SlideShare a Scribd company logo
1 of 16
Download to read offline
4
เชิญพระราชดำริเป็นหลักนำชาติ
ฟื้นฟู-แก้วิกฤติน้ำท่วมตามรอยพระยุคลบาท
อ่านต่อหน้า 16
อ่านต่อหน้า 16
เทศบาลทั่วประเทศร่วมใจ
เพื่อนช่วยเพื่อนพึ่งพากันเอง
ปิดทองหลังพระ คือการเพียรทำความดี โดยไม่มุ่งเน้นประโยชน์ส่วนตน
สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่ง
ประเทศไทยผุดแนวคิดช่วยเหลือพึ่งพา
กันเองในยามวิกฤติ สร้างความเข้มแข็ง
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาค
ประชาชนไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากรัฐ
นายไพร พัฒโน นายกสมาคม
สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยและ
กรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ
สืบสานแนวพระราชดำริ กล่าวว่า สมาคมฯ เห็นพ้องต้องกันใน

แนวความคิดที่จะให้เทศบาลแต่ละแห่ง จับคู่ช่วยเหลือกันในเวลา
ที่เกิดวิกฤตการณ์ต่าง ๆ เช่น กรณีอุทกภัยที่เกิดขึ้น ซึ่งจะมีภารกิจ

ในการฟื้นฟูหลังน้ำลดตามมาอีกมาก 
ทฤษฎีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มูลนิธิชัยพัฒนาสรุปว่ามีอยู่ 5 วิธี

คือ 1. การก่อสร้างคันกั้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม เช่น คันดินขนาด

พอเหมาะ ขนานตามลำน้ำห่างจากระยะตลิ่งพอสมควร เพื่อป้องกัน
ปัญหาน้ำล้นตลิ่ง 2. การก่อสร้างทางผันน้ำ เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือ
บางส่วนที่ล้นตลิ่งออกไป โดยก่อสร้างทางผันน้ำหรือขุดคูคลองสายใหม่
เชื่อมต่อกับลำน้ำที่มีปัญหาน้ำท่วม โดยให้น้ำไหลตามทางผันน้ำ

ลงสู่ทะเล 3. การปรับปรุงและตกแต่งสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วม
ทะลักสามารถไหลไปลงลำน้ำได้สะดวก โดยวิธีการขุดลอกลำน้ำ

ตื้นเขิน ตกแต่งดินตามลาดตลิ่งให้เรียบ กำจัดวัชพืช ผักตบชวา

หากลำน้ำใดคดโค้งมาก ให้หาแนวคลองขุดใหม่เป็นลำน้ำสายตรง
ให้น้ำไหลสะดวก 4. การก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำเพื่อสามารถ

เก็บกักน้ำที่ไหลท่วมล้นในฤดูน้ำหลาก และนำมาใช้ในเกษตรกรรม

และผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 5. การทำ “แก้มลิง” เพื่อเป็นพื้นที่พักน้ำ
ขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล โดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก
ตามธรรมชาติดันน้ำออกสู่ทะเล โดยมีประตูระบายน้ำติดตั้งไว้ปลาย
คลองกันน้ำไหลย้อนกลับ
หลังจากอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นตั้งแต่
เดือนกรกฎาคมจนถึงธันวาคม 2554 ทำให้มี
ราษฎรได้รับผลกระทบมากกว่า 12.8 ล้านคน
พื้นที่การเกษตรและอุตสาหกรรมได้รับผล
กระทบ 150 ล้านไร่ ใน 63 จังหวัด 641 อำเภอ
และถูกกล่าวขานว่าเป็น 
นายไพร พัฒโน
สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ
ก้าวต่อไปของปิดทองหลังพระฯ ในปี 2555
ที่ประชุมคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรม

ปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2554

รับทราบความก้าวหน้าการปฏิบัติงานในพื้นที่ขยายผลปิดทองหลังพระฯ
ว่า 9 หมู่บ้าน ในจังหวัดเชียงใหม่ น่าน พิษณุโลก และสิงห์บุรี อยู่ใน
ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามพระราชดำริ
และในภาพรวม คณะทำงานระดับอำเภอให้ความสำคัญกับการ
สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าของงานใน
พื้นที่ทุกขั้นตอน นายอำเภอและปลัดอำเภอ ลงมากำกับดูแลงานใน
พื้นที่ด้วยตัวเอง ทำให้แผนงานที่จัดทำตรงกับปัญหาและความ
ต้องการของชาวบ้าน รวมทั้งมีการนำองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริ
เรื่องน้ำมาช่วยแก้ปัญหา และมีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
ด้วยดี ส่วนอีก 9 หมู่บ้าน ในจังหวัดเชียงราย ประจวบคีรีขันธ์
เพชรบุรี ตราด เลย และยะลา อยู่ในขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล ค้นหา
ปัญหาและความต้องการของชุมชน 
สำหรับพื้นที่ต้นแบบ โครงการปิดทองหลังพระฯ จังหวัดน่าน
สถาบันฯ มีมติเห็นชอบแผนการดำเนินงานและงบประมาณประจำปี
2555 รวม 7 โครงการ เพื่อการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำอย่าง

ยั่งยืน ด้วยการสร้างฝายเพิ่ม ซ่อมแซม บำรุงรักษาฝาย ระบบการส่งน้ำ
ด้วยท่อและบ่อพวงสันเขา ส่งเสริมการเรียนรู้การจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
ปรับปรุงบำรุงดินให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก ส่งเสริมการปลูกพืช
ตระกูลถั่ว เพื่อลดการใช้สารเคมี ปรับปรุงคันนาขั้นบันไดขุดใหม่

เพื่อรักษาความแข็งแรงด้วยการปลูกตะไคร้และดอกไม้จีน ส่งเสริม
การปลูกพืชเศรษฐกิจและพืชหลังนาแบบพอเพียง ส่งเสริมการ

ปลูกพืชที่ชาวบ้านต้องการ ได้แก่ บร็อคโคลี่ พริกซุปเปอร์ฮอท

ฟักเขียว ถั่วลันเตา หน่อไม้ฝรั่ง เผือก ว่านหางจระเข้ และตะไคร้

ในรูปแบบการยืมปัจจัยการผลิต ส่งเสริมการแปรรูปและเพิ่มมูลค่า
ผลผลิตทางการเกษตร โดยการแปรรูปมะแขว่น กล้วยเหลืองนวล
ต๋าว มะนาวและพริกกะเหรี่ยง จัดตั้งกองทุนและส่งเสริมการรวมกลุ่ม
เช่น กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กองทุนปศุสัตว์ กองทุนเมล็ดพืช กองทุน
การบริหารจัดการน้ำ การพัฒนาบุคลากร เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะ
ให้กับเจ้าหน้าที่ปิดทองหลังพระฯ จังหวัดน่าน และชาวบ้านในพื้นที่
ด้านการเกษตร ปศุสัตว์ คอมพิวเตอร์ รวมทั้งศึกษาดูงานจากครู

ภูมิปัญญา หรือแหล่งเรียนรู้ที่นำแนวพระราชดำริไปปฏิบัติจนประสบ
ความสำเร็จ และจัดสร้างศูนย์เรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียง ใน 3 อำเภอ
สำหรับความก้าวหน้าของโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
อ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายฯ จ.อุดรธานี หลังจากพัฒนาระบบน้ำเสร็จ

จากการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบ ปรากฏว่าสามารถเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าว
จากเดิม 800 ไร่ ได้เป็น 1,788 ไร่ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการเลี้ยงสุกร
เหมยซาน 91 ตัว ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในพื้นที่เพื่อลดต้นทุน

เช่น กล้วย ใบมันสำปะหลัง รำ เป็นอาหารเลี้ยงสุกร ส่งเสริมการปลูก
กล้วยเหลืองนวล การเลี้ยงเป็ดสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับการเลี้ยงแบบ
พื้นบ้าน และความต้องการของตลาด รวมทั้งสำรวจความต้องการ
ของชาวบ้านในการปลูกพืชหลังนา ขนาดพื้นที่ ชนิดของพืชที่ปลูก
ราคาตลาด ราคาต้นทุน และส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี
โดยใช้วัตถุดิบในพื้นที่
นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติอนุมัติกรอบงบประมาณของสถาบันฯ
ในการสนับสนุนกิจกรรมตามแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์

ตามพระราชดำริ ที่เป็นปัญหาเร่งด่วนของหมู่บ้าน เพื่อสร้างความ

เชื่อมั่น ศรัทธาให้กับทีมปฏิบัติการพื้นที่ระดับอำเภอและจังหวัด

โดยมอบหมายให้ผู้อำนวยการสถาบันฯ หารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด
พิจารณารายละเอียดกิจกรรม ที่จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณ
รวมทั้งอนุมัติแนวทางการคัดเลือกพื้นที่ตามแผนพัฒนาชนบทเชิง
พื้นที่ประยุกต์ตามพระราชดำริ โดยให้จังหวัดสำรวจข้อมูลการใช้
ประโยชน์จากโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ขนาดเล็ก 137 โครงการ ที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อ
ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ส่งข้อมูล
กายภาพเบื้องต้นมาให้ และมอบหมายปลัดกระทรวงมหาดไทย

แต่งตั้งคณะทำงานกลั่นกรองข้อมูลเพื่อคัดเลือกพื้นที่อีกครั้ง โดย
กำหนดเป้าหมายการทำงานปี 2556-2558 ไว้ที่ปีละ 35 หมู่บ้าน 
2
ข่าว
เจ้าของ		 :	 มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ 
			 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เลขที่ 1 ถนนนครปฐม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 
		 :	 สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ 
			 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้น 26 เลขที่ 989 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 
			 โทรศัพท์ 0-2611-5000 โทรสาร 0-2658-1413 
ที่ปรึกษา		 :	 หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ นายพิพัฒน์ เลิศกิตติสุข 
บรรณาธิการ	 :	 นายธนัยนันท์ ธนันท์ปพัฒน์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นายสุชาติ ถนอม
ผู้จัดทำ		 :	 บริษัท แอร์บอร์น พรินต์ จำกัด 1519/21 ซอยลาดพร้าว 41/1 ถนนลาดพร้าว แขวงสามเสนนอก
			 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 
			 โทรศัพท์ 0-2939-9700 โทรสาร 0-2512-2208 E-mail : roso215@yahoo.com
www.pidthong.org

www.twitter.com/pidthong
www.facebook.com/pidthong
www.youtube.com/pidthongchannel
สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ
ปิดทองหลังพระ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จังหวัดเชียงใหม่
และชาวบ้านบ้านปาง ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ
จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมประชุมจัดทำแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่
ประยุกต์ตามพระราชดำริ พื้นที่ขยายผลปิดทองหลังพระ
ระหว่างวันที่ 30 พ.ย.-1 ธ.ค. 2554 ที่วัดป่าไม้แดง อ.ไชยปราการ
การประชุมวันแรก เป็นการซักซ้อมความเข้าใจระหว่างปิดทองฯ
และหน่วยราชการกับชาวบ้าน ซึ่งได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า จังหวัด
เชียงใหม่ จะใช้แนวทางของปิดทองฯ คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

เน้นการมีส่วนร่วมและความต้องการของชุมชนเป็นหลัก เพื่อให้การ
พัฒนาเห็นผลและเกิดความยั่งยืน ทั้งนี้ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ
ได้ทั่วถึง 2) สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด
ดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ด้วยการปลูกพันธุ์ไม้ท้องถิ่น
และปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง 3) สำนักงานเกษตร

และสหกรณ์จังหวัด จัดอบรมเกษตรผสมผสานและจัดตั้งฟาร์มสาธิต
4) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด จะส่งเสริมอาชีพและการเรียนรู้
เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 5) ปศุสัตว์อำเภอ
เสนอแผนส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรและไก่ 6) สำนักเกษตรอำเภอ
ส่งเสริมการทำนาขั้นบันได 7) เทศบาลตำบลหนองบัว จะส่งเสริม

การเลี้ยงเป็ดเทศ เพื่อบริโภคไข่ 8) สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัด

ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะปรับปรุงดิน ส่งเสริมการปลูกพืช

ทางเลือกและการทำเกษตรผสมผสาน เป็นต้น
ในช่วงเย็นวันเดียวกัน มีการเปิดตัวครอบครัวอาสาพัฒนาพื้นที่
ปิดทองหลังพระฯ 4 ครอบครัว และแต่ละครอบครัวมีการนำเสนอ
หลักการและวิธีคิดการทำเกษตรผสมผสาน ตามแนวทางปิดทอง

หลังพระฯ เช่น นายทองสุก ศรีบุญเรือง หนึ่งในครอบครัวอาสา
พัฒนาปิดทองฯ บอกว่า หลังจากเห็นผลที่จังหวัดน่าน ทำให้อยากทำ
เกษตรผสมผสานบ้าง เพราะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลูกพืช
หลากหลาย เช่น มะม่วง กระท้อน ขนุน ลำไย และเลี้ยงไก่ดำ กบ
ปลานิล หมูเหมยซาน ฯลฯ จากนั้นเป็นการเปิดโอกาสให้ชาวบ้าน
ที่มาร่วมรับฟังนำกลับไปคิด เพื่อหาข้อสรุปในวันรุ่งขึ้น 
การประชุมในวันที่ 1 ธันวาคม 2554 ชาวบ้านบ้านปางร่วมกัน
แสดงความคิดเห็นและสรุปความต้องการของชุมชนทั้งการปลูกพืช
และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งหน่วยราชการที่มาร่วมรับฟังจะนำความต้องการ
ของชุมชนไปศึกษาความเป็นไปได้และจัดทำเป็นแผนส่งเสริมต่อไป
โดยคาดว่าเริ่มดำเนินการได้ในต้นปี 2555
พัฒนาไชยปราการสู่ความยั่งยืน
อำนวยการปฏิบัติงานระดับจังหวัดและคณะทำงานระดับอำเภอ

ขึ้นแล้ว 2 คณะ พร้อมกับสั่งการหน่วยงานให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
ศ.ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมและพัฒนา
กิจกรรมปิดทองหลังพระฯ กล่าวว่า บ้านปางมีแหล่งน้ำและดินอุดม
สมบูรณ์ แต่ยังใช้ได้ไม่เต็มศักยภาพ การดำเนินการของปิดทองหลังพระฯ
จะเน้นให้ชาวบ้านรู้จักวิเคราะห์ปัญหาของตนเอง สร้างความมั่นใจ
ในการเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นการปลูกพืช
แบบผสมผสาน รวมทั้งชักชวนหน่วยราชการมาร่วมกันพัฒนาตาม
ความต้องการของชาวบ้าน ซึ่งจากการสำรวจพบว่า มีอยู่ 5 ประการ
คือ 1. พัฒนาแหล่งน้ำซึมงูเหลือมรูบนและล่าง และพัฒนาระบบน้ำ
ให้ใช้บนพื้นที่สูงได้ 2. ส่งเสริมการเกษตรแบบผสมผสาน เช่น

เลี้ยงปลา หมู ไก่ กบ ปลูกพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่และมีตลาดรองรับ
3. ปรับปรุงคุณภาพดินให้อุดมสมบูรณ์ 4. อนุรักษ์ป่าต้นน้ำบน

น้ำรูงูเหลือม 5. การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคในครัวเรือน

เพื่อลดรายจ่ายและปลดหนี้
หน่วยราชการที่ร่วมประชุมเสนอแนวทางสนับสนุนต่าง ๆ ได้แก่
1) โครงการชลประทานจังหวัดเชียงใหม่ จะสร้างอาคารบังคับน้ำ
ปรับปรุงและขุดสระเก็บน้ำ จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ เพื่อบริหารจัดการน้ำ
ราษฎร์-รัฐร่วมปิดทองฯ
3
รายงานพิเศษ
สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ
หนึ่งในปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการบริหารจัดการน้ำ
อย่างยั่งยืน อ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี คือ องค์ความรู้ด้านการเกษตรและปศุสัตว์
ของโครงการฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดำริในสมเด็จ

พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งปิดทองหลังพระฯ นำมาถ่ายทอด
สู่การปฏิบัติเป็นต้นแบบในพื้นที่แปลงเกษตรสาธิต บ้านโคกล่าม

และบ้านแสงอร่าม 
นายอนันตสิทธิ์ ซามาตย์ หัวหน้าผู้ดูแลพระตำหนักภูพาน

ราชนิเวศน์ ผู้ประสานโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ กล่าวว่า หลักการ

ของฟาร์มตัวอย่าง คือ การทำเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกพืชผัก

เพื่อบริโภคและจำหน่าย ลดค่าใช้จ่ายและสร้างรายได้ให้กับตัวเอง

มีการวางแผนปลูกพืชให้ได้ผลผลิตต่อเนื่องตลอดทั้งปี ด้วยการ

ปลูกพืช 3 ชั้น คือ พืชชั้นสูง พืชชั้นกลางและพืชกินหัว ซึ่งทุกชั้น

กินได้ขายได้ และการปศุสัตว์ เช่น เลี้ยงหมูจินหัว เป็ดอี้เหลียง

ปลากินพืชในบ่อ เป็นต้น 
ภายใต้หลักการดังกล่าว รูปแบบของฟาร์มตัวอย่าง สามารถ
ปรับเปลี่ยน ประยุกต์ใช้ได้ในทุกพื้นที่และช่วงเวลา ตามความเหมาะสม
ของพื้นที่ ความพร้อมและความต้องการของชาวบ้าน
ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่นาหลังฤดูทำนา สามารถใช้พื้นที่นาปลูก
ฟักหอมสลับกับข้าวโพดได้ บนคันนาปลูกพืชชั้นกลางและพืชค้าง

ที่มีช่วงเก็บเกี่ยวระยะสั้น เช่น กล้วย มะเขือ ชะอม พริก มะละกอ

ต้นหอม ข่า ตะไคร้ เป็นต้น ส่วนระหว่างฤดูทำนา บนที่ดอน สามารถ
ปลูกพืชชั้นสูงที่มีอายุยืน เช่น แค ขี้เหล็ก ฯลฯ ชั้นกลาง และพืชกินหัว

ปลูกแซมด้วยพืชอายุสั้น เช่น พริก มะเขือ ข่า ตะไคร้ 
สำหรับไร่และสวน จะปลูกพืช 3 ระดับเพื่อเป็นแหล่งอาหาร
ระยะสั้นและระยะยาว คือ พืชชั้นสูง ปลูกกล้วย แค มะรุม มะพร้าว
พืชชั้นกลางปลูกตะไคร้ ข่า มะเขือ พริก พืชค้างหรือพืชล่าง ปลูกถั่ว
แตงกวา ผักบุ้ง ฟักทอง 
บริเวณรอบบ้าน ปลูกพืชอายุสั้นเพื่อเป็นแหล่งอาหาร ส่วน
พืชชั้นสูง นอกจากเป็นอาหารแล้ว ยังอาจเป็นแนวรั้วบ้านไปด้วย

ในตัว เช่น มะม่วง ชะอม เป็นต้น 
การทำเกษตรตามแบบฟาร์มตัวอย่างนั้น ยังสามารถกำหนด

การใช้ประโยชน์พื้นที่ได้ตามความเหมาะสมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
ปลูกพืชผักอย่างเดียว โดยไม่เลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะมีพื้นที่ปลูกพืชได้

มากขึ้น หรือจะปลูกพืชผักร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ก็ได้ เช่น ปลูกพืชผัก
ร่วมกับการเลี้ยงไก่หรือวัว ปลูกพืชผักร่วมกับการเลี้ยงทั้งวัวและไก่
ฟาร์มตัวอย่าง
รูปธรรมของการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน
รูปแบบปลูกพืชหลังนาและบนคันนา
รูปแบบปลูกพืชบนที่ดอนในช่วงการทำนา
4
รายงานพิเศษ
สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ
ปลูกพืชผักร่วมกับไก่-เป็ด-ปลา ปลูกพืชผักร่วมกับไก่-เป็ด ปลูกพืช
ผักร่วมกับหมู ปลูกพืชผักร่วมกับไก่-หมู หรือปลูกพืชผักร่วมกับกระบือ
พันธุ์สัตว์ที่เลี้ยง จะเป็นพันธุ์พื้นเมืองหรือลูกผสมพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งจะ
ต้านทานโรคและเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมนั้น 	
ฟาร์มตัวอย่าง ยังสามารถปรับให้เหมาะสมกับแต่ละ

ท้องถิ่น เช่น 
• ภาคเหนือ ไม่นิยมปลูกพืช 3 ระดับ เนื่องจากแสงน้อย

มีอากาศหนาวเย็น แต่จะปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ลิ้นจี่ มะม่วง ลำไย
เบบี้แครอท บีทรูท บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี อโวคาโด 
• ภาคกลาง การปลูกพืช 3 ระดับ จะเน้นพืชที่เหมาะกับอากาศร้อน
เช่น พืชชั้นสูง จะเป็นมะม่วง แค พืชชั้นกลาง จะเป็นพริก

มะเขือ ส่วนพืชค้าง จะเป็นถั่วพู ถั่วฝักยาว พืชชั้นล่างเป็นคะน้า

ผักบุ้ง ผักกาด ที่สำคัญ ภาคนี้มีความอุดมสมบูรณ์ และอยู่ใกล้ตลาด
30 : 30 : 30 : 10 และปลูกไว้กินก่อน เมื่อมีเหลือกิน

ก็จำหน่าย และสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มกัน และบริหารจัดการ
แบบบูรณาการ เช่น การตั้งกองทุนเมล็ดพันธุ์พืช กองทุนพันธุ์สัตว์
การรวมกลุ่มจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร ฯลฯ อีกด้วย
ฟาร์มตัวอย่างในพื้นที่ 1 ไร่ ทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ประมาณ
การต้นทุนอยู่ที่ 23,261 บาทต่อไร่ ในระยะเวลา 1 ปี จะให้ผลผลิต
คิดเป็น 106,000 บาท หรือ 4.5 เท่าของทุน โดยชาวบ้านจะมีรายได้
ในแต่ละช่วงตลอดทั้งปี ดังนี้ 
• มกราคม-เมษายน ปลูกพืชก่อนนาเพื่อบำรุงดินและเป็นปุ๋ย
จะมีรายได้จากการปลูกพืช เช่น ผักบุ้ง ที่จะให้ผลผลิตภายใน 20 วัน
ฟักทอง 45 วัน เก็บยอดจำหน่ายได้ 60 วันจะให้ยอดชุดที่ 2 อายุ 75
วันได้ผลอ่อน อายุ 90-120 วัน จะได้ผลแก่ ข้าวโพดจะให้ผลผลิต
ภายใน 80-90 วัน และเป็นช่วงเวลาเริ่มเลี้ยงสัตว์ 
รูปแบบปลูกผักบริเวณรอบบ้าน
 รูปแบบฟาร์มตัวอย่าง พื้นที่ 1 ไร่
ต้นทุนต่อไร่ 23,261 บาท ผลที่จะได้ = 106,000 บาท
ค้าส่งขนาดใหญ่ จึงเน้นการปลูกพืชผักเศรษฐกิจเพื่อจำหน่าย 
• ภาคอีสาน จะปลูกพืช 3 ระดับสำหรับเป็นแหล่งอาหาร

ในครัวเรือน ส่วนใหญ่จึงเป็นการปลูกพืชผักสวนครัว พืชระดับสูง
ปลูกมะม่วง สะเดา แค พืชชั้นกลาง กะเพรา โหระพา และพืชค้าง
และพืชชั้นล่าง เป็น บวบ ฟักทอง ชะพลู เป็นต้น 
• ภาคใต้ ปลูกพืช 3 ระดับที่เติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อนชื้น
โดยพืชชั้นสูง ได้แก่ ยาง สะตอ พืชชั้นกลาง คือ ลองกอง พืชค้าง

คือ แตง ถั่วฟักยาว พริก ดีปลี พืชชั้นล่าง เป็น ขิง ข่า ดาหลา

ย่านลิเภา และปลูกสับปะรดในสวนยางพารา (เฉพาะ 3 ปีแรก)
บ่อน้ำ หากมีการเลี้ยงสัตว์น้ำ พื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับบ่อน้ำ
อาจสร้างคอกสัตว์ เพื่อนำมูลสัตว์มาเป็นอาหารปลาได้ แต่ไม่ควร
สร้างคอกสัตว์บนบ่อน้ำ เนื่องจากอาจทำให้น้ำเสียได้ 
ฟาร์มตัวอย่าง ยังเป็นระบบการเกษตรแบบผสมผสาน คือ
สามารถใช้เศษผักล้มลุกเป็นอาหารเสริมให้กับสัตว์ มูลสัตว์เป็น
อาหารเสริมให้กับพืชผักหรือเป็นอาหารปลา เศษพืชผักและเศษ

ที่เหลือจากปลา-สัตว์ สามารถทำเป็นน้ำสกัดชีวภาพอีกด้วย 
องค์ความรู้ของฟาร์มตัวอย่าง ยังประยุกต์เข้ากับเกษตรทฤษฎีใหม่
และหลักเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการแบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วนในสัดส่วน
• พฤษภาคม-ตุลาคม ช่วงฤดูฝน นอกจากเตรียมไถแปลงนา
หว่านกล้า และปักดำ จะเริ่มปลูกพืชบนที่ดอนและข้างบ้าน เพื่อให้มี
รายได้ช่วงว่างจากการทำนา เช่น บวบ มะเขือ กะเพรา โหระพา

พริก ถั่วฟักยาว ถั่วพู แมงลัก ตำลึง มะระขี้นก ฟักแฟง ชะพลู ผักบุ้ง
ฟักทอง 
ในช่วงเวลานี้ จะได้อาหารจากธรรมชาติ เช่น กบ เขียด กุ้ง หอย
ปลา เห็ดจากป่า ผักในลำห้วยธรรมชาติ เช่น ผักหนาม ผักแว่น ฯลฯ
และสามารถใช้เวลาว่างทำอาชีพเสริม เช่น ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

ทอเสื่อกก จักสาน ทำปลาร้า และการเลี้ยงสัตว์จะเริ่มให้ผลผลิต

ในช่วงเวลานี้เช่นกัน 
• พฤศจิกายน-ธันวาคม เป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าว และเตรียม

ปลูกพืชหลังนา เช่น ข้าวโพด ฟักทอง ถั่วลิสง มันเทศ ผักบุ้ง

มะเขือเทศ ฯลฯ
องค์ความรู้จากฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดำริ

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ช่วยให้คน
จำนวนมาก มีชีวิตความเป็นอยู่และฐานะดีขึ้นอย่างเห็น
เป็นรูปธรรม ที่สำคัญ คือ ทำให้คนเหล่านั้นสามารถพึ่งพา
ตนเองได้อย่างยั่งยืน 
ต้นทุนต่อไร่ (บาท)
พืชชั้นสูง	 2,100
พืชชั้นกลาง	 2,750
พืชค้าง	 150
พืชผักเศรษฐกิจ	 4,331
ปุ๋ย	 3,680
ปศุสัตว์	 5,300
ประมง	 800
บ่อตอกน้ำตื้น	 4,000
พันธุ์ปลูกข้าว	 150
รวมต้นทุน	 23,261
(ต่อไร่)
5
รายงานพิเศษ
สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ
เพราะอะไร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)
จึงเข้าร่วมกับปิดทองหลังพระฯ 
ภารกิจของ พอช. คือ สนับสนุนให้ชุมชนจัดตั้งองค์กรขึ้น

เพื่อรวมกลุ่มให้เกิดพลัง ขณะที่ปิดทองหลังพระฯ คือ การพัฒนาที่
ชุมชนต้องระเบิดจากข้างใน ชุมชนต้องเป็นผู้ดำเนินการเองอย่าง
แท้จริง พอช.กับปิดทองหลังพระฯ จึงเป็นฝ่ายทำงานอยู่เบื้องหลัง
เหมือนกัน และมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ต้องการสร้างให้ชุมชน

เข้มแข็ง ยืนบนขาตัวเองได้ พอช. กับปิดทองหลังพระฯ จึงสนับสนุน
กันและกันได้อย่างเต็มที่ เช่น บางพื้นที่ที่ปิดทองหลังพระฯ เข้าไป
ดำเนินการ ทำให้เกิดองค์กรชุมชนขึ้นมา พอช.ก็สนับสนุนองค์กรนั้น

ให้แข็งแรงขึ้น 
วิธีการทำงานก็เหมือนกัน คือ ไม่ได้ทำเอง แต่แนะนำ ให้ความรู้
ให้วิธีการ แล้วจุดประกายให้ชาวบ้านทำ 
สัมภาษณ์พิเศษ
พลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง
ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุม
ปิดทองฯ -สองแรงแข็งขัน ร่วมก
การเสนอพื้นที่ขยายผลให้ปิดทองหลังพระฯ
พอช.มีหลักเกณฑ์การพิจารณาอย่างไร
พิจารณาจากชุมชนที่มีความเข้มแข็ง มีสภาองค์กรชุมชนแล้ว
จะได้รวมคนได้ง่ายขึ้น แต่ยังไม่มีแผนชุมชนที่เข้มแข็ง เรื่องความ
ยากจน ผมไม่คิด คิดแค่ความพร้อมของชุมชน เพราะคุณชาย

(ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมและ

พัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ) พูดไว้ประโยคแรกว่า ถ้าคุณไม่พร้อม
ผมไม่ไป เชิญเราก็ไม่เอา ถ้าคุณไม่เอา ผมพิจารณา 2 ปัจจัยนี้

เป็นหลัก ที่เชียงใหม่ ชาวบ้านเขาเลือกกันเอง ให้ทำโครงการที่บ้าน

อมแรด ที่ประจวบคีรีขันธ์ แม้จะอยู่รอดแล้ว แต่ต้องพอเพียงและ

ยั่งยืนด้วย เขายังยั่งยืนไม่ได้ เพราะมีปัญหาเรื่องน้ำ ไม่สามารถ

ทำนาได้ ขณะเดียวกัน แม้จะมีองค์กรมาก แต่ก็มีความแตกแยกกันอยู่
ถ้าปิดทองหลังพระฯ เข้าไป แล้วเอาปัญหาขึ้นมาพูดกันก่อน จะทำให้
เกิดความสามัคคีกัน 
6
สัมภาษณ์พิเศษ
สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ
ความร่วมมือระหว่างปิดทองฯ กับ พอช.ใน
อนาคต จะพัฒนาไปในทิศทางใด
ผมบอกกับกรรมการและเจ้าหน้าที่ พอช.ไว้ว่า ไม่ว่าจะมีองค์กร
ใดก็ตาม เข้ามาทำงานในพื้นที่ที่มีองค์กรชุมชนอยู่ พอช.จะเป็นกระด้ง
ที่อยู่ล่างสุดที่ต้องสนับสนุน เป็นฐานให้กับองค์กรชุมชน ต้องรองรับ
ทุกเรื่องที่ชุมชนจะทำ ปิดทองฯ ก็เป็นงานที่ พอช.จะต้องร่วมมือด้วย 
เนื่องจาก พอช.มีการแบ่งภาคใหม่ จาก 5 ภาค เป็น 11 ภาค

จึงต้องมีการประชุมซักซ้อมความเข้าใจกับผู้บริหารทั้งหมด เพื่อให้
เข้าใจตรงกันและเห็นประโยชน์ของความร่วมมือ ทั้งนี้ พระราช
กฤษฎีกาจัดตั้ง พอช.ก็มีกำหนดไว้แล้วว่า พอช.มีหน้าที่ประสานงาน
กับทุกองค์กร เมื่อปิดทองฯ เข้ามา เราก็มีหน้าที่ต้องประสานงานกัน
อยู่แล้ว โดยมีจุดหมายอยู่ที่ชุมชน อย่างที่ตำบลยอด ทุกวันนี้อยู่ได้
เพราะมีปิดทองฯ อยู่ มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นคนนี้

มชน (องค์การมหาชน)
พอช.กันสร้างชุมชนเข้มแข็ง
ถ้าไม่มีองค์กรเป็นฐาน ถามว่าต่อไปข้างหน้า อีก 6 ปี เมื่อปิดทอง
หลังพระฯ ถอยไป นายก อบต. เปลี่ยนไป จะแน่ใจได้ไหมว่า จะยัง
เข้มแข็งเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นหน้าที่ พอช. คือ ต้องสนับสนุน

ให้ชุมชนนั้นเป็นชุมชนปิดทองฯ ด้วยตัวของเขาเอง เขาต้องลุกขึ้นมา
ทำเอง งานของปิดทองหลังพระฯ ทั้ง 6 มิตินั้น ถ้ามีองค์กรชุมชน

เป็นฐาน งานนั้นก็จะเข้มแข็งและอยู่ยาวด้วยตัวเองได้ 
พอช.และปิดทองฯ จะต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน พื้นที่ไหน

ที่ปิดทองฯ เข้าไป ถ้ายังไม่มีองค์กรชุมชนอยู่ พอช.จะตามหลังเข้าไป
ทำให้เกิดองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง ถ้ามีองค์กรชุมชนอยู่แล้ว ปิดทองฯ
จะเข้าไป พอช.ก็พร้อม แต่ไม่ใช่ว่า พอช.จะกวักมือให้ปิดทองฯ

เข้ามา แต่จะต้องเป็นความต้องการของชาวบ้าน หรือเห็นสมควร

ว่าจะขยายเพิ่มในพื้นที่ใดเท่าที่กำลังปิดทองฯ จะทำได้ก็จะเสนอ

ขึ้นไป ถ้าจะมองภาพความร่วมมือในอนาคต จริง ๆ ไม่ต้องพูด

ก็ร่วมมืออยู่แล้ว 

ท่านมองวิธีการทำงานของปิดทองฯ อย่างไร
โดยหลักการของปิดทองฯ ดีมาก ผมอยากให้เป็นอย่างนั้นตลอดไป
ปิดทองฯ ไม่ใช่แหล่งงบประมาณที่หน่วยงานจะเสนอกิจกรรม

มาเพื่อขอเงิน แต่ปิดทองฯ เป็นแหล่งองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทาง

พระราชดำริ ต้องทำให้เขาเข้าใจแล้วทำเอง ปิดทองฯ สนับสนุนบ้าง
บางส่วน ต่อยอดบางส่วนเพื่อให้เขาอยู่รอด ตรงไหนอยู่รอดแล้ว

เอาความรู้ เอาวิธีการ วิชาการไปอย่างเดียว ไม่ต้องใช้เงิน
ที่ผมชอบมาก คือ แบบสำรวจ เพราะของปิดทองฯ จะลึก ละเอียด
และครบถ้วน เพราะข้อมูลต้องลึก ต้องครบถ้วน และต้องถูกต้องด้วย
จึงจะแก้ปัญหาได้
ปิดทองฯ จะทำให้ พอช.เดินหน้าได้เร็วขึ้น และ พอช.จะทำให้
ปิดทองฯ ขยายได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องใช้เงินมาก เพราะฉะนั้นความ
สัมพันธ์ระหว่างปิดทองหลังพระฯ กับ พอช. จึงแยกกันไม่ออก เพราะ
ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน เกื้อกูลกัน และมีเป้าหมาย
เดียวกัน คือ สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อให้ประเทศเข้มแข็งและยั่งยืน		
ผมว่า ที่จริงแล้ว งานของปิดทองฯ ไม่ใช่แค่ 6 เรื่อง ยังมี

เรื่องอื่นอีกมาก แต่ที่สำคัญที่สุด คือ แนวทางของปิดทองฯ ที่ให้

ชาวบ้านมีส่วนร่วม ปลุกให้ชาวบ้านรู้สึกมีความเป็นเจ้าของ เพราะถ้า
หมู่บ้านหนึ่ง มี 100 หลังคาเรือน มีคนมาประชุม 90 กว่าหลังคาเรือน

ถามว่า ผู้ใหญ่บ้านจะกล้าเบี้ยว กล้าโกงไหม ในตำบล มี 10 หมู่บ้าน
1,000 หลังคาเรือน มาประชุม 900 คน นายก อบต. จะกล้าเบี้ยว

กล้าโกงไหม ถ้าทุกคนรับรู้แผนหมด นี่คือแนวทางของปิดทอง

หลังพระฯ ที่ตรงใจผม 

7
สัมภาษณ์พิเศษ
สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ
บ้านโป่งโก หมู่ 2 และบ้านห้วยเกรียบ หมู่ 4 ทั้งสอง
หมู่บ้านมีพื้นที่ติดต่อกันในตำบลทองมงคล อำเภอบางสะพาน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับเลือกให้เป็นพื้นที่ขยายผลปิดทอง

หลังพระฯ ก็ด้วยเหตุผลว่า แม้ชาวบ้านเกือบทั้งหมดจะมีที่ดินทำกิน
ครอบครัวละกว่า 20 ไร่ สำหรับทำสวนยาง สวนมะพร้าว และไร่
สับปะรด ซึ่งให้ผลผลิตหมุนเวียนตลอดทั้งปี แต่อาชีพหลักเหล่านี้
กลับไม่ได้สร้างรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ
ข้อมูลจากการสำรวจพื้นที่ ปรากฏว่า บ้านโป่งโก มีพื้นที่
ประมาณ 6,000 ไร่ เป็นพื้นที่ราบและราบลุ่มในบางส่วน มีประชากร
251 ครัวเรือน จำนวน 938 คน เป็นชาย 487 คน หญิง 451 คน

มีคนในวัยทำงาน อายุ 18-60 ปี เป็นส่วนใหญ่ถึง 595 คน ประกอบ
อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก พืชที่ปลูกมากที่สุด คือ สับปะรด
มะพร้าว ยางพารา ข้าว ตามลำดับ สัตว์ที่เลี้ยงมากที่สุด คือ โคเนื้อ

มีโคนม เป็ด ไก่ หมู อยู่ไม่มากนัก
รายได้เฉลี่ยของชาวบ้านโป่งโก อยู่ที่ 57,238.81 บาทต่อคนต่อปี
มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน มีประปาใช้ 122 ครัวเรือน มีประปาหมู่บ้าน

4 แห่ง โทรศัพท์สาธารณะ 3 แห่ง โทรศัพท์เคลื่อนที่ครบทุกครัวเรือน
สำหรับบ้านห้วยเกรียบ มีพื้นที่ 14,790 ไร่ เป็นพื้นที่ราบ มีภูเขา
เล็กน้อย มีแหล่งน้ำสำคัญสำหรับการทำเกษตร คือ คลองยางขวาง
สาดแสงแห่งความหวัง
ที่ตำบลทองมงคล
คลองลำจริง ห้วยสองแกลลอน ฝายน้ำล้นเนินทอง ฝายประชาอาสา
และสระน้ำ 5 ไร่ ประชากร 196 ครัวเรือน จำนวน 873 คน ร้อยละ
87.78 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พืชที่ปลูกมากที่สุด คือ ยางพารา

ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว สับปะรด สวนผลไม้ ค้าขาย เลี้ยงสัตว์ และมี

อาชีพเสริม จักสานหวาย เพาะเห็ดฟาง เลี้ยงไก่และปลา 
รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 82,579.80 บาทต่อคนต่อปี มีไฟฟ้าใช้

ทุกครัวเรือน แต่มีประปาเพียง 48 ครัวเรือน มีประปาหมู่บ้าน 2 แห่ง
และมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกครัวเรือน
รายได้จากไร่จากสวนทั้งสองหมู่บ้าน เมื่อหักต้นทุนการผลิตที่มี
แต่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ เหลือเพียงเดือนละ 4,000-6,000 บาท ทำให้
หลายครอบครัวเป็นหนี้ อย่างน้อย 4 กองทุน เนื่องจากปัญหาสำคัญ
คือ คุณภาพของดินเริ่มเสื่อมโทรมจากการใช้ปุ๋ยเคมีเกินความจำเป็น
ในอดีต หน้าดินถูกชะล้างทำลาย ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรใน

ฤดูแล้ง ปัจจัยการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เมล็ดพันธุ์มีราคาสูง
พันธุ์พืชไม่ได้มาตรฐาน ผลผลิตจึงไม่ได้คุณภาพและราคาตกต่ำ

รวมทั้งไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดินทำกิน โดยเฉพาะที่บ้านห้วยเกรียบ
พื้นที่ 14,790 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนทั้งหมด ทุกครัวเรือนจึงไม่มี
เอกสารสิทธิ บ้านโป่งโกก็ไม่ต่างกัน เพราะ 200 จาก 251 ครัวเรือน

ก็ไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดินทำกินเช่นกัน 
8
บทความ
สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ
“น้ำ” และ “ดิน” จึงเป็นความต้องการมากที่สุดของชาวบ้าน 
ผู้ใหญ่สมนึก ทองลอย แห่งบ้านโป่งโก บอกว่า หมู่บ้านนี้

มีรายได้ลดลงเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งเพราะต้นทุนการผลิตราคาสูงขึ้น

แต่อีกส่วนหนึ่งก็มาจากความฟุ้งเฟ้อ ชาวบ้านกว่าร้อยละ 70

เป็นหนี้ จากการกู้ยืมกองทุนต่าง ๆ ของหมู่บ้าน ตั้งแต่ 30,000-
200,000 บาท 
“ยังมีปัญหาแหล่งน้ำ ทั้งที่บ้านโป่งโก เป็นแหล่งปลูกข้าวเพียง
แห่งเดียวของตำบลทองมงคล แต่เพราะน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ปลูก
ข้าวได้แค่ 200 ไร่ ถ้ามีน้ำ ก็จะเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวได้มากขึ้น ทำให้
บ้านโป่งโกเป็นแหล่งปลูกข้าวสำคัญต่อไป และถ้าปิดทองฯ มาช่วย
ให้องค์ความรู้อื่น ๆ อีก เช่น ปัญหาโรคในสับปะรด หนอนหัวดำ

และแมลงดำหนามในต้นมะพร้าว ที่สร้างความเสียหายมาตลอด

ก็จะทำให้บ้านโป่งโกอยู่ได้อย่างยั่งยืน” 
นายคัมภีร์ ทองเล็ก ชาวบ้านโป่งโก ก็บอกเช่นเดียวกันว่า

“ที่นี่อาศัยเพียงน้ำจากห้วยแมงแซงและน้ำฝนเท่านั้น ได้ข้าวก็

ไม่เกิน 3 ปี ชาวบ้านจะลืมตาอ้าปากและปลดหนี้สินได้ เพราะคนที่นี่
มีความพร้อมและความเข้มแข็งที่จะร่วมมือกันพัฒนาบ้านเกิด”
นางวิวรรณดา พลธรัตน์ ชาวบ้านห้วยเกรียบ บอกว่า หนี้สิน
ของชาวบ้านส่วนหนึ่งมาจากต้องการความสะดวกสบาย โดยไม่
คิดถึงค่าใช้จ่ายที่ตามมา เช่น การพึ่งปุ๋ยเคมี แม้จะให้ผลผลิตเร็ว

แต่ก็ต้องใส่เพิ่มขึ้นทุกปี อีกส่วนหนึ่งมาจากความฟุ้งเฟ้อทาง
วัตถุนิยม เช่น ทุกบ้านจะต้องมีรถยนต์ มีมือถือรุ่นใหม่ ทั้งที่ไม่จำเป็น
อาหารแทบทุกมื้อซื้อหาจากภายนอก มื้อละ 100-300 บาท จึงอยาก
ให้ปิดทองฯ สนับสนุนเรื่องการทำไร่นาสวนผสมแทนเกษตรเชิงเดี่ยว
และช่วยให้ชาวบ้านมีแหล่งอาหารในบ้าน ทั้งยังมั่นใจว่าถ้าปิดทองฯ
ช่วยพัฒนาแหล่งน้ำ จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 50 
นางอัจฉรา สกนธนาวัฒน์ ชาวบ้านห้วยเกรียบ อีกคน

บอกว่า เชื่อมั่นในแนวทางพัฒนาของปิดทองฯ จากที่เคยไปดูงาน

ที่น่าน ได้เห็นว่า นอกจากการพัฒนาจะเป็นไปตามความต้องการของ
ชาวบ้านแล้ว ยังมาจากการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และมีองค์ความรู้ที่
ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ 
“องค์ความรู้ที่อยากได้มากที่สุด คือ การเพาะเลี้ยงเห็ดต่าง ๆ
และการทำหัวเชื้อเห็ดก้อน เพราะการผลิตเห็ดฟางและเห็ดหูหนู

ที่ชาวบ้านรวมตัวกันจัดตั้งเมื่อ 8 ปีก่อน แม้ตลาดจะดี มีพ่อค้ารับซื้อ
ถึงบ้าน ขายได้ถึงเดือนละ 60,000 บาท แต่หักค่าใช้จ่ายแล้ว

เหลือเพียง 10,000 บาทเท่านั้น รวมทั้งอยากได้เทคนิคการทำ

สวนยางและปาล์ม ที่ช่วยเพิ่มมูลค่า ถ้าปิดทองฯ เข้ามา คงช่วยให้มี
รายได้เพิ่มขึ้นและปลดหนี้ที่มีกว่า 200,000 บาทได้โดยเร็ว” 
นายโสเพียร โบศรี เหรัญญิกโรงสีชุมชนบ้านห้วยเกรียบ
อยากได้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการโรงสี เช่น การทำบัญชี การ
บริหารจัดการสต็อก เพราะที่ผ่านมาเป็นการบริหารจัดการกันเอง

จึงอยากพัฒนาให้โรงสีมีการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน และโรงสี

ก็มีกำไรดี เพราะรับซื้อข้าวเปลือกมาตันละ 12,000 บาท ขายเป็น
ข้าวสารได้ตันละ 18,000 บาท หรือ กก.ละ 30 บาท ขณะที่ความ
ต้องการมีมาก แต่ไม่สามารถผลิตได้พอ เพราะบ้านโป่งโกปลูกข้าว

ได้น้อย ถ้ามีข้าวมากขึ้น จะได้ส่งไปขายตำบลใกล้เคียงได้ด้วย
ชาวบ้านโป่งโกและบ้านห้วยเกรียบ จะเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่
ชาวบ้านลุกขึ้นมาพัฒนาตนเองตามแนวทางปิดทองหลังพระฯ
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสืบต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน
เพียงไร่ละ 35-40 ถัง แค่พอกิน ถ้ามีน้ำพอ จะได้ทำนาหลายครั้ง
และขยายพื้นที่ปลูกข้าวได้มากขึ้น ที่สำคัญ มีน้ำพอก็จะช่วยให้ได้
ข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 50 ถัง” 
ผู้ใหญ่วัชรินทร์ จันทร์เดช บ้านห้วยเกรียบ บอกว่า ที่ชาวบ้าน

มีรายได้เหลือน้อย ก็เพราะเป็นต้นทุนการผลิตไปกว่าร้อยละ 80 ทั้ง
ค่าแรงงาน ค่าปุ๋ยกระสอบละ 1,000 บาท ซึ่งสวนยางจะใส่ปุ๋ยถึง

ไร่ละ 1 กระสอบ ปีละครั้ง แต่ถ้าเป็นปาล์มจะต้องใส่ถึงปีละ 4 ครั้ง 
ผลผลิตยังลดลงเรื่อย ๆ เพราะแหล่งน้ำสำคัญ คือ อ่างเก็บน้ำ
โป่งสามสิบ ความจุ 850,000 ลบ.ม. และอ่างเก็บน้ำเนินทอง ความจุ
31,000 ลบ.ม. ไม่สามารถใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ ต้องอาศัยน้ำฝน
เพียงอย่างเดียว เมื่อขาดแคลนน้ำ ชาวบ้านก็หันไปปลูกสับปะรด

ที่ใช้น้ำน้อย แต่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงมาก เกิดปัญหาดินเสื่อม
ตามมา แถมยังถูกกดราคารับซื้อ ทำให้ชาวไร่สับปะรดขาดทุนมาตลอด
เมื่อรายได้ไม่เพียงพอ ชาวบ้านห้วยเกรียบก็ต้องกู้หนี้ยืมสิน

เป็นหนี้มากกว่า 4 กองทุน ตั้งแต่ครอบครัวละ 30,000-500,000
บาท ไม่รวมหนี้นอกระบบ 
“ถ้าปิดทองหลังพระฯ มาช่วยพัฒนาอ่างเก็บน้ำทั้งสองแห่ง ให้มี
น้ำทำเกษตรได้ตลอดทั้งปี เหมือนที่น่านและอุดรธานี ผมมั่นใจว่า

วิวรรณดา พลธรัตน์
 อัจฉรา สกนธนาวัฒน์
 โสเพียร โบศรี
สมนึก ทองลอย
 คัมภีร์ ทองเล็ก
 วัชรินทร์ จันทร์เดช
9
บทความ
สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ
ตัวอยาง
ชุมชน
ตัวอยาง
ชุมชน
ความสำเร็จของโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

อ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.หนองวัวซอ
จ.อุดรธานี ซึ่งปิดทองหลังพระฯ เข้าไปดำเนินการ เมื่อต้นปี 2554
ด้วยการประสานให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการเกษตร

และปศุสัตว์ ของโครงการฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดำริใน
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ กับองค์ความรู้ด้านการ
บริหารจัดการระบบน้ำของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ รวมทั้งหน่วยงาน
สืบสานแนวพระราชดำริ ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ
ภาคประชาชน ไม่เพียงแต่ทำให้เกษตรกรเจ้าของพื้นที่ต้นแบบ
เปลี่ยนจากที่เคยต้องซื้อผักมาบริโภค กลายเป็นเจ้าของผลผลิตมาก
พอสำหรับการบริโภคและจำหน่าย ภายในเวลาไม่ถึง 2 เดือน
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่

ใกล้เคียงนำองค์ความรู้จากพื้นที่ต้นแบบไปปฏิบัติตามด้วยตนเอง

จากพื้นที่ต้นแบบ 2 แปลง จึงขยายผลเป็นพื้นที่รวม 31 แปลง

ในปัจจุบัน
เมื่อมีผู้ปลูกมากขึ้น การที่ต่างคนต่างซื้อเมล็ดพันธุ์มาปลูก

ในที่ของตน ทำให้ต้องซื้อปลีกในราคาสูง ชาวบ้านโคกล่ามโดยการ
สนับสนุนของปิดทองฯ จึงมีการรวมตัวกันจัดตั้ง “กองทุนเมล็ดพันธุ์ผัก
บ้านโคกล่าม” ขึ้น
จากจุดเริ่มต้น ด้วยสมาชิก 12 คน เมล็ดพันธุ์ที่รวมกันซื้อ

และแบ่งให้สมาชิกนำไปปลูกในแต่ละครัวเรือน มีทั้งพืชก่อนและ

หลังนา เช่น ถั่วฝักยาว ผักชี ผักชีฝรั่ง ผักชีลาว มะเขือ ผักบุ้ง คะน้า
ผักสลัด พริก แมงลัก โหระพา ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดรายจ่าย

ในครัวเรือนแล้ว ยังทำให้ได้ผลผลิตที่ปลอดจากสารพิษอีกด้วย
กองทุนเมล็ดพันธุ์ บริหารโดยคณะกรรมการ มีนางเก่ง จันเทศ
เป็นประธานกองทุน และนางสุกัญญา ฉิมพลี เป็นเหรัญญิก ดำเนินงาน
โดยการจัดซื้อเมล็ดพันธุ์จำนวนมาก มาแบ่งจำหน่ายให้กับสมาชิก
และชาวบ้านทั่วไปในราคาถูกกว่าท้องตลาด สำหรับสมาชิกจะซื้อ
เมล็ดพันธุ์ไปปลูก เมื่อได้ผลผลิตแล้วจะนำผลผลิตมาขาย

ให้กับกองทุน หรือจะยืมเมล็ดพันธุ์ไปปลูกก่อน แล้วนำมาคืนกองทุน
กองทุนเมล็ดพันธุ์ผักและการตลาด บ้านโคกล่าม
พลังแห่งความเข้มแข็งของชุมชน
10
บทความ
สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ
ในอัตราส่วน 2 เท่าของที่ยืมไปก็ได้ 
ผลผลิตอันงอกเงยงดงามที่เกิดขึ้นที่บ้านโคกล่าม จากความรู้
ด้านการเกษตร การมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกอุดมสมบูรณ์ และการมี
กองทุนเมล็ดพันธุ์ ทำให้มีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อถึงแปลงผัก

แต่การที่ต่างคนต่างขายที่แปลงของตน ทำให้ไม่ได้ราคาเท่าที่ควร
ชาวบ้านจึงมีแนวความคิดต่อยอด เพื่อนำผลผลิตออกสู่ตลาด
ปิดทองหลังพระฯ ให้การสนับสนุนอีกครั้ง ด้วยการจัดหาตลาด
ให้สมาชิกกองทุนรวบรวมและนำผลผลิตออกไปจำหน่ายยังตลาด

โพศรี ในอำเภอเมือง ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ของจังหวัดอุดรธานี
สัปดาห์ละ 2 วัน ทุกวันอังคารและวันศุกร์
กองทุนเมล็ดพันธุ์ผัก จึงแปรรูปเป็น “กองทุนเมล็ดพันธุ์ผัก
และการตลาด” ที่จะรับซื้อผลผลิตจากสมาชิกเป็นกิโลกรัม แล้วนำ
มาทำความสะอาด แบ่งเป็นกำ ๆ สำหรับขายในตลาด ซึ่งสามารถ
สร้างกำไรได้ 3-4 เท่า เช่น รับซื้อผักก้านจอง จากสมาชิกราคา
กิโลกรัมละ 8 บาท แบ่งเป็น 6 กำ ขายได้กำละ 5 บาท แต่ละครั้ง

จะมีการซื้อผักต่าง ๆ มากมายหลายชนิด ประมาณ 40-50 กิโลกรัม
รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตทั้งหมด หักค่าใช้จ่ายแล้ว จะนำเข้า
กองทุน แล้วปันผลให้กับสมาชิกเท่า ๆ กัน แต่ผู้ที่ทำหน้าที่ขายซึ่งจะ
ต้องทำหน้าที่ดูแลร้านและทำบัญชีด้วย จะได้รับส่วนแบ่งเป็น 2 เท่า 
นางเก่ง จันเทศ ประธานกองทุน กล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า
“ผักของเราขายดี ขายได้หมดทุกครั้ง เพราะเป็นผักปลอดสารพิษ

ที่คนชอบ สะอาดและมีราคาถูก ที่สำคัญ เป็นผลผลิตที่มาจาก

การพัฒนาของปิดทองฯ ทำให้ชาวบ้านเชื่อมั่นในคุณภาพมากกว่า

ผักท้องตลาดทั่วไป กลุ่มจัดตั้งมาได้เพียง 4 เดือน แต่ก็มีรายได้

หลังหักค่าใช้จ่ายเข้ากองทุนมากกว่าเดือนละ 14,000 บาทแล้ว” 
แม้ในวันนี้ ความสำเร็จของกองทุนเมล็ดพันธุ์ผักและการตลาด
จะยังเป็นเพียงก้าวเล็ก ๆ แต่นางเก่งมั่นใจว่า อนาคตของกองทุน

จะต้องเติบโตขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างแน่นอน ด้วยการเพิ่มชนิดของผักที่
จะนำมาจำหน่ายให้มากมายหลากหลายขึ้น พร้อมกับการพัฒนา
บรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัยน่าสนใจยิ่งขึ้น รวมทั้งการชักชวนให้มีสมาชิก
เพิ่มมากขึ้นด้วย 
ขณะเดียวกัน ตลาดโพศรี ก็ให้การสนับสนุนการดำเนินงาน
ของกองทุนเมล็ดพันธุ์ผักและการตลาด บ้านโคกล่ามอย่างเต็มที่

ซึ่งนายปิยะ ส่งศรี ผู้จัดการตลาดโพศรี กล่าวว่า กองทุนเมล็ดพันธุ์ผัก
และการตลาด บ้านโคกล่าม เป็นกลุ่มที่ตลาดให้ความสนใจ เพราะ
จัดตั้งขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน ทั้งที่ยังไม่มีความ
เข้าใจเรื่องการค้าขายมากนัก แต่ก็สามารถจัดตั้งกลุ่มเป็นรูปเป็นร่าง
และมีการดำเนินการได้ขนาดนี้ ก็ถือว่าเก่งมากแล้ว ในขณะนี้ ตลาด
สนับสนุนด้วยการให้แผงขายฟรี 2 แผง ส่วนในอนาคต จะยังให้

การสนับสนุนทั้งในด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการพัฒนา

พื้นที่ค้าให้เป็นร้านค้าแทนแผงค้าเช่นปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยดึงดูดผู้ซื้อ

ได้มากขึ้น 
การทำงานอย่างขันแข็งของกองทุนเมล็ดพันธุ์ผักและการตลาด
ที่เกิดจาก “การระเบิดจากข้างใน” ของสมาชิก ทำให้กองทุนมี
ความเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้เสริมอย่างงามให้กับสมาชิก
ทั้งยังมีอนาคตที่สดใสรออยู่ข้างหน้าอีกด้วย 
11
บทความ
สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ
ในสภาวะที่ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยตลอด กลับไม่ใช่
ปัญหากังวลใจของชาวตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัด
ลพบุรี เพราะที่นี่สามารถผลิตพลังงานทดแทนราคาย่อมเยาได้

เรียกว่า “ไบโอดีเซลเขย่ามือ”
ไบโอดีเซลเขย่ามือ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนให้กับ

ชาวท่ามะนาวลงได้มาก เพราะต้นทุนการผลิตไบโอดีเซล เฉลี่ย

อยู่ที่ลิตรละ 16 บาท ในขณะที่น้ำมันดีเซล มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่

ลิตรละ 30 บาท
นายเปร่ง น้อยสวัสดิ์ คนต้นแบบ ผู้ผลักดันให้เกิดการ

เรียนรู้และพัฒนาพลังงานทางเลือกในตำบลท่ามะนาวมาตลอด

เล่าถึงขั้นตอนการทำไบโอดีเซลเขย่ามือตั้งแต่เริ่มต้น ด้วยการหา

ปิดฝาให้แน่น เขย่าอย่างแรง
ประมาณ 5-10 นาที ทิ้งไว้ 8
ชั่วโมง ให้กลีเซอรีนตกตะกอน
แล้วแยกเอากลีเซอรีนออกไป
เหลือแต่น้ำมันสีเหลืองใส ๆ ไว้
เอาน้ำอุ่นปริมาณครึ่งหนึ่งของ
น้ำมัน ค่อย ๆ เทใส่น้ำมันในขวด
เพื่อล้างทำความสะอาดน้ำมัน
ครั้งแรกให้เขย่าเบา ๆ ประมาณ

5 นาที รอ 15 นาที ให้น้ำกับ
น้ำมันแยกชั้นกันดี ถ่ายน้ำขาวขุ่น
ด้านล่างออกไป ทำซ้ำอีกหลาย ๆ ครั้ง แต่ละครั้งเพิ่มแรงเขย่าขึ้น
เรื่อย ๆ จนครั้งสุดท้ายเขย่าให้แรงสุด ๆ จนน้ำล้างใสสะอาด

เพราะเคล็ดลับคือ ยิ่งผ่านน้ำมาก น้ำมันจะยิ่งสะอาดและยิ่งดีต่อ
เครื่องยนต์
ขั้นตอนสุดท้าย นำน้ำมันที่ได้ไปต้มไล่น้ำออกให้หมด จนไม่มี

ไอน้ำเหลืออยู่กับน้ำมัน หรือจะใช้วิธีตากแดดก็ได้ ส่วนกลีเซอรีน
สามารถนำไปใช้ฆ่าลูกน้ำยุงลายในวงยางได้ 
ไบโอดีเซลที่ผลิตได้ นอกจากจะเป็นการนำน้ำมันพืชเหลือใช้

มาเปลี่ยนเป็นน้ำมันดีเซลใช้กับเครื่องจักรการเกษตรหรือเครื่องยนต์
ดีเซลได้แล้ว ยังทำเองได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพง และใช้ได้จริง
ที่สำคัญ ไบโอดีเซลที่ผลิตได้เองนี้ ยังช่วยลดมลพิษในอากาศจาก
การเผาไหม้ได้ถึงร้อยละ 70-80 เลยทีเดียว
ลองทำดูเองที่บ้านก็ได้ ไม่ยากเลย
คูพัฒนาคูพัฒนาเรียนรูเรียนรู
วัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ น้ำมันที่ใช้แล้วในครัวเรือน ผ้ามุ้งหรือผ้าขาวบาง
สำหรับดักกากน้ำมัน กรวยสำหรับเทส่วนผสม ถ้วยตวง เมทิล
แอลกอฮอล์ 98-99% โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟแบบเป็นเกล็ด
เทอร์โมมิเตอร์ หรือปรอทสำหรับวัดอุณหภูมิ น้ำสะอาด ขวดแก้ว

ขวดพลาสติก หม้อสำหรับต้มและเตา ที่สำคัญ คือ ต้องใช้ผ้าปิดจมูกด้วย
เพื่อป้องกันไอระเหยจากโซดาไฟ
จากนั้นเริ่มขั้นตอนการผลิตไบโอดีเซล โดยการนำน้ำมันใช้แล้ว
มากรองใส่ถัง ปิดฝาแล้วนำไปตากแดด เพื่อให้น้ำมันใสขึ้น จากนั้น
นำมาใส่หม้อตั้งไฟไล่ความชื้น เมื่อได้อุณหภูมิ 55-60 องศาเซลเซียส
ก็ยกลงมาวางทิ้งไว้ให้เย็น ตวงน้ำมันที่เย็นแล้ว ประมาณ 2 ลิตร

ใส่ขวด 5 ลิตร พักไว้ 
นำโซดาไฟ 2 ช้อนชา ผสมกับเมทิลแอลกอฮอล์ 400 มิลลิลิตร
คนให้เข้ากันจนไม่เหลือเกล็ดโซดาไฟ แล้วเทผสมลงในขวดน้ำมัน
12
บทความ
สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ และผู้ให้การสนับสนุนโครงการ “กล้า...ดี
ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้ประสบอุทกภัยอย่างยั่งยืน” เช่น ธนาคาร
ไทยพาณิชย์ โดยนายอานันท์ ปันยารชุน นายกกรรมการ กรรมการ
อิสระ และกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคม คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม
กรรมการอิสระ และกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคม นางกรรณิการ์
ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ดร.เสนาะ อูนากูล ประธาน
คณะกรรมการบริจาค และกรรมการบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด
(มหาชน) ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงาน
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และนายสมพล เกียรติไพบูลย์
ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกันมอบชุด
3 พร้อม ซึ่งประกอบด้วย ชุดพร้อมกิน คือ เครื่องปรุงของแห้ง เช่น
พริกแห้ง หอม กระเทียมและเกลือ ชุดพร้อมปลูก คือ ต้นกล้าพริก
ขี้หนู มะเขือเปราะ มะเขือยาว กะเพรา โหระพา และชุดพร้อมเพาะ
คือ เมล็ดพันธุ์ ถั่วฝักยาว ฟักทอง ผักบุ้ง ชะอม และกล้วยน้ำว้า

ให้กับตัวแทนเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยรอบแรก 1,500 คน

ลงแขกเกี่ยวข้าว ชาวอุดรร่วมใจ เทิดไท้องค์ราชัน
กล้าดีฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้ประสบอุทกภัยอย่างยั่งยืน
จังหวัดอุดรธานี หน่วยราชการต่าง ๆ และองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดอุดรธานี ร่วมกันจัดงาน “ลงแขกเกี่ยวข้าว ชาวอุดร
ร่วมใจ เทิดไท้องค์ราชัน” เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554

ณ บริเวณแปลงนาสาธิต โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
อ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านแสงอร่าม
ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
งานลงแขกเกี่ยวข้าวนี้ คณะอนุกรรมาธิการศึกษาส่งเสริม
และฟื้นฟูประเพณีไทย คณะกรรมาธิการ การศาสนา คุณธรรม
จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม วุฒิสภา ได้คัดเลือกจังหวัดอุดรธานี
นำร่องในการส่งเสริมและฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม

อีกทั้งการจัดงานในพื้นที่แปลงสาธิตปิดทองฯ ยังแสดงให้เห็น

ผลสำเร็จของการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ที่เกิดจากความ
สามัคคี ร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านในการทำงานปิดทองฯ ใน
ท้องถิ่นชุมชนของตน
จาก 8 จังหวัด คือ อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์
อุทัยธานี พิจิตร พิษณุโลก เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2554
การมอบชุด 3 พร้อม เป็นมาตรการหนึ่งของโครงการ
“กล้า...ดี” เพื่อลดรายจ่ายให้กับผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งตั้งเป้าหมาย
ไว้ที่ 1 ล้านคน คาดว่าภายใน 120 วัน สามารถลดรายจ่ายให้กับ

ผู้ประสบอุทกภัยได้ 600 ล้านบาท หรือ 600 บาทต่อคน

ส่วนมาตรการที่สอง จะเป็นการเพิ่มรายได้ ด้วยการสนับสนุน

เมล็ดพันธุ์พืชระยะสั้นที่เป็นที่ต้องการของตลาด เช่น พริกซุปเปอร์
ฮอท ซึ่งตั้งเป้าหมายจะแจกจ่ายให้กับเกษตรกร 30,000 ราย

ที่มีการรวมกลุ่มและมีการบริหารจัดการตั้งแต่การปลูกจนถึง

การจัดจำหน่าย ซึ่งภายใน 120 วัน จะสามารถสร้างรายได้

ให้กับเกษตรกรได้ 160 ล้านบาท เพื่อให้เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย
ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตได้อย่างเข้มแข็ง ยั่งยืน มีศักดิ์ศรี ด้วยการพึ่งพา
ตนเอง และปลูกจิตสำนึกให้สังคมไทยตระหนักถึงการช่วยเหลือ

ผู้ประสบภัยตามแนวพระราชดำริ “ช่วยเขาให้ช่วยตัวเองได้”
13
บทความ
จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่4
จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่4
จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่4

More Related Content

Similar to จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่4

Newsletter pidthong vol.6
Newsletter pidthong vol.6Newsletter pidthong vol.6
Newsletter pidthong vol.6
tongsuchart
 
ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
 ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ... ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
Klangpanya
 
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมืองหนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง
FURD_RSU
 
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
Tum Meng
 

Similar to จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่4 (8)

Newsletter Pidthong vol.1
Newsletter Pidthong vol.1Newsletter Pidthong vol.1
Newsletter Pidthong vol.1
 
Newsletter pidthong vol.6
Newsletter pidthong vol.6Newsletter pidthong vol.6
Newsletter pidthong vol.6
 
ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
 ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ... ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
 
STARTUP THAILAND MAGAZINE. Issue 12. June 2018.
STARTUP THAILAND MAGAZINE. Issue 12. June 2018.STARTUP THAILAND MAGAZINE. Issue 12. June 2018.
STARTUP THAILAND MAGAZINE. Issue 12. June 2018.
 
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมืองหนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง
 
การจัดสรรงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2560
การจัดสรรงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2560การจัดสรรงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2560
การจัดสรรงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2560
 
Final csr booklet 2010
Final   csr booklet 2010Final   csr booklet 2010
Final csr booklet 2010
 
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
 

จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่4

  • 1. 4 เชิญพระราชดำริเป็นหลักนำชาติ ฟื้นฟู-แก้วิกฤติน้ำท่วมตามรอยพระยุคลบาท อ่านต่อหน้า 16 อ่านต่อหน้า 16 เทศบาลทั่วประเทศร่วมใจ เพื่อนช่วยเพื่อนพึ่งพากันเอง ปิดทองหลังพระ คือการเพียรทำความดี โดยไม่มุ่งเน้นประโยชน์ส่วนตน สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่ง ประเทศไทยผุดแนวคิดช่วยเหลือพึ่งพา กันเองในยามวิกฤติ สร้างความเข้มแข็ง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาค ประชาชนไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากรัฐ นายไพร พัฒโน นายกสมาคม สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยและ กรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ กล่าวว่า สมาคมฯ เห็นพ้องต้องกันใน แนวความคิดที่จะให้เทศบาลแต่ละแห่ง จับคู่ช่วยเหลือกันในเวลา ที่เกิดวิกฤตการณ์ต่าง ๆ เช่น กรณีอุทกภัยที่เกิดขึ้น ซึ่งจะมีภารกิจ ในการฟื้นฟูหลังน้ำลดตามมาอีกมาก ทฤษฎีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มูลนิธิชัยพัฒนาสรุปว่ามีอยู่ 5 วิธี คือ 1. การก่อสร้างคันกั้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม เช่น คันดินขนาด พอเหมาะ ขนานตามลำน้ำห่างจากระยะตลิ่งพอสมควร เพื่อป้องกัน ปัญหาน้ำล้นตลิ่ง 2. การก่อสร้างทางผันน้ำ เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือ บางส่วนที่ล้นตลิ่งออกไป โดยก่อสร้างทางผันน้ำหรือขุดคูคลองสายใหม่ เชื่อมต่อกับลำน้ำที่มีปัญหาน้ำท่วม โดยให้น้ำไหลตามทางผันน้ำ ลงสู่ทะเล 3. การปรับปรุงและตกแต่งสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วม ทะลักสามารถไหลไปลงลำน้ำได้สะดวก โดยวิธีการขุดลอกลำน้ำ ตื้นเขิน ตกแต่งดินตามลาดตลิ่งให้เรียบ กำจัดวัชพืช ผักตบชวา หากลำน้ำใดคดโค้งมาก ให้หาแนวคลองขุดใหม่เป็นลำน้ำสายตรง ให้น้ำไหลสะดวก 4. การก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำเพื่อสามารถ เก็บกักน้ำที่ไหลท่วมล้นในฤดูน้ำหลาก และนำมาใช้ในเกษตรกรรม และผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 5. การทำ “แก้มลิง” เพื่อเป็นพื้นที่พักน้ำ ขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล โดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก ตามธรรมชาติดันน้ำออกสู่ทะเล โดยมีประตูระบายน้ำติดตั้งไว้ปลาย คลองกันน้ำไหลย้อนกลับ หลังจากอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ เดือนกรกฎาคมจนถึงธันวาคม 2554 ทำให้มี ราษฎรได้รับผลกระทบมากกว่า 12.8 ล้านคน พื้นที่การเกษตรและอุตสาหกรรมได้รับผล กระทบ 150 ล้านไร่ ใน 63 จังหวัด 641 อำเภอ และถูกกล่าวขานว่าเป็น นายไพร พัฒโน
  • 2. สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ ก้าวต่อไปของปิดทองหลังพระฯ ในปี 2555 ที่ประชุมคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรม ปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2554 รับทราบความก้าวหน้าการปฏิบัติงานในพื้นที่ขยายผลปิดทองหลังพระฯ ว่า 9 หมู่บ้าน ในจังหวัดเชียงใหม่ น่าน พิษณุโลก และสิงห์บุรี อยู่ใน ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามพระราชดำริ และในภาพรวม คณะทำงานระดับอำเภอให้ความสำคัญกับการ สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าของงานใน พื้นที่ทุกขั้นตอน นายอำเภอและปลัดอำเภอ ลงมากำกับดูแลงานใน พื้นที่ด้วยตัวเอง ทำให้แผนงานที่จัดทำตรงกับปัญหาและความ ต้องการของชาวบ้าน รวมทั้งมีการนำองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริ เรื่องน้ำมาช่วยแก้ปัญหา และมีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ด้วยดี ส่วนอีก 9 หมู่บ้าน ในจังหวัดเชียงราย ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ตราด เลย และยะลา อยู่ในขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล ค้นหา ปัญหาและความต้องการของชุมชน สำหรับพื้นที่ต้นแบบ โครงการปิดทองหลังพระฯ จังหวัดน่าน สถาบันฯ มีมติเห็นชอบแผนการดำเนินงานและงบประมาณประจำปี 2555 รวม 7 โครงการ เพื่อการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำอย่าง ยั่งยืน ด้วยการสร้างฝายเพิ่ม ซ่อมแซม บำรุงรักษาฝาย ระบบการส่งน้ำ ด้วยท่อและบ่อพวงสันเขา ส่งเสริมการเรียนรู้การจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ปรับปรุงบำรุงดินให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก ส่งเสริมการปลูกพืช ตระกูลถั่ว เพื่อลดการใช้สารเคมี ปรับปรุงคันนาขั้นบันไดขุดใหม่ เพื่อรักษาความแข็งแรงด้วยการปลูกตะไคร้และดอกไม้จีน ส่งเสริม การปลูกพืชเศรษฐกิจและพืชหลังนาแบบพอเพียง ส่งเสริมการ ปลูกพืชที่ชาวบ้านต้องการ ได้แก่ บร็อคโคลี่ พริกซุปเปอร์ฮอท ฟักเขียว ถั่วลันเตา หน่อไม้ฝรั่ง เผือก ว่านหางจระเข้ และตะไคร้ ในรูปแบบการยืมปัจจัยการผลิต ส่งเสริมการแปรรูปและเพิ่มมูลค่า ผลผลิตทางการเกษตร โดยการแปรรูปมะแขว่น กล้วยเหลืองนวล ต๋าว มะนาวและพริกกะเหรี่ยง จัดตั้งกองทุนและส่งเสริมการรวมกลุ่ม เช่น กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กองทุนปศุสัตว์ กองทุนเมล็ดพืช กองทุน การบริหารจัดการน้ำ การพัฒนาบุคลากร เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะ ให้กับเจ้าหน้าที่ปิดทองหลังพระฯ จังหวัดน่าน และชาวบ้านในพื้นที่ ด้านการเกษตร ปศุสัตว์ คอมพิวเตอร์ รวมทั้งศึกษาดูงานจากครู ภูมิปัญญา หรือแหล่งเรียนรู้ที่นำแนวพระราชดำริไปปฏิบัติจนประสบ ความสำเร็จ และจัดสร้างศูนย์เรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ใน 3 อำเภอ สำหรับความก้าวหน้าของโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน อ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายฯ จ.อุดรธานี หลังจากพัฒนาระบบน้ำเสร็จ จากการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบ ปรากฏว่าสามารถเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าว จากเดิม 800 ไร่ ได้เป็น 1,788 ไร่ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการเลี้ยงสุกร เหมยซาน 91 ตัว ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในพื้นที่เพื่อลดต้นทุน เช่น กล้วย ใบมันสำปะหลัง รำ เป็นอาหารเลี้ยงสุกร ส่งเสริมการปลูก กล้วยเหลืองนวล การเลี้ยงเป็ดสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับการเลี้ยงแบบ พื้นบ้าน และความต้องการของตลาด รวมทั้งสำรวจความต้องการ ของชาวบ้านในการปลูกพืชหลังนา ขนาดพื้นที่ ชนิดของพืชที่ปลูก ราคาตลาด ราคาต้นทุน และส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี โดยใช้วัตถุดิบในพื้นที่ นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติอนุมัติกรอบงบประมาณของสถาบันฯ ในการสนับสนุนกิจกรรมตามแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ ตามพระราชดำริ ที่เป็นปัญหาเร่งด่วนของหมู่บ้าน เพื่อสร้างความ เชื่อมั่น ศรัทธาให้กับทีมปฏิบัติการพื้นที่ระดับอำเภอและจังหวัด โดยมอบหมายให้ผู้อำนวยการสถาบันฯ หารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด พิจารณารายละเอียดกิจกรรม ที่จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณ รวมทั้งอนุมัติแนวทางการคัดเลือกพื้นที่ตามแผนพัฒนาชนบทเชิง พื้นที่ประยุกต์ตามพระราชดำริ โดยให้จังหวัดสำรวจข้อมูลการใช้ ประโยชน์จากโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขนาดเล็ก 137 โครงการ ที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อ ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ส่งข้อมูล กายภาพเบื้องต้นมาให้ และมอบหมายปลัดกระทรวงมหาดไทย แต่งตั้งคณะทำงานกลั่นกรองข้อมูลเพื่อคัดเลือกพื้นที่อีกครั้ง โดย กำหนดเป้าหมายการทำงานปี 2556-2558 ไว้ที่ปีละ 35 หมู่บ้าน 2 ข่าว เจ้าของ : มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เลขที่ 1 ถนนนครปฐม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 : สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้น 26 เลขที่ 989 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0-2611-5000 โทรสาร 0-2658-1413 ที่ปรึกษา : หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ นายพิพัฒน์ เลิศกิตติสุข บรรณาธิการ : นายธนัยนันท์ ธนันท์ปพัฒน์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นายสุชาติ ถนอม ผู้จัดทำ : บริษัท แอร์บอร์น พรินต์ จำกัด 1519/21 ซอยลาดพร้าว 41/1 ถนนลาดพร้าว แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทรศัพท์ 0-2939-9700 โทรสาร 0-2512-2208 E-mail : roso215@yahoo.com www.pidthong.org www.twitter.com/pidthong www.facebook.com/pidthong www.youtube.com/pidthongchannel
  • 3. สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ ปิดทองหลังพระ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จังหวัดเชียงใหม่ และชาวบ้านบ้านปาง ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมประชุมจัดทำแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ ประยุกต์ตามพระราชดำริ พื้นที่ขยายผลปิดทองหลังพระ ระหว่างวันที่ 30 พ.ย.-1 ธ.ค. 2554 ที่วัดป่าไม้แดง อ.ไชยปราการ การประชุมวันแรก เป็นการซักซ้อมความเข้าใจระหว่างปิดทองฯ และหน่วยราชการกับชาวบ้าน ซึ่งได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า จังหวัด เชียงใหม่ จะใช้แนวทางของปิดทองฯ คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เน้นการมีส่วนร่วมและความต้องการของชุมชนเป็นหลัก เพื่อให้การ พัฒนาเห็นผลและเกิดความยั่งยืน ทั้งนี้ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ได้ทั่วถึง 2) สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ด้วยการปลูกพันธุ์ไม้ท้องถิ่น และปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง 3) สำนักงานเกษตร และสหกรณ์จังหวัด จัดอบรมเกษตรผสมผสานและจัดตั้งฟาร์มสาธิต 4) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด จะส่งเสริมอาชีพและการเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 5) ปศุสัตว์อำเภอ เสนอแผนส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรและไก่ 6) สำนักเกษตรอำเภอ ส่งเสริมการทำนาขั้นบันได 7) เทศบาลตำบลหนองบัว จะส่งเสริม การเลี้ยงเป็ดเทศ เพื่อบริโภคไข่ 8) สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัด ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะปรับปรุงดิน ส่งเสริมการปลูกพืช ทางเลือกและการทำเกษตรผสมผสาน เป็นต้น ในช่วงเย็นวันเดียวกัน มีการเปิดตัวครอบครัวอาสาพัฒนาพื้นที่ ปิดทองหลังพระฯ 4 ครอบครัว และแต่ละครอบครัวมีการนำเสนอ หลักการและวิธีคิดการทำเกษตรผสมผสาน ตามแนวทางปิดทอง หลังพระฯ เช่น นายทองสุก ศรีบุญเรือง หนึ่งในครอบครัวอาสา พัฒนาปิดทองฯ บอกว่า หลังจากเห็นผลที่จังหวัดน่าน ทำให้อยากทำ เกษตรผสมผสานบ้าง เพราะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลูกพืช หลากหลาย เช่น มะม่วง กระท้อน ขนุน ลำไย และเลี้ยงไก่ดำ กบ ปลานิล หมูเหมยซาน ฯลฯ จากนั้นเป็นการเปิดโอกาสให้ชาวบ้าน ที่มาร่วมรับฟังนำกลับไปคิด เพื่อหาข้อสรุปในวันรุ่งขึ้น การประชุมในวันที่ 1 ธันวาคม 2554 ชาวบ้านบ้านปางร่วมกัน แสดงความคิดเห็นและสรุปความต้องการของชุมชนทั้งการปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งหน่วยราชการที่มาร่วมรับฟังจะนำความต้องการ ของชุมชนไปศึกษาความเป็นไปได้และจัดทำเป็นแผนส่งเสริมต่อไป โดยคาดว่าเริ่มดำเนินการได้ในต้นปี 2555 พัฒนาไชยปราการสู่ความยั่งยืน อำนวยการปฏิบัติงานระดับจังหวัดและคณะทำงานระดับอำเภอ ขึ้นแล้ว 2 คณะ พร้อมกับสั่งการหน่วยงานให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ศ.ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมและพัฒนา กิจกรรมปิดทองหลังพระฯ กล่าวว่า บ้านปางมีแหล่งน้ำและดินอุดม สมบูรณ์ แต่ยังใช้ได้ไม่เต็มศักยภาพ การดำเนินการของปิดทองหลังพระฯ จะเน้นให้ชาวบ้านรู้จักวิเคราะห์ปัญหาของตนเอง สร้างความมั่นใจ ในการเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นการปลูกพืช แบบผสมผสาน รวมทั้งชักชวนหน่วยราชการมาร่วมกันพัฒนาตาม ความต้องการของชาวบ้าน ซึ่งจากการสำรวจพบว่า มีอยู่ 5 ประการ คือ 1. พัฒนาแหล่งน้ำซึมงูเหลือมรูบนและล่าง และพัฒนาระบบน้ำ ให้ใช้บนพื้นที่สูงได้ 2. ส่งเสริมการเกษตรแบบผสมผสาน เช่น เลี้ยงปลา หมู ไก่ กบ ปลูกพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่และมีตลาดรองรับ 3. ปรับปรุงคุณภาพดินให้อุดมสมบูรณ์ 4. อนุรักษ์ป่าต้นน้ำบน น้ำรูงูเหลือม 5. การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่ายและปลดหนี้ หน่วยราชการที่ร่วมประชุมเสนอแนวทางสนับสนุนต่าง ๆ ได้แก่ 1) โครงการชลประทานจังหวัดเชียงใหม่ จะสร้างอาคารบังคับน้ำ ปรับปรุงและขุดสระเก็บน้ำ จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ เพื่อบริหารจัดการน้ำ ราษฎร์-รัฐร่วมปิดทองฯ 3 รายงานพิเศษ
  • 4. สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ หนึ่งในปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการบริหารจัดการน้ำ อย่างยั่งยืน อ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี คือ องค์ความรู้ด้านการเกษตรและปศุสัตว์ ของโครงการฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดำริในสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งปิดทองหลังพระฯ นำมาถ่ายทอด สู่การปฏิบัติเป็นต้นแบบในพื้นที่แปลงเกษตรสาธิต บ้านโคกล่าม และบ้านแสงอร่าม นายอนันตสิทธิ์ ซามาตย์ หัวหน้าผู้ดูแลพระตำหนักภูพาน ราชนิเวศน์ ผู้ประสานโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ กล่าวว่า หลักการ ของฟาร์มตัวอย่าง คือ การทำเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกพืชผัก เพื่อบริโภคและจำหน่าย ลดค่าใช้จ่ายและสร้างรายได้ให้กับตัวเอง มีการวางแผนปลูกพืชให้ได้ผลผลิตต่อเนื่องตลอดทั้งปี ด้วยการ ปลูกพืช 3 ชั้น คือ พืชชั้นสูง พืชชั้นกลางและพืชกินหัว ซึ่งทุกชั้น กินได้ขายได้ และการปศุสัตว์ เช่น เลี้ยงหมูจินหัว เป็ดอี้เหลียง ปลากินพืชในบ่อ เป็นต้น ภายใต้หลักการดังกล่าว รูปแบบของฟาร์มตัวอย่าง สามารถ ปรับเปลี่ยน ประยุกต์ใช้ได้ในทุกพื้นที่และช่วงเวลา ตามความเหมาะสม ของพื้นที่ ความพร้อมและความต้องการของชาวบ้าน ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่นาหลังฤดูทำนา สามารถใช้พื้นที่นาปลูก ฟักหอมสลับกับข้าวโพดได้ บนคันนาปลูกพืชชั้นกลางและพืชค้าง ที่มีช่วงเก็บเกี่ยวระยะสั้น เช่น กล้วย มะเขือ ชะอม พริก มะละกอ ต้นหอม ข่า ตะไคร้ เป็นต้น ส่วนระหว่างฤดูทำนา บนที่ดอน สามารถ ปลูกพืชชั้นสูงที่มีอายุยืน เช่น แค ขี้เหล็ก ฯลฯ ชั้นกลาง และพืชกินหัว ปลูกแซมด้วยพืชอายุสั้น เช่น พริก มะเขือ ข่า ตะไคร้ สำหรับไร่และสวน จะปลูกพืช 3 ระดับเพื่อเป็นแหล่งอาหาร ระยะสั้นและระยะยาว คือ พืชชั้นสูง ปลูกกล้วย แค มะรุม มะพร้าว พืชชั้นกลางปลูกตะไคร้ ข่า มะเขือ พริก พืชค้างหรือพืชล่าง ปลูกถั่ว แตงกวา ผักบุ้ง ฟักทอง บริเวณรอบบ้าน ปลูกพืชอายุสั้นเพื่อเป็นแหล่งอาหาร ส่วน พืชชั้นสูง นอกจากเป็นอาหารแล้ว ยังอาจเป็นแนวรั้วบ้านไปด้วย ในตัว เช่น มะม่วง ชะอม เป็นต้น การทำเกษตรตามแบบฟาร์มตัวอย่างนั้น ยังสามารถกำหนด การใช้ประโยชน์พื้นที่ได้ตามความเหมาะสมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ปลูกพืชผักอย่างเดียว โดยไม่เลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะมีพื้นที่ปลูกพืชได้ มากขึ้น หรือจะปลูกพืชผักร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ก็ได้ เช่น ปลูกพืชผัก ร่วมกับการเลี้ยงไก่หรือวัว ปลูกพืชผักร่วมกับการเลี้ยงทั้งวัวและไก่ ฟาร์มตัวอย่าง รูปธรรมของการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน รูปแบบปลูกพืชหลังนาและบนคันนา รูปแบบปลูกพืชบนที่ดอนในช่วงการทำนา 4 รายงานพิเศษ
  • 5. สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ ปลูกพืชผักร่วมกับไก่-เป็ด-ปลา ปลูกพืชผักร่วมกับไก่-เป็ด ปลูกพืช ผักร่วมกับหมู ปลูกพืชผักร่วมกับไก่-หมู หรือปลูกพืชผักร่วมกับกระบือ พันธุ์สัตว์ที่เลี้ยง จะเป็นพันธุ์พื้นเมืองหรือลูกผสมพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งจะ ต้านทานโรคและเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมนั้น ฟาร์มตัวอย่าง ยังสามารถปรับให้เหมาะสมกับแต่ละ ท้องถิ่น เช่น • ภาคเหนือ ไม่นิยมปลูกพืช 3 ระดับ เนื่องจากแสงน้อย มีอากาศหนาวเย็น แต่จะปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ลิ้นจี่ มะม่วง ลำไย เบบี้แครอท บีทรูท บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี อโวคาโด • ภาคกลาง การปลูกพืช 3 ระดับ จะเน้นพืชที่เหมาะกับอากาศร้อน เช่น พืชชั้นสูง จะเป็นมะม่วง แค พืชชั้นกลาง จะเป็นพริก มะเขือ ส่วนพืชค้าง จะเป็นถั่วพู ถั่วฝักยาว พืชชั้นล่างเป็นคะน้า ผักบุ้ง ผักกาด ที่สำคัญ ภาคนี้มีความอุดมสมบูรณ์ และอยู่ใกล้ตลาด 30 : 30 : 30 : 10 และปลูกไว้กินก่อน เมื่อมีเหลือกิน ก็จำหน่าย และสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มกัน และบริหารจัดการ แบบบูรณาการ เช่น การตั้งกองทุนเมล็ดพันธุ์พืช กองทุนพันธุ์สัตว์ การรวมกลุ่มจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร ฯลฯ อีกด้วย ฟาร์มตัวอย่างในพื้นที่ 1 ไร่ ทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ประมาณ การต้นทุนอยู่ที่ 23,261 บาทต่อไร่ ในระยะเวลา 1 ปี จะให้ผลผลิต คิดเป็น 106,000 บาท หรือ 4.5 เท่าของทุน โดยชาวบ้านจะมีรายได้ ในแต่ละช่วงตลอดทั้งปี ดังนี้ • มกราคม-เมษายน ปลูกพืชก่อนนาเพื่อบำรุงดินและเป็นปุ๋ย จะมีรายได้จากการปลูกพืช เช่น ผักบุ้ง ที่จะให้ผลผลิตภายใน 20 วัน ฟักทอง 45 วัน เก็บยอดจำหน่ายได้ 60 วันจะให้ยอดชุดที่ 2 อายุ 75 วันได้ผลอ่อน อายุ 90-120 วัน จะได้ผลแก่ ข้าวโพดจะให้ผลผลิต ภายใน 80-90 วัน และเป็นช่วงเวลาเริ่มเลี้ยงสัตว์ รูปแบบปลูกผักบริเวณรอบบ้าน รูปแบบฟาร์มตัวอย่าง พื้นที่ 1 ไร่ ต้นทุนต่อไร่ 23,261 บาท ผลที่จะได้ = 106,000 บาท ค้าส่งขนาดใหญ่ จึงเน้นการปลูกพืชผักเศรษฐกิจเพื่อจำหน่าย • ภาคอีสาน จะปลูกพืช 3 ระดับสำหรับเป็นแหล่งอาหาร ในครัวเรือน ส่วนใหญ่จึงเป็นการปลูกพืชผักสวนครัว พืชระดับสูง ปลูกมะม่วง สะเดา แค พืชชั้นกลาง กะเพรา โหระพา และพืชค้าง และพืชชั้นล่าง เป็น บวบ ฟักทอง ชะพลู เป็นต้น • ภาคใต้ ปลูกพืช 3 ระดับที่เติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อนชื้น โดยพืชชั้นสูง ได้แก่ ยาง สะตอ พืชชั้นกลาง คือ ลองกอง พืชค้าง คือ แตง ถั่วฟักยาว พริก ดีปลี พืชชั้นล่าง เป็น ขิง ข่า ดาหลา ย่านลิเภา และปลูกสับปะรดในสวนยางพารา (เฉพาะ 3 ปีแรก) บ่อน้ำ หากมีการเลี้ยงสัตว์น้ำ พื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับบ่อน้ำ อาจสร้างคอกสัตว์ เพื่อนำมูลสัตว์มาเป็นอาหารปลาได้ แต่ไม่ควร สร้างคอกสัตว์บนบ่อน้ำ เนื่องจากอาจทำให้น้ำเสียได้ ฟาร์มตัวอย่าง ยังเป็นระบบการเกษตรแบบผสมผสาน คือ สามารถใช้เศษผักล้มลุกเป็นอาหารเสริมให้กับสัตว์ มูลสัตว์เป็น อาหารเสริมให้กับพืชผักหรือเป็นอาหารปลา เศษพืชผักและเศษ ที่เหลือจากปลา-สัตว์ สามารถทำเป็นน้ำสกัดชีวภาพอีกด้วย องค์ความรู้ของฟาร์มตัวอย่าง ยังประยุกต์เข้ากับเกษตรทฤษฎีใหม่ และหลักเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการแบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วนในสัดส่วน • พฤษภาคม-ตุลาคม ช่วงฤดูฝน นอกจากเตรียมไถแปลงนา หว่านกล้า และปักดำ จะเริ่มปลูกพืชบนที่ดอนและข้างบ้าน เพื่อให้มี รายได้ช่วงว่างจากการทำนา เช่น บวบ มะเขือ กะเพรา โหระพา พริก ถั่วฟักยาว ถั่วพู แมงลัก ตำลึง มะระขี้นก ฟักแฟง ชะพลู ผักบุ้ง ฟักทอง ในช่วงเวลานี้ จะได้อาหารจากธรรมชาติ เช่น กบ เขียด กุ้ง หอย ปลา เห็ดจากป่า ผักในลำห้วยธรรมชาติ เช่น ผักหนาม ผักแว่น ฯลฯ และสามารถใช้เวลาว่างทำอาชีพเสริม เช่น ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอเสื่อกก จักสาน ทำปลาร้า และการเลี้ยงสัตว์จะเริ่มให้ผลผลิต ในช่วงเวลานี้เช่นกัน • พฤศจิกายน-ธันวาคม เป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าว และเตรียม ปลูกพืชหลังนา เช่น ข้าวโพด ฟักทอง ถั่วลิสง มันเทศ ผักบุ้ง มะเขือเทศ ฯลฯ องค์ความรู้จากฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ช่วยให้คน จำนวนมาก มีชีวิตความเป็นอยู่และฐานะดีขึ้นอย่างเห็น เป็นรูปธรรม ที่สำคัญ คือ ทำให้คนเหล่านั้นสามารถพึ่งพา ตนเองได้อย่างยั่งยืน ต้นทุนต่อไร่ (บาท) พืชชั้นสูง 2,100 พืชชั้นกลาง 2,750 พืชค้าง 150 พืชผักเศรษฐกิจ 4,331 ปุ๋ย 3,680 ปศุสัตว์ 5,300 ประมง 800 บ่อตอกน้ำตื้น 4,000 พันธุ์ปลูกข้าว 150 รวมต้นทุน 23,261 (ต่อไร่) 5 รายงานพิเศษ
  • 6. สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ เพราะอะไร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) จึงเข้าร่วมกับปิดทองหลังพระฯ ภารกิจของ พอช. คือ สนับสนุนให้ชุมชนจัดตั้งองค์กรขึ้น เพื่อรวมกลุ่มให้เกิดพลัง ขณะที่ปิดทองหลังพระฯ คือ การพัฒนาที่ ชุมชนต้องระเบิดจากข้างใน ชุมชนต้องเป็นผู้ดำเนินการเองอย่าง แท้จริง พอช.กับปิดทองหลังพระฯ จึงเป็นฝ่ายทำงานอยู่เบื้องหลัง เหมือนกัน และมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ต้องการสร้างให้ชุมชน เข้มแข็ง ยืนบนขาตัวเองได้ พอช. กับปิดทองหลังพระฯ จึงสนับสนุน กันและกันได้อย่างเต็มที่ เช่น บางพื้นที่ที่ปิดทองหลังพระฯ เข้าไป ดำเนินการ ทำให้เกิดองค์กรชุมชนขึ้นมา พอช.ก็สนับสนุนองค์กรนั้น ให้แข็งแรงขึ้น วิธีการทำงานก็เหมือนกัน คือ ไม่ได้ทำเอง แต่แนะนำ ให้ความรู้ ให้วิธีการ แล้วจุดประกายให้ชาวบ้านทำ สัมภาษณ์พิเศษ พลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุม ปิดทองฯ -สองแรงแข็งขัน ร่วมก การเสนอพื้นที่ขยายผลให้ปิดทองหลังพระฯ พอช.มีหลักเกณฑ์การพิจารณาอย่างไร พิจารณาจากชุมชนที่มีความเข้มแข็ง มีสภาองค์กรชุมชนแล้ว จะได้รวมคนได้ง่ายขึ้น แต่ยังไม่มีแผนชุมชนที่เข้มแข็ง เรื่องความ ยากจน ผมไม่คิด คิดแค่ความพร้อมของชุมชน เพราะคุณชาย (ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมและ พัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ) พูดไว้ประโยคแรกว่า ถ้าคุณไม่พร้อม ผมไม่ไป เชิญเราก็ไม่เอา ถ้าคุณไม่เอา ผมพิจารณา 2 ปัจจัยนี้ เป็นหลัก ที่เชียงใหม่ ชาวบ้านเขาเลือกกันเอง ให้ทำโครงการที่บ้าน อมแรด ที่ประจวบคีรีขันธ์ แม้จะอยู่รอดแล้ว แต่ต้องพอเพียงและ ยั่งยืนด้วย เขายังยั่งยืนไม่ได้ เพราะมีปัญหาเรื่องน้ำ ไม่สามารถ ทำนาได้ ขณะเดียวกัน แม้จะมีองค์กรมาก แต่ก็มีความแตกแยกกันอยู่ ถ้าปิดทองหลังพระฯ เข้าไป แล้วเอาปัญหาขึ้นมาพูดกันก่อน จะทำให้ เกิดความสามัคคีกัน 6 สัมภาษณ์พิเศษ
  • 7. สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ ความร่วมมือระหว่างปิดทองฯ กับ พอช.ใน อนาคต จะพัฒนาไปในทิศทางใด ผมบอกกับกรรมการและเจ้าหน้าที่ พอช.ไว้ว่า ไม่ว่าจะมีองค์กร ใดก็ตาม เข้ามาทำงานในพื้นที่ที่มีองค์กรชุมชนอยู่ พอช.จะเป็นกระด้ง ที่อยู่ล่างสุดที่ต้องสนับสนุน เป็นฐานให้กับองค์กรชุมชน ต้องรองรับ ทุกเรื่องที่ชุมชนจะทำ ปิดทองฯ ก็เป็นงานที่ พอช.จะต้องร่วมมือด้วย เนื่องจาก พอช.มีการแบ่งภาคใหม่ จาก 5 ภาค เป็น 11 ภาค จึงต้องมีการประชุมซักซ้อมความเข้าใจกับผู้บริหารทั้งหมด เพื่อให้ เข้าใจตรงกันและเห็นประโยชน์ของความร่วมมือ ทั้งนี้ พระราช กฤษฎีกาจัดตั้ง พอช.ก็มีกำหนดไว้แล้วว่า พอช.มีหน้าที่ประสานงาน กับทุกองค์กร เมื่อปิดทองฯ เข้ามา เราก็มีหน้าที่ต้องประสานงานกัน อยู่แล้ว โดยมีจุดหมายอยู่ที่ชุมชน อย่างที่ตำบลยอด ทุกวันนี้อยู่ได้ เพราะมีปิดทองฯ อยู่ มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นคนนี้ มชน (องค์การมหาชน) พอช.กันสร้างชุมชนเข้มแข็ง ถ้าไม่มีองค์กรเป็นฐาน ถามว่าต่อไปข้างหน้า อีก 6 ปี เมื่อปิดทอง หลังพระฯ ถอยไป นายก อบต. เปลี่ยนไป จะแน่ใจได้ไหมว่า จะยัง เข้มแข็งเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นหน้าที่ พอช. คือ ต้องสนับสนุน ให้ชุมชนนั้นเป็นชุมชนปิดทองฯ ด้วยตัวของเขาเอง เขาต้องลุกขึ้นมา ทำเอง งานของปิดทองหลังพระฯ ทั้ง 6 มิตินั้น ถ้ามีองค์กรชุมชน เป็นฐาน งานนั้นก็จะเข้มแข็งและอยู่ยาวด้วยตัวเองได้ พอช.และปิดทองฯ จะต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน พื้นที่ไหน ที่ปิดทองฯ เข้าไป ถ้ายังไม่มีองค์กรชุมชนอยู่ พอช.จะตามหลังเข้าไป ทำให้เกิดองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง ถ้ามีองค์กรชุมชนอยู่แล้ว ปิดทองฯ จะเข้าไป พอช.ก็พร้อม แต่ไม่ใช่ว่า พอช.จะกวักมือให้ปิดทองฯ เข้ามา แต่จะต้องเป็นความต้องการของชาวบ้าน หรือเห็นสมควร ว่าจะขยายเพิ่มในพื้นที่ใดเท่าที่กำลังปิดทองฯ จะทำได้ก็จะเสนอ ขึ้นไป ถ้าจะมองภาพความร่วมมือในอนาคต จริง ๆ ไม่ต้องพูด ก็ร่วมมืออยู่แล้ว ท่านมองวิธีการทำงานของปิดทองฯ อย่างไร โดยหลักการของปิดทองฯ ดีมาก ผมอยากให้เป็นอย่างนั้นตลอดไป ปิดทองฯ ไม่ใช่แหล่งงบประมาณที่หน่วยงานจะเสนอกิจกรรม มาเพื่อขอเงิน แต่ปิดทองฯ เป็นแหล่งองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทาง พระราชดำริ ต้องทำให้เขาเข้าใจแล้วทำเอง ปิดทองฯ สนับสนุนบ้าง บางส่วน ต่อยอดบางส่วนเพื่อให้เขาอยู่รอด ตรงไหนอยู่รอดแล้ว เอาความรู้ เอาวิธีการ วิชาการไปอย่างเดียว ไม่ต้องใช้เงิน ที่ผมชอบมาก คือ แบบสำรวจ เพราะของปิดทองฯ จะลึก ละเอียด และครบถ้วน เพราะข้อมูลต้องลึก ต้องครบถ้วน และต้องถูกต้องด้วย จึงจะแก้ปัญหาได้ ปิดทองฯ จะทำให้ พอช.เดินหน้าได้เร็วขึ้น และ พอช.จะทำให้ ปิดทองฯ ขยายได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องใช้เงินมาก เพราะฉะนั้นความ สัมพันธ์ระหว่างปิดทองหลังพระฯ กับ พอช. จึงแยกกันไม่ออก เพราะ ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน เกื้อกูลกัน และมีเป้าหมาย เดียวกัน คือ สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อให้ประเทศเข้มแข็งและยั่งยืน ผมว่า ที่จริงแล้ว งานของปิดทองฯ ไม่ใช่แค่ 6 เรื่อง ยังมี เรื่องอื่นอีกมาก แต่ที่สำคัญที่สุด คือ แนวทางของปิดทองฯ ที่ให้ ชาวบ้านมีส่วนร่วม ปลุกให้ชาวบ้านรู้สึกมีความเป็นเจ้าของ เพราะถ้า หมู่บ้านหนึ่ง มี 100 หลังคาเรือน มีคนมาประชุม 90 กว่าหลังคาเรือน ถามว่า ผู้ใหญ่บ้านจะกล้าเบี้ยว กล้าโกงไหม ในตำบล มี 10 หมู่บ้าน 1,000 หลังคาเรือน มาประชุม 900 คน นายก อบต. จะกล้าเบี้ยว กล้าโกงไหม ถ้าทุกคนรับรู้แผนหมด นี่คือแนวทางของปิดทอง หลังพระฯ ที่ตรงใจผม 7 สัมภาษณ์พิเศษ
  • 8. สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ บ้านโป่งโก หมู่ 2 และบ้านห้วยเกรียบ หมู่ 4 ทั้งสอง หมู่บ้านมีพื้นที่ติดต่อกันในตำบลทองมงคล อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับเลือกให้เป็นพื้นที่ขยายผลปิดทอง หลังพระฯ ก็ด้วยเหตุผลว่า แม้ชาวบ้านเกือบทั้งหมดจะมีที่ดินทำกิน ครอบครัวละกว่า 20 ไร่ สำหรับทำสวนยาง สวนมะพร้าว และไร่ สับปะรด ซึ่งให้ผลผลิตหมุนเวียนตลอดทั้งปี แต่อาชีพหลักเหล่านี้ กลับไม่ได้สร้างรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ ข้อมูลจากการสำรวจพื้นที่ ปรากฏว่า บ้านโป่งโก มีพื้นที่ ประมาณ 6,000 ไร่ เป็นพื้นที่ราบและราบลุ่มในบางส่วน มีประชากร 251 ครัวเรือน จำนวน 938 คน เป็นชาย 487 คน หญิง 451 คน มีคนในวัยทำงาน อายุ 18-60 ปี เป็นส่วนใหญ่ถึง 595 คน ประกอบ อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก พืชที่ปลูกมากที่สุด คือ สับปะรด มะพร้าว ยางพารา ข้าว ตามลำดับ สัตว์ที่เลี้ยงมากที่สุด คือ โคเนื้อ มีโคนม เป็ด ไก่ หมู อยู่ไม่มากนัก รายได้เฉลี่ยของชาวบ้านโป่งโก อยู่ที่ 57,238.81 บาทต่อคนต่อปี มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน มีประปาใช้ 122 ครัวเรือน มีประปาหมู่บ้าน 4 แห่ง โทรศัพท์สาธารณะ 3 แห่ง โทรศัพท์เคลื่อนที่ครบทุกครัวเรือน สำหรับบ้านห้วยเกรียบ มีพื้นที่ 14,790 ไร่ เป็นพื้นที่ราบ มีภูเขา เล็กน้อย มีแหล่งน้ำสำคัญสำหรับการทำเกษตร คือ คลองยางขวาง สาดแสงแห่งความหวัง ที่ตำบลทองมงคล คลองลำจริง ห้วยสองแกลลอน ฝายน้ำล้นเนินทอง ฝายประชาอาสา และสระน้ำ 5 ไร่ ประชากร 196 ครัวเรือน จำนวน 873 คน ร้อยละ 87.78 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พืชที่ปลูกมากที่สุด คือ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว สับปะรด สวนผลไม้ ค้าขาย เลี้ยงสัตว์ และมี อาชีพเสริม จักสานหวาย เพาะเห็ดฟาง เลี้ยงไก่และปลา รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 82,579.80 บาทต่อคนต่อปี มีไฟฟ้าใช้ ทุกครัวเรือน แต่มีประปาเพียง 48 ครัวเรือน มีประปาหมู่บ้าน 2 แห่ง และมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกครัวเรือน รายได้จากไร่จากสวนทั้งสองหมู่บ้าน เมื่อหักต้นทุนการผลิตที่มี แต่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ เหลือเพียงเดือนละ 4,000-6,000 บาท ทำให้ หลายครอบครัวเป็นหนี้ อย่างน้อย 4 กองทุน เนื่องจากปัญหาสำคัญ คือ คุณภาพของดินเริ่มเสื่อมโทรมจากการใช้ปุ๋ยเคมีเกินความจำเป็น ในอดีต หน้าดินถูกชะล้างทำลาย ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรใน ฤดูแล้ง ปัจจัยการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เมล็ดพันธุ์มีราคาสูง พันธุ์พืชไม่ได้มาตรฐาน ผลผลิตจึงไม่ได้คุณภาพและราคาตกต่ำ รวมทั้งไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดินทำกิน โดยเฉพาะที่บ้านห้วยเกรียบ พื้นที่ 14,790 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนทั้งหมด ทุกครัวเรือนจึงไม่มี เอกสารสิทธิ บ้านโป่งโกก็ไม่ต่างกัน เพราะ 200 จาก 251 ครัวเรือน ก็ไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดินทำกินเช่นกัน 8 บทความ
  • 9. สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ “น้ำ” และ “ดิน” จึงเป็นความต้องการมากที่สุดของชาวบ้าน ผู้ใหญ่สมนึก ทองลอย แห่งบ้านโป่งโก บอกว่า หมู่บ้านนี้ มีรายได้ลดลงเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งเพราะต้นทุนการผลิตราคาสูงขึ้น แต่อีกส่วนหนึ่งก็มาจากความฟุ้งเฟ้อ ชาวบ้านกว่าร้อยละ 70 เป็นหนี้ จากการกู้ยืมกองทุนต่าง ๆ ของหมู่บ้าน ตั้งแต่ 30,000- 200,000 บาท “ยังมีปัญหาแหล่งน้ำ ทั้งที่บ้านโป่งโก เป็นแหล่งปลูกข้าวเพียง แห่งเดียวของตำบลทองมงคล แต่เพราะน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ปลูก ข้าวได้แค่ 200 ไร่ ถ้ามีน้ำ ก็จะเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวได้มากขึ้น ทำให้ บ้านโป่งโกเป็นแหล่งปลูกข้าวสำคัญต่อไป และถ้าปิดทองฯ มาช่วย ให้องค์ความรู้อื่น ๆ อีก เช่น ปัญหาโรคในสับปะรด หนอนหัวดำ และแมลงดำหนามในต้นมะพร้าว ที่สร้างความเสียหายมาตลอด ก็จะทำให้บ้านโป่งโกอยู่ได้อย่างยั่งยืน” นายคัมภีร์ ทองเล็ก ชาวบ้านโป่งโก ก็บอกเช่นเดียวกันว่า “ที่นี่อาศัยเพียงน้ำจากห้วยแมงแซงและน้ำฝนเท่านั้น ได้ข้าวก็ ไม่เกิน 3 ปี ชาวบ้านจะลืมตาอ้าปากและปลดหนี้สินได้ เพราะคนที่นี่ มีความพร้อมและความเข้มแข็งที่จะร่วมมือกันพัฒนาบ้านเกิด” นางวิวรรณดา พลธรัตน์ ชาวบ้านห้วยเกรียบ บอกว่า หนี้สิน ของชาวบ้านส่วนหนึ่งมาจากต้องการความสะดวกสบาย โดยไม่ คิดถึงค่าใช้จ่ายที่ตามมา เช่น การพึ่งปุ๋ยเคมี แม้จะให้ผลผลิตเร็ว แต่ก็ต้องใส่เพิ่มขึ้นทุกปี อีกส่วนหนึ่งมาจากความฟุ้งเฟ้อทาง วัตถุนิยม เช่น ทุกบ้านจะต้องมีรถยนต์ มีมือถือรุ่นใหม่ ทั้งที่ไม่จำเป็น อาหารแทบทุกมื้อซื้อหาจากภายนอก มื้อละ 100-300 บาท จึงอยาก ให้ปิดทองฯ สนับสนุนเรื่องการทำไร่นาสวนผสมแทนเกษตรเชิงเดี่ยว และช่วยให้ชาวบ้านมีแหล่งอาหารในบ้าน ทั้งยังมั่นใจว่าถ้าปิดทองฯ ช่วยพัฒนาแหล่งน้ำ จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 50 นางอัจฉรา สกนธนาวัฒน์ ชาวบ้านห้วยเกรียบ อีกคน บอกว่า เชื่อมั่นในแนวทางพัฒนาของปิดทองฯ จากที่เคยไปดูงาน ที่น่าน ได้เห็นว่า นอกจากการพัฒนาจะเป็นไปตามความต้องการของ ชาวบ้านแล้ว ยังมาจากการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และมีองค์ความรู้ที่ ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ “องค์ความรู้ที่อยากได้มากที่สุด คือ การเพาะเลี้ยงเห็ดต่าง ๆ และการทำหัวเชื้อเห็ดก้อน เพราะการผลิตเห็ดฟางและเห็ดหูหนู ที่ชาวบ้านรวมตัวกันจัดตั้งเมื่อ 8 ปีก่อน แม้ตลาดจะดี มีพ่อค้ารับซื้อ ถึงบ้าน ขายได้ถึงเดือนละ 60,000 บาท แต่หักค่าใช้จ่ายแล้ว เหลือเพียง 10,000 บาทเท่านั้น รวมทั้งอยากได้เทคนิคการทำ สวนยางและปาล์ม ที่ช่วยเพิ่มมูลค่า ถ้าปิดทองฯ เข้ามา คงช่วยให้มี รายได้เพิ่มขึ้นและปลดหนี้ที่มีกว่า 200,000 บาทได้โดยเร็ว” นายโสเพียร โบศรี เหรัญญิกโรงสีชุมชนบ้านห้วยเกรียบ อยากได้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการโรงสี เช่น การทำบัญชี การ บริหารจัดการสต็อก เพราะที่ผ่านมาเป็นการบริหารจัดการกันเอง จึงอยากพัฒนาให้โรงสีมีการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน และโรงสี ก็มีกำไรดี เพราะรับซื้อข้าวเปลือกมาตันละ 12,000 บาท ขายเป็น ข้าวสารได้ตันละ 18,000 บาท หรือ กก.ละ 30 บาท ขณะที่ความ ต้องการมีมาก แต่ไม่สามารถผลิตได้พอ เพราะบ้านโป่งโกปลูกข้าว ได้น้อย ถ้ามีข้าวมากขึ้น จะได้ส่งไปขายตำบลใกล้เคียงได้ด้วย ชาวบ้านโป่งโกและบ้านห้วยเกรียบ จะเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ ชาวบ้านลุกขึ้นมาพัฒนาตนเองตามแนวทางปิดทองหลังพระฯ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสืบต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน เพียงไร่ละ 35-40 ถัง แค่พอกิน ถ้ามีน้ำพอ จะได้ทำนาหลายครั้ง และขยายพื้นที่ปลูกข้าวได้มากขึ้น ที่สำคัญ มีน้ำพอก็จะช่วยให้ได้ ข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 50 ถัง” ผู้ใหญ่วัชรินทร์ จันทร์เดช บ้านห้วยเกรียบ บอกว่า ที่ชาวบ้าน มีรายได้เหลือน้อย ก็เพราะเป็นต้นทุนการผลิตไปกว่าร้อยละ 80 ทั้ง ค่าแรงงาน ค่าปุ๋ยกระสอบละ 1,000 บาท ซึ่งสวนยางจะใส่ปุ๋ยถึง ไร่ละ 1 กระสอบ ปีละครั้ง แต่ถ้าเป็นปาล์มจะต้องใส่ถึงปีละ 4 ครั้ง ผลผลิตยังลดลงเรื่อย ๆ เพราะแหล่งน้ำสำคัญ คือ อ่างเก็บน้ำ โป่งสามสิบ ความจุ 850,000 ลบ.ม. และอ่างเก็บน้ำเนินทอง ความจุ 31,000 ลบ.ม. ไม่สามารถใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ ต้องอาศัยน้ำฝน เพียงอย่างเดียว เมื่อขาดแคลนน้ำ ชาวบ้านก็หันไปปลูกสับปะรด ที่ใช้น้ำน้อย แต่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงมาก เกิดปัญหาดินเสื่อม ตามมา แถมยังถูกกดราคารับซื้อ ทำให้ชาวไร่สับปะรดขาดทุนมาตลอด เมื่อรายได้ไม่เพียงพอ ชาวบ้านห้วยเกรียบก็ต้องกู้หนี้ยืมสิน เป็นหนี้มากกว่า 4 กองทุน ตั้งแต่ครอบครัวละ 30,000-500,000 บาท ไม่รวมหนี้นอกระบบ “ถ้าปิดทองหลังพระฯ มาช่วยพัฒนาอ่างเก็บน้ำทั้งสองแห่ง ให้มี น้ำทำเกษตรได้ตลอดทั้งปี เหมือนที่น่านและอุดรธานี ผมมั่นใจว่า วิวรรณดา พลธรัตน์ อัจฉรา สกนธนาวัฒน์ โสเพียร โบศรี สมนึก ทองลอย คัมภีร์ ทองเล็ก วัชรินทร์ จันทร์เดช 9 บทความ
  • 10. สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ ตัวอยาง ชุมชน ตัวอยาง ชุมชน ความสำเร็จของโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน อ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ซึ่งปิดทองหลังพระฯ เข้าไปดำเนินการ เมื่อต้นปี 2554 ด้วยการประสานให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการเกษตร และปศุสัตว์ ของโครงการฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดำริใน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ กับองค์ความรู้ด้านการ บริหารจัดการระบบน้ำของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ รวมทั้งหน่วยงาน สืบสานแนวพระราชดำริ ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ ภาคประชาชน ไม่เพียงแต่ทำให้เกษตรกรเจ้าของพื้นที่ต้นแบบ เปลี่ยนจากที่เคยต้องซื้อผักมาบริโภค กลายเป็นเจ้าของผลผลิตมาก พอสำหรับการบริโภคและจำหน่าย ภายในเวลาไม่ถึง 2 เดือน ความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ ใกล้เคียงนำองค์ความรู้จากพื้นที่ต้นแบบไปปฏิบัติตามด้วยตนเอง จากพื้นที่ต้นแบบ 2 แปลง จึงขยายผลเป็นพื้นที่รวม 31 แปลง ในปัจจุบัน เมื่อมีผู้ปลูกมากขึ้น การที่ต่างคนต่างซื้อเมล็ดพันธุ์มาปลูก ในที่ของตน ทำให้ต้องซื้อปลีกในราคาสูง ชาวบ้านโคกล่ามโดยการ สนับสนุนของปิดทองฯ จึงมีการรวมตัวกันจัดตั้ง “กองทุนเมล็ดพันธุ์ผัก บ้านโคกล่าม” ขึ้น จากจุดเริ่มต้น ด้วยสมาชิก 12 คน เมล็ดพันธุ์ที่รวมกันซื้อ และแบ่งให้สมาชิกนำไปปลูกในแต่ละครัวเรือน มีทั้งพืชก่อนและ หลังนา เช่น ถั่วฝักยาว ผักชี ผักชีฝรั่ง ผักชีลาว มะเขือ ผักบุ้ง คะน้า ผักสลัด พริก แมงลัก โหระพา ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดรายจ่าย ในครัวเรือนแล้ว ยังทำให้ได้ผลผลิตที่ปลอดจากสารพิษอีกด้วย กองทุนเมล็ดพันธุ์ บริหารโดยคณะกรรมการ มีนางเก่ง จันเทศ เป็นประธานกองทุน และนางสุกัญญา ฉิมพลี เป็นเหรัญญิก ดำเนินงาน โดยการจัดซื้อเมล็ดพันธุ์จำนวนมาก มาแบ่งจำหน่ายให้กับสมาชิก และชาวบ้านทั่วไปในราคาถูกกว่าท้องตลาด สำหรับสมาชิกจะซื้อ เมล็ดพันธุ์ไปปลูก เมื่อได้ผลผลิตแล้วจะนำผลผลิตมาขาย ให้กับกองทุน หรือจะยืมเมล็ดพันธุ์ไปปลูกก่อน แล้วนำมาคืนกองทุน กองทุนเมล็ดพันธุ์ผักและการตลาด บ้านโคกล่าม พลังแห่งความเข้มแข็งของชุมชน 10 บทความ
  • 11. สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ ในอัตราส่วน 2 เท่าของที่ยืมไปก็ได้ ผลผลิตอันงอกเงยงดงามที่เกิดขึ้นที่บ้านโคกล่าม จากความรู้ ด้านการเกษตร การมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกอุดมสมบูรณ์ และการมี กองทุนเมล็ดพันธุ์ ทำให้มีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อถึงแปลงผัก แต่การที่ต่างคนต่างขายที่แปลงของตน ทำให้ไม่ได้ราคาเท่าที่ควร ชาวบ้านจึงมีแนวความคิดต่อยอด เพื่อนำผลผลิตออกสู่ตลาด ปิดทองหลังพระฯ ให้การสนับสนุนอีกครั้ง ด้วยการจัดหาตลาด ให้สมาชิกกองทุนรวบรวมและนำผลผลิตออกไปจำหน่ายยังตลาด โพศรี ในอำเภอเมือง ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ของจังหวัดอุดรธานี สัปดาห์ละ 2 วัน ทุกวันอังคารและวันศุกร์ กองทุนเมล็ดพันธุ์ผัก จึงแปรรูปเป็น “กองทุนเมล็ดพันธุ์ผัก และการตลาด” ที่จะรับซื้อผลผลิตจากสมาชิกเป็นกิโลกรัม แล้วนำ มาทำความสะอาด แบ่งเป็นกำ ๆ สำหรับขายในตลาด ซึ่งสามารถ สร้างกำไรได้ 3-4 เท่า เช่น รับซื้อผักก้านจอง จากสมาชิกราคา กิโลกรัมละ 8 บาท แบ่งเป็น 6 กำ ขายได้กำละ 5 บาท แต่ละครั้ง จะมีการซื้อผักต่าง ๆ มากมายหลายชนิด ประมาณ 40-50 กิโลกรัม รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตทั้งหมด หักค่าใช้จ่ายแล้ว จะนำเข้า กองทุน แล้วปันผลให้กับสมาชิกเท่า ๆ กัน แต่ผู้ที่ทำหน้าที่ขายซึ่งจะ ต้องทำหน้าที่ดูแลร้านและทำบัญชีด้วย จะได้รับส่วนแบ่งเป็น 2 เท่า นางเก่ง จันเทศ ประธานกองทุน กล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า “ผักของเราขายดี ขายได้หมดทุกครั้ง เพราะเป็นผักปลอดสารพิษ ที่คนชอบ สะอาดและมีราคาถูก ที่สำคัญ เป็นผลผลิตที่มาจาก การพัฒนาของปิดทองฯ ทำให้ชาวบ้านเชื่อมั่นในคุณภาพมากกว่า ผักท้องตลาดทั่วไป กลุ่มจัดตั้งมาได้เพียง 4 เดือน แต่ก็มีรายได้ หลังหักค่าใช้จ่ายเข้ากองทุนมากกว่าเดือนละ 14,000 บาทแล้ว” แม้ในวันนี้ ความสำเร็จของกองทุนเมล็ดพันธุ์ผักและการตลาด จะยังเป็นเพียงก้าวเล็ก ๆ แต่นางเก่งมั่นใจว่า อนาคตของกองทุน จะต้องเติบโตขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างแน่นอน ด้วยการเพิ่มชนิดของผักที่ จะนำมาจำหน่ายให้มากมายหลากหลายขึ้น พร้อมกับการพัฒนา บรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัยน่าสนใจยิ่งขึ้น รวมทั้งการชักชวนให้มีสมาชิก เพิ่มมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกัน ตลาดโพศรี ก็ให้การสนับสนุนการดำเนินงาน ของกองทุนเมล็ดพันธุ์ผักและการตลาด บ้านโคกล่ามอย่างเต็มที่ ซึ่งนายปิยะ ส่งศรี ผู้จัดการตลาดโพศรี กล่าวว่า กองทุนเมล็ดพันธุ์ผัก และการตลาด บ้านโคกล่าม เป็นกลุ่มที่ตลาดให้ความสนใจ เพราะ จัดตั้งขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน ทั้งที่ยังไม่มีความ เข้าใจเรื่องการค้าขายมากนัก แต่ก็สามารถจัดตั้งกลุ่มเป็นรูปเป็นร่าง และมีการดำเนินการได้ขนาดนี้ ก็ถือว่าเก่งมากแล้ว ในขณะนี้ ตลาด สนับสนุนด้วยการให้แผงขายฟรี 2 แผง ส่วนในอนาคต จะยังให้ การสนับสนุนทั้งในด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการพัฒนา พื้นที่ค้าให้เป็นร้านค้าแทนแผงค้าเช่นปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยดึงดูดผู้ซื้อ ได้มากขึ้น การทำงานอย่างขันแข็งของกองทุนเมล็ดพันธุ์ผักและการตลาด ที่เกิดจาก “การระเบิดจากข้างใน” ของสมาชิก ทำให้กองทุนมี ความเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้เสริมอย่างงามให้กับสมาชิก ทั้งยังมีอนาคตที่สดใสรออยู่ข้างหน้าอีกด้วย 11 บทความ
  • 12. สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ ในสภาวะที่ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยตลอด กลับไม่ใช่ ปัญหากังวลใจของชาวตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัด ลพบุรี เพราะที่นี่สามารถผลิตพลังงานทดแทนราคาย่อมเยาได้ เรียกว่า “ไบโอดีเซลเขย่ามือ” ไบโอดีเซลเขย่ามือ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนให้กับ ชาวท่ามะนาวลงได้มาก เพราะต้นทุนการผลิตไบโอดีเซล เฉลี่ย อยู่ที่ลิตรละ 16 บาท ในขณะที่น้ำมันดีเซล มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ ลิตรละ 30 บาท นายเปร่ง น้อยสวัสดิ์ คนต้นแบบ ผู้ผลักดันให้เกิดการ เรียนรู้และพัฒนาพลังงานทางเลือกในตำบลท่ามะนาวมาตลอด เล่าถึงขั้นตอนการทำไบโอดีเซลเขย่ามือตั้งแต่เริ่มต้น ด้วยการหา ปิดฝาให้แน่น เขย่าอย่างแรง ประมาณ 5-10 นาที ทิ้งไว้ 8 ชั่วโมง ให้กลีเซอรีนตกตะกอน แล้วแยกเอากลีเซอรีนออกไป เหลือแต่น้ำมันสีเหลืองใส ๆ ไว้ เอาน้ำอุ่นปริมาณครึ่งหนึ่งของ น้ำมัน ค่อย ๆ เทใส่น้ำมันในขวด เพื่อล้างทำความสะอาดน้ำมัน ครั้งแรกให้เขย่าเบา ๆ ประมาณ 5 นาที รอ 15 นาที ให้น้ำกับ น้ำมันแยกชั้นกันดี ถ่ายน้ำขาวขุ่น ด้านล่างออกไป ทำซ้ำอีกหลาย ๆ ครั้ง แต่ละครั้งเพิ่มแรงเขย่าขึ้น เรื่อย ๆ จนครั้งสุดท้ายเขย่าให้แรงสุด ๆ จนน้ำล้างใสสะอาด เพราะเคล็ดลับคือ ยิ่งผ่านน้ำมาก น้ำมันจะยิ่งสะอาดและยิ่งดีต่อ เครื่องยนต์ ขั้นตอนสุดท้าย นำน้ำมันที่ได้ไปต้มไล่น้ำออกให้หมด จนไม่มี ไอน้ำเหลืออยู่กับน้ำมัน หรือจะใช้วิธีตากแดดก็ได้ ส่วนกลีเซอรีน สามารถนำไปใช้ฆ่าลูกน้ำยุงลายในวงยางได้ ไบโอดีเซลที่ผลิตได้ นอกจากจะเป็นการนำน้ำมันพืชเหลือใช้ มาเปลี่ยนเป็นน้ำมันดีเซลใช้กับเครื่องจักรการเกษตรหรือเครื่องยนต์ ดีเซลได้แล้ว ยังทำเองได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพง และใช้ได้จริง ที่สำคัญ ไบโอดีเซลที่ผลิตได้เองนี้ ยังช่วยลดมลพิษในอากาศจาก การเผาไหม้ได้ถึงร้อยละ 70-80 เลยทีเดียว ลองทำดูเองที่บ้านก็ได้ ไม่ยากเลย คูพัฒนาคูพัฒนาเรียนรูเรียนรู วัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ น้ำมันที่ใช้แล้วในครัวเรือน ผ้ามุ้งหรือผ้าขาวบาง สำหรับดักกากน้ำมัน กรวยสำหรับเทส่วนผสม ถ้วยตวง เมทิล แอลกอฮอล์ 98-99% โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟแบบเป็นเกล็ด เทอร์โมมิเตอร์ หรือปรอทสำหรับวัดอุณหภูมิ น้ำสะอาด ขวดแก้ว ขวดพลาสติก หม้อสำหรับต้มและเตา ที่สำคัญ คือ ต้องใช้ผ้าปิดจมูกด้วย เพื่อป้องกันไอระเหยจากโซดาไฟ จากนั้นเริ่มขั้นตอนการผลิตไบโอดีเซล โดยการนำน้ำมันใช้แล้ว มากรองใส่ถัง ปิดฝาแล้วนำไปตากแดด เพื่อให้น้ำมันใสขึ้น จากนั้น นำมาใส่หม้อตั้งไฟไล่ความชื้น เมื่อได้อุณหภูมิ 55-60 องศาเซลเซียส ก็ยกลงมาวางทิ้งไว้ให้เย็น ตวงน้ำมันที่เย็นแล้ว ประมาณ 2 ลิตร ใส่ขวด 5 ลิตร พักไว้ นำโซดาไฟ 2 ช้อนชา ผสมกับเมทิลแอลกอฮอล์ 400 มิลลิลิตร คนให้เข้ากันจนไม่เหลือเกล็ดโซดาไฟ แล้วเทผสมลงในขวดน้ำมัน 12 บทความ
  • 13. สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ และผู้ให้การสนับสนุนโครงการ “กล้า...ดี ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้ประสบอุทกภัยอย่างยั่งยืน” เช่น ธนาคาร ไทยพาณิชย์ โดยนายอานันท์ ปันยารชุน นายกกรรมการ กรรมการ อิสระ และกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคม คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการอิสระ และกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคม นางกรรณิการ์ ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ดร.เสนาะ อูนากูล ประธาน คณะกรรมการบริจาค และกรรมการบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และนายสมพล เกียรติไพบูลย์ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกันมอบชุด 3 พร้อม ซึ่งประกอบด้วย ชุดพร้อมกิน คือ เครื่องปรุงของแห้ง เช่น พริกแห้ง หอม กระเทียมและเกลือ ชุดพร้อมปลูก คือ ต้นกล้าพริก ขี้หนู มะเขือเปราะ มะเขือยาว กะเพรา โหระพา และชุดพร้อมเพาะ คือ เมล็ดพันธุ์ ถั่วฝักยาว ฟักทอง ผักบุ้ง ชะอม และกล้วยน้ำว้า ให้กับตัวแทนเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยรอบแรก 1,500 คน ลงแขกเกี่ยวข้าว ชาวอุดรร่วมใจ เทิดไท้องค์ราชัน กล้าดีฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้ประสบอุทกภัยอย่างยั่งยืน จังหวัดอุดรธานี หน่วยราชการต่าง ๆ และองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดอุดรธานี ร่วมกันจัดงาน “ลงแขกเกี่ยวข้าว ชาวอุดร ร่วมใจ เทิดไท้องค์ราชัน” เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 ณ บริเวณแปลงนาสาธิต โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน อ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านแสงอร่าม ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี งานลงแขกเกี่ยวข้าวนี้ คณะอนุกรรมาธิการศึกษาส่งเสริม และฟื้นฟูประเพณีไทย คณะกรรมาธิการ การศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม วุฒิสภา ได้คัดเลือกจังหวัดอุดรธานี นำร่องในการส่งเสริมและฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม อีกทั้งการจัดงานในพื้นที่แปลงสาธิตปิดทองฯ ยังแสดงให้เห็น ผลสำเร็จของการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ที่เกิดจากความ สามัคคี ร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านในการทำงานปิดทองฯ ใน ท้องถิ่นชุมชนของตน จาก 8 จังหวัด คือ อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ อุทัยธานี พิจิตร พิษณุโลก เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2554 การมอบชุด 3 พร้อม เป็นมาตรการหนึ่งของโครงการ “กล้า...ดี” เพื่อลดรายจ่ายให้กับผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งตั้งเป้าหมาย ไว้ที่ 1 ล้านคน คาดว่าภายใน 120 วัน สามารถลดรายจ่ายให้กับ ผู้ประสบอุทกภัยได้ 600 ล้านบาท หรือ 600 บาทต่อคน ส่วนมาตรการที่สอง จะเป็นการเพิ่มรายได้ ด้วยการสนับสนุน เมล็ดพันธุ์พืชระยะสั้นที่เป็นที่ต้องการของตลาด เช่น พริกซุปเปอร์ ฮอท ซึ่งตั้งเป้าหมายจะแจกจ่ายให้กับเกษตรกร 30,000 ราย ที่มีการรวมกลุ่มและมีการบริหารจัดการตั้งแต่การปลูกจนถึง การจัดจำหน่าย ซึ่งภายใน 120 วัน จะสามารถสร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรได้ 160 ล้านบาท เพื่อให้เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตได้อย่างเข้มแข็ง ยั่งยืน มีศักดิ์ศรี ด้วยการพึ่งพา ตนเอง และปลูกจิตสำนึกให้สังคมไทยตระหนักถึงการช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยตามแนวพระราชดำริ “ช่วยเขาให้ช่วยตัวเองได้” 13 บทความ