SlideShare a Scribd company logo
1 of 18
Download to read offline
1
มีนาคม 2564 •
มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12
สวทช. เปิดแล็บเทสต์มาตรฐาน ‘กัญชา-กัญชง’ ‘เพ ลา เพลิน’
จ.บุรีรัมย์ ประเดิมส่งทดสอบ ‘สารสำ�คัญ’ คัดเกรด-เพิ่มมูลค่า
เอ็มเทค สวทช. พัฒนา “Para Plearn” นวัตกรรมของเล่นจาก
ยางพารา เสริมพัฒนาการเด็ก เล่นและเรียนรู้อย่างปลอดภัย
เนคเทค สวทช. จัดกิจกรรม “รวมพลคน KidBright Online”
ครั้งที่ 3 พบกับการแข่งขัน KidBright AI Bot Tournament
ด้วยภาษาถิ่น
โรงเรียนเกษตรสมบูรณ์วิทยาคม จังหวัดชัยภูมิ สุดเจ๋ง! คว้า
รางวัลชนะเลิศ KidBright AI Bot Tournament ด้วยภาษาถิ่น
สวทช.-ม.เกษตรศาสตร์-ชุมชนบ้านดอนหวาย เปิด “ศูนย์ผลิต
เมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML” แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพแห่ง
แรก พร้อมส่งต่อแปลงปลูกทั่วไทย
2
3
8
4
5
9
10
6
11
12
7
ในเล่ม Insight
13
ข่าว News
ที่ปรึกษา	 ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล, ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล, ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล
	 ดร.ลดาวัลย์ กระแสร์ชล, กุลประภา นาวานุเคราะห์
กองบรรณาธิการ ชนานันท์ คงธนาฤทธิ์, อาทิตย์ ลมูลปลั่ง, วัชราภรณ์ สนทนา, วรรณงาม วีระผาสุก
อุดมรัตน์ วัฒนกูล, ไพรัตน์ ปัญญารักกิจ, สายพิณ ธนะศิริวัฒนา, บุญเลิศ อรุณพิบูลย์
ต่อตระกูล พูลโสภา, ชมพูนุช อนุศาสน์สิทธิกิจ, วีณา ยศวังใจ, ปรมาภรณ์ จูฑะจันทร์, พีรภัฏ บุญชู
ศิลปกรรม ชุมพล พินิจธนสาร
ทีมงาน NSTDA e-newsletter
ผู้ผลิต
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ และฝ่ายเผยแพร่วิทยาศาสตร์
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 71725 โทรสาร 0 2564 7078
http://www.nstda.or.th/
อีเมล pr@nstda.or.th
บทความ Article
สวทช. ส่งมอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 หวังช่วยลดความ
เสี่ยงจากการแพร่เชื้อ
สวทช. 3 ทศวรรษ งานวิจัยด้านเกษตรและอาหาร ความรู้
ความเชี่ยวชาญ สู่ความยั่งยืน
EECi จับมือเอกชนจีน ขับเคลื่อนศูนย์นวัตกรรม SMC มุ่งเป้า
ยกระดับขีดความสามารถโรงงานไทย สู่อุตสาหกรรม 4.0
ไบโอเทค สวทช. ค้นพบราแมลงชนิดใหม่ของโลก (new spe-
cies) 47 สายพันธุ์
สวทช. จับมือ รพ.ธรรมศาสตร์ฯ นำ� Digital Healthcare ยก
ระดับโรงพยาบาลสู่โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital)
นาโนเทค สวทช. พัฒนา ‘ปุ๋ยคีเลต’ เสริมธาตุอาหารพืชทางใบ
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
โอกาสสำ�คัญกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
BCG Economy Model
2 NSTDA • March 2021
มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12
(4 กุมภาพันธ์ 2564) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย : สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศูนย์พัฒนา
ผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี(BIC) ส่งมอบนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ป้องกัน โควิด-19 ให้กับสำ�นักงานป้องกันควบคุมโรคที่2 ซึ่งประกอบ
ด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ จ.พิษณุโลก จ.สุโขทัย จ.อุตรดิตถ์ จ.ตาก และ จ.เพชรบูรณ์ โดยมีนางกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำ�นวย
การ สวทช. พร้อมด้วยนางศันสนีย์ ฮวบสมบูรณ์ ผู้อำ�นวยการศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) และนักวิจัย ร่วมส่งมอบ
นวัตกรรมรวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่างๆ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.nstda.or.th/home/news_post/20200204/
สวทช. ส่งมอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19
หวังช่วยลดความเสี่ยงจากการแพร่เชื้อ
3
มีนาคม 2564 •
มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12
สวทช. 3 ทศวรรษ งานวิจัยด้านเกษตรและอาหาร
ความรู้ ความเชี่ยวชาญ สู่ความยั่งยืน
ณ ห้องแถลงข่าว อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.): ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำ�นวย
การสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำ�ทีมผู้บริหารศูนย์วิจัยแห่งชาติ ประกอบด้วย ดร.วรรณพ วิเศษสงวน
ผู้อำ�นวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำ�นวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและ
วัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำ�นวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) และ ดร.วรรณี
ฉินศิริกุล ผู้อำ�นวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ(นาโนเทค) แถลงข่าวงานNSTDABeyondLimits:3DecadesofImpacts(3 ทศวรรษ
แห่งความต่อเนื่อง ความสำ�คัญและผลกระทบ) Episode 1 : เกษตรและอาหาร นำ�เสนอภาพรวมผลงานวิจัยเด่นด้านเกษตรและอาหารที่
สวทช. มุ่งมั่นสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนประเทศชาติมาตลอด 30 ปี ขณะเดียวกันพร้อมสานต่อนำ�
ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่สั่งสมมาต่อยอดสร้างนวัตกรรมหนุนเสริมภาคชุมชนและอุตสาหกรรม เพื่อสร้างเศรษฐกิจไทยให้เติบโต
อย่างมั่นคง ประชาชนอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.nstda.or.th/home/news_post/20210209-nstda2563/
4 NSTDA • March 2021
มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12
EECi จับมือเอกชนจีน ขับเคลื่อนศูนย์นวัตกรรม SMC
มุ่งเป้ายกระดับขีดความสามารถโรงงานไทย สู่อุตสาหกรรม 4.0
(10 กุมภาพันธ์ 2564) ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี : สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมลงนามความร่วมมือกับ SIASUN AUTOMATION (SINGAPORE) PTE. LTD.
เพื่อการสนับสนุนการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation, EECi)
ด้วยการนำ�เทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านระบบอัตโนมัติหุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะมาร่วมขับเคลื่อนศูนย์นวัตกรรมการผลิต
ยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) อันจะส่งผลให้เกิดการยกระดับขีดความสามารถในภาคการผลิตของประเทศไทย
ให้เปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยมี ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และ
นางสาลินี ผลประไพ ผู้อำ�นวยการกองเอเชียตะวันออก 1 กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมเป็นสักขีพยาน พร้อมด้วย
ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และผู้อำ�นวยการเขตนวัตกรรม
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำ�นวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
(เนคเทค) นาย Zhao  Chen ประธานกรรมการบริหาร SIASUN AUTOMATION (SINGAPORE) PTE. LTD. และ นางสาว Toh Guat Lan
รองประธานกรรมการบริหาร SIASUN AUTOMATION (SINGAPORE) PTE. LTD. ร่วมลงนาม
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมhttps://www.nstda.or.th/home/news_post/eeci-sign-mou-with-chinese-robot-automation-company/
5
มีนาคม 2564 •
มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12
ไบโอเทค สวทช. ค้นพบราแมลงชนิดใหม่ของโลก
(new species) 47 สายพันธุ์
ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำ�นวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. เปิดเผยภายในแถลงข่าวงาน
NSTDA Beyond Limits: 1 Decades of Impacts (3 ทศวรรษ แห่งความต่อเนื่อง ความสำ�คัญและผลกระทบ) Episode 1 : เกษตรและ
อาหาร ว่า ดร.เจนนิเฟอร์ เหลืองสอาด และคณะวิจัย จากทีมวิจัยปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ทางการเกษตร (APMT) กลุ่มวิจัยเทคโนโลยี
ชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ค้นพบราแมลงชนิดใหม่รวม 47 สปีชีส์ โดยเป็นสกุลใหม่รวม 8 สกุล ถือเป็นการค้นพบราแมลงชนิดใหม่
จำ�นวนมากของโลก
อ่านรายละเอียดเพิ่ม https://www.nstda.or.th/home/news_post/new-species/
6 NSTDA • March 2021
มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12
สวทช. จับมือ รพ.ธรรมศาสตร์ฯ
นำ� Digital Healthcare
ยกระดับสู่โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital)
16 กุมภาพันธ์2564 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำ�นักงาน
พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง
“โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์DigitalHealthcare เพื่อยกระดับโรงพยาบาลเข้าสู่SmartHospital"
เพื่อร่วมพัฒนา ส่งเสริม และขับเคลื่อนให้เกิดผลงานนวัตกรรมทางด้านSmartHealthcare และDigitalHealthcare ในการเตรียมความ
พร้อมและปรับเปลี่ยนกระบวนการปฏิบัติงานของโรงพยาบาล โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านดิจิทัลในการเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศ
(DigitalTransformation) เป็นระยะเวลา5 ปี เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการ ระบบบริหารจัดการและยกระดับโรงพยาบาลเข้าสู่SmartHospital
อ่านรายละเอียดเพิ่ม https://www.nstda.or.th/home/news_post/smarthospital/
7
มีนาคม 2564 •
มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12
นักวิจัยนาโนเทค สวทช. พัฒนาสารคีเลตจุลธาตุอาหารพืชสำ�หรับการฉีดพ่นทางใบ ชูจุดเด่นเพิ่มการดูดซึม เร่งการเจริญเติบโตของพืช
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมลดค่าใช้จ่ายจากการสูญเสียธาตุอาหารทางดิน ส่งต่อเอกชน เชื่อมนวัตกรรมจากแล็บสู่เกษตรกร
สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมกว่า 500 ล้านบาท ลดการนำ�เข้าปุ๋ยจุลธาตุอาหารจากต่างประเทศ
อ่านรายละเอียดเพิ่ม https://www.nstda.or.th/home/news_post/nanotec-chelate/
นาโนเทค สวทช. พัฒนา ‘ปุ๋ยคีเลต’
เสริมธาตุอาหารพืชทางใบ
8 NSTDA • March 2021
มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12
สวทช. เปิดแล็บเทสต์มาตรฐาน ‘กัญชา-กัญชง’
‘เพ ลา เพลิน’ จ.บุรีรัมย์ ประเดิมส่งทดสอบ
‘สารสำ�คัญ’ คัดเกรด-เพิ่มมูลค่า
18 กุมภาพันธ์ 2564 : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สำ�นักงาน
พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดแถลงข่าว การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการวิเคราะห์ทดสอบกัญชา
เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถวิสาหกิจชุมชน ระหว่าง วิสาหกิจชุมชนศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพรเพลาเพลินเพื่อชุมชน(วพพ.) จ.บุรีรัมย์
กับ ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. หรือ NCTC (NSTDA Characterization and Testing Center) โดยมี นายณฏฐพล วุฒิพันธุ์
ผู้อำ�นวยการศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. และ นางศศิการ ล้อจิโรภาส ประธานวิสาหกิจชุมชนศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพร
เพลาเพลินเพื่อชุมชน จ.บุรีรัมย์ ร่วมลงนาม ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการวิเคราะห์ทดสอบกัญชา ในการทดสอบหาปริมาณ
กลุ่มสารแคนนาบินอยด์ให้ได้มาตรฐานสากล ณ ชั้น 1 Tower-C ฮออล์ อาคาร INC 2 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
อ่านรายละเอียดเพิ่ม https://www.nstda.or.th/home/news_post/catc/
9
มีนาคม 2564 •
มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยเอ็มเทค สวทช. พัฒนา “Para Plearn ต้นแบบนวัตกรรมของเล่นปลอดภัย
จากยางพารา” มีหลากหลายถึง 3 ผลิตภัณฑ์ คือ ยางพาราสำ�หรับขีดเขียนคล้ายชอล์ก ดินปั้นจากยางพารา รวมถึงยางพาราผงคล้าย
สไลม์แบบผง นับเป็นแนวทางการเพิ่มมูลค่ายางพารารูปแบบใหม่ ช่วยเสริมสร้างทักษะและกระบวนการเรียนรู้เด็กอย่างปลอดภัย ไม่ต้อง
กังวลใจเรื่องสารเคมี
อ่านรายละเอียดเพิ่ม https://www.nstda.or.th/home/news_post/para-plearn/
เอ็มเทค สวทช. พัฒนา “Para Plearn”
นวัตกรรมของเล่นจากยางพารา
เสริมพัฒนาการเด็ก เล่นและเรียนรู้อย่างปลอดภัย
10 NSTDA • March 2021
มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12
(18 กุมภาพันธ์2564) บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. จัดกิจกรรม “รวมพลคน KidBright
online” ครั้งที่ 3 KidBright Developer Conference 2021 (KDC21) ภายใต้ธีมงาน: Data Science with KidBright โดย ศาสตราจารย์
ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เป็นประธานเปิดงาน รวมพลคนKidBright
และการแข่งขันKidBrightAIBotTournament ด้วยเสียงภาษาถิ่น สำ�หรับในปีนี้ มีความพิเศษกว่าสองครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์
การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ (COVID-19) ทำ�ให้ปีนี้มีการเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานเป็นแบบ Online เพื่อให้ผู้สนใจทั่ว
ประเทศสามารถเข้าร่วมกิจกรรม
อ่านรายละเอียดเพิ่ม https://www.nstda.or.th/home/news_post/kidbright-online/
เนคเทค สวทช. จัดกิจกรรม
“รวมพลคน KidBright Online” ครั้งที่ 3
พบกับการแข่งขัน KidBright AI Bot Tournament
ด้วยภาษาถิ่น
11
มีนาคม 2564 •
มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12
ปิดฉากลงแล้วสำ�หรับกิจกรรม รวมพลคน KidBright” KidBright Developer Conference 2021 (KDC21) ภายใต้ธีมงาน: Data Science
with KidBright ซึ่งปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 3 ในรูปแบบออนไลน์ โดย ดร.กัลยา อุดมวิทิต รองผู้อำ�นวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ
คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. ประธานกล่าวปิดงาน ย้ำ�! พร้อมเป็นหนึ่งกำ�ลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาไทยให้เป็น
เลิศด้วยนวัตกรรม และสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรม Science Toy ของประเทศ โดยผลการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ KidBright AI
Bot Tournament ด้วยภาษาถิ่น รางวัลชนะเลิศ สุดยอด KidBright AI Bot ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 150,000 บาท ได้แก่ ทีมตัวแทนจาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโรงเรียนเกษตรสมบูรณ์วิทยาคม จังหวัดชัยภูมิ หัวหน้าทีม ว่าที่ร้อยตรีอนุสรณ์ จารัส ผู้ร่วมทีม นายองอาจ บุญ
ประมวล เด็กชายณนนท์ บุญประมวล
อ่านรายละเอียดเพิ่ม https://www.nstda.or.th/home/news_post/kidbright-ai-bot-tournament/
โรงเรียนเกษตรสมบูรณ์วิทยาคม
จังหวัดชัยภูมิ สุดเจ๋ง!
คว้ารางวัลชนะเลิศ KidBright AI Bot Tournament ด้วยภาษาถิ่น
12 NSTDA • March 2021
มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12
สวทช. -ทีมวิจัยถั่วเขียว KUML ม.เกษตรศาสตร์ ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรบ้านดอนหวาย จ.อุทัยธานี ต่อยอดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการ
ผลิตถั่วเขียว KUML อย่างครบวงจร จัดตั้ง “ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML บ้านดอนหวาย” แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพด้วยความรู้
เทคโนโลยีและความใส่ใจ ส่งถึงเกษตรกรทั่วไทย สร้างรายได้หลังทำ�นา ส่งต่อผลผลิตคุณภาพสู่อุตสาหกรรมแปรรูป
อ่านรายละเอียดเพิ่ม https://www.nstda.or.th/home/news_post/kuml/
สวทช.-ม.เกษตรศาสตร์-ชุมชนบ้านดอนหวาย
เปิด “ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML”
แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพแห่งแรก พร้อมส่งต่อแปลงปลูกทั่วไทย
13
มีนาคม 2564 •
มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12
เรียบเรียง: อาทิตย์ ลมูลปลั่ง
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและนวัตกรรม
โอกาสสำ�คัญกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
BCG Economy Model
14 NSTDA • March 2021
มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12
		 “เราจะช่วยกันขับเคลื่อนประเทศไทย ไปสู่ประเทศที่หลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง
โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีได้อย่างไร โดยเฉพาะเรื่องBCG ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาลให้
ความสำ�คัญ”
		 เป็นทั้งคำ�ถามและชี้ให้เห็นถึงโอกาส… หากลองทำ�ความเข้าใจกับโมเดลเศรษฐกิจ
ใหม่ หรือ BCG Economy Model
		 เพราะหลายสิบปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยขยายตัวช้า ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่
ของประเทศยังมีรายได้น้อย เป็นเหตุให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ยังติดกับดักรายได้ปาน
กลางมาอย่างยาวนาน เมื่อรัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย
ไปสู่รูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า BCG Economy Model โมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่จะช่วยต่อยอด
จุดแข็งของประเทศให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและความ
หลากหลายทางวัฒนธรรม โดยอาศัยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.)
เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง โดยเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจาก ‘ทำ�มากแต่ได้น้อย’
ไปสู่ ‘ทำ�น้อยแต่ได้มาก’
	 	 แล้ว BCG คืออะไร ทำ�ไมถึงมีส่วนสำ�คัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ของประเทศไทย
	 	 BCG Economy Model คือ 3 เศรษฐกิจหลัก ได้แก่ B = Bio Economy
ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า เชื่อมโยงกับ C=Circular
Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำ�นึงถึงการนำ�วัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์
ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้ G = Green Economy ระบบเศรษฐกิจ
สีเขียว ที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหามลพิษเพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือ
สำ�คัญที่ช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยให้มีความเข้มแข็ง และประชาชนมีรายได้สูงขึ้น
ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วย BCG เป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่
พ.ศ. 2564-2569 ประกอบด้วย 4 แผนยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. เกษตรและอาหาร 2. สุขภาพ
และการแพทย์ 3. พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ และ 4. การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ
สร้างสรรค์ โดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของประเทศไทยในฐานความหลายหลายทางชีวภาพ
และวัฒนธรรมของประเทศไทย
“เราจะช่วยกัน
ขับเคลื่อนประเทศไทย
ไปสู่ประเทศที่หลุดพ้น
กับดักรายได้ปานกลาง
โดยใช้วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีได้อย่างไร
โดยเฉพาะเรื่อง BCG
ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาล
ให้ความสำ�คัญ”
15
มีนาคม 2564 •
มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12
		 ล่าสุดในงานแถลงข่าว การจัดงานประชุมวิชาการประจำ�ปี สวทช. ครั้งที่ 16 (16th NSTDA Annual Conference: NAC2021)
ภายใต้แนวคิด “30 ปี สวทช. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”
		 ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เน้นย้ำ�ถึงการใช้ วทน.
กับโอกาสในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ได้อย่างน่าสนใจว่า “จุดสำ�คัญในการพัฒนาประเทศในหลายๆ ประเทศ จะอยู่บนพื้นฐาน
ของการใช้ทรัพยากรที่เป็นจุดแข็งและต้นทุนสำ�คัญของการพัฒนาประเทศนั้นๆ สำ�หรับประเทศไทยมีจุดแข็ง คือความหลากหลาย
ทางชีวภาพซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพนั้นเกิดขึ้นใหม่ได้และหากใช้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพจะไม่หมดไปมีแต่เพิ่มพูนสังเกตได้ชัด
จากช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 มีการล็อกดาวน์ งดการเดินทาง ทำ�ให้แหล่งท่องเที่ยวที่เคยเสื่อมโทรม ทรัพยากร
ต่างๆ กลับฟื้นตัวขึ้นมา ทว่าการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติหลังยุคโควิดจะทำ�แบบเดิมไม่ได้แล้ว ต้องมีการย่อยอด เพิ่มพูน สานต่อและ
ใช้ประโยชน์ให้เกิดความยั่งยืน”
		 ดร.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกันต้องนำ�สิ่งที่เพิ่มพูนแล้ว ให้ชุมชนในพื้นที่ใช้ประโยชน์ได้ด้วย เพราะหากชุมชนในพื้นที่
ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้ อาจจะไม่ต้องแปลงมูลค่าเป็นตัวเงิน แต่เปลี่ยนจาก
การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เป็นการสร้างมั่นคงในอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ทำ�ให้ชุมชนมีแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ มีแหล่งพักผ่อน
ที่สมบูรณ์ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขโดยไม่ต้องแปลงเป็นตัวเงินได้เช่นกัน
		 อย่างไรก็ดี บนความหมายหลายทางชีวภาพที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทย เมื่อเกิดการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนแล้ว
ดร.ณรงค์ ยังชวนมองโอกาส ที่สามารถสร้างจากความหลากหลายนั้นๆ ให้เกิดเป็นอุตสาหกรรมที่เพิ่มมูลค่า ด้วยงานวิจัยและพัฒนา
ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญทางด้าน วทน. เพิ่มเติมเข้ามาด้วยเช่นกัน
16 NSTDA • March 2021
มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12
		 ดังตัวอย่างนวัตกรรมที่ สวทช. เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกเพศทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ ได้เห็นตัวอย่าง จากการงานวิจัยที่ต่อยอด
จากความหลายหลากทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Economy Model และ
ได้รวบรวมไว้ 6 วัน บนแพลตฟอร์มออนไลน์เต็มรูปแบบ ซึ่งสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ทางเว็บไซต์ www.nstda.or.th/nac และ
รับชมผ่านออนไลน์ได้ระหว่างวันที่ 25-30 มีนาคมนี้
		 ขอยกเพียงบางส่วนของผลงานให้เห็น เช่น ด้านอาหารทางเลือก: ผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกจาก Mycoprotein หรือ เนื้อเทียม
ประเภท ‘มัยคอโปรตีน’ ไม่มีคอเลสเตอรอลและมีไขมันอิ่มตัวต่ำ� นวัตกรรมสำ�หรับต่อยอดในธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ
		 ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken meat) พัฒนาขึ้นโดยอาศัยองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ
โครงสร้างของอาหาร และคุณสมบัติของโปรตีน ประกอบกับการใช้สารที่ทำ�หน้าที่ยึดเกาะ และเส้นใยอาหารที่เหมาะสมในการสร้าง
เนื้อสัมผัสให้คล้ายคลึงกับเนื้อไก่ สามารถปั้นขึ้นรูปได้ง่ายภายหลังการปั่นผสม และสามารถนำ�ไปปรุงเป็นเมนูอาหารต่างๆ ได้ทันที
โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแช่แข็ง เช่น วิธีการทอด ย่าง ผัด หรือ แกง ทำ�ให้ง่ายต่อการผลิตในระดับอุตสาหกรรม
17
มีนาคม 2564 •
มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12
	 	 เครื่องดื่มโปรตีนสูงชนิดเจลจากโปรตีนถั่วเขียว (M-Pro Jelly Drink) ที่มีปริมาณโปรตีนสูงมากกว่าร้อยละ 20 มีการเสริมแคลเซียม
กว่าร้อยละ 10 เหมาะสำ�หรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป
18 NSTDA • March 2021
มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12
	 	 เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ มาเพิ่มศักยภาพของผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยใช้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
		 นอกจากนั้นแล้วยังมีอีกหลายกิจกรรมของงาน NAC2021 อาทิ กิจกรรมสัมมนาออนไลน์มากกว่า 34 หัวข้อ เช่น การพัฒนา
วัคซีนโควิด-19, นาโนโรโบติกพิชิตมะเร็ง, การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่งในระบบราง นิทรรศการ
ออนไลน์ เช่น โซนเทิดพระเกียรติครบรอบ20 ปี ความร่วมมือไทย-เซิร์น(CERN), โซนBCGEconomyModel8 กลุ่ม เช่น ยาและวัคซีน
เครื่องมือแพทย์ ท่องเที่ยว เศรษฐกิจหมุนเวียน การจัดกิจกรรมเยี่ยมชมOpenHouse แบบออนไลน์8 เส้นทางสู่การต่อยอดธุรกิจนวัตกรรม
กิจกรรมS&TJobFair รับสมัครงานออนไลน์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี2,000 อัตราจาก30 องค์กรชั้นนำ� และกิจกรรมวิทยาศาสตร์
แบบออนไลน์สำ�หรับเยาวชน เป็นต้น
25-30 มีนาคมนี้ โอกาสอยู่แค่ปลายนิ้ว
ลงทะเบียนล่วงหน้าคลิก www.nstda.or.th/nac

More Related Content

More from National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand

More from National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
 
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
 

NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2564

  • 1. 1 มีนาคม 2564 • มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 สวทช. เปิดแล็บเทสต์มาตรฐาน ‘กัญชา-กัญชง’ ‘เพ ลา เพลิน’ จ.บุรีรัมย์ ประเดิมส่งทดสอบ ‘สารสำ�คัญ’ คัดเกรด-เพิ่มมูลค่า เอ็มเทค สวทช. พัฒนา “Para Plearn” นวัตกรรมของเล่นจาก ยางพารา เสริมพัฒนาการเด็ก เล่นและเรียนรู้อย่างปลอดภัย เนคเทค สวทช. จัดกิจกรรม “รวมพลคน KidBright Online” ครั้งที่ 3 พบกับการแข่งขัน KidBright AI Bot Tournament ด้วยภาษาถิ่น โรงเรียนเกษตรสมบูรณ์วิทยาคม จังหวัดชัยภูมิ สุดเจ๋ง! คว้า รางวัลชนะเลิศ KidBright AI Bot Tournament ด้วยภาษาถิ่น สวทช.-ม.เกษตรศาสตร์-ชุมชนบ้านดอนหวาย เปิด “ศูนย์ผลิต เมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML” แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพแห่ง แรก พร้อมส่งต่อแปลงปลูกทั่วไทย 2 3 8 4 5 9 10 6 11 12 7 ในเล่ม Insight 13 ข่าว News ที่ปรึกษา ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล, ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล, ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ดร.ลดาวัลย์ กระแสร์ชล, กุลประภา นาวานุเคราะห์ กองบรรณาธิการ ชนานันท์ คงธนาฤทธิ์, อาทิตย์ ลมูลปลั่ง, วัชราภรณ์ สนทนา, วรรณงาม วีระผาสุก อุดมรัตน์ วัฒนกูล, ไพรัตน์ ปัญญารักกิจ, สายพิณ ธนะศิริวัฒนา, บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ ต่อตระกูล พูลโสภา, ชมพูนุช อนุศาสน์สิทธิกิจ, วีณา ยศวังใจ, ปรมาภรณ์ จูฑะจันทร์, พีรภัฏ บุญชู ศิลปกรรม ชุมพล พินิจธนสาร ทีมงาน NSTDA e-newsletter ผู้ผลิต ฝ่ายประชาสัมพันธ์ และฝ่ายเผยแพร่วิทยาศาสตร์ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 71725 โทรสาร 0 2564 7078 http://www.nstda.or.th/ อีเมล pr@nstda.or.th บทความ Article สวทช. ส่งมอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 หวังช่วยลดความ เสี่ยงจากการแพร่เชื้อ สวทช. 3 ทศวรรษ งานวิจัยด้านเกษตรและอาหาร ความรู้ ความเชี่ยวชาญ สู่ความยั่งยืน EECi จับมือเอกชนจีน ขับเคลื่อนศูนย์นวัตกรรม SMC มุ่งเป้า ยกระดับขีดความสามารถโรงงานไทย สู่อุตสาหกรรม 4.0 ไบโอเทค สวทช. ค้นพบราแมลงชนิดใหม่ของโลก (new spe- cies) 47 สายพันธุ์ สวทช. จับมือ รพ.ธรรมศาสตร์ฯ นำ� Digital Healthcare ยก ระดับโรงพยาบาลสู่โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) นาโนเทค สวทช. พัฒนา ‘ปุ๋ยคีเลต’ เสริมธาตุอาหารพืชทางใบ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โอกาสสำ�คัญกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Economy Model
  • 2. 2 NSTDA • March 2021 มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 (4 กุมภาพันธ์ 2564) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย : สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศูนย์พัฒนา ผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี(BIC) ส่งมอบนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ป้องกัน โควิด-19 ให้กับสำ�นักงานป้องกันควบคุมโรคที่2 ซึ่งประกอบ ด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ จ.พิษณุโลก จ.สุโขทัย จ.อุตรดิตถ์ จ.ตาก และ จ.เพชรบูรณ์ โดยมีนางกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำ�นวย การ สวทช. พร้อมด้วยนางศันสนีย์ ฮวบสมบูรณ์ ผู้อำ�นวยการศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) และนักวิจัย ร่วมส่งมอบ นวัตกรรมรวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่างๆ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.nstda.or.th/home/news_post/20200204/ สวทช. ส่งมอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 หวังช่วยลดความเสี่ยงจากการแพร่เชื้อ
  • 3. 3 มีนาคม 2564 • มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 สวทช. 3 ทศวรรษ งานวิจัยด้านเกษตรและอาหาร ความรู้ ความเชี่ยวชาญ สู่ความยั่งยืน ณ ห้องแถลงข่าว อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.): ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำ�นวย การสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำ�ทีมผู้บริหารศูนย์วิจัยแห่งชาติ ประกอบด้วย ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำ�นวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำ�นวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและ วัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำ�นวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) และ ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำ�นวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ(นาโนเทค) แถลงข่าวงานNSTDABeyondLimits:3DecadesofImpacts(3 ทศวรรษ แห่งความต่อเนื่อง ความสำ�คัญและผลกระทบ) Episode 1 : เกษตรและอาหาร นำ�เสนอภาพรวมผลงานวิจัยเด่นด้านเกษตรและอาหารที่ สวทช. มุ่งมั่นสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนประเทศชาติมาตลอด 30 ปี ขณะเดียวกันพร้อมสานต่อนำ� ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่สั่งสมมาต่อยอดสร้างนวัตกรรมหนุนเสริมภาคชุมชนและอุตสาหกรรม เพื่อสร้างเศรษฐกิจไทยให้เติบโต อย่างมั่นคง ประชาชนอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.nstda.or.th/home/news_post/20210209-nstda2563/
  • 4. 4 NSTDA • March 2021 มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 EECi จับมือเอกชนจีน ขับเคลื่อนศูนย์นวัตกรรม SMC มุ่งเป้ายกระดับขีดความสามารถโรงงานไทย สู่อุตสาหกรรม 4.0 (10 กุมภาพันธ์ 2564) ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี : สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมลงนามความร่วมมือกับ SIASUN AUTOMATION (SINGAPORE) PTE. LTD. เพื่อการสนับสนุนการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation, EECi) ด้วยการนำ�เทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านระบบอัตโนมัติหุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะมาร่วมขับเคลื่อนศูนย์นวัตกรรมการผลิต ยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) อันจะส่งผลให้เกิดการยกระดับขีดความสามารถในภาคการผลิตของประเทศไทย ให้เปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยมี ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และ นางสาลินี ผลประไพ ผู้อำ�นวยการกองเอเชียตะวันออก 1 กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมเป็นสักขีพยาน พร้อมด้วย ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และผู้อำ�นวยการเขตนวัตกรรม ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำ�นวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) นาย Zhao Chen ประธานกรรมการบริหาร SIASUN AUTOMATION (SINGAPORE) PTE. LTD. และ นางสาว Toh Guat Lan รองประธานกรรมการบริหาร SIASUN AUTOMATION (SINGAPORE) PTE. LTD. ร่วมลงนาม อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมhttps://www.nstda.or.th/home/news_post/eeci-sign-mou-with-chinese-robot-automation-company/
  • 5. 5 มีนาคม 2564 • มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 ไบโอเทค สวทช. ค้นพบราแมลงชนิดใหม่ของโลก (new species) 47 สายพันธุ์ ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำ�นวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. เปิดเผยภายในแถลงข่าวงาน NSTDA Beyond Limits: 1 Decades of Impacts (3 ทศวรรษ แห่งความต่อเนื่อง ความสำ�คัญและผลกระทบ) Episode 1 : เกษตรและ อาหาร ว่า ดร.เจนนิเฟอร์ เหลืองสอาด และคณะวิจัย จากทีมวิจัยปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ทางการเกษตร (APMT) กลุ่มวิจัยเทคโนโลยี ชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ค้นพบราแมลงชนิดใหม่รวม 47 สปีชีส์ โดยเป็นสกุลใหม่รวม 8 สกุล ถือเป็นการค้นพบราแมลงชนิดใหม่ จำ�นวนมากของโลก อ่านรายละเอียดเพิ่ม https://www.nstda.or.th/home/news_post/new-species/
  • 6. 6 NSTDA • March 2021 มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 สวทช. จับมือ รพ.ธรรมศาสตร์ฯ นำ� Digital Healthcare ยกระดับสู่โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) 16 กุมภาพันธ์2564 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำ�นักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง “โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์DigitalHealthcare เพื่อยกระดับโรงพยาบาลเข้าสู่SmartHospital" เพื่อร่วมพัฒนา ส่งเสริม และขับเคลื่อนให้เกิดผลงานนวัตกรรมทางด้านSmartHealthcare และDigitalHealthcare ในการเตรียมความ พร้อมและปรับเปลี่ยนกระบวนการปฏิบัติงานของโรงพยาบาล โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านดิจิทัลในการเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศ (DigitalTransformation) เป็นระยะเวลา5 ปี เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการ ระบบบริหารจัดการและยกระดับโรงพยาบาลเข้าสู่SmartHospital อ่านรายละเอียดเพิ่ม https://www.nstda.or.th/home/news_post/smarthospital/
  • 7. 7 มีนาคม 2564 • มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 นักวิจัยนาโนเทค สวทช. พัฒนาสารคีเลตจุลธาตุอาหารพืชสำ�หรับการฉีดพ่นทางใบ ชูจุดเด่นเพิ่มการดูดซึม เร่งการเจริญเติบโตของพืช เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมลดค่าใช้จ่ายจากการสูญเสียธาตุอาหารทางดิน ส่งต่อเอกชน เชื่อมนวัตกรรมจากแล็บสู่เกษตรกร สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมกว่า 500 ล้านบาท ลดการนำ�เข้าปุ๋ยจุลธาตุอาหารจากต่างประเทศ อ่านรายละเอียดเพิ่ม https://www.nstda.or.th/home/news_post/nanotec-chelate/ นาโนเทค สวทช. พัฒนา ‘ปุ๋ยคีเลต’ เสริมธาตุอาหารพืชทางใบ
  • 8. 8 NSTDA • March 2021 มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 สวทช. เปิดแล็บเทสต์มาตรฐาน ‘กัญชา-กัญชง’ ‘เพ ลา เพลิน’ จ.บุรีรัมย์ ประเดิมส่งทดสอบ ‘สารสำ�คัญ’ คัดเกรด-เพิ่มมูลค่า 18 กุมภาพันธ์ 2564 : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สำ�นักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดแถลงข่าว การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการวิเคราะห์ทดสอบกัญชา เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถวิสาหกิจชุมชน ระหว่าง วิสาหกิจชุมชนศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพรเพลาเพลินเพื่อชุมชน(วพพ.) จ.บุรีรัมย์ กับ ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. หรือ NCTC (NSTDA Characterization and Testing Center) โดยมี นายณฏฐพล วุฒิพันธุ์ ผู้อำ�นวยการศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. และ นางศศิการ ล้อจิโรภาส ประธานวิสาหกิจชุมชนศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพร เพลาเพลินเพื่อชุมชน จ.บุรีรัมย์ ร่วมลงนาม ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการวิเคราะห์ทดสอบกัญชา ในการทดสอบหาปริมาณ กลุ่มสารแคนนาบินอยด์ให้ได้มาตรฐานสากล ณ ชั้น 1 Tower-C ฮออล์ อาคาร INC 2 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี อ่านรายละเอียดเพิ่ม https://www.nstda.or.th/home/news_post/catc/
  • 9. 9 มีนาคม 2564 • มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยเอ็มเทค สวทช. พัฒนา “Para Plearn ต้นแบบนวัตกรรมของเล่นปลอดภัย จากยางพารา” มีหลากหลายถึง 3 ผลิตภัณฑ์ คือ ยางพาราสำ�หรับขีดเขียนคล้ายชอล์ก ดินปั้นจากยางพารา รวมถึงยางพาราผงคล้าย สไลม์แบบผง นับเป็นแนวทางการเพิ่มมูลค่ายางพารารูปแบบใหม่ ช่วยเสริมสร้างทักษะและกระบวนการเรียนรู้เด็กอย่างปลอดภัย ไม่ต้อง กังวลใจเรื่องสารเคมี อ่านรายละเอียดเพิ่ม https://www.nstda.or.th/home/news_post/para-plearn/ เอ็มเทค สวทช. พัฒนา “Para Plearn” นวัตกรรมของเล่นจากยางพารา เสริมพัฒนาการเด็ก เล่นและเรียนรู้อย่างปลอดภัย
  • 10. 10 NSTDA • March 2021 มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 (18 กุมภาพันธ์2564) บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. จัดกิจกรรม “รวมพลคน KidBright online” ครั้งที่ 3 KidBright Developer Conference 2021 (KDC21) ภายใต้ธีมงาน: Data Science with KidBright โดย ศาสตราจารย์ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เป็นประธานเปิดงาน รวมพลคนKidBright และการแข่งขันKidBrightAIBotTournament ด้วยเสียงภาษาถิ่น สำ�หรับในปีนี้ มีความพิเศษกว่าสองครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ (COVID-19) ทำ�ให้ปีนี้มีการเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานเป็นแบบ Online เพื่อให้ผู้สนใจทั่ว ประเทศสามารถเข้าร่วมกิจกรรม อ่านรายละเอียดเพิ่ม https://www.nstda.or.th/home/news_post/kidbright-online/ เนคเทค สวทช. จัดกิจกรรม “รวมพลคน KidBright Online” ครั้งที่ 3 พบกับการแข่งขัน KidBright AI Bot Tournament ด้วยภาษาถิ่น
  • 11. 11 มีนาคม 2564 • มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 ปิดฉากลงแล้วสำ�หรับกิจกรรม รวมพลคน KidBright” KidBright Developer Conference 2021 (KDC21) ภายใต้ธีมงาน: Data Science with KidBright ซึ่งปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 3 ในรูปแบบออนไลน์ โดย ดร.กัลยา อุดมวิทิต รองผู้อำ�นวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. ประธานกล่าวปิดงาน ย้ำ�! พร้อมเป็นหนึ่งกำ�ลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาไทยให้เป็น เลิศด้วยนวัตกรรม และสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรม Science Toy ของประเทศ โดยผลการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ KidBright AI Bot Tournament ด้วยภาษาถิ่น รางวัลชนะเลิศ สุดยอด KidBright AI Bot ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 150,000 บาท ได้แก่ ทีมตัวแทนจาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโรงเรียนเกษตรสมบูรณ์วิทยาคม จังหวัดชัยภูมิ หัวหน้าทีม ว่าที่ร้อยตรีอนุสรณ์ จารัส ผู้ร่วมทีม นายองอาจ บุญ ประมวล เด็กชายณนนท์ บุญประมวล อ่านรายละเอียดเพิ่ม https://www.nstda.or.th/home/news_post/kidbright-ai-bot-tournament/ โรงเรียนเกษตรสมบูรณ์วิทยาคม จังหวัดชัยภูมิ สุดเจ๋ง! คว้ารางวัลชนะเลิศ KidBright AI Bot Tournament ด้วยภาษาถิ่น
  • 12. 12 NSTDA • March 2021 มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 สวทช. -ทีมวิจัยถั่วเขียว KUML ม.เกษตรศาสตร์ ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรบ้านดอนหวาย จ.อุทัยธานี ต่อยอดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการ ผลิตถั่วเขียว KUML อย่างครบวงจร จัดตั้ง “ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML บ้านดอนหวาย” แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพด้วยความรู้ เทคโนโลยีและความใส่ใจ ส่งถึงเกษตรกรทั่วไทย สร้างรายได้หลังทำ�นา ส่งต่อผลผลิตคุณภาพสู่อุตสาหกรรมแปรรูป อ่านรายละเอียดเพิ่ม https://www.nstda.or.th/home/news_post/kuml/ สวทช.-ม.เกษตรศาสตร์-ชุมชนบ้านดอนหวาย เปิด “ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML” แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพแห่งแรก พร้อมส่งต่อแปลงปลูกทั่วไทย
  • 13. 13 มีนาคม 2564 • มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 เรียบเรียง: อาทิตย์ ลมูลปลั่ง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โอกาสสำ�คัญกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Economy Model
  • 14. 14 NSTDA • March 2021 มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 “เราจะช่วยกันขับเคลื่อนประเทศไทย ไปสู่ประเทศที่หลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีได้อย่างไร โดยเฉพาะเรื่องBCG ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาลให้ ความสำ�คัญ” เป็นทั้งคำ�ถามและชี้ให้เห็นถึงโอกาส… หากลองทำ�ความเข้าใจกับโมเดลเศรษฐกิจ ใหม่ หรือ BCG Economy Model เพราะหลายสิบปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยขยายตัวช้า ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ ของประเทศยังมีรายได้น้อย เป็นเหตุให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ยังติดกับดักรายได้ปาน กลางมาอย่างยาวนาน เมื่อรัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย ไปสู่รูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า BCG Economy Model โมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่จะช่วยต่อยอด จุดแข็งของประเทศให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและความ หลากหลายทางวัฒนธรรม โดยอาศัยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง โดยเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจาก ‘ทำ�มากแต่ได้น้อย’ ไปสู่ ‘ทำ�น้อยแต่ได้มาก’ แล้ว BCG คืออะไร ทำ�ไมถึงมีส่วนสำ�คัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของประเทศไทย BCG Economy Model คือ 3 เศรษฐกิจหลัก ได้แก่ B = Bio Economy ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า เชื่อมโยงกับ C=Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำ�นึงถึงการนำ�วัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้ G = Green Economy ระบบเศรษฐกิจ สีเขียว ที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหามลพิษเพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือ สำ�คัญที่ช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยให้มีความเข้มแข็ง และประชาชนมีรายได้สูงขึ้น ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วย BCG เป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2564-2569 ประกอบด้วย 4 แผนยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. เกษตรและอาหาร 2. สุขภาพ และการแพทย์ 3. พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ และ 4. การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ โดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของประเทศไทยในฐานความหลายหลายทางชีวภาพ และวัฒนธรรมของประเทศไทย “เราจะช่วยกัน ขับเคลื่อนประเทศไทย ไปสู่ประเทศที่หลุดพ้น กับดักรายได้ปานกลาง โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีได้อย่างไร โดยเฉพาะเรื่อง BCG ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาล ให้ความสำ�คัญ”
  • 15. 15 มีนาคม 2564 • มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 ล่าสุดในงานแถลงข่าว การจัดงานประชุมวิชาการประจำ�ปี สวทช. ครั้งที่ 16 (16th NSTDA Annual Conference: NAC2021) ภายใต้แนวคิด “30 ปี สวทช. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เน้นย้ำ�ถึงการใช้ วทน. กับโอกาสในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ได้อย่างน่าสนใจว่า “จุดสำ�คัญในการพัฒนาประเทศในหลายๆ ประเทศ จะอยู่บนพื้นฐาน ของการใช้ทรัพยากรที่เป็นจุดแข็งและต้นทุนสำ�คัญของการพัฒนาประเทศนั้นๆ สำ�หรับประเทศไทยมีจุดแข็ง คือความหลากหลาย ทางชีวภาพซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพนั้นเกิดขึ้นใหม่ได้และหากใช้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพจะไม่หมดไปมีแต่เพิ่มพูนสังเกตได้ชัด จากช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 มีการล็อกดาวน์ งดการเดินทาง ทำ�ให้แหล่งท่องเที่ยวที่เคยเสื่อมโทรม ทรัพยากร ต่างๆ กลับฟื้นตัวขึ้นมา ทว่าการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติหลังยุคโควิดจะทำ�แบบเดิมไม่ได้แล้ว ต้องมีการย่อยอด เพิ่มพูน สานต่อและ ใช้ประโยชน์ให้เกิดความยั่งยืน” ดร.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกันต้องนำ�สิ่งที่เพิ่มพูนแล้ว ให้ชุมชนในพื้นที่ใช้ประโยชน์ได้ด้วย เพราะหากชุมชนในพื้นที่ ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้ อาจจะไม่ต้องแปลงมูลค่าเป็นตัวเงิน แต่เปลี่ยนจาก การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เป็นการสร้างมั่นคงในอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ทำ�ให้ชุมชนมีแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ มีแหล่งพักผ่อน ที่สมบูรณ์ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขโดยไม่ต้องแปลงเป็นตัวเงินได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี บนความหมายหลายทางชีวภาพที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทย เมื่อเกิดการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนแล้ว ดร.ณรงค์ ยังชวนมองโอกาส ที่สามารถสร้างจากความหลากหลายนั้นๆ ให้เกิดเป็นอุตสาหกรรมที่เพิ่มมูลค่า ด้วยงานวิจัยและพัฒนา ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญทางด้าน วทน. เพิ่มเติมเข้ามาด้วยเช่นกัน
  • 16. 16 NSTDA • March 2021 มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 ดังตัวอย่างนวัตกรรมที่ สวทช. เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกเพศทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ ได้เห็นตัวอย่าง จากการงานวิจัยที่ต่อยอด จากความหลายหลากทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Economy Model และ ได้รวบรวมไว้ 6 วัน บนแพลตฟอร์มออนไลน์เต็มรูปแบบ ซึ่งสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ทางเว็บไซต์ www.nstda.or.th/nac และ รับชมผ่านออนไลน์ได้ระหว่างวันที่ 25-30 มีนาคมนี้ ขอยกเพียงบางส่วนของผลงานให้เห็น เช่น ด้านอาหารทางเลือก: ผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกจาก Mycoprotein หรือ เนื้อเทียม ประเภท ‘มัยคอโปรตีน’ ไม่มีคอเลสเตอรอลและมีไขมันอิ่มตัวต่ำ� นวัตกรรมสำ�หรับต่อยอดในธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken meat) พัฒนาขึ้นโดยอาศัยองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ โครงสร้างของอาหาร และคุณสมบัติของโปรตีน ประกอบกับการใช้สารที่ทำ�หน้าที่ยึดเกาะ และเส้นใยอาหารที่เหมาะสมในการสร้าง เนื้อสัมผัสให้คล้ายคลึงกับเนื้อไก่ สามารถปั้นขึ้นรูปได้ง่ายภายหลังการปั่นผสม และสามารถนำ�ไปปรุงเป็นเมนูอาหารต่างๆ ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแช่แข็ง เช่น วิธีการทอด ย่าง ผัด หรือ แกง ทำ�ให้ง่ายต่อการผลิตในระดับอุตสาหกรรม
  • 17. 17 มีนาคม 2564 • มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 เครื่องดื่มโปรตีนสูงชนิดเจลจากโปรตีนถั่วเขียว (M-Pro Jelly Drink) ที่มีปริมาณโปรตีนสูงมากกว่าร้อยละ 20 มีการเสริมแคลเซียม กว่าร้อยละ 10 เหมาะสำ�หรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป
  • 18. 18 NSTDA • March 2021 มีนาคม 2564 ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ มาเพิ่มศักยภาพของผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยใช้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนั้นแล้วยังมีอีกหลายกิจกรรมของงาน NAC2021 อาทิ กิจกรรมสัมมนาออนไลน์มากกว่า 34 หัวข้อ เช่น การพัฒนา วัคซีนโควิด-19, นาโนโรโบติกพิชิตมะเร็ง, การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่งในระบบราง นิทรรศการ ออนไลน์ เช่น โซนเทิดพระเกียรติครบรอบ20 ปี ความร่วมมือไทย-เซิร์น(CERN), โซนBCGEconomyModel8 กลุ่ม เช่น ยาและวัคซีน เครื่องมือแพทย์ ท่องเที่ยว เศรษฐกิจหมุนเวียน การจัดกิจกรรมเยี่ยมชมOpenHouse แบบออนไลน์8 เส้นทางสู่การต่อยอดธุรกิจนวัตกรรม กิจกรรมS&TJobFair รับสมัครงานออนไลน์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี2,000 อัตราจาก30 องค์กรชั้นนำ� และกิจกรรมวิทยาศาสตร์ แบบออนไลน์สำ�หรับเยาวชน เป็นต้น 25-30 มีนาคมนี้ โอกาสอยู่แค่ปลายนิ้ว ลงทะเบียนล่วงหน้าคลิก www.nstda.or.th/nac