SlideShare a Scribd company logo
1 of 12
Download to read offline
1
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลธิดา เตชวรสินสกุล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลธิดา เตชวรสินสกุล
ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตามรอยงานออกแบบญี่ปุ่น
หลังสงครามโลกครั้งที่2
บทความนี้เป็นรายงานการศึกษาเบื้องต้นของโครงการวิจัยภายใต้โครงการรูปธรรมศึกษาฯ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชื่อโครงการ การสร้างแผนที่
ทบทวน: งานออกแบบญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากมุมมองไทย (Redraw
Mapping: Japanese Design after World War II from Thai Perspective)
จากการศึกษางานออกแบบญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเบื้องต้นพบว่าการ
รับรู้งานออกแบบญี่ปุ่นในสังคมปัจจุบัน เป็นการสืบทอดแนวความคิดที่มีผลจาก
อิทธิพลของมุมมองจากตะวันตก โดยอาจเป็นผลสืบเนื่องจากความพยายามถ่ายทอด
ภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นเองต่อโลกภายนอก ตั้งแต่ยุคที่มีการแผ่ขยายอาณานิคม
ตะวันตกมายังกลุ่มประเทศเอเชีย จึงเป็นที่มาของการศึกษาบริบทการออกแบบ
ของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านมุมมองไทย อาศัยการทบทวนวรรณกรรม
การสืบค้นจากสื่อสารสนเทศ สื่อภาพยนตร์ การ์ตูน และการเข้าร่วมการประชุม
และการสัมนาเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบญี่ปุ่น เกิดเป็นแนวความคิด
ในการแบ่งประเภทขององค์ประกอบในการศึกษาเบื้องต้นเป็นมุมมอง 2 ด้านที่
ยืดหยุ่นและอาจมีขอบเขตเหลื่อมล้ำกัน ได้แก่ มุมมองด้านสุนทรียะ และ มุมมอง
ด้านสังคม เศรษฐกิจ และ เทคโนโลยี ผลที่ได้จากการคึกษาอัตลักษณ์งานออกแบบ
ญี่ปุ่นจากมุมมองทั้งสองด้าน ก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในแง่มุมที่หลากหลาย
และซับซ้อนขององค์ประกอบความเป็นญี่ปุ่น นอกเหนือไปจากเนื้อหาในผลงาน
การออกแบบ ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ทั้งโดยศิลปิน ช่างฝีมือ นักออกแบบ ตลอดจน
2
ตามรอยงานออกแบบญี่ปุ่น
หลังสงครามโลกครั้งที่2
ผู้สร้างนิรนาม สามารถอธิบายผลการศึกษาโดยเสนอแนวความคิดในการสร้างแผนที่
แสดงบริบทงานออกแบบญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บนแกนอ้างอิงเชิงเวลา และ
แกนอ้างอิงด้านสุนทรียะ ด้านสังคม เศรษฐกิจ และ เทคโนโลยี เพื่อเป็นประโยชน์
ต่อการศีกษาค้นคว้าต่อไป
1. มุมมองจากด้านสุนทรียะ
คำสำคัญ: bi-ju-tsu, gei-ju-tsu, gi-ju-tsu, cha-do, zen, wabi-sabi, mono no
aware, Isamu Noguchi, Butterfly Stool
“Our aesthetic sense is our order” 1
_____ Masahiro Miwa ‘The Japanese
Awareness of Space’ Process Architecture, June 1983
เป็นการศึกษาด้านสุนทรียะ รสนิยม และ การรับรู้ความเป็นญี่ปุ่นในงานออกแบบ
ผ่านงานศิลปหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นปัจจัยภายในประเทศญี่ปุ่น
อันเนื่องมาจาก สภาพภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม
ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศึกษาคำศัพท์นิยามความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับการ
ออกแบบ โดยอาศัยพื้นฐานจาก ศิลปะ (บิจุทสึ / bi-ju-tsu / : art) ความเป็น
ช่างฝีมือ ( เกจุทสึ / gei-ju-tsu / : craft) และวิทยาการ (กิจุทสึ / gi-ju-tsu /
: technique, technology)
แม้ว่าอารยธรรมญี่ปุ่น จะได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากจีน และบางส่วนจากเกาหลี
แต่โดยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะ และการดำเนินนโยบายด้านการปกครอง
ที่ปิดประเทศในอดีต ทำให้เกิดการบ่มเพาะและตกผลึกลักษณะเฉพาะของอารยธรรม
ญี่ปุ่นในการดำรงชีวิต ค่านิยมเรื่องสถานะ บทบาทและหน้าที่ของปัจเจกบุคคลใน
สังคม ตลอดจนความเชื่อทางศาสนา ส่งผลให้การออกแบบและการสร้างสรรค์
ผลงานศิลปหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ ของใช้ในชีวิตประจำวัน ต้องตอบสนอง
ความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอยและความต้องการด้านจิตใจของแต่ละบุคคลตาม
สถานะทางสังคม รวมถึงความจำเป็นในการพัฒนาประเทศทั้งในยุคก่อนและหลัง
การเปิดประเทศ การศึกษาถึงความเปลี่ยนแปลงที่ตระหนักได้อย่างชัดเจนในยุค
1
Sparke Penny. Japanese design. Michael Joseph, London, 1987. 144 p.
3
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลธิดา เตชวรสินสกุล
ฟื้นฟูเมจิ และ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตัวอย่างของการผสมผสานปรัชญา
แห่งเซน (เซน / zen / ) ในพิธีชงชา (ฉะโด / / cha-do) กับผลกระทบจาก
อิทธิพลอารยธรรมตะวันตกได้แก่ การที่ญี่ปุ่นต้องเปิดประเทศและรับวัฒนธรรม
การนั่งเก้าอี้เพื่อแสดงถึงความศิวิไลซ์แบบตะวันตกในทศวรรษ 1870 ในรัชสมัยเมจิ
อาจารย์ชงชาตระกูลอุระเซงเคอิรุ่นที่ 11 (เก็นเก็นไซ โซชิทสึ / So-shitsu Gen-gen-
sai / ) ต้องออกแบบชุดอุปกรณ์พิธีชงชาขึ้นใหม่เพื่อองค์จักรพรรดิ เกิด
เป็นแนวทางพิธีชงชาแบบนั่งเก้าอี้ ริวเรอิ สไตล์ (ริวเรอิ / ryu-rei / ) [ภาพที่ 1]
นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อวิถีการออกแบบของญี่ปุ่นอันเนื่องมาจากความเชื่อ
ทางศาสนา เกิดแนวความคิดของการเคารพต่อธรรมชาติ การดำรงชีวิตที่ปรับตัว
ไปตามลักษณะเฉพาะของฤดูกาลต่างๆ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่าง
รู้คุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด การตระหนักถึงความสมถะและความงดงามอันเกิด
จากกาลเวลาที่ผ่านไปอย่างเป็นธรรมชาติที่เรียกว่า วาบิ-ซาบิ (วาบิ-ซาบิ / wabi-
sabi / ) และอารมณ์ความรู้สึกของปัจเจกบุคคลผ่านประสบการณ์ที่มีต่องาน
ออกแบบ (โมโน-โนะ-อะวาเระ / mono-no-aware / ) [ภาพที่ 2]
ภาพที่ 1 ชุดอุปกรณ์พิธีชงชาที่ออกแบบขึ้นใหม่เพื่อองค์จักรพรรดิในรัชสมัยเมจิ เกิดเป็น
แนวทางพิธีชงชาแบบนั่งเก้าอี้ ริวเรอิ สไตล์ (ริวเรอิ / ryu-rei / )
ภาพที่ 2 วาบิ ซาบิ ในถ้วยชา
4
ตามรอยงานออกแบบญี่ปุ่น
หลังสงครามโลกครั้งที่2
การศึกษาการออกแบบญี่ปุ่นจากด้านสุนทรียะ ส่วนใหญ่จึงเป็นการศึกษาผลงาน
ศิลปหัตถกรรม และการแบ่งประเภทงานออกแบบตามวัสดุและกรรมวิธีการผลิต
ตลอดจนการรับรู้ผ่านผลงานของศิลปินที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เช่น
การออกแบบโคมไฟ อะคาริ (akari ) [ภาพที่ 3] โดยปฏิมากร โนกุจิ อิซามุ
(Noguchi Isamu : ค.ศ. 1904 - 1988), หรือเฟอร์นิเจอร์ เก้าอี้บัตเตอร์ฟลาย
(Butterfly Stool) โดย นักออกแบบ ยานาหงิ โซริ (Yanagi Sori : ค.ศ. 1915
- ปัจจุบัน) [ภาพที่ 4]
ภาพที่ 3 โคม อะคาริ โดย โนกุจิ อิซามุ ภาพที่ 4 เก้าอี้ บัตเตอร์ฟลาย
ได้รับ รางวัล GMARK 1966
โดย ยานาหงิ โซริ
การศึกษาการออกแบบญี่ปุ่นผ่านนิทรรศการผลงานออกแบบญี่ปุ่นระดับนานาชาติ
ที่องค์กรหน่วยงานรัฐบาลเป็นผู้จัด เป็นผู้กำหนดนิยามความเป็นญี่ปุ่นในงาน
ออกแบบเพื่อสื่อต่อสากล ดังจะพบตัวอย่างได้จากข้อมูลงานนิทรรศการ ที่จัดแสดง
รอบโลกในชื่อ “Japanese Design : A Survey Since 1950” เริ่มแสดงที่ฟิลาเดลเฟีย
ประเทศสหรัฐอเมริกา ใน ค.ศ. 1994 ที่มิลาน ประเทศอิตาลี ค.ศ. 1995 ที่
ดุสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมันนี และ ที่ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปีเดียวกัน สุดท้าย
กลับมาจัดแสดงที่โอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ค.ศ. 1996 นิยามการออกแบบในงานนี้
กำหนดจากหลักการ 5 ประการ ได้แก่ ความเป็นช่างฝีมือ (craftsmanship) ความ
ไม่สมดุล (asymmetry) ความกะทัดรัด (compactness) ความขบขัน (humor) และ
ความเรียบง่าย (simplicity) ขณะที่ นิทรรศการล่าสุดที่จัดขึ้นที่ กรุงเทพฯ ประเทศไทย
ค.ศ. 2006 ในชื่อ “DNA of Japanese Design” ได้ถอดรหัสการออกแบบของญี่ปุ่น
5
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลธิดา เตชวรสินสกุล
2
DNA of Japanese Design 15 รหัสการออกแบบได้แก่ A: making it smaller, thinner and lighter, B: combining
function, C: mobility integration, D: expanding space and time, E: doing away with frills, F: interfacing
communication, G: automation and labor saving, H: making expertise accessible by the public, I: making new
variations, J: enabling everyone to use it, K: mirroring nature, L: organizing into a system, M: exploiting
materials, N: pioneering materials, O: beautiful wrapping
เป็น 15 รหัส 2
เพื่อใช้อธิบายเปรียบเทียบถึงผลงานใน 3 ยุค ได้แก่ ยุคหัตถกรรม
ที่เป็นงานช่างฝีมือ ยุคเริ่มต้นของงานออกแบบอุตสาหกรรม และ ยุคปัจจุบันใน
ศตวรรษที่ 21 รหัสการออกแบบทั้ง 15 รหัส ได้เพิ่มเติมแง่มุมด้านเทคโนโลยี วัสดุ
และการผลิต ตลอดจน แนวความคิด วิถีชีวิต และ วัฒนธรรมแบบญี่ปุ่น ที่ปรับตัวตาม
กระแสสังคมโลก ทำให้นิยามงานออกแบบญี่ปุ่นจากงานนิทรรศการ สะท้อนถึง
อัตลักษณ์ของผลงานและผู้สร้างผลงานได้อย่างหลากหลายและลึกซึ้ง มีความเป็น
พลวัต ปรับแปรไปตามยุคสมัย และตามความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
2. มุมมองจากด้านสังคมเศรษฐกิจและเทคโนโลยี
คำสำคัญ: The Meiji Restoration, rangaku, wakon-yosai, Japanization, G-Mark,
monotsukuri, GPI
เป็นการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของสังคมญี่ปุ่น ที่มีอิทธิพลต่องานออกแบบในแง่
ของสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ความเปลี่ยนแปลงของสังคมญี่ปุ่นที่มีอิทธิพล
ต่อการออกแบบที่เป็นที่นิยมศึกษาส่วนใหญ่ พบว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในยุคฟื้นฟู
เมจิ (เมจิไคคาขุ / mei-ji-kai-kaku / : The Meiji Restoration) ซึ่งที่จริง
แล้วเป็นความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ทั้งในแง่ของ
การปฏิวัติอุตสาหกรรม และผลพวงของการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ที่กลุ่ม
ประเทศเอเชียต่างได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน การเปิดประเทศญี่ปุ่นด้วยการมา
ของกองเรืออเมริกันโดยนายพลจัตวาแมทธิว เปอรี่ และการล่มสลายของระบบ
โชกุนที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1868 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับการเสด็จสวรรคตของพระบาท
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี (พ.ศ. 2411) เป็นการ
สิ้นสุดของยุคเอโดะ ( / Edo ค.ศ. 1615 – 1868: พ.ศ. 2143 - 2411) และ
การเชื่อมต่อของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นยุคใหม่ 3 ยุคได้แก่ รัชสมัยเมจิ ( / Meiji
ค.ศ. 1868 –1912) รัชสมัยไทโช ( / Taisho ค.ศ. 1912 – 1926) และ
รัชสมัยโชวะ ( / Showa ค.ศ. 1926 – 1989)
6
ตามรอยงานออกแบบญี่ปุ่น
หลังสงครามโลกครั้งที่2
ด้วยปัจจัยบังคับจากภายนอกดังกล่าว นำไปสู่ความพยายามพัฒนาประเทศอย่าง
เร่งด่วนด้วยนโยบายการเรียนรู้เทคโนโลยีจากตะวันตก เช่น ฮอลแลนด์ศึกษา (รันงากุ
/ ran-gaku / ) การส่งคณะศึกษาดูงานเดินทางไปต่างประเทศ พร้อมไปกับ
การจ้างผู้เชี่ยวชาญกว่าสามพันคนมาทำงานในญี่ปุ่น ภายใต้แนวความคิด (วะคงโยไซ
/ wa-kon-yo-sai / ) ที่ถือจิตวิญญาณตัวตนความเป็นญี่ปุ่นเป็นแก่น
แล้วห่อหุ้มด้วยกระพี้ของกระบวนการเทคโนโลยีตะวันตก ที่ส่งเสริมให้เกิดสิ่งที่
สร้างสรรค์โดยเหมาะกับสถานการณ์และเงื่อนไขของสภาพสังคมแต่ละยุค ลักษณะ
สังคมของญี่ปุ่นที่มีการแบ่งแยกสถานะชนชั้นทางสังคมอย่างชัดเจน เป็นค่านิยม
ความเป็นกลุ่มที่ไม่เน้นความเป็นปัจเจกบุคคล จนแม้เมื่อรัฐบาลทหาร (บะคุฟุ /
baku-fu / ) ระบอบโชกุนและระบบไซบัตสึ (ไซบัทสึ / zai-batsu / )
ที่เป็นการรวมตัวของกลุ่มอำนาจทหารในระบอบโชกุนเดิมกับกลุ่มพ่อค้าตระกูล
สำคัญของญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ล่มสลายไปแล้วก็ตาม
ยิ่งไปกว่านั้น จากการที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้แพ้สงครามเพียงประเทศเดียว
ในโลกที่ถูกทำลายล้างด้วยระเบิดปรมาณูถึง 2 ครั้ง ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้
เกิดลักษณะเฉพาะของชนชาติในการพยายามพัฒนาประเทศด้วยกลไกการตั้ง
หน่วยงานต่างๆ ของรัฐเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เข้มแข็งในฐานะตัวขับเคลื่อน
หลักของระบบเศรษฐกิจ ตัวอย่างองค์กรที่มีบทบาทในการออกแบบอุตสาหกรรม
ของญี่ปุ่น ได้แก่ Japan Industrial Design Promotion Organization (JIDPO) และ
G-Mark Organization โดยการให้รางวัลผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบดีเด่น เพื่อ
สนับสนุนการยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับและสามารถ
แข่งขันได้ ความพยายามสร้างอัตลักษณ์และความเป็นผู้นำด้านการออกแบบใน
ระดับสากล เช่น การออกแบบหม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นชาติแรก [ภาพที่ 6] และบทบาท
ของ Russel Wright นักออกแบบอเมริกันที่มีอิทธิพลต่อความเคลื่อนไหวของ “การ
ออกแบบที่ดี” (Good Design Movement) ทั้งในอเมริกา ญี่ปุ่นและเอเชีย ในช่วง
ปลายยุคทศวรรษ 1990 มีการอาศัยแนวความคิด (monotsukuri : making
thing, thing being made) การผลิตที่อาศัยทักษะภูมิปัญญาดั้งเดิมของงานฝีมือ
ผสมผสานกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรม เพื่อ
สร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคซึ่งมีความเข้มงวดในการพิจารณาคุณลักษณะ
ผลิตภัณฑ์และมีรสนิยมที่หลากหลาย [ภาพที่ 5]
7
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลธิดา เตชวรสินสกุล
นอกเหนือจากความพยายามเป็นผู้นำด้านการออกแบบ การพัฒนาประเทศด้วย
ความพยายามผลักดันด้านเศรษฐกิจด้วยการอาศัยการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลิตภัณฑ์
มวลรวม Gross Domestic Product (GDP) เป็นตัวกำหนดนโยบายด้านอุตสาหกรรม
ส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมบางประการคล้ายคลึงกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วของตะวันตก
ตัวอย่างจากวรรณกรรมร่วมสมัยได้แก่ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงจากลักษณะครอบครัว
สังคมเกษตรเป็นครอบครัวสังคมอุตสาหกรรม บทบาทและภาระหน้าที่ของสตรีต่อ
ครอบครัว การเพิ่มของสัดส่วนประชากรสูงอายุ และมลพิษอุตสาหกรรม ซึ่งความ
ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตประกอบกับเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้
มีการผลิตสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่ถือเป็นการยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิต
ที่สูงขึ้น เช่น การมีตู้เย็น โทรทัศน์ และเครื่องซักผ้า(คะเด็นซันชุโนะจินหงิ / ka-den-
san-shu-no-jin-gi / ) [ภาพที่ 7] เครื่องใช้ไฟฟ้า 3 อย่างที่จำเป็น
ต้องมีไว้ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อเป็นเครื่องหมายของมาตรฐานคุณภาพชีวิตครอบครัว
ที่ดีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และความเข้มงวดในเรื่องคุณภาพของผู้บริโภคที่มีผล
ต่อค่านิยมการเลือกผลผลิตการเกษตรตามการรับรู้ด้วยรสชาติและความสวยงาม
ทำให้ต้องมีการคัดแยกรูปทรง ขนาด หรือ สี ในลักษณะเดียวกันกับมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในระบบอุตสาหกรรม หรือกระทั่งสร้างรูปทรงใหม่เพื่อกระตุ้น
ความต้องการเชิงการตลาดด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเช่น แตงโมทรงสี่เหลี่ยม
ภาพที่ 5 เครื่องคิดเลขไม้ 2006 และกระเป๋าลายไม้ Monacca
โดย ทาคุมิ ชิมามุระ Takumi Shimamura
ภาพที่ 6 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า โตชิบา ได้รับ
รางวัล GMARK 1958 การออกแบบและ
การผลิตที่เป็นความภูมิใจ ในการออกแบบ
หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นชาติแรก
8
ตามรอยงานออกแบบญี่ปุ่น
หลังสงครามโลกครั้งที่2
แตงกวารูปดาว รูปหัวใจ [ภาพที่ 8] เป็นต้น แต่ในทางกลับกัน มีการศึกษาวิจัยพบว่า
ดัชนีความพึงพอใจเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นกลับต่ำลง แปรผกผัน
กับค่า GDP ที่สูงขึ้น จึงมีการศึกษาการใช้ค่าดัชนี Genuine Progress Index (GPI)
เพื่อหาดัชนีชี้วัดความเจริญก้าวหน้าที่แท้จริงที่อาศัยข้อมูลทั้งแง่บวกและแง่ลบของ
ผลกระทบที่เกิดจากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่ถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อ
ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
ภาพที่ 7 แสตมป์ที่ระลึกถึงความเจริญก้าวหน้าและค่านิยมด้านมาตรฐานคุณภาพ
ชีวิตที่แสดงด้วย ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องมีในชีวิตประจำวัน ได้แก่ โทรทัศน์
หม้อหุงข้าว และ เครื่องซักผ้า
ภาพที่ 8 แตงโมทรงสี่เหลี่ยม แตงกวารูปดาว รูปหัวใจ
http://uraurara.269g.net/image/suika-sikaku.jpg
http://plaza.rakuten.co.jp/atelier87dokei/diary/200802290000/
9
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลธิดา เตชวรสินสกุล
นอกจากนี้ ความเปลี่ยนแปลงเชิงสังคมยังส่งผลให้มีการตระหนักถึงคุณค่าของ
ความเป็นญี่ปุ่นในชีวิตประจำวันที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลายประการ อาทิเช่น
ปัจจัยเชิงสังคมที่เป็นรูปธรรมเช่น วัฒนธรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป
นิยมความเป็นตะวันตกมากขึ้น และประกอบกับอิทธิพลแนวความคิดการออกแบบ
เพื่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องครัว แข่งขันเสนอผลิตภัณฑ์
ที่สร้างค่านิยมดังกล่าวสำหรับผู้บริโภค [ภาพที่ 9] และตัวอย่างในเชิงสัญญะที่มีการ
ถ่ายทอดผ่านภาพยนตร์การ์ตูน Spirited Away ( เซ็นโตะจิฮิโระโนะคามิคาคุชิ /
sen-to-chi-hiro-no-kami-kaku-shi / ) เกี่ยวกับจิตวิญญาณ
ความเป็นญี่ปุ่นที่หายไปจากบริบททางสังคมของเด็กญี่ปุ่นปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น
ปัจจัยเชิงเทคโนโลยี เช่น สิ่งของเครื่องใช้หัตถกรรมที่ถูกทดแทนด้วยอุปกรณ์
เทคโนโลยี จนถึงระดับมหภาคได้แก่ การออกแบบชุมชนเมือง การออกแบบระบบ
ขนส่งมวลชน ทั้งรถไฟฟ้าบนดิน รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟชินกันเซน ได้แสดงถึงความ
พยายามเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรม สำหรับปัจจัยเชิงเศรษฐกิจ ตัวอย่าง
ได้แก่ การค้นคว้าวิจัยสร้างหุ่นยนต์ [ภาพที่ 10] เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ทั้งในการทำงาน
และการดำรงชีวิตอย่างสะดวกสบาย และแนวความคิดการสร้างสังคมอุดมคติของ
การอยู่ร่วมกันโดยเท่าเทียมกันในสังคมของผู้พิการและผู้สูงอายุผ่านงานออกแบบ
ภาพที่ 9 เครื่องครัว อ่างสำหรับใช้ในครัวที่สามารถนำน้ำทิ้งไปใช้ในการปลูกต้นไม้เพื่อการบริโภคในครอบครัวได้ INAX ได้รับรางวัล GMARK
2005
10
ตามรอยงานออกแบบญี่ปุ่น
หลังสงครามโลกครั้งที่2
การศึกษาอัตลักษณ์การออกแบบญี่ปุ่นผ่านมุมมองทั้งสองด้าน คือ มุมมองด้าน
สุนทรียะ และ มุมมองด้านสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี จึงก่อให้เกิดความรู้
ความเข้าใจในแง่มุมที่หลากหลายและซับซ้อนขององค์ประกอบความเป็นญี่ปุ่น
นอกเหนือไปจากตัวผลงานออกแบบ ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ทั้งโดยศิลปิน ช่างฝีมือ
นักออกแบบ ตลอดจนผู้สร้างนิรนาม และนำไปสู่การอธิบายข้อมูลการศึกษา โดยจะ
เสนอแนวความคิดในการสร้างแผนที่ของบริบทงานออกแบบญี่ปุ่นหลังสงครามโลก
ครั้งที่ 2 บนแกนอ้างอิงเชิงเวลาและ แกนอ้างอิงเชิงปัจจัย สภาพสังคม เศรษฐกิจ และ
เทคโนโลยี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศีกษาค้นคว้าต่อไป
ภาพที่ 10 การพัฒนาหุ่นยนต์รุ่นต่างๆ ตั้งแต่ ค.ศ. 1986 – ปัจจุบัน ที่ออกแบบเพื่อเลียนแบบการเคลื่อนไหวของมนุษย์ ASIMO HONDA
11
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลธิดา เตชวรสินสกุล
บรรณานุกรม (Bibliographies)
• ภาษาไทย
มณฑา พิมพ์ทอง มองสังคมญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากวรรณกรรม กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงาน
วิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลำดับที่ 95, 2547. 248 หน้า
สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย Japanatomy: ยุทธศาสตร์ความคิด วิถีชีวิตญี่ปุ่น กรุงเทพฯ: Manager Classic 2549.
286 หน้า
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. Japanization กรุงเทพฯ : Openbooks, 2548. 190 หน้า
• ภาษาอังกฤษ
Barnoff Nicholas, Freeman Michael, Things Japanese. Periplus, Hong Kong, 143 pp.
Dunn Michael. Traditional Japanese Design: Five Taste. Japan Society. Harry N. Abrams Inc. New York. 2001
Hagiwara Shu, Kuma Masashi. Origins: The Creative Spark Behind Japan’s Best Product Designs.
Kodansha Int’l. 2007. 112 pp.
Hasiino Tomoko, Saito Osamu, Tradition and Interaction: Research Trends in Modern Japanese Industrial
History. Australian Economic History Review, Vol.44, No.3, ISSN 0004-8992, November 2004,
pp.241 – 258.
Ito Toshiharu. Design by Design, Design Index: Wake up the five senses through design. Tokyo Calendar
Mooks, Aug.2005. 40 - 53 pp.
Kikuchi Yuko, Russel Wright’s Asian Project and Japanese Post-War Design. The 5th
Conference incorporating
Nordic Forum for Design History Symposia. International Committee of Design History and Studies
(ICDHS). (Also presented at Design History Society’s annual conference, the Delft University of
Technology). 2006. 14 pp. http://tm.uiah.fi/connecting/proceedings/kikuchi.pdf
Koren Leonard. Wabi-Sabi: for Artists, Designers, Poets and Philosophers. Stone Bridge Press, 1994. 96 p
Koizumi Takeo, The Japanese who have neglected washoku (Japanese Food). Japan Now 2007, Japan
Now Corporation, 131 pp.
Koyama Ori, Kuwata Mizuho. Inspired Shapes: Contemporary Designs for Japan’s Ancient Crafts.
Kodansha America, Inc. 2005. 112 pp.
Kusago Takayoshi, Rethinking of Economic Growth and Life Satisfaction in Post-WWII Japan – A Fresh
Approach. Social Indicators Research (2007) 81: 79–102, Springer 2006. (DOI 10.1007/
s11205-006-0016-9)
Margolin Victor, A World History of Design and the History of the World. Journal of Design History, Vol.18,
No.3, Oxford University Press, The Design History Society, doi: 10.1093/jdh/epi043. pp.235 – 243
Mizutani Takeshi, Nakamura Setsuko, Dutch influence on the reception and development of western-style
expression in early modern Japan. 64th
IFLA General Conference: Amsterdam, Netherlands, 16-21
August 1998 Code Number: 036-101-E http://www.ifla.org/IV/ifla64/036-101e.htm
Pekarik Andrew Japanese Design: A Survey Since 1950. Design Issues, Vol.11, No.2. Summer, 1995,
pp. 71 – 84. http://links.jstor.org/sici?sici=0747-9360%28199522% 2911%3A2%3C71%
3AJDASS1%3E2.0.CO%3B2-6
Moriyama Akiko , Nippon design 1957 – 1966.
http://doraku.asahi.com/kiwameru/design/1957_1966.html
Satake Hiroshi , The Current of the Consumer Electronics in Japan. Josai Management Review,
Vol.2 (20060300) pp. 151-163 Josai University ISSN:18801536
Sian Evans. Contemporary Japanese design. Collins & Brown, London, 1991. 224 pp.
12
ตามรอยงานออกแบบญี่ปุ่น
หลังสงครามโลกครั้งที่2
Sparke Penny. Japanese design. Michael Joseph, London, 1987. 144 p.
Tanaka Ikko, Koike Kazuko. Japan Design: The Four Seasons in Design. Chronicle Book, San Francisco.
1984. 142 pp.
Trade Fair Department. DNA of Japanese Design. Japan External Trade Organization. Japan 2006
Yoshida Mitsukuni ( ). Tsukuru: Aesthetics at Work. Mazda Motor Corporation-sponsored Culture Series.
1991.
• ภาษาญี่ปุ่น
A Universal Design for Public Transportation: Fukuoka City Subway Nanakuma Line Total Design-A 10-Year
History,
. 141 pp. (in Japanese)
Barrier Free Design Guide Book, .
Sanwa, Tokyo, 2004. 366 pp. (in Japanese)
Universal Design 100. Nikkei Design, 2004. (in Japanese)
(คำให้การของนักออกแบบ, 50 ปี ผลิตภัณฑ์ญี่ปุ่น) JIDA Japan
Industrial Designer Association, Tokyo, Japan, 2006. 175 p.(in Japanese)
• เว็บไซท์
http://en.wikipedia.org/wiki/Meiji_restoration
http://en.wikipedia.org/wiki/Nanban_trade_period
http://en.wikipedia.org/wiki/Rangaku
http://en.wikipedia.org/wiki/Spirited_Away
http://ja.wikipedia.org/wiki/%E3%82%82%E3%81%AE%E3%81%A5%E3%81%8F%E3%82%8A (in Japanese)
http://libopac.josai.ac.jp/search/gakunai/magazine/Bkiyo/2/2-151.pdf
http://ci.nii.ac.jp/naid/110004776353/en/
http://libopac.josai.ac.jp/search/gakunai/magazine/Bkiyo/2/2ContentsH.htm
http://www.always3.jp/ (movies: Always, sunset on 3rd street)
http://www.art-c.keio.ac.jp/archive/noguchi/about/3.html
http://www.g-mark.org
http://www.g-mark.org/library/40th/japan/toshiba.html
http://www.gol27.com/HistoryTeaJapan.html
http://www.japon.net/yanagi/profile.shtml
http://www.jarc.net/aging/03oct/index.shtml (Statistics Bureau “Population Estimates.”)
http://www.jidpo.or.jp/
http://www.nippon-kichi.com/
http://www.overpopulation.org/older.html
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2411
http://www.asahi-net.or.jp/~hn7y-mur/chihiro/
http://www.honda.co.jp/ASIMO/technology/history/asimo.html
http://www.robo-garage.com/robo/index.html
http://www.toyota.co.jp/en/tech/robot/

More Related Content

Viewers also liked

สถานที่ท่องเที่ยวในญี่ปุ่น
สถานที่ท่องเที่ยวในญี่ปุ่นสถานที่ท่องเที่ยวในญี่ปุ่น
สถานที่ท่องเที่ยวในญี่ปุ่นPrapussawan Jitsawang
 
สรจักร คนสองวิญญาณ
สรจักร   คนสองวิญญาณสรจักร   คนสองวิญญาณ
สรจักร คนสองวิญญาณsornblog2u
 
Picture English Cards
Picture English CardsPicture English Cards
Picture English Cardssompladoka
 
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 12
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 12อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 12
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 12mahakhum
 
อเมริกาใต้
อเมริกาใต้อเมริกาใต้
อเมริกาใต้Krittamat
 
สรจักร ผีหลอก
สรจักร   ผีหลอกสรจักร   ผีหลอก
สรจักร ผีหลอกsornblog2u
 
JAIST-NECTEC-SIIT PhD. Dual Degree Program Presentation
JAIST-NECTEC-SIIT PhD. Dual Degree Program PresentationJAIST-NECTEC-SIIT PhD. Dual Degree Program Presentation
JAIST-NECTEC-SIIT PhD. Dual Degree Program PresentationKobkrit Viriyayudhakorn
 
วัฒนธรรมญี่ปุ่น
วัฒนธรรมญี่ปุ่นวัฒนธรรมญี่ปุ่น
วัฒนธรรมญี่ปุ่นapiromrut
 
ส่วนหน้าปกการพัฒนาเว็บบล็อก
ส่วนหน้าปกการพัฒนาเว็บบล็อกส่วนหน้าปกการพัฒนาเว็บบล็อก
ส่วนหน้าปกการพัฒนาเว็บบล็อกFarlamai Mana
 
สรจักร ศพใต้เตียง
สรจักร   ศพใต้เตียงสรจักร   ศพใต้เตียง
สรจักร ศพใต้เตียงsornblog2u
 
สรจักร ผีหัวเราะ
สรจักร   ผีหัวเราะสรจักร   ผีหัวเราะ
สรจักร ผีหัวเราะsornblog2u
 
สรจักร ศพข้างบ้าน
สรจักร   ศพข้างบ้านสรจักร   ศพข้างบ้าน
สรจักร ศพข้างบ้านsornblog2u
 
ภาษาจีนน่ารู้
ภาษาจีนน่ารู้ภาษาจีนน่ารู้
ภาษาจีนน่ารู้tangmottmm
 
สรจักร ศพท้ายรถ
สรจักร   ศพท้ายรถสรจักร   ศพท้ายรถ
สรจักร ศพท้ายรถsornblog2u
 
Phrasal Verbs with Take
Phrasal Verbs with TakePhrasal Verbs with Take
Phrasal Verbs with Takewanatchaporn2
 
มารยาทและการใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น (Manner and living in Japan guide for foreigne...
มารยาทและการใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น (Manner and living in Japan guide for foreigne...มารยาทและการใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น (Manner and living in Japan guide for foreigne...
มารยาทและการใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น (Manner and living in Japan guide for foreigne...Kobkrit Viriyayudhakorn
 
ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้
ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้
ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้hackinteach
 
It all starts here
It all starts hereIt all starts here
It all starts hereSIAAmerica
 
เนื้อหาเวลา
เนื้อหาเวลาเนื้อหาเวลา
เนื้อหาเวลาladda06sit
 

Viewers also liked (20)

สถานที่ท่องเที่ยวในญี่ปุ่น
สถานที่ท่องเที่ยวในญี่ปุ่นสถานที่ท่องเที่ยวในญี่ปุ่น
สถานที่ท่องเที่ยวในญี่ปุ่น
 
สรจักร คนสองวิญญาณ
สรจักร   คนสองวิญญาณสรจักร   คนสองวิญญาณ
สรจักร คนสองวิญญาณ
 
Picture English Cards
Picture English CardsPicture English Cards
Picture English Cards
 
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 12
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 12อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 12
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 12
 
อเมริกาใต้
อเมริกาใต้อเมริกาใต้
อเมริกาใต้
 
สรจักร ผีหลอก
สรจักร   ผีหลอกสรจักร   ผีหลอก
สรจักร ผีหลอก
 
JAIST-NECTEC-SIIT PhD. Dual Degree Program Presentation
JAIST-NECTEC-SIIT PhD. Dual Degree Program PresentationJAIST-NECTEC-SIIT PhD. Dual Degree Program Presentation
JAIST-NECTEC-SIIT PhD. Dual Degree Program Presentation
 
วัฒนธรรมญี่ปุ่น
วัฒนธรรมญี่ปุ่นวัฒนธรรมญี่ปุ่น
วัฒนธรรมญี่ปุ่น
 
ส่วนหน้าปกการพัฒนาเว็บบล็อก
ส่วนหน้าปกการพัฒนาเว็บบล็อกส่วนหน้าปกการพัฒนาเว็บบล็อก
ส่วนหน้าปกการพัฒนาเว็บบล็อก
 
สรจักร ศพใต้เตียง
สรจักร   ศพใต้เตียงสรจักร   ศพใต้เตียง
สรจักร ศพใต้เตียง
 
สรจักร ผีหัวเราะ
สรจักร   ผีหัวเราะสรจักร   ผีหัวเราะ
สรจักร ผีหัวเราะ
 
สรจักร ศพข้างบ้าน
สรจักร   ศพข้างบ้านสรจักร   ศพข้างบ้าน
สรจักร ศพข้างบ้าน
 
มองแมว
มองแมวมองแมว
มองแมว
 
ภาษาจีนน่ารู้
ภาษาจีนน่ารู้ภาษาจีนน่ารู้
ภาษาจีนน่ารู้
 
สรจักร ศพท้ายรถ
สรจักร   ศพท้ายรถสรจักร   ศพท้ายรถ
สรจักร ศพท้ายรถ
 
Phrasal Verbs with Take
Phrasal Verbs with TakePhrasal Verbs with Take
Phrasal Verbs with Take
 
มารยาทและการใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น (Manner and living in Japan guide for foreigne...
มารยาทและการใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น (Manner and living in Japan guide for foreigne...มารยาทและการใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น (Manner and living in Japan guide for foreigne...
มารยาทและการใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น (Manner and living in Japan guide for foreigne...
 
ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้
ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้
ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้
 
It all starts here
It all starts hereIt all starts here
It all starts here
 
เนื้อหาเวลา
เนื้อหาเวลาเนื้อหาเวลา
เนื้อหาเวลา
 

More from kulthida teachavorasinskun

Kudos Universal Design Seminar 2016 ud practices in thailand 20160615
Kudos Universal Design Seminar 2016 ud practices in thailand 20160615 Kudos Universal Design Seminar 2016 ud practices in thailand 20160615
Kudos Universal Design Seminar 2016 ud practices in thailand 20160615 kulthida teachavorasinskun
 
Disk+able mobility aid vehicle for thai wheelchair users upload 20140520 tue
Disk+able mobility aid vehicle for thai wheelchair users upload 20140520 tueDisk+able mobility aid vehicle for thai wheelchair users upload 20140520 tue
Disk+able mobility aid vehicle for thai wheelchair users upload 20140520 tuekulthida teachavorasinskun
 
เรียนรู้การออกแบบรถไฟความเร็วสูงญี่ปุ่น เรียนรู้ผ่านงานออกแบบองค์รวมของเอย์จิ...
เรียนรู้การออกแบบรถไฟความเร็วสูงญี่ปุ่น เรียนรู้ผ่านงานออกแบบองค์รวมของเอย์จิ...เรียนรู้การออกแบบรถไฟความเร็วสูงญี่ปุ่น เรียนรู้ผ่านงานออกแบบองค์รวมของเอย์จิ...
เรียนรู้การออกแบบรถไฟความเร็วสูงญี่ปุ่น เรียนรู้ผ่านงานออกแบบองค์รวมของเอย์จิ...kulthida teachavorasinskun
 
เมืองใจดี อยู่ดีด้วย Ud ตอนที่ 1 final
เมืองใจดี อยู่ดีด้วย Ud ตอนที่ 1 finalเมืองใจดี อยู่ดีด้วย Ud ตอนที่ 1 final
เมืองใจดี อยู่ดีด้วย Ud ตอนที่ 1 finalkulthida teachavorasinskun
 

More from kulthida teachavorasinskun (6)

Kudos Universal Design Seminar 2016 ud practices in thailand 20160615
Kudos Universal Design Seminar 2016 ud practices in thailand 20160615 Kudos Universal Design Seminar 2016 ud practices in thailand 20160615
Kudos Universal Design Seminar 2016 ud practices in thailand 20160615
 
Innovation for disabled in arch id final
Innovation for disabled in arch id finalInnovation for disabled in arch id final
Innovation for disabled in arch id final
 
Disk+able mobility aid vehicle for thai wheelchair users upload 20140520 tue
Disk+able mobility aid vehicle for thai wheelchair users upload 20140520 tueDisk+able mobility aid vehicle for thai wheelchair users upload 20140520 tue
Disk+able mobility aid vehicle for thai wheelchair users upload 20140520 tue
 
20081005 ud code of practice
20081005 ud code of practice20081005 ud code of practice
20081005 ud code of practice
 
เรียนรู้การออกแบบรถไฟความเร็วสูงญี่ปุ่น เรียนรู้ผ่านงานออกแบบองค์รวมของเอย์จิ...
เรียนรู้การออกแบบรถไฟความเร็วสูงญี่ปุ่น เรียนรู้ผ่านงานออกแบบองค์รวมของเอย์จิ...เรียนรู้การออกแบบรถไฟความเร็วสูงญี่ปุ่น เรียนรู้ผ่านงานออกแบบองค์รวมของเอย์จิ...
เรียนรู้การออกแบบรถไฟความเร็วสูงญี่ปุ่น เรียนรู้ผ่านงานออกแบบองค์รวมของเอย์จิ...
 
เมืองใจดี อยู่ดีด้วย Ud ตอนที่ 1 final
เมืองใจดี อยู่ดีด้วย Ud ตอนที่ 1 finalเมืองใจดี อยู่ดีด้วย Ud ตอนที่ 1 final
เมืองใจดี อยู่ดีด้วย Ud ตอนที่ 1 final
 

ตามรอยงานออกแบบญี่ปุ่น Uqb1t m zsmksun102704

  • 1. 1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลธิดา เตชวรสินสกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลธิดา เตชวรสินสกุล ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามรอยงานออกแบบญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่2 บทความนี้เป็นรายงานการศึกษาเบื้องต้นของโครงการวิจัยภายใต้โครงการรูปธรรมศึกษาฯ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชื่อโครงการ การสร้างแผนที่ ทบทวน: งานออกแบบญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากมุมมองไทย (Redraw Mapping: Japanese Design after World War II from Thai Perspective) จากการศึกษางานออกแบบญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเบื้องต้นพบว่าการ รับรู้งานออกแบบญี่ปุ่นในสังคมปัจจุบัน เป็นการสืบทอดแนวความคิดที่มีผลจาก อิทธิพลของมุมมองจากตะวันตก โดยอาจเป็นผลสืบเนื่องจากความพยายามถ่ายทอด ภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นเองต่อโลกภายนอก ตั้งแต่ยุคที่มีการแผ่ขยายอาณานิคม ตะวันตกมายังกลุ่มประเทศเอเชีย จึงเป็นที่มาของการศึกษาบริบทการออกแบบ ของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านมุมมองไทย อาศัยการทบทวนวรรณกรรม การสืบค้นจากสื่อสารสนเทศ สื่อภาพยนตร์ การ์ตูน และการเข้าร่วมการประชุม และการสัมนาเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบญี่ปุ่น เกิดเป็นแนวความคิด ในการแบ่งประเภทขององค์ประกอบในการศึกษาเบื้องต้นเป็นมุมมอง 2 ด้านที่ ยืดหยุ่นและอาจมีขอบเขตเหลื่อมล้ำกัน ได้แก่ มุมมองด้านสุนทรียะ และ มุมมอง ด้านสังคม เศรษฐกิจ และ เทคโนโลยี ผลที่ได้จากการคึกษาอัตลักษณ์งานออกแบบ ญี่ปุ่นจากมุมมองทั้งสองด้าน ก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในแง่มุมที่หลากหลาย และซับซ้อนขององค์ประกอบความเป็นญี่ปุ่น นอกเหนือไปจากเนื้อหาในผลงาน การออกแบบ ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ทั้งโดยศิลปิน ช่างฝีมือ นักออกแบบ ตลอดจน
  • 2. 2 ตามรอยงานออกแบบญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่2 ผู้สร้างนิรนาม สามารถอธิบายผลการศึกษาโดยเสนอแนวความคิดในการสร้างแผนที่ แสดงบริบทงานออกแบบญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บนแกนอ้างอิงเชิงเวลา และ แกนอ้างอิงด้านสุนทรียะ ด้านสังคม เศรษฐกิจ และ เทคโนโลยี เพื่อเป็นประโยชน์ ต่อการศีกษาค้นคว้าต่อไป 1. มุมมองจากด้านสุนทรียะ คำสำคัญ: bi-ju-tsu, gei-ju-tsu, gi-ju-tsu, cha-do, zen, wabi-sabi, mono no aware, Isamu Noguchi, Butterfly Stool “Our aesthetic sense is our order” 1 _____ Masahiro Miwa ‘The Japanese Awareness of Space’ Process Architecture, June 1983 เป็นการศึกษาด้านสุนทรียะ รสนิยม และ การรับรู้ความเป็นญี่ปุ่นในงานออกแบบ ผ่านงานศิลปหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นปัจจัยภายในประเทศญี่ปุ่น อันเนื่องมาจาก สภาพภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศึกษาคำศัพท์นิยามความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับการ ออกแบบ โดยอาศัยพื้นฐานจาก ศิลปะ (บิจุทสึ / bi-ju-tsu / : art) ความเป็น ช่างฝีมือ ( เกจุทสึ / gei-ju-tsu / : craft) และวิทยาการ (กิจุทสึ / gi-ju-tsu / : technique, technology) แม้ว่าอารยธรรมญี่ปุ่น จะได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากจีน และบางส่วนจากเกาหลี แต่โดยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะ และการดำเนินนโยบายด้านการปกครอง ที่ปิดประเทศในอดีต ทำให้เกิดการบ่มเพาะและตกผลึกลักษณะเฉพาะของอารยธรรม ญี่ปุ่นในการดำรงชีวิต ค่านิยมเรื่องสถานะ บทบาทและหน้าที่ของปัจเจกบุคคลใน สังคม ตลอดจนความเชื่อทางศาสนา ส่งผลให้การออกแบบและการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ ของใช้ในชีวิตประจำวัน ต้องตอบสนอง ความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอยและความต้องการด้านจิตใจของแต่ละบุคคลตาม สถานะทางสังคม รวมถึงความจำเป็นในการพัฒนาประเทศทั้งในยุคก่อนและหลัง การเปิดประเทศ การศึกษาถึงความเปลี่ยนแปลงที่ตระหนักได้อย่างชัดเจนในยุค 1 Sparke Penny. Japanese design. Michael Joseph, London, 1987. 144 p.
  • 3. 3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลธิดา เตชวรสินสกุล ฟื้นฟูเมจิ และ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตัวอย่างของการผสมผสานปรัชญา แห่งเซน (เซน / zen / ) ในพิธีชงชา (ฉะโด / / cha-do) กับผลกระทบจาก อิทธิพลอารยธรรมตะวันตกได้แก่ การที่ญี่ปุ่นต้องเปิดประเทศและรับวัฒนธรรม การนั่งเก้าอี้เพื่อแสดงถึงความศิวิไลซ์แบบตะวันตกในทศวรรษ 1870 ในรัชสมัยเมจิ อาจารย์ชงชาตระกูลอุระเซงเคอิรุ่นที่ 11 (เก็นเก็นไซ โซชิทสึ / So-shitsu Gen-gen- sai / ) ต้องออกแบบชุดอุปกรณ์พิธีชงชาขึ้นใหม่เพื่อองค์จักรพรรดิ เกิด เป็นแนวทางพิธีชงชาแบบนั่งเก้าอี้ ริวเรอิ สไตล์ (ริวเรอิ / ryu-rei / ) [ภาพที่ 1] นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อวิถีการออกแบบของญี่ปุ่นอันเนื่องมาจากความเชื่อ ทางศาสนา เกิดแนวความคิดของการเคารพต่อธรรมชาติ การดำรงชีวิตที่ปรับตัว ไปตามลักษณะเฉพาะของฤดูกาลต่างๆ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่าง รู้คุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด การตระหนักถึงความสมถะและความงดงามอันเกิด จากกาลเวลาที่ผ่านไปอย่างเป็นธรรมชาติที่เรียกว่า วาบิ-ซาบิ (วาบิ-ซาบิ / wabi- sabi / ) และอารมณ์ความรู้สึกของปัจเจกบุคคลผ่านประสบการณ์ที่มีต่องาน ออกแบบ (โมโน-โนะ-อะวาเระ / mono-no-aware / ) [ภาพที่ 2] ภาพที่ 1 ชุดอุปกรณ์พิธีชงชาที่ออกแบบขึ้นใหม่เพื่อองค์จักรพรรดิในรัชสมัยเมจิ เกิดเป็น แนวทางพิธีชงชาแบบนั่งเก้าอี้ ริวเรอิ สไตล์ (ริวเรอิ / ryu-rei / ) ภาพที่ 2 วาบิ ซาบิ ในถ้วยชา
  • 4. 4 ตามรอยงานออกแบบญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่2 การศึกษาการออกแบบญี่ปุ่นจากด้านสุนทรียะ ส่วนใหญ่จึงเป็นการศึกษาผลงาน ศิลปหัตถกรรม และการแบ่งประเภทงานออกแบบตามวัสดุและกรรมวิธีการผลิต ตลอดจนการรับรู้ผ่านผลงานของศิลปินที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เช่น การออกแบบโคมไฟ อะคาริ (akari ) [ภาพที่ 3] โดยปฏิมากร โนกุจิ อิซามุ (Noguchi Isamu : ค.ศ. 1904 - 1988), หรือเฟอร์นิเจอร์ เก้าอี้บัตเตอร์ฟลาย (Butterfly Stool) โดย นักออกแบบ ยานาหงิ โซริ (Yanagi Sori : ค.ศ. 1915 - ปัจจุบัน) [ภาพที่ 4] ภาพที่ 3 โคม อะคาริ โดย โนกุจิ อิซามุ ภาพที่ 4 เก้าอี้ บัตเตอร์ฟลาย ได้รับ รางวัล GMARK 1966 โดย ยานาหงิ โซริ การศึกษาการออกแบบญี่ปุ่นผ่านนิทรรศการผลงานออกแบบญี่ปุ่นระดับนานาชาติ ที่องค์กรหน่วยงานรัฐบาลเป็นผู้จัด เป็นผู้กำหนดนิยามความเป็นญี่ปุ่นในงาน ออกแบบเพื่อสื่อต่อสากล ดังจะพบตัวอย่างได้จากข้อมูลงานนิทรรศการ ที่จัดแสดง รอบโลกในชื่อ “Japanese Design : A Survey Since 1950” เริ่มแสดงที่ฟิลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ใน ค.ศ. 1994 ที่มิลาน ประเทศอิตาลี ค.ศ. 1995 ที่ ดุสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมันนี และ ที่ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปีเดียวกัน สุดท้าย กลับมาจัดแสดงที่โอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ค.ศ. 1996 นิยามการออกแบบในงานนี้ กำหนดจากหลักการ 5 ประการ ได้แก่ ความเป็นช่างฝีมือ (craftsmanship) ความ ไม่สมดุล (asymmetry) ความกะทัดรัด (compactness) ความขบขัน (humor) และ ความเรียบง่าย (simplicity) ขณะที่ นิทรรศการล่าสุดที่จัดขึ้นที่ กรุงเทพฯ ประเทศไทย ค.ศ. 2006 ในชื่อ “DNA of Japanese Design” ได้ถอดรหัสการออกแบบของญี่ปุ่น
  • 5. 5 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลธิดา เตชวรสินสกุล 2 DNA of Japanese Design 15 รหัสการออกแบบได้แก่ A: making it smaller, thinner and lighter, B: combining function, C: mobility integration, D: expanding space and time, E: doing away with frills, F: interfacing communication, G: automation and labor saving, H: making expertise accessible by the public, I: making new variations, J: enabling everyone to use it, K: mirroring nature, L: organizing into a system, M: exploiting materials, N: pioneering materials, O: beautiful wrapping เป็น 15 รหัส 2 เพื่อใช้อธิบายเปรียบเทียบถึงผลงานใน 3 ยุค ได้แก่ ยุคหัตถกรรม ที่เป็นงานช่างฝีมือ ยุคเริ่มต้นของงานออกแบบอุตสาหกรรม และ ยุคปัจจุบันใน ศตวรรษที่ 21 รหัสการออกแบบทั้ง 15 รหัส ได้เพิ่มเติมแง่มุมด้านเทคโนโลยี วัสดุ และการผลิต ตลอดจน แนวความคิด วิถีชีวิต และ วัฒนธรรมแบบญี่ปุ่น ที่ปรับตัวตาม กระแสสังคมโลก ทำให้นิยามงานออกแบบญี่ปุ่นจากงานนิทรรศการ สะท้อนถึง อัตลักษณ์ของผลงานและผู้สร้างผลงานได้อย่างหลากหลายและลึกซึ้ง มีความเป็น พลวัต ปรับแปรไปตามยุคสมัย และตามความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี 2. มุมมองจากด้านสังคมเศรษฐกิจและเทคโนโลยี คำสำคัญ: The Meiji Restoration, rangaku, wakon-yosai, Japanization, G-Mark, monotsukuri, GPI เป็นการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของสังคมญี่ปุ่น ที่มีอิทธิพลต่องานออกแบบในแง่ ของสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ความเปลี่ยนแปลงของสังคมญี่ปุ่นที่มีอิทธิพล ต่อการออกแบบที่เป็นที่นิยมศึกษาส่วนใหญ่ พบว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในยุคฟื้นฟู เมจิ (เมจิไคคาขุ / mei-ji-kai-kaku / : The Meiji Restoration) ซึ่งที่จริง แล้วเป็นความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ทั้งในแง่ของ การปฏิวัติอุตสาหกรรม และผลพวงของการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ที่กลุ่ม ประเทศเอเชียต่างได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน การเปิดประเทศญี่ปุ่นด้วยการมา ของกองเรืออเมริกันโดยนายพลจัตวาแมทธิว เปอรี่ และการล่มสลายของระบบ โชกุนที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1868 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับการเสด็จสวรรคตของพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี (พ.ศ. 2411) เป็นการ สิ้นสุดของยุคเอโดะ ( / Edo ค.ศ. 1615 – 1868: พ.ศ. 2143 - 2411) และ การเชื่อมต่อของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นยุคใหม่ 3 ยุคได้แก่ รัชสมัยเมจิ ( / Meiji ค.ศ. 1868 –1912) รัชสมัยไทโช ( / Taisho ค.ศ. 1912 – 1926) และ รัชสมัยโชวะ ( / Showa ค.ศ. 1926 – 1989)
  • 6. 6 ตามรอยงานออกแบบญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่2 ด้วยปัจจัยบังคับจากภายนอกดังกล่าว นำไปสู่ความพยายามพัฒนาประเทศอย่าง เร่งด่วนด้วยนโยบายการเรียนรู้เทคโนโลยีจากตะวันตก เช่น ฮอลแลนด์ศึกษา (รันงากุ / ran-gaku / ) การส่งคณะศึกษาดูงานเดินทางไปต่างประเทศ พร้อมไปกับ การจ้างผู้เชี่ยวชาญกว่าสามพันคนมาทำงานในญี่ปุ่น ภายใต้แนวความคิด (วะคงโยไซ / wa-kon-yo-sai / ) ที่ถือจิตวิญญาณตัวตนความเป็นญี่ปุ่นเป็นแก่น แล้วห่อหุ้มด้วยกระพี้ของกระบวนการเทคโนโลยีตะวันตก ที่ส่งเสริมให้เกิดสิ่งที่ สร้างสรรค์โดยเหมาะกับสถานการณ์และเงื่อนไขของสภาพสังคมแต่ละยุค ลักษณะ สังคมของญี่ปุ่นที่มีการแบ่งแยกสถานะชนชั้นทางสังคมอย่างชัดเจน เป็นค่านิยม ความเป็นกลุ่มที่ไม่เน้นความเป็นปัจเจกบุคคล จนแม้เมื่อรัฐบาลทหาร (บะคุฟุ / baku-fu / ) ระบอบโชกุนและระบบไซบัตสึ (ไซบัทสึ / zai-batsu / ) ที่เป็นการรวมตัวของกลุ่มอำนาจทหารในระบอบโชกุนเดิมกับกลุ่มพ่อค้าตระกูล สำคัญของญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ล่มสลายไปแล้วก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้น จากการที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้แพ้สงครามเพียงประเทศเดียว ในโลกที่ถูกทำลายล้างด้วยระเบิดปรมาณูถึง 2 ครั้ง ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ เกิดลักษณะเฉพาะของชนชาติในการพยายามพัฒนาประเทศด้วยกลไกการตั้ง หน่วยงานต่างๆ ของรัฐเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เข้มแข็งในฐานะตัวขับเคลื่อน หลักของระบบเศรษฐกิจ ตัวอย่างองค์กรที่มีบทบาทในการออกแบบอุตสาหกรรม ของญี่ปุ่น ได้แก่ Japan Industrial Design Promotion Organization (JIDPO) และ G-Mark Organization โดยการให้รางวัลผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบดีเด่น เพื่อ สนับสนุนการยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับและสามารถ แข่งขันได้ ความพยายามสร้างอัตลักษณ์และความเป็นผู้นำด้านการออกแบบใน ระดับสากล เช่น การออกแบบหม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นชาติแรก [ภาพที่ 6] และบทบาท ของ Russel Wright นักออกแบบอเมริกันที่มีอิทธิพลต่อความเคลื่อนไหวของ “การ ออกแบบที่ดี” (Good Design Movement) ทั้งในอเมริกา ญี่ปุ่นและเอเชีย ในช่วง ปลายยุคทศวรรษ 1990 มีการอาศัยแนวความคิด (monotsukuri : making thing, thing being made) การผลิตที่อาศัยทักษะภูมิปัญญาดั้งเดิมของงานฝีมือ ผสมผสานกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรม เพื่อ สร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคซึ่งมีความเข้มงวดในการพิจารณาคุณลักษณะ ผลิตภัณฑ์และมีรสนิยมที่หลากหลาย [ภาพที่ 5]
  • 7. 7 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลธิดา เตชวรสินสกุล นอกเหนือจากความพยายามเป็นผู้นำด้านการออกแบบ การพัฒนาประเทศด้วย ความพยายามผลักดันด้านเศรษฐกิจด้วยการอาศัยการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลิตภัณฑ์ มวลรวม Gross Domestic Product (GDP) เป็นตัวกำหนดนโยบายด้านอุตสาหกรรม ส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมบางประการคล้ายคลึงกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วของตะวันตก ตัวอย่างจากวรรณกรรมร่วมสมัยได้แก่ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงจากลักษณะครอบครัว สังคมเกษตรเป็นครอบครัวสังคมอุตสาหกรรม บทบาทและภาระหน้าที่ของสตรีต่อ ครอบครัว การเพิ่มของสัดส่วนประชากรสูงอายุ และมลพิษอุตสาหกรรม ซึ่งความ ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตประกอบกับเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ มีการผลิตสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่ถือเป็นการยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิต ที่สูงขึ้น เช่น การมีตู้เย็น โทรทัศน์ และเครื่องซักผ้า(คะเด็นซันชุโนะจินหงิ / ka-den- san-shu-no-jin-gi / ) [ภาพที่ 7] เครื่องใช้ไฟฟ้า 3 อย่างที่จำเป็น ต้องมีไว้ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อเป็นเครื่องหมายของมาตรฐานคุณภาพชีวิตครอบครัว ที่ดีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และความเข้มงวดในเรื่องคุณภาพของผู้บริโภคที่มีผล ต่อค่านิยมการเลือกผลผลิตการเกษตรตามการรับรู้ด้วยรสชาติและความสวยงาม ทำให้ต้องมีการคัดแยกรูปทรง ขนาด หรือ สี ในลักษณะเดียวกันกับมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในระบบอุตสาหกรรม หรือกระทั่งสร้างรูปทรงใหม่เพื่อกระตุ้น ความต้องการเชิงการตลาดด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเช่น แตงโมทรงสี่เหลี่ยม ภาพที่ 5 เครื่องคิดเลขไม้ 2006 และกระเป๋าลายไม้ Monacca โดย ทาคุมิ ชิมามุระ Takumi Shimamura ภาพที่ 6 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า โตชิบา ได้รับ รางวัล GMARK 1958 การออกแบบและ การผลิตที่เป็นความภูมิใจ ในการออกแบบ หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นชาติแรก
  • 8. 8 ตามรอยงานออกแบบญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่2 แตงกวารูปดาว รูปหัวใจ [ภาพที่ 8] เป็นต้น แต่ในทางกลับกัน มีการศึกษาวิจัยพบว่า ดัชนีความพึงพอใจเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นกลับต่ำลง แปรผกผัน กับค่า GDP ที่สูงขึ้น จึงมีการศึกษาการใช้ค่าดัชนี Genuine Progress Index (GPI) เพื่อหาดัชนีชี้วัดความเจริญก้าวหน้าที่แท้จริงที่อาศัยข้อมูลทั้งแง่บวกและแง่ลบของ ผลกระทบที่เกิดจากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่ถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ภาพที่ 7 แสตมป์ที่ระลึกถึงความเจริญก้าวหน้าและค่านิยมด้านมาตรฐานคุณภาพ ชีวิตที่แสดงด้วย ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องมีในชีวิตประจำวัน ได้แก่ โทรทัศน์ หม้อหุงข้าว และ เครื่องซักผ้า ภาพที่ 8 แตงโมทรงสี่เหลี่ยม แตงกวารูปดาว รูปหัวใจ http://uraurara.269g.net/image/suika-sikaku.jpg http://plaza.rakuten.co.jp/atelier87dokei/diary/200802290000/
  • 9. 9 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลธิดา เตชวรสินสกุล นอกจากนี้ ความเปลี่ยนแปลงเชิงสังคมยังส่งผลให้มีการตระหนักถึงคุณค่าของ ความเป็นญี่ปุ่นในชีวิตประจำวันที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลายประการ อาทิเช่น ปัจจัยเชิงสังคมที่เป็นรูปธรรมเช่น วัฒนธรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป นิยมความเป็นตะวันตกมากขึ้น และประกอบกับอิทธิพลแนวความคิดการออกแบบ เพื่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องครัว แข่งขันเสนอผลิตภัณฑ์ ที่สร้างค่านิยมดังกล่าวสำหรับผู้บริโภค [ภาพที่ 9] และตัวอย่างในเชิงสัญญะที่มีการ ถ่ายทอดผ่านภาพยนตร์การ์ตูน Spirited Away ( เซ็นโตะจิฮิโระโนะคามิคาคุชิ / sen-to-chi-hiro-no-kami-kaku-shi / ) เกี่ยวกับจิตวิญญาณ ความเป็นญี่ปุ่นที่หายไปจากบริบททางสังคมของเด็กญี่ปุ่นปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น ปัจจัยเชิงเทคโนโลยี เช่น สิ่งของเครื่องใช้หัตถกรรมที่ถูกทดแทนด้วยอุปกรณ์ เทคโนโลยี จนถึงระดับมหภาคได้แก่ การออกแบบชุมชนเมือง การออกแบบระบบ ขนส่งมวลชน ทั้งรถไฟฟ้าบนดิน รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟชินกันเซน ได้แสดงถึงความ พยายามเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรม สำหรับปัจจัยเชิงเศรษฐกิจ ตัวอย่าง ได้แก่ การค้นคว้าวิจัยสร้างหุ่นยนต์ [ภาพที่ 10] เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ทั้งในการทำงาน และการดำรงชีวิตอย่างสะดวกสบาย และแนวความคิดการสร้างสังคมอุดมคติของ การอยู่ร่วมกันโดยเท่าเทียมกันในสังคมของผู้พิการและผู้สูงอายุผ่านงานออกแบบ ภาพที่ 9 เครื่องครัว อ่างสำหรับใช้ในครัวที่สามารถนำน้ำทิ้งไปใช้ในการปลูกต้นไม้เพื่อการบริโภคในครอบครัวได้ INAX ได้รับรางวัล GMARK 2005
  • 10. 10 ตามรอยงานออกแบบญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่2 การศึกษาอัตลักษณ์การออกแบบญี่ปุ่นผ่านมุมมองทั้งสองด้าน คือ มุมมองด้าน สุนทรียะ และ มุมมองด้านสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี จึงก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในแง่มุมที่หลากหลายและซับซ้อนขององค์ประกอบความเป็นญี่ปุ่น นอกเหนือไปจากตัวผลงานออกแบบ ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ทั้งโดยศิลปิน ช่างฝีมือ นักออกแบบ ตลอดจนผู้สร้างนิรนาม และนำไปสู่การอธิบายข้อมูลการศึกษา โดยจะ เสนอแนวความคิดในการสร้างแผนที่ของบริบทงานออกแบบญี่ปุ่นหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 บนแกนอ้างอิงเชิงเวลาและ แกนอ้างอิงเชิงปัจจัย สภาพสังคม เศรษฐกิจ และ เทคโนโลยี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศีกษาค้นคว้าต่อไป ภาพที่ 10 การพัฒนาหุ่นยนต์รุ่นต่างๆ ตั้งแต่ ค.ศ. 1986 – ปัจจุบัน ที่ออกแบบเพื่อเลียนแบบการเคลื่อนไหวของมนุษย์ ASIMO HONDA
  • 11. 11 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลธิดา เตชวรสินสกุล บรรณานุกรม (Bibliographies) • ภาษาไทย มณฑา พิมพ์ทอง มองสังคมญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากวรรณกรรม กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงาน วิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลำดับที่ 95, 2547. 248 หน้า สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย Japanatomy: ยุทธศาสตร์ความคิด วิถีชีวิตญี่ปุ่น กรุงเทพฯ: Manager Classic 2549. 286 หน้า อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. Japanization กรุงเทพฯ : Openbooks, 2548. 190 หน้า • ภาษาอังกฤษ Barnoff Nicholas, Freeman Michael, Things Japanese. Periplus, Hong Kong, 143 pp. Dunn Michael. Traditional Japanese Design: Five Taste. Japan Society. Harry N. Abrams Inc. New York. 2001 Hagiwara Shu, Kuma Masashi. Origins: The Creative Spark Behind Japan’s Best Product Designs. Kodansha Int’l. 2007. 112 pp. Hasiino Tomoko, Saito Osamu, Tradition and Interaction: Research Trends in Modern Japanese Industrial History. Australian Economic History Review, Vol.44, No.3, ISSN 0004-8992, November 2004, pp.241 – 258. Ito Toshiharu. Design by Design, Design Index: Wake up the five senses through design. Tokyo Calendar Mooks, Aug.2005. 40 - 53 pp. Kikuchi Yuko, Russel Wright’s Asian Project and Japanese Post-War Design. The 5th Conference incorporating Nordic Forum for Design History Symposia. International Committee of Design History and Studies (ICDHS). (Also presented at Design History Society’s annual conference, the Delft University of Technology). 2006. 14 pp. http://tm.uiah.fi/connecting/proceedings/kikuchi.pdf Koren Leonard. Wabi-Sabi: for Artists, Designers, Poets and Philosophers. Stone Bridge Press, 1994. 96 p Koizumi Takeo, The Japanese who have neglected washoku (Japanese Food). Japan Now 2007, Japan Now Corporation, 131 pp. Koyama Ori, Kuwata Mizuho. Inspired Shapes: Contemporary Designs for Japan’s Ancient Crafts. Kodansha America, Inc. 2005. 112 pp. Kusago Takayoshi, Rethinking of Economic Growth and Life Satisfaction in Post-WWII Japan – A Fresh Approach. Social Indicators Research (2007) 81: 79–102, Springer 2006. (DOI 10.1007/ s11205-006-0016-9) Margolin Victor, A World History of Design and the History of the World. Journal of Design History, Vol.18, No.3, Oxford University Press, The Design History Society, doi: 10.1093/jdh/epi043. pp.235 – 243 Mizutani Takeshi, Nakamura Setsuko, Dutch influence on the reception and development of western-style expression in early modern Japan. 64th IFLA General Conference: Amsterdam, Netherlands, 16-21 August 1998 Code Number: 036-101-E http://www.ifla.org/IV/ifla64/036-101e.htm Pekarik Andrew Japanese Design: A Survey Since 1950. Design Issues, Vol.11, No.2. Summer, 1995, pp. 71 – 84. http://links.jstor.org/sici?sici=0747-9360%28199522% 2911%3A2%3C71% 3AJDASS1%3E2.0.CO%3B2-6 Moriyama Akiko , Nippon design 1957 – 1966. http://doraku.asahi.com/kiwameru/design/1957_1966.html Satake Hiroshi , The Current of the Consumer Electronics in Japan. Josai Management Review, Vol.2 (20060300) pp. 151-163 Josai University ISSN:18801536 Sian Evans. Contemporary Japanese design. Collins & Brown, London, 1991. 224 pp.
  • 12. 12 ตามรอยงานออกแบบญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่2 Sparke Penny. Japanese design. Michael Joseph, London, 1987. 144 p. Tanaka Ikko, Koike Kazuko. Japan Design: The Four Seasons in Design. Chronicle Book, San Francisco. 1984. 142 pp. Trade Fair Department. DNA of Japanese Design. Japan External Trade Organization. Japan 2006 Yoshida Mitsukuni ( ). Tsukuru: Aesthetics at Work. Mazda Motor Corporation-sponsored Culture Series. 1991. • ภาษาญี่ปุ่น A Universal Design for Public Transportation: Fukuoka City Subway Nanakuma Line Total Design-A 10-Year History, . 141 pp. (in Japanese) Barrier Free Design Guide Book, . Sanwa, Tokyo, 2004. 366 pp. (in Japanese) Universal Design 100. Nikkei Design, 2004. (in Japanese) (คำให้การของนักออกแบบ, 50 ปี ผลิตภัณฑ์ญี่ปุ่น) JIDA Japan Industrial Designer Association, Tokyo, Japan, 2006. 175 p.(in Japanese) • เว็บไซท์ http://en.wikipedia.org/wiki/Meiji_restoration http://en.wikipedia.org/wiki/Nanban_trade_period http://en.wikipedia.org/wiki/Rangaku http://en.wikipedia.org/wiki/Spirited_Away http://ja.wikipedia.org/wiki/%E3%82%82%E3%81%AE%E3%81%A5%E3%81%8F%E3%82%8A (in Japanese) http://libopac.josai.ac.jp/search/gakunai/magazine/Bkiyo/2/2-151.pdf http://ci.nii.ac.jp/naid/110004776353/en/ http://libopac.josai.ac.jp/search/gakunai/magazine/Bkiyo/2/2ContentsH.htm http://www.always3.jp/ (movies: Always, sunset on 3rd street) http://www.art-c.keio.ac.jp/archive/noguchi/about/3.html http://www.g-mark.org http://www.g-mark.org/library/40th/japan/toshiba.html http://www.gol27.com/HistoryTeaJapan.html http://www.japon.net/yanagi/profile.shtml http://www.jarc.net/aging/03oct/index.shtml (Statistics Bureau “Population Estimates.”) http://www.jidpo.or.jp/ http://www.nippon-kichi.com/ http://www.overpopulation.org/older.html http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2411 http://www.asahi-net.or.jp/~hn7y-mur/chihiro/ http://www.honda.co.jp/ASIMO/technology/history/asimo.html http://www.robo-garage.com/robo/index.html http://www.toyota.co.jp/en/tech/robot/