SlideShare a Scribd company logo
1 of 9
Download to read offline
บทความวิชาการสาหรับการศึกษาต่อเนื่อง
สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
รหัส : 5003-1-000-002-10-2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง : 2.5 หน่วยกิต
วันที่รับรองบทความ : 21 ตุลาคม 2565
วันที่หมดอายุ : 20 ตุลาคม 2566
เรื่อง
แนวทางการรักษาและการปฏิบัติตัวต่อภาวะลองโควิด (Long COVID)
ผู้เขียน
นศภ.สิรภพ ยืนยง นศภ.สุวิชชา สาสีดา และภก.อนวัช มิตรประทาน
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวต่อภาวะ Long COVID
2. เพื่อให้ทราบแนวทางการรักษาภาวะ Long COVID
คาสาคัญ
Long COVID, Post COVID syndrome, Light aerobic exercise, Telogen effluvium, SAR-CoV-2,
Acute respiratory distress syndrome (ARDS), Pulmonary fibrosis, Beta Blockers, Topical minoxidil
บทคัดย่อ
โรคโควิด-19 (Covid-19) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ SARS-CoV-2 โดยผู้ติดเชื้ออาจไม่มีอาการ
แสดงไปจนถึงมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โดยในบางรายถึงแม้จะรักษาหายจากอาการโควิดแล้ว แต่ยังคงมี
อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นหลังจากการหลังได้รับเชื้อและรักษาหายแล้ว หรืออาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ได้
เรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะ Long COVID หรือกลุ่มอาการภายหลังเป็นโควิด-19 (Post COVID syndrome)”
ภาวะ Long COVID หรือกลุ่มอาการภายหลังเป็นโควิด-19 (Post COVID syndrome) คือ ภาวะที่มี
อาการหรือกลุ่มอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่ หรือต่อเนื่องภายหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 ส่วนมากตั้งแต่ 3
เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน อาการดังกล่าวเกิดขึ้นได้หลายระบบ
และอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยสาเหตุอื่น ๆ โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไปใน
แต่ละบุคคล สามารถเกิดได้ในทุกระบบของร่างกาย ตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และสุขภาพจิต โดยกรมการแพทย์ร่วมกับกรมสุขภาพจิตร่วมกับคณาจารย์
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนทีมแพทย์จากราชวิทยาลัยและสมาคมแพทย์เฉพาะทางสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้จาแนก
ตามกลุ่มอาการ คือ กลุ่มอาการทั่วไปของร่างกาย, กลุ่มอาการระบบหัวใจและหลอดเลือด, กลุ่มอาการระบบ
ทางเดินหายใจ, กลุ่มอาการทางระบบประสาท, กลุ่มอาการทางผิวหนังและเส้นผม และกลุ่มอาการทางสุขภาพจิต
ในปัจจุบันยังไม่ทราบถึงสาเหตุและพยาธิสภาพของการเกิดภาวะ Long COVID ที่ชัดเจน มีเพียง
สมมติฐานที่คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับ fragments of viral genome or viral antigens ซึ่งไม่ส่งผลต่อการติด
เชื้อแล้ว แต่สามารถส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทาให้เกิดการอักเสบในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย โดยใน
ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการสงสัยภาวะ Long COVID จะมีการซักประวัติและการตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุและให้
การดูแลรักษา รวมถึงการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม
แนวทางการรักษาและการปฏิบัติตัวต่อภาวะลองโควิด (Long COVID)
นศภ.สิรภพ ยืนยง
นศภ.สุวิชชา สาสีดา
และภก.อนวัช มิตรประทาน
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวต่อภาวะ Long COVID
2. เพื่อให้ทราบแนวทางการรักษาภาวะ Long COVID
บทคัดย่อ
โรคโควิด-19 (Covid-19) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ SARS-CoV-2 โดยผู้ติดเชื้ออาจไม่มีอาการ
แสดงไปจนถึงมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โดยในบางรายถึงแม้จะรักษาหายจากอาการโควิดแล้ว แต่ยังคงมี
อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นหลังจากการหลังได้รับเชื้อและรักษาหายแล้ว หรืออาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ได้
เรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะ Long COVID หรือกลุ่มอาการภายหลังเป็นโควิด-19 (Post COVID syndrome)”
ภาวะ Long COVID หรือกลุ่มอาการภายหลังเป็นโควิด-19 (Post COVID syndrome) คือ ภาวะที่มี
อาการหรือกลุ่มอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่ หรือต่อเนื่องภายหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 ส่วนมากตั้งแต่ 3
เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน อาการดังกล่าวเกิดขึ้นได้หลายระบบ
และอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยสาเหตุอื่น ๆ โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไปใน
แต่ละบุคคล สามารถเกิดได้ในทุกระบบของร่างกาย ตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และสุขภาพจิต โดยกรมการแพทย์ร่วมกับกรมสุขภาพจิตร่วมกับคณาจารย์
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนทีมแพทย์จากราชวิทยาลัยและสมาคมแพทย์เฉพาะทางสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้จาแนก
ตามกลุ่มอาการ คือ กลุ่มอาการทั่วไปของร่างกาย, กลุ่มอาการระบบหัวใจและหลอดเลือด, กลุ่มอาการระบบ
ทางเดินหายใจ, กลุ่มอาการทางระบบประสาท, กลุ่มอาการทางผิวหนังและเส้นผม และกลุ่มอาการทางสุขภาพจิต
ในปัจจุบันยังไม่ทราบถึงสาเหตุและพยาธิสภาพของการเกิดภาวะ Long COVID ที่ชัดเจน มีเพียง
สมมติฐานที่คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับ fragments of viral genome or viral antigens ซึ่งไม่ส่งผลต่อการติด
เชื้อแล้ว แต่สามารถส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทาให้เกิดการอักเสบในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย โดยใน
ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการสงสัยภาวะ Long COVID จะมีการซักประวัติและการตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุและให้
การดูแลรักษา รวมถึงการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม
บทนา
ในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (Covid-19) มีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากมีการ
ฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมประชากร การระวังป้องกันตัวของประชาชน รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการรักษา
ของภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นได้จากการรายงานของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขว่าแนวโน้มของ
ผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่มีจานวนลดลง อีกทั้งจานวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีการรักษาหายเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังมี
ความจาเป็นที่จะต้องเฝ้าระวัง และป้องกันไม่ให้มีการกลับมาติดเชื้อซ้าหรือการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้แม้ผู้ป่วย
ที่เป็นโควิด-19 จะรักษาหายแล้วก็อาจมีผลกระทบหรืออาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นตามมา โดยอาการที่เกิดขึ้น
อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิต รวมถึงโรคประจาตัวที่เป็นอยู่ และในผู้ป่วยบางรายที่มีโรคประจาตัว อาการที่เกิดขึ้น
อาจมีความรุนแรงมากกว่าในผู้ป่วยทั่วไป ซึ่งควรได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นได้ใน
ระยะยาว ดังนั้นจึงได้เล็งเห็นถึงความจาเป็นในการหาแนวทางการรักษาและการปฏิบัติตัวต่อภาวะ long
covid เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงเดิมมากที่สุด
เชื้อที่ก่อโรคโควิด-19
Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) เป็น single-stranded
RNA virus วงศ์ Coronaviridae family1,2 โดยสามารถติดเชื้อได้ทั้งในคนและสัตว์ เช่น หนู ไก่ วัว ควาย สุนัข
แมว กระต่าย และสุกร ซึ่งภายหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 สามารถทาให้มีอาการผิดปกติแสดงในระบบต่าง ๆ
ตามมา เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท หรือระบบอื่น ๆ โดยอาการ
ผิดปกติอาจเกิดขึ้นใหม่ หรือเกิดต่อเนื่องภายหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 ส่วนมากมีระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือน
นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะ Long COVID หรือ
กลุ่มอาการภายหลังเป็นโควิด-19 (Post COVID syndrome)”
กลุ่มอาการที่เกิดจากภาวะลองโควิด
 กลุ่มอาการทั่วไปของร่างกาย
โดยอาการที่พบได้บ่อยในอาการทั่วไปของร่างกายที่พบ คือ อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดเมื่อย
กล้ามเนื้อ โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจาวันได้3,4 ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดอาการดังกล่าวเกิด
จาก เพศ อายุ ความอ้วน การมีโรคประจาตัว รวมถึงการที่ผู้ป่วยที่มีอาการหอบ เหนื่อย อยู่แล้วโดยมีการซัก
ประวัติเกี่ยวกับกลุ่มอาการของโรคทั่วไป คือ การซักประวัติทั่วไป เช่น เพศ อายุ โรคประจาตัว ยาที่ใช้
ประจาการซักประวัติการติดเชื้อ COVID -19 ในระยะเฉียบพลัน เช่น วันที่ได้รับบการวินิฉัย อาการและความ
รุนแรงของโรครวมไปถึงการรักษาที่ได้รับเมื่อเกิดการติดเชื้อ COVID -19
แนวทางการรักษา
เนื่องด้วย COVID -19 เป็นโรคอุบัติการณ์ใหม่ จึงยังไม่มีงานวิจัยหรือแนวทางการรักษาภาวะ Post
COVID fatigue ที่ชัดเจน แต่มีการแนะนาการรักษาโดยพิจารณาในทุกมิติของผู้ป่วย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ
สังคม และจิตวิญญาณ รวมทั้งการรักษาโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ และมีการปรับให้เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละ
คน ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงการให้คาแนะนาทั่วไปในการรักษา ดังนี้
คาแนะนาทั่วไปสาหรับภาวะอ่อนเพลีย5
- ค่อย ๆ เพิ่มกิจวัติประจาวันทีละน้อยอย่างสม่าเสมอ สังเกตอาการอ่อนเพลียและล้า ถ้ามีอาการล้า
มากเกินไปให้หยุดกิจกรรมที่ทาก่อนจะมีความรู้สึกล้า
- ควรมีช่วงเวลาพักร่างกายและสมองระหว่างวันเพื่อผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ
- ควรเริ่มออกกาลังกายระดับเบา ๆ ก่อน และค่อยปรับแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยควรเริ่มจากการยืด
กล้ามเนื้อทุกส่วนก่อน และควรเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อในระดับเบาก่อน เป็นต้น
 กลุ่มอาการระบบหัวใจและหลอดเลือด6
กลไกของ SAR-CoV-2 ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ในปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายกลไกการเกิดที่
ชัดเจนได้ แต่ได้มีการตั้งสมมุติฐานไว้ว่า อาจเกิดจากการทาลายกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงผ่านทาง Angiotensin-
convertingenzyme 2 (ACE-2) receptor ซึ่งมีกลไกทางานอยู่ในปอดและหัวใจ ACE-2 receptor นี้เองเป็น
ตาแหน่งที่ไวรัสโคโรน่าใช้จับเพื่อเข้าเซลล์มนุษย์ ดังนั้นระบบปอดและหัวใจที่มี ACE-2 receptor มากจึงมี
ความเสี่ยงต่อการถูกเชื้อโจมตี หรืออาจจะเกิดจากการแตกของ plaque และอุดตันของหลอดเลือด หัวใจ
(Plaque rupture and coronary thrombosis) ภาวะการอักเสบของร่างกายและแรงเสียดสีผนังหลอด
เลือดจากการเพิ่มขึ้นของกระแสเลือดในหลอดเลือดหัวใจนาไปสู่การกระตุ้นการแตกของ plaque ก่อให้เกิด
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ นอกจากนี้ ภาวะการอักเสบเองก็สามารถกระตุ้นกระบวนการอุดตันของหลอด
เลือดได้ด้วย
แนวทางการรักษา
ตามคาแนะนาของ Canadain Cardiovascular Society (CCS) Rapid Response Team ในตรวจ
ร่างกายและใช้ noninvasive assessment7 ในการเฝ้าระวังเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจมา
ก่อน ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีคาแนะนาที่จาเพาะในการรักษาผู้ป่วยในกลุ่มนี้ ดังนั้น การรักษาจึงเป็นการรักษาตาม
อาการและรักษาโรคหัวใจที่ตรวจพบเช่นเดียวกับผู่ป่วยที่ไม่ได้เป็น Long COVID
 กลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจ
ผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 บางส่วนอาจพบอาการหลงเหลืออยู่ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อ
ผู้ป่วย โดยอาการในระบบทางเดินหายใจที่พบได้มากที่สุดของภาวะ Long COVID คือ อาการเหนื่อย พบตั้งแต่
อาการเหนื่อยเล็กน้อยจนถึงรุนแรง ซึ่งควรได้รับการตรวจประเมินนโดยอายุรแพทย์เชี่ยวชาญด้านโรคปอด
โปรแกรมการฟื้นฟูการทางานของปอด (Pulmonary rehabilitation program) เนื่องจากจะทาให้อาการ
แสดงผิดปกติของทางการหายใจเรื้อรังฟื้นตัวรวดเร็วขึ้น
แนวทางในการรักษา
โดยข้อมูลการรักษาในปัจจุบันแนะนาเพียงการทาการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด (Pulmonary
rehabilitation) ที่มีแนวโน้มจะมีประโยชน์ในการรักษา long COVID ซึ่งจะแนะนาให้ทา
- การออกกาลังกายชนิดแอโรบิคแบบเบาโดยแนะนาให้ทา 4-6 สัปดาห์
- การฝึกการหายใจ เพื่อควบคุมการหายใจให้เป็นลักษณะช้าและลึก เพื่อเสริมความเเข็งแรงของ
กล้ามเนื้อหายใจ โดยแนะนาให้ทา 4-6 สัปดาห์
ในผู้ป่วยกลุ่มที่เป็นปอดอักเสบรุนแรงแบบ Acute respiratory distress syndrome (ARDS) แล้ว
รอดชีวิต มักมีการดาเนินโรคเป็นโรคพังผืดที่ปอด (Pulmonary fibrosis) ผู้เชี่ยวชาญแนะนาให้การรักษาด้วย
ออกซิเจนบาบัดเมื่อมีข้อบ่งใช้ การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลทุกปี และฉีดวัคซีน
ป้องกันเชื้อปอดอักเสบ Streptococcus pneumoniae8
 กลุ่มอาการทางระบบประสาท
Long COVID headache
อาการปวดศีรษะเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการที่อาจพบได้ในผู้ป่วยหลังติดเชื้อ COVID-19 เนื่องจากอาจเกิด
จากสภาวะที่ตัวไวรัสเข้าไปทาลายระบบประสาท หรือเกิดจากความดันโลหิตสูง การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
เป็นต้น อาการอาจจะหายไปภายหลังหายป่วยติดต่อกันมากกว่า 12 สัปดาห์ โดยมักไม่ค่อยพบความผิดปกติ
จากการตรวจร่างกาย
แนวทางการรักษา
มีการรักษาแบบใช้ยาและไม่ใช้ยา ซึ่งการรักษาแบบไม่ใช้ยา เช่น การออกกาลังกาย นวดผ่อนคลาย
ลดความเครียด ส่วนในการรักษาแบบใช้ยานั้น อาจจะใช้ยาแก้ปวดตามลักษณะอาการที่ปวด เช่น ถ้ามีลักษณะ
คล้ายปวดแบบ tension ก็สามารถใช้ยาแก้ปวดในกลุ่ม paracetamol, NSIADs หรือหากมีอาการปวดคล้าย
กับไมเกรนสามารถใช้ยาที่อยู่ในกลุ่มของ NSIADs, Triptans ได้แต่ต้องระวังไม่ให้เกินวันละ 10-15 เม็ดต่อวัน
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)9,10
อาการของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นอีกหนึ่งอาการที่อาจพบได้ในผู้ป่วยหลังติดเชื้อ COVID-19
แต่จะพบในอัตราที่น้อย ซึ่งสาเหตุที่เกิดอาจจะเกิดจากการที่ SARS-COoV-2 นั้นสามารถทาให้เกิดการทาลาย
ของผนังหลอดเลือด โดยการทาลาย ACE2 ที่ endotheial cells ที่ผนังหลอดเลือด ทาให้ผนังหลอดเลือดเกิด
การอักเสบ ทาให้เลือดแข็งตัวมากขึ้นส่งผลให้เกิดลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้ โดยอาการที่ควรสังเกต คือ มีอาการอ่อน
แรงหรือชาของใบหน้า แขน ขา โดยมีอาการข้างใดข้างหนึ่งทันที มีการสบสน พูดไม่ชัด ตามองเห็นเป็นภาพ
ซ้อน เวียนศีรษะ เดินเซ และมีอาการปวดศีรษะรุนแรงทันที
แนวทางการรักษา
มีการประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยโดยใช้ National Institute of Health Stroke Scale (NIHSS)
ในผู้ป่วยที่สงสัยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันให้ทาการตรวจรังสีวินิจฉัยสมองโดยทันที ผู้ป่วยที่ควร
ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดาควรส่งต่อไปยังโรงพยาบาล
 กลุ่มอาการทางผิวหนังและเส้นผม
ภาวะผมร่วงภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 นานเกิน 12 สัปดาห์ขึ้นไป (Long COVID) ส่วนใหญ่เกิด
จากโรคผมผลัด (Telogen effuvium)10,11 เนื่องจากการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 อาจทาให้ร่างกาย
เครียดและมีการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบที่รากผม ซึ่งส่งผลต่อวงจรของชีวิตของผม ทาให้มีการเปลี่ยนแปลงที่
เร็วและเกิดการหลุดร่วงของเส้นผมได้มากกว่าปกติ12 ภาวะโรคผมผลัดสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ โรค
ผมผลัดที่เป็นโรคเฉียบพลัน (Acute telogen effuvium) และโรคผมผลัดที่เป็นเรื้อรัง (Chronic telogen
effuvium)13,14 และนอกจากโรคผมผลัดจะเกิดหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 ยังสามารถเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ
เช่น การมีภาวะเครียดมาก ภาวะในการขาดสารอาหาร มีภาวะเป็นไทรอยด์หรือการรับประทานยาบางอย่าง
โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจเป็นชั่วคราวหรือเป็นต่อเนื่องระยะเวลานาน15,16
แนวทางในการรักษา
การดูแลรักษาโรคผมผลัดที่สาคัญที่สุด คือ การหาสาเหตุและแก้ไขสาเหตุ ถ้ามีปัจจัยอื่นนอกเหนือจาก
ภาวะเจ็บป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 ควรจะรักษาร่วมด้วย โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีโรคผมผลัดมักหายได้เองเมื่อ
สาเหตุหมดไปแล้วประมาณ 3-6 เดือน แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคผมผลัดภายหลังจากการติดเชื้อโควิด-19
อาจจะหายได้เร็วกว่าที่ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน11 ซึ่งการให้คาแนะนาเทคนิคในการพรางผมบางและการ
ติดตามการรักษาแก่ผู้ป่วย สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีความกังวลลดลงได้ โดยแนวทางในการรักษามีทั้งแบบใช้ยา
และไม่ใช้ยา
การรักษาแบบไม่ใช้ยา
- การให้คาแนะนาแก่ผู้ป่วย ควรจะอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยการกระตุ้นที่ทาให้วงจรชีวิต
ของต่อมผมมีการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ทาให้เกิดภาวะผมร่วง โดยเมื่อสาเหตุและปัจจัยหมดไป
ภาวะผมร่วงจะหยุดได้เอง
- การพรางผมบาง จะช่วยทาให้ภาพลักษณ์ของผู้ป่วยดีขึ้นได้ เช่น การทาสีผม หรือการใส่วิก เป็นต้น
- การรับประทานเหล็กและวิตามิน เช่น สังกะสี (Zinc) ไบโอติน (Biotin) วิตามินดี (Vitamin D)
ยังไม่ได้มีหลักฐานทางการศึกษาชัดเจนว่ามีส่วนช่วยในการรักษาโรคผมผลัด ถ้าผู้ป่วยไม่ได้มีภาวะ
ขาดเหล็กหรือวิตามินดังกล่าว
- ควรมีการดูแลสุขภาพให้ดีแบบองค์รวม เช่น รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ นอนหลับพักผ่อน
ให้เพียงพอและหลีกเลี่ยงความเครียด
การรักษาแบบใช้ยา
- การรักษาด้วยยาทาไมน็อกซิดิล (Topical minoxidil) โดยผู้เชี่ยวชาญเส้นผมบางรายอาจแนะนาให้
ผู้ป่วยใช้ยาทา 5% minoxidil solution วันละครั้ง หรือ 2% minoxidil solution วันละ 2 ครั้ง เพื่อกระตุ้น
ผมให้ขึ้นใหม่ อาจเริ่มใช้ตอนที่ผมเริ่มจะหยุดร่วง17,18 โดยการทายานี้อาจทาให้ผมร่วงในช่วงแรกที่มีการใช้ยา
ได้19 อีกทั้งอาจไม่จาเป็นต้องใช้ยาทานี้สาหรับโรคผมผลัดเสมอไป เนื่องจากโรคนี้สามารถหยุดร่วงและค่อย ๆ
ขึ้นใหม่ได้เองหลังจากที่สาเหตุของการกระตุ้นหายไป14,18,20
- การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูงชนิด Beta Blockers ยารับประทาน
วิตามินเอ และยากันเลือดแข็งตัว อาจส่งเสริมให้เกิดภาวะผมร่วงมากขึ้น17 แนะนาให้ปรึกษาแพทย์ผู้ทาการ
รักษาก่อนเพื่อพิจารณาเปลี่ยนชนิดยาถ้าพบว่ายามีส่วนเกี่ยวข้อง
 กลุ่มอาการทางสุขภาพจิต8
กลุ่มอาการวิตกกังวลในผู้ป่วยหลังติดเชื้อโควิด คือ อาการวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีประวัติติด
เชื้อ SAR-CoV-2 มาแล้วอย่างน้อย 12 สัปดาห์และหายดีแล้ว โดยผู้ป่วยมีอาการหลักที่แสดงถึงความวิตกกังวล
มากเกินปกติ เช่น การสะดุ้งตกใจง่าย การคิดฟุ้งซ่าน สมาธิหรือความจาแย่ลง มีอาการตื่นตัวตลอดเวลา ใจสั่น
เหงื่อแตก หายใจไม่อิ่ม อาจมีความคิดกังวลต่อโควิค-19 มากจนทาให้มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงมากเกินไป เช่น
หลีกเลี่ยงการใช้บริการขนส่งสาธารณะเนื่องจากกลัวการติดเชื้อโควิค-19 หรืออาจมีพฤติกรรมกระทาซ้า ๆ เพื่อ
ตรวจตรา เช่น คอยตรวจหรือเฝ้าระวังอาการของโควิด-19 ในตัวเอง รวมถึงมีความกังวลมากเกินไปว่าคนใกล้
ตัวจะติดเชื้อโควิด-19 จนทาให้รบกวนการใช้ชีวิตด้านต่าง ๆ เช่น การดาเนินกิจวัตรประจาวัน การทางาน
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งอาการเหล่านี้ยังคงอยู่ถึงแม้ว่าจะหายป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้วมากกว่า 12
สัปดาห์ ซึ่งเมื่
่อพบผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายสงสัย สามารถใช้แบบประเมิน GAD7 ในการประเมินภาวะวิตก
กังวลเพื่อประเมินความรุนแรงของอาการได้ โดยสามารถแปรผลได้ดังนี้
- ระดับคะแนน 5-9 คะแนน อยู่ในระดับเฉลี่ยหรือสูงกว่าเกณฑ์เพียงเล็กน้อย สามารถให้ความรู้ใน
เรื่องของอาการวิตกกังวล และใช้กระบวนการรักษาตนเอง เช่น สอนการผ่อนคลาย (Relaxation technique)
การฝึกหายใจ (Breathing exercise) เป็นต้น
- ระดับคะแนน 10-14 คะแนน มีความวิตกกังวลอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งถือว่ามีความผิดปกติแล้ว
ควรมีการให้ความรู้เรื่องวิตกกังวล และสอนวิธีผ่อนคลาย (Relaxation technique) ร่วมกับการฝึกหายใจ
(Breathing exercise) และมีการติดตามอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า
- ระดับคะแนน 15-21 คะแนน มีความวิตกกังวลระดับสูง ควรพิจารณาเริ่มการรักษาด้วยยาหรือส่ง
ต่อผู้เชี่ยวชาญและมีการติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
ในกรณีที่มีอาการรุนแรง เช่น GAD7 มีระดับคะแนน เท่ากับ 15 -21 คะแนน มีความวิตกกังวลอยู่ใน
ระดับสูงหรือไม่ดีขึ้น อาจรักษาโดยการให้คาปรึกษา (Counseling) ควบคู่กับการใช้ยาและติดตามอาการอย่าง
ใกล้ชิดเพื่อผลการรักษาที่ดีขึ้น
แนวทางในการรักษา
การรักษาแบบไม่ใช้ยา
เป็นการรักษาโดยการให้การบาบัดทางจิตสังคม (Psychosocial management) ซึ่งจะให้คาแนะนา
การดูแลด้านจิตสังคม ได้แก่ การให้ความรู้เรื่องอาการแก่ผู้ป่วยและญาติ การสอนการผ่อนคลาย (Relaxation
technique) การสอนการฝึกหายใจ (Breathing exercise) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือไม่ดีขึ้นจากการ
แนะนาการดูแลทางจิตสังคมเบื้องต้น จะมีการให้คาปรึกษาควบคู่กับการใช้ยาและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
เพื่อผลการรักษาที่ดีขึ้น
การรักษาแบบใช้ยา
1. SSRIs
- Fluoxetine 20 mg/วัน ตอนเช้า (ขนาดสูงสุดไม่เกิน 80 mg/วัน)
- Sertraline 50 mg/วัน ตอนเช้า (ขนาดสูงสุดไม่เกิน 200 mg/วัน)
ควรให้ยาโดยการค่อย ๆ ปรับขนาดยาเพิ่ม เพื่อให้ระดับยาในร่างกายถึงระดับการรักษาในเวลา 2-4
สัปดาห์ โดยมีการติดตามอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ ทั้งนี้ในการ
รักษาอาการวิตกกังวล ขนาดยาที่ใช้จะไม่สูงจนถึงขนาดสูงสุดเหมือนกับการรักษาโรคซึมเศร้า หลังจากคุม
อาการได้ดีแล้ว ควรให้ใช้ยาอย่างต่อเนื่องจนสามารถคุมอาการได้ จึงอาจพิจารณาลดยาที่ระยะเวลา 6-9 เดือน
2. Benzodiazepines
- Diazepam 2 - 10 mg/วัน ก่อนนอน (การรักษาความวิตกกังวลไม่ควรเกิน 10 mg)
- Lorazepam 2 - 6 mg/วัน ก่อนนอน (การรักษาความวิตกกังวลไม่ควรเกิน 10 mg)
ยากลุ่มนี้เป็นยาที่สามารถใช้ร่วมในการรักษาในช่วงแรกระหว่างรอให้ยาในกลุ่ม SSRIs ถึงระดับการ
รักษาหรือหากมีอาการมากก็สามารถช่วยคุมอาการได้ดีขึ้นและค่อย ๆ ปรับลดลงจนเหลือแต่ยาในกลุ่ม SSRIs
หลังอาการดีขึ้น โดยอาจจะใช้ระยะเวลาประาณ 4 - 6 สัปดาห์ จากนั้นค่อย ๆ ลดขนาดลงช้า ๆ เช่น ร้อยละ
25/สัปดาห์ จนหมดในระยะเวลา 4 - 8 สัปดาห์
สรุป
ภาวะ Long COVID หรือกลุ่มอาการภายหลังเป็นโควิด-19 (Post COVID syndrome) คือ ภาวะที่มี
อาการหรือกลุ่มอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 ส่วนมากตั้งแต่ 3
เดือนนับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน อาการดังกล่าวเกิดขึ้นได้หลายระบบและ
อาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยสาเหตุอื่น ๆ โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไปในแต่
ละบุคคล สามารถเกิดได้ในทุกระบบของร่างกาย ตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพจิต ซึ่งกลุ่มอาการที่ได้กล่าวมาข้างต้นมีแนวทางในการรักษาทั้งแบบ
ไม่ใช้ยาและการรักษาแบบใช้ยา ซึ่งพิจารณาตามความรุนแรงและอาการที่เกิดขึ้นของโรค ในบางกลุ่มอาการที่
เกิดขึ้นอาจยังไม่มีแนวทางในการรักษาที่ชัดเจน โดยอาจเป็นการรักษาเบื้องต้นตามอาการและมีคาแนะนาใน
การปฏิบัติตัวที่เหมาะสม เพื่อให้อาการของโรคและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น อย่างไรก็ดี การป้องกันไม่ให้มี
ภาวะ Long COVID ก็คือ การป้องกันตัวเองไม่ให้ติดโรคโควิด-19 ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 และ
วัคซีนเข้มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน การสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ใกล้กับผู้อื่น รวมถึงการดูแลสุขภาพร่างกายและ
ออกกาลังกายสม่าเสมอ
เอกสารอ้างอิง
1. Dinesh DC, Chalupska D, Silhan J, Koutna E, Nencka R, et al. (2020) Structural basis of
RNA recognition by the SARS-CoV-2 nucleocapsid phosphoprotein. PLOS Pathogens
16(12): e1009100. https://doi.org/10.1371/journal.ppat.1009100
2. World Health Organization. Coronavirus. WHO Coronavirus disease (COVID-19).
AccessedApril20,2020. https://www.who.int/thailand/health-topics/coronavirus
3. Bliddal S, Banasik K, Pedersen OB, Nissen J, Cantwell L, Schwinn M, et al. Acute and
persistent symptoms in non-hospitalized PCR-confirmed COVID-19 patients. Sci Rep.
2021;11(1):13153.
4. Abdelrahman MM, Abd-Elrahman NM, Bakheet TM. Persistence of symptoms after
improvement of acute COVID19 infection, a longitudinal study. J Med
Virol.2021;93:5942-6.
5. Barker-Davies RM, O'Sullivan O, Senaratne KPP, Baker P, Cranley M, Dharm-Datta S, et
al. The Stanford Hall consensus statement for post-COVID-19 rehabilitation. Br
J Sports Med. 2020;54:949-59.
6. Tanking, C. (2020). How COVID-19 affects cancer and cardiovascular disease. The
Journal of Chulabhorn Royal Academy, 2(3), 18–26. Retrieved from https://he02.tci-
thaijo.org/index.php/jcra/article/view/241371
7. Paterson I, Ramanathan K, Aurora R, Bewick D, Chow CM, Clarke B et al. Long COVID-
A Primer for Cardiovascular Health Professionals, on Behalf of the CCS RapidResponse
Team. Can J Cardiol. 2021;37(8):1260-2.
8. ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย. การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หลังรักษาหาย
(POST COVID SYNDROME) หรือภาวะ LONG COVID สาหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข
สืบค้นจาก https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=157
9. Pirker-Kees A, Platho-Elwischger K, Hafner S, Redlich K, Baumgartner C. Hyposmia Is
Associated with Reduced Cognitive Function in COVID-19: First Preliminary
Results.Dementia and geriatric cognitive disorders. 2021;50(1):68-73.
10. Lopez-Leon S, Wegman-Ostrosky T, Perelman C, Sepulveda R, Rebolledo PA, Cuapio
A,et al. More than 50 long-term effects of COVID-19: a systematic review and meta-
analysis.Scientific reports. 2021;11(1):16144.
11. Abrantes TF, Artounian KA, Falsey R, Simao JCL, Vano-Galvan S, Ferreira SB, et al.
Time of onset and duration of post-COVID-19 acute telogen effluvium. J Am Acad
Dermatol. 2021;85(4):975-6.
12. Moreno-Arrones OM, Lobato-Berezo A, Gomez-Zubiaur A, Arias-Santiago S, Saceda-
Corralo D, Bernardez-Guerra C, et al. SARS-CoV-2-induced telogen effluvium: a
multicentric study. J Eur Acad Dermatol Venereol. 2021;35(3):e181-e3.
13. Trueb RM. Systematic approach to hair loss in women. J Dtsch Dermatol Ges.
2010;8(4):284-97, -98.
14. Whiting DA. Chronic telogen effluvium: increased scalp hair shedding in middle-aged
women. J Am Acad Dermatol. 1996;35(6):899-906.
15. Cheung EJ, Sink JR, English Iii JC. Vitamin and Mineral Deficiencies in Patients With
Telogen Effluvium: A Retrospective Cross-Sectional Study. J Drugs Dermatol.
2016;15(10):1235-7.
16. Chien Yin GO, Siong-See JL, Wang ECE. Telogen Effluvium - a review of the science
and current obstacles. J Dermatol Sci. 2021;101(3):156-63.
17. Malkud S. Telogen Effluvium: A Review. J Clin Diagn Res. 2015;9(9):WE01-3.
18. Grover C, Khurana A. Telogen effluvium. Indian J Dermatol Venereol Leprol.
2013;79(5):591-603.
19. Blumeyer A, Tosti A, Messenger A, Reygagne P, Del Marmol V, Spuls PI, et al.
Evidence- based (S3) guideline for the treatment of androgenetic alopecia in women
and in men. J Dtsch Dermatol Ges. 2011;9 Suppl 6:S1-57.
20. Mysore V, Parthasaradhi A, Kharkar RD, Ghoshal AK, Ganjoo A, Ravichandran G, et al.
Expert consensus on the management of Telogen Effluvium in India. Int J Trichology.
2019;11(3):107-12.

More Related Content

Featured

Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsProduct Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsPixeldarts
 
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthThinkNow
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfmarketingartwork
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024Neil Kimberley
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)contently
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024Albert Qian
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsKurio // The Social Media Age(ncy)
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Search Engine Journal
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summarySpeakerHub
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Tessa Mero
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentLily Ray
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best PracticesVit Horky
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementMindGenius
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...RachelPearson36
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Applitools
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at WorkGetSmarter
 

Featured (20)

Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsProduct Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
 
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
 
Skeleton Culture Code
Skeleton Culture CodeSkeleton Culture Code
Skeleton Culture Code
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work
 

5003-1-000-002-10-256008-11-2565 บทความฉบับแก้ไข 301120225.pdf

  • 1. บทความวิชาการสาหรับการศึกษาต่อเนื่อง สถานเสาวภา สภากาชาดไทย รหัส : 5003-1-000-002-10-2565 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง : 2.5 หน่วยกิต วันที่รับรองบทความ : 21 ตุลาคม 2565 วันที่หมดอายุ : 20 ตุลาคม 2566 เรื่อง แนวทางการรักษาและการปฏิบัติตัวต่อภาวะลองโควิด (Long COVID) ผู้เขียน นศภ.สิรภพ ยืนยง นศภ.สุวิชชา สาสีดา และภก.อนวัช มิตรประทาน วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวต่อภาวะ Long COVID 2. เพื่อให้ทราบแนวทางการรักษาภาวะ Long COVID คาสาคัญ Long COVID, Post COVID syndrome, Light aerobic exercise, Telogen effluvium, SAR-CoV-2, Acute respiratory distress syndrome (ARDS), Pulmonary fibrosis, Beta Blockers, Topical minoxidil บทคัดย่อ โรคโควิด-19 (Covid-19) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ SARS-CoV-2 โดยผู้ติดเชื้ออาจไม่มีอาการ แสดงไปจนถึงมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โดยในบางรายถึงแม้จะรักษาหายจากอาการโควิดแล้ว แต่ยังคงมี อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นหลังจากการหลังได้รับเชื้อและรักษาหายแล้ว หรืออาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ได้ เรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะ Long COVID หรือกลุ่มอาการภายหลังเป็นโควิด-19 (Post COVID syndrome)” ภาวะ Long COVID หรือกลุ่มอาการภายหลังเป็นโควิด-19 (Post COVID syndrome) คือ ภาวะที่มี อาการหรือกลุ่มอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่ หรือต่อเนื่องภายหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน อาการดังกล่าวเกิดขึ้นได้หลายระบบ และอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยสาเหตุอื่น ๆ โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไปใน แต่ละบุคคล สามารถเกิดได้ในทุกระบบของร่างกาย ตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และสุขภาพจิต โดยกรมการแพทย์ร่วมกับกรมสุขภาพจิตร่วมกับคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนทีมแพทย์จากราชวิทยาลัยและสมาคมแพทย์เฉพาะทางสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้จาแนก ตามกลุ่มอาการ คือ กลุ่มอาการทั่วไปของร่างกาย, กลุ่มอาการระบบหัวใจและหลอดเลือด, กลุ่มอาการระบบ ทางเดินหายใจ, กลุ่มอาการทางระบบประสาท, กลุ่มอาการทางผิวหนังและเส้นผม และกลุ่มอาการทางสุขภาพจิต ในปัจจุบันยังไม่ทราบถึงสาเหตุและพยาธิสภาพของการเกิดภาวะ Long COVID ที่ชัดเจน มีเพียง สมมติฐานที่คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับ fragments of viral genome or viral antigens ซึ่งไม่ส่งผลต่อการติด เชื้อแล้ว แต่สามารถส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทาให้เกิดการอักเสบในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย โดยใน ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการสงสัยภาวะ Long COVID จะมีการซักประวัติและการตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุและให้ การดูแลรักษา รวมถึงการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม
  • 2. แนวทางการรักษาและการปฏิบัติตัวต่อภาวะลองโควิด (Long COVID) นศภ.สิรภพ ยืนยง นศภ.สุวิชชา สาสีดา และภก.อนวัช มิตรประทาน วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวต่อภาวะ Long COVID 2. เพื่อให้ทราบแนวทางการรักษาภาวะ Long COVID บทคัดย่อ โรคโควิด-19 (Covid-19) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ SARS-CoV-2 โดยผู้ติดเชื้ออาจไม่มีอาการ แสดงไปจนถึงมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โดยในบางรายถึงแม้จะรักษาหายจากอาการโควิดแล้ว แต่ยังคงมี อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นหลังจากการหลังได้รับเชื้อและรักษาหายแล้ว หรืออาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ได้ เรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะ Long COVID หรือกลุ่มอาการภายหลังเป็นโควิด-19 (Post COVID syndrome)” ภาวะ Long COVID หรือกลุ่มอาการภายหลังเป็นโควิด-19 (Post COVID syndrome) คือ ภาวะที่มี อาการหรือกลุ่มอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่ หรือต่อเนื่องภายหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน อาการดังกล่าวเกิดขึ้นได้หลายระบบ และอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยสาเหตุอื่น ๆ โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไปใน แต่ละบุคคล สามารถเกิดได้ในทุกระบบของร่างกาย ตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และสุขภาพจิต โดยกรมการแพทย์ร่วมกับกรมสุขภาพจิตร่วมกับคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนทีมแพทย์จากราชวิทยาลัยและสมาคมแพทย์เฉพาะทางสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้จาแนก ตามกลุ่มอาการ คือ กลุ่มอาการทั่วไปของร่างกาย, กลุ่มอาการระบบหัวใจและหลอดเลือด, กลุ่มอาการระบบ ทางเดินหายใจ, กลุ่มอาการทางระบบประสาท, กลุ่มอาการทางผิวหนังและเส้นผม และกลุ่มอาการทางสุขภาพจิต ในปัจจุบันยังไม่ทราบถึงสาเหตุและพยาธิสภาพของการเกิดภาวะ Long COVID ที่ชัดเจน มีเพียง สมมติฐานที่คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับ fragments of viral genome or viral antigens ซึ่งไม่ส่งผลต่อการติด เชื้อแล้ว แต่สามารถส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทาให้เกิดการอักเสบในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย โดยใน ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการสงสัยภาวะ Long COVID จะมีการซักประวัติและการตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุและให้ การดูแลรักษา รวมถึงการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม บทนา ในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (Covid-19) มีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากมีการ ฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมประชากร การระวังป้องกันตัวของประชาชน รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการรักษา ของภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นได้จากการรายงานของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขว่าแนวโน้มของ ผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่มีจานวนลดลง อีกทั้งจานวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีการรักษาหายเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังมี ความจาเป็นที่จะต้องเฝ้าระวัง และป้องกันไม่ให้มีการกลับมาติดเชื้อซ้าหรือการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้แม้ผู้ป่วย ที่เป็นโควิด-19 จะรักษาหายแล้วก็อาจมีผลกระทบหรืออาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นตามมา โดยอาการที่เกิดขึ้น อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิต รวมถึงโรคประจาตัวที่เป็นอยู่ และในผู้ป่วยบางรายที่มีโรคประจาตัว อาการที่เกิดขึ้น
  • 3. อาจมีความรุนแรงมากกว่าในผู้ป่วยทั่วไป ซึ่งควรได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นได้ใน ระยะยาว ดังนั้นจึงได้เล็งเห็นถึงความจาเป็นในการหาแนวทางการรักษาและการปฏิบัติตัวต่อภาวะ long covid เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงเดิมมากที่สุด เชื้อที่ก่อโรคโควิด-19 Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) เป็น single-stranded RNA virus วงศ์ Coronaviridae family1,2 โดยสามารถติดเชื้อได้ทั้งในคนและสัตว์ เช่น หนู ไก่ วัว ควาย สุนัข แมว กระต่าย และสุกร ซึ่งภายหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 สามารถทาให้มีอาการผิดปกติแสดงในระบบต่าง ๆ ตามมา เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท หรือระบบอื่น ๆ โดยอาการ ผิดปกติอาจเกิดขึ้นใหม่ หรือเกิดต่อเนื่องภายหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 ส่วนมากมีระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะ Long COVID หรือ กลุ่มอาการภายหลังเป็นโควิด-19 (Post COVID syndrome)” กลุ่มอาการที่เกิดจากภาวะลองโควิด  กลุ่มอาการทั่วไปของร่างกาย โดยอาการที่พบได้บ่อยในอาการทั่วไปของร่างกายที่พบ คือ อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อ โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจาวันได้3,4 ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดอาการดังกล่าวเกิด จาก เพศ อายุ ความอ้วน การมีโรคประจาตัว รวมถึงการที่ผู้ป่วยที่มีอาการหอบ เหนื่อย อยู่แล้วโดยมีการซัก ประวัติเกี่ยวกับกลุ่มอาการของโรคทั่วไป คือ การซักประวัติทั่วไป เช่น เพศ อายุ โรคประจาตัว ยาที่ใช้ ประจาการซักประวัติการติดเชื้อ COVID -19 ในระยะเฉียบพลัน เช่น วันที่ได้รับบการวินิฉัย อาการและความ รุนแรงของโรครวมไปถึงการรักษาที่ได้รับเมื่อเกิดการติดเชื้อ COVID -19 แนวทางการรักษา เนื่องด้วย COVID -19 เป็นโรคอุบัติการณ์ใหม่ จึงยังไม่มีงานวิจัยหรือแนวทางการรักษาภาวะ Post COVID fatigue ที่ชัดเจน แต่มีการแนะนาการรักษาโดยพิจารณาในทุกมิติของผู้ป่วย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ รวมทั้งการรักษาโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ และมีการปรับให้เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละ คน ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงการให้คาแนะนาทั่วไปในการรักษา ดังนี้ คาแนะนาทั่วไปสาหรับภาวะอ่อนเพลีย5 - ค่อย ๆ เพิ่มกิจวัติประจาวันทีละน้อยอย่างสม่าเสมอ สังเกตอาการอ่อนเพลียและล้า ถ้ามีอาการล้า มากเกินไปให้หยุดกิจกรรมที่ทาก่อนจะมีความรู้สึกล้า - ควรมีช่วงเวลาพักร่างกายและสมองระหว่างวันเพื่อผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ - ควรเริ่มออกกาลังกายระดับเบา ๆ ก่อน และค่อยปรับแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยควรเริ่มจากการยืด กล้ามเนื้อทุกส่วนก่อน และควรเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อในระดับเบาก่อน เป็นต้น  กลุ่มอาการระบบหัวใจและหลอดเลือด6 กลไกของ SAR-CoV-2 ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ในปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายกลไกการเกิดที่ ชัดเจนได้ แต่ได้มีการตั้งสมมุติฐานไว้ว่า อาจเกิดจากการทาลายกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงผ่านทาง Angiotensin- convertingenzyme 2 (ACE-2) receptor ซึ่งมีกลไกทางานอยู่ในปอดและหัวใจ ACE-2 receptor นี้เองเป็น ตาแหน่งที่ไวรัสโคโรน่าใช้จับเพื่อเข้าเซลล์มนุษย์ ดังนั้นระบบปอดและหัวใจที่มี ACE-2 receptor มากจึงมี ความเสี่ยงต่อการถูกเชื้อโจมตี หรืออาจจะเกิดจากการแตกของ plaque และอุดตันของหลอดเลือด หัวใจ (Plaque rupture and coronary thrombosis) ภาวะการอักเสบของร่างกายและแรงเสียดสีผนังหลอด
  • 4. เลือดจากการเพิ่มขึ้นของกระแสเลือดในหลอดเลือดหัวใจนาไปสู่การกระตุ้นการแตกของ plaque ก่อให้เกิด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ นอกจากนี้ ภาวะการอักเสบเองก็สามารถกระตุ้นกระบวนการอุดตันของหลอด เลือดได้ด้วย แนวทางการรักษา ตามคาแนะนาของ Canadain Cardiovascular Society (CCS) Rapid Response Team ในตรวจ ร่างกายและใช้ noninvasive assessment7 ในการเฝ้าระวังเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจมา ก่อน ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีคาแนะนาที่จาเพาะในการรักษาผู้ป่วยในกลุ่มนี้ ดังนั้น การรักษาจึงเป็นการรักษาตาม อาการและรักษาโรคหัวใจที่ตรวจพบเช่นเดียวกับผู่ป่วยที่ไม่ได้เป็น Long COVID  กลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 บางส่วนอาจพบอาการหลงเหลืออยู่ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อ ผู้ป่วย โดยอาการในระบบทางเดินหายใจที่พบได้มากที่สุดของภาวะ Long COVID คือ อาการเหนื่อย พบตั้งแต่ อาการเหนื่อยเล็กน้อยจนถึงรุนแรง ซึ่งควรได้รับการตรวจประเมินนโดยอายุรแพทย์เชี่ยวชาญด้านโรคปอด โปรแกรมการฟื้นฟูการทางานของปอด (Pulmonary rehabilitation program) เนื่องจากจะทาให้อาการ แสดงผิดปกติของทางการหายใจเรื้อรังฟื้นตัวรวดเร็วขึ้น แนวทางในการรักษา โดยข้อมูลการรักษาในปัจจุบันแนะนาเพียงการทาการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด (Pulmonary rehabilitation) ที่มีแนวโน้มจะมีประโยชน์ในการรักษา long COVID ซึ่งจะแนะนาให้ทา - การออกกาลังกายชนิดแอโรบิคแบบเบาโดยแนะนาให้ทา 4-6 สัปดาห์ - การฝึกการหายใจ เพื่อควบคุมการหายใจให้เป็นลักษณะช้าและลึก เพื่อเสริมความเเข็งแรงของ กล้ามเนื้อหายใจ โดยแนะนาให้ทา 4-6 สัปดาห์ ในผู้ป่วยกลุ่มที่เป็นปอดอักเสบรุนแรงแบบ Acute respiratory distress syndrome (ARDS) แล้ว รอดชีวิต มักมีการดาเนินโรคเป็นโรคพังผืดที่ปอด (Pulmonary fibrosis) ผู้เชี่ยวชาญแนะนาให้การรักษาด้วย ออกซิเจนบาบัดเมื่อมีข้อบ่งใช้ การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลทุกปี และฉีดวัคซีน ป้องกันเชื้อปอดอักเสบ Streptococcus pneumoniae8  กลุ่มอาการทางระบบประสาท Long COVID headache อาการปวดศีรษะเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการที่อาจพบได้ในผู้ป่วยหลังติดเชื้อ COVID-19 เนื่องจากอาจเกิด จากสภาวะที่ตัวไวรัสเข้าไปทาลายระบบประสาท หรือเกิดจากความดันโลหิตสูง การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เป็นต้น อาการอาจจะหายไปภายหลังหายป่วยติดต่อกันมากกว่า 12 สัปดาห์ โดยมักไม่ค่อยพบความผิดปกติ จากการตรวจร่างกาย แนวทางการรักษา มีการรักษาแบบใช้ยาและไม่ใช้ยา ซึ่งการรักษาแบบไม่ใช้ยา เช่น การออกกาลังกาย นวดผ่อนคลาย ลดความเครียด ส่วนในการรักษาแบบใช้ยานั้น อาจจะใช้ยาแก้ปวดตามลักษณะอาการที่ปวด เช่น ถ้ามีลักษณะ คล้ายปวดแบบ tension ก็สามารถใช้ยาแก้ปวดในกลุ่ม paracetamol, NSIADs หรือหากมีอาการปวดคล้าย กับไมเกรนสามารถใช้ยาที่อยู่ในกลุ่มของ NSIADs, Triptans ได้แต่ต้องระวังไม่ให้เกินวันละ 10-15 เม็ดต่อวัน
  • 5. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)9,10 อาการของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นอีกหนึ่งอาการที่อาจพบได้ในผู้ป่วยหลังติดเชื้อ COVID-19 แต่จะพบในอัตราที่น้อย ซึ่งสาเหตุที่เกิดอาจจะเกิดจากการที่ SARS-COoV-2 นั้นสามารถทาให้เกิดการทาลาย ของผนังหลอดเลือด โดยการทาลาย ACE2 ที่ endotheial cells ที่ผนังหลอดเลือด ทาให้ผนังหลอดเลือดเกิด การอักเสบ ทาให้เลือดแข็งตัวมากขึ้นส่งผลให้เกิดลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้ โดยอาการที่ควรสังเกต คือ มีอาการอ่อน แรงหรือชาของใบหน้า แขน ขา โดยมีอาการข้างใดข้างหนึ่งทันที มีการสบสน พูดไม่ชัด ตามองเห็นเป็นภาพ ซ้อน เวียนศีรษะ เดินเซ และมีอาการปวดศีรษะรุนแรงทันที แนวทางการรักษา มีการประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยโดยใช้ National Institute of Health Stroke Scale (NIHSS) ในผู้ป่วยที่สงสัยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันให้ทาการตรวจรังสีวินิจฉัยสมองโดยทันที ผู้ป่วยที่ควร ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดาควรส่งต่อไปยังโรงพยาบาล  กลุ่มอาการทางผิวหนังและเส้นผม ภาวะผมร่วงภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 นานเกิน 12 สัปดาห์ขึ้นไป (Long COVID) ส่วนใหญ่เกิด จากโรคผมผลัด (Telogen effuvium)10,11 เนื่องจากการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 อาจทาให้ร่างกาย เครียดและมีการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบที่รากผม ซึ่งส่งผลต่อวงจรของชีวิตของผม ทาให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ เร็วและเกิดการหลุดร่วงของเส้นผมได้มากกว่าปกติ12 ภาวะโรคผมผลัดสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ โรค ผมผลัดที่เป็นโรคเฉียบพลัน (Acute telogen effuvium) และโรคผมผลัดที่เป็นเรื้อรัง (Chronic telogen effuvium)13,14 และนอกจากโรคผมผลัดจะเกิดหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 ยังสามารถเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การมีภาวะเครียดมาก ภาวะในการขาดสารอาหาร มีภาวะเป็นไทรอยด์หรือการรับประทานยาบางอย่าง โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจเป็นชั่วคราวหรือเป็นต่อเนื่องระยะเวลานาน15,16 แนวทางในการรักษา การดูแลรักษาโรคผมผลัดที่สาคัญที่สุด คือ การหาสาเหตุและแก้ไขสาเหตุ ถ้ามีปัจจัยอื่นนอกเหนือจาก ภาวะเจ็บป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 ควรจะรักษาร่วมด้วย โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีโรคผมผลัดมักหายได้เองเมื่อ สาเหตุหมดไปแล้วประมาณ 3-6 เดือน แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคผมผลัดภายหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 อาจจะหายได้เร็วกว่าที่ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน11 ซึ่งการให้คาแนะนาเทคนิคในการพรางผมบางและการ ติดตามการรักษาแก่ผู้ป่วย สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีความกังวลลดลงได้ โดยแนวทางในการรักษามีทั้งแบบใช้ยา และไม่ใช้ยา การรักษาแบบไม่ใช้ยา - การให้คาแนะนาแก่ผู้ป่วย ควรจะอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยการกระตุ้นที่ทาให้วงจรชีวิต ของต่อมผมมีการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ทาให้เกิดภาวะผมร่วง โดยเมื่อสาเหตุและปัจจัยหมดไป ภาวะผมร่วงจะหยุดได้เอง - การพรางผมบาง จะช่วยทาให้ภาพลักษณ์ของผู้ป่วยดีขึ้นได้ เช่น การทาสีผม หรือการใส่วิก เป็นต้น - การรับประทานเหล็กและวิตามิน เช่น สังกะสี (Zinc) ไบโอติน (Biotin) วิตามินดี (Vitamin D) ยังไม่ได้มีหลักฐานทางการศึกษาชัดเจนว่ามีส่วนช่วยในการรักษาโรคผมผลัด ถ้าผู้ป่วยไม่ได้มีภาวะ ขาดเหล็กหรือวิตามินดังกล่าว - ควรมีการดูแลสุขภาพให้ดีแบบองค์รวม เช่น รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ นอนหลับพักผ่อน ให้เพียงพอและหลีกเลี่ยงความเครียด
  • 6. การรักษาแบบใช้ยา - การรักษาด้วยยาทาไมน็อกซิดิล (Topical minoxidil) โดยผู้เชี่ยวชาญเส้นผมบางรายอาจแนะนาให้ ผู้ป่วยใช้ยาทา 5% minoxidil solution วันละครั้ง หรือ 2% minoxidil solution วันละ 2 ครั้ง เพื่อกระตุ้น ผมให้ขึ้นใหม่ อาจเริ่มใช้ตอนที่ผมเริ่มจะหยุดร่วง17,18 โดยการทายานี้อาจทาให้ผมร่วงในช่วงแรกที่มีการใช้ยา ได้19 อีกทั้งอาจไม่จาเป็นต้องใช้ยาทานี้สาหรับโรคผมผลัดเสมอไป เนื่องจากโรคนี้สามารถหยุดร่วงและค่อย ๆ ขึ้นใหม่ได้เองหลังจากที่สาเหตุของการกระตุ้นหายไป14,18,20 - การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูงชนิด Beta Blockers ยารับประทาน วิตามินเอ และยากันเลือดแข็งตัว อาจส่งเสริมให้เกิดภาวะผมร่วงมากขึ้น17 แนะนาให้ปรึกษาแพทย์ผู้ทาการ รักษาก่อนเพื่อพิจารณาเปลี่ยนชนิดยาถ้าพบว่ายามีส่วนเกี่ยวข้อง  กลุ่มอาการทางสุขภาพจิต8 กลุ่มอาการวิตกกังวลในผู้ป่วยหลังติดเชื้อโควิด คือ อาการวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีประวัติติด เชื้อ SAR-CoV-2 มาแล้วอย่างน้อย 12 สัปดาห์และหายดีแล้ว โดยผู้ป่วยมีอาการหลักที่แสดงถึงความวิตกกังวล มากเกินปกติ เช่น การสะดุ้งตกใจง่าย การคิดฟุ้งซ่าน สมาธิหรือความจาแย่ลง มีอาการตื่นตัวตลอดเวลา ใจสั่น เหงื่อแตก หายใจไม่อิ่ม อาจมีความคิดกังวลต่อโควิค-19 มากจนทาให้มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงมากเกินไป เช่น หลีกเลี่ยงการใช้บริการขนส่งสาธารณะเนื่องจากกลัวการติดเชื้อโควิค-19 หรืออาจมีพฤติกรรมกระทาซ้า ๆ เพื่อ ตรวจตรา เช่น คอยตรวจหรือเฝ้าระวังอาการของโควิด-19 ในตัวเอง รวมถึงมีความกังวลมากเกินไปว่าคนใกล้ ตัวจะติดเชื้อโควิด-19 จนทาให้รบกวนการใช้ชีวิตด้านต่าง ๆ เช่น การดาเนินกิจวัตรประจาวัน การทางาน ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งอาการเหล่านี้ยังคงอยู่ถึงแม้ว่าจะหายป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้วมากกว่า 12 สัปดาห์ ซึ่งเมื่ ่อพบผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายสงสัย สามารถใช้แบบประเมิน GAD7 ในการประเมินภาวะวิตก กังวลเพื่อประเมินความรุนแรงของอาการได้ โดยสามารถแปรผลได้ดังนี้ - ระดับคะแนน 5-9 คะแนน อยู่ในระดับเฉลี่ยหรือสูงกว่าเกณฑ์เพียงเล็กน้อย สามารถให้ความรู้ใน เรื่องของอาการวิตกกังวล และใช้กระบวนการรักษาตนเอง เช่น สอนการผ่อนคลาย (Relaxation technique) การฝึกหายใจ (Breathing exercise) เป็นต้น - ระดับคะแนน 10-14 คะแนน มีความวิตกกังวลอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งถือว่ามีความผิดปกติแล้ว ควรมีการให้ความรู้เรื่องวิตกกังวล และสอนวิธีผ่อนคลาย (Relaxation technique) ร่วมกับการฝึกหายใจ (Breathing exercise) และมีการติดตามอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า - ระดับคะแนน 15-21 คะแนน มีความวิตกกังวลระดับสูง ควรพิจารณาเริ่มการรักษาด้วยยาหรือส่ง ต่อผู้เชี่ยวชาญและมีการติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่มีอาการรุนแรง เช่น GAD7 มีระดับคะแนน เท่ากับ 15 -21 คะแนน มีความวิตกกังวลอยู่ใน ระดับสูงหรือไม่ดีขึ้น อาจรักษาโดยการให้คาปรึกษา (Counseling) ควบคู่กับการใช้ยาและติดตามอาการอย่าง ใกล้ชิดเพื่อผลการรักษาที่ดีขึ้น แนวทางในการรักษา การรักษาแบบไม่ใช้ยา เป็นการรักษาโดยการให้การบาบัดทางจิตสังคม (Psychosocial management) ซึ่งจะให้คาแนะนา การดูแลด้านจิตสังคม ได้แก่ การให้ความรู้เรื่องอาการแก่ผู้ป่วยและญาติ การสอนการผ่อนคลาย (Relaxation technique) การสอนการฝึกหายใจ (Breathing exercise) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือไม่ดีขึ้นจากการ แนะนาการดูแลทางจิตสังคมเบื้องต้น จะมีการให้คาปรึกษาควบคู่กับการใช้ยาและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อผลการรักษาที่ดีขึ้น
  • 7. การรักษาแบบใช้ยา 1. SSRIs - Fluoxetine 20 mg/วัน ตอนเช้า (ขนาดสูงสุดไม่เกิน 80 mg/วัน) - Sertraline 50 mg/วัน ตอนเช้า (ขนาดสูงสุดไม่เกิน 200 mg/วัน) ควรให้ยาโดยการค่อย ๆ ปรับขนาดยาเพิ่ม เพื่อให้ระดับยาในร่างกายถึงระดับการรักษาในเวลา 2-4 สัปดาห์ โดยมีการติดตามอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ ทั้งนี้ในการ รักษาอาการวิตกกังวล ขนาดยาที่ใช้จะไม่สูงจนถึงขนาดสูงสุดเหมือนกับการรักษาโรคซึมเศร้า หลังจากคุม อาการได้ดีแล้ว ควรให้ใช้ยาอย่างต่อเนื่องจนสามารถคุมอาการได้ จึงอาจพิจารณาลดยาที่ระยะเวลา 6-9 เดือน 2. Benzodiazepines - Diazepam 2 - 10 mg/วัน ก่อนนอน (การรักษาความวิตกกังวลไม่ควรเกิน 10 mg) - Lorazepam 2 - 6 mg/วัน ก่อนนอน (การรักษาความวิตกกังวลไม่ควรเกิน 10 mg) ยากลุ่มนี้เป็นยาที่สามารถใช้ร่วมในการรักษาในช่วงแรกระหว่างรอให้ยาในกลุ่ม SSRIs ถึงระดับการ รักษาหรือหากมีอาการมากก็สามารถช่วยคุมอาการได้ดีขึ้นและค่อย ๆ ปรับลดลงจนเหลือแต่ยาในกลุ่ม SSRIs หลังอาการดีขึ้น โดยอาจจะใช้ระยะเวลาประาณ 4 - 6 สัปดาห์ จากนั้นค่อย ๆ ลดขนาดลงช้า ๆ เช่น ร้อยละ 25/สัปดาห์ จนหมดในระยะเวลา 4 - 8 สัปดาห์ สรุป ภาวะ Long COVID หรือกลุ่มอาการภายหลังเป็นโควิด-19 (Post COVID syndrome) คือ ภาวะที่มี อาการหรือกลุ่มอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือนนับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน อาการดังกล่าวเกิดขึ้นได้หลายระบบและ อาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยสาเหตุอื่น ๆ โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไปในแต่ ละบุคคล สามารถเกิดได้ในทุกระบบของร่างกาย ตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพจิต ซึ่งกลุ่มอาการที่ได้กล่าวมาข้างต้นมีแนวทางในการรักษาทั้งแบบ ไม่ใช้ยาและการรักษาแบบใช้ยา ซึ่งพิจารณาตามความรุนแรงและอาการที่เกิดขึ้นของโรค ในบางกลุ่มอาการที่ เกิดขึ้นอาจยังไม่มีแนวทางในการรักษาที่ชัดเจน โดยอาจเป็นการรักษาเบื้องต้นตามอาการและมีคาแนะนาใน การปฏิบัติตัวที่เหมาะสม เพื่อให้อาการของโรคและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น อย่างไรก็ดี การป้องกันไม่ให้มี ภาวะ Long COVID ก็คือ การป้องกันตัวเองไม่ให้ติดโรคโควิด-19 ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 และ วัคซีนเข้มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน การสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ใกล้กับผู้อื่น รวมถึงการดูแลสุขภาพร่างกายและ ออกกาลังกายสม่าเสมอ
  • 8. เอกสารอ้างอิง 1. Dinesh DC, Chalupska D, Silhan J, Koutna E, Nencka R, et al. (2020) Structural basis of RNA recognition by the SARS-CoV-2 nucleocapsid phosphoprotein. PLOS Pathogens 16(12): e1009100. https://doi.org/10.1371/journal.ppat.1009100 2. World Health Organization. Coronavirus. WHO Coronavirus disease (COVID-19). AccessedApril20,2020. https://www.who.int/thailand/health-topics/coronavirus 3. Bliddal S, Banasik K, Pedersen OB, Nissen J, Cantwell L, Schwinn M, et al. Acute and persistent symptoms in non-hospitalized PCR-confirmed COVID-19 patients. Sci Rep. 2021;11(1):13153. 4. Abdelrahman MM, Abd-Elrahman NM, Bakheet TM. Persistence of symptoms after improvement of acute COVID19 infection, a longitudinal study. J Med Virol.2021;93:5942-6. 5. Barker-Davies RM, O'Sullivan O, Senaratne KPP, Baker P, Cranley M, Dharm-Datta S, et al. The Stanford Hall consensus statement for post-COVID-19 rehabilitation. Br J Sports Med. 2020;54:949-59. 6. Tanking, C. (2020). How COVID-19 affects cancer and cardiovascular disease. The Journal of Chulabhorn Royal Academy, 2(3), 18–26. Retrieved from https://he02.tci- thaijo.org/index.php/jcra/article/view/241371 7. Paterson I, Ramanathan K, Aurora R, Bewick D, Chow CM, Clarke B et al. Long COVID- A Primer for Cardiovascular Health Professionals, on Behalf of the CCS RapidResponse Team. Can J Cardiol. 2021;37(8):1260-2. 8. ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย. การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หลังรักษาหาย (POST COVID SYNDROME) หรือภาวะ LONG COVID สาหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข สืบค้นจาก https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=157 9. Pirker-Kees A, Platho-Elwischger K, Hafner S, Redlich K, Baumgartner C. Hyposmia Is Associated with Reduced Cognitive Function in COVID-19: First Preliminary Results.Dementia and geriatric cognitive disorders. 2021;50(1):68-73. 10. Lopez-Leon S, Wegman-Ostrosky T, Perelman C, Sepulveda R, Rebolledo PA, Cuapio A,et al. More than 50 long-term effects of COVID-19: a systematic review and meta- analysis.Scientific reports. 2021;11(1):16144. 11. Abrantes TF, Artounian KA, Falsey R, Simao JCL, Vano-Galvan S, Ferreira SB, et al. Time of onset and duration of post-COVID-19 acute telogen effluvium. J Am Acad Dermatol. 2021;85(4):975-6. 12. Moreno-Arrones OM, Lobato-Berezo A, Gomez-Zubiaur A, Arias-Santiago S, Saceda- Corralo D, Bernardez-Guerra C, et al. SARS-CoV-2-induced telogen effluvium: a multicentric study. J Eur Acad Dermatol Venereol. 2021;35(3):e181-e3. 13. Trueb RM. Systematic approach to hair loss in women. J Dtsch Dermatol Ges. 2010;8(4):284-97, -98. 14. Whiting DA. Chronic telogen effluvium: increased scalp hair shedding in middle-aged women. J Am Acad Dermatol. 1996;35(6):899-906.
  • 9. 15. Cheung EJ, Sink JR, English Iii JC. Vitamin and Mineral Deficiencies in Patients With Telogen Effluvium: A Retrospective Cross-Sectional Study. J Drugs Dermatol. 2016;15(10):1235-7. 16. Chien Yin GO, Siong-See JL, Wang ECE. Telogen Effluvium - a review of the science and current obstacles. J Dermatol Sci. 2021;101(3):156-63. 17. Malkud S. Telogen Effluvium: A Review. J Clin Diagn Res. 2015;9(9):WE01-3. 18. Grover C, Khurana A. Telogen effluvium. Indian J Dermatol Venereol Leprol. 2013;79(5):591-603. 19. Blumeyer A, Tosti A, Messenger A, Reygagne P, Del Marmol V, Spuls PI, et al. Evidence- based (S3) guideline for the treatment of androgenetic alopecia in women and in men. J Dtsch Dermatol Ges. 2011;9 Suppl 6:S1-57. 20. Mysore V, Parthasaradhi A, Kharkar RD, Ghoshal AK, Ganjoo A, Ravichandran G, et al. Expert consensus on the management of Telogen Effluvium in India. Int J Trichology. 2019;11(3):107-12.