SlideShare a Scribd company logo
1 of 5
Download to read offline
28 รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี | ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬
ค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี
ที่ 03/2556
เรื่อง การแปรสภาพของนะญิส (อิสติฮาละฮ์)
ค�ำถาม : การแปรสภาพของนะญิสจากสถานะเดิมไปสู่สถานะใหม่มีข้อชี้ขาด
อย่างไร ?
	 ค�ำวินิจฉัย
: ‫وبعد‬ ... ‫أمجعني‬ ‫وصحابته‬ ‫آله‬ ‫وعلى‬ ‫حممد‬ ‫سيدنا‬ ‫على‬ ‫والسالم‬ ‫والصالة‬ ‫العاملني‬ ‫رب‬ ‫هلل‬ ‫احلمد‬
	 การแปรสภาพ หมายถึง การที่สิ่งนั้นๆ เปลี่ยนแปลงจากลักษณะหรือภาวะเดิมของตัวเอง
ไปเป็นอย่างอื่น เช่น สิ่งปฏิกูลกลายเป็นขี้เถ้า สุรากลายสภาพเป็นน�้ำส้มสายชูและสุกรกลายเป็นเกลือ
เป็นต้น
	 ฝ่ายอัล-ฮะนะฟียะฮ์ นิยามการแปรสภาพว่าหมายถึง การเปลี่ยนเป็นอื่นของตัวสสารหรือการ
เปลี่ยนภาวะเดิมของตัวเอง (1)
	 ฝ่ายอัช-ชาฟิอียะฮ์ นิยามว่าหมายถึง การแปรเปลี่ยนของสิ่งนั้นๆ จากลักษณะหนึ่งไปเป็น
ลักษณะอย่างอื่นที่ต่างออกไป (2)
	 ฝ่ายอัล-มาลิกียะฮ์ นิยามว่าหมายถึง การเปลี่ยนสภาพของวัตถุ (สสาร) จากคุณลักษณะต่างๆ
ของตัวเองและพ้นสภาพจากชื่อเดิมของตัวเอง (3)
	 บรรดานักวิชาการเห็นพ้องกันว่า สุรานั้นสะอาดได้เมื่อมันแปรสภาพเป็นน�้ำส้มสายชูด้วยตัว
ของมันเอง ส่วนการท�ำให้สุราแปรสภาพเป็นน�้ำส้มสายชูด้วยการใส่บางสิ่งลงไป เช่น เกลือ เป็นต้น
ซึ่งเรียกว่า อัต-ตัคลีล์ ทัศนะที่มีน�้ำหนักถือว่ากระบวนการดังกล่าวจะไม่ท�ำให้สุราเป็นสิ่งสะอาด
(1)	 อัด-ดุรรุ้ลมุคต๊าร : 1/120
(2)	 อัล-มัจญมูอ์ : 55/1
(3)	 มะวาฮิบ อัล-ญะลีล : 1/97
‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ | รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี 29
และไม่อนุมัติเช่นเดียวกับสุราในสภาพปรกติ ส่วนกรณีการน�ำสุราออกไปผึ่งแดดแล้วเก็บเข้าที่ร่ม
หรือกระท�ำกลับกันจนกระทั่งสุราแปรสภาพเป็นน�้ำส้มสายชูโดยไม่มีการใส่วัตถุบางอย่างลงไปนั้น
ฝ่ายอัช-ชาฟิอียะฮ์ถือว่า น�้ำส้มสายชูที่ได้จากสุราด้วยวิธีการเช่นนี้เป็นสิ่งที่สะอาดและเป็นที่อนุมัติ
ตามค�ำกล่าวในมัซฮับที่ถูกต้องที่สุด (อะเศาะหุลเกาว์ลัยน์) ส�ำหรับฝ่ายอัล-ฮานาฟียะฮ์ถือว่าสุรา
ที่แปรสภาพเป็นน�้ำส้มสายชูด้วยการใส่วัตถุบางอย่างลงไปนั้นเป็นสิ่งที่สะอาด (1)
	 หลักฐานของทัศนะที่มีน�้ำหนัก
	 หะดีษของอะนัส ว่า ท่านนบี  ถูกถามถึงสุราที่ถูกท�ำให้เป็นน�้ำส้มสายชูว่า อนุมัติ
หรือไม่? ท่านนบี  กล่าวว่า “ไม่” (บันทึกโดย มุสลิม : 1983)
	 หะดีษของอะนัส ว่า อบูฏอลฮะฮ์ ถามท่านนบี  เกี่ยวกับบรรดาเด็กก�ำพร้าที่รับมรดก
เป็นสุรา ท่านนบี  กล่าวว่า “จงเทมันทิ้งเสีย” อบูฏอลหะฮ์ กล่าวว่า เราจะไม่ท�ำให้สุราเป็น
น�้ำส้มสายชูดอกหรือ?  ท่านนบี  กล่าวว่า “ไม่” (บันทึกโดย อบูดาวูด : 3675)
	 นักวิชาการอธิบายว่า ค�ำห้ามในหะดีษที่รายงานโดยอะนัส มีนัยยะว่าเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะ
ถ้าหากมีลู่ทางในการแปรสภาพสุราให้กลายเป็นสิ่งที่ดีได้แล้วก็ย่อมไม่อนุญาตให้เทสุราซึ่งเป็นทรัพย์
มรดกนั้นทิ้ง และท่านนบี  ก็จะต้องแนะน�ำแก่อบูฏอลหะฮ ในเรื่องนี้ เพราะเป็นทรัพย์มรดก
อันเป็นสิทธิของเด็กก�ำพร้า ซึ่งการด�ำเนินการโดยบกพร่องในทรัพย์สินของพวกเขาเป็นที่ต้องห้าม
ตามศาสนบัญญัติ ดังนั้น ถ้าหากการท�ำให้สุราเป็นน�้ำส้มสายชูเป็นที่อนุมัติแล้ว ก็เท่ากับว่าการสั่งให้
เทสุราทิ้งเป็นการท�ำให้ทรัพย์มรดกของเด็กก�ำพร้าเกิดความเสียหาย เพราะสามารถเอาประโยชน์ได้
และบุคคลที่เทสุราทิ้งคืออบูฏอลหะฮ์ ก็จ�ำต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ทั้งหมดที่กล่าวมามิได้
เกิดขึ้น แสดงว่าการท�ำให้สุรากลายเป็นน�้ำส้มสายชูย่อมเป็นสิ่งต้องห้าม
	 ส�ำหรับนะญิสอื่นที่มิใช่สุรานั้น นักวิชาการมีความเห็นต่างกันในประเด็นของการแปรสภาพ
ว่าเป็นสิ่งที่ท�ำให้นะญิสเหล่านั้นกลายเป็นสิ่งสะอาดหรือไม่?
	 นักวิชาการฝ่ายอัล-ฮะนะฟียะฮ์ มีทัศนะว่า การแปรสภาพของตัวสสารหรือวัตถุใดๆ ที่มิใช่สุรา
เช่น สุกรและซากสัตว์ตกลงไปในบ่อเกลือ แล้วต่อมาสุกรหรือซากสัตว์นั้นได้กลายสภาพเป็นเกลือ
ก็ถือว่าเกลือนั้นรับประทานได้ และมูลสัตว์หรือสิ่งปฏิกูลที่ถูกเผาแล้วกลายเป็นขี้เถ้าก็ถือเป็นสิ่งที่
สะอาดในทัศนะของอิหม่ามมุฮัมมัดอิบนุอัลฮะซัน ซึ่งในต�ำราอัล-มุฮีฏ ระบุว่า อิหม่ามอะบูฮะนีฟะฮ์
และนักวิชาการในมัซฮับได้เลือกทัศนะของอิหม่ามมุฮัมมัดในเรื่องนี้ โดยให้เหตุผลว่า เพราะศาสนา
ถือว่าคุณลักษณะของความเป็นนะญิสเป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะเดิมของสิ่งนั้นๆ ซึ่งในกรณีการ
(1)	 อัล-อัฏอิมะฮ์ วัซซะบาอิห์ ฟิลฟิกฮิลอิสลามีย์; ดร.อบูสะรีอ์ มุฮัมหมัด อับดุลฮาดีย์ : หน้า 129
30 รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี | ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬
แปรสภาพตามตัวอย่างข้างต้นไม่มีภาวะเดิมของสิ่งนั้นๆ เหลืออยู่ เพราะขาดส่วนประกอบตามนัย
ของภาวะเดิม ดังนั้นเมื่อส่วนประกอบตามนัยของภาวะเดิมแปรสภาพไปทั้งหมด เกลือจึงมิใช่กระดูก
และเนื้ออีกต่อไป
	 ในต�ำราชัรหุฟัตฮิลเกาะดีร ระบุว่า น�้ำผลไม้คั้นเป็นสิ่งสะอาด แล้วต่อมากลายเป็นสุรา สุรา
นั้นก็เป็นนะญิส แล้วต่อมากลายเป็นน�้ำส้มสายชู น�้ำส้มสายชูนั้นก็เป็นสิ่งสะอาด เราจึงรู้ได้ว่าการ
แปรสภาพของวัตถุนั้นจะเป็นไปตามการหมดไปของคุณลักษณะที่เป็นผลมาจากการแปรสภาพนั้น
และตามค�ำกล่าวของอิหม่ามมุฮัมมัดอิบนุอัลฮะซัน นักวิชาการฝ่ายอัล-ฮะนะฟียะฮ์จึงมีการแยก
ประเด็นออกมาว่า สบู่ที่ท�ำจากน�้ำมันที่เป็นนะญิสนั้นเป็นสิ่งที่สะอาด
	 ดังนั้น นะญิส เมื่อแปรสภาพ คุณลักษณะและความหมายของมันเปลี่ยนไป มันก็ออกจาก
ความเป็นนะญิส ทั้งนี้ เพราะนะญิสเป็นนามหรือชื่อของตัววัตถุที่มีคุณลักษณะเฉพาะและด้วยการ
ที่มันไม่มีคุณลักษณะเดิมเหลืออยู่ ความเป็นนะญิสของมันก็หมดไปด้วย (1)
	 ส�ำหรับนักวิชาการฝ่ายอัช-ชาฟิอียะฮ์, อัล-มาลิกียะฮ์ และอัล-ฮะนาบิละฮ์ ถือว่า นะญิสอื่นจาก
สุราจะไม่กลายเป็นสิ่งสะอาดด้วยการแปรสภาพ แต่ฝ่ายอัล-มาลิกียะฮ์ ยกเว้นกรณีของขี้เถ้าและควัน
ของสิ่งที่เป็นนะญิสว่า เป็นสิ่งที่สะอาดตามค�ำกล่าวที่ได้รับการยอมรับ (มุอ์ตะมัด)
	 ดร.ยูซุฟ อัล-กอรฎอวีย์ ได้ตอบค�ำถามเกี่ยวกับเอนไซน์ (Enzyme) ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่มี
โครงสร้างซับซ้อนประเภทโปรตีน มีปรากฏอยู่ในเซลล์ที่มีชีวิตของพืชและสัตว์ ท�ำหน้าที่เป็นตัวเร่ง
ปฏิกิริยาเคมีของกรรมวิธีต่างๆ ทางชีววิทยา เช่น การย่อยอาหาร การหมัก เป็นต้น ในอาหารบาง
ประเภทมีเอนไซม์เป็นส่วนประกอบ จึงมีค�ำถามถึงข้อชี้ขาดของอาหารที่มีเอนไซม์ ซึ่งสกัดมาจาก
กระดูกหรือไขมันของสุกรว่าเป็นอย่างไร?
	 ดร.ยูซุฟ อัล-กอรฎอวีย์ ตอบว่า เอนไซม์ทั้งหมดที่ถูกสกัดนั้นเมื่อถูกสกัดมาจากกระดูกสุกร
หรือไขมันของสุกร ก็มิใช่เป็นสิ่งต้องห้ามอย่างที่ผู้คนจ�ำนวนมากเข้าใจกัน และส่วนหนึ่งในบรรดา
สิ่งที่ได้รับการรับรองจากปวงปราชญ์ คือ เมื่อนะญิสได้แปรสภาพแล้ว ข้อชี้ขาดของมันก็เปลี่ยนไป
ดังเช่นกรณีของสุราเมื่อเปลี่ยนสภาพเป็นน�้ำส้มสายชูหรือนะญิสนั้นถูกเผาไหม้และกลายเป็นขี้เถ้า
หรือเกลือได้กลืนกินนะญิสนั้น เช่นเมื่อสัตว์ตัวหนึ่งตายในบ่อเกลือ ถึงแม้ว่าสัตว์นั้นจะเป็นสุนัขหรือ
สุกรก็ตาม และเกลือได้กลืนกินสัตว์ที่ตายนั้นจนหมดสิ้นและสัตว์นั้นได้กลายเป็นเกลืออย่างสมบูรณ์
ความเป็นสุนัขหรือความเป็นสุกรนั้นก็หมดไป ไม่มีสภาพเดิมอยู่อีกแล้ว เหลือไว้เพียงความเป็น
เกลือ คุณลักษณะของสุนัขหรือสุกรได้เปลี่ยนไปแล้ว เพราะข้อชี้ขาดจะผูกพันอยู่กับเหตุผลของมัน
ว่ามีหรือไม่มี เราจึงกล่าวได้ว่า เราจะไม่ชี้ขาดสิ่งต่างๆ  ตามที่มาของสิ่งเหล่านั้น เพราะที่มาของสุรา
(1)	 อัล-ฟิกฮุลอิสลามีย์ ว่า อะดิลละตุฮู; ดร.วะฮ์บะฮ์ อัซ-ซุฮัยลีย์ : 1/100
‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ | รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี 31
คือองุ่นและสิ่งอื่นๆ ซึ่งเป็นที่อนุมัติตามศาสนบัญญัติ ครั้นเมื่อสุราแปรสภาพไปเป็นวัตถุออกฤทธิ์ที่
ท�ำให้มึนเมา เราจึงชี้ขาดด้วยความเป็นสุราของสิ่งนั้นและความเป็นที่ต้องห้ามของมัน ดังนั้นเมื่อ
สุราแปรสภาพและกลายเป็นน�้ำส้มสายชู เราจึงชี้ขาดด้วยความเป็นที่อนุมัติและความสะอาดของมัน
	 มีสิ่งมากมายซึ่งมีที่มาจากสุกรที่แปรสภาพกลายเป็นสิ่งอื่นไปแล้ว ซึ่งไม่เหมือนที่มาเดิม จึง
ไม่ถือเป็นนะญิสอีกต่อไป และไม่ถือว่าสิ่งนั้นมีข้อชี้ขาดของเนื้อสุกรซึ่งเป็นที่ต้องห้ามอีก เช่น วัตถุ
จ�ำพวกเยลลี่ ซึ่งสกัดมาจากกระดูกสัตว์และบางทีก็ปรากฏว่าเป็นกระดูกสุกร เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญ
หลายท่าน อาทิ
	 ดร.มุฮัมมัด อัล-ฮิวารีย์ ได้ยืนยันว่า วัตถุหรือสสารนี้ได้แปรสภาพทางเคมีไปแล้ว เหมือน
อย่างสบู่บางชนิด
	 ยาสีฟันและอื่นๆ ซึ่งมีที่มาจากสุกรและคุณลักษณะแห่งความเป็นสุกรเมื่อได้แปรสภาพทาง
เคมี คุณลักษณะความเป็นสุกรนั้นจึงไม่มีเหลืออยู่อีกต่อไป (1)
	 ดังนั้น ตามทัศนะของนักวิชาการที่ถือว่าการแปรสภาพ (อิสติฮาละฮ์) เป็นสิ่งที่ท�ำให้นะญิส
กลายเป็นสิ่งสะอาดได้ ไม่ว่านะญิสนั้นจะเป็นสุกรหรือไม่ก็ตาม เมื่อนะญิสนั้นแปรสภาพไปเป็น
สสารที่มีโครงสร้างเป็นอย่างอื่นด้วยกระบวนการทางเคมี นะญิสนั้นก็กลายสภาพไปเป็นสิ่งอื่นที่มิใช่
นะญิสอีกต่อไป ดังเช่นกรณีที่เกิดขึ้นกับสุราเมื่อสุราแปรสภาพเป็นน�้ำส้มสายชู น�้ำที่ผ่านกระบวนการ
ทางเคมีและมีการกรองหลายครั้งจนกลับมาเป็นน�้ำบริสุทธิ์ที่ปลอดจากสารแขวนลอยเจือปนอยู่ น�้ำ
นั้นก็ย่อมเป็นสิ่งที่สะอาดในตัวของมันเองและท�ำให้สิ่งอื่นสะอาดได้ ซึ่งประเด็นปัญหาว่าด้วยการ
แปรสภาพของสสารโดยผ่านกระบวนการทางเคมีนี้เป็นสิ่งที่นักวิชาการในอดีตไม่เคยรู้จักมาก่อน
ถึงแม้ว่านักวิชาการในบางมัซฮับ เช่น อัล-ฮะนะฟียะฮ์ จะเคยระบุถึงสิ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ
เรื่องที่เป็นปัญหาร่วมสมัยนี้ก็ตาม และการแปรสภาพนี้จ�ำต้องค�ำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า นะญิสนั้นมี
การแปรสภาพของคุณสมบัติและลักษณะเฉพาะของนะญิสเดิมจนหมดสิ้นโดยสมบูรณ์ภายหลังผ่าน
กระบวนการทางฟิสิกส์และเคมีแล้ว มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติบางส่วนเท่านั้น ดังนั้น
จึงต้องจ�ำแนกระหว่างการแปรสภาพ การรวมตัวของสสารโดยผ่านกระบวนการทางเคมีและการ
ผสมออกจากกัน เพราะทั้งสามกรณีนี้มีความต่างกัน (2)
	 การพิจารณาเรื่องการแปรสภาพของนะญิสเป็นสิ่งสะอาดนั้นจ�ำต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป
กล่าวคือ ในกรณีของนะญิสที่จะน�ำเรื่องการแปรสภาพมาประกอบค�ำวินิจฉัยในเรื่องฮาลาลและ
ฮารอมทั้งในส่วนการบริโภคและอุปโภคผลิตภัณฑ์ต่างๆ จะต้องมิใช่นะญิสที่นักวิชาการเห็นพ้องว่า
(1)	 ฟะตาวา มุอาศิเราะฮ์; ดร.ยูซุฟ อัล-กอรฎอวีย์ : 3/658
(2)	 มะวาด นะญิสะฮฺ ฟิลเฆาะซาอ์ วัด-ดะวาอ์; อับดุลฟัตตาฮฺ มะฮฺมูด อิดรีส : หน้า 8-9
32 รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี | ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬
เป็นนะญิส  เช่น สุกรหรือสัตว์ที่ห้ามบริโภค เป็นต้น ทั้งนี้ เป็นการให้น�้ำหนักแก่ทัศนะของนักวิชาการ
ที่ระบุว่า การแปรสภาพของวัตถุหรือสสารที่เป็นนะญิสไม่ท�ำให้วัตถุหรือสสารที่เป็นนะญิสนั้นเป็น
สิ่งที่สะอาด ซึ่งดังกล่าวเป็นทัศนะของนักนิติศาสตร์อิสลามส่วนใหญ่ที่มีหลักฐานชัดเจนและ
แข็งแรง
‫بالصواب‬ ‫اعلم‬ ‫واهلل‬
อาศิส พิทักษ์คุมพล
จุฬาราชมนตรี
* * *

More Related Content

Viewers also liked

คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : ประเด็นการเชือดสัตว์ด้วยวิธีต่างๆ
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : ประเด็นการเชือดสัตว์ด้วยวิธีต่างๆคำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : ประเด็นการเชือดสัตว์ด้วยวิธีต่างๆ
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : ประเด็นการเชือดสัตว์ด้วยวิธีต่างๆOm Muktar
 
منهج الحافظ ابن حجر العسقلاني في العقيدة من خلال كتابه - فتح الباري
منهج الحافظ ابن حجر العسقلاني في العقيدة من خلال كتابه - فتح الباريمنهج الحافظ ابن حجر العسقلاني في العقيدة من خلال كتابه - فتح الباري
منهج الحافظ ابن حجر العسقلاني في العقيدة من خلال كتابه - فتح الباريOm Muktar
 
البوذية –تاريخها وعقائدها وعلاقة الصوفية بها
البوذية –تاريخها وعقائدها وعلاقة الصوفية بهاالبوذية –تاريخها وعقائدها وعلاقة الصوفية بها
البوذية –تاريخها وعقائدها وعلاقة الصوفية بهاOm Muktar
 
حول ترحيب الكوثري بنقد تأنيبه
حول ترحيب الكوثري بنقد تأنيبهحول ترحيب الكوثري بنقد تأنيبه
حول ترحيب الكوثري بنقد تأنيبهOm Muktar
 
حجية خبر الآحاد في العقائد والأحكام
حجية خبر الآحاد في العقائد والأحكامحجية خبر الآحاد في العقائد والأحكام
حجية خبر الآحاد في العقائد والأحكامOm Muktar
 
การยกมือขอดุอาอ์ในคุฏบะฮ์
การยกมือขอดุอาอ์ในคุฏบะฮ์การยกมือขอดุอาอ์ในคุฏบะฮ์
การยกมือขอดุอาอ์ในคุฏบะฮ์Om Muktar
 
Ashley Gill - PPP
Ashley Gill - PPPAshley Gill - PPP
Ashley Gill - PPPAshley Gill
 

Viewers also liked (8)

คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : ประเด็นการเชือดสัตว์ด้วยวิธีต่างๆ
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : ประเด็นการเชือดสัตว์ด้วยวิธีต่างๆคำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : ประเด็นการเชือดสัตว์ด้วยวิธีต่างๆ
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : ประเด็นการเชือดสัตว์ด้วยวิธีต่างๆ
 
منهج الحافظ ابن حجر العسقلاني في العقيدة من خلال كتابه - فتح الباري
منهج الحافظ ابن حجر العسقلاني في العقيدة من خلال كتابه - فتح الباريمنهج الحافظ ابن حجر العسقلاني في العقيدة من خلال كتابه - فتح الباري
منهج الحافظ ابن حجر العسقلاني في العقيدة من خلال كتابه - فتح الباري
 
البوذية –تاريخها وعقائدها وعلاقة الصوفية بها
البوذية –تاريخها وعقائدها وعلاقة الصوفية بهاالبوذية –تاريخها وعقائدها وعلاقة الصوفية بها
البوذية –تاريخها وعقائدها وعلاقة الصوفية بها
 
حول ترحيب الكوثري بنقد تأنيبه
حول ترحيب الكوثري بنقد تأنيبهحول ترحيب الكوثري بنقد تأنيبه
حول ترحيب الكوثري بنقد تأنيبه
 
حجية خبر الآحاد في العقائد والأحكام
حجية خبر الآحاد في العقائد والأحكامحجية خبر الآحاد في العقائد والأحكام
حجية خبر الآحاد في العقائد والأحكام
 
การยกมือขอดุอาอ์ในคุฏบะฮ์
การยกมือขอดุอาอ์ในคุฏบะฮ์การยกมือขอดุอาอ์ในคุฏบะฮ์
การยกมือขอดุอาอ์ในคุฏบะฮ์
 
Presentation1
Presentation1Presentation1
Presentation1
 
Ashley Gill - PPP
Ashley Gill - PPPAshley Gill - PPP
Ashley Gill - PPP
 

More from Om Muktar

بلوغ المنى في حكم الاستمنى
بلوغ المنى في حكم الاستمنىبلوغ المنى في حكم الاستمنى
بلوغ المنى في حكم الاستمنىOm Muktar
 
الدلائل الوفية في تحقيق عقيدة (النووي)؛ أسلفية أم خلفية
الدلائل الوفية في تحقيق عقيدة (النووي)؛ أسلفية أم خلفيةالدلائل الوفية في تحقيق عقيدة (النووي)؛ أسلفية أم خلفية
الدلائل الوفية في تحقيق عقيدة (النووي)؛ أسلفية أم خلفيةOm Muktar
 
التاريخ الأسود للجماعة بين يهودية حسن البنا وماسونية الإخوان
التاريخ الأسود للجماعة بين يهودية حسن البنا وماسونية الإخوانالتاريخ الأسود للجماعة بين يهودية حسن البنا وماسونية الإخوان
التاريخ الأسود للجماعة بين يهودية حسن البنا وماسونية الإخوانOm Muktar
 
Acts of Terrorism Done in the Name of Islam Do Not Equate to Acts Condoned by...
Acts of Terrorism Done in the Name of Islam Do Not Equate to Acts Condoned by...Acts of Terrorism Done in the Name of Islam Do Not Equate to Acts Condoned by...
Acts of Terrorism Done in the Name of Islam Do Not Equate to Acts Condoned by...Om Muktar
 
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : บุหรี่
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : บุหรี่คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : บุหรี่
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : บุหรี่Om Muktar
 
Jihad in Two Faces of Shari’ah: Sufism and Islamic Jurisprudence (FIQH) and t...
Jihad in Two Faces of Shari’ah: Sufism and Islamic Jurisprudence (FIQH) and t...Jihad in Two Faces of Shari’ah: Sufism and Islamic Jurisprudence (FIQH) and t...
Jihad in Two Faces of Shari’ah: Sufism and Islamic Jurisprudence (FIQH) and t...Om Muktar
 
พัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์อิสลามในสังคมไทย (ยุครัฐจารีต-พ.ศ.2511)
พัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์อิสลามในสังคมไทย (ยุครัฐจารีต-พ.ศ.2511)พัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์อิสลามในสังคมไทย (ยุครัฐจารีต-พ.ศ.2511)
พัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์อิสลามในสังคมไทย (ยุครัฐจารีต-พ.ศ.2511)Om Muktar
 
Diseases of the Hearts & their Cures (Ibn Taymiyyah)
Diseases of the Hearts & their Cures (Ibn Taymiyyah)Diseases of the Hearts & their Cures (Ibn Taymiyyah)
Diseases of the Hearts & their Cures (Ibn Taymiyyah)Om Muktar
 
أمراض القلوب وشفاؤها ويليها التحفة العراقية في الأعمال القلبية
أمراض القلوب وشفاؤها ويليها التحفة العراقية في الأعمال القلبيةأمراض القلوب وشفاؤها ويليها التحفة العراقية في الأعمال القلبية
أمراض القلوب وشفاؤها ويليها التحفة العراقية في الأعمال القلبيةOm Muktar
 
(مسألة السماع حكم ما يسمى : (أناشيد إسلامية
(مسألة السماع حكم ما يسمى : (أناشيد إسلامية(مسألة السماع حكم ما يسمى : (أناشيد إسلامية
(مسألة السماع حكم ما يسمى : (أناشيد إسلاميةOm Muktar
 
(الرد على علي حسن الحلبي (رفع اللائمة عن فتوى اللجنة الدائمة
(الرد على علي حسن الحلبي (رفع اللائمة عن فتوى اللجنة الدائمة(الرد على علي حسن الحلبي (رفع اللائمة عن فتوى اللجنة الدائمة
(الرد على علي حسن الحلبي (رفع اللائمة عن فتوى اللجنة الدائمةOm Muktar
 
عقيدة أهل السنة والجماعة للإمام الترمذي
عقيدة أهل السنة والجماعة للإمام الترمذيعقيدة أهل السنة والجماعة للإمام الترمذي
عقيدة أهل السنة والجماعة للإمام الترمذيOm Muktar
 
الأمر بالإتباع والنهي عن الإبتداع للإمام السيوطي
الأمر بالإتباع والنهي عن الإبتداع للإمام السيوطيالأمر بالإتباع والنهي عن الإبتداع للإمام السيوطي
الأمر بالإتباع والنهي عن الإبتداع للإمام السيوطيOm Muktar
 
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายอิสลามกับประมวลกฎหมาย...
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายอิสลามกับประมวลกฎหมาย...ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายอิสลามกับประมวลกฎหมาย...
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายอิสลามกับประมวลกฎหมาย...Om Muktar
 
الإمام الأشعري حياته وأطواره العقدية
الإمام الأشعري حياته وأطواره العقديةالإمام الأشعري حياته وأطواره العقدية
الإمام الأشعري حياته وأطواره العقديةOm Muktar
 
منهج إمام الحرمين في دراسة العقيدة : عرض ونقد
منهج إمام الحرمين في دراسة العقيدة : عرض ونقدمنهج إمام الحرمين في دراسة العقيدة : عرض ونقد
منهج إمام الحرمين في دراسة العقيدة : عرض ونقدOm Muktar
 
منهج الشهرستاني في كتابه الملل والنحل عرض وتقويم
منهج الشهرستاني في كتابه الملل والنحل عرض وتقويممنهج الشهرستاني في كتابه الملل والنحل عرض وتقويم
منهج الشهرستاني في كتابه الملل والنحل عرض وتقويمOm Muktar
 
الإمام الخطابي ومنهجه في العقيدة
الإمام الخطابي ومنهجه في العقيدةالإمام الخطابي ومنهجه في العقيدة
الإمام الخطابي ومنهجه في العقيدةOm Muktar
 
موقف الأزهر الشريف من الشيعة الاثنى عشرية
موقف الأزهر الشريف من الشيعة الاثنى عشريةموقف الأزهر الشريف من الشيعة الاثنى عشرية
موقف الأزهر الشريف من الشيعة الاثنى عشريةOm Muktar
 
موقف الشيعة الاثني عشرية من الأئمة الأربعة
موقف الشيعة الاثني عشرية من الأئمة الأربعةموقف الشيعة الاثني عشرية من الأئمة الأربعة
موقف الشيعة الاثني عشرية من الأئمة الأربعةOm Muktar
 

More from Om Muktar (20)

بلوغ المنى في حكم الاستمنى
بلوغ المنى في حكم الاستمنىبلوغ المنى في حكم الاستمنى
بلوغ المنى في حكم الاستمنى
 
الدلائل الوفية في تحقيق عقيدة (النووي)؛ أسلفية أم خلفية
الدلائل الوفية في تحقيق عقيدة (النووي)؛ أسلفية أم خلفيةالدلائل الوفية في تحقيق عقيدة (النووي)؛ أسلفية أم خلفية
الدلائل الوفية في تحقيق عقيدة (النووي)؛ أسلفية أم خلفية
 
التاريخ الأسود للجماعة بين يهودية حسن البنا وماسونية الإخوان
التاريخ الأسود للجماعة بين يهودية حسن البنا وماسونية الإخوانالتاريخ الأسود للجماعة بين يهودية حسن البنا وماسونية الإخوان
التاريخ الأسود للجماعة بين يهودية حسن البنا وماسونية الإخوان
 
Acts of Terrorism Done in the Name of Islam Do Not Equate to Acts Condoned by...
Acts of Terrorism Done in the Name of Islam Do Not Equate to Acts Condoned by...Acts of Terrorism Done in the Name of Islam Do Not Equate to Acts Condoned by...
Acts of Terrorism Done in the Name of Islam Do Not Equate to Acts Condoned by...
 
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : บุหรี่
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : บุหรี่คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : บุหรี่
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : บุหรี่
 
Jihad in Two Faces of Shari’ah: Sufism and Islamic Jurisprudence (FIQH) and t...
Jihad in Two Faces of Shari’ah: Sufism and Islamic Jurisprudence (FIQH) and t...Jihad in Two Faces of Shari’ah: Sufism and Islamic Jurisprudence (FIQH) and t...
Jihad in Two Faces of Shari’ah: Sufism and Islamic Jurisprudence (FIQH) and t...
 
พัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์อิสลามในสังคมไทย (ยุครัฐจารีต-พ.ศ.2511)
พัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์อิสลามในสังคมไทย (ยุครัฐจารีต-พ.ศ.2511)พัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์อิสลามในสังคมไทย (ยุครัฐจารีต-พ.ศ.2511)
พัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์อิสลามในสังคมไทย (ยุครัฐจารีต-พ.ศ.2511)
 
Diseases of the Hearts & their Cures (Ibn Taymiyyah)
Diseases of the Hearts & their Cures (Ibn Taymiyyah)Diseases of the Hearts & their Cures (Ibn Taymiyyah)
Diseases of the Hearts & their Cures (Ibn Taymiyyah)
 
أمراض القلوب وشفاؤها ويليها التحفة العراقية في الأعمال القلبية
أمراض القلوب وشفاؤها ويليها التحفة العراقية في الأعمال القلبيةأمراض القلوب وشفاؤها ويليها التحفة العراقية في الأعمال القلبية
أمراض القلوب وشفاؤها ويليها التحفة العراقية في الأعمال القلبية
 
(مسألة السماع حكم ما يسمى : (أناشيد إسلامية
(مسألة السماع حكم ما يسمى : (أناشيد إسلامية(مسألة السماع حكم ما يسمى : (أناشيد إسلامية
(مسألة السماع حكم ما يسمى : (أناشيد إسلامية
 
(الرد على علي حسن الحلبي (رفع اللائمة عن فتوى اللجنة الدائمة
(الرد على علي حسن الحلبي (رفع اللائمة عن فتوى اللجنة الدائمة(الرد على علي حسن الحلبي (رفع اللائمة عن فتوى اللجنة الدائمة
(الرد على علي حسن الحلبي (رفع اللائمة عن فتوى اللجنة الدائمة
 
عقيدة أهل السنة والجماعة للإمام الترمذي
عقيدة أهل السنة والجماعة للإمام الترمذيعقيدة أهل السنة والجماعة للإمام الترمذي
عقيدة أهل السنة والجماعة للإمام الترمذي
 
الأمر بالإتباع والنهي عن الإبتداع للإمام السيوطي
الأمر بالإتباع والنهي عن الإبتداع للإمام السيوطيالأمر بالإتباع والنهي عن الإبتداع للإمام السيوطي
الأمر بالإتباع والنهي عن الإبتداع للإمام السيوطي
 
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายอิสลามกับประมวลกฎหมาย...
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายอิสลามกับประมวลกฎหมาย...ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายอิสลามกับประมวลกฎหมาย...
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายอิสลามกับประมวลกฎหมาย...
 
الإمام الأشعري حياته وأطواره العقدية
الإمام الأشعري حياته وأطواره العقديةالإمام الأشعري حياته وأطواره العقدية
الإمام الأشعري حياته وأطواره العقدية
 
منهج إمام الحرمين في دراسة العقيدة : عرض ونقد
منهج إمام الحرمين في دراسة العقيدة : عرض ونقدمنهج إمام الحرمين في دراسة العقيدة : عرض ونقد
منهج إمام الحرمين في دراسة العقيدة : عرض ونقد
 
منهج الشهرستاني في كتابه الملل والنحل عرض وتقويم
منهج الشهرستاني في كتابه الملل والنحل عرض وتقويممنهج الشهرستاني في كتابه الملل والنحل عرض وتقويم
منهج الشهرستاني في كتابه الملل والنحل عرض وتقويم
 
الإمام الخطابي ومنهجه في العقيدة
الإمام الخطابي ومنهجه في العقيدةالإمام الخطابي ومنهجه في العقيدة
الإمام الخطابي ومنهجه في العقيدة
 
موقف الأزهر الشريف من الشيعة الاثنى عشرية
موقف الأزهر الشريف من الشيعة الاثنى عشريةموقف الأزهر الشريف من الشيعة الاثنى عشرية
موقف الأزهر الشريف من الشيعة الاثنى عشرية
 
موقف الشيعة الاثني عشرية من الأئمة الأربعة
موقف الشيعة الاثني عشرية من الأئمة الأربعةموقف الشيعة الاثني عشرية من الأئمة الأربعة
موقف الشيعة الاثني عشرية من الأئمة الأربعة
 

คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การแปรสภาพของนะญิส (อิสติฮาละฮ์)

  • 1. 28 รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี | ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ ค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี ที่ 03/2556 เรื่อง การแปรสภาพของนะญิส (อิสติฮาละฮ์) ค�ำถาม : การแปรสภาพของนะญิสจากสถานะเดิมไปสู่สถานะใหม่มีข้อชี้ขาด อย่างไร ? ค�ำวินิจฉัย : ‫وبعد‬ ... ‫أمجعني‬ ‫وصحابته‬ ‫آله‬ ‫وعلى‬ ‫حممد‬ ‫سيدنا‬ ‫على‬ ‫والسالم‬ ‫والصالة‬ ‫العاملني‬ ‫رب‬ ‫هلل‬ ‫احلمد‬ การแปรสภาพ หมายถึง การที่สิ่งนั้นๆ เปลี่ยนแปลงจากลักษณะหรือภาวะเดิมของตัวเอง ไปเป็นอย่างอื่น เช่น สิ่งปฏิกูลกลายเป็นขี้เถ้า สุรากลายสภาพเป็นน�้ำส้มสายชูและสุกรกลายเป็นเกลือ เป็นต้น ฝ่ายอัล-ฮะนะฟียะฮ์ นิยามการแปรสภาพว่าหมายถึง การเปลี่ยนเป็นอื่นของตัวสสารหรือการ เปลี่ยนภาวะเดิมของตัวเอง (1) ฝ่ายอัช-ชาฟิอียะฮ์ นิยามว่าหมายถึง การแปรเปลี่ยนของสิ่งนั้นๆ จากลักษณะหนึ่งไปเป็น ลักษณะอย่างอื่นที่ต่างออกไป (2) ฝ่ายอัล-มาลิกียะฮ์ นิยามว่าหมายถึง การเปลี่ยนสภาพของวัตถุ (สสาร) จากคุณลักษณะต่างๆ ของตัวเองและพ้นสภาพจากชื่อเดิมของตัวเอง (3) บรรดานักวิชาการเห็นพ้องกันว่า สุรานั้นสะอาดได้เมื่อมันแปรสภาพเป็นน�้ำส้มสายชูด้วยตัว ของมันเอง ส่วนการท�ำให้สุราแปรสภาพเป็นน�้ำส้มสายชูด้วยการใส่บางสิ่งลงไป เช่น เกลือ เป็นต้น ซึ่งเรียกว่า อัต-ตัคลีล์ ทัศนะที่มีน�้ำหนักถือว่ากระบวนการดังกล่าวจะไม่ท�ำให้สุราเป็นสิ่งสะอาด (1) อัด-ดุรรุ้ลมุคต๊าร : 1/120 (2) อัล-มัจญมูอ์ : 55/1 (3) มะวาฮิบ อัล-ญะลีล : 1/97
  • 2. ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ | รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี 29 และไม่อนุมัติเช่นเดียวกับสุราในสภาพปรกติ ส่วนกรณีการน�ำสุราออกไปผึ่งแดดแล้วเก็บเข้าที่ร่ม หรือกระท�ำกลับกันจนกระทั่งสุราแปรสภาพเป็นน�้ำส้มสายชูโดยไม่มีการใส่วัตถุบางอย่างลงไปนั้น ฝ่ายอัช-ชาฟิอียะฮ์ถือว่า น�้ำส้มสายชูที่ได้จากสุราด้วยวิธีการเช่นนี้เป็นสิ่งที่สะอาดและเป็นที่อนุมัติ ตามค�ำกล่าวในมัซฮับที่ถูกต้องที่สุด (อะเศาะหุลเกาว์ลัยน์) ส�ำหรับฝ่ายอัล-ฮานาฟียะฮ์ถือว่าสุรา ที่แปรสภาพเป็นน�้ำส้มสายชูด้วยการใส่วัตถุบางอย่างลงไปนั้นเป็นสิ่งที่สะอาด (1) หลักฐานของทัศนะที่มีน�้ำหนัก หะดีษของอะนัส ว่า ท่านนบี  ถูกถามถึงสุราที่ถูกท�ำให้เป็นน�้ำส้มสายชูว่า อนุมัติ หรือไม่? ท่านนบี  กล่าวว่า “ไม่” (บันทึกโดย มุสลิม : 1983) หะดีษของอะนัส ว่า อบูฏอลฮะฮ์ ถามท่านนบี  เกี่ยวกับบรรดาเด็กก�ำพร้าที่รับมรดก เป็นสุรา ท่านนบี  กล่าวว่า “จงเทมันทิ้งเสีย” อบูฏอลหะฮ์ กล่าวว่า เราจะไม่ท�ำให้สุราเป็น น�้ำส้มสายชูดอกหรือ? ท่านนบี  กล่าวว่า “ไม่” (บันทึกโดย อบูดาวูด : 3675) นักวิชาการอธิบายว่า ค�ำห้ามในหะดีษที่รายงานโดยอะนัส มีนัยยะว่าเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะ ถ้าหากมีลู่ทางในการแปรสภาพสุราให้กลายเป็นสิ่งที่ดีได้แล้วก็ย่อมไม่อนุญาตให้เทสุราซึ่งเป็นทรัพย์ มรดกนั้นทิ้ง และท่านนบี  ก็จะต้องแนะน�ำแก่อบูฏอลหะฮ ในเรื่องนี้ เพราะเป็นทรัพย์มรดก อันเป็นสิทธิของเด็กก�ำพร้า ซึ่งการด�ำเนินการโดยบกพร่องในทรัพย์สินของพวกเขาเป็นที่ต้องห้าม ตามศาสนบัญญัติ ดังนั้น ถ้าหากการท�ำให้สุราเป็นน�้ำส้มสายชูเป็นที่อนุมัติแล้ว ก็เท่ากับว่าการสั่งให้ เทสุราทิ้งเป็นการท�ำให้ทรัพย์มรดกของเด็กก�ำพร้าเกิดความเสียหาย เพราะสามารถเอาประโยชน์ได้ และบุคคลที่เทสุราทิ้งคืออบูฏอลหะฮ์ ก็จ�ำต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ทั้งหมดที่กล่าวมามิได้ เกิดขึ้น แสดงว่าการท�ำให้สุรากลายเป็นน�้ำส้มสายชูย่อมเป็นสิ่งต้องห้าม ส�ำหรับนะญิสอื่นที่มิใช่สุรานั้น นักวิชาการมีความเห็นต่างกันในประเด็นของการแปรสภาพ ว่าเป็นสิ่งที่ท�ำให้นะญิสเหล่านั้นกลายเป็นสิ่งสะอาดหรือไม่? นักวิชาการฝ่ายอัล-ฮะนะฟียะฮ์ มีทัศนะว่า การแปรสภาพของตัวสสารหรือวัตถุใดๆ ที่มิใช่สุรา เช่น สุกรและซากสัตว์ตกลงไปในบ่อเกลือ แล้วต่อมาสุกรหรือซากสัตว์นั้นได้กลายสภาพเป็นเกลือ ก็ถือว่าเกลือนั้นรับประทานได้ และมูลสัตว์หรือสิ่งปฏิกูลที่ถูกเผาแล้วกลายเป็นขี้เถ้าก็ถือเป็นสิ่งที่ สะอาดในทัศนะของอิหม่ามมุฮัมมัดอิบนุอัลฮะซัน ซึ่งในต�ำราอัล-มุฮีฏ ระบุว่า อิหม่ามอะบูฮะนีฟะฮ์ และนักวิชาการในมัซฮับได้เลือกทัศนะของอิหม่ามมุฮัมมัดในเรื่องนี้ โดยให้เหตุผลว่า เพราะศาสนา ถือว่าคุณลักษณะของความเป็นนะญิสเป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะเดิมของสิ่งนั้นๆ ซึ่งในกรณีการ (1) อัล-อัฏอิมะฮ์ วัซซะบาอิห์ ฟิลฟิกฮิลอิสลามีย์; ดร.อบูสะรีอ์ มุฮัมหมัด อับดุลฮาดีย์ : หน้า 129
  • 3. 30 รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี | ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ แปรสภาพตามตัวอย่างข้างต้นไม่มีภาวะเดิมของสิ่งนั้นๆ เหลืออยู่ เพราะขาดส่วนประกอบตามนัย ของภาวะเดิม ดังนั้นเมื่อส่วนประกอบตามนัยของภาวะเดิมแปรสภาพไปทั้งหมด เกลือจึงมิใช่กระดูก และเนื้ออีกต่อไป ในต�ำราชัรหุฟัตฮิลเกาะดีร ระบุว่า น�้ำผลไม้คั้นเป็นสิ่งสะอาด แล้วต่อมากลายเป็นสุรา สุรา นั้นก็เป็นนะญิส แล้วต่อมากลายเป็นน�้ำส้มสายชู น�้ำส้มสายชูนั้นก็เป็นสิ่งสะอาด เราจึงรู้ได้ว่าการ แปรสภาพของวัตถุนั้นจะเป็นไปตามการหมดไปของคุณลักษณะที่เป็นผลมาจากการแปรสภาพนั้น และตามค�ำกล่าวของอิหม่ามมุฮัมมัดอิบนุอัลฮะซัน นักวิชาการฝ่ายอัล-ฮะนะฟียะฮ์จึงมีการแยก ประเด็นออกมาว่า สบู่ที่ท�ำจากน�้ำมันที่เป็นนะญิสนั้นเป็นสิ่งที่สะอาด ดังนั้น นะญิส เมื่อแปรสภาพ คุณลักษณะและความหมายของมันเปลี่ยนไป มันก็ออกจาก ความเป็นนะญิส ทั้งนี้ เพราะนะญิสเป็นนามหรือชื่อของตัววัตถุที่มีคุณลักษณะเฉพาะและด้วยการ ที่มันไม่มีคุณลักษณะเดิมเหลืออยู่ ความเป็นนะญิสของมันก็หมดไปด้วย (1) ส�ำหรับนักวิชาการฝ่ายอัช-ชาฟิอียะฮ์, อัล-มาลิกียะฮ์ และอัล-ฮะนาบิละฮ์ ถือว่า นะญิสอื่นจาก สุราจะไม่กลายเป็นสิ่งสะอาดด้วยการแปรสภาพ แต่ฝ่ายอัล-มาลิกียะฮ์ ยกเว้นกรณีของขี้เถ้าและควัน ของสิ่งที่เป็นนะญิสว่า เป็นสิ่งที่สะอาดตามค�ำกล่าวที่ได้รับการยอมรับ (มุอ์ตะมัด) ดร.ยูซุฟ อัล-กอรฎอวีย์ ได้ตอบค�ำถามเกี่ยวกับเอนไซน์ (Enzyme) ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่มี โครงสร้างซับซ้อนประเภทโปรตีน มีปรากฏอยู่ในเซลล์ที่มีชีวิตของพืชและสัตว์ ท�ำหน้าที่เป็นตัวเร่ง ปฏิกิริยาเคมีของกรรมวิธีต่างๆ ทางชีววิทยา เช่น การย่อยอาหาร การหมัก เป็นต้น ในอาหารบาง ประเภทมีเอนไซม์เป็นส่วนประกอบ จึงมีค�ำถามถึงข้อชี้ขาดของอาหารที่มีเอนไซม์ ซึ่งสกัดมาจาก กระดูกหรือไขมันของสุกรว่าเป็นอย่างไร? ดร.ยูซุฟ อัล-กอรฎอวีย์ ตอบว่า เอนไซม์ทั้งหมดที่ถูกสกัดนั้นเมื่อถูกสกัดมาจากกระดูกสุกร หรือไขมันของสุกร ก็มิใช่เป็นสิ่งต้องห้ามอย่างที่ผู้คนจ�ำนวนมากเข้าใจกัน และส่วนหนึ่งในบรรดา สิ่งที่ได้รับการรับรองจากปวงปราชญ์ คือ เมื่อนะญิสได้แปรสภาพแล้ว ข้อชี้ขาดของมันก็เปลี่ยนไป ดังเช่นกรณีของสุราเมื่อเปลี่ยนสภาพเป็นน�้ำส้มสายชูหรือนะญิสนั้นถูกเผาไหม้และกลายเป็นขี้เถ้า หรือเกลือได้กลืนกินนะญิสนั้น เช่นเมื่อสัตว์ตัวหนึ่งตายในบ่อเกลือ ถึงแม้ว่าสัตว์นั้นจะเป็นสุนัขหรือ สุกรก็ตาม และเกลือได้กลืนกินสัตว์ที่ตายนั้นจนหมดสิ้นและสัตว์นั้นได้กลายเป็นเกลืออย่างสมบูรณ์ ความเป็นสุนัขหรือความเป็นสุกรนั้นก็หมดไป ไม่มีสภาพเดิมอยู่อีกแล้ว เหลือไว้เพียงความเป็น เกลือ คุณลักษณะของสุนัขหรือสุกรได้เปลี่ยนไปแล้ว เพราะข้อชี้ขาดจะผูกพันอยู่กับเหตุผลของมัน ว่ามีหรือไม่มี เราจึงกล่าวได้ว่า เราจะไม่ชี้ขาดสิ่งต่างๆ ตามที่มาของสิ่งเหล่านั้น เพราะที่มาของสุรา (1) อัล-ฟิกฮุลอิสลามีย์ ว่า อะดิลละตุฮู; ดร.วะฮ์บะฮ์ อัซ-ซุฮัยลีย์ : 1/100
  • 4. ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ | รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี 31 คือองุ่นและสิ่งอื่นๆ ซึ่งเป็นที่อนุมัติตามศาสนบัญญัติ ครั้นเมื่อสุราแปรสภาพไปเป็นวัตถุออกฤทธิ์ที่ ท�ำให้มึนเมา เราจึงชี้ขาดด้วยความเป็นสุราของสิ่งนั้นและความเป็นที่ต้องห้ามของมัน ดังนั้นเมื่อ สุราแปรสภาพและกลายเป็นน�้ำส้มสายชู เราจึงชี้ขาดด้วยความเป็นที่อนุมัติและความสะอาดของมัน มีสิ่งมากมายซึ่งมีที่มาจากสุกรที่แปรสภาพกลายเป็นสิ่งอื่นไปแล้ว ซึ่งไม่เหมือนที่มาเดิม จึง ไม่ถือเป็นนะญิสอีกต่อไป และไม่ถือว่าสิ่งนั้นมีข้อชี้ขาดของเนื้อสุกรซึ่งเป็นที่ต้องห้ามอีก เช่น วัตถุ จ�ำพวกเยลลี่ ซึ่งสกัดมาจากกระดูกสัตว์และบางทีก็ปรากฏว่าเป็นกระดูกสุกร เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญ หลายท่าน อาทิ ดร.มุฮัมมัด อัล-ฮิวารีย์ ได้ยืนยันว่า วัตถุหรือสสารนี้ได้แปรสภาพทางเคมีไปแล้ว เหมือน อย่างสบู่บางชนิด ยาสีฟันและอื่นๆ ซึ่งมีที่มาจากสุกรและคุณลักษณะแห่งความเป็นสุกรเมื่อได้แปรสภาพทาง เคมี คุณลักษณะความเป็นสุกรนั้นจึงไม่มีเหลืออยู่อีกต่อไป (1) ดังนั้น ตามทัศนะของนักวิชาการที่ถือว่าการแปรสภาพ (อิสติฮาละฮ์) เป็นสิ่งที่ท�ำให้นะญิส กลายเป็นสิ่งสะอาดได้ ไม่ว่านะญิสนั้นจะเป็นสุกรหรือไม่ก็ตาม เมื่อนะญิสนั้นแปรสภาพไปเป็น สสารที่มีโครงสร้างเป็นอย่างอื่นด้วยกระบวนการทางเคมี นะญิสนั้นก็กลายสภาพไปเป็นสิ่งอื่นที่มิใช่ นะญิสอีกต่อไป ดังเช่นกรณีที่เกิดขึ้นกับสุราเมื่อสุราแปรสภาพเป็นน�้ำส้มสายชู น�้ำที่ผ่านกระบวนการ ทางเคมีและมีการกรองหลายครั้งจนกลับมาเป็นน�้ำบริสุทธิ์ที่ปลอดจากสารแขวนลอยเจือปนอยู่ น�้ำ นั้นก็ย่อมเป็นสิ่งที่สะอาดในตัวของมันเองและท�ำให้สิ่งอื่นสะอาดได้ ซึ่งประเด็นปัญหาว่าด้วยการ แปรสภาพของสสารโดยผ่านกระบวนการทางเคมีนี้เป็นสิ่งที่นักวิชาการในอดีตไม่เคยรู้จักมาก่อน ถึงแม้ว่านักวิชาการในบางมัซฮับ เช่น อัล-ฮะนะฟียะฮ์ จะเคยระบุถึงสิ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ เรื่องที่เป็นปัญหาร่วมสมัยนี้ก็ตาม และการแปรสภาพนี้จ�ำต้องค�ำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า นะญิสนั้นมี การแปรสภาพของคุณสมบัติและลักษณะเฉพาะของนะญิสเดิมจนหมดสิ้นโดยสมบูรณ์ภายหลังผ่าน กระบวนการทางฟิสิกส์และเคมีแล้ว มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติบางส่วนเท่านั้น ดังนั้น จึงต้องจ�ำแนกระหว่างการแปรสภาพ การรวมตัวของสสารโดยผ่านกระบวนการทางเคมีและการ ผสมออกจากกัน เพราะทั้งสามกรณีนี้มีความต่างกัน (2) การพิจารณาเรื่องการแปรสภาพของนะญิสเป็นสิ่งสะอาดนั้นจ�ำต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป กล่าวคือ ในกรณีของนะญิสที่จะน�ำเรื่องการแปรสภาพมาประกอบค�ำวินิจฉัยในเรื่องฮาลาลและ ฮารอมทั้งในส่วนการบริโภคและอุปโภคผลิตภัณฑ์ต่างๆ จะต้องมิใช่นะญิสที่นักวิชาการเห็นพ้องว่า (1) ฟะตาวา มุอาศิเราะฮ์; ดร.ยูซุฟ อัล-กอรฎอวีย์ : 3/658 (2) มะวาด นะญิสะฮฺ ฟิลเฆาะซาอ์ วัด-ดะวาอ์; อับดุลฟัตตาฮฺ มะฮฺมูด อิดรีส : หน้า 8-9
  • 5. 32 รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี | ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ เป็นนะญิส เช่น สุกรหรือสัตว์ที่ห้ามบริโภค เป็นต้น ทั้งนี้ เป็นการให้น�้ำหนักแก่ทัศนะของนักวิชาการ ที่ระบุว่า การแปรสภาพของวัตถุหรือสสารที่เป็นนะญิสไม่ท�ำให้วัตถุหรือสสารที่เป็นนะญิสนั้นเป็น สิ่งที่สะอาด ซึ่งดังกล่าวเป็นทัศนะของนักนิติศาสตร์อิสลามส่วนใหญ่ที่มีหลักฐานชัดเจนและ แข็งแรง ‫بالصواب‬ ‫اعلم‬ ‫واهلل‬ อาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี * * *