SlideShare a Scribd company logo
1 of 17
สัปดาห์ที่ ๒: การอ่านจับใจความข้อมูลภาษาไทย
การฝึกทักษะการอ่าน ,[object Object],[object Object]
หลักพื้นฐานการอ่าน ปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการอ่าน   ๑. ภูมิหลังและประสบการณ์   ๑.๑ ความรู้ทางภาษา หลักภาษา วรรณคดีและการใช้ภาษา        การรู้จักใช้ถ้อยคำและคำศัพท์ให้มากและมีความหลากหลาย        การเข้าใจความสัมพันธ์ของคำในประโยคและสามารถโยง       ความสัมพันธ์ของประโยคในย่อหน้า และในแต่ละย่อหน้าได้               *เพิ่มพูนได้จากการอ่านให้มาก           ๑.๒ ประสบการณ์สั่งสม  (การอบรมเลี้ยงดู ระบบสังคม วัฒนธรรม        สภาพแวดล้อมและการศึกษา)จะช่วยให้นำมาวินิจฉัยเรื่องราว        ที่อ่านได้ถูกต้อง และมีความลึกซึ้งพอ
ปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการอ่าน (ต่อ) ๒. หลักปฏิบัติในการอ่าน ๒.๑ ขั้นวางเป้าหมายเพื่อตั้งใจและกำกับตนในการว่าควรอยู่ในระดับใด เช่น       เพื่อความเพลิดเพลิน หรือเพื่อการรับรู้รายละเอียดเพื่อนำไปวิเคราะห์ เป็นต้น ๒.๒ ขั้นสำรวจข้อมูลเพื่อให้เข้าใจความเป็นมาและความน่าเชื่อถือของหนังสือ          เช่น ผู้แต่ง เวลาที่แต่ง เวลาที่จัดพิมพ์ จำนวนครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ ฯลฯ ๒.๓ ขั้นสังเกตส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ คำนำ สารบัญ บทนำ ดรรชนี      อภิธานศัพท์ ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงจุดมุ่งหมายของผู้แต่ง แนวทางและ     การให้ความสำคัญของหนังสือได้ดียิ่งขึ้น ๒.๔ ขั้นอ่านอย่างมีสมาธิหลังจากขั้นตอนทั้ง ๓ แล้ว การอ่านอย่างมีสมาธิ      จะทำให้ความคิดของผู้เขียนและผู้อ่านเข้าสู่สมองได้อย่างมีระเบียบ ช่วยให้      รู้ตัวว่ากำลังอ่านอะไร มีสาระเกี่ยวกับอะไร และจะนำสาระนั้นไปใช้ประโยชน์      อย่างไรบ้าง
กำหนดจุดมุ่งหมายในการอ่าน ๑. อ่านเพื่อเป็นความรู้พื้นฐานเป็นการอ่านเพื่อรู้เรื่องโดยสังเขป หรือเพื่อลักษณะของหนังสือ เช่น การอ่านเพื่อ รวบรวมสิ่งพิมพ์ที่จะใช้ในการค้นคว้าและเขียนรายงาน ๒. อ่านเพื่อรวบรวมข้อมูลเป็นการอ่านให้เข้าในเนื้อหาสาระ และจัดลำดับความคิดได้ เพื่อสามารถรวบรวม และบันทึกข้อมูลสำหรับเขียนรายงาน ๓. อ่านเพื่อหาแนวคิด  หมายถึง การอ่านเพื่อรู้ว่าสิ่งที่อ่านนั้นมีแนวคิดหรือสาระสำคัญอย่างไร จะนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ในลักษณะใด เช่น การอ่านบทความ และสารคดีเพื่อหาหัวข้อสำหรับเขียนโครงร่างรายงาน ๔. อ่านเพื่อวิเคราะห์หรือวิจารณ์คือ การอ่านเพื่อให้เข้าใจลึกซึ้งพอที่จะนำความรู้ไปใช้ หรือแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่องที่อ่านได้ เช่น การอ่านบทความที่แสดงความคิดเห็น การอ่านตารางและรายงาน
ระดับของการอ่าน ๑. การอ่านสำรวจ เพื่อรู้ลักษณะโครงสร้างของข้อเขียน สำนวนภาษา เนื้อเรื่องโดยสังเขป เป็นวิธีอ่านที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเลือกสรรสิ่งพิมพ์ สำหรับใช้ประกอบการค้นคว้า หรือการหาแนวเรื่องสำหรับเขียนรายงาน และรวบรวมบรรณานุกรมในหัวข้อที่เขียนรายงาน ๒. การอ่านข้าม/อ่านอย่างรวดเร็ว เพื่อเข้าใจเนื้อหาของข้อเขียน โดยเลือกอ่านข้อความบางตอน เช่น การอ่านคำนำ สาระสังเขป บทสรุป และการอ่านเนื้อหาเฉพาะตอนที่ตรงกับความต้องการเป็นต้น ๓. การอ่านแบบกวาดสายตา (Scanning Reading) โดยผู้อ่านจะทำการกวาดสายตาอย่างรวดเร็วไปยังสิ่งที่เป็นเป้าหมายในข้อเขียนเช่น คำสำคัญ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์ แล้วอ่านรายละเอียดเฉพาะที่เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการ ๔. การอ่านจับประเด็น หมายถึง การอ่านเรื่องหรือข้อเขียนโดยทำความเข้าใจสาระสำคัญ ในขณะที่อ่าน มักใช้ในการอ่าน ข้อเขียนที่ไม่ยาวนัก เช่น บทความ การอ่านเร็ว ๆ หลายครั้งจะช่วยให้จับประเด็นได้ โดยการอ่านมีเทคนิคคือต้องสังเกตคำสำคัญ ประโยคสำคัญที่มีคำสำคัญ และทำการย่อสรุปบันทึกประโยคสำคัญไว้ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
๕. การอ่านสรุปความ หมายถึง การอ่านโดยสามารถตีความหมายสิ่งที่อ่านได้ถูกต้องชัดเจนเข้าใจเรื่องอย่างดี   สามารถแยก ส่วนที่สำคัญหรือไม่สำคัญออกจากกัน  รู้ว่าส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง หรือข้อคิดเห็น                                   ส่วนใดเป็นความคิดหลัก ความคิดรอง          วิธีการ๑.) การอ่านสรุปความแต่ละย่อหน้าหรือแต่ละตอนอย่างคร่าวๆ ครั้งที่หนึ่งพอให้รู้เรื่อง       ๒.) อ่านละเอียดอีกครั้งเพื่อเข้าใจเรื่องอย่างดี หลังจากนั้นตั้งคำถามตนเองในเรื่องที่อ่านว่าเกี่ยวกับอะไร มีเรื่องราวอย่างไร แล้วเรียบเรียงเนื้อหาเป็นสำนวนภาษาของผู้สรุป                                  จุดสำคัญของเรื่องคืออะไร?                                  จุดสำคัญของเรื่องสัมพันธ์กับสิ่งใดบ้าง (จดไว้สั้นๆ)                                  คิดวิธีการสรุปความให้กะทัดรัดและชัดเจน 	                เขียนร่างจากข้อความสั้นๆที่จดไว้                             ขัดเลา แก้ไขให้สละสลวย
๖. การอ่านวิเคราะห์  เพื่อค้นคว้าและเขียนรายงานโดยทั่วไป ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์ความหมายของข้อความ ซึ่งหากผู้อ่านมีความรู้เรื่องคำศัพท์และสำนวนภาษาดี มีประสบการณ์ในการอ่านมากและมีสมาธิในการอ่านดี ย่อมสามารถวิเคราะห์ได้ตรงความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อ และสามารถเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ดี ไม่ว่าเนื้อหานั้นจะเป็นภาษาโดยนัยที่ต้องทำความเข้าใจ หรือภาษาที่มีความหมายตามอารมณ์และความรู้สึกของผู้เขียน
เทคนิคการอ่านเร็ว ๑. SQ3R  Survey (สำรวจ)           Question (ตั้งคำถาม)           Read (อ่าน)           Recall (ฟื้นความจำ) และ           Review (ทบทวน)
Survey (สำรวจ)  -สำรวจดูว่าหนังสือเล่มนี้มีหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องอะไร ? ใครเป็นคนเขียน ? มีพื้นฐานความรู้อย่างไร ? พิมพ์เมื่อไร ? - อ่านคำแนะนำและศึกษาว่าผู้เขียนต้องการเขียนตำราเล่มนี้เพื่อให้บุคคลกลุ่มใดอ่านมีจุดประสงค์จะครอบคลุมเรื่องใดบ้าง ผู้เขียนแนะนำวิธีการอ่านหรือไม่ - เนื้อหาในหนังสือกล่าวถึงอะไรบ้าง - อ่านดรรชนี เพื่อหาบทความที่เฉพาะเจาะจง - มีภาพประกอบ/แผนภูมิหรือไม่ - มีการสรุปย่อแต่ละบทหรือไม่ - มีสัญลักษณ์บ่งชี้ เช่น ขนาดตัวอักษร การขีดเส้นใต้ ลำดับความสำคั ,[object Object],[object Object]
R1:  Read (อ่าน) อ่านครั้งที่ 1 - อ่านอย่างเร็วพยายามเจาะหาประเด็นสำคัญของแต่ละบท แต่ละหัวข้อ       แต่ละย่อหน้า     (อย่ามัวแต่ขีดเส้นใต้ หรือป้ายปากกาสี ควรทำเครื่องหมายด้วยดินสอและเขียนอย่างเบาๆ อย่ามัวแต่จดบันทึกเพราะจะทำให้สมาธิในการอ่านลดลง) อ่านครั้งที่ 2 - อ่านซ้ำอีกครั้ง คราวนี้ทำเครื่องหมายข้อความที่สำคัญ - สรุปเนื้อหา เพื่อง่ายต่อการรื้อฟื้นความจำในภายหลัง
R2:  Recall (ฟื้นความจำ)  - เมื่อสิ้นสุดเนื้อหาของแต่ละบท บันทึกย่อ อย่าย่อชนิดยาวจนเกินเหตุ ซึ่งเป็นการแสดงว่า นักศึกษายังจับประเด็นไม่ถูกต้อง R3:  Review (ทบทวน) - สำรวจดูหัวข้อ (ชื่อ) ของหนังสือ หัวข้อและเนื้อหาโดยย่อของแต่ละบท - ตรวจสอบว่าเนื้อหาที่มีนั้น ตอบคำถามที่นักศึกษามีไว้ในใจหรือไม่ - อ่านอีกครั้ง เพื่อแน่ใจว่าเราเก็บประเด็นสำคัญของหนังสือได้หมด - เติมสิ่งที่ขาดตกบกพร่อง
กล่าวสรุป: เทคนิคการอ่านตำราเรียน ๑.ทำความเข้าใจกับโครงสร้างและเนื้หาของหนังสืออย่างคร่าวๆก่อนตำราบางเล่มมีสรุปเนื้อหาอยู่ท้ายบทหรือท้ายเล่ม ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น         -เขียนสิ่งที่รู้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านในกระดาษให้มากที่สุดเพื่อฟื้นความทรงจำในเรื่องนั้นๆ-ดูปกหน้า ปกหลัง คำนำ สารบัญ ชื่อผู้แต่ง อย่างรวดเร็ว มองหาบทสรุป แนวคิด วัตถุประสงค์ หัวข้อหลัก หัวข้อย่อย ตัวอักษรที่พิมพ์ตัวหนา บรรณานุกรม ๒. เลือกที่จะอ่านเฉพาะใจความสำคัญเท่านั้น -อ่านแนวคิดสำคัญและวัตถุประสงค์ที่ผู้เขียนให้ข้อสังเกตไว้        -อ่านประโยคแรกของทุกย่อหน้า        -มองหาใจความสำคัญ ซึ่งมักปรากฏในย่อหน้าแรกและย่อหน้าสุดท้าย        - ใช้ปากกาเน้นสี ขีดทับใจความสำคัญ
เทคนิคการแบบ 3S Scan (สำรวจ) : ได้แก่การอ่านเนื้อหาอย่างหยาบ ๆ และรวดเร็ว เพื่อจับใจความว่าหนังสือนี้ประกอบด้วยบทใดบ้าง มีบทนำ การเรียงลำดับหัวข้อเป็นเช่นใด มีแผนภูมิ รูปภาพประกอบมากน้อยเพียงใดSearch(ค้นหา) : - หาบทที่มีเนื้อหาตรงกับความต้องการ- หาคำตอบ เพื่อตอบคำถามที่ตั้งไว้- ทำเครื่องหมาย (ใช้ดินสอ เขียนเบา ๆ)- ศึกษาเนื้อหาในแต่ละย่อหน้าที่ตรงกับจุดประสงค์Save(ทบทวน) :- เก็บข้อมูล เนื้อหา ของโครงสร้างของแต่ละบท- จดเนื้อหาที่สำคัญ
เทคนิคการอ่านเร็ว แบบอื่นๆ ,[object Object]
PAGE  Prepare (เตรียมตัว)    Ask (ถาม)    Gather (รวบรวม)  Evaluate (ประเมิน)
สัปดาห์ที่ ๒เทคนิคการอ่าน

More Related Content

What's hot

6 48สมฺนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถาย+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)
6 48สมฺนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถาย+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)6 48สมฺนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถาย+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)
6 48สมฺนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถาย+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)Tongsamut vorasan
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจSample clinic
ตัวอย่างแผนธุรกิจSample clinicตัวอย่างแผนธุรกิจSample clinic
ตัวอย่างแผนธุรกิจSample clinicNattakorn Sunkdon
 
บาลี 58 80
บาลี 58 80บาลี 58 80
บาลี 58 80Rose Banioki
 
บาลี 55 80
บาลี 55 80บาลี 55 80
บาลี 55 80Rose Banioki
 
บาลี 59 80
บาลี 59 80บาลี 59 80
บาลี 59 80Rose Banioki
 
ผลสำรวจความเข้าใจเรื่องสิทธิเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ต
ผลสำรวจความเข้าใจเรื่องสิทธิเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ตผลสำรวจความเข้าใจเรื่องสิทธิเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ต
ผลสำรวจความเข้าใจเรื่องสิทธิเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ตIsriya Paireepairit
 
บาลี 74 80
บาลี 74 80บาลี 74 80
บาลี 74 80Rose Banioki
 
พุทธวจนฉบับภพภูมิ
พุทธวจนฉบับภพภูมิพุทธวจนฉบับภพภูมิ
พุทธวจนฉบับภพภูมิNew Nan
 
Ps cs6 ch08-draw & shape
Ps cs6 ch08-draw & shapePs cs6 ch08-draw & shape
Ps cs6 ch08-draw & shapeChompooh Cyp
 
การจำหน่ายพัสดุ พันจ่าอาชีพพลาฯ 55
การจำหน่ายพัสดุ พันจ่าอาชีพพลาฯ 55การจำหน่ายพัสดุ พันจ่าอาชีพพลาฯ 55
การจำหน่ายพัสดุ พันจ่าอาชีพพลาฯ 55Nona Khet
 
ละครรำ
ละครรำละครรำ
ละครรำleemeanxun
 
Poster Seed Germination and Dormancy
Poster Seed Germination and Dormancy Poster Seed Germination and Dormancy
Poster Seed Germination and Dormancy ssuser77d0f2
 
พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่๐๕
พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่๐๕พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่๐๕
พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่๐๕Rose Banioki
 
วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21
วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21
วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21Teacher Sophonnawit
 

What's hot (14)

6 48สมฺนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถาย+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)
6 48สมฺนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถาย+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)6 48สมฺนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถาย+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)
6 48สมฺนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถาย+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจSample clinic
ตัวอย่างแผนธุรกิจSample clinicตัวอย่างแผนธุรกิจSample clinic
ตัวอย่างแผนธุรกิจSample clinic
 
บาลี 58 80
บาลี 58 80บาลี 58 80
บาลี 58 80
 
บาลี 55 80
บาลี 55 80บาลี 55 80
บาลี 55 80
 
บาลี 59 80
บาลี 59 80บาลี 59 80
บาลี 59 80
 
ผลสำรวจความเข้าใจเรื่องสิทธิเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ต
ผลสำรวจความเข้าใจเรื่องสิทธิเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ตผลสำรวจความเข้าใจเรื่องสิทธิเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ต
ผลสำรวจความเข้าใจเรื่องสิทธิเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ต
 
บาลี 74 80
บาลี 74 80บาลี 74 80
บาลี 74 80
 
พุทธวจนฉบับภพภูมิ
พุทธวจนฉบับภพภูมิพุทธวจนฉบับภพภูมิ
พุทธวจนฉบับภพภูมิ
 
Ps cs6 ch08-draw & shape
Ps cs6 ch08-draw & shapePs cs6 ch08-draw & shape
Ps cs6 ch08-draw & shape
 
การจำหน่ายพัสดุ พันจ่าอาชีพพลาฯ 55
การจำหน่ายพัสดุ พันจ่าอาชีพพลาฯ 55การจำหน่ายพัสดุ พันจ่าอาชีพพลาฯ 55
การจำหน่ายพัสดุ พันจ่าอาชีพพลาฯ 55
 
ละครรำ
ละครรำละครรำ
ละครรำ
 
Poster Seed Germination and Dormancy
Poster Seed Germination and Dormancy Poster Seed Germination and Dormancy
Poster Seed Germination and Dormancy
 
พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่๐๕
พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่๐๕พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่๐๕
พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่๐๕
 
วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21
วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21
วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21
 

Recently uploaded

Seth-Godin-–-Tribus-PDFDrive-.pdf en espaoñ
Seth-Godin-–-Tribus-PDFDrive-.pdf en espaoñSeth-Godin-–-Tribus-PDFDrive-.pdf en espaoñ
Seth-Godin-–-Tribus-PDFDrive-.pdf en espaoñcarrenoelio8
 
30 ĐỀ PHÁT TRIỂN THEO CẤU TRÚC ĐỀ MINH HỌA BGD NGÀY 22-3-2024 KỲ THI TỐT NGHI...
30 ĐỀ PHÁT TRIỂN THEO CẤU TRÚC ĐỀ MINH HỌA BGD NGÀY 22-3-2024 KỲ THI TỐT NGHI...30 ĐỀ PHÁT TRIỂN THEO CẤU TRÚC ĐỀ MINH HỌA BGD NGÀY 22-3-2024 KỲ THI TỐT NGHI...
30 ĐỀ PHÁT TRIỂN THEO CẤU TRÚC ĐỀ MINH HỌA BGD NGÀY 22-3-2024 KỲ THI TỐT NGHI...Nguyen Thanh Tu Collection
 
TUYỂN TẬP 25 ĐỀ THI HỌC SINH GIỎI MÔN TIẾNG ANH LỚP 6 NĂM 2023 CÓ ĐÁP ÁN (SƯU...
TUYỂN TẬP 25 ĐỀ THI HỌC SINH GIỎI MÔN TIẾNG ANH LỚP 6 NĂM 2023 CÓ ĐÁP ÁN (SƯU...TUYỂN TẬP 25 ĐỀ THI HỌC SINH GIỎI MÔN TIẾNG ANH LỚP 6 NĂM 2023 CÓ ĐÁP ÁN (SƯU...
TUYỂN TẬP 25 ĐỀ THI HỌC SINH GIỎI MÔN TIẾNG ANH LỚP 6 NĂM 2023 CÓ ĐÁP ÁN (SƯU...Nguyen Thanh Tu Collection
 
French Revolution (फ्रेंच राज्यक्रांती)
French Revolution  (फ्रेंच राज्यक्रांती)French Revolution  (फ्रेंच राज्यक्रांती)
French Revolution (फ्रेंच राज्यक्रांती)Shankar Aware
 
TUYỂN TẬP 20 ĐỀ THI KHẢO SÁT HỌC SINH GIỎI MÔN TIẾNG ANH LỚP 6 NĂM 2020 (CÓ Đ...
TUYỂN TẬP 20 ĐỀ THI KHẢO SÁT HỌC SINH GIỎI MÔN TIẾNG ANH LỚP 6 NĂM 2020 (CÓ Đ...TUYỂN TẬP 20 ĐỀ THI KHẢO SÁT HỌC SINH GIỎI MÔN TIẾNG ANH LỚP 6 NĂM 2020 (CÓ Đ...
TUYỂN TẬP 20 ĐỀ THI KHẢO SÁT HỌC SINH GIỎI MÔN TIẾNG ANH LỚP 6 NĂM 2020 (CÓ Đ...Nguyen Thanh Tu Collection
 

Recently uploaded (6)

Seth-Godin-–-Tribus-PDFDrive-.pdf en espaoñ
Seth-Godin-–-Tribus-PDFDrive-.pdf en espaoñSeth-Godin-–-Tribus-PDFDrive-.pdf en espaoñ
Seth-Godin-–-Tribus-PDFDrive-.pdf en espaoñ
 
30 ĐỀ PHÁT TRIỂN THEO CẤU TRÚC ĐỀ MINH HỌA BGD NGÀY 22-3-2024 KỲ THI TỐT NGHI...
30 ĐỀ PHÁT TRIỂN THEO CẤU TRÚC ĐỀ MINH HỌA BGD NGÀY 22-3-2024 KỲ THI TỐT NGHI...30 ĐỀ PHÁT TRIỂN THEO CẤU TRÚC ĐỀ MINH HỌA BGD NGÀY 22-3-2024 KỲ THI TỐT NGHI...
30 ĐỀ PHÁT TRIỂN THEO CẤU TRÚC ĐỀ MINH HỌA BGD NGÀY 22-3-2024 KỲ THI TỐT NGHI...
 
TUYỂN TẬP 25 ĐỀ THI HỌC SINH GIỎI MÔN TIẾNG ANH LỚP 6 NĂM 2023 CÓ ĐÁP ÁN (SƯU...
TUYỂN TẬP 25 ĐỀ THI HỌC SINH GIỎI MÔN TIẾNG ANH LỚP 6 NĂM 2023 CÓ ĐÁP ÁN (SƯU...TUYỂN TẬP 25 ĐỀ THI HỌC SINH GIỎI MÔN TIẾNG ANH LỚP 6 NĂM 2023 CÓ ĐÁP ÁN (SƯU...
TUYỂN TẬP 25 ĐỀ THI HỌC SINH GIỎI MÔN TIẾNG ANH LỚP 6 NĂM 2023 CÓ ĐÁP ÁN (SƯU...
 
French Revolution (फ्रेंच राज्यक्रांती)
French Revolution  (फ्रेंच राज्यक्रांती)French Revolution  (फ्रेंच राज्यक्रांती)
French Revolution (फ्रेंच राज्यक्रांती)
 
TUYỂN TẬP 20 ĐỀ THI KHẢO SÁT HỌC SINH GIỎI MÔN TIẾNG ANH LỚP 6 NĂM 2020 (CÓ Đ...
TUYỂN TẬP 20 ĐỀ THI KHẢO SÁT HỌC SINH GIỎI MÔN TIẾNG ANH LỚP 6 NĂM 2020 (CÓ Đ...TUYỂN TẬP 20 ĐỀ THI KHẢO SÁT HỌC SINH GIỎI MÔN TIẾNG ANH LỚP 6 NĂM 2020 (CÓ Đ...
TUYỂN TẬP 20 ĐỀ THI KHẢO SÁT HỌC SINH GIỎI MÔN TIẾNG ANH LỚP 6 NĂM 2020 (CÓ Đ...
 
LAR MARIA MÃE DE ÁFRICA .
LAR MARIA MÃE DE ÁFRICA                 .LAR MARIA MÃE DE ÁFRICA                 .
LAR MARIA MÃE DE ÁFRICA .
 

สัปดาห์ที่ ๒เทคนิคการอ่าน

  • 2.
  • 3. หลักพื้นฐานการอ่าน ปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการอ่าน ๑. ภูมิหลังและประสบการณ์ ๑.๑ ความรู้ทางภาษา หลักภาษา วรรณคดีและการใช้ภาษา การรู้จักใช้ถ้อยคำและคำศัพท์ให้มากและมีความหลากหลาย การเข้าใจความสัมพันธ์ของคำในประโยคและสามารถโยง ความสัมพันธ์ของประโยคในย่อหน้า และในแต่ละย่อหน้าได้ *เพิ่มพูนได้จากการอ่านให้มาก ๑.๒ ประสบการณ์สั่งสม (การอบรมเลี้ยงดู ระบบสังคม วัฒนธรรม สภาพแวดล้อมและการศึกษา)จะช่วยให้นำมาวินิจฉัยเรื่องราว ที่อ่านได้ถูกต้อง และมีความลึกซึ้งพอ
  • 4. ปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการอ่าน (ต่อ) ๒. หลักปฏิบัติในการอ่าน ๒.๑ ขั้นวางเป้าหมายเพื่อตั้งใจและกำกับตนในการว่าควรอยู่ในระดับใด เช่น เพื่อความเพลิดเพลิน หรือเพื่อการรับรู้รายละเอียดเพื่อนำไปวิเคราะห์ เป็นต้น ๒.๒ ขั้นสำรวจข้อมูลเพื่อให้เข้าใจความเป็นมาและความน่าเชื่อถือของหนังสือ เช่น ผู้แต่ง เวลาที่แต่ง เวลาที่จัดพิมพ์ จำนวนครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ ฯลฯ ๒.๓ ขั้นสังเกตส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ คำนำ สารบัญ บทนำ ดรรชนี อภิธานศัพท์ ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงจุดมุ่งหมายของผู้แต่ง แนวทางและ การให้ความสำคัญของหนังสือได้ดียิ่งขึ้น ๒.๔ ขั้นอ่านอย่างมีสมาธิหลังจากขั้นตอนทั้ง ๓ แล้ว การอ่านอย่างมีสมาธิ จะทำให้ความคิดของผู้เขียนและผู้อ่านเข้าสู่สมองได้อย่างมีระเบียบ ช่วยให้ รู้ตัวว่ากำลังอ่านอะไร มีสาระเกี่ยวกับอะไร และจะนำสาระนั้นไปใช้ประโยชน์ อย่างไรบ้าง
  • 5. กำหนดจุดมุ่งหมายในการอ่าน ๑. อ่านเพื่อเป็นความรู้พื้นฐานเป็นการอ่านเพื่อรู้เรื่องโดยสังเขป หรือเพื่อลักษณะของหนังสือ เช่น การอ่านเพื่อ รวบรวมสิ่งพิมพ์ที่จะใช้ในการค้นคว้าและเขียนรายงาน ๒. อ่านเพื่อรวบรวมข้อมูลเป็นการอ่านให้เข้าในเนื้อหาสาระ และจัดลำดับความคิดได้ เพื่อสามารถรวบรวม และบันทึกข้อมูลสำหรับเขียนรายงาน ๓. อ่านเพื่อหาแนวคิด หมายถึง การอ่านเพื่อรู้ว่าสิ่งที่อ่านนั้นมีแนวคิดหรือสาระสำคัญอย่างไร จะนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ในลักษณะใด เช่น การอ่านบทความ และสารคดีเพื่อหาหัวข้อสำหรับเขียนโครงร่างรายงาน ๔. อ่านเพื่อวิเคราะห์หรือวิจารณ์คือ การอ่านเพื่อให้เข้าใจลึกซึ้งพอที่จะนำความรู้ไปใช้ หรือแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่องที่อ่านได้ เช่น การอ่านบทความที่แสดงความคิดเห็น การอ่านตารางและรายงาน
  • 6. ระดับของการอ่าน ๑. การอ่านสำรวจ เพื่อรู้ลักษณะโครงสร้างของข้อเขียน สำนวนภาษา เนื้อเรื่องโดยสังเขป เป็นวิธีอ่านที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเลือกสรรสิ่งพิมพ์ สำหรับใช้ประกอบการค้นคว้า หรือการหาแนวเรื่องสำหรับเขียนรายงาน และรวบรวมบรรณานุกรมในหัวข้อที่เขียนรายงาน ๒. การอ่านข้าม/อ่านอย่างรวดเร็ว เพื่อเข้าใจเนื้อหาของข้อเขียน โดยเลือกอ่านข้อความบางตอน เช่น การอ่านคำนำ สาระสังเขป บทสรุป และการอ่านเนื้อหาเฉพาะตอนที่ตรงกับความต้องการเป็นต้น ๓. การอ่านแบบกวาดสายตา (Scanning Reading) โดยผู้อ่านจะทำการกวาดสายตาอย่างรวดเร็วไปยังสิ่งที่เป็นเป้าหมายในข้อเขียนเช่น คำสำคัญ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์ แล้วอ่านรายละเอียดเฉพาะที่เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการ ๔. การอ่านจับประเด็น หมายถึง การอ่านเรื่องหรือข้อเขียนโดยทำความเข้าใจสาระสำคัญ ในขณะที่อ่าน มักใช้ในการอ่าน ข้อเขียนที่ไม่ยาวนัก เช่น บทความ การอ่านเร็ว ๆ หลายครั้งจะช่วยให้จับประเด็นได้ โดยการอ่านมีเทคนิคคือต้องสังเกตคำสำคัญ ประโยคสำคัญที่มีคำสำคัญ และทำการย่อสรุปบันทึกประโยคสำคัญไว้ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
  • 7. ๕. การอ่านสรุปความ หมายถึง การอ่านโดยสามารถตีความหมายสิ่งที่อ่านได้ถูกต้องชัดเจนเข้าใจเรื่องอย่างดี สามารถแยก ส่วนที่สำคัญหรือไม่สำคัญออกจากกัน รู้ว่าส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง หรือข้อคิดเห็น ส่วนใดเป็นความคิดหลัก ความคิดรอง วิธีการ๑.) การอ่านสรุปความแต่ละย่อหน้าหรือแต่ละตอนอย่างคร่าวๆ ครั้งที่หนึ่งพอให้รู้เรื่อง ๒.) อ่านละเอียดอีกครั้งเพื่อเข้าใจเรื่องอย่างดี หลังจากนั้นตั้งคำถามตนเองในเรื่องที่อ่านว่าเกี่ยวกับอะไร มีเรื่องราวอย่างไร แล้วเรียบเรียงเนื้อหาเป็นสำนวนภาษาของผู้สรุป จุดสำคัญของเรื่องคืออะไร? จุดสำคัญของเรื่องสัมพันธ์กับสิ่งใดบ้าง (จดไว้สั้นๆ) คิดวิธีการสรุปความให้กะทัดรัดและชัดเจน เขียนร่างจากข้อความสั้นๆที่จดไว้ ขัดเลา แก้ไขให้สละสลวย
  • 8. ๖. การอ่านวิเคราะห์ เพื่อค้นคว้าและเขียนรายงานโดยทั่วไป ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์ความหมายของข้อความ ซึ่งหากผู้อ่านมีความรู้เรื่องคำศัพท์และสำนวนภาษาดี มีประสบการณ์ในการอ่านมากและมีสมาธิในการอ่านดี ย่อมสามารถวิเคราะห์ได้ตรงความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อ และสามารถเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ดี ไม่ว่าเนื้อหานั้นจะเป็นภาษาโดยนัยที่ต้องทำความเข้าใจ หรือภาษาที่มีความหมายตามอารมณ์และความรู้สึกของผู้เขียน
  • 9. เทคนิคการอ่านเร็ว ๑. SQ3R Survey (สำรวจ) Question (ตั้งคำถาม) Read (อ่าน) Recall (ฟื้นความจำ) และ Review (ทบทวน)
  • 10.
  • 11. R1: Read (อ่าน) อ่านครั้งที่ 1 - อ่านอย่างเร็วพยายามเจาะหาประเด็นสำคัญของแต่ละบท แต่ละหัวข้อ แต่ละย่อหน้า (อย่ามัวแต่ขีดเส้นใต้ หรือป้ายปากกาสี ควรทำเครื่องหมายด้วยดินสอและเขียนอย่างเบาๆ อย่ามัวแต่จดบันทึกเพราะจะทำให้สมาธิในการอ่านลดลง) อ่านครั้งที่ 2 - อ่านซ้ำอีกครั้ง คราวนี้ทำเครื่องหมายข้อความที่สำคัญ - สรุปเนื้อหา เพื่อง่ายต่อการรื้อฟื้นความจำในภายหลัง
  • 12. R2: Recall (ฟื้นความจำ) - เมื่อสิ้นสุดเนื้อหาของแต่ละบท บันทึกย่อ อย่าย่อชนิดยาวจนเกินเหตุ ซึ่งเป็นการแสดงว่า นักศึกษายังจับประเด็นไม่ถูกต้อง R3: Review (ทบทวน) - สำรวจดูหัวข้อ (ชื่อ) ของหนังสือ หัวข้อและเนื้อหาโดยย่อของแต่ละบท - ตรวจสอบว่าเนื้อหาที่มีนั้น ตอบคำถามที่นักศึกษามีไว้ในใจหรือไม่ - อ่านอีกครั้ง เพื่อแน่ใจว่าเราเก็บประเด็นสำคัญของหนังสือได้หมด - เติมสิ่งที่ขาดตกบกพร่อง
  • 13. กล่าวสรุป: เทคนิคการอ่านตำราเรียน ๑.ทำความเข้าใจกับโครงสร้างและเนื้หาของหนังสืออย่างคร่าวๆก่อนตำราบางเล่มมีสรุปเนื้อหาอยู่ท้ายบทหรือท้ายเล่ม ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น -เขียนสิ่งที่รู้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านในกระดาษให้มากที่สุดเพื่อฟื้นความทรงจำในเรื่องนั้นๆ-ดูปกหน้า ปกหลัง คำนำ สารบัญ ชื่อผู้แต่ง อย่างรวดเร็ว มองหาบทสรุป แนวคิด วัตถุประสงค์ หัวข้อหลัก หัวข้อย่อย ตัวอักษรที่พิมพ์ตัวหนา บรรณานุกรม ๒. เลือกที่จะอ่านเฉพาะใจความสำคัญเท่านั้น -อ่านแนวคิดสำคัญและวัตถุประสงค์ที่ผู้เขียนให้ข้อสังเกตไว้ -อ่านประโยคแรกของทุกย่อหน้า -มองหาใจความสำคัญ ซึ่งมักปรากฏในย่อหน้าแรกและย่อหน้าสุดท้าย - ใช้ปากกาเน้นสี ขีดทับใจความสำคัญ
  • 14. เทคนิคการแบบ 3S Scan (สำรวจ) : ได้แก่การอ่านเนื้อหาอย่างหยาบ ๆ และรวดเร็ว เพื่อจับใจความว่าหนังสือนี้ประกอบด้วยบทใดบ้าง มีบทนำ การเรียงลำดับหัวข้อเป็นเช่นใด มีแผนภูมิ รูปภาพประกอบมากน้อยเพียงใดSearch(ค้นหา) : - หาบทที่มีเนื้อหาตรงกับความต้องการ- หาคำตอบ เพื่อตอบคำถามที่ตั้งไว้- ทำเครื่องหมาย (ใช้ดินสอ เขียนเบา ๆ)- ศึกษาเนื้อหาในแต่ละย่อหน้าที่ตรงกับจุดประสงค์Save(ทบทวน) :- เก็บข้อมูล เนื้อหา ของโครงสร้างของแต่ละบท- จดเนื้อหาที่สำคัญ
  • 15.
  • 16. PAGE Prepare (เตรียมตัว) Ask (ถาม) Gather (รวบรวม) Evaluate (ประเมิน)