SlideShare a Scribd company logo
1
เมณฑกปัญหชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๘. เมณฑกปัญหชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๔๗๑)
ว่าด้วยปัญหาเรื่องแพะเป็ นเพื่อนกับสุนัข
(พระราชาตรัสถามปัญหาว่า)
[๙๔] แต่ไหนแต่ไรมา ความเป็ นเพื่อนกันแม้เพียงการย่างก้าวเดินไป ๗
ก้าวของสัตว์เหล่าใดไม่เคยมีมาแล้วในโลกนี้ สัตว์เหล่านั้น ๒ ตัว
ซึ่งเป็ นศัตรูกันกลับเป็ นสหายกัน ประพฤติเกี่ยวเนื่องกันเพราะเหตุไร
(และตรัสต่อไปว่า)
[๙๕] ถ้าว่าในเวลาอาหารเช้าของเราในวันนี้
พวกท่านไม่สามารถจะกล่าวแก้ปัญหาข้อนี้ได้
เราจะเนรเทศพวกท่านทั้งหมดออกจากแคว้น
เพราะเราไม่ต้องการพวกคนมีปัญญาทราม
(เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๖] เมื่อมหาชนมาประชุมกันอึกทึกครึกโครม
เมื่อคนมาร่วมกันเป็ นโกลาหล พวกข้าพระองค์ก็มีใจฟุ้ งซ่าน มีจิตไม่แน่วแน่
จึงไม่สามารถจะกล่าวแก้ปัญหาข้อนี้ได้
[๙๗] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน
นักปราชญ์ทั้งหลายมีจิตแน่วแน่ไปในที่ลับตามลาพัง
คิดพิจารณาถึงเนื้อความในที่สงัดแล้ว ภายหลังจึงจะกล่าวตอบเนื้อความข้อนี้ได้
(เสนกบัณฑิตนั้นกล่าวคาถาตามแนวที่ตนเรียนมาว่า)
[๙๘]
พวกบุตรของคนชั้นสูงและพวกราชบุตรโปรดปรานพอใจเนื้อแพะ
พวกเขาไม่บริโภคเนื้อสุนัข เมื่อเป็นเช่นนั้น แพะกับสุนัขจึงเป็ นเพื่อนกัน
(ปุกกุสบัณฑิตกล่าวคาถาตามแนวที่ตนเรียนมาว่า)
[๙๙] ชนทั้งหลายถลกหนังแพะทาเป็นเครื่องลาดหลังม้า เพราะนั่งสบาย
แต่พวกเขาไม่ลาดด้วยหนังสุนัข เมื่อเป็นเช่นนั้น แพะกับสุนัขจึงเป็ นเพื่อนกัน
(กามินทบัณฑิตกล่าวคาถาตามแนวที่ตนเรียนมาว่า)
[๑๐๐] ก็แพะมีเขาโค้งและมีหญ้าเป็นภักษา
ส่วนสุนัขไม่มีเขาและกินเนื้อ เมื่อเป็นเช่นนั้น แพะกับสุนัขจึงเป็นเพื่อนกัน
(เวทินทบัณฑิตกล่าวคาถาตามแนวที่ตนเรียนมาว่า)
[๑๐๑] แพะกินหญ้ากินใบไม้ แต่สุนัขไม่กินหญ้าไม่กินใบไม้
สุนัขจับกระต่ายและแมวกิน เมื่อเป็ นเช่นนั้น แพะกับสุนัขจึงเป็ นเพื่อนกัน
(มโหสธบัณฑิตเฉลยปัญหาที่ปรากฏแจ่มแจ้งแก่ตนว่า)
2
[๑๐๒] แพะมี ๔ เท้า ๘ กีบ ๘ เล็บ
สุนัขนี้แฝงกายนาหญ้ามาเพื่อแพะตัวนี้
ส่วนแพะนี้แฝงกายนาเนื้อมาเพื่อสุนัขตัวโน้น
[๑๐๓] นัยว่า พระองค์ผู้จอมเทพประเสริฐกว่าชาววิเทหะ ประทับอยู่ ณ
ปราสาทอันประเสริฐ
ได้ทอดพระเนตรการแลกเปลี่ยนอาหารของกันและกันโดยประจักษ์
และนั่นเสียงเห่าของสุนัขต่อหน้าแพะ
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๐๔] เป็นลาภของเรามิใช่น้อยหนอ ที่มีบัณฑิตเช่นนี้อยู่ในราชสกุล
ปราชญ์ทั้งหลายรู้แจ้งเนื้อความแห่งปัญหา อันละเอียดลึกซึ้งได้โดยตลอด
และกล่าวด้วยถ้อยคาอันเป็นสุภาษิต
(และตรัสอีกว่า)
[๑๐๕] เรามีความพอใจอย่างยิ่งด้วยถ้อยคาอันเป็นสุภาษิต
เราให้รถเทียมม้าอัสดรคนละคัน บ้านส่วยที่มั่งคั่งคนละ ๑ ตาบล
แก่ท่านผู้เป็นบัณฑิตทุกคน
เมณฑกปัญหชาดกที่ ๘ จบ
------------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
เมณฑกปัญหาชาดก
ว่าด้วย เมณฑกปัญหา
เมณฑกปัญหาจักมีอย่างแจ่มแจ้งใน อุมมังคชาดก.
จบอรรถกถาเมณฑกปัญหาชาดกที่ ๘
-----------------------------------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
มโหสถชาดก
ว่าด้วย พระมโหสถบัณฑิตทรงบาเพ็ญปัญญาบารมี
วันอื่น พระเจ้าวิเทหราชเสวยกระยาหารเช้าแล้ว เสด็จดาเนินไปมา ณ
ระหว่างพื้นยาวแห่งปราสาท. เมื่อทอดพระเนตรออกไปทางช่องพระแกล
ได้ทอดพระเนตรเห็นแพะหนึ่งสุนัขหนึ่ง ทาความเชยชิดเป็ นมิตรกัน. ได้ยินว่า
แพะนั้นกินหญ้า ในโรงช้างที่เขาทอดไว้หน้าช้าง ช้างยังมิได้จับ. ลาดับนั้น
คนเลี้ยงช้างทั้งหลายตีแพะนั้นให้ออกไป. คนเลี้ยงช้างคนหนึ่งไล่ติดตามแพะนั้น
ซึ่งร้องหนีไปโดยเร็ว เอาท่อนไม้ตีขวางลงที่หลังแพะ
แพะนั้นแอ่นหลังได้ทุกขเวทนา. ไปนอนใกล้ตั่ง
3
อาศัยฝาใหญ่ในพระราชคฤหาสน์. วันนั้น สุนัขเคี้ยวกินกระดูกและหนังเป็นต้น
ที่ห้องเครื่องหลวงจนอ้วนพี. เมื่อพ่อครัวจัดภัตตาหาร
แล้วออกไปข้างนอกผึ่งเหงื่อในสรีระ. มันได้กลิ่นปลาเนื้อ
ไม่อาจอดกลั้นความอยาก ก็เข้าไปในห้องเครื่อง.
ยังเครื่องปิดภาชนะให้ตกลงแล้วเคี้ยวกินเนื้อ. ฝ่ายพ่อครัวได้ยินเสียงภาชนะ
ก็เข้าไปทางเสียงภาชนะ. เห็นสุนัขกาลังกินเนื้ออยู่
จึงปิดประตูตีสุนัขนั้นด้วยก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น.
สุนัขนั้นก็ทิ้งเนื้อที่เคี้ยวกินจากปาก ร้องวิ่งหนีออกไป. พ่อครัวรู้ว่า
สุนัขหนีออกไป จึงติดตามไปตีขวางที่หลังด้วยท่อนไม้.
สุนัขก็แอ่นหลังยกเท้าข้างหนึ่งเข้าไปในที่แพะนอน. แพะถามสุนัขนั้นว่า
เพื่อนแอ่นหลังยกเท้าข้างหนึ่งมา ด้วยเหตุไร. ลมเสียดแทงเพื่อนหรือ.
ฝ่ายสุนัขก็ถามว่า เพื่อนแอ่นหลังนอนอยู่ ลมเสียดแทงเพื่อนหรือ.
แพะบอกเรื่องของตนแก่สุนัข แม้สุนัขก็บอกอย่างนั้นเหมือนกัน. ลาดับนั้น
แพะถามสุนัขว่า เพื่อนสามารถจะไปสู่โรงครัวอีกหรือ. สุนัขตอบว่า
ข้าไม่สามารถแล้ว เมื่อข้าไปชีวิตจะไม่มี. ก็เพื่อนสามารถจะไปสู่โรงช้างอีกหรือ.
แพะตอบว่า ถึงข้าก็ไม่กล้าไปที่โรงช้างนั้น ถ้าข้าขืนไป ชีวิตก็จะไม่มี.
สัตว์ทั้งสองคิดหาอุบายว่า บัดนี้ เราจะเป็ นอยู่ได้อย่างไรหนอ.
แพะจึงกล่าวกะสุนัขว่า ถ้าเราทั้งสองอาจอยู่ร่วมกัน อุบายก็มี คือตั้งแต่นี้ไป
เจ้าจงไปโรงช้าง พวกคนเลี้ยงช้างจักไม่สงสัยในตัวเจ้า ด้วยเห็นว่า
สัตว์นี้ไม่กินหญ้า เจ้าพึงนาหญ้ามาเพื่อข้า. ส่วนข้าจักเข้าไปในโรงครัว
พ่อครัวจักไม่สงสัยในตัวข้า ด้วยเห็นว่า สัตว์นี้ไม่กินเนื้อ.
ข้าก็จักนาเนื้อมาเพื่อเจ้า. สัตว์ทั้งสองตกลงกันว่า อุบายนี้เข้าที. สุนัขจึงไปโรงช้าง
คาบฟ่อนหญ้า นามาวางไว้ใกล้หลังฝาใหญ่. ฝ่ายแพะไปสู่ห้องเครื่อง
คาบก้อนเนื้อเต็มปาก นามาวางไว้ใกล้ที่นั้นเอง. สุนัขก็เคี้ยวกินเนื้อ
แพะเคี้ยวกินหญ้า. สัตว์ทั้งสองนั้นพร้อมเพรียงชอบพอกันอยู่ใกล้หลังฝาใหญ่.
พระเจ้าวิเทหราชทอดพระเนตร
เห็นความที่แพะและสุนัขทั้งสองนั้นชอบกันโดยเป็นเพื่อน. จึงทรงจินตนาการว่า
เหตุการณ์ที่เรายังไม่เคยเห็น เราได้เห็นแล้วในวันนี้.
แต่ก่อนมาสัตว์ทั้งสองนี้เป็ นศัตรูกัน. บัดนี้ อยู่ร่วมกันได้ เราจักจับเหตุการณ์นี้
ทาเป็นปัญหาถามบัณฑิตทั้งหลาย. บัณฑิตใดไม่รู้ปัญหานี้
เราจักขับบัณฑิตนั้นจากแคว้น. แต่เราจักสักการะแก่บัณฑิตผู้รู้
เพราะบัณฑิตอื่นรู้อย่างนี้ไม่มี. วันนี้หมดเวลาแล้ว
พรุ่งนี้เราจักถามบัณฑิตเหล่านั้น ในเวลามาทาการในหน้าที่. รุ่งขึ้น
ในเมื่อบัณฑิตทั้งหลายมานั่งทาการในหน้าที่ของตนแล้ว. เมื่อจะถามปัญหา
จึงตรัสคาถานี้ว่า
4
ความที่สัตว์เหล่าใดเป็นเพื่อนกันในโลกนี้ แม้ไปด้วยกันสัก ๗ ก้าว
ไม่เคยมีในกาลไหนๆ. สัตว์ทั้งสองนั้นเป็ นศัตรูกัน
มาเป็นเพื่อนประพฤติเพื่อคุ้นกันได้ เพราะเหตุอะไร.
ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ตรัสอย่างนี้อีกว่า
ถ้าเวลากินอาหารเช้าแล้ววันนี้
ท่านทั้งหลายไม่สามารถกล่าวแก้ปัญหานี้ของเรา.
เราจักขับท่านทั้งปวงจากแว่นแคว้น เพราะเราไม่ต้องการพวกคนเขลา.
เสนกะนั่งอยู่ต้นอาสนะ มโหสถบัณฑิตนั่งอยู่ที่สุดอาสนะ.
พระมหาสัตว์พิจารณาปัญหานั้น ยังไม่เห็นเนื้อความ. จึงคิดว่า
พระราชาองค์นี้มีพระชวนะเฉื่อยช้า ไม่สามารถจะทรงจับคิดปัญหานี้.
พระองค์คงจักทอดพระเนตรเห็นอะไรแน่. วันหนึ่ง
เมื่อเราได้โอกาสจักนาปัญหานี้ออกแสดง
อาจารย์เสนกะจักยังพระราชาให้งดสักวันหนึ่งในวันนี้
ด้วยอุบายอย่างหนึ่งจะได้หรือ. ชนทั้งสามนอกนี้ แลไม่เห็นอะไรๆ
เหมือนเข้าห้องมืด ฉะนั้น. เสนกะแลดูพระโพธิสัตว์ ด้วยมนสิการว่า
ความเป็นไปของมโหสถจะเป็นอย่างไรหนอ. ฝ่ายมโหสถก็แลดูเสนกะ
เสนกะรู้ความประสงค์ของพระโพธิสัตว์ ด้วยอาการที่พระโพธิสัตว์แลดู. จึงคิดว่า
ปัญหานั้นยังไม่ปรากฏแก่มโหสถ. เพราะเหตุนั้น
มโหสถจึงปรารถนาโอกาสวันหนึ่ง เราจักยังมโนรถของมโหสถให้เต็ม.
จึงสรวลขึ้นด้วยวิสาสะกับพระราชา. ทูลว่า พระองค์จักขับข้าพระบาทเหล่านี้
ผู้ไม่สามารถกล่าวแก้ปัญหาจากแคว้นจริงๆ หรือ พระเจ้าข้า.
พระราชาตรัสตอบว่า จริงๆ ซิบัณฑิต. เสนกะจึงทูลว่า
พระองค์ทรงกาหนดปัญหานี้ว่า ปัญหามีเงื่อนเดียวหรือ.
ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่สามารถจะกล่าวแก้ปัญหานี้ในวันนี้.
ขอได้ทรงงดหน่อยหนึ่ง ปัญหานี้มีเงื่อน. ข้าพระองค์ทั้งหลายจักกล่าวแก้
ในท่ามกลางประชุมชน. จะต้องนั่งคิดในที่หนึ่ง ภายหลังจักทูลแก้แด่พระองค์.
ขอได้โปรดพระราชทานโอกาสแก่พวกข้าพระองค์. เสนกะกล่าวดังนี้แลดูมโหสถ.
แล้วกล่าว ๒ คาถานี้ว่า
ข้าแต่พระจอมประชากร ในเมื่อสมาคมแห่งหมู่ชนอึกทึก
ในเมื่อชุมนุมแห่งชนโกลาหล. ข้าพระองค์ทั้งหลายมีใจฟุ้ งซ่าน
มีจิตไม่แน่วอยู่ที่เดียว. จึงไม่สามารถจะพยากรณ์ปัญหานั้น.
นักปราชญ์ทั้งหลายมีจิตมีอารมณ์เดียว คนๆหนึ่งอยู่ในที่ลับ
คิดเนื้อความทั้งหลาย พิจารณาอยู่ในสถานที่เงียบ
ภายหลังจักกราบทูลแก้เนื้อความนั้น.
พระราชาทรงสดับคาของเสนกะก็ดีพระหฤทัย ตรัสคุกคามดังนี้ว่า
5
ดีแล้ว ท่านทั้งหลายจงคิด เมื่อแก้ไม่ได้จักให้ขับเสีย. บัณฑิตทั้ง ๔
ลงจากพระราชนิเวศน์. เสนกะจึงกล่าวกะบัณฑิตนอกนี้ว่า
พระราชาตรัสถามปัญหาสุขุม. เมื่อพวกเราแก้ไม่ได้ ภัยใหญ่จักเกิดขึ้น. เหตุนั้น
ท่านทั้งหลายบริโภค สบายแล้วจงพิจารณาปัญหานั้นโดยชอบ.
ต่างคนไปเรือนของตนๆ. ฝ่ายมโหสถลุกไปสู่สานักพระราชเทวีอุทุมพร
ทูลถามว่า ข้าแต่พระเทวีเจ้า วันนี้หรือวานนี้ พระราชาประทับอยู่ในที่ไหนนาน.
พระนางอุทุมพรรับสั่งว่า เมื่อวานนี้. พระราชาเสด็จไปมา
ทอดพระเนตรที่พระแกล ณ ภายในพื้นยาว. แต่นั้น พระโพธิสัตว์จึงคิดว่า
พระราชาจักได้ทอดพระเนตรเห็นเหตุอะไรๆ โดยข้างนี้.
จึงไปในที่นั้นแลดูภายนอก ได้เห็นกิริยาแห่งแพะและสุนัข. ก็ทาความเข้าใจว่า
พระราชาทอดพระเนตรเห็นสัตว์ทั้งสองนี้ จึงทรงประพันธ์ปัญหา. จับเค้าได้ฉะนี้
แล้วก็กลับไปเคหสถาน.
ฝ่ายบัณฑิตทั้งสามคิดแล้ว ไม่เห็นอะไรจึงไปหาเสนกะ.
เสนกะเห็นบัณฑิตทั้งสามนั้น จึงถามว่า ท่านเห็นปัญหาแล้วหรือ.
ครั้นได้รับตอบว่ายังไม่เห็น. จึงกล่าวว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น
พระราชาจักขับท่านทั้งหลายจากแว่นแคว้น ท่านทั้งหลายจักทาอย่างไร.
ครั้นบัณฑิตทั้งสามย้อนถามว่า ก็ท่านเห็นหรือ. ก็ตอบว่า แม้เราก็ยังไม่เห็น.
ครั้นบัณฑิตทั้งสามกล่าวว่า เมื่ออาจารย์ไม่เห็น ข้าพเจ้าทั้งหลายจะเห็นอะไร.
ก็เมื่อวานนี้ เราทั้งหลายบันลือสีหนาทในราชสานักว่า จักคิดแก้ แล้วมาบ้าน.
บัดนี้ พระราชาจักกริ้วพวกเราผู้แก้ไม่ได้ พวกเราจักทาอย่างไร. จึงกล่าวว่า
ปัญหานี้อันเราทั้งหลายไม่อาจเห็น. มโหสถจักคิดได้ตั้งหลายร้อยนัย.
เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงมาไปสานักมโหสถด้วยกันกับเรา.
บัณฑิตทั้งสี่ไปสู่ประตูเคหสถานแห่งมโหสถ.
ให้แจ้งความที่ตนมาแล้วเข้าไปสู่เรือน ปราศรัยกันแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง.
แล้วถามมโหสถว่า บัณฑิต ท่านคิดปัญหาได้แล้วหรือ. พระโพธิสัตว์ตอบว่า
ในเมื่อข้าพเจ้าคิดไม่ได้ คนอื่นใครจักคิดได้. เออ ปัญหานั้นข้าพเจ้าคิดได้แล้ว.
ครั้นเมื่อบัณฑิตทั้งสี่กล่าวว่า ถ้ากระนั้น ท่านจงบอกแก่ข้าพเจ้าบ้าง.
มโหสถจึงดาริว่า ถ้าเราจักไม่บอกแก่บัณฑิตทั้งสี่นี้ พระราชาจักกริ้วบัณฑิตทั้งสี่
ขับเสียจากแคว้น. พระราชทานรัตนะ ๗ แก่เรา.
คนเขลาเหล่านี้อย่าได้ฉิบหายเสียเลย. เราจักบอกแก่พวกนี้ ดาริฉะนี้
แล้วให้บัณฑิตทั้งสี่นั่ง ณ อาสน์ต่า. แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงพยากรณ์อย่างนี้
ในกาล เมื่อพระราชาตรัสถาม. แล้วให้บัณฑิตทั้งสี่ เรียนบาลีประพันธ์เป็นคาถา ๔
คาถา. แล้วส่งให้กลับไป. ในวันที่ ๒ บัณฑิตเหล่านั้นไปสู่ราชุปัฏฐาน นั่ง ณ
อาสน์ที่ลาดไว้. พระราชาตรัสถามเสนกะว่า ท่านรู้ปัญหาแล้วหรือ.
เสนกะจึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เมื่อข้าพระองค์ไม่รู้ คนอื่นใครเล่าจักรู้.
6
ครั้นรับสั่งให้กล่าว จึงกล่าวคาถา โดยทานองที่เรียนมาทีเดียวว่า
เนื้อแพะเป็นที่รักที่เจริญใจแห่งบุตรอมาตย์ และพระราชโอรส.
ชนเหล่านั้นไม่บริโภคเนื้อสุนัข. ครั้งนี้ มิตรธรรมแห่งแพะนั้นกับด้วยสุนัข
มีต่อกัน.
แม้กล่าวคาถาแล้ว เสนกะก็หารู้เนื้อความไม่.
ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราชทรงทราบความ เพราะปรากฏแก่พระองค์. เพราะฉะนั้น
จึงตรัสถามปุกกุสะต่อไป ด้วยเข้าพระหฤทัยว่า เสนกะรู้แล้ว.
ฝ่ายปุกกุสะจึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์ไม่ใช่บัณฑิตหรือ.
แล้วกล่าวคาถาโดยทานองที่เรียนมาทีเดียวว่า
ชนทั้งหลายใช้หนังแพะเป็นเครื่องลาดหลังม้าเป็ นเหตุแห่งความสุข.
ไม่ใช่หนังสุนัขเป็ นเครื่องลาดหลังม้า. ครั้งนี้ มิตรธรรมแห่งแพะนั้นกับด้วยสุนัข
มีต่อกัน.
เนื้อความไม่ปรากฏแม้แก่ปุกกุสะ.
ฝ่ายพระราชาเข้าพระหฤทัยว่า ปุกกุสะนี้รู้เนื้อความ
เพราะปรากฏแก่พระองค์ จึงตรัสถามกามินทะต่อไป.
กามินทะจึงกล่าวคาถาโดยทานองที่เรียนมาทีเดียวว่า
แพะมีเขาอันโค้งแท้จริง แต่เขาทั้งหลายแห่งสุนัขไม่มีเลย
แพะกินหญ้า สุนัขกินเนื้อ. ครั้งนี้ มิตรธรรมแห่งแพะนั้นกับด้วยสุนัข มีต่อกัน.
เนื้อความไม่ปรากฏแม้แก่กามินทะ.
พระราชาเข้าพระหฤทัยว่า แม้กามินทะนี้ก็รู้เนื้อความแล้ว.
จึงตรัสถามเทวินทะต่อไป. เทวินทะก็กล่าวคาถาโดยทานองที่เรียนมาทีเดียวว่า
แพะกินหญ้า กินใบไม้ สุนัขไม่กินหญ้า ไม่กินใบไม้.
สุนัขจับกระต่ายหรือแมวกิน. ครั้งนี้ มิตรธรรมแห่งแพะนั้นกับด้วยสุนัข มีต่อกัน.
เนื้อความไม่ปรากฏแม้แก่เทวินทะ.
ลาดับนั้น พระราชาเข้าพระหฤทัยว่า แม้เทวินทะนี้ก็รู้
เพราะปรากฏแก่พระองค์. จึงตรัสถามมโหสถว่า ดูก่อนพ่อมโหสถ
แม้ตัวเจ้ารู้ปัญหานี้หรือ. มโหสถโพธิสัตว์ทูลสนองว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
ตั้งแต่อเวจีจนถึงภวัคคพรหม ยกข้าพระองค์เสีย คนอื่นใครจะรู้ปัญหานี้.
ครั้นตรัสให้กล่าว จึงกราบทูลว่า ขอพระองค์ทรงฟัง
เมื่อจะประกาศความที่กิจนั้นปรากฏแก่ตน จึงกล่าว ๒ คาถานี้ว่า
แพะมีเท้ากึ่ง ๘ แห่งเท้า๔ (มี ๔ เท้า) มีกีบ ๘. มีกายไม่ปรากฏ
สุนัขนี้นาหญ้ามาเพื่อแพะนี้ แพะนี้นาเนื้อมาเพื่อสุนัขนั้น.
พระชนินทรสมมติเทพผู้ประเสริฐกว่าชาววิเทหรัฐประทับอยู่ ณ
ปราสาทอันประเสริฐ ได้ทอดพระเนตรเห็น
การนาอาหารมาแลกกันกินโดยประจักษ์ และได้ทอดพระเนตร
7
เห็นมิตรธรรมแห่งสุนัขและแพะเอง.
พระราชา เมื่อไม่ทรงทราบความที่
อาจารย์เหล่านั้นรู้ปัญหาเพราะอาศัยพระโพธิสัตว์. ทรงสาคัญว่า บัณฑิตทั้ง ๕
รู้ด้วยปัญญาของตน. ก็ทรงโสมนัส ตรัสคาถานี้ว่า
ลาภของเราไม่น้อยเลยที่มีบัณฑิตเช่นนี้อยู่ในราชสกุล เพราะว่า
บัณฑิตทั้งหลายแทงตลอด เนื้อความของปัญหาอันลึกละเอียดด้วยเป็นสุภาษิต.
ลาดับนั้น พระราชาทรงดาริว่า
เราควรทาอาการยินดีแก่บัณฑิตเหล่านั้นด้วยความยินดี.
เมื่อจะทรงทาความยินดีนั้นให้เป็ นแจ้ง จึงตรัสคาถาว่า
เรามีความพอใจยิ่ง ด้วยปัญหาที่กล่าวไพเราะ.
ให้รถเทียมม้าอัสดรรถหนึ่งๆ และบ้านส่วยอันเจริญบ้านหนึ่งๆ
แก่ท่านทั้งปวงผู้เป็ นบัณฑิต.
ครั้นตรัสฉะนี้ แล้วได้พระราชทานสิ่งทั้งปวงนั้น.
จบ ปัญหาแพะในทวาทสนิบาต

More Related Content

More from maruay songtanin

๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
maruay songtanin
 
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
maruay songtanin
 
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
maruay songtanin
 
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๓๐. กุมารเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๐. กุมารเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๐. กุมารเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๐. กุมารเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๒๙. ภุสเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
๒๙. ภุสเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....๒๙. ภุสเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
๒๙. ภุสเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
๒๘. รถการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๘. รถการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒๘. รถการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๘. รถการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒๗. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๒๗. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...๒๗. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๒๗. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
maruay songtanin
 
การคิดเชิงวิพากษ์ Critical Thinking.pdf
การคิดเชิงวิพากษ์  Critical Thinking.pdfการคิดเชิงวิพากษ์  Critical Thinking.pdf
การคิดเชิงวิพากษ์ Critical Thinking.pdf
maruay songtanin
 
๒๖. อภิชชมานเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๒๖. อภิชชมานเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๒๖. อภิชชมานเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๒๖. อภิชชมานเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๒๕. อุพพรีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๕. อุพพรีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒๕. อุพพรีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๕. อุพพรีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒๔. กัณณมุณฑเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๒๔. กัณณมุณฑเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๒๔. กัณณมุณฑเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๒๔. กัณณมุณฑเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
 
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
 
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
 
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๓๐. กุมารเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๐. กุมารเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๐. กุมารเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๐. กุมารเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๒๙. ภุสเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
๒๙. ภุสเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....๒๙. ภุสเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
๒๙. ภุสเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
๒๘. รถการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๘. รถการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒๘. รถการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๘. รถการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒๗. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๒๗. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...๒๗. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๒๗. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
 
การคิดเชิงวิพากษ์ Critical Thinking.pdf
การคิดเชิงวิพากษ์  Critical Thinking.pdfการคิดเชิงวิพากษ์  Critical Thinking.pdf
การคิดเชิงวิพากษ์ Critical Thinking.pdf
 
๒๖. อภิชชมานเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๒๖. อภิชชมานเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๒๖. อภิชชมานเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๒๖. อภิชชมานเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๒๕. อุพพรีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๕. อุพพรีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒๕. อุพพรีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๕. อุพพรีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒๔. กัณณมุณฑเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๒๔. กัณณมุณฑเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๒๔. กัณณมุณฑเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๒๔. กัณณมุณฑเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 

471 เมณฑกปัญหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 เมณฑกปัญหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ ๘. เมณฑกปัญหชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๔๗๑) ว่าด้วยปัญหาเรื่องแพะเป็ นเพื่อนกับสุนัข (พระราชาตรัสถามปัญหาว่า) [๙๔] แต่ไหนแต่ไรมา ความเป็ นเพื่อนกันแม้เพียงการย่างก้าวเดินไป ๗ ก้าวของสัตว์เหล่าใดไม่เคยมีมาแล้วในโลกนี้ สัตว์เหล่านั้น ๒ ตัว ซึ่งเป็ นศัตรูกันกลับเป็ นสหายกัน ประพฤติเกี่ยวเนื่องกันเพราะเหตุไร (และตรัสต่อไปว่า) [๙๕] ถ้าว่าในเวลาอาหารเช้าของเราในวันนี้ พวกท่านไม่สามารถจะกล่าวแก้ปัญหาข้อนี้ได้ เราจะเนรเทศพวกท่านทั้งหมดออกจากแคว้น เพราะเราไม่ต้องการพวกคนมีปัญญาทราม (เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า) [๙๖] เมื่อมหาชนมาประชุมกันอึกทึกครึกโครม เมื่อคนมาร่วมกันเป็ นโกลาหล พวกข้าพระองค์ก็มีใจฟุ้ งซ่าน มีจิตไม่แน่วแน่ จึงไม่สามารถจะกล่าวแก้ปัญหาข้อนี้ได้ [๙๗] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน นักปราชญ์ทั้งหลายมีจิตแน่วแน่ไปในที่ลับตามลาพัง คิดพิจารณาถึงเนื้อความในที่สงัดแล้ว ภายหลังจึงจะกล่าวตอบเนื้อความข้อนี้ได้ (เสนกบัณฑิตนั้นกล่าวคาถาตามแนวที่ตนเรียนมาว่า) [๙๘] พวกบุตรของคนชั้นสูงและพวกราชบุตรโปรดปรานพอใจเนื้อแพะ พวกเขาไม่บริโภคเนื้อสุนัข เมื่อเป็นเช่นนั้น แพะกับสุนัขจึงเป็ นเพื่อนกัน (ปุกกุสบัณฑิตกล่าวคาถาตามแนวที่ตนเรียนมาว่า) [๙๙] ชนทั้งหลายถลกหนังแพะทาเป็นเครื่องลาดหลังม้า เพราะนั่งสบาย แต่พวกเขาไม่ลาดด้วยหนังสุนัข เมื่อเป็นเช่นนั้น แพะกับสุนัขจึงเป็ นเพื่อนกัน (กามินทบัณฑิตกล่าวคาถาตามแนวที่ตนเรียนมาว่า) [๑๐๐] ก็แพะมีเขาโค้งและมีหญ้าเป็นภักษา ส่วนสุนัขไม่มีเขาและกินเนื้อ เมื่อเป็นเช่นนั้น แพะกับสุนัขจึงเป็นเพื่อนกัน (เวทินทบัณฑิตกล่าวคาถาตามแนวที่ตนเรียนมาว่า) [๑๐๑] แพะกินหญ้ากินใบไม้ แต่สุนัขไม่กินหญ้าไม่กินใบไม้ สุนัขจับกระต่ายและแมวกิน เมื่อเป็ นเช่นนั้น แพะกับสุนัขจึงเป็ นเพื่อนกัน (มโหสธบัณฑิตเฉลยปัญหาที่ปรากฏแจ่มแจ้งแก่ตนว่า)
  • 2. 2 [๑๐๒] แพะมี ๔ เท้า ๘ กีบ ๘ เล็บ สุนัขนี้แฝงกายนาหญ้ามาเพื่อแพะตัวนี้ ส่วนแพะนี้แฝงกายนาเนื้อมาเพื่อสุนัขตัวโน้น [๑๐๓] นัยว่า พระองค์ผู้จอมเทพประเสริฐกว่าชาววิเทหะ ประทับอยู่ ณ ปราสาทอันประเสริฐ ได้ทอดพระเนตรการแลกเปลี่ยนอาหารของกันและกันโดยประจักษ์ และนั่นเสียงเห่าของสุนัขต่อหน้าแพะ (พระราชาตรัสว่า) [๑๐๔] เป็นลาภของเรามิใช่น้อยหนอ ที่มีบัณฑิตเช่นนี้อยู่ในราชสกุล ปราชญ์ทั้งหลายรู้แจ้งเนื้อความแห่งปัญหา อันละเอียดลึกซึ้งได้โดยตลอด และกล่าวด้วยถ้อยคาอันเป็นสุภาษิต (และตรัสอีกว่า) [๑๐๕] เรามีความพอใจอย่างยิ่งด้วยถ้อยคาอันเป็นสุภาษิต เราให้รถเทียมม้าอัสดรคนละคัน บ้านส่วยที่มั่งคั่งคนละ ๑ ตาบล แก่ท่านผู้เป็นบัณฑิตทุกคน เมณฑกปัญหชาดกที่ ๘ จบ ------------------------------ คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา เมณฑกปัญหาชาดก ว่าด้วย เมณฑกปัญหา เมณฑกปัญหาจักมีอย่างแจ่มแจ้งใน อุมมังคชาดก. จบอรรถกถาเมณฑกปัญหาชาดกที่ ๘ ----------------------------------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา มโหสถชาดก ว่าด้วย พระมโหสถบัณฑิตทรงบาเพ็ญปัญญาบารมี วันอื่น พระเจ้าวิเทหราชเสวยกระยาหารเช้าแล้ว เสด็จดาเนินไปมา ณ ระหว่างพื้นยาวแห่งปราสาท. เมื่อทอดพระเนตรออกไปทางช่องพระแกล ได้ทอดพระเนตรเห็นแพะหนึ่งสุนัขหนึ่ง ทาความเชยชิดเป็ นมิตรกัน. ได้ยินว่า แพะนั้นกินหญ้า ในโรงช้างที่เขาทอดไว้หน้าช้าง ช้างยังมิได้จับ. ลาดับนั้น คนเลี้ยงช้างทั้งหลายตีแพะนั้นให้ออกไป. คนเลี้ยงช้างคนหนึ่งไล่ติดตามแพะนั้น ซึ่งร้องหนีไปโดยเร็ว เอาท่อนไม้ตีขวางลงที่หลังแพะ แพะนั้นแอ่นหลังได้ทุกขเวทนา. ไปนอนใกล้ตั่ง
  • 3. 3 อาศัยฝาใหญ่ในพระราชคฤหาสน์. วันนั้น สุนัขเคี้ยวกินกระดูกและหนังเป็นต้น ที่ห้องเครื่องหลวงจนอ้วนพี. เมื่อพ่อครัวจัดภัตตาหาร แล้วออกไปข้างนอกผึ่งเหงื่อในสรีระ. มันได้กลิ่นปลาเนื้อ ไม่อาจอดกลั้นความอยาก ก็เข้าไปในห้องเครื่อง. ยังเครื่องปิดภาชนะให้ตกลงแล้วเคี้ยวกินเนื้อ. ฝ่ายพ่อครัวได้ยินเสียงภาชนะ ก็เข้าไปทางเสียงภาชนะ. เห็นสุนัขกาลังกินเนื้ออยู่ จึงปิดประตูตีสุนัขนั้นด้วยก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น. สุนัขนั้นก็ทิ้งเนื้อที่เคี้ยวกินจากปาก ร้องวิ่งหนีออกไป. พ่อครัวรู้ว่า สุนัขหนีออกไป จึงติดตามไปตีขวางที่หลังด้วยท่อนไม้. สุนัขก็แอ่นหลังยกเท้าข้างหนึ่งเข้าไปในที่แพะนอน. แพะถามสุนัขนั้นว่า เพื่อนแอ่นหลังยกเท้าข้างหนึ่งมา ด้วยเหตุไร. ลมเสียดแทงเพื่อนหรือ. ฝ่ายสุนัขก็ถามว่า เพื่อนแอ่นหลังนอนอยู่ ลมเสียดแทงเพื่อนหรือ. แพะบอกเรื่องของตนแก่สุนัข แม้สุนัขก็บอกอย่างนั้นเหมือนกัน. ลาดับนั้น แพะถามสุนัขว่า เพื่อนสามารถจะไปสู่โรงครัวอีกหรือ. สุนัขตอบว่า ข้าไม่สามารถแล้ว เมื่อข้าไปชีวิตจะไม่มี. ก็เพื่อนสามารถจะไปสู่โรงช้างอีกหรือ. แพะตอบว่า ถึงข้าก็ไม่กล้าไปที่โรงช้างนั้น ถ้าข้าขืนไป ชีวิตก็จะไม่มี. สัตว์ทั้งสองคิดหาอุบายว่า บัดนี้ เราจะเป็ นอยู่ได้อย่างไรหนอ. แพะจึงกล่าวกะสุนัขว่า ถ้าเราทั้งสองอาจอยู่ร่วมกัน อุบายก็มี คือตั้งแต่นี้ไป เจ้าจงไปโรงช้าง พวกคนเลี้ยงช้างจักไม่สงสัยในตัวเจ้า ด้วยเห็นว่า สัตว์นี้ไม่กินหญ้า เจ้าพึงนาหญ้ามาเพื่อข้า. ส่วนข้าจักเข้าไปในโรงครัว พ่อครัวจักไม่สงสัยในตัวข้า ด้วยเห็นว่า สัตว์นี้ไม่กินเนื้อ. ข้าก็จักนาเนื้อมาเพื่อเจ้า. สัตว์ทั้งสองตกลงกันว่า อุบายนี้เข้าที. สุนัขจึงไปโรงช้าง คาบฟ่อนหญ้า นามาวางไว้ใกล้หลังฝาใหญ่. ฝ่ายแพะไปสู่ห้องเครื่อง คาบก้อนเนื้อเต็มปาก นามาวางไว้ใกล้ที่นั้นเอง. สุนัขก็เคี้ยวกินเนื้อ แพะเคี้ยวกินหญ้า. สัตว์ทั้งสองนั้นพร้อมเพรียงชอบพอกันอยู่ใกล้หลังฝาใหญ่. พระเจ้าวิเทหราชทอดพระเนตร เห็นความที่แพะและสุนัขทั้งสองนั้นชอบกันโดยเป็นเพื่อน. จึงทรงจินตนาการว่า เหตุการณ์ที่เรายังไม่เคยเห็น เราได้เห็นแล้วในวันนี้. แต่ก่อนมาสัตว์ทั้งสองนี้เป็ นศัตรูกัน. บัดนี้ อยู่ร่วมกันได้ เราจักจับเหตุการณ์นี้ ทาเป็นปัญหาถามบัณฑิตทั้งหลาย. บัณฑิตใดไม่รู้ปัญหานี้ เราจักขับบัณฑิตนั้นจากแคว้น. แต่เราจักสักการะแก่บัณฑิตผู้รู้ เพราะบัณฑิตอื่นรู้อย่างนี้ไม่มี. วันนี้หมดเวลาแล้ว พรุ่งนี้เราจักถามบัณฑิตเหล่านั้น ในเวลามาทาการในหน้าที่. รุ่งขึ้น ในเมื่อบัณฑิตทั้งหลายมานั่งทาการในหน้าที่ของตนแล้ว. เมื่อจะถามปัญหา จึงตรัสคาถานี้ว่า
  • 4. 4 ความที่สัตว์เหล่าใดเป็นเพื่อนกันในโลกนี้ แม้ไปด้วยกันสัก ๗ ก้าว ไม่เคยมีในกาลไหนๆ. สัตว์ทั้งสองนั้นเป็ นศัตรูกัน มาเป็นเพื่อนประพฤติเพื่อคุ้นกันได้ เพราะเหตุอะไร. ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ตรัสอย่างนี้อีกว่า ถ้าเวลากินอาหารเช้าแล้ววันนี้ ท่านทั้งหลายไม่สามารถกล่าวแก้ปัญหานี้ของเรา. เราจักขับท่านทั้งปวงจากแว่นแคว้น เพราะเราไม่ต้องการพวกคนเขลา. เสนกะนั่งอยู่ต้นอาสนะ มโหสถบัณฑิตนั่งอยู่ที่สุดอาสนะ. พระมหาสัตว์พิจารณาปัญหานั้น ยังไม่เห็นเนื้อความ. จึงคิดว่า พระราชาองค์นี้มีพระชวนะเฉื่อยช้า ไม่สามารถจะทรงจับคิดปัญหานี้. พระองค์คงจักทอดพระเนตรเห็นอะไรแน่. วันหนึ่ง เมื่อเราได้โอกาสจักนาปัญหานี้ออกแสดง อาจารย์เสนกะจักยังพระราชาให้งดสักวันหนึ่งในวันนี้ ด้วยอุบายอย่างหนึ่งจะได้หรือ. ชนทั้งสามนอกนี้ แลไม่เห็นอะไรๆ เหมือนเข้าห้องมืด ฉะนั้น. เสนกะแลดูพระโพธิสัตว์ ด้วยมนสิการว่า ความเป็นไปของมโหสถจะเป็นอย่างไรหนอ. ฝ่ายมโหสถก็แลดูเสนกะ เสนกะรู้ความประสงค์ของพระโพธิสัตว์ ด้วยอาการที่พระโพธิสัตว์แลดู. จึงคิดว่า ปัญหานั้นยังไม่ปรากฏแก่มโหสถ. เพราะเหตุนั้น มโหสถจึงปรารถนาโอกาสวันหนึ่ง เราจักยังมโนรถของมโหสถให้เต็ม. จึงสรวลขึ้นด้วยวิสาสะกับพระราชา. ทูลว่า พระองค์จักขับข้าพระบาทเหล่านี้ ผู้ไม่สามารถกล่าวแก้ปัญหาจากแคว้นจริงๆ หรือ พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสตอบว่า จริงๆ ซิบัณฑิต. เสนกะจึงทูลว่า พระองค์ทรงกาหนดปัญหานี้ว่า ปัญหามีเงื่อนเดียวหรือ. ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่สามารถจะกล่าวแก้ปัญหานี้ในวันนี้. ขอได้ทรงงดหน่อยหนึ่ง ปัญหานี้มีเงื่อน. ข้าพระองค์ทั้งหลายจักกล่าวแก้ ในท่ามกลางประชุมชน. จะต้องนั่งคิดในที่หนึ่ง ภายหลังจักทูลแก้แด่พระองค์. ขอได้โปรดพระราชทานโอกาสแก่พวกข้าพระองค์. เสนกะกล่าวดังนี้แลดูมโหสถ. แล้วกล่าว ๒ คาถานี้ว่า ข้าแต่พระจอมประชากร ในเมื่อสมาคมแห่งหมู่ชนอึกทึก ในเมื่อชุมนุมแห่งชนโกลาหล. ข้าพระองค์ทั้งหลายมีใจฟุ้ งซ่าน มีจิตไม่แน่วอยู่ที่เดียว. จึงไม่สามารถจะพยากรณ์ปัญหานั้น. นักปราชญ์ทั้งหลายมีจิตมีอารมณ์เดียว คนๆหนึ่งอยู่ในที่ลับ คิดเนื้อความทั้งหลาย พิจารณาอยู่ในสถานที่เงียบ ภายหลังจักกราบทูลแก้เนื้อความนั้น. พระราชาทรงสดับคาของเสนกะก็ดีพระหฤทัย ตรัสคุกคามดังนี้ว่า
  • 5. 5 ดีแล้ว ท่านทั้งหลายจงคิด เมื่อแก้ไม่ได้จักให้ขับเสีย. บัณฑิตทั้ง ๔ ลงจากพระราชนิเวศน์. เสนกะจึงกล่าวกะบัณฑิตนอกนี้ว่า พระราชาตรัสถามปัญหาสุขุม. เมื่อพวกเราแก้ไม่ได้ ภัยใหญ่จักเกิดขึ้น. เหตุนั้น ท่านทั้งหลายบริโภค สบายแล้วจงพิจารณาปัญหานั้นโดยชอบ. ต่างคนไปเรือนของตนๆ. ฝ่ายมโหสถลุกไปสู่สานักพระราชเทวีอุทุมพร ทูลถามว่า ข้าแต่พระเทวีเจ้า วันนี้หรือวานนี้ พระราชาประทับอยู่ในที่ไหนนาน. พระนางอุทุมพรรับสั่งว่า เมื่อวานนี้. พระราชาเสด็จไปมา ทอดพระเนตรที่พระแกล ณ ภายในพื้นยาว. แต่นั้น พระโพธิสัตว์จึงคิดว่า พระราชาจักได้ทอดพระเนตรเห็นเหตุอะไรๆ โดยข้างนี้. จึงไปในที่นั้นแลดูภายนอก ได้เห็นกิริยาแห่งแพะและสุนัข. ก็ทาความเข้าใจว่า พระราชาทอดพระเนตรเห็นสัตว์ทั้งสองนี้ จึงทรงประพันธ์ปัญหา. จับเค้าได้ฉะนี้ แล้วก็กลับไปเคหสถาน. ฝ่ายบัณฑิตทั้งสามคิดแล้ว ไม่เห็นอะไรจึงไปหาเสนกะ. เสนกะเห็นบัณฑิตทั้งสามนั้น จึงถามว่า ท่านเห็นปัญหาแล้วหรือ. ครั้นได้รับตอบว่ายังไม่เห็น. จึงกล่าวว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น พระราชาจักขับท่านทั้งหลายจากแว่นแคว้น ท่านทั้งหลายจักทาอย่างไร. ครั้นบัณฑิตทั้งสามย้อนถามว่า ก็ท่านเห็นหรือ. ก็ตอบว่า แม้เราก็ยังไม่เห็น. ครั้นบัณฑิตทั้งสามกล่าวว่า เมื่ออาจารย์ไม่เห็น ข้าพเจ้าทั้งหลายจะเห็นอะไร. ก็เมื่อวานนี้ เราทั้งหลายบันลือสีหนาทในราชสานักว่า จักคิดแก้ แล้วมาบ้าน. บัดนี้ พระราชาจักกริ้วพวกเราผู้แก้ไม่ได้ พวกเราจักทาอย่างไร. จึงกล่าวว่า ปัญหานี้อันเราทั้งหลายไม่อาจเห็น. มโหสถจักคิดได้ตั้งหลายร้อยนัย. เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงมาไปสานักมโหสถด้วยกันกับเรา. บัณฑิตทั้งสี่ไปสู่ประตูเคหสถานแห่งมโหสถ. ให้แจ้งความที่ตนมาแล้วเข้าไปสู่เรือน ปราศรัยกันแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง. แล้วถามมโหสถว่า บัณฑิต ท่านคิดปัญหาได้แล้วหรือ. พระโพธิสัตว์ตอบว่า ในเมื่อข้าพเจ้าคิดไม่ได้ คนอื่นใครจักคิดได้. เออ ปัญหานั้นข้าพเจ้าคิดได้แล้ว. ครั้นเมื่อบัณฑิตทั้งสี่กล่าวว่า ถ้ากระนั้น ท่านจงบอกแก่ข้าพเจ้าบ้าง. มโหสถจึงดาริว่า ถ้าเราจักไม่บอกแก่บัณฑิตทั้งสี่นี้ พระราชาจักกริ้วบัณฑิตทั้งสี่ ขับเสียจากแคว้น. พระราชทานรัตนะ ๗ แก่เรา. คนเขลาเหล่านี้อย่าได้ฉิบหายเสียเลย. เราจักบอกแก่พวกนี้ ดาริฉะนี้ แล้วให้บัณฑิตทั้งสี่นั่ง ณ อาสน์ต่า. แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงพยากรณ์อย่างนี้ ในกาล เมื่อพระราชาตรัสถาม. แล้วให้บัณฑิตทั้งสี่ เรียนบาลีประพันธ์เป็นคาถา ๔ คาถา. แล้วส่งให้กลับไป. ในวันที่ ๒ บัณฑิตเหล่านั้นไปสู่ราชุปัฏฐาน นั่ง ณ อาสน์ที่ลาดไว้. พระราชาตรัสถามเสนกะว่า ท่านรู้ปัญหาแล้วหรือ. เสนกะจึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เมื่อข้าพระองค์ไม่รู้ คนอื่นใครเล่าจักรู้.
  • 6. 6 ครั้นรับสั่งให้กล่าว จึงกล่าวคาถา โดยทานองที่เรียนมาทีเดียวว่า เนื้อแพะเป็นที่รักที่เจริญใจแห่งบุตรอมาตย์ และพระราชโอรส. ชนเหล่านั้นไม่บริโภคเนื้อสุนัข. ครั้งนี้ มิตรธรรมแห่งแพะนั้นกับด้วยสุนัข มีต่อกัน. แม้กล่าวคาถาแล้ว เสนกะก็หารู้เนื้อความไม่. ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราชทรงทราบความ เพราะปรากฏแก่พระองค์. เพราะฉะนั้น จึงตรัสถามปุกกุสะต่อไป ด้วยเข้าพระหฤทัยว่า เสนกะรู้แล้ว. ฝ่ายปุกกุสะจึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์ไม่ใช่บัณฑิตหรือ. แล้วกล่าวคาถาโดยทานองที่เรียนมาทีเดียวว่า ชนทั้งหลายใช้หนังแพะเป็นเครื่องลาดหลังม้าเป็ นเหตุแห่งความสุข. ไม่ใช่หนังสุนัขเป็ นเครื่องลาดหลังม้า. ครั้งนี้ มิตรธรรมแห่งแพะนั้นกับด้วยสุนัข มีต่อกัน. เนื้อความไม่ปรากฏแม้แก่ปุกกุสะ. ฝ่ายพระราชาเข้าพระหฤทัยว่า ปุกกุสะนี้รู้เนื้อความ เพราะปรากฏแก่พระองค์ จึงตรัสถามกามินทะต่อไป. กามินทะจึงกล่าวคาถาโดยทานองที่เรียนมาทีเดียวว่า แพะมีเขาอันโค้งแท้จริง แต่เขาทั้งหลายแห่งสุนัขไม่มีเลย แพะกินหญ้า สุนัขกินเนื้อ. ครั้งนี้ มิตรธรรมแห่งแพะนั้นกับด้วยสุนัข มีต่อกัน. เนื้อความไม่ปรากฏแม้แก่กามินทะ. พระราชาเข้าพระหฤทัยว่า แม้กามินทะนี้ก็รู้เนื้อความแล้ว. จึงตรัสถามเทวินทะต่อไป. เทวินทะก็กล่าวคาถาโดยทานองที่เรียนมาทีเดียวว่า แพะกินหญ้า กินใบไม้ สุนัขไม่กินหญ้า ไม่กินใบไม้. สุนัขจับกระต่ายหรือแมวกิน. ครั้งนี้ มิตรธรรมแห่งแพะนั้นกับด้วยสุนัข มีต่อกัน. เนื้อความไม่ปรากฏแม้แก่เทวินทะ. ลาดับนั้น พระราชาเข้าพระหฤทัยว่า แม้เทวินทะนี้ก็รู้ เพราะปรากฏแก่พระองค์. จึงตรัสถามมโหสถว่า ดูก่อนพ่อมโหสถ แม้ตัวเจ้ารู้ปัญหานี้หรือ. มโหสถโพธิสัตว์ทูลสนองว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ตั้งแต่อเวจีจนถึงภวัคคพรหม ยกข้าพระองค์เสีย คนอื่นใครจะรู้ปัญหานี้. ครั้นตรัสให้กล่าว จึงกราบทูลว่า ขอพระองค์ทรงฟัง เมื่อจะประกาศความที่กิจนั้นปรากฏแก่ตน จึงกล่าว ๒ คาถานี้ว่า แพะมีเท้ากึ่ง ๘ แห่งเท้า๔ (มี ๔ เท้า) มีกีบ ๘. มีกายไม่ปรากฏ สุนัขนี้นาหญ้ามาเพื่อแพะนี้ แพะนี้นาเนื้อมาเพื่อสุนัขนั้น. พระชนินทรสมมติเทพผู้ประเสริฐกว่าชาววิเทหรัฐประทับอยู่ ณ ปราสาทอันประเสริฐ ได้ทอดพระเนตรเห็น การนาอาหารมาแลกกันกินโดยประจักษ์ และได้ทอดพระเนตร
  • 7. 7 เห็นมิตรธรรมแห่งสุนัขและแพะเอง. พระราชา เมื่อไม่ทรงทราบความที่ อาจารย์เหล่านั้นรู้ปัญหาเพราะอาศัยพระโพธิสัตว์. ทรงสาคัญว่า บัณฑิตทั้ง ๕ รู้ด้วยปัญญาของตน. ก็ทรงโสมนัส ตรัสคาถานี้ว่า ลาภของเราไม่น้อยเลยที่มีบัณฑิตเช่นนี้อยู่ในราชสกุล เพราะว่า บัณฑิตทั้งหลายแทงตลอด เนื้อความของปัญหาอันลึกละเอียดด้วยเป็นสุภาษิต. ลาดับนั้น พระราชาทรงดาริว่า เราควรทาอาการยินดีแก่บัณฑิตเหล่านั้นด้วยความยินดี. เมื่อจะทรงทาความยินดีนั้นให้เป็ นแจ้ง จึงตรัสคาถาว่า เรามีความพอใจยิ่ง ด้วยปัญหาที่กล่าวไพเราะ. ให้รถเทียมม้าอัสดรรถหนึ่งๆ และบ้านส่วยอันเจริญบ้านหนึ่งๆ แก่ท่านทั้งปวงผู้เป็ นบัณฑิต. ครั้นตรัสฉะนี้ แล้วได้พระราชทานสิ่งทั้งปวงนั้น. จบ ปัญหาแพะในทวาทสนิบาต