SlideShare a Scribd company logo
1 of 5
Download to read offline
การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการ
ปรับตัว (Community-Based Mitigation and Adaptation)
จากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล: กรณีศึกษาแนวปฏิบัติที่ดี
สาหรับชุมชนชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นหาดโคลนในพื้นที่ภาคกลาง

โดย
เชิญ ไกรนรา

สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง
22 ตุลาคม 2556
1
การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัว (Community-Based Mitigation
and Adaptation) จากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล: กรณีศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีสาหรับชุมชนชายฝั่ง
ทะเลซึ่งเป็นหาดโคลนในพื้นที่ภาคกลาง
พื้นที่ชายฝั่งทะเลของอ่าวไทย ตอนบน ตั้งแต่ปากแม่น้าบางปะกงจนถึงปากแม่น้าเพชรบุรีเป็นพื้นที่อ่อนไหวที่มี
ลักษณะเฉพาะตัว เป็น หาดโคลน (Tidal mudflat) จึงท้าให้ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่รุนที่สุดของประเทศ
ปัจจุบัน ทั่วโลกยังไม่มีโครงสร้างที่เหมาะสมโดยตรงในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแบบหาดโคลน รวมทั้งงานศึกษาวิจัย
ส้าหรับหาดโคลนมีค่อนข้างน้อยและจ้ากัดมาก ซึ่งในระยะ 20-30 ปี ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมัก ล่าช้า
และไม่ค้านึงถึงความแตกต่างทางกายภาพของชายฝั่งท้าให้ มีการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมป้องกันการกัดเซาะที่ไม่เหมาะสม
ต่อพื้นทีตลอดทั้งขาดการมีส่วนร่วมจากชุมชนท้องถิ่น ส่งผลให้ การแก้ปัญหาไม่ประสบผลส้าเร็จ ด้วยเหตุนี้ชุมชนชายฝั่งทะเล
่
อ่าวไทยตอนบนจึงคิดค้นวิธีในการ บรรเทาผลกระทบ และการปรับตัวด้วยวิธีปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น ซึ่ง เป็น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่
สอดคล้องกับธรรมชาติโดยมีตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีของชุมชนที่มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้จาก 3 จังหวัดชายฝั่ง
ทะเลดังนี้
1. ชุมชนบ้านบางบ่อล่าง ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม
1.1สภาพภูมิประเทศ และปัญหา ชุมชนบ้านบางบ่อล่างเป็นพื้นที่ขอบแอ่งหรือขอบกระทะที่ติดทะเล มีพื้นที่ป่าชายเลน ยาว
ประมาณ 3 กม. มีชาวบ้านอยู่อาศัยประมาณ 80 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล ประสบปัญหาการสูญเสียป่า
ชายเลนเนื่องจากการกัดเซาะชายฝั่งจากคลื่น และลมทะเลซึ่งสภาพภูมิประเทศดังกล่าวท้าให้ปลูกป่าชายเลนได้ยาก ในช่วง
เวลา 10 ปีที่ผ่านมาชายฝั่งทะเลได้ถูกกัดเซาะเป็นระยะทางยาว 2 กม. ท้าให้ชาวบ้านประมาณ 10 หลังคาเรือนที่ได้รับ
ผลกระทบรุนแรงต้องย้ายออกจากหมู่บ้าน
1.2 การบรรเทาปัญหาและการปรับตัวของชุมชน ชาวบ้านแก้ปัญหาในเบื้องต้นด้วยการถอนเสาเรือนหนีน้าไปอยู่หลังคลอง
แต่ไม่มีแนวทางการแก้ปัญหาที่ชัดเจนเนื่องจากต้องใช้ทุนทรัพย์จ้านวนมาก ชาวบ้านจึงไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองเพราะ
ประกอบอาชีพประมงมีรายได้แค่พอมีพอกิน จึงต้องรอคอยความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่แต่กลับไม่ได้รับ
ความช่วยเหลือ ต่อมาเมื่อปี 2551 จึงได้คิดหาแนวทางแก้ไขปัญหาในลักษณะการพึ่งพาตนเองด้วยการจัดตั้ง “กลุ่มแกนนา
เพื่อการจัดการปัญหาพื้นที่กัดเซาะ” โดยเริ่มต้นจากการพูดคุยกันภายในชุมชนเพื่อหาผู้ที่จะร่วมเป็นอาสาสมัครในการจัดการ
ปัญหาพื้นที่กัดเซาะ จากนั้นจึงศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและแสวงหาแนวทางการจัดการปัญหารูปแบบใหม่แบบใหม่ๆ กับ
หมู่บ้านข้างเคียงและเครือข่ายป่าชายเลนจังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาจึงได้ข้อสรุปร่วมกันว่าจะใช้วิธีการจัดการปัญหาการกัด
เซาะชายฝั่งโดยใช้การสร้างก้าแพงไม้ไผ่เพื่อลดแรงกระแทกของคลื่นลม ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านโดยได้รับงบประมาณ
สนับสนุนจากผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงครามจ้านวน 50 ,000 บาท โดยวิธีการปักนั้นต้องอาศัยความรู้เรื่องดิน ลม ฤดูกาล
และพันธุ์พืชของชาวบ้านด้วย

1.3 บทเรียนที่ได้จาการรวมพลังแก้ไขปัญหาของขุมชน การใช้ประสบการณ์ของชาวบ้านเองเพื่อจัดการกับปัญหาในพื้นที่
ของตนเองถือได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดเพราะชาวบ้านทราบถึงปัญหาได้ดีกว่าคนนอกพื้นที่ จากความส้าเร็จในการ
จัดการต่อปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลท้าให้ชาวบ้านมั่นใจต่อศักยภาพของตนเองมากขึ้นและก่อให้เกิดเป็นพลังชุมชนในการ
จัดการชุมชนของตนอย่างเข้มแข็งและสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชนของตนเองได้ โดยไม่รอคอยความช่วยเหลือจาก
หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เหมือนที่ผ่านมา ปัจจุบันชุมชนบ้านบางบ่อล่างถือได้ว่าพึ่งพาตนเองได้และได้ร่วมมือกับ
เครือข่ายที่มีอยู่โดยการน้าความรู้ของชุมชนไปถ่ายทอดให้ชุมชนอื่นๆ ตลอดทั้งมีการประชุมและหารือเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด
การแก้ไขปัญหา การเพาะพันธุ์สัตว์น้าปล่อยลงสู่ทะเล การร่วมฟื้นฟูป่าชายเลนเสื่อมโทรมและการพัฒนาแหล่งท้ากินให้ดีกว่า
เดิมโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของจิตส้านึกรักชุมชนตนเองเพื่อน้าไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

2
2.ชุมชนชายฝั่งทะเล 3 ตาบล-ต.พันท้ายนรสิงห์ ต.บางหญ้าแพรกและ ต.โคกขาม- จ.สมุทรสาคร
2.1 สภาพภูมิประเทศและปัญหา ในอดีตจังหวัดสมุทรสาครมีพื้นที่ป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ตลอดแนวชายฝั่งทะเลระยะทาง
ยาว 41 กิโลเมตร โดยทั้งสามต้าบลดังกล่าวมีเนื้อที่ป่าชายเลนที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติจ้านวน 7,343 ไร่ ปัจจุบัน พื้นที่ส่วนใหญ่
กลายสภาพเป็นทะเลเนื่องถูกกัดเซาะจากคลื่นลมและกระแสน้้าที่พัดเข้าหาฝั่งอย่างรุนแรงเป็นเวลานาน ๆ ท้าให้พื้นที่ป่าชาย
เลนถูกท้าลายซึ่งบางพื้นทีมีสภาพป่าเหลืออยู่บ้างเพียงจ้านวนน้อยและมีลักษณะเป็นหย่อม ๆ
่
2.2 การบรรเทาปัญหาและการปรับตัวของชุมชน ก่อนหน้านี้ชาวบ้านไม่ได้สนใจเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งมากนักเพราะคลื่น
ยังเข้ามาไม่ถึงจนกระทั่งพื้นที่ของตนเองเริ่มถูกกัดเซาะจึงมองเห็นปัญหา ชาวบ้านจึงช่วยกันท้างานเชิงรุกโดยการกันเขต
อนุรักษ์ป่าชายเลน ส้าหรับพื้นที่ซึ่งห่างจากชายฝั่งออกไป 2 กม.มีการปลูกป่าจากแนวป่าด้านในขยายออกมาสู่ด้านนอกรุก
ทะเลออกไปเรื่อยๆ แม้ว่าในระยะแรกป่าที่ปลูกใหม่จะต้านคลื่นไม่ไหว แต่กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันท้าให้เกิดการคิดค้นเรื่อง
ไม่ไผ่กันคลื่นจากภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้เนื่องจากเห็นว่าเขื่อนกันคลื่นของรัฐที่ค่อยๆ พังทลาย การรับมือกับคลื่นปะทะด้วย
สิ่งปลูกสร้างที่เป็นก้าแพงทึบจึงไม่ใช่แนวทางการแก้ปัญหาแล้ว พวกเขาจึงน้าภูมิปัญญาโบราณที่เรียกว่า “ก่าหอยแมลงภู่ ”
หรือฟาร์มหอยแมลงภู่ ซึ่งท้าจากไม้ไผ่มาปักเป็นกลุ่มเพื่อให้ลูกหอยแมลงภู่มาเกาะ พื้นที่หลังแนวไม้ไผ่นั้นจะมีตะกอนสูงกว่าที่
อื่นๆ แนวคิดนี้จึงมีการน้ามาทดลองใช้ในปี 2548 โดยเปลี่ยนจากไม้ไผ่รวกขนาดเล็กมาเป็นไม้ไผ่ตงขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมและมี
อายุการใช้งานในทะเลได้ 6-7 ปี โดยชาวบ้านแต่ละรายจ่ายเงินซื้อไม้ไผ่ตงสูง 8 เมตรส้าหรับปักตามพื้นที่นากุ้งติดทะเลหน้า
บ้านของตนเองจ้านวน 3 แนวคือ กลุ่มไม้ไผ่แนวที่หนึ่ง มีลักษณะ 3 เหลี่ยม กลุ่มละ 55 ต้น หน้ากว้างด้านละ 4.5 เมตร ถูก
ปักลงในเลนห่างจากฝั่งทะเลประมาณ 100-200 เมตร เพื่อลดแรงคลื่นที่จะปะทะฝั่ง กลุ่มไม้ไผ่แนวที่สอง จะปักไม้ไผ่ไม่เกิน
10 เมตร จากชายฝั่งเพื่อช่วยให้มวลน้้าที่คลื่นพามาเกิดการตกตะกอนรวมตัวกันเป็นเลนโดยแนวไม้ไผ่จะยึดให้ตะกอนไม่ซัดคืน
กลับไปในทะเล เมื่อสะสมตะกอนได้มากๆ หาดเลนจะค่อยๆ แข็งตัวขึ้นจนกลายเป็นแผ่นดินแล้วปลูกแสมสลับกับโกงกางผืน
ดินให้แน่นหนา ขณะทีกลุ่มไม้ไผ่แนวที่สาม ซึ่งเป็นแนวรุกห่างจากฝั่ง 2,000 เมตร ชาวบ้านชุมชนชายฝั่งปักไม้ไผ่รวกเพื่อเลี้ยง
่
หองแมลงภู่เป็นการเสริมรายได้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เป็นไปตามหลักธรรมชาติและวิถีชีวิตของชาวหน้าด่านทะเลในบริเวณนั้น

2.3 บทเรียนที่ได้จาการรวมพลังแก้ไขปัญหาของขุมชน จากการด้าเนินการดังกล่าวท้าให้มีดินงอกขึ้นในเขต ต.โคกขาม และ
ต.พันท้ายนรสิงห์ 800 ไร่ และ ต.บางหญ้าแพรก 400 ไร่ โดยพื้นดังกล่าวมีการปลูก ต้นไม้ควบคู่กันไปท้าให้ มีหน้าดินสูงขึ้น
1.50 เมตร นับเป็นการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านที่ช่วยกันแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ทะเลอย่างจริงจัง และพึ่งพาตนเองได้
เพื่อให้สามารถปรับตัวในการอยู่อาศัยและการประกอบอาชีพประมงชายฝั่งให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
ตลอดทั้งเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนร่วมกัน
3. 6 ชุมชนหน้าทะเลของเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
3.1 สภาพภูมิประเทศและปัญหา มีประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนจ้านวน 6 ชุมชนโดยประมาณร้อย
ละ 90 มีอาชีพท้านากุ้งแบบบ่อธรรมชาติ ส่วนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมคลองจะท้าประมงชายฝั่ง เช่น งมหอยแครงบนหาดเลน
ปักไม้ไผ่เลี้ยงหอยแลงภู่ หรือจับสัตว์น้าชายฝั่ง ซึ่งพื้นที่หาดเลนชุมชนบางขุนเทียนมีความอ่อนไหวและประสบปัญหาน้้าทะเล
กัดเซาะชายฝั่งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ท้าให้ป่าชายเลนผืนสุดท้ายซึ่งถือเป็นพื้นที่กันชนระหว่างทะเลกับแผ่นดินถูกท้าลายไป
กว่า 2,735 ไร่ ส่งผลให้วิถีชีวิตในการท้าการประมงชายฝั่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนถูกคุกคาม เพราะนอกจากหาดเลนซึ่ง
เป็นที่ท้ากินและเป็นสินส่วนรวมได้หายไปแล้ว ที่ดินของชาวบางขุนเทียนที่ติดอยู่กับชายทะเลยาว 5 กม.หรือประมาณ 5 ,715
ไร่ จ้านวน 127 แปลง ก้าลังจะถูกกัดเซาะหายไปกับทะเลในอัตราเฉลี่ย 12-20 เมตร/ปี
3.2 การบรรเทาปัญหาและการปรับตัวของชุมชน ชาวบ้านใช้เงินประมาณ 200 ,000-300,000 บาท/ครัวเรือน/ปี เพื่อซื้อ
หินท้าเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ชาวบ้านบางรายซื้อตุ่มมาเรียงไว้หน้าหาดแล้วซื้อทรายมาใส่ทุกๆ ปี ซึ่งสามารถประคอง
ที่ดินด้านหน้าทะเลไว้ได้แต่คลื่นได้อ้อมไปกัดเซาะที่ดินด้านข้างแทน เพราะอีกบ้านหนึ่งไม่มีเงินที่จะเอามาป้องกันการกัดเซาะ
เนื่องจากไม่มีทางออกชาวบ้านจึงต้องทนอยู่ในชุมชน บางรายยอมแพ้ขายที่ดินราคาถูกแล้วอพยพไปอยู่ที่อื่น ชาวบ้านจึง
พยายามช่วยเหลือตัวเองโดยไม่หวังพึ่งหน่วยงานภาครัฐอย่างเดียวและรวมตัวเป็น “เครือข่ายรักษ์ทะเลกรุงเทพฯ” โดยในช่วง
3
ต้นปี 2551 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนและมูลนิธิชุมชนไทได้สนับนุนบประมาณ 3 ล้านบาท เพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้ภูมิปัญญา
ท้องถิ่นทดลองปักแนวไม้ไผ่ตลอดแนวชายฝั่งซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะความยาว 1 กม. ในระยะแรกมีเป้าหมายเพื่อเติมเต็ม
ตะกอนจากข้างในออกสู่ข้างนอกและหยุดการกัดเซาะชายฝั่งหรือท้าให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งน้อยที่สุด ซึ่งหลังจากท้าแล้ว
เสร็จไม่กี่เดือนระดับตะกอนเลนหลังทิวไผ่ก็สูงขึ้นมา 1.5 เมตร พอตะกอนแน่นก็ปลูกป่าเพื่อยึดดินไว้ท้าให้ค่อยๆ ได้ระบบ
นิเวศน์ชายฝั่งกลับคืนมา

3.3 บทเรียนที่ได้จาการรวมพลังแก้ไขปัญหาของขุมชน ชาวบ้านทั้ง 6 ชุมชนเห็นผลแล้วว่าเขื่อนไม้ไผ่ชะลอคลื่นหรือสลาย
ก้าลังคลื่นซึ่งเป็นสิ่งคิดค้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สั่งสมจากประสบการณ์ในการประกอบอาชีพมาแต่โบราณสามารถกัก
ตะกอนเลนสะสมไว้ในพื้นที่ได้อย่างน่าพอใจ ซึ่งโครงสร้างวิศวกรรมยุคใหม่ไม่มีความเหมาะสมกับคลื่นในทะเลโคลนเช่นอ่าว
ไทยที่สัตว์น้าจะมีชีวิตบนหาดโคลน ตลอดทั้งเขื่อนไม้ไผ่สลายก้าลังคลื่นสามารถน้าไปปรับใช้กับชุมชนอื่นๆได้อีกด้วย และ
ปัจจุบันชาวบ้านก้าลังคิดว่าถ้าเปลี่ยนจากไม้ไผ่เป็นเสาคอนกรีตซึ่งมีความทนทานและใช้งบประมาณไม่มาก ชาวบ้านยังเชื่อมั่น
ว่าหลักการในการแก้ปัญหาด้วยเขื่อนไม้ไผ่ชะลอคลื่นคือรูปแบบที่ประสบความส้าเร็จมากที่สุดและเป็นต้นแบบในการ
แก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล เพราะไม้ไผ่ที่ปักไว้เป็นแนวในทะเลจะลดทอนความแรงของคลื่นให้สลายตัวไปโดยไม่เปลี่ยน
ทิศทางของกระแสน้้า ส่วนตะกอนหลังแนวไม้ไผ่ค่อยๆ สะสมตัวสามารถปลูกป่าชายเลนไว้ยึดเกาะตะกอนและในที่สุด
กลายเป็นพื้นที่กันชนระหว่างคลื่นทะเลกับแผ่นดิน ในขณะที่การสร้างก้าแพงกันคลื่นหรือคันดักทรายลักษณะต่างๆ ซึ่งเป็น
รูปแบบการแก้ปัญหาของภาครัฐที่ผ่านมาค่อนข้างล้มเหลวมาแล้วและยิ่งท้าให้ปัญหาบานปลายท้าลายระบบนิเวศน์มากขึ้น
กว่าเดิมด้วย
4.ปัจจัยที่สนับสนุนให้ ชุมชนมีความเข้มแข็งและ เป็นฐานในการบรรเทา ผลกระทบ และปรับตัว จากปัญหาการกัดเซาะ
ชายฝั่งทะเลในพื้นที่ภาคกลาง จากการศึกษาพบว่าชุมชนที่สามารถพึ่งพาตนเองได้มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันในด้านวิถีชิวิติของ
ชาวประมงพื้นบ้านและมีการรวมกลุ่มและการสร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่คล้ายคลึง
กัน โดยปัจจัยที่ท้าให้กลุ่มมีความเข้มแข็งประกอบด้วยปัจจัยภายใน เช่น ผู้น้าเครือข่ายซึ่งมีต้าแหน่งทั้งเป็นทางการและไม่เป็น
ทางการในชุมชนเป็นแกนน้าในการค้นหาสาเหตุ แสวงหาแนวทางการแก้ปัญหาทั้งภายในชุมชนและระดับเครือข่ายชุมชน เช่น
เครือข่ายเครือข่ายชุมชนโคกขาม จ.สมุทรสาคร การมีจิตส้านึกและการมีส่วนร่วม การมีพันธกรณีหรือเป้าหมายที่สร้าง
ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การมีขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันของคนชายฝั่ง การมีรูปแบบการ
ติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การมีความรู้ ความเข้าใจและร่วมแบ่งปันผลประโยชน์และเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้ง
ปัจจัย
ภายนอก เช่น การได้รับสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานของรัฐบาลและการได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจากองค์กร
พัฒนาเอกชน เป็นต้น
5.สรุป การกัดเซาะชายฝั่งทะเลเป็นปัญหาที่มีความส้าคัญระดับชาติและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น แม้ว่าภาครัฐได้ตระหนักถึง
ความส้าคัญของปัญหาและได้พยายามบรรเทาผลกระทบโดยการทดลองแก้ปัญหากัดเซาะของอ่าวไทยตอนบนมาหลาย
รูปแบบ เช่น หินทิ้ง สร้างก้าแพงกันคลื่น ทิ้งไส้กรอกทรายเป็นแนวไว้นอกฝั่ง 200 เมตร เป็นต้น ซึ่งใช้งบประมาณหลาย
พันล้านบาทแต่ก็ไม่ประสบผลส้าเร็จและยังพบว่ายิ่งเร่งให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นการเสริมสร้างความ
เข้มแข็งให้ ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทา ผลกระทบและการปรับตัว (Community-Based Mitigation and Adaptation )
ด้วยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นส้าหรับชายฝั่งที่เป็นหาดโคลนถือได้ว่าเป็นทางเลือกเพื่อให้ชุมชน
สามารถใช้เป็นวิธีการในการรับมือกับปัญหาที่ก้าลังคุกคามอยู่โดยไม่ให้ส่งผลกระทบทางลบต่อระบบนิเวศน์ชายฝั่ง โดยมี
เป้าหมายเพื่อรักษาความมั่นคงของชุมชนที่อาศัยและอนุรักษ์ฐานทรัพยากรซึ่งเป็นแหล่งรายได้และสร้างงาน โดยควร
สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่งยืนเพื่อเสริมสร้าง
ศักยภาพให้ให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้ควบคู่ไปกับการคิดค้นแนวทางการบูรณาการวิธีการบรรเทา

4
ผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนชายฝั่งทะเลที่เหมาะสมเพิ่มเติม ตลอดทั้งควรส่งเสริมการประยุกต์ใช้แนวทางการแก้ไข
ปัญหาดังกล่าวกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลอื่นๆ ที่มีสภาพภูมิประเทศคล้ายคลึงกันของประเทศ
เอกสารอ้างอิง
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) 2552 เมื่อสองมือร่วมคลายโลกร้อน บริษัท แอคมี พรินติ้ง จ้ากัด กรุงเทพฯ
ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ผศ.ดร.ปราโมทย์ โศจิศุภร ผศ.ศิริวรรณ ศิริบุญ และ ผศ.ดร.วินัย อวยพรประเสริฐ 2554
บูรณาการเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรปราการที่เป็นต้นแบบบริเวณหาดโคลน
ค้นหาจาก http://www.trf.or.th เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2556
ศศิณี โสรินทร์ ไม่ระบุปีที่พิมพ์ การจัดการโดยฐานชุมชนพื้นที่กัดเซาะป่าชายเลนบ้านบางบ่อล่าง ตาบลบางแก้ว อาเภอ
เมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
ยุทธพล ผ่องพลีศาล กุลวดี แก่สันติสุขมงคล จ้าลอง อรุณเลิศอารีย์ และจงดี โตอิ้ม ไม่ระบุปีที่พิมพ์ เครือข่ายชุมชนเพื่อ
ป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยวิธีภูมิปัญญาท้องถิ่น: กรณีศึกษาการปักไผ่ชะลอคลื่นของเครือข่ายรักษ์อ่าวไทย
ตอนบน บทความส้าหรับการประชุมทางวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตก้าแพงแสน ครั้งที่ 9

5

More Related Content

Similar to การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเ

Similar to การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเ (6)

การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภา...
การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภา...การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภา...
การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภา...
 
โครงการปลูกป่าชายเลน1
โครงการปลูกป่าชายเลน1โครงการปลูกป่าชายเลน1
โครงการปลูกป่าชายเลน1
 
โครงการในพระราชดำร (1)
โครงการในพระราชดำร (1)โครงการในพระราชดำร (1)
โครงการในพระราชดำร (1)
 
การกัดเซาะชายหาด ๕๗
การกัดเซาะชายหาด ๕๗การกัดเซาะชายหาด ๕๗
การกัดเซาะชายหาด ๕๗
 
โครงการเขื่อนแควน้อย
โครงการเขื่อนแควน้อยโครงการเขื่อนแควน้อย
โครงการเขื่อนแควน้อย
 
ป่าชายเลน
ป่าชายเลนป่าชายเลน
ป่าชายเลน
 

More from Dr.Choen Krainara

More from Dr.Choen Krainara (20)

Certificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk SupervisionCertificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk Supervision
 
Certificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective LeaderCertificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective Leader
 
Certificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project ManagementCertificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project Management
 
Certificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management LeadershipCertificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management Leadership
 
Certificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk ManagementCertificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk Management
 
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict SettingsCertificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
 
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
 
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
 
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in EmergenciesCertificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
 
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
 
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and SecurityCertificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
 
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
 
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian ActionCertificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
 
Certificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in PartnershipsCertificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in Partnerships
 
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
 
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding EssentialsCertificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
 

การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเ

  • 1. การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการ ปรับตัว (Community-Based Mitigation and Adaptation) จากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล: กรณีศึกษาแนวปฏิบัติที่ดี สาหรับชุมชนชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นหาดโคลนในพื้นที่ภาคกลาง โดย เชิญ ไกรนรา สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง 22 ตุลาคม 2556 1
  • 2. การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัว (Community-Based Mitigation and Adaptation) จากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล: กรณีศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีสาหรับชุมชนชายฝั่ง ทะเลซึ่งเป็นหาดโคลนในพื้นที่ภาคกลาง พื้นที่ชายฝั่งทะเลของอ่าวไทย ตอนบน ตั้งแต่ปากแม่น้าบางปะกงจนถึงปากแม่น้าเพชรบุรีเป็นพื้นที่อ่อนไหวที่มี ลักษณะเฉพาะตัว เป็น หาดโคลน (Tidal mudflat) จึงท้าให้ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่รุนที่สุดของประเทศ ปัจจุบัน ทั่วโลกยังไม่มีโครงสร้างที่เหมาะสมโดยตรงในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแบบหาดโคลน รวมทั้งงานศึกษาวิจัย ส้าหรับหาดโคลนมีค่อนข้างน้อยและจ้ากัดมาก ซึ่งในระยะ 20-30 ปี ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมัก ล่าช้า และไม่ค้านึงถึงความแตกต่างทางกายภาพของชายฝั่งท้าให้ มีการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมป้องกันการกัดเซาะที่ไม่เหมาะสม ต่อพื้นทีตลอดทั้งขาดการมีส่วนร่วมจากชุมชนท้องถิ่น ส่งผลให้ การแก้ปัญหาไม่ประสบผลส้าเร็จ ด้วยเหตุนี้ชุมชนชายฝั่งทะเล ่ อ่าวไทยตอนบนจึงคิดค้นวิธีในการ บรรเทาผลกระทบ และการปรับตัวด้วยวิธีปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น ซึ่ง เป็น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ สอดคล้องกับธรรมชาติโดยมีตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีของชุมชนที่มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้จาก 3 จังหวัดชายฝั่ง ทะเลดังนี้ 1. ชุมชนบ้านบางบ่อล่าง ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม 1.1สภาพภูมิประเทศ และปัญหา ชุมชนบ้านบางบ่อล่างเป็นพื้นที่ขอบแอ่งหรือขอบกระทะที่ติดทะเล มีพื้นที่ป่าชายเลน ยาว ประมาณ 3 กม. มีชาวบ้านอยู่อาศัยประมาณ 80 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล ประสบปัญหาการสูญเสียป่า ชายเลนเนื่องจากการกัดเซาะชายฝั่งจากคลื่น และลมทะเลซึ่งสภาพภูมิประเทศดังกล่าวท้าให้ปลูกป่าชายเลนได้ยาก ในช่วง เวลา 10 ปีที่ผ่านมาชายฝั่งทะเลได้ถูกกัดเซาะเป็นระยะทางยาว 2 กม. ท้าให้ชาวบ้านประมาณ 10 หลังคาเรือนที่ได้รับ ผลกระทบรุนแรงต้องย้ายออกจากหมู่บ้าน 1.2 การบรรเทาปัญหาและการปรับตัวของชุมชน ชาวบ้านแก้ปัญหาในเบื้องต้นด้วยการถอนเสาเรือนหนีน้าไปอยู่หลังคลอง แต่ไม่มีแนวทางการแก้ปัญหาที่ชัดเจนเนื่องจากต้องใช้ทุนทรัพย์จ้านวนมาก ชาวบ้านจึงไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองเพราะ ประกอบอาชีพประมงมีรายได้แค่พอมีพอกิน จึงต้องรอคอยความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่แต่กลับไม่ได้รับ ความช่วยเหลือ ต่อมาเมื่อปี 2551 จึงได้คิดหาแนวทางแก้ไขปัญหาในลักษณะการพึ่งพาตนเองด้วยการจัดตั้ง “กลุ่มแกนนา เพื่อการจัดการปัญหาพื้นที่กัดเซาะ” โดยเริ่มต้นจากการพูดคุยกันภายในชุมชนเพื่อหาผู้ที่จะร่วมเป็นอาสาสมัครในการจัดการ ปัญหาพื้นที่กัดเซาะ จากนั้นจึงศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและแสวงหาแนวทางการจัดการปัญหารูปแบบใหม่แบบใหม่ๆ กับ หมู่บ้านข้างเคียงและเครือข่ายป่าชายเลนจังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาจึงได้ข้อสรุปร่วมกันว่าจะใช้วิธีการจัดการปัญหาการกัด เซาะชายฝั่งโดยใช้การสร้างก้าแพงไม้ไผ่เพื่อลดแรงกระแทกของคลื่นลม ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านโดยได้รับงบประมาณ สนับสนุนจากผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงครามจ้านวน 50 ,000 บาท โดยวิธีการปักนั้นต้องอาศัยความรู้เรื่องดิน ลม ฤดูกาล และพันธุ์พืชของชาวบ้านด้วย 1.3 บทเรียนที่ได้จาการรวมพลังแก้ไขปัญหาของขุมชน การใช้ประสบการณ์ของชาวบ้านเองเพื่อจัดการกับปัญหาในพื้นที่ ของตนเองถือได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดเพราะชาวบ้านทราบถึงปัญหาได้ดีกว่าคนนอกพื้นที่ จากความส้าเร็จในการ จัดการต่อปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลท้าให้ชาวบ้านมั่นใจต่อศักยภาพของตนเองมากขึ้นและก่อให้เกิดเป็นพลังชุมชนในการ จัดการชุมชนของตนอย่างเข้มแข็งและสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชนของตนเองได้ โดยไม่รอคอยความช่วยเหลือจาก หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เหมือนที่ผ่านมา ปัจจุบันชุมชนบ้านบางบ่อล่างถือได้ว่าพึ่งพาตนเองได้และได้ร่วมมือกับ เครือข่ายที่มีอยู่โดยการน้าความรู้ของชุมชนไปถ่ายทอดให้ชุมชนอื่นๆ ตลอดทั้งมีการประชุมและหารือเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด การแก้ไขปัญหา การเพาะพันธุ์สัตว์น้าปล่อยลงสู่ทะเล การร่วมฟื้นฟูป่าชายเลนเสื่อมโทรมและการพัฒนาแหล่งท้ากินให้ดีกว่า เดิมโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของจิตส้านึกรักชุมชนตนเองเพื่อน้าไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 2
  • 3. 2.ชุมชนชายฝั่งทะเล 3 ตาบล-ต.พันท้ายนรสิงห์ ต.บางหญ้าแพรกและ ต.โคกขาม- จ.สมุทรสาคร 2.1 สภาพภูมิประเทศและปัญหา ในอดีตจังหวัดสมุทรสาครมีพื้นที่ป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ตลอดแนวชายฝั่งทะเลระยะทาง ยาว 41 กิโลเมตร โดยทั้งสามต้าบลดังกล่าวมีเนื้อที่ป่าชายเลนที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติจ้านวน 7,343 ไร่ ปัจจุบัน พื้นที่ส่วนใหญ่ กลายสภาพเป็นทะเลเนื่องถูกกัดเซาะจากคลื่นลมและกระแสน้้าที่พัดเข้าหาฝั่งอย่างรุนแรงเป็นเวลานาน ๆ ท้าให้พื้นที่ป่าชาย เลนถูกท้าลายซึ่งบางพื้นทีมีสภาพป่าเหลืออยู่บ้างเพียงจ้านวนน้อยและมีลักษณะเป็นหย่อม ๆ ่ 2.2 การบรรเทาปัญหาและการปรับตัวของชุมชน ก่อนหน้านี้ชาวบ้านไม่ได้สนใจเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งมากนักเพราะคลื่น ยังเข้ามาไม่ถึงจนกระทั่งพื้นที่ของตนเองเริ่มถูกกัดเซาะจึงมองเห็นปัญหา ชาวบ้านจึงช่วยกันท้างานเชิงรุกโดยการกันเขต อนุรักษ์ป่าชายเลน ส้าหรับพื้นที่ซึ่งห่างจากชายฝั่งออกไป 2 กม.มีการปลูกป่าจากแนวป่าด้านในขยายออกมาสู่ด้านนอกรุก ทะเลออกไปเรื่อยๆ แม้ว่าในระยะแรกป่าที่ปลูกใหม่จะต้านคลื่นไม่ไหว แต่กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันท้าให้เกิดการคิดค้นเรื่อง ไม่ไผ่กันคลื่นจากภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้เนื่องจากเห็นว่าเขื่อนกันคลื่นของรัฐที่ค่อยๆ พังทลาย การรับมือกับคลื่นปะทะด้วย สิ่งปลูกสร้างที่เป็นก้าแพงทึบจึงไม่ใช่แนวทางการแก้ปัญหาแล้ว พวกเขาจึงน้าภูมิปัญญาโบราณที่เรียกว่า “ก่าหอยแมลงภู่ ” หรือฟาร์มหอยแมลงภู่ ซึ่งท้าจากไม้ไผ่มาปักเป็นกลุ่มเพื่อให้ลูกหอยแมลงภู่มาเกาะ พื้นที่หลังแนวไม้ไผ่นั้นจะมีตะกอนสูงกว่าที่ อื่นๆ แนวคิดนี้จึงมีการน้ามาทดลองใช้ในปี 2548 โดยเปลี่ยนจากไม้ไผ่รวกขนาดเล็กมาเป็นไม้ไผ่ตงขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมและมี อายุการใช้งานในทะเลได้ 6-7 ปี โดยชาวบ้านแต่ละรายจ่ายเงินซื้อไม้ไผ่ตงสูง 8 เมตรส้าหรับปักตามพื้นที่นากุ้งติดทะเลหน้า บ้านของตนเองจ้านวน 3 แนวคือ กลุ่มไม้ไผ่แนวที่หนึ่ง มีลักษณะ 3 เหลี่ยม กลุ่มละ 55 ต้น หน้ากว้างด้านละ 4.5 เมตร ถูก ปักลงในเลนห่างจากฝั่งทะเลประมาณ 100-200 เมตร เพื่อลดแรงคลื่นที่จะปะทะฝั่ง กลุ่มไม้ไผ่แนวที่สอง จะปักไม้ไผ่ไม่เกิน 10 เมตร จากชายฝั่งเพื่อช่วยให้มวลน้้าที่คลื่นพามาเกิดการตกตะกอนรวมตัวกันเป็นเลนโดยแนวไม้ไผ่จะยึดให้ตะกอนไม่ซัดคืน กลับไปในทะเล เมื่อสะสมตะกอนได้มากๆ หาดเลนจะค่อยๆ แข็งตัวขึ้นจนกลายเป็นแผ่นดินแล้วปลูกแสมสลับกับโกงกางผืน ดินให้แน่นหนา ขณะทีกลุ่มไม้ไผ่แนวที่สาม ซึ่งเป็นแนวรุกห่างจากฝั่ง 2,000 เมตร ชาวบ้านชุมชนชายฝั่งปักไม้ไผ่รวกเพื่อเลี้ยง ่ หองแมลงภู่เป็นการเสริมรายได้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เป็นไปตามหลักธรรมชาติและวิถีชีวิตของชาวหน้าด่านทะเลในบริเวณนั้น 2.3 บทเรียนที่ได้จาการรวมพลังแก้ไขปัญหาของขุมชน จากการด้าเนินการดังกล่าวท้าให้มีดินงอกขึ้นในเขต ต.โคกขาม และ ต.พันท้ายนรสิงห์ 800 ไร่ และ ต.บางหญ้าแพรก 400 ไร่ โดยพื้นดังกล่าวมีการปลูก ต้นไม้ควบคู่กันไปท้าให้ มีหน้าดินสูงขึ้น 1.50 เมตร นับเป็นการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านที่ช่วยกันแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ทะเลอย่างจริงจัง และพึ่งพาตนเองได้ เพื่อให้สามารถปรับตัวในการอยู่อาศัยและการประกอบอาชีพประมงชายฝั่งให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดทั้งเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนร่วมกัน 3. 6 ชุมชนหน้าทะเลของเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 3.1 สภาพภูมิประเทศและปัญหา มีประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนจ้านวน 6 ชุมชนโดยประมาณร้อย ละ 90 มีอาชีพท้านากุ้งแบบบ่อธรรมชาติ ส่วนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมคลองจะท้าประมงชายฝั่ง เช่น งมหอยแครงบนหาดเลน ปักไม้ไผ่เลี้ยงหอยแลงภู่ หรือจับสัตว์น้าชายฝั่ง ซึ่งพื้นที่หาดเลนชุมชนบางขุนเทียนมีความอ่อนไหวและประสบปัญหาน้้าทะเล กัดเซาะชายฝั่งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ท้าให้ป่าชายเลนผืนสุดท้ายซึ่งถือเป็นพื้นที่กันชนระหว่างทะเลกับแผ่นดินถูกท้าลายไป กว่า 2,735 ไร่ ส่งผลให้วิถีชีวิตในการท้าการประมงชายฝั่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนถูกคุกคาม เพราะนอกจากหาดเลนซึ่ง เป็นที่ท้ากินและเป็นสินส่วนรวมได้หายไปแล้ว ที่ดินของชาวบางขุนเทียนที่ติดอยู่กับชายทะเลยาว 5 กม.หรือประมาณ 5 ,715 ไร่ จ้านวน 127 แปลง ก้าลังจะถูกกัดเซาะหายไปกับทะเลในอัตราเฉลี่ย 12-20 เมตร/ปี 3.2 การบรรเทาปัญหาและการปรับตัวของชุมชน ชาวบ้านใช้เงินประมาณ 200 ,000-300,000 บาท/ครัวเรือน/ปี เพื่อซื้อ หินท้าเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ชาวบ้านบางรายซื้อตุ่มมาเรียงไว้หน้าหาดแล้วซื้อทรายมาใส่ทุกๆ ปี ซึ่งสามารถประคอง ที่ดินด้านหน้าทะเลไว้ได้แต่คลื่นได้อ้อมไปกัดเซาะที่ดินด้านข้างแทน เพราะอีกบ้านหนึ่งไม่มีเงินที่จะเอามาป้องกันการกัดเซาะ เนื่องจากไม่มีทางออกชาวบ้านจึงต้องทนอยู่ในชุมชน บางรายยอมแพ้ขายที่ดินราคาถูกแล้วอพยพไปอยู่ที่อื่น ชาวบ้านจึง พยายามช่วยเหลือตัวเองโดยไม่หวังพึ่งหน่วยงานภาครัฐอย่างเดียวและรวมตัวเป็น “เครือข่ายรักษ์ทะเลกรุงเทพฯ” โดยในช่วง 3
  • 4. ต้นปี 2551 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนและมูลนิธิชุมชนไทได้สนับนุนบประมาณ 3 ล้านบาท เพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้ภูมิปัญญา ท้องถิ่นทดลองปักแนวไม้ไผ่ตลอดแนวชายฝั่งซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะความยาว 1 กม. ในระยะแรกมีเป้าหมายเพื่อเติมเต็ม ตะกอนจากข้างในออกสู่ข้างนอกและหยุดการกัดเซาะชายฝั่งหรือท้าให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งน้อยที่สุด ซึ่งหลังจากท้าแล้ว เสร็จไม่กี่เดือนระดับตะกอนเลนหลังทิวไผ่ก็สูงขึ้นมา 1.5 เมตร พอตะกอนแน่นก็ปลูกป่าเพื่อยึดดินไว้ท้าให้ค่อยๆ ได้ระบบ นิเวศน์ชายฝั่งกลับคืนมา 3.3 บทเรียนที่ได้จาการรวมพลังแก้ไขปัญหาของขุมชน ชาวบ้านทั้ง 6 ชุมชนเห็นผลแล้วว่าเขื่อนไม้ไผ่ชะลอคลื่นหรือสลาย ก้าลังคลื่นซึ่งเป็นสิ่งคิดค้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สั่งสมจากประสบการณ์ในการประกอบอาชีพมาแต่โบราณสามารถกัก ตะกอนเลนสะสมไว้ในพื้นที่ได้อย่างน่าพอใจ ซึ่งโครงสร้างวิศวกรรมยุคใหม่ไม่มีความเหมาะสมกับคลื่นในทะเลโคลนเช่นอ่าว ไทยที่สัตว์น้าจะมีชีวิตบนหาดโคลน ตลอดทั้งเขื่อนไม้ไผ่สลายก้าลังคลื่นสามารถน้าไปปรับใช้กับชุมชนอื่นๆได้อีกด้วย และ ปัจจุบันชาวบ้านก้าลังคิดว่าถ้าเปลี่ยนจากไม้ไผ่เป็นเสาคอนกรีตซึ่งมีความทนทานและใช้งบประมาณไม่มาก ชาวบ้านยังเชื่อมั่น ว่าหลักการในการแก้ปัญหาด้วยเขื่อนไม้ไผ่ชะลอคลื่นคือรูปแบบที่ประสบความส้าเร็จมากที่สุดและเป็นต้นแบบในการ แก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล เพราะไม้ไผ่ที่ปักไว้เป็นแนวในทะเลจะลดทอนความแรงของคลื่นให้สลายตัวไปโดยไม่เปลี่ยน ทิศทางของกระแสน้้า ส่วนตะกอนหลังแนวไม้ไผ่ค่อยๆ สะสมตัวสามารถปลูกป่าชายเลนไว้ยึดเกาะตะกอนและในที่สุด กลายเป็นพื้นที่กันชนระหว่างคลื่นทะเลกับแผ่นดิน ในขณะที่การสร้างก้าแพงกันคลื่นหรือคันดักทรายลักษณะต่างๆ ซึ่งเป็น รูปแบบการแก้ปัญหาของภาครัฐที่ผ่านมาค่อนข้างล้มเหลวมาแล้วและยิ่งท้าให้ปัญหาบานปลายท้าลายระบบนิเวศน์มากขึ้น กว่าเดิมด้วย 4.ปัจจัยที่สนับสนุนให้ ชุมชนมีความเข้มแข็งและ เป็นฐานในการบรรเทา ผลกระทบ และปรับตัว จากปัญหาการกัดเซาะ ชายฝั่งทะเลในพื้นที่ภาคกลาง จากการศึกษาพบว่าชุมชนที่สามารถพึ่งพาตนเองได้มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันในด้านวิถีชิวิติของ ชาวประมงพื้นบ้านและมีการรวมกลุ่มและการสร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่คล้ายคลึง กัน โดยปัจจัยที่ท้าให้กลุ่มมีความเข้มแข็งประกอบด้วยปัจจัยภายใน เช่น ผู้น้าเครือข่ายซึ่งมีต้าแหน่งทั้งเป็นทางการและไม่เป็น ทางการในชุมชนเป็นแกนน้าในการค้นหาสาเหตุ แสวงหาแนวทางการแก้ปัญหาทั้งภายในชุมชนและระดับเครือข่ายชุมชน เช่น เครือข่ายเครือข่ายชุมชนโคกขาม จ.สมุทรสาคร การมีจิตส้านึกและการมีส่วนร่วม การมีพันธกรณีหรือเป้าหมายที่สร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การมีขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันของคนชายฝั่ง การมีรูปแบบการ ติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การมีความรู้ ความเข้าใจและร่วมแบ่งปันผลประโยชน์และเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้ง ปัจจัย ภายนอก เช่น การได้รับสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานของรัฐบาลและการได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจากองค์กร พัฒนาเอกชน เป็นต้น 5.สรุป การกัดเซาะชายฝั่งทะเลเป็นปัญหาที่มีความส้าคัญระดับชาติและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น แม้ว่าภาครัฐได้ตระหนักถึง ความส้าคัญของปัญหาและได้พยายามบรรเทาผลกระทบโดยการทดลองแก้ปัญหากัดเซาะของอ่าวไทยตอนบนมาหลาย รูปแบบ เช่น หินทิ้ง สร้างก้าแพงกันคลื่น ทิ้งไส้กรอกทรายเป็นแนวไว้นอกฝั่ง 200 เมตร เป็นต้น ซึ่งใช้งบประมาณหลาย พันล้านบาทแต่ก็ไม่ประสบผลส้าเร็จและยังพบว่ายิ่งเร่งให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นการเสริมสร้างความ เข้มแข็งให้ ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทา ผลกระทบและการปรับตัว (Community-Based Mitigation and Adaptation ) ด้วยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นส้าหรับชายฝั่งที่เป็นหาดโคลนถือได้ว่าเป็นทางเลือกเพื่อให้ชุมชน สามารถใช้เป็นวิธีการในการรับมือกับปัญหาที่ก้าลังคุกคามอยู่โดยไม่ให้ส่งผลกระทบทางลบต่อระบบนิเวศน์ชายฝั่ง โดยมี เป้าหมายเพื่อรักษาความมั่นคงของชุมชนที่อาศัยและอนุรักษ์ฐานทรัพยากรซึ่งเป็นแหล่งรายได้และสร้างงาน โดยควร สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่งยืนเพื่อเสริมสร้าง ศักยภาพให้ให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้ควบคู่ไปกับการคิดค้นแนวทางการบูรณาการวิธีการบรรเทา 4
  • 5. ผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนชายฝั่งทะเลที่เหมาะสมเพิ่มเติม ตลอดทั้งควรส่งเสริมการประยุกต์ใช้แนวทางการแก้ไข ปัญหาดังกล่าวกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลอื่นๆ ที่มีสภาพภูมิประเทศคล้ายคลึงกันของประเทศ เอกสารอ้างอิง โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) 2552 เมื่อสองมือร่วมคลายโลกร้อน บริษัท แอคมี พรินติ้ง จ้ากัด กรุงเทพฯ ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ผศ.ดร.ปราโมทย์ โศจิศุภร ผศ.ศิริวรรณ ศิริบุญ และ ผศ.ดร.วินัย อวยพรประเสริฐ 2554 บูรณาการเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรปราการที่เป็นต้นแบบบริเวณหาดโคลน ค้นหาจาก http://www.trf.or.th เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2556 ศศิณี โสรินทร์ ไม่ระบุปีที่พิมพ์ การจัดการโดยฐานชุมชนพื้นที่กัดเซาะป่าชายเลนบ้านบางบ่อล่าง ตาบลบางแก้ว อาเภอ เมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ยุทธพล ผ่องพลีศาล กุลวดี แก่สันติสุขมงคล จ้าลอง อรุณเลิศอารีย์ และจงดี โตอิ้ม ไม่ระบุปีที่พิมพ์ เครือข่ายชุมชนเพื่อ ป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยวิธีภูมิปัญญาท้องถิ่น: กรณีศึกษาการปักไผ่ชะลอคลื่นของเครือข่ายรักษ์อ่าวไทย ตอนบน บทความส้าหรับการประชุมทางวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตก้าแพงแสน ครั้งที่ 9 5