SlideShare a Scribd company logo
1 of 25
Download to read offline
จัดทําโดย
นายพชรพล เพ็ชรสินธพ เลขที่ 12
นายพีระพล แจ่มศิริพรหม เลขที่ 25
นักเรียนชั้นมัธยมปีที่6/1
เสนอ
อาจารย์ศิริรัตน์ นําไทย
โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม
คือ เป็นองค์กรอิสระที่คอยกํากับดูแลธุรกิจประกันภัยต่างๆและส่งเสริมธุรกิจ
ประกันภัยให้มีส่วนในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศและคุ้มครองผลประโยชน์
ของประชาชนด้านการประกันภัย ถือว่าดูแลครอบคลุมเกี่ยวกับประกันเลยทีเดียว
ไม่ว่าจะประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย อาทิ หากวันหนึ่งบริษัทประกันล้มละลาย
ผู้ที่จะรับผิดชอบ หรือ ชดเชยให้เราได้แค่ คปภ. หรือหากบริษัทประกันปฏิบัติไม่ตรง
เงื่อนไขใดๆปกปิดข้อมูลลูกค้า หรือทุจริตต่าง คปภ.มีสิทธิ์สั่งยกเลิกบริษัทนั้นๆได้
เป็นต้น โดยเราสามารถร้องเรียนเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกันประกันได้ที่ คปภ. แน่นอน
ว่าการมี คปภ. ก็สามารถช่วยให้เราคลายกังวลได้เมื่อเราเกิดปัญหาจากวงการ
ประกัน ก็ยังมี คปภ.ให้เราอุ่นใจ
สายด่วน ประกันภัย
1186
คปภ.คือ
การประกันชีวิต แยกออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
ประเภท
สามัญ
ประเภท
อุตสาหกรรม
ประเภท
กลุ่ม
ประเภท
สามัญ
ประเภท
อุตสาหกรรม
ประเภท
กลุ่ม
แบบตลอดชีพ
แบบสะสมทรัพย์
แบบเงินได้ประจํา
แบบชั่วระยะเวลา
• 1.แบบตลอดชีพ เป็นการประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตลอดชีพ ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตเมื่อใดใน
ขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับ บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจํานวนเงินเอาประกันภัย ให้แก่ผู้รับประโยชน์
วัตถุประสงค์เบื้องต้นของการประกันภัยแบบนี้เพื่อจัดหาเงินทุนสําหรับจุนเจือบุคคลที่อยู่ในความ
อุปการะเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต หรือเพื่อเป็นเงินทุนสําหรับการเจ็บป่วยครั้งสุดท้ายและค่าทําศพ
ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ตกเป็นภาระของคนอื่น
• 2.แบบสะสมทรัพย์ เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทจะจ่ายจํานวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย
เมื่อมีชีวิตอยู่ครบกําหนดสัญญา หรือจ่ายเงินเอาประกันภัย ให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัย
เสียชีวิตลงภายในระยะเวลาประกันภัย การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เป็นส่วนผสมของการคุ้มครอง
ชีวิตและการออมทรัพย์ ส่วนของการออมทรัพย์ คือส่วนที่ผู้เอาประกันภัยได้รับคืนเมื่อสัญญาครบ
กําหนด
• 3.แบบชั่วระยะเวลา เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอา
ประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาประกันภัย วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครอง การเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร
การประกันชีวิตแบบนี้ไม่มีส่วนของการออมทรัพย์ เบี้ยประกันภัยจึงตํ่ากว่าแบบอื่น ๆ และไม่มีเงินเหลือ
คืนให้หากผู้เอาประกันภัยอยู่จนครบกําหนดสัญญา
• 4.แบบเงินได้ประจํา เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินจํานวนหนึ่งเท่ากันอย่าง
สมํ่าเสมอให้แก่ผู้เอาประกันภัยทุกเดือน นับแต่ผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุ หรือมีอายุครบ 55 ปี หรือ
60 ปี เป็นต้นไป แล้วแต่เงื่อนไขในกรมธรรม์ที่กําหนดไว้ สําหรับระยะเวลาการจ่ายเงินได้ประจํานี้ขึ้นอยู่
กับความต้องการของผู้เอาประกันชีวิตที่จะเลือกซื้อ
ประโยชน์ของการทําประกัน
ชีวิต
• 1.แบบชั่วระยะเวลา ให้ความคุ้มครองในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่กําหนดไว้ในกรมธรรม์ โดยบริษัทจะจ่ายเงิน
ตามจํานวนเงินเอาประกันภัยให้ผู้รับประโยชน์ ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้
นั้น
• 2.แบบตลอดชีพ บริษัทจะจ่ายเงินตามจํานวนเงินเอาประกันภัย ให้ผู้รับประโยชน์ในกรณีที่ผู้เอา
ประกันภัยเสียชีวิต ไม่ว่าจะเสียชีวิตเมื่อใดก็ตาม
• ** ทั้งแบบ 1 และแบบ 2 เป็นการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตแล้ว
เท่านั้น
• 3.แบบสะสมทรัพย์ บริษัทจะจ่ายเงินตามจํานวนที่เอาประกันภัยไว้ ให้แก่ผู้รับประโยชน์ถ้าผู้เอา
ประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ หรือจ่ายเงินเอาประกันชีวิตให้แก่ผู้เอาประกันภัยในกรณี
ที่มีชีวิตอยู่รอดพ้นระยะเวลาที่กําหนดไว้
• 4.แบบเงินได้ประจํา บริษัทจะจ่ายเงินได้ประจํา หรือเงินบํานาญให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยเริ่มจ่ายตั้งแต่
วันที่ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติเนื่องจากความชรา ไปจนถึงวันที่กําหนดไว้
(อาจเป็นชั่วระยะเวลาหนึ่ง หรือตลอดอายุก็ได้)
• ** แบบ 3 ส่วนท้าย และแบบ 4 เป็นการจ่ายเงินโดยมีเงื่อนไขว่าผู้เอาประกันภัยต้องมีชีวิตรอดอยู่จนพ้น
ระยะเวลาที่กําหนดไว้
การที่รัฐออกกฎหมายกําหนดให้รถทุกคันต้องจัดให้มีประกันภัยอย่างน้อย
ที่สุด คือ การทําประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
• เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
เพราะเหตุ ประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที กรณี
บาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่า ปลงศพ กรณีเสียชีวิต
• เป็นหลักประกันให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลใน
การรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ
• เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายเพราะเหตุ
ประสบภัยจากรถ
• ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดร้อน
แก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว
ประเภทรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทําประกันภัย พ.ร.บ.
• รถสําหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และรถ
สําหรับผู้สําเร็จราชการ แทนพระองค์
• รถของสํานักพระราชวังที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายตามระเบียบที่
เลขาธิการพระราชวัง กําหนด
• รถของกระทรวง ทบวงกรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และส่วนราชการท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น
และรถยนต์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร
• รถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงาน
ธุรการที่เป็นอิสระขององค์กรใดๆ ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ
ความคุ้มครองเบื้องต้นตาม พ.ร.บ.
ค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บและ
เป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด บริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย/ทายาทโดยธรรมของ
ผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับแต่บริษัทได้รับคําร้องขอค่าเสียหายดังกล่าวเรียกว่า “ค่าเสียหายเบื้องต้น” โดยมีจํานวนเงิน
ดังนี้กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่าย
จริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท ต่อหนึ่งคน
1. กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย (สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ) อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้บริษัทจะจ่าย
ค่าเสียหายเบื้องต้น จํานวน 35,000 บาท ต่อหนึ่งคน
(ก) ตาบอด
(ข) หูหนวก
(ค) เป็นใบ้หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด
(ง) สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
(จ) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว
(ฉ) เสียอวัยวะอื่นใด
(ช) จิตพิการอย่างติดตัว
(ซ) ทุพพลภาพอย่างถาวร
2. กรณีบาดเจ็บจะได้รับการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลตาม ข้อ 1. และต่อมาทุพพลภาพตาม ข้อ 2. รวมกันแล้วจะไม่เกิน 65,000 บาท
ต่อหนึ่งคน
3. กรณีเสียชีวิตจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จํานวน 35,000 บาท ต่อหนึ่งคน
4. กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงตามข้อ 1 รวมกันไม่เกิน
65,000 บาท ต่อหนึ่งคน
ค่าเสียหายเบื้องต้น กรณีรถตั้งแต่ 2 คัน ขึ้นไปก่อให้เกิด
ความเสียหาย
• กรณีรถตั้งแต่ 2 คันขึ้นไปก่อให้เกิดความเสียหาย(เฉี่ยวชนกัน) เป็นเหตุ
ให้ผู้ซึ่งอยู่ในรถไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารก็ตาม หากได้รับ
บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ให้บริษัทที่รับประกันภัยรถแต่ละคันจ่าย
ค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถคันที่บริษัทรับ
ประกันภัยไว้ แต่ถ้าผู้ประสบภัยเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้อยู่ในรถคันใด
คันหนึ่ง ให้บริษัทร่วมกันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยโดย
เฉลี่ยจ่ายในอัตราส่วนที่เท่ากัน
การใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น
• ผู้ประสบภัยต้องร้องขอค่าเสียหายเบื้องต้น กับบริษัทภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น โดยใช้หลักฐาน ดังนี้
• กรณีบาดเจ็บ
• 1.1 ใบเสร็จรับเงินจากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล หรือหลักฐานการแจ้งหนี้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
• 1.2 สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือสําเนาใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว หรือสําเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่
ทางราชการเป็นผู้ออกให้ ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
• ในกรณีผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บต่อมาทุพพลภาพ นอกจากต้องยื่นหลักฐานตาม ข้อ 1.1 และ 1.2 แล้ว ให้ยื่นใบรับรองแพทย์
หรือความเห็นแพทย์ หรือหลักฐานอื่นใดที่ระบุว่าเป็นผู้ประสบภัยซึ่งทุพพลภาพ พร้อมทั้งสําเนาบันทึกประจําวันของพนักงาน
สอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถเพิ่มเติมด้วย
• กรณีเสียชีวิต
• 2.1 สําเนามรณบัตร
• 2.2 สําเนาบันทึกประจําวันของพนักงานสอบสวน
• 2.3 สําเนาบัตรประจําตัว หรือสําเนาใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว หรือสําเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทาง
ราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
การสํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าชดเชยรายวัน
และค่าปลงศพ
• ในกรณีรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประสบอุบัติเหตุชนกับรถอื่น ซึ่งมีการ
ประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ บริษัทจะสํารอง
จ่าย ให้แก่ผู้ประสบภัย ซึ่งโดยสารมาในรถ หรือกําลังขึ้น หรือกําลังลงจากรถที่เอา
ประกันภัยไว้กับบริษัท ดังนี้
1.ค่ารักษาพยาบาลตามใบเสร็จรับเงิน ไม่เกิน 50,000 บาท ต่อหนึ่งคน สําหรับกรณี
ได้รับบาดเจ็บ
2.ค่าทดแทน หรือค่าปลงศพ เป็นจํานวนเงิน 200,000 บาท ต่อหนึ่งคน สําหรับกรณี
เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร
3.ค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน หรือค่าปลงศพ รวมกันไม่เกิน 200,000 บาท ต่อหนึ่ง
คน
• สําหรับ ผู้ประสบภัยที่เป็นบุคคลภายนอกรถ บริษัทและผู้รับประกันภัยอื่นจะ
ร่วมกันสํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนหรือค่าปลงศพ โดยเฉลี่ยฝ่ายละ
เท่าๆ กัน
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
• กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสําหรับจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย กรณีดังต่อไปนี้
• 1. รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยมิได้จัดทําประกันภัยตามที่กฎหมายกําหนดไว้ และ
เจ้าของรถไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น(กรณีบาดเจ็บเท่าที่รักษาจริงจะไม่เกิน 15,000 บาท หากเสียชีวิต
35,000 บาท )
2. รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายมิได้อยู่ในความครอบครองของเจ้าของรถในขณะเกิดเหตุ เพราะถูก
ยักยอก ฉ้อโกง กรรโชก ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ และได้มีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนไว้
แล้ว
3. รถนั้นไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถและมิได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามที่กฎหมายกําหนดไว้
4. รถนั้นมีผู้ขับหลบหนีไปหรือไม่อาจทราบได้ว่าความเสียหายเกิดจากรถคันใด
5. บริษัทไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยหรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่
ครบจํานวน
6. รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นรถที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย
กรณีรถไม่ทําประกันภัยไปก่อให้เกิดความเสียหายกับ
ผู้ประสบภัย
• กฎหมายกําหนดให้เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องทําประกันภัยตามพระราชบัญญัติ
คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เมื่อเจ้าของรถฝ่าฝืนไม่ทําประกันภัยแล้วรถ
คันดังกล่าวไปก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ประสบภัย เจ้าของรถจึงมีหน้าที่ต้อง
รับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น ถ้าผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บเจ้าของรถต้องจ่ายค่า
รักษาพยาบาลหรือถ้าเสียชีวิตต้องรับผิดชอบค่าปลงศพ อย่างน้อยต้องไม่ตํ่ากว่า
จํานวนที่กฎหมายกําหนดไว้(กรณีบาดเจ็บเท่าที่รักษาจริงจะไม่เกิน 30,000 บาท
หากเสียชีวิต 35,000 บาท ) หากน้อยกว่านี้ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมของ
ผู้ประสบภัยยังคงมาขอรับส่วนที่ยังขาดอยู่ได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เมื่อ
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจ่ายไปแล้ว กฎหมายกําหนดให้นายทะเบียนตาม
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีหน้าที่เรียกเงินตาม
จํานวนที่ได้จ่ายไปคืนจากเจ้าของรถรวมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบของจํานวน
ค่าเสียหายเบื้องต้นที่จ่ายจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเพื่อเข้าสมทบอีกต่างหาก
ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับคําสั่งจากนายทะเบียน
ระยะเวลาการใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นตามพระราชบัญญัติ
นี้
กฎหมายกําหนดระยะเวลาการใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น ให้
ผู้ประสบภัยต้องร้องขอภายใน 180 วันนับแต่วันที่มีความเสียหาย
เกิดขึ้น
กฎหมายกําหนดระยะเวลาการใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น ให้
ผู้ประสบภัยต้องร้องขอภายใน 180 วันนับแต่วันที่มีความเสียหาย
เกิดขึ้น
คําถามท้ายบท
ประกันชีวิตประเภทกลุ่มต้องมีอย่างน้อยกี่คน
3คนขึ้นไป
5คนขึ้นไป
10คนขึ้น
ไป
12คนขึ้น
ไป
คปภ นายพชรพล เพ็ชรสินธพ นายพีระพล แจ่มศิริพรหม
คปภ นายพชรพล เพ็ชรสินธพ นายพีระพล แจ่มศิริพรหม
คปภ นายพชรพล เพ็ชรสินธพ นายพีระพล แจ่มศิริพรหม

More Related Content

Viewers also liked

Viewers also liked (7)

Cassa Depositi e Prestiti - Institutional Presentation
Cassa Depositi e Prestiti - Institutional PresentationCassa Depositi e Prestiti - Institutional Presentation
Cassa Depositi e Prestiti - Institutional Presentation
 
Video learning
Video learningVideo learning
Video learning
 
10waystoknowifyourspeechsucks 150703183546-lva1-app6892
10waystoknowifyourspeechsucks 150703183546-lva1-app689210waystoknowifyourspeechsucks 150703183546-lva1-app6892
10waystoknowifyourspeechsucks 150703183546-lva1-app6892
 
The last days in vietnam
The last days in vietnamThe last days in vietnam
The last days in vietnam
 
Shutter marathi 2014
Shutter marathi 2014Shutter marathi 2014
Shutter marathi 2014
 
cv1
cv1cv1
cv1
 
How to win back fickle customers.docx
How to win back fickle customers.docxHow to win back fickle customers.docx
How to win back fickle customers.docx
 

คปภ นายพชรพล เพ็ชรสินธพ นายพีระพล แจ่มศิริพรหม

  • 1.
  • 2. จัดทําโดย นายพชรพล เพ็ชรสินธพ เลขที่ 12 นายพีระพล แจ่มศิริพรหม เลขที่ 25 นักเรียนชั้นมัธยมปีที่6/1 เสนอ อาจารย์ศิริรัตน์ นําไทย โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม
  • 3. คือ เป็นองค์กรอิสระที่คอยกํากับดูแลธุรกิจประกันภัยต่างๆและส่งเสริมธุรกิจ ประกันภัยให้มีส่วนในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศและคุ้มครองผลประโยชน์ ของประชาชนด้านการประกันภัย ถือว่าดูแลครอบคลุมเกี่ยวกับประกันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย อาทิ หากวันหนึ่งบริษัทประกันล้มละลาย ผู้ที่จะรับผิดชอบ หรือ ชดเชยให้เราได้แค่ คปภ. หรือหากบริษัทประกันปฏิบัติไม่ตรง เงื่อนไขใดๆปกปิดข้อมูลลูกค้า หรือทุจริตต่าง คปภ.มีสิทธิ์สั่งยกเลิกบริษัทนั้นๆได้ เป็นต้น โดยเราสามารถร้องเรียนเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกันประกันได้ที่ คปภ. แน่นอน ว่าการมี คปภ. ก็สามารถช่วยให้เราคลายกังวลได้เมื่อเราเกิดปัญหาจากวงการ ประกัน ก็ยังมี คปภ.ให้เราอุ่นใจ สายด่วน ประกันภัย 1186 คปภ.คือ
  • 4. การประกันชีวิต แยกออกได้เป็น 3 ประเภทคือ ประเภท สามัญ ประเภท อุตสาหกรรม ประเภท กลุ่ม
  • 9. • 1.แบบตลอดชีพ เป็นการประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตลอดชีพ ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตเมื่อใดใน ขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับ บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจํานวนเงินเอาประกันภัย ให้แก่ผู้รับประโยชน์ วัตถุประสงค์เบื้องต้นของการประกันภัยแบบนี้เพื่อจัดหาเงินทุนสําหรับจุนเจือบุคคลที่อยู่ในความ อุปการะเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต หรือเพื่อเป็นเงินทุนสําหรับการเจ็บป่วยครั้งสุดท้ายและค่าทําศพ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ตกเป็นภาระของคนอื่น • 2.แบบสะสมทรัพย์ เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทจะจ่ายจํานวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย เมื่อมีชีวิตอยู่ครบกําหนดสัญญา หรือจ่ายเงินเอาประกันภัย ให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัย เสียชีวิตลงภายในระยะเวลาประกันภัย การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เป็นส่วนผสมของการคุ้มครอง ชีวิตและการออมทรัพย์ ส่วนของการออมทรัพย์ คือส่วนที่ผู้เอาประกันภัยได้รับคืนเมื่อสัญญาครบ กําหนด • 3.แบบชั่วระยะเวลา เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอา ประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาประกันภัย วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครอง การเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร การประกันชีวิตแบบนี้ไม่มีส่วนของการออมทรัพย์ เบี้ยประกันภัยจึงตํ่ากว่าแบบอื่น ๆ และไม่มีเงินเหลือ คืนให้หากผู้เอาประกันภัยอยู่จนครบกําหนดสัญญา • 4.แบบเงินได้ประจํา เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินจํานวนหนึ่งเท่ากันอย่าง สมํ่าเสมอให้แก่ผู้เอาประกันภัยทุกเดือน นับแต่ผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุ หรือมีอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี เป็นต้นไป แล้วแต่เงื่อนไขในกรมธรรม์ที่กําหนดไว้ สําหรับระยะเวลาการจ่ายเงินได้ประจํานี้ขึ้นอยู่ กับความต้องการของผู้เอาประกันชีวิตที่จะเลือกซื้อ
  • 11. • 1.แบบชั่วระยะเวลา ให้ความคุ้มครองในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่กําหนดไว้ในกรมธรรม์ โดยบริษัทจะจ่ายเงิน ตามจํานวนเงินเอาประกันภัยให้ผู้รับประโยชน์ ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ นั้น • 2.แบบตลอดชีพ บริษัทจะจ่ายเงินตามจํานวนเงินเอาประกันภัย ให้ผู้รับประโยชน์ในกรณีที่ผู้เอา ประกันภัยเสียชีวิต ไม่ว่าจะเสียชีวิตเมื่อใดก็ตาม • ** ทั้งแบบ 1 และแบบ 2 เป็นการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตแล้ว เท่านั้น • 3.แบบสะสมทรัพย์ บริษัทจะจ่ายเงินตามจํานวนที่เอาประกันภัยไว้ ให้แก่ผู้รับประโยชน์ถ้าผู้เอา ประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ หรือจ่ายเงินเอาประกันชีวิตให้แก่ผู้เอาประกันภัยในกรณี ที่มีชีวิตอยู่รอดพ้นระยะเวลาที่กําหนดไว้ • 4.แบบเงินได้ประจํา บริษัทจะจ่ายเงินได้ประจํา หรือเงินบํานาญให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยเริ่มจ่ายตั้งแต่ วันที่ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติเนื่องจากความชรา ไปจนถึงวันที่กําหนดไว้ (อาจเป็นชั่วระยะเวลาหนึ่ง หรือตลอดอายุก็ได้) • ** แบบ 3 ส่วนท้าย และแบบ 4 เป็นการจ่ายเงินโดยมีเงื่อนไขว่าผู้เอาประกันภัยต้องมีชีวิตรอดอยู่จนพ้น ระยะเวลาที่กําหนดไว้
  • 12.
  • 13. การที่รัฐออกกฎหมายกําหนดให้รถทุกคันต้องจัดให้มีประกันภัยอย่างน้อย ที่สุด คือ การทําประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ • เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เพราะเหตุ ประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที กรณี บาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่า ปลงศพ กรณีเสียชีวิต • เป็นหลักประกันให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลใน การรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ • เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายเพราะเหตุ ประสบภัยจากรถ • ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดร้อน แก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว
  • 14. ประเภทรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทําประกันภัย พ.ร.บ. • รถสําหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และรถ สําหรับผู้สําเร็จราชการ แทนพระองค์ • รถของสํานักพระราชวังที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายตามระเบียบที่ เลขาธิการพระราชวัง กําหนด • รถของกระทรวง ทบวงกรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และส่วนราชการท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น และรถยนต์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร • รถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงาน ธุรการที่เป็นอิสระขององค์กรใดๆ ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ
  • 15. ความคุ้มครองเบื้องต้นตาม พ.ร.บ. ค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บและ เป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด บริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย/ทายาทโดยธรรมของ ผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับแต่บริษัทได้รับคําร้องขอค่าเสียหายดังกล่าวเรียกว่า “ค่าเสียหายเบื้องต้น” โดยมีจํานวนเงิน ดังนี้กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่าย จริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท ต่อหนึ่งคน 1. กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย (สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ) อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้บริษัทจะจ่าย ค่าเสียหายเบื้องต้น จํานวน 35,000 บาท ต่อหนึ่งคน (ก) ตาบอด (ข) หูหนวก (ค) เป็นใบ้หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด (ง) สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ (จ) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว (ฉ) เสียอวัยวะอื่นใด (ช) จิตพิการอย่างติดตัว (ซ) ทุพพลภาพอย่างถาวร 2. กรณีบาดเจ็บจะได้รับการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลตาม ข้อ 1. และต่อมาทุพพลภาพตาม ข้อ 2. รวมกันแล้วจะไม่เกิน 65,000 บาท ต่อหนึ่งคน 3. กรณีเสียชีวิตจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จํานวน 35,000 บาท ต่อหนึ่งคน 4. กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงตามข้อ 1 รวมกันไม่เกิน 65,000 บาท ต่อหนึ่งคน
  • 16. ค่าเสียหายเบื้องต้น กรณีรถตั้งแต่ 2 คัน ขึ้นไปก่อให้เกิด ความเสียหาย • กรณีรถตั้งแต่ 2 คันขึ้นไปก่อให้เกิดความเสียหาย(เฉี่ยวชนกัน) เป็นเหตุ ให้ผู้ซึ่งอยู่ในรถไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารก็ตาม หากได้รับ บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ให้บริษัทที่รับประกันภัยรถแต่ละคันจ่าย ค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถคันที่บริษัทรับ ประกันภัยไว้ แต่ถ้าผู้ประสบภัยเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้อยู่ในรถคันใด คันหนึ่ง ให้บริษัทร่วมกันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยโดย เฉลี่ยจ่ายในอัตราส่วนที่เท่ากัน
  • 17. การใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น • ผู้ประสบภัยต้องร้องขอค่าเสียหายเบื้องต้น กับบริษัทภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น โดยใช้หลักฐาน ดังนี้ • กรณีบาดเจ็บ • 1.1 ใบเสร็จรับเงินจากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล หรือหลักฐานการแจ้งหนี้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล • 1.2 สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือสําเนาใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว หรือสําเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ ทางราชการเป็นผู้ออกให้ ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย • ในกรณีผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บต่อมาทุพพลภาพ นอกจากต้องยื่นหลักฐานตาม ข้อ 1.1 และ 1.2 แล้ว ให้ยื่นใบรับรองแพทย์ หรือความเห็นแพทย์ หรือหลักฐานอื่นใดที่ระบุว่าเป็นผู้ประสบภัยซึ่งทุพพลภาพ พร้อมทั้งสําเนาบันทึกประจําวันของพนักงาน สอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถเพิ่มเติมด้วย • กรณีเสียชีวิต • 2.1 สําเนามรณบัตร • 2.2 สําเนาบันทึกประจําวันของพนักงานสอบสวน • 2.3 สําเนาบัตรประจําตัว หรือสําเนาใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว หรือสําเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทาง ราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
  • 18. การสํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าชดเชยรายวัน และค่าปลงศพ • ในกรณีรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประสบอุบัติเหตุชนกับรถอื่น ซึ่งมีการ ประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ บริษัทจะสํารอง จ่าย ให้แก่ผู้ประสบภัย ซึ่งโดยสารมาในรถ หรือกําลังขึ้น หรือกําลังลงจากรถที่เอา ประกันภัยไว้กับบริษัท ดังนี้ 1.ค่ารักษาพยาบาลตามใบเสร็จรับเงิน ไม่เกิน 50,000 บาท ต่อหนึ่งคน สําหรับกรณี ได้รับบาดเจ็บ 2.ค่าทดแทน หรือค่าปลงศพ เป็นจํานวนเงิน 200,000 บาท ต่อหนึ่งคน สําหรับกรณี เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร 3.ค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน หรือค่าปลงศพ รวมกันไม่เกิน 200,000 บาท ต่อหนึ่ง คน • สําหรับ ผู้ประสบภัยที่เป็นบุคคลภายนอกรถ บริษัทและผู้รับประกันภัยอื่นจะ ร่วมกันสํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนหรือค่าปลงศพ โดยเฉลี่ยฝ่ายละ เท่าๆ กัน
  • 19. กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย • กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสําหรับจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย กรณีดังต่อไปนี้ • 1. รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยมิได้จัดทําประกันภัยตามที่กฎหมายกําหนดไว้ และ เจ้าของรถไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น(กรณีบาดเจ็บเท่าที่รักษาจริงจะไม่เกิน 15,000 บาท หากเสียชีวิต 35,000 บาท ) 2. รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายมิได้อยู่ในความครอบครองของเจ้าของรถในขณะเกิดเหตุ เพราะถูก ยักยอก ฉ้อโกง กรรโชก ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ และได้มีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนไว้ แล้ว 3. รถนั้นไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถและมิได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามที่กฎหมายกําหนดไว้ 4. รถนั้นมีผู้ขับหลบหนีไปหรือไม่อาจทราบได้ว่าความเสียหายเกิดจากรถคันใด 5. บริษัทไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยหรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่ ครบจํานวน 6. รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นรถที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย
  • 20. กรณีรถไม่ทําประกันภัยไปก่อให้เกิดความเสียหายกับ ผู้ประสบภัย • กฎหมายกําหนดให้เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องทําประกันภัยตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เมื่อเจ้าของรถฝ่าฝืนไม่ทําประกันภัยแล้วรถ คันดังกล่าวไปก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ประสบภัย เจ้าของรถจึงมีหน้าที่ต้อง รับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น ถ้าผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บเจ้าของรถต้องจ่ายค่า รักษาพยาบาลหรือถ้าเสียชีวิตต้องรับผิดชอบค่าปลงศพ อย่างน้อยต้องไม่ตํ่ากว่า จํานวนที่กฎหมายกําหนดไว้(กรณีบาดเจ็บเท่าที่รักษาจริงจะไม่เกิน 30,000 บาท หากเสียชีวิต 35,000 บาท ) หากน้อยกว่านี้ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมของ ผู้ประสบภัยยังคงมาขอรับส่วนที่ยังขาดอยู่ได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เมื่อ กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจ่ายไปแล้ว กฎหมายกําหนดให้นายทะเบียนตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีหน้าที่เรียกเงินตาม จํานวนที่ได้จ่ายไปคืนจากเจ้าของรถรวมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบของจํานวน ค่าเสียหายเบื้องต้นที่จ่ายจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเพื่อเข้าสมทบอีกต่างหาก ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับคําสั่งจากนายทะเบียน
  • 21. ระยะเวลาการใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นตามพระราชบัญญัติ นี้ กฎหมายกําหนดระยะเวลาการใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น ให้ ผู้ประสบภัยต้องร้องขอภายใน 180 วันนับแต่วันที่มีความเสียหาย เกิดขึ้น กฎหมายกําหนดระยะเวลาการใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น ให้ ผู้ประสบภัยต้องร้องขอภายใน 180 วันนับแต่วันที่มีความเสียหาย เกิดขึ้น