SlideShare a Scribd company logo
1 of 23
เทคนิคพื้นฐานในการระบายสีน้ำ<br />การระบายเรียบสีเดียว  เตรียมกระดานรองเขียน  สี  น้ำ  พู่กัน  และผ้าเช็ดหน้าไว้ให้พร้อม  วางกระดานรองเขียนให้ทำมุมกับพื้น  15  องศา  แล้วใช่พู่กันจุ่มสีที่ต้องการ  ระบายผสมกับน้ำ  กะให้พอดีกับบริเวณว่างที่ต้องการระบาย  พยายามผสมสีให้เข้ากับน้ำ  แล้วจึงระบายบนพื้นที่นั้น  ๆ  ขณะระบายให้ระบายช้า  ๆ  โดยเริ่มจากทางด้ายซ้ายมือมาทางขวามือ  คล้ายกับการเขียนหนังสือระบายตามแนวนอนให้มีน้ำกองอยู่บนกระดาษมาก  ๆ  เพื่อที่จะระบายต่อไปได้สะดวก  ขณะระบายอย่าเอาพู่กันที่จุ่มสีแล้วไปจุ่มน้ำเป็นอันขาด  เพราะจะทำให้น้ำหนักสีที่ผสมไว้แล้วอ่อนลง  ฝึกระบายสีอื่นตามวิธีการดังกล่าว  และบนบริเวณว่างต่าง  ๆ  กัน  จนเกิดความชำนาญ<br />การระบายเรียบหลายสี  วางกระดานรองเขียนให้ทำมุม  15  องศา  แล้วใช้พู่กันจุ่มสีให้พอกับบริเวณที่จะระบายและระบายบริเวณกระดาษที่ต้องการ  จากนั้นผสมสีอื่นระบายต่อจากสีที่ระบายแล้วครั้งแรก  พยามยามระบายให้ต่อเนื่องกัน  ผสมสีอื่น  ๆ  อีกแล้วระบายต่อ  อาจระบายสีเป็นกลุ่มสีอุ่นหรือสีเย็นก็ได้  พยายามระบายให้มีเนื้อที่ของสีต่าง ๆ  กัน  แล้วพิจารณาดูความกลมกลืน  และการไหลของแต่ละสี<br />การระบายน้ำหนักอ่อนแก่  มีวิธีการดังนี้  วางกระดาน  15  องศา  สีที่ใช้ผสมน้ำให้ข้นกว่าปกติแต่ไม่ถึงขนาดหนาจนทึบตัน (Opaque)  ระบายเรียบธรรมดา  เสร็จแล้วนำพู่กันไปล้างน้ำให้สะอาด  จากนั้นนำพู่กันจุ่มน้ำสะอาดมาระบายใต้คราบโดยระบายไปเรื่อย  ๆ  จนสีเดิมค่อย  ๆ  จางลงไป  ลำดับขั้นเทคนิคนี้จะนำไปใช้ในการระบายให้เกิดความลึก  ความกลม  ให้ได้แสงกับเงาที่กลมกลืนกันหรืออะไร  ๆ  ที่เกิดจากแก่มาหาอ่อนหรือแสงมาหาเงา  เงามาหาแสง  อ่อนมาหาแก่  หรือเบามาเข้  ทั้งหมดนี้คือกลุ่มคำที่แสดงความรู้สึกของความกลมและความลึก-ตื้น  ความใกล้  ไกลทั้งนั้น  อันอาจเกิดจากการใช้เทคนิคการระบายเป็นน้ำหนักอ่อนแก่ทั้งสิ้น<br />การระบายเปียกบนเปียก  ก่อนอื่นควรรู้ว่าเปียกบนเปียกหมายถึงอะไร  สีเปียกหรือกระดาษเปียก  สีเปียกหรือสีที่ผสมน้ำแล้ว  รวมแล้วคือสีเปียกระบายลงนบกระดาษเปียกนั่นเองจะให้ผลต่อการซึม  หรือรุกรานเข้าหากัน  (Advanced)  อันนี้คือคุณสมบัติของการระบายเปียกบนเปียก  เมื่อกระดาษเปียกสีที่ระบายลงไปทีหลังจะต้องค่อนข้างข้น  ผู้ระบายควรรู้ว่า  เปียกชุ่มชื้น  เป็นอย่างไร  สิ่งนี้แหละที่เรียกว่า  การควบคุม  ทดลองดูแล้วจะรู้<br />การระบายเคลือบ  ในการเขียนภาพสีน้ำนั้น  เมื่อสีชุดแรกแห้งสนิทเราจึงใช้สีเดิมแต่เข้มกว่ามาระบายทับ  เพื่อให้เกิดรูปร่างหรือบรรยากาศอย่างที่เราต้องการแล้วปล่อยให้แห้งสนิท  เมื่อระบายสีใดสีหนึ่งก่อนและระบายทับด้วยสีใดควรจดสีที่เกิดขึ้นใหม่ไว้  ทั้งนี้เพื่อจะได้เป็นข้อมูล  นำมาแก้ไขปรับปรุงในคราวต่อไปเทคนิคนี้สำคัญมาก  จะทำได้ต่อเมื่อสีเดิมที่ระบายไปนั้นต้องแห้งสนิทประโยชน์ที่ได้รับจากการระบายเคลือบ  คือระบายเพื่อให้เกิดเป็นเงาเพื่อให้เกิดความลึกเพื่อผลักให้เกิดระยะเพื่อคลุมบรรยากาศของสี<br />เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการระบายสีน้ำ<br />เทคนิคพิเศษ  หมายถึง  การใช้สี  พู่กัน  อีกทั้งกลวิธีต่าง  ๆ  ในการวาดภาพที่จะเอาไปประกอบเพิ่มเติมให้ภาพสีน้ำดูมีความสนใจมากขึ้น  เช่นวิธีที่  1  ใช้พู่กันแปรงจุ่มสีเขียวอมเหลือง  อมฟ้า  อมม่วง  แตะแบบกระทุ้งในลักษณะที่หมาด  (อย่าเปียกมากหรือแห้งมาก)  ลงบนกระดาษให้เป็นรูปร่างของต้นไม้โดยการควบคุมรูปร่างให้เป็นพุ่มไม้ตามตัวอย่าง<br />วิธีที่2  ใช้พู่กันลากเส้น (Rigger)  จุ่มสีค่อนข้างแห้ง  เขียนลำต้นตามตัวอย่างเวลาลากเส้นเพื่อจะเขียนต้นไม้  ต้องเริ่มต้นจากโคนต้นมาปลายกิ่ง  เริ่มต้นด้วยการกดพู่กันให้หนักหน่อย  เพื่อที่ปลายพู่กันจะบานออกทำให้เส้นลำต้นมีขาดใหญ่แล้วค่อย  ๆ  ผ่อนน้ำหนักที่กดพู่กันขณะที่ลากไปยังส่วนที่เป็นปลายกิ่ง  และไม่ควรลากกิ่งไม้ที่มีลักษณะเหมือน  หรือเท่ากันทั้งซ้ายและขวา  (ดูรูป  B)  ควรจะเขียนต้นไม้แบบสลับซ้ายขวา (ดูรูป  C)<br />วิธีที่  3  ใช้เกรียงหรือด้ามพู่กันขูดขีด  ในขณะที่มีหมาดเกือบแห้ง  เราอาจทำให้เกิดเป็นร่องรอยที่เป็นเส้นหรือรูปต่างๆ  ได้  โดยการขูดออก  สีพื้นจะต้องมีน้ำหนักค่อนข้างเข้ม  (ดูรูปประกอบ)<br />วิธีที่  4  ใช้พู่กันแบนที่มีขนเป็นเส้นใยสังเคราะห์  เน้นให้เกิดน้ำหนัก  ในขณะที่สีทีระบายไว้ยังไม่แห้ง  อาจใช้สีเข้มและเข้มกว่า  กด  แตะ  ลาก  ตวัด  ให้เกิดรอยพู่กัน  (T brush)  เพื่อเน้นภาพให้เกิดมิติ มีความลึก (Nagative  Space)<br />วิธีที่  5  การระบายสีแบบต่อเนื่อง  ให้สีไหลซึมเข้าหากัน  (สีจะนุ่มนวลและเหลือบไปเหลือบมา)  ในการระบายสีน้ำทุกครั้งควรคิดไว้เสมอว่า  “ไม่มีวัตถุใดในโลกนี้ที่มีสีเดียว”  ควรระบายสีแบบต่อเนื่องหลายสี  เพื่อให้ภาพดูนุ่มนวลมีบรรยากาศ  (ดูรูปประกอบ)<br />วิธีที่  6    ใช้แปรงหรือพู่กันสลัดสีที่ยังหมาดอยู่หรือแห้งแล้วเพื่อสร้างภาพ  พุ่มไม้  ทางเดิน  หรือพื้นทราย  การสลัดสีจะช่วยให้ภาพดูมีความนุ่มนวลไม่กระด้าง  (ดูแล้วมี  Feeling)  และยังช่วยสร้างบริเวณที่เป็นแสงของพุ่มไม้ได้  (ดูรูปประกอบ) หรืออาจใช้แปรงสลัดลงไปในภาพ  เพื่อให้ภาพน่าสนใจมากขึ้น  การใช้สีและอุปกรณ์เพื่อเขียนภาพสีน้ำ  ด้วยวิธีการระบายสีปกติ  หรือการใช้เทคนิคพิเศษ  จำเป็นต้องฝึกฝนบ่อย  ๆ  เป็นประจำ  (ให้เรียนรู้ถึงความหมาด  ความเข้ม  และความเข้มของสี)  และมีความชำนาญในการใช้อุปกรณ์ต่าง  ๆ  เพื่อสร้างภาพสีน้ำให้สวยสมกับความตั้งใจ      <br />วิธีที่  7  ใช้กาวกันสี  Masking  fluid1.ทากาวกันสี  ด้วยพู่กันและปล่อยให้แห้ง<br />2.ระบายสีให้เป็นพุ่มไม้บริเวณฉากหลัง<br />3.ในขณะที่สีหมาด  ระบายสีที่เข้มและข้นตามเพื่อเพิ่มมิติของภาพและเน้นบางส่วนที่ต้องการให้ลึก  จากนั้นลากเส้นต้นไม้  กิ่งไม้  ด้วยพู่กัน  Rigger  ปล่อยให้แห้งสนิทแล้วลอกกาวกันสีออกจะเห็นสีขาวงของผิวกระดาษ<br />วิธีที่  8  ใช้กระดาษ Tissueซับสีออกในขณะที่ระบายสีแล้วสียังไม่แห้ง  นำกระดาษ Tissue  มาซับสีเพื่อสร้างภาพให้เป็นก่อนเมฆใช้ซับความเข้มของสีให้จางลง  หรือให้เกิดบริเวณพื้นขาวโดยใช้กระดาษ  Tissue  ทำความสะอาดพื้นที่ให้เกิดเป็นแสงตามต้องการก็ได้<br />วิธีที่  9  ใช้พู่กันรูปพัด  ฝึกเขียนต้นมะพร้าวช่วยสร้างให้เกิดเป็นเส้นหลาย  ๆ เส้นและเกิดรูปร่างต่าง  ๆ<br />วิธีที่  10  ใช้ฟองน้ำธรรมชาติ  ปั้มสีให้เป็นพุ่มไม้ด้วนสีอ่อน  ๆ  ก่อนแล้วเพิ่มสีเข้มตามลำดับ  แบบอ่อนสลับเข้ม  ส่วนต้นไม้และกิ่ง  ก้านใช้พู่กัน  Rigger  ลาก<br />
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ
ฝึกสีน้ำ

More Related Content

Viewers also liked

Viewers also liked (8)

Sales book 3 dala
Sales book 3 dalaSales book 3 dala
Sales book 3 dala
 
Educational
EducationalEducational
Educational
 
การนำเสนองาน โคราช 03
การนำเสนองาน โคราช  03การนำเสนองาน โคราช  03
การนำเสนองาน โคราช 03
 
Nikita kellermann presentation
Nikita kellermann presentationNikita kellermann presentation
Nikita kellermann presentation
 
A política de fortificação lusitana na amazônia
A política de fortificação lusitana na amazôniaA política de fortificação lusitana na amazônia
A política de fortificação lusitana na amazônia
 
A Sociedade Guaporeana
A Sociedade GuaporeanaA Sociedade Guaporeana
A Sociedade Guaporeana
 
Cold & Flu Category Strategy
Cold & Flu Category StrategyCold & Flu Category Strategy
Cold & Flu Category Strategy
 
Strategy department
Strategy department Strategy department
Strategy department
 

ฝึกสีน้ำ

  • 1. เทคนิคพื้นฐานในการระบายสีน้ำ<br />การระบายเรียบสีเดียว เตรียมกระดานรองเขียน สี น้ำ พู่กัน และผ้าเช็ดหน้าไว้ให้พร้อม วางกระดานรองเขียนให้ทำมุมกับพื้น 15 องศา แล้วใช่พู่กันจุ่มสีที่ต้องการ ระบายผสมกับน้ำ กะให้พอดีกับบริเวณว่างที่ต้องการระบาย พยายามผสมสีให้เข้ากับน้ำ แล้วจึงระบายบนพื้นที่นั้น ๆ ขณะระบายให้ระบายช้า ๆ โดยเริ่มจากทางด้ายซ้ายมือมาทางขวามือ คล้ายกับการเขียนหนังสือระบายตามแนวนอนให้มีน้ำกองอยู่บนกระดาษมาก ๆ เพื่อที่จะระบายต่อไปได้สะดวก ขณะระบายอย่าเอาพู่กันที่จุ่มสีแล้วไปจุ่มน้ำเป็นอันขาด เพราะจะทำให้น้ำหนักสีที่ผสมไว้แล้วอ่อนลง ฝึกระบายสีอื่นตามวิธีการดังกล่าว และบนบริเวณว่างต่าง ๆ กัน จนเกิดความชำนาญ<br />การระบายเรียบหลายสี วางกระดานรองเขียนให้ทำมุม 15 องศา แล้วใช้พู่กันจุ่มสีให้พอกับบริเวณที่จะระบายและระบายบริเวณกระดาษที่ต้องการ จากนั้นผสมสีอื่นระบายต่อจากสีที่ระบายแล้วครั้งแรก พยามยามระบายให้ต่อเนื่องกัน ผสมสีอื่น ๆ อีกแล้วระบายต่อ อาจระบายสีเป็นกลุ่มสีอุ่นหรือสีเย็นก็ได้ พยายามระบายให้มีเนื้อที่ของสีต่าง ๆ กัน แล้วพิจารณาดูความกลมกลืน และการไหลของแต่ละสี<br />การระบายน้ำหนักอ่อนแก่ มีวิธีการดังนี้ วางกระดาน 15 องศา สีที่ใช้ผสมน้ำให้ข้นกว่าปกติแต่ไม่ถึงขนาดหนาจนทึบตัน (Opaque) ระบายเรียบธรรมดา เสร็จแล้วนำพู่กันไปล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำพู่กันจุ่มน้ำสะอาดมาระบายใต้คราบโดยระบายไปเรื่อย ๆ จนสีเดิมค่อย ๆ จางลงไป ลำดับขั้นเทคนิคนี้จะนำไปใช้ในการระบายให้เกิดความลึก ความกลม ให้ได้แสงกับเงาที่กลมกลืนกันหรืออะไร ๆ ที่เกิดจากแก่มาหาอ่อนหรือแสงมาหาเงา เงามาหาแสง อ่อนมาหาแก่ หรือเบามาเข้ ทั้งหมดนี้คือกลุ่มคำที่แสดงความรู้สึกของความกลมและความลึก-ตื้น ความใกล้ ไกลทั้งนั้น อันอาจเกิดจากการใช้เทคนิคการระบายเป็นน้ำหนักอ่อนแก่ทั้งสิ้น<br />การระบายเปียกบนเปียก ก่อนอื่นควรรู้ว่าเปียกบนเปียกหมายถึงอะไร สีเปียกหรือกระดาษเปียก สีเปียกหรือสีที่ผสมน้ำแล้ว รวมแล้วคือสีเปียกระบายลงนบกระดาษเปียกนั่นเองจะให้ผลต่อการซึม หรือรุกรานเข้าหากัน (Advanced) อันนี้คือคุณสมบัติของการระบายเปียกบนเปียก เมื่อกระดาษเปียกสีที่ระบายลงไปทีหลังจะต้องค่อนข้างข้น ผู้ระบายควรรู้ว่า เปียกชุ่มชื้น เป็นอย่างไร สิ่งนี้แหละที่เรียกว่า การควบคุม ทดลองดูแล้วจะรู้<br />การระบายเคลือบ ในการเขียนภาพสีน้ำนั้น เมื่อสีชุดแรกแห้งสนิทเราจึงใช้สีเดิมแต่เข้มกว่ามาระบายทับ เพื่อให้เกิดรูปร่างหรือบรรยากาศอย่างที่เราต้องการแล้วปล่อยให้แห้งสนิท เมื่อระบายสีใดสีหนึ่งก่อนและระบายทับด้วยสีใดควรจดสีที่เกิดขึ้นใหม่ไว้ ทั้งนี้เพื่อจะได้เป็นข้อมูล นำมาแก้ไขปรับปรุงในคราวต่อไปเทคนิคนี้สำคัญมาก จะทำได้ต่อเมื่อสีเดิมที่ระบายไปนั้นต้องแห้งสนิทประโยชน์ที่ได้รับจากการระบายเคลือบ คือระบายเพื่อให้เกิดเป็นเงาเพื่อให้เกิดความลึกเพื่อผลักให้เกิดระยะเพื่อคลุมบรรยากาศของสี<br />เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการระบายสีน้ำ<br />เทคนิคพิเศษ หมายถึง การใช้สี พู่กัน อีกทั้งกลวิธีต่าง ๆ ในการวาดภาพที่จะเอาไปประกอบเพิ่มเติมให้ภาพสีน้ำดูมีความสนใจมากขึ้น เช่นวิธีที่ 1 ใช้พู่กันแปรงจุ่มสีเขียวอมเหลือง อมฟ้า อมม่วง แตะแบบกระทุ้งในลักษณะที่หมาด (อย่าเปียกมากหรือแห้งมาก) ลงบนกระดาษให้เป็นรูปร่างของต้นไม้โดยการควบคุมรูปร่างให้เป็นพุ่มไม้ตามตัวอย่าง<br />วิธีที่2 ใช้พู่กันลากเส้น (Rigger) จุ่มสีค่อนข้างแห้ง เขียนลำต้นตามตัวอย่างเวลาลากเส้นเพื่อจะเขียนต้นไม้ ต้องเริ่มต้นจากโคนต้นมาปลายกิ่ง เริ่มต้นด้วยการกดพู่กันให้หนักหน่อย เพื่อที่ปลายพู่กันจะบานออกทำให้เส้นลำต้นมีขาดใหญ่แล้วค่อย ๆ ผ่อนน้ำหนักที่กดพู่กันขณะที่ลากไปยังส่วนที่เป็นปลายกิ่ง และไม่ควรลากกิ่งไม้ที่มีลักษณะเหมือน หรือเท่ากันทั้งซ้ายและขวา (ดูรูป B) ควรจะเขียนต้นไม้แบบสลับซ้ายขวา (ดูรูป C)<br />วิธีที่ 3 ใช้เกรียงหรือด้ามพู่กันขูดขีด ในขณะที่มีหมาดเกือบแห้ง เราอาจทำให้เกิดเป็นร่องรอยที่เป็นเส้นหรือรูปต่างๆ ได้ โดยการขูดออก สีพื้นจะต้องมีน้ำหนักค่อนข้างเข้ม (ดูรูปประกอบ)<br />วิธีที่ 4 ใช้พู่กันแบนที่มีขนเป็นเส้นใยสังเคราะห์ เน้นให้เกิดน้ำหนัก ในขณะที่สีทีระบายไว้ยังไม่แห้ง อาจใช้สีเข้มและเข้มกว่า กด แตะ ลาก ตวัด ให้เกิดรอยพู่กัน (T brush) เพื่อเน้นภาพให้เกิดมิติ มีความลึก (Nagative Space)<br />วิธีที่ 5 การระบายสีแบบต่อเนื่อง ให้สีไหลซึมเข้าหากัน (สีจะนุ่มนวลและเหลือบไปเหลือบมา) ในการระบายสีน้ำทุกครั้งควรคิดไว้เสมอว่า “ไม่มีวัตถุใดในโลกนี้ที่มีสีเดียว” ควรระบายสีแบบต่อเนื่องหลายสี เพื่อให้ภาพดูนุ่มนวลมีบรรยากาศ (ดูรูปประกอบ)<br />วิธีที่ 6 ใช้แปรงหรือพู่กันสลัดสีที่ยังหมาดอยู่หรือแห้งแล้วเพื่อสร้างภาพ พุ่มไม้ ทางเดิน หรือพื้นทราย การสลัดสีจะช่วยให้ภาพดูมีความนุ่มนวลไม่กระด้าง (ดูแล้วมี Feeling) และยังช่วยสร้างบริเวณที่เป็นแสงของพุ่มไม้ได้ (ดูรูปประกอบ) หรืออาจใช้แปรงสลัดลงไปในภาพ เพื่อให้ภาพน่าสนใจมากขึ้น การใช้สีและอุปกรณ์เพื่อเขียนภาพสีน้ำ ด้วยวิธีการระบายสีปกติ หรือการใช้เทคนิคพิเศษ จำเป็นต้องฝึกฝนบ่อย ๆ เป็นประจำ (ให้เรียนรู้ถึงความหมาด ความเข้ม และความเข้มของสี) และมีความชำนาญในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อสร้างภาพสีน้ำให้สวยสมกับความตั้งใจ <br />วิธีที่ 7 ใช้กาวกันสี Masking fluid1.ทากาวกันสี ด้วยพู่กันและปล่อยให้แห้ง<br />2.ระบายสีให้เป็นพุ่มไม้บริเวณฉากหลัง<br />3.ในขณะที่สีหมาด ระบายสีที่เข้มและข้นตามเพื่อเพิ่มมิติของภาพและเน้นบางส่วนที่ต้องการให้ลึก จากนั้นลากเส้นต้นไม้ กิ่งไม้ ด้วยพู่กัน Rigger ปล่อยให้แห้งสนิทแล้วลอกกาวกันสีออกจะเห็นสีขาวงของผิวกระดาษ<br />วิธีที่ 8 ใช้กระดาษ Tissueซับสีออกในขณะที่ระบายสีแล้วสียังไม่แห้ง นำกระดาษ Tissue มาซับสีเพื่อสร้างภาพให้เป็นก่อนเมฆใช้ซับความเข้มของสีให้จางลง หรือให้เกิดบริเวณพื้นขาวโดยใช้กระดาษ Tissue ทำความสะอาดพื้นที่ให้เกิดเป็นแสงตามต้องการก็ได้<br />วิธีที่ 9 ใช้พู่กันรูปพัด ฝึกเขียนต้นมะพร้าวช่วยสร้างให้เกิดเป็นเส้นหลาย ๆ เส้นและเกิดรูปร่างต่าง ๆ<br />วิธีที่ 10 ใช้ฟองน้ำธรรมชาติ ปั้มสีให้เป็นพุ่มไม้ด้วนสีอ่อน ๆ ก่อนแล้วเพิ่มสีเข้มตามลำดับ แบบอ่อนสลับเข้ม ส่วนต้นไม้และกิ่ง ก้านใช้พู่กัน Rigger ลาก<br />