SlideShare a Scribd company logo
1 of 57
ปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นปัญหาหลักวิชา
ถ้าไม่ยึดถือ จะนาประเทศไปสู่มิคสัญญี
คาปรารภ
ในการปกครองประเทศ
ไม่เพียงแต่จะต้องใช้ทฤษฎีและนโยบายเท่านั้น
หากยังจะต้องใช้หลักวิชาด้วย เมื่อไม่นานมานี้
มีการโต้เถียงทางหลักวิชากันครั้งหนึ่งในเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราช
การจังหวัด การโต้เถียงนี้เกิดขึ้นอีกในช่วงปลายเดือนมกราคม
แต่ส่วนสาคัญเป็นการโต้เถียงทางทฤษฎีและนโยบาย เช่น
นายแพทย์ เหวง โตจิราการ กล่าวว่า
"อยากจะฝากไปถึงพรรคประชาธิปัตย์และพรรคความหวังใหม่ว่า
ไม่ทราบว่าเขาจะแกล้งลืม หรือเจตนาจะลืมว่า
ในระหว่างที่มีการหาเสียงกันนั้นเมื่อการเลือกตั้งที่ผ่านมา
ได้เคยให้คามั่นสัญญากับประชาชนไว้ว่า
หลังจากที่พรรคได้รับการเลือกตั้งเข้าไปจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลไ
ด้ จะดาเนินการในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ("บ้านเมือง 24
มกราคม 2537)
นายถวิล ไพรสณฑ์ กล่าวว่า
"เรื่องนี้เป็นนโยบายของพรรคเพราะเป็นนโยบายของพรรคแล้ว
เราจะไม่ใช้เฉพาะตอนหาเสียงเท่านั้น แต่จะต้องใช้ตลอดไป"
("บ้านเมือง 24 มกราคม 2537")
พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ กล่าวว่า
"เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นนโยบายของรัฐบาล
ที่ตกลงกันว่าจะเลือกตั้งผู้ว่าฯ
เพียงแต่ตกลงกันว่าจะกระจายอานาจไปสู่ท้องถิ่นเท่านั้น"
("บ้านเมือง 24 มกราคม 2537")
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ กล่าวว่า "เป็นนโยบายของพรรคพลังธรรม
แต่นโยบายของรัฐบาลไม่ได้เขียนไว้" ("เดลินิวส์ 23 มกราคม
2537")
นี่คือตัวอย่างของการโต้เถียงทางนโยบาย
ซึ่งเป็นส่วนสาคัญของการโต้เถียงครั้งนี้
อีกด้านหนึ่ง ในการโต้เถียงครั้งนี้
ฝ่ายรัฐบาลใช้ทัศนคติแตกต่างกับครั้งก่อน
ครั้งก่อนฝ่ายรัฐบาลแบ่งรับแบ่งสู้
เช่นแสดงการเห็นด้วยกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด
แต่ยังไม่ถึงเวลา เป็นต้น แต่ครั้งนี้ใช้ทัศคติปฏิเสธเด็ดๆขาดๆ
เช่นพาดหัวข่าว "เดลินิวส์" 23 มกราคม 2537 ว่า
"เลือกตั้งผู้ว่าแท้งเสียแล้ว จิ๋ว-ปชป.
พร้อมใจไม่เอาอ้างไม่ใช่นโยบายรัฐบาล"
แต่ในการโต้เถียงกันครั้งนี้
ก็มีร่องรอยของหลักวิชาการอยู่บ้างเหมือนกัน เช่น
คุณอารีย์ วงศ์อารยะ กล่าวว่า
"ขณะมีสิ่งที่มีการพูดกันเรื่องเลือกตั้งผู้ว่าฯนั้น เป็นคนละประเด็น
เป็นการพูดตรงข้ามกับกฎหมายและระเบียบบริหารราชการแผ่นดิ
นที่มีอยู่ในขณะนี้ เรากาลังพูดกันคนละเรื่อง
เพราะถ้าเป็นเช่นที่มีการเรียกร้องนั้น
ก็หมายถึงเราต้องล้มเลิกระเบียบราชการแผ่นดิน
ซึงบรรพบุรุษสร้างกันมาตั้งแต่เริ่มตั้งประเทศ"
"ระเบียบราชการแผ่นดินซึ่งบรรพบุรุษสร้างกันมาตั้งแต่เริ่มตั้งประเ
ทศ" ก็คือระเบียบของชาติรัฐเดียว
ซึ่งพระบาทสมเด็กพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงสร้างขึ้นบนพื้นฐานของสภาวการณ์ทางประวัติศาสตร์และทาง
สังคมของประเทศไทย
ในการเปลี่ยนแปลงรัฐเจ้าครองนคร(Feudal state)
มาเป็นรัฐแห่งชาติ (National state) เมื่อพ.ศ. 2435
ซึ่งเป็นปัญหาหลักวิชา
หัวใจของหลักวิชาในปัญหาในการเลือกตั้งผู้ว่าฯในประเทศที่โต้เ
ถียงกันอยู่ ก็คือปัญหาชาติรัฐเดียว (Unitary-state nation)
หรือชาติหลายรัฐ (Multi-state nation) นี่เอง ซึ่งครั้งก่อน
พล.อ.ชวลิต และนักวิชาการบางคนยกขึ้นมาพูดกันมาก
แต่ครั้งนี้ไม่ใคร่จะพูดถึง
จะมีการพูดถึงบ้างก็เป็นส่วนปลีกย่อยของปัญหาหลักวิชา เช่น
พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า
"ไม่ได้ขัดแย้งกัน(กับพรรคพลังธรรม)เพียงแต่ไม่ได้พูดถึงความหม
ายของคาว่าผู้ว่าราชการจังหวัด
ซึ่งมีการตีความกันไปคนละความหมาย
ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองส่วนภูมิภาคและจะเอาผู้ว่าฯไปปกครอ
งส่วนท้องถิ่นได้อย่างไร และการเลือกตั้งผู้ว่าฯ
จะเป็นการกระจายอานาจหรือไม่นั้น ก็ต้องตีความกันมิฉะนั้น
จะทาให้เกิดความเสียหาย("บ้านเมือง"24 ม.ค. 37)
นี่เป็นส่วนหนึ่งของหลักวิชา คือการกระจายอานาจคืออะไร?
การเลือกตั้งผู้ว่าฯ เป็นการกระจายอานาจหรือไม่? ทั้ง 2
ปัญหานี้กระผมจะขอชี้แจงภายหลัง เพราะค่อนข้างยาว
นายแพทย์ เหวง กล่าวว่า
"ในนโยบายรัฐบาลแถลงต่อสภานั้นได้พูดไว้ชัดเจนว่า
จะให้มีการเลือกตั้งทุกระดับในส่วนการบริหารท้องถิ่น
ซึ่งการเลือกตั้งผู้ว่าฯนั้นก็หมายถึงเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในระดั
บจังหวัด
แต่มีการแปรไปว่าไม่ใช่เป็นการเลือกตั้งผู้บริหารส่วนท้องถิ่น
ขอให้เปิดดูนโยบายที่แถลงไว้เมื่อวันเข้ารับหน้าที่บริหารประเทศว่
า รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการเลือกตั้งทุกระดับชั้น
ก็แสดงว่าการเลือกตั้งผู้ว่าฯก็เป็นนโยบายของรัฐบาลด้วย"
("บ้านเมือง" 24 ม.ค.37)
นี่ก็เป็นปัญหาหลักวิชา คือว่า
นโยบายของรัฐบาลที่เขียนไว้ว่าจะให้มีการเลือกตั้งทุกระดับในส่ว
นการบริหารท้องถิ่นนั้น ถูกต้องตามหลักวิชา
แต่การถือเอาว่าการเลือกตั้งผู้ว่าฯหมายถึงการเลือกตั้งผู้บริหารท้อ
งถิ่นระดับจังหวัด
และนโยบายรัฐบาลที่ว่าสนับสนุนการเลือกตั้งทุกระดับหมายถึงกา
รเลือกตั้งผู้ว่าฯก็เป็นนโยบายของรัฐบาลด้วยนั้น
ไม่ชอบด้วยหลักวิชา
และเป็นการเอาส่วนท้องถิ่นกับส่วนภูมิภาคไปปะปนกัน
ส่วนภูมิภาคคือ จังหวัด อาเภอ ตาบล และหมู่บ้าน(แต่ก่อนมีมณฑล
ยุบหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน)
ส่วนท้องถิ่นคือ มหานคร นคร เมือง
เขตอื่นที่เป็นเทศบาลและสุขาภิบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัด
และสภาตาบล (แต่ก่อนมีองค์การบริหารส่วนตาบลด้วย)
จะต้องไม่เอาส่วนภูมิภาคกับส่วนท้องถิ่นไปปะปนกัน
นโยบายของรัฐบาลให้เลือกตั้งผู้บริหารส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
ไม่เลือกตั้งผู้บริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งถูกต้องตามหลักวิชาแล้ว
นายแพทย์ เหวง กล่าวว่า
"ตามที่บางคนในกระทรวงมหาดไทยพูดว่าทาลายระบอบเก่าๆ
ของบรรพบุรุษ ซึ่งตนคิดว่าเป็น "เจตนาที่ต้องการหาเรื่อง"
ซึ่งจริงๆแล้วการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเท่ากับผลักดันให้บ้าน
เมืองเจริญก้าวหน้า บ้านเมืองเราเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว
คงไม่สามารถที่จะกลับไปปกครองแบบ เวียง วัง คลัง นา
หรือจตุสดมภ์เหมือนเมื่อก่อนได้อีกแล้ว
ซึ่งหากจะรักษาของเก่าตามที่ออกมาพูดกัน
ก็จะต้องกลับไปปกครองแบบนั้น เพราะฉะนั้น คนที่พูด
ขอให้กลับไปเรียนวิชารัฐศาสตร์เสียใหม่" ("บ้านเมือง" 24
ม.ค.37) และคุณถวิล กล่าวว่า
"ในเรื่องนี้ตนอยากจะถามกลับไปยังพวกมหาดไทยว่า
หากเป็นอย่างนี้ต้องกลับไปปกครองในระบบจตุสดมภ์ มีระบบ
เวียง วัง คลัง นา ซึ่งเป็นระบบเก่าเช่นเดียวกัน
และก็ในสมันก่อนเป็นการปกครองระดัยมีมณฑล
จนคิดว่าข้าราชการกระทรวงมหาดไทยคงจะไม่มีทางออกแล้วที่จ
ะมาโต้แย้งเรื่องนี้ จึงได้ไปเอาเรื่องนี้มา
เช่นการบอกว่าเป็นการล้างระบบเก่า" (จากฉบับเดียวกัน)
นี่คือปัญหาหลักวิชาอย่างหนึ่ง
ที่ว่าระบบจตุสดมภ์เป็นระบบเก่านั้นถูกแล้วซึ่งรัชกาลที่ ๕
ทรงยกเลิกและใช้ระบบใหม่แทน และใช้มาจนถึงปัจจุบัน
มีการเปลี่ยนแปลงบ้างในส่วนปลีกย่อยเท่านั้น เช่น ยกเลิกมณฑล
ขยายส่วนท้องถิ่นให้กว้างขวางออกไป และมีการเพิ่มเติมถ้อยคา
เช่นนาคาว่า ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
มาใช้ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน เป็นต้น
ที่คุณอารีย์ กล่าวถึงระเบียบที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น
ก็คือระเบียบที่รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างนั่นเอง ซึ่งเป็นระบบใหม่
ไม่ใช่ระบบเก่า สมเด็จพระปกเกล้าทรงบันทึกไว้ว่า
"การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากแบบเดิม เป็นตั้งกระทรวงเป็น
12 กระทรวงนี้
ต้องนับว่าเป็นการเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง
ซึ่งเรียกได้อย่างพูดกันธรรมดาว่า "พลิกแผ่นดิน"
ถ้าจะเรียกตามภาษาอังกฤษก็ต้องเรียกว่า "เรโวลูชั่น"
ก็เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงรัฐเจ้าครองนคร (feudal state)
ซึ่งเป็นรัฐแบบเก่า มาเป็นรัฐแห่งชาติ (National state)
ซึ่งเป็นรัฐแบบใหม่ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันนั่นเอง
ระบบใหม่ซึ่งรัชกาลที่ ๕
ทรงสร้างขึ้นด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างเรโวลูชั่น
และยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้
ถูกต้องตามหลักวิชารัฐศาสตร์ซึ่งจะต้องใช้ต่อไป
โดยไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงในหลักการสาคัญได้
นอกจากแก้ไขปรับปรุงในส่วนปลีกย่อยเท่านั้น
การเลือกตั้งผู้ว่าฯเป็นการเปลี่ยนแปลงในหลักการสาคัญ
ซึ่งจะนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงจากชาติรัฐเดียวเป็นชาติหลายรัฐ
และขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ว่า
"ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้"
กระผมเขียนไว้ใน "คาชี้แจง" ฉบับที่ 6 ว่า "การเลือกตั้งผู้ว่าฯ
คือการแบ่งแยกราชอาณาจักร"
เพราะสภาวการณ์ทางประวัติศาสตร์และทางสังคมของประเทศไท
ย กาหนดให้ประเทศเป็นชาติรัฐเดียว จะเป็นชาติหลายรัฐมิได้
ระบบใหม่ ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างขึ้นนั้น
แบ่งการบริหารหรือการปกครองออกเป็น 3 ส่วน
ซึ่งเรียกตามศัพท์ปัจจุบันว่า ส่วนกลาง (Central) ส่วนภูมิภาค
(Provincial) และส่วนท้องถิ่น (Local)
ซึ่งเป็นไปตามแบบชาติรัฐเดียวของนานาประเทศ
และมีอีกส่วนหนึ่งสังกัดส่วนภูมิภาค เรียกว่าส่วนท้องที่ (Rural)
ซึ่งในปัจจุบันบางประเทศมี บางประเทศไม่มี
แล้วแต่ระดับพัฒนาการของแต่ละประเทศ
บ้านเรามักมีการปะปนและสับสนระหว่างส่วนภูมิภาคกับส่วนท้องถิ่
น ดังเช่นคาของบางคนที่ยกมาข้างต้น.
ตามหลักทั่วไป การบริหารชาติรัฐเดียวแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเท่านั้น
คือส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น หรือ Central กับ Local
เพราะส่วนภูมิภาคหรือ Provincial
เป็นสาขาหรือตัวแทนของส่วนกลาง และส่วนท้องที่หรือ Rural
สังกัดอยู่มนส่วนภูมิภาค
ส่วนกลาง ไม่ต้องพูดถึงก็ได้ เพราะไม่มีอะไรสับสน
ก็คือกระทรวงนั่นเอง
ส่วนภูมิภาค แต่ก่อนระดับสูงสุดคือมณฑล เมื่อยกเลิกมณฑล
จังหวัดเป็นระดับสูงสุด ซึ่งเรียกในภาษาอังกฤษว่า Provence
เมื่อมีมณฑลเรียกมณฑลว่า Provence
เมื่อยกเลิกมณฑลก็เรียกจังหวัดว่า Provence คาว่า Provence
จึงแปลว่ามณฑลก็ได้ แปลว่าจังหวัดก็ได้
เพราะหมายถึงระดับสูงสุดของส่วนภูมิภาค
ระดับถัดลงมาคือาเภอ District
ถือว่าเป็นระดับล่างสุดของส่วนภูมิภาค
แต่อาเภอยังแบ่งซอยลงไปเป็นตาบลและหมู่บ้าน
ซึ่งรวมกันจัดเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก เรียกว่าส่วนท้องที่ Rural
ส่วนท้องที่ไม่ใช่ระดับล่างสุดของส่วนภูมิภาค แต่สังกัดส่วนภูมิภาค
ไม่ใช่สังกัดส่วนท้องถิ่นและถือว่าส่วนท้องที่เป็นการปกครองพื้นฐา
น
จึงเห็นได้ว่า ส่วนทั้งหมดเหล่านี้รวมกัน
กล่าวโดยหลักทั่วไปจัดเป็นส่วนหนึ่ง คือส่วนกลางหรือ Central
สาหรับส่วนท้องถิ่นหรือ Local นั้น เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก
เดิมเรียกว่าสุขาภิบาลหรือ Municipality รัชกาลที่ ๗
ทรงเปลี่ยนชื่อเป็นเทศบาล
ขณะกาลังจะตราเป็นกฎหมายก็เกิดยึดอานาจ 24 มิถุนายน
เสียก่อน คณะราษฎรจึงตราเป็นกฎหมายเทศบาล
ส่วนสุขาภิบาลก็ยังมีอยู่ ถือเป็นระดับล่างของเทศบาล
และจัดระดับเทศบาลเป็น นคร เมือง และตาบล
ปัจจุบันเพิ่มระดับมหานครเป็นระดับสูงสุด คือกรุงเทพมหานคร
และตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดกับสภาตาบลเพิ่มขึ้นในส่วนท้อง
ถิ่นด้วย
และครั้งหนึ่งเคยตั้งองค์การบริหารส่วนตาบลขึ้นในส่วนท้องถิ่น
แต่ล้มเหลว
ส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นคนละส่วนโดยสิ้นเชิง
จึงแตกต่างกันทั้งในลักษณะ ความมุ่งหมาย หน้าที่และภาระกิจ
เช่น ผู้บริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นสาขาของส่วนกลาง
มาจากการแต่งตั้งผู้บริหารส่วนท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง
นี่เป็นหลักวิชา ไม่ใช่ทฤษฎีหรือนโยบาย
ฉะนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงต้องแต่งตั้ง เลือกตั้งได้
และผู้ว่าราชการมหานครต้องเลือกตั้ง แต่งตั้งไม่ได้
(เว้นแต่ในสถานการณ์คับขัน)
เช่นเดียวกับผู้บริหารส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ต้องเลือกตั้งทั้งสิ้น
ดูเหมือนจะมีผู้สงสัยเป็นอันมากว่า ทาไมผู้บริหารส่วนภูมิภาค
โดยเฉพาะคือผู้ว่าราชการจังหวัด จึงเลือกตั้งไม่ได้
และทาไมผู้บริหารส่วนท้องถิ่น
เช่นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและนายกเทศมนตรีต่างๆจึงต้อง
เลือกตั้ง
ตาแหน่งแต่งตั้งกับตาแหน่งเลือกตั้งนั้น
แตกต่างกันในความเป็นผู้แทน
ว่าเป็นผู้แทนของส่วนกลางหรือเป็นผู้แทนของส่วนท้องถิ่น
ผู้แทนของส่วนกลางก็คือผู้แทนของรัฐบาล
ผู้แทนของส่วนท้องถิ่นถือกันว่าเป็นผู้แทนของประชาชน
เป็นผู้แทนของใครผู้นั้นก็เป็นผู้แต่งตั้ง เป็นผู้แทนของรัฐบาล
รัฐบาลก็แต่งตั้ง เป็นผู้แทนของประชาชน ประชาชนก็แต่งตั้ง
แต่ประชาชนแต่งตั้งนั้นเป็นการพร้อมใจกันแต่งตั้ง
ซึ่งเรียกว่าเลือกตั้ง ฉะนั้น
ตาแหน่งเลือกตั้งก็คือตาแหน่งแต่งตั้งโดยประชาชนนั่นเอง
ฉะนั้น เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนของรัฐบาล
รัฐบาลจึงเป็นผู้แต่งตั้ง จะให้ประชาชนแต่งตั้ง
(พร้อมใจกันแต่งตั้ง)ได้อย่างไร
และเมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือนายกเทศมนตรีต่างๆเป็นผู้แทนของประชาชน
ก็ต้องให้ประชาชนแต่งตั้ง(พร้อมใจกันแต่งตั้ง)
จะให้รัฐบาลแต่งตั้งได้อย่างไร..
ถ้ากระผมจะให้ใครไปทาธุระอะไรแทนกระผมสักอย่าง
กระผมก็ต้องแต่งตั้งผู้แทนของกระผม
กระผมจะให้คนทั้งหลายเลือกตั้งใครมาเป็นผู้แทนของกระผมได้อ
ย่างไร
เวลานี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ
มีคนเรียกร้องไม่ให้รัฐบาลแต่งตั้งผู้แทนของรัฐบาลในจังหวัดต่าง
ๆ แต่จะให้ประชาชนแต่งตั้งรัฐบาล
คือให้ประชาชนพร้อมใจกันแต่งตั้งผู้แทนของรัฐบาล
ซึ่งเรียกว่าเลือกตั้ง ก็คือให้เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด
การกระทาเช่นนี้
ก็คือการยกเลิกฐานะของผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นผู้แทนของรัฐบ
าล ในขณะเดียวกันผู้แทนของประชาชนในจังหวัดนั้นๆก็ยังมีอยู่
คือนายกเทศมนตรี ฉะนั้น เมื่อผู้ว่าฯไม่ได้เป็นผู้แทนของรัฐบาล
เพราะรัฐบาลไม่ได้แต่งตั้ง
ตาแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดก็จะเป็นตาแหน่งอิสระจากรัฐบาล
และไปเป็นคู่กับนายกเทศมนตรี ซึ่งต่างก็เป็นตาแหน่งเลือกตั้ง
ทาให้จังหวัดนั้นๆกลายเป็นรัฐหนึ่งไป
โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นส่วนกลาง
และนายกเทศมนตรีเป็นส่วนท้องถิ่น
และผู้ว่าราชการจังหวัดที่เลือกตั้งนั้นเป็นประมุขของรัฐนั้นๆไป
จึงเห็นได้ว่า ถ้ามีการเลือกตั้งส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
ถ้ามีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดแลันายกเทศมนตรี
(จะเรียกว่าผู้ว่าราชการนคร หรือผู้ว่าราชการเมืองก็ได้)
ก็จะทาให้จังหวัดนั้นๆเปลี่ยนแปลงเป็นอีกรัฐหนึ่งอย่างเป็นไปเอง
ไม่มีทางจะเป็นอื่นไปได้
แต่ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ถ้าจังหวัดต่างๆกลายเป็นแต่ละรัฐ
ประมุขของรัฐซึ่งไม่ได้เป็นเจ้าเพราะเลือกตั้งมา
ก็มีแนวโน้มอย่างมากที่จะไม่ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์
ต่างกับมาเลย์เซีย ซึ่งรัฐที่เลือกตั้งผู้ว่าราชการมีเพียง 2 รัฐ
นอกนั้นเป็นสุลต่านทั้งสิ้น
จึงไม่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ฉะนั้น
ตามที่มีผู้กล่าวว่า
ถ้าเมืองไทยเลือกตั้งผู้ว่าราชดารจังหวัดก็จะนาไปสู่การเลือกตั้งปร
ะธานาธิบดีของประเทศไทยไป
จึงเป็นคากล่าวที่มีความเป็นไปได้อย่างสูง
ฉะนั้น ที่กระผมเขียนไว้ใน "คาชี้แจง" ฉบับที่ 6 ว่า
"การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ใช่เป็นการกระจายอานาจ
แต่เป็นการแบ่งแยกราชอาณาจักร" นั้น ยังน้อยไป
ควรกล่าวว่าเป็นการแยกประเทศและยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริ
ย์จะถูกต้องกว่า
ตั้งแต่มีการตั้งตาแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้นมา
เกิดมีความสับสนปะปนและเข้าใจผิดในปัญหาถ้อยคา
มีคนสงสัยว่าเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้
ทาไมเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดอื่นไม่ได้?
เขานึกว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนั้น
เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธร
รมราช เป็นต้น
เดี๋ยวนี้ "จังหวัดกรุวเทพมหานคร" หรือ "จังหวัดพระนคร"
ไม่มีแล้ว มีแต่ "กรุงเทพมหานคร" หรือ "มหานครกรุงเทพ"
"จังหวัดกรุงเทพมหานคร" หรือ "จังหวัดพระนคร" เป็นส่วนภูมิภาค
แต่ "กรุงเทพมหานคร" หรือ "มหานครกรุงเทพ" เป็นส่วนท้องถิ่น
เรายกเลิกจังหวัดหรือ Providenceในกรุงเทพ เหลือแต่นครหรือ
City หรือมหานคร หรือ Great City
ก็คือยกเลิกส่วนภูมิภาคในกรุงเทพทาให้กรุงเทพเหลือแต่ส่วนท้อง
ถิ่น ฉะนั้น ผู้บริหารส่วนภูมิภาคในกรุงเทพจึงไม่มี
มีแต่ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นในกรุงเทพเท่านั้น เรียกว่า
"ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร"
แต่ในนครศรีธรรมราช ในนนทบุรี ฯลฯ
เราไม่ได้ยกเลิกส่วนภูมิภาค จึงยังมีจังหวัด(province)
และมีเมือง(Town) ซึ่งเป็นส่วนท้องถิ่นอยู่กับส่วนภูมิภาค ฉะนั้น
จึงมีทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดและนายกเทศมนตรีเมืองทั้ง 2'ตาแหน่ง
ในกรุงเทพ เราเอาคาว่า "ผู้ว่าราชการ"
มาใช้กับมหนครภายหลังที่ได้ยกเลิกจังหสัดไปแล้ว
แต่ผู้คนยังเคยชินอยู่กับคาว่า "ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนคร" หรือ
"ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหา นคร" จึงเกิดเข้าใจผิดว่า
"ผู้ว่าราชการมหาคร" กับ "ผู้ว่าราชการจังหวัด" เป็นสิ่งเดียวกัน
แต่ความจริงแล้ว ถึงแม้จะใช้คาว่า "ผู้ว่าราชการ" คาเดียวกัน
แต่ต่างกันในหลักการ "ผู้ว่าราชการจังหวัด"
เป็นผู้บริหารส่วนภูมิภาค "ผู้ว่าราชการมหานคร"
เป็นผู้บริหารส่วนท้องถิ่น บางที เรื่องมหญ่โตโต้เถียงกันเกือบตาย
เกิดจากความสับสนในถ้อยคาเพียงคาเดียวเท่านั้นเอง
บางคนที่เข้าใจความแตกต่างระหว่างส่วนภูมิภาคกับส่วนท้องถิ่นแ
ต่อยากให้เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด
โดยทาให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารส่วนท้องถิ่นอย่างผู้ว่าร
าชการ กทม. จึงอยากให้ยกเลิกส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ
โดยอ้างว่าเขาไปดูต่างประเทศมามาก ไม่มีส่วนภูมิภาค
มีแต่ส่วนท้องถิ่น
เวลานี้ เรายกเลิกส่วนภูมิภาคในเมืองหลวง เพียงแห่งเดียว
แต่ก็กล้อมแกล้มเต็มที เพราะแม้แต่ใน "กรุงเทพมหานคร"
แถวหนองจอก ตลิ่งชัน ก็ยังมีผู้ใหญ่บ้าน
ซึ่งเป็นเศษเดนของส่วนท้องที่ สังกัดส่วนภูมิภาค
ยิ่งในหัวเทืองด้วยแล้ว ท้องที่หรือชนบทหรือ Rural
ยิ่งเป็นฝ่ายครอบงา ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของประเทศด้อยพัฒนา
ดูสุราษฎร์ธานีบ้านกระผม ส่วนท้องที่เต็มไปหมด
หัวเมืองอื่นก็ทานองเดียวกัน
แล้วจะไปยกเลิกส่วนภูมิภาคในหัวเมืองได้อย่างไร
ประเทศพัฒนาไม่จาเป็นต้องมีส่วนภูมิภาค
แต่ประเทศพัฒนาบางประเทศก็ยังรักษาส่วนภูมิภาคไว้
เพราะถือว่าเหมาะสมกับประเทศของเขา
เช่นประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส
ญี่ปุ่นไม่มีส่วนภูมิภาค
เพราะนอกจากจะเป็นประเทศพัฒนาระดัยสูง 1 ใน 7
ประเทศที่รวยที่สุดในโลก ซึ่งความเจริญแผ่ไปทั่วประเทศ
นครและเมืองเป็นฝ่ายครอบงา ชนบทแทบจะไม่มีเหลือแล้ว
หัวเมืองต่างๆยังมีลักษณะการปกครองตนเองทางวัฒนธรรม
(Cultural automomous)
ซึ่งเป็นจารีตประเพณีสืบทอดมาจากสมัยเจ้าครองนคร (Feudal)
ตามที่กระผมเขียนไว้ "คาชี้แจง" ฉบับที่ 6 อีกด้วย
ซึ่งเป็นส่วนท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่นเรียกว่า "ไคเมียว"
ไคเมียวนี้ เมื่อญี่ปุ่นร่างรัฐธรรมนูญใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
นายพลแมคอาเธอร์ ให้ใช้คาว่า Grvernor
เลียนแบบสหรัฐซึ่งมาตรงกับ Governor
ซึ่งใช้เรียกผู้ว่าราชการจังหวัด บ้านเรา ที่จริงตรงกันแต่เฉพาะคา
Governor เท่านั้น แต่ความหมายต่างกัน เพราะของสหรัฐคือ
State Governor หรือ้ ผู้ว่าการมณฑลรัฐ ของเราคือ Provincial
Governor หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ก็ทาให้หลายคนเอา
Governor ที่นายพลแมคอาเธอร์
นามาใช้ในญี่ปุ่นมาอ้างว่าญี่ปุ่นเป็นรัฐเดียวทาไมเลือกตั้ง
Governor หรือผู้ว่าราชการจังหวัดได้
เมืองไทยรัฐเดียวเหมือนกันทาไมจะเลือกตั้ง Governor
หรือผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ได้
นี่ก็เป็นความสับสนในถ้อยคาเหมือนกัน
ไคมียวของญี่ปุ่นจะเรียกเป็นคาไทยว่าอะไรก็แล้วแต่
และเขตปกครองของไคเมียวซึ่งเรียกว่า "ฮั่น"
จะเรียกเป็นไทยว่าอะไรก็แล้วแต่ แต่ตะเรียกผู้ส่าราชการจังหวัด
และจังหวัด ที่เป็นส่วนภูมิภาคอย่างบ้านเรานั้นไม่ได้ ฉะนั้น
จึงอ้างคา Governor
ของนายพลแมคอาเธอร์ในญี่ปุ่นมาเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดบ้า
นเราไม่ได้ เพราะคนละเรื่องกัน
รวมความว่า ชาติรัฐเดียวซึ่งเป็นประเทศด้อยพัฒนา
ไม่สามารถจะยกเลิกส่วนภูมิภาค
จึงไม่สามารถจะเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด
ซึ่งเป็นผู้บริหารส่วนภูมิภาค ที่คุณชูวงศ์ ฉายะบุตร กล่าวว่า
"ผมยืนยันว่า อีก 100 ปี ก็ไม่ควรเลือกตั้งผู้ว่าฯ" ("สยามรัฐ" 25
ม.ค. 37) นั้นเป็นคาเปรียบเทียบที่ถูกต้อง
เพราะถ้าเมืองไทยยังอยู่อย่างนี้ต้องอีกยาวนานมากกว่าจะยกเลิกส่
วนภูมิภาคได้ เพราะจะยกเลิกส่วนภูมิภาคได้
จะต้องทาให้ประเทศไทยเป็นประเทศพัฒนาระดับสูง
ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากการทาประเทศให้เป็นประชาธิปไตย
เพื่อก้าวจากประเทศด้วยพัฒนาไปสู่ประเทศกาลังพัฒนาและต่อไป
เป็นประเทศพัฒนาแต่เราก็ยังไม่ได้เริ่มต้นกันเลย
แม้แต่ในบรรดาผู้เรียกร้องให้เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด
ก็ไม่มีใครสักคนที่คิดจะทาประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตย
มีแต่คิดจะแก้รัฐธรรมนูญโดยไม่สร้างประชาธิปไตย
ซึ่งเป็นการต่ออายุระบอบเผด็จการรัฐสภาเท่านั้น
แล้วเมื่อไหร่เมืองไทยจะเป็นประเทศพัฒนาระดับสูงได้เล่า
มาเลเซีย เป็นประเทศกาลังพัฒนามา 40 กว่าปีแล้ว
เมื่อไม่นานมานี้เขาประกาศว่าจะเป็นประเทศพัฒนาใน 35 ปี
กระผมคิดว่าถ้าเมืองไทยเป็นประชาธิปไตยเดี๋ยวนี้
อาจจะเป็นประเทศพัฒนาได้เร็วกว่ามาเลเซีย
เพราะสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทุกด้าน
ซึ่งหมายความว่าเราจะสามารถยกเลิกส่วนภูมิภาคได้ใน 35 ปี
แต่ก็ไม่แน่ว่าถึงแม้เมืองไทยจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วสมควรจะยก
เลิกส่วนภูมิภาค เพราะขนาดอังกฤษฝรั่งเศสยังไม่ยกเลิก ฉะนั้น
จึงน่าจะเป็นอย่างคาของคุณชูวงศ์ ที่กล่าวว่า อีก 100 ปี
ก็ไม่ควรเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดมากกว่า
กระผมกล่าวไว้ในตอนต้นว่า
การโต้เถียงเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดครั้งนี้
ส่วนใหญ่เป็นการโต้เถียงทางทฤษฎีและนโยบายการโต้เถียงทาง
หลักวิชาเป็นส่วนน้อย แต่ควรจะกล่าวไว้ในที่นี้ด้วยว่า
การโต้เถียงทางทฤษฎีและนโยบายนั้น
เป็นความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองด้วยกัน
ส่วนการโต้เถียงทางหลักวิชาเป็นความขัดแย้งระหว่างนักการเมือง
กับข้าราชการ
ตัวอย่างเช่น พรรคพลังธรรมเสนอว่า
กาiเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผลดีแก่ประชาชนอย่างไรบ้าง
เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยอย่างไรบ้าง
จะแก้ปัญหาความยากจนได้
กระทั่งจะแก้ปัญหารัฐประหารได้ทีเดียว นี่คือข้อเสนอทางทฤษฎี
ส่วนพรรคประชาธิปัตย์และพรรคความหวังใหม่
โต้ว่าไม่ใช่นโยบายของรัฐบาลและนะโยบายของพรรคก็มีเพียงใ
ห้กระจายอานาจไปสู่ท้องถิ่น ซึ่งเป็นการโต้เถียงทางนโยบาย
แต่ฝ่ายข้าราชการอ้างเหตุผลทางหลักวิชา เช่นคุณอารีย์
กล่าวว่าการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นการทาลายระเบียบบริ
หารราชการแผ่นดินืซึ่งบรรพบุรุษสร้างมาตั้งแต่ตั้งประเทศ
และว่าข้อเสนอของนักการเมืองเป็นคนละเรื่องกับของกระทรวงมห
าดไทย และคุณชูวงศ์กล่าวว่าอีก 100 ปี
ก็ไม่สมควรเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด
นอกจากนั้นยังมีข้าราชการการเมือง 2
คนเสนอเหตุผลทางหลักวิชา คือ พล.อ.ชวลิต ซึ่งตั้งปัญหาว่า
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็นการกระจายอานาจหรือไม่?
และผู้ว่าราชการจังหวัดหมายความว่าอะไร? และคุณบัญญัติ
แนะให้กลับไปใช้คาว่า "ข้าหลวงประจาจังหวัด" อย่างเดิม
("เดลินิวส์" 23 ม.ค.37)
ซึ่งนอกจากจะเป็นกาเสนอความเห็นทางหลักวิชาแล้ว
ยังเป็นการยุติปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดด้วยวิธีง่ายๆอี
กด้วย เพราะ "ข้าหลวง" นั้น
ไม่ว่าจะเป็นข้าหลวงอะไรไม่เป็นตาแหน่งเลือกตั้ง
แต่เป็นตาแหน่งแต่งตั้งทั้งสิ้น
เหล่านี้คือตัวอย่างของการเสนอเหตุผลทางหลักวิชา
โดยข้าราชการ ทั้งข้าราชการประจาและข้าราชการการเมือง
ทฤษฎีและนโยบายการเมือง จะต้องไม่ขัดต่อหลักวิชา
สาหรับหลักวิชาทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural science)
นั้นขัดไม่ได้อยู่แล้ว
เพราะเป็นสัจธรรมที่สอดคล้องกับกฎของปรากฎการณ์ธรรมชาติ
เช่นวิทยาศาสตร์ว่าด้วยระเบิดปรมณู
ไม่ว่าทฤษฎีและนโยบายประชาธิปไตย เผด็จการหรือคอมมิวนิสต์
ที่แตกต่างกันถึงขนาดตรงกันข้าม
ก็ยังต้องใช้หลักวิชาทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติอย่างเดียวกับโลกเ
สรีกับโลกคอมมิวนิสต์ต่างก็เอาหลักวิชาระเบิดปรมณูอันเดียวกันไ
ปใช้กับทฤษฎีและนโยบายที่มุ่งจะทาลายล้างกัน
แต่หลักวิชาทางวิทยาศาสตร์สังคม (Social Science)
ก็เป็นสัจธรรมเหมือนกัน
ซึ่งทฤษฎีและนโยบายการเมืองที่แตกต่างกันโดยทั่วไปก็ต้องยึดถือ
อย่างเดียวกัน
เช่นหลักวิชารัฐศาสตร์ว่าด้วยชาติรัฐเดียวหรือหลายรัฐ
เกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือต่างก็ยึดถือว่าชาติตนเป็นชาติรัฐเดียว
สหรัฐ กับ สหภาพโซเวียต (เดี๋ยวนี้เป็นจักรภพ)
ต่างก็ยึดถือว่าชาติของตนเป็นหลายรัฐ เป็นต้น
ทั้งที่มีทฤษฎีและนโยบายตรงกันข้าม
บรรพบุรุษของเราตั้งชาติสยามขึ้นมาเป็นชาติรัฐเดียว
โดยยึดถือหลักวิชา
และด้วยทฤษฎีและนโยบายที่สอดคล้องกับหลักวิชา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไม่เพียงแต่จะทรงมีพระราชประสงค์จะรักษาชาติไทยเท่านั้น
หากยังทรงศึกษาหลักวิชารัฐศาสตร์เป็นอย่างดีด้วย
ดังพระราชบันทึกของสมเด็จพระปกเกล้า เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม
พ.ศ. 2470 ว่า "พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
ทรงมีพระปรีชารอบรู้ในรัฐประศาสน์ประเพณีการปกครองอย่างที่
นิยมกันอยู่ในทวีปยุโรป ได้ทรงศึกษาทราบหลักการโดยตลอด"
ฉะนั้น
เมื่อทรงสถาปนาชาติสนามด้วยทฤษฎีและนโยบายที่ถูกต้องเพราะ
สอดคล้องกับหลักวิชาเป็นอย่างดีดังนี้แล้ว
จึงไม่เพียงแต่ระบบที่ทรงสร้างขึ้นจะมั่นคงถาวรและจีรังยั่งยืนมาจ
นถึงปัจจุบันเท่านั้น
หากยังมีประสิทธิภาพในการรักษาชาติไทยให้รอดพ้นจากอุ้งเล็บ
ของลัทธิอาณานิคมได้ด้วย
กระทรวงมหาดไทย
มีบทบาทสาคัญในการสถาปนาชาติสยามเพราะพระบาทสมเด็จพร
ะจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้กระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่
"จัดการปกครองหัวเมืองมห้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อรักษาพระรา
ชอาณาเขต" สมเด็จกรมพระยาดารงราชานุภาพ
พระบิดาของกระทรวงมหาดไทย
ทรงรับสนองหน้าที่นี้เป็นผลสาเร็จอย่างดียิ่ง
ก็เพราะทรงเป็นปราชญ์ในหลักวิชาทั้งปวงโดยเฉพาะคือหลักวิชา
รัฐศาสตร์ ซึ่งจาเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติหน้าที่โดยตรง
และข้าราชการกระทรวงมหาดไทยก็ได้รับสืบทอดหลักวิชานี้มาจ
นถึงปัจจุบัน
ซึ่งมีบุคคลหนึ่งที่กระผมคุ้นเคยและนับถือว่าเป็นชั้นยอดคนหนึ่งใน
ทางหลักวิชารัฐศาสตร์ จึงสามารถช่วยเหลือกระผมได้อย่างมาก
ในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ซึ่งร่างเดิมเป็นเผด็จการสุดขีด ให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2511
ที่ให้เสรีภาพทางการเมืองมากกว่ารัฐธรรมนูญฉบัยปัจจุบัน
เช่นผู้สมัคร ส.ส. จะสังกัดพรรคก็ได้ไม่สังกัดพรรคก็ได้ เป็นต้น
กล่าวเฉพาะปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดจะเห็นได้จากข้
อเขียนของท่านว่า "ในปัจจุบันนี้
มีบางท่านมีความเห็นว่าสมควรจะให้มีการเลือกตั้งตาแหน่งผู้ว่ารา
ชการจังหวัด โดยให้เหตุผลว่า
เพื่อให้การปกครองจังหวัดเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้นเช่นในสห
รัฐอเมริกา เรื่องนี้มีข้อที่ควรจะพิจารณาว่า สหรัฐมิใช่รัฐเดียว
(United States) เช่นประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส
และประเทศต่างๆในยุโรป ผู้ว่าการมลรัฐ (State Governor)
ต่างในสหรัฐอเมริกา
มีฐานะเช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรีของประเทศที่เป็นรัฐเดียว---"
(จากหนังสือ "อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพศาสตราจารย์ ทวี
แรงขา")
ซึ่งกระผมคัดลอกไปครั้งหนึ่งแล้วใน "คาชี้แจง" ฉบับที่ 6
บุคคลนั้นคือ อดีตอธิบดีกรมการปกครอง คุณชานาญ ยุวบูรณ์
ในขณะนี้ ทัศนะของคุณอารีย์ ก็ดี ของคุณชูวงศ์ ก็ดี
ก็ยังคงรักษาท่วงทานองสืบทอดหลักวิชาได้เป็นอย่างดี
ทาให้ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินซึ่งบรรพบุรุษสร้างไว้
ยังคงมีประสิทธิภาพในการรักษาชาติไทยให้พ้นภัยอันตราย
ซึ่งยังจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ นอกจากนี้คุณสุพร ผู้ว่าฯอุดรธานี
กล่าวว่า "ผู้ว่าฯ ในภูมิภาคเป็นตัวแทนรัฐบาล
ถ้าเลือกตั้งผู้ว่าฯท้องถิ่นคือนายก
อบจ.ก็ไม่ขัดข้องโดยแบ่งปันอานาจให้ชัดเจน
ส่วนผู้ว่าฯจังหวัดเลือกตั้งไม่ได้ ไม่มีที่ไหนในโลกเลือกกัน
เพราะเป็นตัวแทนรัฐบาลกลาง
ขอให้มองว่าบ้านเมืองขณะนี้เป็นอย่างไร ไม่ใช่ดูถูกประชาชน
แต่ถ้าถามประชาชนว่าต้องการเลือกตั้งผู้ว่าฯหรือไม่
ประชาชนก็ต้องเอา แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร" และ คุณประกิต เทพชนะ
ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า
"การเรียกร้องให้เลือกตั้งผู้ว่าฯคงมีอะไรอะไรแบแฝงอย่างแน่นอน
เป็นไปไม่ได้ที่หลังจากการเลือกตั้งผู้ว่าแล้วจะเคลื่อนไหวให้มีการเ
ลือกตั้งประธานาธิบดีต่อไป นอกจากนี้
ยังเสียประเพณีการปกครอง และอาจเสียดินแดนได้ง่ายขึ้น
การเคลื่อนไหวเลือกตั้งในจังหวัดภาคใต้ เช่น ปัตตานี นราธิวาส
ยะลา และสตูล เป็นกลลวง
ต่อไปคงต้องมีการแยกดินแดนอย่างแน่นอน
เพราะผู้ว่าฯเลือกตั้งจะเป็นกบฎ" ("มติชน" 30 ม.ค.37)
นี่ก็เป็นความเห็นจากจุดทัศนะหลักวิชา...
ที่กล่าวกันว่า
ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยคัด้านการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังห
วัดเพราะหลงอานาจนั้น กระผมไม่ออกความเห็น
แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่าทัศนะของข้าราชการกระทรวงมหาดไทย
ที่แสดงออกมานั้น หมุนอยู่รอบๆหลักวิชา
กระผมยึดถือข้อนี้เป็นสาคัญ
เมือทฤษฎีและนโยบายขัดแย้งกับหลักวิชา
จะต้องถือเอาหลักวิชาเป็นหลัก
เพราะทฤษฎีและนโยบายนั้นกาหนดขึ้นจากความต้องการของคน
จึงเปลี่ยนแปลงได้ และไม่แน่นอนว่าจะถูกต้องเสมอไป
แต่หลักวิชากาหนดขึ้นจากกฎของความจริงแท้(Reality)
ที่ดารงอยู่จึงเป็นสัจธรรมที่แน่นอนและถูกต้องเสมอไป
ฉะนั้น การโต้เถียงกันทางทฤษฎีและนโยบายจึงมักจะไม่จบ
ยิ่งต่างก็เป็นทฤษฎีและนโยบายที่ไม่ถูกต้องเพราะขัดกับหลักวิชาด้
วยกันด้วยแล้ว
ก็ยิ่งจะบานปลายและความขัดแย้งทางทฤษฎีมีผลร้ายอย่างไรเราไ
ด้เห็นกันอยู่แล้วอย่างน้อยในประเทศกัมพูชาติดกับบ้านเรา
ในปัจจุบันปัญหาร้ายแรงที่สุดของประเทศไทยก็คือความขัดแย้งท
างทฤษฎีนี่เอง กระผมขอยกเอาข้อเขียนประโยคแรกใน
"คาขี้แจง" ฉบับที่ 9 มาเสนอซ้าในที่นี้ว่า
"ปัญหาเป็นตายของประเทศไทยคือปัญหาความเห็น
เรียกเป็นศัพท์บาลีว่าปัญหาทิฏฐิ
เรียกเป็นศัพท์สันสกฤตว่าปัญหาทฤษฎี เรียกศัพท์อังกฤษว่า
Theoretical problem"
ขณะนี้เรามีปัญหาทฤษฎีที่สาคัญ
คือความขัดแย้งในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด
ซึ่งควรรีบแก้ไขความขัดแย้งทางทฤษฎีและนโยบายจะแก้ไขได้ด้
วยหลักวิชาเพราะหลักวิชาเป็นเครื่องตัดสินความถูกผิดของทฤษฎี
และนโยบายโดยเฉพาะปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น
ปัญหาหลักวิชา ฉะนั้น
จึงต้องยกระดับทฤษฎีและนโยบายขึ้นสู่หลักวิชา
โดยเปลี่ยนการโต้เถียงทางทฤษฎีและนโยบาย
มาเป็นการโต้เถียงทางหลักวิชา
คุณถวิล กล่าวว่า "หนังสือราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 23 ตุลาคม
33
พรรคความหวังใหม่ได้เขียนนโยบายไว้ในหมวดสิ่งแวดล้อมว่า
จะจัดให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน กานัน
ตลอดจนผู้ว่าราชการจังหวัด" ("ไทยรัฐ" 29 มกราคม 2537)
คุณเด่น โต๊ะมีนา
ก็"ยอมรับว่าพรรคความหวังใหม่ตอนหาเสียงว่าจะให้มีการเลือกตั้
งผู้ว่าราชการจังหวัด" (สยามโพสต์ 25 ม.ค.37) แต่หนังสือ
"สยามโพสต์" ฉบับเดียวกันเขียนไว้ว่า
พรรคความหวังใหม่ไม่มีนโยบายเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเพียง
แต่มีนโยบาย
"จะปรับปรุงการกระจายอานาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นให้มากขึ้
น"
และฉบับเดียวกันนี้เขียนไว้ว่าพรรคประชาธิปัตย์มีนโยบายจะให้เ
ลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในระยะ 5 ปีแรก และ "สมาพันธ์
ปชต.ถล่มรัฐบาลยับ ตระบัดสัตย์" ("บ้านเมือง" 31 ม.ค.37) ฯลฯ
กระผมเห็นว่า พรรคและกลุ่มต่างๆ
ไม่ควรจะโต้เถียงกันว่าพรรคตนกลุ่มตนทีหรือไม่มีนโยบายเลือกตั้
งผู้ว่าราชการจังหวัด หรือโต้เถียงกันว่าในการเลือกตั้งคนั้งที่แล้ว
ใครใช้นโยบายการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดหาเสียงหรือไม่
เพราะถ้าพรรคใดกลุ่มใดมีนโยบายนี้หรือได้ใช้นโยบายนี้หาเสียง
ก็เป็นนโยบาบที่ขัดต่อหลักวิชาด้วยกันทั้งนั้น
และถ้าจะนาเอานโยบายที่ขัดกับหลักวิชามาโต้เถียงกันต่อไป
ก็จะนาไปสู่ความขัดแย้งทางทฤษฎีที่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรง
ฉะนั้น ที่คุณบัญญัติ
กล่าวว่าควรยุติการโต้เถียงเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกั
นได้แล้ว จึงเป็นการเริ่มต้นแก้ไขความขัดแย้งด้วยวิถีที่ถูกต้อง
แต่หยุดการโต้เถียงกันเฉยๆก็ไม่แก้ปัญหาร
และคงจะหยุดไม่ได้ที่ทาได้คือหยุดการโต้เถียงทางนโยบาย
ควรเปลี่ยนมาเป็นการโต้เถียงทางหลักวิชา ซึ่งจะไม่เป็นอันตราย
เพราะการโต้เถียงทางหลักวิชาก็คือการศึกษารวมกันนั่นเอง
ซึ่งจะจบลงด้วยดี
เพราะหลักวิชาเป็นเครื่องตัดสินควาทถูกผิดของนโยบายและทฤษ
ฎี และนักการเมืองบ้านเราทุกคนอ้างตัวว่าเป็นนักประชาธิปไตย
ซึ่งจะต้องเคารพต่อหลักวิชาเพราะความเคารพต่อหลักวิชาเป็นคุ
ณสมบัติที่จะขาดเสียมิได้ของนักประชาธิปไตย
เพราะหลักวิชาเป็นความถูกต้อง
และความถูกต้องย่อมสอดคล้องกับผลประโยชน์ของประชาชนเสม
อไป
ผู้ไม่เคารพต่อหลักวิชาจึงไม่มีสิทธิ์ที่จะอ้างตัวว่าเป็นนักประชาธิปไ
ตย ฉะนั้น
การหยุดโต้เถียงทางทฤษฎีและนโยบายแล้วหันมาศึกษาหลักวิชาร่
วมกัน
จึงเป็นวิธีแก้ไขความขัดแย้งในปัญหานี้ที่มีประสิทธิภาพแน่นอน
หลักวิชาเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น ค่อนข้างยาก
เพราะเป็นนามธรรมอย่างมาก จึงต้องศึกษาให้ดี
เท่าที่โต้เถียงกันมาแสดงให้เห็นว่าต่างฝ่ายยังไม่รู้พอ
และถ้าพรรคใดมีนโยบายเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด
หรือมีผู้ใดเอานโยบายเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดไปหาเสียงในก
ารเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ก็ไม่แปลก
เพราะความผิดพลาดบกพร่องในปัญหานี้เป็นของธรรมดา
และถ้าพรรคการเมืองกลุ่มการเมืองหรือนักการเมืองยอมรับความผิ
ดพลาดบกพร่องต่อประชาชนก็จะเป็นเกรียติยศอย่างสูง
และเป็นที่ชื่นชมยินดีแก่ประชาชนการยืนยันสิ่งที่ผิดจะทาให้ประช
าชนเสื่อมความเชือถือ
การที่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยเข้าใจปัญหานี้ได้ดีกว่าผู้อื่นค
งไม่ใช่เพราะเหนือกว่าผู้อื่น
แต่เพราะคลุกคลีอยู่กับปัญหานี้มาตลอด
บ้านเรา มีการโต้เถียงกันเปล่าๆเกิดขึ้นบ่อยๆ
เช่นการโต้เถียงเรื่องพระราชทานอภัยโทษ ตามที่กระผมเขียนไว้
"คาชี้แจง" ฉบับที่ 11 และการโต้เถียงเรื่อง ก.ตร.
ซึ่งมีการพูดกันถึงการถ่วงดุลระหว่างข้าราชการการเมืองกับข้ารา
ชการประจา ดุลแห่งอานาจในแต่ละกระทรวงนั้น
ไม่มีการถ่วงดุลระหว่างเจ้ากระทรวงกับส่วนราชการของกระทรวง
เพราะระบบราชการจะต้องขึ้นต่อระบบการเมืองโดยปราศจากเงื่อ
นไข ซึ่งเป็นหลักวิชาที่จะต้องยึกถือกันทุกประเทศ
ไม่ว่าจะมีรูปของการปกครองหรือรูปของรัฐเป็นอย่างใด
ระหว่างเจ้ากระทรวงกับส่วนราชการในกระทรวงนั้น
เจ้ากระทรวงเป็นผู้ถือดุล ไม่ใช่เป็นคู่ถ่วงดุล
คู่ถ่วงดุลมีแต่ภายในระบบการเมือง
โดยเฉพาะคือระหว่างอานาจนิติบัญญัติกับอานาจบริหาร ถ้าจะเอา
ก.ตร. มาถ่วงดุลกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ก็จะกลายสภาพอนาธิปไตย จึงเห็นได้ว่า
การโต้เถียงกันในเรื่องนี้เกิดจากความบกพร่องในหลักวิชาซึ่งเป็น
การโต้เถียงกันเปล่าๆ ถ้ายกระดับหลักวิชาให้สูงขึ้น
การโต้เถียงชนิดนี้ก็จะหมดไป
จึงเป็นการถูกต้องที่ในการโต้เถียงเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจัง
หวัดครั้งนี้
บางคนเรียกร้องให้คู่โต้เถียงไปศึกษาวิชารัฐศาสตร์เสียใหม่
ซึ่งควรจะเป็นการเรียกร้องต่อตนเองด้วย
เพื่อจะได้เปลี่ยนการโต้เถียงทางทฤษฎีและนโยบาย
มาเป็นการโต้เถียงหลักวิชาก็คือร่วมกันในการเพิ่มพูนการศึกษาห
ลักวิชารัฐศาสตร์ในเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดนั่นเอง
สมัยนี้ ไม่มีศาลฎีกาทางหลักวิชา
สมัยก่อนเมื่อเกิดปัญหาทางหลักวิชา มี "ท่านวรรณ" เป็นผู้ตัดสิน
การโต้เถียงชนิดที่เป็นอยู่อย่างเดี๋ยวนี้จึงไม่ใคร่มี ฉะนั้น
สมัยนี้จึงต้องศึกษาเอาเอง เพื่อตัดสินเองได้
และที่ดีคือศึกษาร่วมกัน
โดยเปลี่ยนการโต้เถียงทางทฤษฎีและนโยบาย
มาเป็นการโต้เถียงทางหลักวิชาดังกล่าวแล้ว
อย่างไรก็ดี กระผมรู้สึกว่า
ตั้งแต่การโต้เถียงกันครั้งก่อนจนถึงครั้งนี้
นักการเมืองมีความก้าวหน้าขึ้นเป็นลาดับ
จะเห็นได้จากข่าวพาดหัวของ "มติชนฯ" 29 มกราคม2537 ว่า
"ชวน ประกาศจุดยืนชัด ผู้ว่าฯต้องมาจากการแต่งตั้ง"
และเนื้อข่าวว่า "ชวน เลิกอ้อมแอ้มแล้ว
ประกาศเปรี้ยงผู้ว่าฯแต่งตั้งต้องมีอยู่ต่อไป เลิกไม่ได้" และข่าว
"ไทยรัฐ" 29 มกราคม2537 ว่า
"ส่วนการที่กระทรวงมหาดไทยจะเพิ่มอานาจให้ผู้ว่าฯควบคุมได้ทุ
กส่วนราชการในจังหวัดนั้น นายถวิล กล่าวว่า
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นตัวแทนจากส่วนกลาง
ผู้ว่าฯก็ควรจะขึ้นกับสานักนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ขึ้นกับมหาดไทย"
ซึ่งแสดงว่าคุณถวิล
ก็ยอมรับว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนของส่วนกลาง
คือเป็นผู้แทนของรัฐบาล
ส่วนจะขึ้นต่อมหาดไทยหรือต่อสานักนายกก็ค่อยพิจารณากันต่อไ
ป ทั้งนี้เป็นนิมิตหมายที่ดีว่า
จะสามารถยกระดับทฤษฎีและนโยบายในปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าร
าชการจังหวัดสู่หลักวิชา ซึ่งจะแก้ไขความขัดแย้งได้
และกระผมขอย้าว่า
ปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นปัญหาหลักวิชา
ซึ่งจะต้องใช้ความรู้ในหลักวิชาเป็นทางแก้ไขความขัดแย้งปัญหา
หลักวิชานั้นจะใช้สิ่งอื่นนอกจากความรู้มาแก้ปัญหามิได้ เช่น
ไฟฟ้าในบ้านเสีย จะต้องหาช่างไฟฟ้ามาแก้
ถ้าจะเอาประชามติของคนในบ้านซึ่งไม่มีความรู้ไฟฟ้ามาแก้
อาจทาให้เกิดการลัดวงจรไฟไหม้บ้านหมดทั้งหลัง
และถ้าจะเอาประชามติของคนในบ้านมาแก้ไฟฟ้าประชามตินั้นก็จ
ะต้องมีความรู้ไฟฟ้า
การแก้ไขความขัดแย้งเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้อง
ใช้ความรู้วิชารัฐศาสตร์มาแก้ไข
จะใช้มติมหาชนที่ยังไม่รู้วิชารัฐศาสตร์มาแก้ปัญหาได้ไม่
อย่างที่ผู้ว่าราชการจังหวัดคนหนึ่งกล่าวว่าไม่ใช่ดูถูกประชาชนนั้
นถูกแล้ว เพราะประชาชนทั่วไปยังไม่รู้วิชารัฐศาสตร์ในเรื่องนี้
เขารู้แต่ทฤษฎีและนโยบาย
เช่นถ้าถามประชาชนว่าเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดดีไหม?
ก็จะตอบว่าดี แต่มันขัดกับหลักวิชาจึงเป็นทฤษฎีและนโยบายที่ผิด
และจะเกิดผลร้าย ฉะนั้น
การใช้มติมหาชนมาแก้ไขความขัดแย้งในปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่า
ราชการจังหวัดก็จะเป็นเช่นเดียวกับการใช้ประชามติของคนในบ้า
นมาแก้ไฟฟ้า
ถ้าไม่ใช้ความรู้มาแก้ปัญหาหลักวิชา
ก็จะทาให้ความขัดแย้งทางทฤษฎีในเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ
จังหวัด กลายเป็นความขัดแย้งที่ร้ายแรงยิ่ง
เพราะโดยเนื้อแท้เป็นความขัดแย้งระหว่างการแบ่งแยกประเทศกับ
การไม่ยอมแบ่งประเทศ
และระหว่างการเป็นราชอาณาจักรกับการเป็นสาธารณรัฐ
ซึ่งสาหรับประเทศไทยแล้วจะไม่มีความขัดแย้งใดๆที่ยิ่งไปกว่านี้
และถ้าไม่แก้ไข
พัฒนาการของมันก็จะมีมิคสัญญีกลียุคเป็นจุดจบแต่ทางเดียวเท่านั้
น
แต่บางพรรค บางคณะ บางกลุ่ม
อาจเห็นว่สมิคสัญญีเป็นทางสร้างประชาธิปไตย
เขาจึงต้องการให้ประเทศไทยเกิดมิคสัญญีกลียุคเช่นเดียวกับเกิดส
งครามกลางเมือง 10 กว่าปีครั้งที่แล้ว
ก็เป็นความจริง ที่บางประเทศในบางยุคบางสมัย
มิคสัญญีกลียุคเป็นทางสร้างประชาธิปไตย
เช่นมหาปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อศตวรรษที่ 18
แต่สาหรับประเทศไทยยุคปัจจุบัน
ทางแห่งการสร้างประชาธิปไตยจะต้องเป็นทางสันติและสามัคคีแห่
งชาติ
ทางแห่งมิคสัญญีกลียุคนอกจากจะเป็นทางไปสู่ความวินาศย่อยยับ
แล้ว ยังจะเป็นทางกระชับระบอบเผด็จการอีกด้วย
เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ กระผมจะขอชี้แจงในโอกาสต่อไป...
ซึ่งเศรษฐกิจทุนนิยมเริ่มแตกหน่อ คือ ไทย จีน และญี่ปุ่น
ซึ่งได้ทาการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่
อย่างเดียวกันในประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอ
ยู่หัว
ได้ทรงดาเนินการโดยนาเอาสภาพของยุโรปและไทยมาประกอบกั
นด้วยพระปรีชาญาณอันยิ่งยวด
และก่อนที่จะทรงดาเนินการเปลี่ยนแปลงทรงฝากกรมหลวงเทววง
ศ์วโรปการ
เมื่อครั้งเสด็จเป็นผู้แทนพระองค์ไปร่วมงานรัชกาลครบรอบ ๕๐ ปี
ของสมเด็จพระบรมราชินีวิคเตอเรีย
ให้ทรงทอดพระเนตรการเปลี่ยนแปลงการปกครองในยุโรปเมื่อทร
งได้รับรายงานและพิจารณาอย่างสุขุมรอบคอบแล้ว
ทรงตกลงพระราชหฤทัยเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยใช้วิธีรวมป
ระเทศแบบรัฐเดียว
ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองส่วนกลางจาก ๖ กรมเดิมตั้งเป็น ๑๒
กระทรวง ๖ กรมเดิมคือ กรมกลาโหม กรมมหาดไทย กรมเมือง
กรมคลัง และกรมนา ยกเป็นกระทรวง และเพิ่มอีก ๖ กระทรวง คือ
กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงยุทธนาธิการ กระทรงยุติธรรม
กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวงมุรธร เป็น ๑๒ กระทรวง
การปกครองส่วนกลางในหัวเมืองจัดจัดเป็นมณฑล
โดยรวบรวมหัวเมืองชายแดน ๕-๖ หัวเมือง ตั้งเป็นมณฑลหนึ่ง
โปรดเกล้าฯ ให้เชื้อพระวงศ์
และข้าราชการผู้ใหญ่ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครองทลฑ
ล ต่อมาจักรูปมณฑลใหม่ เรียกว่ามณฑลเทศาพิบาล
โดยรวมหัวเมืองชั้นใน ๒-๓ หัวเมือง
ตั้งเป็นมณฑลหนึ่งทั่วราชอาณาจักร
มีสมหเทศาภิบาลแต่งตั้งจากส่วนกลางเป็นผู้ปกครอง
แบ่งมณฑลออกเป็นจังหวัด มีข้าหลวงจังหวัด(ผู้ว่าราชการจังหวัด)
เป็นผู้ปกครอง แบ่งจังหวัดเป็นอาเภอ
มีนายอาเภอเป็นผู้ปกครองแบ่งอาเภอเป็นตาบล
มีกานันเป็นผู้ปกครอง และแบ่งตาบลออกเป็นหมู่บ้าน
มีผู้ใหญ่บ้านปกครอง นี่คือการปกครองส่วนกลางในหังเมือง
ซึ่งเรียกว่าเทศาภิบาลหรือ Provincial administration
ต่อมาเรียกว่าการปกครองส่วนภูมิภาค และอาเภอ
ตาบลและหมู่บ้านรวมกันเรียกว่าการปกครองส่วนท้องที่ หรือ
Rural administration และถือเป็นการปกครองครองพื้นฐาน
ในขณะเดียวกันในท้องถิ่นที่เจริญ จัดให้มีการปกครองสุขาภิบาล
ซึ่งเป็นการปกครองท้องถิ่นหรือ Local administration
อย่างยุโรป
การปกครองท้องที่ในส่วนของกานัน ผู้ใหญ่บ้าน
และการปกครองท้องถิ่น มีความมุ่งหมายตรงกันอยู่อย่างหนึ่งคือ
เพื่อฝึกหัดทดลองประชาธิปไตยแก่ประชาชน กานัน
ผู้ใหญ่บ้านนั้น แม้ว่าจะอยู่ในการปกครองส่วนภูมิภาค
แต่กาหนดให้เป็นผู้แทนของประชาชนร่วมทากับข้าราชการระัดับ
อาเภอ ซึ่งเป็นผู้แทนของของรัฐบาล
และให้มีการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
เมื่อเลือกตั้งแล้วต้องได้รับการแต่งตั้งได้รับหมายตั้งจากผู้ว่าราชก
ารจังหวัด
และประชาชนถอดผู้ใหญ่บ้านได้ส่วนกานันเลือกตั้งโดยผู้ใหญ่บ้า
น
การปกครองท้องถิ่นคือการปกครองตนเองของประชาชนในขอบเ
ขตที่แน่นอนที่ปฏิบัตกันอยู่ในอารยะประเทศ
ในการปฎิบัติพระราชกรณียกิจสถาปนาการปกครองแบบประชาธิ
ปไตยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงมีแผนพระราชดาริจะขยายการใชพระราชบัญญัติสุขาภิบาลอ
อกไปทั่วประเทศเพื่อฝึกหัดอบรมประชาธิปไตยแก่ประชาชน
โดยเฉพาะคือการเลือกตั้งแบประชาธิปไตย
ต้องเปลี่ยนแปลงการปกครอง
โดยรวมเขตแคว้นและหัวเมืองฟิวดัลให้เข้ามาอยู่ภายใต้นครหลวง
อันเดียวกัน
ไม่กระจัดกระจายกันอยู่หรือขึ้นต่อนครหลวงอย่างหลวมๆ
เหมือนแต่ก่อน
กระบวนการนี้คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงรัฐแบบเก่าหรือรัฐฟิวดัล
มาเป็นรัฐแบบใหม่หรือรัฐแห่งชาติก็คือกระบวนการรวมประเทศ
รวมราชอาณาจักร รวมชาติหรือก่อตั้งกอตั้งชาติ(Nation)
ซึ่งเป็นเงื่อนไขอันจาเป็นของพัฒนาการของระบบทุนนิยมนั่นเอง
การรวมชาติหรือรวมประเทศ กล่าวโดยทั่วไปมี ๒ วิธี
คือวิธีรัฐเดียว (Unitary state)และวิธีหลายรัฐ (Multi-state)อย่าง
อังกฤษ ฝรั่งเศส สะแกนดิเนเวีย ใช้วิธีรัฐเดียว อย่างเช่น — กับ
วัจนาพร พันธุมะโน
แบบประชาธิปไตย
ทรงมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปรับปรุงพระราชบัญญัติสุขาภิบาลให้ส
มบูรณ์ยิ่งขึ้น
และให้เปลี่ยนชื่อเป็นพระราชบัญญัติเทศบาลกาลังออกกฎหมายฉ
บับนี้อยู่แล้วก็เกิดการยึดอานาจ ๒๔ มิถุนายน เสียก่อน
และคณะราษฎรนามาแก้ไขเพิ่มเติมประกาศใช้
นี่คือสาระสาคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครองของพระบาทสม
เด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ ๑๐๐ ปีก่อน
ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงบ้างในส่วนปลีกย่อย
เช่นยกเลิกมณพลเทศาภิบาลใช้จังหวัดแทนมณฑล
ขยายการปกครองส่วนท้องถิ่นออกไปเป็นองค์การปกครองบริหาร
ส่วนจังหวัดและตั้งสภาตาบล เป็นต้น
แต่หลักการคงเดิมภายใต้หลักการพื้นฐานคือยกเลิกรัฐเจ้าครองน
ครหรือฟิวดัลสถาปณารัฐแห่งชาติในรูปรัฐเดียว
โดยเฉพาะใกล้เคียงที่สุดกับฝรั่งเศส
ปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นปัญหาหลักวิชา ถ้าไม่ยึดถือ จะนำประเทศไปสู่มิคส
ปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นปัญหาหลักวิชา ถ้าไม่ยึดถือ จะนำประเทศไปสู่มิคส
ปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นปัญหาหลักวิชา ถ้าไม่ยึดถือ จะนำประเทศไปสู่มิคส
ปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นปัญหาหลักวิชา ถ้าไม่ยึดถือ จะนำประเทศไปสู่มิคส
ปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นปัญหาหลักวิชา ถ้าไม่ยึดถือ จะนำประเทศไปสู่มิคส
ปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นปัญหาหลักวิชา ถ้าไม่ยึดถือ จะนำประเทศไปสู่มิคส
ปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นปัญหาหลักวิชา ถ้าไม่ยึดถือ จะนำประเทศไปสู่มิคส
ปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นปัญหาหลักวิชา ถ้าไม่ยึดถือ จะนำประเทศไปสู่มิคส
ปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นปัญหาหลักวิชา ถ้าไม่ยึดถือ จะนำประเทศไปสู่มิคส
ปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นปัญหาหลักวิชา ถ้าไม่ยึดถือ จะนำประเทศไปสู่มิคส
ปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นปัญหาหลักวิชา ถ้าไม่ยึดถือ จะนำประเทศไปสู่มิคส
ปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นปัญหาหลักวิชา ถ้าไม่ยึดถือ จะนำประเทศไปสู่มิคส
ปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นปัญหาหลักวิชา ถ้าไม่ยึดถือ จะนำประเทศไปสู่มิคส
ปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นปัญหาหลักวิชา ถ้าไม่ยึดถือ จะนำประเทศไปสู่มิคส

More Related Content

Viewers also liked

Hipervinculo 1 e_damian
Hipervinculo 1 e_damianHipervinculo 1 e_damian
Hipervinculo 1 e_damianDamian09
 
Treatment of Moderate Lumbar Spinal Stenosis with the Superion™ Interspinous ...
Treatment of Moderate Lumbar Spinal Stenosis with the Superion™ Interspinous ...Treatment of Moderate Lumbar Spinal Stenosis with the Superion™ Interspinous ...
Treatment of Moderate Lumbar Spinal Stenosis with the Superion™ Interspinous ...LABSI
 
[Palestra] Eduardo Castilho: Como a integração lavoura-pecuária vai aumentar...
[Palestra] Eduardo Castilho:  Como a integração lavoura-pecuária vai aumentar...[Palestra] Eduardo Castilho:  Como a integração lavoura-pecuária vai aumentar...
[Palestra] Eduardo Castilho: Como a integração lavoura-pecuária vai aumentar...AgroTalento
 
A35 afluf agl_09_phanloailinhvuc
A35 afluf agl_09_phanloailinhvucA35 afluf agl_09_phanloailinhvuc
A35 afluf agl_09_phanloailinhvucPhi Phi
 
Tapping into dark social conversations
Tapping into dark social conversationsTapping into dark social conversations
Tapping into dark social conversationsCarve
 
Apostila-2012-aprenda-ler-uma-partitura-pdf
 Apostila-2012-aprenda-ler-uma-partitura-pdf Apostila-2012-aprenda-ler-uma-partitura-pdf
Apostila-2012-aprenda-ler-uma-partitura-pdfGuilherme Pereira
 

Viewers also liked (8)

Hipervinculo 1 e_damian
Hipervinculo 1 e_damianHipervinculo 1 e_damian
Hipervinculo 1 e_damian
 
Dia1
Dia1Dia1
Dia1
 
Treatment of Moderate Lumbar Spinal Stenosis with the Superion™ Interspinous ...
Treatment of Moderate Lumbar Spinal Stenosis with the Superion™ Interspinous ...Treatment of Moderate Lumbar Spinal Stenosis with the Superion™ Interspinous ...
Treatment of Moderate Lumbar Spinal Stenosis with the Superion™ Interspinous ...
 
[Palestra] Eduardo Castilho: Como a integração lavoura-pecuária vai aumentar...
[Palestra] Eduardo Castilho:  Como a integração lavoura-pecuária vai aumentar...[Palestra] Eduardo Castilho:  Como a integração lavoura-pecuária vai aumentar...
[Palestra] Eduardo Castilho: Como a integração lavoura-pecuária vai aumentar...
 
A35 afluf agl_09_phanloailinhvuc
A35 afluf agl_09_phanloailinhvucA35 afluf agl_09_phanloailinhvuc
A35 afluf agl_09_phanloailinhvuc
 
Tapping into dark social conversations
Tapping into dark social conversationsTapping into dark social conversations
Tapping into dark social conversations
 
Speed of Trust
Speed of TrustSpeed of Trust
Speed of Trust
 
Apostila-2012-aprenda-ler-uma-partitura-pdf
 Apostila-2012-aprenda-ler-uma-partitura-pdf Apostila-2012-aprenda-ler-uma-partitura-pdf
Apostila-2012-aprenda-ler-uma-partitura-pdf
 

ปัญหาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นปัญหาหลักวิชา ถ้าไม่ยึดถือ จะนำประเทศไปสู่มิคส