SlideShare a Scribd company logo
1 of 30
Download to read offline
1
2
    SinthornVista
    Fast Forward Investors




                  “SinthornVista” Top11 of 2011
SinthornVista       3

“เพื่อน” ที่ดีที่สุดของนักลงทุน
4
    facebook.com/SinthornVista




           “SinthornVista” Top11 of 2011
5
6
          2011 เป็นอีกปีที่ตลาดหุ้น
    “มีทั้งเรื่องน่าจดจา และไม่น่าจดจา”




           “SinthornVista” Top11 of 2011
Top 11 of 2011
•   11   ญี่ปุ่นกับความโชคร้าย
•   10   January Effect
•   9    เลือกตั้งเมืองไทย
•   8    Operation Twist
•   7    ตลาดหุ้นไซด์เวย์
•   6    FTSE เพิ่มอันดับหุ้นไทย
•   5    ปันผลสุดพิเศษ             7
•   4    วิกฤตความเชื่อมั่น
•   3    Commodities
•   2    อภิมหาบรมอุทกภัย
•   1    ซ้อมเซอร์กิต
เป็นอีกปี ที่มีเรื่องที่น่าจดจา และไม่น่าจดจาสาหรับตลาดหุ้นไทย เรามีเรื่องดีๆ
    ที่ทาให้ตลาดบวกขึ้นไปแรงๆสวนทางกับชาวบ้านชาวช่อง จนขึ้นไปทาสถิติสูงสุดใน
    รอบกว่า 14 ปี ซึ่งเป็นสถิติที่ถูกทาลายไปโดยพิษต้มยากุ้งเมื่อปี 2540 จนกว่าจะได้
    กลับขึ้นมาอีกครั้งก็ยาวนานกว่า หนึ่งทศวรรษ และมีเรื่องร้ายๆที่ส่งผลกระทบกับ
    จิตวิทยาการลงทุนจนถึงขั้นทาให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ลดลงจนเกือบต้องทาการหยุด
    ซื้อขายชั่วคราว (จริงๆ) แต่โดยสรุปแล้วดัชนีตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่สิ้นปี 2553
    เป็นต้นมา จนถึงสิ้นปี 2554 ก็ดูเหมือนจะไม่ได้ไปไหนไกลนัก ... ถ้าให้พูดกันตรงๆ
    ก็ต้องบอกว่าเหมือนย่าอยู่กับที่มากกว่า

            ตลาดหุ้นไทยในปี 2554 สาหรับผม ดูเหมือนจะเป็นตลาดหุ้นแห่งความบ้า
    เพราะมันมีเรื่องให้กังวลกันได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะต้นปีกังวลการเมือง กลางปีกังวล
    เลื อกตั้ง ปลายปี กังวลยุโ รป สรุ ปเป็น ปีที่ บ้าจริงๆ บ้าเพราะเรากังวลมากเกิน ไป
8
    สุดท้ายตลาดหุ้นก็ไม่ได้ไปไหน มันยังย่าอยู่ที่เดิม
            แต่เ ราก็ต้องระลึ กเอาไว้เสมอว่า ตลาดหุ้น ก็เ หมือนกับอุทกภัย มีเ ข้ามา มี
    จุดสูงสุด และแน่นอนมันต้องมีวันที่น้าแห้งเหือดออกไป หลังจากน้าแห้งเหือด เราก็
    มักจะต้องเห็นคราบน้าซึ่งเป็นรอยจารึกเอาไว้ให้เราดูต่างหน้าเสมอ แต่ถึงอย่างไร ...
    เดี๋ยวมันก็มาใหม่อยู่ดี

             สุดท้ายนี้ แม้ว่าปี 2554 จะมีเรื่องราวต่างๆผ่านเข้ามา และผ่านออกไป แม้
    จะมีเรื่องราวที่น่าจดจา และไม่น่าจดจา โปรดระลึกเอาไว้เสมอว่า ความสุขของคนเรา
    นั้นอยู่ที่จิตใจของเราเอง และต่อให้เงินทั้งตลาดหุ้นมากองอยู่ตรงหน้าเรา มันก็ไม่ อาจ
    ซื้อเวลาอันเปี่ยมสุขในอดีตกลับคืนมาได้


                                              กฤติศักดิเดชน์ สิริภรณ์ภักดี
                                                     บรรณาธิการ



                           “SinthornVista” Top11 of 2011
อันดับที่ 11 – ญี่ปุ่นกับความโชคร้าย

         ถ้ามีใครถามว่าปีนี้ 2554 ประเทศใดซวยซ้าซวยซ้อนมากที่สุด เชื่อว่าแทบทุกคนคงจะตอบเป็น
เสียงเดียวกันว่าญี่ปุ่น เพราะลาพังเพียงแค่สึนามิยักษ์ถล่มญี่ปุ่นในช่วงเดือนมีนาคม ก็ทาเอาเศรษฐกิจ
ญี่ปุ่นพังพินาศและมีมูลค่าความเสียหายสูงมากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญ ยังไม่ได้นั บรวมถึงผู้สูญเสีย
จากภัยธรรมชาติครั้งนี้กว่าหลายหมื่นคน นอกจากนี้ยังเจอกับมหันตภัยนิวเคลียร์อีกครั้ง พร้อมกับ
ทาลายระบบเศรษฐกิ จโลกลงชั่ ว คราวจากปัญ หาห่ วงโซ่ อุ ปทานหยุด ชะงั กจากการที่ ญี่ ปุ่ นเจอภั ย
ธรรมชาติร้ายแรงครั้งนี้
         ซ้าร้ายที่สุด ยังต้องเผชิญกับ “สึนามิน้าจืด” แห่งมหานครสยามของเรา พัดพาโรงงานญี่ปุ่น
เสียหายนับครั้งไม่ถ้วนตลอดปี 2554 มูลค่าความเสียหายถ้าคิดเป็นจานวนเงินเฉพาะปีนี้ญี่ปุ่นประเทศ
เดียวเสียเงินให้แก่ธรรมชาติไม่ต่ากว่า 2-3 ล้านล้านเหรียญจากความสูญเสียทั้งหมด และยิ่งประเมิน
ค่าไม่ได้จากสิ่งที่เกิดขึ้นด้านความสูญเสียทางจิตใจ และความบอบช้าของผู้เคราะห์ร้าย




                                                                                                    9




        11 มีนาคม 2554 วันศุกร์วิปโยคของชาวญี่ปุ่น ในช่วงเย็นของญี่ปุ่นมีการรายงานการเกิด
แผ่นดินไหวและสึนามิ แต่รายละเอียดยังมีไม่มากนัก ตลาดหุ้นญี่ปุ่นทิ้งตัวลงมาปิดตลาดในช่วงก่อนปิด
ตลาด แต่ทุกคนคาดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่น่าจะรุนแรงมาก เหตุเพราะญี่ปุ่นมีการเตรียมพร้อมด้าน
ภัยพิบัติเป็นอย่างดี แต่ทั่วโลกก็ยังคงกังวล รวมถึงการรายงานข่าวออกมาในช่วงที่ตลาดหุ้นไทยพัก
การซื้อขายช่วงกลางวัน และภาคบ่ายเปิดตลาดก็ร่วงลงประมาณ 1%
แต่นั่นยังไม่ร้ายแรงเท่ากับการที่เกิดภัยพิบัติ จากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ รวมถึงตัวเลข
     ผู้เสียชีวิตยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ รายงานความเสียหายเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ระดับความรุนแรงของภัย
     ธรรมชาติครั้งนี้อยู่ในภาวะวิกฤต เปิดเช้าวันจันทร์ตลาดหุ้นทั่วโลกตอบสนองในแดนลบทันที ท่ามกลาง
     ความน่าสะพรึงกลัวจากภัยธรรมชาติในครั้งนี้ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นร่วงลงปิดตลาด -6%
               เช้าวันอังคารยิ่งน่ากลัวกว่าสาหรับการตอบสนองจากตลาดหุ้น โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่มีการเทขาย
     อย่างหนักหน่วงและรุนแรง ดัชนี นิคเคอิลงไปทาจุดต่าสุดระหว่างวันกว่า -14% หรือร่วงลงแรงถึง
     กว่า 1,392 จุ ด แต่ก็มี แรงซื้ อกลับ ขึ้น มา รี บาวด์ ขึ้น ไปปิด ตลาดที่ 8,605.15 จุ ด หรื อลดลง
     10.55% แม้ภัยพิบัติครั้งนี้จะไม่ได้ส่งผลต่อไทยมากนักในด้านความสูญเสีย แต่ก็สร้างความสะเทือนใจ
     กับชาวไทยและชาวโลกไม่น้อย (และใครจะไปรู้ว่าอีก 6 เดือนให้หลังไทยจะเจอกับเขาบ้าง)
               ผลของการที่ญี่ปุ่นประสบกับภัยพิบัติครั้งนี้ ฉุดตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆของญี่ปุ่นดิ่งลงไป พร้อม
     ทั้งฉุดตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆของโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงยังตอกย้าญี่ปุ่นด้วยการที่ค่าเงินเยน
     แข็งค่าขึ้นเพราะเงินทุนไหลกลับเข้าประเทศ ซึ่งญี่ปุ่นเป็นชาติส่งออกสาคัญ การที่เงินแข็งค่าขึ้นยิ่งทาให้
     การส่งออกได้รับผลกระทบอย่างมาก หนาซ้าพิษเศรษฐกิจโลกทั้งอเมริกาและยุโรปยิ่งทาให้เงินตรา
     หมุนเวียนไปหาสินทรัพย์ที่ปลอดภัยมากขึ้น ในขณะที่สวิตเซอร์แลนด์ตั้งเกณฑ์อัตราแลกเปลี่ยนใหม่ ทา
     ให้ค่าเงินสวิสฟรังก์ได้รับความสนใจน้อยลงในแง่ของ Safe Haven ท้ายที่สุดก็เหลือเพียงไม่กี่ประเทศ
     ที่ยังคงมีระดับเสถียรภาพทางการเงินที่อยู่ในระดับดี หนึ่งในนั้นก็คือญี่ปุ่น ยิ่งทาให้ค่าเงินเยนแข็งค่า
     อย่างต่อเนื่อง สุดท้ายญี่ปุ่นก็ต้องเผชิญกับปัญหาโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆของญี่ปุ่น ที่มีฐานการ
10   ผลิตในไทย เจอกับสึนามิน้าจืดได้รับความเสียหายไม่ต่ากว่าหลายหมื่นล้านบาท
               อันดับที่ 11 ของเราจึงขอจัดให้กับญี่ปุ่น ซึ่งแม้จะไม่ได้มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยโดยตรง แต่
     เราก็ข อให้ช าวญี่ปุ่ นที่เสี ยชีวิตไปสู่สุข ติ และขอสดุดีความกล้ าหาญให้แก่ผู้ เสียสละกอบกู้โรงไฟฟ้ า
     พลังงานนิวเคลียร์ด้วยความตื้นตันใจ




                                      “SinthornVista” Top11 of 2011
อันดับที่ 10 - January Effect 2011

          เชื่อเถอะ การเมืองกับเรื่องหุ้น มันแยกกันไม่ออกจริงๆ เหตุเพราะตลาดหุ้น นั้นเป็นเสมือนกับ
ศูนย์รวมทุกสิ่ง ดี เลวมันก็ จะตอบสนองไปในทางนั้น ซึ่งการเมืองเป็ นอีกหนึ่ง ปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อ
จิตวิทยา และบรรยากาศในการลงทุน โดยเฉพาะกับประเทศไทยที่มีอัตราความผันผวนทางการเมืองสูง
เหตุเพราะเรามีความขัดแย้งกันภายในชาติ ไม่ว่าจะพูดในมุมใด ก็ไม่มีใครจะฟันธงตรงประเด็นไปได้ว่า
พรรคการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็ไม่ได้มีใครดีร้ายยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ยกเว้นแต่จะเป็นคนที่ชื่นชอบและ
เทิดทูนพรรคการเมืองฝ่ายนั้นจริงๆ ก็ย่อมจะมองเห็นสิ่งที่ดี จนกลบเกลื่อนสิ่งที่ไม่ดีไปจนหมดสิ้น
          หากยังจากันได้ในครั้งสมัยต้นปีช่วงมกราคม โบรคเกอร์หลายสานักต่างชี้กันเป็นส่วนใหญ่ว่า
น่าจะมี January Effect เหตุเพราะความเชื่อมั่นทางการลงทุนสูง อีกทั้งปี 2553 ตลาดหุ้นก็ทะลุ
1,000 จุดขึ้นมา ยิ่งทาให้บรรยากาศการลงทุนทาให้นักลงทุนรู้สึก “ฮึกเหิม” รวมถึงมาตรการ
Quantitative Easing 2 หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณซึ่งออกโดยธนาคารกลางสหรัฐ ยิ่ง
อัดฉีดให้เกิดสภาพคล่องไหลท่วมโลก สินค้า Commodities ปรับตัวสูงขึ้นจนน่าใจหาย อัตราเงินเฟ้อ
ถูกเร่งขึ้นไปอย่างแรง
          แต่ในที่สุดแล้วนักเศรษฐศาสตร์รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐเองก็เห็นถึงมาตรการดังกล่าว “ไม่
ได้ผล” ในเชิงการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจใดๆ มิหนาซ้ายังเร่งให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นทุกประเทศทั่วโลก
จนแล้วจนรอดจึงต้องเอาเงินจาก QE ไปใช้เป็นมาตรการ Operation Twist ในช่วงกลางปีแทน
                                                                                                       11

           หลังจากตลาดหุ้นเปิดมาในช่วงปี 2554 ก็มีแรงซื้อเข้ามาอีกนิดหน่อยทาให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น
ประมาณ 1-2%                จากนั้นต่างชาติก็เริ่มกระบวนการขายหุ้น และยิ่งขายยิ่งรุนแรง โดยมีการ
คาดการณ์ว่าเกิดจากการที่รัฐบาลไทยในขณะนั้น หาเรื่องตั้งแง่เล่นงานบริษัทที่สิงคโปรเป็นหุ้นส่วนถือ
หุ้นอยู่ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งในธุรกิจสื่อสาร จึงทาให้เกิดความกังวลถึงสถานการณ์การเมืองต่อตลาดหุ้น
แรงขายของต่างประเทศจึงรุนแรงและท่วมท้นตลอดเดือนมกราคม ดับฝันนักลงทุนเรื่อง January
Effect โดยสิ้นเชิง
           มกราคม 2554 จึงเป็นเดือนแห่งความโหดร้ายของนักลงทุน ซึ่งมีการขายหุ้นของต่างประเทศ
อย่างหนัก โดยเฉพาะในวันที่ 21 มกราคม 2554 ที่มีมูลค่าขายสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศมาก
ที่สุดถึง 7,703.49 ล้านบาทภายในวันเดียว และวัน January Scary 24 มกราคม 2554 ดัชนี
ตลาดหลักทรัพย์ร่วงลงแรงถึง 4.26% ต่างประเทศขายสุทธิ 4,049.49 ล้านบาท
           ปิดฉากอันดับที่ 10 แห่งปี 2554 ด้วยปริมาณขายสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศเฉพาะเดือน
มกราคมรวมทั้งสิ้น 28,629.97 ล้านบาท
12




     “SinthornVista” Top11 of 2011
อันดับที่ 9 – การเลือกตั้ง

         โดยมาก ผมมักจะหลีกเลี่ยงการเขียนที่เกี่ยวโยงกับประเด็นการเมือง แต่ก็แน่นอนว่าตลาดหุ้น
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเมืองมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นอย่างสูง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงขั้วรัฐบาลและ
การเลือกตั้ง ซึ่ง 2554 เป็นปีที่มีการเลือกตั้งครั้งใหญ่ของประเทศไทย มีการพลิกประวัติศ าสตร์
การเมืองมากมาย หนึ่งในนั้นคือการมีนายกรัฐมนตรีหญิงเป็นคนแรกของประเทศไทย พูดง่ายๆคือ
ตั้งแต่ระบอบการปกครองสมัยอยุธยาซึ่งมีระบบทางการเมืองในการบริหารราชการแผ่นดิน ก็ไม่เคยมี
ประวัติศาสตร์จารึกว่ามีผู้หญิงไปเป็นขุนนางหรือเจ้าพระยาบริหารงานบ้านงานเมือง
         ล่ ว งเลยมาจนถึ ง สมั ย รั ช กาลที่ 7 แห่ ง กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ ก็ ยั ง แทบไม่ พ บเห็ น หรื อ พบเห็ น
นักการเมืองหญิงน้อยมาก และจะไต่เต้าขึ้นไปสู่ระดับใหญ่โตยิ่งแทบไม่เจอ จนมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 9
รัชกาลปัจจุบัน เราจึงเห็นบทบาทสตรีต่อสังคมโลกและสังคมไทย รวมถึงในแง่การเมืองมากขึ้น แต่
กระนั้นเราก็ยังไม่เคยมีผู้หญิงขึ้นครองตาแหน่ง “อัครมหาเสนาบดี ” การเลือกตั้งครั้งนี้จึงเป็นการ
เปลี่ยนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของเมืองไทย ซึ่งในที่สุดเราก็มีนายกรัฐมนตรีหญิงเป็นคนแรก

          การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นครั้งหนึ่งทีมีการจับตามองจากสื่อและองค์กรระหว่างประเทศค่อนข้างมาก
                                              ่
เพราะประเทศไทยช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของการเมือง ความเป็นประชาธิปไตย และ
สิทธิมนุษยชนค่อนข้างมาก เราจึงเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ น่าสนใจมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นการขบ
                                                                                                                    13
เขี้ยวเคี้ยวฟันกันอย่างดุเด็ดเผ็ดมันของสองพรรคใหญ่
          สุดท้ายแล้วการเลือกตั้งครั้งนี้ผู้ได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในสภาคือพรรคเพื่อไทย จากของ
พรรคเอง และพรรคร่วมรัฐบาล รวมกันได้เกินกว่า 300 เสียงและได้จัดตั้งรัฐบาลในที่สุด และนั่นยิ่ง
ทาให้สื่อต่างชาติต่างประโคมข่าวถึงรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ เพราะชนะการเลือกตั้ง สามารถรักษาเสียง
ในสภาได้เป็นเสียงส่วนใหญ่ และสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ยิ่งทาให้สถานภาพประเทศไทยและการเมืองดูดี
มากขึ้นในสายตาของประชาคมโลก
          หลังจากการเลือกตั้งเสร็จสมบูรณ์ เปิดตลาดวันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม 2554 ดัชนีปิดตลาด
ปรับเพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้ากว่า +4.69% โดยมีมูลค่าการซื้อขายหนาแน่น 63,110.36 ล้านบาท
สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 4,524.92 ล้านบาท บริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 1,616.20 ล้านบาท
          เราจึงจัดให้เป็นอันดับที่ 9 ของสุดยอดเหตุการณ์ตลาดหุ้นไทย ด้วยสถิตินักลงทุนต่างประเทศ
ซื้อสุทธิสูงสุดถึง 10,703.13 ล้านบาท เป็นการซื้อสุทธิสูงที่สุดในวันเดียว ในรอบกว่า 6 ปี
อันดับที่ 8 – Operation Twist

             Operation Twist เป็นมาตรการหนึ่งซึ่งออกมาหลังจากมาตรการ Quantitative
     Easing หรือมาตรการผ่อนคลายเชิง “ปริมาณ” ซึ่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกอย่างที่สาคัญคือ
     การผ่อนคลายเชิง “คุณภาพ” หรือการลดดอกเบี้ยนั้นไม่สามารถทาได้แล้ว เพราะอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ
     ลงมาต่าอย่างมากที่สุด โดยหลังจากที่มาตรการ QE2 ออกมาจนหมดอายุ และดูเหมือนจะล้มเหลวไม่
     ได้ผล การมีมาตรการพิเศษที่จะออกมาเพิ่มเติมจึงได้รับการเรียกร้องมากขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจที่ย่าแย่
     หนึ่งในนั้นที่ออกมาใช้คือ “Operation Twist”
             Operation Twist เคยใช้มาก่อนแล้วในปี 1961 ซึ่งเศรษฐกิจยังคงเข้าสู่ภาวะถดถอย โดย
     มาตรการดังกล่าวเป็นการขายตราสารระยะสั้น และไปซื้อตราสารระยะยาว เพื่อกดให้ อัตราดอกเบี้ย
     ระยะยาวต่าลง โดยในครั้งนี้ ธนาคารกลางสหรัฐประกาศขายตราสารระยะสั้นมูลค่า 4 แสนล้าน
     เหรียญออกไป และไปซื้อตราสารระยะยาวแทนในวงเงิน 4 แสนเหรียญ ซึ่งน่าจะช่วยในการเร่งการ
     เติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น




14




                                                 (รูป A)




                                                 (รูป B)


                                    “SinthornVista” Top11 of 2011
การใช้มาตรการดังกล่าวจะมีผลในทางอ้อมต่อเศรษฐกิจ ซึ่งลักษณะของมาตรการดังกล่าวเป็น
การไปกดอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Yield Curve) แบบปกติที่เป็นแบบ Steep Curve ซึ่ง
ผลตอบแทนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในรูป A ให้กลายเป็นแบบ Flat Curve ในรูป B

         มาตรการดั ง กล่ า วจะมี ผ ลต่ อ เศรษฐกิ จ ในระยะยาวมากกว่ า ระยะสั้ น ซึ่ ง ปั จ จุ บั น อั ต รา
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐดอกเบี้ยน้อยมาก หากธนาคารกลางสหรัฐขายพันธบัตรระยะสั้น ก็อาจทา
ให้นักลงทุนขายตาม ซึ่งสภาพคล่องตรงนั้นอาจเข้าไปหาสินทรัพย์เสี่ยงอย่างอื่นมากขึ้น หรือเข้าสู่ระบบ
เศรษฐกิจและภาคธุรกิจ ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นเสมือนการปรับพอร์ทลงทุนเฉยๆ ไม่ได้มีการอัดฉีด
เงินเข้าไปเพิ่มเติม แค่เป็นการสลับการลงทุนจากระยะสั้นเป็นระยะยาว
         ในครั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจหลายๆคนก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกันว่ามาตรการดังกล่าว
จะได้ผลจริงหรือไม่ หรือได้ผลแค่ชั่วครั้งชั่วคราวแล้วก็ยังคงแย่ต่อไป
         จบอันดับที่ 8 ด้วยคาคม “เศรษฐกิจจะฟื้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของประชาชนด้วย”




                                                                                                            15




                                      (US GDP 2009-2011)
อันดับที่ 7 – ตลาดหุ้นไซด์เวย์

              สิ่งที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่ชอบคือตลาดที่ไม่รู้ทิศทาง หรือคาดการณ์ไม่ได้ เดาไม่ออก โดยเฉพาะ
     กับในปี 2554 ซึ่งมีอะไรเซอร์ไพรส์อยู่เสมอ ส่วนมากก็มักจะเป็นเรื่องร้ายๆ
              ปี 2553 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปิดทาการวันสุดท้ายที่ 1032.76 จุด และช่วงโค้งสุดท้าย
     ของปีนี้ดัชนีก็ยังคงวนเวียนอยู่แถวๆ 1030 – 1050 จุด เป็นอันว่าผลตอบแทนปี 2554 เมื่อเทียบ
     กับช่วงปิดตลาดวันสุดท้ายของปี 2553 แล้ว ก็แทบจะไม่ไปไหนเลย สิ่งที่น่ากังวลกว่านั้นคือโดยมาก
     แล้วปีที่ตลาดไซด์เวย์ หรือไซด์เวย์ติดต่อกันไปเป็นเวลาหลายปี สุดท้ายแล้วก็มักจะลงเอยด้วยการร่วง
     ลงอย่างรุนแรงในปีถัดไป
              ณ วันที่ผมกาลังเขียนคือวันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม 2554 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปิดเมื่อวัน
     ศุกร์ที่ 1037.37 จุด หากอนุมานว่าเมื่อวันศุกร์เป็นวันปิดตลาดปี 2554 ผลตอบแทนของดัชนีปีนี้
     จะเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเพียงแค่ 0.45% “แพ้” อย่างหมดรูป แย่ยิ่งกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออม
     ทรัพย์ทั่วๆไปเสียอีก
              โดยทั่วไปแล้วสัปดาห์สุดท้ายของปีตลาดมักจะแทบไม่เหลือมูลค่าการซื้อขาย เนื่องจากนักลงทุน
     ทั้งต่างประเทศ และในประเทศต่างก็ออกไปเที่ยวหรือพักผ่อนในช่วงวันหยุดยาว เฉลี่ยวันละ 1 หมื่น
     ล้านบาทก็นับว่าคึกคักมากแล้วสาหรับช่วง 5 วันสุดท้ายของปี และดัชนีก็มักจะเคลื่อนไหวในกรอบ
     แคบๆ และยิ่งโดยเฉพาะปีหน้า ชาติในยุโรปหลายๆชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อิตาลี” ซึ่งมีหนี้สูงมากถึง
16
     121% ของ GDP (ขนาด GDP อิตาลีใหญ่กว่า 2.1 ล้านล้านเหรียญ) ต้องมีการรีไฟแนนซ์ช่วงต้น
     ปี 2555 เรายังไม่อาจคาดได้ว่าจะเกิดปัญหาอะไรอีกหรือไม่ และเมื่ออิตาลีมีผลกระทบที่ร้ายแรง ระบบ
     ลูกโซ่ทางการเงินจะถูกระเบิดขึ้นอีกหน เพราะอิตาลีเป็นลูกหนี้รายใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส สัดส่วนของ
     หนี้ที่ฝรั่งเศสถือครองอยู่ สูงกว่าของกรีซหลายเท่าตัวนัก
              ตลาดที่เดินย่าอยู่กับที่จึงถูกเราจัดอันดับเป็นความสาคัญลาดับที่ 7 ของปีนี้




      (เส้นสีฟ้าคือวันปิดตลาดวันสุดท้ายของปี 2553 ส่วนเส้นประสีแดงคือเส้นดัชนีปิดทาการปี 2553)


                                     “SinthornVista” Top11 of 2011
อันดับที่ 6 – FTSE เพิ่มอันดับหุ้นไทย

           เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้สร้างความสั่นสะเทือนใดๆให้แก่ตลาดหุ้นไทย และทุกวันนี้นักลงทุนทุกคนก็
ยังไม่รู้ว่ารับข่าวนี้ไปหรือยัง เพราะการจัดอันดับดัชนีโดย FTSE ประกาศเพิ่มอันดับหุ้นไทยมาในช่วงที่
ตลาดกาลังมีปัญหาและโฟกัสไปที่กรีซ จึงทาให้บรรยากาศการลงทุนแทบไม่ส่งผลใดๆต่อไทยในเชิงบวก
หลังจากที่ข่าวนี้ออกมา
           นักลงทุนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่เห็นความสาคัญของเรื่องนี้ แต่ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่
สาคัญมาก และคาดว่ามีผลกระทบต่อตลาดทุนไทยในระยะยาวด้วย (ผลกระทบในเชิงบวก)
           FTSE Group คือใคร? FTSE เป็นบริษัทผู้จัดทาดัชนีชั้นนาของโลก ซึ่งการจัดทาดัชนีของ
FTSE เป็นที่ยอมรับในวงการการเงินและใช้เป็นดัชนีอ้างอิงการดาเนินงานของกองทุนต่างๆ ทั่วโลก
เช่นเดียวกับ MSCI (ของ Morgan Stanley) ดัชนีในกลุ่ม MSCI ก็เป็นที่ยอมรับทั่วโลกเช่นกัน
ความสาคัญของทั้งสองบริษัทก็พอๆกัน เหมือนกับที่สหรัฐมีสานักจัดอันดับ 3 แห่งคือ S&P, Fitch
และ Moody’s ซึ่งก็มีความสาคัญไม่แพ้กัน แล้วแต่ว่าการดาเนินงานของบริษัท ทางการเงินเหล่านั้น
ต้องการเลือกอ้างอิงบริษัทจัดอันดับแห่งใด
           โดยการประกาศนี้ออกมาเมื่อประมาณวันที่ 21 กันยายน 2554 เป็นการประกาศยกอันดับ
ตลาดทุนไทยขึ้นไปอยู่ในระดับสูงขึ้นกว่าเดิม โดยประกาศให้ขึ้นไปอยู่ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ชั้นนาหรือ
“Advanced Emerging Market” จากเดิมไทยอยู่ในระดับตลาดเกิดใหม่ระดับรองหรือ
                                                                                                        17
“Secondary Emerging Market” ซึ่งการเริ่มใช้คานวณดัชนีในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ชั้นนาของ
ประเทศไทย จะเริ่มใช้ในช่วงเดือนมีนาคม 2555
           การแบ่งกลุ่มตลาดของ FTSE เพื่อจัดทาดัชนีจะแบ่งออกเป็น 4 ระดับได้แก่ กลุ่มตลาด
พัฒนาแล้ว (Developed Market), กลุ่มตลาดเกิดใหม่ชั้นนา (Advanced Emerging Market),
กลุ่มตลาดเกิดใหม่ระดับรอง (Secondary Emerging Market) และสุดท้ายคือกลุ่มตลาดด้อย
พัฒนา (Frontier Market)
           การพิจารณาปรับอันดับตลาดทุนของ FTSE จะประกาศปีละ 1 ครั้ง ซึ่งในปัจจุบันกลุ่ม
ตลาดเกิดใหม่ชั้นนามีทั้งสิ้น 9 ประเทศ ประกอบไปด้ วย บราซิล, เม็กซิโก, ไต้หวัน, แอฟริกาใต้,
มาเลเซีย, ฮังการี, โปแลนด์, เช็ก และตุรกี ในรอบนี้ประเทศไทยเป็นเพียงประเทศเดียวที่ได้รับการปรับ
อันดับขึ้นไปอยู่ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ชั้นนา
           ความสาคัญคือกองทุนจานวนมาก หลายกองทุนที่ทาการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ (Emerging
Market) ก็จะต้องพิจารณาดาเนินงานตามการจัดอันดับเหล่านี้ ซึ่งประเทศที่ถูกจัดอันดับเพิ่มขึ้นหรือ
ลดลง จะมีผลต่อการดาเนินงานของกองทุนด้วย เพราะแต่ละกองทุนที่อ้างอิงการจัดอันดับเหล่านี้ ก็
จะต้องมีการปรับพอร์ทการลงทุนไปตามการเปลี่ยนแปลงของการจัดอันดับ
           ดังนั้นความสาคัญนี้ซึ่งจะมีผลในปี 2555 จึงถูกเราจัดอันดับเป็นความสาคัญระดับที่ 6
อันดับที่ 5 – ปันผลสุดพิเศษ

              ประเด็นสุดฮอทประจาปี 2554 อีกประเด็นคงหนีไม่พ้น “ปันผลพิเศษ” ของบริษัท โทเทิ่ล
     แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น (ชื่อยาวเกิ๊นนน) หรือที่เรียกติดปากผู้คนทั่วไปว่า DTAC ทั้งนี้อาจจะไม่รวมถึง
     DTAC แต่ต้องโฟกัสเฉพาะกลุ่มสื่อสาร ที่ปีนี้ดูเหมือนหุ้นกลุ่มสื่อสารจะดูเปล่งประกายสว่างสดใส ไม่ว่า
     จะทั้งประเด็นการจ่ายเงินปันผล ประเด็นเรื่องการฟ้องร้องต่างๆนาๆ และประเด็นเรื่องของการสื่อสาร
     ยุคใหม่ในช่วงของ 3G
              การจ่ายเงินปันผลพิเศษของ DTAC เป็นการจ่ายปันผลพิเศษที่ไม่ได้ดู “แปลก” สาหรับนัก
     ลงทุนรุ่นเก่าที่อยู่ในตลาดมานาน เพราะผู้ถือหุ้นใหญ่ต้องการเงินสดกลับบ้านไม่ว่าจะด้วยเหตุผ ล
     ส่วนตัวหรือเหตุผลทางการเมืองอะไรก็แล้วแต่ ซึ่ง AIS เคยทามาก่อนหน้านี้แล้ว และปีนี้ DTAC ก็ได้
     ทาให้เรา “อึ้ง” ด้วยการจ่ายปันผลพิเศษเหยียบ 20% (เทียบกับราคาปิดก่อนการประกาศอย่างเป็น
     ทางการ)
              ก่อ นหน้ าการจ่ ายปัน ผลพิ เศษ ก็ ได้ มี ประเด็ นการฟ้ องร้อ งเกี่ ยวกั บสั ดส่ ว นการถื อหุ้ นของ
     DTAC ที่ดูเหมือนจะมีผู้ถือหุ้นเป็น ชาวต่างชาติเกินกว่ากึ่งหนึ่งตามที่กฎหมายกาหนด แต่กระนั้น
     กระบวนการดังกล่าวก็ดูเหมือนจะเงียบหายไป และจนแล้วจนรอด นักลงทุนไทยที่แสนลืมง่าย ก็ลืม
     ประเด็นนั้นไปจนหมดสิ้น ทิ้งเอาไว้เฉพาะประเด็นบวกซึ่งมีการเก็งกันว่า DTAC น่าจะจ่ายปันผลพิเศษ
     เป็นจานวนหนึ่งเพื่อหอบเอาเงินกลับบ้านจากกาไรสะสมสามหมื่นกว่าล้านบาท (ไตรมาส 2) และช่วง
18   ไตรมาส 3 มีกาไรสะสมมากถึงสี่หมื่นล้านบาท
              ทั้งในวงการ นอกวงการ นักลงทุน และบริษัทหลักทรัพย์ต่างก็คิดว่า DTAC น่าจะเอากาไร
     สะสมประมาณครึ่งหนึ่งมาจ่ายปันผลพิเศษ ซึ่งนั่นจะทาให้บริษัทยังคงมีสภาพคล่อง มีเงินเตรียมพร้อม
     สาหรับทา 3G และจ่ายปันผลพิเศษได้ประมาณ 7-8 บาท/หุ้น โดยมีการคาดการณ์กันมากที่สุดที่
     ประมาณ 10 บาทกว่าๆ แต่ทว่าในความเป็นจริง ทุกคนต่างตกตะลึงอย่างไม่คาดฝัน ว่า DTAC จะ
     จ่ายปันผลสูงกว่า 16 บาทต่อหุ้น ช็อควงการส่งท้ายปี 54 กันอย่างน่าอัศจรรย์ใจ
              ด้วยการจ่ายปันผลจานวนสูงขนาดนี้ ทาให้กาไรสะสมกว่าสี่หมื่นล้านบาทของ DTAC หดลง
     เหลือเพียงแค่ 1,400 ล้านบาท พูดง่ายๆคือเป็นการ “รีด” เงินออกบริษัทจนหมด พร้อมทั้งมีแผนใน
     การกู้เงินเป็นจานวน 30,000 ล้านบาทเพื่อสาหรับใช้งาน พร้อมกับภาระดอกเบี้ยปีละกว่า 1,500
     ล้านบาท
              ใครคิดจะซื้อในเวลานี้ คงต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ว่า “คุ้ม” เพียงพอสาหรับปันผลมหาศาล
     ขนาดนี้หรือไม่ ในขณะที่ราคาหุ้น DTAC ช่วงต้นปีอยู่แถวๆ 40 บาท จนกระทั่งไล่ขึ้นมาถึง 90
     บาท มันจะคุ้มหรือไม่ถ้าเราซื้อหุ้นเพื่อเอาปันผล แต่ต้องขาดทุนจากส่วนต่างทางราคาอีกเป็นจานวน
     เงินมหาศาลหลังขึ้นเครื่องหมายจ่ายปันผลวันที่ 30 ธันวาคม 2554 วันทาการสุดท้ายของปีนี้




                                        “SinthornVista” Top11 of 2011
นอกจากประเด็นของ DTAC แล้ว ยังมีประเด็นอันน่าสนใจอีก ที่ Singtel ได้พิจารณาเข้าซื้อ
หุ้นของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (กลุ่มสื่อสารเค้าชอบตั้งชื่อกันยาวๆเหรอ?) หรือชื่อย่อ
ADVANC ถ้าให้เรียกกันคุ้นๆหูก็ต้อง “AIS” โดยมีการขายหุ้นให้เป็นจานวนกว่า 61 ล้านหุ้น ใน
ราคาหุ้นละ 130 บาท รวมเบ็ดเสร็จดีลนี้มีมูลค่าสูงกว่า 7,930 ล้านบาท และมีการคาดการณ์ว่า
ชิน คอร์ปอเรชั่น (INTUCH) น่าจะมีการจ่ายปันผลพิเศษจากดีลการขายหุ้นนี้ ประมาณหุ้นละ 2
บาท ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เราก็ต้องลุ้นกันว่าจะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่
         กลุ่มสื่อสารถือเป็นไฮไลท์สาคัญของนักลงทุนในปีนี้ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นใน
แวดวงการเงิน ส่งผลอย่างมากต่อจิตวิทยาการลงทุน นักลงทุนส่วนใหญ่จึงเริ่มถอยห่างหุ้นที่มีภาวะ
เสี่ยง จากทั้งเรื่องของน้าท่วม และปัญหาวิกฤตหนี้ยุโรป โดยส่วนใหญ่คัดเลือกหุ้น กลุ่ม ICT เป็นหุ้น
ดาวเด่น เพราะผลกระทบจากน้าท่วม แทบไม่สร้างความเสียหายกับกลุ่มสื่อสารเลย มิหนาซ้ายังคง
สร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากการที่โทรศัพท์พื้นฐานไม่สามารถใช้งานได้ รวมถึงช่วงสิ้นปี มีเทศกาลส่ง
ความสุข ถือเป็นช่วง “High Season” ของวงการ ICT อยู่ตลอดทุกปี
         อีกทั้งปัญหาหนี้ยุโรปรุมเร้า ยิ่งทาให้สภาพการลงทุนน่ากังวลเพราะบริษัทที่ได้รับผลกระทบเป็น
กลุ่มต้นๆคือกลุ่มการเงิน ธนาคาร และรวมถึงกลุ่มโภคภัณฑ์ที่จะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงด้านการเทขาย
สินทรัพ ย์เสี่ย งจาพวกน้ามันลงมา ดั งนั้นความกั งวลดั งกล่า วจะส่ งผลให้นักลงทุน หาหุ้ น กิจการ
ภายในประเทศที่ไม่ได้อ้างอิงการดาเนินงานจากต่างประเทศ เป็นแหล่งพักเงิน หนึ่งในนั้นคือกลุ่มสื่อสาร
และกลุ่มโรงพยาบาลที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างมากตลอดปี ทาให้ราคาหุ้นของทั้งสอง
กลุ่มนี้ ทาสถิติราคาสูงสุดใหม่ (New High) กันอย่างถ้วนหน้า                                                   19
         สาหรับกลุ่มสื่อสารที่มีการรีดเงินสดออกจากบริษัท ยังคงดูน่าสนใจไม่น้อยเมื่อเทียบกับการ
เติบโตและผลประกอบการในอนาคต แต่นักลงทุนก็ควรนึกถึงในเรื่องของมูลค่าทางบัญชี แนวโน้มการ
ดาเนินงานในอนาคต ความสามารถในการแข่งขัน การรองรับและแก้ไขปัญหา รวมถึงปัญหาทาง
การเมืองที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับกลุ่มสื่อสารได้ตลอดทุกเมื่อ ดังนั้นกลุ่มสื่อสารจึงเป็นกลุ่มที่น่าสนใจที่สุดใน
แง่ของการเติบโต แต่ก็ต้องระมัดระวังให้มากในเรื่องของปัจจัยเสี่ยงที่มีโอกาสกระทบกับกลุ่มนี้ได้ง่าย
         อันดับที่ 5 จึงตกเป็นของกลุ่มสื่อสารที่มีปันผลพิเศษแจกนักลงทุนได้แทบทุกปี
อันดับที่ 4 – วิกฤตความเชื่อมั่น

             สิ่งที่นักลงทุนทุกคนไม่เคยลืม ภายหลังจากการเลือกตั้งไม่นาน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ก็ได้ขึ้นไป
     แตะจุดสูงสุดในรอบปีที่ 1148.28 จุด วันที่ 1 สิงหาคม 2554 ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับ
     เศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐรายงานออกมาไม่สู้ดีนัก จึงมีความกังวลเรื่อง
     ภาวะถดถอยทั่วโลก (Global Recession Fear) รวมถึงการเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐก็เป็นปัญหา
     จากปัญหาการเมืองที่รุมเร้า ทาให้กว่าแผนจะผ่านได้ก็ทาเอาเส้นยาแดงผ่าแปด
             หลังจากนั้นช่วงเช้ามืดวันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม (เย็นวันศุกร์ที่ 5 สิง หาคม ตามเวลาท้องถิ่น
     สหรัฐ) สถาบันจัดอันดับของสหรัฐ Standard&Poors (S&P) ออกมาหั่นอันดับเครดิตเรตติ้งของ
     สหรัฐลง 1 ระดับ เริ่มสงครามตลาดหุ้นที่ยากจะลืมเลือน พร้อมทิ้งให้นักลงทุนทั่วโลกอยู่ในอาการ
     เขย่าประสาท ขวัญผวาจากการหั่นเรตติ้งไป 2 วัน ซึ่งเป็นเสาร์อาทิตย์ที่น่ากลัวที่สุดสาหรับนักลงทุน
     ทั่วโลกในปีนี้เลยก็ว่าได้
             หลังจากเปิดตลาดวันจันทร์ ตลาดหุ้นทั่วโลกตอบสนองทันทีในเชิงลบอย่างแข็งแกร่ง ตลาดหุ้น
     แทบทุกตลาดร่วงลงอย่างกระจัดกระจาย เฉลี่ยที่ 3-4% ต่อวัน ปิดฉาก New High ของปี 2554

               นอกจากการหั่นอันดับเครดิตเรตติ้งของสหรัฐแล้ว ยังคงมีการหั่นอันดับเครดิตของประเทศ
     และธนาคารเป็นจานวนมากในยุโรป จากวิกฤตหนี้ที่นับวันยังคงรุนแรงมากขึ้น จากเหตุผลที่นักลงทุน
20
     เองยังไม่ไว้ใจสถานการณ์ และปัญหาที่ ยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่ดีที่สุดสาหรับทุกฝ่ายได้ จึงทาให้
     ปัญหาเศรษฐกิจดังกล่าวเริ่มลุกลามใหญ่โต และเกินความควบคุมขึ้นเรื่อยๆ
               สุดท้ายเราทุกคนรวมถึงรัฐบาลกลางแต่ละประเทศ จะรู้ว่าการพิมพ์เงินออกมาเพื่อใช้หนี้ ไม่ใช่
     วิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ หากแต่เป็นแผนการรัดเข็มขัด ลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้
     ต่างหากจึงจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่แท้จริง แต่ก็แน่นอนว่าไม่มีใครอยากทาเช่นนั้นในขณะที่ตนเองกาลัง
     อยู่ในวาระของรัฐบาล เพราะจะกระทบกับคะแนนเสียงอย่างมาก จนสุดท้ายก็กลายเป็นปัญหาการเมือง
     ที่ไม่มีใครยอมใคร
               การออกมาหั่นเรตติ้งในพักหลังๆดูเหมือนเริ่มหมดความศักดิ์สิทธิ์ เพราะตลาดเริ่มไม่ค่อยสนใจ
     เท่าไหร่กับการที่สถาบันจัดอันดับ ลดคะแนนประเทศที่เกิดปัญหา เพราะเราทุกคนล้วนอยู่แก่ใจว่า
     สมควรที่ประเทศเหล่านั้นโดนลดอันดับลง แต่ทว่า สงครามประสาทครั้งนี้ยังคงไม่จบ และยังมีแนวโน้ ม
     ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในปี 2555 ที่ผมคาดว่าฝรั่งเศส อาจจะสูญเสียเครดิตเรตติ้ง
     AAA เช่นเดียวกับสหรัฐ และจะทาให้เกิดปรากฎการณ์การเทขายหุ้นครั้งรุนแรงอีกระลอก
               ผมเชื่อว่าปัญหายุโรป มาไกลเกินกว่าจะแก้ไขแล้ว และอเมริกาก็ไม่มีหนทางอื่นใดที่จะอยู่รอดได้
     นอกจากการพิมพ์แบงค์เพิ่มขึ้นทุกๆปี เหตุการณ์ที่ไม่น่าประทับใจเหล่านี้ของมหาอานาจ จึงเป็นบทสรุป
     ที่ทาให้เราจัดอันดับเป็นที่สุดของปี 2554 ในอันดับที่ 4




                                     “SinthornVista” Top11 of 2011
อันดับที่ 3 – Commodities

         ถ้ามีคนมาบอกคุณว่า ซื้อทองคาเอาไว้เดือนสิงหาคม 2553 ผ่านไป 1 ปี เอาไปขายเดือน
สิงหาคม 2554 พร้อมกาไร 50% คุณคิดว่าคุณจะลองเสี่ยงไหม? เชื่อเถอะ 90% ของนักลงทุนจะ
ตอบว่า “ไม่” เพราะไม่คิดว่าทองคาจะร้อนแรงอะไรได้ขนาดนั้น และมันแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่ทองคาจะขึ้น
มาถึง 50% ภายใน 1 ปี โดยที่ไม่มีเหตุปัจจัยทางสงครามหรืออะไรร้ายแรงมากระตุ้นให้มันเกิด
         แต่มันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ... ราคาทองคาวันที่ 23 สิงหาคม 2553 อยู่ที่แถวๆ 1,228
เหรียญต่อออนซ์ และวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ราคาสูงสุดของวันอยู่ที่ 1,917 เหรียญ วันแรกที่
ราคาทองคา “เหาะ” ขึ้นมาทา New High ที่ระดับ 1,900 เหรียญ จากความไม่สงบทางการเงิน
โดยเฉพาะการหนีเงินดอลลาร์สหรัฐไปหาแหล่งหลบภัยอื่นๆ เช่นทองคา และสวิสฟรังก์ จากการที่
S&P หั่นเรตติ้งสหรัฐ
         เมื่อเทียบผลตอบแทนภายใน 1 ปีแล้วจะเท่ากับ 56% ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนที่ “เยอะมาก”
ที่สามารถทาได้ใน 1 ปี คุณค่าของทองคาไม่ได้วัดที่มูลค่าที่ซื้อขายกัน แต่แท้จริงแล้ววัดกันที่ความ
กลัวของนักลงทุน (และอาจจะรวมถึงการผสมโรงปั่นราคาทองคาโลก) ช่วงที่มีการขึ้นของราคาแรงๆ
สมาคมค้าทองคาไทย ต้องปรับราคาซื้อขายกันวันละเป็นสิบๆรอบ เล่นเอาสมาคมเองก็งง แม้แต่คนที่
ทางานในแวดวงทองคามากว่า “ห้าหกสิบปี” ต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า เหตุการณ์ อะไรแบบนี้
“ไม่เคยเจอ” มาก่อนในชีวิต แต่นั่นยังไม่เท่ากับความสับสนและมัวเมาจากนักลงทุน ที่มีจานวนมากตก
                                                                                                       21
เป็นเหยื่อของการปั่นราคาทองคาระดับโลก ... ใครจะไปรู้ว่าวันหนึ่งเราจะเจอคนบ่นเรื่อง “ดอยทองคา”

        นอกจากนั้นยังมีสินค้าโภคภัณฑ์อีกหลายชนิดที่ถกปันขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นโลหะเงิน และน้ามัน ซึ่ง
                                                       ู ่
ราคาน้ามันก็ถูกปั่นขึ้นมาเช่นเดียวกัน เหตุผลที่ราคาน้ามันขึ้นอย่างพุ่งพรวดมาอย่างรวดเร็วในรอบ
1 ปีไม่แตกต่างจากทองคา ไม่ใช่เพราะว่าน้ามันจะหมดโลก แต่เป็ นเพราะมาตรการพิมพ์เงินเพิ่มของ
สหรัฐหรือ Quantitative Easing 2 ในช่วงปลายปี 2553 ทาให้เกิดแรงผลักดันสินทรัพย์เสี่ยงทั่ว
โลกขึ้นจากสภาพคล่องทีล้นเหลือทั่วโลก และราคาน้ามันก็ขึ้นไปที่ราคาสูงกว่า 100 เหรียญ/บาเรล
(และค้างอยู่นานมาก) จนสุดท้ายก็มีการทุบอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยในคืนวันที่ 5 พฤษภาคม 2554 ราคา
สินค้าโภคภัณฑ์ฑั่วโลกเกิดอาการช็อค ร่วงอย่างรุนแรงในคืนเดียว และแน่นอน น้ามันร่วงแรงกว่า 9-
10% ในค่าคืนนั้น นับเป็นค่าคืนที่สยองมากคืนหนึ่งของนักลงทุนทั่วโลก ก่อนเปิดตลาดหุ้นในช่วงเช้า
ซึ่งโดยส่วนใหญ่ร่วงแรงกว่า 2-3% ไปตามๆกัน
        หากถามว่าหลังจากนี้มุมมองต่อสินค้าโภคภัณฑ์เป็นอย่างไร ... คงตอบได้แค่ว่า การจะขึ้นไป
ถึงจุด New High อีกครั้ง ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องง่าย เหตุเพราะว่าเรายังไม่มีปัจจัยอะไรที่ทาให้สินค้า
โภคภั ณฑ์ต้อ งปรับ ตัวสูง ขึ้น ปั ญ หาเศรษฐกิจโลกที่ก าลังรุ มเร้า มีแต่ จะกดให้ราคาสิน ค้าโภคภัณ ฑ์
ปรับตัวลดลง และสภาพคล่องของโลกไม่ได้มีเยอะเช่นเดียวกับปี 2553 และ 2554 ดังนั้นเมื่อสภาพ
คล่องน้อยลง ก็จะมีความเป็นไปได้ที่สินค้าโภคภัณฑ์จะปรับตัวสูงขึ้นไปอีกครั้ง ก็จะน้อยลง
        อันดับที่ 3 ของเราจึงมอบให้กับการปั่นราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้อย่างน่าหวาดเสียว
อันดับที่ 2 – อภิมหาบรมอุทกภัย

                วลีที่เป็นของนักลงทุนทุกคนคือวลีที่ว่า “รู้งี้” ไม่ว่าจะนักลงทุนรุ่นใหม่ไฟแรง หรือจะเก๋ารุ่นพ่อ
     รุ่นปู่อยู่ในตลาดมานานกว่า 30 ปี ต่างก็ต้องเคยเจอกับความรู้สึกเวลาหุ้นขึ้น/ลงว่า “รู้งี้” รู้งี้น่าจะ
     ซื้อ (หุ้นขึ้น) รู้งี้น่าจะขาย (หุ้นลง) รู้งี้น่าจะถือ (ขายไปก่อนปันผล) รู้งี้ รู้งี้ รู้งี้
                สาหรับประเทศไทยช่วงสิ้นปี 2554 คงไม่พ้นคาว่า “รู้งี้” รู้งี้น่าจะเก็บของ รู้งี้น่าจะยกให้สูงอีก
     รู้งี้น่าจะเปิดหน้าต่างเปิดประตู รู้งี้ไม่น่าจะกั้นกระสอบทราย และอีกสารพัดรู้งี้ สาหรับน้าท่วมครั้งใหญ่
     และรุนแรงที่สุด (คิดว่าน่าจะรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยแล้วหละ)
                ผมเองก็เป็นหนึ่งในผู้ประสบชะตากรรมของมหาอุทกภัยครั้งนี้ ซึ่งไม่เคยคิดมาก่อนว่าชาตินี้จะ
     เจอน้าท่วมใหญ่กับเค้าด้วย ทรัพย์สินในบ้านและนอกบ้านเสียหายทั้งหมด นับรวมเฉพาะความเสียหาย
     ของบ้านผมก็น่าจะหลายแสนจนแตะๆหลักล้าน เพราะโครงสร้างบ้านที่อายุยาวนานก็ดูเหมือนว่าจะ
     “เอาไม่อยู่” และแน่นอนครับ “รู้งี้” น่าจะเปิดหน้าต่างประตูเอาไว้ในช่วงวันน้าท่ วม เพราะตอนกลับมา
     บ้านสภาพไม่เหมือนบ้าน ... แต่เหมือนโรงเพาะเห็ดมากกว่า บ้านเต็มไปด้วยเชื้อรา และเห็ดน้อยๆใน
     ฟาร์มของเรา ก็ขึ้นตามตู้ โต๊ะ เตียง โซฟา กาแพง และทุกสถานที่ที่เห็ดน้อยๆจะสามารถขึ้นได้ ...
     นับว่าเป็นโรงเพาะเห็ดที่มีมูลค่าสูงมากทีเดียว

              แต่นั่นก็ยังไม่น่าสะพรึงเท่าเศรษฐกิจไทยอาจจะต้องเจอกับภาวะตึงตัวชั่วขณะโดยเฉพาะในช่วง
22
     ปลายไตรมาส 4 ของปีนี้และต้นไตรมาส 1 ของปีหน้า ที่ตัวเลขประเมินความเสียหายแต่ละสานักก็
     ประเมินออกมาไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน มากบ้าง น้อยบ้าง แต่ที่แน่ๆทุกสานักฟันธงตรงกันว่ามากกว่า
     ระดับ “แสนล้าน” แน่นอน แต่ไฉนตลาดหุ้นจึงไม่สะทกสะท้านใดๆต่อสภาวะที่เกิดขึ้น ? ก็นั่นนะสิ นี่คือ
     สิ่งที่คนทั่วไป งง กับสิ่งที่กาลังเป็น แม้แต่ผมเองก็แปลกใจหน่อยๆ แต่ก็พอจะหาคาอธิบายได้อยู่บ้าง
              กล่าวคือตลาดหุ้นไทย หุ้นหลักที่กาหนดดัชนีคือกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคาร เป็นสองกลุ่ม
     หลักที่กาหนดดัชนีได้ว่าจะขึ้นหรือจะลง ดูแค่สองกลุ่มนี้ก็พอ ซึ่งกลุ่มพลังงานแทบจะไม่ได้รับผลกระทบ
     จากน้าท่วมครั้งนี้ เพราะศูนย์กลางกิจการพลังงานของไทยอยู่ที่จังหวัดระยอง (ก็ไม่ แน่ถ้าคราวหน้าน้า
     ท่วมโรงกลั่นโรงน้ามัน คงได้เห็นตลาดร่วง 10% กับเขาบ้างหละ)
              ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงเกิดกับศูนย์กระจายพลังงานเช่น ปั๊มน้ามัน ก็ไม่ได้เป็น การกระทบ
     ต่อความเสียหายสักเท่าไหร่ (รายได้อาจจะหดบ้างนิดๆหน่อยๆ) ส่วนกลุ่มธนาคารนั้นไซร้ ... ก็แทบจะ
     ไม่ได้รับผลเสียมากมาย แน่นอนว่าสาขาของธนาคารทีน้าท่วม เสียหายแน่นอน แต่หลัง จากมีการ
     ประเมินกันอย่างถี่ถ้วนแล้วพบว่า ธนาคารขนาดใหญ่โดยส่วนใหญ่ ไม่น่าจะเจอ NPL (หนี้เน่า) มาก
     จนทาให้เกิดปัญหา เพราะสัดส่วน NPL ในธนาคารไทยน้อยมากอยู่แล้ว และสามารถบริหารได้ง่าย
     เนื่องจากผู้ขอสินเชื่อโดยมากก็ต้องมีหลักประกัน มีทรัพย์สิน และสินเชื่อรายย่อยไม่มาก จะหนักหน่อย
     ก็ SME แต่ก็สามารถบริหารจัดการได้ เพราะโครงการต่างๆที่เข้ามาสนับสนุนและช่วยเหลืออุทกภัย
     เอื้อประโยชน์ให้ SME และธุรกิจขนาดเล็ก สามารถยืนอยู่ต่อไปได้ ทุกอย่างจึงถูกกาหนดขึ้นด้วยน้าใจ
     ของคนไทย ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนด้วยกันเอง


                                       “SinthornVista” Top11 of 2011
“น้าท่วมครั้งนี้ เราไม่ได้เห็นแต่เพียงแค่น้าเน่า แต่เรายังเห็นน้าใจมากมายอีกด้วย”

        ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ และหุ้นที่ประสบปัญหานี้โดยตรง ก็ร่วงทรุดลงกันไปจากเหตุการณ์
ดังกล่าว เพราะจากน้าท่วมใหญ่ครั้งนี้ กระทบกับความเชื่อมั่นอย่างจัง และคาดว่าจะส่งผลต่อผล
ประกอบการในปีนี้อย่างมากด้วย แน่นอนว่าหุ้นที่ได้รับผลกระทบก็ต้องรับเคราะห์กันไป เหลื อแต่เพียง
บริษั ทที่ยั งไม่ได้ รับ ผลกระทบมากนั ก ก็ยัง คงอยู่ร อดปลอดภัย แต่อย่ างไรก็ ดี เราอาจจะเห็น การ
รายงานผลกระทบจากอุทกภัยที่ “ต่ากว่าคาด” หรือ “สูงกว่าที่คาด” เอาไว้ในช่วงปีหน้าก็ได้ เพราะ
รายงานประจาปีหรือรายงานผลประกอบการ จะต้องมีบทสรุปในเรื่องนี้ให้เราเห็นกันอย่างแน่นอน

              อันดับที่ 2 จึงเป็นของอภิมหาบรมอุทกภัย เหตุการณ์ใหญ่ททาให้บานผม “พัง”
                                                                   ี่    ้




                                                                                                    23
อันดับที่ 1 – ซ้อมเซอร์กิต (เบรคเกอร์)

             นับตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์เปิดทาการมาเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี ตลาดหลักทรัพย์เคยใช้
     มาตรการเซอร์กิตเบรคเกอร์ไปเพียงแค่ 3 ครั้ง ซึ่งมาตรการนี้คือการหยุดพักการซื้อขายหลักทรัพย์
     ชั่วคราวหากดัชนีลดลง 10% จะมีการหยุดพักการซื้อขายให้นักลงทุนได้ตรึกตรองข้อมูลข่าวสาร 30
     นาที จึงเริ่มเปิดทาการซื้อขายอีกครั้ง
             โดยครั้งแรกคือครั้งที่หนักหน่วงและรุนแรงที่ สุดจากมาตรการกันสารองโดยรัฐมนตรีว่าการ
     กระทรวงการคลังในสมัยนั้นคือ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล หรือนักลงทุนส่วนใหญ่เรียกกัน ติดปากว่า
     “วิกฤตหม่อมอุ๋ย” หรือ “อุ๋ยร้อยแปด” โดยเป็นมาตรการกันสารอง 30% เป็นแนวทางเพื่อป้องกัน
     การเก็งกาไรค่าเงินบาท ซึ่งอาจนาพาหายนะมาสู่เศรษฐกิจไทยเช่นเดียวกับวิกฤตต้มยากุ้งที่สร้าง
     ผลเสียจนเศรษฐกิจพังพินาศมาแล้ว
             การเทขายครั้งนั้นถือว่าสะเทือนหุ้นไทยอย่างแรง นักลงทุนต่างประเทศแตกตื่นทาให้ดัชนีร่วงลง
     ไปทาจุดต่าสุดภายในวันเดียวกว่า -19.52% จนเกือบมีเซอร์กิตเบรคเกอร์อีกครั้ง ตลาดหุ้นไทยไม่เคย
     ร่วงอย่างรุนแรงเช่นนี้มาก่อนภายในวันเดียว ครั้งนั้นถือเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่เป็นประสบการณ์
     สยองขวั ญ นั ก ลงทุ น ไทยเป็ น อย่ า งมาก ท้ า ยที่ สุ ด ตลาดปิ ด ที่ ติ ด ลบ -108.41 จุ ด หรื อ ลดลง
     14.84% นักลงทุนต่างประเทศขายหุ้นไทยสุทธิ 25,121.58 ล้านบาท (พูดให้เข้าใจง่ายๆคือ ขายทิ้ง
     ทุกราคาที่มี Bid รับ)
24
             ครั้ ง ที่ ส องและครั้ ง ที่ ส าม ไม่ ไ ด้ เ ป็ น เหตุ ก ารณ์ ที่ แ ปลกประหลาดแต่ อ ย่ า งใด แต่ เ ป็ น วิ ก ฤต
     เศรษฐกิจของฝั่งอเมริกาซึ่งสร้างผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจไปทั่วโลก ภายหลักการล้มละลายของ
     ธนาคารขนาดยักษ์ของสหรัฐอเมริกา “ลีห์แมน บราเธอร์ส” (Lehman Brothers) ในช่วงเดือน
     กันยายน ส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวลดลงอย่างบ้าคลั่ง และส่งผลกระทบกับประเทศ
     ไทยในวันที่ 10 และวันที่ 27 ตุลาคม 2551 เป็นเซอร์กิตเบรคเกอร์ครั้งที่ 2 และ 3 ของไทย




                                            “SinthornVista” Top11 of 2011
(ภาพหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดปิดตลาด จากเหตุการณ์วิกฤตหม่อมอุ๋ย)




                                                                               25
ครั้งล่าสุดที่ “เกือบ” ทาให้ตลาด
                                                                 หุ้นไทยต้องหยุดพักการซื้อขายเป็นการ
                                                                 ชั่วคราว (Circuit Breaker) เป็นครั้ง
                                                                 ที่ 4 ข อ ง ไ ท ย คื อ วั น จั น ท ร์ ที่ 2 6
                                                                 กันยายน 2554 ท่ามกลางกระแสความ
                                                                 กังวลของกรีซจะลาออกจากยูโรโซน ซึ่ง
                                                                 จะสร้างผลกระทบที่รุนแรงมากต่อระบบ
                                                                 เศรษฐกิจ
                                                                            การร่วงลงอย่างแรงครั้งนี้ทาให้
                                                                 ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ เกิ ด อาการสะดุ ดท าให้
                                                                 ชาวบ้ า น “งง” เพราะเป็ น การหยุ ด
                                                                 ชั่ ว คราวเพี ย ง 5 นาที โดยตลาด
                                                                 หลั ก ทรั พ ย์ ใ ห้ เ หตุ ผ ลว่ า เป็ น ความผิ ด
                                                                 พลาดในระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งตลาด mai
                                                                 ร่วงลงแรงเกินกว่า 10% ทาให้ระบบสั่ง
                                                                 หยุ ด ชั่ว คราวกับ ตลาดอื่ นๆเป็น เวลา 5
                                                                 นาที (ฟังขึ้นโนะ...)
26


             สาหรับประเด็นนี้ทาให้นักลงทุนรู้สึก งุนงงมากพอสมควร เพราะมันดู “ทะแม่ง” ในสายตานัก
     ลงทุน เนื่องจากตลาดที่หยุดชั่วคราว 5 นาที แต่ตลาดอนุพันธ์ไม่ได้ปิดชั่วคราวด้วย และในช่วงเวลาที่
     หยุดชั่วคราว ก็มีสัญญา Long เปิดเข้ามาเป็นจานวนมาก ซึ่งเป็นกรณีที่สร้างความขุ่นเคืองใจให้นัก
     ลงทุนอย่างมาก จนสุดท้าย ณ วันนี้ ข้อสรุปดังกล่าวเหล่านั้น ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับหรือชี้แจงแต่
     ประการใด สาคัญที่สุดคือนักลงทุนไทย “ลืมง่าย”
             จากเหตุการณ์ดังกล่าว ผมเองก็ตกเป็นเป้าในการกล่าวโทษอยู่ไม่น้อย เหตุเพราะบทความซึ่ง
     ผมเขียนออกไปเป็นบทความออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องกรีซ และสัดส่วนการถือหุ้นไทยของธนาคารที่
     มีปัญหาจากการถือหนี้กรีซจานวนมาก “อาจจะ” มีแนวโน้มขายหุ้นที่ตนเองถือเพื่อนาเงินกลับไปเสริม
     สภาพคล่องธนาคารที่ปัจจุบันกาลังมีปัญหา รวมถึงความเชื่อมโยงและความน่ากัง วลของเหตุการณ์
     ดังกล่าว โดยที่บทความดังกล่าวผมทาการเผยแพร่ในคืนวันเสาร์ที่ 24 กันยายน 2554 เพียง 2
     วันก่อนเหตุการณ์ดังกล่าว และในช่วงดังกล่าวตลาดหุ้นต่างประเทศก็ไม่ได้มีการร่วงลงอย่ างรุนแรง
     เหมือนตลาดหุ้นไทย
             หลายคนว่า ผมเป็ นตัว การทุบ หุ้ น ไทย หน าซ้ าหลายคนยั ง ว่ า ผมเป็ น คนที่ไ ด้ ป ระโยชน์ จ าก
     เหตุการณ์นี้ ซึ่งข่าวลือก็เป็นเพียงข่าวลือ แท้จริงแล้วในวันที่ 26 กันยายน ผมเองก็ไม่ได้ทาการซื้อ
     ขายเลย อันที่จริงผมแทบไม่ได้ซื้อขายเลยตั้งแต่ช่วงที่ตลาดต่างประเทศสาแดงความน่ากลัวให้ผมเห็น
             จากเหตุการณ์นี้ จึงเป็นเหตุผลที่ผมเลือกให้ปัญหาหนี้ยุโรปเป็น “Top of The 2011”

                                      “SinthornVista” Top11 of 2011
27
ขอบคุณทุกกาลังใจ และการติดตาม
28
     พบกับเราทุกๆวันได้ที่ facebook.com/SinthornVista




                     “SinthornVista” Top11 of 2011
29
30




     “SinthornVista” Top11 of 2011

More Related Content

Viewers also liked

Ebook รักนะรัก ฉบับวัยรุ่น
Ebook รักนะรัก ฉบับวัยรุ่นEbook รักนะรัก ฉบับวัยรุ่น
Ebook รักนะรัก ฉบับวัยรุ่นPanda Jing
 
Plook ฉบับเดือน เมษายน ปี 2011
Plook ฉบับเดือน เมษายน ปี 2011Plook ฉบับเดือน เมษายน ปี 2011
Plook ฉบับเดือน เมษายน ปี 2011Panda Jing
 
กำแพงใจไร้เดียงสา (ตัวอย่าง)
กำแพงใจไร้เดียงสา (ตัวอย่าง)กำแพงใจไร้เดียงสา (ตัวอย่าง)
กำแพงใจไร้เดียงสา (ตัวอย่าง)Panda Jing
 
Ebook รักนะรัก ฉบับวัยรุ่น
Ebook รักนะรัก ฉบับวัยรุ่นEbook รักนะรัก ฉบับวัยรุ่น
Ebook รักนะรัก ฉบับวัยรุ่นPanda Jing
 
จิตตนคร นครหลวงของโลก
จิตตนคร นครหลวงของโลกจิตตนคร นครหลวงของโลก
จิตตนคร นครหลวงของโลกPanda Jing
 
สวดมนต์ตัดกรรมและคำสอนของสมเด็จโต
สวดมนต์ตัดกรรมและคำสอนของสมเด็จโตสวดมนต์ตัดกรรมและคำสอนของสมเด็จโต
สวดมนต์ตัดกรรมและคำสอนของสมเด็จโตPanda Jing
 

Viewers also liked (7)

Kona p2
Kona p2Kona p2
Kona p2
 
Ebook รักนะรัก ฉบับวัยรุ่น
Ebook รักนะรัก ฉบับวัยรุ่นEbook รักนะรัก ฉบับวัยรุ่น
Ebook รักนะรัก ฉบับวัยรุ่น
 
Plook ฉบับเดือน เมษายน ปี 2011
Plook ฉบับเดือน เมษายน ปี 2011Plook ฉบับเดือน เมษายน ปี 2011
Plook ฉบับเดือน เมษายน ปี 2011
 
กำแพงใจไร้เดียงสา (ตัวอย่าง)
กำแพงใจไร้เดียงสา (ตัวอย่าง)กำแพงใจไร้เดียงสา (ตัวอย่าง)
กำแพงใจไร้เดียงสา (ตัวอย่าง)
 
Ebook รักนะรัก ฉบับวัยรุ่น
Ebook รักนะรัก ฉบับวัยรุ่นEbook รักนะรัก ฉบับวัยรุ่น
Ebook รักนะรัก ฉบับวัยรุ่น
 
จิตตนคร นครหลวงของโลก
จิตตนคร นครหลวงของโลกจิตตนคร นครหลวงของโลก
จิตตนคร นครหลวงของโลก
 
สวดมนต์ตัดกรรมและคำสอนของสมเด็จโต
สวดมนต์ตัดกรรมและคำสอนของสมเด็จโตสวดมนต์ตัดกรรมและคำสอนของสมเด็จโต
สวดมนต์ตัดกรรมและคำสอนของสมเด็จโต
 

More from Panda Jing

อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาทอีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาทPanda Jing
 
File 633116b358da6b762609165edeaa0f3c
File 633116b358da6b762609165edeaa0f3cFile 633116b358da6b762609165edeaa0f3c
File 633116b358da6b762609165edeaa0f3cPanda Jing
 
Plook ฉบับเดือน มีนาคม ปี 2011
Plook ฉบับเดือน มีนาคม ปี 2011Plook ฉบับเดือน มีนาคม ปี 2011
Plook ฉบับเดือน มีนาคม ปี 2011Panda Jing
 
Way toteacher001
Way toteacher001Way toteacher001
Way toteacher001Panda Jing
 
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรม
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรมอีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรม
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรมPanda Jing
 
อีบุ๊ค ชีวิตนี้น้อยนัก
อีบุ๊ค ชีวิตนี้น้อยนักอีบุ๊ค ชีวิตนี้น้อยนัก
อีบุ๊ค ชีวิตนี้น้อยนักPanda Jing
 
Plook ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2011
Plook ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2011Plook ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2011
Plook ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2011Panda Jing
 
Plook ฉบับเดือน มกราคม ปี 2011
Plook ฉบับเดือน มกราคม ปี 2011Plook ฉบับเดือน มกราคม ปี 2011
Plook ฉบับเดือน มกราคม ปี 2011Panda Jing
 
สาเหตุและวิธีการรักษาอาการนอนกรน
สาเหตุและวิธีการรักษาอาการนอนกรนสาเหตุและวิธีการรักษาอาการนอนกรน
สาเหตุและวิธีการรักษาอาการนอนกรนPanda Jing
 
อีบุ๊ค ทำไมต้องค้านเขื่อนแม่วงก์
อีบุ๊ค ทำไมต้องค้านเขื่อนแม่วงก์อีบุ๊ค ทำไมต้องค้านเขื่อนแม่วงก์
อีบุ๊ค ทำไมต้องค้านเขื่อนแม่วงก์Panda Jing
 
ให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัว
ให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัวให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัว
ให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัวPanda Jing
 
อีบุ๊ค คุณานุคุณไตรภาค
อีบุ๊ค คุณานุคุณไตรภาคอีบุ๊ค คุณานุคุณไตรภาค
อีบุ๊ค คุณานุคุณไตรภาคPanda Jing
 
อีบุ๊ค กองทัพทั้งสิบของมาร
อีบุ๊ค กองทัพทั้งสิบของมารอีบุ๊ค กองทัพทั้งสิบของมาร
อีบุ๊ค กองทัพทั้งสิบของมารPanda Jing
 
ศาสนาพุทธในประเทศไทย
ศาสนาพุทธในประเทศไทยศาสนาพุทธในประเทศไทย
ศาสนาพุทธในประเทศไทยPanda Jing
 
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)Panda Jing
 
อีบุ๊ค Health ฉบับที่ 1
อีบุ๊ค Health ฉบับที่ 1อีบุ๊ค Health ฉบับที่ 1
อีบุ๊ค Health ฉบับที่ 1Panda Jing
 
พญานาค ตำนาน ความเชื่อ หรือความจริง
พญานาค ตำนาน ความเชื่อ หรือความจริงพญานาค ตำนาน ความเชื่อ หรือความจริง
พญานาค ตำนาน ความเชื่อ หรือความจริงPanda Jing
 
พระพุทธกิจ 45 พรรษา
พระพุทธกิจ 45 พรรษาพระพุทธกิจ 45 พรรษา
พระพุทธกิจ 45 พรรษาPanda Jing
 
อีบุ๊ค คำสอนธรรมะสบาย
อีบุ๊ค คำสอนธรรมะสบายอีบุ๊ค คำสอนธรรมะสบาย
อีบุ๊ค คำสอนธรรมะสบายPanda Jing
 
อีบุ๊ค ศิลปะการมีชีวิตอยู่บนโลก
อีบุ๊ค ศิลปะการมีชีวิตอยู่บนโลกอีบุ๊ค ศิลปะการมีชีวิตอยู่บนโลก
อีบุ๊ค ศิลปะการมีชีวิตอยู่บนโลกPanda Jing
 

More from Panda Jing (20)

อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาทอีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
 
File 633116b358da6b762609165edeaa0f3c
File 633116b358da6b762609165edeaa0f3cFile 633116b358da6b762609165edeaa0f3c
File 633116b358da6b762609165edeaa0f3c
 
Plook ฉบับเดือน มีนาคม ปี 2011
Plook ฉบับเดือน มีนาคม ปี 2011Plook ฉบับเดือน มีนาคม ปี 2011
Plook ฉบับเดือน มีนาคม ปี 2011
 
Way toteacher001
Way toteacher001Way toteacher001
Way toteacher001
 
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรม
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรมอีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรม
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรม
 
อีบุ๊ค ชีวิตนี้น้อยนัก
อีบุ๊ค ชีวิตนี้น้อยนักอีบุ๊ค ชีวิตนี้น้อยนัก
อีบุ๊ค ชีวิตนี้น้อยนัก
 
Plook ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2011
Plook ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2011Plook ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2011
Plook ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2011
 
Plook ฉบับเดือน มกราคม ปี 2011
Plook ฉบับเดือน มกราคม ปี 2011Plook ฉบับเดือน มกราคม ปี 2011
Plook ฉบับเดือน มกราคม ปี 2011
 
สาเหตุและวิธีการรักษาอาการนอนกรน
สาเหตุและวิธีการรักษาอาการนอนกรนสาเหตุและวิธีการรักษาอาการนอนกรน
สาเหตุและวิธีการรักษาอาการนอนกรน
 
อีบุ๊ค ทำไมต้องค้านเขื่อนแม่วงก์
อีบุ๊ค ทำไมต้องค้านเขื่อนแม่วงก์อีบุ๊ค ทำไมต้องค้านเขื่อนแม่วงก์
อีบุ๊ค ทำไมต้องค้านเขื่อนแม่วงก์
 
ให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัว
ให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัวให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัว
ให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัว
 
อีบุ๊ค คุณานุคุณไตรภาค
อีบุ๊ค คุณานุคุณไตรภาคอีบุ๊ค คุณานุคุณไตรภาค
อีบุ๊ค คุณานุคุณไตรภาค
 
อีบุ๊ค กองทัพทั้งสิบของมาร
อีบุ๊ค กองทัพทั้งสิบของมารอีบุ๊ค กองทัพทั้งสิบของมาร
อีบุ๊ค กองทัพทั้งสิบของมาร
 
ศาสนาพุทธในประเทศไทย
ศาสนาพุทธในประเทศไทยศาสนาพุทธในประเทศไทย
ศาสนาพุทธในประเทศไทย
 
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)
 
อีบุ๊ค Health ฉบับที่ 1
อีบุ๊ค Health ฉบับที่ 1อีบุ๊ค Health ฉบับที่ 1
อีบุ๊ค Health ฉบับที่ 1
 
พญานาค ตำนาน ความเชื่อ หรือความจริง
พญานาค ตำนาน ความเชื่อ หรือความจริงพญานาค ตำนาน ความเชื่อ หรือความจริง
พญานาค ตำนาน ความเชื่อ หรือความจริง
 
พระพุทธกิจ 45 พรรษา
พระพุทธกิจ 45 พรรษาพระพุทธกิจ 45 พรรษา
พระพุทธกิจ 45 พรรษา
 
อีบุ๊ค คำสอนธรรมะสบาย
อีบุ๊ค คำสอนธรรมะสบายอีบุ๊ค คำสอนธรรมะสบาย
อีบุ๊ค คำสอนธรรมะสบาย
 
อีบุ๊ค ศิลปะการมีชีวิตอยู่บนโลก
อีบุ๊ค ศิลปะการมีชีวิตอยู่บนโลกอีบุ๊ค ศิลปะการมีชีวิตอยู่บนโลก
อีบุ๊ค ศิลปะการมีชีวิตอยู่บนโลก
 

สุดยอด 11 เหตุการณ์เขย่าหุ้นไทยปี 2011

  • 1. 1
  • 2. 2 SinthornVista Fast Forward Investors “SinthornVista” Top11 of 2011
  • 3. SinthornVista 3 “เพื่อน” ที่ดีที่สุดของนักลงทุน
  • 4. 4 facebook.com/SinthornVista “SinthornVista” Top11 of 2011
  • 5. 5
  • 6. 6 2011 เป็นอีกปีที่ตลาดหุ้น “มีทั้งเรื่องน่าจดจา และไม่น่าจดจา” “SinthornVista” Top11 of 2011
  • 7. Top 11 of 2011 • 11 ญี่ปุ่นกับความโชคร้าย • 10 January Effect • 9 เลือกตั้งเมืองไทย • 8 Operation Twist • 7 ตลาดหุ้นไซด์เวย์ • 6 FTSE เพิ่มอันดับหุ้นไทย • 5 ปันผลสุดพิเศษ 7 • 4 วิกฤตความเชื่อมั่น • 3 Commodities • 2 อภิมหาบรมอุทกภัย • 1 ซ้อมเซอร์กิต
  • 8. เป็นอีกปี ที่มีเรื่องที่น่าจดจา และไม่น่าจดจาสาหรับตลาดหุ้นไทย เรามีเรื่องดีๆ ที่ทาให้ตลาดบวกขึ้นไปแรงๆสวนทางกับชาวบ้านชาวช่อง จนขึ้นไปทาสถิติสูงสุดใน รอบกว่า 14 ปี ซึ่งเป็นสถิติที่ถูกทาลายไปโดยพิษต้มยากุ้งเมื่อปี 2540 จนกว่าจะได้ กลับขึ้นมาอีกครั้งก็ยาวนานกว่า หนึ่งทศวรรษ และมีเรื่องร้ายๆที่ส่งผลกระทบกับ จิตวิทยาการลงทุนจนถึงขั้นทาให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ลดลงจนเกือบต้องทาการหยุด ซื้อขายชั่วคราว (จริงๆ) แต่โดยสรุปแล้วดัชนีตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่สิ้นปี 2553 เป็นต้นมา จนถึงสิ้นปี 2554 ก็ดูเหมือนจะไม่ได้ไปไหนไกลนัก ... ถ้าให้พูดกันตรงๆ ก็ต้องบอกว่าเหมือนย่าอยู่กับที่มากกว่า ตลาดหุ้นไทยในปี 2554 สาหรับผม ดูเหมือนจะเป็นตลาดหุ้นแห่งความบ้า เพราะมันมีเรื่องให้กังวลกันได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะต้นปีกังวลการเมือง กลางปีกังวล เลื อกตั้ง ปลายปี กังวลยุโ รป สรุ ปเป็น ปีที่ บ้าจริงๆ บ้าเพราะเรากังวลมากเกิน ไป 8 สุดท้ายตลาดหุ้นก็ไม่ได้ไปไหน มันยังย่าอยู่ที่เดิม แต่เ ราก็ต้องระลึ กเอาไว้เสมอว่า ตลาดหุ้น ก็เ หมือนกับอุทกภัย มีเ ข้ามา มี จุดสูงสุด และแน่นอนมันต้องมีวันที่น้าแห้งเหือดออกไป หลังจากน้าแห้งเหือด เราก็ มักจะต้องเห็นคราบน้าซึ่งเป็นรอยจารึกเอาไว้ให้เราดูต่างหน้าเสมอ แต่ถึงอย่างไร ... เดี๋ยวมันก็มาใหม่อยู่ดี สุดท้ายนี้ แม้ว่าปี 2554 จะมีเรื่องราวต่างๆผ่านเข้ามา และผ่านออกไป แม้ จะมีเรื่องราวที่น่าจดจา และไม่น่าจดจา โปรดระลึกเอาไว้เสมอว่า ความสุขของคนเรา นั้นอยู่ที่จิตใจของเราเอง และต่อให้เงินทั้งตลาดหุ้นมากองอยู่ตรงหน้าเรา มันก็ไม่ อาจ ซื้อเวลาอันเปี่ยมสุขในอดีตกลับคืนมาได้ กฤติศักดิเดชน์ สิริภรณ์ภักดี บรรณาธิการ “SinthornVista” Top11 of 2011
  • 9. อันดับที่ 11 – ญี่ปุ่นกับความโชคร้าย ถ้ามีใครถามว่าปีนี้ 2554 ประเทศใดซวยซ้าซวยซ้อนมากที่สุด เชื่อว่าแทบทุกคนคงจะตอบเป็น เสียงเดียวกันว่าญี่ปุ่น เพราะลาพังเพียงแค่สึนามิยักษ์ถล่มญี่ปุ่นในช่วงเดือนมีนาคม ก็ทาเอาเศรษฐกิจ ญี่ปุ่นพังพินาศและมีมูลค่าความเสียหายสูงมากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญ ยังไม่ได้นั บรวมถึงผู้สูญเสีย จากภัยธรรมชาติครั้งนี้กว่าหลายหมื่นคน นอกจากนี้ยังเจอกับมหันตภัยนิวเคลียร์อีกครั้ง พร้อมกับ ทาลายระบบเศรษฐกิ จโลกลงชั่ ว คราวจากปัญ หาห่ วงโซ่ อุ ปทานหยุด ชะงั กจากการที่ ญี่ ปุ่ นเจอภั ย ธรรมชาติร้ายแรงครั้งนี้ ซ้าร้ายที่สุด ยังต้องเผชิญกับ “สึนามิน้าจืด” แห่งมหานครสยามของเรา พัดพาโรงงานญี่ปุ่น เสียหายนับครั้งไม่ถ้วนตลอดปี 2554 มูลค่าความเสียหายถ้าคิดเป็นจานวนเงินเฉพาะปีนี้ญี่ปุ่นประเทศ เดียวเสียเงินให้แก่ธรรมชาติไม่ต่ากว่า 2-3 ล้านล้านเหรียญจากความสูญเสียทั้งหมด และยิ่งประเมิน ค่าไม่ได้จากสิ่งที่เกิดขึ้นด้านความสูญเสียทางจิตใจ และความบอบช้าของผู้เคราะห์ร้าย 9 11 มีนาคม 2554 วันศุกร์วิปโยคของชาวญี่ปุ่น ในช่วงเย็นของญี่ปุ่นมีการรายงานการเกิด แผ่นดินไหวและสึนามิ แต่รายละเอียดยังมีไม่มากนัก ตลาดหุ้นญี่ปุ่นทิ้งตัวลงมาปิดตลาดในช่วงก่อนปิด ตลาด แต่ทุกคนคาดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่น่าจะรุนแรงมาก เหตุเพราะญี่ปุ่นมีการเตรียมพร้อมด้าน ภัยพิบัติเป็นอย่างดี แต่ทั่วโลกก็ยังคงกังวล รวมถึงการรายงานข่าวออกมาในช่วงที่ตลาดหุ้นไทยพัก การซื้อขายช่วงกลางวัน และภาคบ่ายเปิดตลาดก็ร่วงลงประมาณ 1%
  • 10. แต่นั่นยังไม่ร้ายแรงเท่ากับการที่เกิดภัยพิบัติ จากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ รวมถึงตัวเลข ผู้เสียชีวิตยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ รายงานความเสียหายเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ระดับความรุนแรงของภัย ธรรมชาติครั้งนี้อยู่ในภาวะวิกฤต เปิดเช้าวันจันทร์ตลาดหุ้นทั่วโลกตอบสนองในแดนลบทันที ท่ามกลาง ความน่าสะพรึงกลัวจากภัยธรรมชาติในครั้งนี้ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นร่วงลงปิดตลาด -6% เช้าวันอังคารยิ่งน่ากลัวกว่าสาหรับการตอบสนองจากตลาดหุ้น โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่มีการเทขาย อย่างหนักหน่วงและรุนแรง ดัชนี นิคเคอิลงไปทาจุดต่าสุดระหว่างวันกว่า -14% หรือร่วงลงแรงถึง กว่า 1,392 จุ ด แต่ก็มี แรงซื้ อกลับ ขึ้น มา รี บาวด์ ขึ้น ไปปิด ตลาดที่ 8,605.15 จุ ด หรื อลดลง 10.55% แม้ภัยพิบัติครั้งนี้จะไม่ได้ส่งผลต่อไทยมากนักในด้านความสูญเสีย แต่ก็สร้างความสะเทือนใจ กับชาวไทยและชาวโลกไม่น้อย (และใครจะไปรู้ว่าอีก 6 เดือนให้หลังไทยจะเจอกับเขาบ้าง) ผลของการที่ญี่ปุ่นประสบกับภัยพิบัติครั้งนี้ ฉุดตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆของญี่ปุ่นดิ่งลงไป พร้อม ทั้งฉุดตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆของโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงยังตอกย้าญี่ปุ่นด้วยการที่ค่าเงินเยน แข็งค่าขึ้นเพราะเงินทุนไหลกลับเข้าประเทศ ซึ่งญี่ปุ่นเป็นชาติส่งออกสาคัญ การที่เงินแข็งค่าขึ้นยิ่งทาให้ การส่งออกได้รับผลกระทบอย่างมาก หนาซ้าพิษเศรษฐกิจโลกทั้งอเมริกาและยุโรปยิ่งทาให้เงินตรา หมุนเวียนไปหาสินทรัพย์ที่ปลอดภัยมากขึ้น ในขณะที่สวิตเซอร์แลนด์ตั้งเกณฑ์อัตราแลกเปลี่ยนใหม่ ทา ให้ค่าเงินสวิสฟรังก์ได้รับความสนใจน้อยลงในแง่ของ Safe Haven ท้ายที่สุดก็เหลือเพียงไม่กี่ประเทศ ที่ยังคงมีระดับเสถียรภาพทางการเงินที่อยู่ในระดับดี หนึ่งในนั้นก็คือญี่ปุ่น ยิ่งทาให้ค่าเงินเยนแข็งค่า อย่างต่อเนื่อง สุดท้ายญี่ปุ่นก็ต้องเผชิญกับปัญหาโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆของญี่ปุ่น ที่มีฐานการ 10 ผลิตในไทย เจอกับสึนามิน้าจืดได้รับความเสียหายไม่ต่ากว่าหลายหมื่นล้านบาท อันดับที่ 11 ของเราจึงขอจัดให้กับญี่ปุ่น ซึ่งแม้จะไม่ได้มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยโดยตรง แต่ เราก็ข อให้ช าวญี่ปุ่ นที่เสี ยชีวิตไปสู่สุข ติ และขอสดุดีความกล้ าหาญให้แก่ผู้ เสียสละกอบกู้โรงไฟฟ้ า พลังงานนิวเคลียร์ด้วยความตื้นตันใจ “SinthornVista” Top11 of 2011
  • 11. อันดับที่ 10 - January Effect 2011 เชื่อเถอะ การเมืองกับเรื่องหุ้น มันแยกกันไม่ออกจริงๆ เหตุเพราะตลาดหุ้น นั้นเป็นเสมือนกับ ศูนย์รวมทุกสิ่ง ดี เลวมันก็ จะตอบสนองไปในทางนั้น ซึ่งการเมืองเป็ นอีกหนึ่ง ปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อ จิตวิทยา และบรรยากาศในการลงทุน โดยเฉพาะกับประเทศไทยที่มีอัตราความผันผวนทางการเมืองสูง เหตุเพราะเรามีความขัดแย้งกันภายในชาติ ไม่ว่าจะพูดในมุมใด ก็ไม่มีใครจะฟันธงตรงประเด็นไปได้ว่า พรรคการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็ไม่ได้มีใครดีร้ายยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ยกเว้นแต่จะเป็นคนที่ชื่นชอบและ เทิดทูนพรรคการเมืองฝ่ายนั้นจริงๆ ก็ย่อมจะมองเห็นสิ่งที่ดี จนกลบเกลื่อนสิ่งที่ไม่ดีไปจนหมดสิ้น หากยังจากันได้ในครั้งสมัยต้นปีช่วงมกราคม โบรคเกอร์หลายสานักต่างชี้กันเป็นส่วนใหญ่ว่า น่าจะมี January Effect เหตุเพราะความเชื่อมั่นทางการลงทุนสูง อีกทั้งปี 2553 ตลาดหุ้นก็ทะลุ 1,000 จุดขึ้นมา ยิ่งทาให้บรรยากาศการลงทุนทาให้นักลงทุนรู้สึก “ฮึกเหิม” รวมถึงมาตรการ Quantitative Easing 2 หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณซึ่งออกโดยธนาคารกลางสหรัฐ ยิ่ง อัดฉีดให้เกิดสภาพคล่องไหลท่วมโลก สินค้า Commodities ปรับตัวสูงขึ้นจนน่าใจหาย อัตราเงินเฟ้อ ถูกเร่งขึ้นไปอย่างแรง แต่ในที่สุดแล้วนักเศรษฐศาสตร์รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐเองก็เห็นถึงมาตรการดังกล่าว “ไม่ ได้ผล” ในเชิงการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจใดๆ มิหนาซ้ายังเร่งให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นทุกประเทศทั่วโลก จนแล้วจนรอดจึงต้องเอาเงินจาก QE ไปใช้เป็นมาตรการ Operation Twist ในช่วงกลางปีแทน 11 หลังจากตลาดหุ้นเปิดมาในช่วงปี 2554 ก็มีแรงซื้อเข้ามาอีกนิดหน่อยทาให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ประมาณ 1-2% จากนั้นต่างชาติก็เริ่มกระบวนการขายหุ้น และยิ่งขายยิ่งรุนแรง โดยมีการ คาดการณ์ว่าเกิดจากการที่รัฐบาลไทยในขณะนั้น หาเรื่องตั้งแง่เล่นงานบริษัทที่สิงคโปรเป็นหุ้นส่วนถือ หุ้นอยู่ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งในธุรกิจสื่อสาร จึงทาให้เกิดความกังวลถึงสถานการณ์การเมืองต่อตลาดหุ้น แรงขายของต่างประเทศจึงรุนแรงและท่วมท้นตลอดเดือนมกราคม ดับฝันนักลงทุนเรื่อง January Effect โดยสิ้นเชิง มกราคม 2554 จึงเป็นเดือนแห่งความโหดร้ายของนักลงทุน ซึ่งมีการขายหุ้นของต่างประเทศ อย่างหนัก โดยเฉพาะในวันที่ 21 มกราคม 2554 ที่มีมูลค่าขายสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศมาก ที่สุดถึง 7,703.49 ล้านบาทภายในวันเดียว และวัน January Scary 24 มกราคม 2554 ดัชนี ตลาดหลักทรัพย์ร่วงลงแรงถึง 4.26% ต่างประเทศขายสุทธิ 4,049.49 ล้านบาท ปิดฉากอันดับที่ 10 แห่งปี 2554 ด้วยปริมาณขายสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศเฉพาะเดือน มกราคมรวมทั้งสิ้น 28,629.97 ล้านบาท
  • 12. 12 “SinthornVista” Top11 of 2011
  • 13. อันดับที่ 9 – การเลือกตั้ง โดยมาก ผมมักจะหลีกเลี่ยงการเขียนที่เกี่ยวโยงกับประเด็นการเมือง แต่ก็แน่นอนว่าตลาดหุ้น เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเมืองมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นอย่างสูง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงขั้วรัฐบาลและ การเลือกตั้ง ซึ่ง 2554 เป็นปีที่มีการเลือกตั้งครั้งใหญ่ของประเทศไทย มีการพลิกประวัติศ าสตร์ การเมืองมากมาย หนึ่งในนั้นคือการมีนายกรัฐมนตรีหญิงเป็นคนแรกของประเทศไทย พูดง่ายๆคือ ตั้งแต่ระบอบการปกครองสมัยอยุธยาซึ่งมีระบบทางการเมืองในการบริหารราชการแผ่นดิน ก็ไม่เคยมี ประวัติศาสตร์จารึกว่ามีผู้หญิงไปเป็นขุนนางหรือเจ้าพระยาบริหารงานบ้านงานเมือง ล่ ว งเลยมาจนถึ ง สมั ย รั ช กาลที่ 7 แห่ ง กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ ก็ ยั ง แทบไม่ พ บเห็ น หรื อ พบเห็ น นักการเมืองหญิงน้อยมาก และจะไต่เต้าขึ้นไปสู่ระดับใหญ่โตยิ่งแทบไม่เจอ จนมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 9 รัชกาลปัจจุบัน เราจึงเห็นบทบาทสตรีต่อสังคมโลกและสังคมไทย รวมถึงในแง่การเมืองมากขึ้น แต่ กระนั้นเราก็ยังไม่เคยมีผู้หญิงขึ้นครองตาแหน่ง “อัครมหาเสนาบดี ” การเลือกตั้งครั้งนี้จึงเป็นการ เปลี่ยนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของเมืองไทย ซึ่งในที่สุดเราก็มีนายกรัฐมนตรีหญิงเป็นคนแรก การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นครั้งหนึ่งทีมีการจับตามองจากสื่อและองค์กรระหว่างประเทศค่อนข้างมาก ่ เพราะประเทศไทยช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของการเมือง ความเป็นประชาธิปไตย และ สิทธิมนุษยชนค่อนข้างมาก เราจึงเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ น่าสนใจมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นการขบ 13 เขี้ยวเคี้ยวฟันกันอย่างดุเด็ดเผ็ดมันของสองพรรคใหญ่ สุดท้ายแล้วการเลือกตั้งครั้งนี้ผู้ได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในสภาคือพรรคเพื่อไทย จากของ พรรคเอง และพรรคร่วมรัฐบาล รวมกันได้เกินกว่า 300 เสียงและได้จัดตั้งรัฐบาลในที่สุด และนั่นยิ่ง ทาให้สื่อต่างชาติต่างประโคมข่าวถึงรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ เพราะชนะการเลือกตั้ง สามารถรักษาเสียง ในสภาได้เป็นเสียงส่วนใหญ่ และสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ยิ่งทาให้สถานภาพประเทศไทยและการเมืองดูดี มากขึ้นในสายตาของประชาคมโลก หลังจากการเลือกตั้งเสร็จสมบูรณ์ เปิดตลาดวันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม 2554 ดัชนีปิดตลาด ปรับเพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้ากว่า +4.69% โดยมีมูลค่าการซื้อขายหนาแน่น 63,110.36 ล้านบาท สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 4,524.92 ล้านบาท บริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 1,616.20 ล้านบาท เราจึงจัดให้เป็นอันดับที่ 9 ของสุดยอดเหตุการณ์ตลาดหุ้นไทย ด้วยสถิตินักลงทุนต่างประเทศ ซื้อสุทธิสูงสุดถึง 10,703.13 ล้านบาท เป็นการซื้อสุทธิสูงที่สุดในวันเดียว ในรอบกว่า 6 ปี
  • 14. อันดับที่ 8 – Operation Twist Operation Twist เป็นมาตรการหนึ่งซึ่งออกมาหลังจากมาตรการ Quantitative Easing หรือมาตรการผ่อนคลายเชิง “ปริมาณ” ซึ่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกอย่างที่สาคัญคือ การผ่อนคลายเชิง “คุณภาพ” หรือการลดดอกเบี้ยนั้นไม่สามารถทาได้แล้ว เพราะอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ ลงมาต่าอย่างมากที่สุด โดยหลังจากที่มาตรการ QE2 ออกมาจนหมดอายุ และดูเหมือนจะล้มเหลวไม่ ได้ผล การมีมาตรการพิเศษที่จะออกมาเพิ่มเติมจึงได้รับการเรียกร้องมากขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจที่ย่าแย่ หนึ่งในนั้นที่ออกมาใช้คือ “Operation Twist” Operation Twist เคยใช้มาก่อนแล้วในปี 1961 ซึ่งเศรษฐกิจยังคงเข้าสู่ภาวะถดถอย โดย มาตรการดังกล่าวเป็นการขายตราสารระยะสั้น และไปซื้อตราสารระยะยาว เพื่อกดให้ อัตราดอกเบี้ย ระยะยาวต่าลง โดยในครั้งนี้ ธนาคารกลางสหรัฐประกาศขายตราสารระยะสั้นมูลค่า 4 แสนล้าน เหรียญออกไป และไปซื้อตราสารระยะยาวแทนในวงเงิน 4 แสนเหรียญ ซึ่งน่าจะช่วยในการเร่งการ เติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น 14 (รูป A) (รูป B) “SinthornVista” Top11 of 2011
  • 15. การใช้มาตรการดังกล่าวจะมีผลในทางอ้อมต่อเศรษฐกิจ ซึ่งลักษณะของมาตรการดังกล่าวเป็น การไปกดอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Yield Curve) แบบปกติที่เป็นแบบ Steep Curve ซึ่ง ผลตอบแทนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในรูป A ให้กลายเป็นแบบ Flat Curve ในรูป B มาตรการดั ง กล่ า วจะมี ผ ลต่ อ เศรษฐกิ จ ในระยะยาวมากกว่ า ระยะสั้ น ซึ่ ง ปั จ จุ บั น อั ต รา ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐดอกเบี้ยน้อยมาก หากธนาคารกลางสหรัฐขายพันธบัตรระยะสั้น ก็อาจทา ให้นักลงทุนขายตาม ซึ่งสภาพคล่องตรงนั้นอาจเข้าไปหาสินทรัพย์เสี่ยงอย่างอื่นมากขึ้น หรือเข้าสู่ระบบ เศรษฐกิจและภาคธุรกิจ ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นเสมือนการปรับพอร์ทลงทุนเฉยๆ ไม่ได้มีการอัดฉีด เงินเข้าไปเพิ่มเติม แค่เป็นการสลับการลงทุนจากระยะสั้นเป็นระยะยาว ในครั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจหลายๆคนก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกันว่ามาตรการดังกล่าว จะได้ผลจริงหรือไม่ หรือได้ผลแค่ชั่วครั้งชั่วคราวแล้วก็ยังคงแย่ต่อไป จบอันดับที่ 8 ด้วยคาคม “เศรษฐกิจจะฟื้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของประชาชนด้วย” 15 (US GDP 2009-2011)
  • 16. อันดับที่ 7 – ตลาดหุ้นไซด์เวย์ สิ่งที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่ชอบคือตลาดที่ไม่รู้ทิศทาง หรือคาดการณ์ไม่ได้ เดาไม่ออก โดยเฉพาะ กับในปี 2554 ซึ่งมีอะไรเซอร์ไพรส์อยู่เสมอ ส่วนมากก็มักจะเป็นเรื่องร้ายๆ ปี 2553 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปิดทาการวันสุดท้ายที่ 1032.76 จุด และช่วงโค้งสุดท้าย ของปีนี้ดัชนีก็ยังคงวนเวียนอยู่แถวๆ 1030 – 1050 จุด เป็นอันว่าผลตอบแทนปี 2554 เมื่อเทียบ กับช่วงปิดตลาดวันสุดท้ายของปี 2553 แล้ว ก็แทบจะไม่ไปไหนเลย สิ่งที่น่ากังวลกว่านั้นคือโดยมาก แล้วปีที่ตลาดไซด์เวย์ หรือไซด์เวย์ติดต่อกันไปเป็นเวลาหลายปี สุดท้ายแล้วก็มักจะลงเอยด้วยการร่วง ลงอย่างรุนแรงในปีถัดไป ณ วันที่ผมกาลังเขียนคือวันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม 2554 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปิดเมื่อวัน ศุกร์ที่ 1037.37 จุด หากอนุมานว่าเมื่อวันศุกร์เป็นวันปิดตลาดปี 2554 ผลตอบแทนของดัชนีปีนี้ จะเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเพียงแค่ 0.45% “แพ้” อย่างหมดรูป แย่ยิ่งกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออม ทรัพย์ทั่วๆไปเสียอีก โดยทั่วไปแล้วสัปดาห์สุดท้ายของปีตลาดมักจะแทบไม่เหลือมูลค่าการซื้อขาย เนื่องจากนักลงทุน ทั้งต่างประเทศ และในประเทศต่างก็ออกไปเที่ยวหรือพักผ่อนในช่วงวันหยุดยาว เฉลี่ยวันละ 1 หมื่น ล้านบาทก็นับว่าคึกคักมากแล้วสาหรับช่วง 5 วันสุดท้ายของปี และดัชนีก็มักจะเคลื่อนไหวในกรอบ แคบๆ และยิ่งโดยเฉพาะปีหน้า ชาติในยุโรปหลายๆชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อิตาลี” ซึ่งมีหนี้สูงมากถึง 16 121% ของ GDP (ขนาด GDP อิตาลีใหญ่กว่า 2.1 ล้านล้านเหรียญ) ต้องมีการรีไฟแนนซ์ช่วงต้น ปี 2555 เรายังไม่อาจคาดได้ว่าจะเกิดปัญหาอะไรอีกหรือไม่ และเมื่ออิตาลีมีผลกระทบที่ร้ายแรง ระบบ ลูกโซ่ทางการเงินจะถูกระเบิดขึ้นอีกหน เพราะอิตาลีเป็นลูกหนี้รายใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส สัดส่วนของ หนี้ที่ฝรั่งเศสถือครองอยู่ สูงกว่าของกรีซหลายเท่าตัวนัก ตลาดที่เดินย่าอยู่กับที่จึงถูกเราจัดอันดับเป็นความสาคัญลาดับที่ 7 ของปีนี้ (เส้นสีฟ้าคือวันปิดตลาดวันสุดท้ายของปี 2553 ส่วนเส้นประสีแดงคือเส้นดัชนีปิดทาการปี 2553) “SinthornVista” Top11 of 2011
  • 17. อันดับที่ 6 – FTSE เพิ่มอันดับหุ้นไทย เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้สร้างความสั่นสะเทือนใดๆให้แก่ตลาดหุ้นไทย และทุกวันนี้นักลงทุนทุกคนก็ ยังไม่รู้ว่ารับข่าวนี้ไปหรือยัง เพราะการจัดอันดับดัชนีโดย FTSE ประกาศเพิ่มอันดับหุ้นไทยมาในช่วงที่ ตลาดกาลังมีปัญหาและโฟกัสไปที่กรีซ จึงทาให้บรรยากาศการลงทุนแทบไม่ส่งผลใดๆต่อไทยในเชิงบวก หลังจากที่ข่าวนี้ออกมา นักลงทุนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่เห็นความสาคัญของเรื่องนี้ แต่ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่ สาคัญมาก และคาดว่ามีผลกระทบต่อตลาดทุนไทยในระยะยาวด้วย (ผลกระทบในเชิงบวก) FTSE Group คือใคร? FTSE เป็นบริษัทผู้จัดทาดัชนีชั้นนาของโลก ซึ่งการจัดทาดัชนีของ FTSE เป็นที่ยอมรับในวงการการเงินและใช้เป็นดัชนีอ้างอิงการดาเนินงานของกองทุนต่างๆ ทั่วโลก เช่นเดียวกับ MSCI (ของ Morgan Stanley) ดัชนีในกลุ่ม MSCI ก็เป็นที่ยอมรับทั่วโลกเช่นกัน ความสาคัญของทั้งสองบริษัทก็พอๆกัน เหมือนกับที่สหรัฐมีสานักจัดอันดับ 3 แห่งคือ S&P, Fitch และ Moody’s ซึ่งก็มีความสาคัญไม่แพ้กัน แล้วแต่ว่าการดาเนินงานของบริษัท ทางการเงินเหล่านั้น ต้องการเลือกอ้างอิงบริษัทจัดอันดับแห่งใด โดยการประกาศนี้ออกมาเมื่อประมาณวันที่ 21 กันยายน 2554 เป็นการประกาศยกอันดับ ตลาดทุนไทยขึ้นไปอยู่ในระดับสูงขึ้นกว่าเดิม โดยประกาศให้ขึ้นไปอยู่ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ชั้นนาหรือ “Advanced Emerging Market” จากเดิมไทยอยู่ในระดับตลาดเกิดใหม่ระดับรองหรือ 17 “Secondary Emerging Market” ซึ่งการเริ่มใช้คานวณดัชนีในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ชั้นนาของ ประเทศไทย จะเริ่มใช้ในช่วงเดือนมีนาคม 2555 การแบ่งกลุ่มตลาดของ FTSE เพื่อจัดทาดัชนีจะแบ่งออกเป็น 4 ระดับได้แก่ กลุ่มตลาด พัฒนาแล้ว (Developed Market), กลุ่มตลาดเกิดใหม่ชั้นนา (Advanced Emerging Market), กลุ่มตลาดเกิดใหม่ระดับรอง (Secondary Emerging Market) และสุดท้ายคือกลุ่มตลาดด้อย พัฒนา (Frontier Market) การพิจารณาปรับอันดับตลาดทุนของ FTSE จะประกาศปีละ 1 ครั้ง ซึ่งในปัจจุบันกลุ่ม ตลาดเกิดใหม่ชั้นนามีทั้งสิ้น 9 ประเทศ ประกอบไปด้ วย บราซิล, เม็กซิโก, ไต้หวัน, แอฟริกาใต้, มาเลเซีย, ฮังการี, โปแลนด์, เช็ก และตุรกี ในรอบนี้ประเทศไทยเป็นเพียงประเทศเดียวที่ได้รับการปรับ อันดับขึ้นไปอยู่ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ชั้นนา ความสาคัญคือกองทุนจานวนมาก หลายกองทุนที่ทาการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ก็จะต้องพิจารณาดาเนินงานตามการจัดอันดับเหล่านี้ ซึ่งประเทศที่ถูกจัดอันดับเพิ่มขึ้นหรือ ลดลง จะมีผลต่อการดาเนินงานของกองทุนด้วย เพราะแต่ละกองทุนที่อ้างอิงการจัดอันดับเหล่านี้ ก็ จะต้องมีการปรับพอร์ทการลงทุนไปตามการเปลี่ยนแปลงของการจัดอันดับ ดังนั้นความสาคัญนี้ซึ่งจะมีผลในปี 2555 จึงถูกเราจัดอันดับเป็นความสาคัญระดับที่ 6
  • 18. อันดับที่ 5 – ปันผลสุดพิเศษ ประเด็นสุดฮอทประจาปี 2554 อีกประเด็นคงหนีไม่พ้น “ปันผลพิเศษ” ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น (ชื่อยาวเกิ๊นนน) หรือที่เรียกติดปากผู้คนทั่วไปว่า DTAC ทั้งนี้อาจจะไม่รวมถึง DTAC แต่ต้องโฟกัสเฉพาะกลุ่มสื่อสาร ที่ปีนี้ดูเหมือนหุ้นกลุ่มสื่อสารจะดูเปล่งประกายสว่างสดใส ไม่ว่า จะทั้งประเด็นการจ่ายเงินปันผล ประเด็นเรื่องการฟ้องร้องต่างๆนาๆ และประเด็นเรื่องของการสื่อสาร ยุคใหม่ในช่วงของ 3G การจ่ายเงินปันผลพิเศษของ DTAC เป็นการจ่ายปันผลพิเศษที่ไม่ได้ดู “แปลก” สาหรับนัก ลงทุนรุ่นเก่าที่อยู่ในตลาดมานาน เพราะผู้ถือหุ้นใหญ่ต้องการเงินสดกลับบ้านไม่ว่าจะด้วยเหตุผ ล ส่วนตัวหรือเหตุผลทางการเมืองอะไรก็แล้วแต่ ซึ่ง AIS เคยทามาก่อนหน้านี้แล้ว และปีนี้ DTAC ก็ได้ ทาให้เรา “อึ้ง” ด้วยการจ่ายปันผลพิเศษเหยียบ 20% (เทียบกับราคาปิดก่อนการประกาศอย่างเป็น ทางการ) ก่อ นหน้ าการจ่ ายปัน ผลพิ เศษ ก็ ได้ มี ประเด็ นการฟ้ องร้อ งเกี่ ยวกั บสั ดส่ ว นการถื อหุ้ นของ DTAC ที่ดูเหมือนจะมีผู้ถือหุ้นเป็น ชาวต่างชาติเกินกว่ากึ่งหนึ่งตามที่กฎหมายกาหนด แต่กระนั้น กระบวนการดังกล่าวก็ดูเหมือนจะเงียบหายไป และจนแล้วจนรอด นักลงทุนไทยที่แสนลืมง่าย ก็ลืม ประเด็นนั้นไปจนหมดสิ้น ทิ้งเอาไว้เฉพาะประเด็นบวกซึ่งมีการเก็งกันว่า DTAC น่าจะจ่ายปันผลพิเศษ เป็นจานวนหนึ่งเพื่อหอบเอาเงินกลับบ้านจากกาไรสะสมสามหมื่นกว่าล้านบาท (ไตรมาส 2) และช่วง 18 ไตรมาส 3 มีกาไรสะสมมากถึงสี่หมื่นล้านบาท ทั้งในวงการ นอกวงการ นักลงทุน และบริษัทหลักทรัพย์ต่างก็คิดว่า DTAC น่าจะเอากาไร สะสมประมาณครึ่งหนึ่งมาจ่ายปันผลพิเศษ ซึ่งนั่นจะทาให้บริษัทยังคงมีสภาพคล่อง มีเงินเตรียมพร้อม สาหรับทา 3G และจ่ายปันผลพิเศษได้ประมาณ 7-8 บาท/หุ้น โดยมีการคาดการณ์กันมากที่สุดที่ ประมาณ 10 บาทกว่าๆ แต่ทว่าในความเป็นจริง ทุกคนต่างตกตะลึงอย่างไม่คาดฝัน ว่า DTAC จะ จ่ายปันผลสูงกว่า 16 บาทต่อหุ้น ช็อควงการส่งท้ายปี 54 กันอย่างน่าอัศจรรย์ใจ ด้วยการจ่ายปันผลจานวนสูงขนาดนี้ ทาให้กาไรสะสมกว่าสี่หมื่นล้านบาทของ DTAC หดลง เหลือเพียงแค่ 1,400 ล้านบาท พูดง่ายๆคือเป็นการ “รีด” เงินออกบริษัทจนหมด พร้อมทั้งมีแผนใน การกู้เงินเป็นจานวน 30,000 ล้านบาทเพื่อสาหรับใช้งาน พร้อมกับภาระดอกเบี้ยปีละกว่า 1,500 ล้านบาท ใครคิดจะซื้อในเวลานี้ คงต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ว่า “คุ้ม” เพียงพอสาหรับปันผลมหาศาล ขนาดนี้หรือไม่ ในขณะที่ราคาหุ้น DTAC ช่วงต้นปีอยู่แถวๆ 40 บาท จนกระทั่งไล่ขึ้นมาถึง 90 บาท มันจะคุ้มหรือไม่ถ้าเราซื้อหุ้นเพื่อเอาปันผล แต่ต้องขาดทุนจากส่วนต่างทางราคาอีกเป็นจานวน เงินมหาศาลหลังขึ้นเครื่องหมายจ่ายปันผลวันที่ 30 ธันวาคม 2554 วันทาการสุดท้ายของปีนี้ “SinthornVista” Top11 of 2011
  • 19. นอกจากประเด็นของ DTAC แล้ว ยังมีประเด็นอันน่าสนใจอีก ที่ Singtel ได้พิจารณาเข้าซื้อ หุ้นของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (กลุ่มสื่อสารเค้าชอบตั้งชื่อกันยาวๆเหรอ?) หรือชื่อย่อ ADVANC ถ้าให้เรียกกันคุ้นๆหูก็ต้อง “AIS” โดยมีการขายหุ้นให้เป็นจานวนกว่า 61 ล้านหุ้น ใน ราคาหุ้นละ 130 บาท รวมเบ็ดเสร็จดีลนี้มีมูลค่าสูงกว่า 7,930 ล้านบาท และมีการคาดการณ์ว่า ชิน คอร์ปอเรชั่น (INTUCH) น่าจะมีการจ่ายปันผลพิเศษจากดีลการขายหุ้นนี้ ประมาณหุ้นละ 2 บาท ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เราก็ต้องลุ้นกันว่าจะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ กลุ่มสื่อสารถือเป็นไฮไลท์สาคัญของนักลงทุนในปีนี้ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นใน แวดวงการเงิน ส่งผลอย่างมากต่อจิตวิทยาการลงทุน นักลงทุนส่วนใหญ่จึงเริ่มถอยห่างหุ้นที่มีภาวะ เสี่ยง จากทั้งเรื่องของน้าท่วม และปัญหาวิกฤตหนี้ยุโรป โดยส่วนใหญ่คัดเลือกหุ้น กลุ่ม ICT เป็นหุ้น ดาวเด่น เพราะผลกระทบจากน้าท่วม แทบไม่สร้างความเสียหายกับกลุ่มสื่อสารเลย มิหนาซ้ายังคง สร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากการที่โทรศัพท์พื้นฐานไม่สามารถใช้งานได้ รวมถึงช่วงสิ้นปี มีเทศกาลส่ง ความสุข ถือเป็นช่วง “High Season” ของวงการ ICT อยู่ตลอดทุกปี อีกทั้งปัญหาหนี้ยุโรปรุมเร้า ยิ่งทาให้สภาพการลงทุนน่ากังวลเพราะบริษัทที่ได้รับผลกระทบเป็น กลุ่มต้นๆคือกลุ่มการเงิน ธนาคาร และรวมถึงกลุ่มโภคภัณฑ์ที่จะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงด้านการเทขาย สินทรัพ ย์เสี่ย งจาพวกน้ามันลงมา ดั งนั้นความกั งวลดั งกล่า วจะส่ งผลให้นักลงทุน หาหุ้ น กิจการ ภายในประเทศที่ไม่ได้อ้างอิงการดาเนินงานจากต่างประเทศ เป็นแหล่งพักเงิน หนึ่งในนั้นคือกลุ่มสื่อสาร และกลุ่มโรงพยาบาลที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างมากตลอดปี ทาให้ราคาหุ้นของทั้งสอง กลุ่มนี้ ทาสถิติราคาสูงสุดใหม่ (New High) กันอย่างถ้วนหน้า 19 สาหรับกลุ่มสื่อสารที่มีการรีดเงินสดออกจากบริษัท ยังคงดูน่าสนใจไม่น้อยเมื่อเทียบกับการ เติบโตและผลประกอบการในอนาคต แต่นักลงทุนก็ควรนึกถึงในเรื่องของมูลค่าทางบัญชี แนวโน้มการ ดาเนินงานในอนาคต ความสามารถในการแข่งขัน การรองรับและแก้ไขปัญหา รวมถึงปัญหาทาง การเมืองที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับกลุ่มสื่อสารได้ตลอดทุกเมื่อ ดังนั้นกลุ่มสื่อสารจึงเป็นกลุ่มที่น่าสนใจที่สุดใน แง่ของการเติบโต แต่ก็ต้องระมัดระวังให้มากในเรื่องของปัจจัยเสี่ยงที่มีโอกาสกระทบกับกลุ่มนี้ได้ง่าย อันดับที่ 5 จึงตกเป็นของกลุ่มสื่อสารที่มีปันผลพิเศษแจกนักลงทุนได้แทบทุกปี
  • 20. อันดับที่ 4 – วิกฤตความเชื่อมั่น สิ่งที่นักลงทุนทุกคนไม่เคยลืม ภายหลังจากการเลือกตั้งไม่นาน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ก็ได้ขึ้นไป แตะจุดสูงสุดในรอบปีที่ 1148.28 จุด วันที่ 1 สิงหาคม 2554 ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับ เศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐรายงานออกมาไม่สู้ดีนัก จึงมีความกังวลเรื่อง ภาวะถดถอยทั่วโลก (Global Recession Fear) รวมถึงการเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐก็เป็นปัญหา จากปัญหาการเมืองที่รุมเร้า ทาให้กว่าแผนจะผ่านได้ก็ทาเอาเส้นยาแดงผ่าแปด หลังจากนั้นช่วงเช้ามืดวันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม (เย็นวันศุกร์ที่ 5 สิง หาคม ตามเวลาท้องถิ่น สหรัฐ) สถาบันจัดอันดับของสหรัฐ Standard&Poors (S&P) ออกมาหั่นอันดับเครดิตเรตติ้งของ สหรัฐลง 1 ระดับ เริ่มสงครามตลาดหุ้นที่ยากจะลืมเลือน พร้อมทิ้งให้นักลงทุนทั่วโลกอยู่ในอาการ เขย่าประสาท ขวัญผวาจากการหั่นเรตติ้งไป 2 วัน ซึ่งเป็นเสาร์อาทิตย์ที่น่ากลัวที่สุดสาหรับนักลงทุน ทั่วโลกในปีนี้เลยก็ว่าได้ หลังจากเปิดตลาดวันจันทร์ ตลาดหุ้นทั่วโลกตอบสนองทันทีในเชิงลบอย่างแข็งแกร่ง ตลาดหุ้น แทบทุกตลาดร่วงลงอย่างกระจัดกระจาย เฉลี่ยที่ 3-4% ต่อวัน ปิดฉาก New High ของปี 2554 นอกจากการหั่นอันดับเครดิตเรตติ้งของสหรัฐแล้ว ยังคงมีการหั่นอันดับเครดิตของประเทศ และธนาคารเป็นจานวนมากในยุโรป จากวิกฤตหนี้ที่นับวันยังคงรุนแรงมากขึ้น จากเหตุผลที่นักลงทุน 20 เองยังไม่ไว้ใจสถานการณ์ และปัญหาที่ ยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่ดีที่สุดสาหรับทุกฝ่ายได้ จึงทาให้ ปัญหาเศรษฐกิจดังกล่าวเริ่มลุกลามใหญ่โต และเกินความควบคุมขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายเราทุกคนรวมถึงรัฐบาลกลางแต่ละประเทศ จะรู้ว่าการพิมพ์เงินออกมาเพื่อใช้หนี้ ไม่ใช่ วิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ หากแต่เป็นแผนการรัดเข็มขัด ลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ ต่างหากจึงจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่แท้จริง แต่ก็แน่นอนว่าไม่มีใครอยากทาเช่นนั้นในขณะที่ตนเองกาลัง อยู่ในวาระของรัฐบาล เพราะจะกระทบกับคะแนนเสียงอย่างมาก จนสุดท้ายก็กลายเป็นปัญหาการเมือง ที่ไม่มีใครยอมใคร การออกมาหั่นเรตติ้งในพักหลังๆดูเหมือนเริ่มหมดความศักดิ์สิทธิ์ เพราะตลาดเริ่มไม่ค่อยสนใจ เท่าไหร่กับการที่สถาบันจัดอันดับ ลดคะแนนประเทศที่เกิดปัญหา เพราะเราทุกคนล้วนอยู่แก่ใจว่า สมควรที่ประเทศเหล่านั้นโดนลดอันดับลง แต่ทว่า สงครามประสาทครั้งนี้ยังคงไม่จบ และยังมีแนวโน้ ม ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในปี 2555 ที่ผมคาดว่าฝรั่งเศส อาจจะสูญเสียเครดิตเรตติ้ง AAA เช่นเดียวกับสหรัฐ และจะทาให้เกิดปรากฎการณ์การเทขายหุ้นครั้งรุนแรงอีกระลอก ผมเชื่อว่าปัญหายุโรป มาไกลเกินกว่าจะแก้ไขแล้ว และอเมริกาก็ไม่มีหนทางอื่นใดที่จะอยู่รอดได้ นอกจากการพิมพ์แบงค์เพิ่มขึ้นทุกๆปี เหตุการณ์ที่ไม่น่าประทับใจเหล่านี้ของมหาอานาจ จึงเป็นบทสรุป ที่ทาให้เราจัดอันดับเป็นที่สุดของปี 2554 ในอันดับที่ 4 “SinthornVista” Top11 of 2011
  • 21. อันดับที่ 3 – Commodities ถ้ามีคนมาบอกคุณว่า ซื้อทองคาเอาไว้เดือนสิงหาคม 2553 ผ่านไป 1 ปี เอาไปขายเดือน สิงหาคม 2554 พร้อมกาไร 50% คุณคิดว่าคุณจะลองเสี่ยงไหม? เชื่อเถอะ 90% ของนักลงทุนจะ ตอบว่า “ไม่” เพราะไม่คิดว่าทองคาจะร้อนแรงอะไรได้ขนาดนั้น และมันแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่ทองคาจะขึ้น มาถึง 50% ภายใน 1 ปี โดยที่ไม่มีเหตุปัจจัยทางสงครามหรืออะไรร้ายแรงมากระตุ้นให้มันเกิด แต่มันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ... ราคาทองคาวันที่ 23 สิงหาคม 2553 อยู่ที่แถวๆ 1,228 เหรียญต่อออนซ์ และวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ราคาสูงสุดของวันอยู่ที่ 1,917 เหรียญ วันแรกที่ ราคาทองคา “เหาะ” ขึ้นมาทา New High ที่ระดับ 1,900 เหรียญ จากความไม่สงบทางการเงิน โดยเฉพาะการหนีเงินดอลลาร์สหรัฐไปหาแหล่งหลบภัยอื่นๆ เช่นทองคา และสวิสฟรังก์ จากการที่ S&P หั่นเรตติ้งสหรัฐ เมื่อเทียบผลตอบแทนภายใน 1 ปีแล้วจะเท่ากับ 56% ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนที่ “เยอะมาก” ที่สามารถทาได้ใน 1 ปี คุณค่าของทองคาไม่ได้วัดที่มูลค่าที่ซื้อขายกัน แต่แท้จริงแล้ววัดกันที่ความ กลัวของนักลงทุน (และอาจจะรวมถึงการผสมโรงปั่นราคาทองคาโลก) ช่วงที่มีการขึ้นของราคาแรงๆ สมาคมค้าทองคาไทย ต้องปรับราคาซื้อขายกันวันละเป็นสิบๆรอบ เล่นเอาสมาคมเองก็งง แม้แต่คนที่ ทางานในแวดวงทองคามากว่า “ห้าหกสิบปี” ต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า เหตุการณ์ อะไรแบบนี้ “ไม่เคยเจอ” มาก่อนในชีวิต แต่นั่นยังไม่เท่ากับความสับสนและมัวเมาจากนักลงทุน ที่มีจานวนมากตก 21 เป็นเหยื่อของการปั่นราคาทองคาระดับโลก ... ใครจะไปรู้ว่าวันหนึ่งเราจะเจอคนบ่นเรื่อง “ดอยทองคา” นอกจากนั้นยังมีสินค้าโภคภัณฑ์อีกหลายชนิดที่ถกปันขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นโลหะเงิน และน้ามัน ซึ่ง ู ่ ราคาน้ามันก็ถูกปั่นขึ้นมาเช่นเดียวกัน เหตุผลที่ราคาน้ามันขึ้นอย่างพุ่งพรวดมาอย่างรวดเร็วในรอบ 1 ปีไม่แตกต่างจากทองคา ไม่ใช่เพราะว่าน้ามันจะหมดโลก แต่เป็ นเพราะมาตรการพิมพ์เงินเพิ่มของ สหรัฐหรือ Quantitative Easing 2 ในช่วงปลายปี 2553 ทาให้เกิดแรงผลักดันสินทรัพย์เสี่ยงทั่ว โลกขึ้นจากสภาพคล่องทีล้นเหลือทั่วโลก และราคาน้ามันก็ขึ้นไปที่ราคาสูงกว่า 100 เหรียญ/บาเรล (และค้างอยู่นานมาก) จนสุดท้ายก็มีการทุบอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยในคืนวันที่ 5 พฤษภาคม 2554 ราคา สินค้าโภคภัณฑ์ฑั่วโลกเกิดอาการช็อค ร่วงอย่างรุนแรงในคืนเดียว และแน่นอน น้ามันร่วงแรงกว่า 9- 10% ในค่าคืนนั้น นับเป็นค่าคืนที่สยองมากคืนหนึ่งของนักลงทุนทั่วโลก ก่อนเปิดตลาดหุ้นในช่วงเช้า ซึ่งโดยส่วนใหญ่ร่วงแรงกว่า 2-3% ไปตามๆกัน หากถามว่าหลังจากนี้มุมมองต่อสินค้าโภคภัณฑ์เป็นอย่างไร ... คงตอบได้แค่ว่า การจะขึ้นไป ถึงจุด New High อีกครั้ง ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องง่าย เหตุเพราะว่าเรายังไม่มีปัจจัยอะไรที่ทาให้สินค้า โภคภั ณฑ์ต้อ งปรับ ตัวสูง ขึ้น ปั ญ หาเศรษฐกิจโลกที่ก าลังรุ มเร้า มีแต่ จะกดให้ราคาสิน ค้าโภคภัณ ฑ์ ปรับตัวลดลง และสภาพคล่องของโลกไม่ได้มีเยอะเช่นเดียวกับปี 2553 และ 2554 ดังนั้นเมื่อสภาพ คล่องน้อยลง ก็จะมีความเป็นไปได้ที่สินค้าโภคภัณฑ์จะปรับตัวสูงขึ้นไปอีกครั้ง ก็จะน้อยลง อันดับที่ 3 ของเราจึงมอบให้กับการปั่นราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้อย่างน่าหวาดเสียว
  • 22. อันดับที่ 2 – อภิมหาบรมอุทกภัย วลีที่เป็นของนักลงทุนทุกคนคือวลีที่ว่า “รู้งี้” ไม่ว่าจะนักลงทุนรุ่นใหม่ไฟแรง หรือจะเก๋ารุ่นพ่อ รุ่นปู่อยู่ในตลาดมานานกว่า 30 ปี ต่างก็ต้องเคยเจอกับความรู้สึกเวลาหุ้นขึ้น/ลงว่า “รู้งี้” รู้งี้น่าจะ ซื้อ (หุ้นขึ้น) รู้งี้น่าจะขาย (หุ้นลง) รู้งี้น่าจะถือ (ขายไปก่อนปันผล) รู้งี้ รู้งี้ รู้งี้ สาหรับประเทศไทยช่วงสิ้นปี 2554 คงไม่พ้นคาว่า “รู้งี้” รู้งี้น่าจะเก็บของ รู้งี้น่าจะยกให้สูงอีก รู้งี้น่าจะเปิดหน้าต่างเปิดประตู รู้งี้ไม่น่าจะกั้นกระสอบทราย และอีกสารพัดรู้งี้ สาหรับน้าท่วมครั้งใหญ่ และรุนแรงที่สุด (คิดว่าน่าจะรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยแล้วหละ) ผมเองก็เป็นหนึ่งในผู้ประสบชะตากรรมของมหาอุทกภัยครั้งนี้ ซึ่งไม่เคยคิดมาก่อนว่าชาตินี้จะ เจอน้าท่วมใหญ่กับเค้าด้วย ทรัพย์สินในบ้านและนอกบ้านเสียหายทั้งหมด นับรวมเฉพาะความเสียหาย ของบ้านผมก็น่าจะหลายแสนจนแตะๆหลักล้าน เพราะโครงสร้างบ้านที่อายุยาวนานก็ดูเหมือนว่าจะ “เอาไม่อยู่” และแน่นอนครับ “รู้งี้” น่าจะเปิดหน้าต่างประตูเอาไว้ในช่วงวันน้าท่ วม เพราะตอนกลับมา บ้านสภาพไม่เหมือนบ้าน ... แต่เหมือนโรงเพาะเห็ดมากกว่า บ้านเต็มไปด้วยเชื้อรา และเห็ดน้อยๆใน ฟาร์มของเรา ก็ขึ้นตามตู้ โต๊ะ เตียง โซฟา กาแพง และทุกสถานที่ที่เห็ดน้อยๆจะสามารถขึ้นได้ ... นับว่าเป็นโรงเพาะเห็ดที่มีมูลค่าสูงมากทีเดียว แต่นั่นก็ยังไม่น่าสะพรึงเท่าเศรษฐกิจไทยอาจจะต้องเจอกับภาวะตึงตัวชั่วขณะโดยเฉพาะในช่วง 22 ปลายไตรมาส 4 ของปีนี้และต้นไตรมาส 1 ของปีหน้า ที่ตัวเลขประเมินความเสียหายแต่ละสานักก็ ประเมินออกมาไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน มากบ้าง น้อยบ้าง แต่ที่แน่ๆทุกสานักฟันธงตรงกันว่ามากกว่า ระดับ “แสนล้าน” แน่นอน แต่ไฉนตลาดหุ้นจึงไม่สะทกสะท้านใดๆต่อสภาวะที่เกิดขึ้น ? ก็นั่นนะสิ นี่คือ สิ่งที่คนทั่วไป งง กับสิ่งที่กาลังเป็น แม้แต่ผมเองก็แปลกใจหน่อยๆ แต่ก็พอจะหาคาอธิบายได้อยู่บ้าง กล่าวคือตลาดหุ้นไทย หุ้นหลักที่กาหนดดัชนีคือกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคาร เป็นสองกลุ่ม หลักที่กาหนดดัชนีได้ว่าจะขึ้นหรือจะลง ดูแค่สองกลุ่มนี้ก็พอ ซึ่งกลุ่มพลังงานแทบจะไม่ได้รับผลกระทบ จากน้าท่วมครั้งนี้ เพราะศูนย์กลางกิจการพลังงานของไทยอยู่ที่จังหวัดระยอง (ก็ไม่ แน่ถ้าคราวหน้าน้า ท่วมโรงกลั่นโรงน้ามัน คงได้เห็นตลาดร่วง 10% กับเขาบ้างหละ) ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงเกิดกับศูนย์กระจายพลังงานเช่น ปั๊มน้ามัน ก็ไม่ได้เป็น การกระทบ ต่อความเสียหายสักเท่าไหร่ (รายได้อาจจะหดบ้างนิดๆหน่อยๆ) ส่วนกลุ่มธนาคารนั้นไซร้ ... ก็แทบจะ ไม่ได้รับผลเสียมากมาย แน่นอนว่าสาขาของธนาคารทีน้าท่วม เสียหายแน่นอน แต่หลัง จากมีการ ประเมินกันอย่างถี่ถ้วนแล้วพบว่า ธนาคารขนาดใหญ่โดยส่วนใหญ่ ไม่น่าจะเจอ NPL (หนี้เน่า) มาก จนทาให้เกิดปัญหา เพราะสัดส่วน NPL ในธนาคารไทยน้อยมากอยู่แล้ว และสามารถบริหารได้ง่าย เนื่องจากผู้ขอสินเชื่อโดยมากก็ต้องมีหลักประกัน มีทรัพย์สิน และสินเชื่อรายย่อยไม่มาก จะหนักหน่อย ก็ SME แต่ก็สามารถบริหารจัดการได้ เพราะโครงการต่างๆที่เข้ามาสนับสนุนและช่วยเหลืออุทกภัย เอื้อประโยชน์ให้ SME และธุรกิจขนาดเล็ก สามารถยืนอยู่ต่อไปได้ ทุกอย่างจึงถูกกาหนดขึ้นด้วยน้าใจ ของคนไทย ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนด้วยกันเอง “SinthornVista” Top11 of 2011
  • 23. “น้าท่วมครั้งนี้ เราไม่ได้เห็นแต่เพียงแค่น้าเน่า แต่เรายังเห็นน้าใจมากมายอีกด้วย” ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ และหุ้นที่ประสบปัญหานี้โดยตรง ก็ร่วงทรุดลงกันไปจากเหตุการณ์ ดังกล่าว เพราะจากน้าท่วมใหญ่ครั้งนี้ กระทบกับความเชื่อมั่นอย่างจัง และคาดว่าจะส่งผลต่อผล ประกอบการในปีนี้อย่างมากด้วย แน่นอนว่าหุ้นที่ได้รับผลกระทบก็ต้องรับเคราะห์กันไป เหลื อแต่เพียง บริษั ทที่ยั งไม่ได้ รับ ผลกระทบมากนั ก ก็ยัง คงอยู่ร อดปลอดภัย แต่อย่ างไรก็ ดี เราอาจจะเห็น การ รายงานผลกระทบจากอุทกภัยที่ “ต่ากว่าคาด” หรือ “สูงกว่าที่คาด” เอาไว้ในช่วงปีหน้าก็ได้ เพราะ รายงานประจาปีหรือรายงานผลประกอบการ จะต้องมีบทสรุปในเรื่องนี้ให้เราเห็นกันอย่างแน่นอน อันดับที่ 2 จึงเป็นของอภิมหาบรมอุทกภัย เหตุการณ์ใหญ่ททาให้บานผม “พัง” ี่ ้ 23
  • 24. อันดับที่ 1 – ซ้อมเซอร์กิต (เบรคเกอร์) นับตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์เปิดทาการมาเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี ตลาดหลักทรัพย์เคยใช้ มาตรการเซอร์กิตเบรคเกอร์ไปเพียงแค่ 3 ครั้ง ซึ่งมาตรการนี้คือการหยุดพักการซื้อขายหลักทรัพย์ ชั่วคราวหากดัชนีลดลง 10% จะมีการหยุดพักการซื้อขายให้นักลงทุนได้ตรึกตรองข้อมูลข่าวสาร 30 นาที จึงเริ่มเปิดทาการซื้อขายอีกครั้ง โดยครั้งแรกคือครั้งที่หนักหน่วงและรุนแรงที่ สุดจากมาตรการกันสารองโดยรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังในสมัยนั้นคือ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล หรือนักลงทุนส่วนใหญ่เรียกกัน ติดปากว่า “วิกฤตหม่อมอุ๋ย” หรือ “อุ๋ยร้อยแปด” โดยเป็นมาตรการกันสารอง 30% เป็นแนวทางเพื่อป้องกัน การเก็งกาไรค่าเงินบาท ซึ่งอาจนาพาหายนะมาสู่เศรษฐกิจไทยเช่นเดียวกับวิกฤตต้มยากุ้งที่สร้าง ผลเสียจนเศรษฐกิจพังพินาศมาแล้ว การเทขายครั้งนั้นถือว่าสะเทือนหุ้นไทยอย่างแรง นักลงทุนต่างประเทศแตกตื่นทาให้ดัชนีร่วงลง ไปทาจุดต่าสุดภายในวันเดียวกว่า -19.52% จนเกือบมีเซอร์กิตเบรคเกอร์อีกครั้ง ตลาดหุ้นไทยไม่เคย ร่วงอย่างรุนแรงเช่นนี้มาก่อนภายในวันเดียว ครั้งนั้นถือเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่เป็นประสบการณ์ สยองขวั ญ นั ก ลงทุ น ไทยเป็ น อย่ า งมาก ท้ า ยที่ สุ ด ตลาดปิ ด ที่ ติ ด ลบ -108.41 จุ ด หรื อ ลดลง 14.84% นักลงทุนต่างประเทศขายหุ้นไทยสุทธิ 25,121.58 ล้านบาท (พูดให้เข้าใจง่ายๆคือ ขายทิ้ง ทุกราคาที่มี Bid รับ) 24 ครั้ ง ที่ ส องและครั้ ง ที่ ส าม ไม่ ไ ด้ เ ป็ น เหตุ ก ารณ์ ที่ แ ปลกประหลาดแต่ อ ย่ า งใด แต่ เ ป็ น วิ ก ฤต เศรษฐกิจของฝั่งอเมริกาซึ่งสร้างผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจไปทั่วโลก ภายหลักการล้มละลายของ ธนาคารขนาดยักษ์ของสหรัฐอเมริกา “ลีห์แมน บราเธอร์ส” (Lehman Brothers) ในช่วงเดือน กันยายน ส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวลดลงอย่างบ้าคลั่ง และส่งผลกระทบกับประเทศ ไทยในวันที่ 10 และวันที่ 27 ตุลาคม 2551 เป็นเซอร์กิตเบรคเกอร์ครั้งที่ 2 และ 3 ของไทย “SinthornVista” Top11 of 2011
  • 26. ครั้งล่าสุดที่ “เกือบ” ทาให้ตลาด หุ้นไทยต้องหยุดพักการซื้อขายเป็นการ ชั่วคราว (Circuit Breaker) เป็นครั้ง ที่ 4 ข อ ง ไ ท ย คื อ วั น จั น ท ร์ ที่ 2 6 กันยายน 2554 ท่ามกลางกระแสความ กังวลของกรีซจะลาออกจากยูโรโซน ซึ่ง จะสร้างผลกระทบที่รุนแรงมากต่อระบบ เศรษฐกิจ การร่วงลงอย่างแรงครั้งนี้ทาให้ ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ เกิ ด อาการสะดุ ดท าให้ ชาวบ้ า น “งง” เพราะเป็ น การหยุ ด ชั่ ว คราวเพี ย ง 5 นาที โดยตลาด หลั ก ทรั พ ย์ ใ ห้ เ หตุ ผ ลว่ า เป็ น ความผิ ด พลาดในระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งตลาด mai ร่วงลงแรงเกินกว่า 10% ทาให้ระบบสั่ง หยุ ด ชั่ว คราวกับ ตลาดอื่ นๆเป็น เวลา 5 นาที (ฟังขึ้นโนะ...) 26 สาหรับประเด็นนี้ทาให้นักลงทุนรู้สึก งุนงงมากพอสมควร เพราะมันดู “ทะแม่ง” ในสายตานัก ลงทุน เนื่องจากตลาดที่หยุดชั่วคราว 5 นาที แต่ตลาดอนุพันธ์ไม่ได้ปิดชั่วคราวด้วย และในช่วงเวลาที่ หยุดชั่วคราว ก็มีสัญญา Long เปิดเข้ามาเป็นจานวนมาก ซึ่งเป็นกรณีที่สร้างความขุ่นเคืองใจให้นัก ลงทุนอย่างมาก จนสุดท้าย ณ วันนี้ ข้อสรุปดังกล่าวเหล่านั้น ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับหรือชี้แจงแต่ ประการใด สาคัญที่สุดคือนักลงทุนไทย “ลืมง่าย” จากเหตุการณ์ดังกล่าว ผมเองก็ตกเป็นเป้าในการกล่าวโทษอยู่ไม่น้อย เหตุเพราะบทความซึ่ง ผมเขียนออกไปเป็นบทความออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องกรีซ และสัดส่วนการถือหุ้นไทยของธนาคารที่ มีปัญหาจากการถือหนี้กรีซจานวนมาก “อาจจะ” มีแนวโน้มขายหุ้นที่ตนเองถือเพื่อนาเงินกลับไปเสริม สภาพคล่องธนาคารที่ปัจจุบันกาลังมีปัญหา รวมถึงความเชื่อมโยงและความน่ากัง วลของเหตุการณ์ ดังกล่าว โดยที่บทความดังกล่าวผมทาการเผยแพร่ในคืนวันเสาร์ที่ 24 กันยายน 2554 เพียง 2 วันก่อนเหตุการณ์ดังกล่าว และในช่วงดังกล่าวตลาดหุ้นต่างประเทศก็ไม่ได้มีการร่วงลงอย่ างรุนแรง เหมือนตลาดหุ้นไทย หลายคนว่า ผมเป็ นตัว การทุบ หุ้ น ไทย หน าซ้ าหลายคนยั ง ว่ า ผมเป็ น คนที่ไ ด้ ป ระโยชน์ จ าก เหตุการณ์นี้ ซึ่งข่าวลือก็เป็นเพียงข่าวลือ แท้จริงแล้วในวันที่ 26 กันยายน ผมเองก็ไม่ได้ทาการซื้อ ขายเลย อันที่จริงผมแทบไม่ได้ซื้อขายเลยตั้งแต่ช่วงที่ตลาดต่างประเทศสาแดงความน่ากลัวให้ผมเห็น จากเหตุการณ์นี้ จึงเป็นเหตุผลที่ผมเลือกให้ปัญหาหนี้ยุโรปเป็น “Top of The 2011” “SinthornVista” Top11 of 2011
  • 28. 28 พบกับเราทุกๆวันได้ที่ facebook.com/SinthornVista “SinthornVista” Top11 of 2011
  • 29. 29
  • 30. 30 “SinthornVista” Top11 of 2011