SlideShare a Scribd company logo
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
จังหวัดชลบุรี
เสนอ
สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร
โดย
ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคตะวันออก
มหาวิทยาลัยบูรพา
มีนาคม 2553
i
บทคัดย่อ
เรื่อง ข้อมูลเชิงพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตรจากภาพถ่ายออร์โธสี
มาตราส่วน 1:4,000 จังหวัดชลบุรี
หน่วยงาน ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออก
มหาวิทยาลัยบูรพา
คาสาคัญ ข้อมูลเชิงพื้นที่, การใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร, ภาพถ่ายออร์โธสี, ชลบุรี
สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูล เพื่อเป็นข้อมูลสาหรับการตัดสินใจและบริหารจัดการทรัพยากรของประเทศให้
เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี ในมาตราส่วน
1:4,000 ครอบคลุมทั้งประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความละเอียดสูง เหมาะสาหรับนาไปใช้ในการวางแผน
บริหารจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน
สานักงานเศรษฐกิจการเกษตรจึงได้มีหนังสือขอความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยบูรพา
ที่กษ.1301/1630 ลงวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2552 เพื่อดาเนินการเรื่องนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 มีรายละเอียดการจัดทาข้อมูลโดยการแปลและวิเคราะห์ข้อมูล
การใช้ประโยชน์ที่ดินจากแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี เพื่อจาแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้านการเกษตรเป็น
รายอาเภอของแต่ละจังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว
สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และจังหวัดตราด โดยแบ่งประเภทข้อมูลเนื้อที่ถือครอง
ทางการเกษตร และเนื้อที่ไม่ใช่ที่ถือครองทางการเกษตร ซึ่งอยู่ในรูปปิดในรูปแบบของ Shape File จาก
โครงการนาเข้าข้อมูลใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลงมาตราส่วน1:4,000 สามารถจาแนกประเภท
ข้อมูลเชิงพื้นที่ภาพถ่ายออร์โธสีในพื้นที่จังหวัดชลบุรี พบว่ามีเนื้อที่รวมทั้งหมด 2,726,875 ไร่
ประกอบด้วย เนื้อที่ถือครองทางการเกษตร ได้แก่ ที่นา ที่พืชไร่ ที่ไม้ผล/ไม้ยืนต้น ที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้า
(บ่อปลา/บ่อกุ้ง) และที่การเกษตรอื่นๆ จานวนรวม 1,671,222 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 61.3 ของเนื้อที่
จังหวัด โดยประเภทที่ไม้ผล/ไม้ยืนต้น มีเนื้อที่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 24.3 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด
รองลงมา คือ ที่พืชไร่ ที่การเกษตรอื่นๆ ที่นา และที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้า (บ่อปลา/บ่อกุ้ง) คิดเป็นร้อยละ
23.6, 6.2, 3.9 และ 3.3 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ตามลาดับ ส่วนเนื้อที่ไม่ใช่ถือครองทางการเกษตร ได้แก่
ที่ป่าไม้ ที่แหล่งน้า ที่รกร้างว่างเปล่า และที่นอกการเกษตร จานวนรวม 1,055,653 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ
38.7 ของเนื้อที่จังหวัด โดยประเภทที่นอกการเกษตร มีเนื้อที่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 22.0 ของพื้นที่ทั้ง
จังหวัด รองลงมาคือ ที่ป่าไม้ ที่รกร้างว่างเปล่า และที่แหล่งน้า คิดเป็นร้อยละ 9.7, 4.4 และ 2.6 ของพื้นที่
ทั้งจังหวัด ตามลาดับ
ii
ABSTRACT
Title Geospatial Data of Agricultural Landuse Based on Color Orthophotography 1:4000,
Chonburi Province
Institute Eastern region center of Space Technology and Geo-Informatics
Burapha University
Keyword Geospatial Data, Agricultural Landuse, Color Orthophotography, Chonburi
The importance duty of the Office of Agricultural Economics (OAE), Ministry of
Agriculture and Cooperatives (MOAC) is collecting agricultural data and keeping as the Geospatial
databases. Thai government could use all agricultural databases for decision making and management.
The color orthophotography scale1:4,000 which belonged to MOAC are very high resolution imageries
and covered the whole country. The geospatial data derived from color orthophotography will be very
highly efficiency and fruitful for the future planning and management of our country. On 12th
June
2009, OAE had provided the invitation letter No.MOAC130/1630 to Burapha University for academic
cooperation in the topic of Geospatial Data of Agricultural Landuse Based on Color Orthophotography
1:4,000. The main objectives were establish geospatial data of agricultural landuse in 9 provinces,there
were Nakhon Nayok, Prachin Buri, Sa Kaeo, Samut Prakan, Chachoengsao, Chonburi, Rayong,
Chanthaburi and Trat. All landuse data was interpreted, classified and analyzed in the level of district
categories in each province. Agricultural and non-agricultural landuse areas in shape file had been
classified. In the term of Chonburi province, the total area of this province was 2,726,875 rai. The
agricultural landuse areas, which consisted of rice (paddy field), upland crops, trees, aquacultures and
other agricultures areas were 1,671,222 rai or 61.3 % of provincial area. The areas of trees, upland
crops, other agricultures, paddy field and aquacultures showed as 24.3%, 23.6%, 6.2%, 3.9% and
3.3% of provincial area, respectively. The non-agricultural landuse areas, which consisted of forestry,
water bodies, idle lands and other non-agricultural areas were 1,055,653 rai or 38.7 % of provincial
area. The areas of other non-agriculture, forestry, idle land and water bodies showed as 22.0%, 9.7%,
4.4% and 2.6% of provincial area, respectively.
iii
คานา
โครงการนาเข้าข้อมูลใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 เป็นโครงการ
ความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา 8 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยบูรพา
มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยการแปลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจาแนกเนื้อที่การ
ใช้ประโยชน์ที่ดิน จากภาพถ่ายออร์โธสี ในมาตราส่วน 1:4,000 โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ
เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ที่แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินการเกษตรของประเทศที่มีความถูกต้อง
สามารถเรียกค้นและปรับแก้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนาข้อมูลเชิงพื้นที่ที่แสดงการใช้ประโยชน์
ที่ดินเพื่อการเกษตรมาเป็นกรอบพื้นที่ตัวอย่างในการสารวจข้อมูลการด้านเกษตร รวมทั้งเป็นข้อมูล
สนับสนุนเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การผลิต การจัดทาเขตเกษตรเศรษฐกิจ และการประเมินความเสียหาย
ด้านเศรษฐกิจจากภัยธรรมชาติ และเพื่อเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่สาหรับใช้ในการวางแผนและพัฒนาด้าน
การเกษตร
มหาวิทยาลัยบูรพา ได้มอบให้ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออก
เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดาเนินงานโดยมีรองศาสตราจารย์อัฌชาก.บัวเกษร เป็นหัวหน้าโครงการฯ และเป็น
ผู้รับผิดชอบการนาเข้าข้อมูลในพื้นที่9จังหวัดได้แก่ จังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา สระแก้ว สมุทรปราการ
ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และจังหวัดตราด โดยได้เริ่มดาเนินการตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2552 เป็น
ต้นมา ทั้งนี้ ศูนย์ภูมิภาคฯ ได้จัดทาแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินรายอาเภอและรายจังหวัด และข้อมูลเนื้อที่
ถือครองทางการเกษตรและการใช้ประโยชน์ที่ดินจากภาพถ่ายออร์โธสีเพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงสาหรับ
หน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป
iv
กิตติกรรมประกาศ
ข้าพเจ้า รองศาสตราจารย์อัฌชา ก.บัวเกษร หัวหน้าโครงการนาเข้าข้อมูลใช้ประโยชน์ที่ดิน
เชิงพื้นที่รายแปลงมาตราส่วน 1:4,000 ใคร่ขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ อุปถัมภ์ อธิการบดี
มหาวิทยาลัยบูรพา และนายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ ที่มอบให้ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออก เป็นหน่วยงาน
รับผิดชอบในการดาเนินงานโครงการนาเข้าข้อมูลใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลงมาตราส่วน
1:4,000 ในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี
ระยอง จันทบุรี และจังหวัดตราด พร้อมทั้งให้การสนับสนุนงบประมาณดาเนินการเป็นจานวนรวมทั้งสิ้น
2,300,000 บาท(สองล้านสามแสนบาทถ้วน) การดาเนินงานโครงการดังกล่าว ได้บรรลุผลสาเร็จตาม
วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กาหนดไว้ทุกประการโดยได้รับคาแนะนาและข้อเสนอแนะจาก ดร.สุพรรณ
กาญจนสุธรรม ผู้อานวยการศูนย์สารสนเทศการเกษตร สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ และจากการกากับดูแลการดาเนินงานโดยอาจารย์สุภาพร มานะจิตประเสริฐ และอาจารย์
ภูริต มีพร้อม พร้อมทั้งการช่วยเหลือของคณะทางานโครงการฯ ที่มหาวิทยาลัยบูรพาแต่งตั้งขึ้น
ในโอกาสนี้ ข้าพเจ้าจึงใคร่ขอบคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุน ข้าพเจ้าหวังว่าผลงานชิ้นนี้จะ
เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านการเกษตรของประเทศไทยต่อไป หากผลงานดังกล่าวมีข้อบกพร่อง
และผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าขอน้อมรับและจักได้ดาเนินการปรับปรุงแก้ไขต่อไป
(รองศาสตราจารย์อัฌชา ก.บัวเกษร)
หัวหน้าโครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
มหาวิทยาลัยบูรพา
มีนาคม2553
v
สารบัญ หน้า
บทคัดย่อ......................................................................................................................................i
Abstract......................................................................................................................................ii
คานา.............................................................................................................................................iii
กิตติกรรมประกาศ.......................................................................................................................iv
สารบัญ.........................................................................................................................................v
สารบัญตาราง...............................................................................................................................vii
สารบัญภาพ..................................................................................................................................viii
บทที่ 1 บทนา..............................................................................................................................1
1.1 หลักการและเหตุผล.................................................................................................1
1.2 วัตถุประสงค์............................................................................................................2
1.3 ขอบเขตการดาเนินงาน............................................................................................2
1.4 คาจากัดความ...........................................................................................................3
1.5 ประโยชน์ที่ได้รับ.....................................................................................................5
บทที่ 2 ข้อมูลทั่วไป.....................................................................................................................6
2.1 ที่ตั้งและการแบ่งเขตการปกครอง............................................................................6
2.2 ลักษณะภูมิประเทศ..................................................................................................8
2.3 ลักษณะภูมิอากาศ....................................................................................................8
2.4 ทรัพยากรธรรมชาติ.................................................................................................9
2.5 สภาพเศรษฐกิจและสังคม........................................................................................10
2.6 ข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน 1: 4,000.................................................11
บทที่ 3 วิธีการดาเนินงาน............................................................................................................12
3.1 วิธีการดาเนินงาน.....................................................................................................12
3.1.1 ขั้นเตรียมการ..................................................................................................12
3.1.2 การจาแนกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร...............................13
3.1.3 การวิเคราะห์ผลการจาแนกข้อมูล...................................................................16
3.1.4 การจัดทาMetadata และการจัดทารายงาน.....................................................18
vi
สารบัญ หน้า
3.2 ระยะเวลาการดาเนินงานและแผนปฏิบัติงาน...........................................................21
3.2.1 ระยะเวลาการดาเนินงาน.................................................................................21
3.2.2 แผนปฏิบัติงาน................................................................................................21
3.3 เครื่องมือและอุปกรณ์...............................................................................................22
บทที่ 4 ผลการดาเนินงาน...........................................................................................................23
4.1 ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร จาแนกเป็นระดับอาเภอ จังหวัด...........23
4.2 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน....................................................................................37
บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ................................................................................................46
5.1 สรุปผล.....................................................................................................................46
5.2 ข้อเสนอแนะ............................................................................................................46
บรรณานุกรม................................................................................................................................47
ภาคผนวก.....................................................................................................................................48
ภาคผนวก ก ตัวอย่างการจาแนกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินจากภาพถ่ายออร์โธสี.......48
ภาคผนวก ข Metadata ของข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน...................................................54
ภาคผนวก ค ประวัติคณะทางาน........................................................................................57
vii
สารบัญตาราง หน้า
ตารางที่ 3-1 หน้าที่และภาระงานของคณะทางานในการดาเนินงานโครงการฯ ..........................12
ตารางที่ 3-2 รายละเอียดข้อมูลอรรถาธิบาย (Attribute) ของชั้นข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน......15
ตารางที่ 3-3 ตัวอย่างของตารางคานวณความถูกต้อง...................................................................16
ตารางที่ 3-4 ตัวอย่างของการทดสอบความผิดพลาดประเภทต่างๆ..............................................17
ตารางที่ 3-5 แผนการดาเนินงาน..................................................................................................21
ตารางที่ 4-1 การใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื้อที่ถือครองทางการเกษตร ปี พ.ศ. 2545
ของจังหวัดชลบุรี.....................................................................................................32
ตารางที่ 4-2 การใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื้อที่ไม่ใช่ที่ถือครองทางการเกษตร ปี พ.ศ. 2545
ของจังหวัดชลบุรี.....................................................................................................33
viii
สารบัญภาพ หน้า
ภาพที่ 2-1 ตราประจาจังหวัดชลบุรี...........................................................................................6
ภาพที่ 2-2 อาณาเขตจังหวัดชลบุรี.............................................................................................7
ภาพที่ 4-1 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่) ของจังหวัดชลบุรี......25
ภาพที่ 4-2 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่)
ของอาเภอเมืองชลบุรี...............................................................................................26
ภาพที่ 4-3 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่)
ของอาเภอบางละมุง.................................................................................................26
ภาพที่ 4-4 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่) ของอาเภอบ้านบึง.....27
ภาพที่ 4-5 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่)
ของอาเภอพนัสนิคม................................................................................................27
ภาพที่ 4-6 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่) ของอาเภอพานทอง...28
ภาพที่ 4-7 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่) ของอาเภอศรีราชา.....28
ภาพที่ 4-8 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่) ของอาเภอสัตหีบ.......29
ภาพที่ 4-9 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่)
ของอาเภอหนองใหญ่..............................................................................................29
ภาพที่ 4-10 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่) ของอาเภอบ่อทอง.....30
ภาพที่ 4-11 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่) ของอาเภอเกาะสีชัง...30
ภาพที่ 4-12 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่)
ของอาเภอเกาะจันทร์...............................................................................................31
ภาพที่ 4-13 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน จังหวัดชลบุรี..............................................................34
ภาพที่ 4-14 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอเมืองชลบุรี.......................................................35
ภาพที่ 4-15 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอบางละมุง..........................................................36
ภาพที่ 4-16 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอบ้านบึง.............................................................37
ภาพที่ 4-17 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอพนัสนิคม.........................................................38
ภาพที่ 4-18 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอพานทอง...........................................................39
ภาพที่ 4-19 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอศรีราชา............................................................40
ภาพที่ 4-20 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอสัตหีบ..............................................................41
ภาพที่ 4-21 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอหนองใหญ่.......................................................42
ix
สารบัญภาพ หน้า
ภาพที่ 4-22 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอบ่อทอง.............................................................43
ภาพที่ 4-23 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอเกาะสีชัง...........................................................44
ภาพที่ 4-23 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอเกาะจันทร์........................................................45
บทที่ 1 : บทนา
โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
1
บทที่ 1
บทนา
1.1 หลักการและเหตุผล
ทรัพยากรที่ดิน เป็นปัจจัยพื้นฐานหลักที่สาคัญในการผลิตและการพัฒนาภาคการเกษตร
ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การใช้ประโยชน์ในหลายกิจกรรมไม่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่
ซึ่งทุกภาคส่วนได้คาดการณ์ถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งพยายามที่จะหาแนวทางแก้ไข
จะเห็นได้จากการที่ได้กาหนดบทบาทของรัฐไว้ในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ.2550 บัญญัติเกี่ยวกับนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาตรา 85 (1) กาหนด
หลักเกณฑ์การใช้ที่ดินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยให้คานึงถึงความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม
ทางธรรมชาติ ทั้งผืนดิน ผืนน้า วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นและการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่าง
มีประสิทธิภาพ และกาหนดมาตรฐานการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน โดยต้องให้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับ
ผลกระทบจากหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินนั้นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย และ (2) กระจายการถือครอง
ที่ดินอย่างเป็นธรรมและดาเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรม
อย่างทั่วถึงโดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่น รวมทั้งจัดหาแหล่งน้าเพื่อให้เกษตรกรมีน้าใช้อย่างพอเพียงและ
เหมาะสมแก่การเกษตร
สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ เกี่ยวกับการจัดเก็บ
ข้อมูลการเกษตรทุกชนิด จึงเห็นความจาเป็นในการสารวจสถานะของการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อเป็น
ข้อมูลสาหรับการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินของรัฐให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ประกอบกับกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์มีข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี ในมาตราส่วน 1:4,000 และ 1:25,000 ครอบคลุม
เกือบทั้งประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความละเอียด สาหรับนาไปใช้ในการวางแผนบริหารจัดการในเชิงพื้นที่
ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น การนาข้อมูลดังกล่าวมาจัดทาเป็นข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่ จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่
สามารถทาให้การบริหารจัดการทรัพยากรที่ดิน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการผลิตเกิดประสิทธิภาพ และ
ประโยชน์อย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยบูรพาโดยศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคตะวันออก ได้รับ
มอบหมายจากสานักงานเศรษฐกิจการเกษตร ให้จัดทาฐานข้อมูลเนื้อที่ถือครอง และการใช้ประโยชน์
ที่ดินทางการเกษตร ในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา สระแก้ว สมุทรปราการ
ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยองจันทบุรี และจังหวัดตราด โดยได้เริ่มดาเนินการตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2552
เป็นต้นมา ทั้งนี้ ศูนย์ภูมิภาคฯ ได้จัดทาแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินรายอาเภอและรายจังหวัด และข้อมูล
บทที่ 1 : บทนา
โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
2
เนื้อที่ถือครองทางการเกษตรและการใช้ประโยชน์ที่ดินจากภาพถ่ายออร์โธสี เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง
สาหรับหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป
1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ที่แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินการเกษตรของประเทศ
ปี พ.ศ. 2545 ที่มีความถูกต้อง สามารถเรียกค้นและปรับแก้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2.2 เพื่อนาข้อมูลเชิงพื้นที่ที่แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรมาเป็นกรอบพื้นที่
ตัวอย่างในการสารวจข้อมูลการด้านเกษตร รวมทั้งเป็นข้อมูลสนับสนุนเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การผลิต
การจัดทาเขตเกษตรเศรษฐกิจ และการประเมินความเสียหายด้านเศรษฐกิจจากภัยธรรมชาติ
1.2.3 เพื่อเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่สาหรับใช้ในการวางแผนและพัฒนาด้านการเกษตร
1.3 ขอบเขตการดาเนินงาน
1.3.1 จัดทาข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่จากแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลขมาตราส่วน
1:4,000 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นรายจังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด
นครนายก ฉะเชิงเทรา สระแก้ว สมุทรปราการ ปราจีนบุรีชลบุรี ระยอง จันทบุรี และจังหวัดตราด
1.3.2 แปลและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินจากแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน
1:4,000 เพื่อจาแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยแบ่งประเภทข้อมูลออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ ที่นา ที่พืช
ไร่ ที่ไม้ผล/ไม้ยืนต้น ที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้า (บ่อปลา/บ่อกุ้ง) ที่รกร้างว่างเปล่า ที่การเกษตรอื่นๆ ที่ป่าไม้
ที่แหล่งน้า ที่รกร้างว่างเปล่า และที่นอกการเกษตร โดยอ้างอิงตามคานิยามและรหัสสัญลักษณ์ที่
สานักงานเศรษฐกิจการเกษตรกาหนด
1.3.3 ข้อมูลที่ได้จากการแปลและวิเคราะห์ ต้องเป็นรูปปิดในรูปแบบของ Shape File พร้อม
ทั้งระบุประเภทของข้อมูลที่จาแนก และในแต่ละระวางทุกรูปปิดเชื่อมต่อกันได้อย่างสนิท
1.3.4 สามารถแสดงข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินที่จาแนกแล้วในแต่ละประเภท เป็น
รายอาเภอ รายจังหวัด รายสานักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต รายภาค และรายประเทศ ตามข้อมูลขอบเขต
ที่สานักงานเศรษฐกิจการเกษตรจัดหาให้ ซึ่งสามารถนาไปวิเคราะห์ร่วมกับชั้นข้อมูลอื่นๆ ได้ทันที
1.3.5 ขนาดของพื้นที่ที่ไม่ต้องจาแนกต้องมีขนาดน้อยกว่า1ตารางเซนติเมตรหรือ1ไร่ ใน
มาตราส่วน 1:4,000 ยกเว้นแหล่งน้าให้จาแนก หากสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน แม้ว่าจะมีเนื้อที่
น้อยกว่า 1 ไร่
1.3.6 ในการลากขอบเขต(Digitize)เพื่อจาแนกประเภทของข้อมูลลากขอบเขตตามแนวแบ่งเขต
แปลงเพาะปลูกที่เห็นได้อย่างชัดเจน หรือแนวเขตถนน หรือแนวเขตธรรมชาติ เช่น แม่น้า คลอง เป็นต้น
บทที่ 1 : บทนา
โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
3
1.3.7 ถนนสายหลัก ถนนสายรอง ถนนทางเข้าหมู่บ้านให้ถือเป็นพื้นที่อื่นๆ นอกภาค
การเกษตรแต่ถนนในแปลงให้รวมเข้าไปในการลากขอบเขตด้วย
1.3.8 จัดทาMetadata ของข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่ได้ทาการแปลและวิเคราะห์อย่าง
ถูกต้องสมบูรณ์ในระดับอาเภอ โดยมีรายการอย่างน้อย ได้แก่ ชื่อเรื่อง วันที่สร้าง ประเภทชื่อเรื่อง
คาสาคัญ ระบบอ้างอิง หน่วยงานที่สร้าง/รับผิดชอบข้อมูลหน่วยงานที่เผยแพร่ข้อมูล รูปแบบไฟล์ที่ใช้
ในการเผยแพร่ข้อมูล ชื่อ/ที่อยู่ของไฟล์ เป็นต้น
1.3.9 จัดทารายงานผลการดาเนินงานตามขอบเขตของงาน พร้อมทั้งไฟล์ข้อมูลการใช้
ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบShape File มาตราส่วน 1:4,000 และแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบ
ของไฟล์ (Digital File) และพิมพ์ (HardCopy) ตามที่สานักงานเศรษฐกิจการเกษตรกาหนด
1.4 คาจากัดความ
การใช้ประโยชน์ที่ดินจากภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน 1:4,000เพื่อจาแนกการใช้ประโยชน์
ที่ดินซึ่งจะพิจารณาจากลักษณะของการใช้ที่ดินเพื่อนาไปใช้ประโยชน์ในเนื้อที่ดินที่เกษตรกรถือครองและ
ที่สาธารณะโดยพิจารณาจากเจตนาการนาไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆรวมทั้งพิจารณาตามลักษณะการใช้
ประโยชน์ประจาของผืนที่ดินนั้นๆเป็นเกณฑ์โดยแบ่งประเภทข้อมูลออกเป็น 9ประเภทได้แก่ ที่นา
ที่พืชไร่ ที่ไม้ผล/ไม้ยืนต้น ที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้า (บ่อปลา/บ่อกุ้ง) ที่รกร้างว่างเปล่า ที่การเกษตรอื่นๆ
ที่ป่าไม้ ที่แหล่งน้า ที่รกร้างว่างเปล่า และที่นอกการเกษตร โดยอ้างอิงตามคานิยามและกาหนดให้จาแนก
รหัสสัญลักษณ์ตามประเภทของข้อมูลที่สานักงานเศรษฐกิจการเกษตรกาหนดดังนี้
1.4.1 รหัสRiได้แก่ที่นาหมายถึงที่ดินที่ใช้ในการเพาะปลูกข้าวและรวมบางส่วนที่อยู่ใน
ที่นา เช่น คันนา จอมปลวก ไม้พุ่ม และไม้ยืนต้นที่ปลูกกระจายอยู่ในที่นา เป็นต้น
1.4.2 รหัส Up ได้แก่ ที่พืชไร่ หมายถึง ที่ดินที่น้าไม่ท่วมขัง ส่วนใหญ่เป็นที่ดอนมักใช้ใน
การเพาะปลูกพืชไร่โดยให้รวมตั้งแต่พื้นที่ที่มีลักษณะเตรียมแปลงเพื่อปลูก แปลงที่ปลูก และแปลงที่
เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสาปะหลัง ฝ้าย ปอ ถั่วต่างๆ ข้าวไร่ เป็นต้น
1.4.3 รหัส Tr ได้แก่ ที่ไม้ผล/ไม้ยืนต้น หมายถึง ที่ดินที่ใช้ประโยชน์ดังต่อไปนี้
1) ที่ไม้ผล หมายถึง ที่ดินที่ใช้ในการปลูกไม้ผล เช่น ลาไยลิ้นจี่ ทุเรียน ส้ม เงาะ
มะพร้าว เป็นต้น โดยให้รวมเนื้อที่ร่องสวนเข้าไปด้วย (ถ้ามี)
2) ที่ไม้ยืนต้น หมายถึงที่ดินที่ใช้ในการปลูกไม้ยืนต้น เช่น ปาล์มน้ามัน ยางพารา หรือ
ที่ดินซึ่งมีต้นไม้ที่ปลูกเอง หรือขึ้นตามธรรมชาติและเป็นไม้ยืนต้นที่มีไว้ใช้ประโยชน์อื่น ๆ เช่น กันลม
เป็นเงาบังร่มให้กับพืชอื่นไว้ใช้ทาฟืน/เผาถ่าน เป็นต้น รวมถึงสวนป่าเศรษฐกิจที่ปลูกเอง เช่น สวนสัก
บทที่ 1 : บทนา
โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
4
กระถินเทพา สะเดาช้าง ยูคาลิปตัส เป็นต้น และยังรวมถึงสวนป่าที่ปลูกตามโครงการปลูกป่าของรัฐ หรือ
ป่าสงวนฯ ที่เกษตรกรเข้าไปถือครองด้วย
1.4.4 รหัส Aq ได้แก่ บ่อปลา /บ่อกุ้ง หมายถึง ที่เพาะเลี้ยงของสัตว์น้าใดๆ ที่จัดสร้างขึ้น
รวมทั้งโรงเรือนเพื่อการดังกล่าวด้วย ซึ่งอาจจะเป็นประมงน้าจืด หรือประมงน้ากร่อย หรือการเพาะเลี้ยง
ในทะเลก็ได้
1.4.5 รหัส Id ได้แก่ ที่รกร้างว่างเปล่า หมายถึง ที่ดินที่เคยใช้ประโยชน์มาก่อน แต่ปัจจุบัน
ปล่อยทิ้งรกร้างไม่ได้ทาประโยชน์ และหมายรวมถึง ที่ดินซึ่งใช้ประโยชน์เป็นที่เลี้ยงสัตว์ถาวร หรือที่ดิน
ประเภทอื่นๆ ซึ่งปล่อยทิ้งไว้จนเป็นลักษณะของทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์
1.4.6 รหัส Oa ได้แก่ พื้นที่การเกษตรอื่นๆ หมายถึง ที่ดินที่ที่มีการใช้ประโยชน์ในการเกษตร
นอกเหนือไปจากข้อ1.4.1-1.4.5 ได้แก่
1) ที่สวนผัก/ ไม้ดอกไม้ประดับ หมายถึง ที่ดินที่ใช้ในการปลูกพืชผัก เช่น พริก ผักชี
แตงกวา ผักกาด เป็นต้น โดยให้รวมเนื้อที่ร่องสวนเข้าไปด้วย (ถ้ามี) และที่ดินที่ใช้ในการปลูกไม้ดอก/
ไม้ประดับ เช่นกุหลาบ กล้วยไม้ จาปี มะลิ เป็นต้น โดยให้รวมพื้นที่ร่องสวนเข้าไปด้วย
2) ที่เลี้ยงปศุสัตว์ หมายถึง ที่ดินที่จัดสร้างขึ้นเป็นโรงเรือนสาหรับเลี้ยงสัตว์บก เช่น
คอกวัว คอกควายโรงเรือนเลี้ยงไก่/ เป็ด/ สุกร เป็นต้น
3) ที่ทาฟาร์มผสมผสาน หมายถึง ที่ดินที่ใช้ประกอบกิจกรรมการผลิตทางการเกษตร
หลายๆชนิดในพื้นที่เดียวกัน เช่นการเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงไก่คร่อมบ่อเลี้ยงปลา เป็นต้น
4) บริเวณที่อยู่อาศัย หมายถึง ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งบ้านเรือนสาหรับพักอาศัย รวมถึง
โรงเรือน คอกสัตว์ ยุ้งฉาง ลานบ้าน
1.4.7 รหัส Fo ได้แก่ ป่าไม้ แบ่งการจาแนกตามรหัส ดังนี้
1) รหัส Foหมายถึง ป่าธรรมชาติ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีต้นไม้หลายชนิด ขนาดต่างๆ
ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและกว้างใหญ่พอที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น เช่น ความเปลี่ยนแปลง
ของลมฟ้าอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้า มีสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกัน
และกัน เช่น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าไผ่ธรรมชาติ ป่าแพะ/ ป่าแคระ ป่าบุ่ง ป่าทาม ป่าพรุน้าจืด
ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง เป็นต้น
2) รหัส Fo1 หมายถึง ป่าที่อยู่ริมแม่น้า ป่าชุมชน ป่าละเมาะ
3) รหัส Fo2 หมายถึง ป่าชายเลน
4) รหัส Fo3หมายถึง พื้นที่ไร่เลื่อนลอย หรือทุ่งหญ้าที่เกิดจากการแผ้วถางป่าโดย
สังเกตจากสภาพพื้นที่โดยรอบที่เป็นพื้นที่ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
บทที่ 1 : บทนา
โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
5
1.4.8 รหัส Wa ได้แก่ แหล่งน้า แบ่งการจาแนกตามรหัส ดังนี้
1) รหัส Wa หมายถึง แหล่งน้าที่อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือก่อสร้างขึ้นมาก็ได้
เช่น ห้วย บึง บ่อน้า หนองน้า สระน้าโดยเฉพาะ แม่น้า ลาคลอง ให้จาแนกโดยอ้างอิงตามที่ปรากฏเป็น
เส้นคู่บนแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1: 50,000
2) รหัส Wa1 หมายถึง คลองชลประทาน โดยให้รวมถึงพื้นที่ถนนและไม้ยืนต้น
ริมคลองด้วย
1.4.9 รหัส Ot ได้แก่ พื้นที่อื่นนอกการเกษตร หมายถึง ที่ดินที่ใช้ประโยชน์นอกการเกษตร
จาแนกตามรหัส ดังนี้
1) รหัส Ot หมายถึง ที่ดินที่ใช้ประโยชน์นอกการเกษตร เช่น หมู่บ้าน ตัวเมือง
สิ่งปลูกสร้างต่างๆ สนามกอล์ฟ สนามฟุตบอล โรงงานอุตสาหกรรม สถานที่ราชการ สถานศึกษา บ่อดิน
บ่อลูกรัง เป็นต้น
2) รหัสOt1หมายถึงถนนซึ่งจาแนกตามที่ปรากฏในแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน
1:4,000 โดยอ้างอิงกับการจาแนกประเภทถนนของกรมทางหลวงอย่างน้อยเป็นทางหลวงที่มีหมายเลข
3 หลักที่เชื่อมการเจรจาระหว่างจังหวัดต่อจังหวัด
1.5 ประโยชน์ที่ได้รับ
1.5.1 ได้ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ที่แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินการเกษตร ปี พ.ศ.2545 ใน
มาตราส่วน 1:4,000 ที่มีความถูกต้อง สามารถเรียกค้นและปรับแก้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.5.2 ได้แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินมาตราส่วน1:4,000เพื่อเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ใช้ในภารกิจ
ของสานักงานเศรษฐกิจการเกษตรเช่นการจัดทาเป็นกรอบพื้นที่ตัวอย่างในการสารวจข้อมูลด้าน
การเกษตร อีกทั้งยังเป็นข้อมูลสนับสนุนเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การผลิต การจัดทาเขตเกษตรเศรษฐกิจ
และการประเมินความเสียหายด้านเศรษฐกิจจากภัยธรรมชาติ
1.5.3 เพื่อเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่สาหรับใช้ในการวางแผนและพัฒนาด้านการเกษตร
บทที่ 2 : ข้อมูลทั่วไป
โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
6
บทที่ 2
ข้อมูลทั่วไป
2.1 ที่ตั้งและการแบ่งเขตการปกครอง
2.1.1 ตราประจาจังหวัด
เป็นรูปภูเขาอยู่ริมทะเลแสดงถึงสัญลักษณ์สาคัญ 2 ประการของจังหวัด คือทะเล
หมายถึง ความเป็นเมืองชายทะเลที่อุดมสมบูรณ์ และรูปภูเขาอยู่ริมทะเล หมายถึง เขาสามมุข อันเป็นที่ตั้ง
ของศาลเจ้าแม่สามมุขอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพของชาวชลบุรี ตลอดจนประชาชนทั่วไป
ภาพที่ 2-1 ตราประจาจังหวัดชลบุรี
ที่มา: www. Chonburi.go.th /
2.1.2 ที่ตั้ง
จังหวัดชลบุรีตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย อยู่ระหว่างละติจูดที่ 12 องศา 30
ลิปดาถึง13องศา 43ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 100องศา45 ลิปดาถึง101องศา45 ลิปดาตะวันออก
2.1.3 อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดระยอง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา จันทบุรี และจังหวัดระยอง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอ่าวไทย
บทที่ 2 : ข้อมูลทั่วไป
โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
7
ภาพที่ 2-2 อาณาเขตจังหวัดชลบุรี
ที่มา: ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา,2552
2.1.4 พื้นที่
จังหวัดชลบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 4,363 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,726,875 ไร่
2.1.5 หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น11อาเภอได้แก่ อาเภอเมืองชลบุรี บ้านบึงหนองใหญ่
บางละมุงพานทองพนัสนิคมศรีราชาเกาะสีชังสัตหีบบ่อทองและอาเภอเกาะจันทร์ 92ตาบล และ
687 หมู่บ้าน
บทที่ 2 : ข้อมูลทั่วไป
โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
8
2.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดชลบุรีมีการผสมผสานกันมากถึง 5 แบบ ทั้งที่ราบลูกคลื่นและ
เนินเขา ที่ราบชายฝั่งทะเล ที่ราบลุ่มแม่น้าพนัสนิคมพื้นที่สูงชันและภูเขา รวมถึงเกาะน้อยใหญ่อีก
มากมาย
ที่ราบลูกคลื่นและเนินเขาของชลบุรี พบได้ทางด้านตะวันออกของจังหวัด ในเขตอาเภอบ้าน
บึง พนัสนิคมหนองใหญ่ ศรีราชา บางละมุง สัตหีบ และอาเภอบ่อทอง พื้นที่นี้มีลักษณะสูงๆ ต่าๆ คล้าย
ลูกระนาด ปัจจุบันพื้นที่นี้ส่วนใหญ่ถูกใช้ไปในการปลูกมันสาปะหลัง สาหรับที่ราบชายฝั่งทะเลนั้น
พบตั้งแต่ปากแม่น้าพนัสนิคมถึงอาเภอสัตหีบ เป็นที่ราบแคบๆ ชายฝั่งทะเล มีภูเขาลูกเล็กๆ สลับเป็น
บางตอน ถัดมาคือพื้นที่ราบลุ่มแม่น้าพนัสนิคมมีลาน้าคลองหลวงยาว 130 กิโลเมตร ต้นน้าอยู่ที่อาเภอ
บ่อทองและอาเภอบ้านบึง ผ่านอาเภอพนัสนิคมไปบรรจบเป็นคลองพานทองไหลลงสู่แม่น้าพนัสนิคม
โดยดินตะกอนอันอุดมสมบูรณ์จากการพัดพาของแม่น้าพนัสนิคมนี้เองได้ก่อให้เกิดที่ราบลุ่มเหมาะสม
ต่อการเกษตรกรรม ส่วนพื้นที่สูงชันและภูเขานั้น อยู่ตอนกลางและด้านตะวันออกของจังหวัด ตั้งแต่
อาเภอเมือง บ้านบึง ศรีราชา หนองใหญ่ และอาเภอบ่อทอง ที่อาเภอศรีราชานั้นเป็นต้นน้าของอ่างเก็บน้า
บางพระ ซึ่งเป็นแหล่งน้าอุปโภคบริโภคหลักแห่งหนึ่งของชลบุรี
จังหวัดชลบุรีมีชายฝั่งทะเลยาวถึง 160 กิโลเมตร เว้าแหว่งคดโค้งสวยงาม เกิดเป็นหน้าผาหิน
หาดทรายทอดยาว ป่าชายเลน ป่าชายหาด เป็นต้น ซึ่งอ่าวหลายแห่งสามารถพัฒนาไปเป็นท่าจอดเรือ
กาบังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี อาทิ ท่าจอดเรือรบที่อาเภอสัตหีบ เป็นต้น สาหรับเกาะ สาคัญๆ มีอยู่ไม่น้อย
กว่า 46 เกาะเช่น เกาะสีชัง เกาะค้างคาว เกาะริ้น เกาะไผ่ เกาะลอย เกาะล้าน เกาะครก เกาะสาก เกาะขาม
เกาะแสมสาร และเกาะครามที่อยู่ในเขตทหารเรือของอาเภอสัตหีบ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และอนุบาลเต่า
ทะเลที่หายาก และใกล้สูญพันธุ์ของไทย เป็นต้น โดยเกาะเหล่านี้ทาหน้าที่เป็นปราการธรรมชาติ ช่วย
ป้องกันคลื่นลม ทาให้ชลบุรีไม่ค่อยมีคลื่นขนาดใหญ่ ต่างจากจังหวัดระยอง จันทบุรีและจังหวัดตราด ซึ่ง
มักมีคลื่นใหญ่กว่า ด้วยเหตุนี้เองชายฝั่งของชลบุรีจึงเต็มไปด้วยท่าจอดเรือประมง และเหมาะแก่การสร้าง
ท่าจอดเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่ ได้แก่ท่าเรือแหลมฉบัง
2.3 ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัดชลบุรีมีลักษณะอากาศแบบร้อนชื้นเขตศูนย์สูตร โดยได้รับอิทธิพลจากทั้งลมมรสุม
ตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม
ตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ส่งผลให้จังหวัดชลบุรีมีฤดูกาล
แตกต่างกันอย่างชัดเจน 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม มีอากาศค่อนข้าง
อบอ้าว แต่ไม่ถึงกับร้อนจัด ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม มีฝนตกกระจายทั่วไป โดยมักตก
หนักในเขตป่าและภูเขา ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศไม่หนาวจัด แต่เย็น
บทที่ 2 : ข้อมูลทั่วไป
โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
9
สบาย ท้องฟ้าสดใส ปลอดโปร่ง และมีแดดตลอดวัน นับเป็นช่วงเวลาซึ่งชายหาดจะคึกคักไปด้วย
นักท่องเที่ยว ส่วนภาคเกษตรในฤดูนี้เป็นเวลาที่ค่อนข้างแล้ง เพราะฝนทิ้งช่วงหลายเดือน
2.4 ทรัพยากรธรรมชาติ
2.4.1 ทรัพยากรน้า
ในปัจจุบัน จังหวัดชลบุรีต้องอาศัยแหล่งน้้าธรรมชาติและแหล่งน้้าที่สร้างขึ้นเพื่อให้
มีปริมาณน้้าเพียงพอต่อการใช้บริโภค อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม เพราะจังหวัดชลบุรีไม่มีแม่น้้าไหล
ผ่านและแหล่งน้้าธรรมชาติมีน้อย จ้านวนแหล่งน้้าในจังหวัดชลบุรีพอสรุปได้ดังนี้
1) แหล่งน้้าธรรมชาติบนผิวดิน ส่วนใหญ่จะอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดในเขต
อ้าเภอพนัสนิคมและอ้าเภอบ่อทอง ทางน้้าจะไหลขึ้นเหนือ เช่น คลองเชิด คลองใหญ่ และคลองหลวง ซึ่ง
จะไหลไปบรรจบกันเป็นคลองพานทอง และไหลไปทางตะวันตกรวมกับแม่น้้าพนัสนิคมในเขตจังหวัด
ฉะเชิงเทรา ก่อนไหลลงสู่อ่าวไทย ส้าหรับด้านตะวันตก มีทางน้้าสั้นๆ เล็กๆ ไหลลงสู่อ่าวไทย เช่น คลอง
บางพระ คลองบางละมุง คลองบางเสร่ ห้วยชากนอก และห้วยใหญ่ เป็นต้น ส่วนตอนกลางและตอนใต้
มีทางน้้าต่างๆ เช่น คลองกร่้า คลองระเวิง คลองปลวกแดง และคลองดอกกราย ไหลมารวมกันเป็น
คลองใหญ่ ก่อนไหลมาทางตอนใต้สู่อ่าวไทยที่อ้าเภอเมือง จังหวัดระยอง
2) แหล่งน้้าธรรมชาติใต้ดิน มีอยู่จ้ากัด เนื่องจากเป็นบริเวณที่รองรับด้วยหินแข็ง
ที่ไม่สามารถจะกักเก็บน้้าไว้เป็นปริมาณมาก น้้าบาดาลในจังหวัดชลบุรีส่วนใหญ่จะกร่อยหรือเค็ม
โดยเฉพาะเขตบริเวณอ้าเภอพานทอง อ้าเภอพนัสนิคม และพื้นที่ริมทะเล ตั้งแต่อ้าเภอเมืองชลบุรีถึงอ้าเภอ
บางละมุง ทั้งนี้ยกเว้นบางบริเวณที่มีชั้นทรายชายหาด ซึ่งจะมีน้้าบาดาลในระดับตื้นและมีคุณภาพจืดโดย
ทั่วๆ ไปน้้าบาดาลในจังหวัดชลบุรี จะมีปริมาณสารคลอไรด์ ฟลูออไรท์ และธาตุเหล็กสูงเกินกว่า
มาตรฐานน้้าดื่มมาก โดยมีปริมาณเหล็กเฉลี่ย 1-5มิลลิกรัม/ลิตร บางแห่งสูงถึง 10-30 มิลลิกรัม/ลิตร
ในขณะที่มาตรฐานน้้าบาดาลที่ใช้บริโภคได้ควรมีปริมาณเหล็ก ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม/ลิตร มีปริมาณ
สารคลอไรด์ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/ลิตร และปริมาณฟลูออไรด์ไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัม/ลิตร
3) แหล่งน้้าที่สร้างขึ้น เศรษฐกิจของจังหวัดชลบุรีขยายตัวอยู่ในอัตราสูง ท้าให้
ความต้องการน้้าดิบเพื่ออุตสาหกรรมการเกษตร และการบริโภคขยายตัวอย่างรวดเร็ว ดังนั้นปริมาณน้้า
ธรรมชาติจึงไม่เพียงพอกับความต้องการ ท้าให้จังหวัดจ้าเป็นต้องจัดสร้างแหล่งน้้าขึ้น ได้แก่ การสร้าง
อ่างเก็บน้้าเพื่อเก็บกักน้้าดิบจากน้้าฝน อ่างเก็บน้้าที่สร้างแล้วเสร็จที่ส้าคัญมีอยู่ทั้งหมด 12 อ่าง สามารถจุน้้า
ได้ 188.13 ล้านลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้้าที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ อ่างเก็บน้้าบางพระ อ้าเภอศรีราชา ซึ่ง
ครอบคลุมพื้นที่ชลประทาน 6,100 ไร่และสามารถกักเก็บน้้าได้ประมาณ 117 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้้าที่มีขนาดใหญ่รองลงมา ได้แก่ อ่างเก็บน้้าหนองค้อ ความจุ 21.40 ล้านลูกบาศก์เมตร
บทที่ 2 : ข้อมูลทั่วไป
โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
10
2.4.2 ทรัพยากรดิน
ลักษณะดินในจังหวัดชลบุรี สามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
1) กลุ่มดินนา มีอยู่ประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด พบมากที่
อ้าเภอพานทอง และพนัสนิคม
2) กลุ่มดินไร่ มีอยู่ประมาณร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด พบมากใน
ทุกอ้าเภอ ยกเว้นในอ้าเภอเมืองชลบุรี
3) กลุ่มดินตื้น มีอยู่ประมาณร้อยละ 5 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด พบมากใน
อ้าเภอบ่อทอง และอ้าเภอหนองใหญ่
4) กลุ่มดินทราย มีอยู่ประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด พบมาก
ในบริเวณใกล้ชายฝั่งทะเลตะวันออก ตั้งแต่เขตอ้าเภอเมืองชลบุรีตอนเหนือลงมาถึงเขตอ้าเภอสัตหีบทาง
ตอนใต้
5) พื้นที่ภูเขา มีอยู่ประมาณร้อยละ 15 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด พบมากที่
อ้าเภอสัตหีบ และอ้าเภอเมือง
2.4.3 ทรัพยากรแร่
เดิมจังหวัดชลบุรีเคยเป็นแหล่งผลิตแร่พลวงที่ส้าคัญของประเทศ แต่ในปัจจุบันจังหวัด
ชลบุรีมีผลผลิตจากทรัพยากรแร่เพียงไม่กี่ชนิด และแหล่งแร่โดยทั่วไปเป็นแหล่งแร่ขนาดเล็ก โดยแร่ที่
ส้ารวจพบในจังหวัดชลบุรีได้แก่ เหล็ก พลวง ทองค้าแบไรต์ ดีบุก และแมงกานีสเป็นต้น ในปัจจุบันมี
การท้าเหมืองแร่อยู่เพียง 2 ชนิด คือ
1) หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง แหล่งผลิตอยู่ที่ต้าบลหนองข้างคอก, ต้าบล
ห้วยกะปิ อ้าเภอเมืองชลบุรี และต้าบลบางเสร่ อ้าเภอสัตหีบ
2) หินแกรนิตเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง แหล่งผลิตอยู่ที่ต้าบลหนองข้างคอก
อ้าเภอเมืองชลบุรี ต้าบลคลองกิ่ว อ้าเภอบ้านบึง และต้าบลบางพระ อ้าเภอศรีราชา
2.5 สภาพเศรษฐกิจสังคม
ชลบุรีเมืองชายทะเลที่ได้รับการกล่าวขานมากที่สุดแห่งบูรพาทิศดินแดนชายทะเลอันมั่งคั่ง
แห่งนี้ ได้ผันผ่านกาลเวลามาเนิ่นนานจากการเป็นเมืองท่าค้าขายคึกคักในอดีตพัฒนามาสู่เมืองเกษตร
อุตสาหกรรมและท่องเที่ยวสิ่งนี้อาจสะท้อนคุณลักษณะสาคัญของคนเมืองชล ซึ่งมีความขยันและมองการ
ไกลกอปรกับทรัพย์ในดินสินในน้าต่างช่วยกันเอื้ออานวยให้การพัฒนาในด้านต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวก
ราบรื่นและต่อเนื่อง
บทที่ 2 : ข้อมูลทั่วไป
โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
11
ปัจจุบันชลบุรีมีประชากรประมาณ1,233,446 คนซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผู้โยกย้ายเข้ามาทางานใน
ภาคอุตสาหกรรมต่างๆที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องทว่าเมื่อพูดถึงผู้คนพื้นถิ่นจริงๆของชลบุรีแล้วจะพบว่าคน
ชลบุรีมีอาชีพผูกพันอยู่กับท้องทะเล นาไร่ ทาปศุสัตว์ และทาเหมืองแร่ โดยลักษณะนิสัยของคนเมืองชล
ดั้งเดิมได้ชื่อว่าเป็นคนจริงใช้ชีวิตเรียบง่ายประหยัดอดออมเอาการเอางานหนักเอาเบาสู้มีความเป็นมิตร
และพร้อมต้อนรับผู้มาเยือนเสมอ แม้ทุกวันนี้สภาพบ้านเมืองของชลบุรีจะเจริญรุดหน้าไปมากอีกทั้งมีผู้คน
ต่างถิ่นโยกย้ายเข้ามาอาศัยผสมกลมกลืนกับชนดั้งเดิมทว่าคนเมืองชลก็ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมและ
ประเพณีอันดีงามของตนเอาไว้อย่างเหนียวแน่นสะท้อนออกมาในรูปแบบงานเทศกาลประจาปีต่างๆ ไม่ว่า
จะเป็นงานบุญกลางบ้านและงานเครื่องจักสานพนัสนิคมงานประเพณีวันไหล(งานก่อพระทรายวันไหล)
ในช่วงหลังวันสงกรานต์ งานประเพณีกองข้าวอาเภอศรีราชางานประเพณีวิ่งควายอันคึกคักสนุกสาน
รวมถึงงานแห่พระพุทธสิหิงค์และงานกาชาดชลบุรี เป็นต้นเหล่านี้ล้วนแสดงให้ประจักษ์ถึงเอกลักษณ์
ความโดดเด่นของคนชลบุรีได้อย่างชัดเจน
คนเมืองชลในปัจจุบันนับถือศาสนาพุทธมากถึง 97เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์
อิสลามและอื่นๆโดยผสมผสานความเชื่อความศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์เข้าไว้ในศาสนาที่ตนนับถือด้วยเช่น
เมื่อถึงช่วงเทศกาลกินเจประมาณเดือนตุลาคมของทุกปีผู้คนที่ศรัทธาก็จะพากันนุ่งขาวห่มขาวงดการ
บริโภคเนื้อสัตว์ แล้วเดินทางไปร่วมสวดมนต์บาเพ็ญทานยังโรงเจต่างๆทั่วจังหวัดชลบุรีหรืออีกตัวอย่าง
หนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ คนเมืองชลมักเดินทางไปที่เขาสามมุข เพื่อสักการะและขอพรจากเจ้าแม่สามมุข
บริเวณเขาสามมุขซึ่งไม่ห่างจากหาดบางแสนและอ่างศิลา
2.6 ข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน 1: 4,000
ข้อมูลภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน 1:4,000 มีรายละเอียดของ 1 จุดภาพ เท่ากับ 0.5 X 0.5
ตารางเมตร แต่ละภาพครอบคลุมพื้นที่ 2 X 2 ตารางกิโลเมตร สาหรับจังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ทั้งหมด
2816.40 ตารางกิโลเมตร ดังนั้น จึงมีจานวนภาพถ่ายออร์โธสีทั้งหมด 1,133 ภาพ
บทที่ 3 : วิธีการดาเนินงาน
โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
12
บทที่ 3
วิธีการดาเนินงาน
3.1 วิธีการดาเนินงาน
การจัดทาโครงการนาเข้าข้อมูลใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 มี
รายละเอียดขั้นตอนในการดาเนินงานดังนี้
3.1.1 ขั้นเตรียมการ
3.1.1.1 จัดทาแผนการดาเนินงานในรายละเอียด และจัดทารายงานขั้นต้น (Inception
Report) เสนอต่อสานักงานเศรษฐกิจการเกษตร ภายในระยะเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญา
โดยรายงานที่จะจัดทาขึ้น ประกอบด้วยเนื้อหา คือ
- ขั้นตอนและวิธีการดาเนินงาน
- กรอบเนื้อหารายงาน
- แผนการดาเนินงาน
3.1.1.2 ตรวจสอบข้อมูล และคุณภาพของข้อมูลภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน 1:4,000
แยกตามรายจังหวัด และรายอาเภอ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัด
3.1.1.3 นาเข้าข้อมูลภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน 1:4,000 แยกตามรายจังหวัดและ
รายอาเภอ โดยใช้โปรแกรมทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
3.1.1.4 กาหนดหน้าที่และภาระงานของคณะทางาน ดังตารางที่ 3-1
ตารางที่ 3-1 หน้าที่และภาระงานของคณะทางานในการดาเนินงานโครงการฯ
ที่ รายละเอียดคณะทางาน การคิดภาระงาน
1 รศ.อัฌชา ก.บัวเกษร หัวหน้าโครงการ ทาหน้าที่ ควบคุม ดูแลและ
ประสานงานตลอดโครงการ
10%
2 อาจารย์ภูริต มีพร้อม นักวิจัยหลัก ทาหน้าที่ควบคุมการทางาน
ตรวจสอบความถูกต้อง และจัดทางานรายงาน ดังนี้
- -รายงานขั้นกลางส่วนที่ 1 จังหวัดนครนายก
- -รายงานขั้นกลางส่วนที่ 2 จังหวัดจันทบุรี และตราด
- -รายงานขั้นกลางส่วนที่ 3 จังหวัดชลบุรี และปราจีนบุรี
30%
บทที่ 3 : วิธีการดาเนินงาน
โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
13
ตารางที่ 3-1 หน้าที่และภาระงานของคณะทางานในการดาเนินงานโครงการฯ (ต่อ)
ที่ รายละเอียดคณะทางาน การคิดภาระงาน
3 อาจารย์สุภาพร มานะจิตประเสริฐ นักวิจัยหลัก ทาหน้าที่ควบคุม
การทางานตรวจสอบความถูกต้อง และจัดทางานรายงาน ดังนี้
- -รายงานขั้นกลางส่วนที่ 1 จังหวัดฉะเชิงเทรา
- -รายงานขั้นกลางส่วนที่ 2 จังหวัดสระแก้ว
- -รายงานขั้นกลางส่วนที่ 3 จังหวัดสมุทรปราการและระยอง
30%
4 นายกฤษณะ อิ่มสวาสดิ์ ผู้ช่วยนักวิจัย ทาหน้าที่ในการจัดทาข้อมูล
Metadata และแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบของไฟล์
(Digital File) และพิมพ์ (HardCopy) ตามที่สานักงานเศรษฐกิจ
การเกษตรกาหนด
15%
5 นายปรีชา บุญขาว ผู้ช่วยนักวิจัย ทาหน้าที่ในการจัดทาข้อมูล
Metadata และแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบของไฟล์
(Digital File) และพิมพ์ (HardCopy) ตามที่สานักงานเศรษฐกิจ
การเกษตรกาหนด
15%
3.1.2 การจาแนกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร
3.1.2.1 ทาการแปลและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินจากภาพถ่ายออร์โธสี
มาตราส่วน 1:4,000 เพื่อจาแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งจะพิจารณาจากลักษณะของการใช้ที่ดินเพื่อ
นาไปใช้ประโยชน์ในเนื้อที่ดินที่เกษตรกรถือครอง และที่สาธารณะโดยพิจารณาจากเจตนาการนาไปใช้
ประโยชน์ในด้านต่างๆ รวมทั้งพิจารณาตามลักษณะการใช้ประโยชน์ประจาของผืนที่ดินนั้นๆ เป็นเกณฑ์
โดยแบ่งประเภทข้อมูลออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ ที่นา ที่พืชไร่ ที่ไม้ผล/ไม้ยืนต้น ที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้า
(บ่อปลา/บ่อกุ้ง) ที่รกร้างว่างเปล่า ที่การเกษตรอื่นๆ ที่ป่าไม้ ที่แหล่งน้า ที่รกร้างว่างเปล่า และ
ที่นอกการเกษตร โดยอ้างอิงตามคานิยามและกาหนดให้จาแนกรหัสสัญลักษณ์ตามประเภทของข้อมูล
ที่สานักงานเศรษฐกิจการเกษตรกาหนด
3.1.2.2 หลักเกณฑ์ในการจาแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน พิจารณาจากข้อมูลที่ปรากฏ
เช่น สี (Tone/Color) ตาแหน่ง (Location) และรูปแบบ (Pattern) ต่างๆ การแปลภาพเพื่อจาแนกวัตถุได้ดี
และถูกต้อง ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพร้อมๆ กัน ตามความยากง่าย
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000

More Related Content

Featured

2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot
Marius Sescu
 
Everything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTEverything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPT
Expeed Software
 
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsProduct Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Pixeldarts
 
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
ThinkNow
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
marketingartwork
 
Skeleton Culture Code
Skeleton Culture CodeSkeleton Culture Code
Skeleton Culture Code
Skeleton Technologies
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
Neil Kimberley
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
contently
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
Albert Qian
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Kurio // The Social Media Age(ncy)
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Search Engine Journal
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
SpeakerHub
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
Tessa Mero
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Lily Ray
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
Rajiv Jayarajah, MAppComm, ACC
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
Christy Abraham Joy
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
Vit Horky
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
MindGenius
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
RachelPearson36
 

Featured (20)

2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot
 
Everything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTEverything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPT
 
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsProduct Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
 
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
 
Skeleton Culture Code
Skeleton Culture CodeSkeleton Culture Code
Skeleton Culture Code
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 

รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000

  • 2. i บทคัดย่อ เรื่อง ข้อมูลเชิงพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตรจากภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน 1:4,000 จังหวัดชลบุรี หน่วยงาน ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา คาสาคัญ ข้อมูลเชิงพื้นที่, การใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร, ภาพถ่ายออร์โธสี, ชลบุรี สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูล เพื่อเป็นข้อมูลสาหรับการตัดสินใจและบริหารจัดการทรัพยากรของประเทศให้ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี ในมาตราส่วน 1:4,000 ครอบคลุมทั้งประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความละเอียดสูง เหมาะสาหรับนาไปใช้ในการวางแผน บริหารจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน สานักงานเศรษฐกิจการเกษตรจึงได้มีหนังสือขอความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยบูรพา ที่กษ.1301/1630 ลงวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2552 เพื่อดาเนินการเรื่องนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน เชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 มีรายละเอียดการจัดทาข้อมูลโดยการแปลและวิเคราะห์ข้อมูล การใช้ประโยชน์ที่ดินจากแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี เพื่อจาแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้านการเกษตรเป็น รายอาเภอของแต่ละจังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และจังหวัดตราด โดยแบ่งประเภทข้อมูลเนื้อที่ถือครอง ทางการเกษตร และเนื้อที่ไม่ใช่ที่ถือครองทางการเกษตร ซึ่งอยู่ในรูปปิดในรูปแบบของ Shape File จาก โครงการนาเข้าข้อมูลใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลงมาตราส่วน1:4,000 สามารถจาแนกประเภท ข้อมูลเชิงพื้นที่ภาพถ่ายออร์โธสีในพื้นที่จังหวัดชลบุรี พบว่ามีเนื้อที่รวมทั้งหมด 2,726,875 ไร่ ประกอบด้วย เนื้อที่ถือครองทางการเกษตร ได้แก่ ที่นา ที่พืชไร่ ที่ไม้ผล/ไม้ยืนต้น ที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้า (บ่อปลา/บ่อกุ้ง) และที่การเกษตรอื่นๆ จานวนรวม 1,671,222 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 61.3 ของเนื้อที่ จังหวัด โดยประเภทที่ไม้ผล/ไม้ยืนต้น มีเนื้อที่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 24.3 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด รองลงมา คือ ที่พืชไร่ ที่การเกษตรอื่นๆ ที่นา และที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้า (บ่อปลา/บ่อกุ้ง) คิดเป็นร้อยละ 23.6, 6.2, 3.9 และ 3.3 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ตามลาดับ ส่วนเนื้อที่ไม่ใช่ถือครองทางการเกษตร ได้แก่ ที่ป่าไม้ ที่แหล่งน้า ที่รกร้างว่างเปล่า และที่นอกการเกษตร จานวนรวม 1,055,653 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 38.7 ของเนื้อที่จังหวัด โดยประเภทที่นอกการเกษตร มีเนื้อที่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 22.0 ของพื้นที่ทั้ง จังหวัด รองลงมาคือ ที่ป่าไม้ ที่รกร้างว่างเปล่า และที่แหล่งน้า คิดเป็นร้อยละ 9.7, 4.4 และ 2.6 ของพื้นที่ ทั้งจังหวัด ตามลาดับ
  • 3. ii ABSTRACT Title Geospatial Data of Agricultural Landuse Based on Color Orthophotography 1:4000, Chonburi Province Institute Eastern region center of Space Technology and Geo-Informatics Burapha University Keyword Geospatial Data, Agricultural Landuse, Color Orthophotography, Chonburi The importance duty of the Office of Agricultural Economics (OAE), Ministry of Agriculture and Cooperatives (MOAC) is collecting agricultural data and keeping as the Geospatial databases. Thai government could use all agricultural databases for decision making and management. The color orthophotography scale1:4,000 which belonged to MOAC are very high resolution imageries and covered the whole country. The geospatial data derived from color orthophotography will be very highly efficiency and fruitful for the future planning and management of our country. On 12th June 2009, OAE had provided the invitation letter No.MOAC130/1630 to Burapha University for academic cooperation in the topic of Geospatial Data of Agricultural Landuse Based on Color Orthophotography 1:4,000. The main objectives were establish geospatial data of agricultural landuse in 9 provinces,there were Nakhon Nayok, Prachin Buri, Sa Kaeo, Samut Prakan, Chachoengsao, Chonburi, Rayong, Chanthaburi and Trat. All landuse data was interpreted, classified and analyzed in the level of district categories in each province. Agricultural and non-agricultural landuse areas in shape file had been classified. In the term of Chonburi province, the total area of this province was 2,726,875 rai. The agricultural landuse areas, which consisted of rice (paddy field), upland crops, trees, aquacultures and other agricultures areas were 1,671,222 rai or 61.3 % of provincial area. The areas of trees, upland crops, other agricultures, paddy field and aquacultures showed as 24.3%, 23.6%, 6.2%, 3.9% and 3.3% of provincial area, respectively. The non-agricultural landuse areas, which consisted of forestry, water bodies, idle lands and other non-agricultural areas were 1,055,653 rai or 38.7 % of provincial area. The areas of other non-agriculture, forestry, idle land and water bodies showed as 22.0%, 9.7%, 4.4% and 2.6% of provincial area, respectively.
  • 4. iii คานา โครงการนาเข้าข้อมูลใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 เป็นโครงการ ความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา 8 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยการแปลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจาแนกเนื้อที่การ ใช้ประโยชน์ที่ดิน จากภาพถ่ายออร์โธสี ในมาตราส่วน 1:4,000 โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ที่แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินการเกษตรของประเทศที่มีความถูกต้อง สามารถเรียกค้นและปรับแก้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนาข้อมูลเชิงพื้นที่ที่แสดงการใช้ประโยชน์ ที่ดินเพื่อการเกษตรมาเป็นกรอบพื้นที่ตัวอย่างในการสารวจข้อมูลการด้านเกษตร รวมทั้งเป็นข้อมูล สนับสนุนเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การผลิต การจัดทาเขตเกษตรเศรษฐกิจ และการประเมินความเสียหาย ด้านเศรษฐกิจจากภัยธรรมชาติ และเพื่อเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่สาหรับใช้ในการวางแผนและพัฒนาด้าน การเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา ได้มอบให้ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออก เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดาเนินงานโดยมีรองศาสตราจารย์อัฌชาก.บัวเกษร เป็นหัวหน้าโครงการฯ และเป็น ผู้รับผิดชอบการนาเข้าข้อมูลในพื้นที่9จังหวัดได้แก่ จังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา สระแก้ว สมุทรปราการ ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และจังหวัดตราด โดยได้เริ่มดาเนินการตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2552 เป็น ต้นมา ทั้งนี้ ศูนย์ภูมิภาคฯ ได้จัดทาแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินรายอาเภอและรายจังหวัด และข้อมูลเนื้อที่ ถือครองทางการเกษตรและการใช้ประโยชน์ที่ดินจากภาพถ่ายออร์โธสีเพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงสาหรับ หน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป
  • 5. iv กิตติกรรมประกาศ ข้าพเจ้า รองศาสตราจารย์อัฌชา ก.บัวเกษร หัวหน้าโครงการนาเข้าข้อมูลใช้ประโยชน์ที่ดิน เชิงพื้นที่รายแปลงมาตราส่วน 1:4,000 ใคร่ขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ อุปถัมภ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา และนายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ที่มอบให้ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออก เป็นหน่วยงาน รับผิดชอบในการดาเนินงานโครงการนาเข้าข้อมูลใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลงมาตราส่วน 1:4,000 ในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และจังหวัดตราด พร้อมทั้งให้การสนับสนุนงบประมาณดาเนินการเป็นจานวนรวมทั้งสิ้น 2,300,000 บาท(สองล้านสามแสนบาทถ้วน) การดาเนินงานโครงการดังกล่าว ได้บรรลุผลสาเร็จตาม วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กาหนดไว้ทุกประการโดยได้รับคาแนะนาและข้อเสนอแนะจาก ดร.สุพรรณ กาญจนสุธรรม ผู้อานวยการศูนย์สารสนเทศการเกษตร สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ และจากการกากับดูแลการดาเนินงานโดยอาจารย์สุภาพร มานะจิตประเสริฐ และอาจารย์ ภูริต มีพร้อม พร้อมทั้งการช่วยเหลือของคณะทางานโครงการฯ ที่มหาวิทยาลัยบูรพาแต่งตั้งขึ้น ในโอกาสนี้ ข้าพเจ้าจึงใคร่ขอบคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุน ข้าพเจ้าหวังว่าผลงานชิ้นนี้จะ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านการเกษตรของประเทศไทยต่อไป หากผลงานดังกล่าวมีข้อบกพร่อง และผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าขอน้อมรับและจักได้ดาเนินการปรับปรุงแก้ไขต่อไป (รองศาสตราจารย์อัฌชา ก.บัวเกษร) หัวหน้าโครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน เชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 มหาวิทยาลัยบูรพา มีนาคม2553
  • 6. v สารบัญ หน้า บทคัดย่อ......................................................................................................................................i Abstract......................................................................................................................................ii คานา.............................................................................................................................................iii กิตติกรรมประกาศ.......................................................................................................................iv สารบัญ.........................................................................................................................................v สารบัญตาราง...............................................................................................................................vii สารบัญภาพ..................................................................................................................................viii บทที่ 1 บทนา..............................................................................................................................1 1.1 หลักการและเหตุผล.................................................................................................1 1.2 วัตถุประสงค์............................................................................................................2 1.3 ขอบเขตการดาเนินงาน............................................................................................2 1.4 คาจากัดความ...........................................................................................................3 1.5 ประโยชน์ที่ได้รับ.....................................................................................................5 บทที่ 2 ข้อมูลทั่วไป.....................................................................................................................6 2.1 ที่ตั้งและการแบ่งเขตการปกครอง............................................................................6 2.2 ลักษณะภูมิประเทศ..................................................................................................8 2.3 ลักษณะภูมิอากาศ....................................................................................................8 2.4 ทรัพยากรธรรมชาติ.................................................................................................9 2.5 สภาพเศรษฐกิจและสังคม........................................................................................10 2.6 ข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน 1: 4,000.................................................11 บทที่ 3 วิธีการดาเนินงาน............................................................................................................12 3.1 วิธีการดาเนินงาน.....................................................................................................12 3.1.1 ขั้นเตรียมการ..................................................................................................12 3.1.2 การจาแนกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร...............................13 3.1.3 การวิเคราะห์ผลการจาแนกข้อมูล...................................................................16 3.1.4 การจัดทาMetadata และการจัดทารายงาน.....................................................18
  • 7. vi สารบัญ หน้า 3.2 ระยะเวลาการดาเนินงานและแผนปฏิบัติงาน...........................................................21 3.2.1 ระยะเวลาการดาเนินงาน.................................................................................21 3.2.2 แผนปฏิบัติงาน................................................................................................21 3.3 เครื่องมือและอุปกรณ์...............................................................................................22 บทที่ 4 ผลการดาเนินงาน...........................................................................................................23 4.1 ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร จาแนกเป็นระดับอาเภอ จังหวัด...........23 4.2 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน....................................................................................37 บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ................................................................................................46 5.1 สรุปผล.....................................................................................................................46 5.2 ข้อเสนอแนะ............................................................................................................46 บรรณานุกรม................................................................................................................................47 ภาคผนวก.....................................................................................................................................48 ภาคผนวก ก ตัวอย่างการจาแนกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินจากภาพถ่ายออร์โธสี.......48 ภาคผนวก ข Metadata ของข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน...................................................54 ภาคผนวก ค ประวัติคณะทางาน........................................................................................57
  • 8. vii สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 3-1 หน้าที่และภาระงานของคณะทางานในการดาเนินงานโครงการฯ ..........................12 ตารางที่ 3-2 รายละเอียดข้อมูลอรรถาธิบาย (Attribute) ของชั้นข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน......15 ตารางที่ 3-3 ตัวอย่างของตารางคานวณความถูกต้อง...................................................................16 ตารางที่ 3-4 ตัวอย่างของการทดสอบความผิดพลาดประเภทต่างๆ..............................................17 ตารางที่ 3-5 แผนการดาเนินงาน..................................................................................................21 ตารางที่ 4-1 การใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื้อที่ถือครองทางการเกษตร ปี พ.ศ. 2545 ของจังหวัดชลบุรี.....................................................................................................32 ตารางที่ 4-2 การใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื้อที่ไม่ใช่ที่ถือครองทางการเกษตร ปี พ.ศ. 2545 ของจังหวัดชลบุรี.....................................................................................................33
  • 9. viii สารบัญภาพ หน้า ภาพที่ 2-1 ตราประจาจังหวัดชลบุรี...........................................................................................6 ภาพที่ 2-2 อาณาเขตจังหวัดชลบุรี.............................................................................................7 ภาพที่ 4-1 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่) ของจังหวัดชลบุรี......25 ภาพที่ 4-2 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่) ของอาเภอเมืองชลบุรี...............................................................................................26 ภาพที่ 4-3 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่) ของอาเภอบางละมุง.................................................................................................26 ภาพที่ 4-4 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่) ของอาเภอบ้านบึง.....27 ภาพที่ 4-5 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่) ของอาเภอพนัสนิคม................................................................................................27 ภาพที่ 4-6 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่) ของอาเภอพานทอง...28 ภาพที่ 4-7 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่) ของอาเภอศรีราชา.....28 ภาพที่ 4-8 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่) ของอาเภอสัตหีบ.......29 ภาพที่ 4-9 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่) ของอาเภอหนองใหญ่..............................................................................................29 ภาพที่ 4-10 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่) ของอาเภอบ่อทอง.....30 ภาพที่ 4-11 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่) ของอาเภอเกาะสีชัง...30 ภาพที่ 4-12 แผนภูมิแสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (หน่วยเป็นไร่) ของอาเภอเกาะจันทร์...............................................................................................31 ภาพที่ 4-13 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน จังหวัดชลบุรี..............................................................34 ภาพที่ 4-14 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอเมืองชลบุรี.......................................................35 ภาพที่ 4-15 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอบางละมุง..........................................................36 ภาพที่ 4-16 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอบ้านบึง.............................................................37 ภาพที่ 4-17 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอพนัสนิคม.........................................................38 ภาพที่ 4-18 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอพานทอง...........................................................39 ภาพที่ 4-19 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอศรีราชา............................................................40 ภาพที่ 4-20 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอสัตหีบ..............................................................41 ภาพที่ 4-21 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอหนองใหญ่.......................................................42
  • 10. ix สารบัญภาพ หน้า ภาพที่ 4-22 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอบ่อทอง.............................................................43 ภาพที่ 4-23 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอเกาะสีชัง...........................................................44 ภาพที่ 4-23 แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อาเภอเกาะจันทร์........................................................45
  • 11. บทที่ 1 : บทนา โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 1 บทที่ 1 บทนา 1.1 หลักการและเหตุผล ทรัพยากรที่ดิน เป็นปัจจัยพื้นฐานหลักที่สาคัญในการผลิตและการพัฒนาภาคการเกษตร ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การใช้ประโยชน์ในหลายกิจกรรมไม่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ ซึ่งทุกภาคส่วนได้คาดการณ์ถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งพยายามที่จะหาแนวทางแก้ไข จะเห็นได้จากการที่ได้กาหนดบทบาทของรัฐไว้ในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 บัญญัติเกี่ยวกับนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาตรา 85 (1) กาหนด หลักเกณฑ์การใช้ที่ดินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยให้คานึงถึงความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติ ทั้งผืนดิน ผืนน้า วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นและการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่าง มีประสิทธิภาพ และกาหนดมาตรฐานการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน โดยต้องให้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับ ผลกระทบจากหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินนั้นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย และ (2) กระจายการถือครอง ที่ดินอย่างเป็นธรรมและดาเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรม อย่างทั่วถึงโดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่น รวมทั้งจัดหาแหล่งน้าเพื่อให้เกษตรกรมีน้าใช้อย่างพอเพียงและ เหมาะสมแก่การเกษตร สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ เกี่ยวกับการจัดเก็บ ข้อมูลการเกษตรทุกชนิด จึงเห็นความจาเป็นในการสารวจสถานะของการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อเป็น ข้อมูลสาหรับการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินของรัฐให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ประกอบกับกระทรวง เกษตรและสหกรณ์มีข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี ในมาตราส่วน 1:4,000 และ 1:25,000 ครอบคลุม เกือบทั้งประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความละเอียด สาหรับนาไปใช้ในการวางแผนบริหารจัดการในเชิงพื้นที่ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น การนาข้อมูลดังกล่าวมาจัดทาเป็นข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่ จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ สามารถทาให้การบริหารจัดการทรัพยากรที่ดิน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการผลิตเกิดประสิทธิภาพ และ ประโยชน์อย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยบูรพาโดยศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคตะวันออก ได้รับ มอบหมายจากสานักงานเศรษฐกิจการเกษตร ให้จัดทาฐานข้อมูลเนื้อที่ถือครอง และการใช้ประโยชน์ ที่ดินทางการเกษตร ในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา สระแก้ว สมุทรปราการ ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยองจันทบุรี และจังหวัดตราด โดยได้เริ่มดาเนินการตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2552 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ศูนย์ภูมิภาคฯ ได้จัดทาแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินรายอาเภอและรายจังหวัด และข้อมูล
  • 12. บทที่ 1 : บทนา โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 2 เนื้อที่ถือครองทางการเกษตรและการใช้ประโยชน์ที่ดินจากภาพถ่ายออร์โธสี เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง สาหรับหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป 1.2 วัตถุประสงค์ 1.2.1 เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ที่แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินการเกษตรของประเทศ ปี พ.ศ. 2545 ที่มีความถูกต้อง สามารถเรียกค้นและปรับแก้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.2.2 เพื่อนาข้อมูลเชิงพื้นที่ที่แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรมาเป็นกรอบพื้นที่ ตัวอย่างในการสารวจข้อมูลการด้านเกษตร รวมทั้งเป็นข้อมูลสนับสนุนเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การผลิต การจัดทาเขตเกษตรเศรษฐกิจ และการประเมินความเสียหายด้านเศรษฐกิจจากภัยธรรมชาติ 1.2.3 เพื่อเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่สาหรับใช้ในการวางแผนและพัฒนาด้านการเกษตร 1.3 ขอบเขตการดาเนินงาน 1.3.1 จัดทาข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่จากแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลขมาตราส่วน 1:4,000 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นรายจังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด นครนายก ฉะเชิงเทรา สระแก้ว สมุทรปราการ ปราจีนบุรีชลบุรี ระยอง จันทบุรี และจังหวัดตราด 1.3.2 แปลและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินจากแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน 1:4,000 เพื่อจาแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยแบ่งประเภทข้อมูลออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ ที่นา ที่พืช ไร่ ที่ไม้ผล/ไม้ยืนต้น ที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้า (บ่อปลา/บ่อกุ้ง) ที่รกร้างว่างเปล่า ที่การเกษตรอื่นๆ ที่ป่าไม้ ที่แหล่งน้า ที่รกร้างว่างเปล่า และที่นอกการเกษตร โดยอ้างอิงตามคานิยามและรหัสสัญลักษณ์ที่ สานักงานเศรษฐกิจการเกษตรกาหนด 1.3.3 ข้อมูลที่ได้จากการแปลและวิเคราะห์ ต้องเป็นรูปปิดในรูปแบบของ Shape File พร้อม ทั้งระบุประเภทของข้อมูลที่จาแนก และในแต่ละระวางทุกรูปปิดเชื่อมต่อกันได้อย่างสนิท 1.3.4 สามารถแสดงข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินที่จาแนกแล้วในแต่ละประเภท เป็น รายอาเภอ รายจังหวัด รายสานักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต รายภาค และรายประเทศ ตามข้อมูลขอบเขต ที่สานักงานเศรษฐกิจการเกษตรจัดหาให้ ซึ่งสามารถนาไปวิเคราะห์ร่วมกับชั้นข้อมูลอื่นๆ ได้ทันที 1.3.5 ขนาดของพื้นที่ที่ไม่ต้องจาแนกต้องมีขนาดน้อยกว่า1ตารางเซนติเมตรหรือ1ไร่ ใน มาตราส่วน 1:4,000 ยกเว้นแหล่งน้าให้จาแนก หากสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน แม้ว่าจะมีเนื้อที่ น้อยกว่า 1 ไร่ 1.3.6 ในการลากขอบเขต(Digitize)เพื่อจาแนกประเภทของข้อมูลลากขอบเขตตามแนวแบ่งเขต แปลงเพาะปลูกที่เห็นได้อย่างชัดเจน หรือแนวเขตถนน หรือแนวเขตธรรมชาติ เช่น แม่น้า คลอง เป็นต้น
  • 13. บทที่ 1 : บทนา โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 3 1.3.7 ถนนสายหลัก ถนนสายรอง ถนนทางเข้าหมู่บ้านให้ถือเป็นพื้นที่อื่นๆ นอกภาค การเกษตรแต่ถนนในแปลงให้รวมเข้าไปในการลากขอบเขตด้วย 1.3.8 จัดทาMetadata ของข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่ได้ทาการแปลและวิเคราะห์อย่าง ถูกต้องสมบูรณ์ในระดับอาเภอ โดยมีรายการอย่างน้อย ได้แก่ ชื่อเรื่อง วันที่สร้าง ประเภทชื่อเรื่อง คาสาคัญ ระบบอ้างอิง หน่วยงานที่สร้าง/รับผิดชอบข้อมูลหน่วยงานที่เผยแพร่ข้อมูล รูปแบบไฟล์ที่ใช้ ในการเผยแพร่ข้อมูล ชื่อ/ที่อยู่ของไฟล์ เป็นต้น 1.3.9 จัดทารายงานผลการดาเนินงานตามขอบเขตของงาน พร้อมทั้งไฟล์ข้อมูลการใช้ ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบShape File มาตราส่วน 1:4,000 และแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบ ของไฟล์ (Digital File) และพิมพ์ (HardCopy) ตามที่สานักงานเศรษฐกิจการเกษตรกาหนด 1.4 คาจากัดความ การใช้ประโยชน์ที่ดินจากภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน 1:4,000เพื่อจาแนกการใช้ประโยชน์ ที่ดินซึ่งจะพิจารณาจากลักษณะของการใช้ที่ดินเพื่อนาไปใช้ประโยชน์ในเนื้อที่ดินที่เกษตรกรถือครองและ ที่สาธารณะโดยพิจารณาจากเจตนาการนาไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆรวมทั้งพิจารณาตามลักษณะการใช้ ประโยชน์ประจาของผืนที่ดินนั้นๆเป็นเกณฑ์โดยแบ่งประเภทข้อมูลออกเป็น 9ประเภทได้แก่ ที่นา ที่พืชไร่ ที่ไม้ผล/ไม้ยืนต้น ที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้า (บ่อปลา/บ่อกุ้ง) ที่รกร้างว่างเปล่า ที่การเกษตรอื่นๆ ที่ป่าไม้ ที่แหล่งน้า ที่รกร้างว่างเปล่า และที่นอกการเกษตร โดยอ้างอิงตามคานิยามและกาหนดให้จาแนก รหัสสัญลักษณ์ตามประเภทของข้อมูลที่สานักงานเศรษฐกิจการเกษตรกาหนดดังนี้ 1.4.1 รหัสRiได้แก่ที่นาหมายถึงที่ดินที่ใช้ในการเพาะปลูกข้าวและรวมบางส่วนที่อยู่ใน ที่นา เช่น คันนา จอมปลวก ไม้พุ่ม และไม้ยืนต้นที่ปลูกกระจายอยู่ในที่นา เป็นต้น 1.4.2 รหัส Up ได้แก่ ที่พืชไร่ หมายถึง ที่ดินที่น้าไม่ท่วมขัง ส่วนใหญ่เป็นที่ดอนมักใช้ใน การเพาะปลูกพืชไร่โดยให้รวมตั้งแต่พื้นที่ที่มีลักษณะเตรียมแปลงเพื่อปลูก แปลงที่ปลูก และแปลงที่ เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสาปะหลัง ฝ้าย ปอ ถั่วต่างๆ ข้าวไร่ เป็นต้น 1.4.3 รหัส Tr ได้แก่ ที่ไม้ผล/ไม้ยืนต้น หมายถึง ที่ดินที่ใช้ประโยชน์ดังต่อไปนี้ 1) ที่ไม้ผล หมายถึง ที่ดินที่ใช้ในการปลูกไม้ผล เช่น ลาไยลิ้นจี่ ทุเรียน ส้ม เงาะ มะพร้าว เป็นต้น โดยให้รวมเนื้อที่ร่องสวนเข้าไปด้วย (ถ้ามี) 2) ที่ไม้ยืนต้น หมายถึงที่ดินที่ใช้ในการปลูกไม้ยืนต้น เช่น ปาล์มน้ามัน ยางพารา หรือ ที่ดินซึ่งมีต้นไม้ที่ปลูกเอง หรือขึ้นตามธรรมชาติและเป็นไม้ยืนต้นที่มีไว้ใช้ประโยชน์อื่น ๆ เช่น กันลม เป็นเงาบังร่มให้กับพืชอื่นไว้ใช้ทาฟืน/เผาถ่าน เป็นต้น รวมถึงสวนป่าเศรษฐกิจที่ปลูกเอง เช่น สวนสัก
  • 14. บทที่ 1 : บทนา โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 4 กระถินเทพา สะเดาช้าง ยูคาลิปตัส เป็นต้น และยังรวมถึงสวนป่าที่ปลูกตามโครงการปลูกป่าของรัฐ หรือ ป่าสงวนฯ ที่เกษตรกรเข้าไปถือครองด้วย 1.4.4 รหัส Aq ได้แก่ บ่อปลา /บ่อกุ้ง หมายถึง ที่เพาะเลี้ยงของสัตว์น้าใดๆ ที่จัดสร้างขึ้น รวมทั้งโรงเรือนเพื่อการดังกล่าวด้วย ซึ่งอาจจะเป็นประมงน้าจืด หรือประมงน้ากร่อย หรือการเพาะเลี้ยง ในทะเลก็ได้ 1.4.5 รหัส Id ได้แก่ ที่รกร้างว่างเปล่า หมายถึง ที่ดินที่เคยใช้ประโยชน์มาก่อน แต่ปัจจุบัน ปล่อยทิ้งรกร้างไม่ได้ทาประโยชน์ และหมายรวมถึง ที่ดินซึ่งใช้ประโยชน์เป็นที่เลี้ยงสัตว์ถาวร หรือที่ดิน ประเภทอื่นๆ ซึ่งปล่อยทิ้งไว้จนเป็นลักษณะของทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ 1.4.6 รหัส Oa ได้แก่ พื้นที่การเกษตรอื่นๆ หมายถึง ที่ดินที่ที่มีการใช้ประโยชน์ในการเกษตร นอกเหนือไปจากข้อ1.4.1-1.4.5 ได้แก่ 1) ที่สวนผัก/ ไม้ดอกไม้ประดับ หมายถึง ที่ดินที่ใช้ในการปลูกพืชผัก เช่น พริก ผักชี แตงกวา ผักกาด เป็นต้น โดยให้รวมเนื้อที่ร่องสวนเข้าไปด้วย (ถ้ามี) และที่ดินที่ใช้ในการปลูกไม้ดอก/ ไม้ประดับ เช่นกุหลาบ กล้วยไม้ จาปี มะลิ เป็นต้น โดยให้รวมพื้นที่ร่องสวนเข้าไปด้วย 2) ที่เลี้ยงปศุสัตว์ หมายถึง ที่ดินที่จัดสร้างขึ้นเป็นโรงเรือนสาหรับเลี้ยงสัตว์บก เช่น คอกวัว คอกควายโรงเรือนเลี้ยงไก่/ เป็ด/ สุกร เป็นต้น 3) ที่ทาฟาร์มผสมผสาน หมายถึง ที่ดินที่ใช้ประกอบกิจกรรมการผลิตทางการเกษตร หลายๆชนิดในพื้นที่เดียวกัน เช่นการเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงไก่คร่อมบ่อเลี้ยงปลา เป็นต้น 4) บริเวณที่อยู่อาศัย หมายถึง ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งบ้านเรือนสาหรับพักอาศัย รวมถึง โรงเรือน คอกสัตว์ ยุ้งฉาง ลานบ้าน 1.4.7 รหัส Fo ได้แก่ ป่าไม้ แบ่งการจาแนกตามรหัส ดังนี้ 1) รหัส Foหมายถึง ป่าธรรมชาติ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีต้นไม้หลายชนิด ขนาดต่างๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและกว้างใหญ่พอที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น เช่น ความเปลี่ยนแปลง ของลมฟ้าอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้า มีสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกัน และกัน เช่น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าไผ่ธรรมชาติ ป่าแพะ/ ป่าแคระ ป่าบุ่ง ป่าทาม ป่าพรุน้าจืด ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง เป็นต้น 2) รหัส Fo1 หมายถึง ป่าที่อยู่ริมแม่น้า ป่าชุมชน ป่าละเมาะ 3) รหัส Fo2 หมายถึง ป่าชายเลน 4) รหัส Fo3หมายถึง พื้นที่ไร่เลื่อนลอย หรือทุ่งหญ้าที่เกิดจากการแผ้วถางป่าโดย สังเกตจากสภาพพื้นที่โดยรอบที่เป็นพื้นที่ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
  • 15. บทที่ 1 : บทนา โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 5 1.4.8 รหัส Wa ได้แก่ แหล่งน้า แบ่งการจาแนกตามรหัส ดังนี้ 1) รหัส Wa หมายถึง แหล่งน้าที่อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือก่อสร้างขึ้นมาก็ได้ เช่น ห้วย บึง บ่อน้า หนองน้า สระน้าโดยเฉพาะ แม่น้า ลาคลอง ให้จาแนกโดยอ้างอิงตามที่ปรากฏเป็น เส้นคู่บนแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1: 50,000 2) รหัส Wa1 หมายถึง คลองชลประทาน โดยให้รวมถึงพื้นที่ถนนและไม้ยืนต้น ริมคลองด้วย 1.4.9 รหัส Ot ได้แก่ พื้นที่อื่นนอกการเกษตร หมายถึง ที่ดินที่ใช้ประโยชน์นอกการเกษตร จาแนกตามรหัส ดังนี้ 1) รหัส Ot หมายถึง ที่ดินที่ใช้ประโยชน์นอกการเกษตร เช่น หมู่บ้าน ตัวเมือง สิ่งปลูกสร้างต่างๆ สนามกอล์ฟ สนามฟุตบอล โรงงานอุตสาหกรรม สถานที่ราชการ สถานศึกษา บ่อดิน บ่อลูกรัง เป็นต้น 2) รหัสOt1หมายถึงถนนซึ่งจาแนกตามที่ปรากฏในแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน 1:4,000 โดยอ้างอิงกับการจาแนกประเภทถนนของกรมทางหลวงอย่างน้อยเป็นทางหลวงที่มีหมายเลข 3 หลักที่เชื่อมการเจรจาระหว่างจังหวัดต่อจังหวัด 1.5 ประโยชน์ที่ได้รับ 1.5.1 ได้ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ที่แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินการเกษตร ปี พ.ศ.2545 ใน มาตราส่วน 1:4,000 ที่มีความถูกต้อง สามารถเรียกค้นและปรับแก้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.5.2 ได้แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินมาตราส่วน1:4,000เพื่อเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ใช้ในภารกิจ ของสานักงานเศรษฐกิจการเกษตรเช่นการจัดทาเป็นกรอบพื้นที่ตัวอย่างในการสารวจข้อมูลด้าน การเกษตร อีกทั้งยังเป็นข้อมูลสนับสนุนเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การผลิต การจัดทาเขตเกษตรเศรษฐกิจ และการประเมินความเสียหายด้านเศรษฐกิจจากภัยธรรมชาติ 1.5.3 เพื่อเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่สาหรับใช้ในการวางแผนและพัฒนาด้านการเกษตร
  • 16. บทที่ 2 : ข้อมูลทั่วไป โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 6 บทที่ 2 ข้อมูลทั่วไป 2.1 ที่ตั้งและการแบ่งเขตการปกครอง 2.1.1 ตราประจาจังหวัด เป็นรูปภูเขาอยู่ริมทะเลแสดงถึงสัญลักษณ์สาคัญ 2 ประการของจังหวัด คือทะเล หมายถึง ความเป็นเมืองชายทะเลที่อุดมสมบูรณ์ และรูปภูเขาอยู่ริมทะเล หมายถึง เขาสามมุข อันเป็นที่ตั้ง ของศาลเจ้าแม่สามมุขอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพของชาวชลบุรี ตลอดจนประชาชนทั่วไป ภาพที่ 2-1 ตราประจาจังหวัดชลบุรี ที่มา: www. Chonburi.go.th / 2.1.2 ที่ตั้ง จังหวัดชลบุรีตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย อยู่ระหว่างละติจูดที่ 12 องศา 30 ลิปดาถึง13องศา 43ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 100องศา45 ลิปดาถึง101องศา45 ลิปดาตะวันออก 2.1.3 อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดระยอง ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา จันทบุรี และจังหวัดระยอง ทิศตะวันตก ติดต่อกับอ่าวไทย
  • 17. บทที่ 2 : ข้อมูลทั่วไป โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 7 ภาพที่ 2-2 อาณาเขตจังหวัดชลบุรี ที่มา: ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา,2552 2.1.4 พื้นที่ จังหวัดชลบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 4,363 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,726,875 ไร่ 2.1.5 หน่วยการปกครอง การปกครองแบ่งออกเป็น11อาเภอได้แก่ อาเภอเมืองชลบุรี บ้านบึงหนองใหญ่ บางละมุงพานทองพนัสนิคมศรีราชาเกาะสีชังสัตหีบบ่อทองและอาเภอเกาะจันทร์ 92ตาบล และ 687 หมู่บ้าน
  • 18. บทที่ 2 : ข้อมูลทั่วไป โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 8 2.2 ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดชลบุรีมีการผสมผสานกันมากถึง 5 แบบ ทั้งที่ราบลูกคลื่นและ เนินเขา ที่ราบชายฝั่งทะเล ที่ราบลุ่มแม่น้าพนัสนิคมพื้นที่สูงชันและภูเขา รวมถึงเกาะน้อยใหญ่อีก มากมาย ที่ราบลูกคลื่นและเนินเขาของชลบุรี พบได้ทางด้านตะวันออกของจังหวัด ในเขตอาเภอบ้าน บึง พนัสนิคมหนองใหญ่ ศรีราชา บางละมุง สัตหีบ และอาเภอบ่อทอง พื้นที่นี้มีลักษณะสูงๆ ต่าๆ คล้าย ลูกระนาด ปัจจุบันพื้นที่นี้ส่วนใหญ่ถูกใช้ไปในการปลูกมันสาปะหลัง สาหรับที่ราบชายฝั่งทะเลนั้น พบตั้งแต่ปากแม่น้าพนัสนิคมถึงอาเภอสัตหีบ เป็นที่ราบแคบๆ ชายฝั่งทะเล มีภูเขาลูกเล็กๆ สลับเป็น บางตอน ถัดมาคือพื้นที่ราบลุ่มแม่น้าพนัสนิคมมีลาน้าคลองหลวงยาว 130 กิโลเมตร ต้นน้าอยู่ที่อาเภอ บ่อทองและอาเภอบ้านบึง ผ่านอาเภอพนัสนิคมไปบรรจบเป็นคลองพานทองไหลลงสู่แม่น้าพนัสนิคม โดยดินตะกอนอันอุดมสมบูรณ์จากการพัดพาของแม่น้าพนัสนิคมนี้เองได้ก่อให้เกิดที่ราบลุ่มเหมาะสม ต่อการเกษตรกรรม ส่วนพื้นที่สูงชันและภูเขานั้น อยู่ตอนกลางและด้านตะวันออกของจังหวัด ตั้งแต่ อาเภอเมือง บ้านบึง ศรีราชา หนองใหญ่ และอาเภอบ่อทอง ที่อาเภอศรีราชานั้นเป็นต้นน้าของอ่างเก็บน้า บางพระ ซึ่งเป็นแหล่งน้าอุปโภคบริโภคหลักแห่งหนึ่งของชลบุรี จังหวัดชลบุรีมีชายฝั่งทะเลยาวถึง 160 กิโลเมตร เว้าแหว่งคดโค้งสวยงาม เกิดเป็นหน้าผาหิน หาดทรายทอดยาว ป่าชายเลน ป่าชายหาด เป็นต้น ซึ่งอ่าวหลายแห่งสามารถพัฒนาไปเป็นท่าจอดเรือ กาบังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี อาทิ ท่าจอดเรือรบที่อาเภอสัตหีบ เป็นต้น สาหรับเกาะ สาคัญๆ มีอยู่ไม่น้อย กว่า 46 เกาะเช่น เกาะสีชัง เกาะค้างคาว เกาะริ้น เกาะไผ่ เกาะลอย เกาะล้าน เกาะครก เกาะสาก เกาะขาม เกาะแสมสาร และเกาะครามที่อยู่ในเขตทหารเรือของอาเภอสัตหีบ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และอนุบาลเต่า ทะเลที่หายาก และใกล้สูญพันธุ์ของไทย เป็นต้น โดยเกาะเหล่านี้ทาหน้าที่เป็นปราการธรรมชาติ ช่วย ป้องกันคลื่นลม ทาให้ชลบุรีไม่ค่อยมีคลื่นขนาดใหญ่ ต่างจากจังหวัดระยอง จันทบุรีและจังหวัดตราด ซึ่ง มักมีคลื่นใหญ่กว่า ด้วยเหตุนี้เองชายฝั่งของชลบุรีจึงเต็มไปด้วยท่าจอดเรือประมง และเหมาะแก่การสร้าง ท่าจอดเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่ ได้แก่ท่าเรือแหลมฉบัง 2.3 ลักษณะภูมิอากาศ จังหวัดชลบุรีมีลักษณะอากาศแบบร้อนชื้นเขตศูนย์สูตร โดยได้รับอิทธิพลจากทั้งลมมรสุม ตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ส่งผลให้จังหวัดชลบุรีมีฤดูกาล แตกต่างกันอย่างชัดเจน 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม มีอากาศค่อนข้าง อบอ้าว แต่ไม่ถึงกับร้อนจัด ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม มีฝนตกกระจายทั่วไป โดยมักตก หนักในเขตป่าและภูเขา ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศไม่หนาวจัด แต่เย็น
  • 19. บทที่ 2 : ข้อมูลทั่วไป โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 9 สบาย ท้องฟ้าสดใส ปลอดโปร่ง และมีแดดตลอดวัน นับเป็นช่วงเวลาซึ่งชายหาดจะคึกคักไปด้วย นักท่องเที่ยว ส่วนภาคเกษตรในฤดูนี้เป็นเวลาที่ค่อนข้างแล้ง เพราะฝนทิ้งช่วงหลายเดือน 2.4 ทรัพยากรธรรมชาติ 2.4.1 ทรัพยากรน้า ในปัจจุบัน จังหวัดชลบุรีต้องอาศัยแหล่งน้้าธรรมชาติและแหล่งน้้าที่สร้างขึ้นเพื่อให้ มีปริมาณน้้าเพียงพอต่อการใช้บริโภค อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม เพราะจังหวัดชลบุรีไม่มีแม่น้้าไหล ผ่านและแหล่งน้้าธรรมชาติมีน้อย จ้านวนแหล่งน้้าในจังหวัดชลบุรีพอสรุปได้ดังนี้ 1) แหล่งน้้าธรรมชาติบนผิวดิน ส่วนใหญ่จะอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดในเขต อ้าเภอพนัสนิคมและอ้าเภอบ่อทอง ทางน้้าจะไหลขึ้นเหนือ เช่น คลองเชิด คลองใหญ่ และคลองหลวง ซึ่ง จะไหลไปบรรจบกันเป็นคลองพานทอง และไหลไปทางตะวันตกรวมกับแม่น้้าพนัสนิคมในเขตจังหวัด ฉะเชิงเทรา ก่อนไหลลงสู่อ่าวไทย ส้าหรับด้านตะวันตก มีทางน้้าสั้นๆ เล็กๆ ไหลลงสู่อ่าวไทย เช่น คลอง บางพระ คลองบางละมุง คลองบางเสร่ ห้วยชากนอก และห้วยใหญ่ เป็นต้น ส่วนตอนกลางและตอนใต้ มีทางน้้าต่างๆ เช่น คลองกร่้า คลองระเวิง คลองปลวกแดง และคลองดอกกราย ไหลมารวมกันเป็น คลองใหญ่ ก่อนไหลมาทางตอนใต้สู่อ่าวไทยที่อ้าเภอเมือง จังหวัดระยอง 2) แหล่งน้้าธรรมชาติใต้ดิน มีอยู่จ้ากัด เนื่องจากเป็นบริเวณที่รองรับด้วยหินแข็ง ที่ไม่สามารถจะกักเก็บน้้าไว้เป็นปริมาณมาก น้้าบาดาลในจังหวัดชลบุรีส่วนใหญ่จะกร่อยหรือเค็ม โดยเฉพาะเขตบริเวณอ้าเภอพานทอง อ้าเภอพนัสนิคม และพื้นที่ริมทะเล ตั้งแต่อ้าเภอเมืองชลบุรีถึงอ้าเภอ บางละมุง ทั้งนี้ยกเว้นบางบริเวณที่มีชั้นทรายชายหาด ซึ่งจะมีน้้าบาดาลในระดับตื้นและมีคุณภาพจืดโดย ทั่วๆ ไปน้้าบาดาลในจังหวัดชลบุรี จะมีปริมาณสารคลอไรด์ ฟลูออไรท์ และธาตุเหล็กสูงเกินกว่า มาตรฐานน้้าดื่มมาก โดยมีปริมาณเหล็กเฉลี่ย 1-5มิลลิกรัม/ลิตร บางแห่งสูงถึง 10-30 มิลลิกรัม/ลิตร ในขณะที่มาตรฐานน้้าบาดาลที่ใช้บริโภคได้ควรมีปริมาณเหล็ก ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม/ลิตร มีปริมาณ สารคลอไรด์ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/ลิตร และปริมาณฟลูออไรด์ไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัม/ลิตร 3) แหล่งน้้าที่สร้างขึ้น เศรษฐกิจของจังหวัดชลบุรีขยายตัวอยู่ในอัตราสูง ท้าให้ ความต้องการน้้าดิบเพื่ออุตสาหกรรมการเกษตร และการบริโภคขยายตัวอย่างรวดเร็ว ดังนั้นปริมาณน้้า ธรรมชาติจึงไม่เพียงพอกับความต้องการ ท้าให้จังหวัดจ้าเป็นต้องจัดสร้างแหล่งน้้าขึ้น ได้แก่ การสร้าง อ่างเก็บน้้าเพื่อเก็บกักน้้าดิบจากน้้าฝน อ่างเก็บน้้าที่สร้างแล้วเสร็จที่ส้าคัญมีอยู่ทั้งหมด 12 อ่าง สามารถจุน้้า ได้ 188.13 ล้านลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้้าที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ อ่างเก็บน้้าบางพระ อ้าเภอศรีราชา ซึ่ง ครอบคลุมพื้นที่ชลประทาน 6,100 ไร่และสามารถกักเก็บน้้าได้ประมาณ 117 ล้านลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้้าที่มีขนาดใหญ่รองลงมา ได้แก่ อ่างเก็บน้้าหนองค้อ ความจุ 21.40 ล้านลูกบาศก์เมตร
  • 20. บทที่ 2 : ข้อมูลทั่วไป โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 10 2.4.2 ทรัพยากรดิน ลักษณะดินในจังหวัดชลบุรี สามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มดินนา มีอยู่ประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด พบมากที่ อ้าเภอพานทอง และพนัสนิคม 2) กลุ่มดินไร่ มีอยู่ประมาณร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด พบมากใน ทุกอ้าเภอ ยกเว้นในอ้าเภอเมืองชลบุรี 3) กลุ่มดินตื้น มีอยู่ประมาณร้อยละ 5 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด พบมากใน อ้าเภอบ่อทอง และอ้าเภอหนองใหญ่ 4) กลุ่มดินทราย มีอยู่ประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด พบมาก ในบริเวณใกล้ชายฝั่งทะเลตะวันออก ตั้งแต่เขตอ้าเภอเมืองชลบุรีตอนเหนือลงมาถึงเขตอ้าเภอสัตหีบทาง ตอนใต้ 5) พื้นที่ภูเขา มีอยู่ประมาณร้อยละ 15 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด พบมากที่ อ้าเภอสัตหีบ และอ้าเภอเมือง 2.4.3 ทรัพยากรแร่ เดิมจังหวัดชลบุรีเคยเป็นแหล่งผลิตแร่พลวงที่ส้าคัญของประเทศ แต่ในปัจจุบันจังหวัด ชลบุรีมีผลผลิตจากทรัพยากรแร่เพียงไม่กี่ชนิด และแหล่งแร่โดยทั่วไปเป็นแหล่งแร่ขนาดเล็ก โดยแร่ที่ ส้ารวจพบในจังหวัดชลบุรีได้แก่ เหล็ก พลวง ทองค้าแบไรต์ ดีบุก และแมงกานีสเป็นต้น ในปัจจุบันมี การท้าเหมืองแร่อยู่เพียง 2 ชนิด คือ 1) หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง แหล่งผลิตอยู่ที่ต้าบลหนองข้างคอก, ต้าบล ห้วยกะปิ อ้าเภอเมืองชลบุรี และต้าบลบางเสร่ อ้าเภอสัตหีบ 2) หินแกรนิตเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง แหล่งผลิตอยู่ที่ต้าบลหนองข้างคอก อ้าเภอเมืองชลบุรี ต้าบลคลองกิ่ว อ้าเภอบ้านบึง และต้าบลบางพระ อ้าเภอศรีราชา 2.5 สภาพเศรษฐกิจสังคม ชลบุรีเมืองชายทะเลที่ได้รับการกล่าวขานมากที่สุดแห่งบูรพาทิศดินแดนชายทะเลอันมั่งคั่ง แห่งนี้ ได้ผันผ่านกาลเวลามาเนิ่นนานจากการเป็นเมืองท่าค้าขายคึกคักในอดีตพัฒนามาสู่เมืองเกษตร อุตสาหกรรมและท่องเที่ยวสิ่งนี้อาจสะท้อนคุณลักษณะสาคัญของคนเมืองชล ซึ่งมีความขยันและมองการ ไกลกอปรกับทรัพย์ในดินสินในน้าต่างช่วยกันเอื้ออานวยให้การพัฒนาในด้านต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวก ราบรื่นและต่อเนื่อง
  • 21. บทที่ 2 : ข้อมูลทั่วไป โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 11 ปัจจุบันชลบุรีมีประชากรประมาณ1,233,446 คนซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผู้โยกย้ายเข้ามาทางานใน ภาคอุตสาหกรรมต่างๆที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องทว่าเมื่อพูดถึงผู้คนพื้นถิ่นจริงๆของชลบุรีแล้วจะพบว่าคน ชลบุรีมีอาชีพผูกพันอยู่กับท้องทะเล นาไร่ ทาปศุสัตว์ และทาเหมืองแร่ โดยลักษณะนิสัยของคนเมืองชล ดั้งเดิมได้ชื่อว่าเป็นคนจริงใช้ชีวิตเรียบง่ายประหยัดอดออมเอาการเอางานหนักเอาเบาสู้มีความเป็นมิตร และพร้อมต้อนรับผู้มาเยือนเสมอ แม้ทุกวันนี้สภาพบ้านเมืองของชลบุรีจะเจริญรุดหน้าไปมากอีกทั้งมีผู้คน ต่างถิ่นโยกย้ายเข้ามาอาศัยผสมกลมกลืนกับชนดั้งเดิมทว่าคนเมืองชลก็ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมและ ประเพณีอันดีงามของตนเอาไว้อย่างเหนียวแน่นสะท้อนออกมาในรูปแบบงานเทศกาลประจาปีต่างๆ ไม่ว่า จะเป็นงานบุญกลางบ้านและงานเครื่องจักสานพนัสนิคมงานประเพณีวันไหล(งานก่อพระทรายวันไหล) ในช่วงหลังวันสงกรานต์ งานประเพณีกองข้าวอาเภอศรีราชางานประเพณีวิ่งควายอันคึกคักสนุกสาน รวมถึงงานแห่พระพุทธสิหิงค์และงานกาชาดชลบุรี เป็นต้นเหล่านี้ล้วนแสดงให้ประจักษ์ถึงเอกลักษณ์ ความโดดเด่นของคนชลบุรีได้อย่างชัดเจน คนเมืองชลในปัจจุบันนับถือศาสนาพุทธมากถึง 97เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ อิสลามและอื่นๆโดยผสมผสานความเชื่อความศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์เข้าไว้ในศาสนาที่ตนนับถือด้วยเช่น เมื่อถึงช่วงเทศกาลกินเจประมาณเดือนตุลาคมของทุกปีผู้คนที่ศรัทธาก็จะพากันนุ่งขาวห่มขาวงดการ บริโภคเนื้อสัตว์ แล้วเดินทางไปร่วมสวดมนต์บาเพ็ญทานยังโรงเจต่างๆทั่วจังหวัดชลบุรีหรืออีกตัวอย่าง หนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ คนเมืองชลมักเดินทางไปที่เขาสามมุข เพื่อสักการะและขอพรจากเจ้าแม่สามมุข บริเวณเขาสามมุขซึ่งไม่ห่างจากหาดบางแสนและอ่างศิลา 2.6 ข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน 1: 4,000 ข้อมูลภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน 1:4,000 มีรายละเอียดของ 1 จุดภาพ เท่ากับ 0.5 X 0.5 ตารางเมตร แต่ละภาพครอบคลุมพื้นที่ 2 X 2 ตารางกิโลเมตร สาหรับจังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ทั้งหมด 2816.40 ตารางกิโลเมตร ดังนั้น จึงมีจานวนภาพถ่ายออร์โธสีทั้งหมด 1,133 ภาพ
  • 22. บทที่ 3 : วิธีการดาเนินงาน โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 12 บทที่ 3 วิธีการดาเนินงาน 3.1 วิธีการดาเนินงาน การจัดทาโครงการนาเข้าข้อมูลใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 มี รายละเอียดขั้นตอนในการดาเนินงานดังนี้ 3.1.1 ขั้นเตรียมการ 3.1.1.1 จัดทาแผนการดาเนินงานในรายละเอียด และจัดทารายงานขั้นต้น (Inception Report) เสนอต่อสานักงานเศรษฐกิจการเกษตร ภายในระยะเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญา โดยรายงานที่จะจัดทาขึ้น ประกอบด้วยเนื้อหา คือ - ขั้นตอนและวิธีการดาเนินงาน - กรอบเนื้อหารายงาน - แผนการดาเนินงาน 3.1.1.2 ตรวจสอบข้อมูล และคุณภาพของข้อมูลภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน 1:4,000 แยกตามรายจังหวัด และรายอาเภอ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัด 3.1.1.3 นาเข้าข้อมูลภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน 1:4,000 แยกตามรายจังหวัดและ รายอาเภอ โดยใช้โปรแกรมทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 3.1.1.4 กาหนดหน้าที่และภาระงานของคณะทางาน ดังตารางที่ 3-1 ตารางที่ 3-1 หน้าที่และภาระงานของคณะทางานในการดาเนินงานโครงการฯ ที่ รายละเอียดคณะทางาน การคิดภาระงาน 1 รศ.อัฌชา ก.บัวเกษร หัวหน้าโครงการ ทาหน้าที่ ควบคุม ดูแลและ ประสานงานตลอดโครงการ 10% 2 อาจารย์ภูริต มีพร้อม นักวิจัยหลัก ทาหน้าที่ควบคุมการทางาน ตรวจสอบความถูกต้อง และจัดทางานรายงาน ดังนี้ - -รายงานขั้นกลางส่วนที่ 1 จังหวัดนครนายก - -รายงานขั้นกลางส่วนที่ 2 จังหวัดจันทบุรี และตราด - -รายงานขั้นกลางส่วนที่ 3 จังหวัดชลบุรี และปราจีนบุรี 30%
  • 23. บทที่ 3 : วิธีการดาเนินงาน โครงการจัดจ้างนาเข้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 13 ตารางที่ 3-1 หน้าที่และภาระงานของคณะทางานในการดาเนินงานโครงการฯ (ต่อ) ที่ รายละเอียดคณะทางาน การคิดภาระงาน 3 อาจารย์สุภาพร มานะจิตประเสริฐ นักวิจัยหลัก ทาหน้าที่ควบคุม การทางานตรวจสอบความถูกต้อง และจัดทางานรายงาน ดังนี้ - -รายงานขั้นกลางส่วนที่ 1 จังหวัดฉะเชิงเทรา - -รายงานขั้นกลางส่วนที่ 2 จังหวัดสระแก้ว - -รายงานขั้นกลางส่วนที่ 3 จังหวัดสมุทรปราการและระยอง 30% 4 นายกฤษณะ อิ่มสวาสดิ์ ผู้ช่วยนักวิจัย ทาหน้าที่ในการจัดทาข้อมูล Metadata และแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบของไฟล์ (Digital File) และพิมพ์ (HardCopy) ตามที่สานักงานเศรษฐกิจ การเกษตรกาหนด 15% 5 นายปรีชา บุญขาว ผู้ช่วยนักวิจัย ทาหน้าที่ในการจัดทาข้อมูล Metadata และแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบของไฟล์ (Digital File) และพิมพ์ (HardCopy) ตามที่สานักงานเศรษฐกิจ การเกษตรกาหนด 15% 3.1.2 การจาแนกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร 3.1.2.1 ทาการแปลและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินจากภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน 1:4,000 เพื่อจาแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งจะพิจารณาจากลักษณะของการใช้ที่ดินเพื่อ นาไปใช้ประโยชน์ในเนื้อที่ดินที่เกษตรกรถือครอง และที่สาธารณะโดยพิจารณาจากเจตนาการนาไปใช้ ประโยชน์ในด้านต่างๆ รวมทั้งพิจารณาตามลักษณะการใช้ประโยชน์ประจาของผืนที่ดินนั้นๆ เป็นเกณฑ์ โดยแบ่งประเภทข้อมูลออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ ที่นา ที่พืชไร่ ที่ไม้ผล/ไม้ยืนต้น ที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้า (บ่อปลา/บ่อกุ้ง) ที่รกร้างว่างเปล่า ที่การเกษตรอื่นๆ ที่ป่าไม้ ที่แหล่งน้า ที่รกร้างว่างเปล่า และ ที่นอกการเกษตร โดยอ้างอิงตามคานิยามและกาหนดให้จาแนกรหัสสัญลักษณ์ตามประเภทของข้อมูล ที่สานักงานเศรษฐกิจการเกษตรกาหนด 3.1.2.2 หลักเกณฑ์ในการจาแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน พิจารณาจากข้อมูลที่ปรากฏ เช่น สี (Tone/Color) ตาแหน่ง (Location) และรูปแบบ (Pattern) ต่างๆ การแปลภาพเพื่อจาแนกวัตถุได้ดี และถูกต้อง ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพร้อมๆ กัน ตามความยากง่าย