SlideShare a Scribd company logo
สาธารณรัฐโซมาเลีย Republic of Somalia
ข้อมูลทั่วไป  ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกา  ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดจิบูตี  ทิศตะวันตกติดเอธิโอเปีย  ทิศตะวันออกติดมหาสมุทรอินเดีย  ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดเคนยา
ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศโซมาเลีย
พื้นที่  637,600 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง กรุงโมกาดิชู  ( Mogadishu )
ประชากร  9   ล้านคน  ( 2551 )
ภูมิอากาศ อากาศร้อนแบบทะเลทราย
ภาษาราชการ โซมาลี
ศาสนา อิสลาม  ( สุหนี่ )
ระบบการปกครอง ปกครองในระบบสหพันธรัฐแบบสภาเดียว  ( unicameral )
ประธานาธิบดี  Mr. Sheikh Sharif Ahmed
รัฐมนตรีต่างประเทศ   Mr. Ali Jama Ahmad
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป   ตามประวัติศาสตร์สาธารณรัฐโซมาลี หรือ โซมาเลีย ตั้งอยู่บริเวณ  Horn of African  ซึ่งแต่เดิมเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของแอฟริกา โดยเป็นจุดค้าขายสินค้าที่มีค่า ได้แก่ ยางสน ยางไม้หอม และเครื่องเทศ ประชาชนในพื้นที่นับถือศาสนาอิสลาม เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากชาวอาหรับมุสลิม
ในช่วงปลายศตวรรษที่  19   ชาวยุโรปเริ่มแผ่ขยายลัทธิล่าอาณานิคมมายังดินแดน  Horn of Africa  แต่ผู้ปกครองชาว  Dervish  ในสมัยนั้น สามารถต่อสู้และขับไล่ชาติตะวันตกออกไปได้ จนกระทั่งปี  2463   สหราชอาณาจักรทำสงครามรูปแบบใหม่โดยใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดที่เมือง  Taleex  ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของชาว  Dervish  ส่งผลให้ดินแดน  Dervish  ตกอยู่ภายใต้การปกครอง  ของสหราชอาณาจักร  ( British Somaliland )  และมีดินแดนบางส่วนตกอยู่ภายใต้การปกครองของอิตาลี  ( Italian Somaliland )  ต่อมาในปี  2484   ดินแดนทางตอนเหนือของโซมาเลียตกอยู่ภายใต้การบริหารจัดการทางทหารของสหราช อาณาจักรส่วนดินแดนทางใต้มีสถานะเป็นดินแดนในอารักขา หลังจากนั้น สหราชอาณาจักรถอนกำลังออกจากบริเวณดังกล่าวในปี  2503   และยินยอมให้ดินแดนของตนรวมตัวกับดินแดนที่อยู่ภายใต้การดูแลของอิตาลี และจัดตั้งรัฐใหม่โดยใช้ชื่อว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยโซมาลี
ในปี  2512   นายพล  Salaad Babeyre Kediye  นายพล  Siad Barre  และนาย  Jama Korshel  ผู้บัญชาการตำรวจได้ทำรัฐประหาร และแต่งตั้งให้นายพล  Barre  เป็นประธานาธิบดี โดยปกครองประเทศแบบเผด็จการ  ( Authoritarian Socialist )  แต่ท้ายที่สุดระบบการปกครองของ นายพล  Barre  ก็ล่มสลายลงในช่วงหลังสงครามเย็น
หลังจากนั้น สถานการณ์ในประเทศโซมาเลียตกอยู่ในภาวะระส่ำระสาย เกิดการต่อสู้ระหว่างชนกลุ่มน้อยต่างๆ จนกระทั่งตกอยู่ในภาวะอนาธิปไตย ในช่วงกลางปี  2534   ชนเผ่าทางเหนือของโซมาเลียที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรประกาศ เอกราช และจัดตั้งรัฐใหม่ มีชื่อว่าสาธารณรัฐโซมาลีแลนด์  ( Republic of Somaliland )  ปกครอง  6   เขต ได้แก่  Awdal, Woqooyi Galbeed, Togdheer, Sanaag  และ  Sool  อย่างไรก็ตาม รัฐดังกล่าวไม่ได้รับการยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศ นอกจากนี้รัฐปุนท์แลนด์  ( Puntland )  ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของโซมาเลียได้ประกาศเป็นรัฐปกครองตนเอง  ( autonomous state )  ในปี  2541   และปกครอง  3   เขต ได้แก่  Bari, Nugaal  และทางตอนเหนือของเขต  Mudug  อย่างไรก็ตามรัฐปุนท์แลนด์ยังไม่มีจุดมุ่งหมายที่จะประกาศเอกราช แต่ต้องการปฏิรูประบบบริหารให้เกิดความชอบธรรม ซึ่งต่อมาทั้งสองรัฐเกิดความขัดแย้งอันเนื่องจากการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือ พื้นที่ทางตะวันออกของเขต  Sool  และ  Sanaag
การเมืองการปกครอง
1 .  การเมืองการปกครอง  -  โซมาเลียแบ่งเป็น  5   ภูมิภาค ได้แก่  Somaliland Puntland  มีสถานะเป็นรัฐกึ่งปกครองตนเองตั้งอยู่ทางตอนเหนือและตอนกลางของประเทศ ส่วนพื้นที่ทางตอนใต้ประกอบไปด้วย  Northland Galmudug  และ  Maakhir  -  โซมาเลียปกครองในระบบสหพันธรัฐแบบสภาเดียว  ( unicameral )  ปัจจุบันยังไม่มีรัฐบาลถาวร และมี  Sheikh Sharif Sheikh Ahmed  เป็นประธานาธิบดีคนปัจจุบัน  -  ฝ่ายบริหารประกอบด้วยประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ โดยได้รับเลือกโดย  TFA  และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
-  คณะรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีและต้องได้รับการรับรองจาก  TFA ฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วยสมัชชาแห่งชาติ  ( National Assembly )  ซึ่งมีสภาเดียวคือ สมัชชาสหพันธรัฐรักษาการประกอบด้วยสมาชิกจำนวน  550   คน ฝ่ายตุลาการยังไม่มีกฎหมายที่ชัดเจน เนื่องจากยังไม่มีรัฐบาลถาวร ปัจจุบันแต่ละชนเผ่าใช้  Sharia Law  เป็นกฎหมายของแต่ละท้องถิ่น  -  โซมาเลียไม่มีรัฐบาลปกครองประเทศอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่เกิดสงครามกลางเมืองในปี  2534   นอกจากนั้น รัฐ  Somaliland  และรัฐ  Puntland  มีความพยายามแยกตัวออกเป็นอิสระ แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ ทั้งยังได้เกิดการต่อสู้ระหว่างชนเผ่าต่างๆ มาโดยตลอด  -  โซมาเลียประกอบด้วยเผ่า  ( clan )  หลายเผ่า เผ่า  Hawiye  เป็นเผ่าที่ใหญ่ที่สุด อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ นอกจากนี้ เผ่า  Darod  เป็นอีกเผ่าที่มีบทบาทสำคัญและมีอิทธิพลในฐานะชนชั้นปกครอง
เศรษฐกิจและสังคม
2 .  เศรษฐกิจและสังคม  แม้โซมาเลียจะยังคงมีความไม่สงบเกิดขึ้นในประเทศอย่างต่อเนื่อง แต่เศรษฐกิจของประเทศก็ยังสามารถขับเคลื่อนไปได้ เนื่องจากรัฐต่างๆ ในประเทศมีอำนาจกึ่งอธิปไตย  ( semi - autonomy )  ทำให้สามารถปกป้องเศรษฐกิจของตนเองได้ ภาคเกษตรกรรมเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปศุสัตว์ โดยร้อยละ  40   ของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศมาจากภาคเกษตรกรรม สินค้าส่งออกที่สำคัญของโซมาเลีย ได้แก่ ปศุสัตว์ หนังสัตว์ ปลา ถ่านหิน และกล้วย ในส่วนภาคอุตสาหกรรมของโซมาเลียยังไม่ขยายตัว ส่วนมากเป็นโรงงานอุตสาหกรรมด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรขนาดเล็ก อย่างไรก็ตามภาคธุรกิจการบริการมีแนวโน้มเจริญเติบโตมากกว่าภาคส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะระบบโทรคมนาคม
นโยบายต่างประเทศ
3 .  นโยบายต่างประเทศ  นโยบายต่างประเทศของโซมาเลียยังไม่ชัดเจน เนื่องจากรัฐบาลยังขาดเสถียรภาพทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ประเทศเพื่อนบ้านโซมาเลียไม่ว่าจะเป็น ซูดาน อียิปต์ ลิเบีย จิบูตีและซูดาน ต่างพยายามเข้ามามีบทบาทในการสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติของโซมาเลีย  จากการที่  TFG  ไม่สามารถดูแลความสงบเรียบร้อยภายในชาติได้ ทำให้ปัญหาโจรสลัดในน่านน้ำโซมาเลียเริ่มขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่  1990   ทวีความรุนแรง และมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้น จนกลายเป็นภัยคุกคามต่อการเดินเรือระหว่างเทศ และการประมงในแถบมหาสมุทรอินเดีย  TFG  มีนโยบายปราบปรามโจรสลัด โดยอนุญาตให้กองเรือต่างชาติเข้ามาปฏิบัติการในน่านน้ำโซมาเลีย และได้กำหนด  Maritime Security Patrol Area  เพื่อให้กองกำลังผสมนานาชาติ  ( Combined Task Force 150 – CTF 150 )  สามารถลาดตระเวนในบริเวณอ่าวเอเดน
ล่าสุด สหประชาชาติรับรองข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ  ( United Nations Security Council :  UNSC )  ที่  1851  ( 2008 )  ร้องขอให้รัฐ องค์ภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศร่วมกันต่อต้านการกระทำของกลุ่มโจรสลัด และสามารถเข้าวางกำลังกองเรือรบ อากาศยานทางทหาร ตลอดจนยุทโธปกรณ์อื่นๆ เพื่อใช้ในบริเวณน่านน้ำโซมาเลีย รวมทั้งสนับสนุนให้จัดตั้งกองเรือที่สามารถจับกุมกลุ่มโจรสลัด  ( Shipriders )  ในบริเวณดังกล่าว
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐโซมาเลีย
1 .  ความสัมพันธ์ด้านการเมืองและการทูต  ไทยและโซมาเลียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่  1   พฤศจิกายน  2527   โดยไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา มีเขตอาณาครอบคลุมโซมาเลีย และโซมาเลียได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตโซมาเลียประจำกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มีเขตอาณาดูแลไทย อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศยังมีไม่มากนัก ไม่เคยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้แทนระดับสูงระหว่างกัน
2 .  ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ  การค้าระหว่างไทยกับโซมาเลียอยู่ในปริมาณไม่มาก ปี  2551   มูลค่าการค้ารหว่างไทยกับโซมาเลียมีมูลค่า  14.15   ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก  13.33   ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า  0.83   ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าเป็นเงิน  12.50   ล้านดอลลาร์สหรัฐ  สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปโซมาเลียได้แก่ ข้าว อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลไม้กระป๋องและแปรรูป แต่ไม่ปรากฎรายงานสินค้านำเข้าจากโซมาเลียสินค้าที่ไทยนำเข้าได้แก่ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป และกึ่งสำเร็จรูป
3 .  ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม   กระทรวงการต่างประเทศอนุมัติให้บริจาคเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ตามที่ได้รับการร้องขอจากภารกิจ  AMISOM  จำนวน  340,330   บาท
4 .  ความตกลงที่สำคัญๆ กับไทย  ยังไม่เคยมีการทำความตกลงระหว่างกัน
บรรณานุกรม   ประเทศโซมาเลีย . (“ ข้อมูลท่องเที่ยวโซมาเลีย . ”)  11  ธันวาคม  2553 http :// www . mfa . go . th / web / 848 . php?id = 366  11  ธันวาคม  2553  (“ ประเทศโซมาเลีย . ”)   10  ธันวาคม  2553
จัดทำโดย ,[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]

More Related Content

More from SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL

ปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาดปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาด
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
จารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติจารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติ
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
Isมิ้น
Isมิ้นIsมิ้น
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานเตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
Isประเทศบังกลาเทศ
IsประเทศบังกลาเทศIsประเทศบังกลาเทศ
Isประเทศบังกลาเทศ
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
อาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจานอาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจาน
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
คองโก
คองโกคองโก
Is1
Is1Is1
ตุรกี
ตุรกีตุรกี
มัลดีฟ
มัลดีฟมัลดีฟ
อาร์เมเนีย
อาร์เมเนียอาร์เมเนีย
อาร์เมเนีย
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานนางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
สอบกลางภาค
สอบกลางภาคสอบกลางภาค
สอบกลางภาค
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาสอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
กลางภาค
กลางภาคกลางภาค
กลางภาค
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
งานกลางภาค นางสาวอภิชญา บุญโกมุด
งานกลางภาค นางสาวอภิชญา บุญโกมุดงานกลางภาค นางสาวอภิชญา บุญโกมุด
งานกลางภาค นางสาวอภิชญา บุญโกมุด
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
ส่งPptขึ้นเนต
ส่งPptขึ้นเนตส่งPptขึ้นเนต
ส่งPptขึ้นเนต
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
จอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพลถนอม กิตติขจรจอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพลถนอม กิตติขจร
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 

More from SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL (20)

ปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาดปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาด
 
จารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติจารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติ
 
Isมิ้น
Isมิ้นIsมิ้น
Isมิ้น
 
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานเตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
 
Isประเทศบังกลาเทศ
IsประเทศบังกลาเทศIsประเทศบังกลาเทศ
Isประเทศบังกลาเทศ
 
อาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจานอาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจาน
 
คองโก
คองโกคองโก
คองโก
 
Is1
Is1Is1
Is1
 
ตุรกี
ตุรกีตุรกี
ตุรกี
 
มัลดีฟ
มัลดีฟมัลดีฟ
มัลดีฟ
 
อาร์เมเนีย
อาร์เมเนียอาร์เมเนีย
อาร์เมเนีย
 
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานนางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
 
สอบกลางภาค
สอบกลางภาคสอบกลางภาค
สอบกลางภาค
 
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาสอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
 
จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์
 
ณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชาณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชา
 
กลางภาค
กลางภาคกลางภาค
กลางภาค
 
งานกลางภาค นางสาวอภิชญา บุญโกมุด
งานกลางภาค นางสาวอภิชญา บุญโกมุดงานกลางภาค นางสาวอภิชญา บุญโกมุด
งานกลางภาค นางสาวอภิชญา บุญโกมุด
 
ส่งPptขึ้นเนต
ส่งPptขึ้นเนตส่งPptขึ้นเนต
ส่งPptขึ้นเนต
 
จอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพลถนอม กิตติขจรจอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพลถนอม กิตติขจร
 

สาธารณรัฐโซมาเลีย

  • 2. ข้อมูลทั่วไป ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกา ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดจิบูตี ทิศตะวันตกติดเอธิโอเปีย ทิศตะวันออกติดมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดเคนยา
  • 4. พื้นที่ 637,600 ตารางกิโลเมตร
  • 6. ประชากร 9 ล้านคน ( 2551 )
  • 9. ศาสนา อิสลาม ( สุหนี่ )
  • 13. ประวัติศาสตร์โดยสังเขป ตามประวัติศาสตร์สาธารณรัฐโซมาลี หรือ โซมาเลีย ตั้งอยู่บริเวณ Horn of African ซึ่งแต่เดิมเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของแอฟริกา โดยเป็นจุดค้าขายสินค้าที่มีค่า ได้แก่ ยางสน ยางไม้หอม และเครื่องเทศ ประชาชนในพื้นที่นับถือศาสนาอิสลาม เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากชาวอาหรับมุสลิม
  • 14. ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ชาวยุโรปเริ่มแผ่ขยายลัทธิล่าอาณานิคมมายังดินแดน Horn of Africa แต่ผู้ปกครองชาว Dervish ในสมัยนั้น สามารถต่อสู้และขับไล่ชาติตะวันตกออกไปได้ จนกระทั่งปี 2463 สหราชอาณาจักรทำสงครามรูปแบบใหม่โดยใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดที่เมือง Taleex ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของชาว Dervish ส่งผลให้ดินแดน Dervish ตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของสหราชอาณาจักร ( British Somaliland ) และมีดินแดนบางส่วนตกอยู่ภายใต้การปกครองของอิตาลี ( Italian Somaliland ) ต่อมาในปี 2484 ดินแดนทางตอนเหนือของโซมาเลียตกอยู่ภายใต้การบริหารจัดการทางทหารของสหราช อาณาจักรส่วนดินแดนทางใต้มีสถานะเป็นดินแดนในอารักขา หลังจากนั้น สหราชอาณาจักรถอนกำลังออกจากบริเวณดังกล่าวในปี 2503 และยินยอมให้ดินแดนของตนรวมตัวกับดินแดนที่อยู่ภายใต้การดูแลของอิตาลี และจัดตั้งรัฐใหม่โดยใช้ชื่อว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยโซมาลี
  • 15. ในปี 2512 นายพล Salaad Babeyre Kediye นายพล Siad Barre และนาย Jama Korshel ผู้บัญชาการตำรวจได้ทำรัฐประหาร และแต่งตั้งให้นายพล Barre เป็นประธานาธิบดี โดยปกครองประเทศแบบเผด็จการ ( Authoritarian Socialist ) แต่ท้ายที่สุดระบบการปกครองของ นายพล Barre ก็ล่มสลายลงในช่วงหลังสงครามเย็น
  • 16. หลังจากนั้น สถานการณ์ในประเทศโซมาเลียตกอยู่ในภาวะระส่ำระสาย เกิดการต่อสู้ระหว่างชนกลุ่มน้อยต่างๆ จนกระทั่งตกอยู่ในภาวะอนาธิปไตย ในช่วงกลางปี 2534 ชนเผ่าทางเหนือของโซมาเลียที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรประกาศ เอกราช และจัดตั้งรัฐใหม่ มีชื่อว่าสาธารณรัฐโซมาลีแลนด์ ( Republic of Somaliland ) ปกครอง 6 เขต ได้แก่ Awdal, Woqooyi Galbeed, Togdheer, Sanaag และ Sool อย่างไรก็ตาม รัฐดังกล่าวไม่ได้รับการยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศ นอกจากนี้รัฐปุนท์แลนด์ ( Puntland ) ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของโซมาเลียได้ประกาศเป็นรัฐปกครองตนเอง ( autonomous state ) ในปี 2541 และปกครอง 3 เขต ได้แก่ Bari, Nugaal และทางตอนเหนือของเขต Mudug อย่างไรก็ตามรัฐปุนท์แลนด์ยังไม่มีจุดมุ่งหมายที่จะประกาศเอกราช แต่ต้องการปฏิรูประบบบริหารให้เกิดความชอบธรรม ซึ่งต่อมาทั้งสองรัฐเกิดความขัดแย้งอันเนื่องจากการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือ พื้นที่ทางตะวันออกของเขต Sool และ Sanaag
  • 18. 1 . การเมืองการปกครอง - โซมาเลียแบ่งเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่ Somaliland Puntland มีสถานะเป็นรัฐกึ่งปกครองตนเองตั้งอยู่ทางตอนเหนือและตอนกลางของประเทศ ส่วนพื้นที่ทางตอนใต้ประกอบไปด้วย Northland Galmudug และ Maakhir - โซมาเลียปกครองในระบบสหพันธรัฐแบบสภาเดียว ( unicameral ) ปัจจุบันยังไม่มีรัฐบาลถาวร และมี Sheikh Sharif Sheikh Ahmed เป็นประธานาธิบดีคนปัจจุบัน - ฝ่ายบริหารประกอบด้วยประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ โดยได้รับเลือกโดย TFA และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
  • 19. - คณะรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีและต้องได้รับการรับรองจาก TFA ฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วยสมัชชาแห่งชาติ ( National Assembly ) ซึ่งมีสภาเดียวคือ สมัชชาสหพันธรัฐรักษาการประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 550 คน ฝ่ายตุลาการยังไม่มีกฎหมายที่ชัดเจน เนื่องจากยังไม่มีรัฐบาลถาวร ปัจจุบันแต่ละชนเผ่าใช้ Sharia Law เป็นกฎหมายของแต่ละท้องถิ่น - โซมาเลียไม่มีรัฐบาลปกครองประเทศอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่เกิดสงครามกลางเมืองในปี 2534 นอกจากนั้น รัฐ Somaliland และรัฐ Puntland มีความพยายามแยกตัวออกเป็นอิสระ แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ ทั้งยังได้เกิดการต่อสู้ระหว่างชนเผ่าต่างๆ มาโดยตลอด - โซมาเลียประกอบด้วยเผ่า ( clan ) หลายเผ่า เผ่า Hawiye เป็นเผ่าที่ใหญ่ที่สุด อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ นอกจากนี้ เผ่า Darod เป็นอีกเผ่าที่มีบทบาทสำคัญและมีอิทธิพลในฐานะชนชั้นปกครอง
  • 21. 2 . เศรษฐกิจและสังคม แม้โซมาเลียจะยังคงมีความไม่สงบเกิดขึ้นในประเทศอย่างต่อเนื่อง แต่เศรษฐกิจของประเทศก็ยังสามารถขับเคลื่อนไปได้ เนื่องจากรัฐต่างๆ ในประเทศมีอำนาจกึ่งอธิปไตย ( semi - autonomy ) ทำให้สามารถปกป้องเศรษฐกิจของตนเองได้ ภาคเกษตรกรรมเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปศุสัตว์ โดยร้อยละ 40 ของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศมาจากภาคเกษตรกรรม สินค้าส่งออกที่สำคัญของโซมาเลีย ได้แก่ ปศุสัตว์ หนังสัตว์ ปลา ถ่านหิน และกล้วย ในส่วนภาคอุตสาหกรรมของโซมาเลียยังไม่ขยายตัว ส่วนมากเป็นโรงงานอุตสาหกรรมด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรขนาดเล็ก อย่างไรก็ตามภาคธุรกิจการบริการมีแนวโน้มเจริญเติบโตมากกว่าภาคส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะระบบโทรคมนาคม
  • 23. 3 . นโยบายต่างประเทศ นโยบายต่างประเทศของโซมาเลียยังไม่ชัดเจน เนื่องจากรัฐบาลยังขาดเสถียรภาพทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ประเทศเพื่อนบ้านโซมาเลียไม่ว่าจะเป็น ซูดาน อียิปต์ ลิเบีย จิบูตีและซูดาน ต่างพยายามเข้ามามีบทบาทในการสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติของโซมาเลีย จากการที่ TFG ไม่สามารถดูแลความสงบเรียบร้อยภายในชาติได้ ทำให้ปัญหาโจรสลัดในน่านน้ำโซมาเลียเริ่มขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 ทวีความรุนแรง และมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้น จนกลายเป็นภัยคุกคามต่อการเดินเรือระหว่างเทศ และการประมงในแถบมหาสมุทรอินเดีย TFG มีนโยบายปราบปรามโจรสลัด โดยอนุญาตให้กองเรือต่างชาติเข้ามาปฏิบัติการในน่านน้ำโซมาเลีย และได้กำหนด Maritime Security Patrol Area เพื่อให้กองกำลังผสมนานาชาติ ( Combined Task Force 150 – CTF 150 ) สามารถลาดตระเวนในบริเวณอ่าวเอเดน
  • 24. ล่าสุด สหประชาชาติรับรองข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ( United Nations Security Council : UNSC ) ที่ 1851 ( 2008 ) ร้องขอให้รัฐ องค์ภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศร่วมกันต่อต้านการกระทำของกลุ่มโจรสลัด และสามารถเข้าวางกำลังกองเรือรบ อากาศยานทางทหาร ตลอดจนยุทโธปกรณ์อื่นๆ เพื่อใช้ในบริเวณน่านน้ำโซมาเลีย รวมทั้งสนับสนุนให้จัดตั้งกองเรือที่สามารถจับกุมกลุ่มโจรสลัด ( Shipriders ) ในบริเวณดังกล่าว
  • 26. 1 . ความสัมพันธ์ด้านการเมืองและการทูต ไทยและโซมาเลียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2527 โดยไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา มีเขตอาณาครอบคลุมโซมาเลีย และโซมาเลียได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตโซมาเลียประจำกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มีเขตอาณาดูแลไทย อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศยังมีไม่มากนัก ไม่เคยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้แทนระดับสูงระหว่างกัน
  • 27. 2 . ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ การค้าระหว่างไทยกับโซมาเลียอยู่ในปริมาณไม่มาก ปี 2551 มูลค่าการค้ารหว่างไทยกับโซมาเลียมีมูลค่า 14.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 13.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 0.83 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าเป็นเงิน 12.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปโซมาเลียได้แก่ ข้าว อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลไม้กระป๋องและแปรรูป แต่ไม่ปรากฎรายงานสินค้านำเข้าจากโซมาเลียสินค้าที่ไทยนำเข้าได้แก่ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป และกึ่งสำเร็จรูป
  • 28. 3 . ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม กระทรวงการต่างประเทศอนุมัติให้บริจาคเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ตามที่ได้รับการร้องขอจากภารกิจ AMISOM จำนวน 340,330 บาท
  • 29. 4 . ความตกลงที่สำคัญๆ กับไทย ยังไม่เคยมีการทำความตกลงระหว่างกัน
  • 30. บรรณานุกรม ประเทศโซมาเลีย . (“ ข้อมูลท่องเที่ยวโซมาเลีย . ”) 11 ธันวาคม 2553 http :// www . mfa . go . th / web / 848 . php?id = 366 11 ธันวาคม 2553 (“ ประเทศโซมาเลีย . ”) 10 ธันวาคม 2553
  • 31.