SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
Download to read offline
1
Approach to the injured patient
ผศ.ดร.กรองได อุณหสูต
เป้าหมายในการดูแลผู้บาดเจ็บคือผู้บาดเจ็บจะต้องไม่ตายโดยไม่สมควรตายหรือไม่ตายด้วยสาเหตุที่
สามารถป้องกันได้(preventable death)1
ไม่พบผู้บาดเจ็บที่มีคะแนน Trauma Injury Severity Score (TRISS)
มาก กว่า 0.75 เสียชีวิต2,3,4
ผู้บาดเจ็บต้องรอดพ้นจากภาวะคุกคามชีวิต ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน และ
สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพภายหลังฟื้นหายจากการบาดเจ็บ การดูแลผู้บาดเจ็บตั้งแต่แรกรับ
ต้องช่วยให้ผู้บาดเจ็บมีภาวะออกซิเจน (oxygenation) การกาซาบเลือดของเนื้อเยื่อ (perfusion) และการ
กาซาบเลือดของเนื้อสมอง (cerebral perfusion) เพียงพอ5
โดยเริ่มประเมินแรกรับผู้บาดเจ็บด้วยคาถาม “ชื่อ
อะไร เกิดอะไรขึ้น” ข้อมูลนี้ทาให้ทราบถึงภาวะออกซิเจนของร่างกายในเบื้องต้น ลักษณะ และชนิดของการ
บาดเจ็บ ช่วยเร่งเตือนทีมดูแลผู้บาดเจ็บ (alert trauma team) ในทันที เพราะความรุนแรงของการบาดเจ็บมี
ความสัมพันธ์กับการเสียชีวิต โดยเฉพาะใน 10 วินาที เมื่อแรกรับ6
การประเมินแรกเริ่มผู้บาดเจ็บที่ห้องฉุกเฉิน พยาบาลผู้คัดแยก (triage nurse) ซึ่งพบผู้บาดเจ็บเป็นคน
แรกจะเป็นผู้ประเมินด้วยระบบการคัดแยกผู้บาดเจ็บ และประเมินแรกรับด้วยการประเมิน A-B-C-D (airway-
breathing-circulation-disability) ประกอบด้วยการประเมินทางเดินหายใจ การหายใจ ชีพจร และระดับความ
รู้สึกตัว6,7,8,9,10
เพื่อคาดการณ์ภาวะคุกคามชีวิต เกณฑ์คุณภาพในการประเมินแรกรับนี้ต้องไม่เกิน 10 วินาที เพื่อ
คาดคะเนภาวะคุกคามชีวิตเพื่อจัดการให้การช่วยเหลือที่เร่งด่วน แต่ข้อมูลการบาดเจ็บ กลไกการบาดเจ็บ การ
ช่วยเหลือเบื้องต้นที่จุดเกิดเหตุ และอาการผู้บาดเจ็บระหว่างการนาส่ง ยังได้รับไม่ครบถ้วนชัดเจน การเตรียม
ความพร้อมทั้งในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล (prehospital phase) และระยะให้การดูแลผู้บาดเจ็บที่โรงพยาบาล
(hospital phase) จึงมีความสาคัญในการจัดการช่วยเหลือแรกรับที่ห้องฉุกเฉิน ในการเตรียมทีม สถานที่
(resuscitation area) อุปกรณ์เครื่องมือให้พร้อมในการช่วยชีวิตทันทีที่ผู้บาดเจ็บถึงโรงพยาบาล ไม่ให้เกิดความ
ล่าช้าในการดูแลรักษา โดยเฉพาะการสวมเครื่องป้องกันการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว ไม่เป็นอุปสรรคในการ
ช่วยชีวิตผู้บลาดเจ็บ แต่ทั้งนี้การคัดแยกผู้บาดเจ็บตามความรุนแรง (Triage) ซึ่งเรียง ลาดับตาม A-B-C ต้องมี
ความเที่ยงถูกต้อง ช่วยลาดับการรักษาได้ จะช่วยให้ผู้บาดเจ็บมีโอกาสการอยู่รอด ไม่ตายโดยไม่สมควรตาย
หรือมีความล่าช้าในการดูแลรักษา การคัดแยกผู้บาดเจ็บที่ห้องฉุกเฉิน6,7,8
มีหลายระบบ การเลือกใช้ระบบใด
ขึ้นกับนโยบาย ทรัพยากร และศักยภาพของแต่ละโรงพยาบาลในการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บที่ห้องฉุกเฉิน
โดยทั่วไปจะต้องมี 2 ชนิด ดังนี้
2
1. Multiple casualties คือ ระบบคัดแยกผู้บาดเจ็บที่ห้องฉุกเฉิน ในเหตุการณ์ที่มีจานวนผู้บาดเจ็บไม่
เกินศักยภาพในการดูแลรักษาของโรงพยาบาลนั้นๆ ผู้บาดเจ็บฉุกเฉินที่ถูกคัดแยกเป็นสีแดง ไม่ว่าจะใช้ระบบ
การคัดแยกประเภทใด จะเป็นผู้บาดเจ็บกลุ่มแรกที่ได้รับการดูแลรักษา เพราะมีภาวะคุกคามชีวิต (immediate
life-threatening conditions) หรือมีการบาดเจ็บร่วมหลายระบบ เกณฑ์คุณภาพในการคัดแยกผู้บาดเจ็บที่ห้อง
ฉุกเฉินนี้ต้องไม่เกิน 2 นาที โดยพยาบาลผู้คัดแยกจะคัดแยกผู้บาดเจ็บทันทีแรกรับที่ห้องฉุกเฉิน จัดให้ผู้บาดเจ็บ
อยู่ในบริเวณที่ถูกต้องกับความรุนแรงการบาดเจ็บ และลงบันทึกเวลาที่ผู้บาดเจ็บถึงห้องฉุกเฉิน (arrival time)
พร้อมระดับการคัดแยกผู้บาดเจ็บ เช่น เหลือง แดง ในแบบบันทึก
2. Mass casualty คือ เหตุการณ์ที่มีจานวนผู้บาดเจ็บมากเกินกว่าศักยภาพในการดูแลรักษาของ
โรงพยาบาลน้ันๆ ผู้บาดเจ็บที่มีโอกาสรอดชีวิตสูงสุด และผู้บาดเจ็บที่ใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาลน้อยที่สุดจะ
เป็นผู้บาดเจ็บกลุ่มแรกที่ได้รับการดูแลรักษา ทั้งนี้แต่ละโรงพยาบาลจะต้องมีแผนระบบการคัดแยกผู้บาดเจ็บที่
ชัดเจนและฝึกซ้อม (drill) อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
ในการคัดแยกผู้บาดเจ็บ จะมีการคาดการณ์ภาวะช็อกจากการบาดเจ็บ (traumatic shock)11
ไปพร้อม
กัน เพื่อประเมินภาวะออกซิเจนที่ไปเลี้ยงเนื่อเยื่อของร่างกาย ซึ่งมี 3 ประเภท ดังนี้
1. Hemorrhagic shock เป็นภาวะช็อกจากการบาดเจ็บเนื่องจากการเสียเลือด จะพบความดันเลือด
ต่า มีอาการและอาการแสดงของ Hemorrhagic shock มีบาดแผลและการเสียเลือดเห็นได้ชัดเจน
2. Obstructive shock และ Cardiogenic shock เป็นภาวะช็อกจากการบาดเจ็บเนื่องจากมีความดัน
ในช่องอก (intrathoracic pressure) พบความดันเลือดต่า มีประวัติการบาดเจ็บที่ทรวงอก สังเกตพบลักษณะ
การหายใจผิดปกติ อาจมีหลอดลมเอียงไปด้านใดดานหนึ่ง หรือ เส้นเลือดดาที่คอโป่ง
3. Neurogenic shock เป็นภาวะช็อกจากการบาดเจ็บเนื่องจากมีการขยายตัวของเส้นเลือด จะพบ
ความดันเลือดต่า ผู้บาดเจ็บจะมีประวัติการบาดเจ็บของประสาทไขสันหลัง
การประเมินเร่งด่วนเมื่อแรกรับ
3
การประเมินเบื้องต้นและการช่วยชีวิต (primary survey & resuscitation)6,7,8,9,10
การประเมินเบื้องต้นและการช่วยชีวิต (primary survey and resuscitation) ได้แก่ การประเมิน A B C
D E (airway maintenance with restriction of c-spine motion, breathing and ventilation, circulation with
hemorrhagic control, disability-neurogenic evaluation, exposure-environmental control)5,6,7
ตามลาดับ
และเป็นระบบ เพื่อค้นหาและแก้ไขภาวะคุกคามชีวิต เป็นการประเมินการอุดกั้นในทางเดินหายใจ และการ
หายใจไม่มีประสิทธิภาพ ด้วยวิธี “look, listen, feel” สังเกตได้จากอาการกระสับการส่าย ระดับความรู้สึกตัว
ลดลง เสียงหายใจผิดปกติ เสียงพูดของผู้บาดเจ็บไม่ชัดเจน ลักษณะการเคลื่อนไหวของทรวงอกผิดปกติ มีลม
ใต้เยื่อบุผิว ถ้าพบปัญหาดังกล่าว ต้องให้ออกซิเจน ดูแลให้การหายใจมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ร่างกายได้รับ
ออกซิเจนเพียงพอ มีการกาซาบเลือดของเนื้อเยื่อ และเนื้อสมองได้รับออกซิเจนไปเลี้ยงที่เพียงพอ ไม่เกิดภาวะ
พร่องออกซิเจน
การประเมินและการจัดการทางเดินหายใจ12
4
การประเมินและการจัดการการหายใจ12
การประเมินและการจัดการภาวะช็อกจากการเสียเลือด12
5
การประเมินและการจัดการภาวะช็อกที่ไม่สูญเสียเลือด12
การประเมินความผิดปกติของระบบประสาท ประเมินระดับความรู้สึกตัว จาก glasgow coma scale
(GCS) ขนาดและการตอบสนองของรูม่านตา และอาการผิดปกติของระบบประสาทจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ
(lateralizing signs) แต่ความผิดปกติของระบบประสาท อาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่น ภาวะพร่องออกซิเจน ยา
แอลกอฮอล์ หรือน้าตาลในเลือดต่าได้ การประเมินระบบประสาทของผู้บาดเจ็บ จึงจาเป็นต้องประเมินเป็น
ระยะอย่างต่อเนื่อง เพราะหนึ่งปัจจัยในการฟื้นหายของผู้บาดเจ็บ สัมพันธ์กับระดับ motor score ที่ประเมินได้
จาก GCS
การประเมินร่องรอยการบาดเจ็บ (exposure-environmental control) เป็นการสารวจการบาดเจ็บทั่ว
ร่างกายภายนอก ต้องถอดเสื้อผ้าและประเมินทุกส่วนของร่างกาย จะต้องภาวะอุณหภูมิกายต่า (hypothermia)
เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งของ lethal triad ประกอบด้วย hypothermia, acidosis, coagulopathy ที่ทาให้ผู้บาดเจ็บ
6
เสียชีวิตมากกว่า 90%6,7,8
หากพบรอยเลือดหรือรอยเปื้อนที่เสื้อผ้า จะต้องสังเกตและตรวจร่างกายโดยละเอียด
เพราะอาจมีการบาดเจ็บในบริเวณนั้นๆ
การเสริมการรักษาระยะการประเมินเบื้องต้น (adjuncts and other considerations to primary
survey)6,7,8,9,10,11
การเสริมการรักษาการประเมินเบื้องต้นเพื่อช่วยชีวิตในระยะแรกรับ จะเป็นการติดตามอาการภายหลัง
ช่วยชีวิตเช่น การประเมินdysrhythmias หรือSTsegmentการวัดความเข้มข้นออกซิเจน (SaO2)การถ่ายภาพ
x-ray การประเมิน FAST ซ้า การใส่สาย gastric tube และ urinary catheter การประเมินสัญญาณชีพ การ
ตรวจทางห้องทดลอง; arterial blood gas และ lactate level ซึ่งไม่ได้ทาในระยะการประเมินเบื้องต้น
การพิจารณาในการส่งต่อผู้บาดเจ็บ (consideration of the need for patient transfer)5,6
เมื่อเสร็จขั้นตอนการเสริมการรักษาในระยะการประเมินเบื้องต้น แพทย์หัวหน้าทีมจะพิจารณาตัดสิน
ว่าผู้บาดเจ็บควรไปรับการรักษาต่อที่ใด OR, ICU หรือ transfer ไปรักษาต่อในศูนย์อุบัติเหตุที่มีศักยภาพ
เหมาะสมกับการบาดเจ็บรายนั้นๆ ดังนั้นในระหว่างที่การประเมินเบื้องต้นและการช่วยชีวิต แพทย์หัวหน้าทีม
จะต้องพิจารณาโดยละเอียดว่าการบาดเจ็บนั้นๆ เกินศักยภาพการดูแลหรือจาเป็นต้องส่งต่อเพื่อการรักษา ทีม
การดูแลรักษาจะต้องเริ่มสื่อสารการส่งต่อเพื่อการรักษาไปยังสถานที่ดังกล่าว ทั้งในหรือระหว่างสถานพยาบาล
ให้มีความพร้อมในการส่งต่อได้อย่างรวดเร็ว ไม่เกิดความล่าช้า แพทย์หัวหน้าทีมต้องสื่อสารให้ข้อมูลเบื้องต้น
เหตุผลและประโยน์ในการส่งต่อเพื่อการรักษากับญาติผู้บาดเจ็บ ตรวจสอบบันทึกการดูแลรักษาให้ครอบคลุม
และถูกต้องทุกช่วงเวลา และกาหนดเส้นทาง วิธี และการสื่อสารในการส่งต่อเพื่อการรักษา ก่อนที่จะประเมิน
ร่างกายอย่างละเอียดในขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้แพทย์ต้นทางจะต้องสื่อสารการรักษาผู้บาดเจ็บกับแพทย์ปลายทาง
เกณฑ์คุณภาพในการดูแลผู้บาดเจ็บตั้งแต่ผู้บาดเจ็บถึงห้องฉุกเฉิน (arrival time) กระทั่งการพิจารณาในการนี้
ส่งต่อผู้บาดเจ็บไปรักษาต่อที่ใด ควรอยู่ในระหว่างเวลา 30 นาที
การประเมินระยะที่ 2 (secondary survey)6,7,8,9,10,11
การประเมินระยะที่ 2 เป็นการประเมินร่างกายโดยละเอียด เพื่อประเมินวินิจฉัยและวางแผนการดูแล
รักษาที่แม่นยา จึงประเมินเมื่อ Primary survey andResuscitation และ Adjuncts andother considerations
to primary survey เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยการประเมินระยะที่ 2 จะประเมินร่างกายอย่างเป็นระบบจากศีรษะ
7
จรดปลายเท้า (head-to-toe) และซักถามประวัติที่ช่วยในการค้นหาการบาดเจ็บ ได้แก่ กลไกการบาดเจ็บ
AMPLE (allergies-medications currently used-past illness/pregnancy-last meal-events/environment
related to the injury)1
และควรประเมินอาการทางระบบประสาทซ้า
การเสริมการรักษาในการประเมินระยะที่ 2 (adjuncts to the secondary survey)6,7,8,9,10,11
การเสริมการรักษาของการประเมินในระยะที่ 2 เป็นการย้อนประเมินดูแลผู้บาดเจ็บให้พร้อมต่อการ
รักษาต่อในระยะต่อไป เพราะผู้บาดเจ็บอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จึงต้องประเมิน A-B-C-D ปัญหา
การบาดเจ็บ และการดูแลรักษาที่ผู้บาดเจ็บได้รับ เป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะไปรับการรักษาต่อยัง
สถานที่อื่น เช่น ติดตามผลเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ศีรษะ-ทรวงอก-ช่องท้อง-เชิงกราน-กระดูกสันหลัง และที่สาคัญ
คือต้องเตรียมบุคคลกร การรักษา อุปกรณ์ เครื่องมือ และข้อมูล ให้พร้อมต่อการส่งต่อผู้บาดเจ็บ
การเฝ้าระวังหลังการช่วยชีวิตและการประเมินซ้า (continued post-resuscitation monitoring & re-
evaluation)9,12
ในระยะนี้ผู้บาดเจ็บได้รับการดูแลรักษากระทั่งปลอดภัยจากภาวะคุกคามชีวิต แต่ยังต้องเฝ้าระวังอย่าง
ส่าเสมอ บางปัญหาอาจยังไมได้แก้ไข ต้องไปรับการรักษาต่อที่ห้องผ่าตัด ยังต้องประเมินสัญญาณชีพ ระดับ
ความรู้สึกตัว ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนซ้าเป็นระยะๆ เพื่อใช้บอกสภาวะปัจจุบันของผู้บาดเจ็บ ทีมการดูแล
รักษาจะต้องสื่อสารอาการและการรักษาซ้าๆ ให้ผู้ป่วยเข้าใจ ไม่เกิดความกลัว หรือความวิตกกังวล กับการเฝ้า
ระวังซ้าๆ
1. ประเมินสัญญาณชีพ และระดับความรู้สึกตัว ทุก 15 นาที เพื่อเฝ้าระวังภาวะพร่องออกซิเจน
2. ประเมิน และบันทึกการหายใจและลักษณะการหายใจ เป็นระยะ ทุก 5-15 นาที อย่างต่อเนื่อง
3. สังเกตการขยายตัวของทรวงอกทั้ง 2 ข้าง การหายใจเร็ว การใช้แรงและกล้ามเนื้อช่วยหายใจ และ
การขยายตัวของทรวงอกทั้ง 2 ข้าง ทุก 15 นาที ลักษณะการหายใจลาบาก ค่าความอิ่มตัวออกซิเจน (SaO2)
อย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินการแลกเปลี่ยนก๊าซ เฝ้าระวังภาวะพร่องออกซิเจนจากปริมาณออกซิเจนไปเลี้ยงเนื่อ
เยื่อและอวัยวะต่างๆ ไม่เพียงพอ
4. ฟังปอด (breath sounds) ทั้ง 2 ข้าง เพื่อประเมินอากาศที่ไหลผ่านปอด หากได้ยินเสียงลมผ่าน
ปอดเบา หรือไม่ได้ยิน แสดงถึงผู้บาดเจ็บจะได้รับออกซิเจนไปเลี้ยงเนื่อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ไม่เพียงพอ
5. ในรายที่ทา definite airway จะต้องตรวจสอบตาแหน่งท่อทางเดินใจ เนื่องจากการเคลื่อนไหวของ
8
ผู้บาดเจ็บ อาจทาให้ตาแหน่งท่อทางเดินใจขยับเคลื่อน เลื่อนหลุด เนื่อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ได้รับออกซิเจนไป
เลี้ยงไม่เพียงพอ วัดค่าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์จากลมหายใจ เพื่อประเมินการแลกเปลี่ยนก๊าซ
และป้องกันภาวะทุติยะภูมิของผู้ที่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ จากการมีคาร์บอนไดออกไซด์คั่ง ระบายออกไม่ได้
6. สังเกตการบาดเจ็บและปัญหาจากการใส่ท่อช่วยใจ เช่น บาดแผลฉีกขาด ฟันหัก ทาให้เกิดการอุด
กั้นในทางเดินหายใจ และลมใต้เยื่อบุผิว (subcutaneous emphysema)
7. สังเกตและบันทึก สี จานวน Content ภาวะแทรกซ้อน ในรายที่ใส่ ICD (Intercostal drainage)
และดูแลการทางานของระบบ ICD เพื่อประเมินการขยายตัวของทรวงอก
8. สังเกตอาการและอาการแสดงของการบาดเจ็บที่ยังตรวจประเมินไม่พบ (Missed injuries) เช่น
Pneumothorax, Hemothorax, Pneumomediastinum
9. ป้องกัน Lethal Triads of death ได้แก่ ภาวะอุณหภูมิกายต่ากว่าปกติ (Hypothermia) ภาวะการ
แข็งตัวของเลือดผิดปกติ (Coagulopathy) และภาวะเลือดเป็นกรด (Acidosis)
10. สังเกต Photoplethysmography (PPG) เพื่อประเมินภาวะช็อก จาก Waveform ของ Pulse
oxymeter
11. ติดตามผลการตรวจ serum lactate เพื่อประเมินภาวะ anaerobic metabolism ซึ่งแสดงถึงภาวะ
ที่ร่างกายขาดออกซิเจน เพื่อป้องกัน organ failure
12. เฝ้าระวังภาวะความดันในสมองสูง (increased intracranial pressure) ติดตามความผิดปกติจาก
ผลการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง
13. ป้องกันการมีภาวะอุณหภูมิกายสูง ซึ่งเป็นอาการที่บ่งบอกถึง Systematic Inflammatory
Response
นอกจากการติดตามเฝ้าระวังตาม A B C D E แล้ว การสื่อสารผลการตรวจทางห้องทดลอง เช่น Blood
gas, CPK, Platelet count, Prothrombin time, Partial thromboplastin time มีความสาคัญต่อการคาดการณ์
ภายหลังการช่วยชีวิตของผู้บาดเจ็บวิกฤตในห้องฉุกเฉินการสื่อสาร ที่สาคัญต้องมีการสื่อสารชัดเจนที่ต่อเนื่อง
เป็นระบบ เช่น CUS (concern-uncomfortable-Safety), call out and check back (sender clinical
message-receiver-sender double-checks to ensure), SBAR (situation-background-assessment-
recommendation), หรือ DESC (describe-express-suggest-tate consequence)6,9
9
การส่งต่อเพื่อการรักษา (transfer to definite care)6,7,8,9,10,11,12
การส่งต่อเพื่อการรักษาผู้บาดเจ็บ ควรส่งต่อไปยังศูนย์อุบัติเหตุที่มีศักยภาพเหมาะสมกับผู้บาดเจ็บ ซึ่ง
ได้คาดการณ์มาตั้งแต่ในระยะการเสริมการรักษาระยะการประเมินเบื้องต้นมาก่อนแล้ว ในระยะนี้ผู้บาดเจ็บจึง
มีการวินิจฉัยที่ชัดเจนพร้อมสื่อสารระหว่างสถานพยาบาลต้นทางและปลายทาง ทั้งกลไกการบาดจ็บ ชนิดการ
บาดเจ็บ การดูแลรักษา อาการและอาการแสดงล่าสุด สัญญาณชีพ และผลการตรวจวินิจฉัยเลือด-รังสี ที่จะ
ส่งไปพร้อมกับผู้บาดเจ็บ และจะต้องไม่ลืมการสื่อสารทาความเข้าใจกับญาติผู้บาดเจ็บถึงเหตุผลของการส่งไป
รักษา
การวางแผนในการส่งต่อเพื่อการรักษาหรือการเคลื่อนย้ายเป็นสิ่งสาคัญ ตั้งแต่การให้ข้อมูลผู้บาดเจ็บ
และญาติในการส่งต่อเพื่อการรักษา ความยินยอมผู้บาดเจ็บและญาติที่จะไปรับการรักษาต่อ การเตรียมความ
พร้อมในการดูแลระหว่างการเคลื่อนย้าย อันตรายที่เกิดได้บ่อยจากการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บที่วิกฤติ เช่น ท่อ
เลื่อนเคลื่อนหลุด การตรึงดามหลวมหลุด อาการและสัญญาณชีพเลวลง สิ่งสาคัญที่สุด คือ สมรรถนะของทีมผู้
ส่งต่อ อุปกรณ์เครื่องมือ ข้อมูล และระบบการสื่อสารระหว่างสถานพยาบาลต้นทางและปลายทาง
Approach to the injured patient เป็นระบุปัญหาและช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ โดยการประเมินแรกรับและ
จัดการทุกระยะให้ผู้บาดเจ็บปลอดภัยตั้งแต่แรกเริ่ม
10
เอกสารอ้างอิง
1. คณะอนุกรรมการฝ่ายอุบัติเหตุ. คู่มือมาตรฐานศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บสาหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ:
2554.
2. Hakkenbrak NAG, Mikdad SY, Zuidema WP, Reijinders UJL, Bloemers FW, and Giannakopoulos
GF. Preventable death in trauma: A systematic review on definition and classification. Injury
2021;52(10):2768-2777, 2021.
3. ACS Committee. Achieving zero preventable deaths. American College of Surgeons. Inspiring
quality: Highest standards, better outcomes. Available from: URL://www.facs.org/quality-
programs/trauma/tqp/systems-program/traumazpd
4. Reza Hosseinpour, Amir Barghi, and Paria Tobeh. Prognosis of the trauma patients according to
the trauma and injury severity score (TRISS); A diagnostic accuracy study. Bull Emerg Trauma.
2020;8(3): 148-155.
5. Ana Mania Callil, Jair Licio Ferreira dos Santos, and Fernao Dias de Lima. Nursing diagnoses in
trauma victims with fatal outcomes in the emergency scenario. Rev. Latino-Am. Enfermagem.
2012:Jan-Feb;20(1),p.3-10.
6. Committee, Society of Trauma Nurses. Advanced Trauma Care for Nurses®
the 8th
Edition (2018)
companion to ATLS 10th
edition. 2018;Chicago, IL; 2018
7. Revision Work Team, TNCC 8th
Edition Revision Work Team. TNCC Trauma Nursing Core
Course: An EVA Course. Chicago, IL: The Emergency Nurses Association; 2020.
8. Subcommittee A, American College of Surgeons’ Committee on Trauma. The Advanced Trauma
Life Support (ATLS®
) the 10th
Edition. Chicago, IL: American College of Surgeon; 2017.
9. กรองได อุณหสูต (บรรณาธิการ). คู่มือปฏิบัติในหน่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ: ก้องการพิมพ์; 2554.
10. Krongdai U., Moshe M., and Gila H. Trauma Treatment Skill for Nurses. Bangkok: Saharammik
Co.; 2012.
11. ชมรมพยาบาลศัลยกรรมแห่งประเทศไทย. Trauma Treatment Skill for Nurses®
Advanced Trauma
Life Support (ATLS). Slideshare.net/Krongdai. P1-19.
12. กรองได อุณหสูต (บรรณาธิการ) และ จิราพร พอกพูนทรัพย์ (ผู้ช่วยบรรณาธิการ). Trauma Guideline.
11
กรุงเทพฯ: ก้องการพิมพ์; 2564.

More Related Content

Featured

2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by HubspotMarius Sescu
 
Everything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTEverything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTExpeed Software
 
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsProduct Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsPixeldarts
 
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthThinkNow
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfmarketingartwork
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024Neil Kimberley
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)contently
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024Albert Qian
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsKurio // The Social Media Age(ncy)
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Search Engine Journal
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summarySpeakerHub
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Tessa Mero
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentLily Ray
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best PracticesVit Horky
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementMindGenius
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...RachelPearson36
 

Featured (20)

2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot
 
Everything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTEverything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPT
 
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsProduct Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
 
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
 
Skeleton Culture Code
Skeleton Culture CodeSkeleton Culture Code
Skeleton Culture Code
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 

Apprach to the Injured-Patient.pdf

  • 1. 1 Approach to the injured patient ผศ.ดร.กรองได อุณหสูต เป้าหมายในการดูแลผู้บาดเจ็บคือผู้บาดเจ็บจะต้องไม่ตายโดยไม่สมควรตายหรือไม่ตายด้วยสาเหตุที่ สามารถป้องกันได้(preventable death)1 ไม่พบผู้บาดเจ็บที่มีคะแนน Trauma Injury Severity Score (TRISS) มาก กว่า 0.75 เสียชีวิต2,3,4 ผู้บาดเจ็บต้องรอดพ้นจากภาวะคุกคามชีวิต ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน และ สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพภายหลังฟื้นหายจากการบาดเจ็บ การดูแลผู้บาดเจ็บตั้งแต่แรกรับ ต้องช่วยให้ผู้บาดเจ็บมีภาวะออกซิเจน (oxygenation) การกาซาบเลือดของเนื้อเยื่อ (perfusion) และการ กาซาบเลือดของเนื้อสมอง (cerebral perfusion) เพียงพอ5 โดยเริ่มประเมินแรกรับผู้บาดเจ็บด้วยคาถาม “ชื่อ อะไร เกิดอะไรขึ้น” ข้อมูลนี้ทาให้ทราบถึงภาวะออกซิเจนของร่างกายในเบื้องต้น ลักษณะ และชนิดของการ บาดเจ็บ ช่วยเร่งเตือนทีมดูแลผู้บาดเจ็บ (alert trauma team) ในทันที เพราะความรุนแรงของการบาดเจ็บมี ความสัมพันธ์กับการเสียชีวิต โดยเฉพาะใน 10 วินาที เมื่อแรกรับ6 การประเมินแรกเริ่มผู้บาดเจ็บที่ห้องฉุกเฉิน พยาบาลผู้คัดแยก (triage nurse) ซึ่งพบผู้บาดเจ็บเป็นคน แรกจะเป็นผู้ประเมินด้วยระบบการคัดแยกผู้บาดเจ็บ และประเมินแรกรับด้วยการประเมิน A-B-C-D (airway- breathing-circulation-disability) ประกอบด้วยการประเมินทางเดินหายใจ การหายใจ ชีพจร และระดับความ รู้สึกตัว6,7,8,9,10 เพื่อคาดการณ์ภาวะคุกคามชีวิต เกณฑ์คุณภาพในการประเมินแรกรับนี้ต้องไม่เกิน 10 วินาที เพื่อ คาดคะเนภาวะคุกคามชีวิตเพื่อจัดการให้การช่วยเหลือที่เร่งด่วน แต่ข้อมูลการบาดเจ็บ กลไกการบาดเจ็บ การ ช่วยเหลือเบื้องต้นที่จุดเกิดเหตุ และอาการผู้บาดเจ็บระหว่างการนาส่ง ยังได้รับไม่ครบถ้วนชัดเจน การเตรียม ความพร้อมทั้งในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล (prehospital phase) และระยะให้การดูแลผู้บาดเจ็บที่โรงพยาบาล (hospital phase) จึงมีความสาคัญในการจัดการช่วยเหลือแรกรับที่ห้องฉุกเฉิน ในการเตรียมทีม สถานที่ (resuscitation area) อุปกรณ์เครื่องมือให้พร้อมในการช่วยชีวิตทันทีที่ผู้บาดเจ็บถึงโรงพยาบาล ไม่ให้เกิดความ ล่าช้าในการดูแลรักษา โดยเฉพาะการสวมเครื่องป้องกันการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว ไม่เป็นอุปสรรคในการ ช่วยชีวิตผู้บลาดเจ็บ แต่ทั้งนี้การคัดแยกผู้บาดเจ็บตามความรุนแรง (Triage) ซึ่งเรียง ลาดับตาม A-B-C ต้องมี ความเที่ยงถูกต้อง ช่วยลาดับการรักษาได้ จะช่วยให้ผู้บาดเจ็บมีโอกาสการอยู่รอด ไม่ตายโดยไม่สมควรตาย หรือมีความล่าช้าในการดูแลรักษา การคัดแยกผู้บาดเจ็บที่ห้องฉุกเฉิน6,7,8 มีหลายระบบ การเลือกใช้ระบบใด ขึ้นกับนโยบาย ทรัพยากร และศักยภาพของแต่ละโรงพยาบาลในการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บที่ห้องฉุกเฉิน โดยทั่วไปจะต้องมี 2 ชนิด ดังนี้
  • 2. 2 1. Multiple casualties คือ ระบบคัดแยกผู้บาดเจ็บที่ห้องฉุกเฉิน ในเหตุการณ์ที่มีจานวนผู้บาดเจ็บไม่ เกินศักยภาพในการดูแลรักษาของโรงพยาบาลนั้นๆ ผู้บาดเจ็บฉุกเฉินที่ถูกคัดแยกเป็นสีแดง ไม่ว่าจะใช้ระบบ การคัดแยกประเภทใด จะเป็นผู้บาดเจ็บกลุ่มแรกที่ได้รับการดูแลรักษา เพราะมีภาวะคุกคามชีวิต (immediate life-threatening conditions) หรือมีการบาดเจ็บร่วมหลายระบบ เกณฑ์คุณภาพในการคัดแยกผู้บาดเจ็บที่ห้อง ฉุกเฉินนี้ต้องไม่เกิน 2 นาที โดยพยาบาลผู้คัดแยกจะคัดแยกผู้บาดเจ็บทันทีแรกรับที่ห้องฉุกเฉิน จัดให้ผู้บาดเจ็บ อยู่ในบริเวณที่ถูกต้องกับความรุนแรงการบาดเจ็บ และลงบันทึกเวลาที่ผู้บาดเจ็บถึงห้องฉุกเฉิน (arrival time) พร้อมระดับการคัดแยกผู้บาดเจ็บ เช่น เหลือง แดง ในแบบบันทึก 2. Mass casualty คือ เหตุการณ์ที่มีจานวนผู้บาดเจ็บมากเกินกว่าศักยภาพในการดูแลรักษาของ โรงพยาบาลน้ันๆ ผู้บาดเจ็บที่มีโอกาสรอดชีวิตสูงสุด และผู้บาดเจ็บที่ใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาลน้อยที่สุดจะ เป็นผู้บาดเจ็บกลุ่มแรกที่ได้รับการดูแลรักษา ทั้งนี้แต่ละโรงพยาบาลจะต้องมีแผนระบบการคัดแยกผู้บาดเจ็บที่ ชัดเจนและฝึกซ้อม (drill) อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ในการคัดแยกผู้บาดเจ็บ จะมีการคาดการณ์ภาวะช็อกจากการบาดเจ็บ (traumatic shock)11 ไปพร้อม กัน เพื่อประเมินภาวะออกซิเจนที่ไปเลี้ยงเนื่อเยื่อของร่างกาย ซึ่งมี 3 ประเภท ดังนี้ 1. Hemorrhagic shock เป็นภาวะช็อกจากการบาดเจ็บเนื่องจากการเสียเลือด จะพบความดันเลือด ต่า มีอาการและอาการแสดงของ Hemorrhagic shock มีบาดแผลและการเสียเลือดเห็นได้ชัดเจน 2. Obstructive shock และ Cardiogenic shock เป็นภาวะช็อกจากการบาดเจ็บเนื่องจากมีความดัน ในช่องอก (intrathoracic pressure) พบความดันเลือดต่า มีประวัติการบาดเจ็บที่ทรวงอก สังเกตพบลักษณะ การหายใจผิดปกติ อาจมีหลอดลมเอียงไปด้านใดดานหนึ่ง หรือ เส้นเลือดดาที่คอโป่ง 3. Neurogenic shock เป็นภาวะช็อกจากการบาดเจ็บเนื่องจากมีการขยายตัวของเส้นเลือด จะพบ ความดันเลือดต่า ผู้บาดเจ็บจะมีประวัติการบาดเจ็บของประสาทไขสันหลัง การประเมินเร่งด่วนเมื่อแรกรับ
  • 3. 3 การประเมินเบื้องต้นและการช่วยชีวิต (primary survey & resuscitation)6,7,8,9,10 การประเมินเบื้องต้นและการช่วยชีวิต (primary survey and resuscitation) ได้แก่ การประเมิน A B C D E (airway maintenance with restriction of c-spine motion, breathing and ventilation, circulation with hemorrhagic control, disability-neurogenic evaluation, exposure-environmental control)5,6,7 ตามลาดับ และเป็นระบบ เพื่อค้นหาและแก้ไขภาวะคุกคามชีวิต เป็นการประเมินการอุดกั้นในทางเดินหายใจ และการ หายใจไม่มีประสิทธิภาพ ด้วยวิธี “look, listen, feel” สังเกตได้จากอาการกระสับการส่าย ระดับความรู้สึกตัว ลดลง เสียงหายใจผิดปกติ เสียงพูดของผู้บาดเจ็บไม่ชัดเจน ลักษณะการเคลื่อนไหวของทรวงอกผิดปกติ มีลม ใต้เยื่อบุผิว ถ้าพบปัญหาดังกล่าว ต้องให้ออกซิเจน ดูแลให้การหายใจมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ร่างกายได้รับ ออกซิเจนเพียงพอ มีการกาซาบเลือดของเนื้อเยื่อ และเนื้อสมองได้รับออกซิเจนไปเลี้ยงที่เพียงพอ ไม่เกิดภาวะ พร่องออกซิเจน การประเมินและการจัดการทางเดินหายใจ12
  • 5. 5 การประเมินและการจัดการภาวะช็อกที่ไม่สูญเสียเลือด12 การประเมินความผิดปกติของระบบประสาท ประเมินระดับความรู้สึกตัว จาก glasgow coma scale (GCS) ขนาดและการตอบสนองของรูม่านตา และอาการผิดปกติของระบบประสาทจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ (lateralizing signs) แต่ความผิดปกติของระบบประสาท อาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่น ภาวะพร่องออกซิเจน ยา แอลกอฮอล์ หรือน้าตาลในเลือดต่าได้ การประเมินระบบประสาทของผู้บาดเจ็บ จึงจาเป็นต้องประเมินเป็น ระยะอย่างต่อเนื่อง เพราะหนึ่งปัจจัยในการฟื้นหายของผู้บาดเจ็บ สัมพันธ์กับระดับ motor score ที่ประเมินได้ จาก GCS การประเมินร่องรอยการบาดเจ็บ (exposure-environmental control) เป็นการสารวจการบาดเจ็บทั่ว ร่างกายภายนอก ต้องถอดเสื้อผ้าและประเมินทุกส่วนของร่างกาย จะต้องภาวะอุณหภูมิกายต่า (hypothermia) เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งของ lethal triad ประกอบด้วย hypothermia, acidosis, coagulopathy ที่ทาให้ผู้บาดเจ็บ
  • 6. 6 เสียชีวิตมากกว่า 90%6,7,8 หากพบรอยเลือดหรือรอยเปื้อนที่เสื้อผ้า จะต้องสังเกตและตรวจร่างกายโดยละเอียด เพราะอาจมีการบาดเจ็บในบริเวณนั้นๆ การเสริมการรักษาระยะการประเมินเบื้องต้น (adjuncts and other considerations to primary survey)6,7,8,9,10,11 การเสริมการรักษาการประเมินเบื้องต้นเพื่อช่วยชีวิตในระยะแรกรับ จะเป็นการติดตามอาการภายหลัง ช่วยชีวิตเช่น การประเมินdysrhythmias หรือSTsegmentการวัดความเข้มข้นออกซิเจน (SaO2)การถ่ายภาพ x-ray การประเมิน FAST ซ้า การใส่สาย gastric tube และ urinary catheter การประเมินสัญญาณชีพ การ ตรวจทางห้องทดลอง; arterial blood gas และ lactate level ซึ่งไม่ได้ทาในระยะการประเมินเบื้องต้น การพิจารณาในการส่งต่อผู้บาดเจ็บ (consideration of the need for patient transfer)5,6 เมื่อเสร็จขั้นตอนการเสริมการรักษาในระยะการประเมินเบื้องต้น แพทย์หัวหน้าทีมจะพิจารณาตัดสิน ว่าผู้บาดเจ็บควรไปรับการรักษาต่อที่ใด OR, ICU หรือ transfer ไปรักษาต่อในศูนย์อุบัติเหตุที่มีศักยภาพ เหมาะสมกับการบาดเจ็บรายนั้นๆ ดังนั้นในระหว่างที่การประเมินเบื้องต้นและการช่วยชีวิต แพทย์หัวหน้าทีม จะต้องพิจารณาโดยละเอียดว่าการบาดเจ็บนั้นๆ เกินศักยภาพการดูแลหรือจาเป็นต้องส่งต่อเพื่อการรักษา ทีม การดูแลรักษาจะต้องเริ่มสื่อสารการส่งต่อเพื่อการรักษาไปยังสถานที่ดังกล่าว ทั้งในหรือระหว่างสถานพยาบาล ให้มีความพร้อมในการส่งต่อได้อย่างรวดเร็ว ไม่เกิดความล่าช้า แพทย์หัวหน้าทีมต้องสื่อสารให้ข้อมูลเบื้องต้น เหตุผลและประโยน์ในการส่งต่อเพื่อการรักษากับญาติผู้บาดเจ็บ ตรวจสอบบันทึกการดูแลรักษาให้ครอบคลุม และถูกต้องทุกช่วงเวลา และกาหนดเส้นทาง วิธี และการสื่อสารในการส่งต่อเพื่อการรักษา ก่อนที่จะประเมิน ร่างกายอย่างละเอียดในขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้แพทย์ต้นทางจะต้องสื่อสารการรักษาผู้บาดเจ็บกับแพทย์ปลายทาง เกณฑ์คุณภาพในการดูแลผู้บาดเจ็บตั้งแต่ผู้บาดเจ็บถึงห้องฉุกเฉิน (arrival time) กระทั่งการพิจารณาในการนี้ ส่งต่อผู้บาดเจ็บไปรักษาต่อที่ใด ควรอยู่ในระหว่างเวลา 30 นาที การประเมินระยะที่ 2 (secondary survey)6,7,8,9,10,11 การประเมินระยะที่ 2 เป็นการประเมินร่างกายโดยละเอียด เพื่อประเมินวินิจฉัยและวางแผนการดูแล รักษาที่แม่นยา จึงประเมินเมื่อ Primary survey andResuscitation และ Adjuncts andother considerations to primary survey เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยการประเมินระยะที่ 2 จะประเมินร่างกายอย่างเป็นระบบจากศีรษะ
  • 7. 7 จรดปลายเท้า (head-to-toe) และซักถามประวัติที่ช่วยในการค้นหาการบาดเจ็บ ได้แก่ กลไกการบาดเจ็บ AMPLE (allergies-medications currently used-past illness/pregnancy-last meal-events/environment related to the injury)1 และควรประเมินอาการทางระบบประสาทซ้า การเสริมการรักษาในการประเมินระยะที่ 2 (adjuncts to the secondary survey)6,7,8,9,10,11 การเสริมการรักษาของการประเมินในระยะที่ 2 เป็นการย้อนประเมินดูแลผู้บาดเจ็บให้พร้อมต่อการ รักษาต่อในระยะต่อไป เพราะผู้บาดเจ็บอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จึงต้องประเมิน A-B-C-D ปัญหา การบาดเจ็บ และการดูแลรักษาที่ผู้บาดเจ็บได้รับ เป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะไปรับการรักษาต่อยัง สถานที่อื่น เช่น ติดตามผลเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ศีรษะ-ทรวงอก-ช่องท้อง-เชิงกราน-กระดูกสันหลัง และที่สาคัญ คือต้องเตรียมบุคคลกร การรักษา อุปกรณ์ เครื่องมือ และข้อมูล ให้พร้อมต่อการส่งต่อผู้บาดเจ็บ การเฝ้าระวังหลังการช่วยชีวิตและการประเมินซ้า (continued post-resuscitation monitoring & re- evaluation)9,12 ในระยะนี้ผู้บาดเจ็บได้รับการดูแลรักษากระทั่งปลอดภัยจากภาวะคุกคามชีวิต แต่ยังต้องเฝ้าระวังอย่าง ส่าเสมอ บางปัญหาอาจยังไมได้แก้ไข ต้องไปรับการรักษาต่อที่ห้องผ่าตัด ยังต้องประเมินสัญญาณชีพ ระดับ ความรู้สึกตัว ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนซ้าเป็นระยะๆ เพื่อใช้บอกสภาวะปัจจุบันของผู้บาดเจ็บ ทีมการดูแล รักษาจะต้องสื่อสารอาการและการรักษาซ้าๆ ให้ผู้ป่วยเข้าใจ ไม่เกิดความกลัว หรือความวิตกกังวล กับการเฝ้า ระวังซ้าๆ 1. ประเมินสัญญาณชีพ และระดับความรู้สึกตัว ทุก 15 นาที เพื่อเฝ้าระวังภาวะพร่องออกซิเจน 2. ประเมิน และบันทึกการหายใจและลักษณะการหายใจ เป็นระยะ ทุก 5-15 นาที อย่างต่อเนื่อง 3. สังเกตการขยายตัวของทรวงอกทั้ง 2 ข้าง การหายใจเร็ว การใช้แรงและกล้ามเนื้อช่วยหายใจ และ การขยายตัวของทรวงอกทั้ง 2 ข้าง ทุก 15 นาที ลักษณะการหายใจลาบาก ค่าความอิ่มตัวออกซิเจน (SaO2) อย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินการแลกเปลี่ยนก๊าซ เฝ้าระวังภาวะพร่องออกซิเจนจากปริมาณออกซิเจนไปเลี้ยงเนื่อ เยื่อและอวัยวะต่างๆ ไม่เพียงพอ 4. ฟังปอด (breath sounds) ทั้ง 2 ข้าง เพื่อประเมินอากาศที่ไหลผ่านปอด หากได้ยินเสียงลมผ่าน ปอดเบา หรือไม่ได้ยิน แสดงถึงผู้บาดเจ็บจะได้รับออกซิเจนไปเลี้ยงเนื่อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ไม่เพียงพอ 5. ในรายที่ทา definite airway จะต้องตรวจสอบตาแหน่งท่อทางเดินใจ เนื่องจากการเคลื่อนไหวของ
  • 8. 8 ผู้บาดเจ็บ อาจทาให้ตาแหน่งท่อทางเดินใจขยับเคลื่อน เลื่อนหลุด เนื่อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ได้รับออกซิเจนไป เลี้ยงไม่เพียงพอ วัดค่าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์จากลมหายใจ เพื่อประเมินการแลกเปลี่ยนก๊าซ และป้องกันภาวะทุติยะภูมิของผู้ที่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ จากการมีคาร์บอนไดออกไซด์คั่ง ระบายออกไม่ได้ 6. สังเกตการบาดเจ็บและปัญหาจากการใส่ท่อช่วยใจ เช่น บาดแผลฉีกขาด ฟันหัก ทาให้เกิดการอุด กั้นในทางเดินหายใจ และลมใต้เยื่อบุผิว (subcutaneous emphysema) 7. สังเกตและบันทึก สี จานวน Content ภาวะแทรกซ้อน ในรายที่ใส่ ICD (Intercostal drainage) และดูแลการทางานของระบบ ICD เพื่อประเมินการขยายตัวของทรวงอก 8. สังเกตอาการและอาการแสดงของการบาดเจ็บที่ยังตรวจประเมินไม่พบ (Missed injuries) เช่น Pneumothorax, Hemothorax, Pneumomediastinum 9. ป้องกัน Lethal Triads of death ได้แก่ ภาวะอุณหภูมิกายต่ากว่าปกติ (Hypothermia) ภาวะการ แข็งตัวของเลือดผิดปกติ (Coagulopathy) และภาวะเลือดเป็นกรด (Acidosis) 10. สังเกต Photoplethysmography (PPG) เพื่อประเมินภาวะช็อก จาก Waveform ของ Pulse oxymeter 11. ติดตามผลการตรวจ serum lactate เพื่อประเมินภาวะ anaerobic metabolism ซึ่งแสดงถึงภาวะ ที่ร่างกายขาดออกซิเจน เพื่อป้องกัน organ failure 12. เฝ้าระวังภาวะความดันในสมองสูง (increased intracranial pressure) ติดตามความผิดปกติจาก ผลการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง 13. ป้องกันการมีภาวะอุณหภูมิกายสูง ซึ่งเป็นอาการที่บ่งบอกถึง Systematic Inflammatory Response นอกจากการติดตามเฝ้าระวังตาม A B C D E แล้ว การสื่อสารผลการตรวจทางห้องทดลอง เช่น Blood gas, CPK, Platelet count, Prothrombin time, Partial thromboplastin time มีความสาคัญต่อการคาดการณ์ ภายหลังการช่วยชีวิตของผู้บาดเจ็บวิกฤตในห้องฉุกเฉินการสื่อสาร ที่สาคัญต้องมีการสื่อสารชัดเจนที่ต่อเนื่อง เป็นระบบ เช่น CUS (concern-uncomfortable-Safety), call out and check back (sender clinical message-receiver-sender double-checks to ensure), SBAR (situation-background-assessment- recommendation), หรือ DESC (describe-express-suggest-tate consequence)6,9
  • 9. 9 การส่งต่อเพื่อการรักษา (transfer to definite care)6,7,8,9,10,11,12 การส่งต่อเพื่อการรักษาผู้บาดเจ็บ ควรส่งต่อไปยังศูนย์อุบัติเหตุที่มีศักยภาพเหมาะสมกับผู้บาดเจ็บ ซึ่ง ได้คาดการณ์มาตั้งแต่ในระยะการเสริมการรักษาระยะการประเมินเบื้องต้นมาก่อนแล้ว ในระยะนี้ผู้บาดเจ็บจึง มีการวินิจฉัยที่ชัดเจนพร้อมสื่อสารระหว่างสถานพยาบาลต้นทางและปลายทาง ทั้งกลไกการบาดจ็บ ชนิดการ บาดเจ็บ การดูแลรักษา อาการและอาการแสดงล่าสุด สัญญาณชีพ และผลการตรวจวินิจฉัยเลือด-รังสี ที่จะ ส่งไปพร้อมกับผู้บาดเจ็บ และจะต้องไม่ลืมการสื่อสารทาความเข้าใจกับญาติผู้บาดเจ็บถึงเหตุผลของการส่งไป รักษา การวางแผนในการส่งต่อเพื่อการรักษาหรือการเคลื่อนย้ายเป็นสิ่งสาคัญ ตั้งแต่การให้ข้อมูลผู้บาดเจ็บ และญาติในการส่งต่อเพื่อการรักษา ความยินยอมผู้บาดเจ็บและญาติที่จะไปรับการรักษาต่อ การเตรียมความ พร้อมในการดูแลระหว่างการเคลื่อนย้าย อันตรายที่เกิดได้บ่อยจากการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บที่วิกฤติ เช่น ท่อ เลื่อนเคลื่อนหลุด การตรึงดามหลวมหลุด อาการและสัญญาณชีพเลวลง สิ่งสาคัญที่สุด คือ สมรรถนะของทีมผู้ ส่งต่อ อุปกรณ์เครื่องมือ ข้อมูล และระบบการสื่อสารระหว่างสถานพยาบาลต้นทางและปลายทาง Approach to the injured patient เป็นระบุปัญหาและช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ โดยการประเมินแรกรับและ จัดการทุกระยะให้ผู้บาดเจ็บปลอดภัยตั้งแต่แรกเริ่ม
  • 10. 10 เอกสารอ้างอิง 1. คณะอนุกรรมการฝ่ายอุบัติเหตุ. คู่มือมาตรฐานศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บสาหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: 2554. 2. Hakkenbrak NAG, Mikdad SY, Zuidema WP, Reijinders UJL, Bloemers FW, and Giannakopoulos GF. Preventable death in trauma: A systematic review on definition and classification. Injury 2021;52(10):2768-2777, 2021. 3. ACS Committee. Achieving zero preventable deaths. American College of Surgeons. Inspiring quality: Highest standards, better outcomes. Available from: URL://www.facs.org/quality- programs/trauma/tqp/systems-program/traumazpd 4. Reza Hosseinpour, Amir Barghi, and Paria Tobeh. Prognosis of the trauma patients according to the trauma and injury severity score (TRISS); A diagnostic accuracy study. Bull Emerg Trauma. 2020;8(3): 148-155. 5. Ana Mania Callil, Jair Licio Ferreira dos Santos, and Fernao Dias de Lima. Nursing diagnoses in trauma victims with fatal outcomes in the emergency scenario. Rev. Latino-Am. Enfermagem. 2012:Jan-Feb;20(1),p.3-10. 6. Committee, Society of Trauma Nurses. Advanced Trauma Care for Nurses® the 8th Edition (2018) companion to ATLS 10th edition. 2018;Chicago, IL; 2018 7. Revision Work Team, TNCC 8th Edition Revision Work Team. TNCC Trauma Nursing Core Course: An EVA Course. Chicago, IL: The Emergency Nurses Association; 2020. 8. Subcommittee A, American College of Surgeons’ Committee on Trauma. The Advanced Trauma Life Support (ATLS® ) the 10th Edition. Chicago, IL: American College of Surgeon; 2017. 9. กรองได อุณหสูต (บรรณาธิการ). คู่มือปฏิบัติในหน่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ: ก้องการพิมพ์; 2554. 10. Krongdai U., Moshe M., and Gila H. Trauma Treatment Skill for Nurses. Bangkok: Saharammik Co.; 2012. 11. ชมรมพยาบาลศัลยกรรมแห่งประเทศไทย. Trauma Treatment Skill for Nurses® Advanced Trauma Life Support (ATLS). Slideshare.net/Krongdai. P1-19. 12. กรองได อุณหสูต (บรรณาธิการ) และ จิราพร พอกพูนทรัพย์ (ผู้ช่วยบรรณาธิการ). Trauma Guideline.