SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
บทที่
การวิเคราะหระบบขนสง




 เนื้อหาในบท

 าจํากัดความของระบบขนสง
   คํ
  างของระบบขนสง
   โครงสร
 ปสงคและอุปทานของระบบขนสงและจราจร
   อุ
  สัมพันธระหวางอุปสงคและอุปทาน
   ปฏิ
 จจัยที่สงผลกระทบใหเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบขนสง
   ป
2                                                               ระบบการขนสงและการดําเนินงาน

1.1 คําจํากัดความของระบบขนสง

         ระบบขนส่งประกอบด้วยการรวมตัวขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อันประกอบไป
ด้วยเส้นทาง (Guideway) ยานพาหนะ (Vehicles) สถานี (Terminal) และระบบควบคุม (Control
System) ที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายสินค้าและผู้โดยสาร โดยมีรายละเอียดดังนี้
             o เส้นทาง (Guideway) หมายถึง สายทางหรือรางที่เชื่อมต่อระหว่างจุดสองจุดขึ้น
                  ไปบนโครงข่ายระบบขนส่ง ในกรณีนี้ระบบขนส่งทางท่อ ระบบขนส่งทางสายพาน
                  หรือระบบขนส่งทางอากาศอาจนับเป็นเส้นทางได้ด้วยเช่นกัน
             o ยานพาหนะ (Vehicles) หมายถึง รูปแบบที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้โดยสารหรือ
                  สินค้าจากจุดหนึ่งไปตามเส้นทาง อาทิ รถยนต์ รถโดยสารประจําทาง เรือขนส่ง
                  สินค้า สายพาน หรือเคเบิล เป็นต้น
             o สถานี (Terminals) หมายถึง จุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของการเดินทางหรือขนส่ง
                  อาทิ อาคารจอดรถ จุดจอดเรือขนส่งสินค้า ป้ายหยุดรถโดยสารประจําทาง ท่า
                  อากาศยาน หรือสถานีขนส่ง เป็นต้น
             o ระบบควบคุม (Control System) หมายถึง ระบบที่ใช้ในการจัดการและบริหาร
                  เส้นทาง ยานพาหนะ และสถานี โดยในที่นี้ระบบควบคุมจะหมายรวมถึงบุคลากร
                  หรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่ในการจัดการควบคุมการขนส่งด้วย
         โดยทั่วไประบบขนส่งไม่ว่าจะเป็นระบบขนส่งทางอากาศ ทางภาคพื้นดิน และทางน้ํา จะถูก
จัดการหรือกําหนดให้อยู่ภายใต้กระบวนการหรือตารางเวลาที่กําหนดขึ้น รูปที่ 1.1 แสดงตัวอย่าง
ของโครงข่ายทางหลวงสายหลักของประเทศไทยที่สามารถใช้เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน โครง-
ข่ายดังกล่าวจัดเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางหลวงเอเซีย (Asian Highways) หากพิจารณาบริบท
ของการขนส่ ง สาธารณะทางรางในเขตเมื อ ง รู ป ที่ 1.2 แสดงโครงข่ า ยของรถไฟฟ้ า ในเขต
กรุงเทพมหานครในอนาคต ตามแผนของสํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
กระทรวงคมนาคม
         ในการวิเคราะห์ระบบขนส่ง จะต้องพิจารณาถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบหลัก 3
องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ผู้ที่ต้องการเดินทางหรือสินค้าที่จะถูกขนส่ง (2) ยานพาหนะที่ใช้ในการ
เคลื่อนย้ายคนหรือสินค้า และ (3) โครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในการขนส่ง เช่น ถนน รางรถไฟ ท่อ
คลอง แม่น้ํา ท่าอากาศยาน เป็นต้น รูปที่ 1.3 แสดงถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน
ซึ่งมีความเชื่อ มโยงกั นโดยระบบต่าง ๆ ได้แ ก่ ระบบกิจกรรม (Activity System) ระบบขนส่ง
(Transport System) และระบบจราจร (Traffic System)
การวิเคราะหระบบขนสง                                                                           3


              o ระบบกิจกรรม ประกอบด้วยกระบวนการเคลื่อนย้ายผู้โดยสารและสินค้าระหว่าง
                จุดสองจุด หรือตําแหน่งสองตําแหน่งบนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง ขนาด
                ของกิจกรรมดังกล่าวย่อมขึ้นอยู่กับประเภทและความถี่ของปริมาณการเดินทาง
                หรือปริมาณการขนส่งสินค้า
              o ระบบขนส่ง ได้แก่ รูปแบบการขนส่งหรือยานพาหนะที่เหมาะสมที่ใช้ในการเคลื่อน
                ย้ายผู้โดยสารและสินค้า ทั้งนี้เพื่อให้สามารถเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
                ได้ ความต้องการในการเดินทางหรือขนส่งจะมีความสัมพันธ์กับความสามารถใน
                การให้บริการของระบบขนส่ง ซึ่งจะต้องพิจารณาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์
                (Demand) และอุปทาน (Supply) ของการขนส่ง
              o ระบบจราจร หมายถึง การเคลื่อนที่ในเชิงกายภาพของการขนส่งเมื่อพิจารณาทั้ง
                ในมิติของพื้นที่และเวลา โดยพิจารณาให้ผู้โดยสารและสินค้าเคลื่อนย้ายไปพร้อม
                กับยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งบนโครงข่ายระบบขนส่ง ในกรณีนี้ยานพาหนะแต่
                ละคันจะเปรียบเสมือนหน่วย 1 หน่วยของการจราจร การวิเคราะห์การไหลของ
                การจราจรโดยทั่วไปจะพิจารณาจากจํานวนยานพาหนะ (คัน) ต่อหนึ่งหน่วยเวลา
                บนช่วงใดช่วงหนึ่งของระบบโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง
4                                                      ระบบการขนสงและการดําเนินงาน




                   รูปที่ 1.1 โครงข่ายทางหลวงเอเซียในประเทศไทย
    (ที่มา : UNESCAP http://www.unescap.org/ttdw/?MenuName=AsianHighway)
การวิเคราะหระบบขนสง                                                                                       5




                   รูปที่ 1.2 โครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครในอนาคต
            (ที่มา : สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม)


                                                       ยานพาหนะ
                                                   )
                                                tem




                                                                  ระบ
                                             Sys




                                                                     บ
                                                                    จรา
                                               ort




                                                                      จร (
                                            nsp




                                                                          Tr a




                                                    ระบบขนสง
                                        Tra




                                                                              ff
                                  สง (




                                                                            ic S




                                                (Transport System)
                                                                                yste
                              บขน




                                                                                    m
                             ระบ




                                                                                   )




                 ผูโดยสาร                                                              โครงสรา งพื้นฐาน
                                            ระบบกิจกรรม (Activity System)
                    สินคา                                                                 การขนสง


                  รูปที่ 1.3 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบหลักของระบบขนส่ง
6                                                                    ระบบการขนสงและการดําเนินงาน

1.2 โครงสรางของระบบขนสง

         โครงสร้างของระบบขนส่งอาจพิจารณาได้จาก 2 มิติ ได้แก่ มิติด้านพื้นที่ (Spatial) และมิติ
ด้านเวลา (Temporal) โดยมิติด้านพื้นที่จะแสดงถึงลักษณะของโครงข่ายของการขนส่ง ในขณะที่
มิติด้านเวลาจะแสดงถึงลักษณะของระบบที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา
         พิจารณาตัวอย่างของระบบขนส่งดังรูปที่ 1.4 จะพบได้ว่าระบบนี้ประกอบไปด้วยระบบย่อย
5 ระบบ หรืออาจเรียกได้วาเป็นการเชื่อมต่อ (Link) ซึ่งหมายถึงการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือผู้โดยสาร
                           ่
จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง รูปดังกล่าวเมื่อพิจารณาในมุมมองของการขนส่งสินค้าอาจแสดงถึงการ
ขนย้ายสินค้าจากผู้ผลิตโดยรถบรรทุกหรือระบบราง ไปยังท่าเรือหรือท่าอากาศยาน (จาก Origin
ไปยัง Transfer Link 1) และทําการขนย้ายสินค้าไปยังเครื่องบินหรือเรือขนส่งสินค้าเพื่อเคลื่อน
ย้ายสินค้าจากท่าเรือหรือท่าอากาศยานแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง (จาก Transfer Link 1 ไปยัง
Transfer Link 2) จากนั้นการเคลื่อนย้ายสินค้าจึงสิ้นสุดหลังจากการขนส่งโดยรถบรรทุกหรือระบบ
รางไปยังจุดหมายปลายทาง (จาก Transfer Link 2 ไปยัง Destination)
         รูปที่ 1.4 อาจแสดงถึงการขนส่งของผู้โดยสารในเขตเมือง ซึ่งได้แก่ การเดินหรือการใช้
รูปแบบการเดินทางเพื่อเชื่อมต่อ (Feeder) ไปยังสถานีต้นทาง (เช่น สถานีรถไฟฟ้าหรือป้ายหยุดรถ
โดยสารประจํ าทาง) จากนั้ น จึ งเกิ ด การเดิ น ทางหลั ก (Line-haul) โดยรถไฟฟ้ า หรือ รถโดยสาร
ประจําทางไปยังสถานีปลายทาง แล้วจึงสิ้นสุดด้วยการเดินไปยังจุดหมายปลายทาง




                   รูปที่ 1.4 ตัวอย่างระบบขนส่ง (ที่มา : Manheim, 1979)

        การวิเคราะห์โครงข่ายจะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ ช่วงทาง (Link)
และจุ ด ต่ อ (Node) สํ า หรั บ การวิ เ คราะห์ ร ะบบขนส่ ง ช่ ว งทางจะเป็ น ตั ว แทนของเส้ น ทาง
(Guideway) ที่ใช้ขนส่งหรือเดินทางโดยมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (Cost) เกิดขึ้น เช่น ทางหลวง
ทางรถไฟ หรือเส้นทางบิน เป็นต้น ในขณะที่จุดต่อจะเป็นตัวแทนของสถานีขนส่ง (Terminal) เช่น
สถานีรถไฟฟ้า จุดจอดรถโดยสารประจําทาง ท่าเรือ หรือจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า เป็นต้น
การวิเคราะหระบบขนสง                                                                  7

        โดยทั่วไปโครงข่ายสามารถแทนด้วยเซตของจุดต่อซึ่งเชื่อมต่อกันโดยช่วงทาง อาทิ โครง
ข่ายในรูปที่ 1.5 จะประกอบไปด้วยจุดต่อ 5 จุด และช่วงทาง 8 ช่วงทาง โดยสามารถเขียนให้อยู่ใน
รูปของเซตของจุดต่อและเซตของช่วงทางได้ดังนี้
        เซตของจุดต่อ : N = {1, 2, 3, 4, 5}
        เซตของช่วงทาง : A = {(1,3), (1,2), (2,3), (2,4), (2,5), (3,4), (3,5), (4,5)}

                   1                         3                         5



                            2                             4

                   รูปที่ 1.5 ตัวอย่างการแสดงโครงข่ายด้วยช่วงทางและจุดต่อ

          ในทางปฏิ บัติจะพบได้ว่าโครงข่ายการขนส่งมักมีค วามซับซ้อน เนื่ องจากประกอบด้วย
เส้นทางการขนส่งทั้งทางบก (ถนนและราง) ทางน้ํา และทางอากาศ การวิเคราะห์โครงข่ายการ
ขนส่งจะต้องพิจารณาถึงขอบเขตและความละเอียดของผลลัพธ์ที่ต้องการจากกระบวนการวิเคราะห์
อาทิ หากศึกษาการวางแผนการขนส่งทางถนนในระดับประเทศ อาจพิจารณาเฉพาะทางหลวง
ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลัก ในทางตรงกันข้าม หากศึกษาการขนส่งทางถนนในเขตเมือง อาจจะต้อง
พิจารณาโครงข่ายที่มีความละเอียดขึ้น ซึ่งประกอบด้วยทางพิเศษ ถนนสายหลัก ถนนสายรอง
รวมไปถึงตรอกและซอย เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้วิเคราะห์จะต้องทราบถึงค่าใช้จ่ายของผู้เดินทาง
(เช่น เวลา ระยะทาง หรือค่าใช้จ่าย) ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงทางที่ทําการวิเคราะห์ด้วย

1.3 อุปสงคและอุปทานของระบบขนสงและจราจร

        ในทางเศรษฐศาสตร์ ระบบขนส่ง ณ ช่วงเวลาใดก็ตาม จะเป็นผลรวมของปัจจัย 2 ด้านซึ่ง
มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ได้แก่
        (1) ความต้องการในการขนส่งและเดินทาง หรืออุปสงค์ (Demand)
        (2) ขนาดและความสามารถในการให้บริการของระบบขนส่ง หรืออุปทาน (Supply)
        อุปสงค์หรือความต้องการในการขนส่งและเดินทางมีที่มาจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับเศรษฐกิจและสังคม (Socioeconomic Activities) เช่น ธุรกิจ การค้า การศึกษา อุตสาหกรรม
หรือเกษตรกรรม กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดปริมาณการจราจรหรือปริมาณการขนส่ง
บนโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง โดยทั่วไประดับของความต้องการในการขนส่งและเดินทางจะขึ้นอยู่
กับระดับของคุณลักษณะของอุปทานของระบบขนส่ง เช่น ต้นทุน หรือเวลา ปริมาณการขนส่งและ
8                                                                             ระบบการขนสงและการดําเนินงาน

จราจรที่เกิดขึ้นบนระบบจึงเป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และอุปทานนั่นเอง อาทิ ในช่วง
เวลาที่ราคาน้ํามันเชื้อเพลิงปรับตัวขึ้นสูง ความต้องการในการเดินทางจะมีแนวโน้มลดลง หรือใน
กรณีที่ภาครัฐมีการเปิดให้บริการรูปแบบการขนส่งแบบใหม่ที่มีราคาค่าใช้จ่ายในการขนส่งถูกกว่า
รูปแบบที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ย่อมส่งผลให้ความต้องการในการใช้รูปแบบการขนส่งแบบเก่าลด
ลงเช่นกัน เป็นต้น รูปที่ 1.6 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์ อุปทาน และปริมาณการขนส่งและ
จราจร

                                           อุปสงคของการ
                                               ขนสง


    กิจกรรมที่เกี่ยวของ                                                            ปริมาณการขนสงและจราจร
                                  อุปสงคของการ               สมดุลระหวาง
       กับเศรษฐกิจ                                                                   (จํานวนยานพาหนะ,จํานวนผู
                                      ขนสง                อุปสงคและอุปทาน        โดยสาร, ปริมาณการเดินทาง ฯลฯ)
        และสังคม

           รูปที่ 1.6 ความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์ อุปทาน และปริมาณการขนส่งและจราจร


1.4 ปฏิสัมพันธระหวางอุปสงคและอุปทาน

         ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น อุปสงค์และอุปทาน ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งย่อมมีปฏิสัมพันธ์
(Interaction) ต่อกัน โดยทั่วไปการวิเคราะห์รูปแบบของปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และอุปทาน
จะอาศัยกราฟความสัมพันธ์ 2 เส้น โดยเส้นแรกจะแสดงถึงอุปสงค์ของระบบขนส่ง ณ ช่วงเวลา
หนึ่ง ในขณะที่กราฟอีกเส้นหนึ่งจะแสดงผลกระทบของอุปทานหรือการให้บริการของระบบขนส่ง
ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามปริมาณจราจรหรือปริมาณการขนส่งที่เข้ามาใช้บริการ
         รูป ที่ 1.7 แสดงการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ในการเดินทางเมื่อค่าใช้จ่ายเปลี่ยนแปลง
กราฟดังกล่าวบ่งบอกถึงสภาวะทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาหนึ่งและภายใต้ประชากรในพื้นที่ศึกษา ณ
ช่วงเวลาเดียวกัน จากกราฟจะพบได้ว่าเมื่อค่าใช้จ่ายในการเดินทางต่อกิโลเมตร (C) ลดลงย่อมดึง
ดูดให้มีการใช้บริการมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากค่าปริมาณการเดินทาง (V) ที่เพิ่มมากขึ้น เช่น เมื่อ
มีการจราจรทั้งหมด 6,000 คันต่อวัน ค่าใช้จ่ายต่อระยะทางหนึ่งกิโลเมตรจะเท่ากับ 30 บาท หาก
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางลดลงเหลือ 20 บาทต่อกิโลเมตรก็จะส่งผลให้ปริมาณการเดินทางเพิ่มมาก
ขึ้นเป็น 8,000 คันต่อวัน
         อุปสงค์หรือความต้องการในการเดินทางจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเกิดการให้บริการด้านการขน
ส่งระหว่างจุดสองจุดหรือพื้นที่สองพื้นที่ ซึ่งการให้บริการดังกล่าวก็คืออุปทาน (Supply) ของการขน
การวิเคราะหระบบขนสง                                                                                                         9

ส่งนั่นเอง หากสมมติให้กราฟอุปสงค์ในรูปที่ 1.7 เป็นความต้องการในการขนส่งระหว่างพื้นที่สอง
พื้นที่ที่มีแม่น้ําคั่นกลาง เมื่อมีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ําเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ท้ังสองเข้าหากันแล้ว
ก็จะมีผู้ใช้สะพานดังกล่าวเกิดขึ้น อย่างไรก็ดี ปริมาณการขนส่งหรือปริมาณการจราจรที่เกิดขึ้นจะ
สู งหรื อ ต่ํ า ย่ อ มขึ้ น อยู่ กั บ ค่ าใช้ จ่ า ยในการเดิ น ทาง ซึ่ ง ในกรณี นี้ ค่ า ใช้ จ่ า ยดั งกล่ า วอาจขึ้ น อยู่ กั บ
นโยบายการเก็บค่าผ่านทางและระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทาง




                                     2                   4                   6                   8                  10
                                     V = ปริมาณการจราจร (1,000 คัน/วัน)

                  รูปที่ 1.7 ความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

         เมื่อใดก็ตามที่มีปริมาณการจราจรสูง ณ บริเวณสะพานดังกล่าวก็จะทําให้เวลาที่ใช้ในการ
เดินทางสูงขึ้น และส่งผลทําให้เกิดค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงขึ้นตาม รูปที่ 1.8 แสดงตัวอย่างความ
สัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่ายในการใช้สะพานกับปริมาณการจราจร โดยสมมติให้มีการเก็บค่าผ่านทาง
เท่ากับ 10 บาทต่อกิโลเมตร จากรูปที่ 1.8 จะพบได้ว่าเมื่อมีปริมาณการจราจรไม่เกิน 2,000 คันต่อ
วันจะไม่มีความล่าช้าเกิดขึ้นบนสะพาน ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการใช้สะพานในที่นี้จึงเท่ากับอัตราค่า
ผ่านทาง หรือ 10 บาทต่อกิโลเมตรเท่านั้น หากมีปริมาณจราจรสูงขึ้นมากกว่า 2,000 คันต่อวันแล้ว
ย่อมมีความล่าช้าเกิดขึ้นในการเดินทาง ทําให้ผู้ขับขี่ต้องใช้เวลาในการเดินทางมากขึ้น ดังนั้น เมื่อ
คิดผลของมูลค่าของเวลาที่เสียไปแล้วย่อมทําให้เกิดค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วย เช่น หากมีปริมาณการ
จราจร 4,000 คันต่อวัน ค่าใช้จ่ายจะเท่ากับ 20 บาทต่อกิโลเมตร หรือหากมีปริมาณการจราจร
6,000 คันต่อวัน ค่าใช้จ่ายจะเท่ากับ 30 บาทต่อกิโลเมตร เป็นต้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง รูปที่ 1.8 ก็คือ
กราฟที่แสดงถึงความสามารถในการให้บริการของระบบขนส่ง ณ ปริมาณการจราจรที่ระดับค่าใช้
จ่ายต่าง ๆ นั่นเอง
10                                                                          ระบบการขนสงและการดําเนินงาน

        หากพิ จารณาปฏิสัม พั น ธ์ระหว่างอุปสงค์ในรูปที่ 1.7 และอุปทานในรูป ที่ 1.8 แล้ว ก็จะ
สามารถหาค่าของปริมาณการจราจร (V) ที่คาดการณ์ว่าจะใช้สะพานได้ ซึ่งค่าดังกล่าวสามารถ
พิ จ ารณาได้ จ ากจุ ด ตั ด ระหว่ า งกราฟของอุ ป สงค์ แ ละอุ ป ทาน ซึ่ ง เรี ย กได้ ว่ า เป็ น จุ ด สมดุ ล
(Equilibrium) ของระบบขนส่ง ในกรณีท่ีมีปริมาณการจราจรสูงกว่าค่าที่จุดสมดุล ค่าใช้จ่ายในการ
เดินทางก็จะสูงขึ้นและทําให้ความต้องการในการเดินทางลดลงเช่นเดียวกัน ในกรณีที่มีปริมาณการ
จราจรน้อยกว่าค่าที่จุดสมดุล ค่าใช้จ่ายในการเดินทางก็จะลดลงและส่งผลให้ความต้องการในการ
เดินทางสูงขึ้น




               รูปที่ 1.8 ความสัมพันธ์ระหว่างอุปทานและค่าใช้จายในการเดินทาง
                                                             ่

        รูป ที่ 1.9 แสดงค่ าปริม าณการจราจร ณ จุด สมดุล ซึ่ งจะมี ป ริมาณการเดินทางเกิด ขึ้ น
6,000 คันต่อวัน หากผู้ให้บริการต้องการเพิ่มหรือลดค่าปริมาณการจราจรดังกล่าว ก็สามารถดําเนิน
การได้โดยพิจารณาปรับเปลี่ยนนโยบายการเก็บค่าอัตราค่าผ่านทาง เพื่อให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในกรณีดังกล่าวก็จะทําให้จุดสมดุลเกิดการเปลี่ยนแปลงไป

More Related Content

More from CUPress

9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 
9789740336419
97897403364199789740336419
9789740336419CUPress
 
9789740336402
97897403364029789740336402
9789740336402CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 
9789740336419
97897403364199789740336419
9789740336419
 
9789740336402
97897403364029789740336402
9789740336402
 

9789740329466

  • 1. บทที่ การวิเคราะหระบบขนสง เนื้อหาในบท าจํากัดความของระบบขนสง คํ  างของระบบขนสง โครงสร ปสงคและอุปทานของระบบขนสงและจราจร อุ  สัมพันธระหวางอุปสงคและอุปทาน ปฏิ จจัยที่สงผลกระทบใหเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบขนสง ป
  • 2. 2 ระบบการขนสงและการดําเนินงาน 1.1 คําจํากัดความของระบบขนสง ระบบขนส่งประกอบด้วยการรวมตัวขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อันประกอบไป ด้วยเส้นทาง (Guideway) ยานพาหนะ (Vehicles) สถานี (Terminal) และระบบควบคุม (Control System) ที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายสินค้าและผู้โดยสาร โดยมีรายละเอียดดังนี้ o เส้นทาง (Guideway) หมายถึง สายทางหรือรางที่เชื่อมต่อระหว่างจุดสองจุดขึ้น ไปบนโครงข่ายระบบขนส่ง ในกรณีนี้ระบบขนส่งทางท่อ ระบบขนส่งทางสายพาน หรือระบบขนส่งทางอากาศอาจนับเป็นเส้นทางได้ด้วยเช่นกัน o ยานพาหนะ (Vehicles) หมายถึง รูปแบบที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้โดยสารหรือ สินค้าจากจุดหนึ่งไปตามเส้นทาง อาทิ รถยนต์ รถโดยสารประจําทาง เรือขนส่ง สินค้า สายพาน หรือเคเบิล เป็นต้น o สถานี (Terminals) หมายถึง จุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของการเดินทางหรือขนส่ง อาทิ อาคารจอดรถ จุดจอดเรือขนส่งสินค้า ป้ายหยุดรถโดยสารประจําทาง ท่า อากาศยาน หรือสถานีขนส่ง เป็นต้น o ระบบควบคุม (Control System) หมายถึง ระบบที่ใช้ในการจัดการและบริหาร เส้นทาง ยานพาหนะ และสถานี โดยในที่นี้ระบบควบคุมจะหมายรวมถึงบุคลากร หรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่ในการจัดการควบคุมการขนส่งด้วย โดยทั่วไประบบขนส่งไม่ว่าจะเป็นระบบขนส่งทางอากาศ ทางภาคพื้นดิน และทางน้ํา จะถูก จัดการหรือกําหนดให้อยู่ภายใต้กระบวนการหรือตารางเวลาที่กําหนดขึ้น รูปที่ 1.1 แสดงตัวอย่าง ของโครงข่ายทางหลวงสายหลักของประเทศไทยที่สามารถใช้เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน โครง- ข่ายดังกล่าวจัดเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางหลวงเอเซีย (Asian Highways) หากพิจารณาบริบท ของการขนส่ ง สาธารณะทางรางในเขตเมื อ ง รู ป ที่ 1.2 แสดงโครงข่ า ยของรถไฟฟ้ า ในเขต กรุงเทพมหานครในอนาคต ตามแผนของสํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ในการวิเคราะห์ระบบขนส่ง จะต้องพิจารณาถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ผู้ที่ต้องการเดินทางหรือสินค้าที่จะถูกขนส่ง (2) ยานพาหนะที่ใช้ในการ เคลื่อนย้ายคนหรือสินค้า และ (3) โครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในการขนส่ง เช่น ถนน รางรถไฟ ท่อ คลอง แม่น้ํา ท่าอากาศยาน เป็นต้น รูปที่ 1.3 แสดงถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน ซึ่งมีความเชื่อ มโยงกั นโดยระบบต่าง ๆ ได้แ ก่ ระบบกิจกรรม (Activity System) ระบบขนส่ง (Transport System) และระบบจราจร (Traffic System)
  • 3. การวิเคราะหระบบขนสง 3 o ระบบกิจกรรม ประกอบด้วยกระบวนการเคลื่อนย้ายผู้โดยสารและสินค้าระหว่าง จุดสองจุด หรือตําแหน่งสองตําแหน่งบนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง ขนาด ของกิจกรรมดังกล่าวย่อมขึ้นอยู่กับประเภทและความถี่ของปริมาณการเดินทาง หรือปริมาณการขนส่งสินค้า o ระบบขนส่ง ได้แก่ รูปแบบการขนส่งหรือยานพาหนะที่เหมาะสมที่ใช้ในการเคลื่อน ย้ายผู้โดยสารและสินค้า ทั้งนี้เพื่อให้สามารถเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ได้ ความต้องการในการเดินทางหรือขนส่งจะมีความสัมพันธ์กับความสามารถใน การให้บริการของระบบขนส่ง ซึ่งจะต้องพิจารณาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ของการขนส่ง o ระบบจราจร หมายถึง การเคลื่อนที่ในเชิงกายภาพของการขนส่งเมื่อพิจารณาทั้ง ในมิติของพื้นที่และเวลา โดยพิจารณาให้ผู้โดยสารและสินค้าเคลื่อนย้ายไปพร้อม กับยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งบนโครงข่ายระบบขนส่ง ในกรณีนี้ยานพาหนะแต่ ละคันจะเปรียบเสมือนหน่วย 1 หน่วยของการจราจร การวิเคราะห์การไหลของ การจราจรโดยทั่วไปจะพิจารณาจากจํานวนยานพาหนะ (คัน) ต่อหนึ่งหน่วยเวลา บนช่วงใดช่วงหนึ่งของระบบโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง
  • 4. 4 ระบบการขนสงและการดําเนินงาน รูปที่ 1.1 โครงข่ายทางหลวงเอเซียในประเทศไทย (ที่มา : UNESCAP http://www.unescap.org/ttdw/?MenuName=AsianHighway)
  • 5. การวิเคราะหระบบขนสง 5 รูปที่ 1.2 โครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครในอนาคต (ที่มา : สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม) ยานพาหนะ ) tem ระบ Sys บ จรา ort จร ( nsp Tr a ระบบขนสง Tra ff สง ( ic S (Transport System) yste บขน m ระบ ) ผูโดยสาร โครงสรา งพื้นฐาน ระบบกิจกรรม (Activity System) สินคา การขนสง รูปที่ 1.3 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบหลักของระบบขนส่ง
  • 6. 6 ระบบการขนสงและการดําเนินงาน 1.2 โครงสรางของระบบขนสง โครงสร้างของระบบขนส่งอาจพิจารณาได้จาก 2 มิติ ได้แก่ มิติด้านพื้นที่ (Spatial) และมิติ ด้านเวลา (Temporal) โดยมิติด้านพื้นที่จะแสดงถึงลักษณะของโครงข่ายของการขนส่ง ในขณะที่ มิติด้านเวลาจะแสดงถึงลักษณะของระบบที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา พิจารณาตัวอย่างของระบบขนส่งดังรูปที่ 1.4 จะพบได้ว่าระบบนี้ประกอบไปด้วยระบบย่อย 5 ระบบ หรืออาจเรียกได้วาเป็นการเชื่อมต่อ (Link) ซึ่งหมายถึงการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือผู้โดยสาร ่ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง รูปดังกล่าวเมื่อพิจารณาในมุมมองของการขนส่งสินค้าอาจแสดงถึงการ ขนย้ายสินค้าจากผู้ผลิตโดยรถบรรทุกหรือระบบราง ไปยังท่าเรือหรือท่าอากาศยาน (จาก Origin ไปยัง Transfer Link 1) และทําการขนย้ายสินค้าไปยังเครื่องบินหรือเรือขนส่งสินค้าเพื่อเคลื่อน ย้ายสินค้าจากท่าเรือหรือท่าอากาศยานแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง (จาก Transfer Link 1 ไปยัง Transfer Link 2) จากนั้นการเคลื่อนย้ายสินค้าจึงสิ้นสุดหลังจากการขนส่งโดยรถบรรทุกหรือระบบ รางไปยังจุดหมายปลายทาง (จาก Transfer Link 2 ไปยัง Destination) รูปที่ 1.4 อาจแสดงถึงการขนส่งของผู้โดยสารในเขตเมือง ซึ่งได้แก่ การเดินหรือการใช้ รูปแบบการเดินทางเพื่อเชื่อมต่อ (Feeder) ไปยังสถานีต้นทาง (เช่น สถานีรถไฟฟ้าหรือป้ายหยุดรถ โดยสารประจํ าทาง) จากนั้ น จึ งเกิ ด การเดิ น ทางหลั ก (Line-haul) โดยรถไฟฟ้ า หรือ รถโดยสาร ประจําทางไปยังสถานีปลายทาง แล้วจึงสิ้นสุดด้วยการเดินไปยังจุดหมายปลายทาง รูปที่ 1.4 ตัวอย่างระบบขนส่ง (ที่มา : Manheim, 1979) การวิเคราะห์โครงข่ายจะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ ช่วงทาง (Link) และจุ ด ต่ อ (Node) สํ า หรั บ การวิ เ คราะห์ ร ะบบขนส่ ง ช่ ว งทางจะเป็ น ตั ว แทนของเส้ น ทาง (Guideway) ที่ใช้ขนส่งหรือเดินทางโดยมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (Cost) เกิดขึ้น เช่น ทางหลวง ทางรถไฟ หรือเส้นทางบิน เป็นต้น ในขณะที่จุดต่อจะเป็นตัวแทนของสถานีขนส่ง (Terminal) เช่น สถานีรถไฟฟ้า จุดจอดรถโดยสารประจําทาง ท่าเรือ หรือจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า เป็นต้น
  • 7. การวิเคราะหระบบขนสง 7 โดยทั่วไปโครงข่ายสามารถแทนด้วยเซตของจุดต่อซึ่งเชื่อมต่อกันโดยช่วงทาง อาทิ โครง ข่ายในรูปที่ 1.5 จะประกอบไปด้วยจุดต่อ 5 จุด และช่วงทาง 8 ช่วงทาง โดยสามารถเขียนให้อยู่ใน รูปของเซตของจุดต่อและเซตของช่วงทางได้ดังนี้ เซตของจุดต่อ : N = {1, 2, 3, 4, 5} เซตของช่วงทาง : A = {(1,3), (1,2), (2,3), (2,4), (2,5), (3,4), (3,5), (4,5)} 1 3 5 2 4 รูปที่ 1.5 ตัวอย่างการแสดงโครงข่ายด้วยช่วงทางและจุดต่อ ในทางปฏิ บัติจะพบได้ว่าโครงข่ายการขนส่งมักมีค วามซับซ้อน เนื่ องจากประกอบด้วย เส้นทางการขนส่งทั้งทางบก (ถนนและราง) ทางน้ํา และทางอากาศ การวิเคราะห์โครงข่ายการ ขนส่งจะต้องพิจารณาถึงขอบเขตและความละเอียดของผลลัพธ์ที่ต้องการจากกระบวนการวิเคราะห์ อาทิ หากศึกษาการวางแผนการขนส่งทางถนนในระดับประเทศ อาจพิจารณาเฉพาะทางหลวง ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลัก ในทางตรงกันข้าม หากศึกษาการขนส่งทางถนนในเขตเมือง อาจจะต้อง พิจารณาโครงข่ายที่มีความละเอียดขึ้น ซึ่งประกอบด้วยทางพิเศษ ถนนสายหลัก ถนนสายรอง รวมไปถึงตรอกและซอย เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้วิเคราะห์จะต้องทราบถึงค่าใช้จ่ายของผู้เดินทาง (เช่น เวลา ระยะทาง หรือค่าใช้จ่าย) ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงทางที่ทําการวิเคราะห์ด้วย 1.3 อุปสงคและอุปทานของระบบขนสงและจราจร ในทางเศรษฐศาสตร์ ระบบขนส่ง ณ ช่วงเวลาใดก็ตาม จะเป็นผลรวมของปัจจัย 2 ด้านซึ่ง มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ได้แก่ (1) ความต้องการในการขนส่งและเดินทาง หรืออุปสงค์ (Demand) (2) ขนาดและความสามารถในการให้บริการของระบบขนส่ง หรืออุปทาน (Supply) อุปสงค์หรือความต้องการในการขนส่งและเดินทางมีที่มาจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับเศรษฐกิจและสังคม (Socioeconomic Activities) เช่น ธุรกิจ การค้า การศึกษา อุตสาหกรรม หรือเกษตรกรรม กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดปริมาณการจราจรหรือปริมาณการขนส่ง บนโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง โดยทั่วไประดับของความต้องการในการขนส่งและเดินทางจะขึ้นอยู่ กับระดับของคุณลักษณะของอุปทานของระบบขนส่ง เช่น ต้นทุน หรือเวลา ปริมาณการขนส่งและ
  • 8. 8 ระบบการขนสงและการดําเนินงาน จราจรที่เกิดขึ้นบนระบบจึงเป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และอุปทานนั่นเอง อาทิ ในช่วง เวลาที่ราคาน้ํามันเชื้อเพลิงปรับตัวขึ้นสูง ความต้องการในการเดินทางจะมีแนวโน้มลดลง หรือใน กรณีที่ภาครัฐมีการเปิดให้บริการรูปแบบการขนส่งแบบใหม่ที่มีราคาค่าใช้จ่ายในการขนส่งถูกกว่า รูปแบบที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ย่อมส่งผลให้ความต้องการในการใช้รูปแบบการขนส่งแบบเก่าลด ลงเช่นกัน เป็นต้น รูปที่ 1.6 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์ อุปทาน และปริมาณการขนส่งและ จราจร อุปสงคของการ ขนสง กิจกรรมที่เกี่ยวของ ปริมาณการขนสงและจราจร อุปสงคของการ สมดุลระหวาง กับเศรษฐกิจ (จํานวนยานพาหนะ,จํานวนผู ขนสง อุปสงคและอุปทาน โดยสาร, ปริมาณการเดินทาง ฯลฯ) และสังคม รูปที่ 1.6 ความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์ อุปทาน และปริมาณการขนส่งและจราจร 1.4 ปฏิสัมพันธระหวางอุปสงคและอุปทาน ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น อุปสงค์และอุปทาน ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งย่อมมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ต่อกัน โดยทั่วไปการวิเคราะห์รูปแบบของปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และอุปทาน จะอาศัยกราฟความสัมพันธ์ 2 เส้น โดยเส้นแรกจะแสดงถึงอุปสงค์ของระบบขนส่ง ณ ช่วงเวลา หนึ่ง ในขณะที่กราฟอีกเส้นหนึ่งจะแสดงผลกระทบของอุปทานหรือการให้บริการของระบบขนส่ง ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามปริมาณจราจรหรือปริมาณการขนส่งที่เข้ามาใช้บริการ รูป ที่ 1.7 แสดงการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ในการเดินทางเมื่อค่าใช้จ่ายเปลี่ยนแปลง กราฟดังกล่าวบ่งบอกถึงสภาวะทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาหนึ่งและภายใต้ประชากรในพื้นที่ศึกษา ณ ช่วงเวลาเดียวกัน จากกราฟจะพบได้ว่าเมื่อค่าใช้จ่ายในการเดินทางต่อกิโลเมตร (C) ลดลงย่อมดึง ดูดให้มีการใช้บริการมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากค่าปริมาณการเดินทาง (V) ที่เพิ่มมากขึ้น เช่น เมื่อ มีการจราจรทั้งหมด 6,000 คันต่อวัน ค่าใช้จ่ายต่อระยะทางหนึ่งกิโลเมตรจะเท่ากับ 30 บาท หาก ค่าใช้จ่ายในการเดินทางลดลงเหลือ 20 บาทต่อกิโลเมตรก็จะส่งผลให้ปริมาณการเดินทางเพิ่มมาก ขึ้นเป็น 8,000 คันต่อวัน อุปสงค์หรือความต้องการในการเดินทางจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเกิดการให้บริการด้านการขน ส่งระหว่างจุดสองจุดหรือพื้นที่สองพื้นที่ ซึ่งการให้บริการดังกล่าวก็คืออุปทาน (Supply) ของการขน
  • 9. การวิเคราะหระบบขนสง 9 ส่งนั่นเอง หากสมมติให้กราฟอุปสงค์ในรูปที่ 1.7 เป็นความต้องการในการขนส่งระหว่างพื้นที่สอง พื้นที่ที่มีแม่น้ําคั่นกลาง เมื่อมีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ําเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ท้ังสองเข้าหากันแล้ว ก็จะมีผู้ใช้สะพานดังกล่าวเกิดขึ้น อย่างไรก็ดี ปริมาณการขนส่งหรือปริมาณการจราจรที่เกิดขึ้นจะ สู งหรื อ ต่ํ า ย่ อ มขึ้ น อยู่ กั บ ค่ าใช้ จ่ า ยในการเดิ น ทาง ซึ่ ง ในกรณี นี้ ค่ า ใช้ จ่ า ยดั งกล่ า วอาจขึ้ น อยู่ กั บ นโยบายการเก็บค่าผ่านทางและระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทาง 2 4 6 8 10 V = ปริมาณการจราจร (1,000 คัน/วัน) รูปที่ 1.7 ความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เมื่อใดก็ตามที่มีปริมาณการจราจรสูง ณ บริเวณสะพานดังกล่าวก็จะทําให้เวลาที่ใช้ในการ เดินทางสูงขึ้น และส่งผลทําให้เกิดค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงขึ้นตาม รูปที่ 1.8 แสดงตัวอย่างความ สัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่ายในการใช้สะพานกับปริมาณการจราจร โดยสมมติให้มีการเก็บค่าผ่านทาง เท่ากับ 10 บาทต่อกิโลเมตร จากรูปที่ 1.8 จะพบได้ว่าเมื่อมีปริมาณการจราจรไม่เกิน 2,000 คันต่อ วันจะไม่มีความล่าช้าเกิดขึ้นบนสะพาน ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการใช้สะพานในที่นี้จึงเท่ากับอัตราค่า ผ่านทาง หรือ 10 บาทต่อกิโลเมตรเท่านั้น หากมีปริมาณจราจรสูงขึ้นมากกว่า 2,000 คันต่อวันแล้ว ย่อมมีความล่าช้าเกิดขึ้นในการเดินทาง ทําให้ผู้ขับขี่ต้องใช้เวลาในการเดินทางมากขึ้น ดังนั้น เมื่อ คิดผลของมูลค่าของเวลาที่เสียไปแล้วย่อมทําให้เกิดค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วย เช่น หากมีปริมาณการ จราจร 4,000 คันต่อวัน ค่าใช้จ่ายจะเท่ากับ 20 บาทต่อกิโลเมตร หรือหากมีปริมาณการจราจร 6,000 คันต่อวัน ค่าใช้จ่ายจะเท่ากับ 30 บาทต่อกิโลเมตร เป็นต้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง รูปที่ 1.8 ก็คือ กราฟที่แสดงถึงความสามารถในการให้บริการของระบบขนส่ง ณ ปริมาณการจราจรที่ระดับค่าใช้ จ่ายต่าง ๆ นั่นเอง
  • 10. 10 ระบบการขนสงและการดําเนินงาน หากพิ จารณาปฏิสัม พั น ธ์ระหว่างอุปสงค์ในรูปที่ 1.7 และอุปทานในรูป ที่ 1.8 แล้ว ก็จะ สามารถหาค่าของปริมาณการจราจร (V) ที่คาดการณ์ว่าจะใช้สะพานได้ ซึ่งค่าดังกล่าวสามารถ พิ จ ารณาได้ จ ากจุ ด ตั ด ระหว่ า งกราฟของอุ ป สงค์ แ ละอุ ป ทาน ซึ่ ง เรี ย กได้ ว่ า เป็ น จุ ด สมดุ ล (Equilibrium) ของระบบขนส่ง ในกรณีท่ีมีปริมาณการจราจรสูงกว่าค่าที่จุดสมดุล ค่าใช้จ่ายในการ เดินทางก็จะสูงขึ้นและทําให้ความต้องการในการเดินทางลดลงเช่นเดียวกัน ในกรณีที่มีปริมาณการ จราจรน้อยกว่าค่าที่จุดสมดุล ค่าใช้จ่ายในการเดินทางก็จะลดลงและส่งผลให้ความต้องการในการ เดินทางสูงขึ้น รูปที่ 1.8 ความสัมพันธ์ระหว่างอุปทานและค่าใช้จายในการเดินทาง ่ รูป ที่ 1.9 แสดงค่ าปริม าณการจราจร ณ จุด สมดุล ซึ่ งจะมี ป ริมาณการเดินทางเกิด ขึ้ น 6,000 คันต่อวัน หากผู้ให้บริการต้องการเพิ่มหรือลดค่าปริมาณการจราจรดังกล่าว ก็สามารถดําเนิน การได้โดยพิจารณาปรับเปลี่ยนนโยบายการเก็บค่าอัตราค่าผ่านทาง เพื่อให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในกรณีดังกล่าวก็จะทําให้จุดสมดุลเกิดการเปลี่ยนแปลงไป