SlideShare a Scribd company logo
1 of 15
บทที่3 นาฏศิลป์ตอน โขน
บทนำา
การแสดงอีกอย่างหนึ่งให้ท่ารำา และแสดงเป็นเรื่องราวโดยลำาดับ วิธีการ
ทุกอย่างเหมือนละคร แต่ไม่เรียกว่า ละคร การแสดงที่จะกล่าวนี้ เรียก
ว่า "โขน"
โขน เป็นการแสดงที่ใช้ท่ารำาตามแบบละครใน แต่เพิ่มท่ารำาที่มีตัวแสดง
แปลกออกไป กับเปลี่ยนทำานองเพลง ที่ดำาเนินเรื่อง ไม่ให้เหมือนละคร
โขน มีลักษณะสำาคัญอยู่ที่ ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนหมดทุกตัว ยกเว้น
ตัวนาง พระ และเทวดา ในสมัยโบราณตัวพระและตัวเทวดา ก็สวมหัว ภาย
หลังจึงเปลี่ยนแปลงให้ตัวพระ และตัวเทวดาไม่ต้องสวมหัว คงใช้หน้าของ
ผู้แสดงเช่นเดียวกับละคร
หัวโขน เป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูตรงตาให้มองเห็น
สร้างตามลักษณะของตัวนั้นๆ เช่น ยักษ์ ลิง เทวดา และอื่นๆ ตบแต่งด้วยสี
ปิดทอง ประดับกระจก สวยงาม บางท่านก็เรียกว่า "หน้าโขน"
เรื่องดำาเนินไปด้วยการกล่าวลำานำาเล่าเรื่อง เป็นทำานองเรียก
ว่า "พากย์" อย่างหนึ่ง กับ เจรจาเป็นทำานองอย่างหนึ่ง บทพากย์เป็นกาพย์
ยานี และกาพย์ฉบัง การพูดของตัวโขน ไม่ว่าจะเป็นทำานองพากย์ ทำานอง
เจรจา หรือพูดอย่างสามัญชน มีผู้พูดแทนให้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นตัวที่สวม
หน้า หรือไม่สวมหน้า ผู้พูดแทนตัวโขนนี้ เรียกว่า "คนเจรจา"
เครื่องแต่งตัว เป็นแบบเดียวกับละครใน นอกจากบางตัวสวมหัวโขนตาม
เนื้อเรื่อง เสื้อของตัวพระ และตัวยักษ์สมัยโบราณมักมี ๒ สี คือ เป็นเสื้อกั๊ก
สีหนึ่ง กับแขนสีหนึ่ง นัยว่า เสื้อกั๊กนั้นแทนเกราะ ส่วนตัวลิง ตัวเสื้อ และ
แขนลายวงทักษิณาวรรต สมมติเป็นขน ของลิงหรือหมี ตัวยักษ์จะต้องมี
ห้อยก้นเป็นผ้าปักผืนสั้นๆ ปิดชายกระเบน
เรื่องที่แสดง โขนของไทยเราแสดงแต่เรื่องรามเกียรติ์เรื่องเดียว
วิธีการแสดงโขนมีหลายชนิด แตกต่างกันด้วยวิธีการแสดง ดังจะอธิบายไป
ตามลำาดับดังนี้
โขนกลางแปลง
โขนกลางแปลง เป็นโขนที่แสดงกับพื้นดิน ที่เป็นลานกว้างใหญ่ สมมติ
พื้นที่นั้นเป็นกรุงลงกาด้านหนึ่ง เป็นพลับพลาพระรามด้านหนึ่ง ด้านกรุง
ลงกาสร้างเป็นปราสาทราชวัง มีกำาแพงจำาลองด้วยไม้และกระดาษ ด้าน
พลับพลา ก็สร้างพลับพลามีรั้วเป็นค่ายจำาลอง เช่นเดียวกัน ปลูกร้านสูง
ประมาณ๒ เมตร ตั้งวงปี่พาทย์ด้านละวง คนเจรจามีด้านละ ๒ คนเป็น
อย่างน้อย วงปี่พาทย์บรรเลง ประกอบกับการแสดงด้านที่วงประจำาอยู่ แต่
ถ้าเป็นส่วนกลาง เช่น การรบกันกลางสนามหรืออื่นๆ ก็แล้วแต่ วงไหนอยู่
ใกล้ ก็เป็นผู้บรรเลง โขนกลางแปลงมีแต่พากย์กับเจรจาเท่านั้น
โขนนั่งราว
โขนนั่งราว เป็นการแสดงบนโรง เลียนแบบโขนกลางแปลง คือ ปลูกโรงสูง
พอตาคนยืนดู ปูกระดานพื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฉากแบ่งเป็น ๓ ส่วน
ส่วนกลางยาวประมาณ ๑๐ เมตร ทำาภาพนูน เขียนสีเป็นป่าเขา ส่วนนอก
ด้านขวา (ของโรง) ยาวประมาณ ๓ เมตร ทำาภาพนูนเขียนสี เป็นรูป
พลับพลาและรั้ว สมมติเป็นพลับพลาพระราม ส่วนนอกด้านซ้ายยาว
ประมาณ ๓ เมตร ทำาภาพนูน เขียนสีเป็นปราสาทราชวังมีกำาแพงสมมติ
เป็นกรุงลงกา มีประตูเข้าออก ๒ ประตู อยู่คั่นระหว่างฉากส่วนกลางกับ
ส่วนนอก ข้างละประตู ตรงหน้าฉากออกมา ห่างฉากประมาณ ๑.๕ เมตร
ทำาราวไม้กระบอก มีเสารับสูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ยาวเสมอขอบประตู
ข้างหนึ่งมาถึงขอบประตูอีกข้างหนึ่ง หัวท้ายของโรงทั้ง ๒ ข้าง ปลูกร้าน
ให้สูงกว่าพื้น โรงประมาณ ๑ เมตร ตั้งวงปี่พาทย์ข้างละวง
วิธีแสดง ราวไม้กระบอกที่อยู่หน้าฉากนั้น เป็นที่สำาหรับนั่ง วิธีนั่ง ถ้าหัน
หน้าไปทางขวาหรือซ้าย ก็เอาเท้าข้างนั้นพับนั่งบนราว อีกเท้าหนึ่งห้อยลง
เหยียบพื้นโรง ฝ่ายพระรามจะนั่งค่อนมาข้างขวา พระราม (ตัวประธาน
ฝ่ายมนุษย์) นั่งสุดราวด้านขวา หันหน้าไปทางซ้าย บริวารทั้งหมดนั่งบน
ราวตามลำาดับเรียงไป หันหน้ามาทางขวา และฝ่ายลงกา (ฝ่ายยักษ์) ตัว
ประธาน นั่งสุดราวด้านซ้าย หันหน้ามาทางขวา บริวารทั้งหมดนั่งหันหน้า
มาทางซ้าย ส่วนการแสดง ในตอนที่ไม่นั่ง ก็แสดงได้ทั่วพื้นโรง
ดำาเนินเรื่องด้วยพากย์กับเจรจาเท่านั้น เหมือนโขนกลางแปลง
ท่ารำา เป็นท่ารำาที่ครบถ้วนตามแบบแผนศิลปะการรำา ทำาบทตามถ้อยคำา
และรำาหน้าพาทย์ตามเพลงปี่พาทย์
วิธีบรรเลงปี่พาทย์ ทั้ง ๒ วงจะผลัดกันบรรเลงวงละเพลง ตั้งแต่โหมโรง
เป็นต้นไปจนจบการแสดง
โขนโรงใน
โขนโรงใน คือโขนผสมกับละครในสถานที่แสดงเป็นโรงอย่างโรงละครใน
มีฉากเป็นม่านผืนเดียว มีประตูออก ๒ ข้าง แต่เตียงสำาหรับนั่งมี ๒ เตียง
ตั้งขวางใกล้กับประตูข้างละเตียง มีปี่พาทย์ ๒ วง อาจตั้งตรงหลังเตียงออก
ไป หรือกระเถิบมาทางหน้าโรงนิดหน่อย แล้วแต่สถานที่จะอำานวย
ดำาเนินเรื่องด้วยบทพากย์ บทเจรจา และบทร้อง มีทั้งคนพากย์ คนเจรจา
ต้นเสียง ลูกคู่ และคนบอกบท (ร้อง) วิธีแสดง เริ่มต้นอย่างละครใน คือ
ตัวเอกออกนั่งเตียง แล้วร้องหรือพากย์ดำาเนินเรื่องการแสดงต่อไป ก็แล้ว
แต่ว่า ตอนใดจะแสดงแบบโขน ตอนใดจะแสดงแบบละคร เช่นอุปกรณ์ที่
สำาคัญในการแสดงโขน ซึ่งต่างจากการแสดงละคร ก็คือ ราชรถมีตัวม้า
หรือราชสีห์เทียม และกลด มีผู้ถือกางให้ตัวเอก
เข้าใจว่า การที่โขนในสมัยหลังๆ มาจนปัจจุบัน ตัวพระ และตัวเทวดาไม่
สวมหัวโขน คงจะเริ่มมาตั้งแต่โขนมาร่วมผสมกับละครใน เป็นโขนโรงใน
นี้เอง
โขนหน้าจอ
โขนหน้าจอ วิธีการแสดงทุกๆ อย่างเหมือนโขนงโรงในทุกประการ ผิดกัน
แต่สถานที่แสดงเท่านั้น เป็นโรงที่มีลักษณะต่างกัน
โรงของโขนหน้าจอ ก็คือ โรงหนังใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงให้สะดวกแก่การ
แสดงโขนเท่านั้น สิ่งที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากโรงหนังใหญ่ ก็คือ มีประตู
เข้าออก ๒ ประตู ใต้จอตอนกลางมีมู่ลี่ หรือลูกกรงถี่ๆ เพื่อให้คนร้อง ซึ่งนั่ง
อยู่ภายในมองเห็นตัวโขน จอตอนนอกประตูทั้ง ๒ ข้าง เขียนภาพ ข้าง
ขวาเขียนภาพพลับพลาพระราม ข้างซ้ายเขียนภาพปราสาทราชวัง สมมติ
เป็นกรุงลงกา ตั้งเตียงห่างจากประตูออกมาพอสมควร ๒ เตียง ข้างละเตียง
วงปี่พาทย์สมัยก่อนตั้งด้านหน้าของที่แสดง สมัยปัจจุบัน ยกไปตั้งหลังจอ
ตรงหลังคนร้อง
โขนทุกประเภท ตั้งแต่โขนกลางแปลงมาจนถึงโขนหน้าจอ มีเครื่องดนตรี
พิเศษ อย่างหนึ่งประกอบ คือ "โกร่ง" เป็นไม้ไผ่ลำาโต ยาวประมาณ ๓ - ๔
เมตร มีเท้ารองหัวท้ายสูงประมาณ ๘ เซนติเมตร วางกับพื้น ผู้ที่นั่งเรียงกัน
ประมาณ ๔-๕ คน ถือไม้กรับทั้งสองมือตีตามจังหวะ ใช้เฉพาะเพลงที่
ต้องการความครึกครื้น เช่น เพลงกราวนอก กราวใน เชิด ตั้งอยู่หลังฉาก
หรือจอ พวกแสดงโขนที่มิได้แสดงเป็น
โขนฉาก
โขนฉาก มีลักษณะดังนี้ คือ
โขนฉากแสดงบนเวที เปลี่ยนฉากตามเนื้อเรื่อง เช่นเดียวกับละคร
ดึกดำาบรรพ์
วิธีการแสดงเหมือนโขนโรงในทุกประการ นอกจากแบ่งเนื้อเรื่องให้เป็น
ตอนเข้ากับฉาก แต่ละฉากเท่านั้น ถ้าสถานที่แสดงมีที่แสดงที่หน้าม่านได้
เวลาปิดม่านก็อาจมีการแสดงหน้าม่าน เพื่อเชื่อมเนื้อเรื่องให้ติดต่อกันก็ได้
โขน
โขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงที่เก่าแก่ของไทย มีมานานตั้งแต่สมัยกรุง
ศรีอยุธยา ตามหลักฐานจากจดหมายเหตุของ
ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวถึงการ
เล่นโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทางเข้ากับเสียงซอและเครื่องดนตรีอื่นๆ ผู้
เต้นสวมหน้ากากและถืออาวุธ โขนเป็นที่รวมของศิลปะหลายแขนงคือ
โขนนำาวิธีเล่นและวิธีแต่งตัวบางอย่างมาจากการเล่นชักนาคดึกดำาบรรพ์
โขนนำาท่าต่อสู้โลดโผน ท่ารำาท่าเต้นมาจากกระบี่กระบอง และโขนนำา
ศิลปะการพากย์การเจรจา หน้าพาทย์เพลงดนตรี การแสดงโขน ผู้แสดง
สวมศีรษะคือหัวโขน ปิดหน้าหมด ยกเว้น เทวดา มนุษย์ และมเหสี ธิดา
พระยายักษ์ มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้และมีคนพากย์และเจรจาให้ด้วย
เรื่องที่แสดงนิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุฑ ดนตรีที่ใช้ประกอบการ
แสดงโขนใช้วงปี่พาทย์
ประเภทของโขน แบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ
๑ โขนกลางแปลง
๒ โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว
๓ โขนหน้าจอ
๔ โขนโรงใน
๕ โขนฉาก
๑. โขนกลางแปลง คือ การเล่นโขนบนพื้นดิน ณ กลางสนาม ไม่ต้องสร้าง
โรงให้เล่น นิยมแสดงตอนยกทัพรบกัน โขนกลางแปลงได้วิวัฒนาการมา
จากการเล่นชักนาคดึกดำาบรรพ์ เรื่องกวนนำ้าอมฤต เรื่องมีอยู่ว่า เทวดาและ
อสูรใคร่จะเป็นอมตะ จึงไปทูลพระนารายณ์ พระนารายณ์จึงแนะนำาให้
กวนนำ้าอมฤต โดยใช้เขามนทคิรีเป็นไม้กวน เอาพระยาวาสุกรีเป็นเชือก
พันรอบเขา เทวดาชักทางหาง หมุนเขาไปมา พระยาวาสุกรีพ่นพิษออก
มา พระนารายณ์เชิญให้พระอิศวรดื่มพิษนั้นเสีย พระอิศวรจึงมีศอสีนิล
เพราะพิษไหม้ ครั้นกวนต่อไป เขามนทคิรีทะลุลงไปใต้โลก พระนารายณ์
จึงอวตารเป็นเต่าไปรองรับเขามนทคิรีไว้ ครั้นได้นำ้าอมฤตแล้ว เทวดาและ
อสูรแย่งชิงนำ้าอมฤตกันจนเกิดสงคราม พระนารายณ์จึงนำานำ้าอมฤตไปเสีย
พวกอสูรไม่ได้ดื่มนำ้าอมฤตก็ตายในที่รบเป็นอันมาก เทวดาจึงเป็นใหญ่ใน
สวรรค์ พระนารายณ์เมื่อได้นำ้าอมฤตไปแล้ว ก็แบ่งนำ้าอมฤตให้เทวดาและ
อสูรดื่ม พระนารายณ์แปลงเป็นนางงามรินนำ้าอมฤตให้เทวดา แต่รินนำ้า
ธรรมดาให้อสูร ฝ่ายราหูเป็นพี่น้องกับพระอาทิตย์และพระจันทร์แต่ราหูเป็
อสูร ราหูเห็นเทวดาสดชื่นแข็งแรงเมื่อได้ดื่มนำ้าอมฤต แต่อสูรยังคง
อ่อนเพลียอยู่ เห็นผิดสังเกต จึงแปลงเป็นเทวดาไปปะปนอยู่ในหมู่เทวดา
จึงพลอยได้ดื่มนำ้าอมฤตด้วย พระอาทิตย์และพระจันทร์จึงแอบบอกพระ
นารายณ์ พระนารายณ์โกรธมากที่ราหูตบตาพระองค์ จึงขว้างจักรไปตัด
กลางตัวราหู ร่างกายท่อนบนได้รับนำ้าอมฤตก็เป็นอมตะ แต่ร่างกายท่อน
ล่างตายไป ราหูจึงเป็นยักษ์มีกายครึ่งท่อน ราหูโกรธและอาฆาต
พระอาทิตย์และพระจันทร์มาก พบที่ไหนก็อมทันที เกิดเป็นราหูอมจันทร์
หรือจันทรคราสและสุริยคราส ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้ามาเทศนาให้ราหูเลิก
พยาบาทจองเวร ราหูจึงได้คลายพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ออก
การเล่นชักนาคดึกดำาบรรพ์ เล่นในพิธีอินทราภิเษก มีปรากฏในกฎ
มณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา โขนกลางแปลงนำาวิธีการแสดงคือการจัด
กระบวนทัพ การเต้นประกอบหน้าพาทย์ มาจากการเล่นชักนาค
ดึกดำาบรรพ์ แต่เปลี่ยนมาเล่นเรื่องรามเกียรติ์ และเล่นตอนฝ่ายยักษ์และ
ฝ่ายพระรามยกทัพรบกัน จึงมีการเต้นประกอบหน้าพาทย์ และอาจมีบท
พาทย์และเจรจาบ้างแต่ไม่มีบทร้อง
๒ โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว เป็นการแสดงบนโรงมีหลังคา ไม่มีเตียง
สำาหรับตัวโขนนั่ง แต่มีราวพาดตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉาก (ม่าน)
มีช่องทางให้ผู้แสดงเดินได้รอบราวแทนเตียง มีการพากย์และเจรจา แต่
ไม่มีการร้อง ปี่พาทย์บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ มีปี่พาทย์ ๒ วง เพราะต้อง
บรรเลงมาก ตั้งหัวโรงท้ายโรง จึงเรียกว่าวงหัวและวงท้าย หรือวงซ้ายและ
วงขวา วันก่อนแสดงโขนนั่งราวจะมีการโหมโรง และให้พวกโขนออก
มากระทุ้งเส้าตามจังหวะเพลง พอจบโหมโรงก็แสดงตอนพิราพออกเที่ยว
ป่า จับสัตว์กินเป็นอาหาร พระรามหลงเข้าสวนพวาทองของพราพ แล้วก็
หยุดแสดง พักนอนค้างคืนที่โรงโขน รุ่งขึ้นจึงแสดงตามเรื่องที่เตรียมไว้ จึง
เรียกว่า "โขนนอนโรง"
๓ โขนหน้าจอ คือโขนที่เล่นตรงหน้าจอ ซึ่งเดิมเขาขึงไว้สำาหรับเล่นหนัง
ใหญ่ ในการเล่นหนังใหญ่นั้น มีการเชิดหนังใหญ่อยู่หน้าจอผ้าขาว การ
แสดงหนังใหญ่มีศิลปะสำาคัญ คือการพากย์และเจรจา มีดนตรีปี่พาทย์
ประกอบการแสดง ผู้เชิดตัวหนังต้องเต้นตามลีลาและจังหวะดนตรี นิยม
แสดงเรื่องรามเกียรติ์ ต่อมามีการปล่อยตัวแสดงออกมาแสดงหนังจอ แทน
การเชิดหนังในบางตอน เรียกว่า "หนังติดตัวโขน" มีผู้นิยมมากขึ้น เลย
ปล่อยตัวโขนออกมาแสดงหน้าจอตลอด ไม่มีการเชิดหนังเลย จึงกลายเป็น
โขนหน้าจอ และต้องแขวะจอเป็นประตูออก ๒ ข้าง เรียกว่า "จอแขวะ"
๔ โขนโรงใน คือ โขนที่นำาศิลปะของละครในเข้ามาผสม โขนโรงในมีปี่
พาทย์บรรเลง ๒ วงผลัดกัน การแสดงก็มีทั้งออกท่ารำาเต้น ทีพากย์และ
เจรจาตามแบบโขน กับนำาเพลงขับร้องและเพลงประกอบกิริยาอาการ ของ
ดนตรีแบบละครใน และมีการนำาระบำารำาฟ้อนผสมเข้าด้วย เป็นการ
ปรับปรุงให้วิวัฒนาการขึ้นอีก การผสมผสานระหว่างโขนกับละครในสมัย
รัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ ทั้งมีราชกวีภายในราชสำานักช่วยปรับปรุง
ขัดเกลา และประพันธ์บทพากย์บทเจรจาให้ไพเราะสละสลวยขึ้นอีก
โขนที่กรมศิลปากรนำาออกแสดงในปัจจุบันนี้ ก็ใช้ศิลปะการแสดง
แบบโขนโรงใน ไม่ว่าจะแสดงกลางแจ้งหรือแสดงหน้าจอก็ตาม
๕ โขนฉาก เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีผู้คิดสร้างฉากประกอบเรื่อง
เมื่อแสดงโขนบนเวที คล้ายกับละครดึกดำาบรรพ์ ส่วนวิธีแสดงดำาเนินเช่น
เดียวกับโขนโรงใน แต่มีการแบ่งเป็นชุดเป็นตอน เป็นฉาก และจัดฉาก
ประกอบตามท้องเรื่อง จึงมีการตัดต่อเรื่องใหม่ไม่ให้ย้อนไปย้อนมา เพื่อ
สะดวกในการจัดฉาก กรมศิลปากรได้ทำาบทเป็นชุดๆ ไว้หลายชุด เช่น
ชุดปราบกากนาสูร ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุดชุดนางลอย ชุดนาคบาศ ชุด
พรหมาสตร์ ชุดศึกวิรุญจำาบัง ชุดทำาลายพิธีหุงนำ้าทิพย์ ชุดสีดาลุยไฟและ
ปราบบรรลัยกัลป์ ชุดหนุมานอาสา ชุดพระรามเดินดง ชุดพระรามครอง
เมือง
การแสดงโขน โดยทั่วไปนิยมแสดงเรื่อง "รามเกียรติ์" กรมศิลปากร
เคยจัดแสดงเรื่องอุณรุฑ แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่าเรื่องรามเกียรติ์ เรื่อง
รามเกียรติ์ที่นำามาแสดงโขนนั้นมีหลายสำานวน ทั้งที่ประพันธ์ขึ้นในสมัย
กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะบทในสมัย
รัตนโกสินทร์ นิยมแสดงตามสำานวนของรัชกาลที่ ๒ ที่กรมศิลปากร
ปรับปรุงเป็นชุดเป็นตอน เพื่อแสดงโขนฉาก ก็เดินเรื่องตามสำานวนของ
รัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๖ ก็เคยทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์ไว้
ถึง ๖ ชุด คือ ชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุด
ประเดิมศึกลงกา และชุดนาคบาศ
การแต่งกายโขน แบ่งออกเป็น ๓ ฝ่าย คือ ฝ่ายมนุษย์เทวดา(พระ นาง)
ฝ่ายยักษ์ ฝ่ายลิง (เชิญคลิกดูภาพ)
ลักษณะบทโขน ประกอบด้วย
บทร้อง ซึ่งบรรจุเพลงไว้ตามอารมณ์ของเรื่อง บทร้องแต่งเป็นกลอน
บทละครเป็นส่วนใหญ่ อาจมีคำาประพันธ์ชนิดอื่นบ้างแต่ไม่นิยม บทร้องนี้
จะมีเฉพาะโขนโรงในและโขนฉากเท่านั้น
บทพากย์์ การแสดงโขนโดยทั่วไปจะเดินเรื่องด้วยบทพากย์ ซึ่ง
แต่งเป็นคำาประพันธ์ชนิดกาพย์ฉบัง ๑๖ หรือกาพย์ยานี ๑๑ บทมีชื่อเรียก
ต่าง ๆ ดังนี้
๑ พากย์เมือง หรือพากย์พลับพลา คือบทตัวเอก เช่น ทศกัณฐ์หรือ
พระรามประทับในปราสาทหรือพลับพลา เช่น
ครั้นรุ่งแสงสุริยโอภา พุ่งพ้นเวหา
คิรียอดยุคันธร
สมเด็จพระหริวงศ์
ทรงศร
ฤทธิ์เลื่องลือ
ขจร
สะท้อนทั้งไตรโลกา
เสด็จออกนั่งหน้า
พลับพลา
พร้อมด้วยเสนา
ศิโรตมก้มกราบกราน
พิเภกสุครีพหนุมาน
นอบน้อมทูล
สาร
สดับคดีโดยถวิล
๒ พากย์รถ เป็นบทชมพาหนะและกระบวนทัพ ไม่ว่าจะเป็นรถ ม้า ช้าง
หรืออื่นใดก็ได้ ตลอดจนชมไพร่พลด้วย เช่น
เสด็จทรงรถเพชร
เพชรพราย
พรายแสงแสง
ฉาย
จำารูญจำารัสรัศมี
อำาไพไพโรจน์รูจี สีหราชราชสีห์
ชักรชรถรถทรง
ดุมหันหันเวียนวง กึกก้องก้องดง
เสทือนทั้งไพรไพรวัน
ยักษาสารถีโลทัน
เหยียบยืน
ยืนยัน
ก่งศรจะแผลแผลงผลาญ
๓ พากย์โอ้ เป็นบทโศกเศร้า รำาพัน ครำ่าครวญ ซึ่งตอนต้นเป็นพากย์ แต่
ตอนท้ายเป็นทำานองร้องเพลงโอ้ปี่ ให้ปี่พาทย์รับ เช่น
อนิจจาเจ้าเพื่อนไร้
มาบรรลัยอยู่เอ
องค์
พี่จะได้สิ่งใดปอง
พระศพน้องใน
หิมวา
จะเชิญศพพระเยาวเรศ
เข้ายังนิเวศน์
อยุธยา
ทั้งพระญาติวงศา
จะพิโรธพิไร
เรียม
ว่าพี่พามาเสียชนม์
ในกมลให้ตรม
เกรียม
จะเกลี่ยทรายขึ้นทำา
เทียม
ต่างแท่นทิพ
บรรทม
จะอุ้มองค์ขึ้นต่างโกศ
เอาพระโอษฐ์
มาระงม
ต่างเสียงพระสนม
อันรำ่าร้อง
ประจำาเวร
๔ พากย์ชมดง เป็นบทตอนชมป่าเขา ลำาเนาไพร ทำานองตอนต้นเป็น
ทำานองร้อง เพลงชมดงใน ตอนท้ายเป็นทำานองพากย์ธรรมดา เช่น
เค้าโมงจับโมงมอง
เมียง
คู่เค้าโมงเคียง
เคียงคู่อยู่ปลายไม้โมง
ลางลิงลิงเหนี่ยวลดา
โยง
ค่อยยุดฉุดโช
ลง
โลดไล่ในกลางลางลิง
ชิงชังนกชิงกันสิง รังใครใครชิง
ชิงกันจับต้นชิงชัน
นกยูงจับพยูงยืนยัน
แผ่หางเหียน
หัน
หันเหยีบเลียบไต่ไม้พยูง
๕ พากย์บรรยาย เป็นบทขยายความเป็นมา ความเป็นไป หรือพากย์
รำาพึงรำาพันใดๆ เช่น พากย์บรรยายตำานานรัตนธนู
เดิมทีธนูรัตน
วรฤทธิเกรียง
ไกร
องค์วิศวะกรรมไซร้
ประดิษฐะสอง
ถวาย
คันหนึ่งพระวิษณุ
สุรราชะ
นารายณ์
คันหนึ่งนำาทูลถวาย ศิวะเทวะเทวัน
ครั้นเมื่อมุนีทัก- ษะประชาบดีนั้น
กอบกิจจะการยัญ- ญะพลีสุเทวา
ไม่เชิญมหาเทพ
ธก็แสนจะ
โกรธา
กุมแสงธนูคลา ณ พิธีพลีกรณ์
๖ พากย์เบ็ดเตล็ด เป็นบทที่ใช้ในโอกาสทั่วๆ ไป เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ
ที่ไม่เข้าประเภทใด เช่นกล่าวว่า ใครทำาอะไร หรือพูดกับใคร ว่าอย่างไร
เช่น
ภูวกวักเรียกหนุมาน
มา
ตรัสสั่งกิจจา
ให้แจ้งประจักษ์ใจจง
แล้วถอดจักรรัตน์
ธำามรงค์
กับผ้าร้อยองค์
ยุพินทรให้นำาไป
ผิวนางยังแหนง
นำ้าใจ
จงแนะความใน
มิถิลราชพารา
อันปรากฏจริงใจมา เมื่อตาต่อตา
ประจวบบนบัญชรไชย
บทเจรจา
เป็นบทกวีที่แต่งเป็นร่ายยาว ส่งและรับสัมผัสกันไปเรื่อยๆ ใช้ได้ทุก
โอกาส สมัยโบราณเป็นบทที่คิดขึ้นสดๆ เป็นความสามารถของคนพากย์
คนเจรจา ที่จะใช้ปฏิภาณคิดขึ้นโดยปัจจุบัน ให้ได้ถ้อยคำาสละสลวย มี
สัมผัสแนบเนียน และได้เนื้อถ้อยกระทงความถูกต้องตามเนื้อเรื่อง ผู้พากย์
เจรจาที่เก่งๆ ยังสามารถใช้ถ้อยคำาคมคาย เหน็บแนมเสียดสี บางครั้งก็เผ็ด
ร้อน โต้ตอบกันน่าฟังมาก ปัจจุบันนี้ บทเจรจาได้แต่งไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้
พากย์เจรจาก็ว่าตามบทให้เกิดอารมณ์คล้อยตามถ้อยคำา โดยใช้เสียงและ
ลีลาในการเจรจา ผู้พากย์และเจรจาต้องทำาสุ้มเสียงให้เหมาะกับตัวโขน
และใส่ความรู้สึกให้เหมาะกับอารมณ์ในเรื่อง
คนพากย์และเจรจานี้ใช้ผู้ชาย คนหนึ่งต้องทำาหน้าที่ทั้งพากย์และเจรจา
และต้องมีไม่น้อยกว่า ๒ คน จะได้โต้ตอบกันทันท่วงที เมื่อพากย์หรือ
เจรจาจบกระบวนความแล้ว ต้องการจะให้ปี่พาทย์ทำาเพลงอะไรก็ร้องบอก
ไป เรียกว่า "บอกหน้าพาทย์" และถ้าการแสดงโขนนั้นมีขับร้อง คนพากย์
และเจรจายังจะต้องทำาหน้าที่บอกบทด้วย การบอกบทจะต้องบอกให้ถูก
จังหวะ
วิธีดูโขน
โขนเป็นละครใบ้ โดยเฉพาะโขนกลางแปลง ผู้ดูจึงต้องดูการแสดง
ท่าทาง ซึ่งจะบอกความหมาย ความรู้สึก
ความคิด ความประสงค์ต่างๆ ได้ทุกอย่าง ท่าทางที่โขนแสดงออกย่อม
สัมพันธ์กับดนตรี ฉะนั้น หน้าพาทย์ต่างๆ ที่ใช้ในการแสดงโขนจึงมีความ
สำาคัญมาก เช่น เพลงกราวนอก กราวในที่ใช้ในเวลาจัดทัพ แสดงให้เห็น
ความเข้มแข็งคึกคักของทหาร ท่าทางของผู้แสดงก็แสดงให้เห็นความเข้ม
แข็งคึกคัก กระหยิ่ม องอาจ กล้าหาญ ความพร้อมเพรียงของกองทัพ หรือ
เพลงเชิดและท่ารบ ก็แสดงให้เห็นการรุกไล่หลบหลีก ปิดป้อง หลอกล่อ
ต่างๆ
ภาษาท่าทางของโขน จำาแนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
๑. ท่าซึ่งใช้แทนคำาพูด เช่น รับ ปฏิเสธ
๒. ท่าซึ่งใช้เป็นอิริยาบท และกิริยาอาการ เช่น เดิน ไหว้ ยิ้ม ร้องไห้
๓. ท่าซึ่งแสดงถึงอารมณ์ภายใน เช่น รัก โกรธ ดีใจ เสียใจ
โอกาสที่แสดงโขน
๑. แสดงเป็นมหกรรมบูชา เช่น ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ
หรือพระศพ พระบรมอัฐิ หรืออัฐเจ้านาย ตลอดจนศพขุนนาง หรือผู้ใหญ่
เป็นที่เคารพนับถือทั่วไป
๒. แสดงเป็นมหรสพสมโภช เช่น ในงานฉลองปูชนียสถาน
ปูชนียวัตถุ พระพุทธบาท พระแก้วมรกต พระอาราม หรือสมโภชเจ้านาย
ทรงบรรพชา สมโภชในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมโภชในงานเฉลิม
พระชนม์พรรษา สมโภชวันประสูติเจ้านายที่สูงศักดิ์ เป็นต้น
๓. แสดงเป็นมหรสพเพื่อความบันเทิง ในโอกาสทั่วๆ ไป

More Related Content

Viewers also liked

Monumentos a.b.s
Monumentos a.b.sMonumentos a.b.s
Monumentos a.b.smissnaty
 
Sijil penyertaan sijil
Sijil penyertaan   sijilSijil penyertaan   sijil
Sijil penyertaan sijilmahzuna-1985
 
Are You Ready To Upgrade: Readiness Considerations and Lessons Learned
Are You Ready To Upgrade: Readiness Considerations and Lessons LearnedAre You Ready To Upgrade: Readiness Considerations and Lessons Learned
Are You Ready To Upgrade: Readiness Considerations and Lessons LearnedCallidus Software
 
Presentasi manager100
Presentasi manager100Presentasi manager100
Presentasi manager100andri1703
 
Birhan Tonge PPP Slide Show
Birhan Tonge PPP Slide ShowBirhan Tonge PPP Slide Show
Birhan Tonge PPP Slide ShowBirhan Tonge
 
Shevchenko urok
Shevchenko urokShevchenko urok
Shevchenko urokasdfghj7
 
Performance Of Callidus TrueComp Pipeline And Datamart ETL And Reports
Performance Of Callidus TrueComp Pipeline And Datamart ETL And ReportsPerformance Of Callidus TrueComp Pipeline And Datamart ETL And Reports
Performance Of Callidus TrueComp Pipeline And Datamart ETL And ReportsCallidus Software
 
Chelsea Resume finished
Chelsea Resume finishedChelsea Resume finished
Chelsea Resume finishedChelsea White
 
Survey : New forms of learning and training developed by organizations
Survey : New forms of learning and training developed by organizationsSurvey : New forms of learning and training developed by organizations
Survey : New forms of learning and training developed by organizationsBPI group
 
食べログ ジオメディアサミット 2
食べログ ジオメディアサミット 2食べログ ジオメディアサミット 2
食べログ ジオメディアサミット 2Hal Seki
 
MGS Consistency of ICT in Teaching And Learning
MGS Consistency of ICT in Teaching And Learning MGS Consistency of ICT in Teaching And Learning
MGS Consistency of ICT in Teaching And Learning Ollie Bray
 

Viewers also liked (16)

Monumentos a.b.s
Monumentos a.b.sMonumentos a.b.s
Monumentos a.b.s
 
Crescer Prazer Indescritível
Crescer Prazer IndescritívelCrescer Prazer Indescritível
Crescer Prazer Indescritível
 
Sijil penghargaaan
Sijil penghargaaan Sijil penghargaaan
Sijil penghargaaan
 
Sijil penyertaan sijil
Sijil penyertaan   sijilSijil penyertaan   sijil
Sijil penyertaan sijil
 
Mapa qzp 2013_revisao1
Mapa qzp 2013_revisao1Mapa qzp 2013_revisao1
Mapa qzp 2013_revisao1
 
Are You Ready To Upgrade: Readiness Considerations and Lessons Learned
Are You Ready To Upgrade: Readiness Considerations and Lessons LearnedAre You Ready To Upgrade: Readiness Considerations and Lessons Learned
Are You Ready To Upgrade: Readiness Considerations and Lessons Learned
 
Presentasi manager100
Presentasi manager100Presentasi manager100
Presentasi manager100
 
Birhan Tonge PPP Slide Show
Birhan Tonge PPP Slide ShowBirhan Tonge PPP Slide Show
Birhan Tonge PPP Slide Show
 
Electron microscopy dept - UNamur - Lab'insight Biomedical imaging
Electron microscopy dept - UNamur - Lab'insight Biomedical imagingElectron microscopy dept - UNamur - Lab'insight Biomedical imaging
Electron microscopy dept - UNamur - Lab'insight Biomedical imaging
 
Shevchenko urok
Shevchenko urokShevchenko urok
Shevchenko urok
 
Performance Of Callidus TrueComp Pipeline And Datamart ETL And Reports
Performance Of Callidus TrueComp Pipeline And Datamart ETL And ReportsPerformance Of Callidus TrueComp Pipeline And Datamart ETL And Reports
Performance Of Callidus TrueComp Pipeline And Datamart ETL And Reports
 
Chelsea Resume finished
Chelsea Resume finishedChelsea Resume finished
Chelsea Resume finished
 
Survey : New forms of learning and training developed by organizations
Survey : New forms of learning and training developed by organizationsSurvey : New forms of learning and training developed by organizations
Survey : New forms of learning and training developed by organizations
 
Regeneración osea rellenos oseos de elección
Regeneración osea rellenos oseos de elecciónRegeneración osea rellenos oseos de elección
Regeneración osea rellenos oseos de elección
 
食べログ ジオメディアサミット 2
食べログ ジオメディアサミット 2食べログ ジオメディアサミット 2
食べログ ジオメディアサミット 2
 
MGS Consistency of ICT in Teaching And Learning
MGS Consistency of ICT in Teaching And Learning MGS Consistency of ICT in Teaching And Learning
MGS Consistency of ICT in Teaching And Learning
 

More from leemeanxun

Tcdc ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
Tcdc ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบTcdc ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
Tcdc ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบleemeanxun
 
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต บางเขน
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต บางเขนห้องสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต บางเขน
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต บางเขนleemeanxun
 
การจัดการความรู้ ห้องสมุด นิด้า สำนักบรรณสารการพัฒนา
การจัดการความรู้ ห้องสมุด นิด้า สำนักบรรณสารการพัฒนาการจัดการความรู้ ห้องสมุด นิด้า สำนักบรรณสารการพัฒนา
การจัดการความรู้ ห้องสมุด นิด้า สำนักบรรณสารการพัฒนาleemeanxun
 
สำนักบรรณสาร มสธ
สำนักบรรณสาร มสธสำนักบรรณสาร มสธ
สำนักบรรณสาร มสธleemeanxun
 
กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย
กรมที่ดิน  กระทรวงมหาดไทยกรมที่ดิน  กระทรวงมหาดไทย
กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทยleemeanxun
 
หอเกียรติยศ
หอเกียรติยศหอเกียรติยศ
หอเกียรติยศleemeanxun
 
ราชสดุดีคีตมหาราชา
ราชสดุดีคีตมหาราชาราชสดุดีคีตมหาราชา
ราชสดุดีคีตมหาราชาleemeanxun
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากลleemeanxun
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากลleemeanxun
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 9 เรื่อง จังหวะและเครื่องหมายกำหนดจังหวะ
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 9 เรื่อง จังหวะและเครื่องหมายกำหนดจังหวะใบความรู้ที่ 1 บทที่ 9 เรื่อง จังหวะและเครื่องหมายกำหนดจังหวะ
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 9 เรื่อง จังหวะและเครื่องหมายกำหนดจังหวะleemeanxun
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 9 เรื่อง จังหวะและเครื่องหมายกำหนดจังหวะ
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 9 เรื่อง จังหวะและเครื่องหมายกำหนดจังหวะใบความรู้ที่ 1 บทที่ 9 เรื่อง จังหวะและเครื่องหมายกำหนดจังหวะ
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 9 เรื่อง จังหวะและเครื่องหมายกำหนดจังหวะleemeanxun
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 8 เรื่อง กุญแจประจำหลัก
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 8 เรื่อง กุญแจประจำหลักใบความรู้ที่ 1 บทที่ 8 เรื่อง กุญแจประจำหลัก
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 8 เรื่อง กุญแจประจำหลักleemeanxun
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 8 เรื่อง กุญแจประจำหลัก
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 8 เรื่อง กุญแจประจำหลักใบความรู้ที่ 1 บทที่ 8 เรื่อง กุญแจประจำหลัก
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 8 เรื่อง กุญแจประจำหลักleemeanxun
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 7 เรื่อง โน้ตสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 7 เรื่อง โน้ตสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 7 เรื่อง โน้ตสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 7 เรื่อง โน้ตสากลleemeanxun
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 5 เรื่อง ประเภทของเครื่องดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 5 เรื่อง ประเภทของเครื่องดนตรีสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 5 เรื่อง ประเภทของเครื่องดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 5 เรื่อง ประเภทของเครื่องดนตรีสากลleemeanxun
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 4 เรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 4 เรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 4 เรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 4 เรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากลleemeanxun
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 3 เรื่อง ลักษณะของวงดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 3 เรื่อง ลักษณะของวงดนตรีสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 3 เรื่อง ลักษณะของวงดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 3 เรื่อง ลักษณะของวงดนตรีสากลleemeanxun
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากลleemeanxun
 

More from leemeanxun (20)

Tcdc ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
Tcdc ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบTcdc ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
Tcdc ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
 
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต บางเขน
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต บางเขนห้องสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต บางเขน
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต บางเขน
 
การจัดการความรู้ ห้องสมุด นิด้า สำนักบรรณสารการพัฒนา
การจัดการความรู้ ห้องสมุด นิด้า สำนักบรรณสารการพัฒนาการจัดการความรู้ ห้องสมุด นิด้า สำนักบรรณสารการพัฒนา
การจัดการความรู้ ห้องสมุด นิด้า สำนักบรรณสารการพัฒนา
 
สำนักบรรณสาร มสธ
สำนักบรรณสาร มสธสำนักบรรณสาร มสธ
สำนักบรรณสาร มสธ
 
กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย
กรมที่ดิน  กระทรวงมหาดไทยกรมที่ดิน  กระทรวงมหาดไทย
กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย
 
หอเกียรติยศ
หอเกียรติยศหอเกียรติยศ
หอเกียรติยศ
 
ราชสดุดีคีตมหาราชา
ราชสดุดีคีตมหาราชาราชสดุดีคีตมหาราชา
ราชสดุดีคีตมหาราชา
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 9 เรื่อง จังหวะและเครื่องหมายกำหนดจังหวะ
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 9 เรื่อง จังหวะและเครื่องหมายกำหนดจังหวะใบความรู้ที่ 1 บทที่ 9 เรื่อง จังหวะและเครื่องหมายกำหนดจังหวะ
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 9 เรื่อง จังหวะและเครื่องหมายกำหนดจังหวะ
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 9 เรื่อง จังหวะและเครื่องหมายกำหนดจังหวะ
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 9 เรื่อง จังหวะและเครื่องหมายกำหนดจังหวะใบความรู้ที่ 1 บทที่ 9 เรื่อง จังหวะและเครื่องหมายกำหนดจังหวะ
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 9 เรื่อง จังหวะและเครื่องหมายกำหนดจังหวะ
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 8 เรื่อง กุญแจประจำหลัก
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 8 เรื่อง กุญแจประจำหลักใบความรู้ที่ 1 บทที่ 8 เรื่อง กุญแจประจำหลัก
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 8 เรื่อง กุญแจประจำหลัก
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 8 เรื่อง กุญแจประจำหลัก
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 8 เรื่อง กุญแจประจำหลักใบความรู้ที่ 1 บทที่ 8 เรื่อง กุญแจประจำหลัก
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 8 เรื่อง กุญแจประจำหลัก
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 7 เรื่อง โน้ตสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 7 เรื่อง โน้ตสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 7 เรื่อง โน้ตสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 7 เรื่อง โน้ตสากล
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 5 เรื่อง ประเภทของเครื่องดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 5 เรื่อง ประเภทของเครื่องดนตรีสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 5 เรื่อง ประเภทของเครื่องดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 5 เรื่อง ประเภทของเครื่องดนตรีสากล
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 4 เรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 4 เรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 4 เรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 4 เรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากล
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 3 เรื่อง ลักษณะของวงดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 3 เรื่อง ลักษณะของวงดนตรีสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 3 เรื่อง ลักษณะของวงดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 3 เรื่อง ลักษณะของวงดนตรีสากล
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
 
Thai music14
Thai music14Thai music14
Thai music14
 
Thai music13
Thai music13Thai music13
Thai music13
 

โขน

  • 1. บทที่3 นาฏศิลป์ตอน โขน บทนำา การแสดงอีกอย่างหนึ่งให้ท่ารำา และแสดงเป็นเรื่องราวโดยลำาดับ วิธีการ ทุกอย่างเหมือนละคร แต่ไม่เรียกว่า ละคร การแสดงที่จะกล่าวนี้ เรียก ว่า "โขน" โขน เป็นการแสดงที่ใช้ท่ารำาตามแบบละครใน แต่เพิ่มท่ารำาที่มีตัวแสดง แปลกออกไป กับเปลี่ยนทำานองเพลง ที่ดำาเนินเรื่อง ไม่ให้เหมือนละคร โขน มีลักษณะสำาคัญอยู่ที่ ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนหมดทุกตัว ยกเว้น ตัวนาง พระ และเทวดา ในสมัยโบราณตัวพระและตัวเทวดา ก็สวมหัว ภาย หลังจึงเปลี่ยนแปลงให้ตัวพระ และตัวเทวดาไม่ต้องสวมหัว คงใช้หน้าของ ผู้แสดงเช่นเดียวกับละคร หัวโขน เป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูตรงตาให้มองเห็น สร้างตามลักษณะของตัวนั้นๆ เช่น ยักษ์ ลิง เทวดา และอื่นๆ ตบแต่งด้วยสี ปิดทอง ประดับกระจก สวยงาม บางท่านก็เรียกว่า "หน้าโขน" เรื่องดำาเนินไปด้วยการกล่าวลำานำาเล่าเรื่อง เป็นทำานองเรียก ว่า "พากย์" อย่างหนึ่ง กับ เจรจาเป็นทำานองอย่างหนึ่ง บทพากย์เป็นกาพย์ ยานี และกาพย์ฉบัง การพูดของตัวโขน ไม่ว่าจะเป็นทำานองพากย์ ทำานอง เจรจา หรือพูดอย่างสามัญชน มีผู้พูดแทนให้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นตัวที่สวม หน้า หรือไม่สวมหน้า ผู้พูดแทนตัวโขนนี้ เรียกว่า "คนเจรจา" เครื่องแต่งตัว เป็นแบบเดียวกับละครใน นอกจากบางตัวสวมหัวโขนตาม เนื้อเรื่อง เสื้อของตัวพระ และตัวยักษ์สมัยโบราณมักมี ๒ สี คือ เป็นเสื้อกั๊ก สีหนึ่ง กับแขนสีหนึ่ง นัยว่า เสื้อกั๊กนั้นแทนเกราะ ส่วนตัวลิง ตัวเสื้อ และ
  • 2. แขนลายวงทักษิณาวรรต สมมติเป็นขน ของลิงหรือหมี ตัวยักษ์จะต้องมี ห้อยก้นเป็นผ้าปักผืนสั้นๆ ปิดชายกระเบน เรื่องที่แสดง โขนของไทยเราแสดงแต่เรื่องรามเกียรติ์เรื่องเดียว วิธีการแสดงโขนมีหลายชนิด แตกต่างกันด้วยวิธีการแสดง ดังจะอธิบายไป ตามลำาดับดังนี้ โขนกลางแปลง โขนกลางแปลง เป็นโขนที่แสดงกับพื้นดิน ที่เป็นลานกว้างใหญ่ สมมติ พื้นที่นั้นเป็นกรุงลงกาด้านหนึ่ง เป็นพลับพลาพระรามด้านหนึ่ง ด้านกรุง ลงกาสร้างเป็นปราสาทราชวัง มีกำาแพงจำาลองด้วยไม้และกระดาษ ด้าน พลับพลา ก็สร้างพลับพลามีรั้วเป็นค่ายจำาลอง เช่นเดียวกัน ปลูกร้านสูง ประมาณ๒ เมตร ตั้งวงปี่พาทย์ด้านละวง คนเจรจามีด้านละ ๒ คนเป็น อย่างน้อย วงปี่พาทย์บรรเลง ประกอบกับการแสดงด้านที่วงประจำาอยู่ แต่ ถ้าเป็นส่วนกลาง เช่น การรบกันกลางสนามหรืออื่นๆ ก็แล้วแต่ วงไหนอยู่ ใกล้ ก็เป็นผู้บรรเลง โขนกลางแปลงมีแต่พากย์กับเจรจาเท่านั้น โขนนั่งราว โขนนั่งราว เป็นการแสดงบนโรง เลียนแบบโขนกลางแปลง คือ ปลูกโรงสูง พอตาคนยืนดู ปูกระดานพื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฉากแบ่งเป็น ๓ ส่วน ส่วนกลางยาวประมาณ ๑๐ เมตร ทำาภาพนูน เขียนสีเป็นป่าเขา ส่วนนอก ด้านขวา (ของโรง) ยาวประมาณ ๓ เมตร ทำาภาพนูนเขียนสี เป็นรูป พลับพลาและรั้ว สมมติเป็นพลับพลาพระราม ส่วนนอกด้านซ้ายยาว ประมาณ ๓ เมตร ทำาภาพนูน เขียนสีเป็นปราสาทราชวังมีกำาแพงสมมติ เป็นกรุงลงกา มีประตูเข้าออก ๒ ประตู อยู่คั่นระหว่างฉากส่วนกลางกับ ส่วนนอก ข้างละประตู ตรงหน้าฉากออกมา ห่างฉากประมาณ ๑.๕ เมตร ทำาราวไม้กระบอก มีเสารับสูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ยาวเสมอขอบประตู
  • 3. ข้างหนึ่งมาถึงขอบประตูอีกข้างหนึ่ง หัวท้ายของโรงทั้ง ๒ ข้าง ปลูกร้าน ให้สูงกว่าพื้น โรงประมาณ ๑ เมตร ตั้งวงปี่พาทย์ข้างละวง วิธีแสดง ราวไม้กระบอกที่อยู่หน้าฉากนั้น เป็นที่สำาหรับนั่ง วิธีนั่ง ถ้าหัน หน้าไปทางขวาหรือซ้าย ก็เอาเท้าข้างนั้นพับนั่งบนราว อีกเท้าหนึ่งห้อยลง เหยียบพื้นโรง ฝ่ายพระรามจะนั่งค่อนมาข้างขวา พระราม (ตัวประธาน ฝ่ายมนุษย์) นั่งสุดราวด้านขวา หันหน้าไปทางซ้าย บริวารทั้งหมดนั่งบน ราวตามลำาดับเรียงไป หันหน้ามาทางขวา และฝ่ายลงกา (ฝ่ายยักษ์) ตัว ประธาน นั่งสุดราวด้านซ้าย หันหน้ามาทางขวา บริวารทั้งหมดนั่งหันหน้า มาทางซ้าย ส่วนการแสดง ในตอนที่ไม่นั่ง ก็แสดงได้ทั่วพื้นโรง ดำาเนินเรื่องด้วยพากย์กับเจรจาเท่านั้น เหมือนโขนกลางแปลง ท่ารำา เป็นท่ารำาที่ครบถ้วนตามแบบแผนศิลปะการรำา ทำาบทตามถ้อยคำา และรำาหน้าพาทย์ตามเพลงปี่พาทย์ วิธีบรรเลงปี่พาทย์ ทั้ง ๒ วงจะผลัดกันบรรเลงวงละเพลง ตั้งแต่โหมโรง เป็นต้นไปจนจบการแสดง โขนโรงใน โขนโรงใน คือโขนผสมกับละครในสถานที่แสดงเป็นโรงอย่างโรงละครใน มีฉากเป็นม่านผืนเดียว มีประตูออก ๒ ข้าง แต่เตียงสำาหรับนั่งมี ๒ เตียง ตั้งขวางใกล้กับประตูข้างละเตียง มีปี่พาทย์ ๒ วง อาจตั้งตรงหลังเตียงออก ไป หรือกระเถิบมาทางหน้าโรงนิดหน่อย แล้วแต่สถานที่จะอำานวย ดำาเนินเรื่องด้วยบทพากย์ บทเจรจา และบทร้อง มีทั้งคนพากย์ คนเจรจา ต้นเสียง ลูกคู่ และคนบอกบท (ร้อง) วิธีแสดง เริ่มต้นอย่างละครใน คือ ตัวเอกออกนั่งเตียง แล้วร้องหรือพากย์ดำาเนินเรื่องการแสดงต่อไป ก็แล้ว แต่ว่า ตอนใดจะแสดงแบบโขน ตอนใดจะแสดงแบบละคร เช่นอุปกรณ์ที่
  • 4. สำาคัญในการแสดงโขน ซึ่งต่างจากการแสดงละคร ก็คือ ราชรถมีตัวม้า หรือราชสีห์เทียม และกลด มีผู้ถือกางให้ตัวเอก เข้าใจว่า การที่โขนในสมัยหลังๆ มาจนปัจจุบัน ตัวพระ และตัวเทวดาไม่ สวมหัวโขน คงจะเริ่มมาตั้งแต่โขนมาร่วมผสมกับละครใน เป็นโขนโรงใน นี้เอง โขนหน้าจอ โขนหน้าจอ วิธีการแสดงทุกๆ อย่างเหมือนโขนงโรงในทุกประการ ผิดกัน แต่สถานที่แสดงเท่านั้น เป็นโรงที่มีลักษณะต่างกัน โรงของโขนหน้าจอ ก็คือ โรงหนังใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงให้สะดวกแก่การ แสดงโขนเท่านั้น สิ่งที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากโรงหนังใหญ่ ก็คือ มีประตู เข้าออก ๒ ประตู ใต้จอตอนกลางมีมู่ลี่ หรือลูกกรงถี่ๆ เพื่อให้คนร้อง ซึ่งนั่ง อยู่ภายในมองเห็นตัวโขน จอตอนนอกประตูทั้ง ๒ ข้าง เขียนภาพ ข้าง ขวาเขียนภาพพลับพลาพระราม ข้างซ้ายเขียนภาพปราสาทราชวัง สมมติ เป็นกรุงลงกา ตั้งเตียงห่างจากประตูออกมาพอสมควร ๒ เตียง ข้างละเตียง วงปี่พาทย์สมัยก่อนตั้งด้านหน้าของที่แสดง สมัยปัจจุบัน ยกไปตั้งหลังจอ ตรงหลังคนร้อง โขนทุกประเภท ตั้งแต่โขนกลางแปลงมาจนถึงโขนหน้าจอ มีเครื่องดนตรี พิเศษ อย่างหนึ่งประกอบ คือ "โกร่ง" เป็นไม้ไผ่ลำาโต ยาวประมาณ ๓ - ๔ เมตร มีเท้ารองหัวท้ายสูงประมาณ ๘ เซนติเมตร วางกับพื้น ผู้ที่นั่งเรียงกัน ประมาณ ๔-๕ คน ถือไม้กรับทั้งสองมือตีตามจังหวะ ใช้เฉพาะเพลงที่ ต้องการความครึกครื้น เช่น เพลงกราวนอก กราวใน เชิด ตั้งอยู่หลังฉาก หรือจอ พวกแสดงโขนที่มิได้แสดงเป็น
  • 5. โขนฉาก โขนฉาก มีลักษณะดังนี้ คือ โขนฉากแสดงบนเวที เปลี่ยนฉากตามเนื้อเรื่อง เช่นเดียวกับละคร ดึกดำาบรรพ์ วิธีการแสดงเหมือนโขนโรงในทุกประการ นอกจากแบ่งเนื้อเรื่องให้เป็น ตอนเข้ากับฉาก แต่ละฉากเท่านั้น ถ้าสถานที่แสดงมีที่แสดงที่หน้าม่านได้ เวลาปิดม่านก็อาจมีการแสดงหน้าม่าน เพื่อเชื่อมเนื้อเรื่องให้ติดต่อกันก็ได้ โขน โขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงที่เก่าแก่ของไทย มีมานานตั้งแต่สมัยกรุง ศรีอยุธยา ตามหลักฐานจากจดหมายเหตุของ ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวถึงการ
  • 6. เล่นโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทางเข้ากับเสียงซอและเครื่องดนตรีอื่นๆ ผู้ เต้นสวมหน้ากากและถืออาวุธ โขนเป็นที่รวมของศิลปะหลายแขนงคือ โขนนำาวิธีเล่นและวิธีแต่งตัวบางอย่างมาจากการเล่นชักนาคดึกดำาบรรพ์ โขนนำาท่าต่อสู้โลดโผน ท่ารำาท่าเต้นมาจากกระบี่กระบอง และโขนนำา ศิลปะการพากย์การเจรจา หน้าพาทย์เพลงดนตรี การแสดงโขน ผู้แสดง สวมศีรษะคือหัวโขน ปิดหน้าหมด ยกเว้น เทวดา มนุษย์ และมเหสี ธิดา พระยายักษ์ มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้และมีคนพากย์และเจรจาให้ด้วย เรื่องที่แสดงนิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุฑ ดนตรีที่ใช้ประกอบการ แสดงโขนใช้วงปี่พาทย์ ประเภทของโขน แบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ ๑ โขนกลางแปลง ๒ โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว ๓ โขนหน้าจอ ๔ โขนโรงใน ๕ โขนฉาก ๑. โขนกลางแปลง คือ การเล่นโขนบนพื้นดิน ณ กลางสนาม ไม่ต้องสร้าง โรงให้เล่น นิยมแสดงตอนยกทัพรบกัน โขนกลางแปลงได้วิวัฒนาการมา จากการเล่นชักนาคดึกดำาบรรพ์ เรื่องกวนนำ้าอมฤต เรื่องมีอยู่ว่า เทวดาและ อสูรใคร่จะเป็นอมตะ จึงไปทูลพระนารายณ์ พระนารายณ์จึงแนะนำาให้ กวนนำ้าอมฤต โดยใช้เขามนทคิรีเป็นไม้กวน เอาพระยาวาสุกรีเป็นเชือก พันรอบเขา เทวดาชักทางหาง หมุนเขาไปมา พระยาวาสุกรีพ่นพิษออก มา พระนารายณ์เชิญให้พระอิศวรดื่มพิษนั้นเสีย พระอิศวรจึงมีศอสีนิล เพราะพิษไหม้ ครั้นกวนต่อไป เขามนทคิรีทะลุลงไปใต้โลก พระนารายณ์ จึงอวตารเป็นเต่าไปรองรับเขามนทคิรีไว้ ครั้นได้นำ้าอมฤตแล้ว เทวดาและ
  • 7. อสูรแย่งชิงนำ้าอมฤตกันจนเกิดสงคราม พระนารายณ์จึงนำานำ้าอมฤตไปเสีย พวกอสูรไม่ได้ดื่มนำ้าอมฤตก็ตายในที่รบเป็นอันมาก เทวดาจึงเป็นใหญ่ใน สวรรค์ พระนารายณ์เมื่อได้นำ้าอมฤตไปแล้ว ก็แบ่งนำ้าอมฤตให้เทวดาและ อสูรดื่ม พระนารายณ์แปลงเป็นนางงามรินนำ้าอมฤตให้เทวดา แต่รินนำ้า ธรรมดาให้อสูร ฝ่ายราหูเป็นพี่น้องกับพระอาทิตย์และพระจันทร์แต่ราหูเป็ อสูร ราหูเห็นเทวดาสดชื่นแข็งแรงเมื่อได้ดื่มนำ้าอมฤต แต่อสูรยังคง อ่อนเพลียอยู่ เห็นผิดสังเกต จึงแปลงเป็นเทวดาไปปะปนอยู่ในหมู่เทวดา จึงพลอยได้ดื่มนำ้าอมฤตด้วย พระอาทิตย์และพระจันทร์จึงแอบบอกพระ นารายณ์ พระนารายณ์โกรธมากที่ราหูตบตาพระองค์ จึงขว้างจักรไปตัด กลางตัวราหู ร่างกายท่อนบนได้รับนำ้าอมฤตก็เป็นอมตะ แต่ร่างกายท่อน ล่างตายไป ราหูจึงเป็นยักษ์มีกายครึ่งท่อน ราหูโกรธและอาฆาต พระอาทิตย์และพระจันทร์มาก พบที่ไหนก็อมทันที เกิดเป็นราหูอมจันทร์ หรือจันทรคราสและสุริยคราส ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้ามาเทศนาให้ราหูเลิก พยาบาทจองเวร ราหูจึงได้คลายพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ออก การเล่นชักนาคดึกดำาบรรพ์ เล่นในพิธีอินทราภิเษก มีปรากฏในกฎ มณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา โขนกลางแปลงนำาวิธีการแสดงคือการจัด กระบวนทัพ การเต้นประกอบหน้าพาทย์ มาจากการเล่นชักนาค ดึกดำาบรรพ์ แต่เปลี่ยนมาเล่นเรื่องรามเกียรติ์ และเล่นตอนฝ่ายยักษ์และ ฝ่ายพระรามยกทัพรบกัน จึงมีการเต้นประกอบหน้าพาทย์ และอาจมีบท พาทย์และเจรจาบ้างแต่ไม่มีบทร้อง ๒ โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว เป็นการแสดงบนโรงมีหลังคา ไม่มีเตียง สำาหรับตัวโขนนั่ง แต่มีราวพาดตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉาก (ม่าน) มีช่องทางให้ผู้แสดงเดินได้รอบราวแทนเตียง มีการพากย์และเจรจา แต่ ไม่มีการร้อง ปี่พาทย์บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ มีปี่พาทย์ ๒ วง เพราะต้อง
  • 8. บรรเลงมาก ตั้งหัวโรงท้ายโรง จึงเรียกว่าวงหัวและวงท้าย หรือวงซ้ายและ วงขวา วันก่อนแสดงโขนนั่งราวจะมีการโหมโรง และให้พวกโขนออก มากระทุ้งเส้าตามจังหวะเพลง พอจบโหมโรงก็แสดงตอนพิราพออกเที่ยว ป่า จับสัตว์กินเป็นอาหาร พระรามหลงเข้าสวนพวาทองของพราพ แล้วก็ หยุดแสดง พักนอนค้างคืนที่โรงโขน รุ่งขึ้นจึงแสดงตามเรื่องที่เตรียมไว้ จึง เรียกว่า "โขนนอนโรง" ๓ โขนหน้าจอ คือโขนที่เล่นตรงหน้าจอ ซึ่งเดิมเขาขึงไว้สำาหรับเล่นหนัง ใหญ่ ในการเล่นหนังใหญ่นั้น มีการเชิดหนังใหญ่อยู่หน้าจอผ้าขาว การ แสดงหนังใหญ่มีศิลปะสำาคัญ คือการพากย์และเจรจา มีดนตรีปี่พาทย์ ประกอบการแสดง ผู้เชิดตัวหนังต้องเต้นตามลีลาและจังหวะดนตรี นิยม แสดงเรื่องรามเกียรติ์ ต่อมามีการปล่อยตัวแสดงออกมาแสดงหนังจอ แทน การเชิดหนังในบางตอน เรียกว่า "หนังติดตัวโขน" มีผู้นิยมมากขึ้น เลย ปล่อยตัวโขนออกมาแสดงหน้าจอตลอด ไม่มีการเชิดหนังเลย จึงกลายเป็น โขนหน้าจอ และต้องแขวะจอเป็นประตูออก ๒ ข้าง เรียกว่า "จอแขวะ" ๔ โขนโรงใน คือ โขนที่นำาศิลปะของละครในเข้ามาผสม โขนโรงในมีปี่ พาทย์บรรเลง ๒ วงผลัดกัน การแสดงก็มีทั้งออกท่ารำาเต้น ทีพากย์และ เจรจาตามแบบโขน กับนำาเพลงขับร้องและเพลงประกอบกิริยาอาการ ของ ดนตรีแบบละครใน และมีการนำาระบำารำาฟ้อนผสมเข้าด้วย เป็นการ ปรับปรุงให้วิวัฒนาการขึ้นอีก การผสมผสานระหว่างโขนกับละครในสมัย รัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ ทั้งมีราชกวีภายในราชสำานักช่วยปรับปรุง ขัดเกลา และประพันธ์บทพากย์บทเจรจาให้ไพเราะสละสลวยขึ้นอีก โขนที่กรมศิลปากรนำาออกแสดงในปัจจุบันนี้ ก็ใช้ศิลปะการแสดง แบบโขนโรงใน ไม่ว่าจะแสดงกลางแจ้งหรือแสดงหน้าจอก็ตาม
  • 9. ๕ โขนฉาก เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีผู้คิดสร้างฉากประกอบเรื่อง เมื่อแสดงโขนบนเวที คล้ายกับละครดึกดำาบรรพ์ ส่วนวิธีแสดงดำาเนินเช่น เดียวกับโขนโรงใน แต่มีการแบ่งเป็นชุดเป็นตอน เป็นฉาก และจัดฉาก ประกอบตามท้องเรื่อง จึงมีการตัดต่อเรื่องใหม่ไม่ให้ย้อนไปย้อนมา เพื่อ สะดวกในการจัดฉาก กรมศิลปากรได้ทำาบทเป็นชุดๆ ไว้หลายชุด เช่น ชุดปราบกากนาสูร ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุดชุดนางลอย ชุดนาคบาศ ชุด พรหมาสตร์ ชุดศึกวิรุญจำาบัง ชุดทำาลายพิธีหุงนำ้าทิพย์ ชุดสีดาลุยไฟและ ปราบบรรลัยกัลป์ ชุดหนุมานอาสา ชุดพระรามเดินดง ชุดพระรามครอง เมือง การแสดงโขน โดยทั่วไปนิยมแสดงเรื่อง "รามเกียรติ์" กรมศิลปากร เคยจัดแสดงเรื่องอุณรุฑ แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่าเรื่องรามเกียรติ์ เรื่อง รามเกียรติ์ที่นำามาแสดงโขนนั้นมีหลายสำานวน ทั้งที่ประพันธ์ขึ้นในสมัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะบทในสมัย รัตนโกสินทร์ นิยมแสดงตามสำานวนของรัชกาลที่ ๒ ที่กรมศิลปากร ปรับปรุงเป็นชุดเป็นตอน เพื่อแสดงโขนฉาก ก็เดินเรื่องตามสำานวนของ รัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๖ ก็เคยทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์ไว้ ถึง ๖ ชุด คือ ชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุด ประเดิมศึกลงกา และชุดนาคบาศ การแต่งกายโขน แบ่งออกเป็น ๓ ฝ่าย คือ ฝ่ายมนุษย์เทวดา(พระ นาง) ฝ่ายยักษ์ ฝ่ายลิง (เชิญคลิกดูภาพ) ลักษณะบทโขน ประกอบด้วย บทร้อง ซึ่งบรรจุเพลงไว้ตามอารมณ์ของเรื่อง บทร้องแต่งเป็นกลอน บทละครเป็นส่วนใหญ่ อาจมีคำาประพันธ์ชนิดอื่นบ้างแต่ไม่นิยม บทร้องนี้ จะมีเฉพาะโขนโรงในและโขนฉากเท่านั้น
  • 10. บทพากย์์ การแสดงโขนโดยทั่วไปจะเดินเรื่องด้วยบทพากย์ ซึ่ง แต่งเป็นคำาประพันธ์ชนิดกาพย์ฉบัง ๑๖ หรือกาพย์ยานี ๑๑ บทมีชื่อเรียก ต่าง ๆ ดังนี้ ๑ พากย์เมือง หรือพากย์พลับพลา คือบทตัวเอก เช่น ทศกัณฐ์หรือ พระรามประทับในปราสาทหรือพลับพลา เช่น ครั้นรุ่งแสงสุริยโอภา พุ่งพ้นเวหา คิรียอดยุคันธร สมเด็จพระหริวงศ์ ทรงศร ฤทธิ์เลื่องลือ ขจร สะท้อนทั้งไตรโลกา เสด็จออกนั่งหน้า พลับพลา พร้อมด้วยเสนา ศิโรตมก้มกราบกราน พิเภกสุครีพหนุมาน นอบน้อมทูล สาร สดับคดีโดยถวิล ๒ พากย์รถ เป็นบทชมพาหนะและกระบวนทัพ ไม่ว่าจะเป็นรถ ม้า ช้าง หรืออื่นใดก็ได้ ตลอดจนชมไพร่พลด้วย เช่น เสด็จทรงรถเพชร เพชรพราย พรายแสงแสง ฉาย จำารูญจำารัสรัศมี อำาไพไพโรจน์รูจี สีหราชราชสีห์ ชักรชรถรถทรง ดุมหันหันเวียนวง กึกก้องก้องดง
  • 11. เสทือนทั้งไพรไพรวัน ยักษาสารถีโลทัน เหยียบยืน ยืนยัน ก่งศรจะแผลแผลงผลาญ ๓ พากย์โอ้ เป็นบทโศกเศร้า รำาพัน ครำ่าครวญ ซึ่งตอนต้นเป็นพากย์ แต่ ตอนท้ายเป็นทำานองร้องเพลงโอ้ปี่ ให้ปี่พาทย์รับ เช่น อนิจจาเจ้าเพื่อนไร้ มาบรรลัยอยู่เอ องค์ พี่จะได้สิ่งใดปอง พระศพน้องใน หิมวา จะเชิญศพพระเยาวเรศ เข้ายังนิเวศน์ อยุธยา ทั้งพระญาติวงศา จะพิโรธพิไร เรียม ว่าพี่พามาเสียชนม์ ในกมลให้ตรม เกรียม จะเกลี่ยทรายขึ้นทำา เทียม ต่างแท่นทิพ บรรทม จะอุ้มองค์ขึ้นต่างโกศ เอาพระโอษฐ์ มาระงม ต่างเสียงพระสนม อันรำ่าร้อง ประจำาเวร ๔ พากย์ชมดง เป็นบทตอนชมป่าเขา ลำาเนาไพร ทำานองตอนต้นเป็น ทำานองร้อง เพลงชมดงใน ตอนท้ายเป็นทำานองพากย์ธรรมดา เช่น
  • 12. เค้าโมงจับโมงมอง เมียง คู่เค้าโมงเคียง เคียงคู่อยู่ปลายไม้โมง ลางลิงลิงเหนี่ยวลดา โยง ค่อยยุดฉุดโช ลง โลดไล่ในกลางลางลิง ชิงชังนกชิงกันสิง รังใครใครชิง ชิงกันจับต้นชิงชัน นกยูงจับพยูงยืนยัน แผ่หางเหียน หัน หันเหยีบเลียบไต่ไม้พยูง ๕ พากย์บรรยาย เป็นบทขยายความเป็นมา ความเป็นไป หรือพากย์ รำาพึงรำาพันใดๆ เช่น พากย์บรรยายตำานานรัตนธนู เดิมทีธนูรัตน วรฤทธิเกรียง ไกร องค์วิศวะกรรมไซร้ ประดิษฐะสอง ถวาย คันหนึ่งพระวิษณุ สุรราชะ นารายณ์ คันหนึ่งนำาทูลถวาย ศิวะเทวะเทวัน ครั้นเมื่อมุนีทัก- ษะประชาบดีนั้น กอบกิจจะการยัญ- ญะพลีสุเทวา ไม่เชิญมหาเทพ ธก็แสนจะ โกรธา
  • 13. กุมแสงธนูคลา ณ พิธีพลีกรณ์ ๖ พากย์เบ็ดเตล็ด เป็นบทที่ใช้ในโอกาสทั่วๆ ไป เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เข้าประเภทใด เช่นกล่าวว่า ใครทำาอะไร หรือพูดกับใคร ว่าอย่างไร เช่น ภูวกวักเรียกหนุมาน มา ตรัสสั่งกิจจา ให้แจ้งประจักษ์ใจจง แล้วถอดจักรรัตน์ ธำามรงค์ กับผ้าร้อยองค์ ยุพินทรให้นำาไป ผิวนางยังแหนง นำ้าใจ จงแนะความใน มิถิลราชพารา อันปรากฏจริงใจมา เมื่อตาต่อตา ประจวบบนบัญชรไชย บทเจรจา เป็นบทกวีที่แต่งเป็นร่ายยาว ส่งและรับสัมผัสกันไปเรื่อยๆ ใช้ได้ทุก โอกาส สมัยโบราณเป็นบทที่คิดขึ้นสดๆ เป็นความสามารถของคนพากย์ คนเจรจา ที่จะใช้ปฏิภาณคิดขึ้นโดยปัจจุบัน ให้ได้ถ้อยคำาสละสลวย มี สัมผัสแนบเนียน และได้เนื้อถ้อยกระทงความถูกต้องตามเนื้อเรื่อง ผู้พากย์ เจรจาที่เก่งๆ ยังสามารถใช้ถ้อยคำาคมคาย เหน็บแนมเสียดสี บางครั้งก็เผ็ด ร้อน โต้ตอบกันน่าฟังมาก ปัจจุบันนี้ บทเจรจาได้แต่งไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้ พากย์เจรจาก็ว่าตามบทให้เกิดอารมณ์คล้อยตามถ้อยคำา โดยใช้เสียงและ ลีลาในการเจรจา ผู้พากย์และเจรจาต้องทำาสุ้มเสียงให้เหมาะกับตัวโขน
  • 14. และใส่ความรู้สึกให้เหมาะกับอารมณ์ในเรื่อง คนพากย์และเจรจานี้ใช้ผู้ชาย คนหนึ่งต้องทำาหน้าที่ทั้งพากย์และเจรจา และต้องมีไม่น้อยกว่า ๒ คน จะได้โต้ตอบกันทันท่วงที เมื่อพากย์หรือ เจรจาจบกระบวนความแล้ว ต้องการจะให้ปี่พาทย์ทำาเพลงอะไรก็ร้องบอก ไป เรียกว่า "บอกหน้าพาทย์" และถ้าการแสดงโขนนั้นมีขับร้อง คนพากย์ และเจรจายังจะต้องทำาหน้าที่บอกบทด้วย การบอกบทจะต้องบอกให้ถูก จังหวะ วิธีดูโขน โขนเป็นละครใบ้ โดยเฉพาะโขนกลางแปลง ผู้ดูจึงต้องดูการแสดง ท่าทาง ซึ่งจะบอกความหมาย ความรู้สึก ความคิด ความประสงค์ต่างๆ ได้ทุกอย่าง ท่าทางที่โขนแสดงออกย่อม สัมพันธ์กับดนตรี ฉะนั้น หน้าพาทย์ต่างๆ ที่ใช้ในการแสดงโขนจึงมีความ สำาคัญมาก เช่น เพลงกราวนอก กราวในที่ใช้ในเวลาจัดทัพ แสดงให้เห็น ความเข้มแข็งคึกคักของทหาร ท่าทางของผู้แสดงก็แสดงให้เห็นความเข้ม แข็งคึกคัก กระหยิ่ม องอาจ กล้าหาญ ความพร้อมเพรียงของกองทัพ หรือ เพลงเชิดและท่ารบ ก็แสดงให้เห็นการรุกไล่หลบหลีก ปิดป้อง หลอกล่อ ต่างๆ ภาษาท่าทางของโขน จำาแนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ ๑. ท่าซึ่งใช้แทนคำาพูด เช่น รับ ปฏิเสธ ๒. ท่าซึ่งใช้เป็นอิริยาบท และกิริยาอาการ เช่น เดิน ไหว้ ยิ้ม ร้องไห้ ๓. ท่าซึ่งแสดงถึงอารมณ์ภายใน เช่น รัก โกรธ ดีใจ เสียใจ โอกาสที่แสดงโขน ๑. แสดงเป็นมหกรรมบูชา เช่น ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ หรือพระศพ พระบรมอัฐิ หรืออัฐเจ้านาย ตลอดจนศพขุนนาง หรือผู้ใหญ่
  • 15. เป็นที่เคารพนับถือทั่วไป ๒. แสดงเป็นมหรสพสมโภช เช่น ในงานฉลองปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ พระพุทธบาท พระแก้วมรกต พระอาราม หรือสมโภชเจ้านาย ทรงบรรพชา สมโภชในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมโภชในงานเฉลิม พระชนม์พรรษา สมโภชวันประสูติเจ้านายที่สูงศักดิ์ เป็นต้น ๓. แสดงเป็นมหรสพเพื่อความบันเทิง ในโอกาสทั่วๆ ไป