SlideShare a Scribd company logo
1 of 48
Download to read offline
วิชา องค์การและการจัดการ (221210)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์มัลลิกา ผ่องแผ้ว
คาอธิบายรายวิชา
หลักในการบริหารและหน้าที่สาคัญของฝ่ายบริหาร ซึ่งรวมถึงการวางแผน
การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทางาน การจูงใจคนในการทางาน และควบคุม
ภาระปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้การดาเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและนโยบายที่
วางไว้มีความรู้เกี่ยวกับบรรษัทภิบาล และจรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจ
วัตถุประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจความหมายของ องค์การ การจัด
องค์การ
2. เพื่อให้นักศึกษาจาแนกประเภทขององค์การ ลักษณะขององค์การและ
โครงสร้างขององค์การได้
3. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจสามารถอธิบายถึงทฤษฎีองค์การที่
กล่าวถึงการศึกษาองค์การในรูประบบตลอดถึงการนาไปใช้ให้เหมาะสมกับ
บริบทขององค์การ
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับองค์การ
วิชา องค์การและการจัดการ (221210)
บทนา
การประกอบการทุกประเภท ทุกระดับต้องมีการทางานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
องค์การเป็นที่รวมของคน และงานต่างๆ เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่าง
เต็มที่ จึงจาเป็นต้องจัดแบ่งหน้าที่การงานกันทา และมอบอานาจให้รับผิดชอบ
ตามความสามารถและความถนัดการจัดองค์การ เป็นการจัดระบบ
ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนงานต่างๆ และบุคคลในองค์การ โดยกาหนดภารกิจ
อานาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้ชัดแจ้ง เพื่อให้การดาเนินงานตามภารกิจ
ขององค์การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
หัวข้อประกอบการเรียน
ข้อแตกต่างระหว่าง องค์กร และ องค์การ
ความหมายของ “องค์การ”
ลักษณะขององค์การ
ประเภทของ “องค์การ”
แผนผังขององค์การ (Organization Chart)
องค์ประกอบหลักขององค์การ
โครงสร้างขององค์การ
ข้อแตกต่างระหว่าง องค์กร และ องค์การ
ข้อแตกต่างระหว่าง องค์กร และ องค์การ
องค์กร มีความหมายว่า บุคคล และคณะบุคคล หรือสถาบัน ซึ่งเป็น
ส่วนประกอบของหน่วยงานใหญ่ที่ทาหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน
องค์การ มีความหมายว่า ศูนย์รวมกลุ่มบุคคลหรือกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็น
หน่วยงานเดียวกัน เพื่อดาเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ในกฎหมาย
หรือในตราสารจัดตั้งซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การของรัฐบาล
หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทจากัด สมาคม หรือหน่วยงานระหว่างประเทศ
เช่น องค์การสหประชาชาติ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2552 )
ความหมายของ “องค์การ”
องค์การ คือ ระบบของกลุ่มกิจกรรมที่มีการประสานงานระหว่างกันหรือการ
รวมกลุ่มของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่ง (Chester I. Barnard) ได้ทาการ
ยกตัวอย่างไว้ เช่น ลูกเรือ 2 คนที่กาลังช่วยกันหาปลาทูน่าก็นับเป็นองค์การ
หนึ่ง เช่นเดียวกับบริษัทStar Kist Tuna Co. เนื่องจากลูกเรือทั้งสองคนมิได้
หาปลาเพราะความสนุก แต่เพื่อดารงชีพ ( Angelo Kinicki, Brain Williams.
(2552) หนังสือองค์การและการจัดการ แปลและเรียบเรียงโดย กิ่งกาญจน์ วรนิทัศน์, ธีร
ศักดิ์ กัญจนพงศ์, บุตรี จารุโรจน์, ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์, โศภชา อรัญวัฒน์, โสภณ แย้มกลิ่น
และ ดร.เบญจมาภรณ์ อิศรเดช. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.)
ความหมายของ “องค์การ”
องค์การ หมายถึง การนาเอาส่วนต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันมารวมกันอย่างมี
ระเบียบ หรือเป็นการรวมกลุ่มกันอย่างมีเหตุผลของบุคคลกลุ่มหนึ่ง เพื่อเป็น
ศูนย์อานวยการให้การดาเนินงานลุล่วงไปตามเป้าหมายที่กาหนดไว้ โดยมีการ
ใช้อานาจการบริหารที่ชัดเจนมีการแบ่งงานและหน้าที่ มีลาดับขั้นของการ
บังคับบัญชาและความรับผิดชอบ (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
ลักษณะขององค์การ
1. องค์การคือกลุ่มของบุคคล (Organization as a Group of People) เป็น
กลุ่มของบุคคลที่มีเป้าหมายร่วมกัน ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ
2. องค์การคือโครงสร้างของความสัมพันธ์ (Organization as a Structure
of Relationship) เป็นความรับผิดชอบระหว่างหน่วยงาน ต่างๆ
3. องค์การเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งของการจัดการ (Organization as a
Function of Management) เป็นรูปของการจัดกิจกรรม หรืองานต่างๆ
ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเข้าไว้ด้วยกัน โดยกาหนดหน้าที่ (authority)
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ลักษณะขององค์การ (ต่อ)
4. องค์การคือกระบวนการ (Organization as a Process) ลาดับ ขั้นตอน
ความต่อเนื่อง การดาเนินงาน ก่อให้เกิดความรวดเร็ว ถูกต้อง และประหยัด
มีขั้นตอนดังนี้
การกาหนดเป้าหมาย (Determination of objectives)
การแบ่งงาน (Division of activities)
การจัดบุคคลเข้าทางาน (Fitting individuals into activities)
การสร้างความสัมพันธ์ (Developing relationships)
ลักษณะขององค์การ (ต่อ)
5. องค์การเป็นระบบอย่างหนึ่ง (Organization as a System) ส่วนรวมของ
สิ่งใดๆ ที่ประกอบด้วยส่วนย่อยๆ ที่จัดเรียงลาดับมีความเกี่ยวข้องกัน
ประเภทของ “องค์การ”
แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. องค์การแบบหวังผลกาไร (For-profit)
2. องค์การแบบไม่หวังผลกาไร (Non-profit)
3. องค์การแบบผลประโยชน์ตอบแทน (Mutual-benefit)
ประเภทของ “องค์การ”
1. องค์การแบบหวังผลกาไร (For-profit) หรือองค์การธุรกิจ ถูกสร้างขึ้นมา
เพื่อสร้างรายได้และผลกาไรจากการขายสินค้าและบริการ เมื่อคนส่วนใหญ่
นึกถึงการจัดการก็มักจะนึกถึงองค์การธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้า
ส่ง ร้านเสริมสวย ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า การทาไร่ เป็นต้น
ประเภทของ “องค์การ” (ต่อ)
2. องค์การแบบไม่หวังผลกาไร (Non-profit) ผู้จัดการคือนักบริหาร
(Administrator) และองค์การแบบนี้อาจเป็นองค์การในภาครัฐหรือเอกชนก็
ได้ เป้าหมายหลักขององค์การคือ การให้บริการแก่ลูกค้า มิใช่เพื่อแสวงหา
กาไร ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาล วิทยาลัยและองค์การสังคมสงเคราะห์
เป็นต้น
ประเภทของ “องค์การ” (ต่อ)
3. องค์การแบบผลประโยชน์ตอบแทน (Mutual-benefit) เป็นองค์การที่เรียก
เก็บค่าสมาชิกหรือเงินบริจาคต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือและรักษา
ผลประโยชน์ของสมาชิก เช่น พรรคการเมือง สหกรณ์การเกษตร สหภาพ
แรงงาน สมาคมการค้า เป็นต้น
แผนผังขององค์การ (Organization Chart)
แผนผังขององค์การนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงขนาดและรูปแบบขององค์การ
แล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกล่องและเส้นตรง (Box-and-lines
Illustration) ที่บอกถึงลาดับขั้นการบังคับบัญชาและตาแหน่งต่างๆ หรือ การ
แบ่งงานกันทาในองค์การ แผนผังองค์การมีลักษณะเหมือนต้นไม้ (Family-
tree-like Pattern) ซึ่งแต่ละเส้นตรงแสดงลาดับและความสัมพันธ์ของแต่ละ
ตาแหน่ง ประกอบด้วย 2 ลักษณะ ดังนี้
แผนผังขององค์การ (Organization Chart) (ต่อ)
1. อานาจหน้าที่ตามลาดับขั้นการบังคับบัญชาในแนวตั้ง (Vertical Hierarchy
of Authority) แสดงถึงสายการบังคับบัญชา ตามลาดับขั้นการบังคับบัญชาใน
แนวตั้ง และเครือข่ายการสื่อสาร ตัวอย่างเช่น ในองค์การแบบง่ายเจ้าของจะ
สั่งการกับเลขานุการหรือผู้ช่วยโดยตรง แต่ในกรณีที่องค์การมีความซับซ้อน
ประธานบริษัทจะสั่งการมายังรองประธานฯ แล้วให้รองประธานฯ สั่งการ
ต่อไปยังผู้ช่วยของเขา ตามลาดับ เป็นต้น
แผนผังขององค์การ (Organization Chart) (ต่อ)
CEO
T
M
F F
M
F F
T
M
F F
M
F F
T
M
F F
M
F F
แผนผังองค์การลักษณะแนวตั้ง (Vertical Hierarchy of Authority)
แผนผังขององค์การ (Organization Chart) (ต่อ)
2. ความชานาญเฉพาะด้านในแนวนอน (Horizontal Specialization)
เส้นตรงที่ลากไปทางด้านซ้ายและขวาในแผนผังองค์การแสดงถึงความ
ชานาญเฉพาะด้านในแนวนอนที่มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของงาน
เช่น กรณีบริษัทสิ่งพิมพ์ที่ดาเนินการบริหารโดยคู่สามีภรรยา อาจจ้างคนภายนอก
ทาหน้าที่ขายดูแลลูกค้าและการเงิน ส่วนทั้งคู่ทาหน้าที่ผลิตและวิจัย แต่ในกรณี
บริษัทใหญ่จะมีรองประธานบริษัท 1 คนต่อการทาหน้าที่ดูแลงานในแต่ละงาน
เป็นต้น
แผนผังขององค์การ (Organization Chart) (ต่อ)
CEO
M
F F
M
F F
M
F F
M
F F
M
F F
M
F F
แผนผังองค์การลักษณะแนวนอน (Horizontal Specialization)
องค์ประกอบหลักขององค์การ
1. มีเป้าหมายร่วมกัน (Common Purpose) จะสร้างเอกภาพในกลุ่มพนักงาน
และสมาชิกขององค์การและทาให้พวกเขาเข้าใจถึงเหตุผลของการดารงอยู่ของ
องค์การ
2. ความสามารถในการประสานงาน (Coordination Efforts) แสดงถึงลักษณะ
ของการมีเป้าหมายร่วมกันของสมาชิกองค์การ การประสานงานมีทั้งในระดับ
ระหว่างสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม และในระดับองค์การ ดังนั้นการประสานงานเป็นสิ่ง
ที่ขาดไม่ได้เนื่องจากสมาชิกแต่ละคนไม่สามารถทางานให้สาเร็จด้วยตัวคนๆ เดียวได้
องค์ประกอบหลักขององค์การ (ต่อ)
3. การแบ่งงานกันทา (Division of Labor) หรือความชานาญในงาน (Work
Specialization) คือการจัดการแยกงานออกเป็นส่วนต่างๆ และมอบหมายให้
สมาชิกแต่ละคนปฏิบัติ เนื่องจากเป็นงานบางอย่างที่มีความซับซ้อนและต้องใช้ความ
ชานาญเฉพาะอย่าง ดังนั้น ควรมอบหมายให้แก่ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในงานนั้นๆ
นาไปปฏิบัติ ซึ่งจะนาไปสู่ประสิทธิภาพในการทางาน
4. อานาจหน้าที่ตามลาดับขั้นสายการบังคับบัญชา (Hierarchy of Authority)
คือกลไกการควบคุม การเลือกบุคลากรที่เหมาะสมให้ทางานอย่างถูกต้อง ผู้จัดการ
จะมีอานาจมากขึ้นที่จะสั่งการบุคคลอื่นๆ แม้ในองค์การที่มีสมาชิกเป็นเจ้าของ
นอกจากนี้การใช้อานาจหน้าที่อย่างมีประสิทธิผลจาเป็นจะต้องเป็นไปตามลาดับขั้น
การบังคับบัญชา
องค์ประกอบหลักขององค์การ (ต่อ)
5. ขอบเขตแห่งการควบคุม (Span of control) แสดงจานวนบุคลากรที่ต้อง
รายงานโดยตรงต่อผู้จัดการคนหนึ่ง โดยขอบเขตแห่งการควบคุมมีอยู่ 2 ประเภท
คือ
ขอบเขตแห่งการควบคุมแบบแคบ หมายความว่าผู้จัดการมีจานวนคนที่ต้อง
รายงานตรงอย่างจากัด เช่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มีผู้บริหารระดับสูง 3 คนที่
ต้องรายงานโดยตรง แทนผู้บริหารระดับกลาง 4 คน ดังนั้นองค์การแบบนี้อาจ
เรียกว่า “องค์การแบบสูง” (Tall) ซึ่งมีระดับการบังคับบัญชาหลายระดับใน
ขอบเขตการควบคุมที่แคบ
องค์ประกอบหลักขององค์การ (ต่อ)
ประธาน
เจ้าหน้าที่บริหาร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้บริหารระดับกลาง
ผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับต้น
ผู้บริหารระดับกลาง
ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับสูง
ผู้บริหารระดับกลาง ผู้บริหารระดับกลาง
ผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับต้น
ลักษณะแคบ (หรือแบบสูง)
องค์ประกอบหลักขององค์การ (ต่อ)
ขอบเขตแห่งการควบคุมแบบกว้าง (Wide Span of Control) ผู้จัดการมีจานวน
คนที่ต้องรายงานมากขึ้น เช่นประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับกลาง 4 คนที่จะต้อง
รายงานตรงต่อเขา ดังนั้นองค์การแบบนี้โดยเฉพาะองค์การสายการผลิต อาจ
เรียกว่า “องค์การแบบแบนราบ” (Flat) ซึ่งมีระดับการบังคับบัญชาน้อยระดับใน
เขตของการควบคุมที่กว้างขึ้นกว่าแบบแรก
องค์ประกอบหลักขององค์การ (ต่อ)
ประธาน
เจ้าหน้าที่บริหาร
ผู้บริหารระดับกลาง
ผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับต้น
ผู้บริหารระดับกลาง ผู้บริหารระดับกลาง
ผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับต้น
ลักษณะกว้าง (หรือแบบราบ)
องค์ประกอบหลักขององค์การ (ต่อ)
6. ลักษณะเฉพาะของอานาจหน้าที่ อานาจหน้าที่ของบุคคลในองค์การมาจาก
การต่อสู้ แต่มาจากอานาจหน้าที่การจัดการขององค์การ อานาจหน้าที่
มีลักษณะดังนี้
ตรวจสอบได้ (Accountability) เนื่องจากอานาจหน้าที่หมายถึงสิทธิที่ได้รับจาก
ตาแหน่งหน้าที่ในการตัดสินใจ สั่งการและการใช้ทรัพยากรที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม
คาสั่ง หากขัดขืนก็จะมีการลงโทษในรูปแบบต่างๆ เช่น การไม่ได้เลื่อนตาแหน่งหรือ
ถูกไล่อกจากงาน เป็นต้น
องค์ประกอบหลักขององค์การ (ต่อ)
ความรับผิดชอบ (Responsibility) หมายถึงการยอมรับ (Obligation) ผลของงาน
ที่ได้ปฏิบัติแล้ว การออกแบบงานไม่ถูกต้อง ผู้จัดการมีอานาจมากแต่มีความ
รับผิดชอบน้อยจึงเกิดการใช้อานาจในทางที่ผิด ในทางตรงกันข้ามหากผู้จัดการมี
อานาจน้อยกว่าความรับผิดชอบ จะส่งผลให้ไม่สามารถปฏิบัติงานให้ลุล่วงได้
องค์ประกอบหลักขององค์การ (ต่อ)
การมอบหมายงาน (Delegation) คือกระบวนการมอบหมายอานาจหน้าที่และ
ความรับผิดชอบให้แก่บุคลากรสายการบังคับบัญชา ผู้จัดการจะมอบหมายงานให้
ผู้ใต้บังคับบัญชาให้มากเท่าที่จะทาได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทางาน แต่
ผู้ประกอบการมักติดกับดักของความเชื่อว่าตัวเองเท่านั้นที่จัดการได้ทุกสถานการณ์
ดังนั้น อานาจหน้าที่และความรับผิดชอบจะแสดงอยู่ในแผนผังองค์การทาให้เกิด
สายงาน 2 ประเภท ดังนี้
• สายงานหลัก (Line) ผู้จัดการสายงานหลัก (Line Managers) มีอานาจหน้าที่ในการ
ตัดสินใจและมีพนักงานรายงาน เช่น ประธานบริษัท รองประธานฯ ผู้อานวยหารงาน
บุคคลหรือหัวหน้างานบัญชี เป็นต้น ซึ่งจากแผนผังองค์การเส้นทึบในแนวดิ่งจะแสดง
สายงานหลัก
องค์ประกอบหลักขององค์การ (ต่อ)
• สายงานสนับสนุน (Staff) พนักงานสายงานสนับสนุน (Staff Personnel) มีหน้าที่ใน
การจัดการเครื่องมือ คาแนะนาและงานวิจัยให้กับสายงานหลัก เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้าน
กฎหมาย ด้านการควบรวมกิจการหรือการวางแผนกลยุทธ์ เป็นต้น โดยเส้นปะใน
แนวนอนแสดงสายงานสนับสนุน
องค์ประกอบหลักขององค์การ (ต่อ)
คณะกรรมการ
อานวยการ
ผู้อานวยการ
บริหารงานธุรการ
ผู้อานวยการ
บริหารงานแพทย์
ที่ปรึกษาด้าน
กฎหมาย
เจ้าหน้าที่บริหาร
ต้นทุน
ที่ปรึกษาด้านการ
วางแผนกลยุทธ์
ประธาน
เจ้าหน้าที่บริหาร
ประธาน
แผนผังสายงานการบังคับบัญชา
องค์ประกอบหลักขององค์การ (ต่อ)
7. ประเภทของอานาจหน้าที่ ประกอบด้วย
• แบบรวมอานาจ (Centralized Authority) เป็นการรวบรวมอานาจการตัดสินใจไว้ที่ผู้บริหาร
ระดับสูงขององค์การเท่านั้น จึงเหมาะกับการตัดสินใจเรื่องสาคัญของผู้บริหารระดับสูงในองค์การ
ส่วนใหญ่ เช่น Kmart และ McDonald’s เพื่อลดความซ้าซ้อนของการทางาน เนื่องจากมีคนร่วม
ในการตัดสินจานวนน้อย จึงควบคุมงานหรือสาหรับบริษัทขนาดเล็กที่เจ้าของเป็นผู้ตัดสินใจ
ทั้งหมด ทาให้พนักงานระดับล่างมีหน้าที่ไม่มีส่วนในการตัดสินใจต่างๆ
• แบบกระจายอานาจ (Decentralized Authority) เป็นการกระจายอานาจการตัดสินใจไปยัง
ผู้บริหารระดับกลางและระดับต้น ในส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการตัดสินใจที่ไม่สาคัญ เป็นอานาจ
หน้าที่ที่ถูกมอบหมายในองค์การที่ต้องพร้อมเผชิญกับสภาพแวดล้อม ตัวอย่างเช่น บริษัท
General Motors และ Sears Roebuck เป็นต้น
โครงสร้างขององค์การ
ประกอบด้วย
1. โครงสร้างอย่างง่าย (The Simple Structure) เหมาะสาหรับบริษัทเล็ก เป็น
การจัดโครงสร้างองค์การแบบแรกซึ่งจะพบได้ในบริษัทที่เพิ่งก่อตั้ง จะมีการ
รวมอานาจให้กับบุคคลคนเดียว มีกฎระเบียบเพียงไม่กี่ข้อและมีความชานาญ
ในงานระดับต่า
เจ้าของ
ผู้ช่วยด้านงาน
บริหาร
โครงสร้างขององค์การ (ต่อ)
2. โครงสร้างตามหน้าที่ (The Functional Structure) จะรวมเอาบุคคลที่มี
ความชานาญเฉพาะด้านจัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นทางการเดียวกัน โครงสร้างรูปแบบนี้
ปรากฏอยู่ในองค์การทั่วไปทั้งองค์การแบบที่หวังและองค์การแบบไม่หวังผลกาไร
ประธานบริษัท
รองประธานฝ่าย
การตลาด
รองประธานฝ่าย
การเงิน
รองประธานฝ่าย
ผลิต
รองประธานฝ่าย
ทรัพยากรบุคคล
โครงสร้างขององค์การ (ต่อ)
3. โครงสร้างตามวัตถุประสงค์ (The Divisional Structure) เป็นการจัด
โครงสร้างองค์การแบบที่รวมเอาความชานาญเฉพาะในด้านต่างๆ ไว้เป็นกลุ่ม เช่น
แบ่งตามกลุ่มสินค้าหรือบริการ ตามกลุ่มลูกค้า หรือตามภูมิศาสตร์เป็นต้น
โครงสร้างตามกลุ่มสินค้า
ประธานบริษัท
ฝ่ายภาพเคลื่อนไหว
และโทรทัศน์
ฝ่ายเพลง
ฝ่ายนิตยาสารและ
หนังสือ
ฝ่ายสินค้า
โครงสร้างขององค์การ (ต่อ)
โครงสร้างตามกลุ่มลูกค้า
โครงสร้างตามภูมิศาสตร์ ประธานบริษัท
ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก
ประธานบริษัท
ฝ่ายสินเชื่อ
ลูกค้าทั่วไป
ฝ่ายสินเชื่อจานอง ฝ่ายสินเชื่อธุรกิจ ฝ่ายสินเชื่อ
โครงสร้างขององค์การ (ต่อ)
4. โครงสร้างตามอุตสาหกรรม (The Conglomerate Structure) เหมาะสาหรับ
บริษัทขนาดใหญ่ที่ประกอบธุรกิจหลายประเภทที่แตกต่างกัน แต่มีความสัมพันธ์
ซึ่งกันและกัน เช่น บริษัท GE Electric ที่ทาธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าหลอดไฟฟ้า
เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องยนต์เครื่องบิน พลาสติก บริการทางการเงินและ
วิทยุกระจายเสียง เป็นต้น
ประธาน
สินค้าหลอดไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องยนต์
เครื่องบิน
พลาสติก บริการทางการเงิน วิทยุกระจายเสียง
โครงสร้างขององค์การ (ต่อ)
5. โครงสร้างแบบผสม (The Hybrid Structure) เป็นการจัดโครงสร้างองค์การที่
รวมโครงสร้างตามหน้าที่และตามเป้าหมายไว้ด้วยกัน
ประธานเจ้าหน้าที่
บริการ
ประธานสายรถ
Cadilac
ประธานสายรถ
Buick
ประธานสายรถ
Chevrolet
รองประธานฝ่ายผลิต
รองประธานฝ่าย
การตลาด
รองประธานฝ่าย
การเงิน
ผู้จัดการภูมิภาค 1 ผู้จัดการภูมิภาค 2 ผู้จัดการภูมิภาค 3
โครงสร้างขององค์การ (ต่อ)
6. โครงสร้างองค์การแบบเมตริกซ์ (The Matrix Structure) เป็นการวม
โครงสร้างองค์การแบบหน้าที่และโครงสร้างองค์การตามเป้าหมายไว้ด้วยกันตาม
สายบังคับบัญชา 2 สายคือตามแนวนอน (Vertical) และตามแนวตั้ง
(Horizontal) โดยยึดโครงสร้างตามหน้าที่เป็นหลัก เช่น ฝ่ายการเงิน การตลาด
การผลิตและวิจัยและพัฒนา เป็นต้น แต่สาหรับโครงสร้างตามวัตถุประสงค์นั้น
สามารถกาหนดได้หลายแบบ
โครงสร้างทางหน้าที่ประกอบด้วยฝ่ายการเงิน วิศวกรรมและการผลิต ซึ่ง
พนักงานที่สังกัดในแต่ละฝ่ายมีรองประธานบริษัทเป็นผู้บังคับบัญชาและสายการ
รายงานตามแนวตั้ง ส่วนโครงสร้างตามวัตถุประสงค์โดยแบบตามกลุ่มสินค้า จะ
อยู่ใต้การบังคับบัญชาของผู้จัดการโครงการรถยนต์
โครงสร้างขององค์การ (ต่อ)
ประธาน
รองประธานฝ่าย
วิศวกรรม
รองประธานฝ่าย
การเงิน
รองประธานฝ่ายการ
ผลิต
รองประธานฝ่าย
การตลาด
ผู้จัดการโครงการ
Taurus
ผู้จัดการโครงการ Mustang
ผู้จัดการโครงการ
Explorer
ผู้จัดการโครงการ
Expedition
โครงสร้างตาม
โครงการ
ต้องรายงาน
โดยตรงต่อ
รองประธานฝ่าย
การตลาด
(ด้านบน) และ
รายงานโดยตรง
ต่อผู้จัดการ
โครงการ
Taurus
(ด้านซ้าย)
โครงสร้างขององค์การ (ต่อ)
7. โครงสร้างแบบทีมงาน (The Team-bases Structure) การจัดโครงสร้าง
องค์การแบบนี้เป็นได้ทั้งทีมงานและกลุ่มงาน โดยมีลักษณะชั่วคราวหรือถาวรก็ได้
ซึ่งสามารถนามาใช้เพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ตามแนวนอนหรือเพื่อแก้ปัญหาของ
องค์การ ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการในโครงสร้างตามหน้าที่ถูกจัดให้อยู่ในทีมงานเพื่อ
ร่วมกันแก้ไขปัญหาบางอย่าง ทาให้อุปสรรคที่ขวางกั้นระหว่างสายงานลดลง
โครงสร้างขององค์การ (ต่อ)
ประธานบริษัท
รองประธานฝ่ายวิจัย
และพัฒนา
รองประธานฝ่ายการ
ออกแบบ
รองประธานฝ่าย
วิศวกรรม
รองประธานฝ่าย
การตลาด
ผู้จัดการทีมผลิต
รถบรรทุกขนาดเล็ก
ผู้จัดการทีมผลิต
รถยนต์นั่ง
ผู้จัดการทีมผลิตรถ
สปอร์ต
โครงสร้าง
ตามหน้าที่
ทีมโครงการ
สมาชิกทีมโครงการ
โครงสร้างขององค์การ (ต่อ)
8. โครงสร้างแบบเครือข่ายงาน (The Network Structure) เป็นการจัด
โครงสร้างการเชื่อมโยงศูนย์กลางขององค์การเข้ากับบริษัทอิสระอื่นๆ ภายนอก
องค์การ โดยใช้การเชื่อมโยงผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ให้การปฏิบัติงานเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนั้น โครงสร้างองค์การแบบนี้จะถูกเรียกว่าบริษัทเสมือน
จริง (Virtual Corporations)
โครงสร้างขององค์การ (ต่อ)
ศูนย์กลางของ
บริษัทคอมพิวเตอร์
ฯ ณ สหรัฐอเมริกา
บริษัทออกแบบ ณ
ประเทศสวีเดน
บริษัทคอมพิวเตอร์ ณ
ประเทศญี่ปุ่น
บริษัทการบัญชีและ
การเงิน ณ สหรัฐอเมริกา
บริษัทกระจายสินค้า ณ
ประเทศแคนาดา
บริษัทประกอบชิ้นส่วน
คอมพิวเตอร์ ณ ประเทศ
เม็กซิโกและเอเชีย
การออกแบบโครงสร้างขององค์การตามสถานการณ์
การออกแบบตามสถานการณ์ (Contingency Design) หมายถึง กระบวนการ
ออกแบบโครงสร้างองค์การให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม จากปัจจัย ดังต่อไปนี้
1. สภาพแวดล้อม
2. ลักษณะขององค์การ
3. ขนาดขององค์การ
4. เทคโนโลยี
คาถามท้ายบท
1. สายงานหลักกับสายงานสนับสนุนมีความแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
2. จงระบุองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การ พร้อมอธิบายพอสังเขป
3. โครงสร้างองค์การมีกี่รูปแบบ จงระบุทั้งหมด พร้อมทั้งเลือกโครงสร้างองค์การที่
ชอบมา 1 รูปแบบและอธิบายเหตุผลประกอบ
4. ท่านคิดว่าโครงสร้างองค์การแบบใดที่เหมาะกับการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม

More Related Content

Viewers also liked

ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ
issareening
 
[บทที่10]ภาวะผู้นำ
[บทที่10]ภาวะผู้นำ[บทที่10]ภาวะผู้นำ
[บทที่10]ภาวะผู้นำ
guest817d3d
 
งานส่ง อ ลัดดาวัลย์ นางสาวสุกัญญา ทฤษฎีวัฒนธรรมองค์กร
งานส่ง อ ลัดดาวัลย์ นางสาวสุกัญญา ทฤษฎีวัฒนธรรมองค์กรงานส่ง อ ลัดดาวัลย์ นางสาวสุกัญญา ทฤษฎีวัฒนธรรมองค์กร
งานส่ง อ ลัดดาวัลย์ นางสาวสุกัญญา ทฤษฎีวัฒนธรรมองค์กร
sukanya56106930005
 

Viewers also liked (15)

พฤติกรรมองค์กร
พฤติกรรมองค์กร พฤติกรรมองค์กร
พฤติกรรมองค์กร
 
บทที่ 9 การอภิปราย
บทที่ 9 การอภิปรายบทที่ 9 การอภิปราย
บทที่ 9 การอภิปราย
 
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ
 
บทที่ 7 อำนาจและภาวะผู้นำ
บทที่ 7 อำนาจและภาวะผู้นำบทที่ 7 อำนาจและภาวะผู้นำ
บทที่ 7 อำนาจและภาวะผู้นำ
 
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)
 
[บทที่10]ภาวะผู้นำ
[บทที่10]ภาวะผู้นำ[บทที่10]ภาวะผู้นำ
[บทที่10]ภาวะผู้นำ
 
Oganization Culture
Oganization CultureOganization Culture
Oganization Culture
 
วัฒนธรรมองค์กร
วัฒนธรรมองค์กรวัฒนธรรมองค์กร
วัฒนธรรมองค์กร
 
งานส่ง อ ลัดดาวัลย์ นางสาวสุกัญญา ทฤษฎีวัฒนธรรมองค์กร
งานส่ง อ ลัดดาวัลย์ นางสาวสุกัญญา ทฤษฎีวัฒนธรรมองค์กรงานส่ง อ ลัดดาวัลย์ นางสาวสุกัญญา ทฤษฎีวัฒนธรรมองค์กร
งานส่ง อ ลัดดาวัลย์ นางสาวสุกัญญา ทฤษฎีวัฒนธรรมองค์กร
 
บทที่ 6 การสนทนา
บทที่ 6 การสนทนาบทที่ 6 การสนทนา
บทที่ 6 การสนทนา
 
บทที่ 3 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ
บทที่ 3  แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำบทที่ 3  แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ
บทที่ 3 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ
 
วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)
วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)
วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)
 
บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง
บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่องบทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง
บทที่ 5 ปัญหาและข้อบกพร่อง
 
ตัวอย่างการนำเสนอโครงร่างวิจัย 3 บท
ตัวอย่างการนำเสนอโครงร่างวิจัย 3 บทตัวอย่างการนำเสนอโครงร่างวิจัย 3 บท
ตัวอย่างการนำเสนอโครงร่างวิจัย 3 บท
 
Strategy Implementation and Control
Strategy Implementation and ControlStrategy Implementation and Control
Strategy Implementation and Control
 

More from Aj.Mallika Phongphaew

More from Aj.Mallika Phongphaew (7)

บทที่ 6 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่
บทที่ 6 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่บทที่ 6 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่
บทที่ 6 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่
 
บทที่ 4 การจัดการองค์การสมัยใหม่
บทที่ 4 การจัดการองค์การสมัยใหม่บทที่ 4 การจัดการองค์การสมัยใหม่
บทที่ 4 การจัดการองค์การสมัยใหม่
 
บทที่ 10 การประชุม
บทที่ 10 การประชุมบทที่ 10 การประชุม
บทที่ 10 การประชุม
 
บทที่ 4 การอ่านตีความ
บทที่ 4 การอ่านตีความบทที่ 4 การอ่านตีความ
บทที่ 4 การอ่านตีความ
 
บทที่ 3 หลักการอ่าน
บทที่ 3 หลักการอ่านบทที่ 3 หลักการอ่าน
บทที่ 3 หลักการอ่าน
 
บทที่ 2 การฟัง
บทที่ 2 การฟังบทที่ 2 การฟัง
บทที่ 2 การฟัง
 
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทยบทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
 

Chapter 1 : Introduction to the organization (บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับองค์การ)