SlideShare a Scribd company logo
1 of 341
Download to read offline
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เรื่อง	 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ปีที่พิมพ์	 ธันวาคม ๒๕๕๕
จำ�นวนหน้า 	 ๓๔๐ หน้า
พิมพ์ครั้งที่ ๒ 	จำ�นวนพิมพ์ ๓๐,๐๐๐ เล่ม
จัดทำ�โดย	 กลุ่มงานผลิตเอกสาร
	 สำ�นักประชาสัมพันธ์
	 สำ�นักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
	 ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน
	 เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
	 โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๒๙๔-๕
	 โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๒๙๒
พิสูจน์อักษร	 นางสาวทัศนีย์  สมมิตร์
ศิลปกรรม	 นายมานะ  เรืองสอน
พิมพ์ที่	 สำ�นักการพิมพ์
	 สำ�นักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สารบัญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย	 ๙
หมวด ๑	 บททั่วไป	 	 	 	 ๑๕
หมวด ๒	 พระมหากษัตริย์	 	 ๑๖
หมวด ๓	 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย	 ๒๖
	 ส่วนที่ ๑	 บททั่วไป	 ๒๖
	 ส่วนที่ ๒ 	ความเสมอภาค	 ๒๘
	 ส่วนที่ ๓ 	 สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล	 ๓๐
	 ส่วนที่ ๔ 	สิทธิในกระบวนการยุติธรรม	 ๓๔
	 ส่วนที่ ๕ 	 สิทธิในทรัพย์สิน	 ๓๗
	 ส่วนที่ ๖ 	 สิทธิและเสรีภาพ
	 	 	 	 ในการประกอบอาชีพ	 ๓๙
	 ส่วนที่ ๗ 	เสรีภาพในการแสดง
	 	 	 	 ความคิดเห็นของบุคคล	 	
	 	 	 	 และสื่อมวลชน	 ๔๐
	 ส่วนที่ ๘ 	 สิทธิและเสรีภาพ
	 	 	 	 ในการศึกษา	 ๔๕
ส่วนที่ ๙ 	 สิทธิในการได้รับบริการ	 	
	 	 	 	 สาธารณสุขและสวัสดิการ
	 	 	 	 จากรัฐ		 ๔๖
	 ส่วนที่ 	๑๐	สิทธิในข้อมูลข่าวสาร
	 	 	 	 และการร้องเรียน	 ๔๘
	 ส่วนที่ 	๑๑	เสรีภาพในการชุมนุม
	 	 	 	 และการสมาคม	 ๕๑
	 ส่วนที่ 	๑๒	สิทธิชุมชน	 ๕๔
	 ส่วนที่ 	๑๓	สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ	 ๕๖
หมวด ๔ 	หน้าที่ของชนชาวไทย	 ๕๘
หมวด ๕ 	 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ	 ๖๐
	 ส่วนที่	 ๑	 บททั่วไป 	 ๖๐
	 ส่วนที่	 ๒	 แนวนโยบายด้าน
	 	 	 	 ความมั่นคงของรัฐ	 ๖๑
	 ส่วนที่	 ๓	 แนวนโยบายด้าน	 	
	 	 	 	 การบริหารราชการแผ่นดิน	 ๖๒
	 ส่วนที่	 ๔	 แนวนโยบายด้านศาสนา
	 	 	 	 สังคม การสาธารณสุข
	 	 	 	 การศึกษา และวัฒนธรรม	 ๖๕
ส่วนที่	 ๕	 แนวนโยบายด้านกฎหมาย	 	
	 	 	 	 และการยุติธรรม	 ๖๘
	 ส่วนที่	 ๖	 แนวนโยบายด้าน
	 	 	 	 การต่างประเทศ	 ๖๙
	 ส่วนที่	 ๗	 แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ	 ๗๐
	 ส่วนที่	 ๘	 แนวนโยบายด้านที่ดิน
	 	 	 	 ทรัพยากรธรรมชาติและ
	 	 	 	 สิ่งแวดล้อม	 ๗๔
	 ส่วนที่ 	๙ 	แนวนโยบายด้าน	 	
	 	 	 	 วิทยาศาสตร์ ทรัพย์สิน	 	
	 	 	 	 ทางปัญญา และพลังงาน	 ๗๖
	 ส่วนที่	 ๑๐	แนวนโยบายด้านการมี
	 	 	 	 ส่วนร่วมของประชาชน	 ๗๘	
หมวด ๖ รัฐสภา	 	 	 	 	 ๘๐
	 ส่วนที่ ๑ 	 บททั่วไป	 ๘๐
	 ส่วนที่ ๒ 	สภาผู้แทนราษฎร	 ๘๔
	 ส่วนที่ ๓ 	 วุฒิสภา	 ๑๐๔
	 ส่วนที่ ๔ 	บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง	 ๑๑๕
ส่วนที่ ๕ 	 การประชุมร่วมกันของ
	 	 	 	 รัฐสภา		 ๑๒๙
	 ส่วนที่	 ๖	 การตราพระราชบัญญัติ
	 	 	 	 ประกอบรัฐธรรมนูญ	 ๑๓๑	
	 ส่วนที่	 ๗	 การตราพระราชบัญญัติ	 ๑๓๕
	 ส่วนที่	 ๘	 การควบคุมการตรากฎหมาย
	 	 	 	 ที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ	๑๔๘	
	 ส่วนที่	 ๙	 การควบคุมการบริหาร	 	
	 	 	 	 ราชการแผ่นดิน	 ๑๕๑
หมวด ๗ 	การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง
	 ของประชาชน		 	 ๑๕๗
หมวด ๘ 	 การเงิน การคลัง และงบประมาณ	 ๑๖๐
หมวด ๙ 	 คณะรัฐมนตรี	 	 	 ๑๖๗
หมวด ๑๐ 	ศาล	 	 	 	 	 ๑๘๕
	 ส่วนที่ 	๑ 	บททั่วไป	 ๑๘๕
	 ส่วนที่	 ๒ 	ศาลรัฐธรรมนูญ	 ๑๘๙
	 ส่วนที่	 ๓ 	ศาลยุติธรรม	 ๒๐๔
	 ส่วนที่	 ๔ 	ศาลปกครอง	 ๒๐๘
	 ส่วนที่	 ๕ 	ศาลทหาร	 ๒๑๒
หมวด ๑๑	องค์กรตามรัฐธรรมนูญ	 ๒๑๓
	 ส่วนที่ 	๑ 	องค์กรอิสระตาม
	 	 	 	 รัฐธรรมนูญ	 ๒๑๓
	 	 	 	 ๑.	 คณะกรรมการ
	 	 	 	 	 การเลือกตั้ง	 ๒๑๓
	 	 	 	 ๒. 	ผู้ตรวจการแผ่นดิน	 ๒๓๐
	 	 	 	 ๓. 	คณะกรรมการป้องกัน
	 	 	 	 	 และปราบปราม
	 	 	 	 	 การทุจริตแห่งชาติ	 ๒๓๕
	 	 	 	 ๔. 	คณะกรรมการ	 	
	 	 	 	 	 ตรวจเงินแผ่นดิน	 ๒๔๓
	 ส่วนที่	 ๒	 องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ	 ๒๔๖
	 	 	 	 ๑.	 องค์กรอัยการ	 ๒๔๖
	 	 	 	 ๒. 	คณะกรรมการสิทธิ
	 	 	 	 	 มนุษยชนแห่งชาติ	 ๒๔๘
	 	 	 	 ๓. 	สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ
	 	 	 	 	 และสังคมแห่งชาติ	 ๒๕๒
หมวด ๑๒ การตรวจสอบการใช้อำ�นาจรัฐ	 ๒๕๓
	 ส่วนที่	 ๑	 การตรวจสอบทรัพย์สิน	 ๒๕๓
ส่วนที่	 ๒	 การกระทำ�ที่เป็นการขัดกัน
	 	 	 	 แห่งผลประโยชน์	 ๒๕๙
	 ส่วนที่	 ๓	 การถอดถอนจากตำ�แหน่ง	 ๒๖๔
	 ส่วนที่	 ๔	 การดำ�เนินคดีอาญาผู้ดำ�รง	 	
	 	 	 	 ตำ�แหน่งทางการเมือง	 ๒๖๙
หมวด ๑๓	จริยธรรมของผู้ดำ�รงตำ�แหน่งทาง	
	 การเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ	 ๒๗๕
หมวด ๑๔	การปกครองส่วนท้องถิ่น	 ๒๗๗
หมวด ๑๕	การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ	 ๒๘๘
บทเฉพาะกาล		 	 	 	 	 ๒๙๑
ภาคผนวก		 	 	 	 	 	 ๓๑๕
	 -	 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 	๓๑๗
	 	 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑)
	 	 พุทธศักราช ๒๕๕๔
	 -	 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 	๓๓๓
	 	 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)
	 	 พุทธศักราช ๒๕๕๔
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
11
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
ตราไว้ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
	 ศุภมัสดุ  พระพุทธศาสนกาลเป็นอดีตภาค  ๒๕๕๐
พรรษา ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม สูกรสมพัตสร สาวนมาส
ชุณหปักษ์  เอกาทสีดิถี  สุริยคติกาล  สิงหาคมมาส
จตุวีสติมสุรทิน ศุกรวาร โดยกาลบริเฉท
	 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี  จักรีนฤบดินทร  สยามินทรา        
ธิราช  บรมนาถบพิตร  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า      
โปรดกระหม่อม  ให้ประกาศว่า  ประธานสภา
12
นิติบัญญัติแห่งชาติได้นำ�ความกราบบังคมทูลว่า         
การปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ดำ�เนินวัฒนา
มากว่าเจ็ดสิบห้าปี  ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา  ได้มีการ
ประกาศใช้  ยกเลิก  และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
หลายครั้ง  เพื่อให้เหมาะสมแก่สภาวการณ์ของ            
บ้านเมืองและกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป  และโดยที่
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช  ๒๕๔๙ ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ
และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้น  มีหน้าที่จัด
ทำ�ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับสำ�หรับเป็นแนวทาง
การปกครองประเทศ  โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม      
แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอนและนำ� 
ความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นข้อคำ�นึงพิเศษในการ         
ยกร่างและพิจารณาแปรญัตติโดยต่อเนื่อง
	 ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จัดทำ�ใหม่นี้มีสาระสำ�คัญ       
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันของประชาชนชาวไทย       
ในการธำ�รงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ      
การทำ�นุบำ�รุงรักษาศาสนาทุกศาสนาให้สถิตสถาพร 
13
การเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและเป็นมิ่งขวัญ  
ของชาติ  การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมี               
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางในการ
ปกครองประเทศ  การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ
ประชาชน  ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมใน      
การปกครอง  และตรวจสอบการใช้อำ�นาจรัฐอย่างเป็น
รูปธรรม  การกำ�หนดกลไกสถาบันทางการเมือง          
ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร  ให้มีดุลยภาพและ
ประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา  รวมทั้ง
ให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่
ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม
	 เมื่อจัดทำ�ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว  สภาร่าง
รัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มี
การออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบแก่ร่าง
รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ  การออกเสียงลงประชามติปรากฏ
ผลว่า  ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของ  
ผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นำ�ร่างรัฐธรรมนูญ
ฉบับใหม่มาใช้บังคับ  ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
จึงนำ�ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
14
เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย  ให้ประกาศใช้เป็น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป  ทรงพระ
ราชดำ�ริว่าสมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติตาม
มติของมหาชน
	 จึงมีพระบรมราชโองการดำ�รัสเหนือเกล้าเหนือ
กระหม่อมให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ฉบับนี้ขึ้นไว้  ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย  (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ซึ่งได้ตราไว้
ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ ตั้งแต่วันประกาศ
นี้เป็นต้นไป
	 ขอปวงชนชาวไทย  จงมีความสมัครสโมสรเป็น
เอกฉันท์  ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษา   
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้  เพื่อธำ�รงคงไว้ซึ่ง
ระบอบประชาธิปไตยและอำ�นาจอธิปไตยของปวงชน
ชาวไทย  และนำ�มาซึ่งความผาสุกสิริสวัสดิ์พิพัฒน
ชัยมงคลอเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพรแก่อาณา
ประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา  สมดั่งพระบรมราช
ปณิธานปรารถนาทุกประการ เทอญ
15
หมวด ๑
บททั่วไป
	 มาตรา	 ๑		 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร
อันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
	 มาตรา	 ๒		 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
	 มาตรา	 ๓		 อำ�นาจอธิปไตยเป็นของปวงชน        
ชาวไทย  พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้
อำ�นาจนั้นทางรัฐสภา  คณะรัฐมนตรี  และศาล          
ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
	 การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา  คณะรัฐมนตรี 
ศาล  รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ  และหน่วยงาน
ของรัฐ  ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
	 มาตรา	 ๔		 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  สิทธิ
เสรีภาพ  และความเสมอภาคของบุคคล  ย่อมได้รับ
ความคุ้มครอง
16
	 มาตรา	 ๕		 ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่า
กำ�เนิด  เพศ  หรือศาสนาใด  ย่อมอยู่ในความคุ้มครอง
แห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
	 มาตรา	 ๖		 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
ของประเทศ  บทบัญญัติใดของกฎหมาย  กฎ  หรือ     
ข้อบังคับ  ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้  บทบัญญัตินั้น
เป็นอันใช้บังคับมิได้
	 มาตรา	 ๗		 ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่ง
รัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด  ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไป
ตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
หมวด ๒
พระมหากษัตริย์
	 มาตรา	 ๘		 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำ�รงอยู่
ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
17
	 ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์      
ในทางใด ๆ มิได้
	 มาตรา	 ๙		 พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ ท ร ง เ ป็ น
พุทธมามกะ  และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
	 มาตรา	 ๑๐	 พระมหากษัตริย์ทรงดำ�รง
ตำ�แหน่งจอมทัพไทย
	 มาตรา	 ๑๑	 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราช
อำ�นาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทาน          
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
	 มาตรา	 ๑๒	พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและ
ทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง
และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคนประกอบเป็น
คณะองคมนตรี
	 คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อ        
พระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวง  ที่พระมหา
กษัตริย์ทรงปรึกษา  และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติใน
รัฐธรรมนูญนี้
18
	 มาตรา	 ๑๓	 การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรี
หรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำ�แหน่งให้เป็นไปตาม
พระราชอัธยาศัย
	 ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรม
ราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือให้ประธาน          
องคมนตรีพ้นจากตำ�แหน่ง
	 ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนอง
พระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่นหรือให้
องคมนตรีอื่นพ้นจากตำ�แหน่ง       
	 มาตรา	 ๑๔	 องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกสภา       
ผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  กรรมการการเลือกตั้ง               
ผู้ตรวจการแผ่นดิน  กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ      
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ตุลาการศาลปกครอง 
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 
กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน  ข้าราชการซึ่งมีตำ�แหน่ง
หรือเงินเดือนประจำ�  พนักงานรัฐวิสาหกิจ  เจ้าหน้าที่
อื่นของรัฐ  หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของ
พรรคการเมือง  และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ใน
พรรคการเมืองใด ๆ
19
	 มาตรา	 ๑๕	ก่อนเข้ารับหน้าที่  องคมนตรีต้อง        
ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำ�                
ดังต่อไปนี้
	 “ข้าพระพุทธเจ้า  (ชื่อผู้ปฏิญาณ)  ขอถวาย
สัตย์ปฏิญาณว่า  ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อ         
พระมหากษัตริย์  และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์
สุจริต  เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน  ทั้งจะ
รักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทยทุกประการ”
	 มาตรา	 ๑๖	องคมนตรีพ้นจากตำ�แหน่งเมื่อตาย 
ลาออก  หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำ�แหน่ง   
	 มาตรา	 ๑๗	การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการ
ในพระองค์และสมุหราชองครักษ์พ้นจากตำ�แหน่ง          
ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
	 มาตรา	 ๑๘	 ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่
ประทับอยู่ในราชอาณาจักร  หรือจะทรงบริหารพระราช
ภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม  จะได้ทรงแต่งตั้งผู้ใด          
ผู้หนึ่งเป็นผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์  และให้ประธาน
รัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
20
	 มาตรา	 ๑๙	ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรง      
แต่งตั้งผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา ๑๘ หรือ
ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถทรงแต่งตั้งผู้สำ�เร็จ
ราชการแทนพระองค์เพราะยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะหรือ
เพราะเหตุอื่น  ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่ง      
ซึ่งสมควรดำ�รงตำ�แหน่งผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์
ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ  เมื่อรัฐสภาให้           
ความเห็นชอบแล้ว  ให้ประธานรัฐสภาประกาศใน                     
พระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์  แต่งตั้งผู้นั้นเป็น           
ผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์
	 ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือ       
สภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ  ให้วุฒิสภาทำ�หน้าที่รัฐสภา     
ในการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง
	 มาตรา	 ๒๐	ในระหว่างที่ไม่มีผู้สำ�เร็จราชการ
แทนพระองค์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ หรือมาตรา
๑๙  ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำ�เร็จราชการแทน
พระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน
	 ในกรณีที่ผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับ     
การแต่งตั้งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ ไม่สามารถ
21
ปฏิบัติหน้าที่ได้  ให้ประธานองคมนตรีทำ�หน้าที่ผู้สำ�เร็จ
ราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน
	 ในระหว่างที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำ�เร็จ
ราชการแทนพระองค์ตามวรรคหนึ่ง  หรือในระหว่างที่
ประธานองคมนตรีทำ�หน้าที่ผู้สำ�เร็จราชการแทน
พระองค์ตามวรรคสอง  ประธานองคมนตรีจะปฏิบัติ
หน้าที่ในฐานะเป็นประธานองคมนตรีมิได้  ในกรณี    
เช่นว่านี้  ให้คณะองคมนตรีเลือกองคมนตรีคนหนึ่งขึ้น
ทำ�หน้าที่ประธานองคมนตรีเป็นการชั่วคราวไปพลาง
ก่อน
	 มาตรา	 ๒๑	ก่อนเข้ารับหน้าที่  ผู้สำ�เร็จ
ราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา 
๑๘  หรือ  มาตรา  ๑๙  ต้องปฏิญาณตนในที่ประชุม
รัฐสภาด้วยถ้อยคำ� ดังต่อไปนี้
	 “ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้า
จะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์  (พระปรมาภิไธย)  และ
จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  เพื่อประโยชน์
ของประเทศและประชาชน  ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตาม
ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”
22
	 ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือ                
สภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ  ให้วุฒิสภาทำ�หน้าที่รัฐสภา
ตามมาตรานี้
	 มาตรา	 ๒๒	ภายใต้บังคับมาตรา  ๒๓  การสืบ      
ราชสมบัติให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วย         
การสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗
	 การแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วย        
การสืบราชสันตติวงศ์  พระพุทธศักราช  ๒๔๖๗  เป็น     
พระราชอำ�นาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ  เมื่อมี
พระราชดำ�ริประการใด  ให้คณะองคมนตรีจัดทำ�ร่าง     
กฎมณเฑียรบาลแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลเดิม     
ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อมีพระราชวินิจฉัย 
เมื่อทรงเห็นชอบและทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว            
ให้ประธานองคมนตรีดำ�เนินการแจ้งประธานรัฐสภาเพื่อ
ให้ประธานรัฐสภาแจ้งให้รัฐสภาทราบ  และให้ประธาน
รัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และเมื่อได้
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว  ให้ใช้บังคับเป็น
กฎหมายได้
23
	 ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือ             
สภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ  ให้วุฒิสภาทำ�หน้าที่รัฐสภา      
ในการรับทราบตามวรรคสอง
	 มาตรา	 ๒๓	ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลง
และเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้ง                  
พระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วย                    
การสืบราชสันตติวงศ์  พระพุทธศักราช  ๒๔๖๗  แล้ว             
ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ  และให้
ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบ  และให้
ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์
เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป  แล้วให้ประธานรัฐสภา
ประกาศให้ประชาชนทราบ
	 ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่       
พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตาม       
วรรคหนึ่ง  ให้คณะองคมนตรีเสนอพระนามผู้สืบราช
สันตติวงศ์ตามมาตรา  ๒๒  ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอ
ต่อรัฐสภาเพื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบ  ในการนี้          
จะเสนอพระนามพระราชธิดาก็ได้  เมื่อรัฐสภาให้        
ความเห็นชอบแล้ว  ให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์ผู้สืบ
24
ราชสันตติวงศ์ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป 
แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ
	 ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือ       
สภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ  ให้วุฒิสภาทำ�หน้าที่รัฐสภาใน
การรับทราบตามวรรคหนึ่งหรือให้ความเห็นชอบตาม
วรรคสอง
	 มาตรา	 ๒๔	ในระหว่างที่ยังไม่มีประกาศ
อัญเชิญองค์พระรัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์
ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ตามมาตรา  ๒๓        
ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์
เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน  แต่ในกรณีที่ราชบัลลังก์
ว่างลงในระหว่างที่ได้แต่งตั้งผู้สำ�เร็จราชการแทน
พระองค์ไว้ตามมาตรา  ๑๘  หรือ  มาตรา  ๑๙  หรือ
ระหว่างเวลาที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำ�เร็จราชการ
แทนพระองค์ตามมาตรา  ๒๐  วรรคหนึ่ง  ให้ผู้สำ�เร็จ
ราชการแทนพระองค์นั้น  ๆ  แล้วแต่กรณี  เป็นผู้สำ�เร็จ
ราชการแทนพระองค์ต่อไป ทั้งนี้ จนกว่าจะได้ประกาศ
อัญเชิญองค์พระรัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์
ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์
25
	 ในกรณีที่ผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับ       
การแต่งตั้งไว้และเป็นผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์        
ต่อไปตามวรรคหนึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้  ให้
ประธานองคมนตรีทำ�หน้าที่ผู้สำ�เร็จราชการแทน
พระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน
	 ในกรณีที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำ�เร็จราชการ
แทนพระองค์ตามวรรคหนึ่ง  หรือทำ�หน้าที่ผู้สำ�เร็จ
ราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวตามวรรคสอง  
ให้นำ�บทบัญญัติมาตรา ๒๐ วรรคสาม มาใช้บังคับ
	 มาตรา	 ๒๕	ในกรณีที่คณะองคมนตรีจะต้อง
ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา  ๑๙  หรือมาตรา  ๒๓  วรรคสอง 
หรือประธานองคมนตรีจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตาม     
มาตรา  ๒๐  วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง หรือมาตรา ๒๔
วรรคสอง  และอยู่ในระหว่างที่ไม่มีประธานองคมนตรี
หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้คณะองคมนตรี      
ที่เหลืออยู่เลือกองคมนตรีคนหนึ่งเพื่อทำ�หน้าที่       
ประธานองคมนตรี  หรือปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา  ๒๐
วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือตามมาตรา ๒๔ วรรคสาม
แล้วแต่กรณี
26
หมวด ๓
สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป
	 มาตรา	 ๒๖	การใช้อำ�นาจโดยองค์กรของรัฐ
ทุกองค์กร  ต้องคำ�นึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  สิทธิ
และเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
	 มาตรา	 ๒๗	สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้
รับรองไว้โดยชัดแจ้ง  โดยปริยายหรือโดยคำ�วินิจฉัย
ของศาลรัฐธรรมนูญ  ย่อมได้รับความคุ้มครองและ
ผูกพันรัฐสภา  คณะรัฐมนตรี  ศาล  รวมทั้งองค์กรตาม
รัฐธรรมนูญ  และหน่วยงานของรัฐโดยตรงในการตรา
กฎหมาย  การใช้บังคับกฎหมาย  และการตีความ
กฎหมายทั้งปวง
	 มาตรา	 ๒๘	บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็น
มนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิด
27
สิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น  ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อ
รัฐธรรมนูญ  หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
	 บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้
รับรองไว้  สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อ
ใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้
	 บุคคลย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้
รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้ได้โดยตรง       
หากการใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องใดมีกฎหมายบัญญัติ
รายละเอียดแห่งการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่
รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้แล้ว  ให้การใช้สิทธิและเสรีภาพ
ในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
	 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการส่งเสริม  สนับสนุน
และช่วยเหลือจากรัฐ ในการใช้สิทธิตามความในหมวดนี้
	 มาตรา	 ๒๙	การจำ�กัดสิทธิและเสรีภาพของ
บุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้  จะกระทำ�มิได้  เว้นแต่
โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  เฉพาะ
เพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำ�หนดไว้และเท่าที่จำ�เป็น  และ
จะกระทบกระเทือนสาระสำ�คัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้น
มิได้
28
	 กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้บังคับ
เป็นการทั่วไป  และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใด
กรณีหนึ่ง  หรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง 
ทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำ�นาจ          
ในการตรากฎหมายนั้นด้วย
	 บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสองให้นำ�มาใช้
บังคับกับกฎที่ออกโดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติ     
แห่งกฎหมายด้วยโดยอนุโลม
         
ส่วนที่ ๒
ความเสมอภาค
	 มาตรา	 ๓๐	 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย
และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
	 ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
	 การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล 
เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำ�เนิด เชื้อชาติ
ภาษา  เพศ  อายุ  ความพิการ  สภาพทางกายหรือ
29
สุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม
ความเชื่อทางศาสนา  การศึกษาอบรม  หรือความคิด
เห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ      
จะกระทำ�มิได้
	 มาตรการที่รัฐกำ�หนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือ      
ส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้             
เช่นเดียวกับบุคคลอื่น  ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ
โดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
	 มาตรา	 ๓๑	 บุคคลผู้เป็นทหาร  ตำ�รวจ
ข้าราชการ  เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ  และพนักงานหรือ
ลูกจ้างขององค์กรของรัฐ  ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตาม
รัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป  เว้นแต่ที่จำ�กัด     
ไว้ในกฎหมายหรือกฎที่ออกโดยอาศัยอำ�นาจตาม
บทบัญญัติแห่งกฎหมาย  เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับ
การเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม
30
ส่วนที่ ๓
สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล
	 มาตรา	 ๓๒	บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพ       
ในชีวิตและร่างกาย
	 การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วย      
วิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม  จะกระทำ�มิได้       
แต่การลงโทษตามคำ�พิพากษาของศาลหรือตามที่
กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการ
โหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้
	 การจับและการคุมขังบุคคล  จะกระทำ�มิได้         
เว้นแต่มีคำ�สั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตาม
ที่กฎหมายบัญญัติ
	 การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำ�ใดอันกระทบ     
ต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง  จะกระทำ�มิได้          
เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ
	 ในกรณีที่มีการกระทำ�ซึ่งกระทบต่อสิทธิและ
เสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหาย พนักงานอัยการ หรือ
31
บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย  มีสิทธิร้องต่อ
ศาลเพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทำ�เช่นว่านั้น 
รวมทั้งจะกำ�หนดวิธีการตามสมควรหรือการเยียวยา
ความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้
	 มาตรา	 ๓๓	 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน	
	 บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยู่
อาศัยและครอบครองเคหสถานโดยปกติสุข
	 การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอม
ของผู้ครอบครอง  หรือการตรวจค้นเคหสถานหรือ          
ในที่รโหฐาน  จะกระทำ�มิได้  เว้นแต่มีคำ�สั่งหรือหมาย 
ของศาล  หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
	 มาตรา 	๓๔	 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการ         
เดินทางและมีเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายใน         
ราชอาณาจักร
	 การจำ�กัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง  จะกระทำ�มิได้      
เว้นแต่โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
เฉพาะเพื่อความมั่นคงของรัฐ  ความสงบเรียบร้อยหรือ
สวัสดิภาพของประชาชน  การผังเมือง  หรือเพื่อ
สวัสดิภาพของผู้เยาว์
32
	 การเนรเทศบุคคลผู้มีสัญชาติไทยออกนอก               
ราชอาณาจักร หรือห้ามมิให้บุคคลผู้มีสัญชาติไทยเข้ามา
ในราชอาณาจักร จะกระทำ�มิได้
	 มาตรา	 ๓๕	สิทธิของบุคคลในครอบครัว
เกียรติยศ  ชื่อเสียง  ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัว  
ย่อมได้รับความคุ้มครอง
	 การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความ      
หรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน  อันเป็น      
การละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว 
เกียรติยศ  ชื่อเสียง  หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว                
จะกระทำ�มิได้  เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
	 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง                    
จากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคล
ที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ
	 มาตรา 	๓๖	บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสาร
ถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย
	 การตรวจ  การกัก  หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่
บุคคลมีติดต่อถึงกัน รวมทั้ง การกระทำ�ด้วยประการอื่น
ใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคล
33
มีติดต่อถึงกัน  จะกระทำ�มิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำ�นาจ
ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  เฉพาะเพื่อรักษาความ
มั่นคงของรัฐ  หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน
	 มาตรา	 ๓๗	บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ใน
การถือศาสนา  นิกายของศาสนา  หรือลัทธินิยมในทาง
ศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม 
ศาสนบัญญัติ  หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือ
ของตน  เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและ
ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
ของประชาชน
	 ในการใช้เสรีภาพตามวรรคหนึ่ง  บุคคลย่อมได้
รับความคุ้มครองมิให้รัฐกระทำ�การใด  ๆ  อันเป็นการ
รอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้  เพราะเหตุ
ที่ถือศาสนา  นิกายของศาสนา  ลัทธินิยมในทางศาสนา 
หรือปฏิบัติตามศาสนธรรม  ศาสนบัญญัติ  หรือปฏิบัติ
พิธีกรรมตามความเชื่อถือ แตกต่างจากบุคคลอื่น
	 มาตรา	 ๓๘	การเกณฑ์แรงงานจะกระทำ�มิได้
เว้นแต่โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย 
34
เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
อันมีมาเป็นการฉุกเฉิน  หรือโดยอาศัยอำ�นาจตาม
บทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งให้กระทำ�ได้ในระหว่างเวลา
ที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ  หรือใน
ระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือ
ประกาศใช้กฎอัยการศึก
         
ส่วนที่ ๔
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
	 มาตรา	 ๓๙	บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่
ได้กระทำ�การอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำ�นั้น
บัญญัติเป็นความผิดและกำ�หนดโทษไว้  และโทษที่จะ
ลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำ�หนดไว้ในกฎหมาย
ที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำ�ความผิดมิได้
	 ในคดีอาญา  ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหา
หรือจำ�เลยไม่มีความผิด
35
	 ก่อนมีคำ�พิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใด
ได้กระทำ�ความผิด  จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็น     
ผู้กระทำ�ความผิดมิได้
	 มาตรา	 ๔๐	 บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการ
ยุติธรรม ดังต่อไปนี้
	 (๑)	สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย
สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง
	 (๒)	สิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณา  ซึ่งอย่าง
น้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่องการได้รับการ
พิจารณาโดยเปิดเผย  การได้รับทราบข้อเท็จจริงและ
ตรวจเอกสารอย่างเพียงพอ  การเสนอข้อเท็จจริง        
ข้อโต้แย้ง  และพยานหลักฐานของตน  การคัดค้าน         
ผู้พิพากษาหรือตุลาการ  การได้รับการพิจารณาโดย      
ผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะ 
และการได้รับทราบเหตุผลประกอบคำ�วินิจฉัย                   
คำ�พิพากษา หรือคำ�สั่ง
	 (๓)	บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับ
การพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม
36
	 (๔)	ผู้เสียหาย  ผู้ต้องหา  โจทก์  จำ�เลย             
คู่กรณีผู้มีส่วนได้เสีย  หรือพยานในคดีมีสิทธิได้รับการ
ปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำ�เนินการตามกระบวนการ
ยุติธรรม  รวมทั้งสิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่าง
ถูกต้อง  รวดเร็ว  เป็นธรรม  และการไม่ให้ถ้อยคำ�     
เป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง
	 (๕)	ผู้เสียหาย  ผู้ต้องหา  จำ�เลย  และพยานใน
คดีอาญา  มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง  และความช่วย
เหลือที่จำ�เป็นและเหมาะสมจากรัฐ  ส่วนค่าตอบแทน 
ค่าทดแทน  และค่าใช้จ่ายที่จำ�เป็น  ให้เป็นไปตามที่
กฎหมายบัญญัติ
	 (๖)	 เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือ
ทุพพลภาพ  ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในการ
ดำ�เนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม  และย่อมมี
สิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับ      
ความรุนแรงทางเพศ
	 (๗)	ในคดีอาญา  ผู้ต้องหาหรือจำ�เลยมีสิทธิ   
ได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง 
รวดเร็ว  และเป็นธรรม  โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ 
37
การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตาม
สมควร  การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจาก
ทนายความ  และการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
	 (๘)	ในคดีแพ่ง  บุคคลมีสิทธิได้รับความช่วย
เหลือทางกฎหมายอย่างเหมาะสมจากรัฐ
         
ส่วนที่ ๕
สิทธิในทรัพย์สิน
	 มาตรา 	๔๑	 สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อม
ได้รับความคุ้มครอง  ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำ�กัด
สิทธิเช่นว่านี้ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
	 การสืบมรดกย่อมได้รับความคุ้มครอง  สิทธิของ
บุคคลในการสืบมรดกย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
	 มาตรา	 ๔๒	การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะ
กระทำ�มิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติ
แห่งกฎหมาย  เฉพาะกิจการของรัฐเพื่อการอันเป็น
สาธารณูปโภค  การอันจำ�เป็นในการป้องกันประเทศ 
38
การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ  การผังเมือง  การ      
ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม  การพัฒนา
การเกษตรหรือการอุตสาหกรรม  การปฏิรูปที่ดิน      
การอนุรักษ์โบราณสถานและแหล่งทางประวัติศาสตร์ 
หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น  และต้องชดใช้     
ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของ     
ตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหาย             
จากการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
	 การกำ�หนดค่าทดแทนตามวรรคหนึ่งต้อง
กำ�หนดให้อย่างเป็นธรรมโดยคำ�นึงถึงราคาที่ซื้อขายกัน
ตามปกติในท้องตลาด  การได้มา  สภาพและที่ตั้งของ
อสังหาริมทรัพย์  ความเสียหายของผู้ถูกเวนคืน  และ
ประโยชน์ที่รัฐและผู้ถูกเวนคืนได้รับจากการใช้สอย
อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน
	 กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องระบุ
วัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนและกำ�หนดระยะเวลา       
การเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ไว้ให้ชัดแจ้ง  ถ้ามิได้ใช้       
เพื่อการนั้นภายในระยะเวลาที่กำ�หนดดังกล่าว             
ต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาท
39
	 การคืนอสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าของเดิมหรือ
ทายาทตามวรรคสาม  และการเรียกคืนค่าทดแทน         
ที่ชดใช้ไป ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
         
ส่วนที่ ๖
สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
	 มาตรา	 ๔๓	 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการ
ประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขัน       
โดยเสรีอย่างเป็นธรรม
	 การจำ�กัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำ�มิได้         
เว้นแต่โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  
เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ   
หรือเศรษฐกิจของประเทศ  การคุ้มครองประชาชนใน
ด้านสาธารณูปโภค  การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือ        
ศีลธรรมอันดีของประชาชน  การจัดระเบียบการ
ประกอบอาชีพ  การคุ้มครองผู้บริโภค  การผังเมือง 
การรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม 
40
สวัสดิภาพของประชาชน  หรือเพื่อป้องกันการผูกขาด
หรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน
	 มาตรา	 ๔๔	บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกัน
ความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทำ�งาน  รวมทั้ง
หลักประกันในการดำ�รงชีพทั้งในระหว่างการทำ�งานและ
เมื่อพ้นภาวะการทำ�งาน  ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
ส่วนที่ ๗
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคล
และสื่อมวลชน
	 มาตรา	 ๔๕	บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดง
ความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา
และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น
	 การจำ�กัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำ�มิได้       
เว้นแต่โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  
เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ  เพื่อคุ้มครองสิทธิ
เสรีภาพ  เกียรติยศ  ชื่อเสียง  สิทธิในครอบครัวหรือ
41
ความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น  เพื่อรักษาความสงบ
เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  หรือเพื่อ
ป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพ
ของประชาชน
	 การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่น       
เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้ จะกระทำ�มิได้
	 การห้ามหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเสนอ       
ข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นทั้งหมดหรือบางส่วน 
หรือการแทรกแซงด้วยวิธีการใด  ๆ  เพื่อลิดรอน
เสรีภาพตามมาตรานี้  จะกระทำ�มิได้  เว้นแต่โดยอาศัย
อำ�นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้น         
ตามวรรคสอง
	 การให้นำ�ข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจ
ก่อนนำ�ไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่น 
จะกระทำ�มิได้  เว้นแต่จะกระทำ�ในระหว่างเวลา                
ที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม  แต่ทั้งนี้จะต้องกระทำ�
โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้  
ตราขึ้นตามวรรคสอง
42
	 เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่น
ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย
	 การให้เงินหรือทรัพย์สินอื่นเพื่ออุดหนุนกิจการ
หนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชน  รัฐจะกระทำ�
มิได้
	 มาตรา	 ๔๖	พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชน     
ที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์  วิทยุกระจายเสียง  
วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพในการ
เสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำ�กัด                       
ตามรัฐธรรมนูญ  โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของ         
หน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือ
เจ้าของกิจการนั้น  แต่ต้องไม่ขัดต่อจริยธรรมแห่ง        
การประกอบวิชาชีพ  และมีสิทธิจัดตั้งองค์กรเพื่อ
ปกป้องสิทธิ  เสรีภาพและความเป็นธรรม  รวมทั้งมี
กลไกควบคุมกันเองขององค์กรวิชาชีพ
	 ข้าราชการ  พนักงาน  หรือลูกจ้างของหน่วย
ราชการ  หน่วยงานของรัฐ  หรือรัฐวิสาหกิจ  ในกิจการ
วิทยุกระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์  หรือสื่อมวลชนอื่น  
ย่อมมีเสรีภาพเช่นเดียวกับพนักงานหรือลูกจ้างของ
เอกชนตามวรรคหนึ่ง
43
	 การกระทำ�ใด ๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
ของผู้ดำ�รงตำ�แหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือ
เจ้าของกิจการ  อันเป็นการขัดขวางหรือแทรกแซง     
การเสนอข่าวหรือแสดงความคิดเห็นในประเด็น
สาธารณะของบุคคลตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง          
ให้ถือว่าเป็นการจงใจใช้อำ�นาจหน้าที่โดยมิชอบและ
ไม่มีผลใช้บังคับ  เว้นแต่เป็นการกระทำ�เพื่อให้เป็นไป
ตามกฎหมายหรือจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ
	 มาตรา	 ๔๗	คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุ        
กระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์  และโทรคมนาคม          
เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ
	 ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่ง            
ทำ�หน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง  และกำ�กับ
การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์ 
และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
	 การดำ�เนินการตามวรรคสองต้องคำ�นึงถึง
ประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับ
ท้องถิ่น  ทั้งในด้านการศึกษา  วัฒนธรรม  ความมั่นคง
ของรัฐ  ประโยชน์สาธารณะอื่น  และการแข่งขันโดยเสรี
44
อย่างเป็นธรรม  รวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชน              
มีส่วนร่วมในการดำ�เนินการสื่อมวลชนสาธารณะ
	 การกำ�กับการประกอบกิจการตามวรรคสอง      
ต้องมีมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการควบรวม           
การครองสิทธิข้ามสื่อ  หรือการครอบงำ�  ระหว่าง
สื่อมวลชนด้วยกันเองหรือโดยบุคคลอื่นใด  ซึ่งจะมีผล
เป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือ
ปิดกั้นการได้รับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของ
ประชาชน
	 มาตรา	 ๔๘	ผู้ดำ�รงตำ�แหน่งทางการเมืองจะ
เป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ 
วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคม มิได้
ไม่ว่าในนามของตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการ
หรือถือหุ้นแทน  หรือจะดำ�เนินการโดยวิธีการอื่นไม่ว่า
โดยทางตรงหรือทางอ้อมที่สามารถบริหารกิจการ          
ดังกล่าวได้ในทำ�นองเดียวกับการเป็นเจ้าของกิจการ
หรือถือหุ้นในกิจการดังกล่าว
45
ส่วนที่ ๘
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
	 มาตรา	 ๔๙	บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการ
รับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้ 
อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
	 ผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือทุพพลภาพ  หรือผู้อยู่ใน
สภาวะยากลำ�บาก  ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและ
การสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียม
กับบุคคลอื่น
	 การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือ
เอกชน  การศึกษาทางเลือกของประชาชน  การเรียนรู้
ด้วยตนเอง  และการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ย่อมได้รับความ
คุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
	 มาตรา	 ๕๐	บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทาง	วิชาการ  	
	 การศึกษาอบรม  การเรียนการสอน  การวิจัย 
และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ  ย่อมได้รับ
ความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมือง
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
46
ส่วนที่ ๙
สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและ
สวัสดิการจากรัฐ
	 มาตรา	 ๕๑	บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการ
รับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน 
และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถาน
บริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
	 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุข
จากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
	 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัด       
โรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสมโดยไม่เสีย       
ค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์
	 มาตรา	 ๕๒	เด็กและเยาวชน  มีสิทธิในการ     
อยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย  จิตใจ  และสติ
ปัญญา  ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 
โดยคำ�นึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน             
เป็นสำ�คัญ
47
	 เด็ก  เยาวชน  สตรี  และบุคคลในครอบครัว             
มีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐ  ให้ปราศจากการใช้        
ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม  ทั้งมีสิทธิ
ได้รับการบำ�บัดฟื้นฟูในกรณีที่มีเหตุดังกล่าว
	 การแทรกแซงและการจำ�กัดสิทธิของเด็ก 
เยาวชน  และบุคคลในครอบครัว  จะกระทำ�มิได้        
เว้นแต่โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย 
เฉพาะเพื่อสงวนและรักษาไว้ซึ่งสถานะของครอบครัว
หรือประโยชน์สูงสุดของบุคคลนั้น
	 เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแลมีสิทธิได้รับ          
การเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมที่เหมาะสมจากรัฐ
	 มาตรา	 ๕๓	บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปี
บริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ  มีสิทธิ  
ได้รับสวัสดิการ  สิ่งอำ�นวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ
อย่างสมศักดิ์ศรี  และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
	 มาตรา	 ๕๔	บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ       
มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการ  สิ่งอำ�นวย
ความสะดวกอันเป็นสาธารณะ  และความช่วยเหลือ        
ที่เหมาะสมจากรัฐ
48
	 บุคคลวิกลจริตย่อมได้รับความช่วยเหลือ               
ที่เหมาะสมจากรัฐ
	 มาตรา	 ๕๕	บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มี        
รายได้เพียงพอแก่การยังชีพ  ย่อมมีสิทธิได้รับ           
ความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
ส่วนที่ ๑๐
สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน
	 มาตรา	 ๕๖	บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและ
เข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครอง         
ของหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ 
หรือราชการส่วนท้องถิ่น  เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูล     
หรือข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ       
ความปลอดภัยของประชาชน  หรือส่วนได้เสียอันพึง      
ได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น  หรือเป็นข้อมูล        
ส่วนบุคคล ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
49
	 มาตรา	 ๕๗	บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล        
คำ�ชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ 
รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น  ก่อนการอนุญาต
หรือการดำ�เนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมี             
ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม  สุขภาพอนามัย
คุณภาพชีวิต  หรือส่วนได้เสียสำ�คัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตน
หรือชุมชนท้องถิ่น  และมีสิทธิแสดงความคิดเห็น        
ของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำ�ไปประกอบ      
การพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
	 การวางแผนพัฒนาสังคม  เศรษฐกิจ  การเมือง
และวัฒนธรรม  การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์  การวาง
ผังเมือง  การกำ�หนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน  และ
การออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำ�คัญของ
ประชาชน  ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น
ของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำ�เนินการ
	 มาตรา	 ๕๘	บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วม           
ในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการ
ปฏิบัติราชการทางปกครองอันมีผลหรืออาจมีผลกระทบ
ต่อสิทธิและเสรีภาพของตน
50
	 มาตรา	 ๕๙	บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราว
ร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลา        
อันรวดเร็ว
	 มาตรา	 ๖๐	บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องหน่วย
ราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  ราชการ       
ส่วนท้องถิ่น  หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล       
ให้รับผิดเนื่องจากการกระทำ�หรือการละเว้นการกระทำ�
ของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น
	 มาตรา	 ๖๑	สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภค
ย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็น       
ความจริง  และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไข
เยียวยาความเสียหาย  รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อ
พิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค
	 ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็น
อิสระจากหน่วยงานของรัฐ  ซึ่งประกอบด้วยตัวแทน       
ผู้บริโภค  ทำ�หน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการ
พิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการบังคับ
ใช้กฎหมายและกฎ  และให้ความเห็นในการกำ�หนด
มาตรการต่าง  ๆ  เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค  รวมทั้ง
51
ตรวจสอบและรายงานการกระทำ�หรือละเลยการกระทำ�
อันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค  ทั้งนี้  ให้รัฐสนับสนุน            
งบประมาณในการดำ�เนินการขององค์การอิสระ              
ดังกล่าวด้วย
	 มาตรา	 ๖๒	บุคคลย่อมมีสิทธิติดตามและ
ร้องขอให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำ�รง
ตำ�แหน่งทางการเมือง หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่
ของรัฐ
	 บุคคลซึ่งให้ข้อมูลโดยสุจริตแก่องค์กรตรวจสอบ       
การใช้อำ�นาจรัฐหรือหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับ                
การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำ�รงตำ�แหน่งทางการเมือง 
หน่วยงานของรัฐ  หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ  ย่อมได้รับ        
ความคุ้มครอง
         
ส่วนที่ ๑๑
เสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม
	 มาตรา	 ๖๓	บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุม        
โดยสงบและปราศจากอาวุธ
52
	 การจำ�กัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำ�มิได้       
เว้นแต่โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย      
เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ  และเพื่อคุ้มครอง     
ความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ  หรือเพื่อ
รักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศ         
อยู่ในภาวะสงคราม  หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศ
สถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
	 มาตรา	 ๖๔	บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวม
กันเป็นสมาคม  สหภาพ  สหพันธ์  สหกรณ์                
กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน
หรือหมู่คณะอื่น
	 ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมมีเสรีภาพ
ในการรวมกลุ่มเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป  แต่ทั้งนี้ต้อง
ไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน
และความต่อเนื่องในการจัดทำ�บริการสาธารณะ  ทั้งนี้
ตามที่กฎหมายบัญญัติ
	 การจำ�กัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง          
จะกระทำ�มิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติ
แห่งกฎหมาย  เฉพาะเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวม
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ

More Related Content

Viewers also liked

ลั้ลลา เชียงใหม่
ลั้ลลา  เชียงใหม่ลั้ลลา  เชียงใหม่
ลั้ลลา เชียงใหม่Pim Suda
 
เข็มทิศสู่ความสำเร็จWhy4life
เข็มทิศสู่ความสำเร็จWhy4lifeเข็มทิศสู่ความสำเร็จWhy4life
เข็มทิศสู่ความสำเร็จWhy4lifepyopyo
 
สไลด์ วันรัฐธรรมนูญ ป.4+472+dltvsocp4+55t2soc p04 f23-1page
สไลด์  วันรัฐธรรมนูญ ป.4+472+dltvsocp4+55t2soc p04 f23-1pageสไลด์  วันรัฐธรรมนูญ ป.4+472+dltvsocp4+55t2soc p04 f23-1page
สไลด์ วันรัฐธรรมนูญ ป.4+472+dltvsocp4+55t2soc p04 f23-1pagePrachoom Rangkasikorn
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวันกฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวันEyezz Alazy
 
แผน10 นวัตกรรม บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผน10 นวัตกรรม  บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงแผน10 นวัตกรรม  บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผน10 นวัตกรรม บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงJirathorn Buenglee
 
6 พฤติกรรมสุขภาพ
6 พฤติกรรมสุขภาพ6 พฤติกรรมสุขภาพ
6 พฤติกรรมสุขภาพWatcharin Chongkonsatit
 
9 การให้สุขศึกษา
9 การให้สุขศึกษา9 การให้สุขศึกษา
9 การให้สุขศึกษาWatcharin Chongkonsatit
 

Viewers also liked (11)

Media law/1
Media law/1Media law/1
Media law/1
 
10_words
10_words10_words
10_words
 
ลั้ลลา เชียงใหม่
ลั้ลลา  เชียงใหม่ลั้ลลา  เชียงใหม่
ลั้ลลา เชียงใหม่
 
เข็มทิศสู่ความสำเร็จWhy4life
เข็มทิศสู่ความสำเร็จWhy4lifeเข็มทิศสู่ความสำเร็จWhy4life
เข็มทิศสู่ความสำเร็จWhy4life
 
Soc
SocSoc
Soc
 
สไลด์ วันรัฐธรรมนูญ ป.4+472+dltvsocp4+55t2soc p04 f23-1page
สไลด์  วันรัฐธรรมนูญ ป.4+472+dltvsocp4+55t2soc p04 f23-1pageสไลด์  วันรัฐธรรมนูญ ป.4+472+dltvsocp4+55t2soc p04 f23-1page
สไลด์ วันรัฐธรรมนูญ ป.4+472+dltvsocp4+55t2soc p04 f23-1page
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวันกฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวันกฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
 
แผน10 นวัตกรรม บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผน10 นวัตกรรม  บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงแผน10 นวัตกรรม  บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผน10 นวัตกรรม บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
 
6 พฤติกรรมสุขภาพ
6 พฤติกรรมสุขภาพ6 พฤติกรรมสุขภาพ
6 พฤติกรรมสุขภาพ
 
9 การให้สุขศึกษา
9 การให้สุขศึกษา9 การให้สุขศึกษา
9 การให้สุขศึกษา
 

Similar to รัฐธรรมนูญ

รัฐะรรมนูญแห่งราชณาจักรไทย 2550
รัฐะรรมนูญแห่งราชณาจักรไทย 2550รัฐะรรมนูญแห่งราชณาจักรไทย 2550
รัฐะรรมนูญแห่งราชณาจักรไทย 2550Thanaphatchai Buakla
 
รัฐธรรมนูญชั่วคราว 57
รัฐธรรมนูญชั่วคราว 57รัฐธรรมนูญชั่วคราว 57
รัฐธรรมนูญชั่วคราว 57Assanee Rattanachai
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗Totsaporn Inthanin
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557Option Converter
 
เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557
เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557
เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557ประพันธ์ เวารัมย์
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2557
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2557รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2557
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2557Sarawoot Suriyaphom
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทยsangworn
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทยsangworn
 
รัฐธรรมนูญใหม่ชีวิตใหม่สำหรับคนพิการจริงหรือ
รัฐธรรมนูญใหม่ชีวิตใหม่สำหรับคนพิการจริงหรือรัฐธรรมนูญใหม่ชีวิตใหม่สำหรับคนพิการจริงหรือ
รัฐธรรมนูญใหม่ชีวิตใหม่สำหรับคนพิการจริงหรือNanthapong Sornkaew
 
กฎหมาย
กฎหมายกฎหมาย
กฎหมายmarena06008
 
คำร้องถึงอัยการสูงสุด
คำร้องถึงอัยการสูงสุดคำร้องถึงอัยการสูงสุด
คำร้องถึงอัยการสูงสุดChor Chang
 
ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520
ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520
ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520Pandit Chan
 
พรก.ว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูป
พรก.ว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปพรก.ว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูป
พรก.ว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปPalida Sookjai
 
Public health and the constitution (1)
Public health and the constitution (1)Public health and the constitution (1)
Public health and the constitution (1)Medical Student, GCM
 
ข้อสอบวัดเชาว์ปัญญา
ข้อสอบวัดเชาว์ปัญญาข้อสอบวัดเชาว์ปัญญา
ข้อสอบวัดเชาว์ปัญญาpeter dontoom
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560ประพันธ์ เวารัมย์
 

Similar to รัฐธรรมนูญ (20)

กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550
กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550
กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550
 
รัฐะรรมนูญแห่งราชณาจักรไทย 2550
รัฐะรรมนูญแห่งราชณาจักรไทย 2550รัฐะรรมนูญแห่งราชณาจักรไทย 2550
รัฐะรรมนูญแห่งราชณาจักรไทย 2550
 
รัฐธรรมนูญชั่วคราว 57
รัฐธรรมนูญชั่วคราว 57รัฐธรรมนูญชั่วคราว 57
รัฐธรรมนูญชั่วคราว 57
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
 
รัฐธรรมนูญ57
รัฐธรรมนูญ57รัฐธรรมนูญ57
รัฐธรรมนูญ57
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
 
เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557
เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557
เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2557
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2557รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2557
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2557
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทย
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทย
 
รัฐธรรมนูญใหม่ชีวิตใหม่สำหรับคนพิการจริงหรือ
รัฐธรรมนูญใหม่ชีวิตใหม่สำหรับคนพิการจริงหรือรัฐธรรมนูญใหม่ชีวิตใหม่สำหรับคนพิการจริงหรือ
รัฐธรรมนูญใหม่ชีวิตใหม่สำหรับคนพิการจริงหรือ
 
กฎหมาย
กฎหมายกฎหมาย
กฎหมาย
 
คำร้องถึงอัยการสูงสุด
คำร้องถึงอัยการสูงสุดคำร้องถึงอัยการสูงสุด
คำร้องถึงอัยการสูงสุด
 
ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520
ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520
ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520
 
พรก.ว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูป
พรก.ว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปพรก.ว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูป
พรก.ว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูป
 
Public health and the constitution (1)
Public health and the constitution (1)Public health and the constitution (1)
Public health and the constitution (1)
 
M1 unit 2
M1 unit 2M1 unit 2
M1 unit 2
 
ข้อสอบวัดเชาว์ปัญญา
ข้อสอบวัดเชาว์ปัญญาข้อสอบวัดเชาว์ปัญญา
ข้อสอบวัดเชาว์ปัญญา
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
 
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ถามตอบ 115 ข้อ
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  ถามตอบ 115  ข้อแนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  ถามตอบ 115  ข้อ
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ถามตอบ 115 ข้อ
 

More from Princess Chulabhon's College Chonburi

กำหนดการปฐมนิเทศค่ายเตรียมความพร้อมปี57
กำหนดการปฐมนิเทศค่ายเตรียมความพร้อมปี57กำหนดการปฐมนิเทศค่ายเตรียมความพร้อมปี57
กำหนดการปฐมนิเทศค่ายเตรียมความพร้อมปี57Princess Chulabhon's College Chonburi
 
ใบความรู้ที่ 005 ความขัดแย้งในสังคมไทย
ใบความรู้ที่ 005 ความขัดแย้งในสังคมไทยใบความรู้ที่ 005 ความขัดแย้งในสังคมไทย
ใบความรู้ที่ 005 ความขัดแย้งในสังคมไทยPrincess Chulabhon's College Chonburi
 
ใบความรู้ที่ 004 ระบอบการปกครองแบบต่างๆ
ใบความรู้ที่ 004 ระบอบการปกครองแบบต่างๆใบความรู้ที่ 004 ระบอบการปกครองแบบต่างๆ
ใบความรู้ที่ 004 ระบอบการปกครองแบบต่างๆPrincess Chulabhon's College Chonburi
 
ใบความรู้ที่ 003 ลักษณะความผิดทางอาญา
ใบความรู้ที่ 003 ลักษณะความผิดทางอาญาใบความรู้ที่ 003 ลักษณะความผิดทางอาญา
ใบความรู้ที่ 003 ลักษณะความผิดทางอาญาPrincess Chulabhon's College Chonburi
 
ใบความรู้ที่ 002 สิทธิมนุษยชน
ใบความรู้ที่ 002 สิทธิมนุษยชนใบความรู้ที่ 002 สิทธิมนุษยชน
ใบความรู้ที่ 002 สิทธิมนุษยชนPrincess Chulabhon's College Chonburi
 
ใบความรู้ที่ 001 บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ใบความรู้ที่ 001 บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญใบความรู้ที่ 001 บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ใบความรู้ที่ 001 บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญPrincess Chulabhon's College Chonburi
 
องค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ
องค์การรัฐสภาระหว่างประเทศองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ
องค์การรัฐสภาระหว่างประเทศPrincess Chulabhon's College Chonburi
 
ใบความรู้ที่ 5 เรื่อง อารยธรรมอิสลาม
ใบความรู้ที่ 5  เรื่อง  อารยธรรมอิสลามใบความรู้ที่ 5  เรื่อง  อารยธรรมอิสลาม
ใบความรู้ที่ 5 เรื่อง อารยธรรมอิสลามPrincess Chulabhon's College Chonburi
 
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง ที่ตั้งอารยธรรมจีน
ใบความรู้ที่ 3  เรื่อง  ที่ตั้งอารยธรรมจีนใบความรู้ที่ 3  เรื่อง  ที่ตั้งอารยธรรมจีน
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง ที่ตั้งอารยธรรมจีนPrincess Chulabhon's College Chonburi
 
ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง สภาพเหตุการณ์ปลายสมัยธนบุรี
ใบความรู้ที่ 2  เรื่อง  สภาพเหตุการณ์ปลายสมัยธนบุรีใบความรู้ที่ 2  เรื่อง  สภาพเหตุการณ์ปลายสมัยธนบุรี
ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง สภาพเหตุการณ์ปลายสมัยธนบุรีPrincess Chulabhon's College Chonburi
 
ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง พัฒนาการทางสังคมสมัยอยุธยา
ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง พัฒนาการทางสังคมสมัยอยุธยาใบความรู้ที่ 4 เรื่อง พัฒนาการทางสังคมสมัยอยุธยา
ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง พัฒนาการทางสังคมสมัยอยุธยาPrincess Chulabhon's College Chonburi
 
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยาใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยาPrincess Chulabhon's College Chonburi
 
ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง การประเมินและการตีความหลักฐาน
ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง การประเมินและการตีความหลักฐานใบความรู้ที่ 2 เรื่อง การประเมินและการตีความหลักฐาน
ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง การประเมินและการตีความหลักฐานPrincess Chulabhon's College Chonburi
 
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์Princess Chulabhon's College Chonburi
 

More from Princess Chulabhon's College Chonburi (20)

กำหนดการปฐมนิเทศค่ายเตรียมความพร้อมปี57
กำหนดการปฐมนิเทศค่ายเตรียมความพร้อมปี57กำหนดการปฐมนิเทศค่ายเตรียมความพร้อมปี57
กำหนดการปฐมนิเทศค่ายเตรียมความพร้อมปี57
 
ใบความรู้ที่ 005 ความขัดแย้งในสังคมไทย
ใบความรู้ที่ 005 ความขัดแย้งในสังคมไทยใบความรู้ที่ 005 ความขัดแย้งในสังคมไทย
ใบความรู้ที่ 005 ความขัดแย้งในสังคมไทย
 
ใบความรู้ที่ 004 ระบอบการปกครองแบบต่างๆ
ใบความรู้ที่ 004 ระบอบการปกครองแบบต่างๆใบความรู้ที่ 004 ระบอบการปกครองแบบต่างๆ
ใบความรู้ที่ 004 ระบอบการปกครองแบบต่างๆ
 
ใบความรู้ที่ 003 ลักษณะความผิดทางอาญา
ใบความรู้ที่ 003 ลักษณะความผิดทางอาญาใบความรู้ที่ 003 ลักษณะความผิดทางอาญา
ใบความรู้ที่ 003 ลักษณะความผิดทางอาญา
 
ใบความรู้ที่ 002 สิทธิมนุษยชน
ใบความรู้ที่ 002 สิทธิมนุษยชนใบความรู้ที่ 002 สิทธิมนุษยชน
ใบความรู้ที่ 002 สิทธิมนุษยชน
 
ใบความรู้ที่ 001 บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ใบความรู้ที่ 001 บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญใบความรู้ที่ 001 บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ใบความรู้ที่ 001 บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
 
องค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ
องค์การรัฐสภาระหว่างประเทศองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ
องค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ
 
รวมข้อบังคับการประชุม
รวมข้อบังคับการประชุมรวมข้อบังคับการประชุม
รวมข้อบังคับการประชุม
 
Binder asean book
Binder asean bookBinder asean book
Binder asean book
 
ประเทศไทยกับอาเซียน
ประเทศไทยกับอาเซียนประเทศไทยกับอาเซียน
ประเทศไทยกับอาเซียน
 
อาเซียนมินิบุ๊ค
อาเซียนมินิบุ๊คอาเซียนมินิบุ๊ค
อาเซียนมินิบุ๊ค
 
ฉันและเธอ เราคืออาเซียน
ฉันและเธอ เราคืออาเซียนฉันและเธอ เราคืออาเซียน
ฉันและเธอ เราคืออาเซียน
 
ฉันและเธอ เราคืออาเซียน
ฉันและเธอ เราคืออาเซียนฉันและเธอ เราคืออาเซียน
ฉันและเธอ เราคืออาเซียน
 
ใบความรู้ที่ 5 เรื่อง อารยธรรมอิสลาม
ใบความรู้ที่ 5  เรื่อง  อารยธรรมอิสลามใบความรู้ที่ 5  เรื่อง  อารยธรรมอิสลาม
ใบความรู้ที่ 5 เรื่อง อารยธรรมอิสลาม
 
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง ที่ตั้งอารยธรรมจีน
ใบความรู้ที่ 3  เรื่อง  ที่ตั้งอารยธรรมจีนใบความรู้ที่ 3  เรื่อง  ที่ตั้งอารยธรรมจีน
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง ที่ตั้งอารยธรรมจีน
 
ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง สภาพเหตุการณ์ปลายสมัยธนบุรี
ใบความรู้ที่ 2  เรื่อง  สภาพเหตุการณ์ปลายสมัยธนบุรีใบความรู้ที่ 2  เรื่อง  สภาพเหตุการณ์ปลายสมัยธนบุรี
ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง สภาพเหตุการณ์ปลายสมัยธนบุรี
 
ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง พัฒนาการทางสังคมสมัยอยุธยา
ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง พัฒนาการทางสังคมสมัยอยุธยาใบความรู้ที่ 4 เรื่อง พัฒนาการทางสังคมสมัยอยุธยา
ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง พัฒนาการทางสังคมสมัยอยุธยา
 
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยาใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา
 
ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง การประเมินและการตีความหลักฐาน
ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง การประเมินและการตีความหลักฐานใบความรู้ที่ 2 เรื่อง การประเมินและการตีความหลักฐาน
ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง การประเมินและการตีความหลักฐาน
 
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์
 

รัฐธรรมนูญ

  • 1.
  • 3. เรื่อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปีที่พิมพ์ ธันวาคม ๒๕๕๕ จำ�นวนหน้า ๓๔๐ หน้า พิมพ์ครั้งที่ ๒ จำ�นวนพิมพ์ ๓๐,๐๐๐ เล่ม จัดทำ�โดย กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำ�นักประชาสัมพันธ์ สำ�นักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๒๙๔-๕ โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๒๙๒ พิสูจน์อักษร นางสาวทัศนีย์ สมมิตร์ ศิลปกรรม นายมานะ เรืองสอน พิมพ์ที่ สำ�นักการพิมพ์ สำ�นักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • 4. สารบัญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๙ หมวด ๑ บททั่วไป ๑๕ หมวด ๒ พระมหากษัตริย์ ๑๖ หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ๒๖ ส่วนที่ ๑ บททั่วไป ๒๖ ส่วนที่ ๒ ความเสมอภาค ๒๘ ส่วนที่ ๓ สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล ๓๐ ส่วนที่ ๔ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม ๓๔ ส่วนที่ ๕ สิทธิในทรัพย์สิน ๓๗ ส่วนที่ ๖ สิทธิและเสรีภาพ ในการประกอบอาชีพ ๓๙ ส่วนที่ ๗ เสรีภาพในการแสดง ความคิดเห็นของบุคคล และสื่อมวลชน ๔๐ ส่วนที่ ๘ สิทธิและเสรีภาพ ในการศึกษา ๔๕
  • 5. ส่วนที่ ๙ สิทธิในการได้รับบริการ สาธารณสุขและสวัสดิการ จากรัฐ ๔๖ ส่วนที่ ๑๐ สิทธิในข้อมูลข่าวสาร และการร้องเรียน ๔๘ ส่วนที่ ๑๑ เสรีภาพในการชุมนุม และการสมาคม ๕๑ ส่วนที่ ๑๒ สิทธิชุมชน ๕๔ ส่วนที่ ๑๓ สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ๕๖ หมวด ๔ หน้าที่ของชนชาวไทย ๕๘ หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ๖๐ ส่วนที่ ๑ บททั่วไป ๖๐ ส่วนที่ ๒ แนวนโยบายด้าน ความมั่นคงของรัฐ ๖๑ ส่วนที่ ๓ แนวนโยบายด้าน การบริหารราชการแผ่นดิน ๖๒ ส่วนที่ ๔ แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม ๖๕
  • 6. ส่วนที่ ๕ แนวนโยบายด้านกฎหมาย และการยุติธรรม ๖๘ ส่วนที่ ๖ แนวนโยบายด้าน การต่างประเทศ ๖๙ ส่วนที่ ๗ แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ๗๐ ส่วนที่ ๘ แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ๗๔ ส่วนที่ ๙ แนวนโยบายด้าน วิทยาศาสตร์ ทรัพย์สิน ทางปัญญา และพลังงาน ๗๖ ส่วนที่ ๑๐ แนวนโยบายด้านการมี ส่วนร่วมของประชาชน ๗๘ หมวด ๖ รัฐสภา ๘๐ ส่วนที่ ๑ บททั่วไป ๘๐ ส่วนที่ ๒ สภาผู้แทนราษฎร ๘๔ ส่วนที่ ๓ วุฒิสภา ๑๐๔ ส่วนที่ ๔ บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง ๑๑๕
  • 7. ส่วนที่ ๕ การประชุมร่วมกันของ รัฐสภา ๑๒๙ ส่วนที่ ๖ การตราพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญ ๑๓๑ ส่วนที่ ๗ การตราพระราชบัญญัติ ๑๓๕ ส่วนที่ ๘ การควบคุมการตรากฎหมาย ที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ๑๔๘ ส่วนที่ ๙ การควบคุมการบริหาร ราชการแผ่นดิน ๑๕๑ หมวด ๗ การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง ของประชาชน ๑๕๗ หมวด ๘ การเงิน การคลัง และงบประมาณ ๑๖๐ หมวด ๙ คณะรัฐมนตรี ๑๖๗ หมวด ๑๐ ศาล ๑๘๕ ส่วนที่ ๑ บททั่วไป ๑๘๕ ส่วนที่ ๒ ศาลรัฐธรรมนูญ ๑๘๙ ส่วนที่ ๓ ศาลยุติธรรม ๒๐๔ ส่วนที่ ๔ ศาลปกครอง ๒๐๘ ส่วนที่ ๕ ศาลทหาร ๒๑๒
  • 8. หมวด ๑๑ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ๒๑๓ ส่วนที่ ๑ องค์กรอิสระตาม รัฐธรรมนูญ ๒๑๓ ๑. คณะกรรมการ การเลือกตั้ง ๒๑๓ ๒. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ๒๓๐ ๓. คณะกรรมการป้องกัน และปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ ๒๓๕ ๔. คณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน ๒๔๓ ส่วนที่ ๒ องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ๒๔๖ ๑. องค์กรอัยการ ๒๔๖ ๒. คณะกรรมการสิทธิ มนุษยชนแห่งชาติ ๒๔๘ ๓. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ๒๕๒ หมวด ๑๒ การตรวจสอบการใช้อำ�นาจรัฐ ๒๕๓ ส่วนที่ ๑ การตรวจสอบทรัพย์สิน ๒๕๓
  • 9. ส่วนที่ ๒ การกระทำ�ที่เป็นการขัดกัน แห่งผลประโยชน์ ๒๕๙ ส่วนที่ ๓ การถอดถอนจากตำ�แหน่ง ๒๖๔ ส่วนที่ ๔ การดำ�เนินคดีอาญาผู้ดำ�รง ตำ�แหน่งทางการเมือง ๒๖๙ หมวด ๑๓ จริยธรรมของผู้ดำ�รงตำ�แหน่งทาง การเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ๒๗๕ หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น ๒๗๗ หมวด ๑๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ๒๘๘ บทเฉพาะกาล ๒๙๑ ภาคผนวก ๓๑๕ - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๓๑๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๔ - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๓๓๓ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๕๔
  • 11.
  • 12. 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ตราไว้ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน ศุภมัสดุ  พระพุทธศาสนกาลเป็นอดีตภาค  ๒๕๕๐ พรรษา ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม สูกรสมพัตสร สาวนมาส ชุณหปักษ์  เอกาทสีดิถี  สุริยคติกาล  สิงหาคมมาส จตุวีสติมสุรทิน ศุกรวาร โดยกาลบริเฉท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี  จักรีนฤบดินทร  สยามินทรา ธิราช  บรมนาถบพิตร  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม  ให้ประกาศว่า  ประธานสภา
  • 13. 12 นิติบัญญัติแห่งชาติได้นำ�ความกราบบังคมทูลว่า  การปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ดำ�เนินวัฒนา มากว่าเจ็ดสิบห้าปี  ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา  ได้มีการ ประกาศใช้  ยกเลิก  และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หลายครั้ง  เพื่อให้เหมาะสมแก่สภาวการณ์ของ บ้านเมืองและกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป  และโดยที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช  ๒๕๔๙ ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้น  มีหน้าที่จัด ทำ�ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับสำ�หรับเป็นแนวทาง การปกครองประเทศ  โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอนและนำ�  ความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นข้อคำ�นึงพิเศษในการ ยกร่างและพิจารณาแปรญัตติโดยต่อเนื่อง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จัดทำ�ใหม่นี้มีสาระสำ�คัญ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันของประชาชนชาวไทย ในการธำ�รงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ การทำ�นุบำ�รุงรักษาศาสนาทุกศาสนาให้สถิตสถาพร 
  • 14. 13 การเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและเป็นมิ่งขวัญ ของชาติ  การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางในการ ปกครองประเทศ  การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน  ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมใน การปกครอง  และตรวจสอบการใช้อำ�นาจรัฐอย่างเป็น รูปธรรม  การกำ�หนดกลไกสถาบันทางการเมือง  ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร  ให้มีดุลยภาพและ ประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา  รวมทั้ง ให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม เมื่อจัดทำ�ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว  สภาร่าง รัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มี การออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบแก่ร่าง รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ  การออกเสียงลงประชามติปรากฏ ผลว่า  ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของ ผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นำ�ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่มาใช้บังคับ  ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จึงนำ�ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
  • 15. 14 เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย  ให้ประกาศใช้เป็น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป  ทรงพระ ราชดำ�ริว่าสมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติตาม มติของมหาชน จึงมีพระบรมราชโองการดำ�รัสเหนือเกล้าเหนือ กระหม่อมให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับนี้ขึ้นไว้  ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย  (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ ตั้งแต่วันประกาศ นี้เป็นต้นไป ขอปวงชนชาวไทย  จงมีความสมัครสโมสรเป็น เอกฉันท์  ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้  เพื่อธำ�รงคงไว้ซึ่ง ระบอบประชาธิปไตยและอำ�นาจอธิปไตยของปวงชน ชาวไทย  และนำ�มาซึ่งความผาสุกสิริสวัสดิ์พิพัฒน ชัยมงคลอเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพรแก่อาณา ประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา  สมดั่งพระบรมราช ปณิธานปรารถนาทุกประการ เทอญ
  • 16. 15 หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร อันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาตรา ๓ อำ�นาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ชาวไทย  พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้ อำ�นาจนั้นทางรัฐสภา  คณะรัฐมนตรี  และศาล  ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา  คณะรัฐมนตรี  ศาล  รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ  และหน่วยงาน ของรัฐ  ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  สิทธิ เสรีภาพ  และความเสมอภาคของบุคคล  ย่อมได้รับ ความคุ้มครอง
  • 17. 16 มาตรา ๕ ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่า กำ�เนิด  เพศ  หรือศาสนาใด  ย่อมอยู่ในความคุ้มครอง แห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน มาตรา ๖ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ของประเทศ  บทบัญญัติใดของกฎหมาย  กฎ  หรือ ข้อบังคับ  ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้  บทบัญญัตินั้น เป็นอันใช้บังคับมิได้ มาตรา ๗ ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด  ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไป ตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หมวด ๒ พระมหากษัตริย์ มาตรา ๘ องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำ�รงอยู่ ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
  • 18. 17 ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ ในทางใด ๆ มิได้ มาตรา ๙ พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ ท ร ง เ ป็ น พุทธมามกะ  และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก มาตรา ๑๐ พระมหากษัตริย์ทรงดำ�รง ตำ�แหน่งจอมทัพไทย มาตรา ๑๑ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราช อำ�นาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มาตรา ๑๒ พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและ ทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคนประกอบเป็น คณะองคมนตรี คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อ พระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวง  ที่พระมหา กษัตริย์ทรงปรึกษา  และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติใน รัฐธรรมนูญนี้
  • 19. 18 มาตรา ๑๓ การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรี หรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำ�แหน่งให้เป็นไปตาม พระราชอัธยาศัย ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรม ราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือให้ประธาน องคมนตรีพ้นจากตำ�แหน่ง ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนอง พระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่นหรือให้ องคมนตรีอื่นพ้นจากตำ�แหน่ง มาตรา ๑๔ องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน  กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ตุลาการศาลปกครอง  กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน  ข้าราชการซึ่งมีตำ�แหน่ง หรือเงินเดือนประจำ�  พนักงานรัฐวิสาหกิจ  เจ้าหน้าที่ อื่นของรัฐ  หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของ พรรคการเมือง  และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ใน พรรคการเมืองใด ๆ
  • 20. 19 มาตรา ๑๕ ก่อนเข้ารับหน้าที่  องคมนตรีต้อง ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำ� ดังต่อไปนี้ “ข้าพระพุทธเจ้า  (ชื่อผู้ปฏิญาณ)  ขอถวาย สัตย์ปฏิญาณว่า  ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อ พระมหากษัตริย์  และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต  เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน  ทั้งจะ รักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทยทุกประการ” มาตรา ๑๖ องคมนตรีพ้นจากตำ�แหน่งเมื่อตาย  ลาออก  หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำ�แหน่ง มาตรา ๑๗ การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการ ในพระองค์และสมุหราชองครักษ์พ้นจากตำ�แหน่ง  ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย มาตรา ๑๘ ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ ประทับอยู่ในราชอาณาจักร  หรือจะทรงบริหารพระราช ภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม  จะได้ทรงแต่งตั้งผู้ใด ผู้หนึ่งเป็นผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์  และให้ประธาน รัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
  • 21. 20 มาตรา ๑๙ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรง แต่งตั้งผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา ๑๘ หรือ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถทรงแต่งตั้งผู้สำ�เร็จ ราชการแทนพระองค์เพราะยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะหรือ เพราะเหตุอื่น  ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งสมควรดำ�รงตำ�แหน่งผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์ ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ  เมื่อรัฐสภาให้ ความเห็นชอบแล้ว  ให้ประธานรัฐสภาประกาศใน พระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์  แต่งตั้งผู้นั้นเป็น ผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์ ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือ สภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ  ให้วุฒิสภาทำ�หน้าที่รัฐสภา ในการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๒๐ ในระหว่างที่ไม่มีผู้สำ�เร็จราชการ แทนพระองค์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙  ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำ�เร็จราชการแทน พระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน ในกรณีที่ผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับ การแต่งตั้งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ ไม่สามารถ
  • 22. 21 ปฏิบัติหน้าที่ได้  ให้ประธานองคมนตรีทำ�หน้าที่ผู้สำ�เร็จ ราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน ในระหว่างที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำ�เร็จ ราชการแทนพระองค์ตามวรรคหนึ่ง  หรือในระหว่างที่ ประธานองคมนตรีทำ�หน้าที่ผู้สำ�เร็จราชการแทน พระองค์ตามวรรคสอง  ประธานองคมนตรีจะปฏิบัติ หน้าที่ในฐานะเป็นประธานองคมนตรีมิได้  ในกรณี เช่นว่านี้  ให้คณะองคมนตรีเลือกองคมนตรีคนหนึ่งขึ้น ทำ�หน้าที่ประธานองคมนตรีเป็นการชั่วคราวไปพลาง ก่อน มาตรา ๒๑ ก่อนเข้ารับหน้าที่  ผู้สำ�เร็จ ราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา  ๑๘  หรือ  มาตรา  ๑๙  ต้องปฏิญาณตนในที่ประชุม รัฐสภาด้วยถ้อยคำ� ดังต่อไปนี้ “ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้า จะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์  (พระปรมาภิไธย)  และ จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  เพื่อประโยชน์ ของประเทศและประชาชน  ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตาม ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”
  • 23. 22 ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือ สภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ  ให้วุฒิสภาทำ�หน้าที่รัฐสภา ตามมาตรานี้ มาตรา ๒๒ ภายใต้บังคับมาตรา  ๒๓  การสืบ ราชสมบัติให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วย การสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ การแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วย การสืบราชสันตติวงศ์  พระพุทธศักราช  ๒๔๖๗  เป็น พระราชอำ�นาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ  เมื่อมี พระราชดำ�ริประการใด  ให้คณะองคมนตรีจัดทำ�ร่าง กฎมณเฑียรบาลแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลเดิม ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อมีพระราชวินิจฉัย  เมื่อทรงเห็นชอบและทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว  ให้ประธานองคมนตรีดำ�เนินการแจ้งประธานรัฐสภาเพื่อ ให้ประธานรัฐสภาแจ้งให้รัฐสภาทราบ  และให้ประธาน รัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และเมื่อได้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว  ให้ใช้บังคับเป็น กฎหมายได้
  • 24. 23 ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือ สภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ  ให้วุฒิสภาทำ�หน้าที่รัฐสภา ในการรับทราบตามวรรคสอง มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลง และเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้ง พระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วย การสืบราชสันตติวงศ์  พระพุทธศักราช  ๒๔๖๗  แล้ว  ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ  และให้ ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบ  และให้ ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป  แล้วให้ประธานรัฐสภา ประกาศให้ประชาชนทราบ ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่ พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตาม วรรคหนึ่ง  ให้คณะองคมนตรีเสนอพระนามผู้สืบราช สันตติวงศ์ตามมาตรา  ๒๒  ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอ ต่อรัฐสภาเพื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบ  ในการนี้  จะเสนอพระนามพระราชธิดาก็ได้  เมื่อรัฐสภาให้ ความเห็นชอบแล้ว  ให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์ผู้สืบ
  • 25. 24 ราชสันตติวงศ์ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป  แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือ สภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ  ให้วุฒิสภาทำ�หน้าที่รัฐสภาใน การรับทราบตามวรรคหนึ่งหรือให้ความเห็นชอบตาม วรรคสอง มาตรา ๒๔ ในระหว่างที่ยังไม่มีประกาศ อัญเชิญองค์พระรัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ตามมาตรา  ๒๓  ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์ เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน  แต่ในกรณีที่ราชบัลลังก์ ว่างลงในระหว่างที่ได้แต่งตั้งผู้สำ�เร็จราชการแทน พระองค์ไว้ตามมาตรา  ๑๘  หรือ  มาตรา  ๑๙  หรือ ระหว่างเวลาที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำ�เร็จราชการ แทนพระองค์ตามมาตรา  ๒๐  วรรคหนึ่ง  ให้ผู้สำ�เร็จ ราชการแทนพระองค์นั้น  ๆ  แล้วแต่กรณี  เป็นผู้สำ�เร็จ ราชการแทนพระองค์ต่อไป ทั้งนี้ จนกว่าจะได้ประกาศ อัญเชิญองค์พระรัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์
  • 26. 25 ในกรณีที่ผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับ การแต่งตั้งไว้และเป็นผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์ ต่อไปตามวรรคหนึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้  ให้ ประธานองคมนตรีทำ�หน้าที่ผู้สำ�เร็จราชการแทน พระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน ในกรณีที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำ�เร็จราชการ แทนพระองค์ตามวรรคหนึ่ง  หรือทำ�หน้าที่ผู้สำ�เร็จ ราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวตามวรรคสอง  ให้นำ�บทบัญญัติมาตรา ๒๐ วรรคสาม มาใช้บังคับ มาตรา ๒๕ ในกรณีที่คณะองคมนตรีจะต้อง ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา  ๑๙  หรือมาตรา  ๒๓  วรรคสอง  หรือประธานองคมนตรีจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตาม มาตรา  ๒๐  วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง หรือมาตรา ๒๔ วรรคสอง  และอยู่ในระหว่างที่ไม่มีประธานองคมนตรี หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้คณะองคมนตรี ที่เหลืออยู่เลือกองคมนตรีคนหนึ่งเพื่อทำ�หน้าที่ ประธานองคมนตรี  หรือปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา  ๒๐ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือตามมาตรา ๒๔ วรรคสาม แล้วแต่กรณี
  • 27. 26 หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ส่วนที่ ๑ บททั่วไป มาตรา ๒๖ การใช้อำ�นาจโดยองค์กรของรัฐ ทุกองค์กร  ต้องคำ�นึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  สิทธิ และเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ มาตรา ๒๗ สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้ รับรองไว้โดยชัดแจ้ง  โดยปริยายหรือโดยคำ�วินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญ  ย่อมได้รับความคุ้มครองและ ผูกพันรัฐสภา  คณะรัฐมนตรี  ศาล  รวมทั้งองค์กรตาม รัฐธรรมนูญ  และหน่วยงานของรัฐโดยตรงในการตรา กฎหมาย  การใช้บังคับกฎหมาย  และการตีความ กฎหมายทั้งปวง มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิด
  • 28. 27 สิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น  ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อ รัฐธรรมนูญ  หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้ รับรองไว้  สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อ ใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ บุคคลย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้ รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้ได้โดยตรง หากการใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องใดมีกฎหมายบัญญัติ รายละเอียดแห่งการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่ รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้แล้ว  ให้การใช้สิทธิและเสรีภาพ ในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการส่งเสริม  สนับสนุน และช่วยเหลือจากรัฐ ในการใช้สิทธิตามความในหมวดนี้ มาตรา ๒๙ การจำ�กัดสิทธิและเสรีภาพของ บุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้  จะกระทำ�มิได้  เว้นแต่ โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  เฉพาะ เพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำ�หนดไว้และเท่าที่จำ�เป็น  และ จะกระทบกระเทือนสาระสำ�คัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้น มิได้
  • 29. 28 กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้บังคับ เป็นการทั่วไป  และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใด กรณีหนึ่ง  หรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง  ทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำ�นาจ ในการตรากฎหมายนั้นด้วย บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสองให้นำ�มาใช้ บังคับกับกฎที่ออกโดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายด้วยโดยอนุโลม ส่วนที่ ๒ ความเสมอภาค มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล  เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำ�เนิด เชื้อชาติ ภาษา  เพศ  อายุ  ความพิการ  สภาพทางกายหรือ
  • 30. 29 สุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา  การศึกษาอบรม  หรือความคิด เห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำ�มิได้ มาตรการที่รัฐกำ�หนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือ ส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้ เช่นเดียวกับบุคคลอื่น  ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม มาตรา ๓๑ บุคคลผู้เป็นทหาร  ตำ�รวจ ข้าราชการ  เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ  และพนักงานหรือ ลูกจ้างขององค์กรของรัฐ  ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตาม รัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป  เว้นแต่ที่จำ�กัด ไว้ในกฎหมายหรือกฎที่ออกโดยอาศัยอำ�นาจตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมาย  เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับ การเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม
  • 31. 30 ส่วนที่ ๓ สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล มาตรา ๓๒ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพ ในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วย วิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม  จะกระทำ�มิได้  แต่การลงโทษตามคำ�พิพากษาของศาลหรือตามที่ กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการ โหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้ การจับและการคุมขังบุคคล  จะกระทำ�มิได้ เว้นแต่มีคำ�สั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตาม ที่กฎหมายบัญญัติ การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำ�ใดอันกระทบ ต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง  จะกระทำ�มิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีที่มีการกระทำ�ซึ่งกระทบต่อสิทธิและ เสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหาย พนักงานอัยการ หรือ
  • 32. 31 บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย  มีสิทธิร้องต่อ ศาลเพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทำ�เช่นว่านั้น  รวมทั้งจะกำ�หนดวิธีการตามสมควรหรือการเยียวยา ความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้ มาตรา ๓๓ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยู่ อาศัยและครอบครองเคหสถานโดยปกติสุข การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอม ของผู้ครอบครอง  หรือการตรวจค้นเคหสถานหรือ ในที่รโหฐาน  จะกระทำ�มิได้  เว้นแต่มีคำ�สั่งหรือหมาย  ของศาล  หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๓๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการ เดินทางและมีเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายใน ราชอาณาจักร การจำ�กัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง  จะกระทำ�มิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อความมั่นคงของรัฐ  ความสงบเรียบร้อยหรือ สวัสดิภาพของประชาชน  การผังเมือง  หรือเพื่อ สวัสดิภาพของผู้เยาว์
  • 33. 32 การเนรเทศบุคคลผู้มีสัญชาติไทยออกนอก ราชอาณาจักร หรือห้ามมิให้บุคคลผู้มีสัญชาติไทยเข้ามา ในราชอาณาจักร จะกระทำ�มิได้ มาตรา ๓๕ สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ  ชื่อเสียง  ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัว  ย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความ หรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน  อันเป็น การละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว  เกียรติยศ  ชื่อเสียง  หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว  จะกระทำ�มิได้  เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง จากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคล ที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๓๖ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสาร ถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย การตรวจ  การกัก  หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่ บุคคลมีติดต่อถึงกัน รวมทั้ง การกระทำ�ด้วยประการอื่น ใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคล
  • 34. 33 มีติดต่อถึงกัน  จะกระทำ�มิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำ�นาจ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  เฉพาะเพื่อรักษาความ มั่นคงของรัฐ  หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน มาตรา ๓๗ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ใน การถือศาสนา  นิกายของศาสนา  หรือลัทธินิยมในทาง ศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม  ศาสนบัญญัติ  หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือ ของตน  เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและ ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน ในการใช้เสรีภาพตามวรรคหนึ่ง  บุคคลย่อมได้ รับความคุ้มครองมิให้รัฐกระทำ�การใด  ๆ  อันเป็นการ รอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้  เพราะเหตุ ที่ถือศาสนา  นิกายของศาสนา  ลัทธินิยมในทางศาสนา  หรือปฏิบัติตามศาสนธรรม  ศาสนบัญญัติ  หรือปฏิบัติ พิธีกรรมตามความเชื่อถือ แตกต่างจากบุคคลอื่น มาตรา ๓๘ การเกณฑ์แรงงานจะกระทำ�มิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย 
  • 35. 34 เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ อันมีมาเป็นการฉุกเฉิน  หรือโดยอาศัยอำ�นาจตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งให้กระทำ�ได้ในระหว่างเวลา ที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ  หรือใน ระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือ ประกาศใช้กฎอัยการศึก ส่วนที่ ๔ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม มาตรา ๓๙ บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ ได้กระทำ�การอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำ�นั้น บัญญัติเป็นความผิดและกำ�หนดโทษไว้  และโทษที่จะ ลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำ�หนดไว้ในกฎหมาย ที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำ�ความผิดมิได้ ในคดีอาญา  ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหา หรือจำ�เลยไม่มีความผิด
  • 36. 35 ก่อนมีคำ�พิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใด ได้กระทำ�ความผิด  จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็น ผู้กระทำ�ความผิดมิได้ มาตรา ๔๐ บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการ ยุติธรรม ดังต่อไปนี้ (๑) สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง (๒) สิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณา  ซึ่งอย่าง น้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่องการได้รับการ พิจารณาโดยเปิดเผย  การได้รับทราบข้อเท็จจริงและ ตรวจเอกสารอย่างเพียงพอ  การเสนอข้อเท็จจริง  ข้อโต้แย้ง  และพยานหลักฐานของตน  การคัดค้าน ผู้พิพากษาหรือตุลาการ  การได้รับการพิจารณาโดย ผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะ  และการได้รับทราบเหตุผลประกอบคำ�วินิจฉัย คำ�พิพากษา หรือคำ�สั่ง (๓) บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับ การพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม
  • 37. 36 (๔) ผู้เสียหาย  ผู้ต้องหา  โจทก์  จำ�เลย  คู่กรณีผู้มีส่วนได้เสีย  หรือพยานในคดีมีสิทธิได้รับการ ปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำ�เนินการตามกระบวนการ ยุติธรรม  รวมทั้งสิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่าง ถูกต้อง  รวดเร็ว  เป็นธรรม  และการไม่ให้ถ้อยคำ� เป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง (๕) ผู้เสียหาย  ผู้ต้องหา  จำ�เลย  และพยานใน คดีอาญา  มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง  และความช่วย เหลือที่จำ�เป็นและเหมาะสมจากรัฐ  ส่วนค่าตอบแทน  ค่าทดแทน  และค่าใช้จ่ายที่จำ�เป็น  ให้เป็นไปตามที่ กฎหมายบัญญัติ (๖) เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือ ทุพพลภาพ  ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในการ ดำ�เนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม  และย่อมมี สิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับ ความรุนแรงทางเพศ (๗) ในคดีอาญา  ผู้ต้องหาหรือจำ�เลยมีสิทธิ ได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง  รวดเร็ว  และเป็นธรรม  โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ 
  • 38. 37 การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตาม สมควร  การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจาก ทนายความ  และการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว (๘) ในคดีแพ่ง  บุคคลมีสิทธิได้รับความช่วย เหลือทางกฎหมายอย่างเหมาะสมจากรัฐ ส่วนที่ ๕ สิทธิในทรัพย์สิน มาตรา ๔๑ สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อม ได้รับความคุ้มครอง  ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำ�กัด สิทธิเช่นว่านี้ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ การสืบมรดกย่อมได้รับความคุ้มครอง  สิทธิของ บุคคลในการสืบมรดกย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๔๒ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะ กระทำ�มิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย  เฉพาะกิจการของรัฐเพื่อการอันเป็น สาธารณูปโภค  การอันจำ�เป็นในการป้องกันประเทศ 
  • 39. 38 การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ  การผังเมือง  การ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม  การพัฒนา การเกษตรหรือการอุตสาหกรรม  การปฏิรูปที่ดิน  การอนุรักษ์โบราณสถานและแหล่งทางประวัติศาสตร์  หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น  และต้องชดใช้ ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของ ตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหาย จากการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ การกำ�หนดค่าทดแทนตามวรรคหนึ่งต้อง กำ�หนดให้อย่างเป็นธรรมโดยคำ�นึงถึงราคาที่ซื้อขายกัน ตามปกติในท้องตลาด  การได้มา  สภาพและที่ตั้งของ อสังหาริมทรัพย์  ความเสียหายของผู้ถูกเวนคืน  และ ประโยชน์ที่รัฐและผู้ถูกเวนคืนได้รับจากการใช้สอย อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องระบุ วัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนและกำ�หนดระยะเวลา การเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ไว้ให้ชัดแจ้ง  ถ้ามิได้ใช้ เพื่อการนั้นภายในระยะเวลาที่กำ�หนดดังกล่าว  ต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาท
  • 40. 39 การคืนอสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าของเดิมหรือ ทายาทตามวรรคสาม  และการเรียกคืนค่าทดแทน ที่ชดใช้ไป ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ส่วนที่ ๖ สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ มาตรา ๔๓ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการ ประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขัน โดยเสรีอย่างเป็นธรรม การจำ�กัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำ�มิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเศรษฐกิจของประเทศ  การคุ้มครองประชาชนใน ด้านสาธารณูปโภค  การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน  การจัดระเบียบการ ประกอบอาชีพ  การคุ้มครองผู้บริโภค  การผังเมือง  การรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม 
  • 41. 40 สวัสดิภาพของประชาชน  หรือเพื่อป้องกันการผูกขาด หรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน มาตรา ๔๔ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกัน ความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทำ�งาน  รวมทั้ง หลักประกันในการดำ�รงชีพทั้งในระหว่างการทำ�งานและ เมื่อพ้นภาวะการทำ�งาน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ส่วนที่ ๗ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคล และสื่อมวลชน มาตรา ๔๕ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดง ความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำ�กัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำ�มิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ  เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ  เกียรติยศ  ชื่อเสียง  สิทธิในครอบครัวหรือ
  • 42. 41 ความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น  เพื่อรักษาความสงบ เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  หรือเพื่อ ป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพ ของประชาชน การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่น เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้ จะกระทำ�มิได้ การห้ามหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเสนอ ข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นทั้งหมดหรือบางส่วน  หรือการแทรกแซงด้วยวิธีการใด  ๆ  เพื่อลิดรอน เสรีภาพตามมาตรานี้  จะกระทำ�มิได้  เว้นแต่โดยอาศัย อำ�นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้น ตามวรรคสอง การให้นำ�ข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจ ก่อนนำ�ไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่น  จะกระทำ�มิได้  เว้นแต่จะกระทำ�ในระหว่างเวลา ที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม  แต่ทั้งนี้จะต้องกระทำ� โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ ตราขึ้นตามวรรคสอง
  • 43. 42 เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่น ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย การให้เงินหรือทรัพย์สินอื่นเพื่ออุดหนุนกิจการ หนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชน  รัฐจะกระทำ� มิได้ มาตรา ๔๖ พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชน ที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์  วิทยุกระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพในการ เสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำ�กัด  ตามรัฐธรรมนูญ  โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของ หน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือ เจ้าของกิจการนั้น  แต่ต้องไม่ขัดต่อจริยธรรมแห่ง การประกอบวิชาชีพ  และมีสิทธิจัดตั้งองค์กรเพื่อ ปกป้องสิทธิ  เสรีภาพและความเป็นธรรม  รวมทั้งมี กลไกควบคุมกันเองขององค์กรวิชาชีพ ข้าราชการ  พนักงาน  หรือลูกจ้างของหน่วย ราชการ  หน่วยงานของรัฐ  หรือรัฐวิสาหกิจ  ในกิจการ วิทยุกระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์  หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพเช่นเดียวกับพนักงานหรือลูกจ้างของ เอกชนตามวรรคหนึ่ง
  • 44. 43 การกระทำ�ใด ๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ของผู้ดำ�รงตำ�แหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือ เจ้าของกิจการ  อันเป็นการขัดขวางหรือแทรกแซง การเสนอข่าวหรือแสดงความคิดเห็นในประเด็น สาธารณะของบุคคลตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง  ให้ถือว่าเป็นการจงใจใช้อำ�นาจหน้าที่โดยมิชอบและ ไม่มีผลใช้บังคับ  เว้นแต่เป็นการกระทำ�เพื่อให้เป็นไป ตามกฎหมายหรือจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ มาตรา ๔๗ คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุ กระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์  และโทรคมนาคม  เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่ง ทำ�หน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง  และกำ�กับ การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์  และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ การดำ�เนินการตามวรรคสองต้องคำ�นึงถึง ประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับ ท้องถิ่น  ทั้งในด้านการศึกษา  วัฒนธรรม  ความมั่นคง ของรัฐ  ประโยชน์สาธารณะอื่น  และการแข่งขันโดยเสรี
  • 45. 44 อย่างเป็นธรรม  รวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชน มีส่วนร่วมในการดำ�เนินการสื่อมวลชนสาธารณะ การกำ�กับการประกอบกิจการตามวรรคสอง ต้องมีมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการควบรวม  การครองสิทธิข้ามสื่อ  หรือการครอบงำ�  ระหว่าง สื่อมวลชนด้วยกันเองหรือโดยบุคคลอื่นใด  ซึ่งจะมีผล เป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือ ปิดกั้นการได้รับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของ ประชาชน มาตรา ๔๘ ผู้ดำ�รงตำ�แหน่งทางการเมืองจะ เป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์  วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคม มิได้ ไม่ว่าในนามของตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการ หรือถือหุ้นแทน  หรือจะดำ�เนินการโดยวิธีการอื่นไม่ว่า โดยทางตรงหรือทางอ้อมที่สามารถบริหารกิจการ ดังกล่าวได้ในทำ�นองเดียวกับการเป็นเจ้าของกิจการ หรือถือหุ้นในกิจการดังกล่าว
  • 46. 45 ส่วนที่ ๘ สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา มาตรา ๔๙ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการ รับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้  อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือทุพพลภาพ  หรือผู้อยู่ใน สภาวะยากลำ�บาก  ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและ การสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียม กับบุคคลอื่น การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือ เอกชน  การศึกษาทางเลือกของประชาชน  การเรียนรู้ ด้วยตนเอง  และการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ย่อมได้รับความ คุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ มาตรา ๕๐ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทาง วิชาการ  การศึกษาอบรม  การเรียนการสอน  การวิจัย  และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ  ย่อมได้รับ ความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมือง หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
  • 47. 46 ส่วนที่ ๙ สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและ สวัสดิการจากรัฐ มาตรา ๕๑ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการ รับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน  และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถาน บริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุข จากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัด โรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสมโดยไม่เสีย ค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์ มาตรา ๕๒ เด็กและเยาวชน  มีสิทธิในการ อยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย  จิตใจ  และสติ ปัญญา  ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  โดยคำ�นึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน เป็นสำ�คัญ
  • 48. 47 เด็ก  เยาวชน  สตรี  และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐ  ให้ปราศจากการใช้ ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม  ทั้งมีสิทธิ ได้รับการบำ�บัดฟื้นฟูในกรณีที่มีเหตุดังกล่าว การแทรกแซงและการจำ�กัดสิทธิของเด็ก  เยาวชน  และบุคคลในครอบครัว  จะกระทำ�มิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  เฉพาะเพื่อสงวนและรักษาไว้ซึ่งสถานะของครอบครัว หรือประโยชน์สูงสุดของบุคคลนั้น เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแลมีสิทธิได้รับ การเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมที่เหมาะสมจากรัฐ มาตรา ๕๓ บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปี บริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ  มีสิทธิ ได้รับสวัสดิการ  สิ่งอำ�นวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ อย่างสมศักดิ์ศรี  และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ มาตรา ๕๔ บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการ  สิ่งอำ�นวย ความสะดวกอันเป็นสาธารณะ  และความช่วยเหลือ ที่เหมาะสมจากรัฐ
  • 49. 48 บุคคลวิกลจริตย่อมได้รับความช่วยเหลือ ที่เหมาะสมจากรัฐ มาตรา ๕๕ บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มี รายได้เพียงพอแก่การยังชีพ  ย่อมมีสิทธิได้รับ ความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ ส่วนที่ ๑๐ สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน มาตรา ๕๖ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและ เข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครอง ของหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น  เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูล หรือข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ  ความปลอดภัยของประชาชน  หรือส่วนได้เสียอันพึง ได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น  หรือเป็นข้อมูล ส่วนบุคคล ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
  • 50. 49 มาตรา ๕๗ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำ�ชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น  ก่อนการอนุญาต หรือการดำ�เนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมี ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม  สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต  หรือส่วนได้เสียสำ�คัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตน หรือชุมชนท้องถิ่น  และมีสิทธิแสดงความคิดเห็น ของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำ�ไปประกอบ การพิจารณาในเรื่องดังกล่าว การวางแผนพัฒนาสังคม  เศรษฐกิจ  การเมือง และวัฒนธรรม  การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์  การวาง ผังเมือง  การกำ�หนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน  และ การออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำ�คัญของ ประชาชน  ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำ�เนินการ มาตรา ๕๘ บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วม ในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการ ปฏิบัติราชการทางปกครองอันมีผลหรืออาจมีผลกระทบ ต่อสิทธิและเสรีภาพของตน
  • 51. 50 มาตรา ๕๙ บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราว ร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลา อันรวดเร็ว มาตรา ๖๐ บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องหน่วย ราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  ราชการ ส่วนท้องถิ่น  หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล  ให้รับผิดเนื่องจากการกระทำ�หรือการละเว้นการกระทำ� ของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น มาตรา ๖๑ สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภค ย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็น ความจริง  และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไข เยียวยาความเสียหาย  รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อ พิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็น อิสระจากหน่วยงานของรัฐ  ซึ่งประกอบด้วยตัวแทน ผู้บริโภค  ทำ�หน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการ พิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการบังคับ ใช้กฎหมายและกฎ  และให้ความเห็นในการกำ�หนด มาตรการต่าง  ๆ  เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค  รวมทั้ง
  • 52. 51 ตรวจสอบและรายงานการกระทำ�หรือละเลยการกระทำ� อันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค  ทั้งนี้  ให้รัฐสนับสนุน งบประมาณในการดำ�เนินการขององค์การอิสระ ดังกล่าวด้วย มาตรา ๖๒ บุคคลย่อมมีสิทธิติดตามและ ร้องขอให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำ�รง ตำ�แหน่งทางการเมือง หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ ของรัฐ บุคคลซึ่งให้ข้อมูลโดยสุจริตแก่องค์กรตรวจสอบ การใช้อำ�นาจรัฐหรือหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำ�รงตำ�แหน่งทางการเมือง  หน่วยงานของรัฐ  หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ  ย่อมได้รับ ความคุ้มครอง ส่วนที่ ๑๑ เสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม มาตรา ๖๓ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุม โดยสงบและปราศจากอาวุธ
  • 53. 52 การจำ�กัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำ�มิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ  และเพื่อคุ้มครอง ความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ  หรือเพื่อ รักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศ อยู่ในภาวะสงคราม  หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก มาตรา ๖๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวม กันเป็นสมาคม  สหภาพ  สหพันธ์  สหกรณ์  กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมมีเสรีภาพ ในการรวมกลุ่มเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป  แต่ทั้งนี้ต้อง ไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน และความต่อเนื่องในการจัดทำ�บริการสาธารณะ  ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ การจำ�กัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง จะกระทำ�มิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย  เฉพาะเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวม