SlideShare a Scribd company logo
1 of 51
Download to read offline
รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕)
225
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
แนวนโยบาย
ด้านการต่างประเทศ
มาตรา ๘๒	รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับนานา
ประเทศ และพึงถือหลักในการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค ตลอดจน
ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี
รวมทั้งตามพันธกรณีที่ได้กระท�ำไว้กับนานาประเทศและองค์การ
ระหว่างประเทศ
	 รัฐต้องส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวกับนานา
ประเทศ ตลอดจนต้องให้ความคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ของ
คนไทยในต่างประเทศ
รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕)
226
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
มาตรา ๘๒	ส่งเสริมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับนานาประเทศ
และพึงถือหลักในการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาคตลอดจนต้องปฏิบัติ
ตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้ง
ตามพันธกรณีที่ได้กระท�ำไว้กับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศ
	 ส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับนานา
ประเทศ ตลอดจนต้องให้ความคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ของ
คนไทยในต่างประเทศ
ในช่วงปีแรกของการท�ำงานรัฐบาลประสบความส�ำเร็จในการเรียกคืนความเชื่อมั่น
และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศโดยเฉพาะในแง่เสถียรภาพทางการเมืองและ
ความสามารถในการบริหารจัดการในภาวะวิกฤตจากกรณีอุทกภัย นอกจากนั้น
รัฐบาลประสบความส�ำเร็จในการส่งเสริมความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือกับ
ประเทศเพื่อนบ้านเช่นราชอาณาจักรกัมพูชาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามประเทศในภูมิภาค
อาเซียน ตลอดจนนานาประเทศโดยเฉพาะประเทศที่เป็นหุ้นส่วนส�ำคัญทาง
ยุทธศาสตร์และตลาดใหม่ นอกจากนั้น ยังได้ด�ำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมสู่
ประชาคมอาเซียนและเสริมสร้างบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในอาเซียน ตลอดจน
ขยายบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทั้งของไทย
และของประชาคมระหว่างประเทศ โดยมีการด�ำเนินงานที่ส�ำคัญ ดังนี้
๑.	 พัฒนาความร่วมมือและความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
และนานาประเทศ โดยด�ำเนินการอยู่บนพื้นฐานหลัก ได้แก่ (๑) รักษาช่องทาง
ติดต่อสื่อสารที่ใกล้ชิด (๒) เสริมสร้างบรรยากาศที่เกื้อกูลต่อความร่วมมือทวิภาคี
ให้คงอยู่อย่างต่อเนื่อง (๓) เสริมสร้างและรักษาความเชื่อมั่นและความไว้เนื้อเชื่อใจ
ในระดับรัฐและผู้น�ำระดับสูง (๔) รักษาภาพลักษณ์ที่ดีของไทยให้คงอยู่ใน
ความรู้สึกและทัศนคติในระดับประชาชน และ (๕) ยึดมั่นว่าความมั่นคง
และความมั่งคั่งของประเทศเพื่อนบ้านคือ ความมั่นคงและความมั่งคั่งของไทย
ทั้งนี้ ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงกับต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
โดยนายกรัฐมนตรีได้เยือนต่างประเทศแบบทวิภาคีรวม ๑๘ ประเทศ (ประเทศ
ในอาเซียน๙ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนสาธารณรัฐเกาหลีญี่ปุ่นสาธารณรัฐ
อินเดีย ราชอาณาจักรบาห์เรน รัฐกาตาร์ เครือรัฐออสเตรเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐ
เยอรมนีและสาธารณรัฐฝรั่งเศส)รวมทั้งพระราชวงศ์ผู้น�ำรัฐบาลและบุคคลส�ำคัญ
จากต่างประเทศมาเยือนไทยรวม ๑๗ ครั้ง (เช่น สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน
สร้างความร่วมมือทาง
เศรษฐกิจที่ส�ำคัญ เช่น
	 การเปิดจุดผ่านแดนถาวร
เมียวดี การสร้าง
ท่าเรือน�้ำลึกทวาย
และเส้นทางคมนาคม
ไทย-เมียนมาร์
	 การยกระดับ
จุดผ่านแดน
ระหว่างไทย-ลาว
การสร้างความมั่นคง
ทางชายแดนไทย-กัมพูชา
	 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ในพื้นที่ชายแดน
ไทย-มาเลเซีย
ใน ๖ สาขา ได้แก่
น�้ำมันและก๊าซ พลังงาน
ยานยนต์ ยางพารา
น�้ำตาลและข้าว
และการท่องเที่ยว
รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕)
227
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
ดารุสซาลามประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
และสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐ
สังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักร
บาห์เรน แคนาดา และเลขาธิการสหประชาชาติ) การที่นายกรัฐมนตรีและผู้บริหาร
ในรัฐบาลได้รับเชิญไปเยือนต่างประเทศ รวมทั้งมีผู้น�ำและบุคคลส�ำคัญจาก
ต่างประเทศมาเยือนไทยเป็นจ�ำนวนมาก แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ารัฐบาลได้รับ
การยอมรับจากนานาประเทศเป็นอย่างดี ประเทศต่าง ๆ ให้ความเชื่อมั่นในฐานะ
ที่เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน และให้ความเชื่อมั่น
ต่อความสามารถของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนฟื้นฟู
ประเทศภายหลังวิกฤตอุทกภัย ผลการด�ำเนินงานที่ส�ำคัญของรัฐบาล มีดังนี้
๑.๑	 ความสัมพันธ์กับประเทศในกลุ่มอาเซียน ได้มีการหารือ
และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศในกลุ่มอาเซียนทุกประเทศ ดังนี้
๑.๑.๑	 ความสัมพันธ์ไทย-เมียนมาร์ นายกรัฐมนตรี
ได้เดินทางเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์อย่างเป็นทางการเมื่อเดือน
ตุลาคม ๒๕๕๔ ท�ำให้มีการเปิดจุดผ่านแดนถาวรแม่สอด-เมียวดี ตรงข้าม
อ�ำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ หลังจากปิดมากว่า ๑ ปี
(เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๓) การเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราว
ที่บ้านพุน�้ำร้อน อ�ำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อส่งเสริม
ความร่วมมือในการก่อสร้างท่าเรือน�้ำลึกทวายและเส้นทางคมนาคม
ไทย-เมียนมาร์ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
ได้มาเยือนไทยอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕
และได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum
of Understanding: MOU) ๒ ฉบับ คือ บันทึกความเข้าใจ
ว่าด้วยการพัฒนาที่ครอบคลุมเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและ
พื้นที่ใกล้เคียง และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ
เพื่อการพัฒนาในเมียนมาร์
๑.๑.๒	 ความสัมพันธ์ไทย-ลาว มีความใกล้ชิดมากในทุกระดับ
โดยได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงและด�ำเนินโครงการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
อาทิ การเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
อย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี(กันยายน๒๕๕๔)การเยือนไทย
อย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว(มิถุนายน๒๕๕๕)การประชุมคณะกรรมาธิการร่วม
ว่าด้วยความร่วมมือไทย-ลาวครั้งที่๑๗ที่ประเทศลาว(มีนาคม๒๕๕๕)
การเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่๓(พฤศจิกายน๒๕๕๔)
และการผลักดันให้ยกระดับจุดผ่านแดนระหว่างกัน เช่น ที่ภูดู่
จังหวัดอุตรดิตถ์บ้านฮวกจังหวัดพะเยาให้เป็นจุดผ่านแดนถาวร
รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕)
228
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
๑.๑.๓	 ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา เพื่อความสงบสุข
สันติภาพ และความมั่นคงของชายแดน รัฐบาลไทยกับกัมพูชาจึงเห็นพ้องกัน
ในการแยกประเด็นข้อขัดแย้งออกจากประเด็นด้านความร่วมมือรวมทั้ง
มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูง เช่น การเยือนราชอาณาจักรกัมพูชา
อย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี(กันยายน๒๕๕๔)และการเยือน
ราชอาณาจักรกัมพูชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(ธันวาคม๒๕๕๔)นอกจากนี้ยังได้มีการขับเคลื่อนกลไกทวิภาคี
อื่นๆเช่นการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย–กัมพูชา
(General Border Committee: GBC) และการประชุม
คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border
Committee: RBC) ด้านกองทัพภาคที่ ๑ กับภูมิภาคทหารที่ ๕
(มีนาคม ๒๕๕๕) และมีการเปิดด่านไทย-กัมพูชา เช่น
บ้านหนองเอี่ยน จังหวัดสระแก้ว
๑.๑.๔ ความสัมพันธ์ไทย-มาเลเซีย นายกรัฐมนตรีได้เยือน
มาเลเซียอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ และได้ผลักดันให้มี
ความคืบหน้าในการเจรจาร่างความตกลงว่าด้วยการเดินทางข้ามแดนไทย-มาเลเซีย
ฉบับปรับปรุงจากความตกลงดังกล่าวเมื่อปีพ.ศ.๒๔๘๓(เริ่มเจรจาตั้งแต่ปี๒๕๔๗)
ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้บรรลุข้อตกลงในการประชุมเจรจากัน
เป็นครั้งที่ ๕ เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๕๕ โดยร่างความตกลง
ฉบับปรับปรุงจะส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ชายแดนเดินทาง
ไปมาหาสู่กันได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ ไทยและมาเลเซียก�ำลัง
เตรียมการส�ำหรับการหารือประจ�ำปี ครั้งที่ ๕ ระหว่าง
นายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศ เพื่อผลักดันความร่วมมือที่เป็น
ผลประโยชน์ร่วมของทั้งสองประเทศ รวมทั้งอยู่ระหว่างเตรียม
จัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี
ครั้งที่๑๒(JointCommission:JC)การประชุมคณะกรรมการ
ว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมส�ำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซียระดับรัฐมนตรี
(Joint Development Strategy for Border Areas: JDS) ครั้งที่ ๓ และ
การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย ใน ๖ สาขา
ได้แก่ น�้ำมันและก๊าซ พลังงาน ยานยนต์ ยางพารา น�้ำตาลและข้าว และการ
ท่องเที่ยว
รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕)
229
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
๑.๑.๕	 ความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม รัฐบาลได้ผลักดัน
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายตั้งคณะท�ำงานเพื่อหารือเรื่อง
ความร่วมมือด้านข้าว นอกจากนี้ ไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ได้เห็นชอบให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมในโอกาสแรก เพื่อกระชับ
ความสัมพันธ์ระหว่างกันทุกด้าน และล่าสุดทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้มี
การจัดประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมในช่วงเดือนตุลาคม ๒๕๕๕
๑.๑.๖	 ความสัมพันธ์ไทย-อินโดนีเซีย มีความคืบหน้า
โดยทั้งสองฝ่ายได้เจรจารายละเอียดของร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการ
ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ นอกจากนี้ รัฐบาลผลักดัน
ให้มีการเร่งรัดการต่ออายุ MOU ด้านประมง โดยทั้งสองฝ่ายก�ำลังเจรจา
เนื้อหาของ MOU โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความรับผิดชอบในการส่งกลับ
ลูกเรือประมงต่างชาติที่ถูกจับและเป็นโรคติดต่อหรือโรคอุบัติใหม่ เมื่อเดือน
กรกฎาคม ๒๕๕๕ ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการความร่วมมือทางการ
ประมงไทย-อินโดนีเซียครั้งที่๘ร่วมกับฝ่ายสาธารณรัฐอินโดนีเซียเพื่อหารือ
ถ้อยค�ำที่เหมาะสมเรื่องการรับผิดชอบส่งกลับลูกเรือ นอกจากนั้น รัฐบาล
ทั้งสองฝ่ายยังเห็นชอบให้กระชับความร่วมมือด้านอาหารฮาลาลด้วย
๑.๑.๗	 ความสัมพันธ์ไทย-สิงคโปร์ รัฐบาลผลักดันให้
มีการประชุม Singapore-Thailand Enhanced Economic Relations
(STEER) ครั้งที่ ๓ ในโอกาสแรก เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุน
๑.๑.๘	 ความสัมพันธ์ไทย-ฟิลิปปินส์ รัฐบาลได้ผลักดัน
ให้มีการเจรจาแก้ไขอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะผัก ผลไม้ และสัตว์ปีก
๑.๑.๙	 ความสัมพันธ์ไทย-บรูไนดารุสซาลาม รัฐบาล
ได้เจรจาผลักดันการขายข้าวหอมมะลิส่งเสริมความร่วมมือด้านอาหารฮาลาล
และได้เจรจาให้เนการาบรูไนดารุสซาลามพิจารณาเพิ่มการจ้างแรงงานไทย
รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕)
230
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
๑.๒	 ความสัมพันธ์ไทย–จีนมีการแลกเปลี่ยนการเยือน
ระดับสูงของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งได้มีการลงนามแผนปฏิบัติการร่วม
ว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีนซึ่งก�ำหนดแนวทางภาพรวม
ยุทธศาสตร์ความร่วมมือไทย-จีน จ�ำนวน ๑๗ สาขา ในช่วง ๕ ปี
(ระหว่างปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙) และการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วม
ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย ๔ ด้าน
ได้แก่การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาการสร้างระบบการบริหาร
จัดการน�้ำ โครงการรถไฟไทย-จีน (ความเร็วสูง) และพลังงานทดแทน
ซึ่งตอบสนองประโยชน์ของประเทศและประชาชนของสองฝ่าย
ทั้งนี้ รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายการค้าไทย-จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐ ต่อปี
ในช่วง ๕ ปีข้างหน้า และเป้าหมายการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๕ ต่อปี
๑.๓	 ความสัมพันธ์ไทย–ญี่ปุ่น อยู่ในระดับที่ดี
มาอย่างต่อเนื่อง มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับพระราชวงศ์และ
ผู้น�ำระดับสูงระหว่างกันอย่างสม�่ำเสมอ โดยเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๕
นายกรัฐมนตรีได้เดินทางเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ในขณะเดียวกัน
มีการให้ความช่วยเหลือระหว่างกันจากทุกภาคส่วนในยามประสบ
ภัยพิบัติ เช่น ในเหตุการณ์อุทกภัยในไทยเมื่อปลายปี ๒๕๕๔ ญี่ปุ่น
ให้ความช่วยเหลือไทยทั้งสิ้น ๕๘๗ ล้านบาท ในด้านการค้า รัฐบาล
ตั้งเป้าหมายการค้ากับญี่ปุ่นประมาณ ๓ ล้านล้านบาทภายในปี ๒๕๖๐
๑.๔	 ความสัมพันธ์ไทย–เกาหลีใต้ นายกรัฐมนตรี
ได้เยือนสาธารณรัฐเกาหลีเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ และได้หารือกับ
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี เรื่องความร่วมมือในการบริหารจัดการน�้ำ
ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว การเกษตร การค้า พลังงาน และ
ด้านเทคโนโลยี
๑.๕	 ความสัมพันธ์ไทย-กลุ่มประเทศในภูมิภาคยุโรป
รัฐบาลได้ขยายความสัมพันธ์ในทุกมิติ บนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนทาง
ยุทธศาสตร์ อาทิ กรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ
(PartnershipandCooperationAgreement:PCA)การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
และรับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากยุโรปและการจัดกิจกรรมฉลองครบรอบ๕๐๐ปี
ความสัมพันธ์ไทย-โปรตุเกส รวมทั้งการเดินทางเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศส
และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือน
กรกฎาคม ๒๕๕๕ ซึ่งในการเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีนายกรัฐมนตรี
รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕)
231
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
ได้หารือกับผู้น�ำสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเรื่องการแก้ปัญหาอุทกภัย การลงทุน
ความร่วมมือกับภาควิทยาลัยอาชีวะ ความร่วมมือในเรื่องเศรษฐกิจสีเขียวและ
การใช้พลังงานทดแทนซึ่งสอดคล้องกับแนวทางพัฒนาประเทศของไทยโดยเยอรมนี
จะส่งเจ้าหน้าที่เทคนิคมาให้ความรู้เกี่ยวกับคุณภาพสินค้าของไทย เพื่อเพิ่มโอกาส
ในการส่งออกไปยุโรป ในการเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสนายกรัฐมนตรีได้หารือกับ
นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐฝรั่งเศสเรื่องการขยายตลาดอุตสาหกรรมสิ่งทอ อัญมณี
และครัวไทยสู่ครัวโลก เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพสูงในเรื่องเหล่านี้
๑.๖	 ความสัมพันธ์ไทย–ประเทศในภูมิภาคอเมริกาและแปซิฟิกใต้
เพื่อพบปะหารือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับส่วนราชการองค์กรและภาคเอกชน
ของสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเครือรัฐออสเตรเลีย ซึ่งท�ำให้ความร่วมมือของ
ทั้งสองฝ่ายมีผลเป็นรูปธรรม ดังนี้
๑.๖.๑	 ความร่วมมือไทย-สหรัฐอเมริกา มีการแลกเปลี่ยน
การเยือนระดับสูง เช่น การเยือนไทยของนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔
การหารือทวิภาคีระหว่างนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดีบารัก โอบามา เมื่อเดือน
พฤศจิกายน ๒๕๕๔ และการเยือนสหรัฐอเมริกา ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การต่างประเทศเพื่อประชุมเชิงยุทธศาสตร์(StrategicDialogue)เมื่อเดือนมิถุนายน
๒๕๕๕ ซึ่งได้หารือประเด็นด้านความมั่นคงในภูมิภาค บทบาทของสหรัฐอเมริกา
ในการส่งเสริมความก้าวหน้าในภูมิภาค ตลอดจนความร่วมมือไทย-สหรัฐอเมริกา
ในมิติต่าง ๆ
๑.๖.๒	 ความร่วมมือไทย-แคนาดา การเยือนไทยของ
นายกรัฐมนตรีแคนาดา เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ ในโอกาสครบรอบ ๕๐ ปีของ
การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-แคนาดา ซึ่งได้มีความร่วมมือเกี่ยวกับ
การแลกเปลี่ยนเยาวชน ความร่วมมือในการปราบปรามการลักลอบเข้าเมือง
การป้องกันการก่อการร้าย และการพิจารณาเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรี
ไทย-แคนาดา
๑.๖.๓	 ความสัมพันธ์ไทย–ออสเตรเลีย มีการจัดกิจกรรม
เฉลิมฉลองครบรอบ ๖๐ ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต
ไทย-ออสเตรเลีย รวมถึงการเดินทางเยือนเครือรัฐออสเตรเลียอย่างเป็นทางการ
ของนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕ ซึ่งทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับ
การส่งเสริมการค้า การลงทุน พลังงาน วิทยาศาสตร์ และการศึกษา
รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕)
232
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
๑.๖.๔	 ประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดใหม่
(Emerging Market) ที่ไทยอาจขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน รัฐบาล
สนับสนุนการจัด Road Show เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านการค้าและการลงทุน
รวมถึงขับเคลื่อนการจัดท�ำความตกลงการค้าเสรีฉบับสมบูรณ์ระหว่างไทย-เปรู
และไทย-ชิลี ซึ่งอยู่ระหว่างด�ำเนินการ
๑.๗	 ความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศอื่น ๆ ที่ส�ำคัญ ดังนี้
๑.๗.๑	 ความสัมพันธ์ไทย-ประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้
โดยเฉพาะความร่วมมือไทย-อินเดีย ซึ่งทั้งสองประเทศได้จัดการประชุม
คณะกรรมาธิการร่วม (JC) ที่กรุงนิวเดลี รวมทั้งนายกรัฐมนตรีได้ไปเยือน
สาธารณรัฐอินเดียอย่างเป็นทางการในฐานะแขกเกียรติยศของรัฐบาลแห่ง
สาธารณรัฐอินเดีย เพื่อร่วมงานเฉลิมฉลองวันสถาปนาสาธารณรัฐ ระหว่าง
วันที่ ๒๔–๒๖ มกราคม ๒๕๕๕ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสาธารณรัฐอินเดียให้เกียรติและ
ให้ความส�ำคัญแก่ไทย ในการเยือนดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะยกระดับ
ความสัมพันธ์ไทย-อินเดียให้เป็น ”หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์„ อย่างรอบด้าน รวมทั้ง
การเป็นประตูระหว่างกันในการเชื่อมโยงระดับภูมิภาค
๑.๗.๒	 ความสัมพันธ์ไทย-ภูมิภาคตะวันออกกลาง
นายกรัฐมนตรีได้เดินทางเยือนราชอาณาจักรบาห์เรนและรัฐกาตาร์อย่างเป็นทางการ
ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ซึ่งนอกจากจะเป็นการท�ำความรู้จักและ
สร้างความคุ้นเคยกับผู้น�ำทั้งสองประเทศแล้ว ยังประสบความส�ำเร็จในการเจรจา
ความร่วมมือด้านอื่น ๆ เช่น ความร่วมมือไทย-กาตาร์ด้านพลังงาน (โดยไทยจะซื้อ
ก๊าซ LPG จากกาตาร์) สาธารณสุข แรงงาน การลงทุนในผลิตภัณฑ์การเกษตร
และฮาลาล ความร่วมมือไทย-บาห์เรนด้านการลงทุนในตลาดทุน ด้านความมั่นคง
ทางอาหาร ด้านพลังงาน
๑.๗.๓	 ความสัมพันธ์ไทย–เอเชียกลาง รัฐบาลได้แสวงหา
ลู่ทางการขยายแหล่งพลังงาน ตลาดการค้าและการลงทุนใหม่ ๆ ในกลุ่มประเทศ
ในเอเชียกลาง เช่น ความสัมพันธ์ไทย–คาซัคสถาน มีการประชุม
คณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย–คาซัคสถาน ครั้งที่ ๒ และ
การเปิดสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงอัสตานาของสาธารณรัฐคาซัคสถานในปี ๒๕๕๕
และความสัมพันธ์ไทย–อุซเบกิสถาน ทั้งสองประเทศได้ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลอง
ในโอกาสครบรอบ ๒๐ ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อุซเบกิสถาน
เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕ ที่กระทรวงการต่างประเทศ
การไปเยือนประเทศต่าง ๆ
ท�ำให้สามารถเปิดตลาด
ส�ำคัญ ๆ เช่น ตลาดไก่
ในราชอาณาจักรบาห์เรน การยกเลิก
การห้ามน�ำเข้าไก่จากไทย
ของญี่ปุ่น
รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕)
233
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
๑.๗.๔	 ความสัมพันธ์ไทย-ประเทศในภูมิภาคแอฟริกา
รัฐบาลส่งเสริมการค้าและความร่วมมือด้านต่าง ๆ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือ
เพื่อการพัฒนา โดยเฉพาะในด้านที่ไทยมีความเชี่ยวชาญ อาทิ ด้านการเกษตรและ
ประมง สาธารณสุข การสร้างรายได้และการศึกษา ส�ำหรับการแลกเปลี่ยน
การเยือนระดับสูง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐกินีได้มาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ
ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๕ และหารือกับนายกรัฐมนตรีในประเด็น
ความร่วมมือต่าง ๆ กับไทย เช่น ด้านการค้า เหมืองแร่ พลังงาน
๑.๘	 แก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการ
ทางการทูต สนธิสัญญา และกฎหมาย รัฐบาลได้ให้ความส�ำคัญในการแก้ไขปัญหา
ตามแนวพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้
๑.๘.๑	 ส�ำรวจและจัดท�ำหลักเขตแดน
ตามหลักการของกฎหมายและสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้อง
โดยได้ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิด เช่น
การตรวจพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์ บริเวณด่านสิงขร
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๔
การตรวจสอบหลักเขตแดนไทย-มาเลเซีย ที่รัฐเกดะห์
มาเลเซีย เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๕๕ และการตรวจพื้นที่
ชายแดนไทย-กัมพูชา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
๑.๘.๒	 ผลักดันและจัดการประชุมที่เกี่ยวกับกิจการชายแดน
ความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน และการป้องกันและปราบปรามปัญหา
ข้ามแดนอย่างสม�่ำเสมอ เช่น การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (GBC)
ไทย-มาเลเซีย ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป
(GBC) ไทย-กัมพูชา ที่กรุงพนมเปญ การประชุมคณะกรรมการร่วมรักษา
ความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไป ไทย-ลาว (GBC) ที่กรุงเทพมหานคร
การประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค(RBC)ไทย-เมียนมาร์ที่เมืองตองจี
รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕)
234
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
๒.	 กระชับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับ
ประเทศ กลุ่มประเทศ และองค์การระหว่างประเทศที่มีบทบาทส�ำคัญของโลก
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในเชิงยุทธศาสตร์ ขยายตลาด และเพิ่มขีดความสามารถ
ทางเศรษฐกิจของไทย รัฐบาลได้ยกระดับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วน
ทางยุทธศาสตร์กับประเทศอื่น ๆ รวมทั้งในกรอบความร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาค
และระดับโลก ดังนี้
๒.๑	 สร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาค
ให้มีความคืบหน้า ดังนี้
๒.๑.๑	 ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-
แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation
Strategy: ACMECS) ไทยมีบทบาทเด่นในฐานะ
ประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกอื่น ๆ
ในกลุ่ม ทั้งทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านวิชาการ
เพื่อปูทางไปสู่การค้า การลงทุน ซึ่งจะช่วยสร้างงานและ
สร้างรายได้ โดยมีการด�ำเนินงานที่ส�ำคัญ ได้แก่ การจัดท�ำ
แผนการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) การจัดตั้งศูนย์บริการ
จุดเดียวแบบเบ็ดเสร็จ ณ ด่านชายแดน จ�ำนวน ๑๐ แห่ง การเจรจากับกัมพูชา
ให้มีการด�ำเนินการตามความตกลง ACMECS Single Visa (ซึ่งเป็นโครงการ
น�ำร่องระหว่างไทยกับกัมพูชา) และการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงในเส้นทางสายรอง
อาทิ เส้นทางเชิงเขาตะนาวศรี-กอกะเร็ก การซ่อมแซมเส้นทางเมียวดี-เชิงเขา
ตะนาวศรี
๒.๑.๒	 ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลส�ำหรับความร่วมมือ
หลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for
Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTEC)
รัฐบาลมีบทบาทอย่างต่อเนื่อง โดยส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ เพื่อผลักดัน
ความร่วมมือในหมู่ประเทศสมาชิกในประเด็นที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน เช่น
การประชุมรัฐมนตรีว่าด้วยการลดความยากจนภายใต้กรอบ BIMSTEC ครั้งที่ ๒
เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๕๕ ที่สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล
รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕)
235
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
๒.๑.๓	 ความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มน�้ำโขงซึ่งมีกรอบ
ความร่วมมือลุ่มน�้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) ไทยมีบทบาท
ในการผลักดันการพัฒนาลุ่มน�้ำโขงร่วมกับประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาต่าง ๆ
ที่ส�ำคัญ คือ แผนงานการพัฒนาความร่วมมือ
ทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้ำโขง ๓ ประเทศ
ซึ่งเน้นการพัฒนาความเชื่อมโยงทางกายภาพ การเพิ่ม
ความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาชุมชน
และสังคม โดยบูรณาการผ่านการพัฒนาแนวระเบียง
เศรษฐกิจ ทั้งนี้ ในการประชุมสุดยอดผู้น�ำ ๖ ประเทศ
ลุ่มน�้ำโขง ครั้งที่ ๔ (ธันวาคม ๒๕๕๔) นายกรัฐมนตรี
ของไทยได้ร่วมให้ความเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์
การพัฒนา GMS ระยะ ๑๐ ปี ฉบับใหม่ ซึ่งจะน�ำไปสู่การจัดท�ำแผนการลงทุน
ของอนุภูมิภาคต่อไป ความร่วมมือลุ่มน�้ำโขงกับญี่ปุ่น (Mekong-Japan
Cooperation Framework) โดยทั้ง ๒ กรอบความร่วมมือเน้นการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมการค้า การลงทุน และโลจิสติกส์ตาม
แนวพื้นที่เศรษฐกิจ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน และการเรียนรู้ประสบการณ์จากญี่ปุ่น
ในการจัดการภัยพิบัติ ข้อริเริ่มลุ่มน�้ำโขงตอนล่างกับสหรัฐอเมริกา (US-Lower
Mekong Initiative: US-LMI)ไทยสนับสนุนการที่สหรัฐอเมริกาเพิ่มความสนใจ
ในภูมิภาค โดยเน้นการใช้ประโยชน์จากสถาบันฝึกอบรมที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความร่วมมือลุ่มน�้ำโขงกับสาธารณรัฐเกาหลี
(Mekong–Korea Cooperation) ซึ่งให้ความส�ำคัญกับการบริหารจัดการ
ทรัพยากรน�้ำ
ความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาคและความร่วมมือกับประเทศ
นอกภูมิภาคดังกล่าวข้างต้น ตอบสนองผลประโยชน์ของไทยและภูมิภาค เช่น
ในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ความร่วมมือในการบริหารจัดการน�้ำ ความร่วมมือ
ด้านภัยพิบัติ ทั้งนี้ ในช่วงปลายปี ๒๕๕๕ ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ
จัดการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคแม่น�้ำ
ล้านช้าง-แม่น�้ำโขงเพื่อน�ำไปสู่การประชุมในระดับรัฐมนตรีในช่วงต้นปี๒๕๕๖ด้วย
รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕)
236
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
๒.๒	 ส่งเสริมการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ และการพัฒนา
ศักยภาพให้กับภาคเอกชนไทย ซึ่งมีการด�ำเนินงานที่ส�ำคัญ ดังนี้
๒.๒.๑	 สานต่อการเจรจาความตกลงส่งเสริมและคุ้มครอง
การลงทุนกับประเทศต่าง ๆ ที่ได้ด�ำเนินการอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว อาทิ ระหว่างไทย
กับสาธารณรัฐมาดากัสการ์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และรัฐกาตาร์ นอกจากนี้
ยังได้ด�ำเนินการเจรจาเพื่อจัดท�ำความตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade
Agreement: FTA) กับต่างประเทศ เช่น สาธารณรัฐชิลี สาธารณรัฐเปรู
๒.๒.๒	 ส่งเสริมการค้าและการลงทุน และเสริมศักยภาพ
ของภาคเอกชนไทยในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดกิจกรรม
”Road Show„ ในต่างประเทศ การจัดงานแสดง เผยแพร่และจ�ำหน่ายสินค้าไทย
รวมถึงการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และการจัดท�ำข้อมูล
ทางเศรษฐกิจ เพื่อ ”ชี้ช่องทาง„ ”สร้างโอกาส„ และ ”เตือนภัย„ เกี่ยวกับการค้า
และการลงทุนในต่างประเทศ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ผ่านทางช่องทางต่าง ๆ
เช่นการส่งเสริมสินค้าเกษตรและปศุสัตว์เพื่อการส่งออกนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก
การส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย นอกจากนี้ มีการน�ำคณะนักธุรกิจไทยเยือน
ต่างประเทศพร้อมกับนายกรัฐมนตรีและผู้บริหารของรัฐบาล โดยเน้นสาขา
ที่ไทยมีความสนใจ และแต่ละประเทศมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ อาทิ สาขา
ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เกษตรและอาหาร ท่องเที่ยว
การแพทย์และศัลยกรรม โดยเดือนมีนาคม–กรกฎาคม ๒๕๕๕ มีการเยือนแล้ว
๘ ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐประชาชนจีน ราชอาณาจักร
บาห์เรนรัฐกาตาร์เครือรัฐออสเตรเลียสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐ
เยอรมนี
รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕)
237
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
๒.๓	 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการท่องเที่ยว
โดยมีการด�ำเนินงานที่ส�ำคัญ ดังนี้
๒.๓.๑	 โครงการพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยว
กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยจัดท�ำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนความร่วมมือ
ด้านการท่องเที่ยว ตามกรอบความร่วมมือลุ่มน�้ำโขง (GMS) และสร้างความรู้
ความเข้าใจส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือในการด�ำเนินงานขับเคลื่อนงานภายใต้
กรอบความร่วมมือต่าง ๆ
๒.๓.๒	 โครงการส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว
เชิงการแพทย์และสุขภาพตามแนวทางพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย
มาเลเซีย และไทย โดยจัดท�ำข้อมูลสถิติและศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว
ที่เข้ามาใช้บริการทางการแพทย์และสุขภาพในประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่
๑๔ จังหวัดภาคใต้ เพื่อการวางแผนพัฒนาการตลาดการท่องเที่ยว ซึ่งอยู่ระหว่าง
การจัดเก็บสถิติข้อมูลเพื่อด�ำเนินโครงการ
๒.๓.๓	 ผลักดันการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาค
โดยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมคณะท�ำงานด้านท่องเที่ยว ครั้งที่ ๒๙ การประชุม
Mekong Tourism Forum 2012 ภายใต้กรอบความร่วมมือลุ่มน�้ำโขง (GMS)
รวมทั้งการจัดประชุมร่วมคณะกรรมาธิการภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก
และคณะกรรมาธิการภูมิภาคเอเชียใต้ ครั้งที่ ๒๔ เพื่อรับทราบผลส�ำเร็จที่ผ่านมา
รวมทั้งแลกเปลี่ยนแนวทางการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว และร่วมกัน
ก�ำหนดแนวทางการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวร่วมกัน
รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕)
238
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
๒.๔	 สนับสนุนการค้าชายแดนของไทย (มาเลเซีย เมียนมาร์
ลาว และกัมพูชา) โดยในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ (ตุลาคม ๒๕๕๔–สิงหาคม ๒๕๕๕)
มีมูลค่า ๘๓๕,๓๑๙ ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ ๒๕๕๔
ที่มีมูลค่า ๗๙๓,๘๑๓ ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕.๒ โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบ
ดุลการค้ามูลค่า ๑๓๗,๙๒๒ ล้านบาท เป็นการส่งออกมูลค่า ๓๓๖,๖๙๗ ล้านบาท
และน�ำเข้ามูลค่า ๒๓๘,๗๗๕ ล้านบาท
๒.๔.๑	 พัฒนาการค้าชายแดนและการลงทุนของไทยกับ
ประเทศเพื่อนบ้าน โดยจัดประชุมและสัมมนาให้ความรู้ข้อมูลด้านกฎระเบียบ
การค้าการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน และสิทธิพิเศษทางการค้ากับหน่วยงาน
ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ ได้แก่ จัดสัมมนาเรื่อง ”โอกาสการค้า
การลงทุนไทยในประเทศเพื่อนบ้าน„ จัดสัมมนาเรื่อง ”เจาะตลาดใหม่ก้าวไกล
แดนภารตะ„ และจัดสัมมนาและเป็นวิทยากรการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน
๒.๔.๒	 ผลักดันความร่วมมือการค้าชายแดนผ่านกลไกต่าง ๆ
ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดท�ำแผนแม่บทการขับเคลื่อนหุ้นส่วนการพัฒนา
เขตเศรษฐกิจ ๓ ฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย (The IMT-GT Regional
Implementation Blueprint Workshop) ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
โดยได้รับทราบผลความคืบหน้าและสรุปโครงการของทั้ง ๓ ประเทศ ที่จะถูก
บรรจุในแผนแม่บทการขับเคลื่อน (Implementation Blueprint) ปี ๒๕๕๕–๒๕๕๗
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ ๑๘ และการประชุมระดับมุขมนตรีและ
ผู้ว่าราชการจังหวัด ครั้งที่ ๘ ภายใต้แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย
อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle:
IMT-GT) และการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อติดตามการขับเคลื่อน
และเสริมสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในโครงการภายใต้ IMT-GT
Implementation Blueprint (IB) ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ เพื่อติดตามการขับเคลื่อน
โครงการอย่างจริงจังทั้งในด้านการเตรียมการด้านงบประมาณและรายละเอียด
การด�ำเนินการโครงการภายใต้ IMT-GT การประชุมเกี่ยวกับอุปสรรคการค้า
ตามแนวชายแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ณ ท�ำเนียบรัฐบาล
การประชุมเตรียมการฝ่ายไทย ส�ำหรับการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ไทย-ลาว
ครั้งที่ ๑๗ เพื่อรับทราบความคืบหน้าโครงการความร่วมมือ
การค้าชายแดน
ระหว่างไทยกับประเทศ
เพื่อนบ้าน ขยายตัว
๕.๒%
รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕)
239
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
๒.๔.๓	 จัดคณะผู้แทนการค้าและการลงทุนเยือนประเทศ
ต่าง ๆ ในภูมิภาค เพื่อจับคู่เจรจาธุรกิจ (Business Matching) ระหว่าง
ผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการในประเทศต่าง ๆ อาทิ จัดคณะผู้แทนการค้า
และการลงทุนไทยเยือนนครคุนหมิงสาธารณรัฐประชาชนจีนนครหลวงเวียงจันทน์
แขวงสะหวันนะเขต และแขวงจ�ำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เมืองมุมไบและเจนไน สาธารณรัฐอินเดีย
๒.๔.๔	 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเพื่อรองรับ
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) โดย
อยู่ระหว่างการจัดตั้งส�ำนักงานการค้าต่างประเทศในส่วนภูมิภาค (สคต.) เพิ่มเติม
จ�ำนวน ๓ แห่ง ได้แก่ สคต.จังหวัดมุกดาหาร สคต.จังหวัดตาก และ สคต.
จังหวัดศรีสะเกษ (จากเดิมที่มีอยู่แล้ว ๖ แห่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ ชลบุรี สระแก้ว
หนองคาย เชียงราย และอ�ำเภอหาดใหญ่)
๓.	 สร้างความสามัคคีและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน
มีการด�ำเนินงานที่ส�ำคัญ ดังนี้
๓.๑	 เตรียมความพร้อมของไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐบาลได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่
ประชาคมอาเซียน ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง และหน่วยงาน
ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี รวม ๓๒ หน่วยงาน โดยให้ความส�ำคัญกับการ
ด�ำเนินงานใน ๖ ประเด็น ได้แก่ (๑) การขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนใน ๓ เสาหลัก
ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านการเมืองและ
ความมั่นคง (๒) การเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียน เพื่อวางแผนพัฒนาศักยภาพ
การเป็นศูนย์กลางอาเซียนของไทยใน๓เรื่องประกอบด้วยการขนส่งการท่องเที่ยว
และการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม (๓) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เพื่อวางแผนก�ำลังคนทั้งระบบ (๔) การบูรณาการกลุ่มจังหวัด โดยให้ความส�ำคัญ
กับพื้นที่จังหวัดชายแดน เขตเศรษฐกิจพิเศษและพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเติบโต
รวมทั้งการพัฒนาสินค้าหนึ่งต�ำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) (๕) การบูรณาการ
ร่วมกับภาคเอกชน ๕ สถาบัน และ (๖) การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนในการ
ขับเคลื่อน ๓ เสาหลัก โดยด�ำเนินงาน ดังนี้
เตรียมความพร้อม
และให้ความรู้แก่หน่วยงาน
ภาครัฐและเอกชน
เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕)
240
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
๓.๑.๑	 เตรียมความพร้อมของภาครัฐ รัฐบาลได้พัฒนา
ศักยภาพและความตระหนักรู้ของบุคลากรภาครัฐ โดยเฉพาะการฝึกอบรม
และพัฒนาทักษะต่างๆรวมถึงยกระดับมาตรฐานต่างๆให้พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เช่น การพัฒนามาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภค การพัฒนาระบบบริหารแรงงาน
เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางการค้าภายในอาเซียนการพัฒนาความรู้ด้านกฎหมาย
และการศึกษาแนวทางเพื่อแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบของไทย
เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยภายใต้ประชาคมอาเซียน เพื่อให้กฎหมาย
มีความทันสมัยและใช้โอกาสจากประชาคมอาเซียนได้อย่างเต็มที่ การเตรียม
ความพร้อมด้านท่องเที่ยวและกีฬาสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดย
วิเคราะห์ผลกระทบและจัดท�ำข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากร
วิชาชีพด้านการท่องเที่ยวอาเซียนในปี ๒๕๕๘ เมื่อมีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ
อย่างเสรี
๓.๑.๒	 เตรียมความพร้อมของภาคเอกชน รัฐบาลผลักดัน
การพัฒนาศักยภาพของภาคเอกชนและแรงงานไทยให้ตอบสนองความต้องการ
และมีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดอาเซียน รวมถึงการรักษาคุณภาพ
สินค้าให้ได้ตามความต้องการของตลาดและผ่านเกณฑ์มาตรฐานระหว่าง
ประเทศที่ก�ำหนด โดยการให้ค�ำแนะน�ำและค�ำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการไทย
การจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมแก่ผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัด
สัมมนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั่วประเทศ และ
การสนับสนุนการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการไทยกับผู้ประกอบการจาก
ประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs
๓.๑.๓ เตรียมความพร้อมของประชาชน
รัฐบาลเน้นการสร้างความตระหนักรู้ โดยด�ำเนิน
โครงการและกิจกรรมหลายรูปแบบ เพื่อเผยแพร่
ประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับอาเซียนแก่
ประชาชน อาทิ การจัดหลักสูตรฝึกอบรมและสัมมนา
เฉพาะกลุ่ม การจัดกิจกรรม ”อาเซียนสัญจร„ ซึ่งในช่วง
เดือนสิงหาคม ๒๕๕๔-สิงหาคม ๒๕๕๕ ได้จัดไปแล้ว
กว่า ๑๐ ครั้งทั่วประเทศ การสร้างความตระหนักรู้ให้แก่
สาธารณชนส�ำหรับการเปิดตลาดการค้าบริการสาขา
รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕)
241
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ผ่านสื่อ
แขนงต่าง ๆ ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์
เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจความส�ำคัญ ความเชื่อมโยง ประโยชน์ และ
ผลกระทบของประชาคมอาเซียน
๓.๑.๔	 จัดตั้ง ”ศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียน (AEC Information Center)„ และ ”ศูนย์ประสานงานและบริการ
ข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน„ หรือ ”ศูนย์ AEC ของกระทรวงพาณิชย์
ระดับจังหวัด„ เพื่อเผยแพร่ผลการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และให้ค�ำปรึกษา
เกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้กรอบความตกลงการเปิดเสรีทางการค้า
ตลอดจนให้บริการและอ�ำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในแต่ละจังหวัดและท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งผู้ใช้บริการ
จะน�ำความรู้ ความเข้าใจไปใช้ประโยชน์ในการประกอบธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม
รวมทั้งเป็นกระบวนการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในรูปแบบการสื่อสาร
สองทาง (Two-Way Communication) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจากผู้เจรจา
(Negotiators) ไปสู่ผู้ใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (Stakeholders)
๓.๑.๕	 ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับองค์กร
พันธมิตรต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนโครงการเตรียมความพร้อมทุกภาคส่วนก้าวสู่
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี ๒๕๕๘ ได้แก่ ส�ำนักงานส่งเสริม
การจัดประชุมและนิทรรศการ(สสปน.)ธนาคารกสิกรไทยส�ำนักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติส�ำหรับ
เอเชียและแปซิฟิก(TheUnitedNationsEconomicandSocialCommission
for Asia and the Pacific: ESCAP) และสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้า
และการพัฒนา (International Institute for Trade and Development: ITD)
ส�ำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และสภา
ผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย
รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕)
242
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
๓.๒	 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและ
สนับสนุนบทบาทของไทยรัฐบาลได้ด�ำเนินการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ
อาเซียนอย่างต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๓.๒.๑	 ด้านความมั่นคง ไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน
มีความร่วมมือที่ใกล้ชิด ทั้งนี้ เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕ รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงกลาโหมได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียน
ที่กรุงพนมเปญ นอกจากนี้ ไทยแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานด้านข่าวกรอง
ในอาเซียนผ่านเครือข่ายผู้น�ำหน่วยประชาคมข่าวกรองอาเซียนอย่างสม�่ำเสมอ
๓.๒.๒	 ด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลด�ำเนินการตามข้อผูกพัน
ในการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ส�ำคัญ ดังนี้
๓.๒.๒.๑	 ด�ำเนินการตามข้อผูกพันในการรวมตัว
เป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ โดยมีการยกเลิกมาตรการโควตาภาษี
ส�ำหรับสินค้าเกษตร ๒๓ รายการ ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน
(ASEAN Free Trade Area: AFTA) พร้อมพิจารณามาตรการบริหารการน�ำเข้า
ส�ำหรับสินค้าบางชนิด เตรียมการต่อการเปิดเสรีและการเป็นประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน ทั้งด้านการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการเป็นประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ต่อภาคการเกษตร รวบรวมข้อมูลพื้นฐานและ
กฎระเบียบด้านการลงทุนของกลุ่มประเทศ CLMV (ราชอาณาจักรกัมพูชา
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และ
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม)ศึกษาเพื่อประเมินผลกระทบจากการเป็นประชาคม
อาเซียนต่อสินค้าเกษตรของไทย
๓.๒.๒.๒	 ศึกษา วิเคราะห์ ติดตาม เผยแพร่ และ
รายงานข้อมูลด้านการเกษตรและสถานการณ์ความเคลื่อนไหวด้านการเกษตร
รวมทั้งเจรจาความร่วมมือด้านการเกษตรต่างประเทศ และการป้องกันและ
แก้ไขปัญหาอุปสรรคและข้อกีดกันในการส่งออกสินค้าเกษตร ตลอดจนผลักดัน
การขยายตลาดสินค้าเกษตร
๓.๒.๒.๓	 จัดท�ำความร่วมมือพัฒนาการเกษตร
แบบมีสัญญา (AC-4) ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้
กรอบ ACMECS รวมทั้งพิจารณาแผนลงทุนการเกษตรแบบมีสัญญาภายใต้
กรอบ ACMECS และร่วมการประชุมขับเคลื่อนนโยบายความร่วมมือ
กับประเทศเพื่อนบ้านสู่การปฏิบัติในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งรวบรวม ติดตามข้อมูล
สถานการณ์การค้าชายแดน
ความร่วมมืออันดีระหว่าง
ประเทศสมาชิกอาเซียน
ส่งผลต่อการพัฒนา
เศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรม และความมั่นคง
ซึ่งท�ำให้ประเทศสมาชิก
รวมทั้งไทยได้รับประโยชน์
รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕)
243
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
๓.๒.๒.๔	 จัดท�ำความร่วมมือด้านการเกษตร
ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน�้ำโขง ทั้งการพิจารณา
ข้อเสนอกรอบนโยบายความร่วมมือด้านการเกษตร และการก�ำหนดท่าที แนวทาง
ความร่วมมือภาคเอกชนที่เสนอต่อประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือลุ่มน�้ำโขง
(GMS) รวมทั้งรวบรวมข้อมูลและปัญหาอุปสรรคในความร่วมมือระหว่างไทย
กับประเทศสมาชิกเพื่อสนับสนุนการศึกษาวิเคราะห์พืชเศรษฐกิจ
๓.๒.๒.๕	 เป็นศูนย์กลางอาเซียนและเป็นจุดเชื่อมโยง
และศูนย์กลางในหลายด้าน เช่น การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ผ่านโครงการ
พัฒนาการเชื่อมต่อกันภายในอาเซียน (ASEAN Connectivity) และริเริ่มแนวคิด
เรื่องการเชื่อมโยงอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค (Connectivity Beyond ASEAN)
เช่น การสร้างเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น แนวตะวันออก-ตะวันตก
(East-West Economic Corridor) ซึ่งครอบคลุมการเชื่อมโยงถนนสามฝ่าย
ไทย-เมียนมาร์-อินเดีย โดยมีเป้าประสงค์ที่จะเชื่อมโยงแหลมฉบังกับทวาย
ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์และต่อไปถึงสาธารณรัฐอินเดีย และ
แนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) ซึ่งจะเชื่อมไปถึง
สาธารณรัฐประชาชนจีน
๓.๒.๒.๖	 ผลักดันความร่วมมือในการพัฒนา
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในอาเซียน และการด�ำเนินการตามแผนแม่บท
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาเซียน (ASEAN ICT Master Plan 2015)
ให้บรรลุเป้าหมายการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสร้างความเจริญ
ทางเศรษฐกิจ
๓.๒.๓	 ด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ
รัฐบาลได้ผลักดันให้ผู้น�ำอาเซียนรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยเขตปลอด
ยาเสพติดภายในปี ๒๕๕๘ จัดการประชุมคณะกรรมการอาเซียน
ด้านวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ ๔๖ ส่งเสริมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม
ตามข้อตกลงอาเซียนด้านมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน สนับสนุนภารกิจ
ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN
Intergovernmental Commission on Human Rights: AICHR) นอกจากนี้
ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่๑๙ที่อินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤศจิกายน
๒๕๕๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ลงนามในความตกลงว่าด้วย
การจัดตั้งศูนย์ประสานงานอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09
Yingluck report09

More Related Content

Featured

2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by HubspotMarius Sescu
 
Everything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTEverything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTExpeed Software
 
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsProduct Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsPixeldarts
 
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthThinkNow
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfmarketingartwork
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024Neil Kimberley
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)contently
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024Albert Qian
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsKurio // The Social Media Age(ncy)
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Search Engine Journal
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summarySpeakerHub
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Tessa Mero
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentLily Ray
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best PracticesVit Horky
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementMindGenius
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...RachelPearson36
 

Featured (20)

2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot
 
Everything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTEverything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPT
 
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsProduct Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
 
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
 
Skeleton Culture Code
Skeleton Culture CodeSkeleton Culture Code
Skeleton Culture Code
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 

Yingluck report09

  • 1. รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕) 225 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ แนวนโยบาย ด้านการต่างประเทศ มาตรา ๘๒ รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับนานา ประเทศ และพึงถือหลักในการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค ตลอดจน ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้งตามพันธกรณีที่ได้กระท�ำไว้กับนานาประเทศและองค์การ ระหว่างประเทศ รัฐต้องส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวกับนานา ประเทศ ตลอดจนต้องให้ความคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ของ คนไทยในต่างประเทศ
  • 2. รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕) 226 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ มาตรา ๘๒ ส่งเสริมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับนานาประเทศ และพึงถือหลักในการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาคตลอดจนต้องปฏิบัติ ตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้ง ตามพันธกรณีที่ได้กระท�ำไว้กับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับนานา ประเทศ ตลอดจนต้องให้ความคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ของ คนไทยในต่างประเทศ ในช่วงปีแรกของการท�ำงานรัฐบาลประสบความส�ำเร็จในการเรียกคืนความเชื่อมั่น และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศโดยเฉพาะในแง่เสถียรภาพทางการเมืองและ ความสามารถในการบริหารจัดการในภาวะวิกฤตจากกรณีอุทกภัย นอกจากนั้น รัฐบาลประสบความส�ำเร็จในการส่งเสริมความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือกับ ประเทศเพื่อนบ้านเช่นราชอาณาจักรกัมพูชาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามประเทศในภูมิภาค อาเซียน ตลอดจนนานาประเทศโดยเฉพาะประเทศที่เป็นหุ้นส่วนส�ำคัญทาง ยุทธศาสตร์และตลาดใหม่ นอกจากนั้น ยังได้ด�ำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ ประชาคมอาเซียนและเสริมสร้างบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในอาเซียน ตลอดจน ขยายบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทั้งของไทย และของประชาคมระหว่างประเทศ โดยมีการด�ำเนินงานที่ส�ำคัญ ดังนี้ ๑. พัฒนาความร่วมมือและความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และนานาประเทศ โดยด�ำเนินการอยู่บนพื้นฐานหลัก ได้แก่ (๑) รักษาช่องทาง ติดต่อสื่อสารที่ใกล้ชิด (๒) เสริมสร้างบรรยากาศที่เกื้อกูลต่อความร่วมมือทวิภาคี ให้คงอยู่อย่างต่อเนื่อง (๓) เสริมสร้างและรักษาความเชื่อมั่นและความไว้เนื้อเชื่อใจ ในระดับรัฐและผู้น�ำระดับสูง (๔) รักษาภาพลักษณ์ที่ดีของไทยให้คงอยู่ใน ความรู้สึกและทัศนคติในระดับประชาชน และ (๕) ยึดมั่นว่าความมั่นคง และความมั่งคั่งของประเทศเพื่อนบ้านคือ ความมั่นคงและความมั่งคั่งของไทย ทั้งนี้ ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงกับต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยนายกรัฐมนตรีได้เยือนต่างประเทศแบบทวิภาคีรวม ๑๘ ประเทศ (ประเทศ ในอาเซียน๙ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนสาธารณรัฐเกาหลีญี่ปุ่นสาธารณรัฐ อินเดีย ราชอาณาจักรบาห์เรน รัฐกาตาร์ เครือรัฐออสเตรเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐ เยอรมนีและสาธารณรัฐฝรั่งเศส)รวมทั้งพระราชวงศ์ผู้น�ำรัฐบาลและบุคคลส�ำคัญ จากต่างประเทศมาเยือนไทยรวม ๑๗ ครั้ง (เช่น สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน สร้างความร่วมมือทาง เศรษฐกิจที่ส�ำคัญ เช่น  การเปิดจุดผ่านแดนถาวร เมียวดี การสร้าง ท่าเรือน�้ำลึกทวาย และเส้นทางคมนาคม ไทย-เมียนมาร์  การยกระดับ จุดผ่านแดน ระหว่างไทย-ลาว การสร้างความมั่นคง ทางชายแดนไทย-กัมพูชา  ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในพื้นที่ชายแดน ไทย-มาเลเซีย ใน ๖ สาขา ได้แก่ น�้ำมันและก๊าซ พลังงาน ยานยนต์ ยางพารา น�้ำตาลและข้าว และการท่องเที่ยว
  • 3. รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕) 227 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ ดารุสซาลามประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐ สังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักร บาห์เรน แคนาดา และเลขาธิการสหประชาชาติ) การที่นายกรัฐมนตรีและผู้บริหาร ในรัฐบาลได้รับเชิญไปเยือนต่างประเทศ รวมทั้งมีผู้น�ำและบุคคลส�ำคัญจาก ต่างประเทศมาเยือนไทยเป็นจ�ำนวนมาก แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ารัฐบาลได้รับ การยอมรับจากนานาประเทศเป็นอย่างดี ประเทศต่าง ๆ ให้ความเชื่อมั่นในฐานะ ที่เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน และให้ความเชื่อมั่น ต่อความสามารถของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนฟื้นฟู ประเทศภายหลังวิกฤตอุทกภัย ผลการด�ำเนินงานที่ส�ำคัญของรัฐบาล มีดังนี้ ๑.๑ ความสัมพันธ์กับประเทศในกลุ่มอาเซียน ได้มีการหารือ และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศในกลุ่มอาเซียนทุกประเทศ ดังนี้ ๑.๑.๑ ความสัมพันธ์ไทย-เมียนมาร์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์อย่างเป็นทางการเมื่อเดือน ตุลาคม ๒๕๕๔ ท�ำให้มีการเปิดจุดผ่านแดนถาวรแม่สอด-เมียวดี ตรงข้าม อ�ำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ หลังจากปิดมากว่า ๑ ปี (เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๓) การเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราว ที่บ้านพุน�้ำร้อน อ�ำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อส่งเสริม ความร่วมมือในการก่อสร้างท่าเรือน�้ำลึกทวายและเส้นทางคมนาคม ไทย-เมียนมาร์ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ได้มาเยือนไทยอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕ และได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) ๒ ฉบับ คือ บันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยการพัฒนาที่ครอบคลุมเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและ พื้นที่ใกล้เคียง และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาในเมียนมาร์ ๑.๑.๒ ความสัมพันธ์ไทย-ลาว มีความใกล้ชิดมากในทุกระดับ โดยได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงและด�ำเนินโครงการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง อาทิ การเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี(กันยายน๒๕๕๔)การเยือนไทย อย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว(มิถุนายน๒๕๕๕)การประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ว่าด้วยความร่วมมือไทย-ลาวครั้งที่๑๗ที่ประเทศลาว(มีนาคม๒๕๕๕) การเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่๓(พฤศจิกายน๒๕๕๔) และการผลักดันให้ยกระดับจุดผ่านแดนระหว่างกัน เช่น ที่ภูดู่ จังหวัดอุตรดิตถ์บ้านฮวกจังหวัดพะเยาให้เป็นจุดผ่านแดนถาวร
  • 4. รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕) 228 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ ๑.๑.๓ ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา เพื่อความสงบสุข สันติภาพ และความมั่นคงของชายแดน รัฐบาลไทยกับกัมพูชาจึงเห็นพ้องกัน ในการแยกประเด็นข้อขัดแย้งออกจากประเด็นด้านความร่วมมือรวมทั้ง มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูง เช่น การเยือนราชอาณาจักรกัมพูชา อย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี(กันยายน๒๕๕๔)และการเยือน ราชอาณาจักรกัมพูชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ธันวาคม๒๕๕๔)นอกจากนี้ยังได้มีการขับเคลื่อนกลไกทวิภาคี อื่นๆเช่นการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย–กัมพูชา (General Border Committee: GBC) และการประชุม คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee: RBC) ด้านกองทัพภาคที่ ๑ กับภูมิภาคทหารที่ ๕ (มีนาคม ๒๕๕๕) และมีการเปิดด่านไทย-กัมพูชา เช่น บ้านหนองเอี่ยน จังหวัดสระแก้ว ๑.๑.๔ ความสัมพันธ์ไทย-มาเลเซีย นายกรัฐมนตรีได้เยือน มาเลเซียอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ และได้ผลักดันให้มี ความคืบหน้าในการเจรจาร่างความตกลงว่าด้วยการเดินทางข้ามแดนไทย-มาเลเซีย ฉบับปรับปรุงจากความตกลงดังกล่าวเมื่อปีพ.ศ.๒๔๘๓(เริ่มเจรจาตั้งแต่ปี๒๕๔๗) ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้บรรลุข้อตกลงในการประชุมเจรจากัน เป็นครั้งที่ ๕ เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๕๕ โดยร่างความตกลง ฉบับปรับปรุงจะส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ชายแดนเดินทาง ไปมาหาสู่กันได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ ไทยและมาเลเซียก�ำลัง เตรียมการส�ำหรับการหารือประจ�ำปี ครั้งที่ ๕ ระหว่าง นายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศ เพื่อผลักดันความร่วมมือที่เป็น ผลประโยชน์ร่วมของทั้งสองประเทศ รวมทั้งอยู่ระหว่างเตรียม จัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี ครั้งที่๑๒(JointCommission:JC)การประชุมคณะกรรมการ ว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมส�ำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซียระดับรัฐมนตรี (Joint Development Strategy for Border Areas: JDS) ครั้งที่ ๓ และ การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย ใน ๖ สาขา ได้แก่ น�้ำมันและก๊าซ พลังงาน ยานยนต์ ยางพารา น�้ำตาลและข้าว และการ ท่องเที่ยว
  • 5. รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕) 229 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ ๑.๑.๕ ความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม รัฐบาลได้ผลักดัน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายตั้งคณะท�ำงานเพื่อหารือเรื่อง ความร่วมมือด้านข้าว นอกจากนี้ ไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ได้เห็นชอบให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมในโอกาสแรก เพื่อกระชับ ความสัมพันธ์ระหว่างกันทุกด้าน และล่าสุดทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้มี การจัดประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมในช่วงเดือนตุลาคม ๒๕๕๕ ๑.๑.๖ ความสัมพันธ์ไทย-อินโดนีเซีย มีความคืบหน้า โดยทั้งสองฝ่ายได้เจรจารายละเอียดของร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการ ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ นอกจากนี้ รัฐบาลผลักดัน ให้มีการเร่งรัดการต่ออายุ MOU ด้านประมง โดยทั้งสองฝ่ายก�ำลังเจรจา เนื้อหาของ MOU โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความรับผิดชอบในการส่งกลับ ลูกเรือประมงต่างชาติที่ถูกจับและเป็นโรคติดต่อหรือโรคอุบัติใหม่ เมื่อเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๕ ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการความร่วมมือทางการ ประมงไทย-อินโดนีเซียครั้งที่๘ร่วมกับฝ่ายสาธารณรัฐอินโดนีเซียเพื่อหารือ ถ้อยค�ำที่เหมาะสมเรื่องการรับผิดชอบส่งกลับลูกเรือ นอกจากนั้น รัฐบาล ทั้งสองฝ่ายยังเห็นชอบให้กระชับความร่วมมือด้านอาหารฮาลาลด้วย ๑.๑.๗ ความสัมพันธ์ไทย-สิงคโปร์ รัฐบาลผลักดันให้ มีการประชุม Singapore-Thailand Enhanced Economic Relations (STEER) ครั้งที่ ๓ ในโอกาสแรก เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุน ๑.๑.๘ ความสัมพันธ์ไทย-ฟิลิปปินส์ รัฐบาลได้ผลักดัน ให้มีการเจรจาแก้ไขอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะผัก ผลไม้ และสัตว์ปีก ๑.๑.๙ ความสัมพันธ์ไทย-บรูไนดารุสซาลาม รัฐบาล ได้เจรจาผลักดันการขายข้าวหอมมะลิส่งเสริมความร่วมมือด้านอาหารฮาลาล และได้เจรจาให้เนการาบรูไนดารุสซาลามพิจารณาเพิ่มการจ้างแรงงานไทย
  • 6. รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕) 230 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ ๑.๒ ความสัมพันธ์ไทย–จีนมีการแลกเปลี่ยนการเยือน ระดับสูงของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งได้มีการลงนามแผนปฏิบัติการร่วม ว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีนซึ่งก�ำหนดแนวทางภาพรวม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือไทย-จีน จ�ำนวน ๑๗ สาขา ในช่วง ๕ ปี (ระหว่างปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙) และการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วม ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย ๔ ด้าน ได้แก่การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาการสร้างระบบการบริหาร จัดการน�้ำ โครงการรถไฟไทย-จีน (ความเร็วสูง) และพลังงานทดแทน ซึ่งตอบสนองประโยชน์ของประเทศและประชาชนของสองฝ่าย ทั้งนี้ รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายการค้าไทย-จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐ ต่อปี ในช่วง ๕ ปีข้างหน้า และเป้าหมายการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๕ ต่อปี ๑.๓ ความสัมพันธ์ไทย–ญี่ปุ่น อยู่ในระดับที่ดี มาอย่างต่อเนื่อง มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับพระราชวงศ์และ ผู้น�ำระดับสูงระหว่างกันอย่างสม�่ำเสมอ โดยเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ นายกรัฐมนตรีได้เดินทางเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ในขณะเดียวกัน มีการให้ความช่วยเหลือระหว่างกันจากทุกภาคส่วนในยามประสบ ภัยพิบัติ เช่น ในเหตุการณ์อุทกภัยในไทยเมื่อปลายปี ๒๕๕๔ ญี่ปุ่น ให้ความช่วยเหลือไทยทั้งสิ้น ๕๘๗ ล้านบาท ในด้านการค้า รัฐบาล ตั้งเป้าหมายการค้ากับญี่ปุ่นประมาณ ๓ ล้านล้านบาทภายในปี ๒๕๖๐ ๑.๔ ความสัมพันธ์ไทย–เกาหลีใต้ นายกรัฐมนตรี ได้เยือนสาธารณรัฐเกาหลีเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ และได้หารือกับ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี เรื่องความร่วมมือในการบริหารจัดการน�้ำ ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว การเกษตร การค้า พลังงาน และ ด้านเทคโนโลยี ๑.๕ ความสัมพันธ์ไทย-กลุ่มประเทศในภูมิภาคยุโรป รัฐบาลได้ขยายความสัมพันธ์ในทุกมิติ บนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนทาง ยุทธศาสตร์ อาทิ กรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ (PartnershipandCooperationAgreement:PCA)การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และรับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากยุโรปและการจัดกิจกรรมฉลองครบรอบ๕๐๐ปี ความสัมพันธ์ไทย-โปรตุเกส รวมทั้งการเดินทางเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๕ ซึ่งในการเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีนายกรัฐมนตรี
  • 7. รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕) 231 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ ได้หารือกับผู้น�ำสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเรื่องการแก้ปัญหาอุทกภัย การลงทุน ความร่วมมือกับภาควิทยาลัยอาชีวะ ความร่วมมือในเรื่องเศรษฐกิจสีเขียวและ การใช้พลังงานทดแทนซึ่งสอดคล้องกับแนวทางพัฒนาประเทศของไทยโดยเยอรมนี จะส่งเจ้าหน้าที่เทคนิคมาให้ความรู้เกี่ยวกับคุณภาพสินค้าของไทย เพื่อเพิ่มโอกาส ในการส่งออกไปยุโรป ในการเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสนายกรัฐมนตรีได้หารือกับ นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐฝรั่งเศสเรื่องการขยายตลาดอุตสาหกรรมสิ่งทอ อัญมณี และครัวไทยสู่ครัวโลก เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพสูงในเรื่องเหล่านี้ ๑.๖ ความสัมพันธ์ไทย–ประเทศในภูมิภาคอเมริกาและแปซิฟิกใต้ เพื่อพบปะหารือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับส่วนราชการองค์กรและภาคเอกชน ของสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเครือรัฐออสเตรเลีย ซึ่งท�ำให้ความร่วมมือของ ทั้งสองฝ่ายมีผลเป็นรูปธรรม ดังนี้ ๑.๖.๑ ความร่วมมือไทย-สหรัฐอเมริกา มีการแลกเปลี่ยน การเยือนระดับสูง เช่น การเยือนไทยของนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔ การหารือทวิภาคีระหว่างนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดีบารัก โอบามา เมื่อเดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๔ และการเยือนสหรัฐอเมริกา ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศเพื่อประชุมเชิงยุทธศาสตร์(StrategicDialogue)เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๕ ซึ่งได้หารือประเด็นด้านความมั่นคงในภูมิภาค บทบาทของสหรัฐอเมริกา ในการส่งเสริมความก้าวหน้าในภูมิภาค ตลอดจนความร่วมมือไทย-สหรัฐอเมริกา ในมิติต่าง ๆ ๑.๖.๒ ความร่วมมือไทย-แคนาดา การเยือนไทยของ นายกรัฐมนตรีแคนาดา เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ ในโอกาสครบรอบ ๕๐ ปีของ การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-แคนาดา ซึ่งได้มีความร่วมมือเกี่ยวกับ การแลกเปลี่ยนเยาวชน ความร่วมมือในการปราบปรามการลักลอบเข้าเมือง การป้องกันการก่อการร้าย และการพิจารณาเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย-แคนาดา ๑.๖.๓ ความสัมพันธ์ไทย–ออสเตรเลีย มีการจัดกิจกรรม เฉลิมฉลองครบรอบ ๖๐ ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ไทย-ออสเตรเลีย รวมถึงการเดินทางเยือนเครือรัฐออสเตรเลียอย่างเป็นทางการ ของนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕ ซึ่งทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับ การส่งเสริมการค้า การลงทุน พลังงาน วิทยาศาสตร์ และการศึกษา
  • 8. รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕) 232 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ ๑.๖.๔ ประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดใหม่ (Emerging Market) ที่ไทยอาจขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน รัฐบาล สนับสนุนการจัด Road Show เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านการค้าและการลงทุน รวมถึงขับเคลื่อนการจัดท�ำความตกลงการค้าเสรีฉบับสมบูรณ์ระหว่างไทย-เปรู และไทย-ชิลี ซึ่งอยู่ระหว่างด�ำเนินการ ๑.๗ ความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศอื่น ๆ ที่ส�ำคัญ ดังนี้ ๑.๗.๑ ความสัมพันธ์ไทย-ประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ โดยเฉพาะความร่วมมือไทย-อินเดีย ซึ่งทั้งสองประเทศได้จัดการประชุม คณะกรรมาธิการร่วม (JC) ที่กรุงนิวเดลี รวมทั้งนายกรัฐมนตรีได้ไปเยือน สาธารณรัฐอินเดียอย่างเป็นทางการในฐานะแขกเกียรติยศของรัฐบาลแห่ง สาธารณรัฐอินเดีย เพื่อร่วมงานเฉลิมฉลองวันสถาปนาสาธารณรัฐ ระหว่าง วันที่ ๒๔–๒๖ มกราคม ๒๕๕๕ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสาธารณรัฐอินเดียให้เกียรติและ ให้ความส�ำคัญแก่ไทย ในการเยือนดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะยกระดับ ความสัมพันธ์ไทย-อินเดียให้เป็น ”หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์„ อย่างรอบด้าน รวมทั้ง การเป็นประตูระหว่างกันในการเชื่อมโยงระดับภูมิภาค ๑.๗.๒ ความสัมพันธ์ไทย-ภูมิภาคตะวันออกกลาง นายกรัฐมนตรีได้เดินทางเยือนราชอาณาจักรบาห์เรนและรัฐกาตาร์อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ซึ่งนอกจากจะเป็นการท�ำความรู้จักและ สร้างความคุ้นเคยกับผู้น�ำทั้งสองประเทศแล้ว ยังประสบความส�ำเร็จในการเจรจา ความร่วมมือด้านอื่น ๆ เช่น ความร่วมมือไทย-กาตาร์ด้านพลังงาน (โดยไทยจะซื้อ ก๊าซ LPG จากกาตาร์) สาธารณสุข แรงงาน การลงทุนในผลิตภัณฑ์การเกษตร และฮาลาล ความร่วมมือไทย-บาห์เรนด้านการลงทุนในตลาดทุน ด้านความมั่นคง ทางอาหาร ด้านพลังงาน ๑.๗.๓ ความสัมพันธ์ไทย–เอเชียกลาง รัฐบาลได้แสวงหา ลู่ทางการขยายแหล่งพลังงาน ตลาดการค้าและการลงทุนใหม่ ๆ ในกลุ่มประเทศ ในเอเชียกลาง เช่น ความสัมพันธ์ไทย–คาซัคสถาน มีการประชุม คณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย–คาซัคสถาน ครั้งที่ ๒ และ การเปิดสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงอัสตานาของสาธารณรัฐคาซัคสถานในปี ๒๕๕๕ และความสัมพันธ์ไทย–อุซเบกิสถาน ทั้งสองประเทศได้ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลอง ในโอกาสครบรอบ ๒๐ ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อุซเบกิสถาน เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕ ที่กระทรวงการต่างประเทศ การไปเยือนประเทศต่าง ๆ ท�ำให้สามารถเปิดตลาด ส�ำคัญ ๆ เช่น ตลาดไก่ ในราชอาณาจักรบาห์เรน การยกเลิก การห้ามน�ำเข้าไก่จากไทย ของญี่ปุ่น
  • 9. รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕) 233 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ ๑.๗.๔ ความสัมพันธ์ไทย-ประเทศในภูมิภาคแอฟริกา รัฐบาลส่งเสริมการค้าและความร่วมมือด้านต่าง ๆ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือ เพื่อการพัฒนา โดยเฉพาะในด้านที่ไทยมีความเชี่ยวชาญ อาทิ ด้านการเกษตรและ ประมง สาธารณสุข การสร้างรายได้และการศึกษา ส�ำหรับการแลกเปลี่ยน การเยือนระดับสูง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐกินีได้มาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๕ และหารือกับนายกรัฐมนตรีในประเด็น ความร่วมมือต่าง ๆ กับไทย เช่น ด้านการค้า เหมืองแร่ พลังงาน ๑.๘ แก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการ ทางการทูต สนธิสัญญา และกฎหมาย รัฐบาลได้ให้ความส�ำคัญในการแก้ไขปัญหา ตามแนวพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้ ๑.๘.๑ ส�ำรวจและจัดท�ำหลักเขตแดน ตามหลักการของกฎหมายและสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้อง โดยได้ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิด เช่น การตรวจพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์ บริเวณด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๔ การตรวจสอบหลักเขตแดนไทย-มาเลเซีย ที่รัฐเกดะห์ มาเลเซีย เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๕๕ และการตรวจพื้นที่ ชายแดนไทย-กัมพูชา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ๑.๘.๒ ผลักดันและจัดการประชุมที่เกี่ยวกับกิจการชายแดน ความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน และการป้องกันและปราบปรามปัญหา ข้ามแดนอย่างสม�่ำเสมอ เช่น การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (GBC) ไทย-มาเลเซีย ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (GBC) ไทย-กัมพูชา ที่กรุงพนมเปญ การประชุมคณะกรรมการร่วมรักษา ความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไป ไทย-ลาว (GBC) ที่กรุงเทพมหานคร การประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค(RBC)ไทย-เมียนมาร์ที่เมืองตองจี
  • 10. รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕) 234 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ ๒. กระชับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับ ประเทศ กลุ่มประเทศ และองค์การระหว่างประเทศที่มีบทบาทส�ำคัญของโลก เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในเชิงยุทธศาสตร์ ขยายตลาด และเพิ่มขีดความสามารถ ทางเศรษฐกิจของไทย รัฐบาลได้ยกระดับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วน ทางยุทธศาสตร์กับประเทศอื่น ๆ รวมทั้งในกรอบความร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลก ดังนี้ ๒.๑ สร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาค ให้มีความคืบหน้า ดังนี้ ๒.๑.๑ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา- แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ไทยมีบทบาทเด่นในฐานะ ประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ในกลุ่ม ทั้งทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านวิชาการ เพื่อปูทางไปสู่การค้า การลงทุน ซึ่งจะช่วยสร้างงานและ สร้างรายได้ โดยมีการด�ำเนินงานที่ส�ำคัญ ได้แก่ การจัดท�ำ แผนการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) การจัดตั้งศูนย์บริการ จุดเดียวแบบเบ็ดเสร็จ ณ ด่านชายแดน จ�ำนวน ๑๐ แห่ง การเจรจากับกัมพูชา ให้มีการด�ำเนินการตามความตกลง ACMECS Single Visa (ซึ่งเป็นโครงการ น�ำร่องระหว่างไทยกับกัมพูชา) และการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงในเส้นทางสายรอง อาทิ เส้นทางเชิงเขาตะนาวศรี-กอกะเร็ก การซ่อมแซมเส้นทางเมียวดี-เชิงเขา ตะนาวศรี ๒.๑.๒ ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลส�ำหรับความร่วมมือ หลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTEC) รัฐบาลมีบทบาทอย่างต่อเนื่อง โดยส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ เพื่อผลักดัน ความร่วมมือในหมู่ประเทศสมาชิกในประเด็นที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน เช่น การประชุมรัฐมนตรีว่าด้วยการลดความยากจนภายใต้กรอบ BIMSTEC ครั้งที่ ๒ เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๕๕ ที่สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล
  • 11. รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕) 235 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ ๒.๑.๓ ความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มน�้ำโขงซึ่งมีกรอบ ความร่วมมือลุ่มน�้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) ไทยมีบทบาท ในการผลักดันการพัฒนาลุ่มน�้ำโขงร่วมกับประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาต่าง ๆ ที่ส�ำคัญ คือ แผนงานการพัฒนาความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้ำโขง ๓ ประเทศ ซึ่งเน้นการพัฒนาความเชื่อมโยงทางกายภาพ การเพิ่ม ความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาชุมชน และสังคม โดยบูรณาการผ่านการพัฒนาแนวระเบียง เศรษฐกิจ ทั้งนี้ ในการประชุมสุดยอดผู้น�ำ ๖ ประเทศ ลุ่มน�้ำโขง ครั้งที่ ๔ (ธันวาคม ๒๕๕๔) นายกรัฐมนตรี ของไทยได้ร่วมให้ความเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนา GMS ระยะ ๑๐ ปี ฉบับใหม่ ซึ่งจะน�ำไปสู่การจัดท�ำแผนการลงทุน ของอนุภูมิภาคต่อไป ความร่วมมือลุ่มน�้ำโขงกับญี่ปุ่น (Mekong-Japan Cooperation Framework) โดยทั้ง ๒ กรอบความร่วมมือเน้นการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมการค้า การลงทุน และโลจิสติกส์ตาม แนวพื้นที่เศรษฐกิจ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน และการเรียนรู้ประสบการณ์จากญี่ปุ่น ในการจัดการภัยพิบัติ ข้อริเริ่มลุ่มน�้ำโขงตอนล่างกับสหรัฐอเมริกา (US-Lower Mekong Initiative: US-LMI)ไทยสนับสนุนการที่สหรัฐอเมริกาเพิ่มความสนใจ ในภูมิภาค โดยเน้นการใช้ประโยชน์จากสถาบันฝึกอบรมที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความร่วมมือลุ่มน�้ำโขงกับสาธารณรัฐเกาหลี (Mekong–Korea Cooperation) ซึ่งให้ความส�ำคัญกับการบริหารจัดการ ทรัพยากรน�้ำ ความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาคและความร่วมมือกับประเทศ นอกภูมิภาคดังกล่าวข้างต้น ตอบสนองผลประโยชน์ของไทยและภูมิภาค เช่น ในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ความร่วมมือในการบริหารจัดการน�้ำ ความร่วมมือ ด้านภัยพิบัติ ทั้งนี้ ในช่วงปลายปี ๒๕๕๕ ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคแม่น�้ำ ล้านช้าง-แม่น�้ำโขงเพื่อน�ำไปสู่การประชุมในระดับรัฐมนตรีในช่วงต้นปี๒๕๕๖ด้วย
  • 12. รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕) 236 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ ๒.๒ ส่งเสริมการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ และการพัฒนา ศักยภาพให้กับภาคเอกชนไทย ซึ่งมีการด�ำเนินงานที่ส�ำคัญ ดังนี้ ๒.๒.๑ สานต่อการเจรจาความตกลงส่งเสริมและคุ้มครอง การลงทุนกับประเทศต่าง ๆ ที่ได้ด�ำเนินการอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว อาทิ ระหว่างไทย กับสาธารณรัฐมาดากัสการ์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และรัฐกาตาร์ นอกจากนี้ ยังได้ด�ำเนินการเจรจาเพื่อจัดท�ำความตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) กับต่างประเทศ เช่น สาธารณรัฐชิลี สาธารณรัฐเปรู ๒.๒.๒ ส่งเสริมการค้าและการลงทุน และเสริมศักยภาพ ของภาคเอกชนไทยในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดกิจกรรม ”Road Show„ ในต่างประเทศ การจัดงานแสดง เผยแพร่และจ�ำหน่ายสินค้าไทย รวมถึงการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และการจัดท�ำข้อมูล ทางเศรษฐกิจ เพื่อ ”ชี้ช่องทาง„ ”สร้างโอกาส„ และ ”เตือนภัย„ เกี่ยวกับการค้า และการลงทุนในต่างประเทศ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ผ่านทางช่องทางต่าง ๆ เช่นการส่งเสริมสินค้าเกษตรและปศุสัตว์เพื่อการส่งออกนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก การส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย นอกจากนี้ มีการน�ำคณะนักธุรกิจไทยเยือน ต่างประเทศพร้อมกับนายกรัฐมนตรีและผู้บริหารของรัฐบาล โดยเน้นสาขา ที่ไทยมีความสนใจ และแต่ละประเทศมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ อาทิ สาขา ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เกษตรและอาหาร ท่องเที่ยว การแพทย์และศัลยกรรม โดยเดือนมีนาคม–กรกฎาคม ๒๕๕๕ มีการเยือนแล้ว ๘ ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐประชาชนจีน ราชอาณาจักร บาห์เรนรัฐกาตาร์เครือรัฐออสเตรเลียสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐ เยอรมนี
  • 13. รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕) 237 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ ๒.๓ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการท่องเที่ยว โดยมีการด�ำเนินงานที่ส�ำคัญ ดังนี้ ๒.๓.๑ โครงการพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยว กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยจัดท�ำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนความร่วมมือ ด้านการท่องเที่ยว ตามกรอบความร่วมมือลุ่มน�้ำโขง (GMS) และสร้างความรู้ ความเข้าใจส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือในการด�ำเนินงานขับเคลื่อนงานภายใต้ กรอบความร่วมมือต่าง ๆ ๒.๓.๒ โครงการส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว เชิงการแพทย์และสุขภาพตามแนวทางพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย โดยจัดท�ำข้อมูลสถิติและศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ที่เข้ามาใช้บริการทางการแพทย์และสุขภาพในประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้ เพื่อการวางแผนพัฒนาการตลาดการท่องเที่ยว ซึ่งอยู่ระหว่าง การจัดเก็บสถิติข้อมูลเพื่อด�ำเนินโครงการ ๒.๓.๓ ผลักดันการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาค โดยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมคณะท�ำงานด้านท่องเที่ยว ครั้งที่ ๒๙ การประชุม Mekong Tourism Forum 2012 ภายใต้กรอบความร่วมมือลุ่มน�้ำโขง (GMS) รวมทั้งการจัดประชุมร่วมคณะกรรมาธิการภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก และคณะกรรมาธิการภูมิภาคเอเชียใต้ ครั้งที่ ๒๔ เพื่อรับทราบผลส�ำเร็จที่ผ่านมา รวมทั้งแลกเปลี่ยนแนวทางการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว และร่วมกัน ก�ำหนดแนวทางการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวร่วมกัน
  • 14. รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕) 238 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ ๒.๔ สนับสนุนการค้าชายแดนของไทย (มาเลเซีย เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา) โดยในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ (ตุลาคม ๒๕๕๔–สิงหาคม ๒๕๕๕) มีมูลค่า ๘๓๕,๓๑๙ ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ที่มีมูลค่า ๗๙๓,๘๑๓ ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕.๒ โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบ ดุลการค้ามูลค่า ๑๓๗,๙๒๒ ล้านบาท เป็นการส่งออกมูลค่า ๓๓๖,๖๙๗ ล้านบาท และน�ำเข้ามูลค่า ๒๓๘,๗๗๕ ล้านบาท ๒.๔.๑ พัฒนาการค้าชายแดนและการลงทุนของไทยกับ ประเทศเพื่อนบ้าน โดยจัดประชุมและสัมมนาให้ความรู้ข้อมูลด้านกฎระเบียบ การค้าการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน และสิทธิพิเศษทางการค้ากับหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ ได้แก่ จัดสัมมนาเรื่อง ”โอกาสการค้า การลงทุนไทยในประเทศเพื่อนบ้าน„ จัดสัมมนาเรื่อง ”เจาะตลาดใหม่ก้าวไกล แดนภารตะ„ และจัดสัมมนาและเป็นวิทยากรการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน ๒.๔.๒ ผลักดันความร่วมมือการค้าชายแดนผ่านกลไกต่าง ๆ ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดท�ำแผนแม่บทการขับเคลื่อนหุ้นส่วนการพัฒนา เขตเศรษฐกิจ ๓ ฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย (The IMT-GT Regional Implementation Blueprint Workshop) ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดยได้รับทราบผลความคืบหน้าและสรุปโครงการของทั้ง ๓ ประเทศ ที่จะถูก บรรจุในแผนแม่บทการขับเคลื่อน (Implementation Blueprint) ปี ๒๕๕๕–๒๕๕๗ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ ๑๘ และการประชุมระดับมุขมนตรีและ ผู้ว่าราชการจังหวัด ครั้งที่ ๘ ภายใต้แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT) และการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อติดตามการขับเคลื่อน และเสริมสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในโครงการภายใต้ IMT-GT Implementation Blueprint (IB) ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ เพื่อติดตามการขับเคลื่อน โครงการอย่างจริงจังทั้งในด้านการเตรียมการด้านงบประมาณและรายละเอียด การด�ำเนินการโครงการภายใต้ IMT-GT การประชุมเกี่ยวกับอุปสรรคการค้า ตามแนวชายแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ณ ท�ำเนียบรัฐบาล การประชุมเตรียมการฝ่ายไทย ส�ำหรับการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ไทย-ลาว ครั้งที่ ๑๗ เพื่อรับทราบความคืบหน้าโครงการความร่วมมือ การค้าชายแดน ระหว่างไทยกับประเทศ เพื่อนบ้าน ขยายตัว ๕.๒%
  • 15. รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕) 239 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ ๒.๔.๓ จัดคณะผู้แทนการค้าและการลงทุนเยือนประเทศ ต่าง ๆ ในภูมิภาค เพื่อจับคู่เจรจาธุรกิจ (Business Matching) ระหว่าง ผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการในประเทศต่าง ๆ อาทิ จัดคณะผู้แทนการค้า และการลงทุนไทยเยือนนครคุนหมิงสาธารณรัฐประชาชนจีนนครหลวงเวียงจันทน์ แขวงสะหวันนะเขต และแขวงจ�ำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมืองมุมไบและเจนไน สาธารณรัฐอินเดีย ๒.๔.๔ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเพื่อรองรับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) โดย อยู่ระหว่างการจัดตั้งส�ำนักงานการค้าต่างประเทศในส่วนภูมิภาค (สคต.) เพิ่มเติม จ�ำนวน ๓ แห่ง ได้แก่ สคต.จังหวัดมุกดาหาร สคต.จังหวัดตาก และ สคต. จังหวัดศรีสะเกษ (จากเดิมที่มีอยู่แล้ว ๖ แห่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ ชลบุรี สระแก้ว หนองคาย เชียงราย และอ�ำเภอหาดใหญ่) ๓. สร้างความสามัคคีและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน มีการด�ำเนินงานที่ส�ำคัญ ดังนี้ ๓.๑ เตรียมความพร้อมของไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐบาลได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง และหน่วยงาน ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี รวม ๓๒ หน่วยงาน โดยให้ความส�ำคัญกับการ ด�ำเนินงานใน ๖ ประเด็น ได้แก่ (๑) การขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนใน ๓ เสาหลัก ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านการเมืองและ ความมั่นคง (๒) การเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียน เพื่อวางแผนพัฒนาศักยภาพ การเป็นศูนย์กลางอาเซียนของไทยใน๓เรื่องประกอบด้วยการขนส่งการท่องเที่ยว และการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม (๓) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อวางแผนก�ำลังคนทั้งระบบ (๔) การบูรณาการกลุ่มจังหวัด โดยให้ความส�ำคัญ กับพื้นที่จังหวัดชายแดน เขตเศรษฐกิจพิเศษและพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเติบโต รวมทั้งการพัฒนาสินค้าหนึ่งต�ำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) (๕) การบูรณาการ ร่วมกับภาคเอกชน ๕ สถาบัน และ (๖) การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนในการ ขับเคลื่อน ๓ เสาหลัก โดยด�ำเนินงาน ดังนี้ เตรียมความพร้อม และให้ความรู้แก่หน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
  • 16. รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕) 240 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ ๓.๑.๑ เตรียมความพร้อมของภาครัฐ รัฐบาลได้พัฒนา ศักยภาพและความตระหนักรู้ของบุคลากรภาครัฐ โดยเฉพาะการฝึกอบรม และพัฒนาทักษะต่างๆรวมถึงยกระดับมาตรฐานต่างๆให้พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การพัฒนามาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภค การพัฒนาระบบบริหารแรงงาน เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางการค้าภายในอาเซียนการพัฒนาความรู้ด้านกฎหมาย และการศึกษาแนวทางเพื่อแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบของไทย เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยภายใต้ประชาคมอาเซียน เพื่อให้กฎหมาย มีความทันสมัยและใช้โอกาสจากประชาคมอาเซียนได้อย่างเต็มที่ การเตรียม ความพร้อมด้านท่องเที่ยวและกีฬาสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดย วิเคราะห์ผลกระทบและจัดท�ำข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากร วิชาชีพด้านการท่องเที่ยวอาเซียนในปี ๒๕๕๘ เมื่อมีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ อย่างเสรี ๓.๑.๒ เตรียมความพร้อมของภาคเอกชน รัฐบาลผลักดัน การพัฒนาศักยภาพของภาคเอกชนและแรงงานไทยให้ตอบสนองความต้องการ และมีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดอาเซียน รวมถึงการรักษาคุณภาพ สินค้าให้ได้ตามความต้องการของตลาดและผ่านเกณฑ์มาตรฐานระหว่าง ประเทศที่ก�ำหนด โดยการให้ค�ำแนะน�ำและค�ำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการไทย การจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมแก่ผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัด สัมมนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั่วประเทศ และ การสนับสนุนการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการไทยกับผู้ประกอบการจาก ประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ๓.๑.๓ เตรียมความพร้อมของประชาชน รัฐบาลเน้นการสร้างความตระหนักรู้ โดยด�ำเนิน โครงการและกิจกรรมหลายรูปแบบ เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับอาเซียนแก่ ประชาชน อาทิ การจัดหลักสูตรฝึกอบรมและสัมมนา เฉพาะกลุ่ม การจัดกิจกรรม ”อาเซียนสัญจร„ ซึ่งในช่วง เดือนสิงหาคม ๒๕๕๔-สิงหาคม ๒๕๕๕ ได้จัดไปแล้ว กว่า ๑๐ ครั้งทั่วประเทศ การสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ สาธารณชนส�ำหรับการเปิดตลาดการค้าบริการสาขา
  • 17. รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕) 241 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ผ่านสื่อ แขนงต่าง ๆ ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจความส�ำคัญ ความเชื่อมโยง ประโยชน์ และ ผลกระทบของประชาคมอาเซียน ๓.๑.๔ จัดตั้ง ”ศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน (AEC Information Center)„ และ ”ศูนย์ประสานงานและบริการ ข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน„ หรือ ”ศูนย์ AEC ของกระทรวงพาณิชย์ ระดับจังหวัด„ เพื่อเผยแพร่ผลการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และให้ค�ำปรึกษา เกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้กรอบความตกลงการเปิดเสรีทางการค้า ตลอดจนให้บริการและอ�ำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในแต่ละจังหวัดและท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งผู้ใช้บริการ จะน�ำความรู้ ความเข้าใจไปใช้ประโยชน์ในการประกอบธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเป็นกระบวนการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในรูปแบบการสื่อสาร สองทาง (Two-Way Communication) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจากผู้เจรจา (Negotiators) ไปสู่ผู้ใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (Stakeholders) ๓.๑.๕ ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับองค์กร พันธมิตรต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนโครงการเตรียมความพร้อมทุกภาคส่วนก้าวสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี ๒๕๕๘ ได้แก่ ส�ำนักงานส่งเสริม การจัดประชุมและนิทรรศการ(สสปน.)ธนาคารกสิกรไทยส�ำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติส�ำหรับ เอเชียและแปซิฟิก(TheUnitedNationsEconomicandSocialCommission for Asia and the Pacific: ESCAP) และสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้า และการพัฒนา (International Institute for Trade and Development: ITD) ส�ำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และสภา ผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย
  • 18. รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕) 242 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ ๓.๒ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและ สนับสนุนบทบาทของไทยรัฐบาลได้ด�ำเนินการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ อาเซียนอย่างต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ๓.๒.๑ ด้านความมั่นคง ไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน มีความร่วมมือที่ใกล้ชิด ทั้งนี้ เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหมได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียน ที่กรุงพนมเปญ นอกจากนี้ ไทยแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานด้านข่าวกรอง ในอาเซียนผ่านเครือข่ายผู้น�ำหน่วยประชาคมข่าวกรองอาเซียนอย่างสม�่ำเสมอ ๓.๒.๒ ด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลด�ำเนินการตามข้อผูกพัน ในการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ส�ำคัญ ดังนี้ ๓.๒.๒.๑ ด�ำเนินการตามข้อผูกพันในการรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ โดยมีการยกเลิกมาตรการโควตาภาษี ส�ำหรับสินค้าเกษตร ๒๓ รายการ ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) พร้อมพิจารณามาตรการบริหารการน�ำเข้า ส�ำหรับสินค้าบางชนิด เตรียมการต่อการเปิดเสรีและการเป็นประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน ทั้งด้านการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการเป็นประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ต่อภาคการเกษตร รวบรวมข้อมูลพื้นฐานและ กฎระเบียบด้านการลงทุนของกลุ่มประเทศ CLMV (ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม)ศึกษาเพื่อประเมินผลกระทบจากการเป็นประชาคม อาเซียนต่อสินค้าเกษตรของไทย ๓.๒.๒.๒ ศึกษา วิเคราะห์ ติดตาม เผยแพร่ และ รายงานข้อมูลด้านการเกษตรและสถานการณ์ความเคลื่อนไหวด้านการเกษตร รวมทั้งเจรจาความร่วมมือด้านการเกษตรต่างประเทศ และการป้องกันและ แก้ไขปัญหาอุปสรรคและข้อกีดกันในการส่งออกสินค้าเกษตร ตลอดจนผลักดัน การขยายตลาดสินค้าเกษตร ๓.๒.๒.๓ จัดท�ำความร่วมมือพัฒนาการเกษตร แบบมีสัญญา (AC-4) ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้ กรอบ ACMECS รวมทั้งพิจารณาแผนลงทุนการเกษตรแบบมีสัญญาภายใต้ กรอบ ACMECS และร่วมการประชุมขับเคลื่อนนโยบายความร่วมมือ กับประเทศเพื่อนบ้านสู่การปฏิบัติในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งรวบรวม ติดตามข้อมูล สถานการณ์การค้าชายแดน ความร่วมมืออันดีระหว่าง ประเทศสมาชิกอาเซียน ส่งผลต่อการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคง ซึ่งท�ำให้ประเทศสมาชิก รวมทั้งไทยได้รับประโยชน์
  • 19. รายงานแสดงผลการดำ�เนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่หนึ่ง (วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕) 243 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ ๓.๒.๒.๔ จัดท�ำความร่วมมือด้านการเกษตร ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน�้ำโขง ทั้งการพิจารณา ข้อเสนอกรอบนโยบายความร่วมมือด้านการเกษตร และการก�ำหนดท่าที แนวทาง ความร่วมมือภาคเอกชนที่เสนอต่อประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือลุ่มน�้ำโขง (GMS) รวมทั้งรวบรวมข้อมูลและปัญหาอุปสรรคในความร่วมมือระหว่างไทย กับประเทศสมาชิกเพื่อสนับสนุนการศึกษาวิเคราะห์พืชเศรษฐกิจ ๓.๒.๒.๕ เป็นศูนย์กลางอาเซียนและเป็นจุดเชื่อมโยง และศูนย์กลางในหลายด้าน เช่น การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ผ่านโครงการ พัฒนาการเชื่อมต่อกันภายในอาเซียน (ASEAN Connectivity) และริเริ่มแนวคิด เรื่องการเชื่อมโยงอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค (Connectivity Beyond ASEAN) เช่น การสร้างเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น แนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) ซึ่งครอบคลุมการเชื่อมโยงถนนสามฝ่าย ไทย-เมียนมาร์-อินเดีย โดยมีเป้าประสงค์ที่จะเชื่อมโยงแหลมฉบังกับทวาย ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์และต่อไปถึงสาธารณรัฐอินเดีย และ แนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) ซึ่งจะเชื่อมไปถึง สาธารณรัฐประชาชนจีน ๓.๒.๒.๖ ผลักดันความร่วมมือในการพัฒนา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในอาเซียน และการด�ำเนินการตามแผนแม่บท เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาเซียน (ASEAN ICT Master Plan 2015) ให้บรรลุเป้าหมายการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสร้างความเจริญ ทางเศรษฐกิจ ๓.๒.๓ ด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ รัฐบาลได้ผลักดันให้ผู้น�ำอาเซียนรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยเขตปลอด ยาเสพติดภายในปี ๒๕๕๘ จัดการประชุมคณะกรรมการอาเซียน ด้านวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ ๔๖ ส่งเสริมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ตามข้อตกลงอาเซียนด้านมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน สนับสนุนภารกิจ ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights: AICHR) นอกจากนี้ ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่๑๙ที่อินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ลงนามในความตกลงว่าด้วย การจัดตั้งศูนย์ประสานงานอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม