SlideShare a Scribd company logo
1 of 3
Download to read offline
กลองสะบัดชัย
กลองสะบัดชัย เป็นกลองพื้นเมืองภาคเหนือ สันนิษฐานว่าเป็นกลองที่ย่อส่วนดัดแปลงมาจากกลองปู
จา หรือกลองบูชา โดยมีลูกตุบเป็นกลองขนาดเล็กอยู่ 3 ลูก ติดกับตัวกลองใบใหญ่ ถือว่าเป็นกลองศักดิ์สิทธิ์
คู่บ้านคู่เมือง ใช้ในการออกศึกสงคราม และประกอบพิธีกรรมต่างๆ มีวิธีการตีอยู่หลายทานอง ส่วนใหญ่ใช้ตีใน
ทางการศึก แต่ในการตีทานองชนะศึกนั้นไม่ต้องมีลูกตุบ ภายหลังจึงได้เอาลูกตุบออกกลายมาเป็น กลองสะบัด
ชัยแบบไม่มีลูกตุบ ครั้นหลังจากหมดศึกสงคราม กลองส่วนใหญ่จะถูกเก็บรักษาไว้ที่วัด ในสมัยต่อมามีคน
นามาใช้ตีในโอกาสต่างๆ เพื่อเป็นพุทธบูชาด้วย
การตีกลองสะบัดชัย (คณะเยาวชนศิษย์วัดชัยสถาน)
เนื่องจากตัวกลองมีขนาดใหญ่และมีน้าหนักมาก ภายหลังเมื่อมีการนาไปเข้าในขบวนแห่ จึงได้ลด
ขนาดให้สามารถใช้คนหามได้ 2 คน โดยย่อขนาดให้ลดลงประมาณ 1 ใน 3 ส่วน อย่างที่เห็นใช้ในปัจจุบัน หน้า
กลองสะบัดชัย โดยทั่วไปมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 ซม. ความกว้างของตัวกลองประมาณ 30 ซม. ขึง
หนังสองหน้า รั้งด้วยเส้นเชือกหรือเส้นหนัง ไม้ที่ใช้ตีมี 2 ข้าง
สาหรับลูกตุบปัจจุบันยังมีการใช้งานอยู่ ซึ่งทั้ง 3 ใบ มีขนาดแตกต่างกันไป ลูกใหญ่สุดหน้ากลองมี
เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 ซม. ลูกรองลงมาประมาณ 22 ซม. และลูกเล็กประมาณ 20 ซม. ความยาว
ของหุ่นลูกตุบประมาณ 26 ซม. ขึ้นหนังหน้าเดียว โดยการตอกหมุดซึ่งทาด้วยไม้เป็นลิ่มเล็กๆ ตอกยึดไว้ให้
เหลือปลายหมุดยื่นออกมาในลักษณะสลับฟันปลา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพัฒนาการของกลองสะบัดชัยพอ
สรุปได้เป็น 3 ยุค คือ
ยุคแรก เป็นกลองสองหน้าขนาดใหญ่ มีลูกตุบ ที่มักเรียกว่า กลองปูจาหรือกลองบูชา แขวนอยู่ใน
หอกลองของวัดต่างๆ ลักษณะการตีมีจังหวะหรือทานองทั้งช้าและเร็ว ใช้ประกอบศาสนกิจของสงฆ์
กลองบูชา หรือ กลองปู่จา
ยุคหลังสงคราม ระหว่างไทยกับพม่า เป็นกลองสองหน้า มีลูกตุบ แต่มีการย่อส่วนตัวกลองใหญ่ให้เล็ก
ลง มีคานหามเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายเรียกว่า กลองสะบัดชัยลูกตุบ หรือ กลองชัยมงคล เวลาตีมือข้าง
หนึ่งจะถือ ไม้แสะ ซึ่งทาจากหวายขนาดเล็กคล้ายไม้เรียวยาวประมาณ 40 ซม. อีกข้างหนึ่งจะถือไม้ตีกลอง
อาจมีฉาบและฆ้องประกอบด้วยหรือไม่ก็ได้ ปัจจุบันเกือบสูญหายไปแล้ว มีผู้ที่ตีได้อยู่เพียงไม่มากนัก
กลองชัยมงคล
ยุคปัจจุบัน เป็นกลองสองหน้า ไม่มีลูกตุบ ใช้คนหาม 2 คน มีฉาบและฆ้องตีประกอบจังหวะ และ
มักจะใช้ไม้แกะเป็นรูปพญานาคทาสีสวยงามประดับไว้ที่ตัวกลองด้วย ส่วนลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผน เร้า
ใจ มีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีด้วย ซึ่งเป็นที่นิยม
แพร่หลายมากในปัจจุบัน
กลองสะบัดชัยในยุคปัจจุบัน
โอกาสในการใช้กลองสะบัดชัย ยังมีปรากฏให้เห็นในวรรณกรรมต่างๆ มากมาย เช่น ใช้ตีบอก
สัญญาณ, ใช้แสดงเป็นมหรสพ, ใช้เป็นเครื่องประโคมฉลองชัยชนะ และใช้เป็นเครื่องประโคมเพื่อความ
สนุกสนาน ในปัจจุบันศิลปะการตีกลองสะบัดชัย ได้นาชื่อเสียงมาสู่วัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา อยู่ในฐานะ
ตัวแทนทางวัฒนธรรม ซึ่งสามารถพบเห็นได้ในโอกาสต่างๆ เช่น งานขันโตก งานพิธีต้อนรับแขกเมือง ขบวน
แห่ เป็นต้น

More Related Content

More from Thanthup Zied

เฉลยข้อสอบปี 50
เฉลยข้อสอบปี 50เฉลยข้อสอบปี 50
เฉลยข้อสอบปี 50
Thanthup Zied
 
ข้อสอบปี 54
ข้อสอบปี 54ข้อสอบปี 54
ข้อสอบปี 54
Thanthup Zied
 
ข้อสอบปี 53
ข้อสอบปี 53ข้อสอบปี 53
ข้อสอบปี 53
Thanthup Zied
 
ข้อสอบ ปี 52
ข้อสอบ ปี 52ข้อสอบ ปี 52
ข้อสอบ ปี 52
Thanthup Zied
 
ข้อสอบ ปี 51
ข้อสอบ ปี 51ข้อสอบ ปี 51
ข้อสอบ ปี 51
Thanthup Zied
 
ข้อสอบ ปี 50
ข้อสอบ ปี 50ข้อสอบ ปี 50
ข้อสอบ ปี 50
Thanthup Zied
 
เฉลยข้อสอบปี 54
เฉลยข้อสอบปี 54เฉลยข้อสอบปี 54
เฉลยข้อสอบปี 54
Thanthup Zied
 
ใบงานที่สอง
ใบงานที่สองใบงานที่สอง
ใบงานที่สอง
Thanthup Zied
 
ประวัติส่วนตัว My Profile
ประวัติส่วนตัว My Profileประวัติส่วนตัว My Profile
ประวัติส่วนตัว My Profile
Thanthup Zied
 

More from Thanthup Zied (11)

เฉลยข้อสอบปี 50
เฉลยข้อสอบปี 50เฉลยข้อสอบปี 50
เฉลยข้อสอบปี 50
 
ข้อสอบปี 54
ข้อสอบปี 54ข้อสอบปี 54
ข้อสอบปี 54
 
ข้อสอบปี 53
ข้อสอบปี 53ข้อสอบปี 53
ข้อสอบปี 53
 
ข้อสอบ ปี 52
ข้อสอบ ปี 52ข้อสอบ ปี 52
ข้อสอบ ปี 52
 
ข้อสอบ ปี 51
ข้อสอบ ปี 51ข้อสอบ ปี 51
ข้อสอบ ปี 51
 
ข้อสอบ ปี 50
ข้อสอบ ปี 50ข้อสอบ ปี 50
ข้อสอบ ปี 50
 
เฉลยข้อสอบปี 54
เฉลยข้อสอบปี 54เฉลยข้อสอบปี 54
เฉลยข้อสอบปี 54
 
ใบงานที่สอง
ใบงานที่สองใบงานที่สอง
ใบงานที่สอง
 
Blog
BlogBlog
Blog
 
Blog
BlogBlog
Blog
 
ประวัติส่วนตัว My Profile
ประวัติส่วนตัว My Profileประวัติส่วนตัว My Profile
ประวัติส่วนตัว My Profile
 

ประวัติกลองสะบัดชัย

  • 1. กลองสะบัดชัย กลองสะบัดชัย เป็นกลองพื้นเมืองภาคเหนือ สันนิษฐานว่าเป็นกลองที่ย่อส่วนดัดแปลงมาจากกลองปู จา หรือกลองบูชา โดยมีลูกตุบเป็นกลองขนาดเล็กอยู่ 3 ลูก ติดกับตัวกลองใบใหญ่ ถือว่าเป็นกลองศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง ใช้ในการออกศึกสงคราม และประกอบพิธีกรรมต่างๆ มีวิธีการตีอยู่หลายทานอง ส่วนใหญ่ใช้ตีใน ทางการศึก แต่ในการตีทานองชนะศึกนั้นไม่ต้องมีลูกตุบ ภายหลังจึงได้เอาลูกตุบออกกลายมาเป็น กลองสะบัด ชัยแบบไม่มีลูกตุบ ครั้นหลังจากหมดศึกสงคราม กลองส่วนใหญ่จะถูกเก็บรักษาไว้ที่วัด ในสมัยต่อมามีคน นามาใช้ตีในโอกาสต่างๆ เพื่อเป็นพุทธบูชาด้วย การตีกลองสะบัดชัย (คณะเยาวชนศิษย์วัดชัยสถาน) เนื่องจากตัวกลองมีขนาดใหญ่และมีน้าหนักมาก ภายหลังเมื่อมีการนาไปเข้าในขบวนแห่ จึงได้ลด ขนาดให้สามารถใช้คนหามได้ 2 คน โดยย่อขนาดให้ลดลงประมาณ 1 ใน 3 ส่วน อย่างที่เห็นใช้ในปัจจุบัน หน้า กลองสะบัดชัย โดยทั่วไปมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 ซม. ความกว้างของตัวกลองประมาณ 30 ซม. ขึง หนังสองหน้า รั้งด้วยเส้นเชือกหรือเส้นหนัง ไม้ที่ใช้ตีมี 2 ข้าง สาหรับลูกตุบปัจจุบันยังมีการใช้งานอยู่ ซึ่งทั้ง 3 ใบ มีขนาดแตกต่างกันไป ลูกใหญ่สุดหน้ากลองมี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 ซม. ลูกรองลงมาประมาณ 22 ซม. และลูกเล็กประมาณ 20 ซม. ความยาว ของหุ่นลูกตุบประมาณ 26 ซม. ขึ้นหนังหน้าเดียว โดยการตอกหมุดซึ่งทาด้วยไม้เป็นลิ่มเล็กๆ ตอกยึดไว้ให้ เหลือปลายหมุดยื่นออกมาในลักษณะสลับฟันปลา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพัฒนาการของกลองสะบัดชัยพอ สรุปได้เป็น 3 ยุค คือ
  • 2. ยุคแรก เป็นกลองสองหน้าขนาดใหญ่ มีลูกตุบ ที่มักเรียกว่า กลองปูจาหรือกลองบูชา แขวนอยู่ใน หอกลองของวัดต่างๆ ลักษณะการตีมีจังหวะหรือทานองทั้งช้าและเร็ว ใช้ประกอบศาสนกิจของสงฆ์ กลองบูชา หรือ กลองปู่จา ยุคหลังสงคราม ระหว่างไทยกับพม่า เป็นกลองสองหน้า มีลูกตุบ แต่มีการย่อส่วนตัวกลองใหญ่ให้เล็ก ลง มีคานหามเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายเรียกว่า กลองสะบัดชัยลูกตุบ หรือ กลองชัยมงคล เวลาตีมือข้าง หนึ่งจะถือ ไม้แสะ ซึ่งทาจากหวายขนาดเล็กคล้ายไม้เรียวยาวประมาณ 40 ซม. อีกข้างหนึ่งจะถือไม้ตีกลอง อาจมีฉาบและฆ้องประกอบด้วยหรือไม่ก็ได้ ปัจจุบันเกือบสูญหายไปแล้ว มีผู้ที่ตีได้อยู่เพียงไม่มากนัก กลองชัยมงคล
  • 3. ยุคปัจจุบัน เป็นกลองสองหน้า ไม่มีลูกตุบ ใช้คนหาม 2 คน มีฉาบและฆ้องตีประกอบจังหวะ และ มักจะใช้ไม้แกะเป็นรูปพญานาคทาสีสวยงามประดับไว้ที่ตัวกลองด้วย ส่วนลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผน เร้า ใจ มีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีด้วย ซึ่งเป็นที่นิยม แพร่หลายมากในปัจจุบัน กลองสะบัดชัยในยุคปัจจุบัน โอกาสในการใช้กลองสะบัดชัย ยังมีปรากฏให้เห็นในวรรณกรรมต่างๆ มากมาย เช่น ใช้ตีบอก สัญญาณ, ใช้แสดงเป็นมหรสพ, ใช้เป็นเครื่องประโคมฉลองชัยชนะ และใช้เป็นเครื่องประโคมเพื่อความ สนุกสนาน ในปัจจุบันศิลปะการตีกลองสะบัดชัย ได้นาชื่อเสียงมาสู่วัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา อยู่ในฐานะ ตัวแทนทางวัฒนธรรม ซึ่งสามารถพบเห็นได้ในโอกาสต่างๆ เช่น งานขันโตก งานพิธีต้อนรับแขกเมือง ขบวน แห่ เป็นต้น