SlideShare a Scribd company logo
1 of 8
Download to read offline
CIVIL ENGINEERING MAGAZINE 55
วิศวกรรม : สำรวจ
ธีระ ลาภิศชยางกูล*
บทนำ
	 พื้นภูมิประเทศบนโลกประกอบไปด้วยลักษณะของชั้นดินที่

แตกต่างกันไปแต่ละสถานที่และทับถมสิ่งต่างๆ อยู่ในชั้นดินสิ่งเหล่านี้

มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก
ในการศึกษาลักษณะข้อมูลส่วนประกอบต่างๆ และกระบวนการ
เปลี่ยนแปลงต่างๆ ของโลกที่เกิดขึ้นในชั้นดินเช่น หิน ดิน แร่ ฯ 

ทั้งในระดับโครงสร้างจนถึงส่วนย่อยๆ และปัจจัยต่างๆ จึงเป็นเรื่อง

ที่กระทำได้ยาก ดังนั้นในวิชาทางด้านธรณีวิทยา (Geology) 

นักธรณีวิทยา และนักภูมิศาสตร์จึงต้องออกแบบ วิจัย วิเคราะห์
ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการสำรวจพื้นโลกเพื่อเรียนรู้และเข้าใจสำหรับ
เทคโนโลยีการสำรวจ...
...ด้านธรณีวิทยา
Surveying Technology for Geology
การทำนายความเป็นไปของพื้นโลก

ในอนาคตได้อย่างถูกต้อง มากยิ่งขึ้น
แล้วนำความรู้นำไปประยุกต์ใช้ในงาน
อื่นๆ เช่น การวางแผนพัฒนา การ

หาวัตถุดิบ อุตสาหกรรม การทำ
เหมืองแร่ การก่อสร้างต่างๆ รวมทั้ง
ถนนหนทาง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ในการท่องเที่ยว เป็นต้น ในรูปแบบ
ของแผนที่ธรณีวิทยาแบบต่างๆ 

เช่น แผนที่ธรณีวิทยารากฐาน แผนที่
ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม แผนที่ธรณี

วิทยาโครงสร้าง แผนที่ธรณีวิทยา
แหล่งหิน การสำรวจทำแผนที่ธรณี

วิทยาจะต้องมีการดำเนินการอย่างมี
มาตรฐาน มีวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็น
ขั้นตอน เพื่อข้อมูลที่ได้จะมีประสิทธิภาพ
สูงสุด [1]
56 โยธาสาร
วิศวกรรม : สำรวจ
เทคโนโลยีการสำรวจด้านธรณีวิทยา (Surveying Technology for Geology)
	 จากเดิมการสำรวจด้านธรณีวิทยาจะต้องเดินทางเข้าสู่พื้นที่ที่ต้องการศึกษาเพื่อทำการเก็บ หิน ดินและแร่
พร้อมกับกำหนดตำแหน่งด้วยแผนที่ แล้วนำมาทดสอบเพื่อหาชนิดของดินนั้น ซึ่งการทำงานในลักษณะดังกล่าว
จึงใช้เวลานานและเสียค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งผู้ที่ทำการสำรวจต้องมีความรู้และความชำนาญสูงในการจำแนก 

ในปัจจุบันเทคโลยีการสำรวจด้านธรณีวิทยามีความก้าวหน้ามากและได้มีการพัฒนาเทคนิคการศึกษาพร้อมกับ
เครื่องมือต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การทำงานดำเนินไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำมากที่สุด

ก่อนเข้าสู่พื้นที่ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ที่เข้ามาช่วยให้มนุษย์สำรวจโลกได้อย่างลึกซึ้ง ได้แก่ แผนที่ระบบสารสนเทศ
ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing: RS)
และระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียมจีพีเอส (Global Positioning System: GPS) อีกทั้ง

ด้วยเทคโนโลยีของการถ่ายภาพดาวเทียม การหาตำแหน่งพิกัดบนพื้นโลกด้วยดาวเทียมจีพีเอส พร้อมการ

สร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนคอมพิวเตอร์ทำให้ลักษณะพื้นผิวหรือดินใต้พื้นโลก
ได้รับการตรวจสอบจากข้อมูลที่มีความถูกต้องสูง สามารถค้นหาพร้อมนำมาใช้งานและพัฒนาด้านธรณีวิทยา

ได้อย่างรวดเร็ว
การสำรวจและทำแผนที่ธรณีวิทยา
	 ในการสำรวจทางด้านธรณีวิทยาจะกำหนดพื้นที่

ที่ต้องการศึกษาและบริเวณโดยรอบๆ จากการแปล
ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพดาวเทียมและแผนที่สำหรับ
เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการมองภาพรวมของพื้นที่ จากนั้น
จึงวางแผนการสำรวจตามข้อมูลที่ได้ศึกษา พร้อมกับ
เตรียมเครื่องมือสำรวจภาคสนามให้เหมาะสม เช่น ค้อน
ธรณี เข็มทิศ เพื่อใช้วัดการเอียงเทของชั้นหินและ
อุปกรณ์ช่วยสำรวจอย่างอื่น [1] หลังจากทำการสำรวจ
แล้วข้อมูลที่ตั้งสมมติฐานไว้จะนำมาวิเคราะห์ ตรวจสอบ
กับข้อมูลที่ได้รวบรวมจากการสำรวจหรือการเก็บ
ตัวอย่างมาวิเคราะห์ ดังนั้นแผนที่ธรณีวิทยาจึงเป็น
ข้อมูลพื้นฐานที่อธิบายลักษณะทางภูมิประเทศของพื้นที่
ที่ศึกษา โดยพบว่าเมื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับธรณีวิทยา
ให้ละเอียดมากขึ้นจะช่วยนำไปสู่คำตอบที่เรายังไมทราบ
เกี่ยวกับโลกและการเปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการ
ทำแผนที่ธรณีวิทยาจะมีลักษณะการทำงานแบ่งออกได้
เป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ [1] [2] 1. การวางแผนการ
สำรวจ (planning) 2. การออกสำรวจและเก็บข้อมูล

ในสนาม (geological survey and data correction) และ 3.
การเขียนรายงาน จากขั้นตอนการทำแผนที่ธรณีวิทยา
ทั้ง 3 ขั้นตอน จะพบว่าการสำรวจในพื้นที่และเก็บข้อมูล
มีความสำคัญอย่างมาก ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ
อย่างถี่ถ้วนเพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในพื้นที่นั้น
และบริเวณใกล้เคียง ถ้าไม่มีฐานข้อมูลในพื้นที่ก่อนการ
ทำงานจะทำให้เสียเวลาในการตรวจสอบและค่าใช้จ่าย
ที่สูง อีกทั้งพื้นดินของโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
การติดตามข้อมูลก็เป็นส่วนที่สำคัญ ดังนั้นเทคโนโลยี
ทางด้านการสำรวจจึงเป็นส่วนที่สำคัญในการเก็บข้อมูล
ค้นหา แสดงผลและนำไปใช้ อีกทั้งยังสามารถเผยแพร่
ให้แก่บุคคลทั่วไปได้อย่างรวดเร็วทันทีถ้ามีเหตุการร้ายแรง
ทางด้านธรณีวิทยาในพื้นที่เช่น ดินถล่ม ภัยแล้ง ฯ
ลักษณะแผนที่ทางธรณีวิทยาของโลกจะแสดงตำแหน่ง
ขนาด ระยะทาง ความสูง-ต่ำ รูปร่าง ตลอดจนการ
กระจายของวัตถุพื้นโลกเช่น ดิน หินและแร่ธาตุฯ พร้อม
ทั้งลักษณะเฉพาะของข้อมูลนั้นๆ เพื่อให้ผู้ใช้แผนที่
ทราบความสัมพันธ์ของข้อมูลกับที่ตั้งของแหล่งข้อมูล
อื่นๆ ที่สัมพันธ์กับพื้นที่ที่ศึกษา ในการวิเคราะห์และ

วัดระดับความสัมพันธ์ของข้อมูลประเภทต่างๆ ที่มี

ต่อกัน ดังนั้นข้อมูลทางด้านธรณีวิทยาจึงเป็นส่วนหนึ่ง

ที่สำคัญในการบริหารและจัดการเพื่อใช้ในการพัฒนา
CIVIL ENGINEERING MAGAZINE 57
พื้นที่และการวางแผนต่างๆ ตามแต่ละวัตถุประสงค์ เช่น
การสร้างแหล่งน้ำเพื่อผลิตน้ำประปา การตั้งโรงงาน

ผลิตกระแสไฟฟ้า การให้บริการระบบสาธารณูปโภค
สาธารณูปการ การหาแหล่งกำจัดขยะ บริเวณที่เสี่ยงต่อ
การเกิดภัยธรรมชาติ เป็นต้น [3] ซึ่งข้อมูลที่ปรากฏใน
แผนที่หนึ่งๆ นอกจากจะต้องมีความถูกต้อง ทันสมัยแล้ว
ยังจะต้องมีความละเอียดมากเพียงพอและเหมาะสม

กับวัตถุประสงค์ของการนำเอาไปใช้ประโยชน์ด้วย

ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
(Geographic Information System: GIS)
	 จากเทคโนโลยีทางด้านระบบคอมพิวเตอร์สำหรับ
สร้างแผนที่ดิจิตอล (Digital Map) ที่ล้ำหน้าทำให้เกิด
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ขึ้นมาเพื่อลด

ข้อจำกัดของการใช้แผนที่แบบเดิมในรูปแบบกระดาษ
ดังรูปที่ 1 ทำให้ข้อมูลที่มีหลากหลายประเภท แต่ละชนิด
แบ่งออกเป็นชั้นๆ (Layer) ที่สามารถเปิด-ปิดในการแสดง
ผลหรือวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็น ตามความต้องการได้
อย่างรวดเร็ว ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ จึงถือว่า
เป็นระบบเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง

ในการสร้างแผนที่ดิจิตอลที่ช่วยลดข้อจำกัดของแผนที่
รูปที่ 1 เปรียบเทียบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กับแผนที่

บนกระดาษในการจัดการข้อมูล [4]
รูปที่ 2 นำเสนอข้อมูลในรูปแบบจำลอง 2 และ 3 มิติบนระบบ
สารสนเทศภูมิศาสตร์ [4]
GIS
(การสอบถามเชิงพื้นที่)
(การวิเคราะห์เชิงพื้นที่)
(คอมพิวเตอร์กราฟฟิก)
(ดำเนินงานด้วยมือ)
ไม้บรรทัด,วงเวียน,เครื่องคิดเลขฯลฯ
(กล้องขยาย)
แผนที่ในรูปกระดาษ
ชื่อ.....
การใช้....
โครงสร้าง....
กฎเกณท์...
การใช้ที่ดิน...
ชื่อ.....
การใช้....
โครงสร้าง....
แบบกระดาษลงไปได้แล้วยังจะช่วยเชื่อมโยง ผสมผสาน
ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) ที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งและ
ลักษณะของวัตถุในบริเวณที่ต้องการศึกษาในรูปแบบ
สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏในแผนที่ ที่เป็นจุด (ตำแหน่ง)
เป็นเส้นและเป็นพื้นที่ กับข้อมูลเชิงบรรยาย (non-Spatial
data) รายละเอียดของวัตถุทางด้าน ความจุ ขนาด
ความสามารถฯ ในฐานข้อมูล เพื่อขยายความให้แก่
สัญลักษณ์นั้นๆ มากขึ้น พร้อมทั้งดัดแปลงแก้ไขและ
วิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลในเชิงตรรกยะ (Logic)
หรือทางสถิติและคณิตศาสตร์ สำหรับแสดงผลการ
วิเคราะห์นำเสนอข้อมูลในรูปแบบจำลอง 2 และ 3 มิติ
ดังรูปที่ 2 เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ทางด้านพื้นที่ของ
ข้อมูลในการนำไปใช้งาน ซึ่งทำให้เข้าใจและประกอบ
การตัดสินใจในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนการใช้
ทรัพยากรเชิงพื้นที่บริเวณนั้น
รูปที่ 4 การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการจัดชั้นดินของ
กรมพัฒนาที่ดิน [7]
รูปที่ 3 ลำดับขั้นตอนในการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการ
จัดการกับพื้นที่เสี่ยงภัย [5]
58 โยธาสาร
วิศวกรรม : สำรวจ
เทคโนโลยีการสำรวจด้านธรณีวิทยา (Surveying Technology for Geology)
	 ในประเทศไทยมีการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
มาใช้ในการจัดการด้านธรณีวิทยาในหลายๆ ด้าน เช่น
การจำแนกชั้นดิน การตรวจสอบสภาพของดินฯ เพื่อ
ตรวจสอบผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติ
ซึ่งการนำระบบสารสนเทศมาใช้จะทำให้ป้องกันความ
รุนแรงที่มีระดับมากกว่า เทียบเท่า หรือน้อยกว่าที่

แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของโลกตามช่วงเวลา
หรือฤดูกาลได้แก่ แผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วม ดินถล่ม
และการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งธรณีพิบัติภัยเหล่านี้มีความ
สัมพันธ์กัน ยกตัวอย่างเช่น การเกิดแผ่นดินไหว

อย่างรุนแรงในทะเลก่อให้เกิดสึนามิพัดเข้าสู่ชายฝั่ง [6]
ดังนั้นในการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ในการ
วางแผนจัดการธรณีวิทยาให้ประสบความสำเร็จจะลด
ผลกระทบและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจำเป็นต้องมี
องค์ประกอบในการศึกษาดังรูปที่ 3 ที่แสดงแนวทาง
1. เตรียมข้อมูล
2. การเก็บรวบรวมและตรวจสอบ
3. วิเคราะห์และแสดงผล
4. ประเมินผลในพื้นที่เสี่ยง
5. ประเมินความเสียหาย
และความเสี่ยง
6. วางแผนและจัดการในพื้นที่จริง
จัดการด้านธรณีวิทยาการป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติ
ส่วนทางด้านเกษตรกรรมการมีแผนที่ธรณีวิทยาทำให้
การหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ
เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มฯ สามารถหาพื้นที่

ที่เหมาะสมในการลงทุนก่อนการเพาะปลูกได้เช่นกัน 

ดังรูปที่ 8 เป็นการใช้ฐานข้อมูลกลุ่มดินในพื้นที่จังหวัด
เชียงใหม่ อำเภอเชียงดาว 

การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing: RS)
	 ในการทำงานด้านการสำรวจระยะไกลจะเกี่ยวข้อง
กับภาพดาวเทียมที่ปรากฎรายละเอียดต่างๆ ของวัตถุ
บนหรือใต้พื้นที่ที่ต้องการศึกษา ในลักษณะของภาพ

เชิงเลข (Digital Image) ที่ประกอบด้วยจุดภาพที่ต่อเนื่อง
กันและมีค่าความสว่างของแต่ละจุดภาพแตกต่างกันไป
ตามค่าการสะท้อนของพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าจากวัตถุ

ที่อยู่บนหรือใต้พื้นโลกดังรูปที่ 5 โดยภาพดาวเทียมที่ได้
จะนำไปประมวลผลเพื่อทำการจำแนกข้อมูล โดยใช้การ
ตัดสินใจ ประสบการณ์ของผู้ทำงานโดยตรงและกลุ่ม
ตัวอย่างที่เป็นพื้นที่อ้างอิงที่มีความสัมพันธ์ที่คล้ายกับ
รายละเอียดบนภาพ ทำให้การสำรวจพื้นที่ที่ต้องการ
สามารถตรวจสอบได้อย่างรวดเร็วและมีความถูกต้องสูง
จากความละเอียดของจุดภาพในระดับเซนติเมตรถึง
เมตร สิ่งเหล่านี้ทำให้แผนที่ธรณีวิทยาสามารถตรวจ
สอบและจำแนกได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญของ
ภาพดาวเทียมคือช่วงคลื่นและการตรวจจับ (Sensors)
รายละเอียดบนพื้นโลกจากคลื่นที่สะท้อนจากวัตถุเอง
รูปที่ 5 ภาพจากดาวเทียม Landsat 7 ระบบ ETM+ (Enhance
Thematic Mapper Plus) [8]
รูปที่ 6 a) Passive and b) Active Sensing System. [9]
CIVIL ENGINEERING MAGAZINE 59
หรือจากการส่งพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องตรวจ
จับบนดาวเทียมที่โคจรอยู่นอกโลกเอง การรับและ

ส่งผ่านพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามายังดาวเทียมเพื่อ
แปลงสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้เป็นภาพดาวเทียม
ที่ใช้ในการทำแผนที่จะแบ่งการตรวจวัดพลังงงาน
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็น 2 ประเภท [9] คือ
1.	 Passive Sensing System เป็นระบบการตรวจจับ

	 ที่ได้รับพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาจาก

	 ธรรมชาติเช่น ดวงอาทิตย์ ความร้อนในพื้น

	 ผิวโลกแล้วสะท้อนกลับมายังระบบตรวจจับ

	 ของดาวเทียม ดังรูปที่ 9 a) แสดงแหล่ง

	 พลังงานและลักษณะการกระจายของพลังงาน

	 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสู่เครื่องตรวจจับแบบ

	 Passive Sensing System
2.	 Active Sensing System เป็นระบบการตรวจจับ

	 ที่ดาวเทียมจะทำการส่งพลังงานลงไปกระทบ

	 กับวัตถุแล้วสะท้อนกลับมายังระบบตรวจจับ

	 ของดาวเทียมโดยส่วนใหญ่จะใช้คลื่นไมโครเวฟ
	 เรดาร์ ดังรูปที่ 9 b) แสดงแหล่งพลังงานและ

	 ลักษณะการกระจายของพลังงานคลื่นแม่เหล็ก

	 ไฟฟ้าสู่เครื่องตรวจจับแบบ Active Sensing

	 System
	 ภาพดาวเทียมในการสำรวจระยไกลได้จากดาวเทียม
สำรวจทรัพยากรธรรมชาติที่ทำการสำรวจพื้นดิน ป่าไม้
และแม่น้ำ สำหรับพยากรณ์และตรวจสอบการเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งในประเทศไทยโดยสำนักงาน
พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การ
มหาชน) เป็นผู้ดูแลและจำหน่ายข้อมูลภาพดาวเทียม
b) Active Sensing System.
a ) Passive Sensing System.
เช่น Landsat-7, Radarsat – 1,  IRS – 1C and 1D, Spot
4-5, Noaa สำหรับใช้งานในด้านสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ
ซึ่งแต่ละดาวเทียมมีความละเอียดที่แตกต่างกันตั้งแต่
10-100 เมตร ขึ้นอยู่กับรูปแบบการตรวจจับและช่วงคลื่น
ที่ใช้บนดาวเทียมแต่ละดวง ถ้าเป็นลักษณะของ
ดาวเทียมความละเอียดสูงจะมีความละเอียดของจุด
ภาพน้อยกว่า 10 เมตร เช่น ดาวเทียม IKONOS, EROS,
Quickbird, OrbView, WorldView, GEOEYE, ALOS และ
THEOS โดยเฉพาะ THEOS เป็นดาวเทียมดวงแรก

ของไทยที่มีความละเอียดภาพแบบ Panchromatic 

(ช่วงคลื่นเดียว) ที่ 2 เมตรและแบบ Multispectral 

(หลายช่วงคลื่น) ที่ 15 เมตร [10] จุดแข็งของเทคโนโลยี
การสำรวจระยะไกลคือสามารถทำการศึกษาพื้นที่

ที่ทุรกันดาร ยากในการเข้าสำรวจ ประหยัดเวลาและ
60 โยธาสาร
งบประมาณในการศึกษาสภาพแวดล้อมหรือลักษณะ
ของพื้นที่ที่ทำการศึกษา ส่วนจุดอ่อนก็คือ ผลการศึกษา
จะเป็นข้อมูลเชิงบรรยายและภาพดาวเทียม ทำให้

ผู้ใช้งานทั่วไปที่ไม่มีความรู้ ความชำนาญด้านนี้และ
ลักษณะพื้นที่ในการแปลภาพดาวเทียม ไม่สามารถ

ได้ข้อมูลที่มีถูกต้องและน่าเชื่อถือสำหรับนำไปใช้งาน
อย่างถูกต้อง [8]

ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global
Positioning System: GPS)
	 เป็นระบบหาพิกัดของตำแหน่งบนพื้นโลกที่
สัมพันธ์กับพื้นหลักฐานอ้างอิงที่กำหนด โดยดาวเทียม

จีพีเอสจะทำการส่งสัญญาณมายังเครื่องรับเพื่อกำหนด
พิกัดบนพื้นโลกหรือที่เรียกกันว่า จีพีเอส (Globe Position
System ,GPS) แล้วทำการประมวลผลออกมาเป็น
ตำแหน่งค่าพิกัดทางราบและดิ่งบนพื้นผิวโลกจุดนั้น ซึ่ง
จะมีความถูกต้องสูงในระดับเซนติเมตร ทำให้การหา
พิกัดด้วยดาวเทียมจีพีเอสจึงเป็นเทคโนโลยีสะดวก
รวดเร็วและไม่ว่าจะอยู่บนพื้นผิวโลกที่ใดก็จะทราบว่า

อยู่ตำแหน่งใดบนโลกได้อย่างถูกต้องเสมอ สำหรับรับ
และส่งข้อมูลจากดาวเทียมไปยังสถานีภาคพื้นดินบน
โลกหรือเครื่องรับสัญญาณจะประกอบไปด้วยรหัส

และความถี่ ซึ่งรหัสเป็นข้อมูลของดาวเทียม ตำแหน่ง
และเวลามีด้วยกัน 4 แบบ [11] คือ
1.	 รหัสC/A code (Coarse/Acquisition Code) มี

	 ขนาด 1/10 ของความถี่พื้นฐานคือ 1.023 MHz
	 ความยาวคลื่นเท่ากับ 300 เมตร มีคาบเป็น 1
	 ใน 1,000 วินาที 
2.	 รหัส P Code (Precision Code) มีความถี่

	 เท่ากับความถี่พื้นฐาน 10.23 MHz มีความยาว

	 คลื่นเท่ากับ 30 เมตร มีคาบเป็น 267 วัน นั่น

	 แสดงว่าในช่วง 267 วันจะส่งรหัส P ที่ไม่

	 ซ้ำกันออกมาจึงทำให้ยากแก่การตรวจสอบว่า

	 รหัส P ที่ใช้แต่ละวันเป็นส่วนไหนของรหัส
3.	 รหัส Y Code เป็นรหัสที่เกิดจาการรวมกันของ

	 C/A code และ P Code รวมกันเพื่อให้ได้		
	 ตำแหน่งที่มีความถูกต้องสูงและป้องกันการ

	 รบกวนของสัญญาณในเครื่องรับจีพีเอส
4.	 รหัส M Code (Military Code) จะใช้ในดาวเทียม

	 รุ่นใหม่รุ่น Block IIR-M ที่ความถี่ของ L2 มอดู

	 เลตเข้าด้วยกัน ซึ่งจะมีความสามารถในการ

	 ต้านทานการรบกวนของสัญญาณและการ

	 หน่วงของเวลาในชั้นบรรยากาศ
จากรหัสทั้ง 4 แบบรหัสC/A code จะใช้สำหรับบุคคล
ทั่วไป ส่วนรหัส P Code, Y Code and M Code จะใช้
สำหรับงานทางด้านทหาร ในการส่งสัญญาณรหัสจะถูก
มารวมกับคลื่นวิทยุเพื่อทำการส่งและรับข้อมูลซึ่งจะมีอยู่
ด้วยกัน 5 แบบ [11] คือ
1.	 คลื่นวิทยุแบบ L1 มีความยาวคลื่นเท่ากับ

	 1,575.42 MHz จะมีทั้งรหัสแบบ C/A code

	 และ P Code ประกอบในการรับและส่งข้อมูล
2.	 คลื่นวิทยุแบบ L2 มีความยาวคลื่นเท่ากับ

	 1,227.60 MHz จะมีทั้งรหัสแบบ P code และ

	 Y Code ประกอบในการรับและส่งข้อมูลที่ทำ

	 การควบคุมจากรัฐบาลอเมริกาสำหรับใช้ใน

	 ทางทหารซึ่งจะมีความถูกต้องสูง
3.	 คลื่นวิทยุแบบ L3 มีความยาวคลื่นเท่ากับ

	 1,381.05 MHz จะในสัญญาณของเครื่องรับ

	 จีพีเอสเพื่อทำการตรวจจับตำแหน่งของ

	 ขีปนาวุธ แหล่งนิวเคลียร์และแหล่งกำเนิดคลื่น	
	 ความร้อนจากรังสีอินฟาเรด
4.	 คลื่นวิทยุแบบ L4 มีความยาวคลื่นเท่ากับ

	 1,841.40 MHz จะใช้ในการศึกษาความถูกต้อง	
	 ของชั้นบรรยากาศไอโอโนสเพียร์
5.	 คลื่นวิทยุแบบ L5 มีความยาวคลื่นเท่ากับ

	 1,176.45 MHz จะใช้สำหรับพลเรือนทั่วไปและ

	 ตำแหน่งของเครื่องบินพลเรือนเพื่อป้องกัน

	 อันตรายและความเสียหาย
วิศวกรรม : สำรวจ
เทคโนโลยีการสำรวจด้านธรณีวิทยา (Surveying Technology for Geology)
CIVIL ENGINEERING MAGAZINE 61
จากรหัสและคลื่นวิทยุที่ใช้ในการส่งข้อมูลของดาวเทียม
จีพีเอสที่ใช้ทำงานทั่วไปจะเป็นความถี่แบบ L1 และ L2
ซึ่งให้ความถูกต้องสูงถ้าเครื่องรับสัญญาณหาค่าพิกัด
สามารถรับได้ทั้ง 2 ความถี่และทำงานได้รวดเร็วกว่า
เครื่องรับสัญญาณหาค่าพิกัดแบบความถี่เดียวที่ใช้เวลา
ในการประมวลผลนานกว่า ซึ่งการทำงานด้วยเครื่อง

หาพิกัดตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียมนี้จะทำให้เรา
ทราบค่าพิกัดและวางแผนในการกำหนดตำแหน่งบน

ภูมิประเทศได้อย่างรวดเร็ว สำหรับใช้ในการอ้างบนพื้น
โลกที่ใดก็ได้ เพราะในระบบจะมีพื้นหลักฐานในการ
อ้างอิงค่าพิกัดกับระบบสากลที่สามารถใช้ทั่วไปที่ใด

บนโลกก็ได้ ในปัจจุบันจะพบว่ามีการนำไปใช้ติดตาม
รถยนต์และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อตรวจสอบตำแหน่งหรือ
ป้องกันการจารกรรมและเดินทาง เช่น รถยนต์ และ
เครื่องบินอย่างกว้างขวาง

รูปที่ 7 การหาตำแหน่งพิกัดด้วยดาวเทียมจีพีเอส [12]
Distance
 Distance
Distance
Distance
GPS Receiver
62 โยธาสาร
บรรณานุกรม
	 1.	 กรมทรัพยากรธรณี. การสำรวจและทำแผนที่ธรณีวิทยา.เข้าถึง

		 ได้จาก : URL: http://ecurriculum.mv.ac.th/science/m2/sci2_513/

			survey.htm. 16 เมษายน 2552.
	 2.	 เพียงตา สาตรักษ์ ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี 

		 มหาวิทยาลัยขอนแก่น. การทำแผนที่ธรณีวิทยา (Geologic

		 Mapping). เข้าถึงได้จาก : URL: http://home.kku.ac.th/peangta/

		 s664306-ch11-map.htm. 21 เมษายน 2552.
	 3.	 สามารถ ดวงวิจิตร. GIS : ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการ

		 พัฒนา. เข้าถึงได้จาก : URL: http://artsmen.net/content/

		 show.php?Category=technoboard&No=3280. 22 เมษายน 2552.
	 4.	 วิเชียร จาฏุพจน์ ภาควิชาธรณีศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
		 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.หน้าที่หลักของ GIS. เข้าถึงได้จาก
		 : URL: http://www.envi.psu.ac.th/gis/gis/5duty_gis.htm. 

		 22 เมษายน 2552.
	 5.	 สมบัติ อยู่เมือง.การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)
		 และข้อมูลจากการสำรวจระยะไกล (Remote sensing) เพื่อการ

		 บริหารจัดการภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากดินถล่ม – น้ำปนตะกอนบ่า

		 – น้ำหลาก และน้ำท่วมขังในพื้นที่ภาคเหนือ ปี พ.ศ. 2549.เข้า

		 ถึงได้จาก : URL: http://www.gisthai.org/map-galery/Flood%20

		 North49/Poster1/poster1.html. 22 เมษายน 2552.
	 6.	 สมบัติ อยู่เมือง.ความรู้ด้านธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์เชิงระบบ

		 จากภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิสำหรับระบบเฝ้าระวังและการ

		 จัดการเพื่อลดผลกระทบในอนาคต. เข้าถึงได้จาก : URL: 

สรุป
	 จากเทคโนโลยีต่างๆ ในการสำรวจข้อมูลเพื่อนำมาทำแผนที่ธรณีวิทยาทั้ง 3 แบบคือ ระบบสารสนเทศ
ภูมิศาสตร์ การสำรวจระยะไกลและระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก เป็นเครื่องมือสำคัญในการอำนวยความสะดวก
เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโลกใบนี้ได้อย่างละเอียดชัดเจน แม่นยำ และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะพบว่า
เทคโนโลยีที่ใช้ในขั้นตอนแรกจะเป็นภาพดาวเทียมจากการสำรวจระยะไกลและการหาตำแหน่งพิกัดจากดาวเทียมจีพีเอส
ในการเก็บข้อมูลและสร้างแผนที่ขึ้นมา ส่วนระบบสารสนเทศภูมิศาสร์เป็นการนำข้อมูลแผนที่และรายละเอียดมาเก็บ

ในฐานข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงกันแล้วแสดงผลในแบบ 2 และ 3มิติ ตลอดทำการวิเคราะห์ในการตัดสินใจและวางแผน

บนพื้นที่ที่ศึกษา ทำให้เห็นว่าการทำงานของระบบทั้งสามมีความสัมพันธ์ เมื่อนำเทคโนโลยีทั้งสามนี้มาร่วมกันไปใช้

ในการสำรวจโลกทำให้เกิดประโยชน์ ในเรื่องของการตั้งถิ่นฐาน การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรในดินและภัยพิบัติที่กำลัง
เกิดในขณะนี้บนโลก สำหรับนำไปปรับใช้ในการวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ ในการป้องกันเพื่อประโยชน์สุข

ของมนุษย์ต่อไปในอนาคต
		 http://www.gisthai.org/resource/tsunami/TSUNAMI%20Paper%

		 20for%2016-3-05_a4.pdf. 22 เมษายน 2552.
	 7.	 กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.ระบบฐานข้อมูล

		 กลุ่มชุดดิน. เข้าถึงได้จาก : URL: เข้าถึงได้จาก : URL: http://

		 www.gissite3.ldd.go.th/viewer.cfm?wClause=ADM_ID=

		 1090205&areaLevel=2&areaId=1090205. 22 เมษายน 2552.
	 8.	 กัมปนาท ภักดีกุล. องค์ความรู้ที่จำเป็นในการสู้ภัยน้ำท่วม 

		 แผ่นดินถล่ม ของประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก : URL: เข้าถึงได้

		 จาก : URL: http://www.gwpthailand.org/modules.php?name=

		 Content&pa=showpage&pid=13. 27 เมษายน 2552.
	 9.	 Michel-Claude GIRARD and Colette M. GIRARD, 2003.

		 Processing of Remote Sensing Data. A.A. BALKEMA

		 PUBLISHERS. Paris. pp. 33-54
	 10.	 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การ	
		 มหาชน). การบริการข้อมูลจากดาวเทียม เข้าถึงได้จาก : 

		 URL: http://www.gistda.or.th/. 27 เมษายน 2552.
	 11.	 Wikipedia.Global Positioning System .Retrieved from the 

		 World Wide Web: http://en.wikipedia.org/wiki/GPS#Satellite_

		 frequencies. April 27, 2009
	 12.	 GPS ทำงานอย่างไร.เข้าถึงได้จาก : URL: http://www.bloggang.com/

		 viewdiary.php?id=bwon&month=02-2008&date=07&group=2&

		 gblog=5, 27 เมษายน 2552. 27 เมษายน 2552.



วิศวกรรม : สำรวจ
เทคโนโลยีการสำรวจด้านธรณีวิทยา (Surveying Technology for Geology)

More Related Content

Featured

2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by HubspotMarius Sescu
 
Everything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTEverything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTExpeed Software
 
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsProduct Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsPixeldarts
 
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthThinkNow
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfmarketingartwork
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024Neil Kimberley
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)contently
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024Albert Qian
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsKurio // The Social Media Age(ncy)
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Search Engine Journal
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summarySpeakerHub
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Tessa Mero
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentLily Ray
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best PracticesVit Horky
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementMindGenius
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...RachelPearson36
 

Featured (20)

2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot
 
Everything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTEverything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPT
 
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsProduct Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
 
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
 
Skeleton Culture Code
Skeleton Culture CodeSkeleton Culture Code
Skeleton Culture Code
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 

เทคโนโลยีการสำรวจด้านธรณีวิทยา โยธาสาร23

  • 1. CIVIL ENGINEERING MAGAZINE 55 วิศวกรรม : สำรวจ ธีระ ลาภิศชยางกูล* บทนำ พื้นภูมิประเทศบนโลกประกอบไปด้วยลักษณะของชั้นดินที่ แตกต่างกันไปแต่ละสถานที่และทับถมสิ่งต่างๆ อยู่ในชั้นดินสิ่งเหล่านี้ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ในการศึกษาลักษณะข้อมูลส่วนประกอบต่างๆ และกระบวนการ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ของโลกที่เกิดขึ้นในชั้นดินเช่น หิน ดิน แร่ ฯ ทั้งในระดับโครงสร้างจนถึงส่วนย่อยๆ และปัจจัยต่างๆ จึงเป็นเรื่อง ที่กระทำได้ยาก ดังนั้นในวิชาทางด้านธรณีวิทยา (Geology) นักธรณีวิทยา และนักภูมิศาสตร์จึงต้องออกแบบ วิจัย วิเคราะห์ ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการสำรวจพื้นโลกเพื่อเรียนรู้และเข้าใจสำหรับ เทคโนโลยีการสำรวจ... ...ด้านธรณีวิทยา Surveying Technology for Geology การทำนายความเป็นไปของพื้นโลก ในอนาคตได้อย่างถูกต้อง มากยิ่งขึ้น แล้วนำความรู้นำไปประยุกต์ใช้ในงาน อื่นๆ เช่น การวางแผนพัฒนา การ หาวัตถุดิบ อุตสาหกรรม การทำ เหมืองแร่ การก่อสร้างต่างๆ รวมทั้ง ถนนหนทาง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในการท่องเที่ยว เป็นต้น ในรูปแบบ ของแผนที่ธรณีวิทยาแบบต่างๆ เช่น แผนที่ธรณีวิทยารากฐาน แผนที่ ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม แผนที่ธรณี วิทยาโครงสร้าง แผนที่ธรณีวิทยา แหล่งหิน การสำรวจทำแผนที่ธรณี วิทยาจะต้องมีการดำเนินการอย่างมี มาตรฐาน มีวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็น ขั้นตอน เพื่อข้อมูลที่ได้จะมีประสิทธิภาพ สูงสุด [1]
  • 2. 56 โยธาสาร วิศวกรรม : สำรวจ เทคโนโลยีการสำรวจด้านธรณีวิทยา (Surveying Technology for Geology) จากเดิมการสำรวจด้านธรณีวิทยาจะต้องเดินทางเข้าสู่พื้นที่ที่ต้องการศึกษาเพื่อทำการเก็บ หิน ดินและแร่ พร้อมกับกำหนดตำแหน่งด้วยแผนที่ แล้วนำมาทดสอบเพื่อหาชนิดของดินนั้น ซึ่งการทำงานในลักษณะดังกล่าว จึงใช้เวลานานและเสียค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งผู้ที่ทำการสำรวจต้องมีความรู้และความชำนาญสูงในการจำแนก ในปัจจุบันเทคโลยีการสำรวจด้านธรณีวิทยามีความก้าวหน้ามากและได้มีการพัฒนาเทคนิคการศึกษาพร้อมกับ เครื่องมือต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การทำงานดำเนินไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำมากที่สุด ก่อนเข้าสู่พื้นที่ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ที่เข้ามาช่วยให้มนุษย์สำรวจโลกได้อย่างลึกซึ้ง ได้แก่ แผนที่ระบบสารสนเทศ ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing: RS) และระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียมจีพีเอส (Global Positioning System: GPS) อีกทั้ง ด้วยเทคโนโลยีของการถ่ายภาพดาวเทียม การหาตำแหน่งพิกัดบนพื้นโลกด้วยดาวเทียมจีพีเอส พร้อมการ สร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนคอมพิวเตอร์ทำให้ลักษณะพื้นผิวหรือดินใต้พื้นโลก ได้รับการตรวจสอบจากข้อมูลที่มีความถูกต้องสูง สามารถค้นหาพร้อมนำมาใช้งานและพัฒนาด้านธรณีวิทยา ได้อย่างรวดเร็ว การสำรวจและทำแผนที่ธรณีวิทยา ในการสำรวจทางด้านธรณีวิทยาจะกำหนดพื้นที่ ที่ต้องการศึกษาและบริเวณโดยรอบๆ จากการแปล ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพดาวเทียมและแผนที่สำหรับ เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการมองภาพรวมของพื้นที่ จากนั้น จึงวางแผนการสำรวจตามข้อมูลที่ได้ศึกษา พร้อมกับ เตรียมเครื่องมือสำรวจภาคสนามให้เหมาะสม เช่น ค้อน ธรณี เข็มทิศ เพื่อใช้วัดการเอียงเทของชั้นหินและ อุปกรณ์ช่วยสำรวจอย่างอื่น [1] หลังจากทำการสำรวจ แล้วข้อมูลที่ตั้งสมมติฐานไว้จะนำมาวิเคราะห์ ตรวจสอบ กับข้อมูลที่ได้รวบรวมจากการสำรวจหรือการเก็บ ตัวอย่างมาวิเคราะห์ ดังนั้นแผนที่ธรณีวิทยาจึงเป็น ข้อมูลพื้นฐานที่อธิบายลักษณะทางภูมิประเทศของพื้นที่ ที่ศึกษา โดยพบว่าเมื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับธรณีวิทยา ให้ละเอียดมากขึ้นจะช่วยนำไปสู่คำตอบที่เรายังไมทราบ เกี่ยวกับโลกและการเปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการ ทำแผนที่ธรณีวิทยาจะมีลักษณะการทำงานแบ่งออกได้ เป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ [1] [2] 1. การวางแผนการ สำรวจ (planning) 2. การออกสำรวจและเก็บข้อมูล ในสนาม (geological survey and data correction) และ 3. การเขียนรายงาน จากขั้นตอนการทำแผนที่ธรณีวิทยา ทั้ง 3 ขั้นตอน จะพบว่าการสำรวจในพื้นที่และเก็บข้อมูล มีความสำคัญอย่างมาก ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ อย่างถี่ถ้วนเพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในพื้นที่นั้น และบริเวณใกล้เคียง ถ้าไม่มีฐานข้อมูลในพื้นที่ก่อนการ ทำงานจะทำให้เสียเวลาในการตรวจสอบและค่าใช้จ่าย ที่สูง อีกทั้งพื้นดินของโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การติดตามข้อมูลก็เป็นส่วนที่สำคัญ ดังนั้นเทคโนโลยี ทางด้านการสำรวจจึงเป็นส่วนที่สำคัญในการเก็บข้อมูล ค้นหา แสดงผลและนำไปใช้ อีกทั้งยังสามารถเผยแพร่ ให้แก่บุคคลทั่วไปได้อย่างรวดเร็วทันทีถ้ามีเหตุการร้ายแรง ทางด้านธรณีวิทยาในพื้นที่เช่น ดินถล่ม ภัยแล้ง ฯ ลักษณะแผนที่ทางธรณีวิทยาของโลกจะแสดงตำแหน่ง ขนาด ระยะทาง ความสูง-ต่ำ รูปร่าง ตลอดจนการ กระจายของวัตถุพื้นโลกเช่น ดิน หินและแร่ธาตุฯ พร้อม ทั้งลักษณะเฉพาะของข้อมูลนั้นๆ เพื่อให้ผู้ใช้แผนที่ ทราบความสัมพันธ์ของข้อมูลกับที่ตั้งของแหล่งข้อมูล อื่นๆ ที่สัมพันธ์กับพื้นที่ที่ศึกษา ในการวิเคราะห์และ วัดระดับความสัมพันธ์ของข้อมูลประเภทต่างๆ ที่มี ต่อกัน ดังนั้นข้อมูลทางด้านธรณีวิทยาจึงเป็นส่วนหนึ่ง ที่สำคัญในการบริหารและจัดการเพื่อใช้ในการพัฒนา
  • 3. CIVIL ENGINEERING MAGAZINE 57 พื้นที่และการวางแผนต่างๆ ตามแต่ละวัตถุประสงค์ เช่น การสร้างแหล่งน้ำเพื่อผลิตน้ำประปา การตั้งโรงงาน ผลิตกระแสไฟฟ้า การให้บริการระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การหาแหล่งกำจัดขยะ บริเวณที่เสี่ยงต่อ การเกิดภัยธรรมชาติ เป็นต้น [3] ซึ่งข้อมูลที่ปรากฏใน แผนที่หนึ่งๆ นอกจากจะต้องมีความถูกต้อง ทันสมัยแล้ว ยังจะต้องมีความละเอียดมากเพียงพอและเหมาะสม กับวัตถุประสงค์ของการนำเอาไปใช้ประโยชน์ด้วย ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) จากเทคโนโลยีทางด้านระบบคอมพิวเตอร์สำหรับ สร้างแผนที่ดิจิตอล (Digital Map) ที่ล้ำหน้าทำให้เกิด ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ขึ้นมาเพื่อลด ข้อจำกัดของการใช้แผนที่แบบเดิมในรูปแบบกระดาษ ดังรูปที่ 1 ทำให้ข้อมูลที่มีหลากหลายประเภท แต่ละชนิด แบ่งออกเป็นชั้นๆ (Layer) ที่สามารถเปิด-ปิดในการแสดง ผลหรือวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็น ตามความต้องการได้ อย่างรวดเร็ว ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ จึงถือว่า เป็นระบบเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง ในการสร้างแผนที่ดิจิตอลที่ช่วยลดข้อจำกัดของแผนที่ รูปที่ 1 เปรียบเทียบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กับแผนที่ บนกระดาษในการจัดการข้อมูล [4] รูปที่ 2 นำเสนอข้อมูลในรูปแบบจำลอง 2 และ 3 มิติบนระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ [4] GIS (การสอบถามเชิงพื้นที่) (การวิเคราะห์เชิงพื้นที่) (คอมพิวเตอร์กราฟฟิก) (ดำเนินงานด้วยมือ) ไม้บรรทัด,วงเวียน,เครื่องคิดเลขฯลฯ (กล้องขยาย) แผนที่ในรูปกระดาษ ชื่อ..... การใช้.... โครงสร้าง.... กฎเกณท์... การใช้ที่ดิน... ชื่อ..... การใช้.... โครงสร้าง.... แบบกระดาษลงไปได้แล้วยังจะช่วยเชื่อมโยง ผสมผสาน ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) ที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งและ ลักษณะของวัตถุในบริเวณที่ต้องการศึกษาในรูปแบบ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏในแผนที่ ที่เป็นจุด (ตำแหน่ง) เป็นเส้นและเป็นพื้นที่ กับข้อมูลเชิงบรรยาย (non-Spatial data) รายละเอียดของวัตถุทางด้าน ความจุ ขนาด ความสามารถฯ ในฐานข้อมูล เพื่อขยายความให้แก่ สัญลักษณ์นั้นๆ มากขึ้น พร้อมทั้งดัดแปลงแก้ไขและ วิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลในเชิงตรรกยะ (Logic) หรือทางสถิติและคณิตศาสตร์ สำหรับแสดงผลการ วิเคราะห์นำเสนอข้อมูลในรูปแบบจำลอง 2 และ 3 มิติ ดังรูปที่ 2 เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ทางด้านพื้นที่ของ ข้อมูลในการนำไปใช้งาน ซึ่งทำให้เข้าใจและประกอบ การตัดสินใจในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนการใช้ ทรัพยากรเชิงพื้นที่บริเวณนั้น
  • 4. รูปที่ 4 การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการจัดชั้นดินของ กรมพัฒนาที่ดิน [7] รูปที่ 3 ลำดับขั้นตอนในการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการ จัดการกับพื้นที่เสี่ยงภัย [5] 58 โยธาสาร วิศวกรรม : สำรวจ เทคโนโลยีการสำรวจด้านธรณีวิทยา (Surveying Technology for Geology) ในประเทศไทยมีการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มาใช้ในการจัดการด้านธรณีวิทยาในหลายๆ ด้าน เช่น การจำแนกชั้นดิน การตรวจสอบสภาพของดินฯ เพื่อ ตรวจสอบผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติ ซึ่งการนำระบบสารสนเทศมาใช้จะทำให้ป้องกันความ รุนแรงที่มีระดับมากกว่า เทียบเท่า หรือน้อยกว่าที่ แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของโลกตามช่วงเวลา หรือฤดูกาลได้แก่ แผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วม ดินถล่ม และการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งธรณีพิบัติภัยเหล่านี้มีความ สัมพันธ์กัน ยกตัวอย่างเช่น การเกิดแผ่นดินไหว อย่างรุนแรงในทะเลก่อให้เกิดสึนามิพัดเข้าสู่ชายฝั่ง [6] ดังนั้นในการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ในการ วางแผนจัดการธรณีวิทยาให้ประสบความสำเร็จจะลด ผลกระทบและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจำเป็นต้องมี องค์ประกอบในการศึกษาดังรูปที่ 3 ที่แสดงแนวทาง 1. เตรียมข้อมูล 2. การเก็บรวบรวมและตรวจสอบ 3. วิเคราะห์และแสดงผล 4. ประเมินผลในพื้นที่เสี่ยง 5. ประเมินความเสียหาย และความเสี่ยง 6. วางแผนและจัดการในพื้นที่จริง จัดการด้านธรณีวิทยาการป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติ ส่วนทางด้านเกษตรกรรมการมีแผนที่ธรณีวิทยาทำให้ การหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มฯ สามารถหาพื้นที่ ที่เหมาะสมในการลงทุนก่อนการเพาะปลูกได้เช่นกัน ดังรูปที่ 8 เป็นการใช้ฐานข้อมูลกลุ่มดินในพื้นที่จังหวัด เชียงใหม่ อำเภอเชียงดาว การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing: RS) ในการทำงานด้านการสำรวจระยะไกลจะเกี่ยวข้อง กับภาพดาวเทียมที่ปรากฎรายละเอียดต่างๆ ของวัตถุ บนหรือใต้พื้นที่ที่ต้องการศึกษา ในลักษณะของภาพ เชิงเลข (Digital Image) ที่ประกอบด้วยจุดภาพที่ต่อเนื่อง กันและมีค่าความสว่างของแต่ละจุดภาพแตกต่างกันไป ตามค่าการสะท้อนของพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าจากวัตถุ ที่อยู่บนหรือใต้พื้นโลกดังรูปที่ 5 โดยภาพดาวเทียมที่ได้ จะนำไปประมวลผลเพื่อทำการจำแนกข้อมูล โดยใช้การ ตัดสินใจ ประสบการณ์ของผู้ทำงานโดยตรงและกลุ่ม ตัวอย่างที่เป็นพื้นที่อ้างอิงที่มีความสัมพันธ์ที่คล้ายกับ รายละเอียดบนภาพ ทำให้การสำรวจพื้นที่ที่ต้องการ สามารถตรวจสอบได้อย่างรวดเร็วและมีความถูกต้องสูง จากความละเอียดของจุดภาพในระดับเซนติเมตรถึง เมตร สิ่งเหล่านี้ทำให้แผนที่ธรณีวิทยาสามารถตรวจ สอบและจำแนกได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญของ ภาพดาวเทียมคือช่วงคลื่นและการตรวจจับ (Sensors) รายละเอียดบนพื้นโลกจากคลื่นที่สะท้อนจากวัตถุเอง
  • 5. รูปที่ 5 ภาพจากดาวเทียม Landsat 7 ระบบ ETM+ (Enhance Thematic Mapper Plus) [8] รูปที่ 6 a) Passive and b) Active Sensing System. [9] CIVIL ENGINEERING MAGAZINE 59 หรือจากการส่งพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องตรวจ จับบนดาวเทียมที่โคจรอยู่นอกโลกเอง การรับและ ส่งผ่านพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามายังดาวเทียมเพื่อ แปลงสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้เป็นภาพดาวเทียม ที่ใช้ในการทำแผนที่จะแบ่งการตรวจวัดพลังงงาน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็น 2 ประเภท [9] คือ 1. Passive Sensing System เป็นระบบการตรวจจับ ที่ได้รับพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาจาก ธรรมชาติเช่น ดวงอาทิตย์ ความร้อนในพื้น ผิวโลกแล้วสะท้อนกลับมายังระบบตรวจจับ ของดาวเทียม ดังรูปที่ 9 a) แสดงแหล่ง พลังงานและลักษณะการกระจายของพลังงาน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสู่เครื่องตรวจจับแบบ Passive Sensing System 2. Active Sensing System เป็นระบบการตรวจจับ ที่ดาวเทียมจะทำการส่งพลังงานลงไปกระทบ กับวัตถุแล้วสะท้อนกลับมายังระบบตรวจจับ ของดาวเทียมโดยส่วนใหญ่จะใช้คลื่นไมโครเวฟ เรดาร์ ดังรูปที่ 9 b) แสดงแหล่งพลังงานและ ลักษณะการกระจายของพลังงานคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าสู่เครื่องตรวจจับแบบ Active Sensing System ภาพดาวเทียมในการสำรวจระยไกลได้จากดาวเทียม สำรวจทรัพยากรธรรมชาติที่ทำการสำรวจพื้นดิน ป่าไม้ และแม่น้ำ สำหรับพยากรณ์และตรวจสอบการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งในประเทศไทยโดยสำนักงาน พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การ มหาชน) เป็นผู้ดูแลและจำหน่ายข้อมูลภาพดาวเทียม b) Active Sensing System. a ) Passive Sensing System. เช่น Landsat-7, Radarsat – 1, IRS – 1C and 1D, Spot 4-5, Noaa สำหรับใช้งานในด้านสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งแต่ละดาวเทียมมีความละเอียดที่แตกต่างกันตั้งแต่ 10-100 เมตร ขึ้นอยู่กับรูปแบบการตรวจจับและช่วงคลื่น ที่ใช้บนดาวเทียมแต่ละดวง ถ้าเป็นลักษณะของ ดาวเทียมความละเอียดสูงจะมีความละเอียดของจุด ภาพน้อยกว่า 10 เมตร เช่น ดาวเทียม IKONOS, EROS, Quickbird, OrbView, WorldView, GEOEYE, ALOS และ THEOS โดยเฉพาะ THEOS เป็นดาวเทียมดวงแรก ของไทยที่มีความละเอียดภาพแบบ Panchromatic (ช่วงคลื่นเดียว) ที่ 2 เมตรและแบบ Multispectral (หลายช่วงคลื่น) ที่ 15 เมตร [10] จุดแข็งของเทคโนโลยี การสำรวจระยะไกลคือสามารถทำการศึกษาพื้นที่ ที่ทุรกันดาร ยากในการเข้าสำรวจ ประหยัดเวลาและ
  • 6. 60 โยธาสาร งบประมาณในการศึกษาสภาพแวดล้อมหรือลักษณะ ของพื้นที่ที่ทำการศึกษา ส่วนจุดอ่อนก็คือ ผลการศึกษา จะเป็นข้อมูลเชิงบรรยายและภาพดาวเทียม ทำให้ ผู้ใช้งานทั่วไปที่ไม่มีความรู้ ความชำนาญด้านนี้และ ลักษณะพื้นที่ในการแปลภาพดาวเทียม ไม่สามารถ ได้ข้อมูลที่มีถูกต้องและน่าเชื่อถือสำหรับนำไปใช้งาน อย่างถูกต้อง [8] ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System: GPS) เป็นระบบหาพิกัดของตำแหน่งบนพื้นโลกที่ สัมพันธ์กับพื้นหลักฐานอ้างอิงที่กำหนด โดยดาวเทียม จีพีเอสจะทำการส่งสัญญาณมายังเครื่องรับเพื่อกำหนด พิกัดบนพื้นโลกหรือที่เรียกกันว่า จีพีเอส (Globe Position System ,GPS) แล้วทำการประมวลผลออกมาเป็น ตำแหน่งค่าพิกัดทางราบและดิ่งบนพื้นผิวโลกจุดนั้น ซึ่ง จะมีความถูกต้องสูงในระดับเซนติเมตร ทำให้การหา พิกัดด้วยดาวเทียมจีพีเอสจึงเป็นเทคโนโลยีสะดวก รวดเร็วและไม่ว่าจะอยู่บนพื้นผิวโลกที่ใดก็จะทราบว่า อยู่ตำแหน่งใดบนโลกได้อย่างถูกต้องเสมอ สำหรับรับ และส่งข้อมูลจากดาวเทียมไปยังสถานีภาคพื้นดินบน โลกหรือเครื่องรับสัญญาณจะประกอบไปด้วยรหัส และความถี่ ซึ่งรหัสเป็นข้อมูลของดาวเทียม ตำแหน่ง และเวลามีด้วยกัน 4 แบบ [11] คือ 1. รหัสC/A code (Coarse/Acquisition Code) มี ขนาด 1/10 ของความถี่พื้นฐานคือ 1.023 MHz ความยาวคลื่นเท่ากับ 300 เมตร มีคาบเป็น 1 ใน 1,000 วินาที 2. รหัส P Code (Precision Code) มีความถี่ เท่ากับความถี่พื้นฐาน 10.23 MHz มีความยาว คลื่นเท่ากับ 30 เมตร มีคาบเป็น 267 วัน นั่น แสดงว่าในช่วง 267 วันจะส่งรหัส P ที่ไม่ ซ้ำกันออกมาจึงทำให้ยากแก่การตรวจสอบว่า รหัส P ที่ใช้แต่ละวันเป็นส่วนไหนของรหัส 3. รหัส Y Code เป็นรหัสที่เกิดจาการรวมกันของ C/A code และ P Code รวมกันเพื่อให้ได้ ตำแหน่งที่มีความถูกต้องสูงและป้องกันการ รบกวนของสัญญาณในเครื่องรับจีพีเอส 4. รหัส M Code (Military Code) จะใช้ในดาวเทียม รุ่นใหม่รุ่น Block IIR-M ที่ความถี่ของ L2 มอดู เลตเข้าด้วยกัน ซึ่งจะมีความสามารถในการ ต้านทานการรบกวนของสัญญาณและการ หน่วงของเวลาในชั้นบรรยากาศ จากรหัสทั้ง 4 แบบรหัสC/A code จะใช้สำหรับบุคคล ทั่วไป ส่วนรหัส P Code, Y Code and M Code จะใช้ สำหรับงานทางด้านทหาร ในการส่งสัญญาณรหัสจะถูก มารวมกับคลื่นวิทยุเพื่อทำการส่งและรับข้อมูลซึ่งจะมีอยู่ ด้วยกัน 5 แบบ [11] คือ 1. คลื่นวิทยุแบบ L1 มีความยาวคลื่นเท่ากับ 1,575.42 MHz จะมีทั้งรหัสแบบ C/A code และ P Code ประกอบในการรับและส่งข้อมูล 2. คลื่นวิทยุแบบ L2 มีความยาวคลื่นเท่ากับ 1,227.60 MHz จะมีทั้งรหัสแบบ P code และ Y Code ประกอบในการรับและส่งข้อมูลที่ทำ การควบคุมจากรัฐบาลอเมริกาสำหรับใช้ใน ทางทหารซึ่งจะมีความถูกต้องสูง 3. คลื่นวิทยุแบบ L3 มีความยาวคลื่นเท่ากับ 1,381.05 MHz จะในสัญญาณของเครื่องรับ จีพีเอสเพื่อทำการตรวจจับตำแหน่งของ ขีปนาวุธ แหล่งนิวเคลียร์และแหล่งกำเนิดคลื่น ความร้อนจากรังสีอินฟาเรด 4. คลื่นวิทยุแบบ L4 มีความยาวคลื่นเท่ากับ 1,841.40 MHz จะใช้ในการศึกษาความถูกต้อง ของชั้นบรรยากาศไอโอโนสเพียร์ 5. คลื่นวิทยุแบบ L5 มีความยาวคลื่นเท่ากับ 1,176.45 MHz จะใช้สำหรับพลเรือนทั่วไปและ ตำแหน่งของเครื่องบินพลเรือนเพื่อป้องกัน อันตรายและความเสียหาย วิศวกรรม : สำรวจ เทคโนโลยีการสำรวจด้านธรณีวิทยา (Surveying Technology for Geology)
  • 7. CIVIL ENGINEERING MAGAZINE 61 จากรหัสและคลื่นวิทยุที่ใช้ในการส่งข้อมูลของดาวเทียม จีพีเอสที่ใช้ทำงานทั่วไปจะเป็นความถี่แบบ L1 และ L2 ซึ่งให้ความถูกต้องสูงถ้าเครื่องรับสัญญาณหาค่าพิกัด สามารถรับได้ทั้ง 2 ความถี่และทำงานได้รวดเร็วกว่า เครื่องรับสัญญาณหาค่าพิกัดแบบความถี่เดียวที่ใช้เวลา ในการประมวลผลนานกว่า ซึ่งการทำงานด้วยเครื่อง หาพิกัดตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียมนี้จะทำให้เรา ทราบค่าพิกัดและวางแผนในการกำหนดตำแหน่งบน ภูมิประเทศได้อย่างรวดเร็ว สำหรับใช้ในการอ้างบนพื้น โลกที่ใดก็ได้ เพราะในระบบจะมีพื้นหลักฐานในการ อ้างอิงค่าพิกัดกับระบบสากลที่สามารถใช้ทั่วไปที่ใด บนโลกก็ได้ ในปัจจุบันจะพบว่ามีการนำไปใช้ติดตาม รถยนต์และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อตรวจสอบตำแหน่งหรือ ป้องกันการจารกรรมและเดินทาง เช่น รถยนต์ และ เครื่องบินอย่างกว้างขวาง รูปที่ 7 การหาตำแหน่งพิกัดด้วยดาวเทียมจีพีเอส [12] Distance Distance Distance Distance GPS Receiver
  • 8. 62 โยธาสาร บรรณานุกรม 1. กรมทรัพยากรธรณี. การสำรวจและทำแผนที่ธรณีวิทยา.เข้าถึง ได้จาก : URL: http://ecurriculum.mv.ac.th/science/m2/sci2_513/ survey.htm. 16 เมษายน 2552. 2. เพียงตา สาตรักษ์ ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. การทำแผนที่ธรณีวิทยา (Geologic Mapping). เข้าถึงได้จาก : URL: http://home.kku.ac.th/peangta/ s664306-ch11-map.htm. 21 เมษายน 2552. 3. สามารถ ดวงวิจิตร. GIS : ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการ พัฒนา. เข้าถึงได้จาก : URL: http://artsmen.net/content/ show.php?Category=technoboard&No=3280. 22 เมษายน 2552. 4. วิเชียร จาฏุพจน์ ภาควิชาธรณีศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.หน้าที่หลักของ GIS. เข้าถึงได้จาก : URL: http://www.envi.psu.ac.th/gis/gis/5duty_gis.htm. 22 เมษายน 2552. 5. สมบัติ อยู่เมือง.การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และข้อมูลจากการสำรวจระยะไกล (Remote sensing) เพื่อการ บริหารจัดการภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากดินถล่ม – น้ำปนตะกอนบ่า – น้ำหลาก และน้ำท่วมขังในพื้นที่ภาคเหนือ ปี พ.ศ. 2549.เข้า ถึงได้จาก : URL: http://www.gisthai.org/map-galery/Flood%20 North49/Poster1/poster1.html. 22 เมษายน 2552. 6. สมบัติ อยู่เมือง.ความรู้ด้านธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์เชิงระบบ จากภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิสำหรับระบบเฝ้าระวังและการ จัดการเพื่อลดผลกระทบในอนาคต. เข้าถึงได้จาก : URL: สรุป จากเทคโนโลยีต่างๆ ในการสำรวจข้อมูลเพื่อนำมาทำแผนที่ธรณีวิทยาทั้ง 3 แบบคือ ระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ การสำรวจระยะไกลและระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก เป็นเครื่องมือสำคัญในการอำนวยความสะดวก เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโลกใบนี้ได้อย่างละเอียดชัดเจน แม่นยำ และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะพบว่า เทคโนโลยีที่ใช้ในขั้นตอนแรกจะเป็นภาพดาวเทียมจากการสำรวจระยะไกลและการหาตำแหน่งพิกัดจากดาวเทียมจีพีเอส ในการเก็บข้อมูลและสร้างแผนที่ขึ้นมา ส่วนระบบสารสนเทศภูมิศาสร์เป็นการนำข้อมูลแผนที่และรายละเอียดมาเก็บ ในฐานข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงกันแล้วแสดงผลในแบบ 2 และ 3มิติ ตลอดทำการวิเคราะห์ในการตัดสินใจและวางแผน บนพื้นที่ที่ศึกษา ทำให้เห็นว่าการทำงานของระบบทั้งสามมีความสัมพันธ์ เมื่อนำเทคโนโลยีทั้งสามนี้มาร่วมกันไปใช้ ในการสำรวจโลกทำให้เกิดประโยชน์ ในเรื่องของการตั้งถิ่นฐาน การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรในดินและภัยพิบัติที่กำลัง เกิดในขณะนี้บนโลก สำหรับนำไปปรับใช้ในการวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ ในการป้องกันเพื่อประโยชน์สุข ของมนุษย์ต่อไปในอนาคต http://www.gisthai.org/resource/tsunami/TSUNAMI%20Paper% 20for%2016-3-05_a4.pdf. 22 เมษายน 2552. 7. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.ระบบฐานข้อมูล กลุ่มชุดดิน. เข้าถึงได้จาก : URL: เข้าถึงได้จาก : URL: http:// www.gissite3.ldd.go.th/viewer.cfm?wClause=ADM_ID= 1090205&areaLevel=2&areaId=1090205. 22 เมษายน 2552. 8. กัมปนาท ภักดีกุล. องค์ความรู้ที่จำเป็นในการสู้ภัยน้ำท่วม แผ่นดินถล่ม ของประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก : URL: เข้าถึงได้ จาก : URL: http://www.gwpthailand.org/modules.php?name= Content&pa=showpage&pid=13. 27 เมษายน 2552. 9. Michel-Claude GIRARD and Colette M. GIRARD, 2003. Processing of Remote Sensing Data. A.A. BALKEMA PUBLISHERS. Paris. pp. 33-54 10. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การ มหาชน). การบริการข้อมูลจากดาวเทียม เข้าถึงได้จาก : URL: http://www.gistda.or.th/. 27 เมษายน 2552. 11. Wikipedia.Global Positioning System .Retrieved from the World Wide Web: http://en.wikipedia.org/wiki/GPS#Satellite_ frequencies. April 27, 2009 12. GPS ทำงานอย่างไร.เข้าถึงได้จาก : URL: http://www.bloggang.com/ viewdiary.php?id=bwon&month=02-2008&date=07&group=2& gblog=5, 27 เมษายน 2552. 27 เมษายน 2552. วิศวกรรม : สำรวจ เทคโนโลยีการสำรวจด้านธรณีวิทยา (Surveying Technology for Geology)