SlideShare a Scribd company logo
1 of 128
Download to read offline
ขอขอบคุณน้ำท่วม 
ที่สอนให้เรารู้จักชีวิตอย่างแท้จริง 
และหัวใจของคนไทยที่ยังเต็มเปี่ยมไปด้วย 
การ ”ให้” แก่กันและกัน
ถ้ามองดีๆ มองให้ลึกซึ้งแล้วพิจารณาเรื่องวิกฤตการณ์น้ำ�ท่วม 
ครั้งนี้ เราทุกคนคงต้องขอบคุณเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 
ซึ่งหลายคนบอกว่าร้ายแรงที่สุดตั้งแต่เกิดมา ไม่เคยพบไม่เคยเห็นมาก่อน 
แต่ในวันนี้ก็ทำ�ให้เรา “ได้” อะไรมากมาย ที่หาไม่ได้อีกแล้วในชีวิต 
ข้อแรกคือ เราได้เข้าใจโลกเข้าใจธรรมมากขึ้น ได้พัฒนาอย่างลึกซึ้ง 
และสามารถนำ�ไปปฏิบัติแล้วได้ผลมากขึ้น เราจะเห็นเลยว่าธรรมชาติของโลก 
ที่เราเข้าใจมากขึ้นก็คือว่า ธรรมชาติของโลกทุกอย่างเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์เป็นเรื่อง 
เดียวกัน ทุกเรื่องไม่สามารถที่จะแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกจากกันได้ และไม่ 
สามารถที่จะดึงส่วนนี้มาเติมส่วนนั้นได้ ทุกอย่างเกี่ยวเนื่องกัน 
หลายคนคงเคยได้ยินคำ�ที่คนทั่วโลกเขาพูดกันอย่างเช่น การที่ “ผีเสื้อ 
กระพือปีกจากซีกโลกหนึ่ง แต่กระทบถึงอีกซีกโลกหนึ่ง” หรือแม้แต่การ “เด็ด 
ดอกไม้แต่สะเทือนถึงดวงดาว” บางทีคนอาจจะนึกไม่ถึงว่าเรื่องเล็กๆ น้อยๆ 
แบบนี้จะมีผลที่ต่อเนื่องกันขนาดนั้นหรือ 
แต่วันนี้เราได้เห็นกันแล้วว่า ทั่วโลกล้วนเกิดเหตุการณ์ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน 
เมื่อไหร่ก็ตามที่มันมีฟันเฟืองใดฟันเฟืองหนึ่งเกิดความไม่สมดุล มันจะเกิดปัญหา 
กระทบกับอีกฝั่งหนึ่งทันที ซึ่งวันนี้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกยอมรับกันแล้วว่า เป็น 
เช่นนั้นจริงๆ และพยายามบอกและหาหนทางแก้ไขในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน 
ถ้าเกิดเรามองว่ามนุษย์เราเป็นฟันเฟืองหนึ่ง เราเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง 
ของจักรวาล แล้วต้องการให้ธรรมชาติมารับใช้มนุษย์ เราก็เลยมองธรรมชาติเป็น 
รูปของตัวเลข เป็นรูปของตัวเงินต่างๆ ทั้งที่ดิน ต้นไม้ ใบหญ้า แม้กระทั่งผืน 
ฟ้า ผืนน้ำ�ต่างๆ อวกาศ ทุกอย่างตีเป็นตัวเลข
มนุษย์มีความต้องการที่ไม่มีที่สิ้นสุด พอได้แล้วก็ต้องการ 
มากขึ้น มากขึ้น มากขึ้นไปตามความอยากที่เพิ่มพูนไม่มีสิ้นสุด 
เพราะฉะนั้นเราก็ไปทำ�ร้ายธรรมชาติโดยไม่ได้ตั้งใจหรือตั้งใจเราก็ไม่ทราบ 
แต่สุดท้ายเราก็คงเห็นแล้วว่า เมื่อธรรมชาติขาดความสมดุลเพราะน้ำ�มือของพวก 
เรา ก็ถึงเวลาแล้วที่ธรรมชาติจะเอาคืน เพราะความไม่สมดุล อะไรที่เคยเป็นตาม 
ฤดูกาลตามธรรมชาติก็ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ในบ้านเราสิ่งที่ไม่เคยเห็นก็เกิดขึ้น 
มาแล้วทั้งคลื่นยักษ์สึนามิ น้ำ�ท่วมใหญ่ แผ่นดินไหว 
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะตระหนักถึงผลร้ายที่เราทำ�ลายธรรมชาติ ถึง 
เวลาหรือยังที่เราต้องใส่ใจกับธรรมชาติ และช่วยกันคนละไม่คนละมือเพื่อนำ� 
ธรรมชาติกลับคืนสู่ความสมดุล ถึงเวลาหรือยังที่เราจะเข้าใจว่า “ธรรมชาติเอาคืน” 
ข้อที่สอง วิกฤตครั้งนี้ได้สอนพวกเราทุกคนให้เข้มแข็งขึ้น ทั้งเรื่องกาย 
เรื่องใจ เรื่องความคิดต่างๆ เราเข้มแข็งขึ้นหลังจากผ่านวิกฤตนี้ พวกเราทุกคน 
ได้มีโอกาสเรียนรู้ และเพิ่มศักยภาพของตัวเองจากการปรับตัวในสถานการณ์ที่ 
ไม่ปกติ หรือจะเรียกว่า “วิกฤต” ได้มากขึ้น 
หากเรามี “สติ” มองทุกมุมอย่างเข้าใจ เราทุกคนก็จะแข็งแกร่งมากขึ้น 
เราก็สามารถรับมือได้ดีขึ้นในทุกครั้ง เราได้เห็นหัวใจที่ยิ่งใหญ่ของคนไทย ของ 
คนรอบข้าง ของเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง เห็นการ “ให้” ในรูปแบบต่างๆ เห็น 
ถึงหัวใจที่แท้จริงของการไม่ทอดทิ้งกันเมื่อยามมีภัย อันเป็นคุณลักษณะพิเศษที่ 
ทำ�ให้คนไทยไม่เหมือนชนชาติใดในโลก 
ท่านพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านมีคำ�สอน 
หลายเรื่องที่น่าจะนำ�มาปรับใช้กับสถานการณ์ปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นอีกใน 
อนาคต ท่านบอกว่าในวิกฤตครั้งนี้สอนให้เราเข้าใจชีวิต และยังมีข้อดีอย่างน้อย 
2 ประการคือ สอนใจเรา และฝึกใจเรา
สอนใจเรา ให้ตระหนักถึงความจริงของชีวิตซึ่งมีความผันผวนปรวนแปร 
เป็นนิจ เช่น ของหายก็สอนใจเราว่าความพลัดพรากจากของรักเป็นเรื่องธรรมดา 
ไม่มีอะไรที่จะอยู่กับเราหรือเป็นของเราได้อย่างยั่งยืน 
ฝึกใจเรา ในวิกฤตครั้งนี้ฝึกใจให้ไม่ประมาท ระมัดระวัง เพื่อป้องกันมิให้ 
เหตุร้ายเกิดขึ้นอีก หรือฝึกใจให้ปล่อยวางเพื่อรับมือกับเหตุร้ายที่แรงกว่าในอนาคต 
เหตุการณ์แย่ๆ นั้นจะช่วยฝึกใจเราให้มั่นคงเข้มแข็ง เพราะต้องเจออะไรต่ออะไร 
อีกมากมายในวันข้างหน้า อีกทั้งยังฝึกให้เราฉลาดและมีประสบการณ์มากขึ้น 
สุดท้ายท่านเมตตาให้ข้อคิดว่า 
“อย่าลืมว่าคนเราเรียนรู้จากความล้มเหลวได้มากกว่าความ 
สำ�เร็จ” 
ในขณะเดียวกันท่านว.วชิรเมธี ท่านก็มอบคมความคิด คติธรรมแก่คน 
ไทยเพื่ออยากเห็นทุกคนมี “สติ” และเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่า 
“น้ำ�ไหลมาอย่าให้ใจไหลไป ความทุกข์ยิ่งใหญ่ไม่อยู่ยืนยาว อยู่ 
ใต้ฟ้าอย่ากลัวฝนพราว ตะวันสกาวความทุกข์จะคลาย ปัญหาคือยา 
วิเศษ รู้จักสังเกตปัญหาจะหาย...” 
หรือแม่แต่คุณตัน ภาสกรนที ที่ในช่วงแรกๆ เขาเป็นคนที่ออกแรงกาย 
แรงใจ แรงทรัพย์ในการเข้าช่วยเหลือคนที่ประสบภัยอย่างเข้มแข็ง แต่แล้วในวัน 
หนึ่งเขาก็กลายเป็นผู้ประสบภัยรายใหญ่เสียเอง โรงงานน้ำ�ดื่มของเขาจมไปกับ 
น้ำ�ที่ไหลบ่าท่วมจนทรัพย์สินเสียหายหลายพันล้านบาท แต่ด้วยหัวใจที่ไม่ยอมแพ้ 
เขาก็ยังยิ้มได้ และยังส่งผ่านกำ�ลังใจไปถึงทุกคนที่อยู่ในชะตากรรมเดียวกับเขาว่า
“ทุกครั้งที่เกิดความเสียหาย มันเกิดการเรียนรู้ครั้งใหม่เสมอ 
ผมโดนก่อน อีกมุมหนึ่งผมอาจจะโชคร้าย อีกมุมคือผมได้เรียนรู้ใหม่ 
ตราบใดที่เรายังไม่เสียชีวิต ยังมีลมหายใจ ขอให้เราเชื่อมั่น ศรัทธา 
และมีความหวัง” 
วันนี้วิกฤตนั้นได้ผ่านไปแล้ว พร้อมกับได้มอบสิ่งล้ำ�ค่าที่หลายท่านบอกว่า 
มากกว่าการสูญเสียไป 
ในวันข้างหน้าแม้เกิดวิกฤตอีกกี่ครั้ง ก็เชื่อว่าเราคนไทยทุกคน 
คงรับมือผ่านไปได้สบายและมีชีวิตใหม่ที่ดีขึ้น มีอนาคตที่ดีขึ้นหลัง 
จากวิกฤตทุกครั้ง 
หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นมาจากหัวใจที่อยากส่งต่อให้อีกหลายหัวใจได้รับรู้ ได้ 
สัมผัสถึงความห่วงใย และได้รวบรวมเทคนิคต่างๆ ในการฟื้นฟูซ่อมแซมบ้าน 
แบบง่ายๆ ด้วยตัวเองที่พยายามจะให้ครอบคลุมหมดทุกด้านจากท่านผู้เชี่ยวชาญ 
ในด้านต่างๆ มากที่สุดที่ต้องกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงทุกท่าน 
เพื่อให้พี่น้องและเพื่อนๆ ทุกท่านได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่หลังจากวิกฤต 
นี้ผ่านไปแล้วเท่าที่จะสามารถทำ�ได้ หากมีข้อผิดพลาดไม่ว่าเรื่องใด ก็ขอกราบ 
ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย 
ขอเป็นกำ�ลังใจให้กับทุกท่านด้วยความปรารถนาดี 
คณะผู้จัดทำ�
ส า ร บั ญ 
น้ำท่วมแล้ว น้ำลดแล้ว บ้านมีปัญหา เริ่มต้นที่ไหนดี 
ตรวจสอบระบบไฟฟ้าหลังน้ำท่วม 
ตรวจสอบระบบประปาหลังน้ำท่วม 
เช็กนอกบ้าน สังเกตรอบบ้านก่อนเข้าบ้าน 
เช็กในบ้าน โครงสร้างอาคารบ้านเรือนสำคัญมาก 
ต้องเช็กให้ดี! 
จัดการผนัง ประตู หน้าต่าง พื้น ฟ้า หลังน้ำลด! 
- ซ่อมผนังบ้านหลังน้ำ�ท่วม 
- ซ่อมแซมสีทาบ้านหลังน้ำ�ท่วม 
- การซ่อมแซมประตูหลังน้ำ�ท่วม 
- การซ่อมแซมบานพับ ลูกบิด และรูกุญแจหลังน้ำ�ท่วม 
- ซ่อมพื้นไม้ปาเก้หลังน้ำ�ท่วม 
- พื้นหลังน้ำ�ท่วม ทั้งพรมทั้งกระเบื้อง 
ทั้งหินอ่อนหินขัด สกปรกจัง 
- การซ่อมแซมฝ้าเพดานบ้านหลังน้ำ�ท่วม 
- วิธีการซ่อมกระเบื้องมุงหลังคาหลังน้ำ�ท่วม 
- บันไดผุเพราะน้ำ�ท่วม พื้นก็ผุเพราะน้ำ�ท่วม ซ่อมอย่างไร? 
11 
17 
21 
25 
31 
37
เรื่องส้วม ส้วม… 
การทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ 
และของตกแต่งในบ้านล่ะทำอย่างไร 
- การซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์หลังน้ำ�ท่วม 
- ดูแลซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์หลังน้ำ�ท่วม 
- วิธีซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์โซฟาหลังน้ำ�ท่วม 
- ทำ�ความสะอาดเตียงนอนหลังน้ำ�ท่วม 
- ทำ�ความสะอาดพรมหลังน้ำ�ท่วม 
- ที่นอน เตียง หมอน และผ้าห่มที่ถูกน้ำ�ท่วม 
- การซ่อมวอลล์เปเปอร์หลังน้ำ�ท่วม 
- ขจัดเชื้อโรคเชื้อราหลังน้ำ�ท่วม 
ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและรถยนต์หลังน้ำท่วม 
- การปฏิบัติต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังน้ำ�ท่วม 
- เบื้องต้นเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้า 
- ซ่อมตู้เย็นหลังน้ำ�ท่วม 
- ซ่อมพัดลมหลังน้ำ�ท่วม 
- ซ่อมเครื่องปรับอากาศหลังน้ำ�ท่วม 
- ซ่อมโทรทัศน์ เครื่องเล่นวิดีโอ เครื่องเล่นดีวีดี 
วิทยุ และเครื่องเสียงหลังน้ำ�ท่วม 
- มือถือตกน้ำ� 
- การล้างทำ�ความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า 
- การช่วยชีวิตผู้ถูกไฟดูด 
- หลังน้ำ�ท่วมรถ ทำ�อย่างไร? 
47 
51 
63
หน่วยงานที่ให้บริการและให้ความช่วยเหลือ 
- การประปา 
- การไฟฟ้า 
- องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย 
- วิศวกรอาสา 
- วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) 
แหล่งเงินกู้ และโครงการที่ให้ความช่วยเหลือ 
ด้านการเงิน / โครงการพักชำระหนี้ 
- เปิดแพ็กเกจแบงก์ “พักชำ�ระหนี้” ช่วยผู้ประสบภัยน้ำ�ท่วม 
- ธนาคารไทยพาณิชย์ 
- ธนาคารธนชาต 
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 
- ธนาคารกรุงไทย 
- ธนาคารกสิกรไทย 
- ธนาคารกรุงเทพ 
- บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำ�กัด (บสก.) 
- 8 แหล่งเงินกู้ พร้อมรับมือหลังน้ำ�ท่วม 
- แบงก์แข่งปล่อยดอก 0% ซ่อมแซมบ้านหลังน้ำ�ลด 
ภาคผนวก 
“รู้ไว้ให้ดี Flood นี้ไม่ได้น่ากลัว (อย่างที่คิด)” 
- ก่อนน้ำ�มาต้องทำ�อย่างไร 
- หากต้องผจญน้ำ�ท่วม 
81 
85 
98
ความทุกข์ยากลำ�บากฉากแรกกำ�ลังจะผ่านไป 
หลังน้ำ�ลด แต่ความทุกข์ใหม่กำ�ลังเข้ามาแทนที่ เพราะสภาพ 
ของบ้านอันถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ของเรามีสภาพที่น่าอึดอัด 
น่าอันตราย และเป็นรอยแผลที่หลายคน อยากจะเมินหน้าหนี หาก 
คิดจะแก้ปัญหาบ้านหลังน้ำ�ท่วมเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่าปัจจุบัน 
(แม้ไม่สามารถจะเปรียบเทียบให้เท่ากับอดีต) จึงขอแนะนำ�ว่าน่าจะ 
เริ่มต้น ดังนี้ 
1. อย่าซีเรียสว่า “ทำ�ไมน้ำ�ถึงท่วม” ราชการหรือรัฐบาลไป 
อยู่ที่ไหน เพื่อนๆ ในถิ่นอื่น ทำ�ไมบ้านเขาน้ำ�ไม่ท่วม? ฯลฯ เพราะ 
นั่นไม่ใช่แนวทางแก้ปัญหา “บ้านหลังน้ำ�ท่วม” 
ซ่อม.สร้าง.สู้ 
คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 12 
2. ทำ�การตรวจสอบด้วยจิตอันบริสุทธิ์ว่าบ้านเราเกิดปัญหา 
ใดเพิ่มขึ้นบ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนน้ำ�ท่วม เช่น รั้วเอียง ปาเก้ 
ล่อน แมลงสาบหายไปไหน ค่าไฟเพิ่ม ฯลฯ และทำ�บันทึกไว้เป็น 
ข้อๆ ให้อ่านง่ายจดจำ�ง่าย (ภาษาฝรั่งเขาเรียกว่าทำ� “Check-List”) 
3. ถามตนเองว่าสภาพการเงินเราเป็นอย่างไร มีเงินจะใช้ 
สำ�หรับการซ่อมแซมเท่าไร (รวมถึงการกู้ยืมแหล่งอื่น แต่ไม่รวมการ 
โกงบ้านกินเมือง) จะได้วางแนวทางการจ่ายเงินอย่างมีขีดจำ�กัดและ 
มีความเป็นไปได้ 
16 ข้อปฏิบัติความปลอดภัยในการสำรวจบ้านเรือนหลัง 
น้ำท่วม 
น้ำ�ท่วมมีแนวโน้มที่จะลดลงแล้วในหลายๆ จังหวัด หลายๆ 
คนคงใจจดใจจ่อที่จะกลับเข้าบ้านตัวเองเพื่อสำ�รวจความเสียหายที่
13 
เกิดขึ้น และเริ่มเตรียมการฟื้นฟูบูรณะส่วนต่างๆ ให้กลับคืนดังเดิม บทความ 
ของผมในตอนนี้จะให้ข้อระวังในเรื่องความปลอดภัยเมื่อท่านต้องก้าวเข้าสู่บ้าน 
ของท่านเป็นครั้งแรกหลังจากน้ำ�ท่วม เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง 
ข้อที่ 1 รอให้น้ำ�ลดลงเสียก่อนจึงเข้าไปตรวจสอบภายในบ้าน อย่าเข้าบ้าน 
ในขณะที่ระดับน้ำ�ยังสูงอยู่ 
ข้อที่ 2 เตรียมดินสอ ปากกา กระดาษ กล้องถ่ายรูป อุปกรณ์ช่างต่างๆ เช่น 
ไขควง ตลับเมตร ท่อนไม้แห้ง ท่อพีวีซี เพื่อจดหรือบันทึกความเสียหายต่างๆ 
ข้อที่ 3 เข้าสำ�รวจบ้านในเวลากลางวันที่มีแสงสว่างเพียงพอเท่านั้น 
ข้อที่ 4 สวมรองเท้าบู๊ตหรือรองเท้าเซฟตี้ และสวมหมวกเซฟตี้ เพื่อป้องกัน 
เศษแก้ว ตะปู และของมีคมต่างๆ ที่น้ำ�พัดพาเข้ามาอยู่ในบ้านของท่าน 
ข้อที่ 5 ก่อนเดินเข้าบ้านให้เดินสำ�รวจรอบๆ บ้านเสียก่อน และเคลื่อนย้าย 
เศษสิ่งของต่างๆ ที่เกะกะออกไปให้พ้นทาง 
ข้อที่ 6 อย่าลืมนำ�ไฟฉายติดตัวไปด้วยเมื่อต้องการแสงสว่างและเพื่อให้เห็น 
สภาพภายในบ้านได้ชัดเจนขึ้น 
ข้อที่ 7 สังเกตว่ามีกลิ่นแก๊สรั่วออกมาจากบ้านหรือไม่ และห้ามทำ�ให้เกิด 
เปลวไฟหรือสูบบุหรี่เด็ดขาด เพราะอาจเกิดเพลิงไหม้ตามมา 
ข้อที่ 8 สังเกตสายไฟที่อาจจะห้อยร่วงลงมาในน้ำ� หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีน้ำ� 
ขังอยู่ เนื่องจากน้ำ�เป็นสื่อไฟฟ้า อาจทำ�ให้ไฟดูดเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ 
ข้อที่ 9 เมื่อเข้ามาภายในบ้าน ห้ามยกสะพานไฟขึ้นหรือเปิดแก๊สเด็ดขาด 
เนื่องจากไม่แน่ใจว่ามีสายไฟที่ห้อยลงมาแช่อยู่ในน้ำ�หรือไม่ หากต้องการแสงสว่าง 
ให้ใช้ไฟฉายเท่านั้น 
ข้อที่ 10 หากสังเกตเห็นสะพานไฟหรือเซอร์กิตเบรกเกอร์เปิดอยู่ ต้องปิด 
โดยเร็ว โดยให้ยืนอยู่ในจุดที่แห้งแล้วใช้ไม้แห้งหรือท่อพีวีซีเป็นอุปกรณ์ในการโยก 
คันเบรกเกอร์ลง หากไม่แน่ใจอย่าเสี่ยงทำ�เอง ควรเรียกช่างไฟฟ้ามาดำ�เนินการ
ข้อที่ 11 ระวังกรณีที่น้ำ�ท่วมสูงถึงฝ้าเพดาน ฝ้าเพดานที่อุ้มน้ำ�จะมีน้ำ�หนัก 
มากและมีโอกาสร่วงลงมาทับเราได้ ในกรณีเช่นนั้นให้ใช้ไม้แหลมๆ เจาะฝ้าเป็น 
ระยะๆ เพื่อให้น้ำ�ไหลออกมา จะได้ลดน้ำ�หนักของฝ้าเพดาน 
ข้อที่ 12 ระวังพื้นลื่น เวลาเดินอาจลื่นหกล้มได้ เนื่องจากพื้นอาจมีคราบ 
โคลนที่ติดอยู่และยังไม่แห้งดี ทำ�ให้ลื่นได้ง่าย 
ข้อที่ 13 เมื่อเข้าไปภายในบ้านแล้วให้เปิดประตูและหน้าต่างออกให้หมด 
เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก เป็นการช่วยกำ�จัดความชื้นภายในบ้าน และ 
ขจัดแก๊สต่างๆ ที่ไม่พึงปรารถนาออกไป 
ข้อที่ 14 ระวังสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ เช่น งู ตะขาบ หรือแม้กระทั่งจระเข้ 
ซึ่งอาจหนีน้ำ�เข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านด้วย 
ซ่อม.สร้าง.สู้ 
คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 14 
ข้อที่ 15 หลีกเลี่ยงหรืออย่าเข้าใกล้โครงสร้างที่แตกร้าวเสียหาย เพราะ 
อาคารเหล่านั้นอาจถล่มลงมาได้ทุกเมื่อ ควรปรึกษาวิศวกรโดยด่วนหากพบรอย 
แตกร้าวในโครงสร้างอย่างรุนแรง 
ข้อที่ 16 หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อแนะนำ�ในการเข้าตรวจสอบอาคาร 
ควรติดต่อโครงการวิศวกรอาสาของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ดูรายละเอียด 
ที่ http://www.eit.or.th 
ข้อมูลจาก : รศ.ดร.อมร พิมานมาศ 
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ขณะน้ำ�ท่วมทุกบ้านคงจะปิดวงจรไฟฟ้าหรือ 
คัตเอาท์ทั่วทั้งบ้านทำ�ให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าเดินในระบบ ซึ่งลด 
อันตรายแก่ผู้อยู่อาศัยและแก้ปัญหาจากไฟฟ้าลัดวงจรได้อย่างแน่นอน 
แต่เมื่อน้ำ�ลดลงควรตรวจสอบระบบไฟฟ้าในบ้านของท่านดังนี้ครับ 
• เปิดคัตเอาท์ให้มีกระแสไฟฟ้าเข้ามา ถ้าปลั๊กหรือจุดใดจุด 
หนึ่งในระบบยังเปียกชื้นอยู่ คัตเอาท์จะตัดไฟและฟิวส์จะขาด ให้ 
เปลี่ยนฟิวส์แล้วทิ้งไว้ 1 วันให้ความชื้นระเหยออกไปแล้วลองทำ�ใหม่ 
หากยังเป็นเหมือนเดิมคงต้องตามช่างไฟมาแก้ไขดีกว่าเสี่ยงชีวิตครับ 
ซ่อม.สร้าง.สู้ 
คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 18 
• เมื่อทดสอบผ่านขั้นตอนแรกไปแล้ว ลองทดสอบเปิดไฟฟ้า 
ทีละจุดและทดสอบกระแสไฟฟ้าในปลั๊กว่ามาปกติหรือไม่ด้วยไขควง 
ทดสอบไฟ หากทุกจุดทำ�งานได้ก็สบายใจได้ หากมีปัญหาอยู่ต้องรอ 
ให้ความชื้นระเหยออกก่อน ถ้ายังมีปัญหาก็คงต้องตามช่างมาแก้ไข 
หรือเปลี่ยนปลั๊ก/สวิตช์เหล่านั้นครับ 
• ลองดับไฟทุกจุดในบ้าน ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออก 
ทั้งหมด แต่ยังเปิดคัตเอาท์ไว้แล้ววิ่งไปดูมิเตอร์ไฟฟ้าหน้าบ้านว่าหมุน 
หรือไม่ หากไม่เคลื่อนไหวแสดงว่าไฟฟ้าในบ้านไม่น่าจะรั่ว แต่ถ้า 
มิเตอร์หมุนแสดงว่าไฟฟ้าในบ้านท่านอาจจะรั่วได้ ให้รีบตามช่างไฟ 
มาดูแลโดยเร็วครับ
19 
• หากพอมีงบประมาณสำ�หรับปรับเปลี่ยนระบบไฟฟ้าในบ้านของท่าน 
แนะนำ�ให้ตัดปลั๊กไฟในระดับต่ำ�ๆ ในบ้านชั้นล่างออกให้หมด (ถ้าคิดว่าน้ำ�ท่วม 
อีกแน่ๆ) แล้วปรับตำ�แหน่งปลั๊กไฟไปอยู่ที่ระดับประมาณ 1.10 เมตร หลังจาก 
นั้นควรแยกวงจรไฟฟ้าออกเป็น 2-3 วงจรคือ 
1. วงจรไฟฟ้าสำ�หรับบ้านชั้นล่าง (ที่น้ำ�อาจท่วมถึง) 
2. วงจรไฟฟ้าสำ�หรับบ้านชั้นบนขึ้นไป (ที่น้ำ�ท่วมไม่ถึง) 
3. วงจรสำ�หรับเครื่องปรับอากาศ 
การกระทำ�ดังกล่าวจะทำ�ให้ท่านควบคุมการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้าในบ้านได้ 
อย่างอิสระ และง่ายต่อการซ่อมแซมบำ�รุงรักษาครับ 
ที่มา : http://www.softbizplus.com/general/897-home-after-flood
เป็นอีกระบบที่มีความสำ�คัญเพราะเกี่ยวกับ 
สุขอนามัยของผู้อยู่อาศัย มีแนวทางตรวจสอบ 
ระบบประปาในบ้านหลังน้ำ�ท่วมดังนี้ครับ 
• ถ้ามีบ่อเก็บน้ำ�ใต้ดินหรือถังเก็บน้ำ�ในระดับน้ำ�ท่วมถึง พึง 
ระลึกเสมอว่าน้ำ�ที่ท่วมเป็นน้ำ�สกปรกเสมอ ดังนั้นควรล้างทำ�ความ 
สะอาดถังน้ำ�และบ่อน้ำ�ให้สะอาดเพื่อความปลอดภัยของท่านและ 
สมาชิกในบ้าน โดยไม่เสียดายน้ำ� แล้วจึงปล่อยน้ำ�ประปาใหม่ลงเก็บ 
ไว้ใช้งานอีกครั้งหนึ่งครับ 
ซ่อม.สร้าง.สู้ 
คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 22 
• บ้านที่มีระบบปั๊มน้ำ�ควรตรวจสอบอุปกรณ์ปั๊มน้ำ�และถัง 
อัดความดันว่าใช้งานได้เหมือนเดิมหรือไม่ โดยพิจารณาเสียงเครื่อง 
ทำ�งาน ดูแรงดันน้ำ�ในท่อว่าแรงเหมือนเดิม (ก่อนน้ำ�ท่วม) หรือไม่ 
หลังจากนั้นตรวจสอบดูว่าถังอัดความดันทำ�ความดันได้ดีเหมือนเดิม 
หรือไม่ 
• หากมีความผิดปกติควรตรวจสอบด้วยการแกะ แงะ ไข ว่า 
มีเศษผง สิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันกีดขวางการทำ�งานของอุปกรณ์เหล่านี้ 
หรือไม่ หากปั๊มน้ำ�ที่บ้านท่านถูกน้ำ�ท่วมให้เดาไว้ก่อนว่าน่าจะเสียหาย 
และหากใช้งานต่อไปเลยอาจเกิดอันตรายจากความชื้นในมอเตอร์ได้ 
ควรเรียกหาช่างมาทำ�ให้แห้งเสียก่อนตามกรรมวิธีทางเทคนิค (ที่ไม่ใช่ 
นำ�ไปตากแดดแบบเนื้อเค็ม) เพื่อลดความเสี่ยงจากเพลิงไหม้ในตัว 
มอเตอร์ได้ครับ 
ที่มา : http://www.softbizplus.com/general/897-home-after-flood
รั้วคอนกรีตที่แข็งแรง ต้องตรวจดูอะไรหลังน้ำลดไหม? 
“น้ำ�” คือองค์ประกอบที่สำ�คัญที่สุดของธรรมชาติ และ 
ธรรมชาติเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่มนุษย์จะไปท้าทายแข่งขัน รั้ว 
คอนกรีตของท่านคงจะไม่สามารถฝืนกฎนี้ได้ ปัญหาที่อาจจะเกิด 
กับรั้วของท่านก็เป็นเรื่องน้ำ�ท่วม ดินที่ฐานรั้วท่านอาจจะอ่อนตัวลง 
ความสามารถในการรับน้ำ�หนักอาจจะน้อยลง หรือระดับที่ดินในบ้าน 
กับนอกบ้านท่านมีระดับแตกต่างกัน ยามเมื่อน้ำ�ที่ท่วมลดลงอาจจะ 
เกิดแรงดูดทำ�ให้รั้วของท่านเอียงไปก็ได้ หรือในขณะที่น้ำ�ท่วมรั้วของ 
ท่านอาจต้องทำ�หน้าที่เป็น “เขื่อน” ที่ต้องรับน้ำ�หนักน้ำ�เป็นอย่างมาก 
ความสามารถในการรับน้ำ�หนักและความแข็งแรงอาจลดลงไปได้ 
ดังนั้นเพื่อความมั่นใจกรุณาตรวจสอบและหาแนวทางแก้ไข ดังนี้ 
ซ่อม.สร้าง.สู้ 
คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 26 
• ใช้สายตาของท่านเล็งดูว่ารั้วของท่านยังตั้งฉากอยู่ดีหรือ 
ไม่ หากมีการเอียงเล็กน้อยก็เอาไม้ค้ำ�ยันด้านที่เอียงออกเอาไว้ก่อน 
มีสตางค์เมื่อไรก็รีบซ่อมทันที 
หากตรวจสอบแล้วปรากฏว่ารั้วของท่านเอียงมาก เอียงจน 
แนวออกหรือจะออกนอกแนวศูนย์ถ่วง (C.G.) ต้องรีบซ่อมแซมทันที 
(โดยช่างก่อสร้างที่พอจะมีความรอบรู้) หากยังไม่มีงบประมาณก็ต้อง 
ค้ำ�ยันไว้อย่างแน่นหนามากๆ เพราะน้ำ�หนักรั้วที่แข็งแรงของท่านนั้น 
หนักมาก (ไม่เชื่อลองไปนอนให้รั้วพังทับดูก็ได้ไม่ว่ากัน)
27 
หากรั้วของท่านมีคานคอดิน (คานตัวล่างสุดที่อยู่ใกล้ระดับดิน) รับน้ำ�หนัก 
รั้วอยู่ พอน้ำ�ลดลง น้ำ�อาจพาดินใต้คานคอดินของท่านออกไปด้วย ก็จะเกิด 
รูโพรงใต้คานรั้วของท่าน อันอาจเป็นเหตุให้สัตว์ต่างๆ เดิน-วิ่ง-มุด-เลื้อย เข้าไป 
ในบ้านของท่านได้ หรือไม่ก็ทำ�ให้ดินของท่านไหลออกจากบ้านสู่ทางสาธารณะ 
ไปเรื่อยๆ ภายหลัง (อันทำ�ให้ดินของท่านหมดสนาม และถนนสาธารณะต้อง 
สกปรก) ก็ขอให้เติมดินอัดกลับเข้าไปให้คงเดิม 
นอกจากจะตรวจดูที่รั้วบ้านแล้ว ท่านน่าจะต้องตรวจดูที่ประตูรั้วท่าน 
ด้วย เพราะประตูส่วนใหญ่จะทำ�ด้วยเหล็กหรือไม้ (พวกอัลลอยด์ไม่ค่อยเป็นอะไร 
ยกเว้นบริเวณบานพับหรือกลอนที่อาจจะทำ�ด้วยเหล็ก) อาจมีอาการผุกร่อนได้ 
ทำ�ให้บานประตูไม่สามารถปิดได้เหมือนเดิมหรืออาจจะหลุดออกมาทั้งบาน ฉะนั้น 
จึงควรทำ�การผูกรัดให้แข็งแรงเสีย มีเงินเมื่อไรอย่าลืมควักออกมาซ่อมแซมก็แล้วกัน 
ช่วยด้วย ต้นไม้กำลังจะตายกันหมด 
น้ำ�ท่วมคราวนี้คร่าชีวิตต้นไม้ไปมากมาย ทั้งพืชทางเศรษฐกิจและพืชที่ 
เราปลูกกันไว้ในบ้าน หากบ้านใดน้ำ�ท่วมเป็นเวลานาน ต้นไม้ต้นหญ้าขนาดเล็ก 
จะต้องตายหมดแน่นอน แนวทางการแก้ไขก็คือ ต้องเริ่มต้นปลูกกันใหม่ (ต้นไม้ 
เขาตายไปแล้ว เรามิใช่เทวดาที่จะเรียกให้เขาฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้) แต่ต้นไม้บาง 
ต้นที่ยังไม่ถึงที่แต่ก็กำ�ลังจะถึงที่ตาย มีแนวทางที่เราจะช่วยเหลือเยียวยาเขาได้ 
ลองทำ�ดังนี้ดูนะครับ 
ห้ามให้ปุ๋ยเด็ดขาด (ทั้งปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ปุ๋ยธรรมชาติ) เพราะน้ำ�ท่วม 
ทำ�ให้รากต้นไม้อ่อนแอ เขาต้องการเวลาพักฟื้นตัว ไม่ใช่ต้องการปุ๋ย (อย่างคน 
อาการโคม่า ย่อมไม่ต้องการรับประทานสเต็กเนื้อสันฉันนั้น)
วิธีการที่ถูกก็คือ ขุดหลุมเล็กขนาดลึกสัก 50 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร 
ไว้ข้างๆ ต้นไม้นั้น เพื่อให้น้ำ�ที่ขังอยู่บริเวณรากไม้ไหลลงสู่หลุมที่เราขุด เป็นการ 
ช่วยอาการรากสำ�ลักน้ำ�ได้ แล้วก็คอยเอาเครื่องดูดน้ำ�เล็กๆ (ภาษาชาวบ้านเรียก 
เจ้าเครื่องนี้ว่า “ไดโว่” ราคาประมาณสองถึงสามพันบาท) คอยสูบน้ำ�ออก แต่ 
หากไม่มีกะตังค์จะซื้อเครื่องสูบน้ำ�นี้ ก็ต้องออกแรงขุดหลุมกว้างหน่อย (อย่ากว้าง 
มาก จนต้นไม้เขาล้ม) แล้วใช้ขันหรือถังค่อยๆ เอื้อมมือตักน้ำ�ออก 
หากเห็นว่ารากต้นไม้ไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะยึดลำ�ต้นเอาไว้ กรุณาอย่า 
อัดดินลงไปให้แน่นเป็นอันขาด ต้นไม้เขาจะรีบๆ ตายทันที ให้ใช้วิธีดามหรือ 
ค้ำ�ยันลำ�ต้นเอาไว้แทน รอจนรากเขาแข็งแรงเหมือนเดิมแล้วจึงเอาไม้ดามไม้ค้ำ�ยัน 
ออก 
งูเงี้ยวเขี้ยวขอ ตะกวดแย้ มังกรกิ้งกือ 
หนีน้ำมาอยู่เต็มบ้านเลย ทำไงดี? 
ซ่อม.สร้าง.สู้ 
คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 28 
กรณีมีสัตว์ที่เราไม่พึงประสงค์เข้ามาอยู่ในบ้านของเรา คงจะต้องค่อยๆ 
แยกประเภทสัตว์ต่างๆ ตามประเภทเสียก่อน เพราะสัตว์เหล่านั้นไม่มีสูตรสำ�เร็จ 
ที่จะจัดการให้หมดไปได้ด้วยวิธีเดียวกัน ซึ่งอาจจะแยกเป็นประเภทและการ 
ดำ�เนินการได้ ดังนี้ 
• สัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดใหญ่พอควร ทั้งที่มีพิษและไม่มีพิษ เช่น งู 
ตะกวด จระเข้ ฯลฯ อะไรทำ�นองนี้ อย่าพยายามไปจับหรือจัดการเอง ทำ�การ 
ป้องกันบ้านและป้องกันตัวไม่ให้พวกเขามาทำ�อันตรายเรา (เราในที่นี้หมายถึงสัตว์ 
เลี้ยงแสนรักของเราด้วยนะครับ) ให้ติดต่อหน่วยราชการอาสามาจัดการสัตว์ร้าย 
เหล่านี้แทน
29 
• สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กที่ไม่มีพิษ เช่น กิ้งกือ ไส้เดือน กิ้งก่า จิ้งเหลน 
ฯลฯ ก็ปล่อยเขาไว้ได้ บางท่านอาจจะรังเกียจ แต่ก็ควรทนเอาเขาไปปล่อยในที่ 
ที่สมควรปล่อย (ไม่รบกวนใคร) จะดีกว่า หรืออาจจะปล่อยเขาเอาไว้เฉยๆ ก็ได้ 
ไม่นานเมื่อทุกอย่างเรียบร้อยเขาก็จะหายไปเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากเขาเข้ามาใน 
ตัวบ้านเราโดยผ่านทาง “รู” ต่างๆ ในบ้านเรา ก็ต้องจัดการเอาเขาออกไปนะครับ 
• แมลงต่างๆ ตั้งแต่ยุง แมงมุม ฯลฯ หรือแม้แต่มด ต้องไม่ให้เข้ามา 
ในบ้านเรา ต้องพยายามปิดประตูหน้าต่างหรือปิดรูให้ดีเท่าที่จะทำ�ได้ และคง 
ต้องจัดการให้หมดไปตามปกติธุระ 
• แมลงพิเศษ อาทิ “ปลวก” ตอนนี้เขาคงยังไม่มา แต่อาจจะมาในอนาคต 
ได้ ตอนนี้ยังไม่ต้องจัดการอะไร แต่พึงระวังไว้ว่า เมื่อน้ำ�ลดไปไม่นานจะต้องมี 
การป้องกันปลวกให้ดี เพราะโอกาสที่เขาจะมามีมากพอควรเลยครับ 
• สัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ที่ไม่เป็นอันตรายที่หลงทางมา เช่น สุนัข แมว 
หรือแม้กระทั่งวัว ควาย ก็น่าจะดูแลเขาในระยะแรกก่อน เพราะชีวิตเขาก็คง 
ลำ�บากอยู่เหมือนกันในขณะน้ำ�ท่วม แล้วหลังจากนั้นค่อยพิจารณาว่าเราจะต้อง 
ทำ�อย่างไรต่อไป (เช่น หาเจ้าของเดิม หาเจ้าของใหม่ ฯลฯ) อย่าเพิ่งไล่เขาออก 
ไปไหนเลย ถือว่าทำ�บุญสร้างบุญกันครับ
31
ตรวจสอบโครงสร้างจาก 7 ประเด็น 
ความปลอดภัย “โครงสร้างอาคาร” หลังน้ำท่วม 
ภายหลังจากที่น้ำ�ท่วมลดลงแล้ว ภารกิจแรกๆ ที่ทุกคนคงจะ 
ต้องรีบเร่งจัดการคือการเข้าไปตรวจสอบความเสียหายของทรัพย์สิน 
ที่อยู่ภายในบ้าน ตลอดจนทำ�ความสะอาดและบูรณะให้กลับคืนมาดัง 
เดิม สำ�หรับประชาชนทั่วไปซึ่งอาจจะไม่มีความรู้ทางช่าง บทความ 
ในตอนนี้ผมจะอธิบายความเสียหายและสภาพโครงสร้างของอาคาร 
ของท่าน ตลอดจนข้อแนะนำ�เกี่ยวกับความปลอดภัยหากต้องการ 
เข้าไปสำ�รวจบ้านเรือนภายหลังน้ำ�ท่วม โดยได้อธิบายเป็นราย 
ประเด็น 7 ประเด็นเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อไป 
ซ่อม.สร้าง.สู้ 
คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 32 
ประเด็นที่ 1 โครงสร้างอาคาร เช่น ตึกแถว อาคาร 
พาณิชย์ บ้านจัดสรรมีความแข็งแรงต่อการต้านทานแรงดัน 
น้ำได้แค่ไหน? 
ปกติแล้วโครงสร้างบ้านเรือนที่ก่อสร้างจากคอนกรีตจะ 
ค่อนข้างแข็งแรงกว่าบ้านเรือนที่ก่อสร้างด้วยไม้ เนื่องจากมีการเสริม 
เหล็กเส้นอยู่ข้างใน ดังนั้นหากเป็นอาคารที่ก่อสร้างจากคอนกรีตและ 
มีการออกแบบและก่อสร้างอย่างถูกต้องตามมาตรฐานทางวิศวกรรม 
แล้ว ก็ค่อนข้างจะแน่ใจได้ระดับหนึ่งว่า จะสามารถต้านแรงดันน้ำ� 
ในระดับความสูงไม่เกิน 2 เมตรโดยไม่ทำ�ให้โครงสร้างเสียหาย 
รุนแรงหรือพังทลาย แต่หากอาคารก่อสร้างมาไม่ถูกต้องตามหลัก 
ทางวิศวกรรม เช่น เสามีขนาดเล็กหรือเสริมเหล็กน้อยเกินไปก็ 
อาจจะพบความเสียหายได้ และหากเป็นบ้านเรือนที่ก่อสร้างจากไม้ 
ความแข็งแรงจะน้อยกว่าบ้านคอนกรีต และมีโอกาสจะพบความ 
เสียหายได้มากกว่าอาคารคอนกรีต
33 
ประเด็นที่ 2 โครงสร้างส่วนใดของอาคารมีโอกาสที่จะได้รับความ 
เสียหายจากน้ำท่วมได้มาก? 
ผมมองว่าพวกผนังอิฐก่อและพื้นชั้นล่างของอาคารที่จมอยู่ในน้ำ�จะเป็น 
ส่วนที่ได้รับความเสียหายมากกว่าส่วนอื่นๆ เนื่องจากผนังและพื้นมีพื้นที่ปะทะน้ำ� 
มากกว่า ทำ�ให้ต้องแบกรับแรงดันน้ำ�ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับคานและเสา ลองคิดดู 
ง่ายๆ น้ำ�ที่สูง 1 เมตรจะมีแรงดันถึง 1 ตันหรือ 1,000 กิโลกรัมต่อตารางเมตร 
และหากสูง 2 เมตรก็จะมีแรงดันสูงถึง 2 ตันหรือ 2,000 กิโลกรัมต่อตารางเมตร 
แต่ผนังอิฐหรือพื้นคอนกรีตเราไม่ได้ออกแบบให้ต้านแรงดันน้ำ�ได้สูงขนาดนั้น 
เช่น ผนังอิฐส่วนใหญ่จะรับแรงดันได้ราวๆ 100-200 กิโลกรัมต่อตาราง 
เมตร ส่วนพื้นคอนกรีตโดยทั่วไปจะออกแบบให้รับน้ำ�หนักได้ประมาณ 200-300 
กิโลกรัมต่อตารางเมตรเท่านั้น ดังนั้นระดับน้ำ�ที่สูง 1-2 เมตร อาจจะทำ�ให้ 
กำ�แพงแตก พังทลาย หรือพื้นรับน้ำ�หนักมากเกินไปจนแอ่นตัวได้ 
โดยในช่วงแรกที่น้ำ�มาล้อมบ้านแต่ยังไม่ได้เข้ามาภายในบ้านจะมีแรงดันน้ำ� 
ทางด้านล่างดันให้พื้นแอ่นตัวขึ้นจนพื้นแตก และถ้าเป็นพื้นไม้หรือพื้นสำ�เร็จที่ 
ไม่ได้เทคอนกรีตทับหน้า ก็อาจจะหลุดลอยน้ำ�ไปได้ แต่เมื่อน้ำ�ไหลเข้าไปภายใน 
บ้านแล้วก็จะเกิดแรงดันน้ำ�ดันพื้นให้แอ่นลง เพื่อรักษาระดับแรงดันของน้ำ�ทั้งด้าน 
ในและด้านนอกให้สมดุลกัน 
ประเด็นที่ 3 คานกับเสามีโอกาสแตกร้าวเสียหายแค่ไหน? 
คานกับเสาที่มีขนาดเล็กเกินไป เช่น เสาที่มีขนาดเล็กกว่า 20 เซนติเมตร 
และอาคารบ้านจัดสรรที่นิยมใช้ชิ้นส่วนสำ�เร็จรูป อาจมีปัญหาที่รอยต่อระหว่าง 
ชิ้นส่วนต่างๆ ที่นำ�มาประกอบกันเป็นโครงสร้างอาคาร คานกับเสาอาจจะได้ 
รับความเสียหาย โดยอาจสังเกตเห็นรอยแตกร้าวในคานและเสา แต่บางครั้ง 
อย่าเพิ่งกลัวจนเกิดเหตุ
บางทีรอยแตกร้าวที่เห็นอาจปรากฏเฉพาะในส่วนที่เป็นผิวปูนฉาบเท่านั้น 
โดยที่ตัวโครงสร้างจริงๆ อาจจะยังไม่เสียหายก็เป็นได้ ดังนั้นเพื่อความแน่ใจหาก 
พบรอยแตกร้าวหรือเนื้อปูนกะเทาะออกมา ควรรีบปรึกษาวิศวกร ในกรณีที่ร้าย 
แรงที่สุดคือหากเสามีขนาดเล็กไม่ได้มาตรฐานก็อาจหักจนเห็นเหล็กดุ้ง นอกจาก 
นี้โครงสร้างเหล็กเสริมหรือที่แช่น้ำ�อยู่เป็นเวลานานก็อาจเกิดสนิมขึ้นได้เช่นกัน จึง 
ต้องรีบซ่อมแซมมิฉะนั้นสนิมอาจลามจนแก้ไขไม่ทัน 
ประเด็นที่ 4 ฐานรากของอาคารมีโอกาสได้รับความเสียหายมาก 
น้อยแค่ไหน? 
ฐานรากของอาคารเป็นส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ�โดยตรง จึงมีโอกาสที่จะเสียหาย 
ซ่อม.สร้าง.สู้ 
คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 34 
ได้มากกว่าโครงสร้างที่อยู่ข้างบนในทางวิศวกรรม ฐานรากมีอยู่สองชนิดคือ 
“ฐานรากที่วางบนดิน” และ “ฐานรากที่วางบนเสาเข็ม” หากเป็นฐานรากที่วาง 
บนดินมีโอกาสที่นํ้าซึ่งไหลผ่านไปจะกัดเซาะดินใต้ฐานรากได้ 
ดังนั้นภายหลังจากที่นํ้าลดแล้วก็อาจจะเห็นฐานรากซึ่งเคยฝังอยู่ใต้ดิน 
โผล่ขึ้นมา ตรงนี้อาจมีผลต่อโครงสร้างได้ เนื่องจากเมื่อดินถูกชะไปจะทำ�ให้ 
ฐานรากทรุดและอาจทำ�ให้โครงสร้างสูญเสียการทรงตัวจนพังทลายได้ในกรณี 
ที่เป็นฐานรากบนเสาเข็มสั้นๆ กำ�ลังรับน้ำ�หนักของเสาเข็มอาจจะลดลงเมื่ออยู่ 
ในดินที่ชุ่มน้ำ� ซึ่งอาจทำ�ให้กำ�ลังรับน้ำ�หนักลดลงได้เช่นกัน อีกจุดหนึ่งที่ผม 
ค่อนข้างเป็นห่วงคือฐานรากที่จมอยู่ใต้น้ำ� 1-2 เมตรจะเกิดแรงดันน้ำ�ยกบ้านให้ 
ลอยขึ้น 
โดยเฉพาะหากเป็นบ้านชั้นเดียวที่มีน้ำ�หนักไม่มากและไม่ได้ใส่เหล็กเดือย 
ยึดเสาเข็มกับฐานรากเข้าไว้ด้วยกัน อาจทำ�ให้ตัวบ้านลอยเคลื่อนออกจากฐานราก 
ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ส่วนบ้านที่ใช้เสาเข็มยาวๆ ที่หยั่งลงไปในชั้นดินแข็ง 
ที่ระดับลึกๆ และมีเหล็กเดือยยึดระหว่างเสาเข็มและฐานรากก็จะเป็นโครงสร้าง 
ที่มีความปลอดภัยสูงกว่า
35 
ประเด็นที่ 5 อาคารที่มีชั้นใต้ดินมีข้อระวังอะไร? 
อาคารที่มีชั้นใต้ดินอาจมีน้ำ�ท่วมขังนานกว่าปกติ การระบายน้ำ�ออกต้อง 
ทำ�ด้วยความระมัดระวังเพื่อรักษาระดับแรงดันน้ำ�ให้สมดุลทั้งภายในและภายนอก 
อาคาร หากเร่งระบายน้ำ�เช่นสูบน้ำ�ออกจากชั้นใต้ดินทันทีทันใด แรงดันน้ำ� 
ที่อยู่ด้านนอกอาจจะดันให้ผนังหรือกำ�แพงแตกหักหรือพังทลาย หรือทำ�ให้พื้น 
ชั้นใต้ดินแอ่นขึ้นจนแตกได้ทันที เหมือนดังเช่นที่เราใช้หลอดดูดอากาศออกจาก 
กล่องพลาสติกแล้วทำ�ให้แรงดันอากาศภายนอกดันให้กล่องบุบเสียหาย 
ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มระบายน้ำ�ออกจากชั้นใต้ดิน ต้องรอให้ระดับน้ำ�ด้าน 
นอกลดลงจนหมดเสียก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ ระบายน้ำ�จากชั้นใต้ดินวันละ 0.5 
เมตร และทำ�เครื่องหมายระดับน้ำ�ไว้ 
จากนั้นวันรุ่งขึ้นเช็กระดับน้ำ�ที่ทำ�เครื่องหมายไว้ หากระดับน้ำ�ไม่เพิ่มขึ้น 
ให้สูบออกอีก 0.5 เมตรแล้วรอดูวันถัดไป แต่หากระดับน้ำ�สูงขึ้นแสดงว่าแรงดัน 
น้ำ�ด้านนอกยังสูงอยู่ ต้องรอให้แรงดันน้ำ�ด้านนอกลดลงเสียก่อน จึงจะเริ่มสูบน้ำ� 
ออกต่อไปได้ 
ประเด็นที่ 6 แนวทางการซ่อมแซมอาคารที่เสียหายจากน้ำท่วม 
เป็นอย่างไร? 
การซ่อมแซมโครงสร้างอาคารที่ได้รับความเสียหายขึ้นอยู่กับระดับความ 
เสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งพอสรุปเป็นแนวทางดังนี้ 
1. คานและเสา หากมีรอยแตกร้าวแต่ยังไม่ถึงขั้นบิดเบี้ยวเสียรูป อาจซ่อมแซม 
รอยแตกร้าวด้วยการฉีดกาวอีพ๊อกซี่เข้าไปในรอยแตกร้าว และหากเหล็กเสริม 
เป็นสนิมจำ�เป็นต้องขัดเอาสนิมออกแล้วทาสีกันสนิม เสริมเหล็กเพิ่มเติมแล้วพอก 
คอนกรีตกลับไปเช่นเดิม
2. หากเสาหักหรือขาด ต้องรีบให้ช่างหาเสาเหล็กหรือเสาไม้มาตู๊โครงสร้าง 
โดยด่วน เนื่องจากเสาที่หักจะรับน้ำ�หนักไม่ได้อีกต่อไป ดังนั้นโครงสร้างอาจจะ 
ถล่มลงมาได้ทุกเมื่อ จะต้องรีบปรึกษาวิศวกร การแก้ไขต้องทุบเสาทิ้งและหล่อ 
เสาขึ้นใหม่ 
3. พื้นหรือกำ�แพงที่ถูกแรงดันน้ำ�ดันจนแอ่นตัวหรือทรุดตัว จะถือว่าพื้นหรือ 
กำ�แพงนั้นใช้การไม่ได้แล้ว ต้องเปลี่ยนใหม่ หากเป็นกำ�แพงให้ก่ออิฐขึ้นใหม่ หาก 
เป็นพื้นต้องทุบทิ้ง จากนั้นผูกเหล็กแล้วเทคอนกรีตใหม่ 
4. ในกรณีที่ตัวบ้านหลุดหรือเคลื่อนจากฐานรากจะเป็นอันตรายต่อโครงสร้าง 
มาก เพราะเท่ากับว่าบ้านไม่ได้รองรับด้วยฐานรากอีกต่อไป จะต้องยกอาคารและ 
ทำ�ฐานรากใหม่ซึ่งทำ�เองไม่ได้ ต้องปรึกษาวิศวกรที่ชำ�นาญทางด้านนี้โดยตรง 
ซ่อม.สร้าง.สู้ 
คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 36 
ประเด็นที่ 7 นอกจากโครงสร้างอาคารแล้วต้องตรวจสอบอะไรอีกบ้าง? 
ระบบโครงสร้างอาคารเป็นสิ่งสำ�คัญลำ�ดับแรกๆ ที่ต้องตรวจสอบเนื่องจาก 
เป็นเรื่องความปลอดภัยของโครงสร้างอาคาร แต่ต้องไม่ลืมว่าอาคารบ้านเรือนยัง 
ประกอบด้วยระบบบริการอีก 4 ระบบ ได้แก่ 
(1) ระบบงานสถาปัตยกรรม เช่น พื้นปาเก้ สีที่ทาผนัง วอลล์เปเปอร์ 
ประตู หน้าต่าง และอื่นๆ 
(2) ระบบสุขาภิบาล ได้แก่ ระบบระบายน้ำ� และระบบน้ำ�ประปา 
(3) ระบบไฟฟ้า เช่น ระบบแสงสว่าง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ 
(4) ระบบเครื่องกล เช่น เครื่องปรับอากาศ ปั๊มน้ำ� เป็นต้น ระบบพวกนี้ 
ต้องตรวจดูด้วยว่าเสียหายแค่ไหน และต้องเรียกวิศวกรหรือช่างที่ชำ�นาญมาดู 
ความเสียหาย เอกสารที่ผมแนะนำ�ให้ดูเป็นแนวทางคือคู่มือการตรวจสอบและ 
ซ่อมแซมอาคารบ้านเรือนหลังน้ำ�ท่วมของกรมโยธาธิการและผังเมือง 
ข้อมูลจาก : รศ.ดร.อมร พิมานมาศ 
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ซ่อมผนังบ้านหลังน้ำท่วม 
• ผนังไม้ ปกติไม้จะไม่เสียหายเมื่ออยู่ใต้ระดับน้ำ� แต่มักผุ 
กร่อนในจุดที่มีน้ำ�ขึ้นน้ำ�ลงตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อน้ำ�ลดให้เอาผ้าเช็ด 
ทำ�ความสะอาด ขจัดคราบสกปรกออกเพื่อสุขภาพคนในบ้าน เพื่อ 
ให้ผิวไม้ระเหยความชื้นออกไปได้ เมื่อแน่ใจว่าผนังแห้งดีแล้วให้ใช้ 
น้ำ�ยารักษาเนื้อไม้ทาชโลมลงที่ผิว (***ต้องแน่ใจว่าแห้งแล้วจริงๆ 
มิฉะนั้นอาจเกิดการเน่าได้เนื่องจากความชื้นระเหยไม่ได้) การทาสี 
หรือยารักษาเนื้อไม้อาจทำ�ภายในก่อนก็ได้เพื่อความสวยงามในการ 
อยู่อาศัย แล้วรออีกสักพัก (3-4 เดือน) จึงทาภายนอกอีกที เพราะ 
ผนังภายนอกน่าจะแห้งสนิทดีแล้ว 
ซ่อม.สร้าง.สู้ 
คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 38 
• ผนังก่ออิฐฉาบปูน ให้ดำ�เนินการเหมือนกับผนังไม้ แต่ต้อง 
ทิ้งระยะเวลานานกว่าเนื่องจากผนังอิฐจะมีมวลสารและการเก็บกัก 
ความชื้นในตัววัสดุได้มากกว่าไม้ จึงต้องใช้เวลาระเหยความชื้นออก 
ไปนานกว่า นอกจากนี้หากผนังปูนเหล่านี้มีสายไฟฟ้า ท่อไฟฟ้า ท่อ 
น้ำ�ฝังหรือเดินลอยไว้ก็ต้องใช้วิธีเดียวกับเนื้อหาตอนที่แล้ว ตรวจสอบ 
ระบบของอุปกรณ์เหล่านั้นให้อยู่ในสภาพเดิมไปพร้อมกันด้วยครับ 
• ผนังยิปซัมบอร์ด เนื่องจากวัสดุชนิดนี้เป็นแผ่นผงปูน 
ยิปซัมที่หุ้มด้วยกระดาษอย่างดี แต่ไม่ว่าจะดีเพียงใดเมื่อเจอ 
กับน้ำ� (ท่วม) แล้วก็คงไม่น่าจะมีชีวิตต่อไปได้
39 
ดังนั้นให้แก้ไขโดยเลาะเอาแผ่นชนิดนี้ที่โดนน้ำ�ท่วมออกจากโครงเคร่าแล้ว 
ค่อยหาแผ่นใหม่มาติด ยาแนว ทาสีทับใหม่ก็เรียบร้อย ใช้งานได้เหมือนเดิมครับ 
พึงระวังเล็กน้อยสำ�หรับโครงเคร่าผนังที่เป็นไม้ ต้องรอให้ความชื้นในโครงเคร่า 
ระเหยออกไป หรือให้ไม้แห้งเสียก่อนจึงติดผนังเข้าไปใหม่ แต่ถ้าเป็นโครงเคร่า 
โลหะแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันคงไม่มีปัญหาครับ 
• ผนังโลหะ/กระจก วัสดุเหล่านี้โดยตัวเนื้อของวัสดุคงไม่มีความเสียหาย 
เพียงแค่ทำ�ความสะอาดขัดถูก็จะสวยงามเหมือนเดิม แต่ควรระวังเรื่องรอยต่อว่า 
มีคราบน้ำ� เศษผง สิ่งสกปรกฝังติดอยู่บ้างหรือไม่ หากมีก็ให้ทำ�ความสะอาดเสีย 
ให้เรียบร้อย เนื่องจากคราบน้ำ� ความสกปรกอาจทำ�ให้วัสดุยาแนวเสื่อมสภาพ 
เร็วกว่ากำ�หนด 
• ผนังชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นผนังกระดาษอัด 
ผนังสังกะสี ผนังไม้อัด ฯลฯ จะมีธรรมชาติคล้ายกับผนังทั้งสี่อย่างที่กล่าวมาข้างต้น 
ลองเปรียบเทียบดูแล้วแก้ไขตามแนวทางนั้นๆ 
ซ่อมแซมสีทาบ้านหลังน้ำท่วม 
การซ่อมแซมสีทาบ้านทั้งภายนอกและภายใน ควรเป็นสิ่งสุดท้ายในการ 
แก้ไขปรับปรุงบ้าน เพราะเป็นเรื่องของเวลาที่ต้องปล่อยทิ้งให้ความชื้นหรือน้ำ�ใน 
ตัววัสดุระเหยออกไปให้ได้มากที่สุดครับ มิฉะนั้นท่านทาสีทับไปดีอย่างไรก็จะเกิด 
อาการหลุดล่อนในที่สุดครับ
• ข้อควรคิดสำ�หรับการซ่อมแซมสีคือ ปัญหาสีลอกสีล่อนไม่ได้เกิดจาก 
คุณภาพของสี แต่เกิดจากความไม่พร้อมของพื้นผิวที่ทาสี หากพื้นผิวที่ทาสีมี 
ความชื้นหรือสิ่งสกปรกติดอยู่ แม้ทาสีทับอย่างไรสีก็จะล่อนออกมาอยู่ดีครับ 
• ข้อพึงกระทำ�เวลาซ่อมสีคือ อย่างเพิ่งรีบทาสี ให้ทำ�ความสะอาดและ 
ลอกสีเดิมทิ้งออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ (เฉพาะที่มีปัญหานะครับ) แล้วทิ้ง 
ไว้นานๆ หลายๆ เดือน อาจรอจนถึงหน้าร้อนปีหน้าแล้วค่อยทาสีตามกรรมวิธี 
ของผู้ผลิตก็ไม่สาย 
การซ่อมแซมประตูหลังน้ำท่วม 
ซ่อม.สร้าง.สู้ 
คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 40 
ประตูต่างๆ เมื่อแช่น้ำ�อยู่นานๆ ก็จะบวมขึ้นหรือไม่ก็จะเกิดเป็นสนิม มี 
วิธีแก้ไขคือ 
• ประตูไม้ เมื่อโดนแช่น้ำ�ก็จะบวมและผุพัง มีวิธีแก้ก็โดยทิ้งไว้ให้แห้ง 
แล้วซ่อมแซมส่วนที่ผุให้เรียบร้อยแล้วจึงทาสีใหม่ แต่ถ้าผุมากก็ควรจะเปลี่ยนเลย 
• ประตูเหล็กที่ขึ้นสนิม ก็ใช้กระดาษทรายขัดสนิมออกให้หมด เช็ดให้ 
สะอาดแล้วจึงทาสีใหม่ โดยอย่าลืมทาสีกันสนิมก่อน แต่อย่าลืมดูรอยต่อต่างๆ 
โดยเฉพาะที่เป็นท่อโครงเหล็กว่ามีน้ำ�หลงเหลืออยู่เหลือเปล่า ต้องให้แห้งจริงๆ 
ก่อนจึงจะทาสีได้ 
• ประตูพลาสติก ส่วนใหญ่จะทนน้ำ�ได้ แต่ให้ระวังอาการที่มีน้ำ�ขังสกปรก 
ให้หาวิธีเช็ด ซับน้ำ�ออก หรือเจาะรูให้น้ำ�ออก
41 
ทีนี้เวลาที่ “ประตูบวมน้ำ�” หรือมีน้ำ�ขังข้างใน จะทำ�ให้น้ำ�หนักมากและ 
ประตูเอียงจนบานพับรับน้ำ�หนักไม่ไหว ให้หาลิ่มมายันไว้ก่อนให้ใกล้เคียงปกติ 
แล้วพยายามทำ�ให้แห้งที่สุด จากนั้นถ้ายังเอียงอยู่จะไขน็อตเพิ่มหรือเปลี่ยนบานพับ 
ก็ตามสมควรครับ 
การซ่อมแซมบานพับ ลูกบิด และรูกุญแจหลังน้ำท่วม 
อุปกรณ์ต่างๆ เช่น บานพับ ลูกบิด และรูกุญแจที่ทำ�ด้วยโลหะ เมื่อโดน 
น้ำ�ท่วมย่อมมีปัญหาตามมา มีวิธีแก้ไขคือ 
• เช็ดให้แห้งสนิท ขัดส่วนที่เป็นสนิมออกให้หมด ใช้พวกน้ำ�ยาหล่อลื่น 
ชโลมตามจุดรอยต่อและรูต่างๆ ให้ทั่ว 
• อย่าใช้จาระบีหรือพวกขี้ผึ้งทา เพราะจะทำ�ให้ความชื้นระเหยออกไม่ได้ 
จะทำ�ให้ฝังอยู่ข้างใน และจะเป็นปัญหาในภายหลัง 
• ถ้ายังใช้การไม่ได้ ก็ลองทำ�ตามวิธีที่ว่านี้หลายๆ ครั้ง แต่ถ้ายังมีปัญหา 
ก็คงจะต้องถอดออกแล้วซื้อมาเปลี่ยนใหม่ 
ซ่อมพื้นไม้ปาเก้หลังน้ำท่วม 
ถ้าพื้นบ้านของท่านเป็นไม้ปาเก้แล้วถูกน้ำ�ท่วมก็ต้องเข้าใจไว้สักนิดนะครับ 
ว่า ปาเก้หรือไม้แผ่นชนิดนี้อยู่ได้ด้วยกาวติดกับพื้นคอนเกรีตเสริมเหล็ก จึงแพ้ 
น้ำ� (ท่วม) อย่างแรง เพราะไม้จะบวมน้ำ�และหลุดล่อนออกมาในที่สุดเป็น 
เรื่องธรรมดา บางทีหากน้ำ�ท่วมเป็นเวลานานๆ ก็อาจเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์แถม 
มาให้อีกด้วยครับ มีวิธีตรวจสอบแก้ไขดังนี้ครับ
• หากปาเก้เปียกน้ำ�เล็กน้อยไม่ถึงกับหลุดล่อนออกมา แค่เช็ดทำ�ความ 
สะอาดแล้วเปิดประตู หน้าต่าง ปล่อยให้แห้งโดยให้อากาศถ่ายเทความชื้นออกไป 
ปาเก้จะเป็นปกติได้ไม่ยาก แต่ระวังว่าเมื่อปาเก้ยังชื้นอยู่ไม่ควรเอาสารทาทับหน้า 
ไปทาทับ เนื่องจากจะไปเคลือบผิวไม่ให้ความชื้นในเนื้อไม้ระเหยออกมา 
• หากปาเก้มีอาการบิดงอ ปูดโปน เบี้ยวบูด กรุณาเลาะออกมาทันที 
ครับ และหากยังอยู่ในสภาพดีก็ผึ่งลมให้แห้ง เพราะอาจนำ�มาใช้ประโยชน์ได้ 
• หากท่านจะซ่อมแซมพื้นใหม่ด้วยการเอาวัสดุปูพื้นชนิดใหม่ที่คงทนถาวร 
ทนน้ำ�ได้มากกว่า เช่น กระเบื้อง หินอ่อน หรือแกรนิต เหล่านี้ ต้องระวังอย่าง 
ยิ่งเรื่องน้ำ�หนักวัสดุที่จะปูทับหน้าว่าโครงสร้างเดิมจะรับน้ำ�หนักได้หรือไม่ ไม่ควร 
ทำ�ไปดื้อๆ เลย เพราะบ้านท่านอาจเสียหายได้ครับ 
ซ่อม.สร้าง.สู้ 
คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 42 
• หากรื้อหรือซ่อมแซมแล้วต้องการปูปาเก้แบบเดิมหรือใช้วัสดุอื่นที่ใช้ 
กาวเป็นตัวประสานเช่นกัน เช่น กระเบื้องยาง อย่าปูทับทันทีครับ ต้องรอให้ 
พื้นคอนกรีตแห้งเสียก่อนแล้วจึงปูลงไปได้ ไม่เช่นนั้นถึงน้ำ�ไม่ท่วมรับรองว่าล่อน 
ออกมาอีกแน่นอนครับ 
พื้นหลังน้ำท่วม ทั้งพรมทั้งกระเบื้อง ทั้งหินอ่อนหินขัด สกปรกจัง! 
พื้นสกปรกก็ขอให้ทำ�ความสะอาดเสียก็จบเรื่อง แต่ความน่าสนใจสำ�หรับ 
พื้นที่ถูกน้ำ�ท่วมก็คือ “วัสดุปูพื้นที่เสียหาย” ต่างหาก เมื่อได้พูดไว้แล้วว่าหากพื้น 
ไม้ปาเก้ถูกน้ำ�ท่วมจะต้องทำ�อย่างไร แก้อย่างไร ตอนนี้อยากจะเล่าให้ทราบถึง 
เรื่องพื้นปูพรม หากถูกน้ำ�ท่วมคงจะต้องรื้อพรมออกให้หมด
43 
เพราะปล่อยไว้จะเกิดอาการพรมเน่าส่งกลิ่นเหม็นรบกวนท่านชั่วนาตาปีที 
เดียว เมื่อลอกพรมออกแล้วนำ�พรมไปซักและตากแดดให้แห้ง แล้วจึงนำ�กลับมา 
ปูใหม่ (พรมอาจจะยืด จะหดไปบ้าง คงจะต้องยอมรับสภาพครับ) สิ่งสำ�คัญ 
ก็คือตอนที่จะปูทับกลับไป ต้องมั่นใจว่าพื้นคอนกรีตของเรานั้นจะต้องแห้งเพียง 
พอ มีเวลาให้ความชื้นที่สะสมไว้ในตัวคอนกรีตระเหยออกมาเสียก่อน 
การซ่อมแซมฝ้าเพดานบ้านหลังน้ำท่วม 
การซ่อมแซมฝ้าเพดานจะมีลักษณะคล้ายๆ การซ่อมผนังและพื้นปนกัน 
มีวิธีการแก้ไขคือ 
• ถ้าเป็นฝ้าเพดานยิปซัมบอร์ดหรือกระดาษอัด ถ้าเปื่อยยุ่ยมากเพราะ 
อมน้ำ�ก็ควรเลาะออกแล้วจึงเปลี่ยนแผ่นใหม่เลย ทิ้งไว้ให้ทั้งหมดแห้งสนิทจริงๆ 
แล้วจึงทาสีทับ 
• ถ้าเป็นฝ้าโลหะ ให้เช็ดทำ�ความสะอาดให้แห้ง ถ้าเป็นสนิมก็ใช้กระดาษ 
ทรายขัดออกให้เรียบร้อย แล้วจึงทาสีทับเข้าไปใหม่ 
• ถ้าโครงฝ้าเพดานที่เป็นไม้เกิดการแอ่นหรือทรุดตัว ต้องแก้ไขให้ได้ระดับ 
ก่อนการติดตั้งแผ่นฝ้าใหม่ 
ระบบสายไฟส่วนใหญ่จะเดินในฝ้า เวลาเปิดฝ้าเข้าไปต้องตรวจดูความ 
เรียบร้อยว่ามีส่วนใดชำ�รุดหรือเปล่าด้วย
วิธีการซ่อมกระเบื้องมุงหลังคาหลังน้ำท่วม 
การซ่อมหลังคาบ้านหลังน้ำ�ท่วม อันดับแรกเลยเราต้องพยายามหาจุดที่ 
ทำ�ให้เกิดรอยรั่วหรือตรงที่มีกระเบื้องแตกราวให้ได้ก่อนว่าจริงๆ แล้วเกิดจากที่ 
ใดกันแน่ ถ้าพบว่ามีรูรั่วหรือแตกร้าวนั้นวิธีซ่อมหลังคาบ้านอาจทำ�ได้ดังนี้ 
• ขั้นตอนที่ 1 ปีนขึ้นหลังคาบ้านด้วยบันได โดยพาดไปบนหลังคาให้ มั่นคง 
กับพื้นที่เรียบเสมอกัน ควรมีผู้ช่วยคอยจับบันไดให้มั่นคงขณะทำ�งาน แล้วจึงปีนขึ้น 
บนหลังคา 
• ขั้นตอนที่ 2 คลายน็อตที่ยึดแผ่นกระเบื้องหลังคาที่ต้องการเปลี่ยนด้วย 
คีมหรือประแจปากตาย โดยถอดน็อตที่แผ่นที่ต้องการเปลี่ยน และคลายน็อตที่ 
กระเบื้องแผ่นบนและแผ่นด้านขวามือของกระเบื้องที่แตกออกให้หลวมสำ�หรับสอด 
กระเบื้องแผ่นใหม่เข้าไปแทน 
ซ่อม.สร้าง.สู้ 
คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 44 
• ขั้นตอนที่ 3 ดึงแผ่นเก่าออกโดยต้องระวังเศษกระเบื้องหลังคาจะหล่น 
ลงไปด้านล่าง ใส่แผ่นใหม่ตามรอยเดิม โดยสอดเข้าจากด้านล่างให้อยู่ใต้แผ่นที่ 
อยู่เหนือขึ้นไป 
• ขั้นตอนที่ 4 ใช้สว่านไฟฟ้าเจาะรูกระเบื้องขนาด 5 มิลลิเมตร สำ�หรับ 
ร้อยก้านน็อตเข้ากับคานโครงหลัง โดยให้รูตรงกับรูเดิมของแผ่นเก่า 
• ขั้นตอนที่ 5 ร้อยน็อตเดิมพร้อมกับใส่แผ่นปิดกับน้ำ�เข้ารูที่เจาะ แล้วขัน 
ยึดกับโครงหลังคาด้วยคีมหรือประแจปากตายให้แน่น 
• ขั้นตอนที่ 6 ทาวัสดุกันซึมประเภทฟิลโคทหรือซิลิโคนที่หัวน็อตเพื่อป้องกัน 
น้ำ�ฝนซึมเข้าหลังคาอีกชั้นหนึ่ง 
ที่มา : http://www.homedecorthai.com/articles/ 
how_to_repair_roof_tiles_after-99-857.html
45 
บันไดผุเพราะน้ำท่วม พื้นก็ผุเพราะน้ำท่วม ซ่อมอย่างไร? 
บันไดที่กล่าวถึงน่าจะหมายถึงบันไดไม้ และพื้นที่กล่าวถึงก็น่าจะหมายถึง 
พื้นบ้านที่เป็นไม้เช่นเดียวกัน หากผุอันเนื่องจากการท่วมของน้ำ�คราวนี้ ไม่ใช่ 
เป็นการผุมาก่อน ไม่ต้องทำ�อะไรมาก พยายามอย่าไปทำ�อะไรรุนแรงกับเขา 
ปล่อยให้เขาค่อยๆ แห้งไปเอง ก็อาจกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม แต่ขอย้ำ�ว่า 
กรุณาอย่าถอดออกไปตากแดด เพราะไม้ที่ชื้นและอิ่มน้ำ�อยู่จะแตกและเสียหาย 
ได้ ต้องค่อยเป็นค่อยไปครับ 
หากบันไดหรือพื้นของท่านผุกร่อนมาแล้วก่อนที่จะเกิดน้ำ�ท่วม คงจะต้อง 
ดามหรือเปลี่ยนแผ่นไม้ใหม่ หากมีงบประมาณไม่ครบทั้งหมดก็แนะนำ�ให้เปลี่ยน 
ไม้ที่บันไดก่อน เพราะบันไดน่าจะมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรับแรงกระแทกได้
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด
คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด

More Related Content

More from อลงกรณ์ อารามกูล

LPA ด้าน 3 การบริหารงานการเงินและการคลัง
LPA ด้าน 3 การบริหารงานการเงินและการคลังLPA ด้าน 3 การบริหารงานการเงินและการคลัง
LPA ด้าน 3 การบริหารงานการเงินและการคลังอลงกรณ์ อารามกูล
 
LPA ด้านที่ 2 การบริหารงานบุคคลและกิจการสภา
LPA ด้านที่ 2 การบริหารงานบุคคลและกิจการสภาLPA ด้านที่ 2 การบริหารงานบุคคลและกิจการสภา
LPA ด้านที่ 2 การบริหารงานบุคคลและกิจการสภาอลงกรณ์ อารามกูล
 
ตัวอย่างข้อตกลงการปฏิบัติราชการ
ตัวอย่างข้อตกลงการปฏิบัติราชการตัวอย่างข้อตกลงการปฏิบัติราชการ
ตัวอย่างข้อตกลงการปฏิบัติราชการอลงกรณ์ อารามกูล
 

More from อลงกรณ์ อารามกูล (20)

คมชัดลึก14 ต.ค.59
คมชัดลึก14 ต.ค.59คมชัดลึก14 ต.ค.59
คมชัดลึก14 ต.ค.59
 
ประวัติย่อของกาลเวลา
ประวัติย่อของกาลเวลาประวัติย่อของกาลเวลา
ประวัติย่อของกาลเวลา
 
ซักซ้อมแผนสี่ปี
ซักซ้อมแผนสี่ปีซักซ้อมแผนสี่ปี
ซักซ้อมแผนสี่ปี
 
รบ มท แผน ฉ2 2559
รบ มท แผน ฉ2 2559รบ มท แผน ฉ2 2559
รบ มท แผน ฉ2 2559
 
ซักซ้อมงบประมาณ 60
ซักซ้อมงบประมาณ 60ซักซ้อมงบประมาณ 60
ซักซ้อมงบประมาณ 60
 
LPA ด้าน 4 การบริการสาธารณะ
LPA ด้าน 4 การบริการสาธารณะLPA ด้าน 4 การบริการสาธารณะ
LPA ด้าน 4 การบริการสาธารณะ
 
LPA ด้าน 3 การบริหารงานการเงินและการคลัง
LPA ด้าน 3 การบริหารงานการเงินและการคลังLPA ด้าน 3 การบริหารงานการเงินและการคลัง
LPA ด้าน 3 การบริหารงานการเงินและการคลัง
 
LPA ด้านที่ 2 การบริหารงานบุคคลและกิจการสภา
LPA ด้านที่ 2 การบริหารงานบุคคลและกิจการสภาLPA ด้านที่ 2 การบริหารงานบุคคลและกิจการสภา
LPA ด้านที่ 2 การบริหารงานบุคคลและกิจการสภา
 
LPA ด้าน 1 การบริหารจัดการ
LPA ด้าน 1 การบริหารจัดการLPA ด้าน 1 การบริหารจัดการ
LPA ด้าน 1 การบริหารจัดการ
 
ตัวอย่างข้อตกลงการปฏิบัติราชการ
ตัวอย่างข้อตกลงการปฏิบัติราชการตัวอย่างข้อตกลงการปฏิบัติราชการ
ตัวอย่างข้อตกลงการปฏิบัติราชการ
 
อาหารจานเดียว สูตรเด็ด
อาหารจานเดียว สูตรเด็ดอาหารจานเดียว สูตรเด็ด
อาหารจานเดียว สูตรเด็ด
 
อาหารจานเดียว ต้นตำรับ
อาหารจานเดียว ต้นตำรับอาหารจานเดียว ต้นตำรับ
อาหารจานเดียว ต้นตำรับ
 
คู่มือ Cyber security สำหรับประชาชน
คู่มือ Cyber security สำหรับประชาชนคู่มือ Cyber security สำหรับประชาชน
คู่มือ Cyber security สำหรับประชาชน
 
กับข้าวสูตรเด็ด
กับข้าวสูตรเด็ดกับข้าวสูตรเด็ด
กับข้าวสูตรเด็ด
 
คิดเชิงคณิตศาสตร์
คิดเชิงคณิตศาสตร์คิดเชิงคณิตศาสตร์
คิดเชิงคณิตศาสตร์
 
Six thinking hats th
Six thinking hats thSix thinking hats th
Six thinking hats th
 
Maxim มีนาคม 2559
Maxim มีนาคม 2559Maxim มีนาคม 2559
Maxim มีนาคม 2559
 
ศูนย์ถ่ายทอด 47
ศูนย์ถ่ายทอด 47ศูนย์ถ่ายทอด 47
ศูนย์ถ่ายทอด 47
 
แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 53
แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 53แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 53
แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 53
 
แนวทางประสานแผน 59
แนวทางประสานแผน 59แนวทางประสานแผน 59
แนวทางประสานแผน 59
 

คู่มือ ซ่อม สร้าง สู้ หลังน้ำลด

  • 2.
  • 3. ถ้ามองดีๆ มองให้ลึกซึ้งแล้วพิจารณาเรื่องวิกฤตการณ์น้ำ�ท่วม ครั้งนี้ เราทุกคนคงต้องขอบคุณเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งหลายคนบอกว่าร้ายแรงที่สุดตั้งแต่เกิดมา ไม่เคยพบไม่เคยเห็นมาก่อน แต่ในวันนี้ก็ทำ�ให้เรา “ได้” อะไรมากมาย ที่หาไม่ได้อีกแล้วในชีวิต ข้อแรกคือ เราได้เข้าใจโลกเข้าใจธรรมมากขึ้น ได้พัฒนาอย่างลึกซึ้ง และสามารถนำ�ไปปฏิบัติแล้วได้ผลมากขึ้น เราจะเห็นเลยว่าธรรมชาติของโลก ที่เราเข้าใจมากขึ้นก็คือว่า ธรรมชาติของโลกทุกอย่างเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์เป็นเรื่อง เดียวกัน ทุกเรื่องไม่สามารถที่จะแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกจากกันได้ และไม่ สามารถที่จะดึงส่วนนี้มาเติมส่วนนั้นได้ ทุกอย่างเกี่ยวเนื่องกัน หลายคนคงเคยได้ยินคำ�ที่คนทั่วโลกเขาพูดกันอย่างเช่น การที่ “ผีเสื้อ กระพือปีกจากซีกโลกหนึ่ง แต่กระทบถึงอีกซีกโลกหนึ่ง” หรือแม้แต่การ “เด็ด ดอกไม้แต่สะเทือนถึงดวงดาว” บางทีคนอาจจะนึกไม่ถึงว่าเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้จะมีผลที่ต่อเนื่องกันขนาดนั้นหรือ แต่วันนี้เราได้เห็นกันแล้วว่า ทั่วโลกล้วนเกิดเหตุการณ์ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน เมื่อไหร่ก็ตามที่มันมีฟันเฟืองใดฟันเฟืองหนึ่งเกิดความไม่สมดุล มันจะเกิดปัญหา กระทบกับอีกฝั่งหนึ่งทันที ซึ่งวันนี้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกยอมรับกันแล้วว่า เป็น เช่นนั้นจริงๆ และพยายามบอกและหาหนทางแก้ไขในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน ถ้าเกิดเรามองว่ามนุษย์เราเป็นฟันเฟืองหนึ่ง เราเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ของจักรวาล แล้วต้องการให้ธรรมชาติมารับใช้มนุษย์ เราก็เลยมองธรรมชาติเป็น รูปของตัวเลข เป็นรูปของตัวเงินต่างๆ ทั้งที่ดิน ต้นไม้ ใบหญ้า แม้กระทั่งผืน ฟ้า ผืนน้ำ�ต่างๆ อวกาศ ทุกอย่างตีเป็นตัวเลข
  • 4. มนุษย์มีความต้องการที่ไม่มีที่สิ้นสุด พอได้แล้วก็ต้องการ มากขึ้น มากขึ้น มากขึ้นไปตามความอยากที่เพิ่มพูนไม่มีสิ้นสุด เพราะฉะนั้นเราก็ไปทำ�ร้ายธรรมชาติโดยไม่ได้ตั้งใจหรือตั้งใจเราก็ไม่ทราบ แต่สุดท้ายเราก็คงเห็นแล้วว่า เมื่อธรรมชาติขาดความสมดุลเพราะน้ำ�มือของพวก เรา ก็ถึงเวลาแล้วที่ธรรมชาติจะเอาคืน เพราะความไม่สมดุล อะไรที่เคยเป็นตาม ฤดูกาลตามธรรมชาติก็ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ในบ้านเราสิ่งที่ไม่เคยเห็นก็เกิดขึ้น มาแล้วทั้งคลื่นยักษ์สึนามิ น้ำ�ท่วมใหญ่ แผ่นดินไหว ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะตระหนักถึงผลร้ายที่เราทำ�ลายธรรมชาติ ถึง เวลาหรือยังที่เราต้องใส่ใจกับธรรมชาติ และช่วยกันคนละไม่คนละมือเพื่อนำ� ธรรมชาติกลับคืนสู่ความสมดุล ถึงเวลาหรือยังที่เราจะเข้าใจว่า “ธรรมชาติเอาคืน” ข้อที่สอง วิกฤตครั้งนี้ได้สอนพวกเราทุกคนให้เข้มแข็งขึ้น ทั้งเรื่องกาย เรื่องใจ เรื่องความคิดต่างๆ เราเข้มแข็งขึ้นหลังจากผ่านวิกฤตนี้ พวกเราทุกคน ได้มีโอกาสเรียนรู้ และเพิ่มศักยภาพของตัวเองจากการปรับตัวในสถานการณ์ที่ ไม่ปกติ หรือจะเรียกว่า “วิกฤต” ได้มากขึ้น หากเรามี “สติ” มองทุกมุมอย่างเข้าใจ เราทุกคนก็จะแข็งแกร่งมากขึ้น เราก็สามารถรับมือได้ดีขึ้นในทุกครั้ง เราได้เห็นหัวใจที่ยิ่งใหญ่ของคนไทย ของ คนรอบข้าง ของเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง เห็นการ “ให้” ในรูปแบบต่างๆ เห็น ถึงหัวใจที่แท้จริงของการไม่ทอดทิ้งกันเมื่อยามมีภัย อันเป็นคุณลักษณะพิเศษที่ ทำ�ให้คนไทยไม่เหมือนชนชาติใดในโลก ท่านพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านมีคำ�สอน หลายเรื่องที่น่าจะนำ�มาปรับใช้กับสถานการณ์ปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นอีกใน อนาคต ท่านบอกว่าในวิกฤตครั้งนี้สอนให้เราเข้าใจชีวิต และยังมีข้อดีอย่างน้อย 2 ประการคือ สอนใจเรา และฝึกใจเรา
  • 5. สอนใจเรา ให้ตระหนักถึงความจริงของชีวิตซึ่งมีความผันผวนปรวนแปร เป็นนิจ เช่น ของหายก็สอนใจเราว่าความพลัดพรากจากของรักเป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีอะไรที่จะอยู่กับเราหรือเป็นของเราได้อย่างยั่งยืน ฝึกใจเรา ในวิกฤตครั้งนี้ฝึกใจให้ไม่ประมาท ระมัดระวัง เพื่อป้องกันมิให้ เหตุร้ายเกิดขึ้นอีก หรือฝึกใจให้ปล่อยวางเพื่อรับมือกับเหตุร้ายที่แรงกว่าในอนาคต เหตุการณ์แย่ๆ นั้นจะช่วยฝึกใจเราให้มั่นคงเข้มแข็ง เพราะต้องเจออะไรต่ออะไร อีกมากมายในวันข้างหน้า อีกทั้งยังฝึกให้เราฉลาดและมีประสบการณ์มากขึ้น สุดท้ายท่านเมตตาให้ข้อคิดว่า “อย่าลืมว่าคนเราเรียนรู้จากความล้มเหลวได้มากกว่าความ สำ�เร็จ” ในขณะเดียวกันท่านว.วชิรเมธี ท่านก็มอบคมความคิด คติธรรมแก่คน ไทยเพื่ออยากเห็นทุกคนมี “สติ” และเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่า “น้ำ�ไหลมาอย่าให้ใจไหลไป ความทุกข์ยิ่งใหญ่ไม่อยู่ยืนยาว อยู่ ใต้ฟ้าอย่ากลัวฝนพราว ตะวันสกาวความทุกข์จะคลาย ปัญหาคือยา วิเศษ รู้จักสังเกตปัญหาจะหาย...” หรือแม่แต่คุณตัน ภาสกรนที ที่ในช่วงแรกๆ เขาเป็นคนที่ออกแรงกาย แรงใจ แรงทรัพย์ในการเข้าช่วยเหลือคนที่ประสบภัยอย่างเข้มแข็ง แต่แล้วในวัน หนึ่งเขาก็กลายเป็นผู้ประสบภัยรายใหญ่เสียเอง โรงงานน้ำ�ดื่มของเขาจมไปกับ น้ำ�ที่ไหลบ่าท่วมจนทรัพย์สินเสียหายหลายพันล้านบาท แต่ด้วยหัวใจที่ไม่ยอมแพ้ เขาก็ยังยิ้มได้ และยังส่งผ่านกำ�ลังใจไปถึงทุกคนที่อยู่ในชะตากรรมเดียวกับเขาว่า
  • 6. “ทุกครั้งที่เกิดความเสียหาย มันเกิดการเรียนรู้ครั้งใหม่เสมอ ผมโดนก่อน อีกมุมหนึ่งผมอาจจะโชคร้าย อีกมุมคือผมได้เรียนรู้ใหม่ ตราบใดที่เรายังไม่เสียชีวิต ยังมีลมหายใจ ขอให้เราเชื่อมั่น ศรัทธา และมีความหวัง” วันนี้วิกฤตนั้นได้ผ่านไปแล้ว พร้อมกับได้มอบสิ่งล้ำ�ค่าที่หลายท่านบอกว่า มากกว่าการสูญเสียไป ในวันข้างหน้าแม้เกิดวิกฤตอีกกี่ครั้ง ก็เชื่อว่าเราคนไทยทุกคน คงรับมือผ่านไปได้สบายและมีชีวิตใหม่ที่ดีขึ้น มีอนาคตที่ดีขึ้นหลัง จากวิกฤตทุกครั้ง หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นมาจากหัวใจที่อยากส่งต่อให้อีกหลายหัวใจได้รับรู้ ได้ สัมผัสถึงความห่วงใย และได้รวบรวมเทคนิคต่างๆ ในการฟื้นฟูซ่อมแซมบ้าน แบบง่ายๆ ด้วยตัวเองที่พยายามจะให้ครอบคลุมหมดทุกด้านจากท่านผู้เชี่ยวชาญ ในด้านต่างๆ มากที่สุดที่ต้องกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงทุกท่าน เพื่อให้พี่น้องและเพื่อนๆ ทุกท่านได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่หลังจากวิกฤต นี้ผ่านไปแล้วเท่าที่จะสามารถทำ�ได้ หากมีข้อผิดพลาดไม่ว่าเรื่องใด ก็ขอกราบ ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ขอเป็นกำ�ลังใจให้กับทุกท่านด้วยความปรารถนาดี คณะผู้จัดทำ�
  • 7. ส า ร บั ญ น้ำท่วมแล้ว น้ำลดแล้ว บ้านมีปัญหา เริ่มต้นที่ไหนดี ตรวจสอบระบบไฟฟ้าหลังน้ำท่วม ตรวจสอบระบบประปาหลังน้ำท่วม เช็กนอกบ้าน สังเกตรอบบ้านก่อนเข้าบ้าน เช็กในบ้าน โครงสร้างอาคารบ้านเรือนสำคัญมาก ต้องเช็กให้ดี! จัดการผนัง ประตู หน้าต่าง พื้น ฟ้า หลังน้ำลด! - ซ่อมผนังบ้านหลังน้ำ�ท่วม - ซ่อมแซมสีทาบ้านหลังน้ำ�ท่วม - การซ่อมแซมประตูหลังน้ำ�ท่วม - การซ่อมแซมบานพับ ลูกบิด และรูกุญแจหลังน้ำ�ท่วม - ซ่อมพื้นไม้ปาเก้หลังน้ำ�ท่วม - พื้นหลังน้ำ�ท่วม ทั้งพรมทั้งกระเบื้อง ทั้งหินอ่อนหินขัด สกปรกจัง - การซ่อมแซมฝ้าเพดานบ้านหลังน้ำ�ท่วม - วิธีการซ่อมกระเบื้องมุงหลังคาหลังน้ำ�ท่วม - บันไดผุเพราะน้ำ�ท่วม พื้นก็ผุเพราะน้ำ�ท่วม ซ่อมอย่างไร? 11 17 21 25 31 37
  • 8. เรื่องส้วม ส้วม… การทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งในบ้านล่ะทำอย่างไร - การซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์หลังน้ำ�ท่วม - ดูแลซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์หลังน้ำ�ท่วม - วิธีซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์โซฟาหลังน้ำ�ท่วม - ทำ�ความสะอาดเตียงนอนหลังน้ำ�ท่วม - ทำ�ความสะอาดพรมหลังน้ำ�ท่วม - ที่นอน เตียง หมอน และผ้าห่มที่ถูกน้ำ�ท่วม - การซ่อมวอลล์เปเปอร์หลังน้ำ�ท่วม - ขจัดเชื้อโรคเชื้อราหลังน้ำ�ท่วม ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและรถยนต์หลังน้ำท่วม - การปฏิบัติต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังน้ำ�ท่วม - เบื้องต้นเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้า - ซ่อมตู้เย็นหลังน้ำ�ท่วม - ซ่อมพัดลมหลังน้ำ�ท่วม - ซ่อมเครื่องปรับอากาศหลังน้ำ�ท่วม - ซ่อมโทรทัศน์ เครื่องเล่นวิดีโอ เครื่องเล่นดีวีดี วิทยุ และเครื่องเสียงหลังน้ำ�ท่วม - มือถือตกน้ำ� - การล้างทำ�ความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า - การช่วยชีวิตผู้ถูกไฟดูด - หลังน้ำ�ท่วมรถ ทำ�อย่างไร? 47 51 63
  • 9. หน่วยงานที่ให้บริการและให้ความช่วยเหลือ - การประปา - การไฟฟ้า - องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย - วิศวกรอาสา - วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) แหล่งเงินกู้ และโครงการที่ให้ความช่วยเหลือ ด้านการเงิน / โครงการพักชำระหนี้ - เปิดแพ็กเกจแบงก์ “พักชำ�ระหนี้” ช่วยผู้ประสบภัยน้ำ�ท่วม - ธนาคารไทยพาณิชย์ - ธนาคารธนชาต - ธนาคารอาคารสงเคราะห์ - ธนาคารกรุงไทย - ธนาคารกสิกรไทย - ธนาคารกรุงเทพ - บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำ�กัด (บสก.) - 8 แหล่งเงินกู้ พร้อมรับมือหลังน้ำ�ท่วม - แบงก์แข่งปล่อยดอก 0% ซ่อมแซมบ้านหลังน้ำ�ลด ภาคผนวก “รู้ไว้ให้ดี Flood นี้ไม่ได้น่ากลัว (อย่างที่คิด)” - ก่อนน้ำ�มาต้องทำ�อย่างไร - หากต้องผจญน้ำ�ท่วม 81 85 98
  • 10.
  • 11.
  • 12. ความทุกข์ยากลำ�บากฉากแรกกำ�ลังจะผ่านไป หลังน้ำ�ลด แต่ความทุกข์ใหม่กำ�ลังเข้ามาแทนที่ เพราะสภาพ ของบ้านอันถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ของเรามีสภาพที่น่าอึดอัด น่าอันตราย และเป็นรอยแผลที่หลายคน อยากจะเมินหน้าหนี หาก คิดจะแก้ปัญหาบ้านหลังน้ำ�ท่วมเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่าปัจจุบัน (แม้ไม่สามารถจะเปรียบเทียบให้เท่ากับอดีต) จึงขอแนะนำ�ว่าน่าจะ เริ่มต้น ดังนี้ 1. อย่าซีเรียสว่า “ทำ�ไมน้ำ�ถึงท่วม” ราชการหรือรัฐบาลไป อยู่ที่ไหน เพื่อนๆ ในถิ่นอื่น ทำ�ไมบ้านเขาน้ำ�ไม่ท่วม? ฯลฯ เพราะ นั่นไม่ใช่แนวทางแก้ปัญหา “บ้านหลังน้ำ�ท่วม” ซ่อม.สร้าง.สู้ คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 12 2. ทำ�การตรวจสอบด้วยจิตอันบริสุทธิ์ว่าบ้านเราเกิดปัญหา ใดเพิ่มขึ้นบ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนน้ำ�ท่วม เช่น รั้วเอียง ปาเก้ ล่อน แมลงสาบหายไปไหน ค่าไฟเพิ่ม ฯลฯ และทำ�บันทึกไว้เป็น ข้อๆ ให้อ่านง่ายจดจำ�ง่าย (ภาษาฝรั่งเขาเรียกว่าทำ� “Check-List”) 3. ถามตนเองว่าสภาพการเงินเราเป็นอย่างไร มีเงินจะใช้ สำ�หรับการซ่อมแซมเท่าไร (รวมถึงการกู้ยืมแหล่งอื่น แต่ไม่รวมการ โกงบ้านกินเมือง) จะได้วางแนวทางการจ่ายเงินอย่างมีขีดจำ�กัดและ มีความเป็นไปได้ 16 ข้อปฏิบัติความปลอดภัยในการสำรวจบ้านเรือนหลัง น้ำท่วม น้ำ�ท่วมมีแนวโน้มที่จะลดลงแล้วในหลายๆ จังหวัด หลายๆ คนคงใจจดใจจ่อที่จะกลับเข้าบ้านตัวเองเพื่อสำ�รวจความเสียหายที่
  • 13. 13 เกิดขึ้น และเริ่มเตรียมการฟื้นฟูบูรณะส่วนต่างๆ ให้กลับคืนดังเดิม บทความ ของผมในตอนนี้จะให้ข้อระวังในเรื่องความปลอดภัยเมื่อท่านต้องก้าวเข้าสู่บ้าน ของท่านเป็นครั้งแรกหลังจากน้ำ�ท่วม เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง ข้อที่ 1 รอให้น้ำ�ลดลงเสียก่อนจึงเข้าไปตรวจสอบภายในบ้าน อย่าเข้าบ้าน ในขณะที่ระดับน้ำ�ยังสูงอยู่ ข้อที่ 2 เตรียมดินสอ ปากกา กระดาษ กล้องถ่ายรูป อุปกรณ์ช่างต่างๆ เช่น ไขควง ตลับเมตร ท่อนไม้แห้ง ท่อพีวีซี เพื่อจดหรือบันทึกความเสียหายต่างๆ ข้อที่ 3 เข้าสำ�รวจบ้านในเวลากลางวันที่มีแสงสว่างเพียงพอเท่านั้น ข้อที่ 4 สวมรองเท้าบู๊ตหรือรองเท้าเซฟตี้ และสวมหมวกเซฟตี้ เพื่อป้องกัน เศษแก้ว ตะปู และของมีคมต่างๆ ที่น้ำ�พัดพาเข้ามาอยู่ในบ้านของท่าน ข้อที่ 5 ก่อนเดินเข้าบ้านให้เดินสำ�รวจรอบๆ บ้านเสียก่อน และเคลื่อนย้าย เศษสิ่งของต่างๆ ที่เกะกะออกไปให้พ้นทาง ข้อที่ 6 อย่าลืมนำ�ไฟฉายติดตัวไปด้วยเมื่อต้องการแสงสว่างและเพื่อให้เห็น สภาพภายในบ้านได้ชัดเจนขึ้น ข้อที่ 7 สังเกตว่ามีกลิ่นแก๊สรั่วออกมาจากบ้านหรือไม่ และห้ามทำ�ให้เกิด เปลวไฟหรือสูบบุหรี่เด็ดขาด เพราะอาจเกิดเพลิงไหม้ตามมา ข้อที่ 8 สังเกตสายไฟที่อาจจะห้อยร่วงลงมาในน้ำ� หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีน้ำ� ขังอยู่ เนื่องจากน้ำ�เป็นสื่อไฟฟ้า อาจทำ�ให้ไฟดูดเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ข้อที่ 9 เมื่อเข้ามาภายในบ้าน ห้ามยกสะพานไฟขึ้นหรือเปิดแก๊สเด็ดขาด เนื่องจากไม่แน่ใจว่ามีสายไฟที่ห้อยลงมาแช่อยู่ในน้ำ�หรือไม่ หากต้องการแสงสว่าง ให้ใช้ไฟฉายเท่านั้น ข้อที่ 10 หากสังเกตเห็นสะพานไฟหรือเซอร์กิตเบรกเกอร์เปิดอยู่ ต้องปิด โดยเร็ว โดยให้ยืนอยู่ในจุดที่แห้งแล้วใช้ไม้แห้งหรือท่อพีวีซีเป็นอุปกรณ์ในการโยก คันเบรกเกอร์ลง หากไม่แน่ใจอย่าเสี่ยงทำ�เอง ควรเรียกช่างไฟฟ้ามาดำ�เนินการ
  • 14. ข้อที่ 11 ระวังกรณีที่น้ำ�ท่วมสูงถึงฝ้าเพดาน ฝ้าเพดานที่อุ้มน้ำ�จะมีน้ำ�หนัก มากและมีโอกาสร่วงลงมาทับเราได้ ในกรณีเช่นนั้นให้ใช้ไม้แหลมๆ เจาะฝ้าเป็น ระยะๆ เพื่อให้น้ำ�ไหลออกมา จะได้ลดน้ำ�หนักของฝ้าเพดาน ข้อที่ 12 ระวังพื้นลื่น เวลาเดินอาจลื่นหกล้มได้ เนื่องจากพื้นอาจมีคราบ โคลนที่ติดอยู่และยังไม่แห้งดี ทำ�ให้ลื่นได้ง่าย ข้อที่ 13 เมื่อเข้าไปภายในบ้านแล้วให้เปิดประตูและหน้าต่างออกให้หมด เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก เป็นการช่วยกำ�จัดความชื้นภายในบ้าน และ ขจัดแก๊สต่างๆ ที่ไม่พึงปรารถนาออกไป ข้อที่ 14 ระวังสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ เช่น งู ตะขาบ หรือแม้กระทั่งจระเข้ ซึ่งอาจหนีน้ำ�เข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านด้วย ซ่อม.สร้าง.สู้ คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 14 ข้อที่ 15 หลีกเลี่ยงหรืออย่าเข้าใกล้โครงสร้างที่แตกร้าวเสียหาย เพราะ อาคารเหล่านั้นอาจถล่มลงมาได้ทุกเมื่อ ควรปรึกษาวิศวกรโดยด่วนหากพบรอย แตกร้าวในโครงสร้างอย่างรุนแรง ข้อที่ 16 หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อแนะนำ�ในการเข้าตรวจสอบอาคาร ควรติดต่อโครงการวิศวกรอาสาของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ดูรายละเอียด ที่ http://www.eit.or.th ข้อมูลจาก : รศ.ดร.อมร พิมานมาศ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 15.
  • 16.
  • 17.
  • 18. ขณะน้ำ�ท่วมทุกบ้านคงจะปิดวงจรไฟฟ้าหรือ คัตเอาท์ทั่วทั้งบ้านทำ�ให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าเดินในระบบ ซึ่งลด อันตรายแก่ผู้อยู่อาศัยและแก้ปัญหาจากไฟฟ้าลัดวงจรได้อย่างแน่นอน แต่เมื่อน้ำ�ลดลงควรตรวจสอบระบบไฟฟ้าในบ้านของท่านดังนี้ครับ • เปิดคัตเอาท์ให้มีกระแสไฟฟ้าเข้ามา ถ้าปลั๊กหรือจุดใดจุด หนึ่งในระบบยังเปียกชื้นอยู่ คัตเอาท์จะตัดไฟและฟิวส์จะขาด ให้ เปลี่ยนฟิวส์แล้วทิ้งไว้ 1 วันให้ความชื้นระเหยออกไปแล้วลองทำ�ใหม่ หากยังเป็นเหมือนเดิมคงต้องตามช่างไฟมาแก้ไขดีกว่าเสี่ยงชีวิตครับ ซ่อม.สร้าง.สู้ คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 18 • เมื่อทดสอบผ่านขั้นตอนแรกไปแล้ว ลองทดสอบเปิดไฟฟ้า ทีละจุดและทดสอบกระแสไฟฟ้าในปลั๊กว่ามาปกติหรือไม่ด้วยไขควง ทดสอบไฟ หากทุกจุดทำ�งานได้ก็สบายใจได้ หากมีปัญหาอยู่ต้องรอ ให้ความชื้นระเหยออกก่อน ถ้ายังมีปัญหาก็คงต้องตามช่างมาแก้ไข หรือเปลี่ยนปลั๊ก/สวิตช์เหล่านั้นครับ • ลองดับไฟทุกจุดในบ้าน ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออก ทั้งหมด แต่ยังเปิดคัตเอาท์ไว้แล้ววิ่งไปดูมิเตอร์ไฟฟ้าหน้าบ้านว่าหมุน หรือไม่ หากไม่เคลื่อนไหวแสดงว่าไฟฟ้าในบ้านไม่น่าจะรั่ว แต่ถ้า มิเตอร์หมุนแสดงว่าไฟฟ้าในบ้านท่านอาจจะรั่วได้ ให้รีบตามช่างไฟ มาดูแลโดยเร็วครับ
  • 19. 19 • หากพอมีงบประมาณสำ�หรับปรับเปลี่ยนระบบไฟฟ้าในบ้านของท่าน แนะนำ�ให้ตัดปลั๊กไฟในระดับต่ำ�ๆ ในบ้านชั้นล่างออกให้หมด (ถ้าคิดว่าน้ำ�ท่วม อีกแน่ๆ) แล้วปรับตำ�แหน่งปลั๊กไฟไปอยู่ที่ระดับประมาณ 1.10 เมตร หลังจาก นั้นควรแยกวงจรไฟฟ้าออกเป็น 2-3 วงจรคือ 1. วงจรไฟฟ้าสำ�หรับบ้านชั้นล่าง (ที่น้ำ�อาจท่วมถึง) 2. วงจรไฟฟ้าสำ�หรับบ้านชั้นบนขึ้นไป (ที่น้ำ�ท่วมไม่ถึง) 3. วงจรสำ�หรับเครื่องปรับอากาศ การกระทำ�ดังกล่าวจะทำ�ให้ท่านควบคุมการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้าในบ้านได้ อย่างอิสระ และง่ายต่อการซ่อมแซมบำ�รุงรักษาครับ ที่มา : http://www.softbizplus.com/general/897-home-after-flood
  • 20.
  • 21.
  • 22. เป็นอีกระบบที่มีความสำ�คัญเพราะเกี่ยวกับ สุขอนามัยของผู้อยู่อาศัย มีแนวทางตรวจสอบ ระบบประปาในบ้านหลังน้ำ�ท่วมดังนี้ครับ • ถ้ามีบ่อเก็บน้ำ�ใต้ดินหรือถังเก็บน้ำ�ในระดับน้ำ�ท่วมถึง พึง ระลึกเสมอว่าน้ำ�ที่ท่วมเป็นน้ำ�สกปรกเสมอ ดังนั้นควรล้างทำ�ความ สะอาดถังน้ำ�และบ่อน้ำ�ให้สะอาดเพื่อความปลอดภัยของท่านและ สมาชิกในบ้าน โดยไม่เสียดายน้ำ� แล้วจึงปล่อยน้ำ�ประปาใหม่ลงเก็บ ไว้ใช้งานอีกครั้งหนึ่งครับ ซ่อม.สร้าง.สู้ คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 22 • บ้านที่มีระบบปั๊มน้ำ�ควรตรวจสอบอุปกรณ์ปั๊มน้ำ�และถัง อัดความดันว่าใช้งานได้เหมือนเดิมหรือไม่ โดยพิจารณาเสียงเครื่อง ทำ�งาน ดูแรงดันน้ำ�ในท่อว่าแรงเหมือนเดิม (ก่อนน้ำ�ท่วม) หรือไม่ หลังจากนั้นตรวจสอบดูว่าถังอัดความดันทำ�ความดันได้ดีเหมือนเดิม หรือไม่ • หากมีความผิดปกติควรตรวจสอบด้วยการแกะ แงะ ไข ว่า มีเศษผง สิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันกีดขวางการทำ�งานของอุปกรณ์เหล่านี้ หรือไม่ หากปั๊มน้ำ�ที่บ้านท่านถูกน้ำ�ท่วมให้เดาไว้ก่อนว่าน่าจะเสียหาย และหากใช้งานต่อไปเลยอาจเกิดอันตรายจากความชื้นในมอเตอร์ได้ ควรเรียกหาช่างมาทำ�ให้แห้งเสียก่อนตามกรรมวิธีทางเทคนิค (ที่ไม่ใช่ นำ�ไปตากแดดแบบเนื้อเค็ม) เพื่อลดความเสี่ยงจากเพลิงไหม้ในตัว มอเตอร์ได้ครับ ที่มา : http://www.softbizplus.com/general/897-home-after-flood
  • 23.
  • 24.
  • 25.
  • 26. รั้วคอนกรีตที่แข็งแรง ต้องตรวจดูอะไรหลังน้ำลดไหม? “น้ำ�” คือองค์ประกอบที่สำ�คัญที่สุดของธรรมชาติ และ ธรรมชาติเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่มนุษย์จะไปท้าทายแข่งขัน รั้ว คอนกรีตของท่านคงจะไม่สามารถฝืนกฎนี้ได้ ปัญหาที่อาจจะเกิด กับรั้วของท่านก็เป็นเรื่องน้ำ�ท่วม ดินที่ฐานรั้วท่านอาจจะอ่อนตัวลง ความสามารถในการรับน้ำ�หนักอาจจะน้อยลง หรือระดับที่ดินในบ้าน กับนอกบ้านท่านมีระดับแตกต่างกัน ยามเมื่อน้ำ�ที่ท่วมลดลงอาจจะ เกิดแรงดูดทำ�ให้รั้วของท่านเอียงไปก็ได้ หรือในขณะที่น้ำ�ท่วมรั้วของ ท่านอาจต้องทำ�หน้าที่เป็น “เขื่อน” ที่ต้องรับน้ำ�หนักน้ำ�เป็นอย่างมาก ความสามารถในการรับน้ำ�หนักและความแข็งแรงอาจลดลงไปได้ ดังนั้นเพื่อความมั่นใจกรุณาตรวจสอบและหาแนวทางแก้ไข ดังนี้ ซ่อม.สร้าง.สู้ คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 26 • ใช้สายตาของท่านเล็งดูว่ารั้วของท่านยังตั้งฉากอยู่ดีหรือ ไม่ หากมีการเอียงเล็กน้อยก็เอาไม้ค้ำ�ยันด้านที่เอียงออกเอาไว้ก่อน มีสตางค์เมื่อไรก็รีบซ่อมทันที หากตรวจสอบแล้วปรากฏว่ารั้วของท่านเอียงมาก เอียงจน แนวออกหรือจะออกนอกแนวศูนย์ถ่วง (C.G.) ต้องรีบซ่อมแซมทันที (โดยช่างก่อสร้างที่พอจะมีความรอบรู้) หากยังไม่มีงบประมาณก็ต้อง ค้ำ�ยันไว้อย่างแน่นหนามากๆ เพราะน้ำ�หนักรั้วที่แข็งแรงของท่านนั้น หนักมาก (ไม่เชื่อลองไปนอนให้รั้วพังทับดูก็ได้ไม่ว่ากัน)
  • 27. 27 หากรั้วของท่านมีคานคอดิน (คานตัวล่างสุดที่อยู่ใกล้ระดับดิน) รับน้ำ�หนัก รั้วอยู่ พอน้ำ�ลดลง น้ำ�อาจพาดินใต้คานคอดินของท่านออกไปด้วย ก็จะเกิด รูโพรงใต้คานรั้วของท่าน อันอาจเป็นเหตุให้สัตว์ต่างๆ เดิน-วิ่ง-มุด-เลื้อย เข้าไป ในบ้านของท่านได้ หรือไม่ก็ทำ�ให้ดินของท่านไหลออกจากบ้านสู่ทางสาธารณะ ไปเรื่อยๆ ภายหลัง (อันทำ�ให้ดินของท่านหมดสนาม และถนนสาธารณะต้อง สกปรก) ก็ขอให้เติมดินอัดกลับเข้าไปให้คงเดิม นอกจากจะตรวจดูที่รั้วบ้านแล้ว ท่านน่าจะต้องตรวจดูที่ประตูรั้วท่าน ด้วย เพราะประตูส่วนใหญ่จะทำ�ด้วยเหล็กหรือไม้ (พวกอัลลอยด์ไม่ค่อยเป็นอะไร ยกเว้นบริเวณบานพับหรือกลอนที่อาจจะทำ�ด้วยเหล็ก) อาจมีอาการผุกร่อนได้ ทำ�ให้บานประตูไม่สามารถปิดได้เหมือนเดิมหรืออาจจะหลุดออกมาทั้งบาน ฉะนั้น จึงควรทำ�การผูกรัดให้แข็งแรงเสีย มีเงินเมื่อไรอย่าลืมควักออกมาซ่อมแซมก็แล้วกัน ช่วยด้วย ต้นไม้กำลังจะตายกันหมด น้ำ�ท่วมคราวนี้คร่าชีวิตต้นไม้ไปมากมาย ทั้งพืชทางเศรษฐกิจและพืชที่ เราปลูกกันไว้ในบ้าน หากบ้านใดน้ำ�ท่วมเป็นเวลานาน ต้นไม้ต้นหญ้าขนาดเล็ก จะต้องตายหมดแน่นอน แนวทางการแก้ไขก็คือ ต้องเริ่มต้นปลูกกันใหม่ (ต้นไม้ เขาตายไปแล้ว เรามิใช่เทวดาที่จะเรียกให้เขาฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้) แต่ต้นไม้บาง ต้นที่ยังไม่ถึงที่แต่ก็กำ�ลังจะถึงที่ตาย มีแนวทางที่เราจะช่วยเหลือเยียวยาเขาได้ ลองทำ�ดังนี้ดูนะครับ ห้ามให้ปุ๋ยเด็ดขาด (ทั้งปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ปุ๋ยธรรมชาติ) เพราะน้ำ�ท่วม ทำ�ให้รากต้นไม้อ่อนแอ เขาต้องการเวลาพักฟื้นตัว ไม่ใช่ต้องการปุ๋ย (อย่างคน อาการโคม่า ย่อมไม่ต้องการรับประทานสเต็กเนื้อสันฉันนั้น)
  • 28. วิธีการที่ถูกก็คือ ขุดหลุมเล็กขนาดลึกสัก 50 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร ไว้ข้างๆ ต้นไม้นั้น เพื่อให้น้ำ�ที่ขังอยู่บริเวณรากไม้ไหลลงสู่หลุมที่เราขุด เป็นการ ช่วยอาการรากสำ�ลักน้ำ�ได้ แล้วก็คอยเอาเครื่องดูดน้ำ�เล็กๆ (ภาษาชาวบ้านเรียก เจ้าเครื่องนี้ว่า “ไดโว่” ราคาประมาณสองถึงสามพันบาท) คอยสูบน้ำ�ออก แต่ หากไม่มีกะตังค์จะซื้อเครื่องสูบน้ำ�นี้ ก็ต้องออกแรงขุดหลุมกว้างหน่อย (อย่ากว้าง มาก จนต้นไม้เขาล้ม) แล้วใช้ขันหรือถังค่อยๆ เอื้อมมือตักน้ำ�ออก หากเห็นว่ารากต้นไม้ไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะยึดลำ�ต้นเอาไว้ กรุณาอย่า อัดดินลงไปให้แน่นเป็นอันขาด ต้นไม้เขาจะรีบๆ ตายทันที ให้ใช้วิธีดามหรือ ค้ำ�ยันลำ�ต้นเอาไว้แทน รอจนรากเขาแข็งแรงเหมือนเดิมแล้วจึงเอาไม้ดามไม้ค้ำ�ยัน ออก งูเงี้ยวเขี้ยวขอ ตะกวดแย้ มังกรกิ้งกือ หนีน้ำมาอยู่เต็มบ้านเลย ทำไงดี? ซ่อม.สร้าง.สู้ คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 28 กรณีมีสัตว์ที่เราไม่พึงประสงค์เข้ามาอยู่ในบ้านของเรา คงจะต้องค่อยๆ แยกประเภทสัตว์ต่างๆ ตามประเภทเสียก่อน เพราะสัตว์เหล่านั้นไม่มีสูตรสำ�เร็จ ที่จะจัดการให้หมดไปได้ด้วยวิธีเดียวกัน ซึ่งอาจจะแยกเป็นประเภทและการ ดำ�เนินการได้ ดังนี้ • สัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดใหญ่พอควร ทั้งที่มีพิษและไม่มีพิษ เช่น งู ตะกวด จระเข้ ฯลฯ อะไรทำ�นองนี้ อย่าพยายามไปจับหรือจัดการเอง ทำ�การ ป้องกันบ้านและป้องกันตัวไม่ให้พวกเขามาทำ�อันตรายเรา (เราในที่นี้หมายถึงสัตว์ เลี้ยงแสนรักของเราด้วยนะครับ) ให้ติดต่อหน่วยราชการอาสามาจัดการสัตว์ร้าย เหล่านี้แทน
  • 29. 29 • สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กที่ไม่มีพิษ เช่น กิ้งกือ ไส้เดือน กิ้งก่า จิ้งเหลน ฯลฯ ก็ปล่อยเขาไว้ได้ บางท่านอาจจะรังเกียจ แต่ก็ควรทนเอาเขาไปปล่อยในที่ ที่สมควรปล่อย (ไม่รบกวนใคร) จะดีกว่า หรืออาจจะปล่อยเขาเอาไว้เฉยๆ ก็ได้ ไม่นานเมื่อทุกอย่างเรียบร้อยเขาก็จะหายไปเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากเขาเข้ามาใน ตัวบ้านเราโดยผ่านทาง “รู” ต่างๆ ในบ้านเรา ก็ต้องจัดการเอาเขาออกไปนะครับ • แมลงต่างๆ ตั้งแต่ยุง แมงมุม ฯลฯ หรือแม้แต่มด ต้องไม่ให้เข้ามา ในบ้านเรา ต้องพยายามปิดประตูหน้าต่างหรือปิดรูให้ดีเท่าที่จะทำ�ได้ และคง ต้องจัดการให้หมดไปตามปกติธุระ • แมลงพิเศษ อาทิ “ปลวก” ตอนนี้เขาคงยังไม่มา แต่อาจจะมาในอนาคต ได้ ตอนนี้ยังไม่ต้องจัดการอะไร แต่พึงระวังไว้ว่า เมื่อน้ำ�ลดไปไม่นานจะต้องมี การป้องกันปลวกให้ดี เพราะโอกาสที่เขาจะมามีมากพอควรเลยครับ • สัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ที่ไม่เป็นอันตรายที่หลงทางมา เช่น สุนัข แมว หรือแม้กระทั่งวัว ควาย ก็น่าจะดูแลเขาในระยะแรกก่อน เพราะชีวิตเขาก็คง ลำ�บากอยู่เหมือนกันในขณะน้ำ�ท่วม แล้วหลังจากนั้นค่อยพิจารณาว่าเราจะต้อง ทำ�อย่างไรต่อไป (เช่น หาเจ้าของเดิม หาเจ้าของใหม่ ฯลฯ) อย่าเพิ่งไล่เขาออก ไปไหนเลย ถือว่าทำ�บุญสร้างบุญกันครับ
  • 30.
  • 31. 31
  • 32. ตรวจสอบโครงสร้างจาก 7 ประเด็น ความปลอดภัย “โครงสร้างอาคาร” หลังน้ำท่วม ภายหลังจากที่น้ำ�ท่วมลดลงแล้ว ภารกิจแรกๆ ที่ทุกคนคงจะ ต้องรีบเร่งจัดการคือการเข้าไปตรวจสอบความเสียหายของทรัพย์สิน ที่อยู่ภายในบ้าน ตลอดจนทำ�ความสะอาดและบูรณะให้กลับคืนมาดัง เดิม สำ�หรับประชาชนทั่วไปซึ่งอาจจะไม่มีความรู้ทางช่าง บทความ ในตอนนี้ผมจะอธิบายความเสียหายและสภาพโครงสร้างของอาคาร ของท่าน ตลอดจนข้อแนะนำ�เกี่ยวกับความปลอดภัยหากต้องการ เข้าไปสำ�รวจบ้านเรือนภายหลังน้ำ�ท่วม โดยได้อธิบายเป็นราย ประเด็น 7 ประเด็นเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อไป ซ่อม.สร้าง.สู้ คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 32 ประเด็นที่ 1 โครงสร้างอาคาร เช่น ตึกแถว อาคาร พาณิชย์ บ้านจัดสรรมีความแข็งแรงต่อการต้านทานแรงดัน น้ำได้แค่ไหน? ปกติแล้วโครงสร้างบ้านเรือนที่ก่อสร้างจากคอนกรีตจะ ค่อนข้างแข็งแรงกว่าบ้านเรือนที่ก่อสร้างด้วยไม้ เนื่องจากมีการเสริม เหล็กเส้นอยู่ข้างใน ดังนั้นหากเป็นอาคารที่ก่อสร้างจากคอนกรีตและ มีการออกแบบและก่อสร้างอย่างถูกต้องตามมาตรฐานทางวิศวกรรม แล้ว ก็ค่อนข้างจะแน่ใจได้ระดับหนึ่งว่า จะสามารถต้านแรงดันน้ำ� ในระดับความสูงไม่เกิน 2 เมตรโดยไม่ทำ�ให้โครงสร้างเสียหาย รุนแรงหรือพังทลาย แต่หากอาคารก่อสร้างมาไม่ถูกต้องตามหลัก ทางวิศวกรรม เช่น เสามีขนาดเล็กหรือเสริมเหล็กน้อยเกินไปก็ อาจจะพบความเสียหายได้ และหากเป็นบ้านเรือนที่ก่อสร้างจากไม้ ความแข็งแรงจะน้อยกว่าบ้านคอนกรีต และมีโอกาสจะพบความ เสียหายได้มากกว่าอาคารคอนกรีต
  • 33. 33 ประเด็นที่ 2 โครงสร้างส่วนใดของอาคารมีโอกาสที่จะได้รับความ เสียหายจากน้ำท่วมได้มาก? ผมมองว่าพวกผนังอิฐก่อและพื้นชั้นล่างของอาคารที่จมอยู่ในน้ำ�จะเป็น ส่วนที่ได้รับความเสียหายมากกว่าส่วนอื่นๆ เนื่องจากผนังและพื้นมีพื้นที่ปะทะน้ำ� มากกว่า ทำ�ให้ต้องแบกรับแรงดันน้ำ�ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับคานและเสา ลองคิดดู ง่ายๆ น้ำ�ที่สูง 1 เมตรจะมีแรงดันถึง 1 ตันหรือ 1,000 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และหากสูง 2 เมตรก็จะมีแรงดันสูงถึง 2 ตันหรือ 2,000 กิโลกรัมต่อตารางเมตร แต่ผนังอิฐหรือพื้นคอนกรีตเราไม่ได้ออกแบบให้ต้านแรงดันน้ำ�ได้สูงขนาดนั้น เช่น ผนังอิฐส่วนใหญ่จะรับแรงดันได้ราวๆ 100-200 กิโลกรัมต่อตาราง เมตร ส่วนพื้นคอนกรีตโดยทั่วไปจะออกแบบให้รับน้ำ�หนักได้ประมาณ 200-300 กิโลกรัมต่อตารางเมตรเท่านั้น ดังนั้นระดับน้ำ�ที่สูง 1-2 เมตร อาจจะทำ�ให้ กำ�แพงแตก พังทลาย หรือพื้นรับน้ำ�หนักมากเกินไปจนแอ่นตัวได้ โดยในช่วงแรกที่น้ำ�มาล้อมบ้านแต่ยังไม่ได้เข้ามาภายในบ้านจะมีแรงดันน้ำ� ทางด้านล่างดันให้พื้นแอ่นตัวขึ้นจนพื้นแตก และถ้าเป็นพื้นไม้หรือพื้นสำ�เร็จที่ ไม่ได้เทคอนกรีตทับหน้า ก็อาจจะหลุดลอยน้ำ�ไปได้ แต่เมื่อน้ำ�ไหลเข้าไปภายใน บ้านแล้วก็จะเกิดแรงดันน้ำ�ดันพื้นให้แอ่นลง เพื่อรักษาระดับแรงดันของน้ำ�ทั้งด้าน ในและด้านนอกให้สมดุลกัน ประเด็นที่ 3 คานกับเสามีโอกาสแตกร้าวเสียหายแค่ไหน? คานกับเสาที่มีขนาดเล็กเกินไป เช่น เสาที่มีขนาดเล็กกว่า 20 เซนติเมตร และอาคารบ้านจัดสรรที่นิยมใช้ชิ้นส่วนสำ�เร็จรูป อาจมีปัญหาที่รอยต่อระหว่าง ชิ้นส่วนต่างๆ ที่นำ�มาประกอบกันเป็นโครงสร้างอาคาร คานกับเสาอาจจะได้ รับความเสียหาย โดยอาจสังเกตเห็นรอยแตกร้าวในคานและเสา แต่บางครั้ง อย่าเพิ่งกลัวจนเกิดเหตุ
  • 34. บางทีรอยแตกร้าวที่เห็นอาจปรากฏเฉพาะในส่วนที่เป็นผิวปูนฉาบเท่านั้น โดยที่ตัวโครงสร้างจริงๆ อาจจะยังไม่เสียหายก็เป็นได้ ดังนั้นเพื่อความแน่ใจหาก พบรอยแตกร้าวหรือเนื้อปูนกะเทาะออกมา ควรรีบปรึกษาวิศวกร ในกรณีที่ร้าย แรงที่สุดคือหากเสามีขนาดเล็กไม่ได้มาตรฐานก็อาจหักจนเห็นเหล็กดุ้ง นอกจาก นี้โครงสร้างเหล็กเสริมหรือที่แช่น้ำ�อยู่เป็นเวลานานก็อาจเกิดสนิมขึ้นได้เช่นกัน จึง ต้องรีบซ่อมแซมมิฉะนั้นสนิมอาจลามจนแก้ไขไม่ทัน ประเด็นที่ 4 ฐานรากของอาคารมีโอกาสได้รับความเสียหายมาก น้อยแค่ไหน? ฐานรากของอาคารเป็นส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ�โดยตรง จึงมีโอกาสที่จะเสียหาย ซ่อม.สร้าง.สู้ คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 34 ได้มากกว่าโครงสร้างที่อยู่ข้างบนในทางวิศวกรรม ฐานรากมีอยู่สองชนิดคือ “ฐานรากที่วางบนดิน” และ “ฐานรากที่วางบนเสาเข็ม” หากเป็นฐานรากที่วาง บนดินมีโอกาสที่นํ้าซึ่งไหลผ่านไปจะกัดเซาะดินใต้ฐานรากได้ ดังนั้นภายหลังจากที่นํ้าลดแล้วก็อาจจะเห็นฐานรากซึ่งเคยฝังอยู่ใต้ดิน โผล่ขึ้นมา ตรงนี้อาจมีผลต่อโครงสร้างได้ เนื่องจากเมื่อดินถูกชะไปจะทำ�ให้ ฐานรากทรุดและอาจทำ�ให้โครงสร้างสูญเสียการทรงตัวจนพังทลายได้ในกรณี ที่เป็นฐานรากบนเสาเข็มสั้นๆ กำ�ลังรับน้ำ�หนักของเสาเข็มอาจจะลดลงเมื่ออยู่ ในดินที่ชุ่มน้ำ� ซึ่งอาจทำ�ให้กำ�ลังรับน้ำ�หนักลดลงได้เช่นกัน อีกจุดหนึ่งที่ผม ค่อนข้างเป็นห่วงคือฐานรากที่จมอยู่ใต้น้ำ� 1-2 เมตรจะเกิดแรงดันน้ำ�ยกบ้านให้ ลอยขึ้น โดยเฉพาะหากเป็นบ้านชั้นเดียวที่มีน้ำ�หนักไม่มากและไม่ได้ใส่เหล็กเดือย ยึดเสาเข็มกับฐานรากเข้าไว้ด้วยกัน อาจทำ�ให้ตัวบ้านลอยเคลื่อนออกจากฐานราก ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ส่วนบ้านที่ใช้เสาเข็มยาวๆ ที่หยั่งลงไปในชั้นดินแข็ง ที่ระดับลึกๆ และมีเหล็กเดือยยึดระหว่างเสาเข็มและฐานรากก็จะเป็นโครงสร้าง ที่มีความปลอดภัยสูงกว่า
  • 35. 35 ประเด็นที่ 5 อาคารที่มีชั้นใต้ดินมีข้อระวังอะไร? อาคารที่มีชั้นใต้ดินอาจมีน้ำ�ท่วมขังนานกว่าปกติ การระบายน้ำ�ออกต้อง ทำ�ด้วยความระมัดระวังเพื่อรักษาระดับแรงดันน้ำ�ให้สมดุลทั้งภายในและภายนอก อาคาร หากเร่งระบายน้ำ�เช่นสูบน้ำ�ออกจากชั้นใต้ดินทันทีทันใด แรงดันน้ำ� ที่อยู่ด้านนอกอาจจะดันให้ผนังหรือกำ�แพงแตกหักหรือพังทลาย หรือทำ�ให้พื้น ชั้นใต้ดินแอ่นขึ้นจนแตกได้ทันที เหมือนดังเช่นที่เราใช้หลอดดูดอากาศออกจาก กล่องพลาสติกแล้วทำ�ให้แรงดันอากาศภายนอกดันให้กล่องบุบเสียหาย ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มระบายน้ำ�ออกจากชั้นใต้ดิน ต้องรอให้ระดับน้ำ�ด้าน นอกลดลงจนหมดเสียก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ ระบายน้ำ�จากชั้นใต้ดินวันละ 0.5 เมตร และทำ�เครื่องหมายระดับน้ำ�ไว้ จากนั้นวันรุ่งขึ้นเช็กระดับน้ำ�ที่ทำ�เครื่องหมายไว้ หากระดับน้ำ�ไม่เพิ่มขึ้น ให้สูบออกอีก 0.5 เมตรแล้วรอดูวันถัดไป แต่หากระดับน้ำ�สูงขึ้นแสดงว่าแรงดัน น้ำ�ด้านนอกยังสูงอยู่ ต้องรอให้แรงดันน้ำ�ด้านนอกลดลงเสียก่อน จึงจะเริ่มสูบน้ำ� ออกต่อไปได้ ประเด็นที่ 6 แนวทางการซ่อมแซมอาคารที่เสียหายจากน้ำท่วม เป็นอย่างไร? การซ่อมแซมโครงสร้างอาคารที่ได้รับความเสียหายขึ้นอยู่กับระดับความ เสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งพอสรุปเป็นแนวทางดังนี้ 1. คานและเสา หากมีรอยแตกร้าวแต่ยังไม่ถึงขั้นบิดเบี้ยวเสียรูป อาจซ่อมแซม รอยแตกร้าวด้วยการฉีดกาวอีพ๊อกซี่เข้าไปในรอยแตกร้าว และหากเหล็กเสริม เป็นสนิมจำ�เป็นต้องขัดเอาสนิมออกแล้วทาสีกันสนิม เสริมเหล็กเพิ่มเติมแล้วพอก คอนกรีตกลับไปเช่นเดิม
  • 36. 2. หากเสาหักหรือขาด ต้องรีบให้ช่างหาเสาเหล็กหรือเสาไม้มาตู๊โครงสร้าง โดยด่วน เนื่องจากเสาที่หักจะรับน้ำ�หนักไม่ได้อีกต่อไป ดังนั้นโครงสร้างอาจจะ ถล่มลงมาได้ทุกเมื่อ จะต้องรีบปรึกษาวิศวกร การแก้ไขต้องทุบเสาทิ้งและหล่อ เสาขึ้นใหม่ 3. พื้นหรือกำ�แพงที่ถูกแรงดันน้ำ�ดันจนแอ่นตัวหรือทรุดตัว จะถือว่าพื้นหรือ กำ�แพงนั้นใช้การไม่ได้แล้ว ต้องเปลี่ยนใหม่ หากเป็นกำ�แพงให้ก่ออิฐขึ้นใหม่ หาก เป็นพื้นต้องทุบทิ้ง จากนั้นผูกเหล็กแล้วเทคอนกรีตใหม่ 4. ในกรณีที่ตัวบ้านหลุดหรือเคลื่อนจากฐานรากจะเป็นอันตรายต่อโครงสร้าง มาก เพราะเท่ากับว่าบ้านไม่ได้รองรับด้วยฐานรากอีกต่อไป จะต้องยกอาคารและ ทำ�ฐานรากใหม่ซึ่งทำ�เองไม่ได้ ต้องปรึกษาวิศวกรที่ชำ�นาญทางด้านนี้โดยตรง ซ่อม.สร้าง.สู้ คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 36 ประเด็นที่ 7 นอกจากโครงสร้างอาคารแล้วต้องตรวจสอบอะไรอีกบ้าง? ระบบโครงสร้างอาคารเป็นสิ่งสำ�คัญลำ�ดับแรกๆ ที่ต้องตรวจสอบเนื่องจาก เป็นเรื่องความปลอดภัยของโครงสร้างอาคาร แต่ต้องไม่ลืมว่าอาคารบ้านเรือนยัง ประกอบด้วยระบบบริการอีก 4 ระบบ ได้แก่ (1) ระบบงานสถาปัตยกรรม เช่น พื้นปาเก้ สีที่ทาผนัง วอลล์เปเปอร์ ประตู หน้าต่าง และอื่นๆ (2) ระบบสุขาภิบาล ได้แก่ ระบบระบายน้ำ� และระบบน้ำ�ประปา (3) ระบบไฟฟ้า เช่น ระบบแสงสว่าง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ (4) ระบบเครื่องกล เช่น เครื่องปรับอากาศ ปั๊มน้ำ� เป็นต้น ระบบพวกนี้ ต้องตรวจดูด้วยว่าเสียหายแค่ไหน และต้องเรียกวิศวกรหรือช่างที่ชำ�นาญมาดู ความเสียหาย เอกสารที่ผมแนะนำ�ให้ดูเป็นแนวทางคือคู่มือการตรวจสอบและ ซ่อมแซมอาคารบ้านเรือนหลังน้ำ�ท่วมของกรมโยธาธิการและผังเมือง ข้อมูลจาก : รศ.ดร.อมร พิมานมาศ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 37.
  • 38. ซ่อมผนังบ้านหลังน้ำท่วม • ผนังไม้ ปกติไม้จะไม่เสียหายเมื่ออยู่ใต้ระดับน้ำ� แต่มักผุ กร่อนในจุดที่มีน้ำ�ขึ้นน้ำ�ลงตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อน้ำ�ลดให้เอาผ้าเช็ด ทำ�ความสะอาด ขจัดคราบสกปรกออกเพื่อสุขภาพคนในบ้าน เพื่อ ให้ผิวไม้ระเหยความชื้นออกไปได้ เมื่อแน่ใจว่าผนังแห้งดีแล้วให้ใช้ น้ำ�ยารักษาเนื้อไม้ทาชโลมลงที่ผิว (***ต้องแน่ใจว่าแห้งแล้วจริงๆ มิฉะนั้นอาจเกิดการเน่าได้เนื่องจากความชื้นระเหยไม่ได้) การทาสี หรือยารักษาเนื้อไม้อาจทำ�ภายในก่อนก็ได้เพื่อความสวยงามในการ อยู่อาศัย แล้วรออีกสักพัก (3-4 เดือน) จึงทาภายนอกอีกที เพราะ ผนังภายนอกน่าจะแห้งสนิทดีแล้ว ซ่อม.สร้าง.สู้ คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 38 • ผนังก่ออิฐฉาบปูน ให้ดำ�เนินการเหมือนกับผนังไม้ แต่ต้อง ทิ้งระยะเวลานานกว่าเนื่องจากผนังอิฐจะมีมวลสารและการเก็บกัก ความชื้นในตัววัสดุได้มากกว่าไม้ จึงต้องใช้เวลาระเหยความชื้นออก ไปนานกว่า นอกจากนี้หากผนังปูนเหล่านี้มีสายไฟฟ้า ท่อไฟฟ้า ท่อ น้ำ�ฝังหรือเดินลอยไว้ก็ต้องใช้วิธีเดียวกับเนื้อหาตอนที่แล้ว ตรวจสอบ ระบบของอุปกรณ์เหล่านั้นให้อยู่ในสภาพเดิมไปพร้อมกันด้วยครับ • ผนังยิปซัมบอร์ด เนื่องจากวัสดุชนิดนี้เป็นแผ่นผงปูน ยิปซัมที่หุ้มด้วยกระดาษอย่างดี แต่ไม่ว่าจะดีเพียงใดเมื่อเจอ กับน้ำ� (ท่วม) แล้วก็คงไม่น่าจะมีชีวิตต่อไปได้
  • 39. 39 ดังนั้นให้แก้ไขโดยเลาะเอาแผ่นชนิดนี้ที่โดนน้ำ�ท่วมออกจากโครงเคร่าแล้ว ค่อยหาแผ่นใหม่มาติด ยาแนว ทาสีทับใหม่ก็เรียบร้อย ใช้งานได้เหมือนเดิมครับ พึงระวังเล็กน้อยสำ�หรับโครงเคร่าผนังที่เป็นไม้ ต้องรอให้ความชื้นในโครงเคร่า ระเหยออกไป หรือให้ไม้แห้งเสียก่อนจึงติดผนังเข้าไปใหม่ แต่ถ้าเป็นโครงเคร่า โลหะแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันคงไม่มีปัญหาครับ • ผนังโลหะ/กระจก วัสดุเหล่านี้โดยตัวเนื้อของวัสดุคงไม่มีความเสียหาย เพียงแค่ทำ�ความสะอาดขัดถูก็จะสวยงามเหมือนเดิม แต่ควรระวังเรื่องรอยต่อว่า มีคราบน้ำ� เศษผง สิ่งสกปรกฝังติดอยู่บ้างหรือไม่ หากมีก็ให้ทำ�ความสะอาดเสีย ให้เรียบร้อย เนื่องจากคราบน้ำ� ความสกปรกอาจทำ�ให้วัสดุยาแนวเสื่อมสภาพ เร็วกว่ากำ�หนด • ผนังชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นผนังกระดาษอัด ผนังสังกะสี ผนังไม้อัด ฯลฯ จะมีธรรมชาติคล้ายกับผนังทั้งสี่อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ลองเปรียบเทียบดูแล้วแก้ไขตามแนวทางนั้นๆ ซ่อมแซมสีทาบ้านหลังน้ำท่วม การซ่อมแซมสีทาบ้านทั้งภายนอกและภายใน ควรเป็นสิ่งสุดท้ายในการ แก้ไขปรับปรุงบ้าน เพราะเป็นเรื่องของเวลาที่ต้องปล่อยทิ้งให้ความชื้นหรือน้ำ�ใน ตัววัสดุระเหยออกไปให้ได้มากที่สุดครับ มิฉะนั้นท่านทาสีทับไปดีอย่างไรก็จะเกิด อาการหลุดล่อนในที่สุดครับ
  • 40. • ข้อควรคิดสำ�หรับการซ่อมแซมสีคือ ปัญหาสีลอกสีล่อนไม่ได้เกิดจาก คุณภาพของสี แต่เกิดจากความไม่พร้อมของพื้นผิวที่ทาสี หากพื้นผิวที่ทาสีมี ความชื้นหรือสิ่งสกปรกติดอยู่ แม้ทาสีทับอย่างไรสีก็จะล่อนออกมาอยู่ดีครับ • ข้อพึงกระทำ�เวลาซ่อมสีคือ อย่างเพิ่งรีบทาสี ให้ทำ�ความสะอาดและ ลอกสีเดิมทิ้งออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ (เฉพาะที่มีปัญหานะครับ) แล้วทิ้ง ไว้นานๆ หลายๆ เดือน อาจรอจนถึงหน้าร้อนปีหน้าแล้วค่อยทาสีตามกรรมวิธี ของผู้ผลิตก็ไม่สาย การซ่อมแซมประตูหลังน้ำท่วม ซ่อม.สร้าง.สู้ คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 40 ประตูต่างๆ เมื่อแช่น้ำ�อยู่นานๆ ก็จะบวมขึ้นหรือไม่ก็จะเกิดเป็นสนิม มี วิธีแก้ไขคือ • ประตูไม้ เมื่อโดนแช่น้ำ�ก็จะบวมและผุพัง มีวิธีแก้ก็โดยทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วซ่อมแซมส่วนที่ผุให้เรียบร้อยแล้วจึงทาสีใหม่ แต่ถ้าผุมากก็ควรจะเปลี่ยนเลย • ประตูเหล็กที่ขึ้นสนิม ก็ใช้กระดาษทรายขัดสนิมออกให้หมด เช็ดให้ สะอาดแล้วจึงทาสีใหม่ โดยอย่าลืมทาสีกันสนิมก่อน แต่อย่าลืมดูรอยต่อต่างๆ โดยเฉพาะที่เป็นท่อโครงเหล็กว่ามีน้ำ�หลงเหลืออยู่เหลือเปล่า ต้องให้แห้งจริงๆ ก่อนจึงจะทาสีได้ • ประตูพลาสติก ส่วนใหญ่จะทนน้ำ�ได้ แต่ให้ระวังอาการที่มีน้ำ�ขังสกปรก ให้หาวิธีเช็ด ซับน้ำ�ออก หรือเจาะรูให้น้ำ�ออก
  • 41. 41 ทีนี้เวลาที่ “ประตูบวมน้ำ�” หรือมีน้ำ�ขังข้างใน จะทำ�ให้น้ำ�หนักมากและ ประตูเอียงจนบานพับรับน้ำ�หนักไม่ไหว ให้หาลิ่มมายันไว้ก่อนให้ใกล้เคียงปกติ แล้วพยายามทำ�ให้แห้งที่สุด จากนั้นถ้ายังเอียงอยู่จะไขน็อตเพิ่มหรือเปลี่ยนบานพับ ก็ตามสมควรครับ การซ่อมแซมบานพับ ลูกบิด และรูกุญแจหลังน้ำท่วม อุปกรณ์ต่างๆ เช่น บานพับ ลูกบิด และรูกุญแจที่ทำ�ด้วยโลหะ เมื่อโดน น้ำ�ท่วมย่อมมีปัญหาตามมา มีวิธีแก้ไขคือ • เช็ดให้แห้งสนิท ขัดส่วนที่เป็นสนิมออกให้หมด ใช้พวกน้ำ�ยาหล่อลื่น ชโลมตามจุดรอยต่อและรูต่างๆ ให้ทั่ว • อย่าใช้จาระบีหรือพวกขี้ผึ้งทา เพราะจะทำ�ให้ความชื้นระเหยออกไม่ได้ จะทำ�ให้ฝังอยู่ข้างใน และจะเป็นปัญหาในภายหลัง • ถ้ายังใช้การไม่ได้ ก็ลองทำ�ตามวิธีที่ว่านี้หลายๆ ครั้ง แต่ถ้ายังมีปัญหา ก็คงจะต้องถอดออกแล้วซื้อมาเปลี่ยนใหม่ ซ่อมพื้นไม้ปาเก้หลังน้ำท่วม ถ้าพื้นบ้านของท่านเป็นไม้ปาเก้แล้วถูกน้ำ�ท่วมก็ต้องเข้าใจไว้สักนิดนะครับ ว่า ปาเก้หรือไม้แผ่นชนิดนี้อยู่ได้ด้วยกาวติดกับพื้นคอนเกรีตเสริมเหล็ก จึงแพ้ น้ำ� (ท่วม) อย่างแรง เพราะไม้จะบวมน้ำ�และหลุดล่อนออกมาในที่สุดเป็น เรื่องธรรมดา บางทีหากน้ำ�ท่วมเป็นเวลานานๆ ก็อาจเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์แถม มาให้อีกด้วยครับ มีวิธีตรวจสอบแก้ไขดังนี้ครับ
  • 42. • หากปาเก้เปียกน้ำ�เล็กน้อยไม่ถึงกับหลุดล่อนออกมา แค่เช็ดทำ�ความ สะอาดแล้วเปิดประตู หน้าต่าง ปล่อยให้แห้งโดยให้อากาศถ่ายเทความชื้นออกไป ปาเก้จะเป็นปกติได้ไม่ยาก แต่ระวังว่าเมื่อปาเก้ยังชื้นอยู่ไม่ควรเอาสารทาทับหน้า ไปทาทับ เนื่องจากจะไปเคลือบผิวไม่ให้ความชื้นในเนื้อไม้ระเหยออกมา • หากปาเก้มีอาการบิดงอ ปูดโปน เบี้ยวบูด กรุณาเลาะออกมาทันที ครับ และหากยังอยู่ในสภาพดีก็ผึ่งลมให้แห้ง เพราะอาจนำ�มาใช้ประโยชน์ได้ • หากท่านจะซ่อมแซมพื้นใหม่ด้วยการเอาวัสดุปูพื้นชนิดใหม่ที่คงทนถาวร ทนน้ำ�ได้มากกว่า เช่น กระเบื้อง หินอ่อน หรือแกรนิต เหล่านี้ ต้องระวังอย่าง ยิ่งเรื่องน้ำ�หนักวัสดุที่จะปูทับหน้าว่าโครงสร้างเดิมจะรับน้ำ�หนักได้หรือไม่ ไม่ควร ทำ�ไปดื้อๆ เลย เพราะบ้านท่านอาจเสียหายได้ครับ ซ่อม.สร้าง.สู้ คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 42 • หากรื้อหรือซ่อมแซมแล้วต้องการปูปาเก้แบบเดิมหรือใช้วัสดุอื่นที่ใช้ กาวเป็นตัวประสานเช่นกัน เช่น กระเบื้องยาง อย่าปูทับทันทีครับ ต้องรอให้ พื้นคอนกรีตแห้งเสียก่อนแล้วจึงปูลงไปได้ ไม่เช่นนั้นถึงน้ำ�ไม่ท่วมรับรองว่าล่อน ออกมาอีกแน่นอนครับ พื้นหลังน้ำท่วม ทั้งพรมทั้งกระเบื้อง ทั้งหินอ่อนหินขัด สกปรกจัง! พื้นสกปรกก็ขอให้ทำ�ความสะอาดเสียก็จบเรื่อง แต่ความน่าสนใจสำ�หรับ พื้นที่ถูกน้ำ�ท่วมก็คือ “วัสดุปูพื้นที่เสียหาย” ต่างหาก เมื่อได้พูดไว้แล้วว่าหากพื้น ไม้ปาเก้ถูกน้ำ�ท่วมจะต้องทำ�อย่างไร แก้อย่างไร ตอนนี้อยากจะเล่าให้ทราบถึง เรื่องพื้นปูพรม หากถูกน้ำ�ท่วมคงจะต้องรื้อพรมออกให้หมด
  • 43. 43 เพราะปล่อยไว้จะเกิดอาการพรมเน่าส่งกลิ่นเหม็นรบกวนท่านชั่วนาตาปีที เดียว เมื่อลอกพรมออกแล้วนำ�พรมไปซักและตากแดดให้แห้ง แล้วจึงนำ�กลับมา ปูใหม่ (พรมอาจจะยืด จะหดไปบ้าง คงจะต้องยอมรับสภาพครับ) สิ่งสำ�คัญ ก็คือตอนที่จะปูทับกลับไป ต้องมั่นใจว่าพื้นคอนกรีตของเรานั้นจะต้องแห้งเพียง พอ มีเวลาให้ความชื้นที่สะสมไว้ในตัวคอนกรีตระเหยออกมาเสียก่อน การซ่อมแซมฝ้าเพดานบ้านหลังน้ำท่วม การซ่อมแซมฝ้าเพดานจะมีลักษณะคล้ายๆ การซ่อมผนังและพื้นปนกัน มีวิธีการแก้ไขคือ • ถ้าเป็นฝ้าเพดานยิปซัมบอร์ดหรือกระดาษอัด ถ้าเปื่อยยุ่ยมากเพราะ อมน้ำ�ก็ควรเลาะออกแล้วจึงเปลี่ยนแผ่นใหม่เลย ทิ้งไว้ให้ทั้งหมดแห้งสนิทจริงๆ แล้วจึงทาสีทับ • ถ้าเป็นฝ้าโลหะ ให้เช็ดทำ�ความสะอาดให้แห้ง ถ้าเป็นสนิมก็ใช้กระดาษ ทรายขัดออกให้เรียบร้อย แล้วจึงทาสีทับเข้าไปใหม่ • ถ้าโครงฝ้าเพดานที่เป็นไม้เกิดการแอ่นหรือทรุดตัว ต้องแก้ไขให้ได้ระดับ ก่อนการติดตั้งแผ่นฝ้าใหม่ ระบบสายไฟส่วนใหญ่จะเดินในฝ้า เวลาเปิดฝ้าเข้าไปต้องตรวจดูความ เรียบร้อยว่ามีส่วนใดชำ�รุดหรือเปล่าด้วย
  • 44. วิธีการซ่อมกระเบื้องมุงหลังคาหลังน้ำท่วม การซ่อมหลังคาบ้านหลังน้ำ�ท่วม อันดับแรกเลยเราต้องพยายามหาจุดที่ ทำ�ให้เกิดรอยรั่วหรือตรงที่มีกระเบื้องแตกราวให้ได้ก่อนว่าจริงๆ แล้วเกิดจากที่ ใดกันแน่ ถ้าพบว่ามีรูรั่วหรือแตกร้าวนั้นวิธีซ่อมหลังคาบ้านอาจทำ�ได้ดังนี้ • ขั้นตอนที่ 1 ปีนขึ้นหลังคาบ้านด้วยบันได โดยพาดไปบนหลังคาให้ มั่นคง กับพื้นที่เรียบเสมอกัน ควรมีผู้ช่วยคอยจับบันไดให้มั่นคงขณะทำ�งาน แล้วจึงปีนขึ้น บนหลังคา • ขั้นตอนที่ 2 คลายน็อตที่ยึดแผ่นกระเบื้องหลังคาที่ต้องการเปลี่ยนด้วย คีมหรือประแจปากตาย โดยถอดน็อตที่แผ่นที่ต้องการเปลี่ยน และคลายน็อตที่ กระเบื้องแผ่นบนและแผ่นด้านขวามือของกระเบื้องที่แตกออกให้หลวมสำ�หรับสอด กระเบื้องแผ่นใหม่เข้าไปแทน ซ่อม.สร้าง.สู้ คู่ มื อ ซ่ อ ม แ ซ ม ฟึ้ น ฟู บ้า น ห ลั ง น้ำ� ล ด ด้ ว ย ตั ว เ อ ง แ บ บ บู ร ณา กา ร 44 • ขั้นตอนที่ 3 ดึงแผ่นเก่าออกโดยต้องระวังเศษกระเบื้องหลังคาจะหล่น ลงไปด้านล่าง ใส่แผ่นใหม่ตามรอยเดิม โดยสอดเข้าจากด้านล่างให้อยู่ใต้แผ่นที่ อยู่เหนือขึ้นไป • ขั้นตอนที่ 4 ใช้สว่านไฟฟ้าเจาะรูกระเบื้องขนาด 5 มิลลิเมตร สำ�หรับ ร้อยก้านน็อตเข้ากับคานโครงหลัง โดยให้รูตรงกับรูเดิมของแผ่นเก่า • ขั้นตอนที่ 5 ร้อยน็อตเดิมพร้อมกับใส่แผ่นปิดกับน้ำ�เข้ารูที่เจาะ แล้วขัน ยึดกับโครงหลังคาด้วยคีมหรือประแจปากตายให้แน่น • ขั้นตอนที่ 6 ทาวัสดุกันซึมประเภทฟิลโคทหรือซิลิโคนที่หัวน็อตเพื่อป้องกัน น้ำ�ฝนซึมเข้าหลังคาอีกชั้นหนึ่ง ที่มา : http://www.homedecorthai.com/articles/ how_to_repair_roof_tiles_after-99-857.html
  • 45. 45 บันไดผุเพราะน้ำท่วม พื้นก็ผุเพราะน้ำท่วม ซ่อมอย่างไร? บันไดที่กล่าวถึงน่าจะหมายถึงบันไดไม้ และพื้นที่กล่าวถึงก็น่าจะหมายถึง พื้นบ้านที่เป็นไม้เช่นเดียวกัน หากผุอันเนื่องจากการท่วมของน้ำ�คราวนี้ ไม่ใช่ เป็นการผุมาก่อน ไม่ต้องทำ�อะไรมาก พยายามอย่าไปทำ�อะไรรุนแรงกับเขา ปล่อยให้เขาค่อยๆ แห้งไปเอง ก็อาจกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม แต่ขอย้ำ�ว่า กรุณาอย่าถอดออกไปตากแดด เพราะไม้ที่ชื้นและอิ่มน้ำ�อยู่จะแตกและเสียหาย ได้ ต้องค่อยเป็นค่อยไปครับ หากบันไดหรือพื้นของท่านผุกร่อนมาแล้วก่อนที่จะเกิดน้ำ�ท่วม คงจะต้อง ดามหรือเปลี่ยนแผ่นไม้ใหม่ หากมีงบประมาณไม่ครบทั้งหมดก็แนะนำ�ให้เปลี่ยน ไม้ที่บันไดก่อน เพราะบันไดน่าจะมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรับแรงกระแทกได้