive Elearning By CourseLab 34
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                       อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

         วิธีการเพิ่มไฟลวีดีโอโดยการดับเบิ้ลคลิกที่วัตถุในหนาสไลดจะปรากฏหนาตางขึ้นมาเพื่อใหเราเลือก
ไฟลวีดีโอหรือสามารถนําเขาวีดีโอจากเว็บไซตไดอีกดวย




                            ภาพที่ 59 หนาตางเลือกตําแหนงที่อยูของไฟลวีดีโอ

          การเพิ่มโดยการคลิ๊กที่ปุมดานหลังแลวทําการเลือกไฟลที่ตองการแสดงผลซึ่งตองตรงกับประเภทของ
วัตถุที่จะแสดงไฟลวีดีโอที่ไดเลือกไวกอนหนา




                                ภาพที่ 60 ปุมเพิ่มไฟลวดีโอที่ตองการแสดง
                                                        ี

โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                           Interactive Elearning By CourseLab 35
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                      อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

      หลังจากนันทําการกําหนดหรือเลือกประเภทของโปรแกรมที่ใชเปดไฟลวดีโอหรือจะใหโปรแกรม
               ้                                                    ี
ตรวจสอบอัตโนมัติโดยที่ไมตองกําหนดก็ได




                        ภาพที่ 61 เลือกประเภทของโปรแกรมเพื่อจะเปดไฟลวดโอ
                                                                       ีี

       หลังจากนันกดปุม Apply แลวรอจนกวาจะเรียกโปรแกรมที่เรากําหนดขึ้นมาใชงาน แลวกดปุม OK
                ้




                        ภาพที่ 61 กดปุม Apply เพื่อเรียกโปรแกรมเขาสูหนา Slide
โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                          Interactive Elearning By CourseLab 36
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                       อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

การเพิ่มเสียงใหกับวัตถุ
         การเพิ่มเสียงใหกับวัตถุซึ่งสามารถใชวิธีการเดียวกับวัตถุทุกประเภททําไดโดยการคลิ๊กขวาที่วัตถุ จะ
ปรากฏหนาตางใหเลือกซึ่งเลือก Format Object จะปรากฏหนาตางใหเลือกที่แท็ป Sound




                                        ภาพที่ 62 เลือกแท็ป Sound




                                    ภาพที่ 63 เลือกเพลงที่ตองการเปด




โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                           Interactive Elearning By CourseLab 37
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                      อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

       หลังจากนันกดปุม Open จะปรากฏตําแหนงของไฟลแสดงที่แท็ปหลักของหนาตาง หลังจากนันกดปุม
                ้                                                                      ้
Apply และกดปุม OK




                                    ภาพที่ 64 เลือกเพลงที่ตองการเปด

การใช TimeLine จัดลําดับการแสดงผล
        การจัดลําดับแสดงผลตองใช TimeLine เพือจะไดกําหนดลําดับของการแสดงผลใหวตถุแตละชิ้น
                                              ่                                     ั
สามารถทําไดโดยเลือกที่เมนู View -> TimeLine หรือกด Alt+2 หลังจากคลิ๊กเลือกเสร็จแลวจะปรากฏในสวน
ของการกําหนดเวลาขึ้นมาทีดานบนของสไดลบทเรียน
                          ่




                        ภาพที่ 65 การกําหนดการแสดงผลของวัตถุดวย TimeLine



โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                          Interactive Elearning By CourseLab 38
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                      อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

หลังจากนันใหคลิ๊กเมาสจาก 0s จนถึง ตัวเลขวินาทีที่ตองการและหลังจากปลอยเมาสจะปรากฏชื่อวัตถุที่อยูใน
         ้
หนาสไลดทั้งหมดขึ้นมาดังภาพที่ 66 หลังจากนั้นสามารถคลิ๊กเลือกวัตถุแตละตัวเพื่อกําหนดเวลาของการแสดง
ในหนาสไลด




                         ภาพที่ 66 การกําหนดระยะเวลาในการแสดงผลของวัตถุ

การเพิ่ม/ลบสไลด และการเพิ่ม/ลบเฟรมในบทเรียน
         การเพิ่มสไลดใหกดที่เฟรมของสไลดแลวคลิ๊กขวาเลือก New Slide และถาตองการลบสไลดใหคลิก
เลือกที่สไลดที่ตองการแลวกดที่ Delete Slide สวนการเพิมเฟรมก็ทําเชนเดียวกับการเพิ่มหรือลบสไลดคือ คลิก
                                                        ่
ขวาในสวนของเฟรมพาแนลแลวเลือก New Frame สําหรับการเพิ่มสไลดใหมและกดเลือก Delete Frame ใน
การลบเฟรมออกจากบทเรียน




                       ภาพที่ 67 การเพิ่ม/ลบสไลดและเพิ่ม/ลบเฟรมใหกบบทเรียน
                                                                    ั



โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                          Interactive Elearning By CourseLab 39
คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab
                                                    อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ

การสรางการเชื่อมโยงสไลด
         การสรางการเชื่อมโยงจากหนาสไลดจากหนาสุดทายไปหนาแรก จากหนากลางไปหนาสุดทายนัน ้
สามารถกําหนดไดโดยคลิ๊กขวาเลือก Action จะปรากฏหนาตางเพื่อใหกําหนดเหตุการณตาง ๆ การใชงานจะ
เรียกใช Even onclick และ Action เลือก CALL ดังภาพ




    เลือกประเภทของการ
    เชื่อมโยง


                          ภาพที่ 68 การกําหนดการเชือมโยงระหวางหนาสไลด
                                                   ่

       หลังจากนันคลิ๊กเลือกหนาสไลดเพื่อทําการเชื่อมโยงไปยังปลายทาง
                ้




                  ภาพที่ 69 การเลือกหนาสไลดปลายทางเพือเชื่อมโยงไปยังจุดที่ตองการ
                                                       ่

โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ                        Interactive Elearning By CourseLab 40
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04
 Server ubuntu_8.04

More Related Content

Similar to Server ubuntu_8.04

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4krunuy5
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4krunuy5
 
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์
การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์
การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์Kutjung Rmuti
 
รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานน...
รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานน...รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานน...
รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานน...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยี ชั้น ป.3
คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยี ชั้น ป.3คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยี ชั้น ป.3
คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยี ชั้น ป.3inkkuaoy1
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5krunuy5
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5krunuy5
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5krunuy5
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5krunuy5
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5krunuy5
 
หลักสูตรอบรม วิธีสอนการพิมพ์สัมผัส
หลักสูตรอบรม วิธีสอนการพิมพ์สัมผัสหลักสูตรอบรม วิธีสอนการพิมพ์สัมผัส
หลักสูตรอบรม วิธีสอนการพิมพ์สัมผัสBusiness educator - HRD.
 
ถ่านไม้รีไซเคิล
ถ่านไม้รีไซเคิลถ่านไม้รีไซเคิล
ถ่านไม้รีไซเคิลChao Chao
 
ประเมินหลักสูตร
ประเมินหลักสูตรประเมินหลักสูตร
ประเมินหลักสูตรpaween
 

Similar to Server ubuntu_8.04 (20)

ประมวลผลรายวิชาง32101
ประมวลผลรายวิชาง32101ประมวลผลรายวิชาง32101
ประมวลผลรายวิชาง32101
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
 
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
 
Etrainingbpcd
EtrainingbpcdEtrainingbpcd
Etrainingbpcd
 
การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์
การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์
การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์
 
Smart classroom
Smart classroomSmart classroom
Smart classroom
 
รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานน...
รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานน...รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานน...
รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานน...
 
คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยี ชั้น ป.3
คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยี ชั้น ป.3คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยี ชั้น ป.3
คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยี ชั้น ป.3
 
บทคัดย่อ
บทคัดย่อบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
 
บทคัดย่อ พัฒนา
บทคัดย่อ  พัฒนาบทคัดย่อ  พัฒนา
บทคัดย่อ พัฒนา
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
 
หลักสูตรอบรม วิธีสอนการพิมพ์สัมผัส
หลักสูตรอบรม วิธีสอนการพิมพ์สัมผัสหลักสูตรอบรม วิธีสอนการพิมพ์สัมผัส
หลักสูตรอบรม วิธีสอนการพิมพ์สัมผัส
 
ถ่านไม้รีไซเคิล
ถ่านไม้รีไซเคิลถ่านไม้รีไซเคิล
ถ่านไม้รีไซเคิล
 
ประเมินหลักสูตร
ประเมินหลักสูตรประเมินหลักสูตร
ประเมินหลักสูตร
 
Adobe captivate 4
Adobe captivate 4Adobe captivate 4
Adobe captivate 4
 

Server ubuntu_8.04

  • 1. โครงการอบรมการผลิตสื่อ การสอนด้วยโปรแกรม CourseLab Interactive eLearning Content by CourseLab ๑๐-๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณ ห้องบริการคอมพิวเตอร์ ห้อง ๙๓๑ โดย อ.เขมปริต ขุนราชเสนา สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • 2. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ คํานํา ปจจุบันนวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษามีหลายประเด็นหลายเรื่องที่เป็นที่สนใจในวงการศึกษา เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของนโยบายด้านการศึกษาของประเทศ ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึง การศึกษาระดับที่สูงที่สด การพัฒนานวัตกรรมด้านการศึกษาซึ่งใช้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน ุ ทําให้ผ้เรียนได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตนเอง ู โดยในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ เข้ามามีบทบาทในการเรียนและการสอนมากขึ้น ทําให้การเรียนการสอนไม่จํากัดอยู่ที่เวลาและสถานที่ มีการ ปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เรียนผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งเป็นการแก้ปัญหาบุคลิกลักษณะของผู้ เรียนที่ไม่มีความมั่นใจในการเรียนกลัวการตอบคําถาม การตั้งคําถาม ซึงการใช้การสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์ ่ เน็ต ทําให้ผู้เรียนกล้าแสดงออกความคิดเห็นมากขึ้น ทั้งนี้สื่อการเรียนที่นําตอบสนองความต้องการของผู้เรียนยังไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเกิดจากข้อจํากัดหลาย ประการ เช่น ทักษะในการสร้างสื่อ การใช้โปรแกรมในการสร้างสื่อของผู้สอน รวมทั้งราคาของโปรแกรมที่ใช้ ในการสร้างสื่อ ดังนั้นจึงจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม CourseLab” ขึ้นโดยใช้ โปรแกรม CourseLab ซึงเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาอีเลิร์นนิ่งแบบฟรีแวร์(Freeware) ไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ ่ ของโปรแกรม และเพื่อเสริมทักษะในการพัฒนาสื่อการสอนที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เขมปริต ขุนราเสนา สิงหาคม 2554 Interactive Elearning By CourseLab
  • 3. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ สารบัญ เรื่อง หนา ลักษณะของโปรแกรม CourseLab 1 ระบบ LMS 2 การติดตั้งโปรแกรม 3 เริ่มตนใชงาน 7 การลงทะเบียนใชงานโปรแกรม 7 เริ่มตนสรางบทเรียนอิเล็กทรอนิกส 12 สวนประกอบของโปรแกรม CourseLab 18 แนะนําเมนูตาง ๆ ของโปรแกรม CourseLab 19 การกําหนดคาใหกับบทเรียน 21 • Design Setting 21 • Runtime Setting 24 • กําหนดตัวแปรเพื่อเก็บคะแนน 25 • การแกไขบทเรียน (Editting Module) 29 o แกไขหนาแรกของบทเรียน 29 o แกไขหนาหลักของบทเรียน 29 o แกไขหนานําเสนอเนื้อหา 30 • การเพิ่มวัตถุใหกับบทเรียน (Object) 30 • การเพิ่มขอความรูปภาพ ตารางดวย Texbox 31 • การกําหนด Effect การแสดงผลใหกับกลองขอความ 33 • การเพิ่มไฟลวดีโอ ี 34 • การเพิ่มเสียงใหกับวัตถุ 37 • การใช TimeLine จัดลําดับการแสดงผล 38 • การเพิ่มลบสไลดบทเรียน 39 • การเชื่อมโยงสไลดบทเรียน 40 การสรางแบบทดสอบ 41 o การสรางชุดทดสอบ 41 o การรายงานผลการสอบ 41 ตัวอยางการสรางแบบทดสอบรายขอที่มีปฏิสัมพันธ 49 Even หรือเหตุการณที่ใชบอย 55 Interactive Elearning By CourseLab
  • 4. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ การแทรกตัวนําทาง (Insert a Navigation) 55 การแทรกสัญลักษณหนาขอความ (Insert a Lists) 56 การแทรกบอลลูน (Insert a Balloon) 58 การเผยแพรบทเรียนอิเล็กทรอนิกส (Publish Course) 59 ภาคผนวก • แนวทางการสรางคอรสแวรที่มีคุณภาพ 65 • ตัวอยางการวิเคราะหหนวยงาน/ความตองการ/ผูเรียน 72 • แบบวิเคราะหรูปแบบการเรียนรูของผูเรียน 75 • การวิเคราะหเนื้อหา 77 • ตัวอยางการวิเคราะหโครงสรางเนื้อหาสําหรับนําไปพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส 78 • การวิเคราะหจดประสงคการเรียนรู ุ 79 • การวิเคราะหกจกรรมและสื่ออิเล็กทรอนิกส ิ 80 Interactive Elearning By CourseLab
  • 5. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ โปรแกรม CouseLab โปรแกรม CourseLab เปนโปรแกรมที่จัดอยูใน กลุมที่ใชสําหรับนิพนธบทเรียนหรือ Authoring Tool เปน โปรแกรมฟรีแวร ไมกําหนดระยะเวลาใชงานดังนั้นจึงเปน โปรแกรมที่นาสนใจโปรแกรมหนึ่งที่นานํามาใชในการ  สรางบทเรียนอิเล็กทรอนิกสหรือ e-learning ที่สนับสนุน มาตรฐานอีเลิรนนิ่งตาง ๆ เชน SCORM 1.2, SCORM 2004 (SORM 1.3) และ AIC และสามารถเพิ่มความ นาสนใจใหกบบทเรียนโดยการเขียน Action ใหกับชินงาน ั ้ หรือวัตถุได สามารถดาวนโหลดโปรแกรมไดที่เว็บไซต ของโปรแกรม CourseLab ไดโดยตรงคือ http://www.courselab.com หรือเว็บ www.irecog.com ไปที่ downloads แลวเลือกหมวดหมูเปน Authoring Tool ก็ไดเชนกัน ลักษณะการใชงาน • ลักษณะการใชงานคลาย ๆ กับ PowerPoint • ออกแบบเนื้อหาในรูปแบบโมเดลโครงสราง • ทํางานในลักษณะ WYSIWYG (What You See Is What You Get) • การเรียกใชงานวัตถุในโปรแกรมเปนลักษณะ Drag and Drop • รองรับการใชงานไฟลมเี ดียตางๆ เชน Flash, Shockwave, Java และไฟลวีดีโอในรูปแบบตางๆ มาใช รวมกันได • วัตถุหรือ Object เชน กลองขอความ รูปภาพ ปุม ทั้งหมดสามารถกําหนดใหปฏิสัมพันธกับผูใชงานได • การเผยแพรผลงาน สามารถเผยแพรไดหลายรูปแบบเชน ซีดี-รอม อินเตอรเน็ต และสามารถนําไปใช งานรวมกับระบบ LMS (Learning Management System) ลักษณะเดนของโปรแกรม CourseLab 1. ผูใชงานไมจาเปนตองมีความรูดานการเขียนโปรแกรม ํ 2. มีการตูนเคลื่อนไหวในโปรแกรม เพื่อใชในการประกอบการสรางสื่อฯ 3. สามารถทดสอบผลงานไดดวยตัวโปรแกรมเอง  4. ใชทรัพยากรเครื่องคอมพิวเตอรนอย 5. สนับสนุนมาตรฐานอีเลิรนนิ่งตางๆ เชน AICC, SCORM 1.2, SCORM 2004 (SCORM 1.3)  ระบบ LMS (Learning Management System) ที่สนับสนุนการนําบทเรียนไปใชงาน โปรแกรม CourseLab สนับสนุนการใชงานกับระบบ LMS ที่ไดรับความนิยม เชน • Akuter Enterprise โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 1
  • 6. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ • ATutor • BlackBoard • Docebo • IBM Learning Space • IBM Lotus Workplace Collaborative Learning • Ilias • Microsoft SharePoint Learning Kit • Moodle • Oracle iLearning • SAP eLearning Solution • WebSoft WebTutor and WebTutor Lite ระบบ Learning Management System หรือ LMS คืออะไร ระบบบริหารจัดการเรียนการสอนผานระบบเครือขาย หรือระบบบริหารจัดการเรียนรู หรือเรียกกันใน ชื่อทั่วไปวา LMS ยอมาจาก Learning Management System เปนระบบทีใชบริหารจัดการการเรียนรูทอํานวย ่ ี่ ความสะดวก รวมทั้งการสรางแบบทดสอบ การทดสอบและการประเมินผลบนเครือขายอินเทอรเน็ต โดย องคประกอบของ LMS ประกอบดวย 5 สวน ดังนี้ 1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุมผูใชงานแบงเปน 3 ระดับ คือ ผูเรียน ผูสอน และ ผูบริหารระบบ โดยสามารถเขาสูระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได โดยผานเครือขายอินเทอรเน็ต ระบบสามารถ รองรับจํานวน ผูใช และ จํานวนบทเรียนได ไมจํากัด โดยขึ้นอยูกับ ฮารดแวรและ /หรือ ซอฟทแวรทใช และ ี่ ระบบสามารถรองรับการใชงานภาษาไทยอยางเต็มรูปแบบ 2. ระบบการสรางบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบดวย เครื่องมือในการชวยสราง เนื้อหา ระบบสามารถใชงานไดดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media 3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังขอสอบ โดยเปน ระบบการสุมขอสอบสามารถจับเวลาการทําขอสอบและการตรวจขอสอบอัตโนมัติ พรอมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเขาเรียนของนักเรียน 4. ระบบสงเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบดวยเครื่องมือตางๆ ที่ใชส่อสารระหวาง ผูเรียนกับ ื ผูสอน และ ผูเรียนกับผูเรียน ไดแก เว็บบอรด (Web board) และ หองสนทนา (Chatroom) โดยสามารถเก็บ ขอมูลเหลานี้ได 5. ระบบจัดการขอมูล (Data Management System) ประกอบดวย ระบบจัดการไฟลและโฟลเดอร ผูสอนมีเนื้อที่เก็บขอมูลบทเรียนเปนของตนเอง โดยไดเนื้อที่ตามที่ผูดแลระบบกําหนดให ู โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 2
  • 7. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ เว็บไซตของโปรแกรม CourseLab ทานสามารถดาวนโหลดโปรแกรม CourseLab ไดที่เว็บไซตโดยตรง การติดตั้งโปรแกรม CourseLab 1. ดาวนโหลดโปรแกรมที่ www.courselab.com 2. เมื่อดาวนโหลดแลวจะไดไฟล courselab_2_installer.zip ซึ่งไฟลจะถูกบีบอัดไวในลักษณะของซิฟ ไฟล ใหทําการคลายไฟลดังกลาวออกมา ภาพที่ 1 โปรแกรมที่ไดจากการดาวนโหลด ภาพที่ 2 แตกไฟลที่ถูกบีบอัดไว โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 3
  • 8. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ จะไดดังภาพที่ 3 ภาพที่ 3 โปรแกรมที่ไดจากการแตกไฟล 3. ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟลโปรแกรม CourseLab_2_installer.msi ภาพที่ 4 การดับเบิ้ลคลิกที่ไฟลสําหรับติดตั้ง 4. เมื่อไดดังภาพที่ 5 ให กดปุม Next  ภาพที่ 5 เริ่มการติดตั้งโดยกดปุม Next โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 4
  • 9. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ 5. ทําการติดตังโปรแกรมโดย กดปุม Install ดังภาพที่ 6 ้ ภาพที่ 6 กดปุม Install เพื่อติดตั้งโปรแกรม  ภาพที่ 7 ระบบกําลังติดตั้งโปรแกรม CourseLab โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 5
  • 10. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ 6. ระบบทําการติดตั้งโปรแกรมเสร็จแลวให กดปุม Finish ภาพที่ 8 กดปุม Finish เพื่อจบการติดตั้งโปรแกรม  7. เมื่อติดตั้งเสร็จแลวใหดูทหนาจอคอมพิวเตอร วามี Icon ของโปรแกรม CourseLab หรือไม ถาติดตั้งเสร็จ ี่ เรียบรอยแลวไมมีปญหาอะไรเกิดขึ้น สามารถดูผลการติดตั้งที่หนาจอซึ่งจะเห็น Icon ไดดังภาพ ภาพที่ 9 Icon ของโปรแกรมที่แสดงที่หนาจอคอมพิวเตอร โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 6
  • 11. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ เริ่มตนใชงานโปรแกรม การลงทะเบียนโปรแกรม หลังจากที่ไดตดตั้งโปรแกรมเสร็จเรียบรอยแลว ในการเรียกใชงานโปรแกรมครั้งแรกนั้นเราตอง ิ ลงทะเบียนเพือใชงานโปรแกรมโดยที่ไมตองเสียคาใชจาย สําหรับการลงทะเบียนใหทานทําตามขั้นตอน ่  ดังตอไปนี้ 1. คลิ๊กเลือกที่ Icon ของโปรแกรมที่หนาจอคอมพิวเตอร ภาพที่ 10 Icon ของโปรแกรมซึ่งแสดงที่หนาจอคอมพิวเตอร 2. โปรแกรมจะแสดงหนาจอเพื่อใหลงทะเบียน สําหรับการลงทะเบียนในสวนนี้ทานตองเชื่อมตอคอมพิวเตอร ของทานใหสามารถใชงานอินเตอรเน็ตได เพราะโปรแกรมจะสงรหัสเขาสูอีเมลของทาน ภาพที่ 11 หนาตางสําหรับลงทะเบียนโปรแกรม โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 7
  • 12. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ 3. กรอกขอมูลในชองวางทั้งหมด โดยกรอกชื่อ สกุล เลือกประเทศ กรอกหนวยงาน และอีเมล เมื่อกรอกเสร็จ แลวให กดปุม Next กรอกชื่อ สกุล ประเทศ หนวยงานและ อีเมล ภาพที่ 12 กรอกขอมูลเพื่อลงทะเบียนและกดปุม Next 4. เมื่อกดปุม Next แลว จะปรากฏหนาตางเพื่อใหทานกรอก Code หรือวารหัสที่ถูกสงไปยังอีเมลของทาน คํายืนยันบอกวาไดสงรหัสไปยังอีเมล เรียบรอยแลว ภาพที่ 13 หนาตางสําหรับกรอกรหัสการเขาใชงานโปรแกรม โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 8
  • 13. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ 5. เปดอีเมลที่ทานใชบริการ จากตัวอยางเปนการใชบริการอีเมลฟรี Hotmail ดังภาพ ภาพที่ 14 การเขาตรวจสอบอีเมลเพื่อดูรหัสลงทะเบียนการใชงานโปรแกรม 6. เมื่อเขาไปแลวใหดูที่กลองขาเขา เพื่อตรวจสอบอีเมลที่ถกสงมาจากโปรแกรม CourseLab ู ภาพที่ 15 ตรวจสอบอีเมลที่กลองขาเขา ระบบของ CourseLab จะสงรหัสผานมาให โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 9
  • 14. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ 7. เปดดูอีเมลเพื่อดูรหัสลงทะเบียนการใชงานโปรแกรม CourseLab รหัสลงทะเบียนคัดลอกไป ใสในชองสําหรับ ลงทะเบียน ภาพที่ 16 เปดอีเมลเพื่อดูรหัสลงทะเบียน 8. นํารหัสกรอกเพื่อเขาใชงานโปรแกรม เสร็จแลวกดปุม Next เพื่อเขาใชงานโปรแกรม  2B5D รหัสที่ไดคือ 2B5D ภาพที่ 17 กรอกรหัสสําหรับลงทะเบียนเพื่อใชงานโปรแกรม โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 10
  • 15. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ 9. หลังจากลงทะเบียนเสร็จเรียบรอยแลวก็จะสามารถเขาใชงานได ซึ่งจะเห็นเปนหนาตางขึ้นมาดานลาง ภาพที่ 18 หนาตางสําหรับการใชงานเมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น เมื่อลงทะเบียนเสร็จเรียบรอยแลว สามารถเขาใชงานโปรแกรมไดโดยจะพบหนาตางดังภาพที่ 18 โดย สามารถสรางคอรสหรือบทเรียนใหมโดยเลือกไปที่ Create a New course… แตกรณีที่มีบทเรียนทีไดสรางไว ่ แลวหรือดาวนโหลดมาจากเว็บไซตกสามารถเรียกใชงานไดโดยกดที่ Browse… ็ โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 11
  • 16. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ เริ่มตนสรางบทเรียนอิเล็กทรอนิกส หลังจากที่ไดทาการวิเคราะหเนื้อหาหรือเตรียมเนื้อหาสําหรับนํามาสรางบทเรียนอิเล็กทรอนิกส โดย ํ การใชโปรแกรมในกลุม Authoring Tool ซึ่งมีหลายโปรแกรมแลวแตความถนัดหรือความชอบ สําหรับการใช โปรแกรม CourseLab เพื่อสรางบทเรียนใหมนั้นสามารถทําไดดังนี้ 1. คลิ๊กเลือกที่ icon ของโปรแกรม CourseLab ดังภาพที่ 19 ภาพที่ 19 icon ของโปรแกรม CourseLab 2. เลือก Create New Course เพื่อสรางคอรสหรือบทเรียนใหม หรือไปที่เมนู File -> New -> Course… ภาพที่ 20 หนาตางสรางคอรสหรือบทเรียนใหม โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 12
  • 17. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ 3.จะไดหนาตางถัดไปดังภาพที่ 21 ซึ่งเปนตัวชวยในการสรางคอรสหรือเรียกวา Wizard ซึ่งจะชวยใหการสราง บทเรียนทําไดงายมากขึ้น โดยมีคําอธิบายรายละเอียดไวดังภาพ หลังจากนั้น กดปุม Next ภาพที่ 21 แสดง Wizard สําหรับชวยสรางคอรสหรือบทเรียน 4. หนาตางสําหรับการระบุชอคอรส (ชื่อวิชา) ชื่อโฟลเดอร (Folder) สําหรับเก็บขอมูลบทเรียนและตําแหนง ่ื ของงานที่ตองการจัดเก็บ (Location) ดังภาพที่ 22 2. เลือกตําแหนงสําหรับเก็บบทเรียน แลวกดปุม OK 1. เลือกตําแหนงสําหรับเก็บบทเรียน ภาพที่ 22 กําหนดชื่อของบทเรียน ชื่อโฟลเดอรตําแหนงการเก็บขอมูลบทเรียน โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 13
  • 18. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ 5. เมื่อกรอกและเลือกขอมูลครบทั้งสามชองแลวใหกดปุม Next เพื่อดําเนินขันถัดไป ้ ภาพที่ 23 แสดงขอมูลที่กรอกเสร็จเรียบรอยแลวและกดปุม Next 6. จะปรากฏหนาตางเพื่อใหกําหนดชื่อบทเรียนโดยกรอกในชอง Module Name และเลือกแบบสําหรับแสดง หนาของบทเรียนซึ่งเรียกวา Templete โปรแกรม CourseLab ไดเตรียมแมแบบสําหรับบทเรียนไวมากมายหลาย แบบ ดังภาพที่ 24 หลังจากนั้น กดปุม Next ภาพที่ 24 กําหนดโมดูลบทเรียนและเลือกแมแบบสําหรับบทเรียน โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 14
  • 19. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ 7. จะปรากฏหนาจอซึ่งบอกวาขณะนี้การสรางบทเรียนไดเสร็จเรียบรอยแลวและพรอมสําหรับการใชงานตอไป โดยการกดปุม Finish ภาพที่ 25 เสร็จสิ้นการสรางบทเรียน 8. เมื่อกดปุม Finish แลวระบบแมแบบของบทเรียนที่ไดสรางไวดังภาพ ภาพที่ 26 แมแบบสําหรับแกไขบทเรียนทีไดจากการสรางบทเรียนใหม ่ โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 15
  • 20. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ 9. เมื่อสรางเสร็จแลวทดสอบดูผลงานของบทเรียนวามีลักษณะอยางไรโดยเลือกไปทีเ่ มนู Module -> View Module หรือกดปุม F5 (หมายเหตุ : ถัดไปจะไดใชงานปุม F5 บอยครั้งมากขึ้นเพราะจะเปนปุมใชสาหรับดูวา   ํ บทเรียนที่ไดเปลี่ยนแปลงแกไขจะมีลกษณะเปลียนไปอยางไร ั ่ ภาพที่ 27 เมนู View Module ดูผลลัพธของชิ้นงานที่ไดสรางขึ้น 10. เมื่อกดปุม F5 โปรแกร CourseLab จะทําการประมวลผลสิ่งที่ไดสรางขึ้นตั้งแตขั้นตอนที่ 1 – 7 และ แสดงผลใหดู (ใหสังเกตชื่อไฟลในตําแหนงสุดทายมีชอวา Start.hta เปนไฟลเริ่มตนสําหรับการเรียกใชงาน ื่ โมดูลบทเรียนที่ไดสรางขึ้น) และกดปุม Start Module (เริ่มใชงานบทเรียน)  ภาพที่ 28 แสดงแมแบบของบทเรียนที่สรางไว โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 16
  • 21. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ 11. หลังจากกดปุม Start Module ก็จะเขาสูบทเรียนที่ไดจากการเลือกแมแบบไว ภาพที่ 29 แสดงแมแบบของบทเรียนหรือโมดูลบทเรียน โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 17
  • 22. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ สวนประกอบของโปรแกรม CourseLab หลังจากที่ไดสรางบทเรียนเรียบรอยแลวสิงที่ตองทําความเขาใจอีกสวนหนึ่งคือ สวนประกอบตาง ๆ ่ ของโปรแกรม สําหรับการสรางบทเรียน (Module) จะมี 3 สวนที่ตองจัดการคือ - หนาแรกของบทเรียน (Title) ซึ่งแสดงเปนหนาแรกของบทเรียนแตละบท โดยปกติจะเปนหนาที่ แสดงชื่อของบทเรียนนันๆ ้ - แมแบบของหนาเนื้อหาบทเรียน (Master) เปนสวนการกําหนดตนแบบของหนาบทเรียนแตละหนา ซึ่งเราสามารถสรางหนาแมแบบไดหลายหนา - หนาเนื้อหา (Normal) ซึ่งเปนหนาทีใชในการใสเนื้อหาของบทเรียน ่ หนาตาง TimeLine ใชสําหรับ กําหนดเวลาสําหรับการแสดงวัตถุ หนาตาง Slide สําหรับเพิ่ม/แกไข หนาตางงาน Task pane ซึ่งจะมีสวนยอย 6 สวน คือ Slide บทเรียน หนาตาง Course ที่ใชสําหรับ - Frame Structure เพื่อเลือกวัตถุบนหนาสไลด (คลายกับ เลือกบทเรียนสําหรับแกไข - Object Library เลือกวัตถุในโปรแกรมมาใชงาน เมื่อกดคลิ๊กเลือกบทเรียนจะ - Clip Art ใชกาหนดตําแหนงรูปภาพ หนาตาง Frame ใชสําหรับ เพิ่ม - AutoShape รูปทรงตาง ๆ ที่ถูกจัดเตรียมไว สัมพันธกับหนาตาง Slide หนาของแตละ Slide - Template สําหรับเปลียนแมแบบ ่ Title :หนาแรกของบทเรียน Master : กําหนดแมแบบของบทเรียน Normal : กําหนดเนื้อหาบทเรียน ภาพที่ 30 สวนประกอบของโปรแกรม CourseLab โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 18
  • 23. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ แนะนําเมนูตาง ๆ ของโปรแกรม Course Lab โปรแกรม CourseLab มีเมนูตาง ๆ อยูทั้งหมด 9 เมนู คือ เมนู File ,Edit ,View ,Insert ,Format ,Tool, Module , Window ,Help โดยรายละเอียดของแตละเมนูทจําเปนสําหรับกรใชงานมีดังนี้ ี่ 1. เมนู File เปนเมนูหลักใชสําหรับ - New -> Course สรางบทเรียนใหม (มีทั้งหมด 3 ประเภท คือ Course Module และ Folder - การเปด-ปดไฟลบทเรียน (Open/Close) - Save / Save All บันทึกบทเรียนที่สรางขึ้นใหมหรือบทเรีนเดิมที่ไดรับการแกไข - Course Runtime Settings.. กําหนดคาสําหรับการนําบทเรียนไปใชงานรวมกับ LMS - Publish Course… การสรางชุดสําหรับเผยแพรผลงาน ภาพที่ 31 เมนูไฟล 2. เมนู Edit เมนูนี้ใชสําหรับการแกไข การตัด การคัดลอก การวาง วัตถุ หรือการยกเลิกการกระทําในขั้นตอน ของการสรางบทเรียน ภาพที่ 32 เมนู Edit (แกไข) โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 19
  • 24. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ 3. เมนู View ใชสําหรับการเรียกดูองคประกอบหรือสวนตาง ๆ ของโปรแกรมเชน หนาตาง Slides หนาตาง Timeline หนาตาง Frames หนาตาง Course (ถาหนาตางใดหนาตางหนึงในโปรแกรมหายไป สามารถเรียก ่ กลับมาไดโดยใชงานที่เมนูน)ี้ ภาพที่ 33 เมนู View สําหรับเรียกหนาตางหรือปดหนาตาง Slides,Timelines,Frames,Course 4. เมนู Insert เปนเมนูสําหรับการเพิ่มวัตถุตาง ๆ เขาในบทเรียน เชน การเพิ่ม Slide การเพิ่มกลองขอความ รูปภาพ และวัตถุ ภาพที่ 34 เมนู Insert สําหรับการเพิ่มวัตถุตาง ๆ สูบทเรียน  โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 20
  • 25. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ 5. เมนู Modules ใชสําหรับการแสดงผล Slide หรือแสดง Slide บทเรียนที่ไดการออกแบบไวโดยคลิ๊กเลือกที่ View Module หรือสามารถกดคียลัดไดโดยกดปุม F5 ที่คียบอรด ในสวนของ View Slide เปนการแสดง ตัวอยาง Slide บทเรียน สําหรับเมนูยอยที่ตองกําหนดเพิ่มเติมคือ - Design Settings เพื่อปรับเปลี่ยนขนาดของการแสดงผล(Slide), ฟอนต(Font) ,ชื่อวัตถุ (Identifiers) และสี (Colors) - Runtime Settings ใชสําหรับการกําหนดคาตาง ๆ และจําเปนสําหรับการใชงานรวมกับ LMS ภาพที่ 35 เมนู Module สําหรับการแสดงผล Slide และกําหนดคาเพื่อนําไปใชกับระบบ LMS การกําหนดคาใหกับบทเรียน (Module) การกําหนดคาของบทเรียนมี 2 สวน คือ Design Settings และ Runtime Settings โดยในสวนของ Design Settings จะเปนการกําหนดคาในของการสราง-แกไขบทเรียน สวน Runtime Settings เปนการกําหนด คาที่ใชในขณะบทเรียนกําลังทํางาน การกําหนดคาทําไดดังนี้ 1. Design Setting ในสวนนี้จะเปนการกําหนดคาสําหรับการสรางหรือแกไขบทเรียน โดยไปที่เมนู Module -> Design Settings หรือสามารถกดคียบอรดสองปุมประกอบกันคือ Alt และ F7 (Alt+F7) ดังภาพที่ 36 ภาพที่ 36 กําหนดคาบทเรียนดวยเมนู Design Settings โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 21
  • 26. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ เมื่อเลือกที่เมนู Module -> Design Setting หรือกดปุม Alt+F7 จะปรากฏหนาตาง Module Settings ซึ่งจะประกอบดวยหนาตางยอย ๆ ทั้งหมด 4 สวน คือ Slide ,Font ,Identifiers ,Colors ภาพที่ 37 สวนของการกําหนดขนาด Slide สําหรับแสดงที่จอภาพ จากภาพที่ 37 เปนสวนของการกําหนดขนาดของ Slide เพือจะแสดงผลที่จอภาพ ในการกําหนดขนาด ่ นี้ตองกําหนดคาใหสอดคลองกับหนาจอคอมพิวเตอรทจะนําไปใชงาน เชน หนาจอคอมพิวเตอรทกําหนด ี่ ี่ ขนาดไว 800 X 600 หรือ 1024 X 768 ภาพที่ 38 การกําหนดรูปแบบตัวอักษร (Font) จากภาพที่ 38 เปนการกําหนดแบบตัวอักษรเพื่อใชงานกับ Slide บทเรียนทั้งหมด ซึ่งสามารถกําหนด แบบอักษร รูปแบบ (Style) ขนาด (Size) และสี (Color) โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 22
  • 27. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ ภาพที่ 39 การกําหนดชื่อวัตถุประเภทตาง ๆ จากภาพที่ 39 เปนในสวนของ Identifiers ใชสําหรับกําหนดชื่อวัตถุที่จะนําเขาใชในบทเรียน โดยการ กําหนดชื่อนั้นจะทําใหเปนมาตรฐานเดียวกันคือ ถาเปน Slide จะใช Slide_ ถาเปน ชองสําหรับแสดงขอความ จะใช TXT_ นําหนา การกําหนดชื่อนําหนานี้จะสะดวกสําหรับการจดจําประเภทของวัตถุที่ไดนําเขาใชใน บทเรียน ภาพที่ 40 การกําหนดคาสีใหกับบทเรียน จากภาพที่ 40 เปนสวนของ Colors ซึ่งจะใชสําหรับกําหนดคาสีใหกบบทเรียน โดยสามารถกําหนด ั เพิ่มเติมไดโดยการกดปุม Add จะปรากฏหนาตางเพื่อใหผูใชงานไดกาหนดคาสีหรือเลือกสีตามที่ไดรับการ ํ ออกแบบสําหรับการสรางบทเรียนไว ดังภาพที่ 41 โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 23
  • 28. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ ภาพที่ 41 การกําหนดคาสีเพิมเติม ่ 2. Runtime Settings สวนนี้จะเปนการกําหนดคาที่ใชในขณะบทเรียนกําลังทํางาน โดยไปที่เมนู Module -> Runtimes Settings ดังภาพที่ 42 ภาพที่ 42 เมนูกําหนดคาขณะบทเรียนกําลังทํางาน เมื่อคลิ๊กเลือกที่เมนู Runtime Settings แลวจะปรากฏหนาตาง Module Properties ซึ่งจะประกอบดวย แท็ปยอยภายในทั้งหมด 5 แท็ปดังภาพที่ 43 แท็ป General ใชสําหรับกําหนดชื่อที่จะแสดงขึ้นมา โดยเฉพาะเมื่อใหกบระบบ LMS ตองกรอก ชื่อ ั (Identifier) และคําอธิบายโดยยอของบทเรียน (Description) โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 24
  • 29. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ ภาพที่ 43 หนาตาง Module Properties และกําหนดคาใหกับแท็ป General การกําหนดตัวแปรเพื่อเก็บคะแนน แท็ป Objectives เปนการกําหนดตัวแปรทีใชในการเก็บคะแนน ซึ่งตัวโปรแกรมจะเตรียมไวให 1 ตัว ่ คือ total โดยทานสามารถเพิ่มตัวแปรกีตัวก็ได เชน การเพิ่มตัวแปร Pretest เพื่อเก็บคะแนนสําหรับการทํา ่ แบบทดสอบกอนเรียน โดยกดปุม Add… ภาพที่ 44 หนาตาง Objectives สําหรับสรางตัวแปรเพื่อเก็บคาตาง ๆ โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 25
  • 30. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ ภาพที่ 45 ตัวอยางการเพิ่มตัวแปรสําหรับใชในบทเรียน ในการกําหนดคาตัวแปรกําหนดชื่อตัวแปรในชอง Identiver ตองเปนภาษาอังกฤษเทานั้น และในสวน ของ Score จะสามารถกําหนดคาคะแนนสูงสุดและต่ําสุด เมื่อทําการเพิมตัวแปรเสร็จเรียบรอยแลวกดปุม OK ่ จะปรากฏชื่อตัวแปรที่กําหนดขึ้นมาใหมคือ Pretest ภาพที่ 46 ชื่อตัวแปรที่ถูกกําหนดขึ้นเพิ่มเติมจากที่มีอยู โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 26
  • 31. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ แท็ป Rules ใชสําหรับการกําหนดกฏเกณฑ ภาพที่ 47 แท็ป Rules ใชสําหรับการกําหนดกฏเกณฑ แท็ป Checks เปนการกําหนดรายชื่อโปรแกรมที่บทเรียนของเราจะทําการตรวจสอบ ในเครื่องที่กําลัง ทํางานอยู ภาพที่ 48 กําหนดรายชื่อโปรแกรมที่บทเรียนของเราจะทําการตรวจสอบ โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 27
  • 32. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ แท็ป Runtime ในที่นี้ใหคลิกเอาเครื่องหมายถูกที่ show Title-Slid at module startup ออก เพื่อไมตอง ใชหนาแรกบทเรียน (Title) เนื่องจากการกําหนดลําดับการแสดงผลของวัตถุตางๆ บนสไลดไมสามารถทําได ภาพที่ 49 แท็ป Runtime โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 28
  • 33. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ การแกไขบทเรียน (Editing Module) การแกไขบทเรียนจะทําการแกไขทั้งหมดสามสวนคือ Title Slide, Master Slide และ Normal Slide ในสวนของ Title Slide จะเปนหนาแรกเมือทําการแสดงผลบทเรียนจากการกดปุม F5 ซึ่งสามารถปรับแกไขได ่ ทุกสวนของหนา Slide ในสวนของ Master Slide เปนการแกไขเพื่อกําหนดเปนแมแบบของบทเรียนหรือที่ เรียกวา Templete ซึ่งจะนําไปใชในบทเรียนโดยอัตโนมัติ 1. การแกไขหนาแรกของบทเรียนหรือ Title Slide การแกไข Title Slide นั้นทําไดโดยกดไปที่เมนู View -> Title หรือดูที่หนาตาง Slide ซึ่งมี icon อยุ ดานลางที่เปนรูปกลองสี่เหลี่ยมเมื่อนําเมาสชี้ไวเหนือกลองสี่เหลี่ยมจะมีขอความบอกวาหมายถึงอะไร  สําหรับการแกไขในสวนนี้เมือคลิ๊กเลือกแลวจะปรากฏหนา Slide ขึ้นมา เราสามารถปรับเปลี่ยนแกไขทั้ง ่ รูปภาพและขอความไดทั้งหมด ภาพที่ 50 แสดงเมนูเพื่อแกไขสวนของ Title Slide 2. แกไขหนาหลักของบทเรียนหรือ Master Slide แมแบบ สไลดแมแบบ (Master Slide) เปนตนแบบของสไลดบทเรียน ซึ่งสไลดบทเรียนที่เราสรางขึ้นตอง กําหนดวาใชแมแบบหนาไหน ดังนั้นเราจําเปนตองมีแมแบบไวอยางนอย 1 สไลด การใชงานไปที่เมนู View -> Master หลังจากนั้นก็สามารถแกไขเปลี่ยนรูปภาพของแมแบบไดทั้งหมด ภาพที่ 51 แสดงเมนูเพื่อแกไขสวนของ Master Slide โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 29
  • 34. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ 3. แกไขหนานําเสนอเนื้อหาของบทเรียนหรือ Normal Slide การแกไข Slide บทเรียน ทําไดโดยไปที่เมนู View -> Normal ซึ่งจะเปนหนาสําหรับแสดงเนื้อหาใน บทเรียนดังภาพที่ 52 ภาพที่ 52 แสดงเมนูเพื่อแกไขสวนของ Normal Slide สําหรับการแกไขสไลดที่แสดงเนื้อหาในบทเรียนนันสามารถแกไขในสวนตาง ๆ คือ เชนการเปลี่ยน ้ ชื่อสไลด การกําหนด ID ใหกับสไลด เปนตน การเพิ่มวัตถุใหกับบทเรียนหรือการเพิ่ม Object การจัดการสไลดบทเรียนหรือในสวนของหนาแสดงเนื้อหาของบทเรียน องคประกอบของสไลด สวนใหญจะประกอบไปดวยขอความ รูปภาพ บางสไลดอาจมีภาพมากกวาหนึ่งภาพแตลําดับในการแสดงภาพ นั้นใชเวลาที่แตกตางกัน และสําหรับบางสวนของบทเรียนอาจเพิ่มความนาสนใจดวยการเพิ่มวีดีโอ ภาพเคลื่อนไหว โดยสามารถแทรกไฟลวดีโอ ไฟลแฟลช หรือกาตูนยแอนนิเมชัน เพื่อเพิ่มความนาสนใจ ี ่ ใหกับผูเรียน เพื่อดึงดูดใหผูเรียนมีสมาธิกบเนื้อหาที่ตองการนําเสนอ การจัดการกับขอความรูปภาพสามารถ ั เรียกใชงานไดที่เมนู Insert -> Text Box , Insert -> Picture โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 30
  • 35. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ การเพิ่มขอความ, รูปภาพ, ตาราง ดวย Text Box เลือกที่เมนู Insert -> Text Box หลังจากนันจะปรากฏวัตถุที่หนาของสไลด ้ ภาพที่ 53 การเพิ่มขอความ ภาพที่ 54 วัตถุประเภทขอความที่ไดเพิ่มสูหนาสไดล การเพิ่มขอความลงในวัตถุประเภทขอความสามารถทําไดโดยการดับเบิ้ลคลิกในกรอบของวัตถุแลว พิมพขอความลงไปและสามารถแทรกรูปภาพหรือขอความลงไปไดดังภาพที่ 55  ภาพที่ 55 การเพิ่มขอความและแทรกรูปภาพลงในวัตถุประเภทขอความ โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 31
  • 36. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ ภาพที่ 56 การแทรกตารางลงในวัตถุประเภทขอความ ภาพที่ 57 ผลที่ไดจากการแทรกตารางและรูปภาพในวัตถุประเภทขอความ โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 32
  • 37. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ การกําหนด Effect การแสดงผลใหกบกลองขอความ ั กลองขอความนอกจากจัดลําดับในการแสดงผลแลวยังสามารถใสเทคนิคพิเศษสําหรับการแสดงผลได อีกดวย เชน คอย ๆ แสดงผลเปนแถบจากซายไปขวา เปนตน ซึ่งสามารถใส Effect โดยคลิกขวาทีวตถุนั้น แลว ่ั เลือก Format Text Box… (หรือ Format Picture… กรณีเปนวัตถุรูปภาพ หรือ Format Object… กรณีเปนวัตถุ อื่นๆ) จากนันคลิกที่แท็ป Display แลวเลือก Effect ในสวน Entrance เพื่อใชเมื่อเริ่มแสดงผล และเลือก Effect ้ ในสวน Exit เพื่อใชเมื่อสิ้นสุดการแสดงผล ภาพที่ 57-1 การกําหนด Effect ใหกับกลองขอความ ภาพที่ 57-2 การเลือกลักษณะพิเศษสําหรับการแสดงผลขอความ โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 33
  • 38. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ การเพิ่มไฟลวีดีโอ การเพิ่มประเภทไฟลวีดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพแฟลชแอนนิเมชั่น หรือวีดีโอ สามารถเพิ่มไดโดยการ เลือกไปที่ Task Panel -> เลือก Object Library -> เลือก Media จะไดดังภาพ ภาพที่ 57 วิธีการเลือกประเภทไฟลวดีโอเพื่อเพิ่มไปที่หนาสไลด ี วิธีการเพิ่มไฟลวีดีโอไปสูสไลดบทเรียนจะทําการดับเบิลคลิกเลือกประเภทของไฟลที่ตองการใสใน ้ หนาสไลด ภาพที่ 58 เลือกประเภทไฟลวีดโอ ี โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 34
  • 39. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ วิธีการเพิ่มไฟลวีดีโอโดยการดับเบิ้ลคลิกที่วัตถุในหนาสไลดจะปรากฏหนาตางขึ้นมาเพื่อใหเราเลือก ไฟลวีดีโอหรือสามารถนําเขาวีดีโอจากเว็บไซตไดอีกดวย ภาพที่ 59 หนาตางเลือกตําแหนงที่อยูของไฟลวีดีโอ การเพิ่มโดยการคลิ๊กที่ปุมดานหลังแลวทําการเลือกไฟลที่ตองการแสดงผลซึ่งตองตรงกับประเภทของ วัตถุที่จะแสดงไฟลวีดีโอที่ไดเลือกไวกอนหนา ภาพที่ 60 ปุมเพิ่มไฟลวดีโอที่ตองการแสดง ี โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 35
  • 40. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ หลังจากนันทําการกําหนดหรือเลือกประเภทของโปรแกรมที่ใชเปดไฟลวดีโอหรือจะใหโปรแกรม ้ ี ตรวจสอบอัตโนมัติโดยที่ไมตองกําหนดก็ได ภาพที่ 61 เลือกประเภทของโปรแกรมเพื่อจะเปดไฟลวดโอ ีี หลังจากนันกดปุม Apply แลวรอจนกวาจะเรียกโปรแกรมที่เรากําหนดขึ้นมาใชงาน แลวกดปุม OK ้ ภาพที่ 61 กดปุม Apply เพื่อเรียกโปรแกรมเขาสูหนา Slide โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 36
  • 41. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ การเพิ่มเสียงใหกับวัตถุ การเพิ่มเสียงใหกับวัตถุซึ่งสามารถใชวิธีการเดียวกับวัตถุทุกประเภททําไดโดยการคลิ๊กขวาที่วัตถุ จะ ปรากฏหนาตางใหเลือกซึ่งเลือก Format Object จะปรากฏหนาตางใหเลือกที่แท็ป Sound ภาพที่ 62 เลือกแท็ป Sound ภาพที่ 63 เลือกเพลงที่ตองการเปด โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 37
  • 42. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ หลังจากนันกดปุม Open จะปรากฏตําแหนงของไฟลแสดงที่แท็ปหลักของหนาตาง หลังจากนันกดปุม ้ ้ Apply และกดปุม OK ภาพที่ 64 เลือกเพลงที่ตองการเปด การใช TimeLine จัดลําดับการแสดงผล การจัดลําดับแสดงผลตองใช TimeLine เพือจะไดกําหนดลําดับของการแสดงผลใหวตถุแตละชิ้น ่ ั สามารถทําไดโดยเลือกที่เมนู View -> TimeLine หรือกด Alt+2 หลังจากคลิ๊กเลือกเสร็จแลวจะปรากฏในสวน ของการกําหนดเวลาขึ้นมาทีดานบนของสไดลบทเรียน ่ ภาพที่ 65 การกําหนดการแสดงผลของวัตถุดวย TimeLine โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 38
  • 43. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ หลังจากนันใหคลิ๊กเมาสจาก 0s จนถึง ตัวเลขวินาทีที่ตองการและหลังจากปลอยเมาสจะปรากฏชื่อวัตถุที่อยูใน ้ หนาสไลดทั้งหมดขึ้นมาดังภาพที่ 66 หลังจากนั้นสามารถคลิ๊กเลือกวัตถุแตละตัวเพื่อกําหนดเวลาของการแสดง ในหนาสไลด ภาพที่ 66 การกําหนดระยะเวลาในการแสดงผลของวัตถุ การเพิ่ม/ลบสไลด และการเพิ่ม/ลบเฟรมในบทเรียน การเพิ่มสไลดใหกดที่เฟรมของสไลดแลวคลิ๊กขวาเลือก New Slide และถาตองการลบสไลดใหคลิก เลือกที่สไลดที่ตองการแลวกดที่ Delete Slide สวนการเพิมเฟรมก็ทําเชนเดียวกับการเพิ่มหรือลบสไลดคือ คลิก ่ ขวาในสวนของเฟรมพาแนลแลวเลือก New Frame สําหรับการเพิ่มสไลดใหมและกดเลือก Delete Frame ใน การลบเฟรมออกจากบทเรียน ภาพที่ 67 การเพิ่ม/ลบสไลดและเพิ่ม/ลบเฟรมใหกบบทเรียน ั โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 39
  • 44. คูมือการติดตั้งและใชงานโปรแกรม CourseLab อ. เขมปริต ขุนราชเสนา วิทยาการคอมพิวเตอร ม.รภ.เพชรบูรณ การสรางการเชื่อมโยงสไลด การสรางการเชื่อมโยงจากหนาสไลดจากหนาสุดทายไปหนาแรก จากหนากลางไปหนาสุดทายนัน ้ สามารถกําหนดไดโดยคลิ๊กขวาเลือก Action จะปรากฏหนาตางเพื่อใหกําหนดเหตุการณตาง ๆ การใชงานจะ เรียกใช Even onclick และ Action เลือก CALL ดังภาพ เลือกประเภทของการ เชื่อมโยง ภาพที่ 68 การกําหนดการเชือมโยงระหวางหนาสไลด ่ หลังจากนันคลิ๊กเลือกหนาสไลดเพื่อทําการเชื่อมโยงไปยังปลายทาง ้ ภาพที่ 69 การเลือกหนาสไลดปลายทางเพือเชื่อมโยงไปยังจุดที่ตองการ ่ โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ Interactive Elearning By CourseLab 40