SlideShare a Scribd company logo
1 of 36
Download to read offline
ตุลาคม 2562 ปีที่ 11 I ฉบับที่ 1
แจกฟรี
The Creative
แอน JKN
How to
เปิดประตู 5 บาน...เริ่มทำ�ธุรกิจกับเพื่อนบ้าน
Fact and Figure
ส่องทิศทางถนนสายสร้างสรรค์ของชาติอาเซียน
Competition
makes us faster;
Collaboration
makes us better.
การแข่งขันอาจไปได้เร็ว
แต่การร่วมมือกันไปได้ไกล
PhotobyIanStaufferonUnsplash
Contents : สารบัญ
Creative Update 	 6
เจาะตลาดอาเซียนด้วยการท่องเที่ยวแบบ
ฮาลาล / Thailand 4.0 สู่การเป็น Medical
Hub ของอาเซียน / อี-สปอร์ต...สปิริตที่
ขับเคลื่อนภูมิภาค
Creative Resource	8
Featured Article / Book / Film
MDIC	10
ทำ�ความรู้จักงานคราฟต์ของเวียดนาม
ผ่าน VIETCRAFT
Cover Story	12
ASEAN Creative Awakening
Fact and Figure 	 18
ส่องทิศทางถนนสายสร้างสรรค์
ของชาติอาเซียน
Creative Business	20
LOVER Brand
ส่งออกความรักผ่านเครื่องประดับ
สู่ตลาดอาเซียน
How To	23
เปิดประตู 5 บาน
เริ่มทำ�ธุรกิจกับเพื่อนบ้าน
Creative Place	24
The Revival of Indonesia
The Creative	28
แอน จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ (แอน JKN)
สร้างการเสพติดทางสายตา
เมื่อมูลค่าคอนเทนต์อยู่ที่วัฒนธรรม
Creative Solution	34
ไป ๆ มา ๆ ในอาเซียน เทรนด์การย้ายงาน
ในภูมิภาคบ้านใกล้เรือนเคียงวันนี้
CREATIVE THAILAND I 4
   
-    - 3.0
   
-    - 3.0
จัดทำ�โดย l สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA)
1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450
พิมพ์ที่ี l บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำ�กัด โทร. 02 903 8257-9
จำ�นวน 15,000 เล่ม
ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th
นิตยสารฉบับนี้ใช้หมึกพิมพ์จากนํ้ามันถั่วเหลืองที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และใช้กระดาษ
รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย
จัดทำ�ภายใต้โครงการ “CreativeThailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ
สร้างสรรค์(องค์การมหาชน)(CEA) ซึ่งมีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์(CreativeEconomy)
และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l มนฑิณี ยงวิกุล ที่ปรึกษา l เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์
กองบรรณาธิการ l ปุญญิศา เปล่งรัศมี และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข เลขากองบรรณาธิการ l ณัฐชา ตะวันนาโชติ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l
วนบุษป์ ยุพเกษตร ช่างภาพและมัลติมีเดีย l ภีร์รา ดิษฐากรณ์ เว็บไซต์ l นพกร คนไว
CREATIVE THAILAND I 5
Editor’s Note : บทบรรณาธิการ
ความสำ�เร็จในการส่งซอฟต์พาวเวอร์ของเกาหลีใต้ผ่านซีรีส์และเหล่าไอดอล
กลายเป็นตัวอย่างให้หลายประเทศยอมรับว่า ความคิดสร้างสรรค์ที่ถูกส่งผ่าน
บทละครหรือการสร้างคาแร็กเตอร์ให้วงดนตรีนั้น ทำ�ให้สินค้าและการท่องเที่ยว
บูมขึ้นทันตาเห็น จนญี่ปุ่นต้องพลิกเกมสู้ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศจีน ที่ใช้ความคิด
สร้างสรรค์ได้อย่างครบเครื่อง ตั้งแต่เทคโนโลยีเอไอไปจนถึงการผลิตละครจีน
ที่กลับมาดังเปรี้ยงปร้างด้วยบทและโปรดักชันอันทันสมัย สามารถแข่งขันกับ
ซีรีส์เกาหลีใต้และญี่ปุ่นได้อย่างสบาย ๆ หรือถึงขั้นแซงหน้าด้วยการพลิกแพลง
นิยายสายวายให้กลายเป็นซีรีส์มิตรภาพลูกผู้ชาย ‘ปรมาจารย์ลัทธิมาร’ ที่
นำ�แสดงโดย หวังอี้ป๋อ และเซียวจ้าน สองหนุ่มดาราดังที่ขณะนี้ถูกเรียก
รวมกันว่า#ป๋อจ้าน ได้สร้างกระแสคลั่งไคล้ในกลุ่มแฟนคลับอย่างคับคั่งทั้งใน
ประเทศจีนเองและต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่กลายเป็นสถานที่
ในการจัดแฟนมีทติ้งให้กับหนุ่ม ๆ จากหุบเขากูซู แทนที่จะเป็นประเทศจีนเอง
ด้วยเหตุที่ว่าการจัดกิจกรรมที่สร้างภาพลักษณ์แบบชายรักชายยังไม่สามารถ
ทำ�ได้ที่เมืองจีน แต่สำ�หรับประเทศไทยอาจจะเรียกได้ว่าเป็นสวรรค์ของสายวาย
ด้วยเนื้อหาของซีรีส์ที่เล่นจริง จูบจริง จนส่งผลให้คู่พระ-พระ ของไทยเองก็มี
โอกาสสร้างกระแสในต่างประเทศไม่แพ้พระนางคู่อื่น
	 ในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ วัฒนธรรมเป็นเหมือนวัตถุดิบสำ�คัญ
ในการแปรรูปสู่สินค้าและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมบันเทิง ไม่ว่า
จะเป็นหนัง เพลง เกม แอนิเมชัน ที่ประเทศสมาชิกในอาเซียนต่างหมายมั่น
ปั้นมือจะสร้างให้เป็นอุตสาหกรรมนำ�ชัย นอกเหนือไปจากการออกแบบ แฟชั่น
หัตถกรรม อาหาร และการท่องเที่ยว ซึ่งแน่นอนว่า ทุกประเทศในอาเซียน
ต่างก็รํ่ารวยทั้งวัฒนธรรมและทักษะฝีมือที่เปรียบเหมือนขุมทรัพย์ที่รอวัน
แปรสภาพ หากยังมีอีกองค์ประกอบสำ�คัญที่อ้างอิงจากริชาร์ด ฟลอริดา
(Richard Florida) ผู้โด่งดังจากการเขียนหนังสือ The Rise of the Creative
Class ในปี2002 ว่า สังคมที่เปิดกว้าง(Tolerance) ยอมรับความต่างของเชื้อชาติ
ศาสนา ไปจนถึงเพศสภาพ เป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
เกิดและเติบโตพอ ๆ กับอีกสองปัจจัย คือ การรวมตัวของกลุ่มนักสร้างสรรค์
(Talent) และโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีที่ดี (Technology) ซึ่งสองปัจจัยหลังนี้
ถ้าเราสแกนนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศในอาเซียน
ก็จะพบว่าถูกสอดแทรกอยู่ในนโยบายหลักของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการ
ปลดล็อกด้านกฎหมายของอินโดนีเซียจนกลายเป็นบ้านของยูนิคอร์นให้เหล่า
สตาร์ตอัพ การให้ทุนสนับสนุนงานศิลปะอย่างเป็นลํ่าเป็นสันของสิงคโปร์
การให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ของมาเลเซียและฟิลิปปินส์
รวมถึงการจัดทำ�ข้อมูลวัฒนธรรมเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาในกัมพูชา
ลาว และพม่า ส่วนในประเทศไทยก็อยู่ในช่วงของการจัดทำ�นโยบายเพื่อ
สนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
	 แต่ทว่างานสร้างสรรค์ของไทยนั้นถูกจัดให้อยู่ในแถวหน้าของอาเซียน
นั่นเพราะนอกจากที่ไทยจะเป็นแหล่งรวมนักสร้างสรรค์หลากหลายสาขาแล้ว
เรายังมีชัยภูมิทางสังคมซึ่งเหมาะจะเป็นที่ตั้งของหุบเขากูซูที่เหล่าปรมาจารย์
จะสามารถรักกันได้อย่างเปิดเผย โดยไม่ต้องปรับเนื้อหาจนทำ�ให้เหล่า
แฟนคลับต้องจินตนาการต่อยอดจากเรื่องราวของมิตรภาพให้ฟินน้อยลงกว่า
ที่ควรจะเป็น
มนฑิณี ยงวิกุล
บรรณาธิการอำ�นวยการ
หุบเขากูซู
ที่ประเทศไทย
dramafast.com
CREATIVE THAILAND I 6
Creative Update : คิดทันโลก
เจาะตลาดอาเซียน
ด้วยการท่องเที่ยวแบบฮาลาล
เรื่อง : นพกร คนไว เรื่อง : นพกร คนไว
	 ชาวมุสลิมนับเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีกำ�ลัง
ซื้อมหาศาล โดยเฉพาะในอาเซียนที่มีชาวมุสลิม
มากกว่า240 ล้านคน และนั่นเป็นเหตุผลที่ตลาด
การท่องเที่ยวแบบฮาลาลเติบโตขึ้นอย่างมาก
ภายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
	 รายงานของ The Mastercard-Crescent
Rating Global Muslim Travel Index 2019 (GMTI)
ได้สรุปผลสำ�รวจการเติบโตของการท่องเที่ยวฮาลาล
พบว่า อินโดนีเซียได้ขยับขึ้นเป็นอับดับ 1 ของ
ประเทศที่มีนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมมากที่สุด
เคียงคู่ไปกับมาเลเซีย ซึ่งทั้งสองประเทศอยู่ใน
กลุ่มองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ส่วน
ประเทศไทยรั้งอันดับสองรองจากสิงคโปร์
เมื่อเทียบกับสิบอันดับประเทศที่ไม่เป็นสมาชิก
องค์การความร่วมมืออิสลาม
	 การบริการและสิ่งอำ�นวยความสะดวกที่เป็น
พื้นฐานของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม คือเหตุผล
หลักที่หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กลายเป็นจุดหมายปลายทางหลักสำ�หรับ
นักท่องเที่ยวชาวมุสลิม ตัวอย่างเช่นอินโดนีเซีย
ที่ประชาชนมากกว่า 87% นับถือศาสนาอิสลาม
ทำ�ให้สามารถหาร้านฮาลาลได้ง่าย รวมไปถึง
ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำ�วัน นอกจากนี้
นักท่องเที่ยวยังเข้ารับบริการของโรงพยาบาลที่
ให้การรักษาเป็นไปตามหลักฮาลาลได้ง่าย อีกทั้ง
มีสถานที่ทางศาสนาอย่างมัสยิดที่มีทั้งความ
สวยงามและสำ�คัญอีกหลายแห่ง
	 ส่วนสิงคโปร์ ที่แม้จะมีประชากรที่นับถือ
ศาสนาอิสลามอยู่เพียง14% แต่ก็สามารถขึ้นเป็น
ประเทศอันดับหนึ่งของประเทศที่ไม่เป็นสมาชิก
องค์การความร่วมมืออิสลาม ด้วยการปรับเปลี่ยน
รูปแบบการบริการและธุรกิจมากมายที่รองรับ
ข้อปฏิบัติตามหลักศาสนา เช่น การกำ�หนด
ให้ฟู้ดฮอว์เกอร์ต่าง ๆ และฟู้ดคอร์ตในสนามบิน
แห่งชาติชางงีมีโซนอาหารฮาลาลและไม่เป็น
ฮาลาลแยกเป็นสัดส่วนชัดเจน อีกทั้งสิงคโปร์
ยังเป็นประเทศที่ตั้งของสำ�นักงาน Have Halal
Will Travel เว็บไซต์แนะนำ�การท่องเที่ยวแบบ
ฮาลาลที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลกอีกด้วย
	 สำ�หรับประเทศไทยนอกจากโรงแรมอัลมีรอซ
(AlMeroz) ที่เป็นโรงแรมฮาลาลแห่งแรกของไทย
ซึ่งมีสิ่งอำ�นวยความสะดวกสำ�หรับชาวมุสลิมและ
แพ็คเกจสำ�หรับเทศกาลรอมฎอนเป็นพิเศษแล้ว
สำ�นักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
และศูนย์อำ�นวยการบริหารชายแดนใต้ (ศอบต.)
ยังได้ร่วมมือกันผลักดันให้กลุ่มผู้ประกอบการใน
จังหวัดชายแดนใต้ได้มีโอกาสทางธุรกิจฮาลาล
มากขึ้นด้วย โดยได้จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำ�
ปรึกษาด้านผลิตภัณฑ์และการตลาด เพื่อให้เกิด
การลงทุนในจังหวัดชายแดนใต้ที่ประชากรส่วน
ใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เตรียมพร้อม
เจาะตลาดการท่องเที่ยวฮาลาลในอนาคต
ที่มา : Mastercard-Crescent Rating Global Muslim
Travel Index 2019 / บทความ “Halal tourism boom
draws Muslim holidaymakers to Asia” โดย IAN LLOYD
NEUBAUER จาก asia.nikkei.com / บทความ “Jokowi
plans to replicate Bali’s success in 10 other Indonesian
spots” โดย Francis Chan จาก straitstimes.com /
บทความ “Singapore could be Asia’s next halal
destination” จากTHEJAKARTAPOST/ บทความ “อบจ.
ภูเก็ต จัดงานภูเก็ตอันดามันฮาลาลเอ็กซ์โป ประจำ�ปี 2562”
จาก siangtai.com
Thailand 4.0 สู่การเป็น
Medical Hub ของอาเซียน
อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร หรือ Medical
Hub คือหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้
เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่เพื่อเป็นกลไกในการ
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต (New S-Curve)
และเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ไทยกำ�ลังเดินหน้า
ไปเป็นศูนย์กลางของอาเซียนตามนโยบาย
Thailand 4.0
	 ในปีที่ผ่านมา มีอีกความหวังหนึ่งของวงการ
แพทย์ไทยนั่นคือ การร่วมมือกันของ3 กระทรวง
ได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.)
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวง
ศึกษาธิการ (ศธ.) แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา
และขับเคลื่อนย่านนวัตกรรมสุขภาพโยธี(YMID)
ที่ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิจนถึง
บริเวณถนนพระราม 6 ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาล
มากกว่า 10 แห่ง เพื่อเนรมิตให้พื้นที่นี้กลายเป็น
ย่านที่ตอบสนองการให้บริการทางการแพทย์
อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถรองรับคนไข้
ได้เป็นจำ�นวนมาก
	 นอกจากนี้ ไทยยังมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์รวม
ของการสร้างนวัตกรรมการแพทย์สมัยใหม่
อีกทั้งยังมีแผนพัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้กลายเป็น
Medical Health Hub ควบคู่ไปกับการเป็น
สมาร์ตซิตี้ โดยการพัฒนาแอพพลิเคชันให้
ประชาชนเข้าถึงการรักษาได้อย่างสะดวก
เร่งพัฒนาโรงพยาบาลต่างอำ�เภอให้รองรับผู้ป่วย
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความหนาแน่นของ
โรงพยาบาลในตัวเมือง และการพัฒนาบุคลากร
เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของไทย
และของโลกในอนาคต
PhotobyMihaiSurduonUnsplash
PhotobyHikeShawonUnsplash
CREATIVE THAILAND I 7
เรื่อง : ภีร์รา ดิษฐากรณ์
ที่มา: บทความ “เชิญพร เต็งอำ�นวย ปั้น “MedicalHub” จาก
prachachat.net/ บทความ “เชียงใหม่เร่งดันโรดแมป ‘เมดิคัล
ฮับ’ มุ่งสู่ Wellness City-เมืองรองรับเมืองผู้สูงอายุ” จาก
prachachat.net / บทความ “ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี
ศูนย์กลางนวัตกรรมและบริการทางการแพทย์ สุขภาพ ครบวงจร
ของไทย”จากผู้จัดการออนไลน์/บทความ“MalaysiaMedical
Tourism Market 2019 Global Analysis, Share, Trend,
Key Players, Opportunities  Forecast To 2022” จาก
travelwirenews.com / บทความ “Medical Tourism In
Singapore “NoLongerAPriority” จากInternationalMedical
TravelJournal(imtj.com)/ บทความ “Thailand’sMICE
Industry Report Medical Hub” โดย สำ�นักงานส่งเสริม
การจัดประชุมและนิทรรศการ
ที่มา: บทความ “‘ส.บอล-ธ.ออมสิน’ เปิดศึกGSBE-CUP2019
ดวล ‘PES 2020’ ชิงเงินรวม 3 ล้านบาท” (29 สิงหาคม 2562)
โดย ผู้จัดการออนไลน์ จาก mgronline.com / รายงาน
“Digital 2019: Understanding The Esports Opportunity”
(25 กรกฎาคม 2019) โดย Simon Kemp จาก
datareportal.com / วิดีโอ “เผย 6 เกม ชิงชัยอีสปอร์ต
ซีเกมส์ 2019 เรื่องรอบขอบสนาม” (17 มกราคม 2019)
โดย Thairath จาก youtube.com
	 หากดูที่คู่แข่งของไทย ประเทศซึ่งเคยเป็น
ในจุดหมายหลักของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
อย่างสิงคโปร์ กลับถูกประเทศเพื่อนบ้านเช่นไทย
และมาเลเชียแซงหน้า โดยเหตุผลหลักคือ
ค่าครองชีพและค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น ทำ�ให้
นักท่องเที่ยวเลือกจะเดินทางไปยังประเทศที่
ประหยัดกว่า จากรายงานของ Singapore
Tourism Board พบว่า ยอดของนักท่องเที่ยวที่
เดินทางเพื่อมารับบริการด้านสุขภาพในสิงคโปร์
ลดลงกว่า 4 เปอร์เซ็นต์จากปีที่แล้ว
	 ขณะที่มาเลเซียกลับเป็นประเทศที่มีการ
เติบโตขึ้นมากในตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
เนื่องจากมีความพร้อมด้านการบริการของโรงพยาบาล
ที่ถูกออกแบบมาอย่างดีในระดับนานาชาติ อีกทั้ง
ยังมีตัวเลือกด้านการรักษาทั้งแพทย์แผนตะวันตก
และตะวันออก เช่น สมุนไพรจีน และการฝังเข็ม
บุคลากรมีความเชี่ยวชาญรอบด้าน โดยเฉพาะทักษะ
การสื่อสารภาษาอังกฤษที่ใกล้เคียงเจ้าของภาษา
จุดแข็งอีกประการของมาเลเซียคือการท่องเที่ยวแบบ
ฮาลาลที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มนี้ได้เป็น
จำ�นวนมาก โดยคาดว่าตลาดการท่องเที่ยวเชิง
สุขภาพจะสร้างรายได้ให้มาเลเซียได้มากกว่า535
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี2022 และทำ�ให้มาเลเซีย
เป็นคู่แข่งน่าจับตามองอีกหนึ่งประเทศในอาเซียน
	 แม้ปัจจุบันนี้ ไทยจะเป็นจุดหมายปลายทาง
ของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอันดับที่13 ของโลก
(รายงานจากGlobalWellnessInstitute) แต่หาก
เราไม่เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ให้ครบ
วงจร ทั้งด้านการรักษา การวิจัยและผลิตอุปกรณ์
ทางการแพทย์การพัฒนายาและเวชภัณฑ์ตลอดจน
การพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถรองรับ
บริการระดับสากล การจะเป็นMedicalHub ของ
อาเซียนก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด
อี-สปอร์ต
สปิริตที่ขับเคลื่อนภูมิภาค
ความภาคภูมิใจที่เกิดจากชัยชนะในเกมกีฬาเป็น
สิ่งที่ขาดไปไม่ได้ในการสร้างสปิริตของชาติ
	 ปัจจุบันกระแสการแข่งขันอี-สปอร์ตได้รับ
ความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งในประเทศไทย
และในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น
การแข่งขันในกลุ่มเล็ก ๆ หรือไปจนถึงระดับลีก
แถมยังมีผู้ให้ความสนใจมากพอ ๆ กับการรับชม
การแข่งขันกีฬาระดับประเทศหลายรายการใหญ่
ทำ�ให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนต่าง
ให้ความสนใจและให้การสนับสนุน สะท้อนให้
เห็นจากจำ�นวนเงินรางวัลของการแข่งขันรายการ
อี-สปอร์ตต่าง ๆ อย่างเช่น รายการ Toyota
E-League Pro ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับอาชีพ
อย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย หรือ
รายการGSBE-CUP2019THAILAND การแข่งขัน
เกมฟุตบอลที่มีเงินรางวัลรวมสูงสุดถึง3 ล้านบาท
ซึ่งมากที่สุดเป็นลำ�ดับที่ 6 ของโลก จากการ
เปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันทั่วทั้งทวีปเอเชีย
	 หลายคนคงสงสัยว่า ทำ�ไมเหล่านักลงทุน
และสปอนเซอร์ทั้งหลาย ถึงได้ให้การสนับสนุน
การแข่งขันกีฬาอี-สปอร์ตในกลุ่มประเทศอาเซียน
งานวิจัยและข้อมูลจากDigital2019Q3Global
Digital Statshot โดย We Are Social และ
Hootsuite รายงานว่า ปัจจุบันมีจำ�นวนประชากร
ทั่วโลกที่รับชมการแข่งขันกีฬาอี-สปอร์ตประมาณ
1 พันล้านคน เมื่อคิดเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อ
จำ�นวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในแต่ละประเทศแล้ว
พบว่า ประเทศที่มีเปอร์เซ็นต่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่
รับชมการแข่งขันมากที่สุดในโลกคือ ประเทศจีน
(40%) มากกว่า 300 ล้านคน โดยอันดับที่ 2, 3
และ4 เป็นของเวียดนาม(33%) ฟิลิปปินส์(29%)
และตามด้วยประเทศไทย (25%) อีกทั้งสถิติ
การรับชมถ่ายทอดสดการเล่นเกม (Game
Streaming) บนแพลตฟอร์มอย่าง Twitch ที่มี
ผู้รับชมทั่วโลกกว่า 1.25 พันล้านคน พบว่า
ประเทศจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นก็ติด
อันดับต้น ๆ ของโลกที่รับชมการแข่งขันผ่าน
ช่องทางนี้ โดยอันดับ 1 ของโลก เป็นของ
ฟิลิปปินส์ อันดับ 2 คืออินโดนีเซีย ส่วนไทย
อยู่ในลำ�ดับที่ 5 ลำ�ดับที่ 6 และ 7 เป็นของ
เวียดนาม และมาเลเซียตามลำ�ดับ และอีกไม่นาน
นี้ในวันที่ 30 พฤศจิกายน - 11 ธันวาคม 2562
ก็ยังจะมีการจัดการแข่งขันอี-สปอร์ตครั้งแรก
ที่บรรจุเข้าเป็นกีฬาชิงเหรียญรางวัลถึง 6
เหรียญทองในการแข่งขันซีเกมส์2019 ที่ประเทศ
ฟิลิปปินส์
	 ปริมาณผู้ชมอี-สปอร์ตนั้นเป็นตัวชี้วัดสำ�คัญ
ที่เป็นเหตุผลให้นักลงทุนและบรรดาผู้สนับสนุน
มองเห็นโอกาสในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย
เช่นเดียวกับการขยายตัวของอุตสาหกรรม
อี-สปอร์ตทั่วโลกที่มีมูลค่าสูงถึง900 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ วงการนี้จึงไม่ใช่แค่เพียงเกมเพื่อการ
ผ่อนคลายอย่างเดียวอีกต่อไป แต่คือตลาด
การลงทุนสำ�คัญของภูมิภาคอาเซียน และยังอาจ
เป็นโอกาสใหม่ให้เยาวชนในกลุ่มประเทศสมาชิก
มีพื้นที่ในการปล่อยของ มีอาชีพที่สร้างรายได้
และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติได้ในที่สุด facebook.com/buriramunitedesports
CREATIVE THAILAND I 8
Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด
เรื่อง : ปุญญิศา เปล่งรัศมี
FEATU RED ARTICLE
Future Consumer 2020
โดย Andrea Bell
เราจะเป็นผู้นำ�ในตลาดโลกได้อย่างไร นอกเสียจากต้องทำ�ความเข้าใจความแตกต่างและหลากหลายของตลาดแต่ละแห่งในโลก ขณะที่ก็ยังมีอีกคำ�ตอบ
นั่นคือการต้องเป็นผู้สร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องกับอนาคต
	 ในปี2020 ผู้บริโภคมีแนวโน้มในการเลือกซื้อสินค้าที่แตกต่างจากเดิมอย่างไร พวกเขาคาดหวังอะไรจากแบรนด์ และสิ่งใดจะเข้ามามีบทบาทในปีนี้บ้าง
WGSN (World Global Style Network) Insight เครื่องมือช่วยคาดการณ์แนวโน้มหรือเทรนด์โลกได้วิเคราะห์เทรนด์และแนวโน้มต่าง ๆ ในเรื่องของผู้บริโภค
การตลาด ธุรกิจค้าปลีก ไปจนถึงแนวโน้มของนวัตกรรมโลก ได้ข้อสรุปว่าในปี2020 สิ่งที่จะเข้ามาขับเคลื่อนโลกของเรามีอยู่3 ประเด็น ต่อไปนี้1) ทศวรรษ
นี้ให้ความสำ�คัญในเรื่องเกี่ยวกับเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และความคิดความเชื่อ ผู้บริโภคมีความหลากหลาย พวกเขาต่างมีสิทธิ์มีเสียงในการเลือกซื้อและบริโภค
สินค้าและบริการตามความต้องการของตนเอง 2) เทคโนโลยี 5G บนมือถือจะทำ�ให้การเชื่อมต่อมีความสะดวก รวดเร็ว ต่อเนื่องไม่มีสะดุด ส่งผลให้ธุรกิจ
รร้านค้าออนไลน์มาแรง และการสร้างประสบการณ์จากเทคโนโลยีโลกเสมือนอย่างAR และVR จะได้รับการพัฒนา ซึ่งย่อมส่งผลต่อรูปแบบการบริโภค และ
3) Crowd Based Capitalism หรือระบบเศรษฐกิจที่กลุ่มธุรกิจหลากหลายกลุ่มจะแบ่งปันสินทรัพย์ เงินทุน และแรงงานร่วมกันผ่านแพลตฟอร์มกลาง
ต่าง ๆ จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และผู้บริโภคจะใส่ใจมากขึ้นว่าเงินที่ตนจ่ายไปนั้นได้หมุนเวียนอยู่ในท้องถิ่นจริง
	 จะเห็นได้ว่านอกจากเรื่องของเทคโนโลยีแล้ว ธุรกิจในยุคนี้ยังต้องให้ความสำ�คัญกับคุณค่าของแบรนด์ รวมถึงตัวสินค้าและบริการไปพร้อมกันด้วย
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นโอกาสที่จะเบิกทางธุรกิจให้เติบโตต่อไปได้ในอนาคต ซึ่งผู้ที่ตีโจทย์แตกก็จะสามารถยืนหยัดอยู่ได้ และไม่ว่าใครก็มาโค่นลงได้ยาก
CREATIVE THAILAND I 9
พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center
Think New ASEAN!:
Rethinking Marketing towards
ASEAN Economic Community
โดย Philip Kotler, Hermawan Kartajaya และ
Hooi Den Huan
อาเซียนเป็นตลาดที่มีความโดดเด่นจากปัจจัย
หลายด้านไม่ว่าจะเป็นจำ�นวนประชากรที่มีกว่า600
ล้านคน ความหลากหลายของประเทศสมาชิก
ทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และ
แรงงานที่ได้เปรียบเรื่องราคาค่าแรง การเข้าถึง
ตลาดอาเซียนจึงต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์
เพื่อให้ธุรกิจเติบโต หนังสือเล่มนี้อธิบายให้เห็น
ถึงความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจอาเซียนในปัจจุบัน
จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ที่ขับเคลื่อนด้วย
เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงยังนำ�เสนอกรณี
ศึกษาของธุรกิจในอาเซียนและธุรกิจต่างชาติชั้นนำ�
เพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น เช่น AirAsia, HM,
Samsung ฯลฯ ว่าแต่ละแบรนด์เลือกลยุทธ์ใน
การสร้างลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์และรักษา
ตำ�แหน่งในตลาดอาเซียนไว้ได้อย่างไร
กะเทาะแก่นอาเซียน:
เรียนรู้วัฒนธรรมร่วมสมัย
“POP Culture”
โดย ดร. อัมพร จิรัฐติกร
ในประเทศอินโดนีเซีย หากใครจะแต่งงานกัน
จะต้องจดทะเบียนทางศาสนาคู่กับทะเบียนสมรส
ทางกฎหมาย ส่วนในประเทศสิงคโปร์ก็มีภาษา
อังกฤษในแบบฉบับของตัวเองที่เรียกกันว่า ‘ซิงลิช’
(Singlish) ซึ่งเป็นการพูดภาษาอังกฤษผสมกับคำ�
ในภาษาจีน ภาษามลายู และภาษาทมิฬ จาก
ตัวอย่างที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ประเทศต่าง ๆ ใน
อาเซียนมีความเป็นอยู่ ความคิดและค่านิยมที่
แตกต่างกันไป หนังสือเล่มนี้จะช่วยเปิดประตูของ
วัฒนธรรมร่วมสมัยหรือ POP Culture ทั้งวิธีคิด
อารมณ์ขัน ภาษาพูด ไปจนถึงเรื่องต้องห้ามของ
คนในอาเซียนที่หลายคนอาจไม่รู้มาก่อน
ถ่ายทอดจากปลายปากกาของนักมานุษยวิทยา
ผู้มีประสบการณ์ตรง และเคยใช้ชีวิตอย่างคน
วงในที่รู้ลึกรู้จริง
Lakbay2Love (2016)
กำ�กับโดย Ellen Ongkeko-Marfil
เรื่องราวของช่างภาพวิดีโอสาวที่อกหักจาก
แฟนหนุ่ม เธอเลือกรักษาแผลใจโดยการก้าว
ออกไปปั่นจักรยาน ทำ�ให้ได้เรียนรู้วิถีธรรมชาติ
และการอนุรักษ์ นี่คือภาพยนตร์แนว Bike Movie
เรื่องแรกของฟิลิปปินส์ ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริม
การท่องเที่ยวของฟิลิปปินส์ได้เลือกให้ไปเข้าร่วม
ในแคมเปญส่งเสริมสถานที่ท่องเที่ยวที่อาจยัง
ไม่เป็นที่รู้จักของประเทศ เพื่อให้ภาพยนตร์เป็น
อีกหนึ่งเครื่องมือที่มีศักยภาพในการสร้างจุดหมาย
ปลายทางใหม่ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก และยังเป็น
กลยุทธ์กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยสื่อบันเทิงที่หลาย
ประเทศกำ�ลังเดินหน้าสร้างสรรค์ หากมีเวลา
อย่าพลาดไปพิสูจน์ความความสวยงามดึงดูดใจ
ของทัศนียภาพในเมืองอาเซียนที่น่าจะสร้าง
ความประทับใจได้ไม่ยาก
BOOK FILM
CREATIVE THAILAND I 10
MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ
ทำ�ความรู้จักงานคราฟต์ของเวียดนาม
ผ่าน VIETCRAFT
เรื่อง : ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
พบกับนวัตกรรมและวัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material  Design Innovation Center, CEA
ในขณะที่กลุ่มคนที่มีรายได้ปานกลางบางกลุ่มกำ�ลังหดตัวลง หรืออำ�นาจ
การใช้จ่ายของกลุ่มนี้กำ�ลังตกอยู่ภายใต้แรงกดดันจากการถดถอยทาง
เศรษฐกิจ แต่ก็มีพื้นที่หนึ่งของโลกที่คนกลุ่มนี้กำ�ลังเติบโต นั่นก็คือในแถบ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในปีพ.ศ. 2573 คาดว่าครัวเรือนระดับกลาง
ที่มีรายได้10,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือมากกว่าต่อปี จะเพิ่มขึ้นเป็น51 ล้าน
คนในอินโดนีเซีย 18 ล้านคนในเวียดนาม 11 ล้านคนในฟิลิปปินส์ และ
8 ล้านคนในประเทศไทย ทำ�ให้มีกลุ่มธุรกิจที่เห็นโอกาสในกำ�ลังซื้อและ
ทรัพยากรที่มีอยู่ เกิดการซื้อขายสินค้าที่มีอัตลักษณ์ในภูมิภาคนี้
	 หนึ่งในแหล่งข้อมูลผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมของเวียดนาม คือ
VIETCRAFT ในฐานะองค์กรชั้นนำ�ของเวียดนาม และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด
กับเครือข่ายสมาชิกที่ทำ�งานหัตถกรรมกว่า 800 แห่งทั่วประเทศ VIETCRAFT
จึงสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีอยู่มากมายในประเทศได้ ทั้งยังมี
การจัดเก็บข้อมูลภาพที่เกี่ยวข้องกับงานหัตถกรรมผ่านแพลตฟอร์ม
vietcraftmedia.com และแหล่งข้อมูลหมู่บ้านที่ทำ�งานด้านหัตถกรรม
(Craft Villages in Vietnam) VIETCRAFT มุ่งสร้างการเชื่อมโยงผู้ผลิตกับ
ผู้ประกอบการหรือนักออกแบบที่ต้องการทำ�ธุรกิจงานคราฟต์ เกิดเป็น
ส่วนบริการจัดหาวัสดุและผลิตภัณฑ์ให้แก่คนที่สนใจธุรกิจงานฝีมือและ
หัตถกรรมอย่างครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ จัดหา
วัตถุดิบและโรงงานผลิต วางแผนและจัดการการผลิต ตรวจสอบโรงงาน จนถึง
การประกันคุณภาพและเอกสารการส่งออก เพื่อตอบสนองความต้องการของ
บริษัทที่ทำ�ธุรกิจระหว่างประเทศ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ ราคาที่แข่งขันได้
รวมทั้งการส่งมอบสินค้าที่ตรงเวลาและเชื่อถือได้ของธุรกิจคราฟต์เหล่านี้
ล้วนผ่านการรับรองมาตรฐานSA8000 โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์
คอยดูแลตลอดการให้บริการ และสร้างให้ VIETCRAFT เปรียบเสมือนประตู
สู่แหล่งหัตถกรรมสินค้าตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ในบ้าน และของขวัญ
ที่สำ�คัญของประเทศเวียดนาม
	 นอกจากนี้VIETCRAFT ยังได้ร่วมมือกับสาขาการออกแบบอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยลุนด์ ประเทศสวีเดน (The School of Industrial Design at
Lund University) ก่อตั้ง Hanoi Design Centre (HDC) ความร่วมมือนี้ได้
รับทุนจาก Swedish International Development Cooperation Agency
(SIDA) บางส่วน และได้รับการสนับสนุนจากสถานทูตสวีเดนในกรุงฮานอย
งานของ HDC เป็นงานต่อเนื่องหลายปีจากการทำ�งานโครงการพัฒนา
เพื่อสร้างความสามารถในการออกแบบในเวียดนาม การเรียนรู้จากโครงการ
ที่ผ่านมามีเป้าหมายเพื่อให้แน่ใจว่า จะสามารถหาโซลูชันที่ยั่งยืนสำ�หรับ
การออกแบบการพัฒนาในภาคหัตถกรรมให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้อง
รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศหรือเงินอุดหนุน รวมทั้งเกิดเป็น
แพลตฟอร์มจุดนัดพบเพื่อการออกแบบและงานฝีมือในเวียดนามที่เติบโต
ต่อไปได้อย่างยั่งยืน
ที่มา : hanoidesigncenter.com / jpns.se vietcraftmedia.com / vietcraft.org.vn
vietcraft.org.vn
 

    200 (12  )
 
creativethailand.org/contactus

/  
 
 (  )

  /

/ 
/ / 
/
  / / /   /  

/ 
/
 / /
/ /  /
 /

/ /
  /
 Creative Thailand 1  12 
    (  ) (CEA) 
    (  )  101-9-12219-9
•   02-105-7450
•      (  ) (CEA)
 1160 10500
•   creativethailand@cea.or.th
  02-105-7400  116
      200
 /

/ /
 
 
/  
 

พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่
ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน
ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC
ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่:
creativethailand.org/contactus
กรุงเทพฯ
ร้านหนังสือ
•	Asia Books
•	Kinokuniya
•	B2S
•	แพร่พิทยา
ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร
•	Au Bon Pain
•	Starbucks
•	TOM N TOM’S COFFEE
•	True Coffee
•	Auntie Anne’s
•	Baskin Robbins
•	Coffee World
•	Mister Donut
•	Black Canyon
•	McCafe’
•	ดอยตุง
•	Ninety four coffee
•	Puff  Pie
•	Red Mango
•	Iberry
•	Greyhound Cafe’
•	Amazon Cafe’
•	Chester’s Grill
•	Luv minibar
พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์
•	หอศิลปวัฒนธรรม
	 แห่งกรุงเทพมหานคร
•	มิวเซียม สยาม
•	อุทยานการเรียนรู้ (TK park)
•	นำ�ทอง แกลเลอรี่
สมาคม/ห้องสมุด
•	ศูนย์ศิลปะนานาชาติ
	 สมาคมฝรั่งเศส
•	ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์
	 The Neilson Hays Library
•	ห้องสมุด - นิด้า
•	สมาคมโฆษณา
	 แห่งประเทศไทย
•	สมาคมธนาคารไทย
•	สมาคมสโมสรนักลงทุน
•	ห้องสมุด สสวท.
•	สมาคมหอการค้าไทย
•	สถาบัน
•	Wall Street Institute
•	Raffle Design Institute
•	Vision Swimming
	 Academy
เชียงใหม่
•	woo cefe
•	Kagee
•	Ristresto lab
•	ท่าแพอีสต์+dibdee.binder
•	C.A.M.P ,MAYA
•	True Coffee ,หอสมุด มช.
•	Punspace, นิมมานฯ
•	asama cafe
•	มาหาสมุด (บ้านข้างวัด)
•	see scape gallery
•	nimmanian club
•	8 days a week
•	Bulbul book cafe’
•	Graph cafe’
•	Cefe de museum
•	local cafe Think park
•	Librarista
•	Artisan วัวลาย
•	paper spoon
•	กาแฟรสนิยม,
	 หลัง มช ทางขึ้นกาแล
•	The barn : Eatery Design
•	Book Republic
•	wake up หน้ามอ
•	Fab cafe’
•	kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์
•	MAIIAMContemporaryArt
	 Museum
•	ชีวิต ชีวา
•	Minimeal Cafe
•	Impresso
•	Restr8to
•	Penguin Villa
	 (Penguin Getto)
•	กาแฟอาข่า อ่ามา
	 La Fattoria สาขา2
•	Happy Hut
	 ถ.นิมมานฯ
•	ราชดำ�เนิน
•	Mai Bakery In Garden
•	Starbucks The Plaza
•	Yesterday Hotel
•	October
•	สุริยันจันทรา นิมมานฯ ซอย1
•	ร้านมีชามีชัย (กู)
•	Cafe’de nimman
•	The Booksmith
•	ร้านชา (Drink Club)
•	Cotto Studio
•	Starbucks Nimmanhemin
•	Fern Forest Cafe’
•	9th Street Cafe
	 นิมมานฯ ซอย 9
•	ดวงกมล (Duang Kamol)
•	RusticBlue-Handgrown
•	Produce  Artisan Food
	 นิมมานฯ ซอย 9
•	หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม
	 มช.
หัวหิน
•	ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน
•	อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่
•	บ้านใกล้วัง	 	
•	ภัตตาคารมีกรุณา	
•	บ้านถั่วเย็น@ แนบเคหาสน์	
•	ร้านอาหารหัวหิน(โกทิ) 	
•	กาแฟข้างบ้าน	
•	ILGELATOITALIANO	
•	Together Bakery  Cafe’
•	โรงแรม วรบุระหัวหิน
•	Let’s Sea
•	โรมแรม ดูน หัวหิน	
•	เดอะร็อค หัวหิน 	
•	บ้านจันทร์ฉาย	
•	หัวหิน มันตรา รีสอร์ท
•	ลูน่าฮัท รีสอร์ท	
กระบี่
•	NakamandaResortSpa
•	RaweeWarinResortSpa
•	AlittleHandmadeShop 	
ขอนแก่น
•	Hug School
	 of Creative Arts
•	ร้านสืบสาน
•	ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า
	 (Coffee Der La)
เชียงราย 	
•	ร้านหนังสือ herebookafe
•	ร้าน Coffee Dad
นครราชสีมา
•	Hug station resort
นครปฐม
•	ร้าน DipchocCafe	
นครสวรรค์
•	ร้านBitterSweet	
น่าน 	
•	ร้าน Runway Coffee
•	ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน	
•	ร้านกาแฟปากซอย	
•	ร้าน Nan Coffee Bean
ปาย/แม่ฮ่องสอน
•	ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ	
•	ร้าน all about coffee	
•	ร้านปายหวานบ้านนมสด	
•	ร้านเล็กเล็ก
•	ปายวิมานรีสอร์ท	
พังงา
•	Niramaya Villa
	 and Willness Resort
•	RanyataviResortPhangNga
•	The Sarojin
เพชรบุรี
•	Grand Pacific Sovereign
•	Resort  Spa
•	DevaSom Hua Hin Resort
ภูเก็ต
•	ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต
•	TheoddyApartmentHotel
•	At Panta Phuket
•	Banyan Tree Phuket
•	Le Meridien Phuket
•	Millienium Ressort
	 Patong Phuket
•	Novotel Phuket Resort
•	Patong Paragon Resort
	  Spa Phuket
•	Sheraton grand Lagana
	 Phuket
•	Sri wanwa Phuket Villa
•	Thanyapura
ระยอง
•	Le Vimarn Cottage
ลำ�ปาง
•	อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์
	 แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง
•	ร้านเอกาลิเต้
	 Egalite Bookshop 	
•	Lampang Art Center	
เลย
•	บ้านชานเคียง
•	มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์
ลพบุรี
•	ซนดิคอฟฟี่	
สมุทรสงคราม/อัมพวา
•	Baan Amphawa Resort
	 and Spa
สุโขทัย
•	Ananda Co.,Ltd.
สุราษฎร์ธานี
•	Muang Samui Spa Resort
•	Pavilion Samui
	 Boutique Resort
•	The Sunset Beach Resort
	 and Spa Taling ngam
•	Nora Beach Resort Samui
อุทัยธานี
•	ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia	
•	Avatar Miracles
เมื่อกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีประชากรมากกว่า 600 ล้านคนลุกขึ้นมาอ้าแขนรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ขุมทรัพย์ทางวัฒนธรรม
ที่เคยซุกซ่อนจึงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นส่วนประกอบในการสร้างสรรค์งานที่สร้างมูลค่าไปพร้อมกับการเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวยุคใหม่
จากในเมืองและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การพัฒนาพื้นที่ในรูปแบบของย่านสร้างสรรค์ไปจนถึงการแก้ปัญหาระดับโลก
CREATIVE THAILAND I 12
Cover Story : เรื่องจากปก
เรื่อง : มนฑิณี ยงวิกุล
Creative ASEAN
ทิศทางของการพัฒนาที่ธนาคารโลกและองค์การ
เพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
(OECD) พยายามผลักดัน ทั้ง ‘InclusiveGrowth’
ที่หมายถึงการเติบโตที่ลดช่องว่างความไม่เท่าเทียม
ของรายได้ และขยายโอกาสใหม่ ๆ สำ�หรับทุกคน
และ ‘Resilience’ หรือการพัฒนาเศรษฐกิจให้พร้อม
สำ�หรับการรับมือและฟื้นจากวิกฤตอย่างรวดเร็ว
ทำ�ให้การพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความคิด
สร้างสรรค์ ไม่ได้ถูกยอมรับในแง่ของการส่งเสริม
ความสามารถในการแข่งขันเพียงอย่างเดียว แต่ยัง
สามารถยึดโยงทั้งสองประเด็นนี้เข้าไว้ด้วยกัน
	 ในการประชุมเศรษฐกิจสร้างสรรค์โลก
(World Conference on Creative Economy:
WCCE) ที่ริเริ่มจากสำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ
สร้างสรรค์แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (BEKRAF)
ที่เมืองบาหลี เมื่อวันที่ 6 - 7 พฤศจิกายน 2561
จึงถูกจัดขึ้นภายใต้ธีมInclusiveCreative เพราะ
เชื่อว่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จะนำ�ไปสู่ธุรกิจ
ในยุคใหม่ ที่ไม่ได้จำ�กัดอยู่กับกลุ่มเจ้าของทุน
ขนาดใหญ่ แต่เป็นสนามที่เปิดกว้างสำ�หรับทุกคน
ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคม โดยที่มีเทคโนโลยีและดิจิทัลเป็น
เครื่องมือในการทำ�ให้เกิดความร่วมมือในการ
สร้างสรรค์จากทั่วโลก
	 การเปิดเกมของพี่ใหญ่อินโดนีเซียในเวที
การประชุมระดับโลกเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโรดแมป
ในการทำ�ให้ ‘ความคิดสร้างสรรค์’ ขยับขึ้นเป็น
ความร่วมมือระดับภูมิภาคและสร้างการยอมรับ
ระดับโลกจากการตกลงตามข้อมติสมัชชา
สหประชาชาติในปี 2021 รวมถึงการเสนอให้มี
การจัดตั้งศูนย์รวมความเป็นเลิศและความร่วมมือ
ระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์
(GlobalCenterofExcellentAndInternational
CooperationForCreativeEconomy) เพื่อเป็น
องค์กรที่ให้ความสำ�คัญกับการวิจัย และการส่งเสริม
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับโลก
ซึ่งความเคลื่อนไหวต่าง ๆ นี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิด
การถักทอเครือข่ายความร่วมมือภายในกลุ่ม
ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งพหุภาคีและทวิภาคีให้
เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามระดับการพัฒนา
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของแต่ละประเทศ
CREATIVE THAILAND I 13
ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 5 ประเทศสมาชิกอาเซียน
ประเทศ
มูลค่าอุตสาหกรรม
สร้างสรรค์
จ้างงาน / แรงงาน
มูลค่าการส่งออก
สินค้าสร้างสรรค์
(ปี 2014)
มูลค่าการส่งออก
บริการสร้างสรรค์
(ปี 2014)
อินโดนีเซีย
2.41ล้านล้านบาท(77.9พันล้านเหรียญ
สหรัฐฯ)7.44%ของจีดีพีขนาดใหญ่เป็น
อันดับสามของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา
และเกาหลีใต้ (ข้อมูลปี 2018)
17 ล้านคน 159,861 ล้านบาท 8,165 ล้านบาท
ฟิลิปปินส์
365,000 ล้านบาท(625 พันล้านเปโซ)
7% ของจีดีพี (ข้อมูลปี 2010)
530,000 คน 28,379 ล้านบาท 100,332 ล้านบาท
มาเลเซีย
81,929 ล้านบาท (11.2 พันล้านริงกิต)
2.4% ของจีดีพีเมืองกัวลาลัมเปอร์
(ข้อมูลเฉพาะกัวลาลัมเปอร์ ปี 2016)
86,478 คน
(ข้อมูลเฉพาะ
กัวลาลัมเปอร์
ปี 2016)
188,790 ล้านบาท 45,067 ล้านบาท
(ข้อมูลปี 2009)
ไทย
1.4 ล้านล้านบาท 9.1% ของจีดีพี
(ข้อมูลปี 2017)
826,000 คน 204,456 ล้านบาท 1,160 ล้านบาท
(ข้อมูลปี 2013)
สิงคโปร์
(เฉพาะอุตสาหกรรมออกแบบ
ศิลปะและวัฒนธรรม)
101,777 ล้านบาท(ข้อมูลอุตสาหกรรม
ออกแบบปี2013 และ ข้อมูลศิลปะ
และวัฒนธรรม ปี 2017)
56,172 คน 337,911 ล้านบาท 21,266 ล้านบาท
ที่มา : UNDP , National Art Council, Singapore, Cultural Economy Development Agency, Malaysia, การประชุม ASEAN Reginal Workshop on Creative Economy, todayonline.com
เติบโตไปกับย่านสร้างสรรค์
ถ้าว่ากันด้วยระดับนโยบาย แม้จะมีทิศทางที่ชัดเจนแต่ยังต้องใช้เวลากว่าจะเห็นผล แต่ใช่ว่าเหล่าสมาชิกอาเซียนจะนั่งรอเฉย ๆ เมื่อกลุ่มภาคเอกชนลุกขึ้นมา
ร่วมวงกับภาครัฐในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาแบบทั่วถึง(Inclusive) ภายใต้แนวคิดของการทำ�ย่านสร้างสรรค์ที่เริ่มจากเมืองรอง ก่อนจะฉุดให้เมืองหลวง
และส่วนอื่น ๆ ขยับตาม
	 ความสำ�เร็จของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์แห่งภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วยเมืองรองที่ประสบความสำ�เร็จในการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อ
การพัฒนาเมือง สร้างแบรนด์ และการท่องเที่ยว อย่างเช่น จอร์จทาวน์(GeorgeTown) ที่เปลี่ยนเมืองมรดกโลกให้มีความร่วมสมัยด้วยการจัดจอร์จ ทาวน์
เฟสติวัล ตั้งแต่ปี 2010 สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับเมืองจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวได้มากกว่า 60 ล้านบาท และมูลค่าแบรนด์มากกว่า 1,180 ล้านบาท
จึงทำ�ให้เมืองเล็ก ๆ แห่งนี้แน่นขนัดไปด้วยนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี แม้การพัฒนาจะสร้างรายได้ให้คนในพื้นที่ แต่ก็อาจจะต้องมาทบทวนเรื่องความสมดุล
กับความเป็นอยู่ของชุมชนในอนาคต ถัดมาที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ที่ขยับขยายจนกลายเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านการออกแบบ
ติดตามมาด้วยเมืองเชียงใหม่ของไทย ที่เพิ่งเข้าเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านเมื่อปี 2017 สุดท้ายคือ เมืองเซบู
ประเทศฟิลิปปินส์ ที่เป็นแหล่งรวมสตูดิโอออกแบบเฟอร์นิเจอร์ชื่อดัง วางแผนจัดงานเซบู ดีไซน์ วีก 2019 เพื่อเป็นโปรไฟล์ในการสมัครเป็นเครือข่ายเมือง
สร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านการออกแบบในปีถัดไป
CREATIVE THAILAND I 14
ประเทศ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์
	 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เน้นที่ศิลปะ การแสดง หัตถกรรม ดูแลโดย 3 กระทรวงหลัก คือ 1) กระทรวงวัฒนธรรมและศิลปะ ดูแล
	 ด้านลิขสิทธิ์และที่เกี่ยวข้อง 2) กระทรวงพาณิชย์ ดูแลด้านเครื่องหมายการค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) และความลับทางการค้า
	 3) กระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ดูแลด้านสิทธิบัตรและการออกแบบอุตสาหกรรม
	 การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาทางวัฒนธรรม และจัดทำ�ฐานข้อมูลวัฒนธรรม (Cultural Mapping) เพื่อใช้
	 ในการจัดทำ�สาธารณูปโภค
	 ส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
	 จัดทำ�ฐานข้อมูลอัตลักษณ์ที่สืบทอดมา เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำ�หรับการต่อยอดวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และชุมชนสัมพันธ์
ที่มา : การประชุม ASEAN Regional Workshop on Creative Economy 4-5 กันยายน 2562
กัมพูชา
	 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์เน้นที่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดเล็ก ขนาดย่อม (MSME)
	 แผนพัฒนา MSME 1) ส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลการผลิต 2) เพิ่มสัดส่วนของ MSME ที่เข้าถึงแหล่งเงินทุน
	 เป็นร้อยละ30 ในปี20203) เพิ่มสัดส่วนMSME ที่เข้าถึงบริการด้านการพัฒนาธุรกิจ เป็นร้อยละ10 ในปี20204) ขยายตลาดในและ
	 ต่างประเทศ โดยเพิ่มสัดส่วนการส่งออกของ MSME เป็นร้อยละ 20 ในปี 2020 5) พัฒนาผู้ประกอบการใหม่ให้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4
	 ในปี 2020 6) สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำ�หรับการเริ่มต้นและดำ�เนินธุรกิจ เช่น ลดระยะเวลาการจดทะเบียนจาก 67 วันเหลือ
	 25 วัน 7) พัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมให้ MSME เพิ่มกำ�ไร และมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารธุรกิจเพิ่มขึ้น
ที่มา : การประชุม ASEAN Regional Workshop on Creative Economy 4-5 กันยายน 2562
ลาว
แผนที่เครือข่ายเมืองสรรค์ของยูเนสโกในกลุ่มประเทศอาเซียน
Creative City of Gastronomy, ภูเก็ต 2015
เชียงใหม่ Creative City of Crafts
and Folk Art, 2017
Creative City of Design, Singapore 2015
Pekalongan, City of Crafts and Folk Arts
also known as the “Batik City” 2014
Creative City of Design, Bandung 2015
Baguio City of Crafts and Folk Art 2017
CREATIVE THAILAND I 15
ประเทศ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์
	 ปี 2016 จัดทำ�ยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรม เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรม
	 ในเวียดนามให้มีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 7 ในปี 2030 โดยมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นหัวหอกของการพัฒนา
	 จากจำ�นวนแหล่งวัฒนธรรม 40,000 แห่งทั่วประเทศ
	 ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์(CreativeHub) ในรูปแบบของพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะ และเรียนรู้ ที่ดำ�เนินการโดยภาคเอกชน
	 จัดตั้ง Vietnam-Korea Design Center เพื่อส่งเสริมแบรนด์สินค้าเวียดนาม
ที่มา : vietnamnet.vn / UNESCO
เวียดนาม
	 จัดทำ�แผนพัฒนาเพื่อความยั่งยืน(MyanmarSustainableDevelopmentPlan:MSDP) เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
	 ของประเทศที่ประกาศใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2016
	 ยุทธศาสตร์ข้อหนึ่งของ MSDP คือ ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และส่งเสริมนวัตกรรม โดยมีแผนดังนี้ 1) จัดทำ�
	 นโยบายเพื่อให้เกิดการสนับสนุนร่วมกันระหว่างหน่วยงาน 2) จัดตั้งหน่วยงานเพื่อดูแลทรัพย์สินทางปัญญา 3) ส่งเสริมการศึกษา
	 และสร้างการรับรู้ระบบการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 4) ร่วมมือกับองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก
	 (WIPO) และประเทศพัฒนาแล้วในการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
	 ในปี 2019 เริ่มใช้กฎหมายการออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial Design Law) เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตรและลิขสิทธิ์
ที่มา : การประชุม ASEAN Regional Workshop on Creative Economy 4-5 กันยายน 2562
พม่า
	 เมืองหลวงอย่างมะนิลายังมีความเคลื่อนไหว
โดยสภาเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งฟิลิปปินส์
(CreativeEconomyCouncilofthePhilippines:
CECP) ที่เกิดจากการรวมตัวกันของภาคเอกชน
จากสาขาครีเอทีฟที่มาร่วมกันจัดทำ�แผนส่งเสริม
อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Philippine Creative
IndustriesMasterPlan) ที่นอกจากจะสนับสนุน
ด้านนโยบาย เงินทุน การพัฒนาทักษะแล้ว
ยังรวมถึงการทยอยทำ�ให้เมืองต่าง ๆ ในฟิลิปปินส์
ผุดย่านสร้างสรรค์ขึ้นมาตามลำ�ดับ
	 มาเอสทรานซา (Maestranza) พื้นที่ริมนํ้า
ยาว300เมตรที่ประกอบด้วยห้องขนาดเล็ก45ห้อง
เป็นตัวอย่างของความร่วมมือระหว่าง CECP
และสำ�นักงานเขตอินทรามูรอส (Intramuros)
ในการปรับปรุงอาคารยุคอาณานิคมให้กลายเป็น
พื้นที่สร้างสรรค์ในเขตเมืองเก่าทางตอนเหนือ
ของกรุงมะนิลา เพื่อให้เป็นแหล่งชุมนุมของ
นักสร้างสรรค์ในทุกสาขา และเป็นบันไดในการ
ส่งให้มะนิลาเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ
ยูเนสโก ต่อจากเมืองบาเกียว ที่เป็นเครือข่าย
ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านเมื่อปี 2017
มาเอสทรานซา ติดกับแม่นํ้าพาสิก (Pasig River) ที่รอวันปรับปรุงเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ของมะนิลา
	 ส่วนประเทศไทยมีความเคลื่อนไหวด้านการ
เข้าเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก
เช่นกัน โดยกรุงเทพฯ และสุโขทัยต่างก็ยื่นสมัคร
เป็นเมืองด้านการออกแบบ และเมืองด้านหัตถกรรม
และศิลปะพื้นบ้านตามลำ�ดับ ซึ่งจะประกาศผล
ภายในปี 2019
	 ขณะเดียวกันกลุ่มนักสร้างสรรค์จาก 51
เมืองทั่วประเทศของอินโดนีเซีย ที่รวมตัวกัน
ก่อตั้งเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์อินโดนีเซีย
(The Indonesian Creative Cities Network:
ICCN) ในปี 2014 ก็มีความเคลื่อนไหวในการส่ง
เสริมศักยภาพของชุมชนหรือเมืองต่าง ๆ ให้ใช้
ความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเมืองในแบบที่ไม่เน้น
ผลทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่เป็นทั้งการอนุรักษ์
วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่สามารถเคลื่อนที่
ไปกับการเปลี่ยนแปลงของโลก
สู่วัฒนธรรม 4.0
เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นองค์ประกอบสำ�คัญของการ
ผลักดันให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เติบโต ซึ่งพิสูจน์
จากความสำ�เร็จของ K POP และ Cool Japan
ที่ทำ�ให้วัฒนธรรมสามารถลื่นไหลไปกับการอนุรักษ์
และสร้างมูลค่าเพิ่มในเวลาเดียวกัน ดังนั้น กลุ่ม
อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ขึ้นแท่นเป็นเป้าหมายของ
รัฐบาลประเทศอาเซียน จึงอยู่ในกลุ่มภาพยนตร์
CREATIVE THAILAND I 16
เพลง เกม และโฆษณา การใช้เทคโนโลยีเออาร์
(Augment Reality) และวีอาร์ (Virtual Reality)
เพื่อการสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ รวมถึงการส่งเสริม
กลุ่มสตาร์ตอัพ ดังเช่นที่อินโดนีเซียได้กลายเป็น
บ้านเกิดของยูนิคอร์นถึง 4 ตัว ไม่ว่าจะเป็น
Traveloka บริการด้านการท่องเที่ยว Go Jek
บริการการเดินทางTokopedia และBukalapak
ด้านการขายของออนไลน์ ซึ่งไม่เพียงสร้างมูลค่า
มหาศาล แต่ยังทำ�ให้การใช้ชีวิตประจำ�วันของ
ผู้คนสะดวกมากขึ้น
	 นอกจากดิจิทัลจะทำ�ให้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
มีโอกาสขยายตัวในตลาดโลกแล้ว ในทางกลับกัน
ดิจิทัลยังเป็นเครื่องมือในการรักษารากฐานทาง
วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์สำ�คัญของโลกที่
สามารถนำ�กลับมาใช้ใหม่อย่างไม่รู้จบ ภายใต้
โครงการการจัดทำ�ฐานข้อมูลมรดกวัฒนธรรม
อาเซียน (ASEAN Cultural Heritage Digital
Archive:ACHDA) เป็นโครงการที่ได้รับสนับสนุน
เงินทุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นในการเก็บข้อมูลวัตถุโบราณ
เอกสารเก่าและภาพวาด ด้วยการสแกน 3 มิติ เพื่อ
จัดเก็บในฐานข้อมูลออนไลน์ที่เปิดให้เป็นสาธารณะ
โดยเริ่มต้นเก็บจากประเทศอินโดนีเซีย และกำ�ลัง
อยู่ในช่วงต้นของการพัฒนาการเก็บข้อมูลพื้นที่
มรดกโลกของยูเนสโกจากประเทศพม่า กัมพูชา
และอินโดนีเซีย เพื่อว่าในอนาคตหากเกิดเหตุการณ์
ไม่คาดฝันที่ทำ�ให้มรดกโลกเกิดความเสียหาย ก็ยัง
คงมีฐานข้อมูลให้ได้ศึกษาหรือซ่อมแซมให้กลับคืนมา
ความหวังสู่การเปลี่ยนแปลง
นอกจากมิติของการนำ�วัฒนธรรมและสินทรัพย์
ของเมืองมาสู่การสร้างมูลค่าและการพัฒนาแล้ว
เศรษฐกิจสร้างสรรค์สำ�หรับอาเซียนยังครอบคลุม
ไปถึงการเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับปัญหาใน
อนาคต อย่างเช่นการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
	 เป็นที่รู้กันดีว่า เกษตรกรในประเทศกำ�ลัง
พัฒนา นอกจากจะเป็นกลุ่มคนที่มีโอกาสน้อย
ACHDA เก็บข้อมูลวัตถุโบราณ
การเก็บข้อมูลจากพื้นที่มรดกโลก
ประเทศ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์
	 กระทรงวัฒนธรรม เยาวชน และกีฬา (Ministry of Culture, Youth and Sports) จัด Creative Economy Week เพื่อ
	 เพิ่มศักยภาพของนักสร้างสรรค์ท้องถิ่นด้านทักษะและอาชีพ การเข้าถึงตลาด และเป็นพื้นที่การเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการ
	 สร้างสรรค์
	 จัดทำ� Creative Lab ที่ประกอบด้วยกลุ่มคนจากสาขาศิลปะ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์เพื่อมาร่วมกันหาแนวทางในการ
	 แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและอัตลักษ์ การออกแบบพื้นที่เมือง และสวัสดิการสังคม
	 จัดทำ�นโยบายเพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการสร้างสรรค์ ส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในท้องถิ่น นำ�แนวคิดเมือง
	 สร้างสรรค์มาเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาเมืองที่เน้นวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์
บรูไน
	 กลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์รวมตัวกันจัดตั้งสภาเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งฟิลิปปินส์(CreativeEconomyCouncilofPhilippines) เพื่อ
	 ร่วมกันทำ�งานกับกรมการค้าและอุตสาหกรรม(DepartmentofTradeandIndustry) ในการผลักดันให้มีนโยบายและมาตรการ
	 สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และนำ�ไปสู่การจัดตั้งสำ�นักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในปี 2022
	 จัดตั้ง Creative Zone หรือย่านสร้างสรรค์ เพื่อเป็นพื้นที่สำ�หรับพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
	 วางเป้าหมายพัฒนาเมืองให้เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโกเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยว
ฟิลิปปินส์
	 จัดตั้งสำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (BEKRAF) เพื่อกำ�หนดนโยบายด้านต่างๆ
	 จัดแบ่งโครงสร้างองค์กรตามองค์ประกอบการสร้าง ‘ระบบนิเวศ’ ที่เอื้อให้เกิดการสร้างสรรค์ 1) การวิจัยและการศึกษา (Research
	 andEducation): ช่วยในการศึกษาค้นคว้าเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ2) การเข้าถึงแหล่งเงินทุน(Accessforcapital)3) โครงสร้าง
	 สาธารณูปโภค(Infrastructures): อำ�นวยความสะดวกในเรื่องของพื้นที่การจัดกิจกรรม อุปกรณ์ เทคโนโลยี หรือระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
	 4) การตลาด (Marketing) : การตลาดทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ 5) ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Rights) :
	 การใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อช่วยในการต่อยอดและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ 6) ความร่วมมือและเครือข่ายในและต่างประเทศ
	 (Inter-institutional Relations) : สร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรสร้างสรรค์ต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
อินโดนีเซีย
ที่มา : การประชุม ASEAN Regional Workshop on Creative Economy 4-5 กันยายน 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562

More Related Content

Similar to นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562

Ru#02 20180923
Ru#02 20180923Ru#02 20180923
Ru#02 20180923pantapong
 
STARTUP THAILAND MAGAZINE. Issue 12. June 2018.
STARTUP THAILAND MAGAZINE. Issue 12. June 2018.STARTUP THAILAND MAGAZINE. Issue 12. June 2018.
STARTUP THAILAND MAGAZINE. Issue 12. June 2018.Peerasak C.
 
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdf
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdfทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdf
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdfkittithaithana
 
Teaching English for communication using JITSUPA model
Teaching English for communication using JITSUPA modelTeaching English for communication using JITSUPA model
Teaching English for communication using JITSUPA modelJessie SK
 
Chiangmai Creative City USA Visit 2012
Chiangmai Creative City USA Visit 2012Chiangmai Creative City USA Visit 2012
Chiangmai Creative City USA Visit 2012Smith Taweelerdniti
 
Startup Thailand Magazine ISSUE 23 : AUGUST 2019 : LOCAL STARTUPS
Startup Thailand Magazine ISSUE 23 : AUGUST 2019 : LOCAL STARTUPSStartup Thailand Magazine ISSUE 23 : AUGUST 2019 : LOCAL STARTUPS
Startup Thailand Magazine ISSUE 23 : AUGUST 2019 : LOCAL STARTUPSPeerasak C.
 
2012 - Year in Review (thumbsup - Thailand)
2012 - Year in Review (thumbsup - Thailand)2012 - Year in Review (thumbsup - Thailand)
2012 - Year in Review (thumbsup - Thailand)Moonshot Digital
 
อนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจ
อนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจอนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจ
อนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจMissiontothemoon
 
Tcdc ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
Tcdc ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบTcdc ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
Tcdc ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบleemeanxun
 
7 1-1-i know you know asean
7 1-1-i know you know asean7 1-1-i know you know asean
7 1-1-i know you know aseanpatmalya
 
Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15
Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15
Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15Pun-Arj Chairatana
 
SET Corner Khon Kaen University
SET Corner Khon Kaen UniversitySET Corner Khon Kaen University
SET Corner Khon Kaen Universitykkuaglibrary
 
Smart Industry Newsletter Vol.28
Smart Industry Newsletter Vol.28Smart Industry Newsletter Vol.28
Smart Industry Newsletter Vol.28Chanpen Thawornsak
 
การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน 20150806
การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน 20150806การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน 20150806
การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน 20150806Kant Weerakant Drive Thailand
 
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคมการรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคมjeabjeabloei
 
คู่มือส่งเสริมความรู้การทำธุรกิจไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (e-Business)
คู่มือส่งเสริมความรู้การทำธุรกิจไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (e-Business)คู่มือส่งเสริมความรู้การทำธุรกิจไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (e-Business)
คู่มือส่งเสริมความรู้การทำธุรกิจไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (e-Business)wonvisa
 

Similar to นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562 (20)

Ru#02 20180923
Ru#02 20180923Ru#02 20180923
Ru#02 20180923
 
STARTUP THAILAND MAGAZINE. Issue 12. June 2018.
STARTUP THAILAND MAGAZINE. Issue 12. June 2018.STARTUP THAILAND MAGAZINE. Issue 12. June 2018.
STARTUP THAILAND MAGAZINE. Issue 12. June 2018.
 
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdf
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdfทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdf
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdf
 
Teaching English for communication using JITSUPA model
Teaching English for communication using JITSUPA modelTeaching English for communication using JITSUPA model
Teaching English for communication using JITSUPA model
 
แบบฟอร์ม+Storytellingครั้งที่ 1รอบ2 56
แบบฟอร์ม+Storytellingครั้งที่ 1รอบ2 56แบบฟอร์ม+Storytellingครั้งที่ 1รอบ2 56
แบบฟอร์ม+Storytellingครั้งที่ 1รอบ2 56
 
Chiangmai Creative City USA Visit 2012
Chiangmai Creative City USA Visit 2012Chiangmai Creative City USA Visit 2012
Chiangmai Creative City USA Visit 2012
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2562
 
Startup Thailand Magazine ISSUE 23 : AUGUST 2019 : LOCAL STARTUPS
Startup Thailand Magazine ISSUE 23 : AUGUST 2019 : LOCAL STARTUPSStartup Thailand Magazine ISSUE 23 : AUGUST 2019 : LOCAL STARTUPS
Startup Thailand Magazine ISSUE 23 : AUGUST 2019 : LOCAL STARTUPS
 
2012 - Year in Review (thumbsup - Thailand)
2012 - Year in Review (thumbsup - Thailand)2012 - Year in Review (thumbsup - Thailand)
2012 - Year in Review (thumbsup - Thailand)
 
อนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจ
อนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจอนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจ
อนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจ
 
Ict asean presentation
Ict asean presentationIct asean presentation
Ict asean presentation
 
Tcdc ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
Tcdc ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบTcdc ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
Tcdc ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
 
Set corner cm 2016
Set corner cm 2016 Set corner cm 2016
Set corner cm 2016
 
7 1-1-i know you know asean
7 1-1-i know you know asean7 1-1-i know you know asean
7 1-1-i know you know asean
 
Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15
Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15
Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15
 
SET Corner Khon Kaen University
SET Corner Khon Kaen UniversitySET Corner Khon Kaen University
SET Corner Khon Kaen University
 
Smart Industry Newsletter Vol.28
Smart Industry Newsletter Vol.28Smart Industry Newsletter Vol.28
Smart Industry Newsletter Vol.28
 
การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน 20150806
การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน 20150806การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน 20150806
การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน 20150806
 
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคมการรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
 
คู่มือส่งเสริมความรู้การทำธุรกิจไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (e-Business)
คู่มือส่งเสริมความรู้การทำธุรกิจไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (e-Business)คู่มือส่งเสริมความรู้การทำธุรกิจไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (e-Business)
คู่มือส่งเสริมความรู้การทำธุรกิจไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (e-Business)
 

More from Peerasak C.

เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVexเสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVexPeerasak C.
 
Blockchain for Government Services
Blockchain for Government ServicesBlockchain for Government Services
Blockchain for Government ServicesPeerasak C.
 
e-Conomy SEA 2020
e-Conomy SEA 2020e-Conomy SEA 2020
e-Conomy SEA 2020Peerasak C.
 
A Roadmap for CrossBorder Data Flows: Future-Proofing Readiness and Cooperati...
A Roadmap for CrossBorder Data Flows: Future-Proofing Readiness and Cooperati...A Roadmap for CrossBorder Data Flows: Future-Proofing Readiness and Cooperati...
A Roadmap for CrossBorder Data Flows: Future-Proofing Readiness and Cooperati...Peerasak C.
 
๙ พระสูตร ปฐมโพธิกาล
๙ พระสูตร ปฐมโพธิกาล๙ พระสูตร ปฐมโพธิกาล
๙ พระสูตร ปฐมโพธิกาลPeerasak C.
 
FREELANCING IN AMERICA 2019
FREELANCING IN AMERICA 2019FREELANCING IN AMERICA 2019
FREELANCING IN AMERICA 2019Peerasak C.
 
How to start a business: Checklist and Canvas
How to start a business: Checklist and CanvasHow to start a business: Checklist and Canvas
How to start a business: Checklist and CanvasPeerasak C.
 
The Multiple Effects of Business Planning on New Venture Performance
The Multiple Effects of Business Planning on New Venture PerformanceThe Multiple Effects of Business Planning on New Venture Performance
The Multiple Effects of Business Planning on New Venture PerformancePeerasak C.
 
Artificial Intelligence and Life in 2030. Standford U. Sep.2016
Artificial Intelligence and Life in 2030. Standford U. Sep.2016Artificial Intelligence and Life in 2030. Standford U. Sep.2016
Artificial Intelligence and Life in 2030. Standford U. Sep.2016Peerasak C.
 
Testing Business Ideas by David Bland & Alex Osterwalder
Testing Business Ideas by David Bland & Alex Osterwalder Testing Business Ideas by David Bland & Alex Osterwalder
Testing Business Ideas by David Bland & Alex Osterwalder Peerasak C.
 
Royal Virtues by Somdet Phra Buddhaghosajahn (P. A. Payutto) translated by Ja...
Royal Virtues by Somdet Phra Buddhaghosajahn (P. A. Payutto) translated by Ja...Royal Virtues by Somdet Phra Buddhaghosajahn (P. A. Payutto) translated by Ja...
Royal Virtues by Somdet Phra Buddhaghosajahn (P. A. Payutto) translated by Ja...Peerasak C.
 
e-Conomy SEA Report 2019
e-Conomy SEA Report 2019e-Conomy SEA Report 2019
e-Conomy SEA Report 2019Peerasak C.
 
เจาะเทรนด์โลก 2020: Positive Power โดย TCDC
เจาะเทรนด์โลก 2020: Positive Power โดย TCDCเจาะเทรนด์โลก 2020: Positive Power โดย TCDC
เจาะเทรนด์โลก 2020: Positive Power โดย TCDCPeerasak C.
 
RD Strategies & D2rive
RD Strategies & D2rive RD Strategies & D2rive
RD Strategies & D2rive Peerasak C.
 
คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)
คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)
คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)Peerasak C.
 
K SME INSPIRED September 2019 Issue 65
K SME INSPIRED September 2019 Issue 65K SME INSPIRED September 2019 Issue 65
K SME INSPIRED September 2019 Issue 65Peerasak C.
 
หนังสือ BlockChain for Government Services
หนังสือ BlockChain for Government Servicesหนังสือ BlockChain for Government Services
หนังสือ BlockChain for Government ServicesPeerasak C.
 
General Population Census of the Kingdom of Cambodia 2019
General Population Census of the Kingdom of Cambodia 2019General Population Census of the Kingdom of Cambodia 2019
General Population Census of the Kingdom of Cambodia 2019Peerasak C.
 
SMD FY 2019 President’s Budget Request to Congress
SMD FY 2019 President’s Budget Request to Congress SMD FY 2019 President’s Budget Request to Congress
SMD FY 2019 President’s Budget Request to Congress Peerasak C.
 

More from Peerasak C. (20)

เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVexเสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
 
Blockchain for Government Services
Blockchain for Government ServicesBlockchain for Government Services
Blockchain for Government Services
 
e-Conomy SEA 2020
e-Conomy SEA 2020e-Conomy SEA 2020
e-Conomy SEA 2020
 
A Roadmap for CrossBorder Data Flows: Future-Proofing Readiness and Cooperati...
A Roadmap for CrossBorder Data Flows: Future-Proofing Readiness and Cooperati...A Roadmap for CrossBorder Data Flows: Future-Proofing Readiness and Cooperati...
A Roadmap for CrossBorder Data Flows: Future-Proofing Readiness and Cooperati...
 
๙ พระสูตร ปฐมโพธิกาล
๙ พระสูตร ปฐมโพธิกาล๙ พระสูตร ปฐมโพธิกาล
๙ พระสูตร ปฐมโพธิกาล
 
TAT The Journey
TAT The JourneyTAT The Journey
TAT The Journey
 
FREELANCING IN AMERICA 2019
FREELANCING IN AMERICA 2019FREELANCING IN AMERICA 2019
FREELANCING IN AMERICA 2019
 
How to start a business: Checklist and Canvas
How to start a business: Checklist and CanvasHow to start a business: Checklist and Canvas
How to start a business: Checklist and Canvas
 
The Multiple Effects of Business Planning on New Venture Performance
The Multiple Effects of Business Planning on New Venture PerformanceThe Multiple Effects of Business Planning on New Venture Performance
The Multiple Effects of Business Planning on New Venture Performance
 
Artificial Intelligence and Life in 2030. Standford U. Sep.2016
Artificial Intelligence and Life in 2030. Standford U. Sep.2016Artificial Intelligence and Life in 2030. Standford U. Sep.2016
Artificial Intelligence and Life in 2030. Standford U. Sep.2016
 
Testing Business Ideas by David Bland & Alex Osterwalder
Testing Business Ideas by David Bland & Alex Osterwalder Testing Business Ideas by David Bland & Alex Osterwalder
Testing Business Ideas by David Bland & Alex Osterwalder
 
Royal Virtues by Somdet Phra Buddhaghosajahn (P. A. Payutto) translated by Ja...
Royal Virtues by Somdet Phra Buddhaghosajahn (P. A. Payutto) translated by Ja...Royal Virtues by Somdet Phra Buddhaghosajahn (P. A. Payutto) translated by Ja...
Royal Virtues by Somdet Phra Buddhaghosajahn (P. A. Payutto) translated by Ja...
 
e-Conomy SEA Report 2019
e-Conomy SEA Report 2019e-Conomy SEA Report 2019
e-Conomy SEA Report 2019
 
เจาะเทรนด์โลก 2020: Positive Power โดย TCDC
เจาะเทรนด์โลก 2020: Positive Power โดย TCDCเจาะเทรนด์โลก 2020: Positive Power โดย TCDC
เจาะเทรนด์โลก 2020: Positive Power โดย TCDC
 
RD Strategies & D2rive
RD Strategies & D2rive RD Strategies & D2rive
RD Strategies & D2rive
 
คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)
คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)
คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)
 
K SME INSPIRED September 2019 Issue 65
K SME INSPIRED September 2019 Issue 65K SME INSPIRED September 2019 Issue 65
K SME INSPIRED September 2019 Issue 65
 
หนังสือ BlockChain for Government Services
หนังสือ BlockChain for Government Servicesหนังสือ BlockChain for Government Services
หนังสือ BlockChain for Government Services
 
General Population Census of the Kingdom of Cambodia 2019
General Population Census of the Kingdom of Cambodia 2019General Population Census of the Kingdom of Cambodia 2019
General Population Census of the Kingdom of Cambodia 2019
 
SMD FY 2019 President’s Budget Request to Congress
SMD FY 2019 President’s Budget Request to Congress SMD FY 2019 President’s Budget Request to Congress
SMD FY 2019 President’s Budget Request to Congress
 

นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562

  • 1. ตุลาคม 2562 ปีที่ 11 I ฉบับที่ 1 แจกฟรี The Creative แอน JKN How to เปิดประตู 5 บาน...เริ่มทำ�ธุรกิจกับเพื่อนบ้าน Fact and Figure ส่องทิศทางถนนสายสร้างสรรค์ของชาติอาเซียน
  • 2.
  • 3. Competition makes us faster; Collaboration makes us better. การแข่งขันอาจไปได้เร็ว แต่การร่วมมือกันไปได้ไกล PhotobyIanStaufferonUnsplash
  • 4. Contents : สารบัญ Creative Update 6 เจาะตลาดอาเซียนด้วยการท่องเที่ยวแบบ ฮาลาล / Thailand 4.0 สู่การเป็น Medical Hub ของอาเซียน / อี-สปอร์ต...สปิริตที่ ขับเคลื่อนภูมิภาค Creative Resource 8 Featured Article / Book / Film MDIC 10 ทำ�ความรู้จักงานคราฟต์ของเวียดนาม ผ่าน VIETCRAFT Cover Story 12 ASEAN Creative Awakening Fact and Figure 18 ส่องทิศทางถนนสายสร้างสรรค์ ของชาติอาเซียน Creative Business 20 LOVER Brand ส่งออกความรักผ่านเครื่องประดับ สู่ตลาดอาเซียน How To 23 เปิดประตู 5 บาน เริ่มทำ�ธุรกิจกับเพื่อนบ้าน Creative Place 24 The Revival of Indonesia The Creative 28 แอน จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ (แอน JKN) สร้างการเสพติดทางสายตา เมื่อมูลค่าคอนเทนต์อยู่ที่วัฒนธรรม Creative Solution 34 ไป ๆ มา ๆ ในอาเซียน เทรนด์การย้ายงาน ในภูมิภาคบ้านใกล้เรือนเคียงวันนี้ CREATIVE THAILAND I 4     -    - 3.0     -    - 3.0 จัดทำ�โดย l สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ี l บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำ�กัด โทร. 02 903 8257-9 จำ�นวน 15,000 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th นิตยสารฉบับนี้ใช้หมึกพิมพ์จากนํ้ามันถั่วเหลืองที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “CreativeThailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์(องค์การมหาชน)(CEA) ซึ่งมีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์(CreativeEconomy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l มนฑิณี ยงวิกุล ที่ปรึกษา l เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l ปุญญิศา เปล่งรัศมี และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข เลขากองบรรณาธิการ l ณัฐชา ตะวันนาโชติ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l วนบุษป์ ยุพเกษตร ช่างภาพและมัลติมีเดีย l ภีร์รา ดิษฐากรณ์ เว็บไซต์ l นพกร คนไว
  • 5. CREATIVE THAILAND I 5 Editor’s Note : บทบรรณาธิการ ความสำ�เร็จในการส่งซอฟต์พาวเวอร์ของเกาหลีใต้ผ่านซีรีส์และเหล่าไอดอล กลายเป็นตัวอย่างให้หลายประเทศยอมรับว่า ความคิดสร้างสรรค์ที่ถูกส่งผ่าน บทละครหรือการสร้างคาแร็กเตอร์ให้วงดนตรีนั้น ทำ�ให้สินค้าและการท่องเที่ยว บูมขึ้นทันตาเห็น จนญี่ปุ่นต้องพลิกเกมสู้ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศจีน ที่ใช้ความคิด สร้างสรรค์ได้อย่างครบเครื่อง ตั้งแต่เทคโนโลยีเอไอไปจนถึงการผลิตละครจีน ที่กลับมาดังเปรี้ยงปร้างด้วยบทและโปรดักชันอันทันสมัย สามารถแข่งขันกับ ซีรีส์เกาหลีใต้และญี่ปุ่นได้อย่างสบาย ๆ หรือถึงขั้นแซงหน้าด้วยการพลิกแพลง นิยายสายวายให้กลายเป็นซีรีส์มิตรภาพลูกผู้ชาย ‘ปรมาจารย์ลัทธิมาร’ ที่ นำ�แสดงโดย หวังอี้ป๋อ และเซียวจ้าน สองหนุ่มดาราดังที่ขณะนี้ถูกเรียก รวมกันว่า#ป๋อจ้าน ได้สร้างกระแสคลั่งไคล้ในกลุ่มแฟนคลับอย่างคับคั่งทั้งใน ประเทศจีนเองและต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่กลายเป็นสถานที่ ในการจัดแฟนมีทติ้งให้กับหนุ่ม ๆ จากหุบเขากูซู แทนที่จะเป็นประเทศจีนเอง ด้วยเหตุที่ว่าการจัดกิจกรรมที่สร้างภาพลักษณ์แบบชายรักชายยังไม่สามารถ ทำ�ได้ที่เมืองจีน แต่สำ�หรับประเทศไทยอาจจะเรียกได้ว่าเป็นสวรรค์ของสายวาย ด้วยเนื้อหาของซีรีส์ที่เล่นจริง จูบจริง จนส่งผลให้คู่พระ-พระ ของไทยเองก็มี โอกาสสร้างกระแสในต่างประเทศไม่แพ้พระนางคู่อื่น ในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ วัฒนธรรมเป็นเหมือนวัตถุดิบสำ�คัญ ในการแปรรูปสู่สินค้าและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมบันเทิง ไม่ว่า จะเป็นหนัง เพลง เกม แอนิเมชัน ที่ประเทศสมาชิกในอาเซียนต่างหมายมั่น ปั้นมือจะสร้างให้เป็นอุตสาหกรรมนำ�ชัย นอกเหนือไปจากการออกแบบ แฟชั่น หัตถกรรม อาหาร และการท่องเที่ยว ซึ่งแน่นอนว่า ทุกประเทศในอาเซียน ต่างก็รํ่ารวยทั้งวัฒนธรรมและทักษะฝีมือที่เปรียบเหมือนขุมทรัพย์ที่รอวัน แปรสภาพ หากยังมีอีกองค์ประกอบสำ�คัญที่อ้างอิงจากริชาร์ด ฟลอริดา (Richard Florida) ผู้โด่งดังจากการเขียนหนังสือ The Rise of the Creative Class ในปี2002 ว่า สังคมที่เปิดกว้าง(Tolerance) ยอมรับความต่างของเชื้อชาติ ศาสนา ไปจนถึงเพศสภาพ เป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เกิดและเติบโตพอ ๆ กับอีกสองปัจจัย คือ การรวมตัวของกลุ่มนักสร้างสรรค์ (Talent) และโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีที่ดี (Technology) ซึ่งสองปัจจัยหลังนี้ ถ้าเราสแกนนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศในอาเซียน ก็จะพบว่าถูกสอดแทรกอยู่ในนโยบายหลักของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการ ปลดล็อกด้านกฎหมายของอินโดนีเซียจนกลายเป็นบ้านของยูนิคอร์นให้เหล่า สตาร์ตอัพ การให้ทุนสนับสนุนงานศิลปะอย่างเป็นลํ่าเป็นสันของสิงคโปร์ การให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ของมาเลเซียและฟิลิปปินส์ รวมถึงการจัดทำ�ข้อมูลวัฒนธรรมเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาในกัมพูชา ลาว และพม่า ส่วนในประเทศไทยก็อยู่ในช่วงของการจัดทำ�นโยบายเพื่อ สนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ แต่ทว่างานสร้างสรรค์ของไทยนั้นถูกจัดให้อยู่ในแถวหน้าของอาเซียน นั่นเพราะนอกจากที่ไทยจะเป็นแหล่งรวมนักสร้างสรรค์หลากหลายสาขาแล้ว เรายังมีชัยภูมิทางสังคมซึ่งเหมาะจะเป็นที่ตั้งของหุบเขากูซูที่เหล่าปรมาจารย์ จะสามารถรักกันได้อย่างเปิดเผย โดยไม่ต้องปรับเนื้อหาจนทำ�ให้เหล่า แฟนคลับต้องจินตนาการต่อยอดจากเรื่องราวของมิตรภาพให้ฟินน้อยลงกว่า ที่ควรจะเป็น มนฑิณี ยงวิกุล บรรณาธิการอำ�นวยการ หุบเขากูซู ที่ประเทศไทย dramafast.com
  • 6. CREATIVE THAILAND I 6 Creative Update : คิดทันโลก เจาะตลาดอาเซียน ด้วยการท่องเที่ยวแบบฮาลาล เรื่อง : นพกร คนไว เรื่อง : นพกร คนไว ชาวมุสลิมนับเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีกำ�ลัง ซื้อมหาศาล โดยเฉพาะในอาเซียนที่มีชาวมุสลิม มากกว่า240 ล้านคน และนั่นเป็นเหตุผลที่ตลาด การท่องเที่ยวแบบฮาลาลเติบโตขึ้นอย่างมาก ภายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รายงานของ The Mastercard-Crescent Rating Global Muslim Travel Index 2019 (GMTI) ได้สรุปผลสำ�รวจการเติบโตของการท่องเที่ยวฮาลาล พบว่า อินโดนีเซียได้ขยับขึ้นเป็นอับดับ 1 ของ ประเทศที่มีนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมมากที่สุด เคียงคู่ไปกับมาเลเซีย ซึ่งทั้งสองประเทศอยู่ใน กลุ่มองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ส่วน ประเทศไทยรั้งอันดับสองรองจากสิงคโปร์ เมื่อเทียบกับสิบอันดับประเทศที่ไม่เป็นสมาชิก องค์การความร่วมมืออิสลาม การบริการและสิ่งอำ�นวยความสะดวกที่เป็น พื้นฐานของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม คือเหตุผล หลักที่หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลายเป็นจุดหมายปลายทางหลักสำ�หรับ นักท่องเที่ยวชาวมุสลิม ตัวอย่างเช่นอินโดนีเซีย ที่ประชาชนมากกว่า 87% นับถือศาสนาอิสลาม ทำ�ให้สามารถหาร้านฮาลาลได้ง่าย รวมไปถึง ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำ�วัน นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังเข้ารับบริการของโรงพยาบาลที่ ให้การรักษาเป็นไปตามหลักฮาลาลได้ง่าย อีกทั้ง มีสถานที่ทางศาสนาอย่างมัสยิดที่มีทั้งความ สวยงามและสำ�คัญอีกหลายแห่ง ส่วนสิงคโปร์ ที่แม้จะมีประชากรที่นับถือ ศาสนาอิสลามอยู่เพียง14% แต่ก็สามารถขึ้นเป็น ประเทศอันดับหนึ่งของประเทศที่ไม่เป็นสมาชิก องค์การความร่วมมืออิสลาม ด้วยการปรับเปลี่ยน รูปแบบการบริการและธุรกิจมากมายที่รองรับ ข้อปฏิบัติตามหลักศาสนา เช่น การกำ�หนด ให้ฟู้ดฮอว์เกอร์ต่าง ๆ และฟู้ดคอร์ตในสนามบิน แห่งชาติชางงีมีโซนอาหารฮาลาลและไม่เป็น ฮาลาลแยกเป็นสัดส่วนชัดเจน อีกทั้งสิงคโปร์ ยังเป็นประเทศที่ตั้งของสำ�นักงาน Have Halal Will Travel เว็บไซต์แนะนำ�การท่องเที่ยวแบบ ฮาลาลที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลกอีกด้วย สำ�หรับประเทศไทยนอกจากโรงแรมอัลมีรอซ (AlMeroz) ที่เป็นโรงแรมฮาลาลแห่งแรกของไทย ซึ่งมีสิ่งอำ�นวยความสะดวกสำ�หรับชาวมุสลิมและ แพ็คเกจสำ�หรับเทศกาลรอมฎอนเป็นพิเศษแล้ว สำ�นักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และศูนย์อำ�นวยการบริหารชายแดนใต้ (ศอบต.) ยังได้ร่วมมือกันผลักดันให้กลุ่มผู้ประกอบการใน จังหวัดชายแดนใต้ได้มีโอกาสทางธุรกิจฮาลาล มากขึ้นด้วย โดยได้จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำ� ปรึกษาด้านผลิตภัณฑ์และการตลาด เพื่อให้เกิด การลงทุนในจังหวัดชายแดนใต้ที่ประชากรส่วน ใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เตรียมพร้อม เจาะตลาดการท่องเที่ยวฮาลาลในอนาคต ที่มา : Mastercard-Crescent Rating Global Muslim Travel Index 2019 / บทความ “Halal tourism boom draws Muslim holidaymakers to Asia” โดย IAN LLOYD NEUBAUER จาก asia.nikkei.com / บทความ “Jokowi plans to replicate Bali’s success in 10 other Indonesian spots” โดย Francis Chan จาก straitstimes.com / บทความ “Singapore could be Asia’s next halal destination” จากTHEJAKARTAPOST/ บทความ “อบจ. ภูเก็ต จัดงานภูเก็ตอันดามันฮาลาลเอ็กซ์โป ประจำ�ปี 2562” จาก siangtai.com Thailand 4.0 สู่การเป็น Medical Hub ของอาเซียน อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร หรือ Medical Hub คือหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่เพื่อเป็นกลไกในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต (New S-Curve) และเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ไทยกำ�ลังเดินหน้า ไปเป็นศูนย์กลางของอาเซียนตามนโยบาย Thailand 4.0 ในปีที่ผ่านมา มีอีกความหวังหนึ่งของวงการ แพทย์ไทยนั่นคือ การร่วมมือกันของ3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวง ศึกษาธิการ (ศธ.) แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา และขับเคลื่อนย่านนวัตกรรมสุขภาพโยธี(YMID) ที่ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิจนถึง บริเวณถนนพระราม 6 ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาล มากกว่า 10 แห่ง เพื่อเนรมิตให้พื้นที่นี้กลายเป็น ย่านที่ตอบสนองการให้บริการทางการแพทย์ อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถรองรับคนไข้ ได้เป็นจำ�นวนมาก นอกจากนี้ ไทยยังมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์รวม ของการสร้างนวัตกรรมการแพทย์สมัยใหม่ อีกทั้งยังมีแผนพัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้กลายเป็น Medical Health Hub ควบคู่ไปกับการเป็น สมาร์ตซิตี้ โดยการพัฒนาแอพพลิเคชันให้ ประชาชนเข้าถึงการรักษาได้อย่างสะดวก เร่งพัฒนาโรงพยาบาลต่างอำ�เภอให้รองรับผู้ป่วย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความหนาแน่นของ โรงพยาบาลในตัวเมือง และการพัฒนาบุคลากร เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของไทย และของโลกในอนาคต PhotobyMihaiSurduonUnsplash PhotobyHikeShawonUnsplash
  • 7. CREATIVE THAILAND I 7 เรื่อง : ภีร์รา ดิษฐากรณ์ ที่มา: บทความ “เชิญพร เต็งอำ�นวย ปั้น “MedicalHub” จาก prachachat.net/ บทความ “เชียงใหม่เร่งดันโรดแมป ‘เมดิคัล ฮับ’ มุ่งสู่ Wellness City-เมืองรองรับเมืองผู้สูงอายุ” จาก prachachat.net / บทความ “ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี ศูนย์กลางนวัตกรรมและบริการทางการแพทย์ สุขภาพ ครบวงจร ของไทย”จากผู้จัดการออนไลน์/บทความ“MalaysiaMedical Tourism Market 2019 Global Analysis, Share, Trend, Key Players, Opportunities Forecast To 2022” จาก travelwirenews.com / บทความ “Medical Tourism In Singapore “NoLongerAPriority” จากInternationalMedical TravelJournal(imtj.com)/ บทความ “Thailand’sMICE Industry Report Medical Hub” โดย สำ�นักงานส่งเสริม การจัดประชุมและนิทรรศการ ที่มา: บทความ “‘ส.บอล-ธ.ออมสิน’ เปิดศึกGSBE-CUP2019 ดวล ‘PES 2020’ ชิงเงินรวม 3 ล้านบาท” (29 สิงหาคม 2562) โดย ผู้จัดการออนไลน์ จาก mgronline.com / รายงาน “Digital 2019: Understanding The Esports Opportunity” (25 กรกฎาคม 2019) โดย Simon Kemp จาก datareportal.com / วิดีโอ “เผย 6 เกม ชิงชัยอีสปอร์ต ซีเกมส์ 2019 เรื่องรอบขอบสนาม” (17 มกราคม 2019) โดย Thairath จาก youtube.com หากดูที่คู่แข่งของไทย ประเทศซึ่งเคยเป็น ในจุดหมายหลักของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อย่างสิงคโปร์ กลับถูกประเทศเพื่อนบ้านเช่นไทย และมาเลเชียแซงหน้า โดยเหตุผลหลักคือ ค่าครองชีพและค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น ทำ�ให้ นักท่องเที่ยวเลือกจะเดินทางไปยังประเทศที่ ประหยัดกว่า จากรายงานของ Singapore Tourism Board พบว่า ยอดของนักท่องเที่ยวที่ เดินทางเพื่อมารับบริการด้านสุขภาพในสิงคโปร์ ลดลงกว่า 4 เปอร์เซ็นต์จากปีที่แล้ว ขณะที่มาเลเซียกลับเป็นประเทศที่มีการ เติบโตขึ้นมากในตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เนื่องจากมีความพร้อมด้านการบริการของโรงพยาบาล ที่ถูกออกแบบมาอย่างดีในระดับนานาชาติ อีกทั้ง ยังมีตัวเลือกด้านการรักษาทั้งแพทย์แผนตะวันตก และตะวันออก เช่น สมุนไพรจีน และการฝังเข็ม บุคลากรมีความเชี่ยวชาญรอบด้าน โดยเฉพาะทักษะ การสื่อสารภาษาอังกฤษที่ใกล้เคียงเจ้าของภาษา จุดแข็งอีกประการของมาเลเซียคือการท่องเที่ยวแบบ ฮาลาลที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มนี้ได้เป็น จำ�นวนมาก โดยคาดว่าตลาดการท่องเที่ยวเชิง สุขภาพจะสร้างรายได้ให้มาเลเซียได้มากกว่า535 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี2022 และทำ�ให้มาเลเซีย เป็นคู่แข่งน่าจับตามองอีกหนึ่งประเทศในอาเซียน แม้ปัจจุบันนี้ ไทยจะเป็นจุดหมายปลายทาง ของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอันดับที่13 ของโลก (รายงานจากGlobalWellnessInstitute) แต่หาก เราไม่เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ให้ครบ วงจร ทั้งด้านการรักษา การวิจัยและผลิตอุปกรณ์ ทางการแพทย์การพัฒนายาและเวชภัณฑ์ตลอดจน การพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถรองรับ บริการระดับสากล การจะเป็นMedicalHub ของ อาเซียนก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด อี-สปอร์ต สปิริตที่ขับเคลื่อนภูมิภาค ความภาคภูมิใจที่เกิดจากชัยชนะในเกมกีฬาเป็น สิ่งที่ขาดไปไม่ได้ในการสร้างสปิริตของชาติ ปัจจุบันกระแสการแข่งขันอี-สปอร์ตได้รับ ความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งในประเทศไทย และในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น การแข่งขันในกลุ่มเล็ก ๆ หรือไปจนถึงระดับลีก แถมยังมีผู้ให้ความสนใจมากพอ ๆ กับการรับชม การแข่งขันกีฬาระดับประเทศหลายรายการใหญ่ ทำ�ให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนต่าง ให้ความสนใจและให้การสนับสนุน สะท้อนให้ เห็นจากจำ�นวนเงินรางวัลของการแข่งขันรายการ อี-สปอร์ตต่าง ๆ อย่างเช่น รายการ Toyota E-League Pro ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับอาชีพ อย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย หรือ รายการGSBE-CUP2019THAILAND การแข่งขัน เกมฟุตบอลที่มีเงินรางวัลรวมสูงสุดถึง3 ล้านบาท ซึ่งมากที่สุดเป็นลำ�ดับที่ 6 ของโลก จากการ เปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันทั่วทั้งทวีปเอเชีย หลายคนคงสงสัยว่า ทำ�ไมเหล่านักลงทุน และสปอนเซอร์ทั้งหลาย ถึงได้ให้การสนับสนุน การแข่งขันกีฬาอี-สปอร์ตในกลุ่มประเทศอาเซียน งานวิจัยและข้อมูลจากDigital2019Q3Global Digital Statshot โดย We Are Social และ Hootsuite รายงานว่า ปัจจุบันมีจำ�นวนประชากร ทั่วโลกที่รับชมการแข่งขันกีฬาอี-สปอร์ตประมาณ 1 พันล้านคน เมื่อคิดเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อ จำ�นวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในแต่ละประเทศแล้ว พบว่า ประเทศที่มีเปอร์เซ็นต่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ รับชมการแข่งขันมากที่สุดในโลกคือ ประเทศจีน (40%) มากกว่า 300 ล้านคน โดยอันดับที่ 2, 3 และ4 เป็นของเวียดนาม(33%) ฟิลิปปินส์(29%) และตามด้วยประเทศไทย (25%) อีกทั้งสถิติ การรับชมถ่ายทอดสดการเล่นเกม (Game Streaming) บนแพลตฟอร์มอย่าง Twitch ที่มี ผู้รับชมทั่วโลกกว่า 1.25 พันล้านคน พบว่า ประเทศจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นก็ติด อันดับต้น ๆ ของโลกที่รับชมการแข่งขันผ่าน ช่องทางนี้ โดยอันดับ 1 ของโลก เป็นของ ฟิลิปปินส์ อันดับ 2 คืออินโดนีเซีย ส่วนไทย อยู่ในลำ�ดับที่ 5 ลำ�ดับที่ 6 และ 7 เป็นของ เวียดนาม และมาเลเซียตามลำ�ดับ และอีกไม่นาน นี้ในวันที่ 30 พฤศจิกายน - 11 ธันวาคม 2562 ก็ยังจะมีการจัดการแข่งขันอี-สปอร์ตครั้งแรก ที่บรรจุเข้าเป็นกีฬาชิงเหรียญรางวัลถึง 6 เหรียญทองในการแข่งขันซีเกมส์2019 ที่ประเทศ ฟิลิปปินส์ ปริมาณผู้ชมอี-สปอร์ตนั้นเป็นตัวชี้วัดสำ�คัญ ที่เป็นเหตุผลให้นักลงทุนและบรรดาผู้สนับสนุน มองเห็นโอกาสในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย เช่นเดียวกับการขยายตัวของอุตสาหกรรม อี-สปอร์ตทั่วโลกที่มีมูลค่าสูงถึง900 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ วงการนี้จึงไม่ใช่แค่เพียงเกมเพื่อการ ผ่อนคลายอย่างเดียวอีกต่อไป แต่คือตลาด การลงทุนสำ�คัญของภูมิภาคอาเซียน และยังอาจ เป็นโอกาสใหม่ให้เยาวชนในกลุ่มประเทศสมาชิก มีพื้นที่ในการปล่อยของ มีอาชีพที่สร้างรายได้ และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติได้ในที่สุด facebook.com/buriramunitedesports
  • 8. CREATIVE THAILAND I 8 Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง : ปุญญิศา เปล่งรัศมี FEATU RED ARTICLE Future Consumer 2020 โดย Andrea Bell เราจะเป็นผู้นำ�ในตลาดโลกได้อย่างไร นอกเสียจากต้องทำ�ความเข้าใจความแตกต่างและหลากหลายของตลาดแต่ละแห่งในโลก ขณะที่ก็ยังมีอีกคำ�ตอบ นั่นคือการต้องเป็นผู้สร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องกับอนาคต ในปี2020 ผู้บริโภคมีแนวโน้มในการเลือกซื้อสินค้าที่แตกต่างจากเดิมอย่างไร พวกเขาคาดหวังอะไรจากแบรนด์ และสิ่งใดจะเข้ามามีบทบาทในปีนี้บ้าง WGSN (World Global Style Network) Insight เครื่องมือช่วยคาดการณ์แนวโน้มหรือเทรนด์โลกได้วิเคราะห์เทรนด์และแนวโน้มต่าง ๆ ในเรื่องของผู้บริโภค การตลาด ธุรกิจค้าปลีก ไปจนถึงแนวโน้มของนวัตกรรมโลก ได้ข้อสรุปว่าในปี2020 สิ่งที่จะเข้ามาขับเคลื่อนโลกของเรามีอยู่3 ประเด็น ต่อไปนี้1) ทศวรรษ นี้ให้ความสำ�คัญในเรื่องเกี่ยวกับเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และความคิดความเชื่อ ผู้บริโภคมีความหลากหลาย พวกเขาต่างมีสิทธิ์มีเสียงในการเลือกซื้อและบริโภค สินค้าและบริการตามความต้องการของตนเอง 2) เทคโนโลยี 5G บนมือถือจะทำ�ให้การเชื่อมต่อมีความสะดวก รวดเร็ว ต่อเนื่องไม่มีสะดุด ส่งผลให้ธุรกิจ รร้านค้าออนไลน์มาแรง และการสร้างประสบการณ์จากเทคโนโลยีโลกเสมือนอย่างAR และVR จะได้รับการพัฒนา ซึ่งย่อมส่งผลต่อรูปแบบการบริโภค และ 3) Crowd Based Capitalism หรือระบบเศรษฐกิจที่กลุ่มธุรกิจหลากหลายกลุ่มจะแบ่งปันสินทรัพย์ เงินทุน และแรงงานร่วมกันผ่านแพลตฟอร์มกลาง ต่าง ๆ จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และผู้บริโภคจะใส่ใจมากขึ้นว่าเงินที่ตนจ่ายไปนั้นได้หมุนเวียนอยู่ในท้องถิ่นจริง จะเห็นได้ว่านอกจากเรื่องของเทคโนโลยีแล้ว ธุรกิจในยุคนี้ยังต้องให้ความสำ�คัญกับคุณค่าของแบรนด์ รวมถึงตัวสินค้าและบริการไปพร้อมกันด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นโอกาสที่จะเบิกทางธุรกิจให้เติบโตต่อไปได้ในอนาคต ซึ่งผู้ที่ตีโจทย์แตกก็จะสามารถยืนหยัดอยู่ได้ และไม่ว่าใครก็มาโค่นลงได้ยาก
  • 9. CREATIVE THAILAND I 9 พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center Think New ASEAN!: Rethinking Marketing towards ASEAN Economic Community โดย Philip Kotler, Hermawan Kartajaya และ Hooi Den Huan อาเซียนเป็นตลาดที่มีความโดดเด่นจากปัจจัย หลายด้านไม่ว่าจะเป็นจำ�นวนประชากรที่มีกว่า600 ล้านคน ความหลากหลายของประเทศสมาชิก ทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และ แรงงานที่ได้เปรียบเรื่องราคาค่าแรง การเข้าถึง ตลาดอาเซียนจึงต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ เพื่อให้ธุรกิจเติบโต หนังสือเล่มนี้อธิบายให้เห็น ถึงความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจอาเซียนในปัจจุบัน จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ที่ขับเคลื่อนด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงยังนำ�เสนอกรณี ศึกษาของธุรกิจในอาเซียนและธุรกิจต่างชาติชั้นนำ� เพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น เช่น AirAsia, HM, Samsung ฯลฯ ว่าแต่ละแบรนด์เลือกลยุทธ์ใน การสร้างลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์และรักษา ตำ�แหน่งในตลาดอาเซียนไว้ได้อย่างไร กะเทาะแก่นอาเซียน: เรียนรู้วัฒนธรรมร่วมสมัย “POP Culture” โดย ดร. อัมพร จิรัฐติกร ในประเทศอินโดนีเซีย หากใครจะแต่งงานกัน จะต้องจดทะเบียนทางศาสนาคู่กับทะเบียนสมรส ทางกฎหมาย ส่วนในประเทศสิงคโปร์ก็มีภาษา อังกฤษในแบบฉบับของตัวเองที่เรียกกันว่า ‘ซิงลิช’ (Singlish) ซึ่งเป็นการพูดภาษาอังกฤษผสมกับคำ� ในภาษาจีน ภาษามลายู และภาษาทมิฬ จาก ตัวอย่างที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ประเทศต่าง ๆ ใน อาเซียนมีความเป็นอยู่ ความคิดและค่านิยมที่ แตกต่างกันไป หนังสือเล่มนี้จะช่วยเปิดประตูของ วัฒนธรรมร่วมสมัยหรือ POP Culture ทั้งวิธีคิด อารมณ์ขัน ภาษาพูด ไปจนถึงเรื่องต้องห้ามของ คนในอาเซียนที่หลายคนอาจไม่รู้มาก่อน ถ่ายทอดจากปลายปากกาของนักมานุษยวิทยา ผู้มีประสบการณ์ตรง และเคยใช้ชีวิตอย่างคน วงในที่รู้ลึกรู้จริง Lakbay2Love (2016) กำ�กับโดย Ellen Ongkeko-Marfil เรื่องราวของช่างภาพวิดีโอสาวที่อกหักจาก แฟนหนุ่ม เธอเลือกรักษาแผลใจโดยการก้าว ออกไปปั่นจักรยาน ทำ�ให้ได้เรียนรู้วิถีธรรมชาติ และการอนุรักษ์ นี่คือภาพยนตร์แนว Bike Movie เรื่องแรกของฟิลิปปินส์ ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริม การท่องเที่ยวของฟิลิปปินส์ได้เลือกให้ไปเข้าร่วม ในแคมเปญส่งเสริมสถานที่ท่องเที่ยวที่อาจยัง ไม่เป็นที่รู้จักของประเทศ เพื่อให้ภาพยนตร์เป็น อีกหนึ่งเครื่องมือที่มีศักยภาพในการสร้างจุดหมาย ปลายทางใหม่ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก และยังเป็น กลยุทธ์กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยสื่อบันเทิงที่หลาย ประเทศกำ�ลังเดินหน้าสร้างสรรค์ หากมีเวลา อย่าพลาดไปพิสูจน์ความความสวยงามดึงดูดใจ ของทัศนียภาพในเมืองอาเซียนที่น่าจะสร้าง ความประทับใจได้ไม่ยาก BOOK FILM
  • 10. CREATIVE THAILAND I 10 MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ ทำ�ความรู้จักงานคราฟต์ของเวียดนาม ผ่าน VIETCRAFT เรื่อง : ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข พบกับนวัตกรรมและวัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material Design Innovation Center, CEA ในขณะที่กลุ่มคนที่มีรายได้ปานกลางบางกลุ่มกำ�ลังหดตัวลง หรืออำ�นาจ การใช้จ่ายของกลุ่มนี้กำ�ลังตกอยู่ภายใต้แรงกดดันจากการถดถอยทาง เศรษฐกิจ แต่ก็มีพื้นที่หนึ่งของโลกที่คนกลุ่มนี้กำ�ลังเติบโต นั่นก็คือในแถบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในปีพ.ศ. 2573 คาดว่าครัวเรือนระดับกลาง ที่มีรายได้10,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือมากกว่าต่อปี จะเพิ่มขึ้นเป็น51 ล้าน คนในอินโดนีเซีย 18 ล้านคนในเวียดนาม 11 ล้านคนในฟิลิปปินส์ และ 8 ล้านคนในประเทศไทย ทำ�ให้มีกลุ่มธุรกิจที่เห็นโอกาสในกำ�ลังซื้อและ ทรัพยากรที่มีอยู่ เกิดการซื้อขายสินค้าที่มีอัตลักษณ์ในภูมิภาคนี้ หนึ่งในแหล่งข้อมูลผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมของเวียดนาม คือ VIETCRAFT ในฐานะองค์กรชั้นนำ�ของเวียดนาม และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กับเครือข่ายสมาชิกที่ทำ�งานหัตถกรรมกว่า 800 แห่งทั่วประเทศ VIETCRAFT จึงสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีอยู่มากมายในประเทศได้ ทั้งยังมี การจัดเก็บข้อมูลภาพที่เกี่ยวข้องกับงานหัตถกรรมผ่านแพลตฟอร์ม vietcraftmedia.com และแหล่งข้อมูลหมู่บ้านที่ทำ�งานด้านหัตถกรรม (Craft Villages in Vietnam) VIETCRAFT มุ่งสร้างการเชื่อมโยงผู้ผลิตกับ ผู้ประกอบการหรือนักออกแบบที่ต้องการทำ�ธุรกิจงานคราฟต์ เกิดเป็น ส่วนบริการจัดหาวัสดุและผลิตภัณฑ์ให้แก่คนที่สนใจธุรกิจงานฝีมือและ หัตถกรรมอย่างครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ จัดหา วัตถุดิบและโรงงานผลิต วางแผนและจัดการการผลิต ตรวจสอบโรงงาน จนถึง การประกันคุณภาพและเอกสารการส่งออก เพื่อตอบสนองความต้องการของ บริษัทที่ทำ�ธุรกิจระหว่างประเทศ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ ราคาที่แข่งขันได้ รวมทั้งการส่งมอบสินค้าที่ตรงเวลาและเชื่อถือได้ของธุรกิจคราฟต์เหล่านี้ ล้วนผ่านการรับรองมาตรฐานSA8000 โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ คอยดูแลตลอดการให้บริการ และสร้างให้ VIETCRAFT เปรียบเสมือนประตู สู่แหล่งหัตถกรรมสินค้าตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ในบ้าน และของขวัญ ที่สำ�คัญของประเทศเวียดนาม นอกจากนี้VIETCRAFT ยังได้ร่วมมือกับสาขาการออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยลุนด์ ประเทศสวีเดน (The School of Industrial Design at Lund University) ก่อตั้ง Hanoi Design Centre (HDC) ความร่วมมือนี้ได้ รับทุนจาก Swedish International Development Cooperation Agency (SIDA) บางส่วน และได้รับการสนับสนุนจากสถานทูตสวีเดนในกรุงฮานอย งานของ HDC เป็นงานต่อเนื่องหลายปีจากการทำ�งานโครงการพัฒนา เพื่อสร้างความสามารถในการออกแบบในเวียดนาม การเรียนรู้จากโครงการ ที่ผ่านมามีเป้าหมายเพื่อให้แน่ใจว่า จะสามารถหาโซลูชันที่ยั่งยืนสำ�หรับ การออกแบบการพัฒนาในภาคหัตถกรรมให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้อง รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศหรือเงินอุดหนุน รวมทั้งเกิดเป็น แพลตฟอร์มจุดนัดพบเพื่อการออกแบบและงานฝีมือในเวียดนามที่เติบโต ต่อไปได้อย่างยั่งยืน ที่มา : hanoidesigncenter.com / jpns.se vietcraftmedia.com / vietcraft.org.vn vietcraft.org.vn
  • 11.        200 (12  )   creativethailand.org/contactus  /      (  )    /  /  / /  /   / / /   /    /  /  / / / /  /  /  / /   /  Creative Thailand 1  12      (  ) (CEA)      (  )  101-9-12219-9 •   02-105-7450 •      (  ) (CEA)  1160 10500 •   creativethailand@cea.or.th   02-105-7400  116       200  /  / /     /      พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: creativethailand.org/contactus กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • Au Bon Pain • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • True Coffee • Auntie Anne’s • Baskin Robbins • Coffee World • Mister Donut • Black Canyon • McCafe’ • ดอยตุง • Ninety four coffee • Puff Pie • Red Mango • Iberry • Greyhound Cafe’ • Amazon Cafe’ • Chester’s Grill • Luv minibar พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) • นำ�ทอง แกลเลอรี่ สมาคม/ห้องสมุด • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ สมาคมฝรั่งเศส • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • ห้องสมุด - นิด้า • สมาคมโฆษณา แห่งประเทศไทย • สมาคมธนาคารไทย • สมาคมสโมสรนักลงทุน • ห้องสมุด สสวท. • สมาคมหอการค้าไทย • สถาบัน • Wall Street Institute • Raffle Design Institute • Vision Swimming Academy เชียงใหม่ • woo cefe • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+dibdee.binder • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. • Punspace, นิมมานฯ • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) • see scape gallery • nimmanian club • 8 days a week • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ • Cefe de museum • local cafe Think park • Librarista • Artisan วัวลาย • paper spoon • กาแฟรสนิยม, หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • Book Republic • wake up หน้ามอ • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • MAIIAMContemporaryArt Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) • กาแฟอาข่า อ่ามา La Fattoria สาขา2 • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • ราชดำ�เนิน • Mai Bakery In Garden • Starbucks The Plaza • Yesterday Hotel • October • สุริยันจันทรา นิมมานฯ ซอย1 • ร้านมีชามีชัย (กู) • Cafe’de nimman • The Booksmith • ร้านชา (Drink Club) • Cotto Studio • Starbucks Nimmanhemin • Fern Forest Cafe’ • 9th Street Cafe นิมมานฯ ซอย 9 • ดวงกมล (Duang Kamol) • RusticBlue-Handgrown • Produce Artisan Food นิมมานฯ ซอย 9 • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มช. หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • บ้านใกล้วัง • ภัตตาคารมีกรุณา • บ้านถั่วเย็น@ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน(โกทิ) • กาแฟข้างบ้าน • ILGELATOITALIANO • Together Bakery Cafe’ • โรงแรม วรบุระหัวหิน • Let’s Sea • โรมแรม ดูน หัวหิน • เดอะร็อค หัวหิน • บ้านจันทร์ฉาย • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • ลูน่าฮัท รีสอร์ท กระบี่ • NakamandaResortSpa • RaweeWarinResortSpa • AlittleHandmadeShop ขอนแก่น • Hug School of Creative Arts • ร้านสืบสาน • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า (Coffee Der La) เชียงราย • ร้านหนังสือ herebookafe • ร้าน Coffee Dad นครราชสีมา • Hug station resort นครปฐม • ร้าน DipchocCafe นครสวรรค์ • ร้านBitterSweet น่าน • ร้าน Runway Coffee • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน • ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • RanyataviResortPhangNga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • TheoddyApartmentHotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles
  • 12. เมื่อกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีประชากรมากกว่า 600 ล้านคนลุกขึ้นมาอ้าแขนรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ขุมทรัพย์ทางวัฒนธรรม ที่เคยซุกซ่อนจึงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นส่วนประกอบในการสร้างสรรค์งานที่สร้างมูลค่าไปพร้อมกับการเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวยุคใหม่ จากในเมืองและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การพัฒนาพื้นที่ในรูปแบบของย่านสร้างสรรค์ไปจนถึงการแก้ปัญหาระดับโลก CREATIVE THAILAND I 12 Cover Story : เรื่องจากปก เรื่อง : มนฑิณี ยงวิกุล Creative ASEAN ทิศทางของการพัฒนาที่ธนาคารโลกและองค์การ เพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) พยายามผลักดัน ทั้ง ‘InclusiveGrowth’ ที่หมายถึงการเติบโตที่ลดช่องว่างความไม่เท่าเทียม ของรายได้ และขยายโอกาสใหม่ ๆ สำ�หรับทุกคน และ ‘Resilience’ หรือการพัฒนาเศรษฐกิจให้พร้อม สำ�หรับการรับมือและฟื้นจากวิกฤตอย่างรวดเร็ว ทำ�ให้การพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความคิด สร้างสรรค์ ไม่ได้ถูกยอมรับในแง่ของการส่งเสริม ความสามารถในการแข่งขันเพียงอย่างเดียว แต่ยัง สามารถยึดโยงทั้งสองประเด็นนี้เข้าไว้ด้วยกัน ในการประชุมเศรษฐกิจสร้างสรรค์โลก (World Conference on Creative Economy: WCCE) ที่ริเริ่มจากสำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (BEKRAF) ที่เมืองบาหลี เมื่อวันที่ 6 - 7 พฤศจิกายน 2561 จึงถูกจัดขึ้นภายใต้ธีมInclusiveCreative เพราะ เชื่อว่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จะนำ�ไปสู่ธุรกิจ ในยุคใหม่ ที่ไม่ได้จำ�กัดอยู่กับกลุ่มเจ้าของทุน ขนาดใหญ่ แต่เป็นสนามที่เปิดกว้างสำ�หรับทุกคน ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม โดยที่มีเทคโนโลยีและดิจิทัลเป็น เครื่องมือในการทำ�ให้เกิดความร่วมมือในการ สร้างสรรค์จากทั่วโลก การเปิดเกมของพี่ใหญ่อินโดนีเซียในเวที การประชุมระดับโลกเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโรดแมป ในการทำ�ให้ ‘ความคิดสร้างสรรค์’ ขยับขึ้นเป็น ความร่วมมือระดับภูมิภาคและสร้างการยอมรับ ระดับโลกจากการตกลงตามข้อมติสมัชชา สหประชาชาติในปี 2021 รวมถึงการเสนอให้มี การจัดตั้งศูนย์รวมความเป็นเลิศและความร่วมมือ ระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (GlobalCenterofExcellentAndInternational CooperationForCreativeEconomy) เพื่อเป็น องค์กรที่ให้ความสำ�คัญกับการวิจัย และการส่งเสริม ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับโลก ซึ่งความเคลื่อนไหวต่าง ๆ นี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิด การถักทอเครือข่ายความร่วมมือภายในกลุ่ม ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งพหุภาคีและทวิภาคีให้ เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามระดับการพัฒนา เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของแต่ละประเทศ
  • 13. CREATIVE THAILAND I 13 ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 5 ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศ มูลค่าอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ จ้างงาน / แรงงาน มูลค่าการส่งออก สินค้าสร้างสรรค์ (ปี 2014) มูลค่าการส่งออก บริการสร้างสรรค์ (ปี 2014) อินโดนีเซีย 2.41ล้านล้านบาท(77.9พันล้านเหรียญ สหรัฐฯ)7.44%ของจีดีพีขนาดใหญ่เป็น อันดับสามของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ (ข้อมูลปี 2018) 17 ล้านคน 159,861 ล้านบาท 8,165 ล้านบาท ฟิลิปปินส์ 365,000 ล้านบาท(625 พันล้านเปโซ) 7% ของจีดีพี (ข้อมูลปี 2010) 530,000 คน 28,379 ล้านบาท 100,332 ล้านบาท มาเลเซีย 81,929 ล้านบาท (11.2 พันล้านริงกิต) 2.4% ของจีดีพีเมืองกัวลาลัมเปอร์ (ข้อมูลเฉพาะกัวลาลัมเปอร์ ปี 2016) 86,478 คน (ข้อมูลเฉพาะ กัวลาลัมเปอร์ ปี 2016) 188,790 ล้านบาท 45,067 ล้านบาท (ข้อมูลปี 2009) ไทย 1.4 ล้านล้านบาท 9.1% ของจีดีพี (ข้อมูลปี 2017) 826,000 คน 204,456 ล้านบาท 1,160 ล้านบาท (ข้อมูลปี 2013) สิงคโปร์ (เฉพาะอุตสาหกรรมออกแบบ ศิลปะและวัฒนธรรม) 101,777 ล้านบาท(ข้อมูลอุตสาหกรรม ออกแบบปี2013 และ ข้อมูลศิลปะ และวัฒนธรรม ปี 2017) 56,172 คน 337,911 ล้านบาท 21,266 ล้านบาท ที่มา : UNDP , National Art Council, Singapore, Cultural Economy Development Agency, Malaysia, การประชุม ASEAN Reginal Workshop on Creative Economy, todayonline.com เติบโตไปกับย่านสร้างสรรค์ ถ้าว่ากันด้วยระดับนโยบาย แม้จะมีทิศทางที่ชัดเจนแต่ยังต้องใช้เวลากว่าจะเห็นผล แต่ใช่ว่าเหล่าสมาชิกอาเซียนจะนั่งรอเฉย ๆ เมื่อกลุ่มภาคเอกชนลุกขึ้นมา ร่วมวงกับภาครัฐในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาแบบทั่วถึง(Inclusive) ภายใต้แนวคิดของการทำ�ย่านสร้างสรรค์ที่เริ่มจากเมืองรอง ก่อนจะฉุดให้เมืองหลวง และส่วนอื่น ๆ ขยับตาม ความสำ�เร็จของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์แห่งภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วยเมืองรองที่ประสบความสำ�เร็จในการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อ การพัฒนาเมือง สร้างแบรนด์ และการท่องเที่ยว อย่างเช่น จอร์จทาวน์(GeorgeTown) ที่เปลี่ยนเมืองมรดกโลกให้มีความร่วมสมัยด้วยการจัดจอร์จ ทาวน์ เฟสติวัล ตั้งแต่ปี 2010 สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับเมืองจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวได้มากกว่า 60 ล้านบาท และมูลค่าแบรนด์มากกว่า 1,180 ล้านบาท จึงทำ�ให้เมืองเล็ก ๆ แห่งนี้แน่นขนัดไปด้วยนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี แม้การพัฒนาจะสร้างรายได้ให้คนในพื้นที่ แต่ก็อาจจะต้องมาทบทวนเรื่องความสมดุล กับความเป็นอยู่ของชุมชนในอนาคต ถัดมาที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ที่ขยับขยายจนกลายเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านการออกแบบ ติดตามมาด้วยเมืองเชียงใหม่ของไทย ที่เพิ่งเข้าเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านเมื่อปี 2017 สุดท้ายคือ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ที่เป็นแหล่งรวมสตูดิโอออกแบบเฟอร์นิเจอร์ชื่อดัง วางแผนจัดงานเซบู ดีไซน์ วีก 2019 เพื่อเป็นโปรไฟล์ในการสมัครเป็นเครือข่ายเมือง สร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านการออกแบบในปีถัดไป
  • 14. CREATIVE THAILAND I 14 ประเทศ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เน้นที่ศิลปะ การแสดง หัตถกรรม ดูแลโดย 3 กระทรวงหลัก คือ 1) กระทรวงวัฒนธรรมและศิลปะ ดูแล ด้านลิขสิทธิ์และที่เกี่ยวข้อง 2) กระทรวงพาณิชย์ ดูแลด้านเครื่องหมายการค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) และความลับทางการค้า 3) กระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ดูแลด้านสิทธิบัตรและการออกแบบอุตสาหกรรม การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาทางวัฒนธรรม และจัดทำ�ฐานข้อมูลวัฒนธรรม (Cultural Mapping) เพื่อใช้ ในการจัดทำ�สาธารณูปโภค ส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม จัดทำ�ฐานข้อมูลอัตลักษณ์ที่สืบทอดมา เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำ�หรับการต่อยอดวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และชุมชนสัมพันธ์ ที่มา : การประชุม ASEAN Regional Workshop on Creative Economy 4-5 กันยายน 2562 กัมพูชา อุตสาหกรรมสร้างสรรค์เน้นที่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดเล็ก ขนาดย่อม (MSME) แผนพัฒนา MSME 1) ส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลการผลิต 2) เพิ่มสัดส่วนของ MSME ที่เข้าถึงแหล่งเงินทุน เป็นร้อยละ30 ในปี20203) เพิ่มสัดส่วนMSME ที่เข้าถึงบริการด้านการพัฒนาธุรกิจ เป็นร้อยละ10 ในปี20204) ขยายตลาดในและ ต่างประเทศ โดยเพิ่มสัดส่วนการส่งออกของ MSME เป็นร้อยละ 20 ในปี 2020 5) พัฒนาผู้ประกอบการใหม่ให้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4 ในปี 2020 6) สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำ�หรับการเริ่มต้นและดำ�เนินธุรกิจ เช่น ลดระยะเวลาการจดทะเบียนจาก 67 วันเหลือ 25 วัน 7) พัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมให้ MSME เพิ่มกำ�ไร และมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารธุรกิจเพิ่มขึ้น ที่มา : การประชุม ASEAN Regional Workshop on Creative Economy 4-5 กันยายน 2562 ลาว แผนที่เครือข่ายเมืองสรรค์ของยูเนสโกในกลุ่มประเทศอาเซียน Creative City of Gastronomy, ภูเก็ต 2015 เชียงใหม่ Creative City of Crafts and Folk Art, 2017 Creative City of Design, Singapore 2015 Pekalongan, City of Crafts and Folk Arts also known as the “Batik City” 2014 Creative City of Design, Bandung 2015 Baguio City of Crafts and Folk Art 2017
  • 15. CREATIVE THAILAND I 15 ประเทศ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปี 2016 จัดทำ�ยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรม เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรม ในเวียดนามให้มีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 7 ในปี 2030 โดยมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นหัวหอกของการพัฒนา จากจำ�นวนแหล่งวัฒนธรรม 40,000 แห่งทั่วประเทศ ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์(CreativeHub) ในรูปแบบของพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะ และเรียนรู้ ที่ดำ�เนินการโดยภาคเอกชน จัดตั้ง Vietnam-Korea Design Center เพื่อส่งเสริมแบรนด์สินค้าเวียดนาม ที่มา : vietnamnet.vn / UNESCO เวียดนาม จัดทำ�แผนพัฒนาเพื่อความยั่งยืน(MyanmarSustainableDevelopmentPlan:MSDP) เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศที่ประกาศใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2016 ยุทธศาสตร์ข้อหนึ่งของ MSDP คือ ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และส่งเสริมนวัตกรรม โดยมีแผนดังนี้ 1) จัดทำ� นโยบายเพื่อให้เกิดการสนับสนุนร่วมกันระหว่างหน่วยงาน 2) จัดตั้งหน่วยงานเพื่อดูแลทรัพย์สินทางปัญญา 3) ส่งเสริมการศึกษา และสร้างการรับรู้ระบบการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 4) ร่วมมือกับองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) และประเทศพัฒนาแล้วในการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ในปี 2019 เริ่มใช้กฎหมายการออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial Design Law) เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ ที่มา : การประชุม ASEAN Regional Workshop on Creative Economy 4-5 กันยายน 2562 พม่า เมืองหลวงอย่างมะนิลายังมีความเคลื่อนไหว โดยสภาเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งฟิลิปปินส์ (CreativeEconomyCouncilofthePhilippines: CECP) ที่เกิดจากการรวมตัวกันของภาคเอกชน จากสาขาครีเอทีฟที่มาร่วมกันจัดทำ�แผนส่งเสริม อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Philippine Creative IndustriesMasterPlan) ที่นอกจากจะสนับสนุน ด้านนโยบาย เงินทุน การพัฒนาทักษะแล้ว ยังรวมถึงการทยอยทำ�ให้เมืองต่าง ๆ ในฟิลิปปินส์ ผุดย่านสร้างสรรค์ขึ้นมาตามลำ�ดับ มาเอสทรานซา (Maestranza) พื้นที่ริมนํ้า ยาว300เมตรที่ประกอบด้วยห้องขนาดเล็ก45ห้อง เป็นตัวอย่างของความร่วมมือระหว่าง CECP และสำ�นักงานเขตอินทรามูรอส (Intramuros) ในการปรับปรุงอาคารยุคอาณานิคมให้กลายเป็น พื้นที่สร้างสรรค์ในเขตเมืองเก่าทางตอนเหนือ ของกรุงมะนิลา เพื่อให้เป็นแหล่งชุมนุมของ นักสร้างสรรค์ในทุกสาขา และเป็นบันไดในการ ส่งให้มะนิลาเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ ยูเนสโก ต่อจากเมืองบาเกียว ที่เป็นเครือข่าย ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านเมื่อปี 2017 มาเอสทรานซา ติดกับแม่นํ้าพาสิก (Pasig River) ที่รอวันปรับปรุงเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ของมะนิลา ส่วนประเทศไทยมีความเคลื่อนไหวด้านการ เข้าเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก เช่นกัน โดยกรุงเทพฯ และสุโขทัยต่างก็ยื่นสมัคร เป็นเมืองด้านการออกแบบ และเมืองด้านหัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้านตามลำ�ดับ ซึ่งจะประกาศผล ภายในปี 2019 ขณะเดียวกันกลุ่มนักสร้างสรรค์จาก 51 เมืองทั่วประเทศของอินโดนีเซีย ที่รวมตัวกัน ก่อตั้งเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์อินโดนีเซีย (The Indonesian Creative Cities Network: ICCN) ในปี 2014 ก็มีความเคลื่อนไหวในการส่ง เสริมศักยภาพของชุมชนหรือเมืองต่าง ๆ ให้ใช้ ความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเมืองในแบบที่ไม่เน้น ผลทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่เป็นทั้งการอนุรักษ์ วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่สามารถเคลื่อนที่ ไปกับการเปลี่ยนแปลงของโลก สู่วัฒนธรรม 4.0 เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นองค์ประกอบสำ�คัญของการ ผลักดันให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เติบโต ซึ่งพิสูจน์ จากความสำ�เร็จของ K POP และ Cool Japan ที่ทำ�ให้วัฒนธรรมสามารถลื่นไหลไปกับการอนุรักษ์ และสร้างมูลค่าเพิ่มในเวลาเดียวกัน ดังนั้น กลุ่ม อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ขึ้นแท่นเป็นเป้าหมายของ รัฐบาลประเทศอาเซียน จึงอยู่ในกลุ่มภาพยนตร์
  • 16. CREATIVE THAILAND I 16 เพลง เกม และโฆษณา การใช้เทคโนโลยีเออาร์ (Augment Reality) และวีอาร์ (Virtual Reality) เพื่อการสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ รวมถึงการส่งเสริม กลุ่มสตาร์ตอัพ ดังเช่นที่อินโดนีเซียได้กลายเป็น บ้านเกิดของยูนิคอร์นถึง 4 ตัว ไม่ว่าจะเป็น Traveloka บริการด้านการท่องเที่ยว Go Jek บริการการเดินทางTokopedia และBukalapak ด้านการขายของออนไลน์ ซึ่งไม่เพียงสร้างมูลค่า มหาศาล แต่ยังทำ�ให้การใช้ชีวิตประจำ�วันของ ผู้คนสะดวกมากขึ้น นอกจากดิจิทัลจะทำ�ให้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มีโอกาสขยายตัวในตลาดโลกแล้ว ในทางกลับกัน ดิจิทัลยังเป็นเครื่องมือในการรักษารากฐานทาง วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์สำ�คัญของโลกที่ สามารถนำ�กลับมาใช้ใหม่อย่างไม่รู้จบ ภายใต้ โครงการการจัดทำ�ฐานข้อมูลมรดกวัฒนธรรม อาเซียน (ASEAN Cultural Heritage Digital Archive:ACHDA) เป็นโครงการที่ได้รับสนับสนุน เงินทุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นในการเก็บข้อมูลวัตถุโบราณ เอกสารเก่าและภาพวาด ด้วยการสแกน 3 มิติ เพื่อ จัดเก็บในฐานข้อมูลออนไลน์ที่เปิดให้เป็นสาธารณะ โดยเริ่มต้นเก็บจากประเทศอินโดนีเซีย และกำ�ลัง อยู่ในช่วงต้นของการพัฒนาการเก็บข้อมูลพื้นที่ มรดกโลกของยูเนสโกจากประเทศพม่า กัมพูชา และอินโดนีเซีย เพื่อว่าในอนาคตหากเกิดเหตุการณ์ ไม่คาดฝันที่ทำ�ให้มรดกโลกเกิดความเสียหาย ก็ยัง คงมีฐานข้อมูลให้ได้ศึกษาหรือซ่อมแซมให้กลับคืนมา ความหวังสู่การเปลี่ยนแปลง นอกจากมิติของการนำ�วัฒนธรรมและสินทรัพย์ ของเมืองมาสู่การสร้างมูลค่าและการพัฒนาแล้ว เศรษฐกิจสร้างสรรค์สำ�หรับอาเซียนยังครอบคลุม ไปถึงการเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับปัญหาใน อนาคต อย่างเช่นการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เป็นที่รู้กันดีว่า เกษตรกรในประเทศกำ�ลัง พัฒนา นอกจากจะเป็นกลุ่มคนที่มีโอกาสน้อย ACHDA เก็บข้อมูลวัตถุโบราณ การเก็บข้อมูลจากพื้นที่มรดกโลก ประเทศ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กระทรงวัฒนธรรม เยาวชน และกีฬา (Ministry of Culture, Youth and Sports) จัด Creative Economy Week เพื่อ เพิ่มศักยภาพของนักสร้างสรรค์ท้องถิ่นด้านทักษะและอาชีพ การเข้าถึงตลาด และเป็นพื้นที่การเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการ สร้างสรรค์ จัดทำ� Creative Lab ที่ประกอบด้วยกลุ่มคนจากสาขาศิลปะ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์เพื่อมาร่วมกันหาแนวทางในการ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและอัตลักษ์ การออกแบบพื้นที่เมือง และสวัสดิการสังคม จัดทำ�นโยบายเพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการสร้างสรรค์ ส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในท้องถิ่น นำ�แนวคิดเมือง สร้างสรรค์มาเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาเมืองที่เน้นวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ บรูไน กลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์รวมตัวกันจัดตั้งสภาเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งฟิลิปปินส์(CreativeEconomyCouncilofPhilippines) เพื่อ ร่วมกันทำ�งานกับกรมการค้าและอุตสาหกรรม(DepartmentofTradeandIndustry) ในการผลักดันให้มีนโยบายและมาตรการ สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และนำ�ไปสู่การจัดตั้งสำ�นักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในปี 2022 จัดตั้ง Creative Zone หรือย่านสร้างสรรค์ เพื่อเป็นพื้นที่สำ�หรับพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วางเป้าหมายพัฒนาเมืองให้เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโกเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยว ฟิลิปปินส์ จัดตั้งสำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (BEKRAF) เพื่อกำ�หนดนโยบายด้านต่างๆ จัดแบ่งโครงสร้างองค์กรตามองค์ประกอบการสร้าง ‘ระบบนิเวศ’ ที่เอื้อให้เกิดการสร้างสรรค์ 1) การวิจัยและการศึกษา (Research andEducation): ช่วยในการศึกษาค้นคว้าเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ2) การเข้าถึงแหล่งเงินทุน(Accessforcapital)3) โครงสร้าง สาธารณูปโภค(Infrastructures): อำ�นวยความสะดวกในเรื่องของพื้นที่การจัดกิจกรรม อุปกรณ์ เทคโนโลยี หรือระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ 4) การตลาด (Marketing) : การตลาดทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ 5) ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Rights) : การใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อช่วยในการต่อยอดและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ 6) ความร่วมมือและเครือข่ายในและต่างประเทศ (Inter-institutional Relations) : สร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรสร้างสรรค์ต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ อินโดนีเซีย ที่มา : การประชุม ASEAN Regional Workshop on Creative Economy 4-5 กันยายน 2562