SlideShare a Scribd company logo
เชิญ ไกรนรา สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Page 1
การศึกษาการพัฒนาและการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในต่างประเทศ
13 มิถุนายน 2555
1.เขตเศรษฐกิจกิจพิเศษคืออะไร
เนื่องจากไม่มีคานิยามของ “เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน”โดยตรง แต่สามารถประยุกต์ใช้ความหมายของ
“เขตเศรษฐกิจพิเศษ”ซึ่งศูนย์การเงินและการพัฒนาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยไอโอว่า (2553) ได้ให้คา
จากัดความว่า หมายถึงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งบริหารจัดการโดยองค์กรหนึ่งซึ่งให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่
บริษัทที่เลือกที่ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจนั้น ดังนั้นวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเพิ่มการค้าใน
ภูมิภาคต่างๆโดยการให้สิทธิพิเศษทางการค้าเพื่อกระตุ้นการลงทุนทั้งภายในท้องถิ่นเองและจากต่างประเทศ
ภายในภูมิภาคนั้นๆ ซึ่งกฎหมายที่ปกติใช้ทั่วไปทั้งประเทศอาจถูกยกเว้นการใช้ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ การ
ประกอบการในเขตเศรษฐกิจพิเศษปกติแล้วบริษัทเอกชนจะได้รับสิทธิจูงใจทางภาษีและโอกาสในการจ่ายภาษี
ต่างๆที่ต่ากว่าปกติ โดยแต่ละประเทศจะใช้ความหมายและคาอธิบายเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษที่แตกต่างกัน
ไป เขตเศรษฐกิจพิเศษสามารถจาแนกออกได้เป็น 6 ประเภทคือ เขตการค้าเสรี (Free Trade Zones: FTZ)
เขตการแปรรูปเพื่อการส่งออก (Export Processing Zones: EPZ) เขตประกอบการอุตสาหกรรม
(Enterprise Zone) โรงงานเดี่ยว (Single Factories) ท่าเรือเสรี (Freeports) และเขตเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะ
ด้าน (Specialized Zone) แต่โดยทั่วๆเขตเศรษฐกิจพิเศษจะตั้งอยู่ใกล้เมืองชายแดนหรือท่าเรือ
2.แนวคิดความร่วมมือการพัฒนาตามแนวชายแดน
Perkmann และ Sum (2545) ได้ให้คานิยามของ “ภูมิภาคข้ามพรมแดน (Cross border region: CBR)”ว่า
หมายถึงหน่วยของพื้นที่ซึ่งประกอบด้วยหน่วยพื้นที่ที่ระดับภูมิภาคที่ติดต่อกันจาก 2 ประเทศหรือมากกว่า
Than (2540 อ้างถึงใน Jessop 2545) กล่าวว่าเนื่องจากความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์และการพึ่งพาซึ่งกันและ
กันทาให้การค้าขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาทั้งในระดับภูมิภาคและระดับอนุภูมิภาคเว้นแต่ประเทศ
สมาชิกได้ห้ามกิจกรรมทางการค้าข้ามพรมแดนเนื่องจากเหตุผลด้านการเมือง ความมั่นคงหรือเศรษฐกิจ
ภูมิภาคข้ามพรมแดนจะสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันโดยการใช้ประโยชน์จากการพึ่งพาซึ่งกันและกัน
ระหว่างแหล่งผลิตต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาสามเหลี่ยมเศรษฐกิจสิงคโปร์-ย ะโฮร์-เรียว ( SIJORI Growth
Triangle) สหภาพยุโรปและประเทศที่เป็นอดีตสังคมนิยม
เราสามารถจาแนกภูมิภาคข้ามพรมแดนออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ Matinez (2537 อ้างถึงใน Yang 2549)
จัดกลุ่มแนวคิดการมีปฏิสัมพันธ์ข้ามพรมแดนออกได้เป็น 4 ระดับคือ พื้นที่ชายแดนที่ไม่รู้จักกัน (Alienated
borderlands) ประเทศเพื่อนบ้านยอมรับว่ามีพื้นที่ชายแดนร่วมกัน (Co-existent borderlands) พื้นที่
ชายแดนที่มีการพึ่งพาซึ่งกันและกัน (Interdependent borderlands) และพื้นที่ชายแดนที่มีการบูรณาการ
จนเป็นพื้นที่เดียวกัน (Integrated borderlands) ในขณะที่ Krâtke (2545) ได้จาแนกความร่วมมือข้าม
พรมแดนโดยพิจารณาจากความแตกต่างของขนาดทางภูมิศาสตร์ของความเชื่อมโยงข้ามพรมแดนระหว่าง
ประเทศที่มีพรมแดนติดกันออกเป็น 3 รูปแบบคือ
 รูปแบบ A ความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีระยะทางไกล ผลกระทบจะไม่เกิดขึ้นที่ภูมิภาคชายแดน
โดยตรง แต่กระนั้นก็ตามก็อาจส่งผลกระทบให้มีการย้ายการลงทุนออกไปจากภูมิภาคชายแดน
เชิญ ไกรนรา สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Page 2
 รูปแบบ B โครงสร้างความร่วมมือที่ข้ามประเทศและภูมิภาค ซึ่งข้ามพื้นที่ชายแดนด้านหนึ่งรวมทั้ง
การเชื่อมโยงระหว่างบริษัทต่างๆ ในพื้นที่ส่วนหนึ่งของภูมิภาคชายแดนและบริษัทต่างๆที่ตั้งอยู่
ภายนอกพื้นที่ชายแดนในประเทศเพื่อนบ้าน
 รูปแบบ C การบูรณาการความร่วมมือระดับภูมิภาค ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเชื่อมโยงระหว่างบริษัท
ต่างๆ ของทั้งสองด้านภายในพื้นที่ชายแดน
Peña (2548) ได้เน้นว่ามีหลายการศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อกาหนดเป็นทฤษฏีหรือรูปแบบของ
ชายแดนจากมุมมองเชิงพื้นที่ที่เกิดจากการค้าระหว่างประเทศ ทฤษฏีที่ตั้งและทฤษฏีศูนย์กลางของสถานที่
Krugman and Livas (2535) ได้อธิบายความแตกต่างระหว่างความได้เปรียบเทียบเชิงเปรียบเทียบของ
ภูมิภาคที่เป็นพลวัตรและความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบที่อยู่กับที่ ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบที่เป็นพล
วัตรคือตัวแปรต่างๆที่แตกต่างกันระหว่างภูมิภาคซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับผลิตภาพ เช่น ทรัพยากรมนุษย์และ
ทุนทางกายภาพ ความได้เปรียบที่อยู่กับที่คือตัวแปรต่างๆที่อยู่ประจาที่และมีลักษณะเฉพาะของภูมิภาค เช่น
การมีพื้นที่ติดกับทะเลหรือการมีที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดน Hanson (2539) ได้สนับสนุนว่าความได้เปรียบของ
พื้นที่ที่อยู่กับที่สามารถลดค่าขนส่งได้ดังนั้นพื้นที่ชายแดนหรือท่าเรือเป็นที่ตั้งโดยธรรมชาติเพื่อการผลิตและ
ศูนย์กลางทางธรรมชาติเพื่อการค้าระหว่างประเทศ Sassen (2544) ก็ได้ให้เหตุผลว่าโลกาภิวัตน์ได้ทาให้เกิด
ระบบลาดับชั้นของเมืองทั่วโลก ซึ่งเป็นเครือข่ายการผลิตที่ซับซ้อนส่งผลให้ลาดับชั้นของเมืองต่างๆ ตอบสนอง
ต่อระบบลาดับชั้นของเมืองระหว่างประเทศมากกว่าระบบเมืองของแต่ละประเทศ ซึ่งหมายถึงในภูมิภาคหรือ
เมืองที่การค้าระหว่างประเทศมีบทบาทสาคัญ เช่น ภูมิภาคชายแดน ลาดับชั้นของเมืองต่างๆ เหล่านั้นจะ
ตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกต่างๆมากกว่าปัจจัยภายใน
Alegria (2532) อ้างถึงใน Peña (2548) ได้จาแนกออกเป็น 2 หลักการกว้างๆ ซึ่งกาหนดลาดับชั้นของเมือง
ระหว่างกันของพื้นที่ชายแดนคือ (1) ต้นทาง ปลายทางและความเข้มข้นของการไหลเวียนต่างๆ (ทุน สินค้า
และแรงงาน ) เป็นกุญแจสาคัญที่จะสร้างความแตกต่างของกระบวนการมีปฏิสัมพันธ์ไปพร้อมกันในพื้นที่
เดียวกันตั้งแต่ระดับชาติ ระดับข้ามพรมแดนและระดับข้ามประเทศ และ (2) ความใกล้ชิดกันทางภูมิศาสตร์
ของความแตกต่างด้านโครงสร้าง (ราคา คุณภาพของสินค้าและตัวเลือกต่างๆ เป็นต้น ) เพิ่มกระบวนการข้าม
พรมแดน สาหรับการศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ชายแดน Fullerton (2546) ได้เน้นว่าเพิ่งกาเนิดเมื่อไม่นาน
มานี้จากการยอมรับ มากขึ้นในการศึกษาปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจภายในสถานการณ์เฉพาะตัวเกี่ยวกับภูมิ
รัฐศาสตร์ และในปัจจุบันได้รับความสนใจมากขึ้นเนื่องจากการบูรณาการทางเศรษฐกิจข้ามพรมแดนที่มีมาก
ขึ้นในหลายภูมิภาคของโลก เขาได้ระบุลักษณะเฉพาะตัวของเศรษฐศาสตร์ชายแดนออกเป็น 5 ปัจจัย
ประกอบด้วย ประชากรเมื่อมีความแตกต่างด้านรายได้ และมีอัตราการว่างงานสูง เช่น ระหว่างเม็กซิโกและ
สหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่แล้วจะตามมาด้วยการอพยพออกจากภูมิภาคที่มีรายได้ต่าไปยังตลาดที่มีรายได้สูงกว่า
ผลกระทบของการกระจายวงจรธุรกิจและอัตราการแลกเปลี่ยนต่อการค้าปลีกชายแดน การพัฒนา
อุตสาหกรรมและตลาดแรงงาน และเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติบริเวณแนวชายแดน
3.องค์ประกอบของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณชายแดนหรือห่างจากพื้นที่ชายแดนเข้ามายังพื้นที่ตอนใน
ไม่เกิน 100 กิโลเมตร กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในเขตเศรษฐกิจชายแดนส่วนใหญ่ประกอบด้วย โรงงาน
อุตสาหกรรม ศูนย์อานวยการด้านศุลกากร ศูนย์บริการด้านต่างๆ ของรัฐบาล คลังสินค้าทัณฑ์บน ศูนย์
เชิญ ไกรนรา สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Page 3
กระจายสินค้า ตลาดการค้าชายแดน โรงงานบาบัดน้าเสีย พื้นที่สีเขียว และโครงสร้างพื้นฐานด้านสังคม เช่น
ที่อยู่อาศัย บริการทางการศึกษา โรงพยาบาล การขนส่งและการสื่อสาร ห้างสรรพสินค้า การท่องเที่ยว การ
จัดทาบรรจุภัณฑ์ บริการธนาคารและการประกันภัย เป็นต้น
4.กรณีศึกษาการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่สาคัญในต่างประเทศ
การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเริ่มดาเนินการครั้งแรกระหว่างประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกาตั้งแต่
ปี พ.ศ.2508 ซึ่งโดยทั่วไปเรียกกันว่ามาควิลาดอร่า (Maquiladora) หรือเขตการผลิตอุตสาหกรรมเพื่อการ
ส่งออกโดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการจ้างงานในเมืองชายแดน มาควิลาดอร่าส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณชายแดน
ด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่รู้จักกันในชื่อ “Zona Libre” หรือเขตเสรีซึ่งประกอบด้วยรัฐบาจา แคลิฟฟอเนีย
และบางเมืองในรัฐโซโนร่าที่มีบทบาทเป็นเมืองท่าเสรี ซึ่งการค้าและการลงทุนจากสหรัฐอเมริกาในเขตนี้เป็นไป
อย่างเสรี อุตสาหกรรมหลักในเขตเศรษฐกิจชายแดนเหล่านี้ประกอบด้วยสิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า
และยานยนต์ (Brannon และคณะ 2537 และ Sargent และ Matthews 2546) จากการศึกษาของ
Brouthers และคณะ (2542) พบว่าการขยายตัวของอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดนแบ่งออกเป็น 4
ระยะคือ ระยะการขยายตัวของการประกอบการ ระยะการขยายตัวของภูมิภาค ระยะการขยายตัวของบริษัท
ข้ามชาติ และระยะการขยายตัวของเขตเศรษฐกิจอเมริกาเหนือ แต่ละระยะสะท้อนถึงขีดความสามารถในการ
แข่งขัน
4.1 ประโยชน์ของเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
เขตเศรษฐกิจชายแดนของเม็กซิโกได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมากมายเนื่องจากเป็นตัวหลักใน
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและแหล่งจ้างงานที่สาคัญ แม้ว่าจะมีแนวโน้มลดจานวนลงแต่ในปี 2545 ก็ยังมีโรงงาน
อุตสาหกรรมชายแดนประมาณ 3 ,000 แห่ง ตามแนวชายแดนประมาณ 2 ,000 ไมล์ระหว่างเม็กซิโก-
สหรัฐอเมริกา ทาให้เกิดการจ้างงานประมาณ 1 ล้านคนและเม็กซิโกนาเข้าสินค้ามากกว่า 51 พันล้านเหรียญ
สหรัฐ นอกจากนี้การพึ่งพาระหว่าง 2 ประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็วผ่านการค้าชายแดนระดับดับท้องถิ่นและ
ระดับภูมิภาคซึ่งส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเมืองเมืองชายแดนของทั้งสองประเทศ (Scott
2545)
4.2 ปัญหาจากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
แต่กระนั้นก็ตามก็ยังมีปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาอุตสาหกรรมชายแดนในหลายรูปแบบเนื่องจากมีการกระจุก
ตัวการลงทุนของต่างชาติโดยการพึ่งพาของอุตสาหกรรมอย่างสมบูรณ์จากการนาเข้าวัตถุดิบหรือใช้วัตถุดิบจาก
เม็กซิโกน้อยกว่าร้อยละ 2 ด้วยเหตุนี้ทาให้การสนับสนุนต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของ
ประเทศเม็กซิโกน้อยกว่าศักยภาพที่มีเนื่องจากไม่มีการบูรณาการเข้ากับพื้นที่อื่นของเศรษฐกิจในภูมิภาคหรือ
เศรษฐกิจระดับชาติ งานบางอย่างและบางโรงงานถูกย้ายจากสหรัฐอเมริกามายังเขตเศรษฐกิจชายแดนใน
เม็กซิโก มีความแตกต่างกันทั้งสองฝั่งของชายแดนทั้งด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม สินค้าทุนที่ผลิตได้
ไม่ได้จาหน่ายในตลาดภายในประเทศเม็กซิโก แต่กลับส่งออกสินค้าเกือบทั้งหมดไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ยังมีรายงานเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของกลุ่มแรงงานราคาถูก การกดขี่ทางเพศต่อสตรี การ
บังคับทางานล่วงเวลา สภาพการทางานผิดกฎหมายสาหรับแรงงานเด็ก การพัฒนาอุตสาหกรรมและการ
ขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชากรนาไปสู่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อพืชท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลงการ
เชิญ ไกรนรา สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Page 4
ตารางที่ 1 การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่สาคัญในต่างประเทศ
ชื่อเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ขนาดพื้นที่และอุตสาหกรรมเป้าหมาย สิทธิพิเศษที่ให้แก่นักลงทุน
1.เขตผลิดเพื่อการส่งออกมาควิลาโดร่า
ระหว่างเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา
เปิดดาเนินการปี 2508 อุตสาหกรรมหลักคืออุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ ตัดเย็บเสื้อผ้า
พลาสติก เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนยานยนต์ สินค้าที่ผลิตประมาณ
90 % ส่งกลับไปจาหน่ายยังสหรัฐอเมริกา
เขตปลอดภาษีรายได้และภาษีศุลกากร
2.เขตเศรษฐกิจพิเศษคอสทรีน-สลูบิส
ระหว่างโปแลนด์และเยอรมัน
เปิดดาเนินการปี 2540 อุตสาหกรรมหลักคืออุตสาหกรรมประกอบรถยนต์
เฟอร์นิเจอร์สานักงาน อุปกรณ์ตกแต่งสานักงาน เคมี สิ่งทอ วิศวกรรมและอาหาร
ซึ่งดึงดูดนักลงทุนจากประเทศต่างๆ ทั่วภูมิภาคยุโรป
การลดหย่อนภาษีรายได้สาหรับเงินลงทุนครั้งแรกหรือการ
สร้างที่ทางานใหม่
3.เขตเศรษฐกิจชายแดนระหว่างประเทศจีนกับ
ประเทศเพื่อนบ้าน มีทั้งสิ้น 14 เขต และที่สาคัญคือ
3.1 เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจชายแดนรุ่ยลี่
ระหว่างจีนกับพม่า
3.2 เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจชายแดนเฮกุ
ระหว่างจีนกับเวียดนาม
3.3 เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจชายแดน
ดองซิง ระหว่างจีนและเวียดนาม
3.4 เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจชายแดน
ผิงเสียง ระหว่างจีนและเวียดนาม
3.5 เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจชายแดน
ยีหนิง ระหว่างจีนและคาซัคสถาน
เปิดดาเนินการปี 2535 มีพื้นที่ 6 ตร.กม. ส่งเสริมการแปรรูปอุตสาหกรรม
เกษตรกรรมในท้องถิ่นและทรัพยากรชีวภาพ
เปิดดาเนินการเมื่อปี 2536 ส่งเสริมการค้าชายแดน การแปรรูปทรัพยากร
การเกษตรและการท่องเที่ยว
เปิดดาเนินการเมื่อปี 2550 มีพื้นที่ 10 ตร.กม.พัฒนาเป็นเขตการแปรรูปเพื่อการ
ส่งออกชายแดน การบริการขนส่งเพื่อการค้า และการท่องเที่ยวชายแดน
เปิดดาเนินการปี 2552 มีเนื้อที่ 7.20 ตร.กม. ส่งเสริมการผลิตเครื่องจักรและ
เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เคมี บริการต่างๆ การขนส่งระหว่างประเทศโดยเน้นการ
เก็บรักษาและอุตสาหกรรมข้อมูลช่าวสารและเทคโนโลยีการสื่อสาร
เปิดดาเนินการปี 2535 มีเนื้อที่ 30 ตร.กม.ส่งเสริมอุตสาหกรรมอุปกรณ์ก่อสร้าง
เสื้อผ้าและสิ่งทอ เคมีภัณฑ์ เทคโนโลยีชีวภาพ เวชภัณฑ์ การแปรรูปอาหารและ
เครื่องดื่มและของเด็กเล่น
ไม่ระบุ
สินค้า 3 ชนิดสามารถส่งออกโดยปลอดภาษี คือ ยางพารา
ถ่านหินและสินค้าประมง
เป็นเขตปลอดอากร (Tax-free Zone) บริหารจัดการความ
ร่วมมือแบบ “2 ประเทศ 1 เขต”
สินค้าเข้า-ออกผ่านเขตคลังสินค้าทัณฑ์บนของเขตความ
ร่วมมือจะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี 3 อย่าง คือ สินค้าใน
ประเทศได้รับการคุ้มครองภาษีอากร สินค้านาเข้าได้รับการ
ยกเว้นภาษี สินค้าส่งออกได้รับสิทธิขอคืนภาษี
ไม่ระบุ
เชิญ ไกรนรา สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Page 5
3.6 เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจชายแดน
ทาเชง ระหว่างจีนและคาซัคสถาน
3.7 เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจชายแดน
โบเล ระหว่างจีนและคาซัคสถาน
3.8 เขตเศรษฐกิจพิเศษเซิ่นเจิ้น ระหว่างจีนและ
ฮ่องกง
เปิดดาเนินการปี 2535 มีเนื้อที่ 6.50 ตร.กม.เป้าหมายเพื่อส่งเสริมการค้า การ
กระจายสินค้า บริการโกดังและบริการขนส่งสินค้า
เปิดดาเนินการปี 2535 มีเนื้อที่ 7.8 ตร.กม. เป้าหมายเพื่อเป็นเขตการค้าเสรี
ส่งเสริมการค้าชายแดน การกระจายสินค้าและบริการขนส่งสินค้า
เปิดดาเนินการปี 2523 มีเนื้อที่ 1,953 ตร.กม. เป้าหมายเพื่อเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ
แห่งแรกของจีนและประสบความสาเร็จมากที่สุด ส่งเสริมอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีชีวภาพ การผลิตยา การก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ ซอฟแวร์
คอมพิวเตอร์ การประกอบและการผลิตอิเลคทรอนิคส์ การผลิตเครื่องมือ
อุตสาหกรรมและเครื่องมือวัด อุปกรณ์ทางการแพทย์ การวิจัยและพัฒนา
และอุปกรณ์โทรคมนาคม
ไม่ระบุ
ไม่ระบุ
มาตรการจูงใจด้านภาษีสาหรับการลงทุนจากต่างชาติในเขต
เศรษฐกิจพิเศษ
4.ภูมิภาคอุตสาหกรรมเคซอง
ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้
เปิดดาเนินการปี 2545 พื้นที่ 66 ตร.กม. ภายในปี 2555 จะมีการจ้างงานประมาณ
700,000 คน บริษัทจากเกาหลีใต้ใช้ประโยชน์จากแรงงานราคาถูกของเกาหลีเหนือ
เพื่อผลิตสินค้ามาตรฐานต่า เช่น รองเท้า เสื้อผ้า และนาฬิกา เพื่อแข่งขันกับจีน
การลดหย่อนภาษีรายได้จากธุรกิจ
5.ภูมิภาคการพัฒนาอีสกันดาร์
ระหว่างมาเลเซียและสิงคโปร์
เปิดดาเนินการปี 2549 พื้นที่ 2,217 ตร.กม. ประมาณ 60 % ของมูลค่าเพิ่มด้าน
อุตสาหกรรมมาจากอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเคมี
และผลิตภัณฑ์เคมี เช่น ปิโตรเคมีคัล พลาสติก และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
มาตรการลดหย่อนด้านภาษีจากรายได้ธุรกิจในสาขา
อุตสาหกรรมและบริการประเภทต่างๆ
6.เขตเศรษฐกิจพิเศษบาตัม
ระหว่างเกาะบาตัมของอินโดนีเซียและสิงคโปร์
เปิดดาเนินการปี 2550 เป็นเขตการค้าเสรี อุตสาหกรรมหลักคือการต่อเรือและ
อุตสาหกรรมอิเลกทรอนิคส์
สินค้าที่ส่งออก-นาเข้าระหว่างบาตัมและสิงคโปร์ปลอดภาษี
ศุลกากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม
7.เขตเศรษฐกิจพิเศษบาเวต
ระหว่างกัมพูชาและเวียดนาม
เปิดดาเนินการปี 2548 มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและ
อุตสาหกรรมการผลิตจักรยานและบริการคาสิโนชายแดน
รายได้จากธุรกิจปลอดภาษีระยะเวลา 5 ปี ไม่เก็บภาษี
นาเข้าสาหรับเครื่องมือ ชิ้นส่วนและวัสดุการก่อสร้าง ไม่เก็บ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม สิทธิการถือครองที่ดินระยะเวลา 50 ปี
และการบริการส่งออก-นาเช้า ณ จุดเดียว
ที่มา: จากการรวบรวมโดยผู้เขียน 2555
เชิญ ไกรนรา สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Page 6
ไหลเวียนของน้าในแม่น้าธรรมชาติและคูคลอง และการขาดการวางแผนในด้านของเม็กซิโกและมีอยู่บ้าง
เล็กน้อยในส่วนของสหรัฐอเมริกา (Brannon และคณะ 2537; Carillo-Huerta และ Urquidi 2532 อ้างถึงใน
Brannon และคณะ 2537; Brouthers และคณะ 2542; Pick และคณะ 2544) สาหรับตัวอย่างการพัฒนา
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่สาคัญในต่างประเทศปรากฏดังตารางที่ 1
ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนอย่างกว้างขวางโดยในภูมิภาคเอเชียมี
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่อยู่ระหว่างการวางแผนดาเนินการได้แก่
 เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนแม่สอด เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเชียงของ เขตเศรษฐกิจพิเศษ
ชายแดนสะเดา และเขตเศรษฐกิจพิเศษกาญจนบุรี ในประเทศไทย
 เขตเศรษฐกิจพิเศษปอยเปตโอเนียง ประเทศกัมพูชา วางแผนเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับเมืองชายแดน
อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ของประเทศไทย
 เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวันโซโน ประเทศลาว วางแผนเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับเมืองชายแดน
มุกดาหาร ของประเทศไทย
 เขตเศรษฐกิจฮาวังกูมพายองและเกาะวิวา ของประเทศเกาหลีเหนือเชื่อมโยงกับเมืองชายแดนแดง
ดองด้านตะวันตกของประเทศจีนเพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยว การขนส่งสินค้าและอุตสาหกรรม
 ประเทศจีนกาลังมีแผนจะสร้างเขตเศรษฐกิจชายแดนร่วมกับประเทศคาจิกิสถานและคาซัคสถาน เพื่อ
แก้ปัญหาความยากจนในภาคตะวันตก
 การพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนของเมืองซินเจียงของประเทศจีนเชื่อมโยงกับเมืองกิลกิต-บาติสถาน
ของประเทศปากีสถาน
 ประเทศจีนจะพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนดองซินพื้นที่ประมาณ 10 ตร.กม.ให้เป็นเขตการแปรรูป
เพื่อการส่งออกชายแดน การบริการขนส่งเพื่อการค้าและการท่องเที่ยวชายแดน เชื่อมโยงกับเมืองมองไกของ
ประเทศเวียดนาม
5.การบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
การบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจชายแดนมีความแตกต่างกันไปตามระบบการปกครองของแต่ละประเทศแต่
โดยทั่วไปการจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนสามารถจาแนกออกได้ 3 ระดับคือ
5.1 การกาหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
ซึ่งจะเกี่ยวช้องกับประเด็นการกาหนดจานวนเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่จะจัดตั้งและการดาเนินการต่างใน
กระบวนการจัดตั้งๆให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติระหว่างประเทศ
5.2 ระดับการจัดการของรัฐบาลกลาง
ควรเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมและมีความเป็นอิสระจากรัฐบาล ซึ่งควรเป็น
หน่วยงานกึ่งรัฐบาลและควรมีองค์ประกอบขององค์กรมาจากทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน ซึ่งสามารถมี
อานาจหน้าทีในการรับใบสมัครการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน การจัดทาข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาล และ
ติดตามผลการดาเนินงานของเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนและเผยแพร่ผลการดาเนินงานสู่สาธารณะเป็นระยะ
เชิญ ไกรนรา สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Page 7
5.3 ระดับการจัดการของเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
ควรเป็นหน่วยงานที่บริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่อยู่ภายใต้การกากับดูแลของระดับการจัดการ
ของรัฐบาลกลาง ซึ่งตามแนวปฏิบัติโดยสากลแล้วส่วนใหญ่จะให้เอกชนเป็นผู้บริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ชายแดนโดยผ่านกระบวนการจัดจ้างของภาครัฐ
5.4 แนวโน้มกรอบการจัดองค์กรเพื่อจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จะมุ่งเน้นการการดาเนินให้
ครอบคลุมภารกิจต่างๆ ประกอบด้วย
 องค์กรที่จัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนรับผิดชอบในการกาหนดกฎระเบียบต่างๆ ภายในเขต
เศรษฐกิจพิเศษชายแดนเท่านั้น
 ผู้ประกอบการภาคเอกชนก่อสร้าง เป็นเจ้าของ และบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนบน
พื้นฐานของการคืนทุน
 การจัดตั้งศูนย์บริการ ณ จุดเดียว ในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเพื่อการดาเนินการที่รวดเร็วของการ
ออกใบอนุญาตและงานเอกสารต่างๆ
 เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนให้บริการครอบคลุมธุรกิจบริการการที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ธุรกิจการรับ
บริการขนส่งสินค้าและบริการอื่นๆ
5.5 แนวทางการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนแนวใหม่ ที่สามารถประยุกต์ใช้ในการ
บริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน โดยการแบ่งภารกิจออกเป็น 2 บทบาทสาคัญคือ
 บทบาทของภาคภาครัฐ ควรเน้นการให้เช่าที่ดินหรือการขายที่ดิน การจัดหาโครงสร้างพื้นฐาน
ภายนอกเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน การจัดทากฏระเบียบที่เกี่ยวข้องต่างๆ การบารุงรักษาของพื้นที่ที่ใช้
ประโยชน์ร่วมกัน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาสังคมและบริการพื้นฐานของเมือง
 บทบาทของภาคเอกชน ควรเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การจัดหาสาธารณูปการ เช่น ไฟฟ้า ระบบโทรคมนาคม การจัดหาบริการต่างๆที่
ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์ร่วมกัน การรับจ้างเพื่อทาภารกิจต่างๆแทนหน่วยงานภาครัฐ และการส่งเสริมการ
ลงทุน
6.บทสรุป
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกอันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ได้ส่งผลให้เกิดการรวมกลุ่มประเทศใน
ภูมิภาคโดยเฉพาะประชาคมอาเซียนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันภายใน
ภูมิภาคและเสริมสร้างสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มอานาจการต่อรองภายนอกภูมิภาค ตลอด
ทั้งกระตุ้นให้ภูมิภาคชายแดนมีบทบาทสาคัญมากขึ้นตามลาดับซึ่งเป็นผลจากจากความร่วมมือระหว่างประเทศ
ไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนที่สนับสนุนการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาแนวพื้นที่พัฒนา
เศรษฐกิจข้ามพรมแดนภายใต้แผนงานการพัฒนาความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มน้าโขง ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ
ทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง และแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-
ไทย ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงบทบาทของเมืองชายแดนของไทยในปัจจุบันให้เป็น ศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งใหม่
บริเวณชายแดนโดยการผลักดันให้เกิดการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเพื่อการบูรณาการเศรษฐกิจกับ
ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งไทยควรคัดเลือกและจัดลาดับความสาคัญของที่ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนตาม
เชิญ ไกรนรา สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Page 8
ศักยภาพทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันควรกาหนดนโยบายและกลไกการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ชายแดนในระดับต่างๆ อย่างเป็นเอกภาพและบูรณาการ ตลอดทั้งควรมีการออกแบบการให้สิทธิประโยชน์เพื่อ
ส่งเสริมการลงทุนที่เหมาะสมกับระบบเศรษฐกิจไทย โดยควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและภาค
ประชาชาชนทั้งระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่นอย่างรอบด้านในกระบวนการวางแผนและจัดตั้งเขต
เศรษฐกิจพิเศษชายแดน
เอกสารอ้างอิง
Brannon, J., James, D., and Lucker, G. 2537. Generating and Sustaining Backward
Linkages Between Maquiladoras and Local Suppliers in Northern Mexico.World
Development,22, no. 12: 1933-1945.
Brouthers, L.E., McCray, J.P.and Wikinson, T.J. 2542.Maquiladoras:
Entrepreneurial Experimentation to Global Competitiveness. Business Horizons,
Fullerton, T. 2546. Recent Trends in Border Economics. Social Science Journal, 40:
583-592.
Hanson, H.G.2539.Economic Integration, Interindustry Trade and Frontier Regions.
European Economic Review, 40:941-949.
Jessop, B. 2545.The Political Economy of Scale, in Perkmann, M. & Ling Sum, N.
(eds.), Globalization, Regionalization and Cross-Border Regions: 25-49. New
York: Palgrave Macmillan.
Kishore Rao.2547.Global Experience and Best Practices on Special Economic Zones. Bearing Point, Inc.
Krätke, S. 2545. Cross-Border Cooperation and Regional Development in German-
Polish Border Area, in Perkmann, M. & Ling Sum, N. (eds.), Globalization,
Regionalization and Cross-Border Regions: 125-147. New York: Palgrave
Macmillan.
Krugman, P. and Livas, R.2535.Trade Policy and the Third World Metropolis.
Working Paper, 4238.
Peña, S.2548.Cross-Border Planning, What Is It? Implication for the U.S.-Mexico
Border. Aesop.Vienna:1-10.
Pick, J.B.,Viswanathan, N. and Hettrick, J. 2544. The U.S.-Mexican Borderlands
Region: a Binational Spatial Analysis. The Social Science Journal, 38:567-595.
Sargent, J. and Mattews, L. 2546.Boom and Bust: Is It the End of Mexico’s
Maquiladoras?. Business Horizon, March.
Sassen, S.2544. The Global City: New York, Tokyo and London. Princeton, NJ,
Princeton University Press.
Scott, J.W.2545.On the Political Economy of Cross-Border Regionalism: Regional
Development and Cooperation on the US-Mexican Border. In Perkmann, M. and
Ling Sum, N. (eds.), Globalization, Regionalization and Cross- Border Regions:
191-211. New York: Palgrave Macmillan.
เชิญ ไกรนรา สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Page 9
Xavier Barre.2548.Analysis of the draft Federal Law “On Special Economic Zones of the
Russian Federation” (Version of 1 5 March 2005).Russian-European Centre for Economic
Policy (RECEP).
Yang, C. 2549. The Pearl River Delta and Hong Kong: an Evolving Cross-Boundary
Region Under “One Country, Two Systems”. Habitat International, 30: 61-86.
http://ebook.law.uiowa.edu/ebook/faqs/what-are-special-economic-zones เข้าถึง 11 มิถุนายน
2555
http://library.dip.go.th/multim5/News/2555/N06491.pdf เข้าถึงเมื่อ 8 มิถุนายน 2555
http://www.investopedia.com/terms/s/sez.asp#axzz1xBkwMRuy เข้าถึงเมื่อ 8 มิถุนายน 2555
http://geography.about.com/od/urbaneconomicgeography/a/maquiladoras.htm เข้าถึงเมื่อ 8
มิถุนายน 2555
http://en.wikipedia.org/wiki/Kaesong_Industrial_Region เข้าถึงเมื่อ 8 มิถุนายน 2555
http://en.wikipedia.org/wiki/Iskandar_Malaysia เข้าถึงเมื่อ 8 มิถุนายน 2555

More Related Content

What's hot

Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554
Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554
Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554TISA
 
เศรษฐศาสตร์บทที่ 2
เศรษฐศาสตร์บทที่ 2เศรษฐศาสตร์บทที่ 2
เศรษฐศาสตร์บทที่ 2
songyangwtps
 
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัท  การบินไทย จำกัด (มหาชน)บริษัท  การบินไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)Love Plukkie Zaa
 
คู่มือการค้าการลงทุนในพม่า
คู่มือการค้าการลงทุนในพม่าคู่มือการค้าการลงทุนในพม่า
คู่มือการค้าการลงทุนในพม่า
Sompop Petkleang
 
งานนำเสนอหลักการตลาด การบินไทย
งานนำเสนอหลักการตลาด การบินไทยงานนำเสนอหลักการตลาด การบินไทย
งานนำเสนอหลักการตลาด การบินไทย
อภิวัฒน์ เฉลิมชัย
 
Power point รวมกลุ่มเศรษฐกิจ แก้ใหม่
Power point รวมกลุ่มเศรษฐกิจ แก้ใหม่Power point รวมกลุ่มเศรษฐกิจ แก้ใหม่
Power point รวมกลุ่มเศรษฐกิจ แก้ใหม่thnaporn999
 
Burma Thai relations
Burma   Thai relationsBurma   Thai relations
Burma Thai relationsFishFly
 
วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556
วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556
วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556สุพัชชา อักษรพันธ์
 

What's hot (8)

Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554
Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554
Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554
 
เศรษฐศาสตร์บทที่ 2
เศรษฐศาสตร์บทที่ 2เศรษฐศาสตร์บทที่ 2
เศรษฐศาสตร์บทที่ 2
 
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัท  การบินไทย จำกัด (มหาชน)บริษัท  การบินไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
 
คู่มือการค้าการลงทุนในพม่า
คู่มือการค้าการลงทุนในพม่าคู่มือการค้าการลงทุนในพม่า
คู่มือการค้าการลงทุนในพม่า
 
งานนำเสนอหลักการตลาด การบินไทย
งานนำเสนอหลักการตลาด การบินไทยงานนำเสนอหลักการตลาด การบินไทย
งานนำเสนอหลักการตลาด การบินไทย
 
Power point รวมกลุ่มเศรษฐกิจ แก้ใหม่
Power point รวมกลุ่มเศรษฐกิจ แก้ใหม่Power point รวมกลุ่มเศรษฐกิจ แก้ใหม่
Power point รวมกลุ่มเศรษฐกิจ แก้ใหม่
 
Burma Thai relations
Burma   Thai relationsBurma   Thai relations
Burma Thai relations
 
วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556
วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556
วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556
 

Viewers also liked

การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดาการพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
FURD_RSU
 
การศึกษาการพัฒนาและการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในต่างประเทศ (A Study...
การศึกษาการพัฒนาและการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในต่างประเทศ (A Study...การศึกษาการพัฒนาและการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในต่างประเทศ (A Study...
การศึกษาการพัฒนาและการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในต่างประเทศ (A Study...
Dr.Choen Krainara
 
Border Digital City กับการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน
Border Digital City กับการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนBorder Digital City กับการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน
Border Digital City กับการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน
OBELS MFU
 
Policy Analysis on Development of Special Border Economic Zones in Thailand (...
Policy Analysis on Development of Special Border Economic Zones in Thailand (...Policy Analysis on Development of Special Border Economic Zones in Thailand (...
Policy Analysis on Development of Special Border Economic Zones in Thailand (...
Dr.Choen Krainara
 
Border Economic Zones and Development Dynamics in Thailand: A Comparative Stu...
Border Economic Zones and Development Dynamics in Thailand: A Comparative Stu...Border Economic Zones and Development Dynamics in Thailand: A Comparative Stu...
Border Economic Zones and Development Dynamics in Thailand: A Comparative Stu...
Dr.Choen Krainara
 
เค้าโครงวิจัยปริญญาเอก
เค้าโครงวิจัยปริญญาเอกเค้าโครงวิจัยปริญญาเอก
เค้าโครงวิจัยปริญญาเอกarunrat bamrungchit
 
Special economic zone
Special economic zoneSpecial economic zone
Special economic zone
Aakash Varma
 
ทฤษฏีการค้าระหว่างประเทศ
ทฤษฏีการค้าระหว่างประเทศทฤษฏีการค้าระหว่างประเทศ
ทฤษฏีการค้าระหว่างประเทศ
tumetr
 
02 เคลื่อนที่แนวตรง
02 เคลื่อนที่แนวตรง02 เคลื่อนที่แนวตรง
02 เคลื่อนที่แนวตรง
wiriya kosit
 
SEZ in India
SEZ in IndiaSEZ in India
SEZ in India
SWANAND INTERNATIONAL
 
ร่างแผนแม่บทเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย
ร่างแผนแม่บทเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงรายร่างแผนแม่บทเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย
ร่างแผนแม่บทเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย
Kn Ve
 

Viewers also liked (11)

การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดาการพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
 
การศึกษาการพัฒนาและการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในต่างประเทศ (A Study...
การศึกษาการพัฒนาและการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในต่างประเทศ (A Study...การศึกษาการพัฒนาและการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในต่างประเทศ (A Study...
การศึกษาการพัฒนาและการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในต่างประเทศ (A Study...
 
Border Digital City กับการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน
Border Digital City กับการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนBorder Digital City กับการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน
Border Digital City กับการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน
 
Policy Analysis on Development of Special Border Economic Zones in Thailand (...
Policy Analysis on Development of Special Border Economic Zones in Thailand (...Policy Analysis on Development of Special Border Economic Zones in Thailand (...
Policy Analysis on Development of Special Border Economic Zones in Thailand (...
 
Border Economic Zones and Development Dynamics in Thailand: A Comparative Stu...
Border Economic Zones and Development Dynamics in Thailand: A Comparative Stu...Border Economic Zones and Development Dynamics in Thailand: A Comparative Stu...
Border Economic Zones and Development Dynamics in Thailand: A Comparative Stu...
 
เค้าโครงวิจัยปริญญาเอก
เค้าโครงวิจัยปริญญาเอกเค้าโครงวิจัยปริญญาเอก
เค้าโครงวิจัยปริญญาเอก
 
Special economic zone
Special economic zoneSpecial economic zone
Special economic zone
 
ทฤษฏีการค้าระหว่างประเทศ
ทฤษฏีการค้าระหว่างประเทศทฤษฏีการค้าระหว่างประเทศ
ทฤษฏีการค้าระหว่างประเทศ
 
02 เคลื่อนที่แนวตรง
02 เคลื่อนที่แนวตรง02 เคลื่อนที่แนวตรง
02 เคลื่อนที่แนวตรง
 
SEZ in India
SEZ in IndiaSEZ in India
SEZ in India
 
ร่างแผนแม่บทเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย
ร่างแผนแม่บทเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงรายร่างแผนแม่บทเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย
ร่างแผนแม่บทเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย
 

More from Dr.Choen Krainara

Certificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk SupervisionCertificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective LeaderCertificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project ManagementCertificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project Management
Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management LeadershipCertificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management Leadership
Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk ManagementCertificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk Management
Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict SettingsCertificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in EmergenciesCertificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and SecurityCertificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian ActionCertificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in PartnershipsCertificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in Partnerships
Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding EssentialsCertificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
Dr.Choen Krainara
 

More from Dr.Choen Krainara (20)

Certificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk SupervisionCertificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk Supervision
 
Certificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective LeaderCertificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective Leader
 
Certificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project ManagementCertificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project Management
 
Certificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management LeadershipCertificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management Leadership
 
Certificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk ManagementCertificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk Management
 
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict SettingsCertificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
 
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
 
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
 
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in EmergenciesCertificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
 
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
 
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and SecurityCertificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
 
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
 
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian ActionCertificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
 
Certificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in PartnershipsCertificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in Partnerships
 
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
 
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding EssentialsCertificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
 

การพัฒนาและการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในต่างประเทศ

  • 1. เชิญ ไกรนรา สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. Page 1 การศึกษาการพัฒนาและการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในต่างประเทศ 13 มิถุนายน 2555 1.เขตเศรษฐกิจกิจพิเศษคืออะไร เนื่องจากไม่มีคานิยามของ “เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน”โดยตรง แต่สามารถประยุกต์ใช้ความหมายของ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ”ซึ่งศูนย์การเงินและการพัฒนาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยไอโอว่า (2553) ได้ให้คา จากัดความว่า หมายถึงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งบริหารจัดการโดยองค์กรหนึ่งซึ่งให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ บริษัทที่เลือกที่ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจนั้น ดังนั้นวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเพิ่มการค้าใน ภูมิภาคต่างๆโดยการให้สิทธิพิเศษทางการค้าเพื่อกระตุ้นการลงทุนทั้งภายในท้องถิ่นเองและจากต่างประเทศ ภายในภูมิภาคนั้นๆ ซึ่งกฎหมายที่ปกติใช้ทั่วไปทั้งประเทศอาจถูกยกเว้นการใช้ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ การ ประกอบการในเขตเศรษฐกิจพิเศษปกติแล้วบริษัทเอกชนจะได้รับสิทธิจูงใจทางภาษีและโอกาสในการจ่ายภาษี ต่างๆที่ต่ากว่าปกติ โดยแต่ละประเทศจะใช้ความหมายและคาอธิบายเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษที่แตกต่างกัน ไป เขตเศรษฐกิจพิเศษสามารถจาแนกออกได้เป็น 6 ประเภทคือ เขตการค้าเสรี (Free Trade Zones: FTZ) เขตการแปรรูปเพื่อการส่งออก (Export Processing Zones: EPZ) เขตประกอบการอุตสาหกรรม (Enterprise Zone) โรงงานเดี่ยว (Single Factories) ท่าเรือเสรี (Freeports) และเขตเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะ ด้าน (Specialized Zone) แต่โดยทั่วๆเขตเศรษฐกิจพิเศษจะตั้งอยู่ใกล้เมืองชายแดนหรือท่าเรือ 2.แนวคิดความร่วมมือการพัฒนาตามแนวชายแดน Perkmann และ Sum (2545) ได้ให้คานิยามของ “ภูมิภาคข้ามพรมแดน (Cross border region: CBR)”ว่า หมายถึงหน่วยของพื้นที่ซึ่งประกอบด้วยหน่วยพื้นที่ที่ระดับภูมิภาคที่ติดต่อกันจาก 2 ประเทศหรือมากกว่า Than (2540 อ้างถึงใน Jessop 2545) กล่าวว่าเนื่องจากความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์และการพึ่งพาซึ่งกันและ กันทาให้การค้าขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาทั้งในระดับภูมิภาคและระดับอนุภูมิภาคเว้นแต่ประเทศ สมาชิกได้ห้ามกิจกรรมทางการค้าข้ามพรมแดนเนื่องจากเหตุผลด้านการเมือง ความมั่นคงหรือเศรษฐกิจ ภูมิภาคข้ามพรมแดนจะสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันโดยการใช้ประโยชน์จากการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ระหว่างแหล่งผลิตต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาสามเหลี่ยมเศรษฐกิจสิงคโปร์-ย ะโฮร์-เรียว ( SIJORI Growth Triangle) สหภาพยุโรปและประเทศที่เป็นอดีตสังคมนิยม เราสามารถจาแนกภูมิภาคข้ามพรมแดนออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ Matinez (2537 อ้างถึงใน Yang 2549) จัดกลุ่มแนวคิดการมีปฏิสัมพันธ์ข้ามพรมแดนออกได้เป็น 4 ระดับคือ พื้นที่ชายแดนที่ไม่รู้จักกัน (Alienated borderlands) ประเทศเพื่อนบ้านยอมรับว่ามีพื้นที่ชายแดนร่วมกัน (Co-existent borderlands) พื้นที่ ชายแดนที่มีการพึ่งพาซึ่งกันและกัน (Interdependent borderlands) และพื้นที่ชายแดนที่มีการบูรณาการ จนเป็นพื้นที่เดียวกัน (Integrated borderlands) ในขณะที่ Krâtke (2545) ได้จาแนกความร่วมมือข้าม พรมแดนโดยพิจารณาจากความแตกต่างของขนาดทางภูมิศาสตร์ของความเชื่อมโยงข้ามพรมแดนระหว่าง ประเทศที่มีพรมแดนติดกันออกเป็น 3 รูปแบบคือ  รูปแบบ A ความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีระยะทางไกล ผลกระทบจะไม่เกิดขึ้นที่ภูมิภาคชายแดน โดยตรง แต่กระนั้นก็ตามก็อาจส่งผลกระทบให้มีการย้ายการลงทุนออกไปจากภูมิภาคชายแดน
  • 2. เชิญ ไกรนรา สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. Page 2  รูปแบบ B โครงสร้างความร่วมมือที่ข้ามประเทศและภูมิภาค ซึ่งข้ามพื้นที่ชายแดนด้านหนึ่งรวมทั้ง การเชื่อมโยงระหว่างบริษัทต่างๆ ในพื้นที่ส่วนหนึ่งของภูมิภาคชายแดนและบริษัทต่างๆที่ตั้งอยู่ ภายนอกพื้นที่ชายแดนในประเทศเพื่อนบ้าน  รูปแบบ C การบูรณาการความร่วมมือระดับภูมิภาค ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเชื่อมโยงระหว่างบริษัท ต่างๆ ของทั้งสองด้านภายในพื้นที่ชายแดน Peña (2548) ได้เน้นว่ามีหลายการศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อกาหนดเป็นทฤษฏีหรือรูปแบบของ ชายแดนจากมุมมองเชิงพื้นที่ที่เกิดจากการค้าระหว่างประเทศ ทฤษฏีที่ตั้งและทฤษฏีศูนย์กลางของสถานที่ Krugman and Livas (2535) ได้อธิบายความแตกต่างระหว่างความได้เปรียบเทียบเชิงเปรียบเทียบของ ภูมิภาคที่เป็นพลวัตรและความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบที่อยู่กับที่ ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบที่เป็นพล วัตรคือตัวแปรต่างๆที่แตกต่างกันระหว่างภูมิภาคซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับผลิตภาพ เช่น ทรัพยากรมนุษย์และ ทุนทางกายภาพ ความได้เปรียบที่อยู่กับที่คือตัวแปรต่างๆที่อยู่ประจาที่และมีลักษณะเฉพาะของภูมิภาค เช่น การมีพื้นที่ติดกับทะเลหรือการมีที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดน Hanson (2539) ได้สนับสนุนว่าความได้เปรียบของ พื้นที่ที่อยู่กับที่สามารถลดค่าขนส่งได้ดังนั้นพื้นที่ชายแดนหรือท่าเรือเป็นที่ตั้งโดยธรรมชาติเพื่อการผลิตและ ศูนย์กลางทางธรรมชาติเพื่อการค้าระหว่างประเทศ Sassen (2544) ก็ได้ให้เหตุผลว่าโลกาภิวัตน์ได้ทาให้เกิด ระบบลาดับชั้นของเมืองทั่วโลก ซึ่งเป็นเครือข่ายการผลิตที่ซับซ้อนส่งผลให้ลาดับชั้นของเมืองต่างๆ ตอบสนอง ต่อระบบลาดับชั้นของเมืองระหว่างประเทศมากกว่าระบบเมืองของแต่ละประเทศ ซึ่งหมายถึงในภูมิภาคหรือ เมืองที่การค้าระหว่างประเทศมีบทบาทสาคัญ เช่น ภูมิภาคชายแดน ลาดับชั้นของเมืองต่างๆ เหล่านั้นจะ ตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกต่างๆมากกว่าปัจจัยภายใน Alegria (2532) อ้างถึงใน Peña (2548) ได้จาแนกออกเป็น 2 หลักการกว้างๆ ซึ่งกาหนดลาดับชั้นของเมือง ระหว่างกันของพื้นที่ชายแดนคือ (1) ต้นทาง ปลายทางและความเข้มข้นของการไหลเวียนต่างๆ (ทุน สินค้า และแรงงาน ) เป็นกุญแจสาคัญที่จะสร้างความแตกต่างของกระบวนการมีปฏิสัมพันธ์ไปพร้อมกันในพื้นที่ เดียวกันตั้งแต่ระดับชาติ ระดับข้ามพรมแดนและระดับข้ามประเทศ และ (2) ความใกล้ชิดกันทางภูมิศาสตร์ ของความแตกต่างด้านโครงสร้าง (ราคา คุณภาพของสินค้าและตัวเลือกต่างๆ เป็นต้น ) เพิ่มกระบวนการข้าม พรมแดน สาหรับการศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ชายแดน Fullerton (2546) ได้เน้นว่าเพิ่งกาเนิดเมื่อไม่นาน มานี้จากการยอมรับ มากขึ้นในการศึกษาปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจภายในสถานการณ์เฉพาะตัวเกี่ยวกับภูมิ รัฐศาสตร์ และในปัจจุบันได้รับความสนใจมากขึ้นเนื่องจากการบูรณาการทางเศรษฐกิจข้ามพรมแดนที่มีมาก ขึ้นในหลายภูมิภาคของโลก เขาได้ระบุลักษณะเฉพาะตัวของเศรษฐศาสตร์ชายแดนออกเป็น 5 ปัจจัย ประกอบด้วย ประชากรเมื่อมีความแตกต่างด้านรายได้ และมีอัตราการว่างงานสูง เช่น ระหว่างเม็กซิโกและ สหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่แล้วจะตามมาด้วยการอพยพออกจากภูมิภาคที่มีรายได้ต่าไปยังตลาดที่มีรายได้สูงกว่า ผลกระทบของการกระจายวงจรธุรกิจและอัตราการแลกเปลี่ยนต่อการค้าปลีกชายแดน การพัฒนา อุตสาหกรรมและตลาดแรงงาน และเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติบริเวณแนวชายแดน 3.องค์ประกอบของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณชายแดนหรือห่างจากพื้นที่ชายแดนเข้ามายังพื้นที่ตอนใน ไม่เกิน 100 กิโลเมตร กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในเขตเศรษฐกิจชายแดนส่วนใหญ่ประกอบด้วย โรงงาน อุตสาหกรรม ศูนย์อานวยการด้านศุลกากร ศูนย์บริการด้านต่างๆ ของรัฐบาล คลังสินค้าทัณฑ์บน ศูนย์
  • 3. เชิญ ไกรนรา สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. Page 3 กระจายสินค้า ตลาดการค้าชายแดน โรงงานบาบัดน้าเสีย พื้นที่สีเขียว และโครงสร้างพื้นฐานด้านสังคม เช่น ที่อยู่อาศัย บริการทางการศึกษา โรงพยาบาล การขนส่งและการสื่อสาร ห้างสรรพสินค้า การท่องเที่ยว การ จัดทาบรรจุภัณฑ์ บริการธนาคารและการประกันภัย เป็นต้น 4.กรณีศึกษาการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่สาคัญในต่างประเทศ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเริ่มดาเนินการครั้งแรกระหว่างประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2508 ซึ่งโดยทั่วไปเรียกกันว่ามาควิลาดอร่า (Maquiladora) หรือเขตการผลิตอุตสาหกรรมเพื่อการ ส่งออกโดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการจ้างงานในเมืองชายแดน มาควิลาดอร่าส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณชายแดน ด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่รู้จักกันในชื่อ “Zona Libre” หรือเขตเสรีซึ่งประกอบด้วยรัฐบาจา แคลิฟฟอเนีย และบางเมืองในรัฐโซโนร่าที่มีบทบาทเป็นเมืองท่าเสรี ซึ่งการค้าและการลงทุนจากสหรัฐอเมริกาในเขตนี้เป็นไป อย่างเสรี อุตสาหกรรมหลักในเขตเศรษฐกิจชายแดนเหล่านี้ประกอบด้วยสิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า และยานยนต์ (Brannon และคณะ 2537 และ Sargent และ Matthews 2546) จากการศึกษาของ Brouthers และคณะ (2542) พบว่าการขยายตัวของอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดนแบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ ระยะการขยายตัวของการประกอบการ ระยะการขยายตัวของภูมิภาค ระยะการขยายตัวของบริษัท ข้ามชาติ และระยะการขยายตัวของเขตเศรษฐกิจอเมริกาเหนือ แต่ละระยะสะท้อนถึงขีดความสามารถในการ แข่งขัน 4.1 ประโยชน์ของเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เขตเศรษฐกิจชายแดนของเม็กซิโกได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมากมายเนื่องจากเป็นตัวหลักใน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและแหล่งจ้างงานที่สาคัญ แม้ว่าจะมีแนวโน้มลดจานวนลงแต่ในปี 2545 ก็ยังมีโรงงาน อุตสาหกรรมชายแดนประมาณ 3 ,000 แห่ง ตามแนวชายแดนประมาณ 2 ,000 ไมล์ระหว่างเม็กซิโก- สหรัฐอเมริกา ทาให้เกิดการจ้างงานประมาณ 1 ล้านคนและเม็กซิโกนาเข้าสินค้ามากกว่า 51 พันล้านเหรียญ สหรัฐ นอกจากนี้การพึ่งพาระหว่าง 2 ประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็วผ่านการค้าชายแดนระดับดับท้องถิ่นและ ระดับภูมิภาคซึ่งส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเมืองเมืองชายแดนของทั้งสองประเทศ (Scott 2545) 4.2 ปัญหาจากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน แต่กระนั้นก็ตามก็ยังมีปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาอุตสาหกรรมชายแดนในหลายรูปแบบเนื่องจากมีการกระจุก ตัวการลงทุนของต่างชาติโดยการพึ่งพาของอุตสาหกรรมอย่างสมบูรณ์จากการนาเข้าวัตถุดิบหรือใช้วัตถุดิบจาก เม็กซิโกน้อยกว่าร้อยละ 2 ด้วยเหตุนี้ทาให้การสนับสนุนต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของ ประเทศเม็กซิโกน้อยกว่าศักยภาพที่มีเนื่องจากไม่มีการบูรณาการเข้ากับพื้นที่อื่นของเศรษฐกิจในภูมิภาคหรือ เศรษฐกิจระดับชาติ งานบางอย่างและบางโรงงานถูกย้ายจากสหรัฐอเมริกามายังเขตเศรษฐกิจชายแดนใน เม็กซิโก มีความแตกต่างกันทั้งสองฝั่งของชายแดนทั้งด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม สินค้าทุนที่ผลิตได้ ไม่ได้จาหน่ายในตลาดภายในประเทศเม็กซิโก แต่กลับส่งออกสินค้าเกือบทั้งหมดไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีรายงานเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของกลุ่มแรงงานราคาถูก การกดขี่ทางเพศต่อสตรี การ บังคับทางานล่วงเวลา สภาพการทางานผิดกฎหมายสาหรับแรงงานเด็ก การพัฒนาอุตสาหกรรมและการ ขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชากรนาไปสู่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อพืชท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลงการ
  • 4. เชิญ ไกรนรา สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. Page 4 ตารางที่ 1 การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่สาคัญในต่างประเทศ ชื่อเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ขนาดพื้นที่และอุตสาหกรรมเป้าหมาย สิทธิพิเศษที่ให้แก่นักลงทุน 1.เขตผลิดเพื่อการส่งออกมาควิลาโดร่า ระหว่างเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา เปิดดาเนินการปี 2508 อุตสาหกรรมหลักคืออุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ ตัดเย็บเสื้อผ้า พลาสติก เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนยานยนต์ สินค้าที่ผลิตประมาณ 90 % ส่งกลับไปจาหน่ายยังสหรัฐอเมริกา เขตปลอดภาษีรายได้และภาษีศุลกากร 2.เขตเศรษฐกิจพิเศษคอสทรีน-สลูบิส ระหว่างโปแลนด์และเยอรมัน เปิดดาเนินการปี 2540 อุตสาหกรรมหลักคืออุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ เฟอร์นิเจอร์สานักงาน อุปกรณ์ตกแต่งสานักงาน เคมี สิ่งทอ วิศวกรรมและอาหาร ซึ่งดึงดูดนักลงทุนจากประเทศต่างๆ ทั่วภูมิภาคยุโรป การลดหย่อนภาษีรายได้สาหรับเงินลงทุนครั้งแรกหรือการ สร้างที่ทางานใหม่ 3.เขตเศรษฐกิจชายแดนระหว่างประเทศจีนกับ ประเทศเพื่อนบ้าน มีทั้งสิ้น 14 เขต และที่สาคัญคือ 3.1 เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจชายแดนรุ่ยลี่ ระหว่างจีนกับพม่า 3.2 เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจชายแดนเฮกุ ระหว่างจีนกับเวียดนาม 3.3 เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจชายแดน ดองซิง ระหว่างจีนและเวียดนาม 3.4 เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจชายแดน ผิงเสียง ระหว่างจีนและเวียดนาม 3.5 เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจชายแดน ยีหนิง ระหว่างจีนและคาซัคสถาน เปิดดาเนินการปี 2535 มีพื้นที่ 6 ตร.กม. ส่งเสริมการแปรรูปอุตสาหกรรม เกษตรกรรมในท้องถิ่นและทรัพยากรชีวภาพ เปิดดาเนินการเมื่อปี 2536 ส่งเสริมการค้าชายแดน การแปรรูปทรัพยากร การเกษตรและการท่องเที่ยว เปิดดาเนินการเมื่อปี 2550 มีพื้นที่ 10 ตร.กม.พัฒนาเป็นเขตการแปรรูปเพื่อการ ส่งออกชายแดน การบริการขนส่งเพื่อการค้า และการท่องเที่ยวชายแดน เปิดดาเนินการปี 2552 มีเนื้อที่ 7.20 ตร.กม. ส่งเสริมการผลิตเครื่องจักรและ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เคมี บริการต่างๆ การขนส่งระหว่างประเทศโดยเน้นการ เก็บรักษาและอุตสาหกรรมข้อมูลช่าวสารและเทคโนโลยีการสื่อสาร เปิดดาเนินการปี 2535 มีเนื้อที่ 30 ตร.กม.ส่งเสริมอุตสาหกรรมอุปกรณ์ก่อสร้าง เสื้อผ้าและสิ่งทอ เคมีภัณฑ์ เทคโนโลยีชีวภาพ เวชภัณฑ์ การแปรรูปอาหารและ เครื่องดื่มและของเด็กเล่น ไม่ระบุ สินค้า 3 ชนิดสามารถส่งออกโดยปลอดภาษี คือ ยางพารา ถ่านหินและสินค้าประมง เป็นเขตปลอดอากร (Tax-free Zone) บริหารจัดการความ ร่วมมือแบบ “2 ประเทศ 1 เขต” สินค้าเข้า-ออกผ่านเขตคลังสินค้าทัณฑ์บนของเขตความ ร่วมมือจะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี 3 อย่าง คือ สินค้าใน ประเทศได้รับการคุ้มครองภาษีอากร สินค้านาเข้าได้รับการ ยกเว้นภาษี สินค้าส่งออกได้รับสิทธิขอคืนภาษี ไม่ระบุ
  • 5. เชิญ ไกรนรา สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. Page 5 3.6 เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจชายแดน ทาเชง ระหว่างจีนและคาซัคสถาน 3.7 เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจชายแดน โบเล ระหว่างจีนและคาซัคสถาน 3.8 เขตเศรษฐกิจพิเศษเซิ่นเจิ้น ระหว่างจีนและ ฮ่องกง เปิดดาเนินการปี 2535 มีเนื้อที่ 6.50 ตร.กม.เป้าหมายเพื่อส่งเสริมการค้า การ กระจายสินค้า บริการโกดังและบริการขนส่งสินค้า เปิดดาเนินการปี 2535 มีเนื้อที่ 7.8 ตร.กม. เป้าหมายเพื่อเป็นเขตการค้าเสรี ส่งเสริมการค้าชายแดน การกระจายสินค้าและบริการขนส่งสินค้า เปิดดาเนินการปี 2523 มีเนื้อที่ 1,953 ตร.กม. เป้าหมายเพื่อเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ แห่งแรกของจีนและประสบความสาเร็จมากที่สุด ส่งเสริมอุตสาหกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ การผลิตยา การก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ ซอฟแวร์ คอมพิวเตอร์ การประกอบและการผลิตอิเลคทรอนิคส์ การผลิตเครื่องมือ อุตสาหกรรมและเครื่องมือวัด อุปกรณ์ทางการแพทย์ การวิจัยและพัฒนา และอุปกรณ์โทรคมนาคม ไม่ระบุ ไม่ระบุ มาตรการจูงใจด้านภาษีสาหรับการลงทุนจากต่างชาติในเขต เศรษฐกิจพิเศษ 4.ภูมิภาคอุตสาหกรรมเคซอง ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ เปิดดาเนินการปี 2545 พื้นที่ 66 ตร.กม. ภายในปี 2555 จะมีการจ้างงานประมาณ 700,000 คน บริษัทจากเกาหลีใต้ใช้ประโยชน์จากแรงงานราคาถูกของเกาหลีเหนือ เพื่อผลิตสินค้ามาตรฐานต่า เช่น รองเท้า เสื้อผ้า และนาฬิกา เพื่อแข่งขันกับจีน การลดหย่อนภาษีรายได้จากธุรกิจ 5.ภูมิภาคการพัฒนาอีสกันดาร์ ระหว่างมาเลเซียและสิงคโปร์ เปิดดาเนินการปี 2549 พื้นที่ 2,217 ตร.กม. ประมาณ 60 % ของมูลค่าเพิ่มด้าน อุตสาหกรรมมาจากอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเคมี และผลิตภัณฑ์เคมี เช่น ปิโตรเคมีคัล พลาสติก และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร มาตรการลดหย่อนด้านภาษีจากรายได้ธุรกิจในสาขา อุตสาหกรรมและบริการประเภทต่างๆ 6.เขตเศรษฐกิจพิเศษบาตัม ระหว่างเกาะบาตัมของอินโดนีเซียและสิงคโปร์ เปิดดาเนินการปี 2550 เป็นเขตการค้าเสรี อุตสาหกรรมหลักคือการต่อเรือและ อุตสาหกรรมอิเลกทรอนิคส์ สินค้าที่ส่งออก-นาเข้าระหว่างบาตัมและสิงคโปร์ปลอดภาษี ศุลกากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม 7.เขตเศรษฐกิจพิเศษบาเวต ระหว่างกัมพูชาและเวียดนาม เปิดดาเนินการปี 2548 มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและ อุตสาหกรรมการผลิตจักรยานและบริการคาสิโนชายแดน รายได้จากธุรกิจปลอดภาษีระยะเวลา 5 ปี ไม่เก็บภาษี นาเข้าสาหรับเครื่องมือ ชิ้นส่วนและวัสดุการก่อสร้าง ไม่เก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่ม สิทธิการถือครองที่ดินระยะเวลา 50 ปี และการบริการส่งออก-นาเช้า ณ จุดเดียว ที่มา: จากการรวบรวมโดยผู้เขียน 2555
  • 6. เชิญ ไกรนรา สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. Page 6 ไหลเวียนของน้าในแม่น้าธรรมชาติและคูคลอง และการขาดการวางแผนในด้านของเม็กซิโกและมีอยู่บ้าง เล็กน้อยในส่วนของสหรัฐอเมริกา (Brannon และคณะ 2537; Carillo-Huerta และ Urquidi 2532 อ้างถึงใน Brannon และคณะ 2537; Brouthers และคณะ 2542; Pick และคณะ 2544) สาหรับตัวอย่างการพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่สาคัญในต่างประเทศปรากฏดังตารางที่ 1 ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนอย่างกว้างขวางโดยในภูมิภาคเอเชียมี เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่อยู่ระหว่างการวางแผนดาเนินการได้แก่  เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนแม่สอด เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเชียงของ เขตเศรษฐกิจพิเศษ ชายแดนสะเดา และเขตเศรษฐกิจพิเศษกาญจนบุรี ในประเทศไทย  เขตเศรษฐกิจพิเศษปอยเปตโอเนียง ประเทศกัมพูชา วางแผนเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับเมืองชายแดน อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ของประเทศไทย  เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวันโซโน ประเทศลาว วางแผนเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับเมืองชายแดน มุกดาหาร ของประเทศไทย  เขตเศรษฐกิจฮาวังกูมพายองและเกาะวิวา ของประเทศเกาหลีเหนือเชื่อมโยงกับเมืองชายแดนแดง ดองด้านตะวันตกของประเทศจีนเพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยว การขนส่งสินค้าและอุตสาหกรรม  ประเทศจีนกาลังมีแผนจะสร้างเขตเศรษฐกิจชายแดนร่วมกับประเทศคาจิกิสถานและคาซัคสถาน เพื่อ แก้ปัญหาความยากจนในภาคตะวันตก  การพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนของเมืองซินเจียงของประเทศจีนเชื่อมโยงกับเมืองกิลกิต-บาติสถาน ของประเทศปากีสถาน  ประเทศจีนจะพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนดองซินพื้นที่ประมาณ 10 ตร.กม.ให้เป็นเขตการแปรรูป เพื่อการส่งออกชายแดน การบริการขนส่งเพื่อการค้าและการท่องเที่ยวชายแดน เชื่อมโยงกับเมืองมองไกของ ประเทศเวียดนาม 5.การบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน การบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจชายแดนมีความแตกต่างกันไปตามระบบการปกครองของแต่ละประเทศแต่ โดยทั่วไปการจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนสามารถจาแนกออกได้ 3 ระดับคือ 5.1 การกาหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ซึ่งจะเกี่ยวช้องกับประเด็นการกาหนดจานวนเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่จะจัดตั้งและการดาเนินการต่างใน กระบวนการจัดตั้งๆให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติระหว่างประเทศ 5.2 ระดับการจัดการของรัฐบาลกลาง ควรเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมและมีความเป็นอิสระจากรัฐบาล ซึ่งควรเป็น หน่วยงานกึ่งรัฐบาลและควรมีองค์ประกอบขององค์กรมาจากทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน ซึ่งสามารถมี อานาจหน้าทีในการรับใบสมัครการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน การจัดทาข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาล และ ติดตามผลการดาเนินงานของเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนและเผยแพร่ผลการดาเนินงานสู่สาธารณะเป็นระยะ
  • 7. เชิญ ไกรนรา สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. Page 7 5.3 ระดับการจัดการของเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ควรเป็นหน่วยงานที่บริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่อยู่ภายใต้การกากับดูแลของระดับการจัดการ ของรัฐบาลกลาง ซึ่งตามแนวปฏิบัติโดยสากลแล้วส่วนใหญ่จะให้เอกชนเป็นผู้บริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ ชายแดนโดยผ่านกระบวนการจัดจ้างของภาครัฐ 5.4 แนวโน้มกรอบการจัดองค์กรเพื่อจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จะมุ่งเน้นการการดาเนินให้ ครอบคลุมภารกิจต่างๆ ประกอบด้วย  องค์กรที่จัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนรับผิดชอบในการกาหนดกฎระเบียบต่างๆ ภายในเขต เศรษฐกิจพิเศษชายแดนเท่านั้น  ผู้ประกอบการภาคเอกชนก่อสร้าง เป็นเจ้าของ และบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนบน พื้นฐานของการคืนทุน  การจัดตั้งศูนย์บริการ ณ จุดเดียว ในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเพื่อการดาเนินการที่รวดเร็วของการ ออกใบอนุญาตและงานเอกสารต่างๆ  เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนให้บริการครอบคลุมธุรกิจบริการการที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ธุรกิจการรับ บริการขนส่งสินค้าและบริการอื่นๆ 5.5 แนวทางการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนแนวใหม่ ที่สามารถประยุกต์ใช้ในการ บริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน โดยการแบ่งภารกิจออกเป็น 2 บทบาทสาคัญคือ  บทบาทของภาคภาครัฐ ควรเน้นการให้เช่าที่ดินหรือการขายที่ดิน การจัดหาโครงสร้างพื้นฐาน ภายนอกเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน การจัดทากฏระเบียบที่เกี่ยวข้องต่างๆ การบารุงรักษาของพื้นที่ที่ใช้ ประโยชน์ร่วมกัน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาสังคมและบริการพื้นฐานของเมือง  บทบาทของภาคเอกชน ควรเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การจัดหาสาธารณูปการ เช่น ไฟฟ้า ระบบโทรคมนาคม การจัดหาบริการต่างๆที่ ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์ร่วมกัน การรับจ้างเพื่อทาภารกิจต่างๆแทนหน่วยงานภาครัฐ และการส่งเสริมการ ลงทุน 6.บทสรุป การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกอันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ได้ส่งผลให้เกิดการรวมกลุ่มประเทศใน ภูมิภาคโดยเฉพาะประชาคมอาเซียนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันภายใน ภูมิภาคและเสริมสร้างสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มอานาจการต่อรองภายนอกภูมิภาค ตลอด ทั้งกระตุ้นให้ภูมิภาคชายแดนมีบทบาทสาคัญมากขึ้นตามลาดับซึ่งเป็นผลจากจากความร่วมมือระหว่างประเทศ ไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนที่สนับสนุนการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาแนวพื้นที่พัฒนา เศรษฐกิจข้ามพรมแดนภายใต้แผนงานการพัฒนาความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มน้าโขง ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง และแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย- ไทย ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงบทบาทของเมืองชายแดนของไทยในปัจจุบันให้เป็น ศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งใหม่ บริเวณชายแดนโดยการผลักดันให้เกิดการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเพื่อการบูรณาการเศรษฐกิจกับ ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งไทยควรคัดเลือกและจัดลาดับความสาคัญของที่ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนตาม
  • 8. เชิญ ไกรนรา สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. Page 8 ศักยภาพทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันควรกาหนดนโยบายและกลไกการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษ ชายแดนในระดับต่างๆ อย่างเป็นเอกภาพและบูรณาการ ตลอดทั้งควรมีการออกแบบการให้สิทธิประโยชน์เพื่อ ส่งเสริมการลงทุนที่เหมาะสมกับระบบเศรษฐกิจไทย โดยควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและภาค ประชาชาชนทั้งระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่นอย่างรอบด้านในกระบวนการวางแผนและจัดตั้งเขต เศรษฐกิจพิเศษชายแดน เอกสารอ้างอิง Brannon, J., James, D., and Lucker, G. 2537. Generating and Sustaining Backward Linkages Between Maquiladoras and Local Suppliers in Northern Mexico.World Development,22, no. 12: 1933-1945. Brouthers, L.E., McCray, J.P.and Wikinson, T.J. 2542.Maquiladoras: Entrepreneurial Experimentation to Global Competitiveness. Business Horizons, Fullerton, T. 2546. Recent Trends in Border Economics. Social Science Journal, 40: 583-592. Hanson, H.G.2539.Economic Integration, Interindustry Trade and Frontier Regions. European Economic Review, 40:941-949. Jessop, B. 2545.The Political Economy of Scale, in Perkmann, M. & Ling Sum, N. (eds.), Globalization, Regionalization and Cross-Border Regions: 25-49. New York: Palgrave Macmillan. Kishore Rao.2547.Global Experience and Best Practices on Special Economic Zones. Bearing Point, Inc. Krätke, S. 2545. Cross-Border Cooperation and Regional Development in German- Polish Border Area, in Perkmann, M. & Ling Sum, N. (eds.), Globalization, Regionalization and Cross-Border Regions: 125-147. New York: Palgrave Macmillan. Krugman, P. and Livas, R.2535.Trade Policy and the Third World Metropolis. Working Paper, 4238. Peña, S.2548.Cross-Border Planning, What Is It? Implication for the U.S.-Mexico Border. Aesop.Vienna:1-10. Pick, J.B.,Viswanathan, N. and Hettrick, J. 2544. The U.S.-Mexican Borderlands Region: a Binational Spatial Analysis. The Social Science Journal, 38:567-595. Sargent, J. and Mattews, L. 2546.Boom and Bust: Is It the End of Mexico’s Maquiladoras?. Business Horizon, March. Sassen, S.2544. The Global City: New York, Tokyo and London. Princeton, NJ, Princeton University Press. Scott, J.W.2545.On the Political Economy of Cross-Border Regionalism: Regional Development and Cooperation on the US-Mexican Border. In Perkmann, M. and Ling Sum, N. (eds.), Globalization, Regionalization and Cross- Border Regions: 191-211. New York: Palgrave Macmillan.
  • 9. เชิญ ไกรนรา สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. Page 9 Xavier Barre.2548.Analysis of the draft Federal Law “On Special Economic Zones of the Russian Federation” (Version of 1 5 March 2005).Russian-European Centre for Economic Policy (RECEP). Yang, C. 2549. The Pearl River Delta and Hong Kong: an Evolving Cross-Boundary Region Under “One Country, Two Systems”. Habitat International, 30: 61-86. http://ebook.law.uiowa.edu/ebook/faqs/what-are-special-economic-zones เข้าถึง 11 มิถุนายน 2555 http://library.dip.go.th/multim5/News/2555/N06491.pdf เข้าถึงเมื่อ 8 มิถุนายน 2555 http://www.investopedia.com/terms/s/sez.asp#axzz1xBkwMRuy เข้าถึงเมื่อ 8 มิถุนายน 2555 http://geography.about.com/od/urbaneconomicgeography/a/maquiladoras.htm เข้าถึงเมื่อ 8 มิถุนายน 2555 http://en.wikipedia.org/wiki/Kaesong_Industrial_Region เข้าถึงเมื่อ 8 มิถุนายน 2555 http://en.wikipedia.org/wiki/Iskandar_Malaysia เข้าถึงเมื่อ 8 มิถุนายน 2555