SlideShare a Scribd company logo
1 of 186
Download to read offline
DISRUPT OR BE DISRUPTED
โลกบุบ ๆ เบี้ยว ๆ
ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล  เขียน
รวิ รัตนวิภาค  แปล
กุลวดี ธ�ำรงค์ธนกิจ และ นุชสราวดี แวดอุดม  บรรณาธิการ
ธัญณิชา เหล่าเคน  ออกแบบปก
พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2562
© ลิขสิทธิ์ภาษาไทย 2562: บริษัท อินโนเวชั่น กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำ�กัด
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับเพิ่มเติม) พ.ศ. 2558
	 ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ
	 บัญชา ชุณหสวัสดิกุล.
		 โลกบุบ ๆ เบี้ยว ๆ. -- กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์, 2562.
		 184 หน้า.
		 1. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม. I. รวิ รัตนวิภาค, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง.
	 303.4
	 ISBN 978-616-04-4681-0
เพลตที่ คลาสิคสแกน โทร. 0-2291-7575  พิมพ์ที่ ส.พิจิตรการพิมพ์ โทร. 0-2910-2900-2
จัดพิมพ์โดย บริษัท อินโนเวชั่น กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำ�กัด
18 ซอยรามคำ�แหง 30 (บ้านเรา)
แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
www.elastomer-polymer.com
008
027
บทที่ 1
โลกของ
เทคโนโลยี
ดิจิทัล
บทที่ 2
เทคโนโลยี
ป่วนภาค
พลังงาน
และผลกระทบ
ต่อการขนส่ง
และคมนาคม
1.1	 การปฏิวัติดิจิทัลเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร
1.2	 อินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (Internet of Things)
1.3	 เทคโนโลยีที่ป่วนโลกและผู้ป่วนธุรกิจ
	 (Disruptive Technology and Disrupters) 
	1.3.1	
เจฟฟ์ เบซอส (Jeff Bezos) แห่งแอมะซอน (Amazon)
	 1.3.2	 แจ็ก หม่า (Jack Ma) แห่งอาลีบาบา (Alibaba)
 	 1.3.3	 อีลอน มัสก์ (Elon Musk) แห่งเทสล่า (Tesla) 
	 	 และสเปซเอกซ์ (SpaceX)
	 1.3.4	 สตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) แห่งแอปเปิล (Apple)
	 1.3.5	 มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) 
	 	 แห่งเฟซบุ๊ก (Facebook)
	 1.3.6	 กลุ่มผู้ริเริ่มและปฏิวัติด้านดิจิทัล
1.4	 ธุรกรรมทางการเงินในยุคดิจิทัล
	 1.4.1	 การทำ�ธุรกรรมทางการเงินในยุคดิจิทัล
	 1.4.2	 การปฏิรูปการทำ�ธุรกิจของบริษัทคาร์กิลล์ (Cargill)
2.1	 พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) 
	 เข้ามาทดแทนพลังงานจากฟอสซิล
	 2.1.1	 พลังงานลม
	 2.1.2	 พลังงานจากแสงอาทิตย์
	 2.1.3	 ชะตากรรมของน้ำ�มัน
2.2	 แหล่งพลังงานสำ�หรับรถยนต์ไฟฟ้า: 
	 แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน (Lithium-ion Battery) 
	 และเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel Cell)
	 2.2.1	 แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน (Lithium-ion Battery)
	 2.2.2	 เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel Cell)
	 	 2.2.2.1	การออกแบบและโครงสร้างเซลล์เชื้อเพลิง
	 	 	 ไฮโดรเจน
	 	 2.2.2.2	รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน	 	
	 	 	 (The Fuel-Cell Electric Vehicle (FCEV))
สารบัญ
059
บทที่ 3
การป่วน
เศรษฐกิจ
ระดับโลก
และผู้ป่วน
คนสำ�คัญ
3.1	 สงครามคือผู้ทำ�ลายล้างอันยิ่งใหญ่ 
3.2	 ข้อตกลงการค้าเสรี 
3.3	 วิกฤตการเงินโลก 
	 3.3.1	 วิกฤตอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา 
	 3.3.2	 ผลลัพธ์ที่ได้จาก “ประชานิยม”
3.4	 ประธานธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์: ผู้ป่วนเศรษฐกิจโลก
	 3.4.1	 อเมริกาต้องมาก่อน	
	 3.4.2	 สงครามการค้าและพิกัดภาษีศุลกากร 
3.5	 สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน 
	 3.5.1	 ใครจะแพ้ ใครจะชนะ 
	 3.5.2	 แผนเศรษฐกิจอันทะเยอทะยานและความท้าทาย
	 	 ของประธานาธิบดีจีนในสงครามการค้า   
3.6	 หนี้ภาครัฐในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมพัฒนาแล้ว
3.7	 ตลาดที่กำ�ลังเกิดขึ้นใหม่อยู่ในความเสี่ยงด้านการเงิน
3.8	 สงครามเย็นครั้งใหม่ 
3.9	 การพัฒนาเศรษฐกิจของจีน 
3.10 เมื่อมังกรขึ้นผงาดฟ้า
3.11	ปี 2019 ที่มาเยือน
3.12	บทสัมภาษณ์ คุณโคอิจิโร ซะโต (Koichiro Sato) 
	 แห่ง บริษัท มิตซุย เคมิคอลส์ (ประเทศไทย) จำ�กัด 
	 (Mitsui Chemicals)
3.13	บทสัมภาษณ์ คุณเทะสึยะ ชิมมุระ (Tetsuya Shinmura) 
	 แห่ง บริษัท เด็นกะ จำ�กัด (Denka Company Ltd.)
2.3	 รถยนต์แห่งอนาคตคืออะไร
2.4	 บทสัมภาษณ์ คุณฮิเดะโอะ สึรุมะกิ (Hideo Tsurumaki) 
	 แห่ง บริษัท เอฟโอเอ็มเอ็ม (เอเซีย) จำ�กัด
2.5	 บทสัมภาษณ์ คุณอนนต์ สิริแสงทักษิณ 
	 แห่ง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำ�กัด (มหาชน)
128
157
บทที่ 5
การแปร
เปลี่ยน
ของภาค
อุตสาหกรรม
ในประเทศไทย
บทที่ 6
การเจริญ
เติบโตอย่าง
ยั่งยืน
4.1	 จากภาคเกษตรกรรมเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม 
4.2	 คลื่นลูกที่สองของภาคอุตสาหกรรมไทย
	 4.2.1 วิกฤตเศรษฐกิจไทย
	 4.2.2 วิกฤตการณ์การเมืองไทยภายใต้ระบอบทักษิณ
4.3	 คลื่นลูกที่สามของภาคอุตสาหกรรมไทย
4.4	 สิ่งท้าทายของพลเอกประยุทธ์ในสมัยประยุทธ์ 2
5.1	 มุมมองภาคเศรษฐกิจ: บทสัมภาษณ์ หม่อมราชวงศ์
	 ปรีดิยาธร เทวกุล นักเศรษฐศาสตร์
5.2	 มุมมองภาคอุตสาหกรรม: บทสัมภาษณ์ คุณเจน นำ�ชัยศิริ 
	 แห่งบริษัท เอเซียไฟเบอร์ จำ�กัด (มหาชน)
5.3	 มุมมองภาคการค้าปลีก: บทสัมภาษณ์ คุณบุณยสิทธิ์ 
	 โชควัฒนา แห่งเครือสหพัฒน์
5.4	 มุมมองการเติบโตของประเทศ บทสัมภาษณ์ คุณดวงใจ 
	 อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการสำ�นักงานคณะกรรมการ
	 ส่งเสริมการลงทุน
ABOUT AUTHOR
INTERVIEWEES
6.1	 อินโนเวชั่น ยุค 1.0 (ปี 1983-1988) ยุคการก่อตั้งองค์กร
6.2	 อินโนเวชั่น ยุค 2.0 ยุคแห่งการสร้างการวิจัยและพัฒนา
	 เพื่อตอบโจทย์ด้านเทคโนโลยีแก่ลูกค้าและอุตสาหกรรม
6.3	 อินโนเวชั่น 3.0 ยุคแห่งการวิวัฒนาการเทคโนโลยีเพื่อ
	 ตอบโจทย์โพลิเมอร์ เทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์แก่ลูกค้า
	 และอุตสาหกรรม 
6.4	 อินโนเวชั่น 4.0 การพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้ยุค
	 เทคโนโลยี 4.0
6.5	 วิสัยทัศน์ของกลุ่มบริษัทอินโนเวชั่น
114
บทที่ 4
การพัฒนา
เศรษฐกิจและ
อุตสาหกรรม
ของประเทศไทย
บทนำ�
ตั้งแต่เล็ก ผู้เขียนได้ฟังคำ�บอกเล่าจากผู้ใหญ่ว่าโลกเรานี้เป็น
ทรงกลม  ในโรงเรียนคุณครูสอนเราว่า เพลโต นักปรัชญากรีกโบราณ
สอนนักเรียนของเขาในเอเธนส์ว่าโลกเรานี้มีรูปร่างทรงกลม ยิ่งตอกย้ำ�
ความเชื่อของผู้เขียนตั้งแต่เล็กว่าโลกเรานี้เป็นทรงกลม และเมื่อ 4 ปีก่อน 
ผู้เขียนได้อ่านหนังสือของ โทมัส แอล. ฟรีดแมน นักเขียนชื่อดัง เขา
เรียกตัวเองว่าเป็น “นักตลาดเสรี (free trader)” เขาเขียนหนังสือยอดนิยม
ชื่อ “ใครว่าโลกกลม (The World is Flat)”  ฟรีดแมนเชื่อว่าการค้าระหว่าง
ประเทศหรือการค้าในโลกเป็นไปอย่างกว้างขวาง เปรียบเสมือนโลกใบนี้
แบนราบ เป็นผลมาจากเทคโนโลยีการสื่อสารและการคมนาคมที่พัฒนา
รุดหน้าไป ทำ�ให้การติดต่อระหว่างนักธุรกิจจากทุกมุมโลกเป็นไปอย่างรวดเร็ว 
การค้าเป็นไปอย่างเสรีไร้พรมแดน ฟรีดแมนเรียกโลกการค้าของเรายุคนี้ว่า 
“ยุคโลกาภิวัตน์ 3.0 (Globalization 3.0)” เป็นยุคที่เกิดปฏิสัมพันธ์ในการค้า
ระหว่างประเทศ มีการแลกเปลี่ยนแนวคิดและความร่วมมือไปทั่วโลกได้อย่าง
ง่ายดาย
20 ปีที่ผ่านมาผู้นำ�ประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลายต่างเร่งรัดให้ประเทศต่างๆ 
ลดเครื่องกีดกันการค้าระหว่างประเทศ แม้แต่องค์การการค้าโลก (WTO) ก็เร่ง
ให้ลดการกีดกันทางการค้าทั้งในระบบศุลกากรและที่ไม่อยู่ในพิกัดศุลกากร 
คำ�ว่า โลกาภิวัตน์ หรือ globalization จึงเป็นศัพท์ที่ทุกคนกล่าวถึง แต่หลัง
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ขึ้นเป็นผู้นำ�คนใหม่ของสหรัฐฯ ด้วยวลีจากการ
หาเสียงว่า “อเมริกามาก่อน (America First)” และ “สงครามการค้าเป็นเรื่อง
ดีและเอาชนะง่าย (Trade wars are good and easy to win)” ประธานาธิบดี
ทรัมป์ใช้ทั้งระบบกีดกันทางการค้า มาตรการศุลกากรและไม่ใช่ศุลกากรใน
การข่มขู่ประเทศที่เป็นคู่ค้าของตัวเอง โลกใบนี้จึงบิดเบี้ยวด้วยสงครามการค้าที่
เกิดขึ้น เศรษฐกิจโลกและประเทศต่างๆ 
กำ�ลังเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่
นอกจากนี้ ใน 10 กว่าปีที่ผ่านมาเกิดความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพ
อากาศที่รุนแรงยิ่งขึ้น ภัยธรรมชาติทวีความรุนแรง ซึ่งสาเหตุใหญ่ของภัย
ธรรมชาติที่เกิดขึ้นนี้มีที่มาจากการกระทำ�ของมนุษย์ ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 
มนุษย์เคลื่อนย้ายจากชนบทเข้าสู่ตัวเมืองมากขึ้น ในเมืองต้องการแหล่งน้ำ�สะอาด 
การคมนาคมที่สะดวกสบาย การกำ�จัดสิ่งปฏิกูลและของเสียของเหลือใช้
จากครัวเรือน  สิ่งที่ตามมาคือปัญหาสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นจำ�นวนรถยนต์
ในเมืองที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนปล่อยก๊าซที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และ
ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุทำ�ให้อุณภูมิสูงขึ้น  ผลพวงที่ตามมา
คือภัยธรรมชาติรุนแรงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ภูมิอากาศผิดไปจากที่เคยเป็น 
สิ่งเหล่านี้ถือเป็นภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำ�มือของเรา เป็นโลกที่บิดเบี้ยวด้วยน้ำ�มือ
มนุษย์
เมื่อมองไปรอบตัว เราจะเห็นการค้าระหว่างประเทศที่ไม่มีเสถียรภาพ 
สงครามการค้าสมัยใหม่ สงครามเย็น ความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำ�นาจ
ตะวันตกกับกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง สงครามแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ 
สงครามแย่งชิงอำ�นาจของนักการเมืองในประเทศต่างๆ การสร้างอำ�นาจทาง
ทหารของจีนในทางทะเลแปซิฟิก สิ่งเหล่านี้ทำ�ให้ห่วงโซ่การผลิตบางอย่าง
ชะงัก ความเหลื่อมล้ำ�ทางรายได้ระหว่างคนรวยและคนจนถ่างกว้างออก ในขณะที่
ดินฟ้าอากาศและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติถูกทำ�ลายลงด้วยภาวะโลกร้อน 
สังคมมนุษย์ในโลกใบนี้กำ�ลังถูกบิดโดยน้ำ�มือมนุษย์เช่นกัน ปรากฏการณ์เหล่านี้
ล้วนเป็นต้นเหตุให้เกิดปัญหาสังคม การค้า เศรษฐกิจ การเมือง สุขภาพ และ
กระทบต่อไปถึงความเป็นอยู่ของเราทุกคน  โลกกำ�ลังถูกบิดให้เบี้ยวจากความ
สมดุล หมุนออกจากแกนที่แท้จริง
บทที่ 1
โลกของ
เทคโนโลยี
ดิจิทัล
ความเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ในอดีตกาลเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป 
จึงไม่น่าจะมีใครจินตนาการได้ว่าพฤติกรรมของมนุษย์และองค์กรธุรกิจ
จะเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อันเป็นผล
มาจากการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล และนำ�ไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต
ด้วยกำ�ลังคนผสานกับเครื่องจักร หรือที่เรียกว่า “ระบบออโตเมชัน (automation)” 
ซึ่งเป็นระบบสมองกลคอยควบคุมเครื่องจักรและการผลิต  การพัฒนา
เทคโนโลยีดิจิทัลยังช่วยให้การสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็วชัดเจนและแม่นยำ�
ยิ่งขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีจากระบบ 3G สู่ 4G และกำ�ลังเข้าสู่ 5G มี
บทบาทอย่างยิ่งในสื่อสมัยใหม่ต่างๆ 
ที่เผยแพร่สู่ประชากรจำ�นวนมากที่เข้าถึง
อินเทอร์เน็ต และยังมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตประจำ�วัน พฤติกรรมการบริโภค ระบบ
การจัดการ กระบวนการผลิต รวมทั้งรูปแบบธุรกิจและการตลาด เป็นความ
เปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็วในทั่วทุกมุมของโลก
บรรดาเทคโนโลยีใหม่ๆ 
ที่เข้ามาส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่ดำ�เนินอยู่ ทำ�ให้
พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป อุตสาหกรรมจึงต้องคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่
ออกมาทดแทนผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ กรณีศึกษาที่โด่งดังในมหาวิทยาลัยการบริหาร
และจัดการใหญ่ๆ 
คือ กรณีอีสต์แมนโกดัก (Eastman Kodak)  ในศตวรรษที่ 
19-20 บริษัทนี้เป็นที่ยอมรับว่ามีเทคโนโลยีและการจัดการที่ดีที่สุดบริษัท
หนึ่งในโลก  อีสต์แมนโกดักแม้เป็นผู้นำ�ในการผลิตฟิล์มทั้งฟิล์มกล้องเล็ก
และฟิล์มสำ�หรับภาพยนตร์ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่ทราบถึงการพัฒนาเทคโนโลยี
ดิจิทัลว่าจะมีผลกระทบต่อธุรกิจฟิล์มที่ตัวเองครอบครองอยู่  อีสต์แมนโกดัก
จึงได้ศึกษาและวิจัยกล้องถ่ายรูประบบดิจิทัลและสามารถพัฒนากล้องดิจิทัล
กล้องแรกสำ�เร็จ แต่ผู้บริหารของอีสต์แมนโกดักกลับคาดไม่ถึงว่าเทคโนโลยี
ถ่ายภาพดิจิทัลจะเข้ามาทดแทนการถ่ายภาพด้วยฟิล์มในระยะเวลาอันสั้น 
อีกทั้งยังห่วงว่าถ้ากล้องดิจิทัลออกสู่ตลาดก็จะมีผลกระทบกับธุรกิจฟิล์ม
ที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน จึงไม่ยอมพัฒนาต่อ อีสต์แมนโกดักจึงต้องล่มสลายไป
9
เพราะเทคโนโลยีดิจิทัล  นี่คือตัวอย่างของการดิสรัปชันหรือ “การป่วน” ทาง
เทคโนโลยี (technology disruption)  อีกกรณีหนึ่งคือคอมพิวเตอร์ที่เข้ามา
ทดแทนเครื่องพิมพ์ดีด บริษัทอุดมวิทยาเป็นตัวแทนจำ�หน่ายเครื่องพิมพ์ดีด
โอลิมเปีย (Olympia) ในประเทศไทยซึ่งได้รับความนิยมมาตลอดเวลา 40-50 ปี 
กลับต้องหายไปเพราะไม่ได้เตรียมตัวเข้าสู่ตลาดคอมพิวเตอร์  นอกจากนี้ อีเมล
ยังเข้ามาทดแทนการสื่อสารด้วยจดหมาย ทำ�ให้บริการไปรษณีย์และผู้ผลิต
บัตรอวยพรทั้งหลายได้รับผลกระทบอย่างหนัก สมาร์ตโฟนก็เข้ามาทดแทน
เครื่องเล่น MP3 กล้องถ่ายรูป เครื่องคิดเลข และอีกไม่นานการธนาคารก็คง
เข้ามาอยู่ในโทรศัพท์มือถือ  มนุษย์สามารถทำ�งานจากทุกจุดที่อินเทอร์เน็ต
เข้าถึง ธุรกิจบันเทิง การสื่อสาร ระบบนำ�ทาง การถ่ายรูปล้วนอยู่บนมือถือของ
ผู้บริโภค สิ่งเหล่านี้ทำ�ให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว บริษัท
ที่ปรับตัวไม่ทันย่อมได้รับผลกระทบรุนแรงหรือถูกป่วน (disrupted) เราต้อง
สร้างเทคโนโลยีของตนเองขึ้นมาเพื่อเป็นผู้นำ� มิฉะนั้นเราจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
เสียเอง
ในด้านธุรกิจ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีจะป่วนโครงสร้างตลาดและก่อ
ให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคใหม่ๆ สร้างความต้องการใหม่ สร้างตลาดใหม่ๆ 
ให้เกิดขึ้น ห่วงโซ่อุปทานจะเปลี่ยนแปลงไปให้สอดคล้องกับอุปสงค์ใหม่  ธุรกิจ
และอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องไม่หยุดพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ภายใน
องค์กร ต้องรวบรวมความคิดและวิธีการทำ�ธุรกิจใหม่ๆ 
ที่จะช่วยสร้างผลิตภัณฑ์
ที่มีมูลค่าเพิ่มและก้าวทันความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่าง
รวดเร็ว  เราจะต้องสร้างเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ�กว่าคนอื่น ไม่เช่นนั้นธุรกิจของเรา
ก็จะถูกกระทบหรือถูกทำ�ลายลงด้วยเทคโนโลยีนั้นเอง
10
1.1	การปฏิวัติดิจิทัลเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่ง
	ข้อมูลข่าวสาร
การปฏิวัติดิจิทัลคือการเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีแอนะล็อก (analogue)
และเครื่องมือกลไปสู่เทคโนโลยีดิจิทัล  เทคโนโลยีดิจิทัลเริ่มเป็นที่นิยมตั้งแต่
ช่วงคริสต์ศตวรรษ 1950 หลังจากเริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์และการเก็บข้อมูล
ในคอมพิวเตอร์  ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหัวใจสำ�คัญในการผลิตสินค้าแทบ
ทุกชนิด ตั้งแต่อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องมือเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ แผงวงจรควบคุม
อุปกรณ์การผลิต เครื่องมือและระบบสื่อสาร เทคโนโลยีที่กล่าวมานี้ล้วนอยู่
เบื้องหลังความเปลี่ยนแปลงสำ�คัญของพฤติกรรมผู้บริโภค และส่งผลกระทบ
ต่อธุรกิจทั้งหลายที่ดำ�เนินอยู่ เช่น
1) ฐานผู้บริโภคมีความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ฐานผู้บริโภค 
Gen C และ Gen Y เป็นตัวขับเคลื่อนให้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้ในชีวิตประจำ�วัน
และในธุรกิจต้องเปลี่ยนแปลงไปให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
2) โซเชียลมีเดียมีส่วนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์ การศึกษา
พฤติกรรมผู้บริโภคช่วยในการกำ�หนดกลยุทธ์การตลาด เพื่อให้ผู้ผลิตเข้าถึง
ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น
11
3) จำ�นวนโซเชียลเน็ตเวิร์กเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทำ�ให้
การทำ�ธุรกิจและการเมืองเป็นไปอย่างโปร่งใสยิ่งขึ้น
4) โทรศัพท์มือถือกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย 
มีต้นทุนต่ำ� สื่อประเภทอื่นๆ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ และโทรทัศน์ 
ต่างได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง สื่อต่างๆ ต้องปรับวิธีการให้คล่องตัวยิ่งขึ้น 
มิฉะนั้นธุรกิจก็ต้องมีอันเป็นไป 
5) ระบบคลาวด์คอมพิวติง (Cloud computing) ช่วยให้การจัดเก็บข้อมูล
และแบ่งปันข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องง่ายๆ โดยสามารถจัดเก็บและ
วิเคราะห์ข้อมูลได้ปริมาณมากและแม่นยำ� ช่วยพัฒนาให้การจัดเก็บข้อมูลและ
วิเคราะห์ข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น
6) เทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำ�งาน ช่วยเก็บข้อมูล สร้างฐาน
ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลให้ถูกต้องแม่นยำ� ทำ�ให้การตัดสินใจในการบริหาร
จัดการถูกต้อง รวดเร็ว ลดโอกาสผิดพลาด และลดต้นทุน
7) ในด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนช่วยส่งเสริมการศึกษา 
สื่อดิจิทัลช่วยเสริมการเรียนรู้ในวิชาต่างๆ โดยใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ที่เข้าถึงได้อย่างรวดเร็วผ่านเครื่องมือค้นหา (search engine) โดยข้อมูล
ต่างๆ จะถูกรวบรวมและเก็บไว้ในฐานข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์ซึ่งเข้าถึงได้ เป็น
ประโยชน์ต่อทั้งอุตสาหกรรม นักธุรกิจ นักวิจัย นักเรียนและนักศึกษาอย่างยิ่ง 
หมดยุคที่เราต้องไปค้นหาข้อมูลในห้องสมุดแล้ว  สารสนเทศและการสืบค้น
ข้อมูลออนไลน์ทำ�ให้เราไม่จำ�เป็นต้องเดินทางไปถึงห้องสมุด  ห้องสมุดต้อง
ปรับตัวมาให้บริการข้อมูลวิชาการผ่านฐานข้อมูลออนไลน์ เพื่อให้สมาชิก
สามารถเข้าถึงได้ง่ายจากทุกแห่ง  นอกจากนี้ สื่อออนไลน์ยังป่วนธุรกิจสิ่งพิมพ์
ต่างๆ อีกมากมาย สำ�นักพิมพ์ที่ปรับตัวไม่ได้ต้องปิดกิจการลง หนังสือพิมพ์ 
นิตยสาร วิทยุ และแม้แต่โทรทัศน์ต่างก็ต้องปรับตัว นำ�เทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้
ในการดำ�เนินธุรกิจเพื่อความอยู่รอด  Netflix เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ริเริ่มธุรกิจ
12
ให้บริการชมภาพยนตร์ในบ้าน ผู้บริโภคสามารถชมภาพยนตร์ได้จากทุกแห่ง
ที่อินเทอร์เน็ตเข้าถึง  Netflix ยังพัฒนามาสร้างภาพยนตร์ของตนเองและใช้
กลยุทธ์การตลาดที่ชาญฉลาดด้วยการเปิดระบบสมาชิกแบบครอบครัว โดยที่
คนทั่วไปก็สามารถเป็นสมาชิกในราคาที่รู้สึกว่าย่อมเยาได้ Netflix จึงเป็นผู้ป่วน
หรือดิสรัปเตอร์ (disrupter) ต่อธุรกิจบันเทิงอย่างมหาศาล
8) ในประเทศไทย มหาวิทยาลัยต่างต้องปรับตัวทั้งในแง่วิชาการและวิธี
สอน มหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่งจำ�เป็นต้องลดวิชาที่สอน ปรับการเรียน
การสอนให้ดึงดูดนักศึกษามากขึ้น แม้แต่มหาวิทยาลัยใหญ่ๆ 
ของรัฐต่างต้อง
ปรับตัวให้ทันความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและพฤติกรรมของเยาวชน
รุ่นใหม่ที่เข้าสู่รั้วอุดมศึกษา
1.2	 อินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (Internet of Things)
ผู้เขียนได้อ่านบทความในนิตยสารบลูมเบิร์กบิซิเนสวีก (Bloomberg 
Businessweek) ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ปี 2017 มีบทความของ โอ. คาริฟ
(O. Kharif) และเอส. โมริตซ์ (S. Moritz) เรื่อง “เครือข่ายโทรศัพท์มือถือใน
อนาคตจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 3.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (Tomorrow’s
Cellular Networks Will Generate $3.5 Trillion in Economic Output)”
ในบทความกล่าวว่า “ระบบ 4G ได้ปลดปล่อยเราออกจากห้องนั่งเล่นและ
ห้องทำ�งานที่จำ�เจ ช่วยให้เราเดินทางไปบนถนนที่ไม่คุ้นเคยผ่านกูเกิลแม็ปส์...”
ความเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นจากการมีเทคโนโลยีรองรับและสนับสนุนการ
สื่อสารระหว่างวัตถุกับวัตถุนอกเหนือจากโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือ
คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เช่น ระหว่างเครื่องมือเครื่องใช้กับยานพาหนะ หรือ
เครื่องมือกับอาคารสถานที่ แบบเดียวกับที่มีการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ 
หรือมนุษย์กับสิ่งรอบตัว
13
อะไรคือระบบ 4G ที่กล่าวถึง  G ย่อมาจากคำ�ว่า Generation หมายถึง 
“สมัย” หรือ “รุ่น” ของการสื่อสาร การสื่อสารใน G ใหม่นั้นจะสื่อสาร
เร็วขึ้น แม่นยำ�ขึ้น และเอื้อให้เกิดบริการที่หลากหลายขึ้น เชื่อถือได้มาก
ยิ่งขึ้น  ระบบเซลลูลาร์ 1G คือระบบแอนะล็อกที่เครือข่าย NTT (Nippon
Telegraph and Telephone) เปิดตัวครั้งแรกในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น 
เมื่อปี 1979  ต่อมาการพัฒนาเทคโนโลยีทำ�ให้เกิดระบบ 2G ซึ่งเปลี่ยน
จากระบบแอนะล็อกมาเป็นระบบดิจิทัล ทำ�ให้การสื่อสารเร็วขึ้น สะดวกขึ้น 
โทรศัพท์มือถือเล็กลงอย่างเห็นได้ชัดเจน  ส่วนระบบ 3G พัฒนาให้การสื่อสาร
เร็วขึ้น ส่งข้อมูลด้วยความเร็วถึง 2.45 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งเป็นมาตรฐาน
ของเครือข่ายไร้สายที่รองรับบรอดแบนด์ในโทรศัพท์มือถือเป็นครั้งแรก  เมื่อ 
3G พัฒนาไปเป็น 4G ที่เร็วกว่าถึง 10 เท่า ทำ�ให้การเชื่อมต่อยิ่งเสถียรมากขึ้น  
ก้าวต่อไปของการพัฒนาคือ 5G ซึ่งเป็นการปฏิวัติครั้งสำ�คัญอีกครั้งหนึ่ง
14
การสื่อสารที่ถูกต้องแม่นยำ�และรวดเร็วเป็นปัจจัยหลักหนึ่งที่ทำ�ให้
เกิดอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง  ศักยภาพของการสื่อสารใน 4G ที่ใช้กันอย่าง
กว้างขวางในปัจจุบันมีความเร็วสูงสุดประมาณ 1 กิกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งยังถือว่า
ช้าเกินไปสำ�หรับการติดต่อสื่อสารเพื่อสั่งงานกับวัตถุต่างๆ รอบตัว  มนุษย์
ต้องการความเร็วในการสื่อสารมากกว่านี้เพื่อให้สามารถสั่งการเครื่องมือได้
ในทันที อีกทั้งต้องรองรับผู้ใช้งานเป็นจำ�นวนมากได้ การพัฒนาระบบ 5G 
จึงเริ่มต้นขึ้นโดยมุ่งเน้นพัฒนาขีดความสามารถของ mobile broadband 
(MBB) ให้มีความเร็วรับส่งข้อมูลแบบไร้สายสูงสุดประมาณ 20-100 กิกะไบต์
ต่อวินาที สามารถบรรจุข้อมูลในการรับส่งและมีความหนาแน่นการติดต่อ 
(connection density) ที่ 106/km2
  ด้วยพลังงานที่ใช้ต่อข้อมูลเท่ากับระบบ 4G 
ระบบ 5G จึงเป็นระบบที่ให้ความเร็วที่สูงขึ้นแต่ใช้เวลาถ่ายโอนข้อมูลสั้นลง
ระบบนี้จึงเป็นเทคโนโลยีที่สำ�คัญสำ�หรับการสื่อสารในอนาคต  หากระบบ
ควบคุมไร้สายจากระยะไกลมีความสับสน ออกคำ�สั่งแล้วแต่ไม่มีการตอบสนอง
อย่างฉับไว เช่น รถยนต์ไร้คนขับที่สื่อสารกับคนนั่งหรือกับรถยนต์อื่นใน
ท้องถนนไม่ทันท่วงที ย่อมก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ระบบ 5G จึงเป็นเส้นทาง
หลักในอนาคตของอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (IOT)
1.3	เทคโนโลยีป่วนโลกและผู้ป่วนธุรกิจ 
		 (Disruptive Technology and Disrupters)
1.3.1	เจฟฟ์ เบซอส (Jeff Bezos) แห่งแอมะซอน (Amazon)
ในปี 2018 นิตยสารฟอร์บส์ (Forbes) ประกาศให้เจฟฟ์ เบซอสเป็น
บุคคลร่ำ�รวยที่สุดในโลก 
เบื้องหลังการเริ่มต้นธุรกิจของเบซอสน่าศึกษาอย่างยิ่ง เขาเริ่มต้น
ธุรกิจจากการขายหนังสือออนไลน์ในปี 1993 แต่ใครจะคาดคิดว่าภายในเวลา 
20 ปีเบซอสจะขยายธุรกิจเข้าสู่ร้านค้าออนไลน์ต่างๆ หลายร้านและบริการ
15
ออนไลน์อื่นๆ 
อีกมากมาย เขาคือผู้ป่วนธุรกิจรายใหญ่ที่ทำ�ให้ห้างสรรพสินค้า
สั่นคลอน  แอมะซอนกลายเป็นผู้ค้าปลีกออนไลน์รายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็น
ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานของระบบคลาวด์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ในนามของ
แอมะซอนเว็บเซอร์วิส (Amazon Web Service)  เบซอสยังขยายธุรกิจเข้าสู่
อุตสาหกรรมยานอวกาศโดยตั้งบริษัทบลูออริจิน (Blue Origin) เพื่อให้บริการ
เที่ยวบินไปยังอวกาศและยังวางแผนธุรกิจท่องเที่ยวอวกาศอีกด้วย
นอกจากนี้ แอมะซอนที่เป็นธุรกิจหลักของเบซอสได้ขยายบริการ
ออนไลน์มากมาย เช่น บริการการเงิน การดูแลสุขภาพ ร้านค้าปลีก ร้าน
ขายของชำ� บริการดิจิทัล หุ่นยนต์ การขนส่งทั้งทางบกทางทะเล และโดรนขนส่ง
ทางอากาศ  ปัจจุบันแอมะซอนเข้าไปซื้อห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ เช่น โฮลฟู้ดส์
มาร์เก็ต (Whole Foods Market) แอมะซอนจึงสามารถขายสินค้าได้อย่าง
หลากหลายในราคาที่ถูกกว่าร้านค้าทั่วไป  แอมะซอนยังเปลี่ยนพฤติกรรม
ผู้ซื้อแบบเดิมมาเป็นซื้อสินค้าออนไลน์ ทำ�ให้ผู้ค้าปลีกอื่นๆ เช่น เมซี (Macy) 
เจซีเพนนี (JC Penny) หรือแม้แต่ทอยส์อาร์อัส (Toys R Us) ต้องปิดกิจการลง 
16
ห้างสรรพสินค้าที่มีพื้นที่กว้างขวางในเมืองใหญ่ๆ 
ของสหรัฐฯ ต้องปิดตัวลงหรือ
ปรับขนาดให้เล็กลง  ในปัจจุบันแอมะซอนยังขยายธุรกิจเข้าสู่ยุโรปและญี่ปุ่น
ด้วย ซึ่งน่าจะทำ�ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงภายในตลาดของประเทศเหล่านี้ต่อไป 
เจฟฟ์ เบซอส จึงเป็นผู้ป่วนโลกธุรกิจค้าปลีกและการบริการแบบเก่า
อย่างแท้จริง
1.3.2 แจ็ก หม่า (Jack Ma) แห่งอาลีบาบา (Alibaba)
หากกล่าวว่า เจฟฟ์ เบซอส เป็นผู้ป่วนธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐฯ แจ็ก หม่า 
หนึ่งในมหาเศรษฐีของจีนผู้มีทรัพย์สินถึง 42,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ก็เป็น
ผู้ป่วนธุรกิจในจีนและกำ�ลังจะขยายกิจการในเอเชียเช่นเดียวกัน
หม่าเป็นประธานบริษัทอาลีบาบากรุ๊ป (Alibaba Group) ซึ่งมีธุรกิจ
หลากหลายประเภทรวมถึงธุรกิจด้านดิจิทัล  ในปี 1995 หม่าก่อตั้งบริษัท
ไชน่าเพจเจส (China Pages) ซึ่งรับสร้างเว็บไซต์สำ�หรับนักธุรกิจชาวจีน  ปีถัดมา
เขาก่อตั้งอาลีบาบากรุ๊ป ซึ่งประกอบด้วยบริษัทย่อยคือ อาลีบาบา (Aliaba) 
เถาเป่ามาร์เก็ตเพลซ (Taobao Marketplace) ทีมอลล์ (T Mall) อี-เถา (eTao) 
17
อาลีบาบาคลาวด์ (Alibaba Cloud) จู้หฺวาซ่วน (Juhuasuan) 1688.com 
อาลีเอกซ์เพรส (AliExpress) และอาลีเพย์ (Alipay)
อาลีบาบากรุ๊ปกลายเป็นผู้ให้บริการด้านการค้าออนไลน์ อินเทอร์เน็ต 
การค้าปลีก และปัญญาประดิษฐ์ (AI) พร้อมด้วยบริการชำ�ระเงินอิเล็กทรอนิกส์ 
บริการสืบค้น และระบบคลาวด์
1.3.3 อีลอน มัสก์ (Elon Musk) แห่งเทสล่า (Tesla) และสเปซเอกซ์
(SpaceX)
อีลอน มัสก์ถือได้ว่าเป็นอัจฉริยะด้านเทคโนโลยีและเป็นผู้ป่วน
ตัวฉกาจในอุตสาหกรรมยานยนต์และอวกาศ เขาคือผู้ก่อตั้งเทสล่ามอเตอร์ส 
(Tesla Motors) สเปซเอกซ์ (SpaceX) โซลาร์ซิตี้ (Solar City) และไฮเปอร์ลูป 
(Hyperloop)  เขาร่วมกับน้องชาย คิมบัล มัสก์ (Kimbal Musk) ก่อตั้งบริษัท
ซิปทู (Zip2) ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์การท่องเที่ยวออนไลน์สำ�หรับนิตยสารและ
หนังสือพิมพ์ จากนั้นจึงให้น้องชายของเขาขายซิปทูแก่บริษัทคอมแพ็ค 
(Compaq) แล้วมาตั้งเอกซ์ดอตคอม (X.com) ซึ่งให้บริการทางการเงินออนไลน์ 
และในที่สุดก็รวมเข้ากับเพย์พอล (PayPal) ซึ่งให้บริการโอนเงินออนไลน์  
หลังจากนั้นมัสก์ก็ได้ขายเพย์พอลมาก่อตั้งสเปซเอกซ์ โดยมุ่งเน้นพัฒนา
เทคโนโลยีจรวด จนในที่สุดสเปซเอกซ์ก็ได้รับสัญญาจากองค์การนาซา (NASA) 
ให้พัฒนาพาหนะขนส่งทางอวกาศรุ่นฟอลคอน 9 (Falcon 9) และยานอวกาศ
ดรากอน (Dragon) เพื่อใช้ในภารกิจอวกาศของสหรัฐฯ ในปี 2008 สเปซเอกซ์
เป็นบริษัทเอกชนรายแรกที่ส่งยานอวกาศเข้าจอดในสถานีอวกาศ  ยิ่งกว่านั้น 
มัสก์ยังคิดไกลไปถึงการส่งมนุษย์ไปสร้างถิ่นฐานบนดาวอังคารภายในปี 2040  
ทว่าบนดาวอังคารนั้นไม่มีออกซิเจนสำ�หรับใช้เผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ 
ทำ�ให้เขาตระหนักว่ายานพาหนะบนดาวอังคารจำ�เป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าแทน 
เขาจึงหันมาสนใจพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า
18
มัสก์เข้าครอบครองกิจการบริษัทเทสล่าต่อจากมาร์ติน เอเบอร์แฮนด์ 
(Martin Eberhard) และมาร์ก ทาร์เพนนิง (Marc Tarpenning) เมื่อปี 2008  
จากนั้นเทสล่าสร้างรถสปอร์ตไฟฟ้ารุ่นเทสล่าโรดสเตอร์ (Tesla Roadster) 
ออกสู่ตลาดในปี 2015 ตามมาด้วยรถไฟฟ้าสี่ประตู เทสล่า โมเดลเอส (Tesla 
Model S) และโมเดลเอกซ์ (Model X) เทสล่าจึงสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ว
วงการอุตสาหกรรมรถยนต์
1.3.4 สตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) แห่งแอปเปิล (Apple)
สตีฟ จ็อบส์ ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกและปฏิวัติไมโครคอมพิวเตอร์  
ในช่วงปี 1970-1980  จ็อบส์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิล (Apple) เป็น
หนึ่งในผู้ประดิษฐ์คอมพิวเตอร์แมคอินทอช (Macintosh) และเป็นผู้ร่วม
ก่อตั้งบริษัทเน็กซ์ (NeXT) ซึ่งพัฒนาเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่เชี่ยวชาญด้าน
คอมพิวเตอร์สำ�หรับตลาดอุดมศึกษาและธุรกิจ  ด้วยการนำ�ของจ็อบส์ แอปเปิล
ปฏิวัติวงการเครื่องเล่นเพลงส่วนบุคคลด้วยการพัฒนาไอพ็อด (iPod) ซึ่งเข้ามา
ทดแทนเครื่องเล่นเพลงของบริษัทโซนี่ (Sony) ที่เคยครองตลาดเครื่องเล่นเพลง
19
ส่วนบุคคลมาก่อน  ในปี 2007 จ็อบส์ เปิดตัวไอโฟนมัลติทัช (iPhone Multi-
touch) ซึ่งสั่นสะเทือนวงการโทรศัพท์มือถือที่เคยมีบริษัทแบล็คเบอร์รี่ 
(Blackberry) โมโตโรล่า (Motorola) และปาล์ม (Palm) ครองตลาดอยู่ จ็อบส์
จึงเป็นทั้งนักคิดค้น นักพัฒนาเทคโนโลยี และผู้ป่วนวงการโทรศัพท์มือถือ
ยุคใหม่ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตผู้คนทั้งโลกอย่างแท้จริง
1.3.5 มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) แห่งเฟซบุ๊ก (Face-
book)
ซักเคอร์เบิร์กเป็นนักเขียนโปรแกรมและผู้ประกอบการด้านอินเทอร์เน็ต
ที่ยอดเยี่ยมและมีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของสหรัฐฯ และของโลก เขาเป็นผู้ก่อตั้ง
บริษัทเฟซบุ๊กหลังจากที่เขาลาออกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ตอนปี 2 
เพื่อออกมาทำ�เว็บไซต์สังคมออนไลน์ของเขาเอง จนภายใน 1 ปี เฟซบุ๊กมี
ยอดผู้ใช้งานมากกว่า 1 ล้านคน  ในปี 2016 ซักเคอร์เบิร์กได้รับเลือกจาก
นิตยสารฟอร์จูน (Fortune) ให้เป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก รวมทั้ง
ได้รับเลือกให้เป็นนักธุรกิจแห่งปี  เขายังเป็นนักธุรกิจที่มองการณ์ไกลถึง
20
ช่องทางธุรกิจในอนาคตเสมอ ซักเคอร์เบิร์กซื้อบริษัทอินสตาแกรม (Instagram) 
ในปี 2012 และบริษัทว็อตส์แอป (WhatsApp) ในปี 2014 ด้วยตั้งใจจะเชื่อมต่อ
ผู้คนทั้งโลกผ่านอินเทอร์เน็ต  นอกจากนี้ ซักเคอร์เบิร์กยังกำ�ลังทดสอบใช้
โดรนพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อส่งสัญญาณไปยังพื้นที่ห่างไกล เขาจึงเป็นนักธุรกิจ
และผู้นำ�เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีวิสัยทัศน์จะเปลี่ยนโลกด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร
อยู่เสมอ
1.3.6 กลุ่มผู้ริเริ่มและปฏิวัติด้านดิจิทัล
มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นอร์แมน อับรามสัน (Norman
Abramson) โรเบิร์ต เมตคาล์ฟ (Robert Metcalfe) และทิม เบอร์เนอรส์-ลี
(Tim Berners-Lee) คือเหล่าวิศวกรคอมพิวเตอร์ผู้บุกเบิกและสร้างนวัตกรรม
ใหม่ที่ป่วนธุรกิจครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา  คูเปอร์เป็นผู้คิดค้นโทรศัพท์มือถือ
เครื่องแรกรุ่นโมโตโรล่า ไดนาแท็ก (Motorola Dyna TAC) ถือเป็นจุดเริ่มต้น
ของการปฏิวัติ  อับรามสันและเมตคาล์ฟคือผู้บุกเบิกการสื่อสารคอมพิวเตอร์
ไร้สายและอินเทอร์เน็ต ส่วนเบอร์เนอร์ส-ลีคือผู้สร้างเวิล์ดไวด์เว็บ (World 
21
Wide Web) ซึ่งเป็นโครงข่ายการสื่อสารไร้ขีดจำ�กัด  นักบุกเบิกเทคโนโลยี
เหล่านี้คือบุคคลที่แปรเปลี่ยนชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์เราอย่างที่ไม่เคย
ปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์
1.4	ธุรกรรมทางการเงินในยุคดิจิทัล
เทคโนโลยีดิจิทัลและสมาร์ตโฟนได้เปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคไป
อย่างมาก บรรดาผู้บริโภคทั้งหลายเลือกความสะดวกสบายด้วยการช็อปปิง
ทางอินเทอร์เน็ตและนิยมเลือกซื้อสินค้าหรือบริการที่สามารถชำ�ระเงินออนไลน์ได้  
ผู้บริโภคเริ่มคาดหวังว่าพวกเขาจะทำ�ธุรกรรมทางการเงินจากสมาร์ตโฟนของ
ตนเองได้ทุกเวลาด้วยการสัมผัสเพียงปลายนิ้ว  ธนาคารที่ยังใช้วิธีแบบดั้งเดิม
ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงนี้ ลูกค้าเข้ามาใช้บริการที่สาขาของ
ธนาคารลดลง รายได้จากค่าบริการก็ลดลงตามไปด้วย ธนาคารต่างต้องปรับตัว
เพื่อความอยู่รอด ต้องลดสาขาธนาคารลง บางแห่งเปลี่ยนเป็นธนาคาร
สาขาย่อยและตั้งอยู่ในจุดที่ลูกค้าเข้าถึงได้ง่ายเพื่อลดต้นทุนการบริหารจัดการ 
อีกทั้งยังรีบพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อความอยู่รอดของตน สภาพการณ์เช่นนี้
ส่งผลให้บรรดาธนาคารพาณิชย์ในไทยปิดสาขาย่อยไปแล้วถึง 7,016 สาขา
1.4.1 การทำ�ธุรกรรมทางการเงินในยุคดิจิทัล
การชำ�ระเงินผ่านรหัสคิวอาร์ (QR Code) เป็นแรงกระตุ้นสำ�คัญที่
ทำ�ให้เกิดการใช้บริการธุรกรรมดิจิทัล (digital banking) และการชำ�ระเงิน
ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) เนื่องจากสะดวกสบายและใช้งานง่าย ช่วย
ชักจูงให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมการทำ�ธุรกรรมแบบเก่า 
อย่างไรก็ตาม นอกจากการแข่งขันระหว่างธนาคารในประเทศด้วยกัน
แล้ว ยังมีบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี เช่น อาลีบาบา และเทนเซ็นต์ (Tencent) 
และแม้แต่เซเว่นอีเลฟเว่น (7-Eleven) ก็หันมาใช้เทคโนโลยีและฐานข้อมูล
22
ของลูกค้าเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคและนำ�เสนอวิธีการชำ�ระเงิน
ใหม่ รวมถึงเสนอสินค้าในแบบที่ลูกค้าต้องการ  ยักษ์ใหญ่ในวงการดิจิทัลทั้ง
สองกลุ่มนี้นับเป็นคู่แข่งตัวฉกาจของธนาคาร เนื่องจากมีฐานข้อมูลผู้ใช้บริการ
จำ�นวนมาก ง่ายแก่การเสนอการบริการที่เหนือกว่าคู่แข่งในตลาด
รายงานเศรษฐกิจกลางปี 2018 ของบางกอกโพสต์ (Bangkok Post’s
Mid-Year Economic Review of 2018) กล่าวถึงข้อมูลจากธนาคาร
แห่งประเทศไทยที่ระบุว่า ค่าธรรมเนียมของธนาคารที่อิงกับรายได้จากบริการ
และการโอนเงินมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างมากหลังจากมีการยกเลิกค่าธรรมเนียม
ในการทำ�ธุรกรรม  ในปี 2017 บรรดาธนาคารพาณิชย์มีรายได้ 24,000 
ล้านบาทจากการโอนเงินของผู้ใช้บริการ และการใช้บริการต่างๆ 
ของธนาคาร
บนโทรศัพท์มือถือ (mobile banking) จะพุ่งสูงขึ้นหลังจากธนาคารยกเลิกค่าธ
รรมเนียมในการทำ�ธุรกรรมดิจิทัล 
นอกจากนี้ การแข่งขันพัฒนาเทคโนโลยีของธนาคารยังเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด 
เช่น กรณีธนาคารกสิกรไทยเริ่มใช้การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) 
และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อการอนุมัติเงินกู้สำ�หรับลูกค้าขนาดกลางและ
ขนาดย่อม  ส่วนกรณีธนาคารไทยพาณิชย์ได้เริ่มวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเตรียมการ
สำ�หรับการให้เงินกู้ผลตอบแทนสูง 
23
ธนา เธียรอัจฉริยะ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 
กลุ่มงานการตลาด ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ธุรกิจธนาคารเพื่อการค้าปลีก 
โดยเฉพาะการชำ�ระเงิน มีความเสี่ยงจากการแทรกแซงโดยเทคโนโลยีดิจิทัล
มากที่สุดเพราะผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกสบายมากขึ้นจากการใช้แอปฯ 
ผ่านมือถือหรือเว็บไซต์เพื่อทำ�ธุรกรรมการเงิน...ธนาคารจะต้องสร้างความ
มั่นคงจากภายใน ทุกหน่วยงานและผู้ถือผลประโยชน์ต้องมีส่วนร่วมในทุกหน้าที่ 
เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกสบายและราบรื่นในทุกๆ 
ขั้นตอน
การใช้บริการตั้งแต่การเลือกซื้อจนถึงการใช้สินค้า นั่นรวมถึงกระบวนการ
ทำ�งานของหน่วยงานสนับสนุน เพื่อให้บริการตรงตามความต้องการของ
ผู้บริโภคมากที่สุด”  ในเดือนมีนาคม ปี 2018 ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ยกเลิก
ค่าธรรมเนียมการทำ�ธุรกรรมของลูกค้าในหลายรายการ เช่น การโอนเงิน
ระหว่างธนาคาร การชำ�ระบิล และการโอนเงินออนไลน์
1.4.2 การปฏิรูปการทำ�ธุรกิจของบริษัท คาร์กิลล์ (Cargill)
บริษัท คาร์กิลล์ เป็นผู้จัดจำ�หน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคใหญ่ที่สุดในโลก
และเป็นบริษัทเอกชนรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ มีรายรับ 109,700 ล้านดอลลาร์ฯ
ในปี 2017  ความสำ�เร็จที่ผ่านมาของคาร์กิลล์มาจากการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับ
24
ตลาดและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก ทำ�ให้บริษัทมีอำ�นาจต่อรองเหนือเกษตรกร
ผู้ผลิตและผู้ซื้อ แต่เทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบันทำ�ให้เกษตรกรผู้ผลิตสามารถ
เข้าถึงข้อมูล ทันต่อเหตุการณ์ ตั้งแต่สภาพอากาศจนถึงราคาสินค้าผ่าน
ช่องทางสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต เป็นผลให้เกษตรกรพึ่งพาพ่อค้าคนกลาง
น้อยลง คาร์กิลล์จึงสูญเสียความได้เปรียบในด้านข้อมูลและการต่อรองกับ
เกษตรกร ทำ�ให้กำ�ไรของคาร์กิลล์ลดลง
เดวิด แมเคลนนัน (David MacLennan) ประธานกรรมการและประธาน
เจ้าหน้าที่บริหารของคาร์กิลล์ตระหนักถึงภัยคุกคามที่กำ�ลังเพิ่มสูงขึ้น เขา
กล่าวว่า “...หากเรามัวแต่รอให้สิ่งต่างๆ 
เปลี่ยนแปลงโดยที่เราไม่เปลี่ยนแปลง
ตัวเองเลย เรานี่แหละจะตกที่นั่งลำ�บาก”  บริษัทเอกชนรายใหญ่ที่สุดของ
อเมริกาซึ่งมีอายุ 153 ปีรายนี้ได้ตัดสินใจนำ�แผนการทำ�ธุรกิจมารื้อใหม่เพื่อ
รับมือและตอบโต้ภัยคุกคามที่เกิดขึ้น แมเคลนนันเริ่มควบคุมและปรับปรุงการ
ดำ�เนินธุรกิจดั้งเดิมของคาร์กิลล์ให้เป็นบริษัทโภคภัณฑ์ผสมผสาน โดยเพิ่มการ
เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ�จากเดิมที่มีเพียงวัวและสัตว์ปีก เขาสนับสนุนการพัฒนา
โปรตีนสำ�หรับบริโภคที่ได้จากจากเซลล์สัตว์หรือผลิตได้จากพืชผัก
25
นอกจากนี้ คาร์กิลล์ยังใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมมาช่วยวิเคราะห์สภาพ
การเพาะปลูกและสภาวะของพืช รวมทั้งพัฒนาและจำ�หน่ายซอฟต์แวร์การ
บริหารจัดการฟาร์ม  นอกเหนือจากการเปลี่ยนเส้นทางธุรกิจแล้ว แมเคลนนัน
ยังปรับโครงสร้างและวัฒนธรรมองค์กรของบริษัท เขาจ้างวิศวกรคอมพิวเตอร์
และนักพัฒนาซอฟต์แวร์เพิ่มขึ้น  นีล เวนโดเวอร์ (Neil Wendover) ผู้บริหาร
ฝ่ายดิจิทัลอินไซตส์์ (digital insights) กล่าวว่า “เรากำ�ลังพยายามนำ�การ
เปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลมาสู่อุตสาหกรรมของเรา” (Parker and Blas, 2018)  
โดยกำ�หนดทิศทางธุรกิจใหม่จากพ่อค้าคนกลางสินค้าโภคภัณฑ์มาเป็นบริษัท
เทคโนโลยีการเกษตรแบบผสมผสานในด้านต่างๆ  กล่าวอีกนัยหนึ่ง คาร์กิลล์
ได้สร้างรากฐานที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับอนาคตและการเงินของตนผ่านการ
ประสานเทคโนโลยีทางการเกษตรเข้ามานั่นเอง
26
บทที่ 2
เทคโนโลยีป่วนภาคพลังงาน
และผลกระทบต่อการขนส่ง
และคมนาคม
เมื่อทั่วโลกตระหนักถึงความจำ�เป็นในการลดปริมาณแก๊สคาร์บอนได-
ออกไซด์และคาร์บอนมอนอกไซด์ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้และเป็นสาเหตุของ
ปรากฏการณ์เรือนกระจก ระบบพลังงานของโลกแบบดั้งเดิมจึงเกิดชะงักงัน  
สำ�นักงานพลังงานสากล (International Energy Agency 
- 
IEA) ได้คาดการณ์
ความเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลกระทบต่อระบบพลังงานโลกในวงกว้างว่า “การนำ�
ทรัพยากรไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพเป็นผลมาจากต้นทุน
ของเทคโนโลยีพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทนที่ลดลงอย่างรวดเร็ว การ
เติบโตของภาคพลังงานไฟฟ้าได้แปรเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจบริการให้เน้นการ
ผสมผสานพลังงานสะอาด” (“IEA Presents Global Energy Market Outlook 
before United States Senate,” IEA News, January 16, 2018)  ไม่ว่าจะ
เป็นผู้ผลิตหรือผู้ใช้ แนวโน้มการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน
(renewable energy) นั้นดูจะกลายเป็นแนวโน้มที่นิยมไปทั่ว โดยเฉพาะการ
มุ่งเน้นการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานสะอาด 
2.1	 พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) 
		เข้ามาทดแทนพลังงานจากฟอสซิล
สถิติจากสำ�นักงานพลังงานสากล ระบุว่ามนุษย์เราผลิตและใช้พลังงาน
ปริมาณมหาศาลทุกปี เช่น ในปี 2013 เราผลิตและใช้พลังงานปริมาณ 
5.67 ĭ 1,020 จูล หรือประมาณ 18.0 เทระวัตต์ต่อชั่วโมง โดยที่พลังงาน 
1 เทระวัตต์ต่อชั่วโมงเทียบเท่ากับการใช้น้ำ�มันปริมาณ 5,000 ล้านบาร์เรล
ต่อปี (“How Much Renewable Energy Does the World Use?” ZME 
Science, June 26, 2018)  ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงเศรษฐกิจโลกและจำ�นวน
ประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดกันว่าความต้องการพลังงานในปัจจุบัน
จะเพิ่มขึ้น 30% จนถึงปี 2040 ส่วนความต้องการใช้น้ำ�มันจะเพิ่มขึ้นอย่าง
ต่อเนื่องจนถึงปี 2040 เช่นกัน แม้ว่าจะมีอัตราเพิ่มที่ต่ำ�ลงอย่างต่อเนื่องก็ตาม 
28
ในขณะที่การใช้ก๊าซธรรมชาติจะเพิ่มขึ้น 45% จนถึงปี 2040 เช่นเดียวกัน
การใช้พลังงานจากทรัพยากรหมุนเวียน (renewable resource) ที่ไม่มีวันหมด 
ได้เข้ามาทดแทนพลังงานจากฟอสซิลมากขึ้น มีรายงานว่าในปัจจุบัน ประมาณ 
1 ใน 5 ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั่วโลกมาจากทรัพยากรหมุนเวียน เช่น 
พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานน้ำ� ซึ่งทรัพยากรหมุนเวียนที่
ไม่มีวันหมดเหล่านี้จะเพิ่มกำ�ลังการผลิตพลังงานที่ทดแทนพลังงานจากฟอสซิล
เป็น 1 ใน 4 ของพลังงานทั้งหมดที่มนุษย์ใช้ในปี 2020
2.1.1 พลังงานลม
พลังงานลมเป็นหนึ่งในพลังงานหมุนเวียนที่สำ�คัญที่สุด เกิดจากการ
ควบคุมให้ลมพัดผ่านใบพัดของกังหันลม เพื่อนำ�พลังงานกลที่ได้ไปผลิตกระแส
ไฟฟ้า  ในฟาร์มพลังงานลมจะมีกังหันลมขนาดใหญ่หลายตัวเชื่อมต่อกับระบบ
ส่งกำ�ลังไฟฟ้า พลังงานลมเคยมีกำ�ลังการผลิตไฟฟ้า 539 กิกะวัตต์ และ
ในปี 2017 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 591 กิกะวัตต์ การแถลงข่าวสถิติของสมาคม
พลังงานลมโลก (World Wind Energy Association) เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 
ปี 2018 ระบุว่า “กังหันลมทั้งหมดที่ติดตั้งในปี 2017 สามารถตอบสนอง
ความต้องการพลังงานไฟฟ้าทั่วโลกได้มากกว่า 5%  ในหลายประเทศพลังงาน
ลมได้กลายเป็นกลยุทธ์ในแผนทดแทนการใช้พลังงานจากฟอสซิลและพลังงาน
นิวเคลียร์  โดยในปี 2017 เดนมาร์กได้สร้างสถิติโลกใหม่ด้วยการผลิตพลังงาน
ลมได้ถึง 43% และประเทศที่ผลิตพลังงานลมได้เกินร้อยละ 10 ก็มีจำ�นวน
เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น เยอรมนี ไอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน และอุรุกวัย” 
ด้วยศักยภาพของพลังงานลมที่สามารถนำ�มาเป็นพลังงานทดแทนได้ ส่งผล
ให้มีการปรับปรุงเทคโนโลยีและประสิทธิภาพให้ดีขึ้น ทำ�ให้พลังงานลมเป็น
หนึ่งในพลังงานที่ได้รับความนิยมสูงสุดในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน 
มีการศึกษาวิจัยในสหภาพยุโรปที่แสดงให้เห็นว่าต้นทุนพื้นฐานของพลังงานลม
29
บนบกใกล้เคียงกับการใช้ถ่านหิน จึงคาดการณ์กันว่าต้นทุนในการใช้พลังงาน
ลมจะลดลง 50% ภายในปี 2030 อันเป็นผลมาจากเทคโนโลยีกังหัน (turbine 
technology) ได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2.1.2 พลังงานแสงอาทิตย์
พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สำ�คัญที่สุดลำ�ดับ 3
ถัดจากพลังงานน้ำ�และพลังงานลม โดยมีกำ�ลังการผลิตมากกว่า 100 กิกะวัตต์
จากพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลก  เงินสนับสนุนจากภาครัฐเป็นส่วนสำ�คัญที่
ทำ�ให้พลังงานจากแสงอาทิตย์มีราคาไม่แพงนัก หลายภาคส่วนจึงสามารถ
เข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้  
ในกรณีเยอรมนีเป็นตัวอย่างประเทศที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในปริมาณ
มาก เนื่องจากรัฐบาลเยอรมันเล็งเห็นถึงความจำ�เป็นในการรักษาสิ่งแวดล้อม
และการลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือ
ด้านการเงินด้วยมาตรการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานชนิดนี้ 
ช่วยให้ผู้ผลิตระบบโฟโตวอลเทอิก (photovoltaic 
- 
PV) ทั้งขนาดเล็กและใหญ่
30
สามารถส่งไฟฟ้าส่วนเกินไปยังระบบสายส่ง เป็นกำ�ไรแก่ผู้ผลิตพลังงานจาก
แสงอาทิตย์ ประเทศอื่นๆ 
ในทวีปยุโรปจึงเริ่มใช้นโยบายดังกล่าวตามเช่นกัน
แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (photovoltaic solar panel) ที่ใช้รับแสงแดด
เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้านั้นประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ที่เชื่อมต่อเป็นวงจร
อนุกรมหรือขนาน แต่ละแผงสามารถผลิตพลังงานได้ในปริมาณจำ�กัด ดังนั้น
จำ�เป็นต้องใช้แผงเซลล์เป็นจำ�นวนมาก รวมถึงเครื่องแปลงกระแสไฟ แบตเตอรี่ 
สายไฟ และกลไกติดตามแสงอาทิตย์ (solar tracking mechanism)
ปัจจุบันเซลล์แสงอาทิตย์ส่วนใหญ่ผลิตจากผลึกซิลิคอนชนิดผลึกเดี่ยว
หรือผลึกรวม แต่เทคโนโลยีการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์เหล่านี้ก็กำ�ลัง
ถูกท้าทายจากเทคโนโลยีรุ่นที่สอง  เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์รุ่นใหม่นี้
ผลิตแผงเซลล์จากฟิล์มแผ่นบาง ใช้แคดเมียมเทลลูไรด์และซิลิคอนอสัณฐาน
เป็นวัสดุ  ส่วนเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์รุ่นที่สามใช้แผ่นฟิล์มทำ�จาก
แกลเลียมอาร์เซไนด์ เทคโนโลยีนี้เรียกว่า การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์แบบ
รวมแสง (concentrator photovoltaic - CPV) ซึ่งเป็นประเภทของแผงเซลล์
แสงอาทิตย์ที่ใช้กับยานอวกาศ
ในปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่ครองตลาดอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ 
เนื่องจากสามารถผลิตอุปกรณ์ต่างๆ 
ได้ในราคาที่ต่ำ�กว่าสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม 
บริษัทเฟิสต์โซลาร์ (First Solar Inc.) ผู้ผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์สัญชาติ
อเมริกันได้ปรับปรุงโรงงานที่รัฐโอไฮโอให้เป็นระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบเมื่อ
ไม่นานมานี้ และใช้แคดเมียมเทลลูไรด์ซึ่งเป็นสารประกอบเคลือบลงบนแก้ว
ให้เป็นแผ่นฟิล์มบางสำ�หรับดูดซับพลังงานแสง  บริษัทเฟิสต์โซลาร์พบว่า
กระบวนการนี้ให้ผลลัพธ์ดีกว่ากระบวนการผลิตของจีน จึงสามารถผลิตแผง
เซลล์แสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ขึ้น ให้พลังงานสูงขึ้น แต่ขายได้ถูกกว่าแผงเซลล์
แสงอาทิตย์จากจีน  “ความสำ�เร็จครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อ
31
วงการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ก่อนที่รัฐบาลของประธานาธิบดีทรัมป์จะ
ประกาศอัตราภาษีศุลกากรใหม่สำ�หรับวัสดุแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่นำ�เข้า
จากต่างประเทศเมื่อวันที่ 22 มกราคม ปี 2018” ตามที่ระบุไว้ในนิตยสาร
บลูมเบิร์กบิซิเนสวีก (Chris Martin, January 24, 2018)
2.1.3 ชะตากรรมของน�้ำมัน
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (The United Nations
Environment Programme 
- 
UNEP) เพื่อจำ�กัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำ�กว่า 2 องศา
เซลเซียส (รายงานประจำ�ปี 2010) และข้อตกลงปารีส (Paris Agreement)
ที่มีประเทศต่างๆ 
ทั่วโลกกว่า 200 ประเทศลงนามยอมรับเป็นภารกิจระยะยาว
เพื่อบรรเทาผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศของโลก 
มีการเร่งกำ�หนดนโยบายเพื่อนำ�พลังงานสะอาดมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยเร็ว  
เหนือสิ่งอื่นใดคือนโยบายในการแก้ไขปัญหาการปล่อยแก๊สเรือนกระจกอย่าง
เร่งด่วน
32
การขนส่งและคมนาคมเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการปล่อยแก๊ส
เรือนกระจก ปริมาณการใช้พลังงานในหมวดนี้คิดเป็น 60% ของการใช้น้ำ�มัน
ทั่วโลก การมียานพาหนะไฟฟ้าเข้ามาใช้จึงถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทาง
เทคโนโลยีครั้งใหญ่และจะส่งผลกระทบต่อปริมาณการใช้น้ำ�มันในอนาคต
อย่างยิ่ง  เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยตนเอง และ
แอปพลิเคชันบริการรถยนต์ร่วมโดยสาร (app-based ride-hailing services) 
เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้คนเปลี่ยนพฤติกรรม จากเดิมที่นิยมใช้พาหนะส่วนตัวไปเป็น
การใช้ยานพาหนะส่วนรวมมากขึ้น  เทคโนโลยีเหล่านี้จะเปลี่ยนวิธีการเดินทาง
ของผู้คน อีกทั้งช่วยคาดการณ์ช่วงที่มีการใช้น้ำ�มันสูงสุดได้  ในระยะยาวเชื่อกัน
ว่าความต้องการน้ำ�มันจะลดลง สำ�นักงานพลังงานสากลคาดการณ์ว่าการใช้
น้ำ�มันจะลดลงอย่างต่อเนื่องภายในระยะเวลา 20 ปี เนื่องจากมีการใช้พลังงาน
ทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และแก๊สธรรมชาติในอัตราที่สูงขึ้น 
บริษัทน้ำ�มันส่วนใหญ่ทราบดีว่าความต้องการใช้น้ำ�มันจะเพิ่มขึ้น
สูงสุดในปี 2040  อย่างไรก็ตาม ซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย สองผู้ส่งออก
น้ำ�มันรายใหญ่ที่สุดของโลกอยากยืดให้ความต้องการสูงสุดเกิดขึ้นใน
ปี 2050 แทน  การคาดการณ์ว่าความต้องการใช้น้ำ�มันจะเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุด
เมื่อใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น การใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งสัมพันธ์กับ
นโยบายของผู้ผลิตและภาครัฐว่าจะผลักดันให้รถยนต์ไฟฟ้าเข้าสู่ตลาดเมื่อใด 
นอกจากนี้ ความสำ�เร็จของรถไฟฟ้ายังขึ้นอยู่กับว่าผู้ผลิตจะสามารถพัฒนา
แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน (Li-ion) ให้มีต้นทุนต่ำ� มีประสิทธิภาพและมีราคา
ที่ผู้บริโภคเอื้อมถึงได้เร็วเพียงใด 
ในปัจจุบัน ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลกบางราย เช่น โฟล์คสวาเกน 
(Volkswagen) ได้วางแผนเลิกใช้รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยน้ำ�มันเชื้อเพลิงแล้ว  
ประเทศอินเดียได้ประกาศให้รถยนต์ใหม่ที่ออกจำ�หน่ายในประเทศเป็น
รถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดภายในปี 2030  ในขณะที่สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส
33
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ
โลกบุบๆ เบี้ยวๆ

More Related Content

Featured

Everything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTEverything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTExpeed Software
 
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsProduct Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsPixeldarts
 
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthThinkNow
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfmarketingartwork
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024Neil Kimberley
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)contently
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024Albert Qian
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsKurio // The Social Media Age(ncy)
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Search Engine Journal
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summarySpeakerHub
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Tessa Mero
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentLily Ray
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best PracticesVit Horky
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementMindGenius
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...RachelPearson36
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Applitools
 

Featured (20)

Everything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTEverything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPT
 
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsProduct Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
 
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
 
Skeleton Culture Code
Skeleton Culture CodeSkeleton Culture Code
Skeleton Culture Code
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
 

โลกบุบๆ เบี้ยวๆ