SlideShare a Scribd company logo
1 of 4
เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้             1. เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส  มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น    2. เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น<br />    3. เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ สินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น <br />    4. เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด  เป็นต้น การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ ตามพิธีสารกรุงมาดริด (Madrid Protocol) <br />    ปัจจุบันผู้ประกอบการค้า  ได้ใช้เครื่องหมายการค้าเป็นเครื่องมือนำทางการค้า  ทั้งภายในประเทศและการส่งออกสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ  เจ้าของเครื่องหมายการค้าจึงมีความจำเป็นต้องจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองสิทธิในประเทศต่าง ๆ ก่อนส่งสินค้าไปจำหน่าย   เพื่อป้องกันปัญหาการละเมิดเครื่องหมายการค้า  และมิให้ผู้ใดนำเครื่องหมายการค้าของตนไปจดทะเบียนในต่างประเทศโดยมิได้เป็นเจ้าของ  กรมทรัพย์สินทางปัญญา  ได้มีนโยบายในการส่งเสริมการให้บริการขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศด้วยความสะดวก  รวดเร็ว  และประหยัดค่าใช้จ่าย  ด้วยการศึกษาแนวทางการเข้าเป็นภาคีพิธีสารกรุงมาดริด (Madrid Protocol) <br />    หากประเทศไทย เข้าเป็นภาคีพิธีสารกรุงมาดริด ผู้ประกอบการหรือผู้ส่งออกของไทยก็จะได้รับประโยชน์ที่จะสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพื่อขอรับความคุ้มครองในประเทศต่าง ๆ ได้ หลายประเทศในคราวเดียวกัน  โดยยื่นคำขอจดทะเบียนเพียงคำขอเดียว ใช้เพียงภาษาเดียว(อังกฤษ  ฝรั่งเศส หรือสเปน)  และเสียค่าธรรมเนียมเพียงครั้งเดียว  ซึ่งก็จะทำให้ได้รับความสะดวก รวดเร็วในการยื่นคำขอจดทะเบียน และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางอีกด้วย <br />ขั้นตอนการจดทะเบียน <br />การยื่นคำขอ    ให้ยื่นต่อสำนักงานระหว่างประเทศ (International Bureau)  ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO)  โดยยื่นผ่านสำนักงานทะเบียนต้นกำเนิดของประเทศผู้ขอ  ซึ่งจะดำเนินการตรวจสอบและรับรองว่าเครื่องหมายที่ยื่น  สินค้าและ/หรือบริการที่ระบุ  เหมือนกับคำขอรากฐาน (Basic Application)  หรือทะเบียนรากฐาน (Basic Registration)    คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จะนำไปยื่นขอจดทะเบียนระหว่างประเทศตามพิธีสารกรุงมาดริดได้นั้น  ต้องเป็นคำขอที่มีการยื่นขอจดทะเบียน หรือได้รับการจดทะเบียนไว้แล้วในประเทศต้นกำเนิด <br />การจดทะเบียน  การจดทะเบียนแบ่งออกเป็น  2 ขั้นตอน คือ     1.  ขั้นตอนระหว่างประเทศ     เมื่อสำนักงานระหว่างประเทศได้รับคำขอจดทะเบียน จะดำเนินการตรวจสอบเบื้องต้น (Formal Examination)  ในเรื่องความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของพิธีสารกรุงมาดริดและกฎข้อบังคับพิธีสารกรุงมาดริด (Common Regulations)  การระบุจำพวกและรายการสินค้าและ/หรือบริการ ว่าเป็นไปตาม Nice Classification  หรือไม่  รวมทั้งการชำระค่าธรรมเนียม หากมีข้อบกพร่อง  สำนักงานระหว่างประเทศจะแจ้งไปยังประเทศที่มีการยื่นคำขอและผู้ยื่นคำขอ  ทั้งนี้ ผู้ยื่นคำขอจะต้องแก้ไขภายใน 3 เดือน มิฉะนั้นจะถือว่าละทิ้งคำขอ     2.  ขั้นตอนในประเทศ     เมื่อประเทศภาคีที่ผู้ยื่นคำขอประสงค์จะได้รับความคุ้มครองได้รับคำขอแล้ว จะดำเนินการตรวจสอบคำขอดังกล่าวตามขั้นตอนปกติที่ใช้สำหรับการตรวจสอบคำขอที่ยื่นในประเทศ  โดยจะตรวจสอบเนื้อหาสาระ (Substantive Examination)  โดยตรวจสอบตามกฎหมายภายในของตน เช่น ตรวจสอบความเหมือนคล้าย ลักษณะบ่งเฉพาะหรือลักษณะต้องห้าม เป็นต้น หากมีข้อบกพร่องต้องดำเนินการแก้ไขตามกฎหมายภายในของประเทศนั้น ๆ      หากมีเหตุที่ต้องปฏิเสธการรับจดทะเบียน  จะต้องแจ้งให้สำนักงานระหว่างประเทศทราบภายในกำหนด 12 เดือน หรือ 18 เดือน หรือหลังจากนั้น (กรณีมีคำร้องคัดค้าน)มิฉะนั้นจะถือว่าเครื่องหมายดังกล่าวได้รับการจดทะเบียนในประเทศที่ขอจดทะเบียนนั้นแล้ว <br />วันจดทะเบียน มี 2 กรณี ดังนี้      1)  คือวันยื่นคำขอจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนต้นกำเนิด หากคำขอดังกล่าวถึงสำนักงานระหว่างประเทศภายใน 2 เดือน      2)  หากเกิน 2 เดือน ให้ถือวันที่สำนักงานระหว่างประเทศได้รับคำขอเป็นวันจดทะเบียน <br />อายุความคุ้มครอง      10 ปี นับตั้งแต่วันรับจดทะเบียน และต่ออายุได้อีกคราวละ 10 ปี การต่ออายุสามารถต่ออายุได้ก่อนวันสิ้นอายุ 6 เดือน หรือหลังสิ้นอายุแล้วภายใน 6 เดือนก็ได้  แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มร้อยละ 50 ของค่าธรรมเนียมเบื้องต้น (Basic fee)  ทั้งนี้ สามารถต่ออายุเฉพาะบางประเทศ หรือทุกประเทศที่ได้รับความคุ้มครองก็ได้                  <br />ค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศมี 4 ประเภท คือ      1)  Basic fee  เป็นค่าธรรมเนียมเบื้องต้นสำหรับการยื่นคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศหนึ่งคำขอ             -  เครื่องหมายขาว-ดำ 653  สวิสฟรังค์             -  เครื่องหมายที่เป็นสี 903  สวิสฟรังค์        2)  Supplementary fee  เป็นค่าธรรมเนียมสำหรับจำพวกสินค้าและ/หรือบริการ  ที่ยื่นขอจดทะเบียนเกิน 3 จำพวก โดยเสียค่าธรรมเนียมตั้งแต่จำพวกที่ 4 ขึ้นไป  จำพวกละ 73 สวิสฟรังค์                                    3)  Complementary fee  เป็นค่าธรรมเนียมสำหรับประเทศที่ระบุเพื่อขอจดทะเบียน ประเทศละ  73  สวิสฟรังค์        4)  Individual fee  เป็นค่าธรรมเนียมเฉพาะประเทศ<br />ตราสินค้า หรือ แบรนด์ (อังกฤษ: brand) เป็นรูปแบบของภาพพจน์และไอเดียที่แสดงถึงสินค้า ผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสดงถึง ชื่อ โลโก้ สโลแกน และผลงานออกแบบของตัวสินค้า ตราสินค้าเป็นข้อมูลในเชิงมโนธรรม ที่แสดงออกในทางรูปธรรมของสัญลักษณ์ที่สื่อถึงบริษัท สินค้า บริการ หรือกลุ่มผู้ขายที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน การสร้างตราสินค้าให้ติดตลาดทำได้จากการโฆษณา การบอกต่อ การออกแบบที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ในปัจจุบันการสร้างตราสินค้ากลายมาเป็นจุดสำคัญของวัฒนธรรมและปรัชญาการออกแบบ<br />ตราสินค้าประกอบด้วย ชื่อตราสินค้า (brand name) คือส่วนที่สามารถอ่านออกเสียงได้ เช่น ผงซักฟอกบรีส ยาสีฟันคอลเกต เครื่องดื่มเป๊ปซี่ เป็นต้น และ เครื่องหมายตราสินค้า (brandmark) คือส่วนที่ไม่สามารถอ่านออกเสียงได้ แต่สามารถจดจำได้อาทิ สัญลักษณ์ รูปแบบ สีสัน ตัวอักษรประดิษฐ์ เสียง เช่น อักษรตัว R ของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน เสียงเปิดตราสินค้าของอินเทล เป็นต้น หากเป็นภาพสัญลักษณ์อย่างเดียวส่วนนี้อาจเรียกว่าเป็น เครื่องหมายสัญลักษณ์ (logo) ได้เช่นกัน<br />
เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้า

More Related Content

Viewers also liked

Discipline Change
Discipline ChangeDiscipline Change
Discipline Changesk8deveise
 
Aboutflyeye.0810
Aboutflyeye.0810Aboutflyeye.0810
Aboutflyeye.0810zacmurphy
 
โปรแกรมการเรียน
โปรแกรมการเรียนโปรแกรมการเรียน
โปรแกรมการเรียนFlamethanatos
 
Trail Voluntour Cochamo 3.0
Trail Voluntour Cochamo 3.0Trail Voluntour Cochamo 3.0
Trail Voluntour Cochamo 3.0StewartWLasseter
 
Practical water data
Practical water dataPractical water data
Practical water dataalijsheridan
 
Cleaning products presentation
Cleaning products presentationCleaning products presentation
Cleaning products presentationalijsheridan
 

Viewers also liked (8)

General energy
General energyGeneral energy
General energy
 
Discipline Change
Discipline ChangeDiscipline Change
Discipline Change
 
Aboutflyeye.0810
Aboutflyeye.0810Aboutflyeye.0810
Aboutflyeye.0810
 
Clase3
Clase3Clase3
Clase3
 
โปรแกรมการเรียน
โปรแกรมการเรียนโปรแกรมการเรียน
โปรแกรมการเรียน
 
Trail Voluntour Cochamo 3.0
Trail Voluntour Cochamo 3.0Trail Voluntour Cochamo 3.0
Trail Voluntour Cochamo 3.0
 
Practical water data
Practical water dataPractical water data
Practical water data
 
Cleaning products presentation
Cleaning products presentationCleaning products presentation
Cleaning products presentation
 

Similar to เครื่องหมายการค้า

เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าmay1636
 
เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าmay1636
 

Similar to เครื่องหมายการค้า (15)

เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้า
 
งาน อ.อินทิรา
งาน อ.อินทิรางาน อ.อินทิรา
งาน อ.อินทิรา
 
งาน อ.อินทิรา
งาน อ.อินทิรางาน อ.อินทิรา
งาน อ.อินทิรา
 
เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้า
 
เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้า
 
เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้า
 
เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้า
 
เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้า
 
เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้า
 
เครื่องหมายการค้า2
เครื่องหมายการค้า2เครื่องหมายการค้า2
เครื่องหมายการค้า2
 
เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้า
 
เครื่องหมายการค้า2
เครื่องหมายการค้า2เครื่องหมายการค้า2
เครื่องหมายการค้า2
 
เครื่องหมายการค้า2
เครื่องหมายการค้า2เครื่องหมายการค้า2
เครื่องหมายการค้า2
 
เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้า
 
เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้า
 

เครื่องหมายการค้า

  • 1. เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้             1. เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส  มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น    2. เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น<br />    3. เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ สินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น <br />    4. เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด  เป็นต้น การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ ตามพิธีสารกรุงมาดริด (Madrid Protocol) <br />    ปัจจุบันผู้ประกอบการค้า  ได้ใช้เครื่องหมายการค้าเป็นเครื่องมือนำทางการค้า  ทั้งภายในประเทศและการส่งออกสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ  เจ้าของเครื่องหมายการค้าจึงมีความจำเป็นต้องจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองสิทธิในประเทศต่าง ๆ ก่อนส่งสินค้าไปจำหน่าย   เพื่อป้องกันปัญหาการละเมิดเครื่องหมายการค้า  และมิให้ผู้ใดนำเครื่องหมายการค้าของตนไปจดทะเบียนในต่างประเทศโดยมิได้เป็นเจ้าของ  กรมทรัพย์สินทางปัญญา  ได้มีนโยบายในการส่งเสริมการให้บริการขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศด้วยความสะดวก  รวดเร็ว  และประหยัดค่าใช้จ่าย  ด้วยการศึกษาแนวทางการเข้าเป็นภาคีพิธีสารกรุงมาดริด (Madrid Protocol) <br />    หากประเทศไทย เข้าเป็นภาคีพิธีสารกรุงมาดริด ผู้ประกอบการหรือผู้ส่งออกของไทยก็จะได้รับประโยชน์ที่จะสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพื่อขอรับความคุ้มครองในประเทศต่าง ๆ ได้ หลายประเทศในคราวเดียวกัน  โดยยื่นคำขอจดทะเบียนเพียงคำขอเดียว ใช้เพียงภาษาเดียว(อังกฤษ  ฝรั่งเศส หรือสเปน)  และเสียค่าธรรมเนียมเพียงครั้งเดียว  ซึ่งก็จะทำให้ได้รับความสะดวก รวดเร็วในการยื่นคำขอจดทะเบียน และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางอีกด้วย <br />ขั้นตอนการจดทะเบียน <br />การยื่นคำขอ    ให้ยื่นต่อสำนักงานระหว่างประเทศ (International Bureau)  ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO)  โดยยื่นผ่านสำนักงานทะเบียนต้นกำเนิดของประเทศผู้ขอ  ซึ่งจะดำเนินการตรวจสอบและรับรองว่าเครื่องหมายที่ยื่น  สินค้าและ/หรือบริการที่ระบุ  เหมือนกับคำขอรากฐาน (Basic Application)  หรือทะเบียนรากฐาน (Basic Registration)    คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จะนำไปยื่นขอจดทะเบียนระหว่างประเทศตามพิธีสารกรุงมาดริดได้นั้น  ต้องเป็นคำขอที่มีการยื่นขอจดทะเบียน หรือได้รับการจดทะเบียนไว้แล้วในประเทศต้นกำเนิด <br />การจดทะเบียน  การจดทะเบียนแบ่งออกเป็น  2 ขั้นตอน คือ     1.  ขั้นตอนระหว่างประเทศ     เมื่อสำนักงานระหว่างประเทศได้รับคำขอจดทะเบียน จะดำเนินการตรวจสอบเบื้องต้น (Formal Examination)  ในเรื่องความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของพิธีสารกรุงมาดริดและกฎข้อบังคับพิธีสารกรุงมาดริด (Common Regulations)  การระบุจำพวกและรายการสินค้าและ/หรือบริการ ว่าเป็นไปตาม Nice Classification  หรือไม่  รวมทั้งการชำระค่าธรรมเนียม หากมีข้อบกพร่อง  สำนักงานระหว่างประเทศจะแจ้งไปยังประเทศที่มีการยื่นคำขอและผู้ยื่นคำขอ  ทั้งนี้ ผู้ยื่นคำขอจะต้องแก้ไขภายใน 3 เดือน มิฉะนั้นจะถือว่าละทิ้งคำขอ     2.  ขั้นตอนในประเทศ     เมื่อประเทศภาคีที่ผู้ยื่นคำขอประสงค์จะได้รับความคุ้มครองได้รับคำขอแล้ว จะดำเนินการตรวจสอบคำขอดังกล่าวตามขั้นตอนปกติที่ใช้สำหรับการตรวจสอบคำขอที่ยื่นในประเทศ  โดยจะตรวจสอบเนื้อหาสาระ (Substantive Examination)  โดยตรวจสอบตามกฎหมายภายในของตน เช่น ตรวจสอบความเหมือนคล้าย ลักษณะบ่งเฉพาะหรือลักษณะต้องห้าม เป็นต้น หากมีข้อบกพร่องต้องดำเนินการแก้ไขตามกฎหมายภายในของประเทศนั้น ๆ      หากมีเหตุที่ต้องปฏิเสธการรับจดทะเบียน  จะต้องแจ้งให้สำนักงานระหว่างประเทศทราบภายในกำหนด 12 เดือน หรือ 18 เดือน หรือหลังจากนั้น (กรณีมีคำร้องคัดค้าน)มิฉะนั้นจะถือว่าเครื่องหมายดังกล่าวได้รับการจดทะเบียนในประเทศที่ขอจดทะเบียนนั้นแล้ว <br />วันจดทะเบียน มี 2 กรณี ดังนี้      1)  คือวันยื่นคำขอจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนต้นกำเนิด หากคำขอดังกล่าวถึงสำนักงานระหว่างประเทศภายใน 2 เดือน      2)  หากเกิน 2 เดือน ให้ถือวันที่สำนักงานระหว่างประเทศได้รับคำขอเป็นวันจดทะเบียน <br />อายุความคุ้มครอง      10 ปี นับตั้งแต่วันรับจดทะเบียน และต่ออายุได้อีกคราวละ 10 ปี การต่ออายุสามารถต่ออายุได้ก่อนวันสิ้นอายุ 6 เดือน หรือหลังสิ้นอายุแล้วภายใน 6 เดือนก็ได้  แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มร้อยละ 50 ของค่าธรรมเนียมเบื้องต้น (Basic fee)  ทั้งนี้ สามารถต่ออายุเฉพาะบางประเทศ หรือทุกประเทศที่ได้รับความคุ้มครองก็ได้                  <br />ค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศมี 4 ประเภท คือ      1)  Basic fee  เป็นค่าธรรมเนียมเบื้องต้นสำหรับการยื่นคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศหนึ่งคำขอ             -  เครื่องหมายขาว-ดำ 653  สวิสฟรังค์             -  เครื่องหมายที่เป็นสี 903  สวิสฟรังค์        2)  Supplementary fee  เป็นค่าธรรมเนียมสำหรับจำพวกสินค้าและ/หรือบริการ  ที่ยื่นขอจดทะเบียนเกิน 3 จำพวก โดยเสียค่าธรรมเนียมตั้งแต่จำพวกที่ 4 ขึ้นไป  จำพวกละ 73 สวิสฟรังค์                                    3)  Complementary fee  เป็นค่าธรรมเนียมสำหรับประเทศที่ระบุเพื่อขอจดทะเบียน ประเทศละ  73  สวิสฟรังค์        4)  Individual fee  เป็นค่าธรรมเนียมเฉพาะประเทศ<br />ตราสินค้า หรือ แบรนด์ (อังกฤษ: brand) เป็นรูปแบบของภาพพจน์และไอเดียที่แสดงถึงสินค้า ผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสดงถึง ชื่อ โลโก้ สโลแกน และผลงานออกแบบของตัวสินค้า ตราสินค้าเป็นข้อมูลในเชิงมโนธรรม ที่แสดงออกในทางรูปธรรมของสัญลักษณ์ที่สื่อถึงบริษัท สินค้า บริการ หรือกลุ่มผู้ขายที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน การสร้างตราสินค้าให้ติดตลาดทำได้จากการโฆษณา การบอกต่อ การออกแบบที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ในปัจจุบันการสร้างตราสินค้ากลายมาเป็นจุดสำคัญของวัฒนธรรมและปรัชญาการออกแบบ<br />ตราสินค้าประกอบด้วย ชื่อตราสินค้า (brand name) คือส่วนที่สามารถอ่านออกเสียงได้ เช่น ผงซักฟอกบรีส ยาสีฟันคอลเกต เครื่องดื่มเป๊ปซี่ เป็นต้น และ เครื่องหมายตราสินค้า (brandmark) คือส่วนที่ไม่สามารถอ่านออกเสียงได้ แต่สามารถจดจำได้อาทิ สัญลักษณ์ รูปแบบ สีสัน ตัวอักษรประดิษฐ์ เสียง เช่น อักษรตัว R ของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน เสียงเปิดตราสินค้าของอินเทล เป็นต้น หากเป็นภาพสัญลักษณ์อย่างเดียวส่วนนี้อาจเรียกว่าเป็น เครื่องหมายสัญลักษณ์ (logo) ได้เช่นกัน<br />